title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 47/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกอนุกรรมการเพื่อเป็นองค์คณะพิจารณา ในฐานะคณะอนุกรรมการวินิจฉัย การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 47/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกอนุกรรมการเพื่อเป็นองค์คณะพิจารณา
ในฐานะคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์
เพื่อครอบงํากิจการ
โดยที่เป็นการสมควรประกาศหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลจากรายชื่ออนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อทําหน้าที่เป็นองค์คณะพิจารณาเรื่องที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการดังกล่าวตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 54/2545 เรื่อง การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
การคัดเลือกอนุกรรมการเพื่อเป็นองค์คณะพิจารณาในฐานะคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่: การหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการจากบุคคลกลุ่มที่ 1 ถึงกลุ่มที่ 3 ให้หมุนเวียนอนุกรรมการที่จะประกอบเข้าเป็นองค์คณะพิจารณา โดยเรียงตามลําดับรายชื่อของอนุกรรมการในแต่ละกลุ่มบุคคลที่แจ้งตามประกาศสํานักงานว่าด้วยรายชื่ออนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ เว้นแต่อนุกรรมการจากบุคคลกลุ่มที่ 1 ให้มีการหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างอนุกรรมการซึ่งมีรายชื่ออยู่ในลําดับที่ 1 และอนุกรรมการซึ่งมีรายชื่ออยู่ในลําดับที่ 2 และให้อนุกรรมการซึ่งมีรายชื่ออยู่ในลําดับที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่เป็นองค์คณะพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่อนุกรรมการซึ่งมีรายชื่อในลําดับที่ 1 และลําดับที่ 2 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นองค์คณะพิจารณาเรื่องนั้น
(2) การสลับลําดับการปฏิบัติหน้าที่ภายในกลุ่มเป็นการชั่วคราว: ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทําให้อนุกรรมการคนใดซึ่งอยู่ในลําดับที่จะได้รับมอบหมายให้เป็นองค์คณะพิจารณาเรื่องหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นองค์คณะพิจารณาเรื่องนั้น ให้สลับลําดับการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการคนนั้นกับอนุกรรมการในกลุ่มเดียวกันซึ่งมีรายชื่ออยู่ในลําดับที่จะทําหน้าที่เป็นคนถัดไปเป็นการชั่วคราว
(3) อนุกรรมการจากบุคคลกลุ่มที่ 2 และ/หรือบุคคลกลุ่มที่ 3: ในองค์คณะพิจารณาเรื่องหนึ่ง จะมีอนุกรรมการซึ่งมาจากบุคคลกลุ่มที่ 2 และบุคคลกลุ่มที่ 3 รวม 3 คน หรือเฉพาะบุคคลกลุ่มที่ 2 รวม 3 คน หรือเฉพาะบุคคลกลุ่มที่ 3 รวม 3 คน ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเด็นสําคัญที่ต้องพิจารณาในเรื่องนั้น
(4) อนุกรรมการจากบุคคลกลุ่มที่ 4: การคัดเลือกบุคคลจากกลุ่มที่ 4 เพื่อทําหน้าที่เป็น
อนุกรรมการและเลขานุการ ให้คัดเลือกตามขอบเขตความรับผิดชอบในตําแหน่งหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมกับประเด็นสําคัญที่ต้องพิจารณาในเรื่องนั้น
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,922 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 27/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการลงทุน
ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (2) และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการวิจัยด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หลักทรัพย์ หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทดังกล่าวให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทดังกล่าวให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้การยอมรับ
“สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เต็มเวลาหรือเป็นกรรมการของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่งในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่นหรือไม่เป็นผู้จัดการลงทุนให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่การเป็นพนักงานประจํา ผู้บริหาร หรือผู้จัดการลงทุนนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หากผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าได้ผ่านการอบรมความรู้ดังกล่าวที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
(5) มีคุณสมบัติหรือมีประสบการณ์ในการทํางานข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA)
(ข) เป็นผู้ผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ตามโครงการพัฒนาบุคลากรด้านอนุพันธ์ซึ่งจัดตั้งโดยตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งจัดโดยสถาบันที่สํานักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ
(ค) เป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยตรงไม่น้อยกว่าสามปี โดยต้องผ่านการทดสอบความรู้ตาม (ข)
(ง) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศซึ่งมีมาตรฐานการกํากับดูแลเทียบเท่ากับสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นผู้จัดการลงทุน และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หรือผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนเป็นผู้จัดการ หรือ
ผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้บุคคลดังกล่าวได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามข้อ 2(4) และ (5) หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ผ่านการอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หรือ
(2) มีประสบการณ์ด้านการจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามปี และได้ศึกษาคู่มือการปฏิบัติงานของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีเนื้อหาอย่างน้อยเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยได้มีการลงนามรับรองว่าได้ศึกษาคู่มือดังกล่าวแล้ว
ให้ผู้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนตาม (2) เข้ารับการอบรมหลักสูตรตาม (1) ในโอกาสแรกที่กระทําได้ทั้งนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุน
ข้อยกเว้นตามวรรคหนึ่งให้ใช้สําหรับผู้ขอรับความเห็นชอบเพียงรายเดียวต่อผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละแห่ง และให้การยกเว้นสิ้นสุดลงเมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น
ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือเคยถูก ถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์
(8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน
(11) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่หรือเคยถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็น
ผู้จัดการลงทุน ผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(12) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(13) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุม กิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงาน
ที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุน และมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ
(14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(15) จงใจอําพรางการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือลูกค้า ที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็น ผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรแจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุน
(16) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต.หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(17) มีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(18) มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจจัดการลงทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจ หรือ ต่อลูกค้าของธุรกิจนั้น
ข้อ ๕ ในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุน ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบ กน. 20-1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต.ได้ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งเป็นผู้จัดการลงทุนแล้ว ต่อมาหากปรากฏว่าข้อมูลที่ได้ระบุในแบบ กน. 20-1 เปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวตามแบบ กน. 20-2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดทําและส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการลงทุนดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน ก.ล.ต.
(1) รายงานวันเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้จัดการลงทุนนั้นเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตามแบบ กน. 20-3 ท้ายประกาศนี้
(2) รายชื่อผู้จัดการลงทุนในสังกัดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ วันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนั้นตามแบบ กน. 20-4 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดในข้อ 2(4) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีได้
ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นผู้จัดการลงทุนผู้ใด แม้จะมิได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดแล้ว หากประสงค์จะรักษาสถานภาพการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุน บุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนสิ้นสุดลง
ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนผู้ใดที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามวรรคสาม หากเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดในข้อ 2(4) และยื่นขอรับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในหกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนต่อไป
ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนรายใดมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ผู้จัดการลงทุนรายนั้นแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้
(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 2(2) หรือ (3)
(2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4
ข้อ ๙ ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการลงทุนต้อง
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้จัดการลงทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ
หรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําชับ
(2) ภาคทัณฑ์
(3) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงาน ก.ล.ต.เห็นสมควร
(4) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว
ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่ขอรับหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ในภายหลัง
ข้อ ๑๒ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามข้อ 11 แล้ว อยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนตามข้อ 11 สูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงาน ก.ล.ต.อาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล หรือจะทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจจัดการลงทุน
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการลงทุนอันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 11 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 11 แล้ว สํานักงาน ก.ล.ต.จะไม่นําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ซึ่งเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการลงทุนในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งหลังอีก
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดมีผู้จัดการลงทุนที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการลงทุนรายนั้น
ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ให้เป็นผู้จัดการลงทุนปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในนิติบุคคลอื่นที่เป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในขณะเดียวกัน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๖ ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนได้ ทั้งนี้ ต้องขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และเมื่อได้ขอความเห็นชอบแล้วให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าสํานักงาน ก.ล.ต.จะมีคําสั่งไม่ให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,923 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 30/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหนี้โดยนิติบุคคลต่างประเทศ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 30/2547
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายหลักทรัพย์
ประเภทหนี้โดยนิติบุคคลต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 61 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในงบการเงินที่ได้ยื่นสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) ผู้สอบบัญชีของผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย เฉพาะในการลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว
(2) ผู้สอบบัญชีของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่เสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เฉพาะในการลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,924 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2547 เรื่อง ระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 31/2547
เรื่อง ระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(3) (ช) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินประสงค์จะตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ผู้ขอรับความเห็นชอบดังกล่าวต้องแสดงได้ว่ามีระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) ระบบการพิจารณาคัดเลือกตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินมีระบบงานที่มีความพร้อมในการเก็บรักษาทรัพย์สิน
(2) ระบบการติดต่อประสานงานกับตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินเพื่อให้ผู้ขอรับความเห็นชอบสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
(3) ระบบการดูแลให้ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้
ข้อ ๓ ผู้รับฝากทรัพย์สินรายใดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวมจากสํานักงานแล้ว ให้ถือว่าผู้รับฝากทรัพย์สินรายนั้นได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินตามข้อ 2
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,925 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 36/2547 เรื่อง มาตรฐานงานทะเบียนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 36/2547
เรื่อง มาตรฐานงานทะเบียนสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“งานทะเบียนสมาชิกกองทุน” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนข้อมูลสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสม เงินสมทบพร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้างแต่ละราย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันของข้อมูลสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รวมทั้งการนําส่งเงินเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพและการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพได้อย่างถูกต้องและตรงตามกําหนดเวลา หรือปฏิบัติงานตามแนวทาง (guideline) ที่สํานักงานกําหนดไว้
(2) ประเมินผลการปฏิบัติงานตาม (1) และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ การรายงานผลครั้งแรก ให้บริษัทส่งระบบงานทะเบียนสมาชิกกองทุนของบริษัทไปพร้อมกับรายงานดังกล่าวด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,926 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 37/2547 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ และการรายงานต่าง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 37/2547
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่
และการรายงานต่าง ๆ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 10(2) ข้อ 18 ข้อ 19 และข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบท้ายประกาศนี้
(1) “ประกาศที่ กจ. 32/2547” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(2) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบ 35-SDI ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดจํานวนอย่างละสองชุดต่อสํานักงาน พร้อมชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ
ข้อ ๓ การขออนุญาตเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นในลักษณะทั่วไปเป็นโครงการตามหมวด 1 หรือการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นในลักษณะจํากัดเป็นโครงการหรือเป็นรายครั้งตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 32/2547 ให้ยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมคําขออนุญาต
(ก) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ออกให้โดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกินสามเดือนนับถึงวันที่ยื่นเอกสารต่อสํานักงาน
(ข) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(ค) สําเนามติคณะกรรมการบริษัทหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น
(ง) รายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงิน และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ยังมิได้มีการชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือ (ข้อมูล ณ วันยื่นคําขออนุญาต) (เฉพาะกรณีการขออนุญาตเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นเป็นโครงการตามหมวด 1)
(จ) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ระยะสั้น (ถ้ามี)
(ฉ) ร่างข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ระยะสั้น ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9) (ยกเว้นหุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และเสนอขายเป็นรายครั้งตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 32/2547)
(ช) สําเนาสัญญาหลักที่ผูกพันการออกตั๋วเงิน (ถ้ามี)
(ซ) เอกสารแสดงข้อมูลประกอบการขอผ่อนผัน (เฉพาะกรณีผ่อนผันตามนัยของข้อ 25(4) แห่งประกาศที่ กจ. 32/2547)
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บริษัทยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(ก) คําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมคํารับรองว่าบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ข) หนังสือแสดงการยอมรับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ค) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมกับรายงานผลการขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้น
(ก) สําเนาข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ระยะสั้น (ถ้ามี)
(ข) รายงานอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน หรือผู้ออกหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน หรือผู้ค้ําประกันหนี้หุ้นกู้หรือผู้รับอาวัลตั๋วเงิน (ถ้ามี)
ข้อ ๔ การขออนุญาตเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นในลักษณะทั่วไปเป็นรายปีตามหมวด 1 แห่งประกาศที่ กจ. 32/2547 ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมคําขออนุญาต
(ก) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ออกให้โดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกินสามเดือนนับถึงวันที่ยื่นเอกสารต่อสํานักงาน
(ข) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(ค) รายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ยังมิได้มีการชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือ (ข้อมูล ณ วันยื่นคําขออนุญาต)
(2) เอกสารที่ต้องยื่นก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในแต่ละครั้ง
(ก) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ระยะสั้น (ถ้ามี)
(ข) ร่างข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ระยะสั้น ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9) และเอกสารหลักฐานตามข้อ 3 วรรคสอง (ก) (ข) และ (ค) (เฉพาะการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้)
(ค) สําเนามติคณะกรรมการบริษัทหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น
(3) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมกับรายงานผลการขายตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้น
(ก) สําเนาข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ระยะสั้น (ถ้ามี)
(ข) สําเนาสัญญาผูกพันการออกตั๋วเงิน (ถ้ามี)
(ค) รายงานอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน หรือผู้ออกหุ้นกู้หรือตั๋วเงินหรือผู้ค้ําประกันหนี้หุ้นกู้หรือผู้อาวัลตั๋วเงิน (ถ้ามี)
ข้อ ๕ เมื่อบริษัทที่ออกหุ้นกู้ระยะสั้นที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในภายหลัง ให้บริษัทยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 3 วรรคสอง (ก) (ข) และ (ค) ต่อสํานักงานก่อนดําเนินการดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้บริษัทที่ออกหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงินระยะสั้นตามหมวด 1 แห่งประกาศ ที่ กจ. 32/2547 รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ระยะสั้นหรือการชําระหนี้ตามตั๋วเงิน ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการไถ่ถอนหรือการชําระหนี้ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวให้แสดงข้อมูลที่ได้ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันจากรายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานพร้อมกับคําขออนุญาต
ข้อ ๗ ให้บริษัทส่งรายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นที่ยังมิได้มีการชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือตามข้อ 3(1)(ง) และข้อ 4(1)(ค) และรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ระยะสั้นหรือการชําระหนี้ตามตั๋วเงินตามข้อ 6 ส่งผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,927 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ./ข. 40/2547 เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ./ข. 40/2547
เรื่อง แบบคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็น
ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นที่ปรึกษา
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 10/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ./ข. 5/2547 เรื่อง แบบคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยื่นคําขอจดทะเบียนตามแบบ 16-4 และเอกสารหลักฐานท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยสําเนาสองชุดต่อสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,928 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 44/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 44/2547
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30 /2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 3(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ ที่ กข. .42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อ ความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น
“คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น
“กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” หมายความว่า กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทําสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีการตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชําระค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทประกันชีวิตสําหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมี การทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิต
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เกี่ยวกับหน่วยลงทุน และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
“การชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้มีสองระดับ คือ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงและคําแนะนําทั่วไป และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนระดับสอง ซึ่งสามารถให้คําแนะนําได้เฉพาะคําแนะนําทั่วไป
บุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเพื่อทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า ให้มีระดับเดียว คือ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงและคําแนะนําทั่วไป และให้ถือว่าบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนระดับหนึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเพื่อทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าด้วย
ข้อ ๓ บุคคลที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเฉพาะในต่างประเทศหากสามารถประกอบการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๔ บุคคลธรรมดาที่จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องมีคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า จากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ
(2) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ โดยต้องผ่านการทดสอบทั้งความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA และความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA หรือการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ
(3) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศซึ่งมีมาตรฐาน การกํากับดูแลเทียบเท่ากับสํานักงานให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ
(4) เป็นผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือสายงานที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้า ของบริษัทจัดการ บริษัทหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ จํากัดบริษัทจัดการ บริษัทหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคล แต่ละแห่งเพียงหนึ่งรายสําหรับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และอีกหนึ่งรายสําหรับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า
(5) เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๕ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เป็นบุคคลที่อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่า ไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(6) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจ ตามกฎหมายนั้น
(7) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่การตลาด หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษา การลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา
(8) อยู่ระหว่างถูกกรมการประกันภัยสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(9) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(10) ต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตามกฎหมายตาม (5) หรือ (6)
(11) ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(12) ถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล หรือนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ หรือถูกสํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา
(13) ถูกกรมการประกันภัยเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
(15) มีการทํางานที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงการทํางานที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาประวัติการมีลักษณะต้องห้ามตาม (9) ถึง (15) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๖ การขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๗ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตาม ที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบอีกต่อไป
ข้อ ๘ ให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้าอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้าอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้
ในกรณีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเป็นผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ถือว่าการเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นการเข้าอบรมตามวรรคหนึ่ง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4(4) และ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนรายใดขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตาม (3) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก
ข้อ ๑๐ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุนทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(2) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
(3) ให้ข้อมูลหรือคําอธิบายเกี่ยวกับคําแนะนําหรือบริการที่นําเสนอแก่ผู้ลงทุน รวมทั้งความเสี่ยง อย่างถูกต้องและครบถ้วน
(4) ให้คําแนะนําตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับทั่วไป
(5) แจ้งข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์หรือการตัดสินใจ ลงทุนของผู้ลงทุน
(6) เปิดเผยถึงส่วนได้เสียหรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการทําหน้าที่ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุน (ถ้ามี)
(7) รักษาความลับของผู้ลงทุน ไม่นําข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการลงทุนของผู้ลงทุนไป เปิดเผย เว้นแต่เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจกระทําได้
(8) แจ้งให้ผู้ลงทุนทราบถึงฐานะของบริษัทหลักทรัพย์ว่ากําลังติดต่อกับผู้ลงทุนในฐานะที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน หรือผู้ค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทั้งประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(9) แสดงบัตรประจําตัวผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน หรือเปิดเผยชื่อและบริษัทที่สังกัด กับผู้ลงทุน ทุกครั้งที่ติดต่อกับผู้ลงทุน
(10) ปฏิบัติหน้าที่ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้าให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยอนุโลม
หลักเกณฑ์ที่กําหนดตาม (3) (4) และ (6) ไม่ให้นํามาใช้กับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ให้บริการกับผู้ลงทุนที่ไม่ประสงค์จะรับคําแนะนําการลงทุนหรือข้อมูลใด ๆ
ข้อ ๑๑ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ลงทุนได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูก เอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้
(1) ให้คําแนะนําที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือละเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็น สาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้ลงทุน
(2) ชักชวน หรือให้คําแนะนําในลักษณะที่เป็นการยุยงหรือสนับสนุนให้ผู้ลงทุนทําการซื้อขายหน่วยลงทุนบ่อยครั้ง หรือเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ลงทุน ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนอื่นใดหรือไม่ก็ตาม (churning)
(3) ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนไม่ว่าเพื่อตนเอง บริษัทหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นล่วงหน้าก่อนที่จะซื้อหรือขายหน่วยลงทุนตัวเดียวกันนั้นเพื่อผู้ลงทุน (front running) ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุนเสียเปรียบ หรือเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(4) ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุน ซึ่งรวมถึงกระทําการตัดสินใจซื้อขาย เบิกถอน หรือโอนย้ายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนแทนโดยผู้ลงทุนมิได้มอบหมาย หรือมีส่วนได้เสียในผลกําไรขาดทุนของผู้ลงทุน รวมทั้งใช้บัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ของตนเอง บริษัทหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่น
(5) ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งของบุคคลที่มิใช่เจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของบัญชีที่แท้จริง
(6) รับประกันผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ ไม่ว่าโดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เว้นแต่เป็นกรณีกองทุนรวมมีประกัน
(7) เผยแพร่หรือบอกต่อข่าวลือหรือข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์โดยข่าวหรือข้อมูลดังกล่าวไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
(8) ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนผู้ลงทุนในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(9) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน
(10) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากผู้ลงทุนนอกเหนือจากที่ผู้ลงทุนมีหน้าที่ต้องชําระต่อบริษัทจัดการหรือบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๑๒ ในการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจง ให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ทําความรู้จักกับผู้ลงทุน (know your customer) โดยจะต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ ฐานะทางการเงิน และความต้องการของผู้ลงทุน ที่เป็นข้อมูลปัจจุบัน
(2) ให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (suitability) โดยประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ลงทุน เช่น วัตถุประสงค์ในการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดในการลงทุน เป็นต้น
ข้อ ๑๓ ให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน และบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔ สําหรับผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน หรือผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ การนับระยะเวลาการเข้ารับการอบรมตามข้อ 8 ให้นับระยะเวลาต่อเนื่องจากระยะเวลาที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมตามประกาศสํานักงานดังกล่าว
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,929 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 6/2546 เรื่อง แบบเอกสารเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 6/2546
เรื่อง แบบเอกสารเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 63 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้บุคคลที่มีหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวจัดทําเอกสารตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
(1) การประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อ
ครอบงํากิจการ ให้ใช้แบบ 247-3
(2) คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ 247-4
(3) การประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ 247-5
(4) การแก้ไขระยะเวลารับซื้อหรือข้อเสนอในการทํา
คําเสนอซื้อ และการประกาศข้อเสนอสุดท้าย
หรือประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย ให้ใช้แบบ 247-6-ก
(5) การรายงานผลการเสนอซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น ให้ใช้แบบ 247-6-ข
(6) การรายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ 256-2
ข้อ ๒ สํานักงานอาจผ่อนผันรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องแสดงในแบบ 247-4 ได้ หากผู้ทําคําเสนอซื้อสามารถแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรในการขอผ่อนผันดังกล่าว ในการนี้ สํานักงานจะคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของข้อมูลดังกล่าวต่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือการมีมาตรการอื่น หรือข้อมูลอื่นที่ทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว และอาจผ่อนผันโดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,930 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 7/2546 เรื่อง การแยกทรัพย์สินประเภทเงินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์โดยการลงทุนในลักษณะอื่นเพิ่มเติม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 7/2546
เรื่อง การแยกทรัพย์สินประเภทเงินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
โดยการลงทุนในลักษณะอื่นเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18(1)(ก) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 24/2545 เรื่อง การแยกทรัพย์สินประเภทเงินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์โดยการลงทุนในลักษณะอื่นเพิ่มเติม ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าไปลงทุนในตราสารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้และบริษัทหลักทรัพย์ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าการลงทุนในตราสารนั้นเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้แยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแล้ว
(1) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข และตราสารดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,931 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 12/2546 เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 12/2546
เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ในการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 16/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 63/2543 เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้
“บริษัทที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า
(1) บริษัทที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
(2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
(3) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทดังกล่าว และในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทและบริษัทหลักทรัพย์นั้น
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่น หรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
ข้อ ๓ กรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียกับหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์
(1) บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ห้าวันทําการก่อนวันเริ่มเสนอขายจนถึงวันปิดการเสนอขาย
(2) บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
(3) ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์เป็นกรรมการในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,932 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2546 เรื่อง การอนุญาตให้กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 16/2546
เรื่อง การอนุญาตให้กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลลงทุนในพันธบัตร
หรือตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ
โดยที่ข้อ 12 วรรคสอง (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ข้อ 5 วรรคสอง (3) และข้อ 6 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 กําหนดห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้ออกหรือผู้เสนอขายไม่ใช่สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ซึ่งสํานักงานพิจารณาแล้วเห็นสมควรอนุญาตให้บริษัทจัดการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน นอกจากนั้น เพื่อเป็นการอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ําสามารถลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ดังกล่าวได้ อาศัยอํานาจตามข้อ 6/2 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,933 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2546 เรื่อง การแสดงรายการค่าใช้จ่ายในงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 23/2546
เรื่อง การแสดงรายการค่าใช้จ่ายในงบการเงิน
ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
เพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถรับรู้และตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของกองทุนในกรณีที่มีการใช้จ่ายเงินเพื่อคณะกรรมการกองทุน หรือการใช้จ่ายในกรณีอื่นใดนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานตามปกติของกองทุนได้ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทํางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการแสดงรายการค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อคณะกรรมการกองทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ไม่ใช่การดําเนินงานตามปกติของกองทุน ไว้โดยละเอียดในงบการเงินด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,934 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 24/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคำนวณจำนวนหน่วยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 24/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคํานวณ
จํานวนหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
เพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถติดตามผลการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของบริษัทจัดการได้ในเชิงเปรียบเทียบ ไม่ว่าเป็นการเปรียบเทียบผลการดําเนินการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นเองในแต่ละช่วงเวลา หรือเป็นการเปรียบเทียบผลการดําเนินการกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างเดียวกัน จึงควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแสดงผลประโยชน์ของสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในรูปหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยผลประโยชน์ของสมาชิกแต่ละรายจะถูกแบ่งเป็นหน่วย แต่ละหน่วยจะมีมูลค่าที่เป็นเครื่องชี้วัดผลการจัดการของบริษัทจัดการได้ ซึ่งบริษัทจัดการจะต้องแสดงผลประโยชน์ของสมาชิกในรูปหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามระบบและมาตรฐานที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และในกรณีที่ประกาศมิได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องใดไว้ บริษัทจัดการต้องจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยรวมเป็นสําคัญ และในกรณีที่เป็นเรื่องผลประโยชน์ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง บริษัทจัดการต้องแสดงการจัดสรรผลประโยชน์ให้สมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน หากสมาชิกเหล่านั้นอยู่ในเงื่อนไขหรือปัจจัยเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17/1 ข้อ 18/2 และข้อ 18/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2544 เรื่อง การกําหนดมูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หลักเกณฑ์และวิธีการในการคํานวณจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และการให้บริษัทจัดการดําเนินการในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ถูกต้อง ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งคํานวณโดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
“จํานวนหน่วย” หมายความว่า จํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“วันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date)” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการและกองทุนกําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการ
“การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกที่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุน
เงินที่มิได้เกิดจากผลการดําเนินงานให้นํามาคํานวณเป็นจํานวนหน่วย เว้นแต่เป็นจํานวนที่ไม่มีนัยสําคัญให้นํามาคํานวณมูลค่าต่อหน่วยได้
ข้อ ๔ มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ต้องมีมูลค่าสิบบาท
เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 แล้ว ให้บริษัทจัดการคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกครั้งแรกในวันที่บริษัทจัดการได้รับเงินสะสมและเงินสมทบครั้งแรกเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งเป็นมูลค่าในการคํานวณ
