title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 164) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับแสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากรให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 164) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนสําหรับแสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากรให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความใน (16) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 448) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนสําหรับแสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร ให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนสําหรับแสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร ซึ่งเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนสําหรับผู้โดยสารขาเข้า ให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,714
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจำเป็น ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น ตามมาตรา82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็น ให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น ตามมาตรา82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็น ให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็น ให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534 และใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็นตามข้อ 1 ให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกํากับภาษี การปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุข้อความว่า “ ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี... ” ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้ ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,715
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 169) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในเขตปลอดอากรบางกรณีเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีเหตุอันสมควรไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดลักษณะและวิธีการการประกอบกิจการของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในเขตปลอดอากรบางกรณี มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ และกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 169) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในเขตปลอดอากรบางกรณีเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีเหตุอันสมควรไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กําหนดลักษณะและวิธีการการประกอบกิจการของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในเขตปลอดอากรบางกรณี มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ และกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/3(3) มาตรา 85/3 วรรคสอง และมาตรา 85/3 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ใน เขตปลอดอากรบางกรณีเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีเหตุอันสมควรไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กําหนดลักษณะและวิธีการการประกอบกิจการของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในเขตปลอดอากรบางกรณี มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ และกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรเป็นตัวแทนตามมาตรา 77/1(7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะการขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยมีตัวแทนดังกล่าว เป็นการขายสินค้าในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การขายสินค้าโดยส่งสินค้าจากเขตปลอดอากรออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศซึ่งเข้าลักษณะเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(4) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร (2) การขายสินค้าที่อยู่ในเขตปลอดอากรให้แก่ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ หรือการขายสินค้าที่อยู่ในเขตปลอดอากรให้แก่คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร (3) การขายสินค้าในเขตปลอดอากรให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักรที่ได้รับสิทธิไม่ต้องนําค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 “เขตปลอดอากร” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า เขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งมีลักษณะและวิธีการการประกอบกิจการตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ โดยให้ยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดตามมาตรา 85 แห่งประมวลรัษฎากร ให้กําหนดระยะเวลาสิ้นสุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวด้วย โดยระยะเวลาสิ้นสุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวให้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาการเป็นตัวแทนของตัวแทนที่อยู่ในเขตปลอดอากร และเมื่อระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง ให้ถือว่าการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสิ้นสุดลงทันที หากผู้ประกอบการประสงค์จะขยายเวลาการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องยื่นคําร้องขอขยายเวลาก่อนการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสิ้นสุดลง ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,716
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 75) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 75) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 25) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยและการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2535 “(14) การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะประเภททางไกลอัตโนมัติหรือประเภททางไกลชนบทขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 25) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ทั้งนี้ ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 100,000 บาท แต่ไม่รวมถึงการให้บริการตาม (12) (13) และ (14)” ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สมใจนึก เองตระกูล อธิบดีกรมสรรพากร
3,717
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 168) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 168) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ฌ ) และ ( ญ ) ของวรรคสอง ของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ . ศ . 2535 “( ฌ ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนื้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และ ได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 ถึงวันที่ 31 ธั นวาคม พ . ศ . 2549 (ญ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของเจ้าหนี้อื่น โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549” “ใน(ฌ) และ (ญ) ของวรรคสอง “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (4) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (5) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (6) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,718
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (1) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรเขต สํานักงานสรรพากรเขต(สาขา) หรือสํานักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (2) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจาก (1) ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรอําเภอ สํานักงานสรรพากรอําเภอ(สาขา) หรือสํานักงานสรรพากรกิ่งอําเภอ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หากไม่มีสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ กรณีผู้ประกอบการใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งสถานที่อยู่อาศัยดังกล่าวตั้งอยู่ หากมีสถานที่อยู่อาศัยหลายแห่งและแต่ละแห่งใช้เป็นสถานประกอบการ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จํานวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสารดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน และบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ (2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ พร้อมกับสําเนาหรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลดังกล่าว (3) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของกรรมการ ผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการพร้อมกับสําเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และสําเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะเป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี (4) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร และตัวแทนได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรดังกล่าว ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของตัวแทนผู้มีอํานาจกระทําการแทน และบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ พร้อมกับหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ (5) การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (4) กรณีมีการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ คือ ผู้ประกอบการตาม (1) และผู้มีอํานาจกระทําการแทนตาม (2)(3)(4) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ (6) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (4) ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้แนบเอกสารและดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว (ข) ให้แนบสําเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านซึ่งแสดงที่ตั้งอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ได้ หรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง (ค) ถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และสําเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (7) กรณีสถานที่ตั้งของสถานประกอบการแห่งใดยังไม่มีทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้แนบแผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการนั้น การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 5 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีรายการและเอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ กรณีผู้ประกอบการแสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้แนบเอกสารตามข้อ 5 หรือแนบเอกสารแต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องครบถ้วน และเจ้าพนักงานสรรพากรได้รับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นกรณีเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ (1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการแสดงเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 เป็นเท็จ หรือไม่ตรงกับเอกสารของทางราชการ (2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนผู้ประกอบการเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง เช่น จากการไต่สวนพบว่าผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นลูกจ้าง พนักงาน แต่ยื่นคําขอจดทะเบียนในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการ (3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีสถานประกอบการจริงตามเอกสารที่ยื่นพร้อมกับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการใช้สํานักงานกฎหมายหรือสํานักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร (5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมิใช่ผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการที่แท้จริง (6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการดังกล่าว เคยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ภายหลังถูกอธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปครั้งหนึ่งแล้ว โดยมูลเหตุจากกรณีตาม (1) ถึง (5) ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ (1) กรณีผู้ประกอบการตามข้อ 1 และข้อ 3 ให้เจ้าพนักงาสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 (2) กรณีผู้ประกอบการตามข้อ 2 ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.21 แต่ถ้าผู้ประกอบการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายสถานประกอบการ ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังนี้ (1) วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง เว้นแต่กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการเพราะเข้าลักษณะตามข้อ 6 วรรคสาม ถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความในวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ (2) วันเริ่มประกอบการ คือ วันเดือนปีที่ผู้ประกอบการเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) วันที่ออกใบทะเบียน คือ วันเดือนปีที่ผู้มีอํานาจอนุมัติลงนามในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งอยู่แล้วในขณะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยระบุเฉพาะสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ มิได้ระบุสถานประกอบการแห่งอื่น ๆ ไว้ในคําขอจดทะเบียนด้วย ให้ถือว่าสถานประกอบการแห่งอื่น ๆ นั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนวันเดือนปีเดียวกันกับสํานักงานใหญ่ ข้อ ๙ ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สรรพากรพื้นที่ สําหรับสถานประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสรรพากรพื้นที่ (2) สรรพากรจังหวัด สําหรับสถานประกอบการที่อยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร ให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ” ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2539 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,719
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 167) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 167) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ( ฉบับที่ 30) พ . ศ . 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 6/1 และ ข้อ 6/2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2542 “ ข้อ 6/1 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2549 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 “ สถาบันการเงิน ” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ” “ ข้อ 6/2 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2549 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งดําเนินการโดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ . 2549 “ สถาบันการเงิน ” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (4)บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (5) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (6) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม “ เจ้าหนี้อื่น ” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบภัยพิบัติและได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน “ ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัย ” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ที่ได้ลงทะเบียนกับศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทางราชการ และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้นั้นด้วย ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,720
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 166) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 และมาตรา 85/16 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวของผู้ประกอบการจดทะเบียน (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบเอกสารดังนี้ (ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีตัวแทนที่อยู่ในราชอาณาจักรทําหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้แนบหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ (ข) กรณีกิจการร่วมค้า ให้แนบภาพถ่ายเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า (ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และภาพถ่ายสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุดด้วย (ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะนิติบุคคล (4) กรณีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน มีการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบหนังสือมอบอํานาจ ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ของผู้มอบอํานาจ คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทน ตาม (2) (3) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ (5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (3) เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ย้ายสถานประกอบการ เลิกกิจการ โอนกิจการทั้งหมด หรือกรณีนิติบุคคลควบกิจการ ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ให้แนบแผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่ และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการด้วย (ข) กรณีย้ายสถานประกอบการ ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่ และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการด้วย (ค) กรณีเลิกกิจการ หรือโอนกิจการทั้งหมด ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ง) กรณีนิติบุคคลควบกิจการ ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลที่จะควบเข้ากัน แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่ และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการด้วย กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการหรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าวด้วย (6) กรณีการแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้แนบภาพถ่ายสัญญา หรือโครงการที่แสดงการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด (7) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานประกอบการ ประเภทกิจการ ประเภทสินค้าหรือบริการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล เป็นต้น (8) กรณีเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดําเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกที่ประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักฐานใบมรณบัตร หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดก การเป็นทายาท หรือการเป็นผู้จัดการมรดกตามคําสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม การยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง หากเจ้าพนักงานสรรพากรมีความเห็นว่าเอกสารดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จําต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากร” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 144) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สรรพากรพื้นที่ สําหรับสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น (2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,721
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของวรรคหนึ่ง ของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 139) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 “(3) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จํานวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสารดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (3) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบเอกสารดังนี้ (ก) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร และตัวแทนได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรดังกล่าว ให้แนบหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ (ข) กรณีกิจการร่วมค้า ให้แนบภาพถ่ายเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า (ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และภาพถ่ายสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด (ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายหลักฐานที่แสดงฐานะนิติบุคคล (4) การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) กรณีมีการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบหนังสือมอบอํานาจ ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ของผู้มอบอํานาจ คือ ผู้ประกอบการตาม (1) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทน ตาม (2) (3) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ (5) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้แนบเอกสารและดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็น สถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว (ข) กรณีเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (ค) ให้แนบแผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 139) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สรรพากรพื้นที่ สําหรับสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น (2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,722
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 163) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 163) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 158) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2549” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกคํานิยาม ”สถาบันการเงิน” ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 113) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (4) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,723
