title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 5/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 5/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/2 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับในการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือในการจัดหาผลประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดหลังวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 บริษัทจัดการอาจขอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้กองทุนรวมดังกล่าวมีอายุโครงการเกินกว่าที่กําหนดในข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ เพื่อให้สามารถเช่าหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญาเดิมได้
ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 5 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อขยายระยะเวลาในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมดังกล่าวไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การถือครองและการจําหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นซึ่งไม่มีสภาพคล่อง มีความผ่อนคลาย เหมาะสมกับสภาพทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น | 4,022 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 5/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 5/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 11)
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/2 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5/3
1. กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจ จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5/5
ในกรณีที่กองทุนรวมใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินทั้งหมดของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามข้อ 13/2 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ 5/3 ข้อ 5/4 และข้อ 5/5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 5/3 บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) โดยขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) แผนการพัฒนาที่ดินที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่(Master Plan) ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาจากพื้นที่และจํานวนเงินลงทุน ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ประกอบกันด้วย และ
(2) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม
ข้อ 5/4 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันอายุโครงการตามข้อ 5/2(1) ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานความคืบหน้าต่อสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) รายงานข้อมูลความคืบหน้าในการก่อสร้างของโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ภายในหนึ่งเดือน
(2) รายงานข้อมูลความคืบหน้าในการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาแล้วเสร็จของกองทุนรวมล่วงหน้าหนึ่งปีก่อนวันครบกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวม
ในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีความคืบหน้าในการก่อสร้างตาม (1) หรือการจําหน่ายตาม (2) อย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวม
ข้อ 5/5 บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันอายุโครงการต่อสํานักงานเพื่อให้กองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพร้อมทั้งข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าที่ดินดังกล่าวใช้สําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ และ
(2) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/1 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ และในกรณีที่เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการอาจให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) ตามข้อ 5/2(1)
(ข) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจตามข้อ 5/2(2) หรือ
(ค) เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 13/2
(2) ดําเนินการอื่นใดตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องโดยอนุโลม
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณีบริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 13/2 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการต้องยื่นขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายว่า หากบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้พัฒนาได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจากกองทุนรวม”
ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการที่ได้ยื่นคําขอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อขยายอายุโครงการตามข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับเพื่อให้สํานักงานนําเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาต่อไป
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อขยายระยะเวลาในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงสามารถพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยเฉพาะกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่มีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) และกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าปลูกพืชเศรษฐกิจ อันเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินที่ช่วยส่งเสริมการลงทุนและก่อให้เกิดการจ้างแรงงานภายในประเทศให้เพิ่มขึ้น จึงมีความจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 4,023 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 32/2544
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) มาตรา 49 และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2538 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2538
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2540 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2540 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 22/2542 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2542 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(4) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของบริษัท แต่ไม่รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีประกาศใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้แปลงสภาพ
(2) หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(3) หุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานที่สํานักงานประกาศกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตในอัตราคําขอละ 10,000 บาท
ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๖ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 2 และผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน โดยปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ขออนุญาตจะยื่นคําขอและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 3 ก็ได้ และในกรณีที่เป็นการได้รับอนุญาตตามหมวด 3 ให้ผู้ได้รับอนุญาตได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ แต่ผู้ได้รับอนุญาตยังคงมีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศดังกล่าว
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่มีมูลค่าที่เสนอขายไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้นั้น
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(4) เป็นกรณีที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
หมวด ๒ การขออนุญาตและการอนุญาต
เสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๙ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ได้ทุกลักษณะ โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขาย ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต แต่ทั้งนี้ การอนุญาตจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ผู้ยื่นคําขอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนการอนุญาตที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 แล้ว
ข้อ ๑๐ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) มีผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจของผู้ขออนุญาต มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของบริษัท มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(ข)เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(ค) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(จ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(ฉ) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม
(ง) หรือ (จ)
(ช) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(ซ) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(ฌ) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริตหรือขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น
(ญ) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้ผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(4) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ อย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ยื่นคําขอ ผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ยื่นคําขอเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 10(3)(ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) หรือ (4) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมหรือความผิดเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่
คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของสํานักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว โดยปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือผู้ยื่นคําขอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ยื่นคําขอประสงค์จะยื่นคําขอใหม่ มิให้สํานักงานนําสาเหตุของการขาดคุณสมบัติในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ส่วน ๒ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์
ข้อ ๑๒ เว้นแต่เป็นกรณีที่อยู่ในบังคับข้อ 13 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง หากผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ได้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการเสนอขายหุ้นกู้และการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามเอกสารดังกล่าวได้รับอนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ณ วันที่มีการยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(1) ร่างข้อกําหนดสิทธิ
(2) คําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมคํารับรองว่าบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) หนังสือยอมรับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(4) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ครั้งใด เป็นการเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเภทที่กําหนดตามวรรคสอง โดยมิได้จัดให้มีหลักประกันสําหรับหุ้นกู้และมิได้จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หากผู้ขออนุญาตได้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีรายละเอียดตามเอกสารดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ณ วันที่มีการยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(1) ร่างข้อกําหนดสิทธิ
(2) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นมิให้มีการโอนไปยังบุคคลอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบันในประเภทที่กําหนดตามวรรคสอง
เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายถึง
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนรวม
(13) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (12) โดยอนุโลม
ส่วน ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
(1) ลักษณะและข้อกําหนดเกี่ยวกับหุ้นกู้
การเสนอขายและการรายงานผลการขาย
ข้อ ๑๔ ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้หุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) เป็นหุ้นกู้ที่ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 15
(3) เป็นหุ้นกู้ที่มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(4) เป็นหุ้นกู้ที่มีมูลค่าไถ่ถอนรวมของหุ้นกู้เท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(5) เป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นตามข้อ 16 ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 13
(6) เป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ที่ออกในแต่ละครั้งโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้จะมีอยู่ตลอดอายุหุ้นกู้นั้น เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุผลอันสมควร ให้สํานักงานผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
ข้อ ๑๕ ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ข้อกําหนดสิทธิต้องมีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๖ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ขออนุญาตและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๑๗ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ต้องมีการกําหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ออกหุ้นกู้กับผู้ถือหุ้นกู้ในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้ด้อยสิทธินั้นอย่างชัดเจน โดยหุ้นกู้นั้นต้องเป็นหุ้นกู้ที่กําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือ
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท หรือ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๘ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท(perpetual bond) ผู้ออกหุ้นกู้ต้องระบุให้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท
ความในข้อนี้มิได้เป็นการห้ามมิให้ผู้ออกหุ้นกู้ให้สิทธิผู้ถือหุ้นกู้ในการเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท แต่ในกรณีเช่นว่านี้ผู้ออกหุ้นกู้ต้องระบุถึงสิทธิดังกล่าว ตลอดจนเงื่อนไขและระยะเวลาที่ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธินั้นไว้ให้ชัดเจนในข้อกําหนดสิทธิ
ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกัน หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และสามารถดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใดๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย
ข้อ ๒๐ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ระยะสั้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีรายงานวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นดังกล่าวด้วย
ข้อ ๒๑ หุ้นกู้ที่เสนอขายตามข้อ 13 ต้องเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และในการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความในใบหุ้นกู้ที่แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เป็นบุคคลอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบันประเภทที่กําหนดตามข้อ 13 เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองด้วย
ข้อ ๒๒ ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 13 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้นกู้นั้น โดยต้องกําหนดให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) เก็บรักษาเงินค่าจองซื้อหุ้นกู้ไว้ในบัญชีที่เปิดไว้เฉพาะเพื่อการจองซื้อหุ้นกู้
(2) ส่งมอบเงินค่าจองซื้อจากบัญชีจองซื้อหุ้นกู้ให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่กําหนดตาม (3)
(3) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้หรือไม่อาจจัดให้มีหลักประกันการออกหุ้นกู้ตามข้อกําหนดสิทธิ (ถ้ามี) ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์คืนเงินค่าจองซื้อหุ้นกู้พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากบัญชีจองซื้อหุ้นกู้ตาม (1) ให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้
(4) กําหนดให้ใบจองซื้อหุ้นกู้ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
(ก) ผู้จองซื้อหุ้นกู้ยินยอมแต่งตั้ง (ชื่อบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(ข) ผู้จองซื้อหุ้นกู้ยินยอมผูกพันตามข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ สําหรับหุ้นกู้ (ชื่อเฉพาะของหุ้นกู้ที่ใช้ในการอ้างอิง) ทุกประการ หากผู้จองซื้อได้รับการจัดสรรหุ้นกู้
(ค) ผู้จองซื้อหุ้นกู้อาจตรวจดูข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานแห่งใหญ่ของผู้ออกหุ้นกู้ และสํานักงานของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้โดยไม่ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้นําความในวรรคหนึ่งในส่วนที่กําหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาต โดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ ในกรณีการออกหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๒๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งเอกสารที่มีการรับรองความถูกต้องดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมกับรายงานผลการขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย
(1) สําเนาข้อกําหนดสิทธิ
(2) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(3) หนังสือยอมรับการแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(4) รายงานวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
(2) ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง
ภายหลังการเสนอขาย
ข้อ ๒๕ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหุ้นกู้ส่งเอกสารตามข้อ 12(2) ถึง (4) และเอกสารที่แสดงได้ว่าการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นกู้ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิแล้ว ต่อสํานักงาน
เมื่อผู้ออกหุ้นกู้ได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้เปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้ผู้ออกหุ้นกู้ส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๒๖ ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดสิทธิ หรือสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทําได้ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ และผู้ออกหุ้นกู้ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในหนังสือนัดประชุมต้องระบุถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดกับผู้ถือหุ้นกู้อย่างชัดเจนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ได้เห็นชอบกับการแก้ไขข้อกําหนดสิทธิดังกล่าวด้วยวิธีการตามที่กําหนดในข้อกําหนดสิทธิ
(2) แจ้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพร้อมทั้งสําเนาข้อกําหนดสิทธิหรือสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อสํานักงาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดสิทธิตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ในส่วนที่ว่าด้วยการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพและอัตราร้อยละของหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการแปลงสภาพด้วย
(3) การยกเลิกสิทธิในการเสนอขายหุ้นกู้ได้หลายครั้ง
สําหรับระยะเวลาที่เหลือ
ข้อ ๒๗ ระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หากบริษัทมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 10 หรือไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดตามส่วนนี้ได้ ให้บริษัทแจ้งเหตุดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุนั้น
ข้อ ๒๘ เมื่อปรากฏว่าบริษัทใดไม่สามารถแก้ไขเหตุที่ทําให้คุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 10 ได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งเหตุดังกล่าวต่อสํานักงาน หรือเสนอขายหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนนี้อย่างมีนัยสําคัญ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งยกเลิกสิทธิของบริษัทในการเสนอขายหุ้นกู้สําหรับระยะเวลาที่เหลืออยู่ก็ได้
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่งไม่กระทบต่อการบังคับตามกฎหมายระหว่างคู่สัญญาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้ที่ได้ออกไปก่อนหรือหลังวันที่คําสั่งของสํานักงานมีผลบังคับ
หมวด ๓ การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้
ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 6 วรรคสอง
ส่วน ๑ การขออนุญาตและการอนุญาต
ข้อ ๒๙ ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๓๐ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตในการเสนอขายหุ้นกู้ตามหมวดนี้ต้องมีคุณสมบัติและมีการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) ได้จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขาย ซึ่งแสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะตามข้อ 6 วรรคสอง (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(4) ได้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกัน หรือหุ้นกู้ที่จะจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ก) ร่างข้อกําหนดสิทธิ
(ข) คําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมคํารับรองว่าบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ค) หนังสือยอมรับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ง) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 6 วรรคสอง (1) หรือ (2) และผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังกล่าวมาก่อน ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าระยะเวลานับจากวันที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวในครั้งก่อน จนถึงวันที่ยื่นคําขออนุญาตในครั้งนี้ต้องห่างกันไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(6) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 6 วรรคสอง (4)ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ
ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
ข้อ ๓๑ ให้นําความในข้อ 14(1) (3) และ (4) ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 24 และข้อ 25 ในส่วนที่ 3 ของหมวด 2 มาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้ง แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(2) จัดให้เอกสารที่โฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหุ้นกู้ (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ต่อบุคคลเป็นการทั่วไป และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับหุ้นกู้ที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายไปให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้การเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 6(1) (2) (3) หรือ (4) เท่านั้น
ข้อ ๓๔ หุ้นกู้ที่เสนอขายตามหมวดนี้ต้องเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ
ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ต้องดําเนินการขายหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน นับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
บทเฉพาะกาล -
ข้อ ๓๖ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งประกาศสํานักงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตจะได้แจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ถึงความประสงค์ที่จะอยู่ภายใต้บังคับข้อกําหนดในการขออนุญาตและการอนุญาตตามประกาศนี้
ข้อ ๓๗ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,024 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 48/2545
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
โดยที่เป็นการสมควรให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และนําข้อกําหนดในเรื่องดังกล่าวมากําหนดรวมไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตสําหรับหลักทรัพย์ที่มีลักษณะสําคัญเป็นอย่างเดียวกันมีความสอดคล้องกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) มาตรา 49 และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2541
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ
ที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2541
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ
ที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่
14 ตุลาคม พ.ศ. 2541
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 23/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) และ (3/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(3/1) “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
(3/2) “การใช้สิทธิแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจาก
ข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของบริษัท ซึ่งให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีประกาศใช้บังคับเป็นการเฉพาะซึ่งรวมถึงหุ้นกู้ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้ที่เสนอขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(2) หุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ประกอบหมวด 4 หรือหมวด 3 ประกอบหมวด 4 แล้วแต่กรณี”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ข้อ 7/2 และข้อ 7/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 7/1 ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
ข้อ 7/2 ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้มาใช้บังคับกับการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
ข้อ 7/3 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามประกาศนี้ ให้รวมถึงการขออนุญาตและอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพด้วย
ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องดําเนินการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพภายในอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่อาจใช้สิทธิแปลงสภาพได้แล้ว ให้การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพในส่วนที่ไม่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ 7/4 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าจะด้วยเหตุที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ก็ตาม หากผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องออกหุ้นที่ออกใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าว ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจะสามารถขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ
อย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ได้ทุกลักษณะ โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขาย ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต แต่ทั้งนี้ การอนุญาตจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ซึ่งมิใช่หุ้นกู้แปลงสภาพผู้ยื่นคําขอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนการอนุญาตที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวด 2 แล้ว
(2) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ผู้ยื่นคําขอได้รับแจ้งจากสํานักงานถึงผลการพิจารณาว่าผู้ยื่นคําขอมีคุณลักษณะและได้ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวด 2 และส่วนที่ 1 ของหมวด 4 แล้ว”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายถึง
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนรวม
(13) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (12) โดยอนุโลม”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) เป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ที่ออกในแต่ละครั้งโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่
(ก) เป็นหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(ข) เป็นหุ้นกู้ที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(ค) เป็นหุ้นกู้ที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้จะต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้นั้นจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้นเว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่”
ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(5) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 26 การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ออกหุ้นกู้ต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพ ผู้ออกหุ้นกู้จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ในการนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้ในหมวด 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 6 วรรคสอง (1) หรือ (2) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าการออกหุ้นกู้ดังกล่าวในแต่ละลักษณะและแต่ละรุ่นจะมีการเสนอขายด้วยระยะเวลาที่ห่างกันไม่น้อยกว่าสี่เดือนนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 6 วรรคสอง (1) หรือ (2) ในรุ่นก่อน (ถ้ามี)”
ข้อ 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(7) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ขออนุญาตต้องมีคุณลักษณะและต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามความในส่วนที่ 1 ของหมวด 4 ด้วย”
ข้อ 15 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 6 วรรคสอง (4) สํานักงานอาจผ่อนผัน
มิให้นําเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวก็ได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน”
ข้อ 16 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ในการนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตส่วนที่ 1 ของหมวด 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 17 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“หมวด 4
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขาย
หุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ
ส่วนที่ 1
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับบริษัทและหุ้นกู้แปลงสภาพ
ข้อ 35/1 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามหมวด 2 ประกอบหมวดนี้ บริษัทต้องมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามส่วนนี้ เพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์ ทั้งนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาความมีผลสมบูรณ์ของการอนุญาตต่อบริษัทภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามหมวด 3 ประกอบกับหมวดนี้ บริษัทจะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามส่วนนี้ และให้ระยะเวลาการพิจารณาคําขออนุญาตเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหมวด 3
ข้อ 35/2 บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับตามประกาศนี้ต้อง
(1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัด
(2) ได้จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 35/3
(3) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพอย่างเพียงพอ และมตินั้นได้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นสําเนามติดังกล่าวต่อสํานักงานเพื่อการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีหุ้นที่รองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท
(ข) มีการกําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอน
(ค) ในกรณีที่มีข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพ ข้อกําหนดนั้นต้องมีความเป็นธรรม ชัดเจน และหากเหตุแห่งการบังคับแปลงสภาพขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต เหตุการณ์นั้นจะต้องไม่อยู่ในอํานาจควบคุมของบริษัท
(ง) ในกรณีที่ไม่มีข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ ต้องมีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิวันสุดท้าย
ความใน (ค) และ (ง) ให้ใช้บังคับเฉพาะกับบริษัทที่ขออนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพตามหมวด 2 ประกอบหมวดนี้ และมิใช่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 13 โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าว
(5) ส่งเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(ก) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และ
(ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามหมวด 2 ประกอบหมวดนี้ และมิใช่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 13 โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าว บริษัทที่จะได้รับอนุญาตจะต้องมีคุณลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนด้วย
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยกําหนดราคาใช้สิทธิแปลงสภาพเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําด้วย
ข้อ 35/3 หนังสือนัดประชุมตามข้อ 35/2(2) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ หรือเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น
(2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากจะมีการใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท
ส่วนที่ 2
เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
ข้อ 35/4 ความในส่วนนี้ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้แปลงสภาพที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ประกอบหมวดนี้ และเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 13 โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าว
(2) หุ้นกู้แปลงสภาพที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 3 ประกอบหมวดนี้
ข้อ 35/5 ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพอันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น
(2) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ใด ๆ ในราคาที่ต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นนั้นหรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายหุ้นนั้น และเป็นวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพใด ๆ โดยกําหนดราคาหรือคํานวณราคาของหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณโดยใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นหรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น ทั้งนี้ ตามวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(4) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น
(5) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) ถึง (5) ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เข้าลักษณะตาม (1) ถึง (6) ซึ่งได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยแสดงได้ว่า จะมีมาตรการอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ลงทุนในทุกทอดทราบก่อนการลงทุนว่า ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจะไม่ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว
เมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าว เป็นลายลักษณ์อักษรให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธินั้น
ข้อ 35/6 ให้ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้
ในการกําหนดค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าส่วนต่างของราคาตลาดของหุ้นของบริษัทซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพในวันที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ กับราคาที่คํานวณได้จากอัตราการแปลงสภาพ”
ข้อ 18 ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 อยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าว รวมทั้งประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ 19 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,025 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 14/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 14/2547
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 33 ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 6(1) (2) (3) หรือ (4) เท่านั้น”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) และ (4) ของข้อ 35/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ และมตินั้นได้มาไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันที่ยื่นสําเนามติดังกล่าวต่อสํานักงานเพื่อการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท ในจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 35/2 ทวิ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม
2. มีการกําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนและไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 35/5
3. ในกรณีที่มีข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพ หรือข้อกําหนดที่ให้สิทธิบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกําหนด ข้อกําหนดนั้นต้อง
1. มีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ ไม่ได้
2. กําหนดให้บริษัทต้องบังคับแปลงสภาพหรือเรียกให้มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดไว้
3. มีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อกําหนดดังกล่าว
4. ต้องมีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ เว้นแต่เป็นการแปลงสภาพตามข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ
ความใน (ค) และ (ง) ให้ใช้บังคับเฉพาะกับบริษัทที่ขออนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพตามหมวด 2 ประกอบหมวดนี้ และมิใช่เป็นการเสนอขายตามข้อ 13”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 35/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกูที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยกําหนดราคาใช้สิทธิแปลงสภาพเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําและอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําด้วย”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/2 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 35/2 ทวิ จํานวนหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุญาตเสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในครั้งอื่น ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งบริษัทจะเสนอขายควบคู่กับหุ้นกู้แปลงสภาพในครั้งนี้ (ถ้ามี)
1. จํานวนหุ้นที่บริษัทได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 35/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35/3 หนังสือนัดประชุมตามข้อ 35/2(2) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น
2. ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีใช้สิทธิแปลงสภาพ ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไร และผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution)
3. วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ
4. ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท”
ข้อ 6 ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวต่อไป โดยบริษัทต้องเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ได้รับอนุญาตตามประกาศดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามเงื่อนไขและภายในระยะเวลาที่กําหนดในประกาศดังกล่าว
ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากบริษัทได้ใช้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวประกอบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ยื่นต่อสํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้คําขออนุญาตดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์การอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,026 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 33/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 33/2547
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“(2/1) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“(3) หุ้นกู้ระยะสั้น”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ในวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีมูลค่าที่เสนอขายไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) มีผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามซึ่งพิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ในกรณีที่การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ครั้งใด เป็นการเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมิได้จัดให้มีหลักประกันสําหรับหุ้นกู้และมิได้จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หากผู้ขออนุญาตได้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีรายละเอียดตามเอกสารดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ณ วันที่มีการยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วน
1. ร่างข้อกําหนดสิทธิ
2. หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นมิให้มีการโอนไปยังบุคคลอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 9 ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 33 ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 6(1) (2) (3) หรือ (4) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น”
ข้อ 12 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,027 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 9/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 9/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) (ก) มีผู้บริหารที่เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
1. มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“ข้อ 11 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 10(3)(ข) หรือ (4) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ยื่นคําขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 10(3)(ข) หรือ (4) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้วสํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดคุณลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,028 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 26/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 26/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(2/1) มีงบการเงินและงบการเงินรวม ประจํางวดปีบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งเอกสารที่มีการรับรองความถูกต้องดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมกับรายงานผลการขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้งต่อสํานักงาน
1. สําเนาข้อกําหนดสิทธิ
2. สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
3. หนังสือยอมรับการแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(4) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตที่เป็นบริษัทจํากัด ให้ใช้บังคับตั้งแต่งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป และงบการเงินรายไตรมาสของปีบัญชีดังกล่าว
ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,029 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 40/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 40/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 5 และมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชบัญญัติและพระราชกําหนดที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) (1/2) (1/3) และ (1/4) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(1/1) “โครงการ” หมายความว่า โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(1/2) “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะได้กระทําภายใต้พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือไม่ก็ตาม
(1/3) “ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้” (servicer) หมายความว่า ผู้ที่ให้บริการเรียกเก็บและรับชําระหนี้ที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง และดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(1/4) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
1. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
2. บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
4. สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(3) หุ้นกู้ระยะสั้นซึ่งไม่รวมถึงหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจ”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 6/1 ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ประกอบหมวด 5 หรือหมวด 3 ประกอบหมวด 5 แล้วแต่กรณี”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) เป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดไว้ในข้อ 14/1”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 14/1 หุ้นกู้ที่เสนอขายต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
2. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้ที่เสนอขายมีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
1. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร
และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
1. กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้จะต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“หมวด 5
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขาย
หุ้นกู้ตามโครงการ
ส่วนที่ 1
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไป
ข้อ 35/7 ให้บุคคลที่จะเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากสํานักงานและบริษัทที่จะเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นคําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่มาพร้อมกัน ในแต่ละครั้งก่อนเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ 35/8 ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ (originator) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ง) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด
1. มีผู้บริหารที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารเป็นไปตามข้อ 10(3)(ก) โดยอนุโลม
2. มีผู้มีอํานาจควบคุมที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 10(3)(ข) โดยอนุโลม
ข้อ 35/9 โครงการที่จะได้รับอนุมัติจากสํานักงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. สินทรัพย์ที่จะโอนไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องเป็นสิทธิเรียกร้องไม่ว่าประเภทใด ๆ ของผู้ยื่นโครงการที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต หรือสิทธิอื่นใดที่ผู้เสนอโครงการสามารถแสดงได้อย่างชัดเจนว่าจะก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต โดยสิทธิเรียกร้องหรือสิทธิอื่นใดดังกล่าวต้องเป็นประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน และผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องแสดงได้ว่าจะไม่เพิกถอนสิทธิหรือกระทําการใด ๆ ที่จะมีหรืออาจมีผลให้สิทธินั้นด้อยลง
2. หุ้นกู้ที่จะออกและเสนอขายตามโครงการต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 14 และต้องไม่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ
3. ในกรณีที่จะมีการลงทุนหรือหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับที่เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้อง ซึ่งสามารถกระทําได้ตามข้อ 35/14(3) ต้องกําหนดแนวทางและวิธีการลงทุนหรือการหาผลประโยชน์นั้นไว้อย่างชัดเจน
4. จัดให้มีผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ โดยอาจจัดให้มีผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (backup servicer) ด้วยก็ได้
ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้หรือผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) ที่ไม่ใช่ผู้เสนอโครงการ ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(ค) สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางการ หรือ
(ง) นิติบุคคลที่มีลักษณะตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสามารถในการให้บริการหรือการจัดให้มีระบบเพื่อรองรับการเรียกเก็บหนี้
(5) ระบุแผนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการให้ชัดเจน
ข้อ 35/10 นิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามหมวดนี้ ก็ต่อเมื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวไม่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการอื่น เว้นแต่สิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้ดังกล่าวจะระงับไปทั้งหมดแล้ว
เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน นิติบุคคลเฉพาะกิจอาจเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหุ้นกู้รุ่นหนึ่งหรือหลายรุ่นในคราวเดียว
1. เสนอขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้รุ่นเดิมภายใต้วงเงินที่ระบุไว้ตามโครงการ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิมนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. มีกําหนดระยะเวลาการไถ่ถอนไว้ไม่เกินอายุโครงการ
2. เป็นหุ้นกู้ที่เสนอขายภายใต้ข้อกําหนดสิทธิหลักฉบับเดียวกันหรือที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ไม่ด้อยไปกว่าผู้ถือหุ้นกู้รุ่นเดิมที่จะไถ่ถอน ทั้งนี้ หุ้นกู้แต่ละรุ่นอาจมีข้อกําหนดในเชิงพาณิชย์ (commercial terms) ที่แตกต่างกันได้ เช่น อัตราดอกเบี้ย อายุ วันที่ออก วันที่ครบกําหนดไถ่ถอน เป็นต้น
สํานักงานอาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อนี้ได้ หากผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจแสดงได้ว่าการออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่ขออนุญาตจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นกู้ที่นิติบุคคลเฉพาะกิจเคยออกและเสนอขายไปแล้ว
ข้อ 35/11 สัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ ดังต่อไปนี้
1. การจัดให้มีระบบบัญชีสําหรับการปฏิบัติหน้าที่และจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องแยกต่างหากจากส่วนงานอื่นของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้
2. หน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายเดิมในการดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ โดยต้องกําหนดเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ไว้ให้ชัดเจน