ข้อ ๕ ในการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าต่อหน่วย การปรับปรุงรายการ การแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยและการชดเชยมูลค่า ให้บริษัทจัดการดําเนินการโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบรรดาสมาชิกกองทุนเป็นสําคัญ และบริษัทจัดการต้องดําเนินการดังกล่าวต่อสมาชิกกองทุนแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่โดยผลของกฎหมายทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถปฏิบัติต่อสมาชิกแต่ละรายได้อย่างเท่าเทียมกัน หรือโดยเงื่อนไขและปัจจัยของสมาชิกแต่ละรายแตกต่างกันอันเป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ หรือบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามแนวทาง (guideline) ที่สํานักงานกําหนดไว้
ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน และในการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุด โดยให้เพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกในวันถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วย
ข้อ ๗ บริษัทจัดการอาจเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ได้ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้
(1) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(2) มีประกาศสํานักงานให้บริษัทจัดการเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน
(3) เมื่อมีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทจัดการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการ
ข้อ ๘ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และหากมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องและตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป ให้บริษัทจัดการจัดส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยหรือการชดเชยมูลค่าเสร็จสิ้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง
(2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง
(3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง
(4) การดําเนินการของบริษัทจัดการเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง
ในระหว่างที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วย บริษัทจัดการต้องจัดทํามาตรการป้องกันและ
อาจหยุดการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยได้ไม่เกินเจ็ดวันทําการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน
ข้อ ๙ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(2) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,935 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 25/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 25/2546
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของ
กองทุนรวมวายุภักษ์
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ เพื่อปฏิรูปแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลังให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออม และการลงทุนของประเทศ และเพื่อเพิ่มทางเลือกของประชาชนผู้ออมเงินในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ํา รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ จึงต้องกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
“ประกาศ ที่ สน. 11/2542” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ประกาศ ที่ กน. 14/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
“ประกาศ ที่ กจ. 53/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ อัตราส่วนการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ สน. 11/2542โดยอนุโลม
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิและใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมวายุภักษ์
ข้อ ๔ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ในขณะใดขณะหนึ่งได้ตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ได้ไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศ ที่ กน. 14/2544 และ
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามข้อ 4 และข้อ 6 แห่งประกาศ ที่ สน. 11/2542
ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ขายหุ้นดังกล่าวให้กองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้น หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ในขณะใดขณะหนึ่งได้ตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว ได้ไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศ ที่ กน. 14/2544 และ
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้น หลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้นับหุ้น หลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่บริษัทนั้นเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว และในกรณีที่บริษัทดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือธนาคารพาณิชย์ ให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวที่มิใช่เงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตาม (2) มิให้นับตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทใดเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศ ที่ กน. 14/2544 เป็นผลให้กองทุนรวมวายุภักษ์ได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นเกินอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 4(1) หรือข้อ 5(1) ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 14/2544 และ
(2) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทที่เป็นกิจการ เป็นผลให้กองทุนรวมวายุภักษ์ได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ บริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อให้ได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อโดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ตามประกาศ ที่ กจ. 53/2545
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ได้ เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมวายุภักษ์ แต่ทั้งนี้มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมวายุภักษ์รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับในรอบปีบัญชีแรกที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมวายุภักษ์ และในรอบปีบัญชีของสามปีสุดท้ายก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,936 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 28/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการนำเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ได้รับจากการออกตราสารมาคำนวณเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 28/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการนําเงินที่บริษัทหลักทรัพย์
ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ได้รับจากการออกตราสารมา
คํานวณเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (2) (ฉ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2546 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมจํานวนเงินที่ได้รับเนื่องจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated Debt) ที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของบริษัทหลักทรัพย์ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 3
(1) เป็นตราสารที่มีกําหนดเวลาในการชําระหนี้เกินกว่าห้าปี
(2) เป็นตราสารที่กําหนดสิทธิในการได้รับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(3) เป็นตราสารที่ออกโดยไม่มีบุคคลใดค้ําประกัน และไม่มีทรัพย์สินใดจํานําหรือจํานองเป็นประกัน และ
(4) เป็นตราสารที่ไม่สามารถไถ่ถอนได้ก่อนวันที่ครบกําหนด เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์บันทึกจํานวนเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวตามข้อ 2 ได้ตามจํานวนเงินที่ได้รับชําระแล้ว แต่ต้องไม่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ณ ขณะที่ออกจําหน่าย และในช่วงระยะเวลาห้าปีสุดท้ายก่อนถึงวันที่ตราสารตามข้อ 2 ครบกําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์ทยอยลดจํานวนเงินที่บันทึกเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ลงเป็นจํานวนร้อยละยี่สิบต่อปี
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,937 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 33/2546 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 33/2546
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมวายุภักษ์
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ เพื่อปฏิรูปแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลังให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออม และการลงทุนของประเทศ และเพื่อเพิ่มทางเลือกของประชาชนผู้ออมเงินในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ํา รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ จึงต้องกําหนดแบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้สอดคล้องกับลักษณะของกองทุนรวมวายุภักษ์ ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์
“เงินลงทุน” หมายความว่า เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการ (ถ้ามี)
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์
“ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีของกองทุนรวมวายุภักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
“ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
“ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตั้งให้เป็นตัวแทนในการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้มี 2 ส่วน คือ
(1) ส่วนข้อมูลโครงการ
(2) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
ข้อ ๓ ส่วนข้อมูลโครงการ ให้ใช้รายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ
ข้อ ๔ ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมวายุภักษ์ตามข้อ 5
(2) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ตามข้อ 6
(3) ตารางแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม วายุภักษ์
(4) คําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน
(5) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
รายการตาม (1) ถึง (5) ให้เป็นไปตามลําดับ ยกเว้นคําเตือนตามข้อ 7(1) และ (2) ให้จัดพิมพ์ตามที่กําหนดไว้ในข้อดังกล่าว
ข้อ ๕ รายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ประเภท อายุของโครงการ และชนิดของหน่วยลงทุน
(2) จํานวนเงินทุนของโครงการ
(3) วันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์
(4) นโยบายหรือวัตถุประสงค์การลงทุน
(5) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
(6) วิธีการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนและราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย วันที่ที่เสนอขายหน่วยลงทุน สถานที่ติดต่อซื้อขายหน่วยลงทุน และวิธีการโอนหน่วยลงทุน
(7) ข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จํานวนเงินที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง วันครบกําหนดระยะเวลาการคุ้มครอง
(8) รายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อสิ้นอายุโครงการ
(9) ชื่อและข้อมูลติดต่อของบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียนหน่วยลงทุน
รายละเอียดตาม (4) ถึง (9) ให้แสดงในรูปการตั้งคําถามและตอบคําถาม และอธิบายโดยใช้ข้อความที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ง่าย มีข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและชัดเจน และไม่มีลักษณะที่อาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
ข้อ ๖ รายการความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทจัดการระบุความเสี่ยงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของกองทุนรวมวายุภักษ์ไว้ให้ชัดเจน รวมทั้งแนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง (ถ้ามี) และการเปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนกับกองทุนรวมประเภทอื่น
ข้อ ๗ รายการคําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีคําเตือนและข้อแนะนําในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คําเตือนที่แสดงว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(2) คําเตือนที่แสดงว่ากองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(3) คําเตือนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครองเงินลงทุน และผลตอบแทน
(4) คําแนะนําที่แสดงว่าผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต โดยในกรณีที่มีข้อสงสัยควรสอบถามจากบริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุน
(5) คําแนะนําที่แสดงว่าในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุน
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,938 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 34/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและจัดส่งรายงานการกู้ยืมเงินและการทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 34 /2546
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและจัดส่งรายงานการกู้ยืมเงิน
และการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน
อาศัยอํานาจตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 33/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการผ่อนผันให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพัน ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการกู้ยืมเงินและการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนตามแบบและคําอธิบายประกอบการจัดทําแบบรายงานท้ายประกาศนี้ และส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงานพร้อมแผ่นบันทึก (diskette) ภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําสัญญากู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,939 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 38/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการผ่อนผันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 38/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการผ่อนผันเกี่ยวกับ
คุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
ตามที่ได้มีการผ่อนคลายข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่อาจขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยกําหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการ หากบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติประการอื่นที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้ได้รับผ่อนผันคุณสมบัติที่ต้องผ่านการทดสอบความรู้ตามที่กําหนด นั้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 39/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ประกาศ ที่ กน. 24/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“ผู้ขอรับความเห็นชอบ” หมายความว่า ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้จัดการ หรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการ ให้บุคคลดังกล่าวได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามข้อ 3(3) และ(5) แห่งประกาศ ที่ กน. 24/2544 หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม หรือสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ หรือ
(2) มีประสบการณ์ด้านการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนหรือการจัดการลงทุนในตลาดการเงินไม่น้อยกว่าสามปี และได้ศึกษาคู่มือการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการที่มีเนื้อหาอย่างน้อยเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ โดยได้มีการลงนามรับรองว่าได้ศึกษาคู่มือดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๓ ให้ผู้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 2(2) เข้ารับการอบรมหลักสูตรตามข้อ 2(1) ในโอกาสแรกที่กระทําได้ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,940 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 43/2546
เรื่อง การให้ความเห็นชอบอัตราส่วนการลงทุน
ของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วน (specific fund) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือ ทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น และมีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งซื้อหน่วยลงทุนจากการเสนอขายหน่วยลงทุนของบริษัทจัดการตามที่กําหนดในโครงการ
“ตราสารหลัก” หมายความว่า ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) ตลอดระยะเวลาที่กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ดังกล่าว จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
“ประกาศ ที่ สน. 11/2542” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“ประกาศ ที่ สน. 40/2545” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 40/2545 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในประกาศ ที่ สน. 11/2542 แต่มิให้นําความในข้อ 12 มาใช้บังคับ
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหลักที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้นับรวมการลงทุนในหรือมีไว้ตาม (1) ที่บุคคลนั้นเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย
(3) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และตราสารหลัก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจจัดตั้งกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของเงินลงทุนเริ่มแรก
(2) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกอย่างชัดเจนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จํานวนเงินที่คุ้มครอง และระยะเวลาการคุ้มครอง
ข้อ ๔ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกอย่างชัดเจน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จํานวนเงินที่คุ้มครอง และระยะเวลาการคุ้มครอง โดยเพิ่มเติมจากรายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามประกาศ ที่ สน. 40/2545
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,941 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 44/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 44/2546
เรื่อง การให้ความเห็นชอบอัตราส่วนการลงทุนของ
กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุน
ของธนาคารพาณิชย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วน (specific fund) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
“ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
“ตราสารหลัก” หมายความว่า ตราสารแห่งหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) ในขณะที่กองทุนรวมลงทุนในตราสารแห่งหนี้ดังกล่าว และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตลอดระยะเวลาที่กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้นั้น จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
“ประกาศ ที่ สน. 11/2542” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“ประกาศ ที่ สน. 40/2545” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 40/2545 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหลัก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในประกาศ ที่ สน. 11/2542 แต่มิให้นําความในข้อ 12 มาใช้บังคับ
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจจัดตั้งกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(2) กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นต้องเป็นกองทุนรวมที่กําหนดอายุโครงการแน่นอน
ข้อ ๔ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องเปิดเผยคําเตือนและความเสี่ยงของกองทุนรวมอย่างชัดเจน เพิ่มเติมจากรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนและรายการความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามประกาศ ที่ สน. 40/2545 เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของตราสารหลักที่กองทุนรวมลงทุน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,942 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 45/2546 เรื่อง การอนุญาตให้กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 45/2546
เรื่อง การอนุญาตให้กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลลงทุนในพันธบัตร
หรือตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคสอง (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ข้อ 5 วรรคสอง (3) ข้อ 6 วรรคสอง และข้อ 6/2 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2546 เรื่อง การอนุญาตให้กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้นั้นออกโดยองค์การระหว่างประเทศ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวอาจเป็นการจัดอันดับที่ตัวองค์การระหว่างประเทศก็ได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,943 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 48/2546 เรื่อง การกำหนดประเภทสถาบันการเงินเพิ่มเติมที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนในเงินฝากเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 48/2546
เรื่อง การกําหนดประเภทสถาบันการเงินเพิ่มเติมที่บริษัทจัดการ
สามารถลงทุนในเงินฝากเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (3) (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสถาบันการเงินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มิได้มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ํา อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากได้เพิ่มเติม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,944 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 54/2546 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 54/2546
เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2544 เรื่อง การยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,945 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 57/2546 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 57/2546
เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนผ่านกองทุนรวมมีความสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ การมีข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมและบริษัทจัดการซึ่งประกอบธุรกิจด้านการจัดการลงทุนให้แก่กองทุนรวมเผยแพร่อย่างเพียงพอและมีคุณภาพจึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ลงทุนที่ประสงค์จะลงทุนผ่านกองทุนรวมเหล่านั้น และเพื่อให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในฐานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในการประเมินฐานะและความสามารถในการชําระหนี้ของกิจการใด ๆ สามารถดําเนินการจัดอันดับกองทุนรวมและจัดอันดับบริษัทจัดการได้ เพราะเป็นการประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องใกล้เคียงกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และเพื่อให้มีการดําเนินการดังกล่าวอย่างมีมาตรฐาน เป็นกลาง และเป็นธรรม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นทางค้าปกติ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
“การจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนของกองทุนรวมเชิงเปรียบเทียบ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนรวม
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอํานาจในการจัดการ และให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงาน หรือคณะบุคคลซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแต่งตั้งให้เป็นผู้พิจารณาการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมเป็นทางค้าปกติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม
ข้อ ๓ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ โดยต้องแจ้งต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หากสํานักงานไม่ได้แจ้งเป็นอย่างอื่นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้ถือว่าสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการได้
ข้อ ๔ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ประสงค์จะประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15/2546 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ด้วย
ข้อ ๕ ในการจัดอันดับบริษัทจัดการ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับบริษัทจัดการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15/2546 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๖ ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือกระทําการ แก้ไขการกระทํา หรืองดเว้นการกระทําได้
ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือขาดคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 5 และข้อ 6 ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) พักการประกอบการที่ได้รับความเห็นชอบ
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,946 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 29/2546 เรื่อง แบบคำขออนุญาตและเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 29/2546
เรื่อง แบบคําขออนุญาตและเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ข้อ 13 ข้อ 24 และข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบท้ายประกาศนี้
(1) ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 มาใช้บังคับกับประกาศนี้และแบบท้ายประกาศนี้
(2) “ประกาศที่ กจ. 4/2546” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
(3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ภายใต้บังคับความในข้อ 3 และข้อ 4 เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ หมายถึง เอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ออกให้โดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกินสามเดือนนับถึงวันที่ยื่นเอกสารต่อสํานักงาน
(2) สําเนามติคณะกรรมการและ/หรือสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์
(3) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตมิใช่บริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56)
(4) ร่างข้อกําหนดสิทธิ
(5) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ (ถ้ามี)
(6) โครงการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามโครงการ
ข้อ ๓ ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-sn ท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ จํานวนอย่างละหนึ่งชุด ต่อสํานักงาน พร้อมชําระค่าธรรมเนียมในการยื่นคําขอ
(1) การขออนุญาตเป็นโครงการตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 4/2546 ให้ยื่่นเอกสารตามข้อ 2(1) ถึง (6)
(2) การขออนุญาตเป็นรายบริษัทตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 4/2546 ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2(1) และ (3)
ทั้งนี้ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในแต่ละครั้ง ให้ยื่นแบบแสดงข้อมูลหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขายตามแบบ 35-sn (a) ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 2(2) (4) และ (5) จํานวนอย่างละหนึ่งชุด ต่อสํานักงาน
(3) การขออนุญาตเป็นรายครั้งตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 4/2546 ให้ยื่่นเอกสารตามข้อ 2(1) ถึง (~~9~~5)
(4) การขออนุญาตในกรณีจํากัดตามหมวด 3 แห่งประกาศที่ กจ. 4/2546 ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2(1) (2) (5) และให้ยื่นเอกสารตามข้อ (4) เพิ่มเติม หากจะจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะขอผ่อนผันจากสํานักงานให้สามารถเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในกรณีจํากัดตามนัยข้อ 4 วรรคสอง (2) แห่งประกาศที่ กจ. 4/2546 ให้ยื่นเอกสารแสดงข้อมูลประกอบการขอผ่อนผันพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตด้วย
ข้อ ๔ นอกจากเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 3 แล้ว หากเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในกรณีทั่วไปที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) คําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมคํารับรองว่าบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) หนังสือแสดงการยอมรับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้บริษัทยื่นเอกสารตามข้อ 4(~~1~~1) ถึง (~~3~~3) ต่อสํานักงานก่อนดําเนินการดังกล่าว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,947 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2542
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(2)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
(3)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2536
(4)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 7/2537 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2537
(5)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 8/2537 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2537
(6)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538
(7)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 5/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2539
(8)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2539
(9)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(10)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2540 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2540 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2540
(14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2541
(15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541
(16)ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541
(17) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541
(18) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(19) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน 49/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“บริษัทขึ้นทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายชนิด โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน
“กองทุนรวมหน่วยลงทุน” หมายความว่า กองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการอื่น
“กองทุนรวมตลาดเงิน” หมายความว่า กองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนรวมประเภทนี้ลงทุนได้
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา
“กองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งจัดตั้งขึ้นจากการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทยและรับชําระเงินค่าหน่วยลงทุนด้วยเงินที่นําเข้ามาจากต่างประเทศ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนเปิดที่ปรากฏเหตุตามข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541และบริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนเปิดนั้นตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (6) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใชหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (6) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียนเป็นผู้ออก
(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน
1. (3) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้
(ก) รัฐวิสาหกิจ
(ข) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียน
(ง) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(4) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(5) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) และ (4) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) และ (4) ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมใบสําคัญแสดงสิทธิ
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ 4 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้นับหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน ตามข้อ 4(2) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 4 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นตามวรรคหนึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวรวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าว รวมกัน
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสาม มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวม ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด(มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต.42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่งได้ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ เมื่อรวมทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ต้องไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
ในกรณีที่หน่วยลงทุนมีจํานวนเกินอัตราส่วนที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะเกิดจากการลงทุนหรือได้หน่วยลงทุนมาเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้บริษัทจัดการใช้สิทธิออกเสียงในหน่วยลงทุนจํานวนที่เกินอัตราส่วนดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยลงทุนมีจํานวนเกินอัตราส่วนที่กําหนดโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หน่วยลงทุนมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกําหนดการไม่ใช้สิทธิออกเสียงในหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่ตนเป็นผู้จัดตั้งและจัดการอย่างเป็นธรรม
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
(3) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
อัตราส่วนการลงทุนตาม (2) และ(3) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวม และบัตรเงินฝากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ที่เกิดจากการเปลี่ยนหุ้นกู้ที่เป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วเจ้าหนี้บริษัทเงินทุน 42 บริษัทที่แผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทไม่ได้รับความเห็นชอบ (คปต.จ.) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม และในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีเป็นกองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงิน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ทรัพย์สินตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง ของกองทุนรวมมีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีใดเกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยเฉลี่ยตั้งแต่วันแรกของรอบปีบัญชีนั้นจนถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าว
เมื่อบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ตรวจสอบการปฏิบัติดังกล่าวและแจ้งให้สํานักงานทราบภายในห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับรายงานจากบริษัทจัดการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดที่กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 4 หรือข้อ 6 ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4 หรือข้อ 6 ภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ติดประกาศเครื่องหมาย XR ไว้ที่หุ้นของบริษัทนั้น หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันแรกที่ผู้ซื้อหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดใน ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7(2) (3) หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๑๒ อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และข้อ 7(2) (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนดังกล่าว (specific fund)
ข้อ ๑๓ อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7(2) (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ
ข้อ ๑๔ ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 1 แต่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวที่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ได้เพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น
(2) ในกรณีที่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามข้อ 7 และข้อ 8
ข้อ ๑๕ กองทุนรวมใดที่จะครบกําหนดอายุโครงการและจะเลิกโครงการภายในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งจะไม่ดําเนินการขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ให้บริษัทจัดการดํารงอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนรวมด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกัน แทนการชําระหนี้ด้วยเงินสดตามตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้
(1) กรณีกองทุนปิด บริษัทจัดการไม่ต้องนําทรัพย์สินที่ได้มาจากการชําระหนี้แทนมารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุน แต่เมื่อมีรายได้ที่เกิดจากการหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวหรือมีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น ให้นํารายได้และเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวมารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุนด้วย
(2) กรณีกองทุนเปิด บริษัทจัดการไม่ต้องนําทรัพย์สินที่ได้มาจากการชําระหนี้แทน รายได้ที่เกิดจากการหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว เงินที่ได้รับจากการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น และเงินที่ตั้งสํารองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินนั้น(ถ้ามี)หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าวและค่าใช้จ่ายในการคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน มารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุน
ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,948 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2543 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 1/2543
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นตามวรรคหนึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวรวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าว รวมกัน”
ข้อ 2 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2542 ถึงสิ้นสุดไตรมาสที่หนึ่งของปี พ.ศ. 2543 หากปรากฏว่าบริษัทจัดการมีปัญหาเกี่ยวกับการดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 6 วรรคสาม หรือข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อันสืบเนื่องมาจากปัญหาปี ค.ศ. 2000 บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวต่อสํานักงานได้
คําว่า “ปัญหาปี ค.ศ. 2000” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากปี ค.ศ. 2000
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,949 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2543 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 2/2543
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 และข้อ 13/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุน
ของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“ข้อ 13/1 อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542
ข้อ 13/2 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 8 สําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
(นายวสันต์ เทียนหอม)
ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
แทน
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,950 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 12/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคมพ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2540 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในหน่วย ลงทุนลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
1. ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียนเป็นผู้ออก
2. ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน หรือที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน
3. ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้
4. รัฐวิสาหกิจ
5. ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
6. บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียน
7. ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
8. ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
9. ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
10. หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
11. ออปชันในฐานะซื้อ (long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออก”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“ข้อ 6/1 อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 6 มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งออปชันในฐานะซื้อ (long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อเป็นผู้ออก และให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งออปชันดังกล่าวโดยมีมูลค่าซื้อขายรวมกันทั้งสิ้น
ได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ มิให้นับรวมออปชันในฐานะซื้อที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน
ในกรณีที่ออปชันในขณะที่ลงทุนหรือได้มามีมูลค่าซื้อขายไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือมีจํานวนไม่เกินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน หากต่อมาออปชันนั้นมีมูลค่าซื้อขายเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือมีจํานวนเกินความเสี่ยงดังกล่าว โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ออปชันมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งออปชันดังกล่าวต่อไปก็ได้ และให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานและดําเนินการตามข้อ 11 โดยอนุโลม
คําว่า “มูลค่าซื้อขาย” ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า จํานวนเงินที่คํานวณได้จากราคาซื้อขายคูณด้วยตัวคูณออปชันและจํานวนออปชันที่มีการซื้อขายสําหรับออปชันประเภทให้สิทธิที่จะได้รับชําระเงินโดยอิงกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงตามที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“ข้อ 7/1 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุน ณ สิ้นวัน ได้ ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่ง ได้ ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน
(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ได้ ไม่เกินร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน
(3) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่ง ได้ ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
(4) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ได้ ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7(2) (3) และข้อ 7/1 หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ 12 อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ข้อ 6/1 ข้อ 7(2) (3) และข้อ 7/1 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนดังกล่าว (specific fund)
ข้อ 13 อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 6/1 ข้อ 7(2) (3) และ ข้อ 7/1 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,951 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 5)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 22/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน ตามข้อ 4(2) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 4 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,952 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 6)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 24/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนรวมด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนการรับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้มูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7(2) (3) และข้อ 7/1 บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้น และส่งให้สํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,953 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 7)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 41/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2543 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/2 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 8 สําหรับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(2) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามแนวทางการดําเนินการกับธนาคารนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารศรีนคร จํากัด (มหาชน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,954 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 8)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 8/2546