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 162) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 162) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ( ฉบับที่ 30) พ . ศ . 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่าย หนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2542 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 157) เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ . ศ . 2549 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนดให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 “ สถาบันการเงิน ” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสาม ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 157) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ . ศ . 2549 “ สถาบันการเงิน ” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสิน ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (4) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย (7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม “ เจ้าหนี้อื่น ” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน “ ลูกหนี้ ” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย ” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,724
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 161) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 161) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 และมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน การจัดทํารายงาน และการเก็บรักษารายงานไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ไม่จําต้องออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายน้ํามันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกํากับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่ผู้ซื้อสินค้าเรียกร้องทุกครั้งพร้อมทั้งส่งมอบใบกํากับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้า” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,725
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 157) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 157) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 149) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 "สถาบันการเงิน" หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสาม ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 149) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 "สถาบันการเงิน" หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสิน (3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน "เจ้าหนี้อื่น" หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน "ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย" ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,726
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 160) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือ ให้บริการรายย่อยและการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 160) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือ ให้บริการรายย่อยและการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการ ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 “(7) การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า คําว่า “กิจการขนส่งมวลชน” หมายความว่า การให้บริการรับขนส่งสาธารณชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,727
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (ภ.พ.01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้อีกวิธีหนึ่ง ข้อ ๒ ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อ (1) ผู้ประกอบการดังกล่าวมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และ (2) มีการดําเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการ อันเป็นเหตุให้ต้องมีการ ซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การก่อสร้างอาคารสํานักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกําหนดหกเดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่จะมีสัญญาหรือหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะดําเนินการก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสํานักงานหรือติดตั้ง เครื่องจักร หรือมีการกระทําในลักษณะทํานองเดียวกัน ให้มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในเวลาที่เหมาะสมและจําเป็นต่อการก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสํานักงานหรือติดตั้งเครื่องจักร ข้อ ๓ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีสิทธิที่จะยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2. ให้ยื่นคําขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประเภทที่กําหนดในมาตรา 81/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องมีหลักฐานเอกสารตามรายการ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมีใช่นิติบุคคล ต้องมีหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (3) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ต้องมีเอกสาร ดังนี้ (ก) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร และตัวแทนได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรดังกล่าว ต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซี่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ (ข) กรณีกิจการร่วมค้า ต้องมีเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า (ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด (ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ต้องมีหลักฐานที่แสดงฐานะนิติบุคคล (4) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ต้องมีเอกสารและดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้ สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ต้องมีหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด (ข) กรณีเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมและพร้อมที่จะแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการ ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าจะได้แสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครบถ้วนแล้ว ถ้าเป็นกรณีเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ (1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการแสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ (2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทน ผู้ประกอบการเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง (3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีสถานประกอบการจริงตามที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการใช้สํานักงานกฎหมายหรือสํานักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร (5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมิใช่ผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการที่แท้จริง (6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการดังกล่าวเคยเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนแต่ภายหลังถูกอธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปครั้งหนึ่งแล้ว โดยมูลเหตุมาจากกรณีตาม (1) ถึง (5) (7) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการมิได้แสดงหรือนําส่งเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรให้ครบถ้วนตามที่เจ้าพนักงานสรรพากรร้องขอ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้แก่ผู้ประกอบการ กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งให้ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายสถานประกอบการ ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่ กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ เพราะเข้าลักษณะตามข้อ 6 วรรคสอง ถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตั้งแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) ความในวรรคหนึ่งอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ใด้ กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งอยู่แล้วในขณะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยระบุเฉพาะสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่มิได้ระบุสถานประกอบการแห่งอื่นๆ ไว้ในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ให้ถือว่าสถานประกอบการแห่งอื่นๆ นั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในวันเดือนปีเดียวกันกับสํานักงานใหญ่ ผู้ประกอบการสามารถใช้คําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซด์ของกรมสรรพากรที่มีเลขที่อ้างอิง เพื่อใช้เป็นเสมือนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้จนกว่าจะได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ข้อ ๙ ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น (2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,728
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 158) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 158) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 151) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2547 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,729
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 149) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 149) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่าย หนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 128) เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์“ ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสาม ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 128) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสิน (3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน “เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,730
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ อน. 1/2548 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจัดการในนามกองทุน และการเปิดเผยข้อมูล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 1/2548 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจัดการในนามกองทุน และการเปิดเผยข้อมูล ตามที่สํานักงานได้ออกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยบริษัทจัดการในนามกองทุน และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ดังนั้น เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวได้ถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของข้อกําหนดในแต่ละเรื่อง สํานักงานจึงออกแนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การกําหนดแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงที่ถือว่ามีความชัดเจนและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของกองทุน 2. เรื่องที่ถือได้ว่าอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุน ซึ่งบริษัทจัดการต้องดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 3. การจัดระบบงานในการตรวจสอบการดําเนินการในการใช้สิทธิออกเสียงที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพ และ 4. วิธีการที่ถือได้ว่ามีความเหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอในการเปิดเผยแนวปฏิบัติในการใช้สิทธิออกเสียง และการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียง ต่อผู้ลงทุน ทั้งนี้ ถ้าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้แล้ว สํานักงานจะถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในเรื่องข้างต้นนี้ตามประกาศดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการอาจปฏิบัติเป็นอย่างอื่นที่แตกต่างจากแนวปฏิบัติฉบับนี้ได้ หากการปฏิบัติเช่นนั้นมีมาตรฐานไม่ต่ํากว่า หรือเทียบเท่ากับแนวปฏิบัติฉบับนี้ ข้อ ๑ **1. การกําหนดแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงที่ถือว่ามีความชัดเจนและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของกองทุน** แนวทางดังกล่าวซึ่งมีการจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร โดยปรากฏสาระในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการในการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียง เป็นผู้ที่มีความรู้และเข้าใจในประเด็นที่จะต้องใช้สิทธิออกเสียง (ข) ประเด็นที่ต้องคํานึงถึงในการตัดสินใจใช้สิทธิออกเสียง เช่น ผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับกองทุน ผลประโยชน์ต่อกองทุนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นนั้นเป็นสําคัญ ประโยชน์สูงสุดที่กองทุนจะได้รับในกรณีที่ต้องออกเสียงลงมติในประเด็นที่กองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันเนื่องจากได้มีการลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่ออกหุ้นนั้น การดําเนินการเพิ่มเติมในกรณีที่จะใช้สิทธิออกเสียงแตกต่างจากข้อเสนอของฝ่ายบริหารของบริษัทที่ออกหุ้น เป็นต้น (ค) หลักปฏิบัติเพื่อให้บุคคลตาม (ก) สามารถใช้สิทธิออกเสียงตามหลักเกณฑ์ใน (ข) ได้อย่างอิสระในกรณีที่ประเด็นที่ต้องใช้สิทธิออกเสียงเพื่อกองทุนรวมนั้น มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (ค.1) บุคคลใด ๆ ที่มิใช่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลดังกล่าวที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ (2) บุคคลดังกล่าวที่ถือหุ้นของบุคคลตาม (1) เกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลตาม (1) (3) บุคคลดังกล่าวที่บุคคลตาม (1) ถือหุ้นเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว (ค.2) บุคคลที่บริษัทจัดการถือหุ้นของบุคคลนั้นอยู่ (ค.3) บุคคลที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทจัดการถือหุ้นเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลนั้น ทั้งนี้ บุคคลที่มีอํานาจในการจัดการ ได้แก่ กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ การวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทจัดการเอง (ค.4) บุคคลที่ผู้จัดการกองทุนถือหุ้นเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่าย ได้แล้วทั้งหมดของบุคคลนั้น (ค.5) บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุนของบริษัทจัดการหรือกองทุน (ค.6) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินร้อยละสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๒ **2. เรื่องที่ถือได้ว่าอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนซึ่งบริษัทจัดการต้อง ดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น** ได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน การจ่ายเงินปันผล ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับหรือต่อมูลค่าหุ้น (shareholder’s value) (ข) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสําคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงํากิจการ ทั้งนี้ ทรัพย์สินสําคัญตาม (ข) ได้แก่ ทรัพย์สินที่บริษัทได้มาหรือจําหน่ายไปจากการตกลงเข้าทํารายการตามที่กําหนดในข้อ 10 และข้อ 18 แห่งประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน โดยอนุโลม (ค) การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการของบริษัท (ง) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัท เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การไม่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม การปรับโครงสร้างหนี้ และการออกหุ้นกู้ เป็นต้น (จ) การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานของบริษัท (ฉ) การทําธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น หรือการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ทั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นตาม (ฉ) ได้แก่ บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 258 (1) ถึง (7) ของผู้ถือหุ้น (ช) การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัท หรือวัตถุประสงค์ของบริษัท (ซ) การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท (ฌ) การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของบริษัท ข้อ ๓ **3. การจัดระบบงานในการตรวจสอบการดําเนินการในการใช้สิทธิออกเสียงที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพ** บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งกําหนดขั้นตอน วิธีการ และระยะเวลาในการตรวจสอบการดําเนินการการใช้สิทธิออกเสียงให้เป็นไปตามแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงที่บริษัทจัดการกําหนด โดยบริษัทจัดการควรกําหนดบุคคลที่มีหน้าที่ตรวจสอบดังกล่าว ซึ่งบุคคลนั้นต้องมิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือสังกัดหน่วยงานเดียวกับบุคคลที่ดําเนินการใช้สิทธิออกเสียง และบริษัทจัดการได้กําหนดให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่จัดทํารายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทจัดการ ข้อ ๔ **4. วิธีการที่ถือได้ว่ามีความเหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอในการ****เปิดเผยแนวปฏิบัติในการใช้สิทธิออกเสียง และการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียง ต่อผู้ลงทุน** การที่บริษัทจัดการดําเนินการด้วยวิธีใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงและรับทราบข้อมูลดังกล่าวได้โดยสะดวก เช่น การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ (web site) เป็นต้น และข้อมูลที่เปิดเผยควรมีสาระดังต่อไปนี้ (ก) แนวทางในการใช้สิทธิออกเสียง (ข) รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในรอบปีปฏิทิน ซึ่งมีสาระสําคัญเกี่ยวกับรายชื่อบริษัทที่มีการใช้สิทธิออกเสียง จํานวนครั้งที่ได้ใช้สิทธิออกเสียง และลักษณะการใช้สิทธิออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้าน (ค) รายละเอียดของการใช้สิทธิออกเสียงที่สําคัญ เช่น กรณีที่บริษัทจัดการมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทที่ออกหุ้น หรือกรณีที่บริษัทจัดการมีความเห็นแตกต่างจากฝ่ายบริหารของบริษัทที่ออกหุ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับกับรายชื่อบริษัทที่ออกหุ้นที่จัดให้มีการประชุม ผู้ถือหุ้น ลักษณะการใช้สิทธิออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านพร้อมทั้งเหตุผล และจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดการใช้สิทธิออกเสียงในแต่ละเรื่องด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,731
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 156) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณ มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 156) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณ มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (19) และ (20) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 150) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 “(19) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนบริจาคให้แก่ส่วนราชการตามโครงการของทางราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติในลักษณะทํานองเดียวกัน (20) มูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการซึ่งผู้ประกอบการ จดทะเบียนบริจาคให้แก่ส่วนราชการตามโครงการของทางราชการ เพื่อให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,732
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 155) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 155) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 130) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 411) พ.ศ. 2545” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
3,733
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 4/2548 เรื่อง การขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินของกองทุนรวมสึนามิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2548 ============== เรื่อง การขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินของกองทุนรวมสึนามิ --------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กองทุนรวมสึนามิ” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในหกจังหวัดภาคใต้ ข้อ 2 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมสึนามิได้ โดยสํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันอัตราส่วนดังกล่าวต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 ------------------------------------ ( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
3,734
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 94) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ กําหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย (1) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท (2) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน (3) การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือการกระทําใดๆ ในลักษณะทํานองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้า แข่งขัน (4) การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ (5) การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน (6) การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน “(7) การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า คําว่า “กิจการขนส่งมวลชน” หมายความว่า การให้บริการรับขนส่งสาธารณชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 160) ใช้บังคับ 1 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามข้อ 2 ไม่จําต้องออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกํากับภาษี ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ในหนึ่งวันทําการเพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกํากับภาษีดังกล่าว โดยต้องเก็บใบกํากับภาษีดังกล่าวไว้ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,737