3. การโอนเงินที่เรียกเก็บได้จากสินทรัพย์เข้าบัญชีของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งต้องกระทําโดยเร็วที่สุด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่เรียกเก็บเงินได้ดังกล่าว โดยต้องกําหนดข้อห้ามนําเงินซึ่งได้รับมาเพื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจไปใช้เพื่อการอื่นใด ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจมีข้อตกลงที่จะหักกลบลบหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์กับผู้เสนอโครงการซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ด้วย ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้มีสิทธิหักค่าซื้อสินทรัพย์จากเงินที่เรียกเก็บได้แต่ต้องโอนเงินส่วนที่เหลือเข้าบัญชีของนิติบุคคลเฉพาะกิจภายในระยะเวลาเดียวกัน
4. การจัดทําและนําส่งรายงานเป็นรายไตรมาส ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการเรียกเก็บเงินจากสินทรัพย์ และยอดสินทรัพย์คงเหลือของโครงการต่อนิติบุคคลเฉพาะกิจและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการสํารอง สัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการสํารองต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการสํารองตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ข้อ 35/12 นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 15 แล้ว ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย
1. รายการทั่วไปของโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุถึงชื่อและที่อยู่ของผู้เสนอโครงการ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งประเภท ลักษณะและมูลค่าของสินทรัพย์ที่นิติบุคคลเฉพาะกิจรับโอนมาจากผู้เสนอโครงการ
2. ข้อกําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อพิจารณาดําเนินการอันจําเป็นตามควรโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ผู้เสนอโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือบุคคลอื่นใดที่เป็นคู่สัญญาที่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามโครงการ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาในสาระสําคัญ
3. ข้อกําหนดให้การแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายใหม่ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนการแต่งตั้ง
4. ข้อกําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องรายงานให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทราบถึงการซื้อสินทรัพย์ รับโอน หรือโอนคืนสินทรัพย์ให้กับผู้เสนอโครงการ ภายในกําหนดระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการทํารายการดังกล่าว
ข้อ 35/13 นอกจากรายการและสาระสําคัญที่กําหนดไว้ในข้อ 16 แล้ว สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายตามโครงการ ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องติดตามให้ผู้เสนอโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้และผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) หรือบุคคลอื่นใดที่เป็นคู่สัญญาที่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ดําเนินการตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
ข้อ 35/14 นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามโครงการ โดยต้องรับโอนสินทรัพย์ตามจํานวนขั้นต่ําที่ระบุไว้ในโครงการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานอนุมัติโครงการ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
2. ต้องเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้รุ่นเดิมตามข้อ 35/10 วรรคสอง (2)
3. ในกรณีที่มีการหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับจากสินทรัพย์ ต้องเป็นการลงทุนในธุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่ําและมีกําหนดระยะเวลาการชําระคืนก่อนวันถึงกําหนดชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่เป็นผลให้กระแสรายรับไม่เพียงพอต่อการชําระหนี้ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึง การลงทุนในบัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกโดยสถาบันการเงินตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
4. รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกําหนดไถ่ถอนต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการไถ่ถอน
ข้อ 35/15 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 6 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) หรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ มิให้นําข้อกําหนดดังต่อไปนี้มาใช้บังคับ
1. ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมของผู้เสนอโครงการตามข้อ 35/8 (2) และ (3)
2. ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้หรือผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง ตามข้อ 35/9(4) วรรคสอง
3. ข้อกําหนดเกี่ยวกับสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ตามข้อ 35/11
4. ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ตามข้อ 35/12
5. สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อ 35/13
6. ข้อกําหนดเกี่ยวกับการหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับที่เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องตามข้อ 35/14(3)
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน มิให้นําข้อกําหนดตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง (2) ถึง (6) มาใช้บังคับ
ส่วนที่ 2
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับโครงการที่จะเสนอขาย
ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ข้อ 35/16 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวบางส่วนต่อผู้ลงทุนสถาบันในประเทศด้วยหรือไม่
ข้อ 35/17 ผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามส่วนนี้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. สามารถแสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ยื่นขออนุญาตจะกระทําต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ และในกรณีที่มีบางส่วนเสนอขายในประเทศ ส่วนที่เสนอขายในประเทศนั้นต้องเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น
2. สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขาย หรือการโอนหุ้นกู้ที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ เว้นแต่เป็นการซื้อขายระหว่างผู้ลงทุนในต่างประเทศและผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ หรือระหว่างผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ
ข้อ 35/18 ในกรณีที่มีการจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อสามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายแห่งประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้นหรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
2. เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้น หรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อแสดงได้ว่ากฎหมายของประเทศดังกล่าวมีข้อห้ามการจัดตั้งทรัสต์
การให้ความเห็นชอบผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ 35/19 ให้ผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศภายในสามวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แนบหนังสือชี้ชวนไปพร้อมกับการแจ้งดังกล่าวด้วย
ส่วนที่ 3
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับโครงการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์
และความคุ้มครองตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
ข้อ 35/20 นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 10 แล้ว นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จะได้รับอนุมัติจากสํานักงานต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
มีวัตถุประสงค์จํากัดเฉพาะการประกอบธุรกิจเฉพาะเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหุ้นกู้ไปชําระให้แก่ผู้เสนอโครงการ เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการโอนสินทรัพย์ตามโครงการ
2. มีข้อกําหนดเกี่ยวกับนโยบายในการจัดสรรกระแสรายรับที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องในการชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตลอดอายุโครงการ
3. มีข้อกําหนดห้ามจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจ
ข้อ 35/21 นอกจากคําเรียกชื่อหุ้นกู้ตามข้อ 14(1) แล้ว หุ้นกู้ที่เสนอขายตามส่วนนี้ต้องมีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะว่าเป็นหุ้นกู้ที่ออกภายใต้โครงการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ไว้ให้ชัดเจน
ข้อ 35/22 เมื่อสถานะนิติบุคคลเฉพาะกิจสิ้นสุดลง ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือทั้งหมดกลับคืนให้ผู้เสนอโครงการภายในสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นสุดสถานะดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร
ให้กรรมการของนิติบุคคลเฉพาะกิจรายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 9 ให้ข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ยังคงใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ ต่อไป
1. บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับ
2. คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 10 ให้ข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 31/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ยังคงใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ ต่อไป
1. โครงการที่ได้รับอนุญาตก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
2. คําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ การปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) ตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์รองรับการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ securitization ซึ่งมิได้กระทําภายใต้พระราชกําหนดฉบับดังกล่าว เพื่อให้สอดรับกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการออกและเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ securitization มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทําให้ผู้ลงทุนมีความรู้และความสนใจลงทุนในหุ้นกู้ดังกล่าวมากขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้หลักการรักษาดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนและการอํานวยโอกาสในการระดมทุนให้แก่ผู้ต้องการเงินทุน | 4,030 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 60/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 60/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/5) และ (1/6) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 ตุลามคม พ.ศ. 2548
“(1/5) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(1/6) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
“(7) เป็นหุ้นกู้ที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 23/1”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 23/1 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้”
ข้อ 4 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามหมวด 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ไม่จําต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้รุ่นที่เสนอขายก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ การปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อดําเนินการให้เป็นไป
ตามนโยบายของคณะกรรมการกํากับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้มีสมาคมตลาด
ตราสารหนี้ไทยทําหน้าที่ติดตามตรวจสอบภาวะตลาด (Market Surveillance) ที่มีประสิทธิภาพ
ทําหน้าที่เป็น Bond Pricing Agency และเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดตราสารหนี้ (Information Center)
ในตลาดแรกและตลาดรองที่ครบถ้วนเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลใช้ในการตัดสินใจลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ | 4,031 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 32/2547
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) มาตรา 49 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ที่เป็นหลักทรัพย์ และการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
(4) “ตั๋วเงินระยะสั้น” หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีวันถึงกําหนดใช้เงินในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันออกตั๋ว
(ข) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น
(5) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ และหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(6) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ของบริษัท
ข้อ ๕ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
ข้อ ๖ คําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวด 1 หรือหมวด 2 แห่งประกาศนี้ให้เป็นไปตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตในอัตราคําขอละ 10,000 บาท ในวันที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๗ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามประกาศนี้ต่อบริษัทผู้ยื่นคําขออนุญาตภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทผู้ยื่นคําขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่บริษัทผู้ยื่นคําขออนุญาตไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าบริษัทผู้ยื่นคําขออนุญาตไม่ประสงค์จะยื่นขออนุญาตนั้นอีกต่อไป
หมวด ๑ การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้น
ในลักษณะทั่วไป
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๘ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามหมวดนี้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน โดยคําขออนุญาตแบ่งได้เป็นสองประเภทดังต่อไปนี้
(1) ขออนุญาตเป็นโครงการ ซึ่งเป็นการขออนุญาตเพื่อการเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นภายใต้สัญญาหลักที่ผูกพันการออกตั๋วเงินระยะสั้นฉบับเดียวกัน (ถ้ามี) หรือการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นภายใต้ข้อกําหนดสิทธิหลักฉบับเดียวกัน ภายในอายุโครงการซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินสามปี โดยต้องระบุวงเงินสูงสุดที่ขออนุญาต ทั้งนี้ ตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกและเสนอขายภายใต้โครงการดังกล่าวต้องมีลักษณะเหมือนกัน เว้นแต่ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อายุ วันที่ออกและวันที่ครบกําหนดไถ่ถอน
(2) ขออนุญาตเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขออนุญาตเพื่อการเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นครั้งเดียวหรือหลายครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปี
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นเป็นโครงการที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บริษัทยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู
ข้อ ๙ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เว้นแต่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ให้รวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน อย่างมีนัยสําคัญ
ให้ถือว่าบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปตามหมวด 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ตามหมวดนี้แล้ว ภายใต้กรอบระยะเวลาที่บริษัทได้รับอนุญาตตามประกาศว่าด้วยหุ้นกู้ที่ออกใหม่ดังกล่าว แต่ในการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นดังกล่าว บริษัทต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ด้วย
ข้อ ๑๐ การอนุญาตตามคําขอที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้มีผลดังนี้
(1) กรณีได้รับอนุญาตเป็นโครงการ บริษัทสามารถออกและเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นและหุ้นกู้ระยะสั้นได้ภายในวงเงินที่ได้รับอนุญาต โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย ภายในอายุโครงการซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต ทั้งนี้ ต้องเสนอขายครั้งแรกภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
(2) กรณีได้รับอนุญาตเป็นรายปี บริษัทสามารถออกและเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นและหุ้นกู้ระยะสั้นได้โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขาย ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต โดยให้แจ้งลักษณะของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในแต่ละครั้งต่อสํานักงานพร้อมกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บริษัทยื่นเอกสารตามมาตรา 41 ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายในแต่ละครั้ง
ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
(1) ลักษณะและข้อกําหนดเกี่ยวกับตั๋วเงินระยะสั้นและหุ้นกู้ระยะสั้น
และการรายงานการชําระหนี้
ข้อ ๑๑ ตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกและเสนอขายตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีข้อความ “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะทั่วไป” อยู่บนด้านหน้าตั๋ว
(2) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 เว้นแต่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ ๑๒ หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกและเสนอขายตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ระยะสั้นที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ระยะสั้นดังกล่าวต้องแสดงลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 14
(3) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(4) มีมูลค่ารวมของการไถ่ถอนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้ระยะสั้นนั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(5) มีสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นไปตามข้อ 15 (เฉพาะกรณีที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้)
(6) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 เว้นแต่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน และมีการจดข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าว
ข้อ ๑๓ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั๋วเงินระยะสั้นตามข้อ 11(2) หรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามข้อ 12(6) หมายถึง การจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสาร
(2) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกตราสาร
(3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้ค้ําประกันหนี้ทั้งจํานวนโดยปราศจากเงื่อนไข
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งต้องจัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ เว้นแต่การจัดอันดับความน่าเชื่อถือสาขาธนาคารต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้น หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกันตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้น อาจจัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor, Moody’s, Fitch หรือสถาบันอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด ก็ได้ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายดังกล่าวเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามวรรคนี้
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นจะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้น โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๑๔ ในการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ข้อกําหนดสิทธิต้องมีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๕ ในกรณีเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ออกหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๑๖ ในกรณีเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่จัดให้มีหลักประกัน ไม่ว่าหลักประกันจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ระยะสั้น และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นจัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๑๗ ในกรณีการออกหุ้นกู้ระยะสั้นมีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ออกหุ้นกู้จะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๑๘ ให้บริษัทที่ออกตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามหมวดนี้รายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงินหรือการไถ่ถอนหุ้นกู้ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง
ภายหลังการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๑๙ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ระยะสั้น ให้ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นส่งเอกสารต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๒๐ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ระยะสั้นภายหลังการออกหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ ซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้นต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้น
(3) การยกเลิกสิทธิในการเสนอขาย
ตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๒๑ ระหว่างระยะเวลาที่บริษัทได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ หากสํานักงานพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้บริษัทขาดลักษณะที่จะได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ หรือบริษัทไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดตามส่วนนี้ได้ ในส่วนที่มีนัยสําคัญ และบริษัทไม่สามารถแก้ไขลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทระงับการเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นจํานวนใหม่
และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าการอนุญาตของสํานักงานที่ได้ให้ไว้แล้วสิ้นผลนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไป
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่งไม่กระทบต่อการบังคับตามกฎหมายระหว่างคู่สัญญาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้ออกไปก่อนหรือหลังวันที่คําสั่งของสํานักงานมีผลบังคับ
หมวด ๒ การเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นในลักษณะจํากัด
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์อนุญาต
ข้อ ๒๒ บริษัทที่จะออกและเสนอขายตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นตามหมวดนี้ได้ต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 9(1) และ (2) โดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตั๋วเงิน หากตั๋วเงินที่เสนอขายเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายได้ตามหมวดนี้
(1) ตั๋วเงินที่บริษัทออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ไม่จํากัดจํานวนและมูลค่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ง) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท
ข้อ ๒๔ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน โดยคําขออนุญาตแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
(1) ขออนุญาตเป็นโครงการ ซึ่งเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นภายใต้ข้อกําหนดสิทธิหลักฉบับเดียวกัน ภายในอายุโครงการซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินสามปี โดยต้องระบุวงเงินสูงสุดที่ขออนุญาต ทั้งนี้ หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกและเสนอขายภายใต้โครงการดังกล่าวต้องมีลักษณะเหมือนกัน เว้นแต่ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อายุ วันที่ออกและวันที่ครบกําหนดไถ่ถอน
(2) ขออนุญาตเป็นรายครั้ง ซึ่งเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นเฉพาะรุ่นที่แจ้งในคําขออนุญาต
ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บริษัทยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๒๕ หุ้นกู้ระยะสั้นที่จะได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ต้องมีการเสนอขายที่เข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีมูลค่าไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้นทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัทไม่เกินสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้ระยะสั้นแทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น
(3) เสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(4) เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทสามารถแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๒๖ หุ้นกู้ระยะสั้นที่จะออกและเสนอขายตามหมวดนี้ ต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 12(1) (3) (4) และ (5) โดยอนุโลม
นอกจากลักษณะที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกและเสนอขายตามหมวดนี้ต้องมีข้อจํากัดการโอนที่แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ระยะสั้นไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ระยะสั้นที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะตามข้อ 25 และได้มีการจดแจ้งข้อจํากัดการโอนดังกล่าวไว้กับสํานักงาน
ข้อ ๒๗ การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ให้ดําเนินการภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายตามที่ได้รับอนุญาตเป็นโครงการ ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในอายุโครงการซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต ทั้งนี้ ต้องเสนอขายครั้งแรกภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
(2) การเสนอขายตามที่ได้รับอนุญาตเป็นรายครั้ง ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
ข้อ ๒๘ ในการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ให้บริษัทจัดให้มีข้อความ “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะจํากัด” บนด้านหน้าของตั๋วเงิน
ข้อ ๒๙ ในการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ หากบริษัทจัดให้มีเอกสารประกอบการเสนอขาย เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ระยะสั้นเช่นเดียวกับที่ได้จดแจ้งไว้กับสํานักงาน และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๓๐ ห้ามมิให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ตามหมวดนี้โฆษณาการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นดังกล่าว และในกรณีที่เป็นการเสนอขายตั๋วเงิน ห้ามมิให้จัดให้มีบุคคลใดเป็นสื่อกลางในการเสนอขายตั๋วเงินดังกล่าว ไม่ว่าการกระทําของบุคคลดังกล่าวจะเข้าลักษณะการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือไม่ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย บริษัทต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 25(1) (2) (3) หรือ (4) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ข้อ ๓๑ หุ้นกู้ระยะสั้นที่เสนอขายตามหมวดนี้ต้องเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่แสดงข้อจํากัดการโอน
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อบริษัทที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ระยะสั้น ให้บริษัทตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ระยะสั้นดังกล่าว หากพบว่าเป็นการโอนที่จะขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน บริษัทต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่บริษัทจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ บริษัทต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๓๓ ให้บริษัทที่ออกตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามหมวดนี้รายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงินหรือการไถ่ถอนหุ้นกู้ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓๔ ระหว่างระยะเวลาที่บริษัทได้รับอนุญาตหรือถือว่าได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ หากสํานักงานพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้บริษัทขาดลักษณะที่จะได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ หรือบริษัทไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนนี้ได้ ในส่วนที่มีนัยสําคัญ และบริษัทไม่สามารถแก้ไขลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทระงับการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นจํานวนใหม่ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าการอนุญาตของสํานักงานที่ได้ให้ไว้แล้วหรือที่ถือว่าได้ให้ไว้แล้วเป็นอันสิ้นผลลงนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไป
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่งไม่กระทบต่อการบังคับตามกฎหมายระหว่างคู่สัญญาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้ออกไปก่อนหรือหลังวันที่คําสั่งของสํานักงานมีผลบังคับบริษัทที่ถูกสํานักงานสั่งระงับการเสนอขายตั๋วเงินตามหมวดนี้เนื่องจากเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถกลับมาเสนอขายตั๋วเงินตามหมวดนี้ใหม่ได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว หากภายหลังการถูกสั่งระงับดังกล่าว บริษัทแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทกลับมามีลักษณะตามที่จะได้รับอนุญาตตามหมวดนี้แล้ว หรือสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนนี้แล้ว
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๕ ให้หุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๓๖ ตั๋วเงินที่ได้มีการออกก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ไม่ว่าตั๋วเงินนั้นจะเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ ให้ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังต่อไปนี้ และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.14/2540 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540 และ
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ที่เป็นหลักทรัพย์ และการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และร่างหนังสือ
ชี้ชวน ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,032 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 54/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 54/2547
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) “คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “บริษัทย่อย” และ “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 23 บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตั๋วเงิน หากตั๋วเงินที่เสนอขายเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายได้ตามหมวดนี้
(1) ตั๋วเงินที่บริษัทออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ไม่จํากัดจํานวนและมูลค่า
1. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์
2. บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
4. บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ตั๋วเงินที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) ทั้งนี้ ไม่จํากัดจํานวนและมูลค่า
ให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วตามวรรคหนึ่ง ยื่นรายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงิน และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ยังมิได้มีการชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือ ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายตั๋วเงินเป็นครั้งแรกตามประกาศนี้ โดยปฏิบัติตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(3) ตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) หรือ (2) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 28 ในการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ให้บริษัทจัดให้มีข้อความ“ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะจํากัด” บนด้านหน้าของตั๋วเงิน
นอกจากข้อความตามวรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายตามข้อ 23(2) ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จัดให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า “โดยเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน” รวมทั้งต้องจัดให้มีข้อความ “และเปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “และมีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันไว้ด้วย”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,033 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 41/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 41/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ และหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั๋วเงินระยะสั้นตามข้อ 11(2) และหุ้นกู้ระยะสั้นตามข้อ 12(6) หมายถึง การจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. อันดับความน่าเชื่อถือตราสาร
2. อันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกตราสาร
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้อาวัลตราสารหรือผู้ค้ําประกันตราสาร โดยในกรณีที่เป็นการค้ําประกันจะต้องมีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
1. ตราสารที่เสนอขายมีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
2. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารนั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากบริษัทที่ออกตราสาร สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
3. กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารจะต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามตราสารจะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,034 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 58/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 58/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) และ (6/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 41/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
“(6/1) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(6/2) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(3) เป็นตั๋วเงินที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 17/1”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(7) เป็นหุ้นกู้ระยะสั้นที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 17/1”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“ข้อ 17/1 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้”
ข้อ 5 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นตามหมวด 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ไม่จําต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นรุ่นที่เสนอขายก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ การปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการกํากับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้มีสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทําหน้าที่ติดตามตรวจสอบภาวะตลาด (Market Surveillance) ที่มีประสิทธิภาพ ทําหน้าที่เป็น Bond Pricing Agency และเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดตราสารหนี้ (Information Center)ในตลาดแรกและตลาดรองที่ครบถ้วนเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลใช้ในการตัดสินใจลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ | 4,035 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 56/2545 เรื่อง ข้อกำหนดพิเศษสำหรับการขออนุญาตและการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 56/2545
เรื่อง ข้อกําหนดพิเศษสําหรับการขออนุญาตและการเสนอขาย
หลักทรัพย์ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 มาตรา 67 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อกําหนดที่ใช้บังคับกับบริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามหมวด 2 ให้มีผลใช้บังคับเป็นเวลาสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” และ “แบบแสดงรายการข้อมูล” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัทที่มีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ดี” หมายความว่า บริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบริษัทที่มีการจัดทํารายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานในมาตรฐานที่ดี ซึ่งประกาศโดยสํานักงาน
(3) “บริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี” หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการจัดอันดับการกํากับดูแลกิจการโดยมีคะแนนรวมตั้งแต่เจ็ดคะแนนขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และมีการเปิดเผยอันดับการกํากับดูแลกิจการของบริษัทต่อสาธารณชน
(4) “สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จํากัด
(5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ ข้อกําหนดพิเศษสําหรับ
บริษัทที่มีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ดี
ข้อ ๓ ให้บริษัทที่มีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ดีได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบร่วมจัดทําคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หมวด ๒ ข้อกําหนดพิเศษสําหรับ
บริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี
ส่วน ๑ การขออนุญาตและการอนุญาต
ข้อ ๔ ให้ถือว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยบริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดีในกรณีดังต่อไปนี้ ได้รับอนุญาตเป็นการทั่วไป โดยไม่ต้องยื่นคําขออนุญาตกับสํานักงาน
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(2) การเสนอขายหุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ที่ออกใหม่สําหรับกรณีทั่วไปตามหมวด 2 หรือหมวด 2 ประกอบหมวด 4 แห่ง ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออก ใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว
(3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะ ซื้อหุ้นดังกล่าว
การอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขอ อนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(2) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
ข้อ ๕ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นการทั่วไปตามส่วนนี้ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับข้อกําหนดในเรื่องอื่น ๆ ที่กําหนดไว้โดยหรืออาศัยอํานาจตาประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประเภทของหลักทรัพย์ที่ออกและเสนอขาย
ในกรณีเป็นการได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามส่วนนี้ยังคงอยู่ภายใต้บังคับต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้งตามที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าวด้วย
ส่วน ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๖ ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้บริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง
ข้อ ๗ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 4 วรรคหนึ่งที่ยื่นโดยบริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดีมีผลใช้บังคับในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน และค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนจากบริษัท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,036 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 55/2548 เรื่อง ข้อกำหนดพิเศษสำหรับการขออนุญาตและการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 55/2548
เรื่อง ข้อกําหนดพิเศษสําหรับการขออนุญาตและการเสนอขาย
หลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 มาตรา 67 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกหมวด 1 ข้อกําหนดพิเศษสําหรับบริษัทที่มีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ดีแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 56/2545 เรื่อง ข้อกําหนดพิเศษสําหรับการขออนุญาตและการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ข้อ 2 ให้ขยายระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของหมวด 2 ข้อกําหนดพิเศษสําหรับบริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 56/2545 เรื่อง ข้อกําหนดพิเศษสําหรับการขออนุญาตและการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สําหรับบริษัทที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งได้รับผลการจัดอันดับการกํากับดูแลกิจการในปี พ.ศ. 2548
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,037 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 30/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
โดยที่การกํากับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินทุนของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ต่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ลงทุน ภายใต้กรอบของกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนว่าบริษัทจัดการจะจัดการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมโดยมุ่งคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดังนั้น ในการกํากับดูแลธุรกิจการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จึงต้องกําหนดกรอบของกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานในการจัดการ เพื่อให้บริษัทจัดการในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ดําเนินการจัดการลงทุนโดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความระมัดระวัง โดยได้ใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างเต็มที่ และได้มีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ สมควรยกเลิกประกาศว่าด้วยการจัดตั้งและจัดการกองทุนตามที่ระบุไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 29/2547 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และนํามารวมไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 มาตรา 109 มาตรา 117 มาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่บริษัทจัดการมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนให้แก่กองทุน
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุน
“ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน” (repurchase agreement) หมายความว่า การขายหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะซื้อคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ เพื่อให้บริษัทจัดการประกอบกิจการสมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุนในฐานะผู้มีวิชาชีพ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกและดูแลให้บุคลากรมีคุณสมบัติเป็นไปตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร มาตรการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนหรือทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจการจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) กํากับดูแลและตรวจสอบให้บุคลากรปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานกําหนดหรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(4) ต้องไม่ปฏิบัติฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ
ข้อ ๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ถึงนโยบายการลงทุน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือสัญญาที่กองทุนรวมมุ่งหมายจะลงทุน สภาพคล่องของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ชนิดของหน่วยลงทุน วิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการของตนได้
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการ และภายในระยะเวลา รวมทั้งได้แนบเอกสารหลักฐานประกอบจนครบถ้วน ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในการพิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติให้เหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนแต่ละประเภทได้
ข้อ ๔ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการใดแล้ว หากปรากฏเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมของสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) มูลค่าของหน่วยลงทุนที่ขายได้มีจํานวนไม่มากพอที่จะทําให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการลงทุนต่อไป
(2) ลักษณะการขายหน่วยลงทุน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุน หรือลักษณะของผู้ลงทุน ไม่ได้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
เมื่อการอนุมัติสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้ออย่างเป็นธรรมและภายในระยะเวลาอันสมควร
ข้อ ๕ ในการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม และต้องมีรายการที่เพียงพออันแสดงถึงลักษณะบ่งเฉพาะของแต่ละกองทุนรวม และมูลค่าของกองทรัพย์สิน โดยในกรณีที่ข้อมูลซึ่งจดทะเบียนไว้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในทะเบียนทันที เพื่อทําให้ข้อมูลที่ปรากฏในทะเบียนเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
ข้อ ๖ เพื่อให้สอดคล้องกับการดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายด้านตลาดทุนในแต่ละช่วงเวลา หรือเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความชัดเจนในการเลือกใช้เครื่องมือในการลงทุนได้อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดประเภทหรือรายละเอียดของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการจะขออนุมัติจัดตั้ง หรือประเภทและลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับบริษัทจัดการได้
ข้อ ๗ ในการติดต่อชักชวนเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาของกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องพิจารณานโยบายการลงทุนของผู้ลงทุน และนําเสนอการลงทุนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ลงทุน โดยบริษัทจัดการต้องขอข้อมูลดังกล่าวจากผู้ลงทุนเพื่อประกอบการพิจารณา
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่นโยบายการลงทุนมีลักษณะเป็นมาตรฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๘ ในการขายหน่วยลงทุนหรือการติดต่อชักชวนให้ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องเปิดเผยหรือดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนหรือเข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับบริษัทจัดการ อย่างเพียงพอ และภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และมีสาระไม่ต่างจากข้อมูลที่ได้ยื่นไว้กับสํานักงาน
ข้อ ๙ เพื่อให้การจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของลูกค้า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีกรอบหรือนโยบายการลงทุน ข้อห้ามการลงทุน และสิทธิของลูกค้าในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ การกําหนดข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับบริษัทจัดการและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าด้วย
ข้อ ๑๐ บริษัทจัดการในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจให้จัดการกองทุน ต้องจัดการลงทุนโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง
ข้อ ๑๑ เพื่อให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เพื่อกองทุนจากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น ขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ก่อภาระผูกพัน หรือหาดอกผลหรือแสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีอื่น แล้วแต่กรณี อย่างรัดกุมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์ของกองทุน ลักษณะของผู้ลงทุน รวมทั้งอยู่บนหลักของการกระจายความเสี่ยง ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดประเภทหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น ขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ก่อภาระผูกพัน หรือการหาดอกผลหรือแสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีอื่น แล้วแต่กรณี ที่กองทุนแต่ละประเภทจะลงทุนหรือมีไว้ได้ รวมทั้งกําหนดอัตราส่วนการลงทุนและเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติได้
ข้อ ๑๒ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
การวัดผลการดําเนินงาน และการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ตามที่สมาคมกําหนด
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทจัดการปฏิบัติต่างจากหรือเพิ่มเติมจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดตามวรรคสอง
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการจะมอบหมายการจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้บุคคลอื่นกระทําแทน การมอบหมายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่ได้รับมอบหมายการจัดการดังกล่าวต้องเป็นบุคคลที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี และ
(2) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือเมื่อได้ระบุไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นกองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนรวมแล้วแต่กรณี
ในการมอบหมายการจัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง หรือการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน (back office) บริษัทจัดการต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายอีกต่อไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการยกเลิกการมอบหมายหรือเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับมอบหมายโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๔ เพื่อให้กองทุนรวมเปิดมีทรัพย์สินสภาพคล่องเพียงพอต่อการรองรับการขายคืนหน่วยลงทุน และเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อมีการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการต้องจัดให้กองทุนรวมเปิดดํารงสภาพคล่อง และรายงานเกี่ยวกับการดํารงสภาพคล่อง ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นต้องบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมเปิดเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีการขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจกู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนได้ต่อเมื่อ
(1) คู่สัญญาเป็นบุคคลประเภทสถาบัน
(2) ระยะเวลาการชําระหนี้จัดอยู่ในช่วงเวลาอันสั้น