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมมีประกัน” และ “ผู้ประกัน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” และ “กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ดังต่อไปนี้
““กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระ เงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของ กองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
“ความในวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงทุนของ specific fund ซึ่งเป็นกองทุนรวมมีประกัน เฉพาะในส่วนที่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ให้อัตราส่วนการลงทุนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 4 และข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,955 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 9)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 17/2546
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนด ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (8) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (8) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
1. ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียนเป็นผู้ออก
(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน
1. พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน
2. ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้
3. รัฐวิสาหกิจ
4. ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
5. บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียน
6. ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
7. ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(6) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
2. ออปชันในฐานะซื้อ (long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออก
การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) (4) และ (5) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) (4) และ (5) ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,956 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 52/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 10)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 52/2546
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 10)
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ใบแสดงสิทธิ” และ “หลักทรัพย์ อ้างอิง” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และ “หน่วยลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
““ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt)
“หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (9) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (9) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียนเป็นผู้ออก
(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน
(3) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ หรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นผู้ออก ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(4) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้
(ก) รัฐวิสาหกิจ
(ข) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทขึ้นทะเบียน
(ง) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(5) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(6) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(8) ออปชันในฐานะซื้อ (long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออก
(9) ใบแสดงสิทธิที่ผู้ออก หรือผู้ค้ําประกันหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5)
การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) (4) และ (5) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“ข้อ 6/2 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในใบแสดงสิทธิ ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่ใบแสดงสิทธิดังกล่าวได้อ้างอิงรวมในอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 4 หรือ ข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยถือเสมือนหนึ่งว่าบริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่นํามาคํานวณรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่า ใบแสดงสิทธิที่บริษัทจัดการได้ลงทุนไว้”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของ กองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,957 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 11/2547
เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ การให้คําแนะนําในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(1) การให้คําแนะนําในประเทศไทยหรือจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนไม่เกินสิบห้าราย ในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ โดยมิได้กระทําการใด ๆ อันเป็นการแสดงตนว่าจะให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) การให้คําแนะนําจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนที่อยู่ต่างประเทศ โดยมีการแสดงตนว่าเป็นการให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในนามของบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น
(3) การให้คําแนะนําทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดในลักษณะครบทั้งสามประการ ดังนี้
(ก) ให้คําแนะนําโดยมิได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงินหรือความต้องการของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
(ข) เผยแพร่คําแนะนําในวงกว้างเป็นการทั่วไป โดยบุคคลที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายและไม่จําเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก และ
(ค) ไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้คําแนะนําแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากปริมาณของเนื้อหาการให้คําแนะนํา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(4) การให้คําแนะนําโดยสื่อใด ๆ หรือโดยการจัดสัมมนา ที่เจ้าของสื่อ เจ้าของรายการ เจ้าของคอลัมน์ เจ้าของที่อยู่เว็บ (web site) หรือผู้จัดสัมมนา ได้จัดให้มีที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นผู้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนํา
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,958 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 45/2549 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 45/2549
เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการ
ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท
การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” และ “ผู้ลงทุนสถาบัน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การให้คําแนะนํา” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ดังต่อไปนี้
““ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของต่างประเทศ และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ด้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 รวมทั้งประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องซึ่งออกหรือวางแนวปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ ที่สามารถนําเงินไปลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศได้โดยชอบ
(1) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(2) กองทุนประกันสังคม
(3) บริษัทประกันชีวิต
(4) ธนาคารพาณิชย์
(5) ธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
(6) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการทรัพย์สินของตนเอง
(7) สถาบันการเงินอื่นใดที่สํานักงานกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(8) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการทรัพย์สินของบุคคลตาม (1) ถึง (7) ในลักษณะกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวม”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
“(2/1) การให้คําแนะนําโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศโดยมีเป้าหมายการแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเป็นการเฉพาะ และเป็นการให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศที่ผู้ลงทุนสถาบันสามารถลงทุนได้ตามกฎหมาย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่ามีผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศประสงค์จะเข้ามาให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศเกี่ยวกับสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ หรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ซึ่งการดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ ในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ
มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศสามารถกระทําได้โดยไม่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็น
ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงได้ออกประกาศนี้ | 3,959 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 29/2552 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 29/2552
เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 45/2549 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO)”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 45/2549 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2/1) การให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนทั่วไปผ่านที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการให้คําแนะนําดังกล่าว หรือแก่ผู้ลงทุนสถาบันเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การให้คําแนะนําโดยสื่อใดๆ หรือโดยการจัดสัมมนา ที่เจ้าของสื่อ เจ้าของรายการ เจ้าของคอลัมน์ เจ้าของที่อยู่เว็บ หรือผู้จัดสัมมนา ซึ่งมิใช่ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ได้จัดให้มีผู้ให้คําแนะนําเป็นผู้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําภายใต้ความรับผิดชอบของที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีแหล่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนเพิ่มขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนทั่วไปผ่านบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้โดยไม่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,960 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 14/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 14/2553
เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการ
ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็น
ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 29/2552 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 29/2552 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2/1) การให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบันของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศโดยมีลักษณะดังนี้
(ก) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศที่ให้คําแนะนําต้องเป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO)
(ข) ในกรณีที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ต้องเป็นการให้คําแนะนําผ่านที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการให้คําแนะนําดังกล่าว หรือ
(ค) ในกรณีที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. มีเป้าหมายในการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเป็นการเฉพาะ และ
2. ต้องจัดทําเอกสารโดยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลขาดทุนสูงสุด (worst case scenario) ที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันมีแหล่งข้อมูลประกอบ
การตัดสินใจลงทุนเพิ่มขึ้น สมควรขยายขอบเขตให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ต่างประเทศสามารถให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศ
และต่างประเทศได้ โดยต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจาก
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 3,961 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 49 /2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 49/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวบางส่วนต่อผู้ลงทุนสถาบันในประเทศด้วยหรือไม่
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินบาท ไม่ว่าจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศด้วยหรือไม่
ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ทั้งจํานวนนั้นอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 8/1 ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) สามารถแสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ยื่นขออนุญาตจะกระทําต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ และในกรณีที่มีบางส่วนเสนอขายในประเทศ ส่วนที่เสนอขายในประเทศนั้นต้องเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น
(3) สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขาย หรือการโอนหุ้นกู้ที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ เว้นแต่เป็นการซื้อขายระหว่างผู้ลงทุนในต่างประเทศและผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ หรือระหว่างผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ
(4) ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทที่เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ และ/หรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 10 ข้อ 11 และ/หรือข้อ 13 ด้วย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใน
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่
25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับ
หุ้นกู้แปลงสภาพ จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ขออนุญาตมีคุณลักษณะและได้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัด
(2) ได้จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อขออนุมัติการออกหุ้น
เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพโดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ใน
ข้อ 12
1. ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับ
หุ้นกู้แปลงสภาพอย่างเพียงพอ และมตินั้นได้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตออก
หุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้น
ที่ออกใหม่โดยบริษัท
(5) ส่งเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(ก) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และ
(ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 12 หนังสือนัดประชุมตามข้อ 11(2) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ หรือเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น
(2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากจะมีการใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 16 บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้อาจเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพได้ และหากการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นผลทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพนั้น ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตสามารถขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว”
ข้อ 7 ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,962 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 44/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 44/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
=======================================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 49/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 49/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท ทั้งนี้ หุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพจะต้องมีจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 11/1 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับ
ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 11/1 จํานวนหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุญาตเสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในครั้งอื่น ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งบริษัทจะเสนอขายควบคู่กับหุ้นกู้แปลงสภาพในครั้งนี้ (ถ้ามี)
1. จํานวนหุ้นที่บริษัทได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 49/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ หรือเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น
(2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพ ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไร และผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution)”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 49/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอันเป็นผลให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพนั้น หากเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสอง ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว เมื่อบริษัทได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว
บริษัทที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพอาจเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัท อันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น
(2) เมื่อบริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ใด ๆ ในราคาที่ต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นนั้นหรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายหุ้นนั้น และเป็นวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) เมื่อบริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพใด ๆ โดยกําหนดราคาหรือคํานวณราคาของหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น หรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น และเป็นวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น
(5) เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือ
(6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,963 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 45/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 45/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““หุ้นกู้” หมายความว่า หุ้นกู้มีประกัน หุ้นกู้ไม่มีประกัน หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้จะออกหุ้นกู้จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้นั้นหรือไม่ก็ตาม”
ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้แปลงสภาพ” กับคําว่า “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541
““หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 49/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินบาท ไม่ว่าจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศด้วยหรือไม่
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อสามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายแห่งประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้นหรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
2. เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายของประเทศที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้น หรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อแสดงได้ว่ากฎหมายของประเทศดังกล่าวมีข้อห้ามการจัดตั้งทรัสต์
การให้ความเห็นชอบผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,964 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 41/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 41/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขาย หรือการโอนหุ้นกู้ที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ”
ข้อ 4 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ยื่นต่อสํานักงานโดยมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
ข้อ 5 ให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,965 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 4/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 4/2542
--------------
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
===========================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ของ (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540
==========================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
“(ง) ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีในรายงานการสอบทานงบการเงินรายไตรมาสต้องไม่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สอบบัญชีไม่อาจสอบทานงบการเงินดังกล่าวได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ให้ความร่วมมือ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของ (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540
- 2 -
“(ค) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่มีความหมายในลักษณะไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญ อันเนื่องมาจากผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชี เว้นแต่การถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชีดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินที่นําส่งต่อสํานักงานภายหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
=======================================
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=============================
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
========================================================= | 3,966 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 18/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 18/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผย
ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ
บริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า "งบการเงิน" ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 23/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
""งบการเงิน" หมายความว่า งบดุล งบกําไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกระแสเงินสด"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) งบการเงินรายไตรมาส
(ก) รายการที่แสดงในงบการเงินรายไตรมาสต้องมีรายการครบถ้วนตามรายการที่กําหนดในงบการเงินตามที่กําหนดในกฎกระทรวงตาม (2) แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัด รายการที่แสดงในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นและงบกระแสเงินสดให้มีรายการตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
(ข) ข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินรายไตรมาส (ถ้ามี) ต้องเปิดเผยรายละเอียดดังต่อไปนี้ด้วย
1. การลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่น
2. รายการบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย กับบริษัทใหญ่ บริษัทร่วม ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
3. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
4. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(ค) ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีในรายงานการสอบทานงบการเงินรายไตรมาสต้องไม่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สอบบัญชีไม่อาจสอบทานงบการเงินดังกล่าวได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ให้ความร่วมมือ"
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจัดทํางบการเงินรายไตรมาสที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,967 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 25/2543
---------------
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ
บริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
===========================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 13/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของสถาบันการเงินที่คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินสั่งปิดกิจการ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
=============================================================================================================================================================================================================================================================================================
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทําคําเสนอซื้อ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” และคําว่า “ผู้สอบบัญชี” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
====================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
““ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทําคําเสนอซื้อ” หมายความว่า
==================================================
(1) บุคคลตามมาตรา 258 (1) ถึง (7) ของผู้ทําคําเสนอซื้อ
(2) บุคคลที่ผู้ทําคําเสนอซื้อมีฐานะเป็นบุคคลตามมาตรา 258 (1) ถึง (7) ของบุคคล ดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
==================================================================================================================================================================================================================================================================================
“ข้อ 6 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์สิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของบริษัทต่อสํานักงานตามประกาศนี้ เมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีการชําระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(2) บริษัทไม่สามารถขายหลักทรัพย์ได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(3) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ชําระหนี้ตามหลักทรัพย์จนครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีที่เป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(4) เมื่อครบอายุหลักทรัพย์แปลงสภาพและปรากฏว่าไม่มีผู้ใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(5) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ดําเนินการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยความสมัครใจ และบริษัทได้จัดให้มีการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดแล้วตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และภายหลังการเสนอซื้อ มีผู้ถือหุ้นรายอื่นซึ่งมิใช่ผู้ทําคําเสนอซื้อและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทําคําเสนอซื้อ ถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
(6) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีจํานวนผู้ถือหลักทรัพย์ทุกประเภทรวมกันน้อยกว่าหนึ่งร้อยราย และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นมิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือมิได้มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(7) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นมิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือมิได้มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(8) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นมิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือมิได้มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
การสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งงบการเงินเมื่อเกิดกรณีตาม (2) ถึง (5) ไม่รวมถึงกรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานตามประกาศนี้เนื่องจากบริษัทได้ออกหลักทรัพย์อื่นด้วย
ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แจ้งเหตุที่ทําให้หน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์สิ้นสุดลงตาม (1) ถึง (8) ต่อสํานักงานก่อนถึงกําหนดเวลาส่งงบการเงินและรายงานดังกล่าว และเมื่อกรณีตาม (5) ถึง (8) หมดไป บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นต่อสํานักงานต่อไปตามประกาศนี้”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
====================================================================================================================================================================================================================================================================
“ข้อ 6/1 นอกจากการสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทเนื่องจากกรณีตามข้อ 6 ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ดําเนินการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยความสมัครใจ และบริษัทได้จัดให้มีการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดแล้วตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน แต่ภายหลังการเสนอซื้อ มีผู้ถือหุ้นรายอื่นซึ่งมิใช่ผู้ทําคําเสนอซื้อและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทําคําเสนอซื้อถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์สามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่าในบรรดาผู้ถือหุ้นรายอื่นที่เหลืออยู่ดังกล่าว มีผู้ถือหุ้นที่สามารถได้รับข้อมูลได้โดยทางอื่น เนื่องจากฐานะของผู้ถือหุ้นรายนั้น หรือเนื่องจากผู้ถือหุ้นรายนั้นมีความเกี่ยวเนื่องในทางใดทางหนึ่งกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกเหนือจากการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และผู้ถือหุ้นแต่ละรายดังกล่าวแสดงเจตนาว่าไม่ประสงค์จะได้รับข้อมูลดังกล่าวจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามกลไกที่กําหนดตามประกาศนี้ และหากไม่นับรวมผู้ถือหุ้นทุกรายที่แสดงเจตนาดังกล่าวแล้ว จะคงเหลือผู้ถือหุ้นรายอื่นถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท สํานักงานอาจพิจารณากําหนดให้บริษัทดังกล่าวสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามประกาศนี้ก็ได้
ให้นําความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบริษัทที่สิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานเนื่องจากกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ “ผู้ถือหุ้นที่สามารถได้รับข้อมูลได้โดยทางอื่นเนื่องจากฐานะของผู้ถือหุ้นรายนั้น หรือเนื่องจากผู้ถือหุ้นรายนั้นมีความเกี่ยวเนื่องในทางใดทางหนึ่งกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกเหนือจากการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท” อาจพิจารณาจาก
(1) การเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ ตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(2) การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(3) การเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(4) การเป็นกรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
====================================
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=============================
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
========================================================= | 3,968 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 46/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ในประกาศนี้ และแบบท้ายประกาศนี้
(1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “หุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “คณะกรรมการตรวจสอบ” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทําคําเสนอซื้อ” หมายความว่า
(ก) บุคคลตามมาตรา 258(1) ถึง (7) ของผู้ทําคําเสนอซื้อ
(ข) บุคคลที่ผู้ทําคําเสนอซื้อมีฐานะเป็นบุคคลตามมาตรา 258(1) ถึง (7) ของบุคคลดังกล่าว
(4) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(5) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือ
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(6) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
=================================================================================================================================================================================================================================================================================
“ข้อ 4 งบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งต่อสํานักงานให้เป็นไปตามรายการและระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส
(2) งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
(3) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดย
(ก) ให้ใช้แบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้ สําหรับกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นนอกจากใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน
(ข) ให้ใช้แบบ 56-dw ท้ายประกาศนี้ สําหรับกรณีที่มีการเสนอขาย
ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน
(4) รายงานประจําปี (เฉพาะกรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหุ้นโดยตรง หรือเสนอขายหุ้นเนื่องจากมีการใช้สิทธตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้น
เพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้) ให้จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายพร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปี โดยต้องส่งภายในหนึ่งร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และให้ส่งสําเนารายงานและหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ส่งรายงานประจําปีให้ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายงานประจําปีต้องเป็นไปตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบ 56-2 ท้ายประกาศนี้ หรือ
(ข) ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) พร้อมแนบงบการเงินประจํางวดการบัญชี
การจัดทําและส่งงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่งให้เริ่มตั้งแต่งบการเงินรายไตรมาสหรืองบการเงินประจํางวดการบัญชีที่ถัดจากงบการเงินที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่มีผลใช้บังคับแล้ว
เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์บริษัทใดได้จัดทําและส่งงบการเงินประจํางวดการบัญชีสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนหรือหนึ่งปีตามวรรคหนึ่ง (2) ต่อสํานักงาน ให้ถือว่าบริษัทนั้นได้จัดทําและส่งงบการเงินสําหรับไตรมาสที่สองหรือไตรมาสที่สี่ตามวรรคหนึ่ง (1) ต่อสํานักงานแล้ว แต่ทั้งนี้ถ้าบริษัทส่งงบการเงินประจํางวดการบัญชีสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนหรือหนึ่งปีเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดงวดการบัญชี ให้ถือว่าบริษัทส่งงบการเงินสําหรับไตรมาสที่สองหรือไตรมาสที่สี่ล่าช้านับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบหกสิบวันดังกล่าว”
### ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึงให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ระบุรายการ นโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติสําหรับการบันทึกบัญชีรายการนั้นและคําอธิบายว่านโยบายการบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีใด”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
“ข้อ 5/1 นอกจากการส่งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดําเนินงานตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) ที่ครบกําหนดส่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด
(2) กรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
งบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งต่อสํานักงาน ทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง”
=================================================================================================================================================================================================================================================================================
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เมื่อครบอายุใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือเมื่อครบอายุหลักทรัพย์แปลงสภาพอื่น และปรากฏว่าไม่มีผู้ใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพอื่นดังกล่าว”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในแบบ 56-1 หรือแบบ 56-dw แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นรายการอย่างเดียวกับข้อมูลที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) หากรายละเอียดของข้อมูลนั้นไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ให้สํานักงานผ่อนผันให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ต้องแสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวในแบบ 56-1 หรือแบบ 56-dw ได้ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) และแบบรายงานประจําปี (แบบ 56-2) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) และแบบรายงานประจําปี(แบบ 56-2) ท้ายประกาศนี้แทน
================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
ข้อ 8 ให้เพิ่มแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี : ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(แบบ 56-dw) ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
====================================
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=============================
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,969 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 66/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 66/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543“ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต่างประเทศหรือตลาดอื่นใดที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการในต่างประเทศ และมีหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้นในการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศดังกล่าว รายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่ส่งต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (3) และ (4) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลไม่น้อยกว่ารายงานทํานองเดียวกันที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้จัดทําและเปิดเผยในต่างประเทศ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “(5) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ในกรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ระบุรายการ นโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติสําหรับการบันทึกบัญชีรายการนั้น และคําอธิบายว่านโยบายการบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีใด
ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือตลาดอื่นใดที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการในต่างประเทศ และมีหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้นในการจัดทําและส่งงบการเงินของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศดังกล่าว ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) กรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึง และมาตรฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศนั้นเป็นมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Committee หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินในรายการที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึงตามมาตรฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศดังกล่าว
(ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้จัดทํางบการเงินอีกฉบับหนึ่งนอกเหนือจากงบการเงินฉบับที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทําและส่งต่อสํานักงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศนั้น ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดส่งงบการเงินฉบับที่เปิดเผยในต่างประเทศนั้นต่อสํานักงานด้วย ทั้งนี้ ในหนังสือนําส่งงบการเงินฉบับที่เปิดเผยในต่างประเทศต่อสํานักงาน ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ระบุมาตรฐานการบัญชีที่ใช้สําหรับการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินในรายการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือรายการที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึงไว้ด้วย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2543
=====================================
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=============================
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,970 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 11/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 66/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) รายงานประจําปี (เฉพาะกรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหุ้นโดยตรง หรือเสนอขายหุ้นเนื่องจากมีการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และเป็นบริษัทที่มิได้อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย) ให้จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายพร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปีโดยต้องส่งภายในหนึ่งร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และให้ส่งสําเนารายงานและหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ส่งรายงานประจําปีให้ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายงานประจําปีต้องเป็นไปตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบ 56-2 ท้ายประกาศนี้ หรือ
(ข) ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) พร้อมแนบงบการเงินประจํางวดการบัญชี”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรายงานประจําปี 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,971 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 20/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 20/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 4/1 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคําสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวเป็นการชั่วคราวโดยขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) อันเนื่องมาจากอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการและได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้ว ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามความในข้อ 4(1) แต่ให้จัดทํารายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชี โดยรูปแบบและรายการที่แสดงให้อนุโลมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 และให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีนั้น รวมทั้งให้จัดทําคําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ และส่งพร้อมกับรายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชี
(ก) ความคืบหน้าของการฟื้นฟูกิจการ
(ข) ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(ค) คําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ในลักษณะเช่นเดียวกับหัวข้อ 12(2) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40 /2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(ง) รายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 66/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2543
“ในกรณีที่รายได้หรือกําไรสุทธิตามงบการเงินล่าสุดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีความแตกต่างจากงบการเงินในงวดเดียวกันของปีก่อนเกินกว่าร้อยละยี่สิบ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทําคําอธิบายสาเหตุของความแตกต่างดังกล่าว และส่งต่อสํานักงานพร้อมกับงบการเงินตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในหมายเหตุท้ายหัวข้อ 3 การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40 /2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมายเหตุ ในเรื่องการระบุชื่อลูกค้าหรือผู้จัดจําหน่าย (supplier) ที่มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 30 ของรายได้รวมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเดิมกําหนดให้เป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยนั้น ตามแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีนี้ไม่บังคับให้ต้องระบุชื่อ แต่หากบริษัทมีการพึ่งพิงลูกค้าหรือผู้จัดจําหน่ายรายใดที่มีบทบาทสําคัญต่อการอยู่รอดของบริษัท ก็ให้เปิดเผยเป็นปัจจัยความเสี่ยง โดยหากมีสัดส่วนเกินร้อยละ 30 ของรายได้รวมหรือยอดซื้อรวม ตามแต่กรณี ตามงบการเงินรวม ก็ให้ระบุจํานวนราย ลักษณะความสัมพันธ์และประเภทของสินค้าที่ซื้อขาย อย่างไรก็ดี หากบริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อลูกค้าหรือผู้จัดจําหน่ายให้แก่บุคคลอื่น เช่น ผู้ลงทุนหรือนักวิเคราะห์ด้านหลักทรัพย์หรือการลงทุน ก็ให้ระบุชื่อดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเท่าเทียมกันด้วย”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40 /2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้แสดงราคาประเมินของที่ดินหรืออาคารที่มีไว้เพื่อขายด้วย (ไม่รวมทรัพย์สินส่วนกลางของโครงการ) โดยให้ระบุชื่อผู้ประเมินราคา วันที่ประเมินราคา และราคาประเมิน แต่ถ้าการประเมินราคาที่ดินหรืออาคารใดจัดทําไว้เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ปรับราคาประเมินที่ดินหรืออาคารดังกล่าวตามมูลค่างานที่ได้ส่งมอบให้ลูกค้าแล้วด้วย ทั้งนี้ การประเมินราคาดังกล่าวต้องประเมินโดยผู้ประเมินราคาที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
--------------------------------------------------------- | 3,972 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 47/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 12) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 47/2545
###### เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
###### ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 12)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “คณะกรรมการตรวจสอบ” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน หากต่อมามีกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เมื่อมีเจ้าของหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในภายหลัง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่เริ่มตั้งแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่เจ้าของหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานนั้นมีผลใช้บังคับ หรือ
(2) เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการยกเลิกข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่เริ่มตั้งแต่วันที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส (เฉพาะกรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่มีลักษณะตาม (3)(ก) (ข) หรือ (ค))”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหลักทรัพย์ใด ๆ ที่ประกาศนี้มิได้วางข้อกําหนดเฉพาะไว้เป็นประการอื่น ให้ใช้แบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้ซึ่งเป็นแบบทั่วไป
(ข) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 56-dw ท้ายประกาศนี้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นนอกจากใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ด้วย บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีอีกฉบับหนึ่งให้สอดคล้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นนั้นด้วย
(ค) ในกรณีที่เป็นการออกหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยไม่เข้าลักษณะตาม (ง) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบ ลักษณะสําคัญ ขั้นตอน และกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ประเภท ลักษณะ และคุณภาพของสินทรัพย์ที่เป็นแหล่งที่มาของกระแสรายรับที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ โดยแสดงสถานะของสินทรัพย์ดังกล่าวในช่วงปีที่ผ่านมาความคืบหน้าของการเรียกเก็บกระแสรายรับจากสินทรัพย์ในช่วงปีที่ผ่านมา รูปแบบหรือวิธีการที่เป็นประกันว่าผู้ลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับชําระหนี้คืน (credit enhancement) (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ครั้งหลังสุด
(ง) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน และไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดอีก บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะใช้แบบ 56-1 หรือจะจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีซึ่งมีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบ แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ การเปลี่ยนแปลงของฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ครั้งหลังสุด ก็ได้”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,973 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 16/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 16/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 11)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของหัวข้อ 9 การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การกํากับดูแลกิจการ : ให้อธิบายว่าที่ผ่านมาบริษัทมีการปฏิบัติตามหลักการของการกํากับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อ ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ หากมีเรื่องใดที่บริษัทมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ระบุเรื่องที่ไม่ปฏิบัตินั้น พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ ในการแสดงเหตุผลประกอบดังกล่าว บริษัทอาจเลือกใช้วิธีอ้างอิงไปยังคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในหัวข้ออื่นก็ได้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของหัวข้อย่อย 5.2 ในหัวข้อ 5 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ของแบบ 56-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การกํากับดูแลกิจการ : ให้อธิบายว่าที่ผ่านมาบริษัทมีการปฏิบัติตามหลักการของการกํากับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อ ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่
หากมีเรื่องใดที่บริษัทมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ระบุเรื่องที่ไม่ปฏิบัตินั้น พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ ในการแสดงเหตุผลประกอบดังกล่าว บริษัทอาจเลือกใช้วิธีอ้างอิงไปยังคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในหัวข้ออื่นก็ได้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและ
รายงานประจําปีสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,974 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 9/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 9/2546
###### เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
###### ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 14)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“ในการจัดส่งงบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งบทสรุปประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ต่อสํานักงานพร้อมกับงบการเงินดังกล่าวด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับกับงบการเงินที่ส่งต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,975 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 6/2546
###### เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
###### ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 13)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 งบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งต่อสํานักงานให้เป็นไปตามรายการและระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส
ความในวรรคหนึ่งของ (1) มิให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทที่มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน และไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดอีก
(ข) บริษัทที่มิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและบริษัทดังกล่าวมิได้ออกหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้
(ค) บริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคําสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวเป็นการชั่วคราวโดยขึ้นเครื่องหมาย SP (suspension) อันเนื่องมาจากบริษัทอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการและได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้ว
ให้บริษัทตามวรรคสอง (ข) และ (ค) จัดทํารายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชี โดยรูปแบบและรายการที่แสดงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยงบการเงินระหว่างกาลที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี รวมทั้งจัดทําคําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ และให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีนั้น
(ก) ความคืบหน้าของการฟื้นฟูกิจการ (ถ้ามี)
(ข) ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(ค) คําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ในลักษณะเช่นเดียวกับหัวข้อ 12(2) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้
(ง) รายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(2) งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
(3) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีอื่น ๆ นอกจากที่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ใช้แบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้ซึ่งเป็นแบบทั่วไป
(ข) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 56-dw ท้ายประกาศนี้
(ค) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการออกหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยไม่เข้าลักษณะตาม (ง) หรือ (จ) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะสําคัญ ขั้นตอน และกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ประเภท ลักษณะ และคุณภาพของสินทรัพย์ที่เป็นแหล่งที่มาของกระแสรายรับที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ โดยแสดงสถานะของสินทรัพย์ดังกล่าวในช่วงปีที่ผ่านมา ความคืบหน้าของการเรียกเก็บกระแสรายรับจากสินทรัพย์ในช่วงปีที่ผ่านมา รูปแบบหรือวิธีการที่เป็นประกันว่าผู้ลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับชําระหนี้คืน (credit enhancement) (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ครั้งหลังสุด
(ง) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน และไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดอีก บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะใช้แบบ 56-1 หรือจะจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีซึ่งมีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบแหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ การเปลี่ยนแปลงของฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ครั้งหลังสุด ก็ได้
(จ) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะสําคัญของหุ้นกู้อนุพันธ์ ประเภท ลักษณะสําคัญของสิ่งอ้างอิง รูปแบบและวิธีการบริหารความเสี่ยง ข้อมูลของผู้ค้ําประกันการชําระหนี้หรือคู่สัญญาบริหารความเสี่ยง (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระหนี้คืนตามหุ้นกู้อนุพันธ์ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์หรือบริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ครั้งหลังสุด
(4) รายงานประจําปีให้จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายพร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปีโดยต้องส่งภายในหนึ่งร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และให้ส่งสําเนารายงานและหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ส่งรายงานประจําปีให้ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายงานประจําปีต้องมีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบ 56-2 ท้ายประกาศนี้ หรือใช้แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) พร้อมแนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีนั้น
ความในวรรคหนึ่งของ (4) ให้ใช้บังคับเมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหุ้นโดยตรง หรือเสนอขายหุ้นเนื่องจากมีการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และเป็นบริษัทที่มิได้อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
**“**(1) งบการเงินรายไตรมาส
(ก) รายการที่แสดงในงบการเงินรายไตรมาส ต้องมีรายการครบถ้วนในลักษณะเดียวกับงบการเงินประจํางวดการบัญชี
1. ข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินรายไตรมาส ให้เปิดเผยเฉพาะรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ถ้ามี)
1.การลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่น
2.รายการบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย กับบริษัทใหญ่ บริษัทร่วม ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
3.เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
4.ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(ค) ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีในรายงานการสอบทานงบการเงินรายไตรมาสต้องไม่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สอบบัญชีไม่อาจสอบทานงบการเงินดังกล่าวได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ให้ความร่วมมือ
1. งบการเงินประจํางวดการบัญชี ต้องมีรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีที่ไม่มีความหมายในลักษณะไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือที่ไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญ อันเนื่องมาจากผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชี เว้นแต่การถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชีดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เมื่อครบอายุใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือเมื่อครบอายุหลักทรัพย์แปลงสภาพอื่นและปรากฏว่าไม่มีผู้ใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพอื่นดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีจํานวนผู้ถือหลักทรัพย์ทุกประเภทรวมกันน้อยกว่าหนึ่งร้อยราย และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นมิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือมิได้มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องมิได้มีหน้าที่ในการจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานตามประกาศนี้อันเนื่องมาจากการออกหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,976 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 35/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 35/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 16)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายนพ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 29/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงาการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ตามที่กําหนดในข้อ 4 ต่อสํานักงานจํานวนสองฉบับ ตั้งแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น โดยมิได้มีการออกหลักทรัพย์ประเภทอื่นใดอีก
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,977 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 47/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 21) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 47/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 21)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 39/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีอื่น ๆ นอกจากที่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ใช้แบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้ซึ่งเป็นแบบทั่วไป
1. ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 56-4 ท้ายประกาศนี้
2. ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน ให้ใช้แบบ 56-1 หรือแบบ 56-4 ท้ายประกาศนี้
(ง) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 56-dw ท้ายประกาศนี้”
ข้อ 2 ให้เพิ่มแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-4) ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,978 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 39/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 39/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 20)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ มาใช้ในประกาศนี้และแบบท้ายประกาศนี้โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ตามที่กําหนดในข้อ 4 หรือข้อ 4/1 ต่อสํานักงานจํานวนสองฉบับ ตั้งแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว เว้นแต่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะมีการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น โดยมิได้มีการออกหลักทรัพย์ประเภทอื่นใดอีก
ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน หากต่อมามีกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เมื่อมีเจ้าของหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในภายหลัง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่เริ่มตั้งแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่เจ้าของหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานนั้นมีผลใช้บังคับ
(2) เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการยกเลิกข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่เริ่มตั้งแต่วันที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
บริษัทมหาชนจํากัดที่ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพโดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นเอง และได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อออกหุ้นหรือหุ้นกู้รองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวเนื่องจากผู้ที่จะใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ให้บริษัทดังกล่าวที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกหุ้นหรือหุ้นกู้ในกรณีเช่นนั้นมีหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งในฐานะที่เป็นบริษัทที่ออกหุ้นหรือหุ้นกู้ตามมาตรา 33 ด้วย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และ
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย งบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่บริษัทมีหน้าที่จัดทําและส่งต่อสํานักงานให้เป็นไปตามรายการและระยะเวลา ดังต่อไปนี้
1. งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทที่มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน และไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดอีก
(ข) บริษัทที่มิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและบริษัทดังกล่าวมิได้ออกหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้
(ค) บริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคําสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวเป็นการชั่วคราวโดยขึ้นเครื่องหมาย SP (suspension) อันเนื่องมาจากบริษัทอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการและได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้ว
ให้บริษัทตามวรรคสอง (ข) และ (ค) จัดทํารายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชี โดยรูปแบบและรายการที่แสดงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยงบการเงินระหว่างกาลที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี รวมทั้งจัดทําคําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ และให้ส่งต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีนั้น
1. ความคืบหน้าของการฟื้นฟูกิจการ (ถ้ามี)
2. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
3. คําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานในลักษณะเช่นเดียวกับ (2) ของหัวข้อ 12 ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้
(ง) รายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(2) งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
(3)แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ส่งต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีอื่น ๆ นอกจากที่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ใช้แบบ 56-1 ท้ายประกาศนี้ซึ่งเป็นแบบทั่วไป
(ข) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้ใช้แบบ 56-dw ท้ายประกาศนี้
(ค) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการออกหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยไม่เข้าลักษณะตาม (ง) หรือ (จ) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะสําคัญ ขั้นตอน และกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ประเภท ลักษณะ และคุณภาพของสินทรัพย์ที่เป็นแหล่งที่มาของกระแสรายรับที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ โดยแสดงสถานะของสินทรัพย์ดังกล่าวในช่วงปีที่ผ่านมา ความคืบหน้าของการเรียกเก็บกระแสรายรับจากสินทรัพย์ในช่วงปีที่ผ่านมา รูปแบบหรือวิธีการที่เป็นประกันว่าผู้ลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับชําระหนี้คืน (credit enhancement) (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ครั้งหลังสุด
(ง) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน และไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดอีก บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะใช้แบบ 56-1 หรือจะจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีซึ่งมีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบแหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ การเปลี่ยนแปลงของฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ครั้งหลังสุด ก็ได้
(จ) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะสําคัญของหุ้นกู้อนุพันธ์ ประเภท ลักษณะสําคัญของสิ่งอ้างอิง รูปแบบและวิธีการบริหารความเสี่ยง ข้อมูลของผู้ค้ําประกันการชําระหนี้หรือคู่สัญญาบริหารความเสี่ยง (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระหนี้คืนตามหุ้นกู้อนุพันธ์ รวมทั้งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์หรือบริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ครั้งหลังสุด
ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ทั้งแบบ 56-1 และแบบเฉพาะตาม (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) ให้บริษัทยื่นแบบ 56-1 และข้อมูลในแบบเฉพาะที่เพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้เปิดเผยไว้แล้วในแบบ 56-1 ต่อสํานักงาน
(4) รายงานประจําปีให้จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายพร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปีโดยต้องส่งภายในหนึ่งร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และให้ส่งสําเนารายงานและหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ส่งรายงานประจําปีให้ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายงานประจําปีต้องมีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบ 56-2 ท้ายประกาศนี้ หรือใช้แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) พร้อมแนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีนั้น ทั้งนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะจัดทํารายงานประจําปีในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) เพื่อให้สิทธิผู้ถือหุ้นได้เลือกรับรายงานประจําปีตามรูปแบบที่ต้องการก็ได้ แต่แผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ดังกล่าว ต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับรายงานประจําปีที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์
ความในวรรคหนึ่งของ (4) ให้ใช้บังคับเมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหุ้นโดยตรง หรือเสนอขายหุ้นเนื่องจากมีการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และเป็นบริษัทที่มิได้อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้บริษัทส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาเดียวกับที่ต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่บริษัทมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยจะจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
(1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือ
(2) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 วิธีการจัดทํางบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจํางวดการบัญชีตามข้อ 4(1) และ (2) สําหรับกรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้เป็นดังนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(1) งบการเงินรายไตรมาส
1. รายการที่แสดงในงบการเงินรายไตรมาส ต้องมีรายการครบถ้วนในลักษณะเดียวกับงบการเงินประจํางวดการบัญชี
(ข) ข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินรายไตรมาส ให้เปิดเผยเฉพาะรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ถ้ามี)
* 1. การลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่น
2. รายการบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย กับบริษัทใหญ่ บริษัทร่วม ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
3. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
4. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(ค) ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีในรายงานการสอบทานงบการเงินรายไตรมาสต้องไม่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สอบบัญชีไม่อาจสอบทานงบการเงินดังกล่าวได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ให้ความร่วมมือ
1. งบการเงินประจํางวดการบัญชี ต้องมีรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีที่ไม่มีความหมายในลักษณะไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือที่ไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญ อันเนื่องมาจากผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชี เว้นแต่การถูกจํากัดขอบเขตการสอบบัญชีดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีบริษัทย่อย ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทํางบการเงินรวมเป็นการเพิ่มเติม และหากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นํามารวม และเปิดเผยผลกระทบและงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรืองบการเงินรวม แล้วแต่กรณี
(4) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด ทั้งนี้ ในกรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ระบุรายการนโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติสําหรับการบันทึกบัญชีรายการนั้น และคําอธิบายว่านโยบายการบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีใด
ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือตลาดอื่นใดที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการในต่างประเทศ และมีหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้นในการจัดทําและส่งงบการเงินของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศดังกล่าว ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) กรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึง และมาตรฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศนั้นเป็น International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินในรายการที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึงตามมาตรฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศดังกล่าว
(ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้จัดทํางบการเงินอีกฉบับหนึ่งนอกเหนือจากงบการเงินฉบับที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทําและส่งต่อสํานักงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศนั้น ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดส่งงบการเงินฉบับที่เปิดเผยในต่างประเทศนั้นต่อสํานักงานด้วย ทั้งนี้ ในหนังสือนําส่งงบการเงินฉบับที่เปิดเผยในต่างประเทศต่อสํานักงานให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ระบุมาตรฐานการบัญชีที่ใช้สําหรับการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินในรายการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือรายการที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึงไว้ด้วย
1. ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นสถาบันการเงิน ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดสินทรัพย์ของบริษัทที่เข้าเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์แต่ละชั้นไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ทั้งนี้ ให้ใช้เกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ที่กําหนดโดยหน่วยงานที่กํากับและควบคุมการประกอบธุรกิจของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น
2. ในรอบปีบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จัดให้มีการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี (auditor rotation) หากผู้สอบบัญชีรายเดิมปฏิบัติหน้าที่สอบทานหรือตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทมาแล้วห้ารอบปีบัญชีติดต่อกัน เว้นแต่บริษัทจดทะเบียนที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและมีสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี
การหมุนเวียนผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. บริษัทสามารถแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายใหม่ที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีเดียวกับผู้สอบบัญชีรายเดิมก็ได้
2. บริษัทจะแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อยสองรอบปีบัญชี นับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
ในสองรอบปีบัญชีนับแต่ปีบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549หากบริษัทจดทะเบียนมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้ไม่สามารถจัดให้มีการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่งได้ ให้บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวยื่นขอผ่อนผันตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่รายได้หรือกําไรสุทธิตามงบการเงินล่าสุดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีความแตกต่างจากงบการเงินในงวดเดียวกันของปีก่อนเกินกว่าร้อยละยี่สิบ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทําคําอธิบายสาเหตุของความแตกต่างดังกล่าว และส่งต่อสํานักงานพร้อมกับงบการเงินตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี
สําหรับกรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ วิธีการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจํางวดการบัญชีตามข้อ 4/1 ประกอบข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือ
(2) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/1 นอกจากการส่งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามรายการในข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) หรือข้อ 4/1 ประกอบข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. กรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด
(2) กรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
งบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งต่อสํานักงาน ทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง”
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไปเว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจํากัดที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย การปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินและงบการเงินรวมตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด ให้เริ่มตั้งแต่งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2548 และงบการเงินรายไตรมาสหลังปีบัญชีดังกล่าวเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,979 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 16/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 17) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 16/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 17)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (4) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) รายงานประจําปีให้จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายพร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปีโดยต้องส่งภายในหนึ่งร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และให้ส่งสําเนารายงานและหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ส่งรายงานประจําปีให้ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายงานประจําปีต้องมีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบ 56-2 ท้ายประกาศนี้ หรือใช้แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) พร้อมแนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีนั้น ทั้งนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะจัดทํารายงานประจําปีในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) เพื่อให้สิทธิผู้ถือหุ้นได้เลือกรับรายงานประจําปีตามรูปแบบที่ต้องการก็ได้ แต่แผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ดังกล่าว ต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับรายงานประจําปีที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) โครงสร้างการจัดการ ของหัวข้อที่ 9. การจัดการในแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) โครงสร้างการจัดการ :
(1.1) ให้อธิบายโครงสร้างกรรมการบริษัทว่าประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมดกี่ชุด เช่น คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกําหนดค่าจ้างผู้บริหาร เป็นต้น และขอบเขตอํานาจหน้าที่ของกรรมการแต่ละชุด
(1.2) ให้ระบุรายชื่อกรรมการ และหากกรรมการรายใดเป็นกรรมการอิสระหรือกรรมการในชุดอื่นตาม (1.1) ให้ระบุให้ชัดเจน นอกจากนี้ ให้ระบุหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระได้แก่ คุณสมบัติ และกระบวนการสรรหา ด้วย
(1.3) จํานวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการ และจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละรายเข้าประชุมคณะกรรมการบริษัท ในปีที่ผ่านมา
(1.4) ให้ระบุรายชื่อและตําแหน่งของผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) และรายชื่อของเลขานุการบริษัท
ทั้งนี้ ให้แนบข้อมูลของกรรมการของบริษัท ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาล่าสุด ประวัติการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และทักษะของการเป็นกรรมการ (เช่น การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)) ประสบการณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และประวัติการกระทําผิด รวมทั้งรายชื่อของกรรมการในบริษัทย่อย ตามเอกสารแนบ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ค่าตอบแทนผู้บริหาร ของหัวข้อที่ 9. การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ค่าตอบแทนผู้บริหาร : ให้อธิบายในประเด็นดังนี้
(3.1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
(ก) ให้แสดงค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทแต่ละรายในปีที่ผ่านมา โดยให้ระบุเฉพาะค่าตอบแทนในฐานะกรรมการเท่านั้น ในกรณีที่กรรมการได้รับค่าตอบแทนในฐานะผู้บริหาร ตาม (ข) ด้วย ให้แยกระบุค่าตอบแทนไว้ใน (ข) และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (เช่น ค่าตอบแทนกรรมการรายนาย ก เท่ากับ xx บาท ในปี 25xx โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม และบําเหน็จกรรมการซึ่งแปรตามผลดําเนินงานของบริษัท เป็นต้น)
(ข) ให้แสดงค่าตอบแทนรวมและจํานวนรายของกรรมการบริหารและผู้บริหารของบริษัทในปีที่ผ่านมา และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (ในข้อนี้ คําว่า “ผู้บริหาร” ให้หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้บริหารสี่รายแรกต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้บริหารรายที่สี่ทุกราย โดยไม่รวมถึงผู้จัดการฝ่ายบัญชีหรือการเงินหากตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับผู้บริหารรายที่สี่)
ในกรณีที่ค่าตอบแทนในปีที่ผ่านมาไม่สะท้อนค่าตอบแทนที่แท้จริง (เช่น มีการตั้งผู้บริหารใหม่จํานวนมากในปีปัจจุบัน) ให้ประมาณค่าตอบแทนดังกล่าวสําหรับปีปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ สําหรับบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้แสดงค่าตอบแทนและจํานวนรายของกรรมการและผู้บริหารทุกคนของบริษัทย่อยที่เป็นธุรกิจหลักในปีที่ผ่านมาตามแนวทางข้างต้นด้วย
(3.2) ค่าตอบแทนอื่น (ถ้ามี)
ให้แสดงค่าตอบแทนอื่นและอธิบายลักษณะของค่าตอบแทนนั้น เช่น โครงการให้สิทธิซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพแก่ผู้บริหาร (อธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรหลักทรัพย์ดังกล่าว และสัดส่วนการได้รับหุ้นของผู้บริหารเมื่อเทียบกับจํานวนหุ้นหรือโครงการทั้งหมด) รวมทั้งเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้ใน (3.1)”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ในหัวข้อที่ 12. ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2540
“(3) ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
ให้แสดงค่าตอบแทนที่ผู้สอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด และบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ได้รับจากบริษัทและบริษัทย่อย โดยให้ระบุแยกเป็น
(3.1) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (audit fee)
* 1. ค่าบริการอื่น (non-audit fee)
การเปิดเผยค่าบริการอื่นให้แสดงข้อมูลของค่าบริการอื่นที่ได้จ่ายไปแล้วในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา และค่าบริการอื่นที่จะต้องจ่ายในอนาคตอันเกิดจากการตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา และประเภทของการให้บริการอื่น
ทั้งนี้ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ให้รวมถึง
1. คู่สมรสและบุตรที่ยังต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของผู้สอบบัญชี
2. กิจการที่มีอํานาจควบคุมสํานักงานสอบบัญชี กิจการที่ถูกควบคุมโดยสํานักงานสอบบัญชี และกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับสํานักงานสอบบัญชี ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(ค) กิจการที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญของสํานักงานสอบบัญชี
(ง) หุ้นส่วนหรือเทียบเท่าของสํานักงานสอบบัญชี
(จ) คู่สมรสและบุตรที่ยังต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของบุคคลตาม (ง)
(ฉ) กิจการที่ผู้สอบบัญชี บุคคลตาม (ก) (ง) หรือ (จ) มีอํานาจควบคุมหรือมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาลักษณะของการควบคุมหรือการมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญที่จะเข้าข่ายเป็นบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีข้างต้น ให้นํานิยามตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้บังคับ”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 29/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 3
การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
การรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีให้เป็น ดังนี้
1. กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้วและด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่สรุปมาในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ ................................................. ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ .....................เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ........................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2. กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกจาก 1. ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
หมายเหตุ หากในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงาน มีเหตุจําเป็นที่ทําให้บุคคลใด ยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นแล้ว บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันที เว้นแต่เหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถลงลายมือชื่อได้เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าว อยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 56-dw ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 4
การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
1. การรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีให้เป็น ดังนี้
1.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้วและด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่สรุปมาในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
1.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นอกจาก 1.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2. ในกรณีที่เป็นการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง โดยบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ นอกจากการรับรองตาม 1. แล้ว ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงทุกคนลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีดังกล่าว โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบดังต่อไปนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการหรือการปรับโครงสร้างหนี้ และข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงที่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการหรือการปรับโครงสร้างหนี้ และข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงที่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้วด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
1.