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 153) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 153) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนํามาหักออกจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 67) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "รายได้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึง (ก) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนําเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ หรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับสําหรับการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2(1)(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร (ข) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน คําว่า "บริษัทในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม (ค) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นําเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ (ง) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการประกอบกิจการประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ (1) ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้เริ่มใช้บังคับสําหรับรายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2546 เป็นต้นไป (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคลให้เริ่มใช้บังคับสําหรับรายได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,738
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 6/2548 เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาตและแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2548 เรื่อง แบบคําขอรับใบอนุญาตและแบบใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 และข้อ 6 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 56/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามแบบ 16-5 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,739
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 152) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 152) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน 1.2 ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "1.2 ไม่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอก ราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่สินค้าที่ผู้เดินทางขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้น ตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแสดงสินค้าดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,740
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 151) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 151) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 129) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,741
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 150) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 150) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (18) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 148) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 “(18) มูลค่าของการให้บริการขนส่งก๊าซทางท่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการแก่ผู้รับบริการซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งได้ทําสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในพื้นที่พัฒนา ร่วมกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียและผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ทั้งนี้ เฉพาะการให้บริการขนส่งก๊าซซึ่งผลิตจากเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เท่านั้น พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,742
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 116) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 116) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน ข้อ 1.1 ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “1.1 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและมีจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่ได้รับชําระแล้วเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,743
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 121) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 121) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ซ) ของวรรคสอง ของข้อ 2(4) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 109) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ดังนี้ “(ซ) การเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,744
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 120) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 120) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (15) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2543 “(15) มูลค่าของน้ํามันดีเซลที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตและขายตั้งแต่ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้แก่ผู้ค้าน้ํามันที่จะนํา น้ํามันดีเซลดังกล่าวไปขายให้แก่สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของ ราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะนําน้ํามันดีเซลนั้นไปขายให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย น้ํามันดีเซลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกําหนดคุณภาพของน้ํามันดีเซลสําหรับการส่งไปขายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ตามที่กรมทะเบียนการค้าประกาศกําหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกําหนด ผู้ค้าน้ํามันตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้กระทําการค้าน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง แต่ไม่รวมถึงผู้กลั่นหรือผู้ผลิตน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง หรือผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เรือบรรทุกน้ํามันที่กรมศุลกากรอนุญาตให้ขนถ่ายน้ํามันดีเซลในเขต ต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย เพื่อขายน้ํามันดีเซลให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสี่ หมายความว่า เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามพระบรมราชโองการประกาศเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2538” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,745
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 119) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 119) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของวรรคสองของข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 95) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข่ายภายในองค์กรของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ “(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัดและบริษัทจํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 384) พ.ศ. 2544 ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,746
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 223) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน หรือนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกําหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้วแต่กรณี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน ข้อ ๔ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต้องนําส่งเงินภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การนําส่งเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี ข้อ ๖ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,747
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 8/2548 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2548 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้นําประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ./น. 34/2547 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ./น. 5/2547 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคมพ.ศ. 2547 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับกับตัวแทนซื้อขายสัญญาในการจัดให้มีการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยอนุโลม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,748
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณ มูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(14) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชําร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคํานวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืน” ข้อ ๒ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ไม่ได้นํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยมิได้ดําเนินการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวได้รับสิทธิไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,749
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 9/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 9/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาด กองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2 /2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สัญญา” หมายความว่า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ นิติบุคคลที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่านิติบุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๓ นิติบุคคลที่จะขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ตามประกาศนี้ ต้องเป็น (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (5) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ (7) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ข้อ ๔ นิติบุคคลที่ขอความเห็นชอบตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการรับลูกค้า (ข) ระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้า (ค) ระบบการรับเงินทุนที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการลงทุน (ง) ระบบการรับเรื่องร้องเรียน (2) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีพนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐาน การปฏิบัติงาน (3) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๕ นิติบุคคลที่ขอความเห็นชอบตามข้อ 3 นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แล้วต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ (2) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (3) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบหรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ (5) ถูกสํานักงานเพิกถอนจากการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาประวัติการมีลักษณะต้องห้ามตาม (2) ถึง (5) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าผู้ขอความเห็นชอบได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่งในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๖ ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบตามประกาศนี้ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 ข้อ ๗ การขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๘ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบนิติบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากผู้ขอความเห็นชอบมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าผู้ขอความเห็นชอบดังกล่าวไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๙ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นชอบแล้ว (2) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ (3) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมตามข้อ 4(1) และ (2) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอให้สํานักงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ การเปลี่ยนแปลงระบบงานตาม (1) ให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนดําเนินการ ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบไปแล้ว ข้อ ๑๐ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องดูแลให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยอนุโลม ข้อ ๑๑ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) กรณีที่รับมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากลูกค้า ต้องมอบหลักฐานการรับมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าวให้ลูกค้าด้วย (3) ปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยอนุโลม (4) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (5) จัดทํารายงาน ชี้แจง หรือจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๒ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน (2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้านอกเหนือจากที่ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชําระต่อบริษัทจัดการ เว้นแต่เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนที่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น ข้อ ๑๓ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลหรือพนักงานของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลนั้น และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ต้องบันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวจะดําเนินการแก้ไขปัญหา (2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว (3) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องแจ้งผล การดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้บริษัทจัดการทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น (5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลรายใดขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตาม (3) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก ข้อ ๑๕ ให้นิติบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,750
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 136) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 136) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนํามาหักออกจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (7) ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(7) ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งรายการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารและการใช้พื้นที่อาคารดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ (ก) รายการเกี่ยวกับการประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเพื่อการอื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มทําการก่อสร้างอาคารหรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ทําการก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน ในกรณีที่ได้ทําการก่อสร้างอาคารมาแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ให้แจ้งรายการเกี่ยวกับการประมาณการการใช้พื้นที่อาคารดังกล่าวภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535 (ข) วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ (ค) รายการเกี่ยวกับการเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารทั้งหมดหรือบางส่วน (ง) รายการเกี่ยวกับการใช้พื้นที่อาคารที่เปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,751
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 148) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 148) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทน เพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(17) มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการจดทะเบียน เฉพาะการให้บริการแก่บรรษัทประกันต่อแห่งเอเชียที่กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,752
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 147) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 147) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงาน แตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจาก รายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน "ข้อ 5 ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 จะต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ตามแบบคําขออนุมัติจัดทํารายงานตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะต้องยินยอมให้ เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปติดแถบเครื่องหมายแสดงการได้รับอนุมัติไว้ ณ ที่เปิดเผย ซึ่งเห็น ได้ง่าย กรณีแถบเครื่องหมายดังกล่าวชํารุดเสียหาย หรือสูญหาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคําร้องขอรับแถบเครื่องหมายจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ทันที" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,753
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 12/2548 เรื่อง การขอรับความเห็นชอบแบบและข้อความของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 12/2548 เรื่อง การขอรับความเห็นชอบแบบและข้อความของ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 กําหนดให้แบบและข้อความ ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะจัดให้มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องได้รับความเห็นชอบในสาระสําคัญจากสํานักงาน ก.ล.ต. อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ประสงค์จะจัดให้มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใด ยื่นคําขอรับความเห็นชอบแบบและข้อความของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น ตามแบบ 67-1 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,754
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 146) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 146) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีไว้ ดังต่อไป ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (16) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 133) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "น้ํามันดีเซลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกําหนดคุณภาพของ น้ํามันดีเซลสําหรับการส่งไปขายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจ การค้าประกาศกําหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกําหนด" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
3,755
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2548 เรื่อง อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนในตราสารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานให้เสนอขายในประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2548 เรื่อง อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนในตราสารต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายในประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2548 เห็นชอบให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประเภทที่สํานักงานเสนอ โดยให้อัตราส่วนเป็นไปตามประกาศว่าด้วยการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนนั้น แต่เพื่อให้การลงทุนของกองทุนในตราสารที่ผู้ออกเป็นบุคคลหรือหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งได้ออกตราสารดังกล่าวในคราวเดียวกัน โดยได้เสนอขายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศยังคงอยู่ภายใต้อัตราส่วนเดียวกันไม่ว่าบริษัทจัดการจะได้ลงทุนในตราสารดังกล่าวจากการซื้อในประเทศไทยหรือในต่างประเทศก็ตาม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบข้อ 11 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท “ตราสารต่างประเทศ” หมายความว่า พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ เป็นผู้ออก โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออก การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวอาจเป็นการจัดอันดับที่ตัวผู้ออกก็ได้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ประกาศ ที่ สน. 7/2548” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการลงทุน ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายในประเทศไทย เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารต่างประเทศที่ลงทุนในหรือมีไว้ดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารต่างประเทศทั้งหมดที่ออกในคราวเดียวกัน เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารต่างประเทศที่เสนอขายในต่างประเทศตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่ สน. 7/2548 ด้วย ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศดังกล่าวรวมเข้ากับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๓ การจัดการกองทุนส่วนบุคคลในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตามข้อ 2 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายในประเทศไทย เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วนการลงทุน ข้อ ๔ ในกรณีที่ตราสารต่างประเทศในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 2 หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยเหตุดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งตราสารต่างประเทศนั้นต่อไปก็ได้ (1) การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ (2) เหตุอื่นใดที่มิใช่การลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง และวันที่ตราสารต่างประเทศนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ตราสารต่างประเทศนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,756