(3) อัตราส่วนของการกู้ยืมเงินหรือการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมต่อความจําเป็นในการบริหารสภาพคล่องที่เกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๖ ในการจัดการกองทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อให้มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของกองทุนหรือลูกค้า เช่น กองทุนรวมมีประกัน กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ลูกค้าที่มีลักษณะการลงทุนเป็นแบบเดียวกัน เป็นต้น
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศของสํานักงานว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
ข้อ ๑๘ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติได้
(1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตลอดจนเมื่อเกิดการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าผิด
(2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน
(3) การควบหรือรวมกองทุนรวม
(4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุน
(5) วิธีปฏิบัติในกรณีที่กองทุนรวมเปิดมีสภาพคล่องไม่เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
(6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนและมีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน
ข้อ ๑๙ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีระบบงานและบุคลากร ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับไม่เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการปรับปรุงระบบและบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตาข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน และดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และหากบริษัทจัดการมิได้ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้เลิกกองทุนรวมนั้นได้
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้วแต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนในครั้งแรก และหากบริษัทจัดการมิได้ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการก่อนเสนอขายหน่วยลงทุน สํานักงานอาจสั่งให้ยุติโครงการหรือเลิกกองทุนรวมได้
ข้อ ๒๓ ให้บรรดาข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 29/2547 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแยังกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,038 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 14/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 มาตรา 109 มาตรา 117 มาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) บุคคลที่ได้รับมอบหมายการจัดการดังกล่าวต้องเป็นบุคคลที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเป็นการจัดการลงทุนในต่างประเทศ บุคคลที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจาก**จากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commission (IOSCO) และบุคคลดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสํานักงาน** และ ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นต้องบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมเปิดเป็นการชั่วคราว บริษัทจัดการอาจกู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนได้ต่อเมื่อ
1. คู่สัญญาเป็นบุคคลประเภทสถาบัน
2. ระยะเวลาการชําระหนี้จัดอยู่ในช่วงเวลาอันสั้น
3. อัตราส่วนของการกู้ยืมเงินหรือการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมต่อความจําเป็นในการบริหารสภาพคล่องที่เกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว
(4) การทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนต้องใช้รูปแบบสัญญาที่เป็นมาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีโดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศของสํานักงานว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Committee หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,039 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 54/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 54/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“ข้อ 23/1 ให้บรรดาข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 12/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 1/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 53/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ออกตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ในกรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 53/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน และดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการนั้นให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 53/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ใช้บังคับ และหากบริษัทมิได้ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเลิกกองทุนรวมนั้นได้ ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขึ้นใหม่ ซึ่งได้กําหนดกรอบของหลักการที่สําคัญของการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเดียวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ส่วนข้อกําหนดในรายละเอียดได้มอบหมายให้สํานักงานดําเนินการออกข้อกําหนดนั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้เกิดปัญหาข้อติดขัดในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในระหว่างที่การจัดทําข้อกําหนดในรายละเอียดยังไม่แล้วเสร็จ จึงจําเป็นต้องกําหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถดําเนินการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยอาศัยข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ยกเลิกไปนั้นอยู่ต่อไปได้ อีกทั้งเพื่อให้เป็นการผ่อนปรนให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้วก่อนการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีระยะเวลาเพียงพอในการแก้ไขปรับปรุงโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้สอดคล้องกับข้อกําหนดใหม่ | 4,040 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 1/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํา หรือทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจการจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย และบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนหรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม และต้องมีรายการที่เพียงพออันแสดงถึงลักษณะบ่งเฉพาะของแต่ละกองทุนรวม และมูลค่าของกองทรัพย์สิน โดยในกรณีที่ข้อมูลซึ่งจดทะเบียนไว้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในทะเบียน เพื่อทําให้ข้อมูลที่ปรากฏในทะเบียนเป็นปัจจุบัน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2547
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนดําเนินการจัดการลงทุนเพื่อกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลโดยตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนในการจัดการเงินทุนเพื่อบุคคลอื่น และการดําเนินการเกี่ยวกับการติดต่อชักชวนผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาของกองทุนส่วนบุคคล ตลอดจนการจัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่บนมาตรฐานเดียวกันและมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 4,041 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 9/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 9/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“ข้อ 15/1 ในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม อาจกู้ยืมเงินได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและในหนังสือชี้ชวนทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการให้หลักประกันไว้ด้วยหรือไม่ก็ตาม และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกู้ยืมเงินเฉพาะเพื่อดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) ปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมหรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
(ข) ต่อเติมหรือก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมบนที่ดินที่มีอยู่แล้วซึ่งเป็นของกองทุนรวมหรือที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า เพื่อประโยชน์ในการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(ค) ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
(2) เป็นการกู้ยืมเงินโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าตาม (1)(ก) หรือเพื่อต่อเติมหรือก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมบนที่ดินที่มีอยู่แล้วที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าตาม (1)(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงกําหนดเวลาเช่าที่เหลืออยู่ตามสัญญาเช่าด้วย และ
(3) จํานวนเงินที่กู้ยืมต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และในกรณีที่ต่อมาภายหลังจํานวนเงินที่กู้ยืมเกินอัตราส่วนดังกล่าว แต่การเกินอัตราส่วนนั้นมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะคงอัตราส่วนการกู้ยืมเงินไว้ต่อไปก็ได้ แต่จะกู้ยืมเงินเพิ่มเติมอีกไม่ได้จนกว่าอัตราส่วนการกู้ยืมเงินจะลดลงจนน้อยกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จัดหาแหล่งเงินทุนนอกเหนือจากการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนสําหรับการปรับปรุง ซ่อมแซม หรือต่อเติมอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการจัดหาผลประโยชน์ หรือก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมในการหารายได้ของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างหลัก หรือเพื่อลงทุนเพิ่มเติมในอสังหาริมทรัพย์ | 4,042 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 29/2547 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 29/2547
เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 19/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 53/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 25/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 18 กันยายนพ.ศ. 2546
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 18/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 16 เมษายนพ.ศ. 2547
(11) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2543 เรื่อง การผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2543
(12) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2544 เรื่อง การผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(13) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 41/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการและจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(14) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 28/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการและจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(15) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(16) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 27/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(17) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(18) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 40/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2545
(19) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546
(20) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 35/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
(21) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.33 /2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการผ่อนผันให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพัน ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(22) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(23) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30กรกฎาคม พ.ศ. 2536
(24) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
(25) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 58/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(26) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(27) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(28) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 10/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(29) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 41/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
(30) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
(31) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.24/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(32) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 39/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(33) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 40/2544เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(34) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ 39/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,043 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 53/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 53/2548
เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (35) และ (36) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 29/2547 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(35) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(36) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้หลักการสําคัญของข้อกําหนดในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นไปในแนวทางเดียวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงเห็นควรให้มีการยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยให้การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแทน | 4,044 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 37/2544
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 43/2540 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ยื่นคําขอรับอนุญาตและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(4) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(5) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน
(6) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในวรรคสอง ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดสรรหุ้นที่เสนอขายให้แก่บริษัทย่อย ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือไม่
ข้อ ๔ ในการเสนอขายหุ้นของบริษัทใดต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นของบริษัทดังกล่าวเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การกําหนดราคาเสนอขายหุ้นบางส่วนให้ต่ํากว่าราคาที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ให้กระทําได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายต่อกรรมการและพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(2) การเสนอขายต่อบุคคลใดตามโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ข้อ ๕ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ผู้บริหารผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) การจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้บริหารตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยได้เปิดเผยการจัดสรรดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(2) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้ออื่นทั้งหมด
ข้อ ๖ ในการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้รับหลักทรัพย์นั้นไปจัดจําหน่าย เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในส่วนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อบุคคลดังต่อไปนี้ (placement) และได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่แบ่งสรรไว้เพื่อการดังกล่าว
(1) ผู้ลงทุนประเภทดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) กองทุนรวม
(ฐ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฐ) โดยอนุโลม
(2) ผู้ถือหุ้นเดิม
(3) กรรมการและพนักงาน
(4) บุคคลอื่นใดซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงได้ต่อสํานักงานว่าสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทได้ด้วยตนเอง
ข้อ ๗ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหนังสือชี้ชวนสําหรับผู้จองซื้อหลักทรัพย์อย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาการจองซื้อหลักทรัพย์ โดยจัดไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการแห่งใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และสถานที่ที่ใช้ในการรับใบจองซื้อหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์หรือผู้ที่สนใจสามารถตรวจดูได้ตลอดเวลาทําการ ทั้งนี้ หนังสือชี้ชวนหนึ่งเล่มต้องจัดให้มีใบจองซื้อหลักทรัพย์ไม่เกินห้าใบ
ใบจองซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยต้องมีรายการเกี่ยวกับผู้จองซื้อหลักทรัพย์ในเรื่อง ชื่อที่อยู่ เลขที่บัตรประจําตัวตามบัตรประชาชนหรือตามทะเบียนบ้าน เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี) และจํานวนหลักทรัพย์ที่จองซื้อ และต้องมีข้อความโดยชัดเจนเตือนให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทราบว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ย่อมมีความเสี่ยง และก่อนการตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์ ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ควรอ่านหนังสือชี้ชวนอย่างรอบคอบด้วย
ข้อ ๘ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดไปใช้ในกิจการใด ๆ นอกจากการส่งคืนให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรซึ่งต้องดําเนินการภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องมีข้อกําหนดว่า หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ส่งคืนเงินไปยังผู้จองซื้อหลักทรัพย์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้ ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาส่งคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องระบุถึงสิทธิที่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์จะได้รับดอกเบี้ยนี้ไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยมีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องมีข้อตกลงให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการส่งคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรตามระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๙ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดให้มีการระบุหลักเกณฑ์และวิธีการในการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหรือยินยอมให้มีการเสนอขายหลักทรัพย์ของตนพร้อมกับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบุคคลอื่น เว้นแต่จะได้ระบุความประสงค์หรือความยินยอมดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,045 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 43 /2544 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 43/2544
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ในข้อ 2 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(5/1) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ก) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว
(ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าวซึ่งหมายถึง
1.บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว
2.บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม 1. เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
3.บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่งให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย
(ค) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง
1.บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
2.บริษัทที่บริษัทตาม 1. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
3.บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ผู้บริหาร
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่จะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) การจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้บริหารตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยได้เปิดเผยการจัดสรรดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(2) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้ออื่นทั้งหมด”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,046 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 2/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการ
ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาด
กองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมและบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือบุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
“การชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจตั้งตัวแทนซึ่งต้องเป็นบุคคลธรรมดาเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน แต่ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนั้นเป็นนิติบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อ ๓ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการจากตัวแทนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ รวมทั้งได้รับข้อมูลอย่าง เหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับบริษัทจัดการ ในการตั้งตัวแทนตามข้อ 2 บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําสัญญาตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ โดยกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และมีข้อสัญญากําหนดให้ตัวแทนปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(2) มีข้อสัญญากําหนดห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง
(3) ดูแลให้ตัวแทนปฏิบัติตามข้อสัญญาและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(4) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือข้อร้องเรียนจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้า ที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนหรือพนักงานของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลนั้นเช่นเดียวกับการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่เกิดจากการกระทําของพนักงานของตน
ข้อ ๔ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนด
รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการนั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น หรือสั่งพักการอนุญาตการตั้งตัวแทนตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตการตั้งตัวแทนได้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,047 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 29/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 29/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืน
หน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรเปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน สามารถตั้งบุคคลอื่นเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้เช่นเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการ” และคําว่า “ตัวแทน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้บทนิยามต่อไปนี้แทน
““บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
“ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และในกรณีที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้หมายถึงบุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 เว้นแต่กรณีที่กําหนดในวรรคสอง บริษัทจัดการอาจตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนเพื่อเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,048 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 16/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 16/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืน
หน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 3)
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 29/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 บริษัทจัดการอาจตั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นตัวแทนของบริษัทจัดการได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทน บริษัทจัดการต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
2. การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทน ให้ตั้งได้เฉพาะตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศ
การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตาม (2) บริษัทจัดการต้องตั้งนิติบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศบริษัทจัดการต้องตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศ ซึ่งสามารถประกอบธุรกิจการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นตัวแทนขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศไทย ไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทจัดการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้น สมควรกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม และการเป็นตัวแทนดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 4,049 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 65/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 65/2543
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และ มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 19/1 นอกจากการรายงานตามมาตรา 81 แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่ให้สิทธิที่จะได้รับชําระเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างของราคาหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในดัชนีหลักทรัพย์ ยื่นรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าว แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่
(ก) ยื่นคําขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการทําธุรกรรมอนุพันธ์และการให้บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ข) มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่น้อยกว่าสองร้อยล้านบาท”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 35/1 นอกจากการรายงานตามมาตรา 81 แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่ให้สิทธิที่จะได้รับชําระเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างของราคาหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในดัชนีหลักทรัพย์ ยื่นรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าว แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,050 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 23 /2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า บุคคลผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ตั้งแต่ตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปจนถึงตําแหน่งผู้จัดการ
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
“ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนมอบหมายให้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนํา และให้หมายความรวมถึงตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนด้วย
“ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มิใช่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นตัวแทนในการให้คําแนะนํา
“หลักประกัน” หมายความว่า หลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายของลูกค้าที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน อันได้แก่
(ก) กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย
(ข) หนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) หลักประกันอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
“สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์ดังต่อไปนี้ที่ปราศจากภาระผูกพัน
(ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร
(ข) บัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(ค) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก
(ง) สินทรัพย์สภาพคล่องอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่ตกลงรับบริการการให้คําแนะนําจากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
“การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ
“การให้คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า การให้คําแนะนําแก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น
“การให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า การให้คําแนะนําแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น
“บริษัทที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า
(1) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนนั้น
(2) บริษัทที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(3) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทดังกล่าว และในบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้นและของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งรวมถึงระบบการควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนํา และระบบการควบคุมดูแลการลงทุนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ และผู้ให้คําแนะนํา
(2) จัดให้มีผู้ดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเพื่อรับผิดชอบในการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การควบคุมภายในของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนนั้น รวมทั้งดูแลให้ผู้ให้คําแนะนําปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้
ข้อ ๓ ในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันให้มีมูลค่าเพียงพอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และคํานวณและรายงานการดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และมิให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และ
(4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
ข้อ ๔ โดยไม่เป็นการจํากัดอํานาจคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะสั่งเป็นประการอื่น บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามข้อ 3 ที่ไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดทํารายงานที่แสดงถึงความไม่เพียงพอดังกล่าวตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนดทุกสิ้นวันทําการและยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการถัดไป ทั้งนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงความเพียงพอได้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) จัดทําแผนการแก้ไขปัญหาการไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอเพื่อยื่นต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันทําการแรกที่ไม่สามารถดํารงความเพียงพอได้ เว้นแต่ก่อนพ้นกําหนดเวลาสามสิบวันดังกล่าว บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนนั้นสามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน
(3) ดําเนินการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตาม (2) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันทําการแรกที่ไม่สามารถดํารงความเพียงพอได้
ข้อ ๕ ในระหว่างที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามข้อ 3 ไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอ หรืออยู่ระหว่างการดําเนินการตามข้อ 4(2) หรือ (3) ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงความเพียงพอได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด และได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
(1) การให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่
(2) การขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิม
(3) การกระทําอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๖ ในการให้คําแนะนํา บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องจัดให้มีผู้ให้คําแนะนําทั้งนี้ ในการตั้งบุคคลใดเป็นผู้ให้คําแนะนํา บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานและผู้ให้คําแนะนําต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้
ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนประสงค์จะตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนเป็นผู้ให้คําแนะนํา ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนทําสัญญาตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนเป็นหนังสือ โดยกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนและตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องดูแลให้ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนปฏิบัติตามสัญญาและข้อ 12 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 17 ด้วย
ข้อ ๗ ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนอนุญาตให้ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนตั้งตัวแทนช่วง
ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ให้คําแนะนําของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนรายใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศสํานักงานว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนแจ้งให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๙ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดทํารายงานวันเริ่มและวันหยุดปฏิบัติหน้าที่ในการให้คําแนะนําของผู้ให้คําแนะนํา และส่งให้สํานักงานภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวเริ่มหรือหยุดปฏิบัติหน้าที่ในการให้คําแนะนํา ตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๐ เมื่อบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ตั้งบุคคลใดเป็นผู้ให้คําแนะนําแล้ว ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนออกบัตรประจําตัวหรือเอกสารอื่นใดให้กับบุคคลนั้นเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวนั้นเป็นผู้ให้คําแนะนําของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
ข้อ ๑๑ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดทําเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันจัดทําเอกสารหลักฐานนั้น
(1) ข้อมูลของลูกค้าที่ใช้ประกอบการให้คําแนะนํา
(2) หลักฐานแสดงการส่งเอกสารรับทราบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลของลูกค้าที่ปรับปรุงแก้ไข
(3) บทวิเคราะห์ และเอกสารหลักฐานประกอบการวิเคราะห์ที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนส่งให้กับลูกค้า
(4) คําแนะนําที่ให้กับลูกค้า เว้นแต่เป็นการใช้เทปบันทึกเสียงการให้คําแนะนํา ให้เก็บเทปบันทึกเสียงดังกล่าวไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่จัดทําเทปบันทึกเสียงนั้น แต่ในกรณีที่มีข้อร้องเรียนของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับเทปบันทึกเสียงเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสองเดือนดังกล่าว ให้จัดเก็บไว้จนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้นจะแล้วเสร็จ
(5) เอกสารแสดงการคํานวณค่าตอบแทนที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนได้รับจากลูกค้าทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
(6) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
(7) ข้อมูลการซื้อ ขาย หรือถือหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ให้คําแนะนํา เมื่อการซื้อ ขาย หรือถือหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นผลให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ให้นับรวมหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๒ ในการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้คําแนะนําดังต่อไปนี้
(1) ให้คําแนะนําด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นอิสระ รวมทั้งใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการให้คําแนะนํา โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ให้คําแนะนําโดยอธิบายให้ลูกค้าทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ที่ให้คําแนะนํานั้น
(3) ให้คําแนะนําตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์และมีเอกสารหลักฐานที่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้
(4) ใช้วิจารณญาณในการให้คําแนะนํา หากเป็นการให้คําแนะนําที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ข่าวซึ่งเป็นข่าวที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ให้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงแหล่งที่มาของข่าวดังกล่าวด้วย
(5) ไม่ให้คําแนะนําซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่น หรือมีการรับประกันผลตอบแทน
(6) ไม่นําข้อมูลของลูกค้าไปเปิดเผย เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนรายใดได้รับการว่าจ้างจากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนมากกว่าหนึ่งแห่ง บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องกําหนดให้ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนแจ้งให้ลูกค้าทราบทุกครั้งก่อนให้คําแนะนําว่า คําแนะนําที่ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนให้ในครั้งนั้นกระทําในฐานะตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนใด
ข้อ ๑๔ ก่อนการให้คําแนะนําทั่วไปครั้งแรก บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการลงทุนในหลักทรัพย์มีทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยง ไม่ว่าจะใช้คําแนะนําของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ คําแนะนําทั่วไปคือคําแนะนําที่ไม่คํานึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ดังนั้น ก่อนนําคําแนะนํานี้ไปใช้ ลูกค้าควรพิจารณาความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุน ฐานะทางการเงิน และระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้
ข้อ ๑๕ ในการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ลูกค้า ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) แจกคู่มือการให้บริการคําแนะนําการลงทุนที่มีลักษณะตามข้อ 16 แก่ลูกค้าก่อนการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าในครั้งแรก โดยต้องมีหลักฐานแสดงการแจกเอกสารดังกล่าวด้วย
(2) จัดทําข้อมูลของลูกค้า (customer’s profile) ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีรายการตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และให้ลูกค้าลงนามรับทราบความถูกต้องของข้อมูล รวมทั้งปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ พร้อมส่งให้ลูกค้าลงนามรับทราบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว กรณีลูกค้ามิได้ทักท้วงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนได้จัดส่งให้แก่ลูกค้า ให้ถือว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันแล้ว
(3) ให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับลูกค้า (suitability) โดยประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ของลูกค้า เช่น วัตถุประสงค์ในการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดในการลงทุน เป็นต้น
ข้อ ๑๖ ในการจัดทําคู่มือการให้บริการคําแนะนําการลงทุน เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกค้า ต้องใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจและมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันโดยมีการระบุวันที่ที่จัดทําข้อมูลนั้น และจะต้องไม่มีข้อความโฆษณาใด ๆ ทั้งนี้ จะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ใบอนุญาตของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน รวมทั้งการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ ให้ระบุเฉพาะประเภทของธุรกิจอื่นดังกล่าว
(2) ชื่อ ที่อยู่ ประวัติ และประสบการณ์ เลขประจําตัวของผู้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําแก่ลูกค้ารายนั้น ๆ
(3) ข้อความที่ระบุว่า การให้คําแนะนํากระทําในนามบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนและบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อคําแนะนําที่ให้แก่ลูกค้า
(4) ข้อความที่ระบุถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของลูกค้า อันได้แก่
(ก) สิทธิที่จะได้รับแจ้งหากมีพฤติการณ์ใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ข) สิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตนเอง รวมถึงคําแนะนําที่เคยได้รับที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเก็บรักษาไว้ตามข้อ 11
(ค) สิทธิที่จะได้รับคําแนะนําที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุน สถานภาพทางการเงิน และความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย
(ง) สิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ ที่แนะนํา รวมทั้งกลยุทธ์การลงทุน
(5) ลักษณะของคําแนะนําทั่วไปและคําแนะนําเฉพาะเจาะจง
(6) มาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดให้มีขึ้น
(7) วิธีการและแหล่งข้อมูลที่ผู้ให้คําแนะนําจะนํามาใช้เพื่อการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(8) วิธีการและฐานในการคํานวณค่าธรรมเนียม รวมทั้งวิธีการจ่ายค่าธรรมเนียม หรือผลประโยชน์อื่นแก่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
(9) ขั้นตอนการยื่นข้อร้องเรียน ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของบุคคลหรือหน่วยงานที่จะรับข้อร้องเรียน
(10) แสดงข้อความดังต่อไปนี้โดยมีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าขนาดของตัวอักษรที่แสดงข้อความที่เป็นเนื้อหาปกติ และแสดงไว้ในกรอบสี่เหลี่ยม
“การลงทุนในหลักทรัพย์มีทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยง ไม่ว่าจะใช้คําแนะนําของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนหรือไม่ก็ตาม โดยการให้คําแนะนําจะพิจารณาจากข้อมูลของลูกค้าที่ได้ให้ไว้กับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน”
ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนแนะนําให้ลูกค้าลงทุนในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เว้นแต่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นก่อนที่จะให้คําแนะนํา
(1) หุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ ผู้ให้คําแนะนําถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
การถือหุ้นของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมการถือหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย
(2) หลักทรัพย์ของบริษัทที่บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเป็นกรรมการ
(3) หลักทรัพย์ที่มีบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(4) หลักทรัพย์เฉพาะในส่วนที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนสนับสนุน
ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,051 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 42 /2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 42/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 โดยไม่เป็นการจํากัดอํานาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะสั่งเป็นประการอื่น บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามข้อ 3 ที่ไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1)จัดทํารายงานที่แสดงถึงความไม่เพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด และยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการถัดไป
(2) แก้ไขให้สามารถดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่กําหนดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน ภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้ และแจ้งการแก้ไขให้สํานักงานทราบภายในสองวันทําการนับแต่วันที่สามารถแก้ไขได้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์แลตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในระหว่างที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามข้อ 3 ไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอ หรืออยู่ในระหว่างการแก้ไขการดํารงความเพียงพอตามข้อ 4(2)ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงความเพียงพอได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
(1) การให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่
(2) การขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิม
(3) การกระทําอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
“ข้อ 17/1 ความในข้อ 2 และข้อ 11(7) มิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวได้แจ้งให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ว่ายังไม่ประสงค์จะให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามวรรคหนึ่ง หากประสงค์จะกลับมาให้คําแนะนําแก่ลูกค้า บริษัทดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนเริ่มให้คําแนะนําแก่ลูกค้า พร้อมทั้งแสดงได้ว่าสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,052 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 12 /2543
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๓ ในประกาศนี้ และในแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่กําหนดตามประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้บริหาร” และ“งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้บริหารของบริษัทมหาชนจํากัด
(ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทมหาชนจํากัด
(ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทมหาชนจํากัด
(ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น
(จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นหรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ
(3) “คณะกรรมการตรวจสอบ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทมหาชนจํากัดที่คณะกรรมการของบริษัทแต่งตั้งให้ทําหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(4) “รายการที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า รายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน
(5) “การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์” หมายความว่า การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน
(6) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ บริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๕ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
หมวด ๑ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัด
ส่วน ๑ การขอและการอนุญาต
ข้อ ๖ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัด หมายถึง การเสนอขายที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวม
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหุ้นตามที่บริษัทมหาชนจํากัด หรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดได้เสนอขายหุ้นนั้นในมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าของหุ้นดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายเป็นเกณฑ์
การคํานวณมูลค่ารวมการเสนอขายหุ้นตาม (1) หรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (2) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนตาม (3) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากันในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
ข้อ ๗ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 8 บริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดใดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัด ให้บุคคลดังกล่าวเสนอขายหุ้นนั้นได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
ข้อ ๘ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามหมวด 2 มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 6(3)(ฐ)
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 6(3)(ฐ)
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กองทุนรวมเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขายนั้นในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในหุ้นที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหุ้นที่ออกใหม่ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐาน และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะในครั้งนั้นได้
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ส่วน ๒ เงื่อนไขการอนุญาต
ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ประสงค์จะโฆษณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ จะต้องจัดให้การโฆษณานั้นมีข้อความที่แสดงว่าเป็นการเสนอขายแก่บุคคลในวงจํากัด มิใช่เป็นการเสนอขายต่อประชาชนโดยทั่วไป
(2) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความในหนังสือชี้ชวนว่า ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตยื่นต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามหมวด 2 หรือผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๑๐ เพื่อให้การขายหุ้นที่ออกใหม่เป็นการขายแก่บุคคลในวงจํากัดอย่างแท้จริง หรือเพื่อป้องกันมิให้หุ้นที่ได้รับอนุญาตในกรณีดังกล่าวกระจายสู่ประชาชนโดยมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นแก่บุคคลในวงจํากัด ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขอื่นที่ผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมภายหลังได้รับอนุญาตได้
หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน
ส่วน ๑ การขอและการอนุญาต
ข้อ ๑๑ บริษัทมหาชนจํากัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน ต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
การยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตด้วย
ข้อ ๑๒ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาต คําขอละ 50,000 บาทในวันยื่นแบบคําขออนุญาต
ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๓ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 19 ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) มีการประกอบธุรกิจหลักที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(2) มีงบการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยมีข้อมูลทางการเงินที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14
(3) มีโครงสร้างการถือหุ้น การบริหารงาน โครงสร้างการเงิน และข้อบังคับบริษัทที่ชัดเจนเป็นธรรม มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) การบริหารงานของผู้ขออนุญาตอย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นได้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15
(4) มีระบบการควบคุมภายใน และการจัดเก็บเอกสารที่สําคัญ ที่รัดกุม มีประสิทธิภาพ และอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 16
(5) ผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุม ต้องมีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจของผู้ขออนุญาต มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของบริษัท มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และต้องไม่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 17
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรรมการของสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนดังกล่าวต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้บริหารของผู้ขออนุญาตตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ด้วย
(6) ธุรกิจของผู้ขออนุญาตต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายกําหนด หรือไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวหาหรือมีข้อพิพาทจากหน่วยงานทางการว่าการประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายกําหนดอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๔ “งบการเงิน” ตามข้อ 13(2) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินและงบการเงินรวม (ถ้ามี) อย่างน้อยในปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นคําขออนุญาตได้ผ่านการตรวจสอบเป็นอย่างดีจากผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีตาม (1) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญอันเนื่องมาจากผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชี เว้นแต่การถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชีดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาตหรือผู้บริหาร
(3) งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม ได้จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ออกตามความในมาตรา 56 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในเรื่องการจัดทํางบการเงินและงบการเงินรวม
ข้อ ๑๕ “โครงสร้างการถือหุ้น การบริหารงาน โครงสร้างการเงิน และข้อบังคับบริษัท” ตามข้อ 13(3) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยสองคนในคณะกรรมการบริษัท โดยผู้ขออนุญาตต้องแสดงให้เห็นได้ว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เข้าใจบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการบริษัท (ข) สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นต่างๆ และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ค) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ง) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(จ) ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในระดับ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิท และไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคล ของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของกรรมการอิสระ
(2) มีการกําหนดขอบเขตอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทอย่างชัดเจน และในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทนในเรื่องเกี่ยวกับการดําเนินงานตามปกติธุรกิจ การมอบอํานาจดังกล่าวต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทที่มีกรรมการอิสระตาม (1) เข้าร่วมประชุม และกรณีที่กรรมการอิสระคัดค้านการมอบอํานาจนั้น ต้องบันทึกความเห็นของกรรมการอิสระในรายงานการประชุมให้ชัดเจน ทั้งนี้ การมอบอํานาจดังกล่าวจะต้องกําหนดขอบเขตอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบอํานาจไว้อย่างชัดเจน และต้องไม่เป็นการมอบอํานาจที่ทําให้ผู้รับมอบอํานาจสามารถอนุมัติรายการที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งมีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นกับผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย
(3) ข้อบังคับบริษัทของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สําคัญของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว
(4) ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย กับ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตมีมาตรการที่สามารถให้ความคุ้มครองผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรม โดยสามารถติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวได้
(5) บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งของผู้ขออนุญาตถือหุ้นในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมนั้น เว้นแต่แสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นอิสระจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขออนุญาต หรือเป็นกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร โดยสามารถแสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยมีมาตรการที่จะป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้
ข้อ ๑๖ “ระบบการควบคุมภายใน และการจัดเก็บเอกสารที่สําคัญ” ตามข้อ 13 (4) อย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ระบบการควบคุมภายในระดับผู้บริหาร (management control) ของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยเป็นระบบที่แสดงได้ว่า
(ก) สามารถป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดจากการที่ผู้บริหารนําสินทรัพย์ของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยไปใช้ หรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยมิชอบหรือโดยไม่มีอํานาจ
(ข) การทําธุรกรรมต่าง ๆ การก่อภาระผูกพัน หรือการค้ําประกันของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย ได้รับการอนุมัติจากผู้มีอํานาจในการจัดการ และมีการบันทึกบัญชีเพื่อให้งบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมถูกต้องครบถ้วน และน่าเชื่อถือ
(2) มีการจัดเก็บเอกสารสําคัญของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยที่ทําให้กรรมการ ผู้สอบบัญชี และบุคคลที่มีสิทธิหรือมีอํานาจตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาอันควรเมื่อได้รับการร้องขอ โดยเอกสารสําคัญดังกล่าวรวมถึงทะเบียนต่างๆ ที่ผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยต้องจัดทําตามกฎหมาย เอกสารเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการบริษัท เอกสารเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น และเอกสารประกอบการลงบัญชีและการจัดทํางบการเงิน
(3) คณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระ (ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ) มีการประเมินและให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๗ “ผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุม” ตามข้อ 13(5) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(4) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(5) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกดําเนินคดี หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (4)
(6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(7) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(8) มีพฤติกรรมในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง เพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง
(9) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้ผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามข้อ 13 เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญเป็นของตนเอง ผู้ขออนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีการถือหุ้นในบริษัทย่อยซึ่งเป็นธุรกิจหลักของผู้ขออนุญาตในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทย่อยนั้น เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่มีการประกอบธุรกิจรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดของผู้ขออนุญาต เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน และมีมาตรการที่แสดงได้ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือขอบเขตการลงทุนที่มีนัยสําคัญ ต้องได้รับอนุมัติโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน
(3) แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตมีอํานาจในการจัดการและควบคุมกิจการของบริษัทย่อยตาม (1)
(4) บริษัทย่อยตาม (1) ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13 ไม่ว่าบริษัทย่อยดังกล่าวจะเป็นบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตไม่อยู่ระหว่างการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 หรือมาตรา 199 เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) ผู้ขออนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13(3) ถึง (6) ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 (เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น)
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 17 (5) (6) (7) (8) หรือ (9) ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมหรือความผิดเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของสํานักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว โดยปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ขออนุญาตประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตใหม่ สํานักงานจะไม่นําสาเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขออนุญาตในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่า เหตุที่ทําให้ผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงหรือได้ดําเนินการแก้ไขเหตุนั้นแล้ว สํานักงานอาจไม่นําเหตุดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ส่วน ๒ เงื่อนไขการอนุญาต
ข้อ ๒๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนนี้
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าภายหลังการอนุญาตมีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาตและผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถแก้ไขลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้สํานักงานมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตต่อไปและให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) นับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่จนถึงวันก่อนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วสําหรับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตในครั้งนั้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ดําเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่จะลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร
(2) ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น
(3) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทที่ยังไม่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจหลัก ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อตกลงที่แสดงได้ว่าผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว จะถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตจะมีรายได้จากการดําเนินงานครบหนึ่งปี เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(4) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ผู้ได้รับอนุญาตต้องกํากับและควบคุมให้บริษัทย่อยตามข้อ 18(1) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดใน (1) และ (2) โดยอนุโลมด้วย
(5) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลพร้อมแจ้งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ได้รับอนุญาตด้วย ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นควร แต่ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๔ ผู้ขออนุญาตใดได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้น พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และการอนุญาต ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และสํานักงานยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สํานักงานดําเนินการพิจารณาคําขออนุญาตต่อไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศดังกล่าว แต่ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 23 แห่งประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๒๕ บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น หากบริษัทมหาชนจํากัดดังกล่าวได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(1) ให้ถือว่าบริษัทมหาชนจํากัดนั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวจากสํานักงานแล้วตามนัยของข้อ 2 ทวิแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาตลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2541
(2) ให้บริษัทมหาชนจํากัดดังกล่าวปฏิบัติตามข้อ 23 (1) ถึง (4) แห่งประกาศนี้ด้วยโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,053 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 27/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 27/2543
---------------
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
===========================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
=====================================================================================================================================================================================================================
“(3) ข้อบังคับบริษัทของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สําคัญของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทย่อยมีความจําเป็นหรือข้อจํากัดทําให้ไม่สามารถจัดให้ข้อบังคับบริษัทย่อยมีข้อกําหนดในเรื่องดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตต้องแสดงความจําเป็นหรือข้อจํากัดดังกล่าวรวมทั้งต้องแสดงได้ว่ามีมาตรการที่สามารถควบคุมดูแลให้การทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สําคัญของบริษัทย่อย ต้องผ่านความเห็นชอบหรือการอนุมัติของคณะบุคคลซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น หรือมาตรการอื่นใดในทํานองเดียวกัน”
ข้อ 2 ผู้ขออนุญาตรายใดยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานก่อนวันที่ 30 เมษายน 2544 หากผู้ขออนุญาตรายนั้นไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 15(3) วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันได้
เว้นแต่กรณีที่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 15(3) วรรคสอง ผู้ได้รับอนุญาตที่ได้รับการผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการให้ข้อบังคับบริษัทของผู้ได้รับอนุญาตและบริษัทย่อยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 15(3) วรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งถัดไปของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย แล้วแต่กรณี และส่งสําเนาข้อบังคับบริษัทให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเสร็จ
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
====================================
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,054 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 45/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 45/2543
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 15(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
“ความใน (1) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขออนุญาตที่ได้จัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีการกําหนดขอบเขตอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทอย่างชัดเจน และในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทนในเรื่องเกี่ยวกับการดําเนินงานตามปกติธุรกิจ การมอบอํานาจดังกล่าวต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทที่มีกรรมการอิสระตาม (1) หรือกรรมการที่เป็นกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม และกรณีที่กรรมการอิสระหรือกรรมการที่เป็นกรรมการตรวจสอบคัดค้านการมอบอํานาจนั้น ต้องบันทึกความเห็นของกรรมการดังกล่าวในรายงานการประชุมให้ชัดเจน
การมอบอํานาจตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดขอบเขตอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้รับมอบอํานาจไว้อย่างชัดเจน และต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอํานาจที่ทําให้ผู้รับมอบอํานาจสามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งมีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,055 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 18/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 18/2544
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 45/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยสองคนในคณะกรรมการบริษัท โดยผู้ขออนุญาตต้องแสดงให้เห็นได้ว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เข้าใจบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการบริษัท
(ข) สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นต่าง ๆ และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ค) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ง) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(จ) ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในระดับบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิท และไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของกรรมการอิสระ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ (2) ผู้ขออนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 (3) (5) และ (6) ข้อ 15 ข้อ 17 และข้อ 18 (เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น)”
ข้อ 5 ให้บริษัทดังต่อไปนี้ซึ่งได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามความในวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ในส่วนที่กําหนดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต
(1) บริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนและประสงค์จะนําหุ้นดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment)
(2) บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,056 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 35/2544
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“(1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้บริหาร” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) (1/2) และ (1/3) ในข้อ 3 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“(1/1) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(1/2) “เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ โดยกําหนดราคาเสนอขายหุ้นหรือการกําหนดราคาแปลงสภาพเป็นหุ้นรองรับหรือราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามหลักทรัพย์แปลงสภาพต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของราคาตลาดของหุ้นนั้น
(1/3) “ราคาตลาด” หมายความว่า
(ก) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหุ้น หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพจะกําหนดโดยพิจารณาจากราคาอ้างอิงหรือกําหนดเป็นสูตรอ้างอิง “ราคาตลาด” ให้หมายถึง ราคาปิดเฉลี่ยของการซื้อขายหุ้นนั้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงระยะเวลาก่อนหน้าวันที่มีการเสนอขายหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ ทั้งนี้ จํานวนวันที่ใช้ในการคํานวณราคาปิดเฉลี่ยให้เป็นไปตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกําหนดหรือตามที่คณะกรรมการบริษัทกําหนดตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(ข) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหุ้น หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ
จะกําหนดเป็นราคาที่แน่นอน หรือในกรณีที่ไม่มีราคาซื้อขายหุ้นของบริษัทหรือราคาดังกล่าวไม่เหมาะสมเนื่องจากบริษัทมีการดําเนินการที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัท เช่น มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัท มีการเพิ่มทุนในครั้งอื่น มีการจ่ายเงินปันผลไม่ว่าจะจ่ายเป็นเงินหรือจ่ายเป็นหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ถือหุ้น เป็นต้น “ราคาตลาด” ให้หมายถึง ราคาที่คณะกรรมการบริษัทกําหนดโดยแสดงได้อย่างชัดเจนถึงที่มาและแสดงได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมจะนํามาใช้อ้างอิงเป็นราคาตลาด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 และข้อ 4/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 4/1 บริษัทมหาชนจํากัดจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ ก็ต่อเมื่อบริษัทมหาชนจํากัดนั้นไม่มีหุ้นที่ได้ซื้อคืนมาและยังจําหน่ายไม่หมด เว้นแต่จะเป็นการนําหุ้นที่ได้ซื้อคืนมาเสนอขายพร้อมกับหุ้นที่ออกใหม่ โดยจัดสรรการขายหุ้นที่ซื้อคืนในลําดับก่อนการขายหุ้นที่ออกใหม่
ข้อ 4/2 ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัดออกหลักทรัพย์แปลงสภาพให้แก่บุคคลใด
โดยไม่มีการเรียกชําระราคาสําหรับหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าว บริษัทมหาชนจํากัดนั้นจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้น ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพประเภทนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้มีหุ้นรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพแล้ว”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในส่วนนี้ ให้บริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัดได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ข้อ 7/2 และข้อ 7/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 7/1 ผู้ขออนุญาตที่เป็นบริษัทจดทะเบียน และประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําแก่บุคคลในวงจํากัด ต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาต คําขอละ 10,000 บาท ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต
ในการพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่แจ้งผลการพิจารณาภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลานั้นเป็นต้นไป
ข้อ 7/2 ผู้ขออนุญาตตามข้อ 7/1 จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้นก็ต่อเมื่อ
(1) ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม
(2) หนังสือนัดประชุมตาม (1) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) วัตถุประสงค์และความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นที่ออกในเรื่อง ราคาเสนอขาย หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดที่แน่นอน
(ค) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายหรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(ง) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นในราคาต่ําและผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไร หรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution)
(จ) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว ทั้งนี้ ความจําเป็นข้างต้นต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. กรณีที่บริษัทต้องเพิ่มทุนตามแผนดําเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับและเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน
2. กรณีที่บริษัทมีความจําเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนหรือปรับโครงสร้างกิจการ
(ฉ) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตาม (4)
(ช) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย
(4) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหุ้นนั้น
ข้อ 7/3 ความในข้อ 7/1 และข้อ 7/2 มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําในกรณีต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว
(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา แต่บริษัทสามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่าการกําหนดราคาดังกล่าวผ่านการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความต้องการซื้อและความต้องการขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทในขณะนั้นแล้ว
(4) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายครั้งแรกต่อผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ ไม่ว่าผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้น หรือใช้สิทธิซื้อหุ้นจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในขณะใช้สิทธิหรือไม่ก็ตาม
(5) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 “ผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุม” ตามข้อ 13(5) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(4) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(6) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (4) หรือ (5)
(7) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(8) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(9) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริตหรือขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น
(10) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้ผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 18/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 19 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตไม่อยู่ระหว่างการค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13(3) (5) และ (6) ข้อ 15 ข้อ 17 และข้อ 18 (เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น)
(3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยเสนอขายให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และไม่ใช่กรณีที่เข้าลักษณะเช่นเดียวกับที่กําหนดในข้อ 7/3 ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อ 7/2 โดยอนุโลม”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
“(3) ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้จัดให้มีคําเตือนในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และในหนังสือชี้ชวนที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและเข้าใจถึงโอกาสของความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้นดังกล่าวเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ก) มีวัตถุประสงค์จะนําหุ้นที่เสนอขายเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และ
(ข) มีการเสนอขายหุ้นประเภทเดียวกันต่อบุคคลใดในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่เสนอขายในครั้งนี้ โดยการเสนอขายดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างหกเดือนก่อนการเสนอขายในครั้งนี้และหุ้นที่เสนอขายในระหว่างหกเดือนดังกล่าวรวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้”
ข้อ 9 กรณียกเว้นดังต่อไปนี้ให้อยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดในเรื่องเดียวกัน (ถ้ามี) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(1) ความในข้อ 7 ข้อ 7/1 ข้อ 7/2 และข้อ 7/3 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัดตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้รับก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากการเสนอขายดังกล่าวได้ดําเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
(2) ความในข้อ 17 และข้อ 19 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ มิให้ใช้บังคับกับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(3) ความในข้อ 19 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ มิให้ใช้บังคับกับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้รับก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากคําขอดังกล่าวได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนในหรือหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2545
ข้อ 10 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,057 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 11/2546
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 4/3 ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือ
เนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นนั้น เข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 18/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
“(7) ไม่เคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ อย่างมีนัยสําคัญ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (3) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งเพิ่งแปรสภาพมาจากบริษัทจํากัดงบการเงินและงบการเงินรวมของผู้ขออนุญาต อย่างน้อยประจํางวดการบัญชีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นคําขออนุญาต ต้องจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัดด้วย”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 (3) (5) (6) และ (7) ข้อ 15 ข้อ 17 และข้อ 18 (เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น)”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ยื่นคําขอ หรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ยื่นคําขอมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 13(7) หรือข้อ 17(6) (7) (8) (9) หรือ (10) แล้วแต่กรณี ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมหรือความผิดเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของสํานักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว โดยปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือผู้ยื่นคําขอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ยื่นคําขอประสงค์จะยื่นคําขอใหม่ มิให้สํานักงานนําสาเหตุของการขาดคุณสมบัติในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่า เหตุที่ทําให้ผู้ยื่นคําขอ หรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ยื่นคําขอมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงหรือได้ดําเนินการแก้ไขเหตุนั้นแล้ว สํานักงานอาจไม่นําเหตุดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 23 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
=========================================================
(1) ผู้ได้รับอนุญาตที่จะนําหุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องไม่กําหนดราคาหุ้นในบางส่วนที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป สูงกว่าราคาหุ้นในส่วนที่แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อบุคคลที่กําหนด ไม่ว่าการเสนอขายต่อบุคคลที่กําหนดดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปหรือในช่วงเก้าสิบวันก่อนการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป เว้นแต่การเสนอขายต่อบุคคลที่กําหนดดังกล่าวเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายต่อกรรมการและพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(ข) การเสนอขายต่อบุคคลใดตามโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ค) เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) ผู้ได้รับอนุญาตที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้ต้องจัดให้มีคําเตือนในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และในหนังสือชี้ชวน ที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและเข้าใจถึงโอกาสของความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้นดังกล่าวเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ก) ผู้ได้รับอนุญาตมีวัตถุประสงค์จะนําหุ้นที่เสนอขายเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และ
(ข) ผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหุ้นประเภทเดียวกันต่อบุคคลใดในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่เสนอขายในครั้งนี้ โดยการเสนอขายดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างหกเดือนก่อนการเสนอขาย
ในครั้งนี้และหุ้นที่เสนอขายในระหว่างหกเดือนดังกล่าวรวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้
(3) นับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากผู้ได้รับอนุญาตจะจัดให้มีการโฆษณาชี้ชวนเกี่ยวกับหลักทรัพย์โดยวิธีการอื่นนอกจากการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ผู้ได้รับอนุญาตต้องส่งข้อมูลที่จะใช้ในการโฆษณาชี้ชวนให้สํานักงานพิจารณาก่อนจะดําเนินการดังกล่าว และจะกระทําได้ต่อเมื่อสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงการใช้ข้อมูลดังกล่าวภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับข้อมูลนั้น ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดให้มีคําเตือนประกอบการโฆษณาตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ โดยอนุโลม ด้วยก็ได้
(4) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลา และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 13 ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี) ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นควร แต่ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก
(5) นับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่จนถึงวันก่อนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วสําหรับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตในครั้งนั้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ดําเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่จะลงทุนในหุ้นที่
ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร
(6) ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น
(7) ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตมีผลใช้บังคับ หากที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตประสงค์จะได้รับหรือตรวจดูข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินในการเปิดเผยข้อมูลสําคัญที่มีผลกระทบต่อผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบและขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ได้รับอนุญาตต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ที่ปรึกษาทางการเงินด้วย
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ผู้ได้รับอนุญาตต้องกํากับและควบคุมให้บริษัทย่อยตามข้อ 18(1) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (5) และ (6) โดยอนุโลมด้วย”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 18/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,058 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 27/2546
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ในกรณีที่สํานักงานมีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้ขออนุญาตจะมีคุณลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตหรือมีลักษณะการดําเนินการอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแสดงข้อพิสูจน์อื่นใดเพื่อหักล้างข้อสงสัยดังกล่าว ในการนี้ สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตต่อไปก็ต่อเมื่อผู้ขออนุญาตสามารถแสดงข้อพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสงสัยดังกล่าวได้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามหมวด 2 มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มลักษณะเฉพาะตามข้อ 6(3)
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 6(3)
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กองทุนรวมเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขายนั้นในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในหุ้นที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหุ้นที่ออกใหม่ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12 /2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 19 ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนได้ ต่อเมื่อแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า มีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการกํากับดูแลกิจการที่ดี และหลักเกณฑ์คุณสมบัติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
============================================================================================================================================================================================================================================
(1) การรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรม
(ก) มีโครงสร้างการถือหุ้นที่ชัดเจน เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14
(ข) ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีผลประโยชน์อื่นที่อาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ เว้นแต่ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงได้ว่ามีกลไกที่จะทําให้เชื่อมั่นได้ว่า การบริหารจัดการบริษัทจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวม
(ค) ข้อบังคับของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15
(ง)ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ากลไกการบริหารจัดการจะไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น หรือไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรม
(2) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุม
(ก)คณะกรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี และแสดงได้ว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้
(ข)โครงสร้างคณะกรรมการและการจัดการมีการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) กันอย่างเพียงพอ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16
(ค) ผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 17ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรรมการของสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 17 ด้วย โดยอนุโลม
(3) การเปิดเผยข้อมูล
(ก) ข้อมูลที่เปิดเผยต่อประชาชนต้องครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน และไม่มีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด
(ข) งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม ประจํางวดปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17/1
(ค) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้ขออนุญาตไม่มีระบบเพียงพอที่จะทําให้สามารถจัดทําและเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดได้อย่างต่อเนื่อง และน่าเชื่อถือ
(4) คุณสมบัติอื่น ๆ
(ก) ธุรกิจหลักเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าจะไม่สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
(ข) การประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายกําหนดอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวหาจากหรือมีข้อพิพาทกับหน่วยงานของรัฐในเรื่องดังกล่าว
(ค) ไม่มีประวัติการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ง) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทอนุมัติการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ และมตินั้นได้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาต
ข้อ 14 โครงสร้างการถือหุ้นของผู้ขออนุญาต บริษัทย่อย และบริษัทร่วมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
===================================================================================================
(1) สามารถสะท้อนอํานาจในการควบคุม และส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นได้อย่างชัดเจน
(2) ไม่มีการถือหุ้นไขว้ระหว่างผู้ขออนุญาต ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม
(3) ไม่มีบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งของผู้ขออนุญาตถือหุ้นในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมนั้น เว้นแต่แสดงได้ว่า การจัดโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ขออนุญาตแล้ว
ข้อ 15 ข้อบังคับของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สําคัญของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย ในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทย่อยมีเหตุจําเป็นที่ไม่สามารถจัดให้ข้อบังคับเป็นไปตามวรรคหนึ่ง ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีมาตรการที่จะสามารถควบคุมดูแลให้บริษัทย่อยพิจารณาการทํารายการดังกล่าวโดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 18/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 16 โครงสร้างคณะกรรมการและการจัดการของผู้ขออนุญาต ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ได้รับมอบหมายเป็นคณะกรรมการตรวจสอบโดยมีหน้าที่ในลักษณะเดียวกับที่กําหนดไว้ในข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(ข) กรรมการตรวจสอบมีจํานวนไม่น้อยกว่าสามคน โดยแต่ละคนมีความเป็นอิสระตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
2. ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
3. ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในระดับบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิท และไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน และไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัท
(ค) มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ รวมทั้งการทําหน้าที่อื่นในฐานะกรรมการตรวจสอบ
(2) ในกรณีที่คณะกรรมการมีการมอบหมายให้ผู้จัดการ หรือบุคคลอื่นปฏิบัติการแทนคณะกรรมการในเรื่องใด การมอบหมายดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกเป็นมติคณะกรรมการในรายงานการประชุมคณะกรรมการอย่างชัดเจน
(ข) มีการระบุขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้รับมอบอํานาจไว้อย่างชัดเจน โดยขอบเขตดังกล่าวต้องไม่รวมถึง การอนุมัติให้ทํารายการที่ผู้รับมอบอํานาจ หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งมีส่วนได้เสียหรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12 /2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(6) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(7) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (5) หรือ (6)
(8) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(9) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(10) มีพฤติกรรมที่แสดงว่าในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทอื่นใด ได้มีการละเลยหน้าที่ที่จะต้องบริหารและจัดการบริษัทดังกล่าวด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียประโยชน์ของบริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญ หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสําคัญ
(11) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้ผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 17/1 งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม ประจํางวดปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด และเป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่ออกตามความในมาตรา 56
(2) ผ่านการตรวจสอบ หรือสอบทาน (กรณีงบการเงินรายไตรมาส) จากผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ โดยผู้สอบบัญชีดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนตามมาตรฐานการสอบบัญชี
(3) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีตาม (2) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่า ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาตหรือผู้บริหาร”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 โดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14(2) เนื่องจากมีโครงสร้างการถือหุ้นไขว้ ผู้ขออนุญาตอาจได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ได้ หากผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าการถือหุ้นไขว้ดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ และไม่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น
ผู้ขออนุญาตที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14(2) และไม่สามารถแสดงได้ตามวรรคหนึ่ง อาจได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ได้ หากผู้ขออนุญาตผูกพันที่จะดําเนินการแก้ไขโครงสร้างการถือหุ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศนี้
ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 13(4)(ค) หรือข้อ 19(2) ประกอบข้อ 13(4)(ค) หรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 17(7)(8)(9)(10) หรือ (11) หรือข้อ 19(2) ประกอบข้อ 17(7)(8)(9)(10) หรือ (11) ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมหรือความผิดเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของสํานักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว โดยปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 12 ให้คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้
ข้อ 13 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,059 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 6/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุม
1. คณะกรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี และแสดงได้ว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้
2. โครงสร้างคณะกรรมการและการจัดการมีการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) กันอย่างเพียงพอ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16
3. ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรรมการของสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(ง) ผู้มีอํานาจควบคุมไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (2) ในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 16 โดยอนุโลม เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14(2) เนื่องจากมีโครงสร้างการถือหุ้นไขว้ ผู้ขออนุญาตอาจได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าการถือหุ้นไขว้ดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ และไม่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 13(2)(ค) วรรคสอง (2)(ง) หรือ (4)(ค) หรือข้อ 19(2) ประกอบข้อ 13(2)(ค) วรรคสอง (2)(ง) หรือ (4)(ค)ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ยื่นคําขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 13(2)(ค) วรรคสอง (2)(ง) หรือ (4)(ค) หรือข้อ 19(2) ประกอบข้อ 13(2)(ค) วรรคสอง (2)(ง) หรือ (4)(ค) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดคุณลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,060 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 15/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 15/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1/2) และ (1/3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นหรือ หลักทรัพย์แปลงสภาพโดยกําหนดราคาเสนอขายต่ํากว่าราคาตลาด
(1/3) “ราคาตลาด” หมายความว่า ราคาตลาดที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4/4”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/4) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
“(1/4) “ราคาเสนอขาย” หมายความว่า ราคาเสนอขายที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4/4”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 4/4 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาว่าการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนใดเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ให้คํานวณราคาตลาดและราคาเสนอขายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ราคาตลาดให้คํานวณจากราคาใดราคาหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ราคาปิดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ย้อนหลังไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน แต่ไม่เกินสิบห้าวันทําการติดต่อกัน ก่อนวันกําหนดราคาเสนอขาย ทั้งนี้ วันกําหนดราคาเสนอขายให้เป็นดังนี้
1. ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติให้เสนอวาระต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิ่มทุนโดยกําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน (fixed price) ให้ใช้วันที่คณะกรรมการมีมติดังกล่าว
2. ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติให้เสนอวาระต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิ่มทุนโดยไม่ได้กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน (floating price) ให้ใช้วันแรกที่เสนอขายต่อผู้ลงทุน
(ข) ราคาที่กําหนดโดยผ่านการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความต้องการซื้อและความต้องการขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัท เช่น การสํารวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (book building) เป็นต้น
(ค) ราคายุติธรรมที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) ราคาเสนอขายให้คํานวณดังนี้
1. กรณีเป็นการเสนอขายหุ้น ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อผู้ลงทุน
2. กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นรวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้น
3. กรณีเสนอขายหุ้นควบคู่ไปกับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นหักด้วยผลต่างระหว่างราคาตลาดกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้น
4. กรณีเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหารด้วยอัตราแปลงสภาพ”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่(ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในส่วนที่ 1/1 ให้บริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัดได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกข้อ 7/1 ข้อ 7/2 และข้อ 7/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์แลตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามหมวด 2 มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 6(3)
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 6(3)
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กองทุนรวมเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขายนั้นในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในหุ้นที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
1. ลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหุ้นที่ออกใหม่ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐาน และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมในฐานะเป็น ผู้ลงทุนสถาบันในครั้งนั้นได้
==========================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
====================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม”
===============================================================================================================
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 ของหมวด 1 การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ส่วนที่ 1/1
การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
ข้อ 8/1 บริษัทจดทะเบียนจะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามหมวดนี้ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ไม่ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาดได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจาก สํานักงาน ก็ต่อเมื่อบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตตามที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้แล้ว
ข้อ 8/2 บริษัทจดทะเบียนที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามหมวดนี้โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด ต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาต คําขอละ10,000 บาท ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต
ในการพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่แจ้งผลการพิจารณาภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลานั้นเป็นต้นไป
ข้อ 8/3 ผู้ขออนุญาตตามข้อ 8/2 จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้น ก็ต่อเมื่อ
1. ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วัน ก่อนวันประชุม
2. หนังสือนัดประชุมตาม (1) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของ ผู้ถือหุ้น และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3. วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
4. รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นที่ออกในเรื่อง จํานวนหุ้นที่เสนอขาย ราคาเสนอขาย หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน
5. ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขาย รวมทั้งวิธีการคํานวณ
6. ชื่อกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะได้รับการเสนอขาย (หากสามารถระบุได้) แต่ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุชื่อบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย
(จ) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําและผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไร หรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution)
1. สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตาม (4)
2. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว
(ซ) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระ อย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย
1. ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมออกเสียงคัดค้าน การเสนอขายหุ้นนั้น
2. มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตาม (4) สําหรับกรณีที่ใช้วิธีคํานวณราคาตลาดตามข้อ 4/4 (1)(ก)2. ต้องเป็นมติที่ได้รับมาภายในหนึ่งปีก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน แต่ในกรณีที่ใช้วิธีอื่นในการคํานวณราคาตลาด มติดังกล่าวต้องได้รับมาภายในกําหนดระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน
1. ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน เฉพาะกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งอนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําเห็นว่า มีเหตุอันจําเป็นและสมควรอันอาจเป็นผลให้บริษัทไม่สามารถยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานภายในกําหนดระยะเวลาตาม (ก) ได้
ข้อ 8/4 ความในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําในกรณีต่อไปนี้
1. การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
2. การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว
3. การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายครั้งแรกต่อผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ ไม่ว่าผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้น หรือใช้สิทธิซื้อหุ้นจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในขณะใช้สิทธิหรือไม่ก็ตาม
4. กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 และส่วนที่ 1/1 ของหมวดนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
===============================================================================================
(1) ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายหุ้นที่จะออกใหม่ต่อบุคคลเป็นการทั่วไป และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายไปให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น เพื่อให้การเสนอขายหุ้นดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 6 (1) (2) หรือ (3) เท่านั้น และผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความตาม (2) ในเอกสารดังกล่าวด้วย
(2) ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตยื่นต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามหมวด 2 หรือผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน”
ข้อ 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 9/1 ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1/1 ต้องดําเนินการขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้
1. ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองมติเดิมที่อนุมัติให้เสนอขายหุ้นดังกล่าว สําหรับผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 8/1
2. ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต สําหรับผู้ได้รับอนุญาตตาม ข้อ 8/2”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7)ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 โครงสร้างคณะกรรมการและการจัดการของผู้ขออนุญาต ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. มีกรรมการอิสระ (independent director) อย่างน้อยสามคน ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ข) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุม ของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
1. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท หรือบริษัทย่อย
2. ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน และไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัท
(2) มีคณะกรรมการตรวจสอบ (audit committee) อย่างน้อยสามคน ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้เป็นคณะกรรมการตรวจสอบ โดยกรรมการตรวจสอบแต่ละรายต้องเป็นกรรมการอิสระตาม (1) และต้องมีคุณสมบัติและหน้าที่ในลักษณะเดียวกับที่กําหนดไว้ในข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ รวมทั้งการทําหน้าที่อื่นในฐานะกรรมการตรวจสอบ
(3) ในกรณีที่คณะกรรมการมีการมอบหมายให้ผู้จัดการ หรือบุคคลอื่นปฏิบัติกาแทนคณะกรรมการในเรื่องใด การมอบหมายดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกเป็นมติคณะกรรมการในรายงานการประชุมคณะกรรมการอย่างชัดเจน
(ข) มีการระบุขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้รับมอบอํานาจไว้อย่างชัดเจนโดยขอบเขตดังกล่าวต้องไม่รวมถึง การอนุมัติให้ทํารายการที่ผู้รับมอบอํานาจ หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาดและเสนอขายให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) หากการเสนอขายนั้นไม่เข้าลักษณะเช่นเดียวกับที่กําหนดในข้อ 8/4 ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อ 8/3 โดยอนุโลม”
ข้อ 14 ให้ข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ยังคงใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ ต่อไป
(1) บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
1. คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสาร หลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 15 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,061 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และการอนุญาต (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 11/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และการอนุญาต
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
===========================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 21/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และการอนุญาต ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) (ก) มีผู้บริหารที่เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
1. มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,062 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 64/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 64/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์
ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 8/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 24/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ตามวิธีการและระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) หากผู้ซื้อแสดงเจตนาให้ผู้ขายส่งมอบหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ซึ่งประกอบกิจการโดยชอบภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อตามวิธีการที่กําหนดในคําสั่งดังกล่าวภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น
(2) หากผู้ซื้อแสดงเจตนาจะขอรับใบหลักทรัพย์ ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ปิดการเสนอขาย” ให้หมายความรวมถึง
(1) วันสุดท้ายของการใช้สิทธิของผู้ถือหลักทรัพย์หนึ่งในการซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหลักทรัพย์อื่น หรือ
(2) วันที่ครบกําหนดชําระหนี้ตามหลักทรัพย์หนึ่งซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบหลักทรัพย์อื่น โดยข้อผูกพันให้ชําระหนี้ด้วยการส่งมอบหลักทรัพย์อื่นได้กําหนดไว้เป็นการล่วงหน้าในหลักทรัพย์ที่เป็นมูลแห่งหนี้นั้น หรือข้อผูกพันให้ชําระหนี้ด้วยการส่งมอบหลักทรัพย์อื่นเกิดจากการใช้สิทธิของผู้ออกหลักทรัพย์ภายใต้ข้อตกลงที่ระบุไว้ในหลักทรัพย์ที่เป็นมูลแห่งหนี้นั้น แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับการส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้เสนอขายไปก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,063 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 7/2547
เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 2 (1) และ (2) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ขอจดทะเบียนได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น
(2) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น
(3) แสดงได้ว่าจะมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามระบบที่วางไว้
ข้อ ๔ นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 แล้ว ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 2 (3) ต้องแสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบาย มาตรการ และระบบที่วางไว้ด้วย
ข้อ ๕ ให้นิติบุคคลตามข้อ 2 ที่จะขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๖ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,064 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 47/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 47/2547
เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา16 วรรคสาม และมาตรา 17 (4) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
“(4) นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 4/1 ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 2 (4) ต้องแสดงต่อสํานักงานได้ว่า
1. เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น
2. การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงาน ที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ด้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 รวมทั้งประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องซึ่งออกหรือวางแนวปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว
3. ไม่อยู่ระหว่างถูกจํากัด หรือพักการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 6/1 ในกรณีที่ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสถานะการเป็นนิติบุคคลตามประเภทที่กําหนดในข้อ 2 ให้ถือว่าการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นสุดลง”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,065 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 46/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 46/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 และข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 3/1 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีระบบการจัดการข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้
ข้อ 3/2 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นนิติบุคคลตามข้อ 2 (4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดํารงคุณสมบัติในการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้นตลอดเวลาที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) แจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบพร้อมทั้งข้อเท็จจริงโดยทันที เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถูกทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น สั่งจํากัด พักหรือเพิกถอนการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศดังกล่าว รวมทั้งคําสั่งยกเลิกหรือคําสั่งเปลี่ยนแปลง หรือ
(ข) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเลิกกิจการหรือเลิกประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น
(3) พักการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในทันที หากผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถูกทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น สั่งพักการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศนั้น ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่ทางการหรือหน่วยงานในต่างประเทศนั้นกําหนด เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต.จะสั่งเป็นประการอื่น
ข้อ 5/2 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดเงื่อนไขใดๆให้ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 5/1 ต้องปฏิบัติได้ ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1. ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 5/1 (1)
2. ถูกสั่งจํากัด พัก เพิกถอน เลิกกิจการหรือเลิกประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 5/1 (2) หรือ
3. พักการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่กําหนดในข้อ 5/1 (3)”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,066 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 15/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดโครงสร้างองค์กรตลอดจนกําหนดนโยบาย ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งแสดงได้ว่ามีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ระบบการบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้
ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหรือกันเงินสํารองตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที
ข้อ ๔ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะสัญญาที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๖ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ก็ได้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,067 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 9/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
### รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,068 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 32/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์จะให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะสําหรับการซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ไม่ใช่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และออปชัน โดยให้บริษัทหลักทรัพย์กําหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 หรืออัตราที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,069 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 18/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 18/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น” หมายความว่า อัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินที่ลูกค้าต้องชําระหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีมาร์จิ้น ต่อมูลค่าซื้อหลักทรัพย์รายการใดรายการหนึ่ง ก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์รายการนั้น”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์จะให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะสําหรับการซื้อหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์จดทะเบียนแต่ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ออปชัน และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
1. (2) หุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งหุ้นจํานวนดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้บริษัทหลักทรัพย์กําหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 หรืออัตราที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) คืนเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ลูกค้านํามาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่คงเหลืออยู่จากการที่ลูกค้ายังซื้อหลักทรัพย์ไม่เต็มตามจํานวนเงินหรือตามมูลค่าหลักทรัพย์จดทะเบียนที่วางไว้ เมื่อหักภาระหนี้ที่เกิดจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นแล้วให้แก่ลูกค้ารายนั้น”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,070 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 31/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 31/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,071 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 23/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
"ระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดและกองทุนเปิดตามวรรคหนึ่งต้องมีระยะเวลาไม่เกินหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ในกรณีที่มีความจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวได้อีกไม่เกินหกเดือน"
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
"ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามวรรคหนึ่ง หากผู้ออกหรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือผู้ที่เข้าทําธุรกรรมกับบริษัทจัดการในการหาดอกผลดังกล่าว ไม่ใช่สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ผู้ออกหรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือผู้ที่เข้าทําธุรกรรมกับบริษัทจัดการในการหาดอกผลดังกล่าวเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และการออก เสนอขาย หรือหาดอกผลนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินมาใช้ในประเทศไทย
(2) กรณีที่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายในประเทศไทยได้ หรือ
(3) กรณีอื่นที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน"
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 26 การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนปิด
(ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
(2) กรณีกองทุนเปิด
(ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล สําหรับมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนให้ปัดเศษทศนิยมตําแหน่งที่สี่ขึ้น ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
(ค) ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2)(ข) เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง และประกาศราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2)(ข)
(ง) คํานวณจํานวนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมเพียงสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคํานวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการนําผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม"
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 26/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
"ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด"
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 46/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
"ข้อ 46/1 ในกรณีที่ปรากฏว่ากองทุนเปิดมีมูลค่าหน่วยลงทุนหรือมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะต้องดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนเปิดตามข้อ 46 ให้บริษัทจัดการได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําและจัดส่งหนังสือชี้ชวนใหม่ให้เป็นปัจจุบันตามข้อ 6(2) (ง) หากวันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งหนังสือชี้ชวน
(2) การจัดทําและจัดส่งรายงานการลงทุนตามข้อ 13 วรรคสอง ข้อ 20 วรรคสอง ข้อ 21 วรรคสอง และข้อ 22 วรรคสอง หากวันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน
(3) การจัดทํารายงานพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ตามข้อ 15 วรรคสอง และข้อ 16 วรรคสอง นับตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว และการจัดส่งรายงานดังกล่าว หากวันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดส่งรายงาน
(4) การจัดทํารายงานการลงทุนตามข้อ 18 วรรคสอง นับตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว และการจัดส่งรายงานดังกล่าว หากวันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดส่งรายงาน
(5) การจัดทําและจัดส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลตามข้อ 35 และข้อ 36 หากวันที่ปรากฏเหตุการณ์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงาน
(6) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 24(2) นับตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว และการประกาศมูลค่าและราคาดังกล่าวตามข้อ 24 วรรคสี่ นับตั้งแต่วันทําการถัดจากวันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว"
ข้อ 6 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2542 ถึงสิ้นสุดไตรมาสที่หนึ่งของปี พ.ศ. 2543 หากปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดในกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้บริษัทจัดการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้โดยอาจไม่ต้องมีการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 24 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ในประกาศนั้นบริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่ามูลค่าหรือราคาดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ และเมื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ได้แก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 เรียบร้อยแล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองมูลค่าหรือราคาดังกล่าว ด้วย
(2) ในกรณีที่ปรากฏว่ากองทุนปิดหรือกองทุนเปิดใดมีผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะต้องดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนปิดหรือกองทุนเปิดตามข้อ 45 หรือข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว
คําว่า "ปัญหาปี ค.ศ. 2000" ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ปัญหาเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากปี ค.ศ. 2000
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,072 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 19/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) | ฟประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 19/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 28 บริษัทจัดการอาจเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล
(2) มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้ว แต่ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการยังไม่ได้ชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
(3) มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) (2) หรือ (3) บริษัทจัดการอาจเลื่อนได้ไม่เกินสิบวันทําการนับตั้งแต่วันทําการถัดจากวันที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ การผ่อนผันดังกล่าวไม่รวมกรณีตาม (1) และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ประกาศการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน และแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนทราบโดยพลัน
(2) แจ้งการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน และจัดทํารายงานในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและหลักฐานการได้รับความเห็นชอบหรือการรับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา จากผู้ดูแลผลประโยชน์ให้สํานักงานทราบโดยพลัน โดยบริษัทจัดการอาจมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการดังกล่าวแทนก็ได้
(3) ในระหว่างที่บริษัทจัดการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนนั้น หากถึงวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนวันอื่น และมีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนอีก บริษัทจัดการจะต้องรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะต้องชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่สั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันนั้น ๆ ต่อไป”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 28/1 ให้บริษัทจัดการหยุดการขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการพบว่าราคาขายหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยราคาขายหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากราคาขายหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคาขายหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องประกาศหยุดการขายหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน และแจ้งให้ผู้ที่ได้มีคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนทราบโดยพลัน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,073 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 53/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 53/ 2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “พอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration)” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
““การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การบริการธุรกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine) บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (telebanking) อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 7/2 ในการเสนอขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,074 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 12/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 12/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมมีประกัน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
““กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 6/1 ห้ามมิให้บริษัทจัดการใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีคําว่า “ประกัน” “รับประกัน”“รับรอง” รวมทั้งชื่อหรือคําแสดงชื่อเป็นภาษาอังกฤษที่มีคําว่า “guarantee” “assure” “insure” “warranty”หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน กับกองทุนรวมอื่นใดที่มิใช่กองทุนรวมมีประกัน”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 44/1 ให้บริษัทจัดการกําหนดขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนของผู้ถือหน่วยลงทุนเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมและการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อมีข้อร้องเรียนดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนร้องเรียนต่อบริษัทจัดการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งรวบรวมข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจัดส่งให้สํานักงาน
เป็นรายไตรมาสภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นไตรมาสนั้น ทั้งนี้ หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บริษัทจัดการบันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ผู้ถือหน่วยลงทุนลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ด้วย ก่อนที่บริษัทจัดการจะดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
(2) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนร้องเรียนต่อสํานักงาน และสํานักงานได้จัดส่งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการ ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวและรายงานการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับข้อร้องเรียนนั้น และหากบริษัทจัดการยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้บริษัทจัดการรายงานการดําเนินการทุกระยะเวลาสามสิบวันจนกว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานกําหนดเป็นอย่างอื่น
(3) เมื่อบริษัทจัดการมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนตาม (1) หรือ (2) ให้บริษัทจัดการแจ้งข้อยุติและการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน (ถ้ามี) พร้อมเหตุผลประกอบกรณีดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบ ภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีข้อยุตินั้น”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,075 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 25/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 25/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ระหว่างบทนิยามคําว่า“กองทุนรวมมีประกัน” และคําว่า “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
““กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ” ในข้อ 2แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542
“ในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งให้บริษัทจัดการส่งหรือแก้ไขเอกสารตามวรรคหนึ่งให้ครบถ้วนถูกต้อง หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งตามวรรคสองภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่บริษัทจัดการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้ถือว่าบริษัทจัดการที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีกต่อไป เว้นแต่บริษัทจัดการแสดงให้เห็นได้ว่าการที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุสมควร”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดต่อประชาชนและก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดต่อประชาชนครั้งแรก ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่ายหรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้ประชาชน”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“ห้ามมิให้บริษัทจัดการใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีคําว่า “เกษียณ” “บําเหน็จบํานาญ” “เลี้ยงชีพ” รวมทั้งชื่อหรือคําแสดงชื่อเป็นภาษาอังกฤษที่มีคําว่า “retirement” “pension” “provident” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน กับกองทุนรวมอื่นใดที่มิใช่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เว้นแต่กองทุนรวมที่ได้จัดตั้งขึ้นและได้ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดและกองทุนเปิดตามวรรคหนึ่งต้องมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่บริษัทจัดการได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ บริษัทจัดการอาจจัดทงบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ระบุไว้ในโครงการก็ได้”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ ผู้สอบบัญชีของกองทุนรวมดังกล่าวอาจเป็นผู้สอบบัญชีที่มิใช่ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคหนึ่งก็ได้”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 52 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันหรือสั่งการให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อ 6 ข้อ 9 ข้อ 10 วรรคสอง ข้อ 24 วรรคสี่ ข้อ 29(2) ข้อ 35 ข้อ 36 ข้อ 39 วรรคสอง (1) ข้อ 44 วรรคสาม ข้อ 46(3)(ง) ข้อ 47 และข้อ 49 วรรคสอง เป็นประการอื่นได้”
ข้อ 11 ให้แก้ไขคําว่า “กองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ” ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็น “กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ” และให้มีความหมายตามที่กําหนดในบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ” ที่กําหนดในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ทั้งนี้ ให้ถือว่ากองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ
ข้อ 12 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,076 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 12/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 12/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 44/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม(ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,077 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 24/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 24/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน รหัสแทนชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่ตัวแทนสนับสนุนได้ จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนไว้ หรือคําแถลงว่าได้ออกหน่วยลงทุนนั้นให้ผู้ถือ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน หรือรหัสแทนชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่ตัวแทนสนับสนุนได้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนไว้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,078 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 18/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 18/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 บริษัทจัดการอาจไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ซึ่งบริษัทจัดการได้กําหนดไว้ในโครงการ
(1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(2) เมื่อบริษัทจัดการโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรือมีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในกรณีนี้ได้ไม่เกินหนึ่งวันทําการ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 52
(3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ
(ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ
เมื่อปรากฏเหตุตามวรรคหนึ่ง และบริษัทจัดการประสงค์ที่จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือประสงค์ที่จะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการประกาศการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือประกาศการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการและสถานที่ติอต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนและแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนทราบโดยพลัน และให้บริษัทจัดการรายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1) (2) หรือ (3) เกินหนึ่งวันทําการ ให้บริษัทจัดการรายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน รวมทั้งแจ้งการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบในทันทีที่สามารถกระทําได้ด้วย
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจหยุดคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนก็ได้”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 25/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2544
“ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน เมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันหรือสั่งการให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ข้อ 27 และข้อ 40 เป็นประการอื่น ด้วยก็ได้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,079 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 14/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
“ข้อ 5/1 การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการตามรายการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 118(1)
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์
(4) ร่างหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) จัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแล
ผลประโยชน์ และหนังสือชี้ชวน โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพัน ร่างสัญญา และร่างหนังสือชี้ชวนที่ผ่านการพิจารณาจากสํานักงาน”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
“ข้อ 7/1 ในระหว่างระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดต่อประชาชนหรือในระหว่างระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดต่อประชาชนครั้งแรก บริษัทจัดการอาจเสนอขายหน่วยลงทุนเกินจํานวนเงินทุนของโครงการได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนเงินทุนของโครงการ หากบริษัทจัดการแสดงความประสงค์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 23 การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมต้องเป็นไปตามอัตราส่วนและข้อกําหนดที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่สํานักงานกําหนดให้บริษัทจัดการปฏิบัติเป็นประการอื่นในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการขอจัดตั้งกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนตามประกาศสํานักงานในวรรคหนึ่ง โดยระบุความประสงค์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการที่ยื่นขอต่อสํานักงานและในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม รวมทั้งมีคําเตือนเป็นพิเศษเกี่ยวกับความเสี่ยงของกองทุนรวมดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการให้เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนตามประกาศสํานักงานในวรรคหนึ่ง ตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการนั้น โดยได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงความเสี่ยงของการไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวก่อนการลงมติในเรื่องดังกล่าวแล้ว”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 26 การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนปิด
(ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดทศนิยมตามหลักสากล
(ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยห้าตําแหน่ง และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
(2) กรณีกองทุนเปิด
(ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดทศนิยมตามหลักสากล
(ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยห้าตําแหน่ง และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง สําหรับมูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้เพื่อการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุน ให้ปัดทศนิยมตําแหน่งที่สี่ขึ้น ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้เพื่อการคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
(ค) คํานวณและประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยสี่ตําแหน่ง โดยการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุน ให้ปัดทศนิยมตําแหน่งที่สี่ขึ้น ส่วนการคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
(ง) คํานวณจํานวนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยห้าตําแหน่ง แต่ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทศนิยมเพียงสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคํานวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการนําผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 33 ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน และตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวม โดยบันทึกบัญชีเงินลงทุนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 47 เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการ หรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการดําเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้น ดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนปิด
(ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็น
หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ และ
(ข) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ
(2) กรณีกองทุนเปิด
(ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ และ
(ข) ดําเนินการตาม (1) (ก) และกระทําการด้วยวิธีอื่นใด เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลในเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น
(3) จําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 52 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันหรือสั่งการให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 วรรคสอง ข้อ 24 วรรคสี่ ข้อ 29(2) ข้อ 35 ข้อ 36 ข้อ 39 วรรคสอง (1) ข้อ 44 วรรคสาม ข้อ 46(3) (ง) ข้อ 47 และข้อ 49 วรรคสอง เป็นประการอื่นได้
ในกรณีที่จะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ให้บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 6 ข้อ 10 ข้อ 23 ข้อ 35 ข้อ 36 ข้อ 37 และข้อ 45 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป”
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,080 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 14 /2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2541เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งแต่ตําแหน่งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลขึ้นไปจนถึงตําแหน่งผู้จัดการ
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
“ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา
“ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์” หมายความว่า สัญญาซึ่งบริษัทจัดการโอนหลักทรัพย์ของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากันคืนให้แก่กองทุนส่วนบุคคล
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการหรือของนายจ้างตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการหรือของนายจ้าง และบริษัทที่บริษัทจัดการหรือนายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น แล้วแต่กรณี
“นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
“พนักงานที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พนักงานของบริษัทจัดการที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
“บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ รวมทั้งต้องเป็นสมาชิกสมาคมและต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตลอดจนต้องมีบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและพนักงานที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ ในการมอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลูกค้าอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการหลักทรัพย์ และทรัพย์สินของตนดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(4) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) ตั๋วแลกเงิน
(6) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(7) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(8) ทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ และทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(4) ตั๋วแลกเงิน
(5) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(6) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(7) ทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก
(3) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(5) ตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลังโดยไม่มีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลําดับก่อนมาแล้ว
(7) ตราสารแห่งหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก
(8) ตราสารแห่งหนี้ที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออก
(9) หน่วยลงทุน หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(10) หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(11) ตราสารแห่งหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในอันดับที่สํานักงานประกาศกําหนด
(12) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(13) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลังโดยไม่มีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลําดับก่อนมาแล้ว
(14) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(15) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(16) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (11) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินกองทุนแต่การลงทุนในทรัพย์สินตาม (11) ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินกองทุน
การลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (3) หรือ (4) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันต้องไม่น้อยกว่าอัตราส่วนที่สํานักงานประกาศกําหนด
การลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (10) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ที่ออกโดบริษัทเดียวกันต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินกองทุน และเมื่อรวมกันแล้วทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุน
การกําหนดหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตาม (16) ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดให้ถือปฏิบัติตามวรรคสองหรือวรรคสี่ด้วยก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน ให้บริษัทจัดการตีราคาหลักทรัพย์และทรัพย์สินตามราคาทุน โดยให้รวมค่านายหน้าที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมา (ถ้ามี)
ข้อ ๗ ในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้ลูกค้าที่เป็นคณะบุคคล คณะบุคคลดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองถึงเก้ารายโดยบุคคลทุกรายต้องมีสัญชาติไทยทั้งหมดหรือไม่มีสัญชาติไทยทั้งหมด
ข้อ ๘ บริษัทจัดการต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการและตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๙ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําข้อมูลของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร (customer's profile) โดยมีรายละเอียดของ ข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการเสนอนโยบายการลงทุนให้แก่ลูกค้านั้น บริษัทจัดการได้พิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่าที่ลูกค้าให้บริษัทจัดการเท่านั้น
(2) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าซึ่งได้ประเมินจากวัตถุประสงค์ในการลงทุนของลูกค้า ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดการลงทุน โดยคํานึงถึงข้อมูลของลูกค้าตาม (1) ด้วย และจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นไปตามนโยบายการลงทุนดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องทําสัญญาเป็นหนังสือกับลูกค้า โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ
(2) ประเภท อัตรา และวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) นโยบายการลงทุนตามข้อ 9
(4) ข้อจํากัดในการลงทุนโดยกําหนดเงื่อนไขหรืออัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแต่ละประเภท (ถ้ามี)
(5) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของสัญญา
(6) วิธีการแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน และกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นบริษัทในเครือของบริษัทจัดการต้องมีสาระครบถ้วนตามข้อ 15(6)
(7) ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบดังนี้ และกําหนดระยะเวลาที่ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
(ก) ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของลูกค้าตามข้อ 21(3)
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 22
(ค) รายงานเกี่ยวกับการลงทุนตามข้อ 11 หรือการก่อภาระผูกพันตามข้อ 12
(ง) การทําธุรกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าตามข้อ 13(2) และข้อ 14(4)
(จ) ข้อมูลอื่นใดที่บริษัทจัดการและลูกค้าตกลงกันให้เปิดเผยเพิ่มเติม