2.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
หมายเหตุ หากในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงาน มีเหตุจําเป็นที่ทําให้บุคคลใด ยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นแล้ว บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันที เว้นแต่เหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถลงลายมือชื่อได้เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าว อยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (1) ของหัวข้อที่ 5.2 การจัดการ ในหัวข้อที่ 5. โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ในแบบ 56-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การจัดการ :
(1.1) ให้อธิบายโครงสร้างกรรมการบริษัทว่าประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมดกี่ชุด เช่น คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกําหนดค่าจ้างผู้บริหาร เป็นต้น และขอบเขตอํานาจหน้าที่ของกรรมการแต่ละชุด
(1.2) ให้ระบุรายชื่อกรรมการ และหากกรรมการรายใดเป็นกรรมการอิสระหรือกรรมการในชุดอื่นตาม (1.1) ให้ชัดเจน นอกจากนี้ ให้ระบุหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระได้แก่ คุณสมบัติ และกระบวนการสรรหา ด้วย
(1.3) จํานวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการ และจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละรายเข้าประชุมคณะกรรมการบริษัท ในปีที่ผ่านมา
(1.4) ให้ระบุรายชื่อและตําแหน่งของผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) และรายชื่อของเลขานุการบริษัท
ทั้งนี้ ให้แนบข้อมูลของกรรมการของบริษัท ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาล่าสุด ประวัติการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และทักษะของการเป็นกรรมการ (เช่น การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)) ประสบการณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และประวัติการกระทําผิด รวมทั้งรายชื่อของกรรมการในบริษัทย่อย ตามเอกสารแนบ เช่นเดียวกับข้อมูลที่เปิดเผยตามเอกสารแนบในเรื่องเดียวกันตามแบบ 56-1”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (3) ค่าตอบแทนผู้บริหาร ของหัวข้อที่ 5.2 การจัดการ ในหัวข้อที่ 5. โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ของแบบ 56-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ค่าตอบแทนผู้บริหาร : ให้อธิบายในประเด็นดังนี้
(3.1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
(ก) ให้แสดงค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทแต่ละรายในปีที่ผ่านมา โดยให้ ระบุเฉพาะค่าตอบแทนในฐานะกรรมการเท่านั้น ในกรณีที่กรรมการได้รับค่าตอบแทนในฐานะผู้บริหาร ตาม (ข) ด้วย ให้แยกระบุค่าตอบแทนไว้ใน (ข) และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (เช่น ค่าตอบแทนกรรมการรายนาย ก เท่ากับ xx บาท ในปี 25xx โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม และบําเหน็จกรรมการ ซึ่งแปรตามผลดําเนินงานของบริษัท เป็นต้น)
(ข) ให้แสดงค่าตอบแทนรวมและจํานวนรายของกรรมการบริหารและผู้บริหารของบริษัทในปีที่ผ่านมา และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (ในข้อนี้ คําว่า “ผู้บริหาร” ให้หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้บริหารสี่รายแรกต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้บริหารรายที่สี่ทุกราย โดยไม่รวมถึงผู้จัดการฝ่ายบัญชีหรือการเงินหากตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับผู้บริหารรายที่สี่)
ในกรณีที่ค่าตอบแทนในปีที่ผ่านมาไม่สะท้อนค่าตอบแทนที่แท้จริง (เช่น มีการตั้งผู้บริหารใหม่จํานวนมากในปีปัจจุบัน) ให้ประมาณค่าตอบแทนดังกล่าวสําหรับปีปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ สําหรับบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้แสดงค่าตอบแทนและจํานวนรายของกรรมการและผู้บริหารทุกคนของบริษัทย่อยที่เป็นธุรกิจหลักในปีที่ผ่านมาตามแนวทางข้างต้นด้วย
(3.2) ค่าตอบแทนอื่น (ถ้ามี)
ให้แสดงค่าตอบแทนอื่นและอธิบายลักษณะของค่าตอบแทนนั้น เช่น โครงการให้สิทธิซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพแก่ผู้บริหาร (อธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรหลักทรัพย์ดังกล่าว และสัดส่วนการได้รับหุ้นของผู้บริหารเมื่อเทียบกับจํานวนหุ้นหรือโครงการทั้งหมด) รวมทั้งเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้ใน (3.1)”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหัวข้อที่ 5.3 นโยบายการจ่ายเงินปันผล ในหัวข้อที่ 5. โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ของแบบ 56-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
“5.3 นโยบายการจ่ายเงินปันผล
ให้ระบุนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จะจ่ายให้ผู้ถือหุ้น รวมทั้งนโยบายที่บริษัทย่อยจะจ่ายให้บริษัทด้วย”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในหัวข้อที่ 7. คําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการและผลการดําเนินงาน ของแบบ 56-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 29/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“7. คําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
ให้อธิบายเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับ ฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีผลต่อฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หากบริษัทเคยแจ้งแผนการดําเนินงานหรือประมาณการงบการเงินไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล รายงานประจําปี หรือแบบ 56-1 ให้อธิบายผลการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ หากมีแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลต่อฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานอย่างมีนัยสําคัญในอนาคตให้อธิบายด้วย นอกจากนี้ หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีโครงการในอนาคต ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยต้องอธิบายลักษณะโครงการ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ และปัจจัยที่อาจทําให้โครงการไม่สามารถดําเนินไปตามแผนได้
เป้าหมายการดําเนินธุรกิจ (goal) (ถ้ามี) ให้อธิบายเป้าหมายการดําเนินธุรกิจของบริษัทที่ผู้บริหารของบริษัทมุ่งหวังไว้ในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า (อาจเป็นข้อมูลในเชิงตัวเลขหรือไม่ก็ได้)โดยให้เปิดเผยเฉพาะกรณีที่ผู้บริหารพร้อมจะเปิดเผยเป้าหมายดังกล่าว และจะมีการอธิบายความคืบหน้าของการดําเนินงานตามเป้าหมายในการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีของปีถัดไป เช่น บริษัทมีแผนที่จะมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20 ภายใน 3 ปีข้างหน้า หรือบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตลงร้อยละ 10 ภายในปีนี้ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบทิศทางของบริษัทในอนาคต และใช้เป็นแนวทางในการติดตามผลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการของบริษัทต่อไป”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในหัวข้อที่ 8. งบการเงิน ของแบบ 56-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“8. งบการเงิน
8.1 ให้แนบงบการเงินเปรียบเทียบของบริษัทและงบการเงินรวมเปรียบเทียบ(ในกรณีที่บริษัทมีบริษัทย่อย) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วโดยไม่ตัดทอน
8.2 ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
ให้แสดงค่าตอบแทนที่ผู้สอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด และบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ได้รับจากบริษัทและบริษัทย่อย โดยให้ระบุแยกเป็น
(ก) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (audit fee)
(ข) ค่าบริการอื่น (non-audit fee)
การเปิดเผยค่าบริการอื่นให้แสดงข้อมูลของค่าบริการอื่นที่ได้จ่ายไปแล้วในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา และค่าบริการอื่นที่จะต้องจ่ายในอนาคตอันเกิดจากการตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา และประเภทของการให้บริการอื่น
ทั้งนี้ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ให้รวมถึง
(1) คู่สมรสและบุตรที่ยังต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของผู้สอบบัญชี
(2) กิจการที่มีอํานาจควบคุมสํานักงานสอบบัญชี กิจการที่ถูกควบคุมโดย
สํานักงานสอบบัญชี และกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับสํานักงานสอบบัญชี ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(3) กิจการที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญของสํานักงานสอบบัญชี
(4) หุ้นส่วนหรือเทียบเท่าของสํานักงานสอบบัญชี
(5) คู่สมรสและบุตรที่ยังต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของบุคคลตาม (4)
(6) กิจการที่ผู้สอบบัญชี บุคคลตาม (1) (4) หรือ (5) มีอํานาจควบคุมหรือมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาลักษณะของการควบคุมหรือการมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญที่จะเข้าข่ายเป็นบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีข้างต้น ให้นํานิยามตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้บังคับ”
ข้อ 12 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับกับงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและรายงานประจําปีที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,980 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 37/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 22) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 37/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 22)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 39/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ มาใช้ในประกาศนี้และแบบท้ายประกาศนี้โดยอนุโลม
1. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายตราสารหนี้
2. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก (ก)”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของวรรคสองใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 39/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) บริษัทที่มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการ
จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนดังกล่าว และไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดอีก”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนดังกล่าว ให้ใช้แบบ 56-1 หรือแบบ 56-4 ท้ายประกาศนี้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 39/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้บริษัทส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาเดียวกับที่ต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่บริษัทมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามข้อ 4 แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงก่อน โดยจะจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
1. ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
2. หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
3. หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
4. ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน 1. ของส่วนที่ 1 รายการข้อมูล ในแบบ 56-4 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“1. รายการสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ (ยกเว้นหุ้นกู้ที่ออกเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และหุ้นกู้อนุพันธ์) ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนดังกล่าว
ข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่ทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ การเปลี่ยนแปลงของฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ และรายละเอียดการวิเคราะห์อันดับความน่าเชื่อถือครั้งหลังสุดของหุ้นกู้ บริษัทที่ออกหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,981 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2548 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 10/2548
เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) 1. มีผู้บริหารที่เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
1. มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,982 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 25/2548 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 3) | ###### ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 25/2548
###### เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 56 และมาตรา 64(2)และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ให้เป็นดังนี้
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัดดังต่อไปนี้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 7 และ ข้อ 8 หรือข้อ 8/1 ให้ถือว่ากระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
(ก) ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น เว้นแต่การกําหนดราคาเสนอขายหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น จะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ข) ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร
1. ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทที่ประสงค์จะเป็นผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงร่วมกันยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมคําขอในอัตราดังต่อไปนี้ ในวันยื่นคําขอ
(ก) การเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด คําขอละ 10,000 บาท
(ข) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ก)
1. ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น คําขอละ 50,000 บาท
2. ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร คําขอละ 10,000 บาท
ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชี้แจงหรือ
ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมิได้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวไม่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป
ข้อ 6 ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขออนุญาตตามข้อ 5(2) ภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
=======================================================================================
1. ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐาน
ทีถูกต้องและครบถ้วน กรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด
1. ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน กรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1)”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
“ข้อ 6/1 การเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด
1. การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
2. การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 6 วรรคสอง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
3. การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ
4. การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายพันธบัตรที่ออกใหม่ซึ่งได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ผู้ออกใบแสดงสิทธิต้องมีลักษณะดังนี้
2. เป็นบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
3. มีวัตถุประสงค์จํากัดเฉพาะการออกใบแสดงสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศนี้
(ค) มีผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม
(ง) แสดงได้ว่ามีกลไกในการดูแลรักษาและดํารงหลักทรัพย์อ้างอิงให้มีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน โดยกลไกดังกล่าวจะต้องสามารถป้องกันมิให้มีการนําหลักทรัพย์อ้างอิงไปใช้เพื่อการอื่นได้
(2) บริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงต้องมีลักษณะดังนี้
1. มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทนั้น ไม่ว่าหลักทรัพย์อ้างอิงที่ผู้ออกใบแสดงสิทธิใช้รองรับใบแสดงสิทธิจะเป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือหลักทรัพย์ที่จําหน่ายได้แล้วของบริษัทจดทะเบียน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัด ในลักษณะจํากัด หรือในกรณีที่ได้รับยกเว้น
3. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะอื่นนอกจาก 1. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือในลักษณะทั่วไป
4. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนได้รับข้อมูลว่าบริษัทจดทะเบียนจะนําหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติไปใช้เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิ ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนตกลงผูกพันที่จะรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองใบแสดงสิทธิที่ขออนุญาต โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 59 โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่ง (ข) มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด
(3) ใบแสดงสิทธิที่จะเสนอขายต้องมีลักษณะดังนี้
(ก) อ้างอิงหลักทรัพย์อ้างอิงเพียงหนึ่งประเภทที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนเพียงหนึ่งแห่ง และอัตราการอ้างอิงของหนึ่งหน่วยใบแสดงสิทธิต้องเท่ากับหนึ่งหลักทรัพย์อ้างอิง ทั้งนี้ หลักทรัพย์อ้างอิงต้องเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
1. หุ้น
2. พันธบัตร หรือหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์
3. ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ข) มีอายุที่แน่นอน หากเป็นการอ้างอิงหลักทรัพย์ที่มีกําหนดอายุ และในกรณีเช่นว่านี้ อายุของใบแสดงสิทธิต้องครบกําหนดก่อนอายุของหลักทรัพย์อ้างอิง ทั้งนี้ การกําหนดอายุของใบแสดงสิทธิต้องคํานึงถึงการมีระยะเวลาที่เพียงพอให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิที่ได้รับหลักทรัพย์อ้างอิงที่มีกําหนดอายุนั้นสามารถใช้สิทธิหรือได้รับประโยชน์ตามหลักทรัพย์ดังกล่าวได้
1. กําหนดให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะเดียวกับที่ผู้ถือหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับจากบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการจัดการของผู้ออกใบแสดงสิทธิแล้ว (เฉพาะกรณีที่ข้อกําหนดสิทธิยินยอมให้กระทําได้)
2. มีข้อจํากัดการโอนใบแสดงสิทธิซึ่งได้จดไว้กับสํานักงาน ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด เพื่อให้การโอนใบแสดงสิทธิในทอดต่อ ๆ ไป ยังคงลักษณะเป็นไปตามข้อ 6/1
3. มีข้อกําหนดสิทธิประกอบใบแสดงสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 8 หรือข้อ 8/1 แล้วแต่กรณี”
### ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
“ข้อ 8/1 ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ข้อกําหนดสิทธิของใบแสดงสิทธิต้องมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8(1) (5) (6) (7) (8) (9) และ (11)”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 เว้นแต่กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ เสมือนการเสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกใหม่ โดยอนุโลม”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
“(12) ข้อจํากัดการโอนแสดงว่าผู้ออกใบแสดงสิทธิจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนที่จดไว้กับสํานักงาน”
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
##### ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
“ข้อ 13/1 ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายใบแสดงสิทธิต่อบุคคลเป็นการทั่วไป และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับใบแสดงสิทธิที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายไปให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น เพื่อให้การเสนอขายหุ้นดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 6/1 เท่านั้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในกรณีที่มีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดไว้กับสํานักงาน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนใบแสดงสิทธิ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนใบแสดงสิทธิ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนใบแสดงสิทธิปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 ในหมวด 2 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ข้อ 15/1 ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัดได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิรายงานผลการขายและการไถ่ถอนใบแสดงสิทธิต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ให้รายงานต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหรือวันสุดท้ายของการไถ่ถอนแต่ละครั้ง โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
2. วันที่เสนอขายหรือวันที่ไถ่ถอนใบแสดงสิทธิ
3. ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของใบแสดงสิทธิ(ถ้ามี)
4. จํานวนใบแสดงสิทธิที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบแสดงสิทธิที่ขายได้ทั้งหมด หรือจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่มีการไถ่ถอน
5. ราคาของใบแสดงสิทธิที่เสนอขายหรือที่มีการไถ่ถอน ในกรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณ แหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย
6. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อใบแสดงสิทธิหรือผู้ถือใบแสดงสิทธิที่ได้รับการไถ่ถอน และในกรณีเป็นการรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิ ให้ระบุจํานวนที่ผู้ซื้อใบแสดงสิทธิแต่ละรายได้รับจัดสรรด้วย
7. ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขายหรือผลการไถ่ถอน
8. กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้รายงานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยให้รายงานเสมือนการรายงานผลการขายหลักทรัพย์อ้างอิง พร้อมทั้ง
แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบแสดงสิทธิที่เสนอขายหรือไถ่ถอนนั้นด้วย”
ข้อ 10 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,983 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 36/2549 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 36/2549
เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2548 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในกรณีจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2548 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายพันธบัตรที่ออกใหม่ซึ่งได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,984 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 33/2544
เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา
ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 41(3) มาตรา 46 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/ 2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537
ข้อ ๓ ในประกาศนี้ และในแบบคําขอท้ายประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” และ “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๔ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายไทยในประเภทหนึ่งประเภทใดดังต่อไปนี้
1. ธนาคารพาณิชย์
2. บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
3. สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ
4. บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มิใช่การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(1) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องแยกส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ออกจากส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือส่วนงานอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการกระทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตลอดจนมีโครงสร้างการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้
(2) มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารในสายงานที่รับผิดชอบงานด้านผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(ข) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(ค) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(ฉ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(ฉ) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (ง) หรือ (จ)
(ช) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(ซ) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(ฌ) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น
(ญ) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บริษัทและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามตาม (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) ให้พิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอต่อสํานักงาน
ข้อ ๕ ให้บุคคลที่ประสงค์จะให้บริการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบท้ายประกาศนี้ เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนของคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการตรวจสอบดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๖ สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 4 ให้สํานักงานประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพบว่ามีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 4(3) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) หากข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติมิใช่เรื่องร้ายแรงหรือผู้ยื่นคําขอได้ดําเนินการแก้ไขแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอของบุคคลรายนั้นในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลา
การรับพิจารณาคําขอ ระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง หรือวันพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุด หรือวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับมีคําสั่งเปรียบเทียบ หรือวันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 4(3) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งให้สํานักงานทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงการขาดคุณสมบัติดังกล่าว
เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนก็ได้
ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในลักษณะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือบุคคลดังกล่าวไม่มีการแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติหรือไม่สามารถแก้ไขเหตุดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ของประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้บุคคลดังกล่าวชี้แจง หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) สั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขการกระทํา หรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ
(3) สั่งพักหรือเพิกถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ โดยอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (3) ไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ที่ได้ออกไปแล้วก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่ง ทั้งนี้ เท่าที่จําเป็นจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลรายใหม่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ครั้งนั้น
หมวด ๒ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ส่วน ๑ การไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง
ข้อ ๙ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน บุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในแต่ละครั้งได้ก็ต่อเมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะใดดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ในมูลหนี้เดียวกับที่จะทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหุ้นกู้โดยมีสิทธิออกเสียงเกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้ออกหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับเป็นหุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วน
(ข) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่ผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดรวมกันเกินร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น
(ค) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
(ง) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) หรือบริษัทตาม (ค) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
(จ) บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) มีผู้ออกหุ้นกู้เป็นผู้ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตาม (2)(ก) ถึง (จ) ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหุ้นที่ถือโดยผู้ออกหุ้นกู้ด้วยโดยอนุโลม
(4) มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และในผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการถือหุ้นของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(5) มีผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับผู้บริหารของผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่ผู้บริหารนั้นเป็นกรรมการที่ไม่มีอํานาจในการจัดการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งมีจํานวนไม่เกินหนึ่งคน และเฉพาะกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้มีกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่าเก้าคน
(6) มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในผู้ออกหุ้นกู้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอื่นที่อาจเป็นเหตุให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ขาดความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาผ่อนผันให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 9 เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนั้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามหมวด 3แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(2) ผู้ยื่นคําขอสามารถแสดงได้ว่ามีหรือจะมีการเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบ และผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ยินยอมให้แต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และ
(3) ผู้ยื่นคําขอสามารถแสดงได้ว่าความเกี่ยวข้องหรือการมีส่วนได้เสียของบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ จะไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าว
ในการผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันได้ และในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นอันสิ้นสุดลง
ส่วน ๒ การกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๑๑ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องกระทําด้วยความระมัดระวังและดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้เยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทําในกิจการเช่นว่านั้น
ข้อ ๑๒ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในกิจการซึ่งต้องลงลายมือชื่อของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ระบุไว้ด้วยว่าเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวง
ข้อ ๑๓ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดูแลมิให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามหุ้นกู้อันจะทําให้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นลดน้อยถอยลงในลักษณะที่ทําให้สัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลหนี้ตามหุ้นกู้ต่ําลงกว่าที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่อาจทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เสียประโยชน์ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อกําหนดสิทธิ ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการใช้สอยทรัพย์สินตามปกติ
ข้อ ๑๔ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องไม่ให้ความเห็นชอบในการนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันออกหาผลประโยชน์ หากการหาผลประโยชน์นั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือจะเป็นผลให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นมีมูลค่าไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิในลักษณะอื่นนอกจากการผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้(ถ้ามี) และเกิดความเสียหายขึ้น ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นได้ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ย หรือผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอน (ถ้ามี) ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติในการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิและสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๑๗ ในการแจ้งกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ โดยระบุถึงการดําเนินการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามอํานาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ตลอดจนผลการดําเนินการนั้นด้วย
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รู้หรือควรรู้ถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ หรือนับแต่วันที่ได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ปรากฏผลการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๘ ในการดําเนินการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติของผู้ถือหุ้นกู้ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือถึงการจัดให้มีการประชุมดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวันก่อนวันประชุม
ข้อ ๑๙ ในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวล่วงหน้าไปพลางก่อน
ก่อนดําเนินการแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปเพื่อการดังกล่าวออกจากทรัพย์สินนั้นได้
ข้อ ๒๐ ภายใต้บังคับข้อ 19 เมื่อดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้แล้ว ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รวบรวมและแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ตามสัดส่วนที่ผู้ถือหุ้นกู้แต่ละคนพึงได้รับให้ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดทําบัญชีแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรวบรวมทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และการแจกจ่ายทรัพย์สินไว้ทุกขั้นตอน
ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทําการดังต่อไปนี้
(1) เข้าทําสัญญารับหลักประกันที่มีข้อความแห่งสัญญาที่เป็นผลให้ไม่อาจดําเนินการบังคับหลักประกันได้
(2) ยอมให้มีการปลดหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(3) นําทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้ซึ่งอยู่ในการครอบครองของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไปแสวงหาประโยชน์หรือยอมให้บุคคลใดนําไปแสวงหาประโยชน์ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิ
กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(4) เข้าซื้อไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้นั้นหรือทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นกู้ที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเพื่อการชําระหนี้ตามหุ้นกู้
(5) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อตนเองจากบุคคลใด ๆ ที่เข้าซื้อหลักประกันหรือทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ในกรณีที่มีการบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้
(6) รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(7) ประนีประนอมยอมความในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่การประนีประนอมยอมความนั้นไม่ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้ได้รับชําระหนี้และค่าเสียหายน้อยลงกว่าที่ควรจะได้รับตามสิทธิ หรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ให้ประนีประนอมยอมความได้
(8) หักเงินที่ต้องแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งได้มาจากการเรียกร้องค่าเสียหายบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ เพื่อชําระหนี้อื่นที่ผู้ถือหุ้นกู้มีอยู่กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(9) กระทําการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอาจเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นกู้ไม่ได้รับชําระหนี้ตามหุ้นกู้อย่างครบถ้วน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,985 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 17/2549 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 17/2549
เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา
ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 46 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” และ “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“(2/1) “การเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะจํากัด” หมายความว่า
1. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 3 หมวด 3 ประกอบหมวด 4 หรือหมวด 3 ประกอบหมวด 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
2. การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวด 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
3. การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ตามหมวด 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ที่ออกใหม่”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 9 ได้รับการผ่อนผัน ให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนั้นได้ หากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะจํากัด หรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบในเอกสารประกอบการเสนอขายที่แจกจ่ายให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้การผ่อนผันที่ได้รับสิ้นสุดลง และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ดังกล่าวได้เฉพาะเท่าที่จําเป็นระหว่างที่ผู้ออกหุ้นกู้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว
การผ่อนผันตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รายใหม่อันเป็นผลจากการที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้นกู้”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,986 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 35/2549 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 35/2549
เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา
ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 46 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2549 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” และ “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ใน ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2549 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2/1) “การเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีจํากัด” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 3 หมวด3 ประกอบหมวด 4 หมวด 3 ประกอบหมวด 5 หรือหมวด 3 ประกอบหมวด 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2549 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 9 ได้รับการผ่อนผันให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนั้นได้ หากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีจํากัด หรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบในเอกสารประกอบการเสนอขายที่แจกจ่ายให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,987 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 51/2547 เรื่อง กำหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 51/2547
เรื่อง กําหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ
ลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 60 มาตรา 61 และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สินค้า” หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ หรือทรัพย์สินอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่ไม่รวมถึงเงินตราสกุลใด ๆ
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า
(1) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ
(2) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด
“บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า
(1) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การบริหารจัดการธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ
(2) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคลที่ทําหน้าที่ในการรับฝากทรัพย์สินหรือดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ กรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาอย่างน้อยสองในห้าของจํานวนกรรมการต้องเป็นบุคคลซึ่งสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในจํานวนนี้ อย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ลงทุนหรือสามารถรักษาประโยชน์ของผู้ลงทุน และอย่างน้อยสองคนต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายหรือจะซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญา หรือเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว
ข้อ ๓ กรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักหักบัญชีสัญญาต้องไม่มีประวัติเสียหายหรือการดําเนินกิจการใดที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(2) เป็นบุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(4) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