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 145) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้าตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 145) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้าตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้าไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทน เพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทําสัญญาตั้งตัวแทน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,757
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 144) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 144) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 และมาตรา 85/16 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (4) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่หรือสถานประกอบการที่มิใช่สํานักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน< BR> "(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะหยุดประกอบกิจการ ชั่วคราว เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการ ตั้งอยู่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว" ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้สรรพากรพื้นที่เป็นผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสรรพากรพื้นที่นั้น” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,758
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 143) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 143) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนขออนุมัติจัดทํารายการในใบ กํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 6 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 ยื่นคําร้อง เป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรภาคในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรภาค ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,759
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 142) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 142) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกําหนดผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิ ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 4 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ขอรับคําร้อง ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการ ตั้งอยู่ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่งให้ขอรับคําร้องดังกล่าวเป็นรายสถานประกอบการ โดยขอรับที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ การขอรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอต่อสรรพากรพื้นที่ก่อนวันรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ไม่น้อยกว่า 7 วันทําการ โดยแนบสําเนารายงานการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10)ฉบับปัจจุบันประกอบการขอรับคําร้องดังกล่าวด้วย กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามวรรคสองได้เนื่องจากได้รับการอนุมัติตามข้อ 1 เป็นครั้งแรก ให้สรรพากรพื้นที่อนุมัติจ่ายคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ตามที่ผู้ประกอบการร้องขอได้ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 1 ต่อมาได้ยื่นคําขอและอธิบดีมีคําสั่งอนุมัติซ้ําอีก ให้ถือการอนุมัติดังกล่าวเป็นการอนุมัติครั้งแรกตามวรรคสาม" ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,760
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 18(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท” ข้อ ๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทได้กําหนดกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 4 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทเป็นเวลาห้าวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน (2) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทในวันทําการใด และบริษัทประสงค์จะเลิกกองทุนรวม (3) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบล้านบาทในวันทําการใด หรือ (4) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนมีไม่ถึงสามสิบห้ารายภายหลังจากวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง (organized market) ข้อ ๔ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(1) หรือตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(2) หรือ (3) หรือตั้งแต่วันที่บริษัททราบเหตุตาม (4) (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(2) หรือ (3) หรือภายในวันถัดจากวันที่บริษัททราบเหตุตาม (4) (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(2) หรือ (3) หรือภายในวันถัดจากวันที่บริษัททราบเหตุตาม (4) เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้ และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(1) หรือภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 3(2) หรือ (3) หรือภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่บริษัททราบเหตุตาม (4) และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,761
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22/2548 เรื่อง การขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินของกองทุนรวมดัชนีและกองทุนรวมอีทีเอฟ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2548 เรื่อง การขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวมดัชนีและกองทุนรวมอีทีเอฟ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน ที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามที่กําหนดไว้ใน ข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 เพื่อเป็น ทรัพย์สินของกองทุนรวมดัชนี (index fund) และกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,762
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 30 วรรคสอง มาตรา 74 วรรคสองประกอบกับมาตรา 30 วรรคสอง และมาตรา 89 วรรคสองประกอบกับมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็น ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ซึ่งสามารถสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อทําการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ศูนย์ซื้อขายสัญญา หรือสํานักหักบัญชีสัญญา ตามประกาศนี้ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่งไม่สามารถทําการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่ยังเหลืออยู่ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ให้การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๓ ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบตลอดจนอํานาจในการสั่งการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี มาใช้บังคับกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 2 โดยอนุโลม ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีตามข้อ 2 รายใดถูกสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเป็นระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้สอบบัญชีรายนั้นพักการทําหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามประกาศนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,763
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 141) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 141) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ (1) คุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจําเครื่อง (Serial Number) ของอุปกรณ์ในแต่ละชุด และจํานวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ (3) แผนผังแสดงตําแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน และแผนผังแสดงระบบการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น (4) ตัวอย่างใบกํากับภาษีอย่างย่อและสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อ (5) ตัวอย่างรายงานการขายสินค้าประจําวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง และรายงานต่าง ๆ ที่ออกจากระบบควบคุมกลางตามข้อ 3(6) แห่งประกาศนี้" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (7) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "หากเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําตัวเครื่องดังกล่าว ถูกเคลื่อนย้าย ถูกทําลาย สูญหาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ให้ระงับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าว และให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ทันที" ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (10) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(10) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การระงับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน การเคลื่อนย้าย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายภายในสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือออกจากสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบภายใน 7 วัน ก่อนวันจําหน่าย ทําลาย ระงับ หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,764
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 140) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทน และกำหนดรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 140) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 198 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบกํากับภาษีของการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องแจ้งการแต่งตั้ง หรือการยกเลิกตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันทําสัญญาการตั้งตัวแทน หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันยกเลิกสัญญาการตั้งตัวแทน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องส่งมอบสําเนาสัญญาการตั้งตัวแทน หรือการยกเลิกการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันทําสัญญาการตั้งตัวแทน หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันยกเลิกสัญญาการตั้งตัวแทน" ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,765
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 139) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 139) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 99) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 4 ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (1) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบตั้งอยู่ (2) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ให้สรรพากรพื้นที่เป็นผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสรรพากรพื้นที่นั้น” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,766
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีก ที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีก ที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วย ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการ ซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ (1) คุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจําเครื่อง (Serial Number) ของอุปกรณ์ในแต่ละชุด และจํานวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ (3) แผนผังแสดงตําแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน และแผนผังแสดงระบบการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น (4) ตัวอย่างใบกํากับภาษีอย่างย่อและสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อ (5) ตัวอย่างรายงานการขายสินค้าประจําวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง และรายงานต่างๆ ที่ออกจากระบบควบคุมกลางตามข้อ 3 (6) แห่งประกาศนี้ กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลคําขออนุมัติดังกล่าวตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th พร้อมกับอัปโหลด (Upload) เอกสารและรายการตามวรรคหนึ่งประกอบคําขออนุมัติได้อีกวิธีหนึ่ง” (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 220) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ) ข้อ ๒ เครื่องบันทึกการเก็บเงินจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นเป็นระบบ POSS เท่านั้น และต้องใช้กระดาษออกใบกํากับภาษีอย่างย่อให้แก่ผู้ซื้อสินค้า โดยจะใช้กระดาษขนาดเดียวกันเป็นสําเนาซ้อนกับใบกํากับภาษีตัวจริงก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องเพื่อบันทึกรายการประจําวัน (Daily Transaction Journal) ซึ่งใช้เป็นสําเนาใบกํากับภาษีไว้ในขณะเดียวกันกับการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อด้วย เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีระบบควบคุมกลางที่สามารถออกรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยอัตโนมัติในโปรแกรมเดียวกันทุกสิ้นวันทําการ และต้องต่อเชื่อมเข้ากับระบบการจัดทํารายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐาซอฟต์แวร์ของกรมสรรพากร (2) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถคํานวณค่าของเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ได้กําหนดไว้จากระบบควบคุมกลาง (3) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถบันทึกรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ในใบกํากับภาษีอย่างย่อและสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อ (ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ” หรือคําว่า “ TAX INV (ABB) ” หรือคําว่า “ TAX INVOICE (ABB) ” (ข) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน (ค) รหัสของสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ (ง) หมายเลขหนังสือเดินทาง (PASSPORT) (จ) หมายเลขเที่ยวบิน (FLIGHT) ที่ปรากฏใน “ BOARDING PASS ” (ฉ) หมายเลขลําดับใบกํากับภาษี ซึ่งต้องเรียงลําดับตัวเลขต่อเนื่องกันไปจนสิ้นวันและต่อเนื่องไปในวันต่อ ๆ ไป (ช) รหัสหรือเครื่องหมายแสดงความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งแยกต่างหากจากสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ซ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า โดยชื่อสินค้าจะออกเป็นรหัสก็ได้ (ฌ) ราคาสินค้าที่แสดงเป็นหน่วยเงินตราไทย โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว (ญ) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี (ฎ) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่กรมสรรพากรกําหนด (ฏ) ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ในสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อจะไม่มีชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียน เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร หรือข้อความที่ระบุว่าราคาสินค้าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วก็ได้ และสําหรับรายการของสินค้าในสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อจะบันทึกเป็นรหัสของสินค้าโดยไม่บันทึกเป็นรายการของสินค้าตามใบกํากับภาษีอย่างย่อก็ได้รวมทั้งในกรณีที่ไม่สามารถบันทึก “ เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ” และคําว่า “ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ” ไว้ในสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อทุกครั้งที่มีการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อได้ ให้บันทึกไว้อย่างน้อยในตอนต้นและตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันก็ได้ (4) เครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่องต้องสามารถออกผลสรุปรายงานการขายสินค้าประจําวันได้ ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ดังนี้ (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องบันทึกอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศแต่ละสกุลไว้ในระบบควบคุมกลาง (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะบันทึกรายการของสินค้าในใบกํากับภาษีอย่างย่อเป็นรหัส จะต้องมีรหัสดังกล่าวพร้อมทั้งคําแปลทั้งระบบก่อนวันเริ่มใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน พร้อมทั้งรหัสหรือเครื่องหมายที่แสดงความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 แยกต่างหากจากสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บไว้ ณ สถานประกอบการทุกแห่งและที่ตั้งของระบบควบคุมกลางด้วย (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแสดงหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีลงในใบกํากับภาษีอย่างย่อที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน โดยเรียงตามลําดับตัวเลขจนหมดทุกหลักก่อน จึงจะย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ ยกเว้นกรณีที่จะทําให้ยอดขายรวมเกินความสามารถของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและทําให้ข้อมูลสูญหาย ก็ให้ออกรายงานล้างยอดสะสมและเริ่มเลขลําดับใหม่ได้ โดยให้หมายเหตุเหตุผลไว้ในม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันด้วย (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทํารายงานสรุปการขายสินค้าประจําวันจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่องอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ ซึ่งต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับมูลค่าของสินค้าที่ขาย จํานวนใบกํากับภาษีอย่างย่อที่ออกในแต่ละวัน และสรุปรายละเอียดการรับชําระเงิน (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําสรุปรายงานการล้างยอดขายสินค้าที่ออกจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินทุกครั้ง (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทํารายงานจากระบบควบคุมกลางทุกสิ้นวันทําการ ดังนี้ (ก) รายงานสรุปการขายสินค้าประจําวันของเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่องที่มีรายการอย่างน้อยตามข้อ 3(4) แห่งประกาศนี้ โดยสรุปเป็นรายสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย และสรุปเป็นยอดรวมของสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยทั้งหมดของผู้ประกอบการจดทะเบียน (ข) รายงานสรุปรายละเอียดสินค้าที่ขาย ซึ่งแสดงรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วยประเภทของสินค้า ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าที่ขาย โดยแยกเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่างหากจากกัน รายงานตาม (ก) และ (ข) ให้แสดงยอดสะสมเป็นรายเดือน(Month to Date) และแสดงยอดสะสมเป็นรายปี (Year to Date) ด้วย โดยต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วยประเภทของสินค้า ปริมาณของสินค้าที่ขายแยกตามประเภทของสินค้า มูลค่าของสินค้า จํานวนเงินที่ได้รับทั้งสิ้น และรายละเอียดเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศแต่ละสกุลที่ได้รับ โดยรายงานสะสมยอดขายเป็นรายเดือน และรายปี ให้บันทึกไว้ที่ระบบควบคุมกลางเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และสามารถจัดพิมพ์ได้ทุกสิ้นวันทําการ หรือภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือน หรือเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ (ค) รายงานการขายประจําวัน (Sales Report) โดยมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ (2) รหัสของหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย (3) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่กรมสรรพากรกําหนด (4) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี (5) ชื่อผู้ซื้อสินค้า (6) หมายเลขเที่ยวบินที่ผู้ซื้อสินค้าที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร (7) หมายเลขหนังสือเดินทางของผู้ซื้อสินค้าที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร (8) ชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้า โดยอาจแสดงเป็นรหัสก็ได้ (9) ปริมาณของสินค้า (10) ราคาของสินค้า (11) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี (ง) รายงานภาษีขาย ซึ่งแสดงรายละเอียดประกอบด้วยชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร วันเดือนปี ที่ออกใบกํากับภาษี เลขที่/เล่มที่ของใบกํากับภาษีโดยเรียงลําดับตามเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินในแต่ละสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย มูลค่าของสินค้าที่ขาย ซึ่งต้องแยกเป็นมูลค่าสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่างหากจากกัน และจํานวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดทํารายงานภาษีขายตามวรรคหนึ่ง ให้สรุปเป็นรายเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง และสามารถจัดพิมพ์ได้ทุกสิ้นวันทําการ หรือภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือน หรือเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ (7) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปติดเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องบนเครื่องที่ได้รับอนุมัติให้ใช้บันทึกการเก็บเงิน หรือในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบให้ติดเอง ต้องติดให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 3 วันนับจากวันที่ได้รับเครื่องหมายดังกล่าว “หากเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําตัวเครื่องดังกล่าว ถูกเคลื่อนย้าย ถูกทําลาย สูญหาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ให้ระงับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าว และให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ทันที” (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 141) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) “กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 220) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ) (8) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องเก็บม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวัน (Daily Transaction Journal) และรายงานต่างๆ ไว้ ณ สถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย เป็นเวลา 5 ปี โดยหากเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากนั้นจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลใดก็ได้ (9) ห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินระบบ POSS ออกใบกํากับภาษีอย่างย่อด้วยมือ ยกเว้นกรณีที่เครื่องขัดข้องใช้การไม่ได้ เช่น เครื่องเสียหาย หรือไฟฟ้าดับ โดยจะต้องประทับตราคําว่า “ เครื่องขัดข้อง ”ไว้ในใบกํากับภาษีอย่างย่อที่ออกด้วยมือ “(10) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การระงับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน การเคลื่อนย้าย ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนย้ายภายในสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือออกจากสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ (แบบ ภ.พ.06.1) ภายใน 7 วันก่อนวันจําหน่าย ทําลาย ระงับ หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งต่อสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งต่อผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 220) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป ) ข้อ ๔ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2539 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,767