(8) เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา การต่ออายุสัญญา และการยกเลิกสัญญา
(9) กําหนดเวลาและวิธีการจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าในระหว่างที่สัญญายังมีผลใช้บังคับ
(10) ข้อความเกี่ยวกับการห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า โดยมีสาระสําคัญครบถ้วนตามข้อ 11 และข้อ 12
(11) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของลูกค้าว่าอาจจะไม่ได้รับเงินทุนและผลประโยชน์คืนเท่ากับจํานวนเงินทุนที่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการลงทุน
(12) รายการอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้า ขนาดของตัวอักษรของข้อความตาม (10) และคําเตือนตาม (11) ต้องสามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน โดยขนาดของตัวอักษรต้องไม่เล็กกว่าขนาดของตัวอักษรปกติที่ใช้ในสัญญานั้น
ข้อ ๑๑ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน เว้นแต่ได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าโดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่ง อาจกําหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการลงทุนดังกล่าวก็ได้
(2) เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุน ชื่อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จํานวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับเงินกองทุน
(3) ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน มีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินกองทุน โดยคํานวณตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้าง ทั้งนี้ มิให้นับรวมตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือเป็นผู้ค้ําประกัน รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตาม (3) ให้นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๒ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามมิให้บริษัทจัดการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งรวมถึงการขายออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (index option) ที่มิใช่เป็นการล้างฐานะออปชันที่เกิดจากการซื้อออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ไว้ เว้นแต่ได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า โดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของลูกค้าด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่งอาจกําหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการก่อภาระผูกพันดังกล่าวก็ได้
(2) เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(ก) กรณีเป็นการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า ที่มิใช่การขายออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (index option) ต้องระบุวันที่ก่อภาระผูกพัน ประเภทการก่อภาระผูกพันต่อทรัพย์สิน จํานวนเงินที่ก่อภาระผูกพัน และอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
(ข) กรณีเป็นการขายออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (indexoption) ต้องระบุวันที่ก่อภาระผูกพัน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ซึ่งเป็นตัวแปรอ้างอิง ประเภทของออปชัน กําหนดระยะเวลาใช้สิทธิของออปชัน (expiration date) มูลค่าของตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดในตราสาร (exercise price) จํานวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าออปชันที่ก่อภาระผูกพัน และอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
รายงานที่ส่งให้ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตาม (2) ให้มีรายการอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันที่เทียบกับเงินกองทุน แทนรายการอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันที่เทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๑๓ การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนโดยใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดยชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ ศูนย์ซื้อขายตราสารแห่งหนี้ บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด หรือตามที่สํานักงานยอมรับ
(2) มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามที่กําหนด
ในสัญญาขายคืน ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า
เมื่อมีการกําหนดมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตาม (2) วรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการดํารงมูลค่าดังกล่าว ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่มูลค่าที่กําหนดในสัญญาขายคืน และในกรณีที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้น้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนดในสัญญาขายคืน บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ไม่น้อยกว่าอัตราส่วนดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้มีมูลค่าน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนด ทั้งนี้ โดยให้มีการโอนเงิน หลักทรัพย์ หรือตราสารแห่งหนี้ ให้แก่ลูกค้า หรือดําเนินการให้ลูกค้ามีกรรมสิทธิ์ในเงิน หลักทรัพย์ หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความยินยอมจากลูกค้าตาม (2) วรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานการลงทุนให้ลูกค้าทราบภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุชื่อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อโดยมีสัญญาขายคืน มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ มูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ชื่อคู่สัญญา และเหตุผลประกอบ ทั้งนี้เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
(3) ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(4) การคํานวณมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ให้บริษัทจัดการคํานวณโดยใช้ราคาซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ รวมผลประโยชน์ที่พึงได้รับตามสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว
(5) ไม่นําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการขายคืนตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปโอนหรือขายต่อ
ข้อ ๑๔ การทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้เฉพาะกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าในฐานะที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ยืม ตัวแทนของผู้ยืม หรือตัวแทนของบริษัทจัดการในฐานะผู้ให้ยืม
(2) ทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยใช้สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่มีลักษณะและสาระสําคัญของสัญญาตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(3) ดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ จากผู้ยืม
(4) มูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมตามที่กําหนดในสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า
เมื่อมีการกําหนดมูลค่าหลักประกันตาม (4) วรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการดํารงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนดในสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และในกรณีที่มูลค่าหลักประกันน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนดในสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันเพิ่มเติมจากผู้ยืมให้มูลค่าหลักประกันไม่น้อยกว่าอัตราส่วนดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักประกันมีมูลค่าน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนด
ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความยินยอมจากลูกค้าตาม (4) วรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานการให้ยืมหลักทรัพย์ให้ลูกค้าทราบภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญาโดยรายงานดังกล่าวต้องระบุชื่อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ให้ยืม มูลค่าหลักทรัพย์ หรือตราสารแห่งหนี้ มูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ชื่อคู่สัญญา และเหตุผลประกอบ ทั้งนี้เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
(5) การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ลูกค้ามีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันดังกล่าว โดยลงชื่อของลูกค้าและชื่อของบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทนไว้ด้วย
(6) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์กระทําการในฐานะตัวแทนของบริษัทจัดการในฐานะผู้ให้ยืม นอกจากบริษัทจัดการต้องดําเนินการตาม (1) ถึง (5) แล้ว บริษัทจัดการต้องกําหนดในสัญญาแต่งตั้งตัวแทนดังกล่าวให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและการให้ยืมหลักทรัพย์ด้วย
ข้อ ๑๕ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามมิให้บริษัทจัดการกระทําการดังต่อไปนี้
(1) คิดค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นอัตราส่วนไม่ว่าในลักษณะใด ๆ เฉพาะกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคลในส่วนที่เพิ่มขึ้น หรือเฉพาะกับเงินกําไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เว้นแต่สํานักงานประกาศกําหนดให้กระทําได้
(2) ให้สินเชื่อหรือให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้า ทั้งนี้ รวมถึงการที่บริษัทจัดการจัดให้บริษัทในเครือของบริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าวด้วย
(3) กู้ยืมเงินในนามของลูกค้า
(4) ทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อลูกค้า
(5) จัดการกองทุนส่วนบุคคลให้กับบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและให้หมายความรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย เว้นแต่บริษัทจัดการได้แจ้งให้ลูกค้าทราบว่าบริษัทจัดการมีนโยบายในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้กับบุคคลดังกล่าว
(6) จัดให้บริษัทในเครือของบริษัทจัดการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าโดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
นอกจากการห้ามมิให้กระทําการตามวรรคหนึ่งแล้ว ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ห้ามมิให้บริษัทจัดการให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๖ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าว บริษัทจัดการต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบงานอย่างเร่งด่วน บริษัทจัดการอาจแจ้งต่อสํานักงานเพื่อขอทราบผลการพิจารณาโดยไม่ต้องรอให้ครบระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวก็ได้
(2) จัดให้มีระบบและควบคุมดูแลให้มีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยคํานึงถึงหลักความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน (fairness)
(3) กําหนดหลักปฏิบัติในการติดต่อประสานงานที่ชัดเจนและรัดกุมระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับหน่วยงานอื่นในบริษัทจัดการนั้น
(4) จัดให้มีระบบและควบคุมดูแลการลงทุนของบริษัทจัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และพนักงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน รวมทั้งจัดให้มีหน่วยงานดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการเพื่อรับผิดชอบในการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการควบคุมภายในของบริษัทจัดการนั้น
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทจัดการประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลไว้ในที่เปิดเผยณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ และจัดให้มีการให้ความรู้หรือจัดอบรมแก่ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและพนักงานที่เกี่ยวข้องของบริษัทจัดการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน นโยบายและกฎระเบียบภายในของบริษัทจัดการ อย่างน้อยปีละครั้ง และเมื่อมีการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและพนักงานที่เกี่ยวข้องลงนามรับทราบทุกครั้งด้วย
ข้อ ๑๘ ในการคํานวณมูลค่าเงินทุนและมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด หากมิได้กําหนดไว้ ให้ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าตามที่คู่สัญญาตกลงกัน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยวิธีการคํานวณมูลค่าให้ลูกค้าทราบด้วย
ในกรณีที่บริษัทจัดการเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ และประสงค์จะใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเงินทุนและมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการที่รับดําเนินการจัดการด้วยวิธีอื่นนอกจากที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน
ข้อ ๑๙ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๐ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบของนายจ้าง พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่ลูกจ้างแต่ละคนจะได้รับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดําเนินการดังกล่าวก็ได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๒๑ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลในเรื่องดังต่อไปนี้ให้เป็นปัจจุบันและส่งให้ลูกค้าอย่างน้อยเจ็ดวันก่อนมีการลงนามในสัญญา และดําเนินการให้ลูกค้าลงนามรับข้อมูลดังกล่าวไว้ในสัญญาด้วย
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ
(ก) ภาพรวมเกี่ยวกับการให้บริการการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการดําเนินการให้ลูกค้า
(ข) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใด หรือธุรกิจอื่นที่อาจเกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ค) ลักษณะของกลุ่มลูกค้าที่บริษัทจัดการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) จํานวนเงินทุนขั้นต่ําของกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการรับจัดการ
(จ) ประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่บริษัทจัดการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลและประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่บริษัทจัดการมีความชํานาญในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นพิเศษ (ถ้ามี) และกลยุทธ์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ
(ฉ) อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และเงื่อนไขการชําระหรือการจ่ายคืนค่าธรรมเนียม
(ช) ระบบเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการควบคุมภายในของบริษัทจัดการ
(ซ) คุณสมบัติขั้นต่ําของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ
(ฌ) วิธีการและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์
(ญ) วิธีการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล
(ฎ) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและเงื่อนไขการเปลี่ยนตัวบริษัทนายหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์
(ฏ) วิธีการแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน
(ฐ) วิธีการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีหรือบุคคลใด ๆ เพื่อทําหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนส่วนบุคคล (ถ้ามี)
(ฑ) วิธีการยื่นข้อร้องเรียนของลูกค้า
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลที่เสนอเพื่อให้ลูกค้าแต่ละรายพิจารณา
(ก) นโยบายในการลงทุนและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยแสดงถึงกลยุทธ์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล กระบวนการในการตัดสินใจลงทุน ขั้นตอนในการดําเนินงานข้อจํากัดของบริษัทจัดการในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการอํานวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ข) ข้อจํากัดในการลงทุน หรือข้อจํากัดอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ค) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่รับผิดชอบกองทุนส่วนบุคคลที่เสนอให้ลูกค้า ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อตัว ชื่อสกุล วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ
(ง) ภาระความเสี่ยง
(จ) ประเภท อัตรา และวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่าย
(ฉ) สิทธิประโยชน์อื่นที่ลูกค้าจะได้รับ
(ช) ภาระภาษี
(ซ) การบอกเลิกสัญญา
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของลูกค้า
(ก) สิทธิของลูกค้าที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพในการยกเลิกสัญญาภายในห้าวันทําการนับตั้งแต่วันทําการถัดจากวันลงนามในสัญญา โดยไม่ต้องแจ้งให้บริษัทจัดการทราบล่วงหน้า และไม่ต้องเสียค่าชดเชยใด ๆ ให้แก่บริษัทจัดการเนื่องจากการยกเลิกสัญญาดังกล่าว
(ข) สิทธิในการได้รับแจ้งจากบริษัทจัดการในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล มีมูลค่าลดลงอันเนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินลดลงเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการได้แจ้งให้ลูกค้าทราบครั้งล่าสุด หรือมีมูลค่าลดลงในอัตราและภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา
(ค) สิทธิในการได้รับการเปิดเผยเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ในกรณีที่บริษัทจัดการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้กับบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลรวมถึง คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย หรือในกรณีที่บริษัทจัดการจัดให้บริษัทในเครือของบริษัทจัดการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน เป็นต้น
(ง) สิทธิในการได้รับทราบคําเตือนและคําอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนตามนโยบายการลงทุน
ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลตาม (1) ทุกเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม และส่งให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ข้อ ๒๒ เมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
(1) การประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล
(ก) วิธีการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลนั้น โดยอาจเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ให้ระบุสมมติฐานและข้อจํากัดในการประเมินผลการดําเนินงานดังกล่าวด้วย
(ข) ช่วงเวลาสําหรับการประเมินผลการดําเนินงานซึ่งต้องกําหนดให้มีการประเมินผลทุกเดือน
(2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับฝากทรัพย์สิน
(3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล
(4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ
(5) ข้อมูลเกี่ยวกับ การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 11 หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 12การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามข้อ 13 และการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ตามข้อ 14
(6) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้า
การเปิดเผยข้อมูลตาม (3) (4) และ (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีข้อร้องเรียนของลูกค้าเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ลูกค้าร้องเรียนต่อบริษัทจัดการโดยตรง ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยพลัน และรวบรวมข้อร้องเรียนเฉพาะที่เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจัดส่งให้สํานักงานเป็นรายไตรมาสภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นไตรมาสนั้น
(2) ในกรณีที่ลูกค้าร้องเรียนต่อสํานักงาน และสํานักงานได้จัดส่งข้อร้องเรียนนั้นให้บริษัทจัดการแล้ว ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว และรายงานการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับข้อร้องเรียนนั้น และหากบริษัทจัดการยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้บริษัทจัดการรายงานการดําเนินการทุกระยะเวลาสิบห้าวันจนกว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๔ บริษัทจัดการหรือลูกค้ามีสิทธิเลิกสัญญาก่อนครบกําหนดอายุสัญญาได้ โดยต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) กรณีลูกค้าที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นผู้ใช้สิทธิเลิกสัญญา ให้ลูกค้าบอกกล่าวการเลิกสัญญาเป็นหนังสือให้บริษัทจัดการทราบโดยไม่จําต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
(2) กรณีลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นผู้ใช้สิทธิเลิกสัญญา ให้ลูกค้าบอกกล่าวการเลิกสัญญาเป็นหนังสือให้บริษัทจัดการทราบล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสามสิบวัน
(3) กรณีบริษัทจัดการเป็นผู้ใช้สิทธิเลิกสัญญา ให้บริษัทจัดการบอกกล่าวการเลิกสัญญาเป็นหนังสือให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ข้อ ๒๕ เว้นแต่บริษัทจัดการและลูกค้าจะตกลงเป็นอย่างอื่น เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่สัญญาสิ้นสุดลงเพราะเหตุครบกําหนดอายุสัญญา ให้บริษัทจัดการส่งมอบภายในวันทําการถัดจากวันครบกําหนดอายุสัญญา
(2) กรณีที่สัญญาสิ้นสุดลงเพราะเหตุการใช้สิทธิเลิกสัญญาของลูกค้า ให้บริษัทจัดการส่งมอบโดยพลัน
(3) กรณีที่สัญญาสิ้นสุดลงเพราะเหตุการใช้สิทธิเลิกสัญญาของบริษัทจัดการ ให้บริษัทจัดการส่งมอบภายในวันทําการถัดจากวันที่สัญญาสิ้นสุดลง
การส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการส่งมอบแก่ผู้รับฝากทรัพย์สินรายใหม่แทน
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ มิให้นําข้อ 10 ข้อ 21 ข้อ 22 ข้อ 24 และข้อ 25 แห่งประกาศนี้มาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ในการจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการอาจลงทุนในทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วยก็ได้
ข้อ ๒๗ ให้บริษัทจัดการที่ไม่เคยได้รับความเห็นชอบระบบงานตามข้อ 16 (1) จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าบริษัทจัดการนั้นมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้สํานักงานเพื่อขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 1 ซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,081 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 58/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 58/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 ข้อ 3/2 และข้อ 3/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 3/1 ในการมอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลูกค้าอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตนก็ได้
ข้อ 3/2 ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการบริษัทเดียว จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน บริษัทจัดการจะมอบการจัดการช่วงให้บุคคลอื่นกระทําการแทนมิได้ เว้นแต่ลูกค้าจะให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้มอบการจัดการช่วงในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนตามวรรคสองได้
ในการมอบการจัดการช่วงตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการมอบในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน ให้มอบได้เฉพาะบริษัทจัดการ แต่ในกรณีที่เป็นการมอบส่วนที่เกี่ยวกับการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคล จะมอบให้กับบริษัทจัดการอื่นหรือบุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทจัดการก็ได้ ทั้งนี้ ในการมอบการจัดการช่วงให้กับบุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทจัดการต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน
ในการมอบการจัดการช่วง บริษัทจัดการผู้มอบการจัดการช่วงต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าและต้องควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัดให้ผู้รับมอบการจัดการช่วงปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลในส่วนที่รับมอบการจัดการช่วงด้วย
ข้อ 3/3 ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการหลายบริษัท จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน บริษัทจัดการทุกบริษัทต้องจัดการและรับผิดชอบร่วมกันต่อลูกค้ารวมทั้งมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่มีการตกลงแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดของแต่ละบริษัทไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน การให้บริการแก่ลูกค้าหรือการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการแต่ละบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและประกาศดังกล่าวในส่วนที่บริษัทตนได้รับมอบหมายจากลูกค้า
บริษัทจัดการแต่ละบริษัทตามวรรคหนึ่ง อาจมอบการจัดการช่วงให้บุคคลอื่นทําการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3/2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การกําหนดหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตาม (16) ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นด้วย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,082 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 4/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ทรัพย์สิน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้จัดการ” และคําว่า “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่4 เมษายน พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้
““ทรัพย์สิน”หมายความว่า เงินฝากและตราสารทางการเงิน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “พอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration)” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัท” และคําว่า “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้
““พอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration)” หมายความว่า อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งคํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง หากผู้ออกหรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน ไม่ใช่สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ผู้ออกหรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และการออกหรือการเสนอขายนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินมาใช้ในประเทศไทย
(2) กรณีที่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ให้เสนอขายในประเทศไทยได้ หรือ
(3) กรณีอื่นที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามอัตราส่วนและข้อกําหนดที่สํานักงานประกาศกําหนด
(1) ตราสารแห่งทุน ซึ่งหมายถึง
(ก) หุ้น
(ข) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสมกองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ เป็นต้น
(ค) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ง) ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Right)
(จ) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่เป็นตราสารแห่งทุน
(ฉ) ออปชันในฐานะซื้อ (long position) ที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด
(ช) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุน
(ซ) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดให้เป็นตราสารแห่งทุน
(2) ตราสารแห่งหนี้ ซึ่งหมายถึง
(ก) พันธบัตรหรือตั๋วเงินคลัง
(ข) บัตรเงินฝาก
(ค) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(ง) ตั๋วแลกเงิน
(จ) หุ้นกู้ ซึ่งไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(ฉ) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
(ช) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะตราสารแห่งหนี้หรือเงินฝากเช่น กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว เป็นต้น
(ซ) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งหนี้
(ฌ) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(ญ) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดให้เป็นตราสารแห่งหนี้
(3) เงินฝาก ซึ่งหมายถึง
(ก) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ข) เงินฝากในสหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์
(ค) เงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบัน
การเงินตามที่สํานักงานกําหนด
(4) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ซึ่งหมายถึง
(ก) หุ้นกู้แปลงสภาพ
(ข) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดให้เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
(5) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (derivative warrant)
(6) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด
ให้นําความในข้อ 5 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ข้อ 6/2 ข้อ 6/3 ข้อ 6/4 ข้อ 6/5 ข้อ 6/6 ข้อ 6/7ข้อ 6/8 ข้อ 6/9 ข้อ 6/10 ข้อ 6/11 และข้อ 6/12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 6/1 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการต้องเสนอนโยบายการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 6/2 และอาจเสนอนโยบายการลงทุนอื่นอีกมากกว่าหนึ่งนโยบายก็ได้ เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเสนอให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลือกลงทุนได้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกําหนดนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้ชัดเจน และในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดให้การลงทุนเป็นไปตามข้อ 6/3 ถึงข้อ 6/12 ให้บริษัทจัดการเรียกชื่อนโยบายการลงทุนตามข้อ 6/3 ถึงข้อ 6/12 แล้วแต่กรณีด้วย
ข้อ 6/2 นโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ําได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการต้องลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(4) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหรือ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลัง ที่ไม่มีข้อจํากัดความรับผิด และไม่มีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลําดับก่อนมาแล้ว
(5) ตราสารแห่งหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
เป็นผู้ออก
(6) ตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่มิใช่
รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจ
หลักทรัพย์ จํากัด เป็นผู้ออก
(7) ตราสารแห่งหนี้ที่บริษัทจํากัดเป็นผู้ออก
(8) หน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(9) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(10) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(11) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (2) และ (6) จะต้องมีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน โดยต้องมีอันดับไม่น้อยกว่าอันดับที่สํานักงานประกาศกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (3) และ (4) จะต้องมีผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลัง ที่ไม่มีข้อจํากัดความรับผิดและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน โดยต้องมีอันดับไม่น้อยกว่าอันดับที่สํานักงานประกาศกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (5) และ (7) จะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน โดยต้องมีอันดับไม่น้อยกว่าอันดับที่สํานักงานประกาศกําหนด
การลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (8) จะลงทุนได้เฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (11) ที่เข้าเกณฑ์ตามที่กําหนดในวรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
การลงทุนในทรัพย์สินตาม (9) และ (10) จะลงทุนได้เฉพาะที่มีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหรือมีหลักประกันที่ให้ยืม เป็นหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) และ (11) เท่านั้น
การลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลัง โดยไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แต่หากลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (2) หรือ (3) ด้วย จะลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/3 นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุนได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดนโยบายการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบปีบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/4 นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ 6/5 นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ระยะยาวได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดํารงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นในขณะใดขณะหนึ่งมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป
เมื่อพ้นระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกสิ้นวันทําการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถดํารงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/6 นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ระยะสั้นได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดํารงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินหนึ่งปี
ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกสิ้นวันทําการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถดํารงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/7 นโยบายการลงทุนในตลาดเงินได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนดที่มีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงทุน
ข้อ 6/8 นโยบายการลงทุนแบบผสมได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดนโยบายการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามที่สํานักงานกําหนด และมีวัตถุประสงค์ที่จะดํารงอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินร้อยละหกสิบห้าและไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
เมื่อพ้นระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนทุกสิ้นวันทําการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/9 นโยบายการลงทุนผสมแบบยืดหยุ่นได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามที่สํานักงานกําหนด โดยขึ้นกับการตัดสินใจลงทุนของบริษัทจัดการตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ
ข้อ 6/10 นโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดนโยบายการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพประสงค์จะลงทุนในหน่วยลงทุนเฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด บริษัทจัดการจะต้องลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดเช่นเดียวกับการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้
ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบปีบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/11 นโยบายการลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดนโยบายการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพใดประสงค์จะลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิเฉพาะใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด บริษัทจัดการจะต้องลงทุนเฉพาะในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดเช่นเดียวกับการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้
ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิและใบแสดงสิทธิตามวรรคหนึ่งเฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบปีบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิและใบแสดงสิทธิให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 6/12 นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกันได้แก่ การลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดนโยบายการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดตามวรรคหนึ่งเฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบปีบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด ในกรณีที่ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องรายงานพร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุน ชื่อหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จํานวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนและอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(3) ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน มีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยคํานวณตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้าง ทั้งนี้ มิให้นับรวมตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกันรวมในอัตราส่วนดังกล่าว
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตาม (3) ให้นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้นํามาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย (pooled fund) และมีจํานวนนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันน้อยกว่าสองในสามของจํานวนนายจ้างทั้งหมด”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 18/1 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกสิ้นวันทําการที่มีการนําเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทุกสิ้นวันทําการที่มีการจ่ายเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานจํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสมของสมาชิก เงินสมทบของนายจ้าง พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ ให้สมาชิกแต่ละรายทราบ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดําเนินการดังกล่าวก็ได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ใน (3) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“(จ) สิทธิและวิธีการในการเปลี่ยนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามระยะเวลาที่บริษัทจัดการกําหนด ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะต้องให้สิทธิดังกล่าวแก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 23 ให้บริษัทจัดการกําหนดขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อมีข้อร้องเรียนดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ลูกค้าร้องเรียนต่อบริษัทจัดการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งรวบรวมข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจัดส่งให้สํานักงานเป็นรายไตรมาสภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นไตรมาสนั้น ทั้งนี้ หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บริษัทจัดการบันทึก ข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ด้วย ก่อนที่ บริษัทจัดการจะดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
(2) ในกรณีที่ลูกค้าร้องเรียนต่อสํานักงาน และสํานักงานได้จัดส่งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการแล้ว ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวและรายงานการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับข้อร้องเรียนนั้น และหากบริษัทจัดการยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้บริษัทจัดการรายงานการดําเนินการทุกระยะเวลาสามสิบวันจนกว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานกําหนดเป็นอย่างอื่น
(3) เมื่อบริษัทจัดการมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้บริษัทจัดการแจ้งข้อยุติและการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน (ถ้ามี) พร้อมเหตุผลประกอบกรณีดังกล่าวให้ลูกค้าทราบภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีข้อยุตินั้น”
ข้อ 12 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 27/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้างตามข้อ 11(3) อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการจะคงมีไว้ซึ่งการลงทุนดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวได้เพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น”
ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,083 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 16/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 16/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 17/1 มูลค่าหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ตราไว้ให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 ในการคํานวณมูลค่าเงินทุนและมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ให้ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากมิได้กําหนดไว้ให้ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าตามที่คู่สัญญาตกลงกัน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยวิธีการคํานวณมูลค่าให้ลูกค้าทราบด้วย”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/2 และข้อ 18/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 18/2 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการคํานวณจํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและมูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ 18/3 ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สิน จํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การเปิดเผยข้อมูลตาม (3) (4) และ (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,084 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 10/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 10/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,085 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 41/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 41/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “โครงการที่ให้สิทธิสมาชิกซื้อที่อยู่อาศัย” และคําว่า“สถาบันการเงิน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ลูกจ้าง” และคําว่า “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
““โครงการให้สิทธิสมาชิกซื้อที่อยู่อาศัย” หมายความว่า โครงการให้สิทธิสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย แต่ไม่รวมถึงการให้กู้ยืมเงินเพื่อนําไปไถ่ถอนหนี้เงินกู้เดิม
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกันหรือผู้รับฝากเงิน เว้นแต่ได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าโดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่ง อาจกําหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการลงทุนดังกล่าวก็ได้
(2)เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุน ชื่อหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จํานวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนและอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(3)ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกันหรือผู้รับฝากเงิน มีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยคํานวณตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้าง ทั้งนี้ มิให้นับรวมตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกันรวมในอัตราส่วนดังกล่าว
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตาม (3) ของวรรคหนึ่งให้นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับ
(ก) การจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย (pooled fund) และมีจํานวนนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันน้อยกว่าสองในสามของจํานวนนายจ้างทั้งหมด หรือ
(ข) การลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามโครงการให้สิทธิสมาชิกซื้อที่อยู่อาศัยที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้จัดโครงการดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 “ข้อ 11/1 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินของสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินนั้นเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมเงิน เว้นแต่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่จัดโครงการให้สิทธิสมาชิกซื้อที่อยู่อาศัยโดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/2 ข้อ 27/3 และข้อ 27/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 27/2 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของนายจ้างหรือ
บริษัทในเครือของนายจ้างตามข้อ 11(3) หากต่อมาได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่มีอยู่เดิม และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 11(3) ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดข้างต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์ติดประกาศเครื่องหมาย XRไว้ที่หุ้นของบริษัทนั้น หรือนับแต่วันแรกที่ผู้ซื้อหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ข้อ 27/3 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างตามข้อ 11(3) หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนตามข้อ 11(3) โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประสงค์ให้บริษัทจัดการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นเพื่อให้มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ 27/4 ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างแทนการรับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้มูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 11(3) บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้น และส่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,086 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 17/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
================================================
ที่ กน. 17/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
=========================================================
(ฉบับที่ 7)
โดยที่การรับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุน บริษัทจัดการต้องกระทําเยี่ยงผู้มีวิชาชีพ ดังนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยรวม ในการชักชวนให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตกลงมอบหมายให้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการควรกระทําด้วยการนําเสนอถึงความสามารถในการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการนั้นเองตามความเป็นจริงโดยไม่ควรเสนอประโยชน์อื่นใดเพื่อชักจูงใจให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตัดสินใจมอบหมายการจัดการเงินทุนให้แก่บริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“นอกจากการห้ามมิให้กระทําการตามวรรคหนึ่งแล้ว ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกระทําการดังต่อไปนี้ด้วย
1. ให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ให้หรือเสนอว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดแก่คณะกรรมการกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์ในการชักจูงให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตัดสินใจมอบหมายการจัดการเงินทุนให้แก่บริษัทจัดการ”
### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
------------------------------------
#### **ร้อยเอก**
**(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)**
**รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง**
**ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์** | 4,087 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 56/2543 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 56/2543
เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“การควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ และเลิกกองทุนรวมเดิม
“กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม
“กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน
“การรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน
“กองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินในการรวมกองทุนรวม
“กองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ขายหรือโอนทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของตนในการรวมกองทุนรวม
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด หรือตัวแทนเพื่อทําหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด แล้วแต่กรณี
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
(2) กองทุนรวมอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓ การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม ต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน และเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนปิดกับกองทุนปิด หรือกองทุนเปิดกับกองทุนเปิดเท่านั้น และในกรณีที่เป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินจะต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่เป็นกองทุนรวมประเภทเดียวกันด้วย โดยบริษัทจัดการต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม และได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกันนั้นตามข้อ 4 รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการให้ความเห็นชอบ สํานักงานมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๔ กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมได้ ต่อเมื่อได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบหรือรวม ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกันดังกล่าว และต้องไม่มีผู้ถือหน่วยลงทุนคัดค้านการควบหรือรวมด้วยคะแนนเสียงซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกันนั้น
การมีมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือเลิกกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน เพื่อกําหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน (ถ้ามี) ในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๕ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือ ขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมนั้นก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วันหรือก่อนวันที่บริษัทจัดการกําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรทราบเกี่ยวกับการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ให้ชัดเจนไว้ในหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติดังกล่าว