(5) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประเมินหลักของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือผู้สอบบัญชี
(6) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ถอนรายชื่อจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม
(7) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดซึ่งเทียบได้กับการเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประเมินหลักของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือผู้สอบบัญชีตามกฎหมายไทย
(8) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน โดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,988 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 29/2549 เรื่อง กำหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 29/2549
เรื่อง กําหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ
ลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 61 และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 51/2547 เรื่อง กําหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,989 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 51/2547 เรื่อง กำหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 51/2547
เรื่อง กําหนดอัตราส่วนของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และลักษณะต้องห้ามของกรรมการศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับประมวล)
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 60 มาตรา 61 และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"สินค้า" หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ หรือทรัพย์สินอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่ไม่รวมถึงเงินตราสกุลใด ๆ
"ศูนย์ซื้อขายสัญญา" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
"สํานักหักบัญชีสัญญา" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
"บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" หมายความว่า
(1) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายถ่วงหน้าหรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ
(2) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด
"บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์" หมายความว่า
(1) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การบริหารจัดการธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเคียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ
(2) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคลที่ทําหน้าที่ในการรับฝากทรัพย์สินหรือดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
"ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"สํานักงาน ก.ล.ต." หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ กรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาอย่างน้อยสองในห้าของจํานวนกรรมการต้องเป็นบุคคลซึ่งสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในจํานวนนี้ อย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ลงทุนหรือสามารถรักษาประโยชน์ของผู้ลงทุน และอย่างน้อยสองคนต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายหรือจะซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญา หรือเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว
ข้อ ๓ กรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักหักบัญชีสัญญาต้องไม่มีประวัติเสียหายหรือการดําเนินกิจการ ใดที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(2) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(4) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
(5) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประเมินหลักของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือผู้สอบบัญชี
(6) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ถอนรายชื่อจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม
(7) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดซึ่งเทียบได้กับการเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประเมินหลักของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือผู้สอบบัญชีตามกฎหมายไทย
(8) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินโดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นตันไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,990 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 59 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 59 /2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการ
การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้มีการขายหรือจะมีการขาย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,991 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 43/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 16 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 2/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์
“คู่ค้า” หมายความว่า บุคคลที่ซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์
“ลูกค้า” หมายความว่า คู่ค้าที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ
“ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า ลูกค้าดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลตาม (8)
(7) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(8) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนรวม
(13) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(14) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (13) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(15) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (14) โดยอนุโลม
“ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าสถาบัน
“ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนและบริษัทหลักทรัพย์ได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจ
“เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้า” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ การควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยงและระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพ และกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ (Chinese wall) โดยอย่างน้อยต้องกําหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสทราบข้อมูลภายในเกี่ยวกับบริษัทที่ ออกหลักทรัพย์กับหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในดังกล่าว
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องควบคุมมิให้บุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทติดต่อซื้อขาย ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า และต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้ากับหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ออกจากกัน
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์ (front office) กับหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติงานหลังการซื้อขาย (back office) ออกจากกัน และต้องกําหนดให้บุคลากรที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์รายงานผลการค้าหลักทรัพย์แก่หน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลังการซื้อขายภายในระยะเวลาอันควร เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับทราบและสามารถรายงานผลการค้าหลักทรัพย์ได้ตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้หน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลังการซื้อขายสามารถยืนยันการซื้อหรือขายหลักทรัพย์กับคู่ค้าได้โดยเร็ว
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานการซื้อขายหลักทรัพย์และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย
หมวด ๒ การซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้คู่ค้าทราบว่าราคาเสนอซื้อขายเป็นราคาที่แน่นอน (firm quotation) หรือเป็นราคาที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ (indicative quotation)
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เสนอราคาซื้อขายเป็นราคาที่แน่นอน บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รับซื้อหรือขายตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าว โดยต้องทําความเข้าใจกับคู่ค้าให้ชัดเจนเกี่ยวกับกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผล
(2) กรณีที่ราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข บริษัทหลักทรัพย์ต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ คู่ค้าทราบอย่างชัดเจน และบริษัทหลักทรัพย์จะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่คู่ค้าได้อย่างชัดเจนด้วย
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ทําให้คู่ค้าเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการซื้อขาย ด้วยการละเว้นการเปิดเผยข้อมูล บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่คู่ค้า
ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอกหรือเปิดเผยข้อมูลภายในนั้นให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์
ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์กับคู่ค้าเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาอันควรหลังจากที่ได้ตกลงซื้อขายหลักทรัพย์กับคู่ค้า
ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แก่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็น ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
หมวด ๓ การติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
และข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้า
ข้อ ๑๖ ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการ ลงทุนในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) พันธบัตรรัฐบาล
(3) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) พันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ข้อ ๑๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ไม่เบียดบังหรือแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ เพื่อตนเอง เพื่อบริษัทหลักทรัพย์หรือเพื่อบุคคลอื่น โดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน
(3) รักษาความลับของลูกค้า และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อํานาจกระทําได้
(4) ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม
(5) ทําความรู้จักลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีเอกสารที่แสดงถึงความมีตัวตนของลูกค้าหรือผู้ที่มีอํานาจในการตัดสินใจซื้อขายในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคล เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมายและเป็นหลักฐานในกรณีที่มีการกระทําผิดทางกฎหมาย
(6) ไม่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่จะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงส่วนได้เสียดังกล่าว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องดําเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
(7) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อนทุกครั้งว่าบริษัทหลักทรัพย์ทํารายการซื้อขายกับลูกค้าในฐานะที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่เป็นลูกค้ารายย่อย นอกจากบริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 17 แล้ว บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ด้วย
(1) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์
(2) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการให้คําแนะนําต่อไปนี้ด้วย
(ก)รวบรวมข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การลงทุน สถานภาพทางการเงิน และความต้องการของลูกค้า รวมทั้งทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาให้คําแนะนําที่เหมาะสม
(ข) ระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนําโดยอาศัยหลักวิชา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ และสภาพตลาดของหลักทรัพย์นั้น รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่รวบรวมไว้
(ค) ไม่ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า
ข้อ ๑๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้า ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนําหรือวันที่เจรจาตกลง ทั้งนี้ หากกรณีที่ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการเจรจาตกลงและการดําเนินการ กับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนําหรือเจรจาตกลงได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําหรือเจรจาตกลงดังกล่าวไว้โดยเทปบันทึกเสียงหรือ สิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการค้าหลักทรัพย์ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,992 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 7/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 7/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“(8) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องไม่ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการให้คําแนะนําต่อไปนี้ด้วย
(ก) รวบรวมข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การลงทุน สถานภาพทางการเงิน และความต้องการของลูกค้า รวมทั้งทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาให้คําแนะนําที่เหมาะสม
(ข) ระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนําโดยอาศัยหลักวิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ และสภาพตลาดของหลักทรัพย์นั้น รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่รวบรวมไว้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,993 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 29/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 29/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 3)
ตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กําหนดวันมีผลใช้บังคับของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 นั้น
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในการค้าตราสารหนี้โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศซึ่งมีบทบาทในการขยายฐานการลงทุนในตราสารหนี้ไปสู่ผู้ลงทุนรายย่อยมีระยะเวลาเพิ่มขึ้นอีกระยะหนึ่งเพื่อที่จะนําเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารหนี้ที่มีจํานวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศมาขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ซึ่งต้องผ่านการทดสอบจากสถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ก่อน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เลื่อนวันใช้บังคับของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,994 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 37/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 37/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า กับหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ออกจากกัน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ เว้นแต่กรณีการให้บริการแก่ลูกค้าสถาบันบริษัทหลักทรัพย์อาจจัดให้บุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่ดังกล่าวได้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ในการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ไม่เบียดบังหรือแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ เพื่อตนเอง เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ หรือเพื่อบุคคลอื่น โดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน
(3) รักษาความลับของลูกค้า และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อํานาจกระทําได้
(4) ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม
(5) ทําความรู้จักลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีเอกสารที่แสดงถึงความมีตัวตนของลูกค้าหรือผู้ที่มีอํานาจในการตัดสินใจซื้อขายในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคล
(6)ไม่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่จะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงส่วนได้เสียดังกล่าว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องดําเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
(7) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อนทุกครั้งว่า
บริษัทหลักทรัพย์ทํารายการซื้อขายกับลูกค้าในฐานะที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์
(8) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์
(9) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการให้คําแนะนําต่อไปนี้ด้วย
(ก) รวบรวมข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การลงทุน สถานภาพทางการเงินและความต้องการของลูกค้า รวมทั้งทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาให้คําแนะนําที่เหมาะสม
(ข) ระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนําโดยอาศัยหลักวิชา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ และสภาพตลาดของหลักทรัพย์นั้นรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่รวบรวมไว้
(ค) ไม่ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า
ข้อ 18 ในการให้บริการแก่ลูกค้าสถาบัน บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 (3) และ (5)”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 19/1 ในกรณีที่การซื้อขายหลักทรัพย์เกิดจากความประสงค์ของลูกค้าเองโดยเจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าไม่ได้ให้คําแนะนําแก่ลูกค้า เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องจัดทําหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าไม่ได้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า”
ข้อ 5 การจัดให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าซึ่งต้องขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามที่กําหนดในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 สําหรับการให้บริการ ณ สํานักงานใหญ่หรือสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 สําหรับการให้บริการ ณ สํานักงานใหญ่หรือสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,995 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) | ฟประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 42/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้า” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ “เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้า” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง”
ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน” “คําแนะนําทั่วไป” และ “คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” ระหว่างบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้า” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
““คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน” หมายความว่า คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ
“คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนที่ให้แก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น
“คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4 ) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ โดยเจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าระดับหนึ่งสามารถให้คําแนะนําทั่วไปและคําแนะนําเฉพาะเจาะจงได้ และเจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าระดับสองสามารถติดต่อลูกค้าได้ โดยต้องไม่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการให้บริการแก่ลูกค้าสถาบันซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้บุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่ดังกล่าว
ข้อ 17 ในการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ไม่เบียดบังหรือแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ เพื่อตนเอง เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ หรือเพื่อบุคคลอื่น โดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน
(3) รักษาความลับของลูกค้า และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อํานาจกระทําได้
(4) ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม
(5) ทําความรู้จักลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีเอกสารที่แสดงถึงความมีตัวตนของลูกค้าหรือผู้ที่มีอํานาจในการตัดสินใจซื้อขายในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคล
(6) ไม่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่จะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงส่วนได้เสียดังกล่าว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องดําเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
(7) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อนทุกครั้งว่า
บริษัทหลักทรัพย์ทํารายการซื้อขายกับลูกค้าในฐานะที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์
(8) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์
(9) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นคําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจง เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนําโดยอาศัยหลักวิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์และสภาพตลาดของหลักทรัพย์นั้น และต้องไม่ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า
(10) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ลูกค้า เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการให้คําแนะนําต่อไปนี้ด้วย
(ก) รวบรวมข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงินและความต้องการของลูกค้า รวมทั้งทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาให้คําแนะนําที่เหมาะสม
(ข) ระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนําโดยคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงินและความต้องการของลูกค้า”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19/1 ในการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวลูกค้าได้รับคําแนะนําทั่วไป คําแนะนําเฉพาะเจาะจง หรือไม่ได้รับคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ข้อ 6 การจัดให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าซึ่งต้องขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามที่กําหนดในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายนพ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับสําหรับประเภทตราสารหนี้และตามระยะเวลา
ดังต่อไปนี้
(1) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 สําหรับตราสารหนี้ทุกประเภทที่ให้บริการใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เว้นแต่เป็นการให้บริการในตราสารหนี้ตามประเภทที่ระบุใน (2)
(2) ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 สําหรับตราสารหนี้ประเภทตั๋วเงินคลัง พันธบัตร รัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในหรือนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสําหรับตราสารหนี้อื่นที่ให้บริการนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 4 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,996 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 42/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ เว้นแต่จะมีข้อความกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตค้าหลักทรัพย์ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้
“ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ที่ทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลตาม (8)
(7) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(8) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนรวม
(13) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(14) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (13) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(15) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (14) โดยอนุโลม
“ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าสถาบัน
“ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนและบริษัทหลักทรัพย์ได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
“เจ้าหน้าที่การตลาด” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ข้อกําหนดในประกาศนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ให้ใช้เฉพาะกับการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หมวด ๑ การควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
(1) ระบบการควบคุมภายในและระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ
(2) ระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ โดยความเสี่ยงที่นํามาประเมินเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงต้องครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ
(3) มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ (Chinese wall) โดยอย่างน้อยต้องกําหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสทราบข้อมูลภายในเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์กับหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในดังกล่าว
(4) ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนของผู้บริหารและหน่วยงาน ต่าง ๆ
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance unit) และหน่วยงานควบคุมภายใน (internal audit) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ โดย หน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระในการดําเนินงานและมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่น
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือมีลักษณะการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ออกจากกัน โดยอย่างน้อยต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ แก่ลูกค้า ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ให้บริการด้านหลักทรัพย์ (front office) กับหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ (back office) ออกจากกัน และต้องจัดให้มีระบบการสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องไม่มอบหมายให้บุคลากรคนหนึ่งคนใดรับผิดชอบการปฏิบัติงานตลอดกระบวนการในลักษณะที่อาจเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกัน มิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ได้
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย
หมวด ๒ การปฏิบัติงาน
ส่วน ๑ การติดต่อ ชักชวน หรือการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
และการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๐ ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้เจ้าหน้าที่การตลาดซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่ สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่การตลาดปฏิบัติงานตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ไม่เบียดบังหรือแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ เพื่อตนเอง เพื่อบริษัทหลักทรัพย์หรือเพื่อบุคคลอื่น โดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน
(3) รักษาความลับของลูกค้าและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อํานาจกระทําได้
(4) ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม
(5) ไม่รับมอบอํานาจจากลูกค้าให้ดําเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์นอกเหนือจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์
(6) ในการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้ารายใด เจ้าหน้าที่การตลาดต้องปฏิบัติตามคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าเท่านั้น
(7) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จะทําการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้าในฐานะที่ตนเป็นคู่สัญญา เจ้าหน้าที่การตลาดต้องแจ้งถึงฐานะดังกล่าวให้ลูกค้าทราบด้วย
(8) ไม่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่จะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงส่วนได้เสียดังกล่าว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่การตลาดต้องดําเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นลูกค้ารายย่อย นอกจากบริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่การตลาดปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 11 แล้ว บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้เจ้าหน้าที่การตลาดปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ด้วย
(1) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์
(2) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เจ้าหน้าที่การตลาดต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการให้คําแนะนําต่อไปนี้ด้วย
(ก) ระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนําโดยอาศัยหลักวิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ รวมทั้งคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ฐานะการเงิน และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า
(ข) ไม่ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า
(ค) ไม่ให้คําแนะนําแก่ลูกค้าในลักษณะที่เป็นการยุยงหรือสนับสนุนให้ลูกค้า ทําการซื้อขายบ่อยครั้ง (churning)
ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขาย หลักทรัพย์และการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้า ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา วันที่ได้รับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือวันที่เจรจาตกลง ทั้งนี้ หากกรณีที่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลงและการ ดําเนินการกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลงได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่ง ซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลงโดยเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก หรือเปิดเผยข้อมูลภายในนั้นให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์
ส่วน ๒ การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๑๕ ในส่วนนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๑๖ ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าที่แต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี ในการนี้บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลและเอกสารหลักฐานของลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ฐานะการเงิน และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของลูกค้าแต่ละรายด้วย
ข้อ ๑๗ สัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ทํากับลูกค้ารายย่อยที่มอบหมายให้ตนทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องมีข้อความที่แสดงด้วยตัวอักษรที่มีขนาดเด่นกว่าข้อความอื่นหรือกํากับเครื่องหมายหรือกระทําด้วยประการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการเน้นข้อความดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าทราบถึง
(1) ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกัน อันอาจมีผลให้ลูกค้าขาดทุนหรือต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมตามจํานวนที่กําหนด
(2) การที่ลูกค้าอาจถูกบริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการในเรื่องต่อไปนี้ หากลูกค้าไม่ชําระราคา ไม่ส่งมอบหลักทรัพย์ หรือไม่วางหลักประกันภายในระยะเวลาที่กําหนด
(ก) การบังคับหลักประกัน
(ข) การบังคับขายหลักทรัพย์ (forced sale) การบังคับซื้อคืนหลักทรัพย์ (buy in)
(ค) การระงับการชําระเงินที่ลูกค้ามีสิทธิได้รับจากบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อนํามาชําระหนี้ที่ลูกค้าค้างชําระ
(ง) การบอกเลิกสัญญา
สัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ทํากับลูกค้ารายย่อยตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อความตอนใด ที่ทําให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทหลักทรัพย์หรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๑๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามคําสั่งของลูกค้าที่เป็น เจ้าของบัญชีหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชีเท่านั้น และต้องไม่ซื้อขาย หลักทรัพย์โดยใช้บัญชีของลูกค้ารายหนึ่งเพื่อลูกค้ารายอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี
ข้อ ๑๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบสถานะบัญชีของลูกค้าก่อนทําการซื้อขาย หลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า
ข้อ ๒๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าให้เป็นไปตามลําดับก่อนหลัง เว้นแต่คําสั่งของลูกค้าจะกําหนดเงื่อนไขในการซื้อขายไว้ชัดเจนเป็นอย่างอื่น
บริษัทหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์ โดยต้องซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อลูกค้าก่อนตนเอง เว้นแต่คําสั่งของลูกค้าจะกําหนดเงื่อนไขในการซื้อขายไว้ชัดเจนเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไขรายการซื้อขาย หลักทรัพย์ของลูกค้าให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องควบคุมดูแลมิให้มีการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนด
ข้อ ๒๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบตรวจสอบที่เชื่อถือได้ว่าบุคคลที่ส่งคําสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการกับทรัพย์สินในบัญชีของลูกค้าเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากเจ้าของบัญชีที่แท้จริง เช่น มีระบบตรวจสอบลายมือชื่อก่อนที่จะดําเนินการกับทรัพย์สินในบัญชีของลูกค้าตามคําสั่งที่ได้รับ
ส่วน ๓ การพิจารณาข้อร้องเรียนและข้อปฏิบัติของพนักงาน
ข้อ ๒๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา ข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวจะต้องมีขั้นตอนการพิจารณาที่รวดเร็วและเป็นธรรม
ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อร้องเรียนของลูกค้าและผลการพิจารณาของบริษัท หลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๔ บริษัทหลักทรัพย์เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องกําหนดหลักเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องกําหนดให้พนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ที่ตนสังกัด และในกรณีที่คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของพนักงานมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์อื่น ให้พนักงานแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบถึงการมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์รวมทั้ง ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด
ข้อ ๒๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ สํานักงานอาจสั่งให้ บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,997 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 6/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 6/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“(9) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งเจ้าหน้าที่การตลาดต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการให้คําแนะนําต่อไปนี้ด้วย
(ก) ไม่ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า
(ข) ไม่ให้คําแนะนําแก่ลูกค้าในลักษณะที่เป็นการยุยงหรือสนับสนุนให้ลูกค้าทําการซื้อขายบ่อยครั้ง (churning)”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งเจ้าหน้าที่การตลาดต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังและเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนํา โดยอาศัยหลักวิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ รวมทั้งคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ฐานะการเงิน และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้าด้วย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าที่แต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี ในการนี้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีการพิจารณาความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้าก่อนการเปิดบัญชี และสําหรับกรณีลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานของลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ฐานะการเงิน และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้ารายย่อยนั้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีด้วย”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานเพื่อป้องกันมิให้พนักงานนําข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ และเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน ทั้งนี้ ระเบียบปฏิบัติดังกล่าวจะต้องกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ในกรณีที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ระเบียบปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดให้พนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่ตนสังกัดด้วย เว้นแต่จะแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์มีวิธีการอื่นในการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และในกรณีที่เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์อื่นตามข้อ 24/1 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้พนักงานของตนยอมรับการปฏิบัติตามที่กําหนดในข้อ 24/1 ดังกล่าวด้วย
ในกรณีที่คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของพนักงานมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์อื่น ระเบียบปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้พนักงานแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบถึงการมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์รวมทั้งข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด”
- 3 -
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 24/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่บริษัทหลักทรัพย์ว่าลูกค้าของตน หรือบุคคลที่ขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับตน หรือบุคคลที่มีอํานาจสั่งการในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้าของตน เป็นพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์อื่น ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการที่ลูกค้ามีบัญชี การรับเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการมีอํานาจสั่งการในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์กับตน ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์จะให้บริการแก่ลูกค้าในบัญชีนั้นต่อไป
(2) จัดส่งสําเนารายงานการซื้อขายหลักทรัพย์รายเดือนซึ่งแสดงรายการซื้อขายแต่ละรายการ ให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป รวมทั้งจัดส่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานและอยู่ในความครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์ตามที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นร้องขอภายในเวลาอันสมควรด้วย
(3) แจ้งให้ลูกค้าและบุคคลที่มีอํานาจสั่งการในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้าทราบว่า บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งและจัดส่งข้อมูลและเอกสารตาม (1) และ (2) ให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นด้วย
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “บริษัทหลักทรัพย์อื่น” ให้หมายความว่า บริษัท ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ และการจัดการกองทุนรวม”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,998 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 36/2544
เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 69 มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2540 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติม หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้
บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2543 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2538 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2538 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “ตลาดหลักทรัพย์” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น และหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(3) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(4) “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย
(5) “พนักงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย เนื่องจากการจ้างแรงงาน โดยได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือสิ่งของอื่นใดเป็นการตอบแทนการทํางาน
(6) “ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยมีข้อผูกพันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายที่จะนําหลักทรัพย์นั้นไปเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานอีกทอดหนึ่ง
(7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดดังต่อไปนี้ เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยตรง หรือเสนอขายผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อบุคคลใดเพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด
(1) บริษัทจดทะเบียน
(2) บริษัทมหาชนจํากัดที่หุ้นของบริษัทได้เคยเสนอขายต่อประชาชนโดยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และยังคงมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายต่อประชาชนในครั้งนั้นจะกระทําโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดก็ตาม