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 26/2548 เรื่อง แบบคำขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 26/2548 เรื่อง แบบคําขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการ เป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 และข้อ 14 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองหรือให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,768
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 138) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 138) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 และมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน การจัดทํารายงาน และการเก็บรักษารายงานไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 60) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(2) เป็นสถานีบริการน้ํามัน ซึ่งเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงด้วยถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิงที่เป็นถังใต้ดินซึ่งมีความจุใบละ 5,000 ลิตรขึ้นไป ไม่ว่าจะมีถังลอยรวมอยู่ในสถานบริการน้ํามันด้วยหรือไม่ หรือที่เป็นถังลอยอย่างเดียว โดยสถานบริการน้ํามันที่ใช้ถังลอยเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงอย่างเดียวต้องได้รับอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ํามันประเภทสถานีบริการจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 9 การยื่นคําขออนุมัติตามข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขต ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการแต่ละแห่งตั้งอยู่" ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,769
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 28/2548 เรื่อง รายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือของนิติบุคคลเฉพาะกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2548 เรื่อง รายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือ ของนิติบุคคลเฉพาะกิจ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 35/22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32 /2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กรรมการของนิติบุคคลเฉพาะกิจรายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ (2) วันที่โอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการ (3) รายละเอียดของสินทรัพย์และผลประโยชน์ที่โอน โดยระบุมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ จํานวนลูกหนี้ และมูลค่าทางบัญชีของผลประโยชน์ ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจใดไม่อาจโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้เพิ่มรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในรายงานด้วย (1) รายละเอียดของสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือที่ยังมิได้โอน โดยระบุมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ จํานวนลูกหนี้ และมูลค่าทางบัญชีของผลประโยชน์ (2) เหตุผลและความจําเป็นที่ทําให้ไม่สามารถโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้เสนอโครงการได้ (3) แผนการดําเนินการกับสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือที่ยังมิได้โอนให้แก่ผู้เสนอโครงการ และระยะเวลาที่คาดว่าจะโอนได้ทั้งหมด ให้กรรมการของนิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นรายงานตามข้อนี้ต่อกรมสรรพากรภายในกําหนดเวลาเดียวกันด้วย ข้อ ๒ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้นิติบุคคลเฉพาะกิจใดไม่สามารถโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการภายในกําหนดเวลา ให้กรรมการของนิติบุคคลเฉพาะกิจนั้นยื่นคําขอผ่อนผันกําหนดเวลาการโอนดังกล่าวต่อสํานักงานก่อนวันครบกําหนด โดยต้องแสดงให้ชัดเจนถึงเหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผัน แผนการดําเนินการกับสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือที่ยังมิได้โอนให้แก่ผู้เสนอโครงการ รวมทั้งระยะเวลาที่คาดว่าจะโอนได้ทั้งหมด และในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุอันจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดเวลาการโอนดังกล่าวโดยอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับการผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,770
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 137) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 137) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ดังนี ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (13) ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(13) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การเคลื่อนย้ายออกจากสถานประกอบการโดยมิใช่เพื่อการซ่อมแซมหรือบํารุงรักษา หรือกรณีที่มิได้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้ง ให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบภายใน 7 วัน ก่อนวันจําหน่าย ทําลาย หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีเหตุการณ์ ดังกล่าวเกิดขึ้น" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อจะต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขออนุมัติสําหรับเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่จะใช้เป็นรายสถานประกอบการต่ออธิบดี กรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขต ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,771
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนและกำหนดรายการในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนและกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ มาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวงฉบับที่ 198 (พ.ศ.2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบกํากับภาษีของการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ และให้เรียกว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิตั้งตัวแทนออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร และให้เรียกตัวแทนดังกล่าว ว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทน (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องเป็นผู้ประกอบกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องแต่งตั้งผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 198 (พ.ศ.2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2538 รับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ “(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องแจ้งการแต่งตั้ง หรือการยกเลิกตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันทําสัญญาการตั้งตัวแทน หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันยกเลิกสัญญาการตั้งตัวแทน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 140) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป) “กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งต่อผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 219) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องทําสัญญาการตั้งตัวแทน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 3 (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นในการออกใบกํากับภาษีและในการจัดทํารายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีใช้ระบบคอมพิวเตอร์จัดทํารายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานซอฟต์แวร์ของกรมสรรพากร (6) หากผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการไม่มีหรือมิได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นในการออกใบกํากับภาษีและในการจัดทํารายงานตาม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการมีสิทธิตั้งตัวแทนออกใบกํากับภาษีได้เฉพาะการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันเท่านั้น และห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการดังกล่าวออกใบกํากับภาษีสําหรับกิจการให้บริการประเภทที่ได้ทําสัญญาตั้งผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันไว้แล้ว (7) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องไม่ตั้งผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร “(8) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ต้องไม่ตั้งผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนรายอื่นรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการ และออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ สําหรับสินค้าหรือบริการประเภทที่ได้ทําสัญญาตั้งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนรายใด ดําเนินการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกํากับภาษีแทนแล้ว เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 81) ใช้บังคับ 25 ธันวาคม 2538 เป็นต้นไป) (9) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องจัดทําและเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานภาษีขาย กรณีตั้งตัวแทนรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกํากับภาษีแทน สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มิใช่การขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ดังนี้ (ก) ต้องจัดพิมพ์สําเนาใบกํากับภาษีตามข้อมูลที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนได้ส่งผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (Transfer File) ลงบนกระดาษให้แล้วเสร็จภายใน 1 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูล หรือจัดเก็บสําเนาใบกํากับภาษีที่ได้รับจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนดังกล่าวไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลซึ่งสามารถเรียกพิมพ์ได้ทันทีเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ (ข) ต้องจัดพิมพ์รายงานการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและการออกใบกํากับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนได้จัดทําและส่งผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (Transfer File) มาให้ โดยให้จัดทําตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ถือเป็นรายงานภาษีขายแยกจากรายงานภาษีขายที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกํากับภาษีเอง โดยให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการจัดพิมพ์รายงานดังกล่าวทุกสิ้นวันทําการ หรือภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือน หรือเมื่อเจ้าพนักงานรรพากรสั่งให้พิมพ์ (ค) ต้องเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีตาม (ก) และรายงานภาษีขายตาม (ข) ไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และหากเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปีแล้วหลังจากนั้นจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลใดก็ได้ (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องจัดทําและเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานภาษีขาย กรณีตั้งตัวแทนรับชําระเงินค่าบริการและออกใบกํากับภาษีแทน สําหรับการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันนี้ ดังนี้ (ก) ให้ใช้บันทึกรายการประจําวัน (Sale Journal Report by Event Code) ซึ่งเป็นสําเนาใบกํากับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนจัดพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนและส่งมอบให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ เป็นสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ แยกจากรายงานภาษีขายส่วนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการออกใบกํากับภาษีเอง (ข) ต้องเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนส่งมอบให้ไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยหากเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากนั้นจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลใดก็ได้ (11) กรณีรอบวันทําการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต่างจากรอบวันทําการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนให้ใช้รอบวันทําการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเป็นเกณฑ์ ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้รับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องทําสัญญาการตั้งตัวแทน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 3 (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นในการออกใบกํากับภาษี การจัดทํารายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดทําบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ และการจัดทํางบการเงิน ในกรณีใช้ระบบคอมพิวเตอร์จัดทํารายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานซอฟต์แวร์ของกรมสรรพากร “(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษี โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ทุกกรณี เว้นแต่หลักเกณฑ์ในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้ การยื่นคําขออนุมัติให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลคําขออนุมัติดังกล่าวตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้อีกวิธีหนึ่ง ” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 219) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่สามารถออกใบกํากับภาษีที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้เมื่อผู้ชําระเงินเรียกร้อง (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องจัดทําและส่งข้อมูลการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานต่าง ๆ กรณีที่ออกใบกํากับภาษีแทนสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มิใช่การขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ดังนี้ (ก) ต้องจัดพิมพ์สําเนาใบกํากับภาษีบนม้วนกระดาษต่อเนื่องที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่องเรียงลําดับต่อเนื่องกันไปตามการใช้งานของเครื่อง บันทึกการเก็บเงิน และส่งข้อมูลสําเนาใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละรายผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (Transfer File) ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการภายใน 1 วันทําการนับแต่สิ้นวันทําการแต่ละวัน (ข) ต้องจัดทํารายงานการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ดังนี้ รายงานสรุปการขายประจําวัน ให้จัดทํารายงานการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละราย โดยให้จัดทําทั้งในส่วนที่เป็นของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและในส่วนที่เป็นของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนทุกสิ้นวันทําการ โดยให้จัดทําเป็นรายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน รายงานการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละราย ให้จัดทําแยกเป็นรายผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดทุกสิ้นวันทําการ และส่งรายงานผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (Transfer File) ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการภายใน 1 วันทําการนับแต่สิ้นวันทําการแต่ละวัน และให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนสามารถจัดพิมพ์รายงานนั้นทุกสิ้นวันทําการ หรือภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือน หรือเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ (ค) ต้องเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานต่าง ๆ ไว้ ณ สถานประกอบการที่ออกใบกํากับภาษีหรือรายงานนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยหากเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากนั้นจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลใดก็ได้ (7) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องจัดทําและส่งข้อมูลการรับชําระเงินจากการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน และการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ และเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีและรายงานต่าง ๆ กรณีที่ออกใบกํากับภาษีแทนสําหรับการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ดังนี้ (ก) ต้องจัดพิมพ์สําเนาใบกํากับภาษี (Daily Master Journal)แทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการทุกรายในแต่ละวันทําการ บนม้วนกระดาษต่อเนื่องที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง หรือบนกระดาษต่อเนื่องที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลาง โดยให้เรียงลําดับต่อกันไปตามการใช้งานของเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง หรือให้เรียงลําดับต่อกันไปตามการใช้งานของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางแล้วแต่กรณีเพื่อเป็นหลักฐานของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเอง (ข) ต้องจัดทํารายงานประจําวันด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางดังนี้ รายงานสรุปการรับชําระเงินจากการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละรายซึ่งระบุรายละเอียดแยกตามรอบการแสดงแต่ละรอบ รายงานสรุปการรับชําระเงินจากการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันแยกเป็นแต่ละสถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทน (ค) ต้องจัดทํารายงานก่อนเริ่มจําหน่ายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางดังนี้ รายงานการจัดสรรที่นั่งแบ่งตามส่วน (Section) และราคา (Price Category) รายงานเกี่ยวกับราคาขายและราคาหลังหักส่วนลดของที่นั่งแต่ละประเภท (ง) ต้องจัดทํารายงานหลังจบการแสดงแต่ละรอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลาง โดยให้จัดพิมพ์บนกระดาษแยกเป็นรายเดือนภาษีตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลาง ส่งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการภายใน 3 วันทําการนับแต่วันสิ้นเดือนแต่ละเดือน และหรือนับแต่วันสิ้นสุดการแสดงแต่ละเรื่อง ดังนี้ รายงานการขายตามผังที่นั่งตั้งแต่เริ่มถึงจบการแสดง (Map Report) รายงานสรุปผลการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละครหรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน (Settlement Report) รายงานการรับตั๋วหรือบัตรคืน หรือตั๋วหรือบัตรเสียหาย (Return Report) บันทึกรายการประจําวัน (Sales Journal Report by Event Code) ตั้งแต่เริ่มต้นถึงจบการแสดงแต่ละรอบ ซึ่งถือเป็นสําเนาใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละราย และให้ใช้เป็นรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการด้วย (จ) ต้องเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีตาม (ก) ไว้ ณ สถานประกอบการที่ออกใบกํากับภาษี กรณีจัดพิมพ์สําเนาใบกํากับภาษีบนม้วนกระดาษต่อเนื่องที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง หรือจัดเก็บไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่กรณีจัดพิมพ์สําเนาใบกํากับภาษีบนกระดาษต่อเนื่องที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลาง และเก็บรักษารายงานต่าง ๆ และสําเนาใบกํากับภาษีตาม (ง) ไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยหากเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากนั้นจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลใดก็ได้ (8) การบันทึกยอดขายสะสมไว้ในเครื่องบันทึกการเก็บเงิน กรณีการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ที่มิใช่การขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้บันทึกยอดขายสะสมไว้ในเครื่องบันทึกการเก็บเงินจนตัวเลขหมดทุกหลักก่อน จึงจะย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ ยกเว้นกรณีที่จะทําให้ยอดขายรวมเกินความสามารถของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและทําให้ข้อมูลสูญหาย ก็ให้ออกรายงานล้างยอดสะสมและเริ่มบันทึกยอดขายใหม่ได้ โดยให้หมายเหตุเหตุผลไว้ในม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันด้วย (9) การบันทึกยอดขายสะสมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลาง กรณีการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ให้บันทึกยอดขายสะสมตามรอบการแสดงของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละรายไว้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางซึ่งควบคุมการขายตั๋วหรือบัตรนั้น