(1) สถานะการลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวมที่เป็นปัจจุบันก่อนการ ขอมติควบหรือรวมกองทุนรวม ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นโดยระบุประเภท ชื่อ จํานวน อัตราผลตอบแทน (ถ้ามี) มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุด และผลการดําเนินงานล่าสุดของกองทุนรวม
(2)สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมแล้ว
(3) ขั้นตอน สาระสําคัญของการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน และกําหนดเวลาในการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
(4) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม เช่น สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงเพื่อให้มติในการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม ที่จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ในกรณีของกองทุนเปิด หรือที่จะได้รับเงินหรือทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการชําระบัญชีเมื่อการชําระบัญชีเสร็จสิ้น
(5) รายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม ประมาณการฐานะการเงินของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน
(6) การดําเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) ก่อนการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
(7) ค่าใช้จ่ายในการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดังกล่าวที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เช่น ค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชี
(8) ข้อดีและข้อเสียหลังจากมีการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม เช่น ค่าใช้จ่ายความเสี่ยง หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะที่เกินความจริง
(9) ข้อมูลอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อบริษัทจัดการได้ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารดังกล่าวไปยังสํานักงานภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ
ข้อ ๖ ในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่วันถัดจากวันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมถึงวันที่มีการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกันที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ โดยการปิดประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ และจัดให้มีการประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน
ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดของกองทุนรวมที่จะควบกองทุนรวมหรือรวมกองทุนรวม และจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการและสถานที่ติดต่อทุกแห่งดังกล่าวเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ
ข้อ ๗ เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้มีการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมตามข้อ 4 แล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานในการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่กับบริษัทจัดการ ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมใหม่ และร่างหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน รวมทั้งร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินกับบริษัทจัดการและร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผูกพันและสัญญาดังกล่าว
(3) หนังสือรับรองการได้มติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม
(4) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน สถานะการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงาน
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๘ เมื่อบริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ควบหรือรวมกันดังกล่าว และให้บริษัทจัดการทําการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดวันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินเป็นวันเดียวกันกับวันที่ทําการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการมีหนังสือแจ้งการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี) ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบหรือรวมกองทุนรวม รวมทั้งประกาศการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี) ในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินที่มีมติให้ทําการควบกองทุนรวม หรือการรวมกองทุนรวม และผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่แสดงเจตนายินยอมให้มีการเปลี่ยนหน่วยลงทุนของตนตามข้อ 13 เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน
สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงเพื่อให้มติในการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ชําระบัญชีส่งเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวตามส่วนของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ตามหลักฐานที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ ในกรณีของการควบกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ มาเป็นของกองทุนรวมใหม่ ส่วนในกรณีของการรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สินสิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน มาเป็นของกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างการฟ้องคดี
ในกรณีที่กองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อให้หลักประกันนั้นตกเป็นหลักประกันแก่กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินด้วย
ข้อ ๑๒ การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือของกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน รวมทั้งจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือของกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินจะได้รับ ตลอดจนการออกใบหน่วยลงทุนและการเรียกเก็บใบหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน
ข้อ ๑๓ ในการขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่วันถัดจากวันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมถึงวันที่มีการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 5 เกี่ยวกับการดําเนินการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมต่อผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุน และในกรณีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหม่ลงนามรับทราบการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงเจตนาว่ายินยอมให้มีการเปลี่ยนหน่วยลงทุนหรือดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมหรือไม่ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกํากับดูแลตัวแทนสนับสนุนให้ปฏิบัติตามข้อกําหนด ดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบและส่วนข้อมูลโครงการที่เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน โดยระบุ วันที่มีการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม รวมทั้งประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินไว้ด้วย และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้สํานักงานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการก่อนวันทําการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
(2) จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินไม่ช้ากว่าวันทําการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,088 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 44/2545 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 44/2545
เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 56/2543 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม
“รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน
“ควบรวมกองทุน” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม
“กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
(2) กองทุนรวมอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๔ การควบรวมกองทุนต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน โดยบริษัทจัดการต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม และต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ในกรณีที่เป็นการควบรวมกองทุนที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง จะต้องเป็นการควบรวมกองทุนที่เป็นกองทุนรวมประเภทเดียวกันด้วย
ข้อ ๕ กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนได้ ต่อเมื่อได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนดังกล่าว
การมีมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไปในคราวเดียวกันด้วย
ในกรณีที่เป็นการควบรวมกองทุนระหว่างกองทุนปิดกับกองทุนปิด หรือกองทุนปิดกับกองทุนเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนเปิด ให้บริษัทจัดการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อแก้ไขโครงการจัดการกองทุนปิดเป็นโครงการจัดการกองทุนเปิดด้วย และต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนปิดนั้น ทั้งนี้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดวิธีปฏิบัติในการขอความเห็นชอบเพื่อแก้ไขประเภทของโครงการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๖ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันประชุม หรือส่งหนังสือขอมติล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรทราบเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ให้ชัดเจนไว้ในหนังสือนัดประชุม หรือหนังสือขอมติดังกล่าว
(1) สถานะการลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนที่เป็นปัจจุบันก่อนการขอมติควบรวมกองทุน ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นโดยระบุประเภท ชื่อ จํานวน อัตราผลตอบแทน (ถ้ามี) มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการ
ที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุด และผลการดําเนินงานล่าสุดของกองทุนรวม
(2) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการควบรวมกองทุนแล้ว โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวม นโยบายการลงทุน และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนและจากกองทุนรวม เป็นอย่างน้อย
(3) ขั้นตอน สาระสําคัญของการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน และกําหนดเวลาในการควบรวมกองทุน
(4) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน
(5) รายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน ประมาณการฐานะการเงินของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน
(6) การดําเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) ก่อนการควบรวมกองทุน และนโยบายการจ่ายเงินปันผลภายหลังการควบรวมกองทุน (ถ้ามี)
(7) ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกองทุน และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดังกล่าวที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวม (ถ้ามี) เช่น ค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชี
(8) ข้อดีและข้อเสียหลังจากมีการควบรวมกองทุน เช่น ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะที่เกินความจริง
(9) ข้อมูลอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อบริษัทจัดการได้ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารดังกล่าวไปยังสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ
ข้อ ๗ ในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อควบรวมกองทุนถึงวันที่มีการควบรวมกองทุน บริษัทจัดการอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวดังกล่าวได้ โดยการปิดประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ และจัดให้มีการประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุน
ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละสัปดาห์ของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน และจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการและสถานที่ติดต่อทุกแห่งดังกล่าวเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ
ข้อ ๘ เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้มีการควบรวมกองทุนตามข้อ 5 แล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่กับบริษัทจัดการ ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมใหม่ และร่างหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน รวมทั้งร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนกับบริษัทจัดการ และร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่รับโอน ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผูกพันและสัญญาดังกล่าว
(3) หนังสือรับรองการได้มติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน
(4) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน สถานะการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันยื่นขอความเห็นชอบจาสํานักงาน
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสี่สิบห้าวัน
นับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๙ เมื่อบริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําการควบรวมกองทุนแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ควบรวมกองทุนดังกล่าว และให้บริษัทจัดการควบรวมกองทุนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดวันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นวันเดียวกันกับวันที่ควบรวมกองทุนดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการบอกกล่าวการควบรวมกองทุนและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี) ตามวิธีการดังต่อไปนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนทราบเป็นหนังสือ พร้อมเอกสารสรุปสาระสําคัญของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน วันที่จะควบรวมกองทุน วันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยระบุวัน เดือน ปี อย่างชัดแจ้ง และสถานที่ติดต่อเพื่อสอบถามหรือรับข้อมูลเพิ่มเติม
(2) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
ในกรณีที่เป็นการควบรวมกองทุนระหว่างกองทุนปิดกับกองทุนเปิด การแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนปิดและการประกาศหนังสือพิมพ์ตาม (1) และ (2) ให้บริษัทจัดการแจ้งและประกาศการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 5 วรรคสาม ด้วย และหากกองทุนปิดดังกล่าวมีหน่วยลงทุนประเภทที่ออกให้แก่ผู้ถือ เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นร้องขอ ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือและเอกสารตาม (1) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๑ เมื่อบริษัทจัดการได้มีหนังสือแจ้งและประกาศการควบรวมกองทุนตามข้อ 10 แล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่ได้แสดงเจตนาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ในกรณีของการควบกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ มาเป็นของกองทุนรวมใหม่ ส่วนในกรณีของการรวมกองทุนรวมให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอน และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน มาเป็นของกองทุนรวมที่รับโอน ทั้งนี้ สําหรับการซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างการฟ้องคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการนั้น
ในกรณีที่กองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อให้หลักประกันนั้นตกเป็นหลักประกันแก่กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนด้วย
ข้อ ๑๓ ในการขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการควบรวมกองทุน ถึงวันที่มีการควบรวมกองทุน บริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 6 เกี่ยวกับการดําเนินการควบรวมกองทุนต่อผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมหากมีการควบรวมกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกํากับดูแลตัวแทนสนับสนุนให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลโครงการที่เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยระบุวันที่มีการควบรวมกองทุน รวมทั้งประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนไว้ด้วย และให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้ประชาชน
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,089 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 12/2547 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 12/2547
เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 44/2545 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนดังกล่าว
(2) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ไม่ได้มติโดยเสียงข้างมากด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากบริษัทจัดการประสงค์จะควบรวมกองทุนต่อไป ให้ดําเนินการขอมติครั้งใหม่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรกหรือวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการขอมติครั้งแรก และได้รับมติในครั้งหลังนี้เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งออกเสียงลงมติของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุน
ในกรณีที่บริษัทจัดการต้องดําเนินการตาม (2) ให้บริษัทจัดการแจ้งผลการนับมติครั้งแรกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไปในคราวเดียวกันด้วย
ในการควบรวมกองทุนไม่ว่าจะเป็นการควบรวมระหว่างกองทุนปิดกับกองทุนปิด หรือกองทุนปิดกับกองทุนเปิด หากมีผลให้เกิดกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนเปิด ให้บริษัทจัดการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อแก้ไขโครงการจัดการกองทุนปิดเป็นโครงการจัดการกองทุนเปิดด้วย และหากได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ใน (1) ของวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนปิดเป็นโครงการจัดการกองทุนเปิดแล้ว ทั้งนี้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดวิธีปฏิบัติในการขอความเห็นชอบเพื่อแก้ไขประเภทของโครงการจัดการกองทุนรวม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 44/2545 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ให้บริษัทจัดการบอกกล่าวการควบรวมกองทุนและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี) ตลอดจนสิทธิและกําหนดเวลาในการใช้สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอน ตามวิธีการดังต่อไปนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนทราบเป็นหนังสือพร้อมสรุปสาระสําคัญของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน วันที่จะควบรวมกองทุน วันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยระบุวัน เดือน ปี อย่างชัดแจ้ง และสถานที่ติดต่อเพื่อสอบถามหรือรับข้อมูลเพิ่มเติม
2. ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจําหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองฉบับเป็นเวลาสองวันติดต่อกัน
ในกรณีที่เป็นการควบรวมกองทุนระหว่างกองทุนปิดกับกองทุนปิด หรือกองทุนปิดกับกองทุนเปิด การแจ้งและประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการแจ้งและประกาศการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 5 วรรคสี่ด้วย
ข้อ 11 เมื่อบริษัทจัดการได้มีหนังสือแจ้งและประกาศการควบรวมกองทุนตามข้อ 10 แล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามโครงการจัดการกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนในการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน แล้วแต่กรณี
สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุน ให้บริษัทจัดการจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนแล้วเสร็จ โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้าการควบรวมกองทุน ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 44/2545 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545
“ข้อ 14/1 ให้บริษัทจัดการส่งหนังสือแจ้งสถานะการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ควบรวมกองทุนแล้วเสร็จ”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,090 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 32/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
(2) นักลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญากู้ยืมเงินกับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์
(3) “บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้นักลงทุนกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้นักลงทุนยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต
(4) “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จะให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะสําหรับการซื้อหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์จดทะเบียนแต่ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ออปชัน และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(2) หุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งหุ้นจํานวนดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(3) หุ้นของบริษัทที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(4) หุ้นของบริษัทที่เสนอขายแก่กรรมการและพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกําหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทมาร์จิ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการคํานวณมูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้ มูลค่าหลักประกันขั้นต่ําในบัญชีมาร์จิ้น การเรียกให้นักลงทุนวางหลักประกันเพิ่ม และการบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน โดยอนุโลม
ความตอนใดตามประกาศหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่งที่กล่าวถึง “ลูกค้า” ให้หมายถึง “นักลงทุน” ตามประกาศนี้ และให้บทนิยามคําว่า “เงินกองทุน” ตามประกาศตามวรรคหนึ่งหมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามงวดบัญชีล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
หากสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ประสงค์จะจัดให้มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามประกาศหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องยื่นขออนุญาตต่อสํานักงานก่อน โดยต้องสามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่า การปฏิบัติงานดังกล่าวสามารถป้องกันความเสี่ยงในการให้กู้ยืมเงินได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ข้อ ๔ นอกเหนือจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในข้อ 3 สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์อาจเกิดความเสียหายจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 หรือจากการที่มูลค่าหลักประกันต่ํากว่าภาระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น หรือจากการขาดระบบควบคุมภายในหรือระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) ระงับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ผู้ที่จะเป็นนักลงทุนรายใหม่ หรือระงับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมแก่นักลงทุนรายเดิม
(2) คืนทรัพย์สินที่นักลงทุนนํามาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่คงเหลืออยู่จากการที่นักลงทุนยังซื้อหลักทรัพย์ไม่เต็มตามมูลค่าของทรัพย์สินที่วางไว้ เมื่อหักภาระหนี้ที่เกิดจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นแล้ว ให้แก่นักลงทุนรายนั้น
(3) แก้ไขการกระทําดังกล่าว หรือกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในส่วนที่เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดข้อปฏิบัติและระยะเวลาที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,091 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 3/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 3/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
“(5) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ซึ่งบริษัทที่ออกมีวัตถุประสงค์ที่จะนําใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นดังกล่าวเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547
**ร้อยเอก**
**(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)**
**รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง**
**ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์** | 4,092 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 39/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 39/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 31/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,093 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 39/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้
(1) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4 หรือ
(2) เป็นการตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศเป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ โดยบุคคลดังกล่าวต้องสามารถประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และจะจําหน่ายหลักทรัพย์ในประเทศมิได้ ไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน
การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะคราวโดยกําหนดห้ามมิให้ตัวแทนดังกล่าวตั้งตัวแทนช่วง และบริษัทหลักทรัพย์ที่ตั้งตัวแทนนั้นต้องจัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนแยกต่างหากจากสัญญาอื่น โดยต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดให้ตัวแทนดังกล่าวต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์และประกาศนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลให้ตัวแทนนั้นปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศต้องเป็นบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงาน
(2) เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือ
(ข) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่มีจํานวนหุ้นที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหุ้นหรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการดังนี้
(ก) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่จําหน่าย
(ข) แจกจ่ายหรือรับใบจองซื้อหุ้น
(ค) รับชําระเงินค่าจองซื้อหุ้น
(ง) ยืนยันการจองซื้อหุ้น
(จ) ส่งมอบหุ้นให้ผู้จองซื้อที่ได้รับการจัดสรรหุ้น
(ฉ) คืนเงินค่าจองซื้อหุ้นให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหุ้น
ข้อ ๕ ในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งรายชื่อบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหุ้นให้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบด้วย
ข้อ ๖ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงานต้องเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(2) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(3) เคยต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (1) หรือ (2)
ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานพิจารณาหนังสือแจ้งขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศของบุคคลใดแล้วเห็นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ 6 ให้สํานักงานดําเนินการขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้น
ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) ให้สํานักงานพิจารณาประวัติการต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับของบุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาสองปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนเท่านั้น และถ้าพฤติกรรมอันเป็นเหตุที่ต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับของบุคคลนั้นไม่ร้ายแรง และไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการให้บุคคลนั้นเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประชาชนหรือจะทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ ให้สํานักงานสามารถรับขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นโดยจะกําหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๘ ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดดังนี้
(1) ต้องปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 4(3)
(2) ต้องนําเงินค่าจองซื้อหุ้นเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหุ้นของนิติบุคคลที่ออกหุ้น หรือแยกบัญชีเพื่อการจองซื้อหุ้นออกจากบัญชีทรัพย์สินของตน
(3) ต้องไม่ยืนยันการจองซื้อหุ้นแก่บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหุ้นให้ตามรายชื่อที่บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ทราบในข้อ 5
(4) ต้องไม่กระทําการใด ๆ อันมีผลทําให้การจัดจําหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
(5) มีระบบควบคุมการปฏิบัติงานที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้ผู้บริหารหรือพนักงานอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงานเบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อตัวแทนจําหน่ายหุ้น หรือเพื่อบุคคลอื่น
ข้อ ๙ ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กําชับ
(2) ภาคทัณฑ์
(3) สั่งพักการปฏิบัติงาน
ในการกําหนดระยะเวลาสั่งพักการปฏิบัติงานในกรณีตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประโยชน์ของประชาชนหรือทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ โดยระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พ้นโทษตามคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับ หรือนับแต่วันที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนด แล้วแต่กรณี สําหรับกรณีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(1) หรือข้อ 6(2) ให้สํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานจนกว่าการดําเนินคดีกับตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นจะถึงที่สุด
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ได้มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศรายใดก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่งพักการปฏิบัติงานตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้น หากการปฏิบัติงานของตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นยังไม่แล้วเสร็จและตัวแทนจําหน่ายหุ้นประสงค์จะปฏิบัติงานต่อไป ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อขอปฏิบัติงานต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ในการพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้สั่งพักการปฏิบัติงานตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นและผลกระทบต่อการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ใดได้ยื่นคําขออนุญาตตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศต่อสํานักงานและสํานักงานยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้ทราบก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สํานักงานพิจารณาคําขออนุญาตดังกล่าวตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ยกเลิกตามข้อ 1 ต่อไป ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนจําหน่ายหุ้นที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวจนกว่าการจัดจําหน่ายหุ้นนั้นจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ใดได้รับอนุญาตให้ตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนจําหน่ายหุ้นที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ยกเลิกตามข้อ 1 ต่อไปจนกว่าการจัดจําหน่ายหุ้นนั้นจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,094 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่กธ. 9/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 9/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(6) มีระบบการรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทําหน้าที่ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศโดยกําหนดขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนและการดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ การรับข้อร้องเรียนและดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนอย่างน้อยต้องมีขั้นตอนดังนี้
(ก) รับข้อร้องเรียนของผู้จองซื้อหุ้น หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจาให้บันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้จองซื้อหุ้นลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนจําหน่ายหุ้นจะดําเนินการแก้ไขปัญหา
(ข) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว
(ค) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทหลักทรัพย์ที่แต่งตั้งตนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
(ง) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น
==============================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
(จ) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการ ดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,095 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 1/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 1/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) แจ้งรายชื่อบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหุ้นให้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบ
(2) ดูแลให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีระบบงานที่สามารถรองรับการรับจองซื้อหุ้นตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ต้องไม่ยืนยันการจองซื้อหุ้นแก่บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหุ้นให้ตามรายชื่อที่บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ทราบในข้อ 5(1)”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) และ (8) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 9/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
“(7) ต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่แสดงถึงขั้นตอนและวิธีการในการรับจองซื้อหุ้นไว้อย่างชัดเจนและเป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน รวมทั้งต้องควบคุมดูแลให้พนักงานของตนปฏิบัติตามคู่มือดังกล่าวด้วย
(8) ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นไว้ให้ครบถ้วนอย่างน้อยสองปีนับแต่วันสิ้นสุดการรับจองซื้อหุ้นนั้น”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการกําหนดระยะเวลาสั่งพักการปฏิบัติงานในกรณีตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประโยชน์ของประชาชนหรือทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ โดยระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พ้นโทษตามคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับ หรือนับแต่วันที่สํานักงานมีคําสั่งพักการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณี สําหรับกรณีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(1) หรือข้อ 6(2) ให้สํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานจนกว่าการดําเนินคดีกับตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นจะถึงที่สุด”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,096 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 37/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 37/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทน
จําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศต้องเป็นบุคคล ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงาน
(2) เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(ข) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่มีจํานวนหุ้นที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหุ้นหรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
(ค) การจัดจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดไว้ใน (ก) หรือ (ข) ซึ่งมีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นดังต่อไปนี้ควบกับการเสนอขายหุ้นดังกล่าวด้วย
1. ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
2. ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
3. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือ
4. ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น
(3) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการดังนี้
(ก) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จําหน่าย
(ข) แจกจ่ายหรือรับใบจองซื้อหลักทรัพย์
(ค) รับชําระเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์
(ง) ยืนยันการจองซื้อหลักทรัพย์
(จ) ส่งมอบหลักทรัพย์ให้ผู้จองซื้อที่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์
(ช) คืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในกรณีที่มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) แจ้งรายชื่อบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบ
(2) ดูแลให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีระบบงานที่สามารถรองรับการรับจองซื้อหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
“ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศสําหรับกรณีการจัดจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 4(2)(ค) ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่งสําหรับหลักทรัพย์ประเภทอื่นที่เสนอขายควบกับหุ้นด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,097 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 1/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 1/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทน
จําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(1/1) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4/1 หรือ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 4/1 บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. บุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นต้องเป็นบุคคลที่สํานักงานได้รับขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศตามข้อ 7
2. เป็นการจัดจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นที่มีจํานวนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหน่วย หรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป
3. เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ตามข้อ 4 (3)”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
“ในกรณีที่มีการตั้งตัวแทนเพื่อจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
“ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนเพื่อจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 4 (2)(ค) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 4/1 ให้ตัวแทนดังกล่าวมีหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,098 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 37/2544
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้มีรายการเพิ่มเติมตามที่กําหนดในข้อ 3
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีรายการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ทั้งในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ และส่วนข้อมูลโครงการ
(1) ข้อความที่แสดงว่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้จะนําไปจําหน่าย
จ่ายโอน จํานําหรือนําไปเป็นประกันมิได้
(2) สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะได้รับประเภทของเงินได้ที่นํามาลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยไว้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงื่อนไขการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อให้ให้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
(3) ภาระภาษีของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุน การชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับ และกรณีที่ต้องชําระเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฏากร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
(4) คําเตือนเกี่ยวกับผลของการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีว่า "สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้พึงได้รับจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกําหนดเวลาและหากการชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องชําระเงินเพิ่มและ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรด้วย ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ และภาระภาษีที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนจะเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกําหนดดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน"
รายการตาม (2) และ (3) ให้มีรูปแบบอย่างน้อยตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และรายการตาม (4) ให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน โดยพิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่ปกหน้าด้านนอกของหนังสือชี้ชวน และที่ส่วนบนของหน้าแรกของส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,099 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 52/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 52/2544
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีรายการเพิ่มเติมในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบดังต่อไปนี้
(1) ข้อความที่แสดงว่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้จะนําไปจําหน่ายจ่ายโอน จํานําหรือนําไปเป็นประกันมิได้
1. คําเตือนเกี่ยวกับผลของการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีว่า “สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้พึงได้รับจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกําหนดเวลา และหากการชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องชําระเงินเพิ่มและ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรด้วย ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ และภาระภาษีที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนจะเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกําหนด ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน”
คําเตือนตาม (2) ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่ปกหน้าด้านนอกของหนังสือชี้ชวนและที่ส่วนบนของหน้าแรกของส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ โดยพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 3/1 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีรายการเพิ่มเติมในส่วนข้อมูลโครงการดังต่อไปนี้
1. ข้อความตามข้อ 3(1)
2. ข้อความที่ระบุว่าสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับภาษีของผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะเป็นไปตามกฎกระทรวง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี) ดังต่อไปนี้ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดได้จากคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
3. กฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
4. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
5. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตายลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2544
(ง) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2544”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,100 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 47/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 47/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของ
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่นายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการอาจให้สมาชิกกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ในกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพระบุให้สามารถกระทําได้ และเป็นการให้กู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๓ ในกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมิได้กําหนดให้สมาชิกสามารถกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ หากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประสงค์จะแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวต้องปรากฏว่า สมาชิกมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ทั้งนี้ ก่อนการขอมติดังกล่าวต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรให้สมาชิกทราบในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) วัตถุประสงค์ของการให้สมาชิกกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตลอดจนการวางหลักประกันในการกู้ ยืมเงิน
(3) ผลกระทบต่อมูลค่าเงินกองทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และต่อสมาชิกในกรณีที่มีสมาชิกรายใดรายหนึ่งผิดนัดชําระ หนี้
(4) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(5) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
(6) ค่าใช้จ่ายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินการให้สมาชิกผู้กู้ชําระหนี้หรือการดําเนินการบังคับคดี ในกรณีที่สมาชิกผู้กู้ผิดนัดชําระหนี้ เช่น ภาระค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้เงินกู้ที่ค้างชําระ ภาระค่าใช้จ่ายในการ บังคับคดี เป็นต้น
(7) ความเสี่ยงของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิก เช่น การลดลงของมูลค่าหลักประกัน การไม่สามารถ เรียกชําระหนี้จากสมาชิกผู้กู้ยืมได้ เป็นต้น
(8) ต้นทุนค่าเสียโอกาสของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในการให้สมาชิกกู้ยืมเงิน(opportunity cost)
(9) ข้อความว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่สามารถหักกลบลบหนี้จากเงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงิน สมทบที่สมาชิกที่ผิดนัดชําระหนี้ซึ่งได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้”
ข้อ ๔ ในการกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามข้อ 3(4) อัตราดอกเบี้ยตามข้อ 3(5) ค่าใช้จ่ายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 3(6) และต้นทุนค่าเสียโอกาสตามข้อ 3(8) ให้บริษัทจัดการดําเนินการร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อกําหนดเรื่องดังกล่าวก่อนเสนอขอความเห็นชอบจากสมาชิกตามข้อ 3 ทั้งนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามข้อ 3(4) ให้คิดจากสมาชิกผู้กู้ยืมเท่านั้น
ข้อ ๕ ในกรณีที่สมาชิกมีมติให้ความเห็นชอบในการแก้ไขข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับมติของสมาชิกดังกล่าว รวมทั้งข้อมูลที่ได้เปิดเผยต่อสมาชิกก่อนการลงมติตามข้อ 3 ให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สมาชิกมีมติให้ความเห็นชอบในการแก้ไขข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๖ ในการให้สมาชิกกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกเพื่อนําเงินกู้ไปซื้อหลักทรัพย์ของนายจ้างที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทในเครือของนายจ้างที่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่ง สมาชิกได้รับจัดสรรอันเนื่องมาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหลักทรัพย์นั้นเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) ให้สมาชิกกู้ยืมเงินได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของยอดเงินสะสมและผลประโยชน์ของยอดเงินสะสมของสมาชิกแต่ละราย และคิดดอกเบี้ย เงินกู้ไม่ต่ํากว่าอัตราใดอัตราหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) โดยเฉลี่ยจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวที่ประกาศโดยธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ห้าแห่งตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
(ข) อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุเท่ากับหรือใกล้เคียงระยะเวลาชําระคืนเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ที่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยหรือธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(ค) อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจํานวนที่มีอายุเท่ากับ หรือใกล้เคียงระยะเวลาชําระคืนเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ตามที่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยหรือธนาคารแห่ง ประเทศไทยกําหนด
(3) กําหนดให้สมาชิกชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ๆ ละเท่า ๆ กันภายในระยะเวลาไม่เกินหกสิบเดือน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในงวดสุดท้ายของการชําระหนี้ หรือ
(ข) ชําระคืนเงินต้นเป็นรายปี ๆ ละเท่า ๆ กันภายในระยะเวลาไม่เกินห้าปี และชําระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ๆ ละเท่า ๆ กันในแต่ละปีภายในระยะเวลาไม่เกินหกสิบเดือน ทั้งนี้ ไม่รวมกับการชําระดอกเบี้ยในงวดสุดท้ายของการชําระหนี้ หรือ
(ค) ชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดทันทีเมื่อสมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ
ในกรณีที่สมาชิกผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยตาม (ก) หรือ (ข) ให้บริษัทจัดการกําหนดในสัญญากู้ยืมเงินระหว่างสมาชิกกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพว่าสัญญาดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิก ณ วันสิ้นปี โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนเงินที่สมาชิกกู้ยืมและอัตราส่วนของเงินที่ให้กู้ยืมเทียบกับมูลค่าเงินกองทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จํานวนสมาชิกที่กู้ยืมและอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกที่กู้ยืมเทียบกับสมาชิกทั้งหมด ความคืบหน้าในการชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งจํานวนสมาชิกและยอดเงินที่ผิดนัดชําระหนี้ และส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนมกราคมของปีถัดไป
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,101 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39 /2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 39/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของ
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและต่อสมาชิกในกรณีที่มีสมาชิกรายใดรายหนึ่งผิดนัดชําระหนี้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) กําหนดให้สมาชิกชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
1. ชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ๆ ละเท่า ๆ กันภายในระยะเวลาไม่เกินหกสิบเดือน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในงวดสุดท้ายของการชําระหนี้ หรือ
2. ชําระคืนเงินต้นเป็นรายปี ๆ ละเท่า ๆ กันภายในระยะเวลาไม่เกินห้าปีและชําระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ๆ ละเท่า ๆ กันในแต่ละปีภายในระยะเวลาไม่เกินหกสิบเดือน ทั้งนี้ไม่รวมถึงการชําระดอกเบี้ยในงวดสุดท้ายของการชําระหนี้”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“(4) กําหนดให้สัญญากู้ยืมเงินระหว่างสมาชิกกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุดลง และสมาชิกต้องชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมด หากปรากฏว่า
(ก) สมาชิกผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยตาม (3) (ก) หรือ (ข) โดยข้อกําหนดดังกล่าวจะยอมให้มีการผิดนัดเกินหนึ่งงวดมิได้ หรือ
(ข) สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิก ณ วันสิ้นปี โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนเงินที่สมาชิกกู้ยืมและอัตราส่วนของเงินที่ให้กู้ยืมเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จํานวนสมาชิกที่กู้ยืมและอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกที่กู้ยืมเทียบกับสมาชิกทั้งหมด ความคืบหน้าในการชําระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งจํานวนสมาชิกและยอดเงิน
ที่ผิดนัดชําระหนี้ และส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนมกราคมของปีถัดไป”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,102 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 33/2543 เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 33/2543
เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งแต่ตําแหน่งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลขึ้นไปจนถึงตําแหน่งผู้จัดการ
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ และบริษัทที่บริษัทจัดการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
“ กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่าย หน่วยลงทุนของกองทุนปิด ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด หรือตัวแทนเพื่อทําหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด แล้วแต่กรณี
“ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา
“ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์” หมายความว่า สัญญาซึ่งบริษัทจัดการโอนหลักทรัพย์ของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากันคืนให้แก่กองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังต่อไปนี้ โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 3 เป็นการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(1) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของบริษัทที่บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ของบริษัทจัดการเป็นกรรมการหรือถือหุ้นเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
การถือหุ้นของบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย
(2) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่บริษัทจัดการหรือบริษัทในเครือของบริษัทจัดการเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(3) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุน
(4) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของบริษัทเฉพาะในส่วนที่บริษัทจัดการทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนสนับสนุน
(5) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้มาหรือจําหน่ายไประหว่างกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุนกับบัญชีลงทุนของบริษัทจัดการหรือกับกองทุนรวมหรือกับกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุน
(6) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนกับบริษัทจัดการหรือบริษัทในเครือของบริษัทจัดการ
(7) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการหรือบริษัทในเครือของบริษัทจัดการ
ข้อ ๓ การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามข้อ 2 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าให้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในแต่ละข้อของข้อ 2 ได้ โดย ได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่ง อาจกําหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการลงทุนดังกล่าวก็ได้
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบใน การจัดการลงทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของ เงินกองทุน
(3) เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กําหนดใน สัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุน ชื่อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จํานวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่ลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งระบุว่าเป็นการ ลงทุนตามข้อใดของข้อ 2
รายงานที่ส่งให้ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตาม (3) ให้มีรายการอัตราส่วนการลงทุนที่เทียบกับเงินกองทุน แทนรายการอัตราส่วนการลงทุนที่เทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 2 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะคงมีไว้ซึ่ง การลงทุนดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวได้ไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,103 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2544 เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่สน. 32/2544
เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า "บัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงาน"ระหว่างบทนิยามคําว่า "บริษัทในเครือ" และคําว่า "กองทุนรวม" ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2543 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
"บัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงาน" หมายความว่า บัญชีเงินฝากของกองทุนส่วนบุคคลที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปลงทุน แต่มีวัตถุประสงค์ในการฝากไว้เพื่อประโยชน์ในการจัดการ หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2543 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(2) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่บริษัทจัดการหรือบริษัทในเครือของบริษัทจัดการเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือผู้รับฝากเงิน
การนับรวมเงินฝากตามรรคหนึ่ง มิให้นับรวมเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงาน"
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2543 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 3 การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามข้อ 2 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าให้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในแต่ละข้อของข้อ 2 ได้ โดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่ง อาจกําหนดไว้ในสัญญาหรือ
(2) เว้นแต่ลูกค้าจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุนชื่อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จํานวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนและอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งระบุว่าเป็นการลงทุนตามข้อใดของข้อ 2"
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,104 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 36/2540 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 36 /2540
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรม
การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9(1) และ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดากลักทรัพย์ ที่ กค. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและ ให้ยืมเจ้าทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๒ นอกเหนือจากหลักประกันที่เป็นเงินสดสกุลบาท เล็ตเตอร์ออฟเครดิต และพันธบัตรรัฐบาลไทยแล้ว ผู้ประกอบกิจการอาจดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกทรัพย์สินต่อไปนี้ เพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์
(1) เงินสดสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
(2) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ําประกัน
(4) ตราสารแห่งหนี้ที่ตัวตราสารนั้นเองหรือผู้ออกตราสาร ได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(5) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การวางหลักประกันในรูปของเงินสดสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ให้ทําได้เฉพาะกรณี ที่ผู้ยืมเป็นบุคคลที่มีภูมิลําเนาในต่างประเทศ
ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการ ไม่ว่าในฐานะผู้ให้ยืมหรือตัวแทนของผู้ให้ยืม ต้องดําเนินการ ให้มีการดํารงมูลค่าหลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับ ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่ต่ํากว่าร้อยละ 105 ของมูลค่า หลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ข้อ ๔ ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสดสกุลบาท และแล้ศเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ให้ยืมได้รับเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาตลาด ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันดังกล่าวในวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า ในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดให้ ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาที่เสนอซื้อโดยผู้ประกอบธุรกิจในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักประกันนั้นในวัน ทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,105 |
ประกาสสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 7/2541 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาสสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 7/7541
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรม
การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9(1) และ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6)(7) และ (8) ในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. . 36/2540 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540
"(6) ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(7) ตราสารแห่งหนี้ ที่ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไขผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(8) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 36/2540 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปแทน
“ข้อ 4 ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสดสกุลบาทและเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ที่ผู้ให้ยืมได้รับเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาตลาดของหลักทรัพย์หรือหลักประกันดังกล่าวในวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาที่เสนอซื้อโดยผู้ประกอบธุรกิจในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักประกันนั้นในวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดหรือราคาที่เสนอซื้อ ให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาตลาดหรือราคาที่เสนอซื้อโดยผู้ประกอบธุรกิจในวันที่ใกล้วันที่คํานวณมูลค่ามากที่สุด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า หากวันที่ใกล้วันคํานวณมูลคํามากที่สุดมีทั้งสองราคา ให้ใช้ราคาตลาดในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือหลักประกันนั้น"
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตันไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,106 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2542 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 20/2542
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม
และให้ยืมหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9(1) และ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 36/2540 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สด. 7/2541 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๓ นอกเหนือจากหลักประกันที่เป็นเงินสดสกุลบาท เล็ตเตอร์ออฟเครดิตและพันธบัตรรัฐบาลไทยแล้ว ผู้ประกอบกิจการอาจดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกทรัพย์สินดังต่อไปนี้เพื่อเป็นหลักประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ได้
(1)เงินสดสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เฉพาะกรณีที่ผู้ยืมเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออกหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(5) ตราสารแห่งหนี้ที่ตัวตราสารนั้นเอง หรือผู้ออกตราสาร หรือผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป หรือผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(6) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก
(7) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(8) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(9) หนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการยืมหลักทรัพย์ของผู้ยืม โดยสถาบันการเงินนั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น (LETTER OF GUARANTEE)
ข้อ ๔ ผู้ประกอบกิจการที่กระทําการในฐานะดังต่อไปนี้ ต้องดําเนินการให้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง การดํารงมูลค่าหลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับอยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(1) ตัวแทนของผู้ให้ยืม
(2) ผู้ยืมหรือตัวแทนของผู้ยืม ในกรณีที่ผู้ให้ยืมมิได้เป็นผู้ประกอบกิจการหรือมิได้มีการแต่งตั้งผู้ประกอบกิจการเป็นตัวแทนในการให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๕ ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงิน ที่เป็นสกุลบาท ให้ผู้ประกอบกิจการคํานวณโดยใช้ราคาที่สามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (current market price) ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท โดยในกรณีทั่วไปให้ใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด (the best bid price) ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า หากในวันดังกล่าว ไม่มีราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด ให้ใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุด (the last execution price) ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า
ในกรณีที่ไม่มีราคาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุดหรือราคาซื้อขายครั้งล่าสุด ณ สิ้นวันทําการอื่นที่ใกล้วันที่คํานวณมูลค่ามากที่สุด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า หากวันที่ใกล้วันที่คํานวณมูลค่ามากที่สุดมีทั้งสองราคา ให้ใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุดเป็นราคาในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือหลักประกันนั้น
ความในข้อนี้มิได้เป็นข้อห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาอื่นที่พิจารณาเห็นว่าเป็นราคาที่สามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบันได้ เมื่อหลักทรัพย์หรือหลักประกันนั้นไม่มีราคาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือเมื่อมีเหตุผลหรือเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าราคาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่เหมาะสม
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,107 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 15/2543 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 15/2543
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม
และให้ยืมหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2542 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบกิจการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงิน ที่เป็นสกุลบาท ตามวิธีการดังต่อไปนี้
1. ให้ใช้ราคาเสนอขายที่ดีที่สุด (the best offer price) สําหรับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด (the best bid price) สําหรับมูลค่าหลักประกัน ซึ่งเป็นราคา ณ สิ้นวันทําการก่อนวันคํานวณมูลค่า หรือใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนวันคํานวณมูลค่าในกรณีที่ไม่มีราคาเสนอขายหรือเสนอซื้อดังกล่าว
2. ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (1) ให้ผู้ประกอบกิจการใช้ราคาเสนอขายที่ดีที่สุดสําหรับการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุดสําหรับการคํานวณมูลค่าหลักประกัน หรือใช้ราคาปิดในกรณีที่ไม่มีราคาเสนอขายหรือเสนอซื้อดังกล่าว โดยให้ใช้ราคา ณ สิ้นวันทําการย้อนหลังที่ใกล้วันคํานวณมูลค่าที่สุดแต่ต้องไม่เกิน 15 วันทําการก่อนวันคํานวณมูลค่าดังกล่าว
3. ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (2) หรือผู้ประกอบกิจการพิจารณาแล้วเห็นว่าราคาตาม (1) และ (2) ไม่เหมาะสม ให้คํานวณโดยใช้ราคาที่เห็นว่าสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (current market price) ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลและเอกสารหลักฐานที่ทําให้เห็นว่าราคาที่ใช้ในการคํานวณสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน”
- 2 -
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,108 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 70/2543 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 70/2543
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม
และให้ยืมหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
###### อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2542 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2543 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบกิจการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงินที่เป็นสกุลบาท ตามวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือราคาอ้างอิง ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย Reuters Bloomberg หรือผู้ประกอบธุรกิจให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ หรือ
(2) ให้ใช้ราคาที่เห็นว่าสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (current market price) ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท
#### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,109 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 10/2548 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 10/2548
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืม
และให้ยืมหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.20/2542 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 4/1 ผู้ประกอบกิจการที่กระทําการในฐานะดังต่อไปนี้ ต้องดําเนินการให้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง การดํารงมูลค่าหลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับอยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(1) ตัวแทนของผู้ให้ยืม
(2) ผู้ยืมหรือตัวแทนของผู้ยืม ในกรณีที่ผู้ให้ยืมมิได้เป็นผู้ประกอบกิจการหรือมิได้มีการแต่งตั้งผู้ประกอบกิจการเป็นตัวแทนในการให้ยืมหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.20/2542 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่เป็นการยืมหลักทรัพย์ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบกิจการที่กระทําการในฐานะเดียวกับที่กําหนดในข้อ 4(1) หรือ (2) ต้องดําเนินการให้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง การดํารงมูลค่าหลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับอยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าราคาใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์ตามสิทธิที่ผู้ยืมได้รับจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือจากผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทดังกล่าวคูณด้วยจํานวนหลักทรัพย์ที่ยืม
(1) ผู้ยืมเป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ว่าด้วยการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย
(2) ผู้ยืมทําการยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินในกรณีที่มีการจองซื้อหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย
(3) ผู้ยืมได้วางเงินสดสกุลบาทไว้แก่ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นหลักประกันการยืมหลักทรัพย์
(4) ผู้ยืมได้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงต่อผู้ให้ยืมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมซึ่งอาจทําให้หลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับไว้ไม่เพียงพอที่จะไปซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวคืนในกรณีที่ผู้ยืมไม่สามารถคืนหลักทรัพย์แก่ผู้ให้ยืมได้
(5) ผู้ยืมได้ดําเนินการให้ผู้ให้ยืมรับทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตาม (4) ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี และ
(6) ผู้ยืมได้ดําเนินการแยกหลักทรัพย์ที่ได้ซื้อมาเพื่อการส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมไว้ต่างหากจากทรัพย์สินของผู้ยืมและได้จัดทําบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวแยกออกจากบัญชีทรัพย์สินของตนในระหว่างที่ผู้ยืมทําการทยอยซื้อหลักทรัพย์คืนแก่ผู้ให้ยืม โดยผู้ยืมจะไม่นําหลักทรัพย์ที่แยกไว้เพื่อการส่งคืนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่น”
### ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
### ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
###
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,110 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในการลงทุนในหรือมีไว้ ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 18/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการลงทุน
ในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“ประกาศ ที่ กน. 16/2542” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด หรือตัวแทนเพื่อทําหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด แล้วแต่กรณี
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีข้อกําหนดในการป้องกันมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 3 แห่งประกาศ ที่ กน. 16/2542 เพื่อบริษัทจัดการก่อนที่บริษัทจัดการจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นเพื่อกองทุนรวมในประการที่จะเป็นการเอาเปรียบต่อกองทุนรวมหรืออาจเป็นผลให้บริษัทจัดการได้รับประโยชน์จากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว (front running) และข้อกําหนดในการป้องกันมิให้บริษัทจัดการนําข้อมูลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมไปใช้ประโยชน์
ข้อ ๓ ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 3(2) ถึง (6) แห่งประกาศ ที่ กน. 16/2542 เพื่อบริษัทจัดการ ให้บริษัทจัดการถือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้น (holding period)ไว้เป็นระยะเวลาไม่ต่ํากว่าสามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้มา เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๔ บริษัทจัดการจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการเพื่อบริษัทจัดการได้เฉพาะเมื่อบริษัทจัดการไม่สามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดได้อย่างเหมาะสม อันเนื่องมาจากไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล หรือเนื่องจากมีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกระทําด้วยความระมัดระวังและเป็นธรรม โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และเมื่อบริษัทจัดการสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้อย่างเหมาะสมแล้ว บริษัทจัดการต้องจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ลงทุนไว้เพื่อบริษัทจัดการดังกล่าวออกไปในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ โดยต้องไม่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่น พร้อมทั้งรายงานให้สํานักงานทราบตามแบบ 126 (1) – 5 ภายในวันทําการถัดจากวันที่จําหน่าย
ข้อ ๕ ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการในลักษณะที่เป็นรายการระหว่างบริษัทจัดการกับกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๖ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เพื่อบริษัทจัดการในระหว่างที่บริษัทจัดการดําเนินการจัดการให้ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวเพื่อกองทุนรวมที่บริษัทจัดการนั้นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการจัดการให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ออกใหม่ (primary market) เพื่อกองทุนรวมและเพื่อบริษัทจัดการ บริษัทจัดการต้องจัดสรรหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว เพื่อกองทุนรวมจนเต็มจํานวนก่อนจึงจัดสรรเพื่อบริษัทจัดการ
(2) ในกรณีที่มีการจัดการให้ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ออกใหม่ตาม (1) (secondary market) เพื่อกองทุนรวมและเพื่อบริษัทจัดการ บริษัทจัดการต้องให้ความสําคัญกับการจัดการเพื่อกองทุนรวมก่อน จึงดําเนินการเพื่อบริษัทจัดการ
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ หากปรากฏว่าในขณะจัดทําหนังสือชี้ชวน บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 3 แห่งประกาศ กน. 16/2542 เพื่อบริษัทจัดการเกินหนึ่งร้อยล้านบาท โดยมีข้อความดังต่อไปนี้
“บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการเช่นเดียวกันกับที่บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลการลงทุนเพื่อบริษัทจัดการในรายละเอียด สามารถขอดูข้อมูลได้ที่บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(2) จัดทําและจัดส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 3(2) ถึง (6) แห่งประกาศ ที่ กน. 16/2542 ให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันลงทุนตามแบบ 126 (1) - 5 และคําอธิบายประกอบการจัดทําแบบรายงานดังกล่าวท้ายประกาศนี้
(3) จัดให้มีข้อมูลการลงทุนตามข้อ (2) ที่เป็นปัจจุบันไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนสามารถตรวจดูได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,111 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแข้งทางผลประโยชน์ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 49/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการลงทุน
ในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ หากปรากฏว่าในขณะจัดทําหนังสือชี้ชวน บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 3 แห่งประกาศ ที่ กน. 16/2542 เพื่อบริษัทจัดการเกินหนึ่งร้อยล้านบาท โดยมีข้อความดังต่อไปนี้
“บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการเช่นเดียวกันกับที่บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลการลงทุนเพื่อบริษัทจัดการในรายละเอียดสามารถขอดูข้อมูลได้ที่บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(2) จัดให้มีข้อมูลการลงทุนของบริษัทจัดการที่จัดทําและส่งให้สํานักงานเป็นรายเดือนตามแบบรายงานข้อมูลการลงทุนของบริษัทจัดการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทําและการส่งแฟ้มข้อความและแบบรายงานของบริษัทจัดการ ไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ และ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนสามารถตรวจดูได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,112 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 30/2543 เรื่อง ยกเลิกประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ สำหรับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งประสบปัญหาในการดำเนินงาน (ฉบับที่ 8) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สบ. 30/2543
เรื่อง ยกเลิกประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ซึ่งประสบปัญหาในการดําเนินงาน
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2542 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งประสบปัญหาในการดําเนินงาน ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2542
ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,113 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 6/2542 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาตมีสำนักงานสาขา | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 6/2542
เรื่อง การยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขา
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตมีสํานักงานสาขาตามนัยข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ 92 - 2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานต่อไปนี้
(1) แผนผังแสดงโครงสร้างการจัดองค์กรของบริษัทหลักทรัพย์
(2) แผนผังแสดงโครงสร้างการจัดองค์กรของสํานักงานสาขาแห่งที่กําลังขอรับอนุญาตและรายละเอียดงานและความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานภายในสํานักงานสาขาแห่งดังกล่าว
(3) ระบบการควบคุมภายในของบริษัทหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับสํานักงานสาขาแห่งที่กําลังขอรับอนุญาต ซึ่งประกอบด้วย
(ก) ขั้นตอนการเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์
(ข) อํานาจการอนุมัติวงเงินของผู้จัดการสํานักงานสาขา
(ค) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขา และแนวทางในการตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขา
(4) บทศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสํานักงานสาขา พร้อมทั้งสมมติฐานในการจัดทําบทศึกษาดังกล่าว แต่กรณีที่เป็นการยื่นคําขอตามนัยข้อ 4 (2) หรือ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์อาจยื่นข้อมูลที่เป็นการปรับปรุงบทศึกษาฉบับเดิมให้เป็นปัจจุบันแทนการจัดทําและยื่นบทศึกษาฉบับใหม่ก็ได้
(5) บทศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งสํานักงานสาขาต่อการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัท
(6) ประมาณการงบการเงินและอัตราการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิสําหรับหนึ่งปีข้างหน้าของบริษัท พร้อมทั้งสมมติฐานในการจัดทําประมาณการดังกล่าว
(7) หนังสือรับรองประวัติของผู้บริหารตามแบบ 92 - 3 ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,114 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2542 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาตมีสำนักงานสาขา (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 25/2542
เรื่อง การยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขา
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) และ (5) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2542 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(4) บทศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสํานักงานสาขา พร้อมทั้งสมมติฐานในการจัดทําบทศึกษาดังกล่าว เว้นแต่
(ก) กรณีที่เป็นการยื่นคําขอตามนัยข้อ 4 (2) หรือ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์อาจยื่นข้อมูลที่เป็นการปรับปรุงบทศึกษาฉบับเดิมให้เป็นปัจจุบันแทนการจัดทําและยื่นบทศึกษาฉบับใหม่ก็ได้ หรือ
(ข) กรณีที่เป็นการยื่นคําขอตามนัยข้อ 4 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับดังกล่าว และมิได้มีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เป็นนัยสําคัญที่จะมีผลกระทบต่อการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ไม่ต้องยื่นบทศึกษาความเป็นไปได้และสมมติฐานดังกล่าว
(5) บทศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งสํานักงานสาขาต่อการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัท เว้นแต่กรณีที่เป็นการยื่นคําขอตามนัยข้อ 4 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับดังกล่าว และมิได้มีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เป็นนัยสําคัญที่จะมีผลกระทบต่อการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ไม่ต้องยื่นบทศึกษาผลกระทบดังกล่าว"
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 92-2 และแบบ 92-3 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2542 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขาลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้แบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,115 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 23/2541
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา
ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
"กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว
"กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน" หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) (ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ผู้สอบบัญชี" หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์
"นายทะเบียน" หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดของโครงการ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ
(2) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ
(3) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวน ประเภทและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา
(4) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
(5) ข้อจํากัดการลงทุนของกองทุนรวม
(6) ทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุน
(7) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(8) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
(9) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์
(10) ชื่อผู้สอบบัญชี และนายทะเบียนหน่วยลงทุน
(11) อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม
(12) วิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุน การรับชําระเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน วิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(13) วิธีการเพิ่มเงินทุนและลดเงินทุนของกองทุนรวม
(14) การออกและการส่งมอบใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการออกให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เงื่อนไขและวิธีการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน
(15) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม
(16) การจัดทํารายงานแสดงฐานะและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม
(17) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
(18) การเลิกโครงการ และเหตุที่จะเลิกโครงการในกรณีที่ไม่กําหนดอายุโครงการ
(19) วิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมเมื่อเลิกโครงการ และวิธีการเฉลี่ยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(20) รายละเอียดอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,116 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2542 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2542
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (16) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(16) การจัดทํารายงานของกองทุนรวม”
### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,117 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 46/2541 เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ปี ค.ศ. 2000 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 46/2541
เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์
เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 มาตรา 109 และมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
“ปัญหาปี ค.ศ. 2000” หมายความว่า ปัญหาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากปี ค.ศ. 2000
“มาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000” หมายความว่า ข้อกําหนดขั้นต่ําเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบความครบถ้วนในการดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่ออกโดยสํานักงาน
“ผู้ตรวจสอบ” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศ ของสํานักงานว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี หรือบุคคลอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด หรือตัวแทนเพื่อทําหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด แล้วแต่กรณี
“ระบบงานสําคัญ” หมายความว่า ระบบธุรกรรมหลักของบริษัทหลักทรัพย์ที่หากเกิดความเสียหายเนื่องจากปัญหาปี ค.ศ. 2000 แล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก เช่น ผู้ลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
“นายทะเบียน” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 และจัดให้มีผู้ตรวจสอบเป็นผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบและจัดทํารายงานผลการตรวจสอบความครบถ้วนในการดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 และจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ผู้ตรวจสอบลงลายมือชื่อในรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2542
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและส่งรายงานความคืบหน้าในการดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ตามข้อ 2 ตามแบบท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงานเป็นรายเดือนภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป จนกว่าจะได้มีการจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบที่ผู้ตรวจสอบแสดงความเห็นว่า บริษัทหลักทรัพย์สามารถดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
ข้อ ๔ ในกรณีที่รายงานผลการตรวจสอบการเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 แสดงให้เห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทํารายงานชี้แจงสาเหตุและจัดทําแผนการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ในส่วนที่มีปัญหาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ส่งให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ผู้ตรวจสอบลงลายมือชื่อในรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว
(2) ดําเนินการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ส่งให้สํานักงานตาม (1) และจัดให้มีผู้ตรวจสอบเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 และจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ผู้ตรวจสอบลงลายมือชื่อในรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 27 ธันวาคม 2542
ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบตามข้อ 2 และข้อ 4 โดยการปิดประกาศใบสรุปผลการตรวจสอบตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่วันที่ได้จัดส่งรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวให้สํานักงานแล้ว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ และจัดให้มีรายงานผลการตรวจสอบไว้ที่สถานที่ดังกล่าวและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจดูได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏผลจากรายงานผลการตรวจสอบตามข้อ 2 หรือข้อ 4 หรือปรากฏผลจากรายงานความคืบหน้าตามข้อ 3 หรือปรากฏผลจากการตรวจสอบของสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 สํานักงานอาจเปิดเผยรายชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวรวมตลอดถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ผู้ตรวจสอบเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์สามารถดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้ อันมีผลกระทบต่อระบบงานสําคัญของบริษัทหลักทรัพย์ที่สืบเนื่องหรือเป็นผลมาจากปัญหาปี ค.ศ. 2000 และบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้สํานักงานทราบโดยพลัน และให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่เกิดเหตุการณ์หรือมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้น เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์สามารถแก้ไขปัญหานั้นให้ลุล่วงไปได้ภายในเวลาดังกล่าว
ข้อ ๘ โดยไม่เป็นการจํากัดอํานาจของสํานักงานตามมาตรา 142 มาตรา 144 และมาตรา 145 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะสั่งเป็นประการอื่นเมื่อปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดไม่สามารถแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้ภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2542 หรือมีพฤติการณ์อื่นใดบ่งชี้ให้สามารถประเมินได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดไม่สามารถแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 อันจะเป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินงานของระบบงานสําคัญได้ก่อนกําหนดเวลาดังกล่าว หรือปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ประสบปัญหาปี ค.ศ. 2000 อันอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกอย่างมีนัยสําคัญและบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงไปได้ สํานักงานอาจพิจารณาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ส่งแผนหรือสั่งให้แก้ไขแผนในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
(2) สั่งให้คืนหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าภายในเวลาที่สํานักงานกําหนด
(3) สั่งเพิกถอนการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมและแต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นเข้าเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการแทน หรือไม่อนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมหรือคําขอจดทะเบียนเพิ่มทุนของกองทุนรวม
(4) สั่งให้งดเว้นการขยายการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(5) สั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๙ ในการดําเนินการของบริษัทหลักทรัพย์ หากปรากฏต่อบริษัทหลักทรัพย์ว่าผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายทะเบียน หรือตัวแทนสนับสนุนไม่สามารถแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ได้ตามมาตรการของหน่วยงานที่กํากับดูแลบุคคลดังกล่าว และหากบริษัทหลักทรัพย์ยังคงดําเนินธุรกิจกับบุคคลดังกล่าวต่อไปจะก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นดําเนินการเปลี่ยนตัวผู้ดูแลประโยชน์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายทะเบียน หรือตัวแทนสนับสนุนนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีการสํารองข้อมูลของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์หรือของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ และข้อมูลรายละเอียดหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของลูกค้าหรือของกองทุนรวมดังกล่าวอย่างน้อย ณ วันทําการสุดท้ายของปี พ.ศ. 2542 ให้อยู่ในรูปของเอกสารไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ ให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เพื่อให้การให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือผู้ลงทุน และการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถดําเนินการได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการสํารองตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องเป็นข้อมูลดังต่อไปนี้
(1)หลักทรัพย์ของลูกค้าที่ฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์หลักทรัพย์ยืมคงค้างของลูกค้า และหลักประกัน
(2)ข้อมูลกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ดังนี้
(ก)ทะเบียนหน่วยลงทุน
(ข)คําสั่งซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนที่อยู่ระหว่างดําเนินการ
(ค)ค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนและเงินปันผลค้างชําระ
(ง)งบดุล งบกําไรขาดทุน และงบทดลองของกองทุนรวม
(จ)หลักทรัพย์และทรัพย์สินที่กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลลงทุน รวมทั้งรายงานการลงทุนที่มียอดค้างรับหรือค้างชําระของแต่ละกองทุน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวจัดส่งสรุปการดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000ซึ่งจัดทําตามมาตรการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ให้สํานักงานภายในกําหนดเวลาเดียวกับที่ต้องยื่นหรือจัดส่งต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องดําเนินการตามประกาศนี้ เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 8 และการดําเนินการตามข้อ 10
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,118 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 9/2542 เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ปี ค.ศ. 2000 (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 9/2542
เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์
เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 และข้อ 10/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 46/2541 เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
“ข้อ 10/1 ความในข้อ 2 ถึงข้อ 10 มิให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่ไม่มีหรือไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และได้มีหนังสือรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว
(2) บริษัทที่ได้หยุดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท และได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว
(3) บริษัทที่ถูกระงับการดําเนินกิจการทั้งหมดตามคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
ข้อ 10/2 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 10/1 (1) บริษัทใดประสงค์จะนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 10/1 (2) ถึง (3) บริษัทใดสามารถและประสงค์จะกลับมาประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามปกติ ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นจะนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือจะเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อีกครั้งหนึ่ง แล้วแต่กรณี บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- 2 -
(1) หากวันที่บริษัทหลักทรัพย์จะนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือจะเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามปกติเป็นวันก่อนวันที่ 1 มกราคม 2543 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามความในข้อ 2 ถึงข้อ 10 ของประกาศนี้ ให้เสร็จสิ้นตามขั้นตอนและระยะเวลาที่บังคับในแต่ละเรื่องนั้นเสียก่อน เว้นแต่การดําเนินการในเรื่องใดที่ไม่สามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวได้ล่วงพ้นไปแล้ว หรือเป็นการเหลือวิสัยที่จะดําเนินการในเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการในเรื่องนั้นให้เสร็จสิ้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ซึ่งต้องครบถ้วนก่อนวันแรกของการนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบธุรกิจ หรือเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามปกติ แล้วแต่กรณี
(2) หากวันที่บริษัทหลักทรัพย์จะนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือจะเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามปกติเป็นวันที่หรือภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นมีความพร้อมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 และดําเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 แล้วเสร็จ โดยในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 บริษัทหลักทรัพย์อาจปฏิบัติตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 โดยเปลี่ยนแปลงค่าวันที่ใช้ในการทดสอบได้ตามความเหมาะสม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2542
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,119 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 17/2542 เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ปี ค.ศ. 2000 (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 17/2542
เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์
เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 และมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 46/2541 เรื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบตามข้อ 2 และข้อ 4โดยการปิดประกาศใบสรุปผลการตรวจสอบตามมาตรฐาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่วันที่ได้จัดส่งรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวให้สํานักงานแล้ว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ และจัดให้มีรายงานผลการตรวจสอบไว้ที่สถานที่ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจดูได้ และให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีใบสรุปผลการตรวจสอบดังกล่าวไว้ที่สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจดูได้รวมทั้งจัดให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวได้ภายในห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประชาชนร้องขอ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,120 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 45/2541 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 45/2541
เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ลงวันที่18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 11/2537 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2537
“(7) ไม่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการกองทุนรวมในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,121 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.