(3) บริษัทมหาชนจํากัดที่เป็นบริษัทย่อยของบริษัทตาม (1) หรือ (2)
ข้อ ๕ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามข้อ 4 ไม่รวมถึงการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เหลือจากการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาตตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (right issue) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติไว้อย่างชัดแจ้งในคราวที่มีมติให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ว่า ให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เหลือนั้นต่อกรรมการหรือพนักงานได้
(2) ในกรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (1) ต่อกรรมการ ต้องมีการระบุหลักเกณฑ์การจัดสรรหลักทรัพย์ในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่กรรมการ หรือจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่อาจจัดสรรให้กรรมการแต่ละรายไว้ในมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างชัดเจน
(3) หลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานตาม (1) ต้องมีราคาเสนอขายรวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ ที่ไม่ดีไปกว่าการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นในคราวนั้น
ข้อ ๖ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานที่สํานักงานประกาศกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตในอัตราคําขอละ 50,000 บาท ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต
ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง ส่งต้นฉบับหรือสําเนาเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมิได้ดําเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป
ข้อ ๘ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๙ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ถึงส่วนที่ 3 ของหมวด 2 และเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามความในส่วนที่ 4 ของหมวด 2 และหมวด 3 ด้วย
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นด้วย
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้แปลงสภาพที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลที่ผู้ขออนุญาตจะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี เสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ต่อกรรมการหรือพนักงาน ภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นที่ไม่มีโครงการต่อเนื่อง หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
(2) การเสนอขายหุ้นตามโครงการต่อเนื่อง ให้เสนอขายครั้งแรกภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน และให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในอายุโครงการซึ่งต้องไม่เกินห้าปี
(3) การเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จตามอายุของหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
ข้อ ๑๑ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามประกาศนี้ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาตมีมติอนุมัติการออกหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน โดยหนังสือนัดประชุม การประชุมและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2
(2) จํานวนหุ้นที่จะเสนอขายและหุ้นที่จะจัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ณ วันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน หรือ
(ข) เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ณ วันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน แต่ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าราคาหุ้นที่เสนอขาย หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ไม่มีส่วนลดจากราคาตลาดของหุ้นของผู้ขออนุญาตในวันก่อนวันที่เสนอขายหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี
(ค) กรณีอื่นนอกจาก (ก) และ (ข) ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 เพิ่มเติมด้วย
ในกรณีเป็นการขออนุญาตโดยราคาหุ้นที่เสนอขาย หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพไม่มีส่วนลดจากราคาตลาด ผู้ขออนุญาตต้องแสดงที่มาและแสดงได้ว่าราคาที่นํามาอ้างอิงเป็นราคาตลาดเป็นราคาที่เหมาะสม
(3) การจัดสรรจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานรายที่จะได้รับหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละห้าขึ้นไปของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ขออนุญาต ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยสามคน และต้องไม่มีกรรมการที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละห้าขึ้นไปดังกล่าวเป็นกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน
(4) หลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการต้องมีราคาเสนอขาย รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ ที่ไม่ดีไปกว่าหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อพนักงาน
(5) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายตามโครงการต่อเนื่อง หลักทรัพย์ในโครงการต้องเป็นหุ้นเท่านั้น และโครงการดังกล่าวต้องมีอายุไม่เกินห้าปี
ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ อายุของหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นต้องไม่เกินห้าปี
(6) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ขออนุญาตซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ในส่วนที่ไม่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้วในประกาศนี้
สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําความใน (1) ถึง (5) ของวรรคหนึ่งมาใช้บังคับได้ ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบแล้วตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ข้อ ๑๒ การคํานวณจํานวนหุ้นที่เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานตามข้อ 11(2)ให้นําจํานวนหุ้นดังต่อไปนี้มารวมกัน
(1) หุ้นที่ขออนุญาตและหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ขออนุญาตในครั้งนี้
(2) หุ้นและหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ที่บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานโดยตรง หรือโดยผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อบุคคลใดเพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด ในระยะห้าปีย้อนหลังก่อนการยื่นคําขออนุญาตในครั้งนี้ ทั้งนี้ เฉพาะจํานวนหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายโดยมีส่วนลดจากราคาตลาดในวันก่อนวันที่เสนอขายหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี
(3) หุ้นที่ผู้ขออนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่จะซื้อหุ้นตามสัดส่วนของจํานวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (right issue) ก่อนการยื่นคําขออนุญาตในครั้งนี้ ทั้งนี้ เฉพาะจํานวนหุ้นที่สํานักงานเห็นว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการออกหุ้นตาม (2) ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
ส่วน ๒ หนังสือนัดประชุม การประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๑๓ ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกหลักทรัพย์เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการเกี่ยวกับการนัดประชุมดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม
(2) หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) วัตถุประสงค์และความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ออกในเรื่อง ประเภท อายุ (ถ้ามี) จํานวนมูลค่าการเสนอขาย ราคาเสนอขาย อัตราดอกเบี้ย (ถ้ามี) และราคาหรืออัตราการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ (ถ้ามี)
ในกรณีที่ไม่สามารถระบุราคาเสนอขาย อัตราดอกเบี้ย หรือราคาการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ เป็นตัวเลขที่แน่นอน ให้ระบุเป็นสัดส่วนโดยอิงราคาหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อ้างอิงได้
(ค) รายชื่อกรรมการทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ และรายชื่อพนักงานทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ขออนุมัติ รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ที่กรรมการและพนักงานดังกล่าวแต่ละรายจะได้รับการจัดสรร
(ง) ผลกระทบที่จะมีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นของกรรมการหรือพนักงาน และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution)
(จ) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหลักทรัพย์ที่ออก เช่น หลักเกณฑ์ในการจัดสรร วิธีการเสนอขายผ่านบุคคลอื่น และรายชื่อบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี) คุณสมบัติของกรรมการหรือพนักงานที่มีสิทธิจะซื้อหลักทรัพย์ที่ออก เป็นต้น
(ฉ) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามข้อ 14 ข้อ 15(2) หรือข้อ 17(2) แล้วแต่กรณี
(ช) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๔ ภายใต้บังคับข้อ 15 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งต้องเป็นมติที่ชัดแจ้งและไม่มีลักษณะเป็นการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นใดเป็นผู้กําหนดรายละเอียดตามข้อ 13(2)(ข) และ (จ) แทนที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสําคัญที่สํานักงานกําหนดหรือได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานรายใดเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ขออนุญาตในครั้งนี้ หนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) หนังสือนัดประชุมตามข้อ 13(2) ต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(ก) ผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายดังกล่าวจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์เมื่อคํานวณเป็นตัวเงิน โดยคํานวณจากผลต่างของราคาเสนอขายและราคาตลาด
(ข) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแสดงถึงเหตุผล ความจําเป็น และประโยชน์ที่ผู้ขออนุญาตจะได้รับจากการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายดังกล่าว
(ค) ในกรณีเป็นกรรมการ ให้ระบุจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละรายดังกล่าวเข้าประชุมและขาดประชุมในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
(ง) จํานวนและลักษณะผลตอบแทนทั้งหมดของปีล่าสุด ที่ได้รับจากผู้ขออนุญาต ในฐานะกรรมการหรือพนักงาน (เฉพาะกรณีที่ราคาหุ้นที่จะเสนอขาย หรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ มีส่วนลดจากราคา (2) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ ต้องเป็นมติอนุมัติสําหรับกรรมการหรือพนักงานดังกล่าวเป็นรายบุคคล โดยมติอนุมัติสําหรับแต่ละบุคคลต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมคัดค้านในมตินั้น
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 4(3) ผู้ขออนุญาตต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามที่ขออนุญาต และสามารถแสดงได้ว่าการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 4(1) หรือ (2) เป็นไปตามข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 ด้วย โดยอนุโลม
ส่วน ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการขออนุญาตเสนอขายหุ้นเกินกว่าจํานวนที่กําหนด
ข้อ ๑๗ ในกรณีจํานวนหุ้นและหุ้นที่จะจัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ และราคาหุ้นหรือราคาใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ขออนุญาตเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานไม่เป็นไปตามข้อ 11(2)(ก) และ (ข) ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อเมื่อผู้ขออนุญาตได้ดําเนินการดังนี้
(1) ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยแสดงรายละเอียดของข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) เหตุผลหรือที่มาของการกําหนดจํานวนและราคาที่ไม่เป็นตามข้อ 11(2)(ก) และ (ข)
(ข) ความจําเป็นของการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานในจํานวนและราคาที่ไม่เป็นไปตามข้อ 11(2)(ก) และ (ข) ต่อการดํารงอยู่ของบริษัท หรือความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว
(2) ได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 4(3) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงต่อสํานักงานได้ว่าการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 4(1) หรือ (2)เป็นไปตามข้อ 17 ด้วย โดยอนุโลม
ส่วน ๔ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
หมวด ๑๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้แก่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทําการในฐานะบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอันเป็นปกติของการประกอบธุรกิจประเภทนั้น
ความช่วยเหลือทางการเงินตามวรรคหนึ่งมิให้หมายความรวมถึง การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเท่าที่จําเป็นและเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันเกี่ยวกับการจัดเตรียมและการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน การจัดทําและจัดส่งหนังสือชี้ชวนไปยังกรรมการหรือพนักงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อกรรมการหรือพนักงานเป็นโครงการต่อเนื่อง หากผู้ได้รับอนุญาตยังไม่สามารถระบุรายชื่อกรรมการทุกราย หรือรายชื่อพนักงานที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมและสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นไปตามข้อ 13(2)(ค) ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 หรือข้อ 18 แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตอย่างน้อยเจ็ดวันทําการ เว้นแต่จะได้มีการยื่นสําเนามติดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลแล้ว
หมวด ๓ การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
ส่วน ๑ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ ๒๑ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานในจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๒๒ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ร่วมกับผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 21 รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายในแต่ละครั้ง โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์
(2) ชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด
(4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(5) ชื่อและที่อยู่ของกรรมการหรือพนักงานที่ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนที่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายได้รับจัดสรร
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ วันปิดการเสนอขายให้หมายความรวมถึงวันดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่กรรมการหรือพนักงานสามารถใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะตามระยะเวลาที่กําหนดไว้เป็นรอบ ๆ ให้ถือว่าวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กําหนดในแต่ละรอบนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย
(2) ในกรณีที่กรรมการหรือพนักงานสามารถใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์ได้ในวันใด ๆ ในรอบปีปฏิทินหนึ่งปีปฏิทินใด ให้ถือว่าวันสิ้นปีปฏิทินของแต่ละปีปฏิทินนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย
ส่วน ๒ การยื่นและการมีผลใช้บังคับของแบบรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๒๓ ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานที่ไม่อยู่ในบังคับของส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ร่วมกับผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลจํานวนสามชุด และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นตามโครงการต่อเนื่อง ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานทุกครั้งที่เสนอขายหุ้นนั้น
นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่บุคคลดังกล่าวยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๒๔ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ให้เป็นดังนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) ต่อสํานักงาน หรือต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้แบบแสดงรายการข้อมูลประกอบด้วยเอกสารและข้อมูลดังต่อไปนี้
(ก) เอกสารสรุปรายละเอียดหรือโครงการเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน
(ข) เอกสารที่มีข้อมูลอย่างเดียวกับแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีล่าสุด (แบบ 56-1) งบการเงินประจํางวดการบัญชีล่าสุด และงบการเงินรายไตรมาสสําหรับรอบระยะเวลาที่ต่อเนื่องจากงวดการบัญชีล่าสุด ซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานแล้ว ตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารแสดงข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานดังกล่าว
ทั้งนี้ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะแสดงความจํานงต่อสํานักงานให้ถือว่าเอกสารตามวรรคหนึ่งที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจ้งหรือบอกกล่าวให้กรรมการหรือพนักงานทราบถึงแหล่งและวิธีการที่กรรมการหรือพนักงานสามารถเข้าถึงและตรวจดูข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย
การแสดงข้อมูลตามความในวรรคสองย่อมมีผลต่อหน้าที่และความรับผิดของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ เช่นเดียวกับการนําข้อมูลนั้นมาแสดงให้ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลนั้นเอง
(ค) ลายมือชื่อของกรรมการทุกรายของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ พร้อมประทับตราสําคัญของบริษัท (ถ้ามี) และลายมือชื่อของผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวทุกคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราสําคัญของนิติบุคคล (ถ้ามี)
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทอื่นนอกจาก (1) ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
ข้อ ๒๕ ร่างหนังสือชี้ชวนที่ต้องยื่นตามข้อ 23 ให้เป็นไปตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๖ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 ในกรณีที่ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 23 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนครบถ้วนตามที่กําหนด
(2) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนครบถ้วนตามที่กําหนด กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายอย่างต่อเนื่องเป็นโครงการ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นตามโครงการนั้นในครั้งแรก
ข้อ ๒๗ การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่อยู่ในบังคับของส่วนนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม อยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าว รวมทั้งประกาศสํานักงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป
ข้อ ๒๙ ให้คําขออนุญาตดังต่อไปนี้ อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งประกาศสํานักงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป
(1) คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(2) คําขออนุญาตตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้รับก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากคําขอดังกล่าวได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนในหรือหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,999 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 37/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ข. 37/2548
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การกํากับดูแลการปฏิบัติงานด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเอง และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“ประสบการณ์ในการทํางาน” หมายความว่า ประสบการณ์การทํางานในสถาบันการเงินหรือองค์กรอื่น โดยอยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือประสบการณ์การทํางานในระดับบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประสบการณ์จากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการหรือผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพด้านการบัญชี การเงิน การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือกฎหมาย
ข้อ ๒ ให้บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๓ ผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ผู้จัดการ บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขาหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางาน ไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขาและผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เต็มเวลา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๔ ผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารรายใดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๕ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้บริหารรายใดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวอีกต่อไป โดยสํานักงาน ก.ล.ต. มีหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการให้ผู้บริหารรายนั้นพ้นจากการเป็นผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่จําเป็นและสมควรโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๖ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดมีผู้บริหารที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นต้องรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารรายนั้น
ข้อ ๗ ความในข้อ 3(1)(ข) มิให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้จัดการสาขา หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2548
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,000 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 15/2549 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ข. 15/2549
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 37/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท กรรมการอิสระ ผู้จัดการ บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระต้อง
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ข) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ค) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบริษัทย่อย
ผู้บริหารตามวรรคหนึ่งของ (ค) มิให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ง) ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน และไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้าได้เต็มเวลา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,001 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น. 62/2543 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น. 62/2543
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหาร
ของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 103(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 13/2542 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลาเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,002 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 4/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ข. 4/2548
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของ
ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 103(9) และ (10) และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 13/2542 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 62/2543 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(2) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
(4) “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็น กรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
(5) “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
(6) “ประสบการณ์ในการทํางาน” หมายความว่า ประสบการณ์การทํางานในสถาบันการเงินหรือองค์กรอื่น โดยอยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือประสบการณ์การทํางานในระดับบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจหลักทรัพย์ หรือประสบการณ์จากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการหรือผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพด้านการบัญชี การเงิน การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือกฎหมาย
(7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามเกณฑ์ต่อไปนี้เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหาร กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปีหรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย
ผู้จัดการสาขา หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปีหรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว หรือบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นตามมาตรา 103(7) หรือ (8) (ข) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๔ ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารรายใดของบริษัทหลักทรัพย์ ให้สํานักงานดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๕ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้บริหารรายใดของบริษัทหลักทรัพย์มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ และไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวอีกต่อไป โดยสํานักงานมีหนังสือแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบแล้ว บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้ผู้บริหารรายนั้นพ้นจากการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่จําเป็นและสมควรโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ใดมีผู้บริหารที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารรายนั้น
ข้อ ๗ ความในข้อ 3(1)(ข) มิให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้จัดการสาขา หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,003 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 14/2549 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ข. 14/2549
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่น
ของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 103(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 4/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหาร กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท กรรมการอิสระ ผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระต้อง
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ข) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ค) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทย่อย
(ง) ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยบริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน และไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับ การดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขาและผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลาเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว หรือบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นตามมาตรา 103(7) หรือ (8) (ข) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,004 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 54/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
“สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9)
(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(13) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15)
(17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสิทธิเรียกร้อง หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
“ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ
(2) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น
“เช่า” หมายความว่า การที่กองทุนรวมเช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงการที่กองทุนรวมได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
“อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกินหนึ่งพันตารางเมตร หรือโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
“สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
“บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
“ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ การยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องยื่นคําขภายในสองปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการตามรายการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 118(1)
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 8
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์
(4) ร่างสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี)
(5) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓ บริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี) โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพันและร่างสัญญาที่ผ่านการพิจารณาจากสํานักงาน
(2) จัดส่งและจัดให้มีหนังสือชี้ชวนและรายละเอียดของโครงการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(ก) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) จัดให้มีรายละเอียดของโครงการไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ เพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้บริษัทจัดการกําหนดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่แก้ไขเสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสองให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการยุติการจําหน่ายหน่วยลงทุนและให้ถือว่าการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง หากครบกําหนดระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้วปรากฏว่า
(1) ไม่สามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันได้ถึงสิบราย
(2) ไม่สามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ถึงห้าร้อยล้านบาท
ข้อ ๖ บริษัทจัดการอาจแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดได้ โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน แต่ต้องกําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
ในการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจแบ่งตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา หรือแบ่งตามสิทธิหรือประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากกองทุนรวมก็ได้ แต่ในกรณีที่แบ่งตามทรัพย์สินจะต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวอย่างน้อยสิบราย
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมรวมกันเกินหนึ่ง ในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้ว ทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าวให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าสิบราย หรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 28
(2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท ชนิด และอายุโครงการ (ถ้ามี)
(2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม
(3)ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ
(5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน
(6)ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8
(7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ
(8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์
(9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการ หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ห้ามบริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมก็ได้
ข้อ ๑๑ บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8
ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ ทําหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวม
(1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง โดยผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง
(2) ผู้จัดการกองทุนรวม เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น
ข้อ ๑๓ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนขึ้นซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนหรือตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน และตัวแทนบริษัทจัดการ เพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
(1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง
(2) พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม
(3) คัดเลือกผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ และผู้บริหารสิทธิเรียกร้อง
(4) พิจารณาเรื่องการเพิ่มเงินทุนหรือลดเงินทุนของกองทุนรวม หรือ
(5) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๔ การซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับการลงทุนในทรัพย์สินใด ๆ ในลักษณะที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และการลงทุในสิทธิเรียกร้องผ่านการซื้อหุ้นของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน เช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(3) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าวเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง หรือทรัพย์สินใด ๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามอัตราส่วนที่กําหนดใน (2) ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการอาจลงทุนก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมดเช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(2) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้าง มูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือได้มาซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้วหรือ
(3) กรณีที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จํานวนเงินที่ใช้ในการก่อสร้างต่อต้องไม่เกินสี่เท่าของราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างนั้น โดยมิให้นับรวมค่าที่ดินในราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มา และมิให้นับรวมค่าเครื่องตกแต่ง และอุปกรณ์ในจํานวนเงินดังกล่าว
ข้อ ๑๖ การลงทุนในสิทธิเรียกร้องต้องเป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ หรือเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยและดําเนินการโดยสาขาในประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม และต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น
(2) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจํานวนด้วย
(3) สิทธิเรียกร้องที่มีหลักประกันร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจํานวนด้วย หรือ
(4) สิทธิเรียกร้องที่มีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นเจ้าหนี้
ข้อ ๑๗ การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแสวงหาประโยชน์อื่นใดนอกจากการให้เช่าพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ หรือดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหรือได้มาซึ่งที่ดินเปล่า (raw land) บริษัทจัดการสามารถดําเนินการปรับปรุงสภาพเพื่อปกปักรักษา หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินเปล่านั้นเท่านั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น
ข้อ ๑๙ ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการซื้อ เช่าจําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรือการลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาที่ซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือราคาที่ลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง
ข้อ ๒๐ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้นกู้
(6) หุ้น
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(8) หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่า การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเหตุให้การจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวม สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
ข้อ ๒๑ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และแจ้งมูลค่าดังกล่าวที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม แล้วแต่กรณี
ในระหว่างที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 21 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ข้อ ๒๓ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกสิ้นปีการเงินของกองทุนรวมและส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายใน สามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีการเงินของกองทุนรวม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องจากการได้รับชําระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี
(2) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง
(3) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง
(4) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี
(5) การเปรียบเทียบงบดุล และงบกําไรขาดทุนของปีการเงินปัจจุบันและปีก่อน
(6) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
ข้อ ๒๔ การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายในการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องแล้ว
ข้อ ๒๕ ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการลดเงินทุนและเหตุในการลดเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และได้มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน
บริษัทจัดการต้องระบุจํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลด วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอน
หน่วยลงทุนและวันคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
การลดเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจลดมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ํากว่าห้าร้อยล้านบาทภายในสามปีแรกนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม โดยจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม ให้คํานวณจากมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนและเมื่อได้ดําเนินการลดเงินทุนของกองทุนรวมแล้วให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนดภายในห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ในกรณีที่บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ํากว่าห้าสิบล้านบาทให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๖ ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ภายในสามปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2)ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่ง หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน โดยให้นําความในข้อ 3(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง และให้นําข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กําหนดระยะเวลาการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับสําหรับกรณีการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนรวมโดยมีจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นจํานวนหนึ่ง แต่กองทุนรวมนั้นมีเงินที่รวมเข้าเป็นกองทรัพย์สินและจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมไม่เต็มตามจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน บริษัทจัดการอาจเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมได้ภายในสามปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน เมื่อบริษัทจัดการได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับสําหรับกรณีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อดําเนินการปรับปรุงสภาพอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 5(1) ข้อ 7 วรรคสาม ข้อ 14 (1) และระยะเวลาการลงทุนตาม (2) และข้อ 25 วรรคสามได้
ข้อ ๒๙ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมที่สามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนทั่วไป โดยมิได้จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,005 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 5/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 5/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) และ (1/2) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“(1/1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าจะต้องเริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(1/2) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงินหรือองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 15/1”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 การลงทุนตามข้อ 14 เพื่อให้ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการอาจลงทุนก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมดเช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(2) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้าง มูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือได้มาซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งนี้ มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้ว หรือ
(3) กรณีที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จํานวนเงินที่ใช้ในการก่อสร้างต่อต้องไม่เกินสี่เท่าของราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างนั้น โดยมิให้นับรวมค่าที่ดินในราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มา และมิให้นับรวมค่าเครื่องตกแต่งและอุปกรณ์ในจํานวนเงินดังกล่าว”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 และข้อ 15/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 15/1 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ ซึ่งเป็นหลักประกันตามสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดในกรณีที่บริษัทจัดการสามารถชําระราคาด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่โดยไม่มีการชําระราคาด้วยเงิน
บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ในระหว่างที่บริษัทจัดการยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้
ข้อ 15/2 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
(1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด (nominee) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 7 หรือ
(2) มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 15”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 28 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 5(1) ข้อ 7 วรรคสาม ข้อ 14(1) (1/2) ข้อ 25 วรรคสาม และระยะเวลาการลงทุนตามข้อ 14(2) ได้”
ข้อ 6 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้กองทุนรวมดังกล่าวสามารถมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไปได้
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,006 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 19/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 19/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “สถาบันการเงิน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตและมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย””
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในสิทธิเรียกร้อง ต้องมีลักษณะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าจะต้องเริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(3)อสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจน
(ข) ได้จํานองไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ
(ค) สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการเป็นเจ้าของ อันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้ การซื้อจากการขายทอดตลาด หรือการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด
(ง) เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย
(จ) เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(4) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงิน องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ
(ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 15/1
(5)ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับการลงทุนในทรัพย์สินใด ๆ ในลักษณะที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และการลงทุนในสิทธิเรียกร้องผ่านการซื้อหุ้นของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน เช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(6) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าวเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง หรือทรัพย์สินใด ๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามอัตราส่วนที่กําหนดใน (5) ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่มีหรือเคยมีใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าวในขณะที่ซื้อหรือได้มาซึ่งที่ดินนั้น
(2) ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดินหรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 28 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 5(1) ข้อ 7 วรรคสาม ข้อ 14(1) (4) ข้อ 25 วรรคสาม และระยะเวลาการลงทุนตามข้อ 14(5) ได้”
ข้อ 5 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,007 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 23/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 23/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวม” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
1. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้น
(4) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
(6) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของสิทธิการเช่านั้น
(7) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) และ (3) หรือ
(8) สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ตามวรรคหนึ่งทุกราย ถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ตามวรรคหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามขอจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า หรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสามภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15/1 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด
ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 15/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 5/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15/2 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
(1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด (nominee) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 7 หรือ
(2) มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 14 และข้อ 15”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ เว้นแต่ในกรณีการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการต้องไม่ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์
(2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 14 ข้อ 15/1 และข้อ 16 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้นกู้
(6) หุ้น
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(8) หลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 และ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 26 บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ หรือ
(2) มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมซื้อหรือเช่าไว้แล้วตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 ให้แล้วเสร็จ
ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตาม (2) บริษัทจัดการต้องดําเนินการภายในสามปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ข้อ 27 ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามข้อ 26 หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่ง หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน โดยให้นําความในข้อ 3(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และให้นําข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27/1 ให้นําความในข้อ 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม โดยไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการ หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว”
ข้อ 10 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 7 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมจนกว่าสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนหรือการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะลดลงเหลือน้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 7 วรรคหนึ่งและวรรคสองดังกล่าว
ข้อ 11 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 12 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน และดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 13 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามข้อ 7 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,008 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 6/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 6/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(ฉบับที่ 7)
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7/1 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7/2
1. กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจจะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7/4
ในกรณีที่กองทุนรวมใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินทั้งหมดของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามข้อ 17/1 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 ข้อ 7/3 และข้อ 7/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 7/2 บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) โดยยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) แผนการพัฒนาที่ดินที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาจากพื้นที่และจํานวนเงินลงทุน ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ประกอบกันด้วย และ
(2) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม
ข้อ 7/3 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันอายุโครงการตามข้อ 7/1(1) ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานความคืบหน้าต่อสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) รายงานข้อมูลความคืบหน้าในการก่อสร้างของโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ภายในหนึ่งเดือน
(2) รายงานข้อมูลความคืบหน้าในการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาแล้วเสร็จของกองทุนรวมล่วงหน้าหนึ่งปีก่อนวันครบกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวม
ในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีความคืบหน้าในการก่อสร้างตาม (1) หรือการจําหน่ายตาม (2) อย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวม
ข้อ 7/4 บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันอายุโครงการต่อสํานักงานเพื่อให้กองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพร้อมทั้งข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าที่ดินดังกล่าวใช้สําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ และ
(2) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ และในกรณีที่เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการอาจให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) ตามข้อ 7/1(1)
(ข) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจตามข้อ 7/1(2) หรือ
(ค) เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 17/1
(2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณีบริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 17/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการต้องยื่นขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายว่า หากบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้พัฒนาได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจากกองทุนรวม”
ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการที่ได้ยื่นคําขอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อขยายอายุโครงการตามข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับเพื่อให้สํานักงานนําเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาต่อไป
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อขยายระยะเวลาในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง และกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงสามารถพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยเฉพาะกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่มีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) และกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าปลูกพืชเศรษฐกิจ อันเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินที่ช่วยส่งเสริมการลงทุนและก่อให้เกิดการจ้างแรงงานภายในประเทศให้เพิ่มขึ้น จึงมีควาจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 4,009 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 7/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 32/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7/1 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31สิงหาคม พ.ศ. 2558”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับในการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือในการจัดหาผลประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดหลังวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 บริษัทจัดการอาจขอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้กองทุนรวมดังกล่าวมีอายุโครงการเกินกว่าที่กําหนดในข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ เพื่อให้สามารถเช่าหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญาเดิมได้
ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 5 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อขยายระยะเวลาในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง และขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมดังกล่าวไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การถือครองและการจําหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นซึ่งไม่มีสภาพคล่อง มีความผ่อนคลาย เหมาะสมกับสภาพทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น | 4,010 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 20/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
================================================
ที่ กน. 20/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
====================================================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้จัดการกองทุนรวม” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 45/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
====================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
““ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น การหาดอกผลโดยวิธีอื่น หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการ”
### ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 13/2 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลอย่างน้อยต้องมีข้อมูลซึ่งระบุราคาที่ลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง
ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน”
- 2 -
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
### “(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คํานวณ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกปีสิ้นสุดเดือนธันวาคม และส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นเดือนธันวาคม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องการจากการได้รับชําระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี
(2) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(3) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์
(4) การเปรียบเทียบงบดุลและงบกําไรขาดทุนของปีปัจจุบันและปีก่อน
(5) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
====================================================================================================================================================================================================================================================================
“ข้อ 19 ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการลดเงินทุนและเหตุในการลดเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องจัดประชุมผู้ถือ หน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และได้มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหนายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุจํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลด วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนและวันคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่ง หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน โดยให้นําความในข้อ 4(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และให้นําข้อ 7 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 20/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนรวม โดยมีจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นจํานวนหนึ่ง แต่กองทุนรวมนั้นมีเงินที่รวมเข้าเป็นกองทรัพย์สินและจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมไม่เต็มตามจํานวนเงินทุนขอโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน บริษัทจัดการอาจเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน โดยไม่ต้องขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนหากบริษัทจัดการได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
==============================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว”
### ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,011 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 11/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 11/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 14 ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งมูลค่าที่คํานวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณเพื่อใหผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายในห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คํานวณ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถคํานวณมูลค่าดังกล่าวให้เสร็จสิ้นได้ ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม เช่น กรณีที่เป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินซึ่งมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนมากและจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการประเมินมูลค่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าว สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตาม (1) และ (2) ได้"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,012 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 18/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 18/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “สถาบันการเงิน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 25/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตและมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย””
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 11/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11/3 ในกรณีที่กองทุนรวมได้มาซึ่งที่ดินตามข้อ 11/2 หรือได้มาซึ่งที่ดินจากการได้รับชําระหนี้อย่างอื่นแทนการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่กองทุนรวมได้ลงทุนหรือมีไว้ ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
1. ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
(2) ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินดังกล่าวในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดินหรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,013 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 31/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 31/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 5/2 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
ข้อ 3 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้การจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นมาตรการหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้คลี่คลายลงมากและธุรกิจเหล่านั้นได้ฟื้นตัวขึ้นแล้ว คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินเพื่อให้การลงทุนของกองทุนรวมประเภทนี้ยังคงรักษาวัตถุประสงค์ดังข้างต้นไว้ อีกทั้งเพื่อให้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป | 4,014 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 22/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 22/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 25/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้น
(6) หุ้นกู้
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(8) หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 11/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11/2 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด
ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 11/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 18/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 7)ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11/3 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งที่ดินตามข้อ 11/2 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
1. ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินดังกล่าวในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดินหรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 การลงทุนในสิทธิเรียกร้องตามข้อ 11/1 หรือในทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว
(2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ในกรณีที่บริษัทจัดการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/1 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 11/2 ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ เว้นแต่ในกรณีการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการต้องไม่ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์
(2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/2 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องตามข้อ 11/1 ทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 11/2 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลอย่างน้อยต้องมีข้อมูลซึ่งระบุราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายสิทธิเรียกร้องตาม
ข้อ 11/1 ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมภายหลังจากการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
(2) เพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2542
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 21 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 2(1) ข้อ 5/1 วรรคสาม และข้อ 12(1) ได้”
ข้อ 13 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 14 ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน มีมูลค่ารวมกันไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามมูลค่าที่กําหนดในข้อ 12(1) ดังกล่าว ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันระยะเวลาดังกล่าวได้
ข้อ 15 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน และดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 16 ให้คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,015 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 6/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 6/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 10)
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/2 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 11/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) บริษัทจัดการต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว
การนับอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 11/2 รวมในอัตราส่วนดังกล่าวได้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/2 ให้บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องตามข้อ 11/1 ทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 11/2 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลอย่างน้อยต้องมีข้อมูลซึ่งระบุราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
(2) รายงานที่แสดงอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 12(1) ของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลาบัญชีประจําปีให้สํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีนั้นโดยรายงานดังกล่าวให้จําแนกตามประเภททรัพย์สิน”
ข้อ 5 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 6 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากการใช้สิทธิทางศาลในการบังคับชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง รวมทั้งการจําหน่ายทรัพย์สินที่ไม่มีสภาพคล่องของกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ต้องใช้เวลามากในการดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกําหนดอายุโครงการและระยะเวลาการจําหน่ายทรัพย์สิน เพื่อให้มีเวลาเพียงพอต่อการบังคับชําระหนี้โดยการใช้สิทธิทางศาล รวมตลอดถึงการจําหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการผ่อนคลายการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวมดังกล่าว คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินที่รอการขายรวมในอัตราส่วนการลงทุนนั้นด้วย | 4,016 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 10/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 10/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 17 ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งมูลค่าที่คํานวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายในห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คํานวณ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถคํานวณมูลค่าดังกล่าวให้เสร็จสิ้นได้ ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม เช่น กรณีที่เป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันซึ่งมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนมาก และจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการประเมินมูลค่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าว สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตาม (1) และ (2) ได้"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,017 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 3/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 44/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9)
(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(11)กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(13) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชี
ตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15)
(17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป”
ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “สมาคม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การประเมินค่า” และคําว่า “ผู้สอบบัญชี” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้
““สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมรวมกันเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าวให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง โดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดตามข้อ 2(1) หรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 24”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2541
“(1/1) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วต้องเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงินหรือองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 12/2
(ค) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นที่ดินว่างเปล่าที่ได้มาหรือมีไว้ตาม (4)(ก)”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/2 และข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 12/2 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ ซึ่งเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดในกรณีที่บริษัทจัดการสามารถชําระราคาด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่โดยไม่มีการชําระราคาด้วยเงิน
บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ในระหว่างที่บริษัทจัดการยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ ทั้งนี้ หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จซึ่งได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และมีอัตราการก่อสร้างตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(3) บริษัทจัดการอาจก่อสร้างต่อให้เสร็จได้
ข้อ 12/3 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
(1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด (nominee) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 5/1 หรือ
(2) มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 12”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินว่างเปล่าของกองทุนรวมที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ ในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดินว่างเปล่า หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินว่างเปล่านั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 44/2541 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/1 การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปแสวงหาประโยชน์อื่นใดนอกจากการให้เช่าพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ หรือดําเนินการอื่นใดตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง โดยอนุโลม”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 17 ให้บริษัทจัดการคํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 2(1) ข้อ 5/1 วรรคสาม ข้อ 12(1) (2) (3) (5) (6) และข้อ 12/2 ได้”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 25 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 15 ให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สามารถถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นต่อไปได้
ข้อ 16 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วก่อนการซื้อหรือเช่านั้น อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ให้กองทุนรวมดังกล่าวสามารถมีไว้ซึ่งหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไปได้
ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,018 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 17/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 17/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “สถาบันการเงิน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตและมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ต้องมีลักษณะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วต้องเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(3) อาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงิน
อย่างชัดเจน
(ข) ได้จํานองไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ
(ค) สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการเป็นเจ้าของ อันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้ การซื้อจากการขายทอดตลาด หรือการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด
(ง) เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย
(จ) เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แกอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
การซื้อหรือเช่าที่ดินตาม (ข) (ค) หรือ (ง) ต้องซื้อหรือเช่าภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(4) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(5) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จให้กระทําได้ภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 หากมีการระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
และเป็นกรณีซื้อหรือเช่าอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร หรือกรณีซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่มิใช่อาคารขนาดใหญ่ทั้งโครงการก่อสร้าง โดยอาคารขนาดใหญ่ หรืออาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และได้มีการก่อสร้างไปแล้วก่อนการซื้อหรือเช่า ไม่น้อยกว่าอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่เป็นการซื้อหรือเช่าอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(ข) กรณีที่เป็นการซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้างต้องปรากฏว่ามูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือเช่าโครงการก่อสร้างดังกล่าวโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
การคํานวณตาม (ข) มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้ว
(6) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงิน องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ
(ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 12/2
(ค) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้ตาม (3)(ข) (ค) หรือ (ง)
(7) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันเพิ่มเติม ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าวเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/2 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ ซึ่งเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดในกรณีที่บริษัทจัดการสามารถชําระราคาด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่โดยไม่มีการชําระราคาด้วยเงิน
บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ในระหว่างที่บริษัทจัดการยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ ทั้งนี้ หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จซึ่งได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และมีอัตราการก่อสร้างตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(5) บริษัทจัดการอาจก่อสร้างต่อให้เสร็จได้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่มีหรือเคยมีใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าวในขณะที่ซื้อหรือได้มาซึ่งที่ดินนั้น
(2) ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 2(1) ข้อ 5/1 วรรคสาม ข้อ 12(1) (4) (5) (6) (7) และข้อ 12/2 ได้”
ข้อ 6 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,019 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 30/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 30/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 5/2 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) อาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
1. เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจน
2. ได้จํานองหรือวางเป็นหลักประกันการชําระหนี้ไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loan) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
3. เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ได้มาอันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้หรือการบังคับคดีในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
4. เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งนี้ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประกันหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
5. เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
การซื้อหรือเช่าที่ดินตาม (ข) (ค) หรือ (ง) ต้องซื้อหรือเช่าภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/1 ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันจะต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจากหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น
สิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
ข้อ 5 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความผูกพันในการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือในการจัดหาผลประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการอาจขอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้กองทุนรวมดังกล่าวมีอายุโครงการเกินกว่าที่กําหนดในข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ เพื่อให้สามารถเช่าหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญาเดิมได้
ข้อ 6 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 12(3) และข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศให้มี
การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้การจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นมาตรการประการหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้คลี่คลายลงมากและธุรกิจเหล่านั้นได้ฟื้นตัวขึ้นแล้ว คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินเพื่อให้การลงทุนของกองทุนรวมประเภทนี้ยังคงรักษาวัตถุประสงค์ดังข้างต้นไว้ อีกทั้งเพื่อให้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป | 4,020 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 21/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 8)
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวม” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/1 ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (2) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
1. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้น
(4) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
(6) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของสิทธิการเช่านั้น
(7) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) และ (3) หรือ
(8) สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่งทุกราย ถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า หรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสามภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง โดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ในการจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีระบบและควบคุมดูแลให้ผู้จัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามกฎหมาย และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม
ผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบและปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุโลม
ในการขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแสดงขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนรวมไว้ให้ชัดเจนด้วย
ข้อ 11 ในการจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และที่มิใช่สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน เพื่อเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนดังกล่าว
ผู้บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องที่บริษัทจัดการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบและปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/2 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด
ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด (nominee) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 5/1 หรือ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13/1 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่า
อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ เว้นแต่ในกรณีการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการต้องไม่ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์
(2) ดําเนินการอื่นใดตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง โดยอนุโลม
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 12 ข้อ 12/1 และข้อ 12/2 ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
(2) ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าล่าสุด (ถ้ามี)”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้นกู้
(6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(7) ตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(8) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 และข้อ 23/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 19/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 23 บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ หรือ
(2) มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมซื้อหรือเช่าไว้แล้วตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) ให้แล้วเสร็จ
ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตาม (2) บริษัทจัดการต้องดําเนินการภายในห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ข้อ 23/1 ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามข้อ 23 หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่ง หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน โดยให้นําความในข้อ 4(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และให้นําข้อ 7 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
“ข้อ 23/2 ให้นําความในข้อ 23 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม โดยไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการ หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 2(1) ข้อ 5/1 วรรคสี่ และข้อ 12(1)(4)(5) และ (6) ได้”
ข้อ 12 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมจนกว่าสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนหรือการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะลดลงเหลือน้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 5/1 วรรคหนึ่งและวรรคสองดังกล่าว
ข้อ 13 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 14 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน และดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 15 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,021 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.