และให้ล้างยอดสะสมได้เมื่อจัดทํารายงานตาม (7)(ง) แล้ว (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องมีรหัสของสถานประกอบการที่เป็นสาขา และรหัสของพนักงานผู้ออกใบกํากับภาษีพร้อมคําแปล เก็บไว้ ณ สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องทุกสถานประกอบการ โดยจะเก็บไว้ในกระดาษหรือในสื่อบันทึกข้อมูล ซึ่งสามารถเรียกพิมพ์ได้ทันทีเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องทําสัญญาการตั้งตัวแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องทําสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ และให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีและใบรับแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ (2) สัญญาการตั้งตัวแทนต้องทําเป็นลายลักษณ์อักษร และจะตั้งตัวแทนเพื่อรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทก็ได้ (3) สัญญาการตั้งตัวแทนต้องกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนจะต้องกระทําให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการตามประกาศนี้ (4) สัญญาการตั้งตัวแทนต้องกําหนดรายการดังต่อไปนี้ในสัญญาด้วย และให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเก็บรักษารายละเอียดตามรายการดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องทุกสถานประกอบการ โดยจะจัดเก็บไว้ในกระดาษหรือในสื่อบันทึกข้อมูล ซึ่งสามารถเรียกพิมพ์ได้ทันทีเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ เว้นแต่กรณีที่เป็นการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนจะจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลาง ซึ่งสามารถเรียกพิมพ์ได้ทันทีเมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรสั่งให้พิมพ์ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนก็ได้ (ก) ชื่อ ที่อยู่และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทน (ข) รหัสของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละรายพร้อมคําแปล (ค) รหัสประเภทของสินค้าหรือบริการที่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนรับชําระเงินและออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ และกรณีการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันแทน ต้องมีรหัสของรอบการแสดงพร้อมทั้งรหัสของส่วนลดที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการได้ลดให้แก่ลูกค้า พร้อมคําแปล “(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการต้องส่งมอบสําเนาสัญญาการตั้งตัวแทน หรือการยกเลิกการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันทําสัญญาการตั้งตัวแทน หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันยกเลิกสัญญาการตั้งตัวแทน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 140) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป) “กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ส่งมอบต่อผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 219) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการและผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องเก็บรักษาสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตลอดเวลาที่สัญญามีผลใช้บังคับ และเก็บรักษาต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนออกใบกํากับภาษีและหรือใบรับแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการนําเอกสารที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร มาชําระค่าสินค้าหรือค่าบริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องตีพิมพ์ข้อความที่แสดงว่าได้รับชําระเงินแล้วลงบนเอกสารดังกล่าว เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการรับชําระเงินแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ และส่งมอบส่วนที่เป็นใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ พร้อมทั้งเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนออกใบกํากับภาษีสําหรับการรับชําระเงินแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการที่มิใช่การขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรีละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องออกใบกํากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) คําว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” หรือ “TAX INVOICE (ABB)” หรือ “TAX INV (ABB)” (ข) ชื่อ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและรหัสของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ (ค) ชื่อหรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทน กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนใช้สถานประกอบการหลายแห่งในการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ จะต้องระบุชื่อหรือชื่อย่อและรหัสของสถานประกอบการที่เป็นสาขาไว้ในใบกํากับภาษีด้วย (ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี (จ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการโดยชื่อ ชนิด หรือประเภทของสินค้าหรือบริการจะออกเป็นรหัสก็ได้ (ฉ) ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการโดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว (ช) วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกใบกํากับภาษี (ซ) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (ฌ) ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยให้จัดทําหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีเป็นสองชุด ชุดแรกให้เรียงลําดับต่อกันไปตามการใช้งานของเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง และชุดที่สองให้เรียงลําดับต่อกันไปแยกตามรายผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการแต่ละรายในเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง กรณีที่ออกใบกํากับภาษีที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย จะต้องมีรหัสหรือเครื่องหมายหรือข้อความที่แสดงให้เห็นว่าหมายเลขลําดับใดเป็นหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายตั๋วหรือบัตรดูภาพยนตร์ ดนตรี ละคร หรือกิจการที่มีลักษณะทํานองเดียวกันแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องออกใบกํากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) คําว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” หรือ “TAX INVOICE (ABB)” หรือ “TAX INV (ABB)” (ข) ชื่อ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและรหัสของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ (ค) ชื่อหรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทน กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนใช้สถานประกอบการหลายแห่งในการออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ จะต้องระบุชื่อหรือชื่อย่อและรหัสของสถานประกอบการที่เป็นสาขาไว้ในใบกํากับภาษีด้วย (ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี (จ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของบริการ โดยชื่อ ชนิด หรือประเภทของบริการจะออกเป็นรหัสก็ได้ (ฉ) ราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว (ช) วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกใบกํากับภาษี (ซ) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (ฌ) รหัสของรอบการแสดงแต่ละรอบ (ญ) ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยให้จัดทําหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีเรียงลําดับต่อกันไปตามการใช้งานของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางในแต่ละวันทําการ กรณีที่ออกใบกํากับภาษีที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย จะต้องมีรหัสหรือเครื่องหมายหรือข้อความที่แสดงให้เห็นว่าหมายเลขลําดับใดเป็นหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร การบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่กรมสรรพากรกําหนดลงในใบกํากับภาษี ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนออกตั๋วหรือบัตรโดยใช้ข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นที่ระบบกลางแยกต่างหากจากข้อมูลของเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่องที่ใช้ออกใบกํากับภาษี จะใช้เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่กําหนดไว้จากระบบกลางของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเลคทรอนิคส์อื่นและรหัสของสถานประกอบการที่เป็นสาขาซึ่งออกใบกํากับภาษี พร้อมทั้งรหัสของพนักงานผู้ออกใบกํากับภาษีแทนก็ได้ กรณีการขายตั๋วหรือบัตรล่วงหน้าให้ความรับผิดในการเสียภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการเกิดขึ้น ณ วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนขายตั๋วหรือบัตรนั้น การแสดงราคาตั๋วหรือบัตร ให้ระบุราคาขายหลังหักส่วนลดได้ แต่ต้องมีรหัสของส่วนลดกํากับไว้ในใบกํากับภาษีด้วย (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องจัดทําใบกํากับภาษีและสําเนาใบกํากับภาษี ที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกํากับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนได้ออกใบกํากับภาษีตาม (2) หรือ (3) ไปแล้ว ให้เรียกใบกํากับภาษีนั้นคืนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และออกใบกํากับภาษีที่มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรให้ใหม่ โดยจะต้องออกจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดิมและออกให้ภายในวันเดียวกันเท่านั้น (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนที่ประสงค์จะออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการโดยให้มีรายการเป็นอย่างอื่น นอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ให้ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร และห้ามออกใบกํากับภาษีดังกล่าวก่อนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร (6) อธิบดีกรมสรรพากรอาจกําหนดให้รายการในใบกํากับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนออกแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการมีรายการเป็นอย่างอื่นเพิ่มเติมเป็นการทั่วไป หรือเฉพาะรายผู้ประกอบการจดทะเบียนก็ได้ ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเริ่มออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการได้ต่อเมื่อ (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการได้แจ้งการแต่งตั้งตัวแทนและได้ส่งมอบสําเนาสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแล้ว และ (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๖ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,772
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 30/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 39/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในสองรอบปีบัญชีนับจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากบริษัทจดทะเบียนมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้ไม่สามารถจัดให้มีการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีได้ ให้บริษัทจดทะเบียนยื่นขอผ่อนผันตามแบบคําขอผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี (แบบ 56 – auditor) ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยแบบประเมินความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีที่จัดทําโดยคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียน และหนังสือรับรองความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรายนั้น ต่อสํานักงานก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายเดิมให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ข้อ ๒ ในการพิจารณาคําขอผ่อนผัน สํานักงานจะคํานึงถึงเหตุผลและความจําเป็นของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีดังกล่าวสังกัดในช่วงห้ารอบปีบัญชีที่ผ่านมา และในกรณีที่สํานักงานเห็นควรผ่อนผันให้ตามคําขอ บริษัทจดทะเบียนสามารถแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายเดิมให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้คราวละหนึ่งรอบปีบัญชีโดยสํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันให้บริษัทจดทะเบียน สํานักงานสอบบัญชีหรือผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับรอบปีบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,773
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 31/2548 เรื่อง ข้อกำหนดในสัญญาตั้งตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2548 เรื่อง ข้อกําหนดในสัญญาตั้งตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. “ผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญา” หมายความว่า (1) ผู้รับประโยชน์หรือร่วมรับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ (3) ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือการชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าการรับประโยชน์ การควบคุม หรือการสนับสนุนทางการเงินจะเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่งหรือโดยประการอื่น ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม (trading abuse) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในสัญญาตั้งตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระหว่างตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้า (1) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งจัดทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา ศูนย์ซื้อขายสัญญา สํานักหักบัญชีสัญญา หรือสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่ศูนย์ซื้อขายสัญญา สํานักหักบัญชีสัญญา หรือสํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ หรือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนด (ก) ข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้า (ข) วัตถุประสงค์ในการซื้อขายของลูกค้า (ค) ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายของลูกค้าไม่ว่าการซื้อขายดังกล่าวจะกระทําผ่านตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นหรือไม่ก็ตาม ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าซื้อขาย (ง) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้ง จัดหา และจัดทําคําชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลตาม (ก)(ข) และ (ค) ของบุคคลอื่นนั้นทุกรายและทุกทอด ทั้งนี้ เฉพาะที่ลูกค้ารู้หรือควรรู้เนื่องจากการเป็นผู้ดําเนินการเช่นนั้น (2) ลูกค้ายินยอมให้ตัวแทนซื้อขายสัญญางดให้บริการเป็นตัวแทนกับลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขาย จํากัดฐานะ หรือปริมาณการซื้อขาย ล้างฐานะ และดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของศูนย์ซื้อขายสัญญา สํานักหักบัญชีสัญญา หรือสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ (ก) การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ามีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา หรือทําให้หรือน่าจะทําให้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด (ข) ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสมหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ค) ลูกค้าไม่ดําเนินการแจ้ง จัดหาข้อมูล หรือจัดทําคําชี้แจงตาม (1) หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรืออาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,774
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 135) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 135) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 5) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมอบอํานาจให้ตัวแทนขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อให้ตัวแทนออกใบกํากับภาษีในนามของตน โดยยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวแทนตั้งอยู่" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 5) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวแทน ให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรหรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ปฏิบัติตาม (1) ถึง (4) และแจ้งการเปลี่ยนแปลง ณสํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวแทนเดิมตั้งอยู่ก่อนการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ตัวแทนใหม่นําสําเนาแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงมาแจ้ง ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวแทนใหม่ตั้งอยู่” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,775
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 37/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 56 /2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 64/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 28/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามแบบและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลา 9.00 - 15.30 น. ให้รายงานภายใน 30 นาทีนับแต่เวลาที่มีการซื้อขาย (trade time) (2) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นภายหลังเวลา 15.30 น. ให้รายงานภายในเวลา 9.30 น. ของวันทําการถัดไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,776
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 134) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 134) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของ (12) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 50) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2537 ”ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับใบกํากับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,777
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2548 เรื่อง การคำนวณอัตราส่วนการลงทุนหรือการมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2548 เรื่อง การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนหรือการมีไว้ซึ่ง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทคํานวณอัตราส่วนการลงทุนโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) นับมูลค่าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชียที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าว หรือ (2) นับมูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนรวมพันธบัตรเอเชียดังกล่าวลงทุนหรือมีไว้ รวมในอัตราส่วนสําหรับหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือ การหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยถือเสมือนหนึ่งว่าบริษัทจัดการได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่นนั้นโดยตรง ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่กองทุนรวมพันธบัตรเอเชียเป็นกองทุนรวมที่รัฐบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคให้การสนับสนุน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้กองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชียได้โดยไม่ติดข้อจํากัดที่เข้มงวดเกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุน จึงควรกําหนดให้การคํานวณการลงทุนในกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย สามารถคํานวณตามมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชียหรือคํานวณตามประเภทและสัดส่วนจริงของสินทรัพย์ (look-through) ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นตราสารภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่สํานักงานกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในตราสารดังกล่าวไว้ผ่อนคลายกว่าก็ได้
3,778
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 40/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 40/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการรับรองความถูกต้อง ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ ในประกาศนี้ “ผู้รับรองมูลค่า” หมายความว่า บุคคลที่ทําการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “วันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date)” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้มีผู้รับรองมูลค่าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานให้เป็นผู้รับรองมูลค่า และ (2) ไม่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสําคัญกับบริษัทจนทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบและได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้ว ข้อ ๓ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีการรับรองมูลค่าเมื่อมีการทําหรือต่อสัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินฉบับใหม่ และในกรณีที่สัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินมิได้กําหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ ให้บริษัทดําเนินการภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19ธันวาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีบุคคลที่สามทําหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอันเป็นประโยชน์ต่อการยืนยันความถูกต้องของการคํานวณจํานวนหน่วยสําหรับสมาชิกที่ส่งเงินเข้ากองทุนและการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ รวมทั้งเพื่อประเมินความสามารถในการจัดการกองทุนของบริษัทจัดการได้อย่างถูกต้อง
3,779
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 83 และมาตรา 83/5 มาตรา 85 มาตรา 85/5 มาตรา 85/6 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 33) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2535 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 48) .เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2537 ข้อ ๒ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) แบบ ภ.พ.01 แบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (2) แบบ ภ.พ.02 แบบคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) แบบ ภ.พ.04 แบบคําขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) แบบ ภ.พ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (5) แบบ ภ.พ.30 และแบบ ภ.พ.31 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (6) แบบ ภ.พ.30.2 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้ (7) แบบ ภ.พ.30.3 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร (8) แบบ ภ.พ.36 แบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งการเป็นอย่างอื่น ( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2545 ) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ 2538 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,780
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 41/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคำนวณจำนวนหน่วยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 41/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคํานวณ จํานวนหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 และ ข้อ 18 (1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งคํานวณโดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น “จํานวนหน่วย” หมายความว่า จํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “วันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date)” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัท “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกที่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เงินที่มิได้เกิดจากผลการดําเนินงาน ให้นํามาคํานวณเป็นจํานวนหน่วย แต่ในกรณีที่เป็นจํานวนที่ไม่มีนัยสําคัญ ให้นํามาคํานวณเป็นมูลค่าต่อหน่วยได้ ข้อ ๓ มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ต้องมีมูลค่าสิบบาท เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกครั้งแรกในวันที่บริษัทได้รับเงินสะสมและเงินสมทบครั้งแรกเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งเป็นมูลค่าในการคํานวณ ข้อ ๔ ในการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าต่อหน่วย การปรับปรุงรายการ การแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยและการชดเชยมูลค่า ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบรรดาสมาชิกกองทุนเป็นสําคัญ และบริษัทต้องดําเนินการดังกล่าวต่อสมาชิกกองทุนแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่โดยผลของกฎหมายทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถปฏิบัติต่อสมาชิกแต่ละรายได้อย่างเท่าเทียมกัน หรือโดยเงื่อนไขและปัจจัยของสมาชิกแต่ละรายแตกต่างกันอันเป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ หรือบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามแนวทาง (guideline) ที่สํานักงานกําหนดไว้ ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน และในการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุด โดยให้เพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายในสองวันทําการถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วย ข้อ ๖ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ได้ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ (1) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) มีประกาศสํานักงานให้บริษัทเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน (3) เมื่อมีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัท ข้อ ๗ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และหากมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องและตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป ให้บริษัทจัดส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยหรือการชดเชยมูลค่าเสร็จสิ้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง (2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง (4) การดําเนินการของบริษัทจัดการเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ในระหว่างที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วย บริษัทจัดการต้องจัดทํามาตรการป้องกันและอาจหยุดการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยได้ไม่เกินเจ็ดวันทําการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ข้อ ๘ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (2) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล ข้อ ๙ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากการรับรองและจัดส่งความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยผู้รับรองมูลค่าต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายในสองวันทําการถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วยหรือวันสุดท้ายของเดือน แต่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 24/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคํานวณจํานวนหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2546 ได้กําหนดให้บริษัทจัดการต้องเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายในวันทําการถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วยซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การรับรองมูลค่าอาจยังดําเนินการไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น เพื่อให้กรอบระยะเวลาในการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินและการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกเป็นไปด้วยความเหมาะสมและปฏิบัติได้ จึงต้องแก้ไขให้ระยะเวลาของการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยเป็นภายในสองวันทําการถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วย แต่ด้วยประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้โดยผลของบทเฉพาะกาลตามข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดังนั้น หากต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าวแล้วต้องดําเนินการโดยการออกเป็นประกาศฉบับใหม่แทน
3,781
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 133) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 133) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (16) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 120) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2544 "16) มูลค่าของน้ํามันดีเซลที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตและขายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป ให้แก่ผู้ค้าน้ํามันที่จะนําน้ํามันดีเซลดังกล่าวไปขายให้แก่สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะนําน้ํามันดีเซลนั้นไปขายให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมง ตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย น้ํามันดีเซลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกําหนดคุณภาพของน้ํามันดีเซลสําหรับการส่งไปขายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ตามที่กรมทะเบียนการค้าประกาศกําหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกําหนด ผู้ค้าน้ํามันตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้กระทําการค้าน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง แต่ไม่รวมถึงผู้กลั่นหรือผู้ผลิตน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง หรือผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เรือบรรทุกน้ํามันที่กรมศุลกากรอนุญาตให้ขนถ่ายน้ํามันดีเซลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย เพื่อขายน้ํามันดีเซลให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ หมายความว่า เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามพระบรมราชโองการประกาศเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538" ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,782
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ การออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ การออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อ (1) ผู้ประกอบการดังกล่าวมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและ (2) มีการดําเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการ อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การก่อสร้างอาคารสํานักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกําหนดหกเดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่จะมีสัญญา หรือหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า จะดําเนินการก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสํานักงานหรือติดตั้งเครื่องจักร หรือมีการกระทําในลักษณะทํานองเดียวกัน ให้มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในเวลาที่เหมาะสมและจําเป็นต่อการก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสํานักงานหรือติดตั้งเครื่องจักร ข้อ ๒ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีสิทธิที่จะยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1 ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ข้อ ๓ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประเภทที่กําหนดในมาตรา 81/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (1) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบตั้งอยู่ (2) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่" (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 139) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป) “(3) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) ใช้บังคับ 16 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป) กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หากไม่มีสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ กรณีผู้ประกอบการใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งสถานที่อยู่อาศัยดังกล่าวตั้งอยู่ หากมีสถานที่อยู่อาศัยหลายแห่งและแต่ละแห่งใช้เป็นสถานประกอบการ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสํานักงานใหญ่” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป) ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จํานวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสารดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ คู่สมรสสามีและภริยาห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายใบทะเบียนสมรส หรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแล้วแต่กรณี และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 215) ใช้บังคับ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป) (3) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบเอกสารดังนี้ (ก) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร และตัวแทนได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรดังกล่าว ให้แนบหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ (ข) กรณีกิจการร่วมค้า ให้แนบภาพถ่ายเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า (ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และภาพถ่ายสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด (ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายหลักฐานที่แสดงฐานะนิติบุคคล (4) การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) กรณีมีการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบหนังสือมอบอํานาจ ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ของผู้มอบอํานาจ คือ ผู้ประกอบการตาม (1) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทน ตาม (2) (3) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ (5) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้แนบเอกสารและดําเนินการดังต่อไปนี้ “(ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คู่สมรสสามีและภริยาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ให้แนบภาพถ่ายหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 215) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป) (ข) กรณีเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (ค) ให้แนบแผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) ใช้บังคับ 16 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป) ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตาม ข้อ 5 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีรายการและเอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ กรณีผู้ประกอบการแสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้แนบเอกสารตามข้อ 5 หรือแนบเอกสารแต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องครบถ้วนและเจ้าพนักงานสรรพากรได้รับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นกรณีเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ ผู้ประกอบการ (1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการแสดงเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 เป็นเท็จ หรือไม่ตรงกับเอกสารของทางราชการ (2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนผู้ประกอบการเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง เช่น จากการไต่สวนพบว่าผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นลูกจ้างพนักงาน แต่ยื่นคําขอจดทะเบียนในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการ (3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีสถานประกอบการจริงตามเอกสารที่ยื่นพร้อมกับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการใช้สํานักงานกฎหมายหรือสํานักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร (5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมิใช่ผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการที่แท้จริง (6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการดังกล่าว เคยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ภายหลังถูกอธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปครั้งหนึ่งแล้ว โดยมูลเหตุจากกรณีตาม (1) ถึง (5) ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ (1) กรณีผู้ประกอบการตามข้อ 1 และข้อ 3 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 (2) กรณีผู้ประกอบการตามข้อ 2 ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.21 แต่ถ้าผู้ประกอบการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายสถานประกอบการ ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังนี้ (1) วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง เว้นแต่กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการเพราะเข้าลักษณะตามข้อ 6 วรรคสาม ถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตั้งแต่วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความในวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ (2) วันเริ่มประกอบการ คือ วันเดือนปีที่ผู้ประกอบการเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) วันที่ออกใบทะเบียน คือ วันเดือนปีที่ผู้มีอํานาจอนุมัติลงนามในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งอยู่แล้วในขณะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยระบุเฉพาะสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ มิได้ระบุสถานประกอบการแห่งอื่น ๆ ไว้ในคําขอจดทะเบียนด้วย ให้ถือว่าสถานประกอบการแห่งอื่น ๆ นั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนวันเดือนปีเดียวกันกับสํานักงานใหญ่ ข้อ ๙ ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น (2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 203) ใช้บังคับ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร ให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป) ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,783
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 132) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 132) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) และ (5) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 47) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักร และผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นําเข้าตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทําพิธีการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนําสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (5) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้นําเข้าตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทําพิธีการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนําสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,784
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 และมาตรา 85/16 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทําเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทําเป็นส่วนใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และถ้ามีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย การเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการที่กระทําเป็นครั้งคราว หรือประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทําเป็นส่วนน้อย รายการเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจํากัด การเปลี่ยนแปลงเงินทุนที่ชําระแล้ว การเพิ่มทุนหรือการลดทุน การเปลี่ยนแปลงจํานวนลูกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสถานประกอบการนั้น (3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปิดสถานประกอบการบางแห่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันปิดสถานประกอบการ การปิดสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึงวันที่หยุดการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งเลิกกิจการ ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะย้ายสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือ ย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน "กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่หรือสถานประกอบการที่มิใช่สํานักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 144) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ณ สถานประกอบการที่ย้ายไป หรือไม่ปรากฏสถานประกอบการตามที่แจ้งย้าย ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ย้ายสถานประกอบการ การย้ายสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง วันที่ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสถานประกอบการตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท "(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะหยุดประกอบกิจการ ชั่วคราว เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการ ตั้งอยู่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 144) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) (6) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการบางส่วน ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน การโอนกิจการบางส่วนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะต้องไม่ดําเนินการในส่วนของกิจการที่ได้โอนไปแล้วนั้นอีกต่อไป กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ (7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการทั้งหมด ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย การโอนกิจการทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวต้องเลิกประกอบกิจการนั้นด้วย กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ (8) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกประกอบกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ (9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ การเลิกประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การเลิกประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (10) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสิ้นสุดลง และให้ ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดําเนินกิจการของผู้ตาย มีสิทธิประกอบกิจการต่อไปได้อีกไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย แต่ต้องแจ้งให้ นายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทราบถึงความตายของผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเร็วที่สุด ซึ่งผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดําเนินกิจการของผู้ตายมีสิทธิและความรับผิดในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีที่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดําเนินกิจการของผู้ตายไม่ใช้สิทธิดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทนั้นมีสิทธิขอโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ โดยให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ผู้ตายได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ กรณีที่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับโอนไม่ใช่ผู้ประกอบการ จดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอน กิจการ พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ผู้ตายได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ข้อ ๒ แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด กรณีเจ้าพนักงานสรรพากรสํารวจสภาพการประกอบกิจการของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการสํารวจแหล่งภาษีอากรและการ ติดตามการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนไปพบเจ้าพนักงานสรรพากร เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง หากผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ไปพบเจ้าพนักงาน สรรพากรและยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่เจ้าพนักงานสรรพากรกําหนด ให้ถือว่าแบบสํารวจสภาพการประกอบกิจการที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพากรจะใช้ในการแก้ไขรายการประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานสรรพากรแก้ไขรายการประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน เจ้าพนักงานสรรพากรจะต้องกําหนดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคัดค้านการแก้ไขประเภทการประกอบกิจการ ทั้งนี้ กําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการ ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวของผู้ประกอบการจดทะเบียน “(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ คู่สมรสสามีและภริยา ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชน ที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคลให้แนบภาพถ่ายใบทะเบียนสมรสหรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแล้วแต่กรณี และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทน หนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 216) ใช้บังคับ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) (3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบเอกสารดังนี้ (ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีตัวแทนที่อยู่ในราชอาณาจักรทําหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้แนบหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ (ข) กรณีกิจการร่วมค้า ให้แนบภาพถ่ายเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า (ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และภาพถ่ายสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุดด้วย (ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะนิติบุคคล (4) กรณีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน มีการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบหนังสือมอบอํานาจ ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ของผู้มอบอํานาจ คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทน ตาม (2) (3) และภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ (5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (3) เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ย้ายสถานประกอบการ เลิกกิจการ โอนกิจการทั้งหมด หรือกรณีนิติบุคคลควบกิจการ ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ให้แนบแผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่ และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการด้วย (ข) กรณีย้ายสถานประกอบการ ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่ และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการด้วย (ค) กรณีเลิกกิจการ หรือโอนกิจการทั้งหมด ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ง) กรณีนิติบุคคลควบกิจการ ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลที่จะควบเข้ากัน แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่ และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบภาพถ่ายสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการด้วย “กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่น เป็นสถานประกอบการหรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คู่สมรสสามีและภริยา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าวด้วย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 216) ใช้บังคับ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป) “กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ให้แนบภาพถ่ายหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 208) ใช้บังคับ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ) (6) กรณีการแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้แนบภาพถ่ายสัญญา หรือโครงการที่แสดงการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด (7) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานประกอบการ ประเภทกิจการ ประเภทสินค้าหรือบริการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล เป็นต้น (8) กรณีเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดําเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกที่ประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้แนบใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักฐานใบมรณบัตร หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดก การเป็นทายาท หรือการเป็นผู้จัดการมรดกตามคําสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม การยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง หากเจ้าพนักงานสรรพากรมีความเห็นว่าเอกสารดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จําต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากร” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 166) ใช้บังคับ 16 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป ) ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 3 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีรายการและเอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงรายการในแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้แนบเอกสารตามข้อ 3 หรือแนบเอกสารแต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนและติดตามให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําหลักฐานมาส่งมอบให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป แม้ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 3 ประกอบแบบแจ้งการ เปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องครบถ้วน และเจ้าพนักงานสรรพากรได้รับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นกรณีเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน (1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงเอกสารหลักฐานตามข้อ 3 เป็นเท็จหรือไม่ตรงกับเอกสารของทางราชการ (2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง เช่น จากการไต่สวนพบว่าผู้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นลูกจ้าง พนักงาน แต่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการ (3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีสถานประกอบการจริงตามเอกสารที่ยื่นพร้อมกับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้สํานักงานกฎหมายหรือสํานักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร (5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการตามที่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการหรือประเภทสินค้าหรือบริการ (6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิใช่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดําเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตาย ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่แทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน สําหรับกรณี เปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญ ซึ่งมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม กรณีย้ายสถานประกอบการ กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ถึงแก่ความตาย กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง ได้มีการปิดสถานประกอบการบางแห่งและเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม เลขที่สาขาที่แสดงในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้ใช้เลขที่สาขาต่อเนื่องกันไป มิให้นําเลขที่สาขาของสถานประกอบการที่ปิดมาเป็นเลขที่สาขาของสถานประกอบการที่เปิดเพิ่มเติม ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรบันทึกรายการในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ ดังนี้ (1) วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แก่ (ก) กรณีเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทําเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทําเป็นส่วนใหญ่ คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร (ข) กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม คือ วันเดือนปี ที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 4 เว้นแต่ กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ ให้แก่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนเพราะเข้าลักษณะตามข้อ 4 วรรคสาม ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตั้งแต่วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ค) กรณีย้ายสถานประกอบการ คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ความในวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ (2) วันเริ่มประกอบการ คือ วันเดือนปีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) วันที่ออกใบทะเบียน คือ วันเดือนปีที่ผู้มีอํานาจอนุมัติลงนามในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อ ๗ ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น (2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 208) ใช้บังคับ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ) ข้อ ๘ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,785
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 และมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน การจัดทํารายงาน และการเก็บรักษารายงาน ไว้ดังนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้การประกอบกิจการขายน้ํามันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ํามันดังต่อไปนี้ เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก (1) เป็นสถานบริการน้ํามันที่ไม่ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินหรือระบบคอมพิวเตอร์รับชําระค่าน้ํามันเชื้อเพลิง "(2) เป็นสถานีบริการน้ํามัน ซึ่งเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงด้วยถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิงที่เป็นถังใต้ดินซึ่งมีความจุใบละ 5,000 ลิตรขึ้นไป ไม่ว่าจะมีถังลอยรวมอยู่ในสถานบริการน้ํามันด้วยหรือไม่ หรือที่เป็นถังลอยอย่างเดียว โดยสถานบริการน้ํามันที่ใช้ถังลอยเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงอย่างเดียวต้องได้รับอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ํามันประเภทสถานีบริการจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่138) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) (3) เป็นสถานบริการน้ํามันที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ (1) สําเนา ภ.พ.20 (2) สําเนาใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ํามันประเภทสถานีบริการจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงของกรมทะเบียนการค้า (3) แผนผังแสดงที่ตั้ง พร้อมทั้งจํานวนหัวจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงและถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการขายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของสถานบริการน้ํามัน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 60) ใช้บังคับ 1 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป) ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ไม่จําต้องออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายน้ํามันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกํากับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่ผู้ซื้อสินค้าเรียกร้องทุกครั้งพร้อมทั้งส่งมอบใบกํากับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้า” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 161) ใช้บังคับ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ํามันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด เพื่อประกอบการบันทึกยอดขายน้ํามันเชื้อเพลิงรวมทั้งวันในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร และให้ถือรายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยให้จัดทําแยกเป็นรายสถานบริการ รายงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จํานวนสินค้าคงคลังในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ณ วันเปิดสํารวจแต่ละเดือน (ใช้ไม้วัด หรือเครื่องวัดถังไฟฟ้า) (2) การรับมอบน้ํามันเชื้อเพลิงระหว่างเดือน และเลขลําดับแสดงจํานวนครั้งที่รับมอบน้ํามันเชื้อเพลิงในระหว่างเดือน พร้อมทั้งหมายเลขของใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง โดยให้แยกเป็นรายบริษัทผู้ค้าส่งน้ํามันเชื้อเพลิง (3) จํานวนสินค้าคงคลังในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ณ วันปิดสํารวจแต่ละเดือน (ใช้ไม้วัด หรือเครื่องวัดถังไฟฟ้า) (4) จํานวนเงิน (บาท) และปริมาณน้ํามัน (ลิตร) ในมิเตอร์หัวจ่าย ณ วันเปิดอ่านในแต่ละเดือน (5) จํานวนเงิน (บาท) และปริมาณน้ํามัน (ลิตร) ในมิเตอร์หัวจ่าย ณ วันปิดอ่านในแต่ละเดือน (6) ยอดการขายประจําวัน ทั้งจํานวนเงิน (บาท) และปริมาณน้ํามัน (ลิตร) (7) จํานวนน้ํามันที่เพิ่มขึ้นหรือจํานวนน้ํามันที่ลดลง ซึ่งสะสมในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง โดยคํานวณจากรายงานสินค้าคงคลังสะสม (จํานวนสินค้าคงคลังในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ณ วันเปิดสํารวจ + จํานวนซื้อ - จํานวนขาย) กับจํานวนสินค้าคงคลังสะสมในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง (8) ภาษีซื้อ (9) ภาษีขาย (10) จํานวนใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรที่ออกตามข้อ 2 ประจําวัน และจํานวนเงินรวมทั้งสิ้นตามใบกํากับภาษี ใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงที่ใช้ประกอบการลงรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้จัดเก็บแยกเป็นรายเดือน เป็นรายบริษัทผู้ค้าส่งน้ํามันเชื้อเพลิงเรียงตามลําดับที่ได้รับก่อนหลังในแต่ละเดือน และให้ระบุเลขที่ที่ได้รับใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงซึ่งแยกเป็นรายบริษัทผู้ค้าส่งน้ํามันเชื้อเพลิงในแต่ละเดือน เรียงตามลําดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงนั้น รายงานตามวรรคหนึ่งและใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงให้เก็บไว้ที่สถานบริการน้ํามันเป็นรายสถานบริการเป็นเวลาสองปี ภายหลังจากนั้นจะเก็บไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่จนครบห้าปีก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 60) ใช้บังคับ 1 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป) ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงมิเตอร์หัวจ่ายทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น (1) ตัวเลขมิเตอร์หัวจ่ายเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ตัวเลขมิเตอร์หรือซ่อมแซมมิเตอร์หัวจ่าย (2) การติดตั้งอุปกรณ์หัวจ่ายใหม่ (3) การหมุนกลับของตัวเลขมิเตอร์หัวจ่าย (เช่น มิเตอร์กลับมาที่เลข 0 หลังจากถึงเลขสูงสุด) ข้อ ๕ การจัดทํารายงานตามข้อ 3 ให้คํานวณจํานวนน้ํามันในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิงที่ขาดหายไปเนื่องจากการระเหยของน้ํามันตามสภาพปกติได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของปริมาณน้ํามันที่ขายผ่านมิเตอร์หัวจ่ายในแต่ละเดือนภาษี” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 60) ใช้บังคับ 1 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป) ข้อ ๖ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ซึ่งให้ส่วนลดแก่ลูกค้าบางรายในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่แสดงอยู่ในมิเตอร์หัวจ่ายต้องออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการขายน้ํามันดังกล่าว ข้อ ๗ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเป็นผู้ประกอบการรายย่อยตามข้อ 1 จะต้องจัดทําแผ่นป้ายที่มีข้อความ "เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย" โดยแผ่นป้ายดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร แผ่นป้ายตามวรรคหนึ่งจะต้องแสดงไว้ ณ จุดแสดงราคาขายน้ํามันเชื้อเพลิงปลีกต่อหน่วย ตามประกาศคณะกรรมการกลางกําหนดราคาสินค้า และป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200/35 ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2535 หากผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความจําเป็นที่จะต้องแสดงแผ่นป้ายไว้ ณ สถานที่อื่น จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร แผ่นป้ายตามวรรคหนึ่งจะต้องมีขนาดของข้อความอย่างน้อยเท่ากับขนาดของข้อความแสดงราคาขายน้ํามันเชื้อเพลิงปลีกต่อหน่วย ข้อ ๘ สถานบริการน้ํามันซึ่งเริ่มประกอบกิจการขายน้ํามันเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2539 เป็นต้นไป และมีหัวจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 50 หัวจ่ายขึ้นไป ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์รวมควบคุมการจ่ายน้ํามันของหัวจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงในสถานบริการทั้งหมด ข้อ ๙ การยื่นคําขออนุมัติตามข้อ 1 ให้ปฏิบัติ ดังนี้ (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขต ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการแต่ละแห่งตั้งอยู่" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 138) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) นอกจากการยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองผู้ประกอบการจดทะเบียนจะยื่นคําขอโดยยื่นรายการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ก็ได้ โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นคําขออนุมัติต้องแสดงรายการข้อมูล ให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องมีหลักฐานเอกสารตามรายการข้อมูลที่แสดงในคําขออนุมัติด้วย ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 170) ใช้บังคับ 16 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,786
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 130) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 130) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของวรรคสองของข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 119) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 397) พ.ศ. 2545” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,787
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 1/2547 เรื่อง การรายงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม และการจัดอันดับบริษัทจัดการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 1/2547 เรื่อง การรายงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม และการจัดอันดับบริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 11/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กข. 44 /2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3 ) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 5(9) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15 /2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 57 /2546 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เพื่อประโยชน์ในการติดตามการจัดอันดับกองทุนรวมหรือการจัดอันดับบริษัทจัดการให้เป็นไปด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ ให้บริษัทที่ประกอบกิจการกองทุนรวมหรือการจัดอันดับบริษัทจัดการ ยื่นรายงานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (1) รายงานการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือคุณสมบัติของผู้บริหาร พร้อมทั้งหนังสือรับรองประวัติผู้บริหารและเอกสารประกอบหนังสือรับรองดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในแบบ จอ. 1 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58 /2546 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (2) รายงานการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหาร และขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัท ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม หรือการจัดอันดับบริษัทจัดการ หรือไม่สามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,788
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 129) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 129) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 100) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,789
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 48/2544 เรื่อง การตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 48/2544 เรื่อง การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งประสงค์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หากการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว ทั้งนี้ ในกรณีตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายชื่อบุคคลที่ตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศให้สํานักงานทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่แต่งตั้งด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,790
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 3/2547 เรื่อง การตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2547 เรื่อง การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 100 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 48/2544 เรื่อง การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคมพ.ศ. 2544 ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งประสงค์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หากการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว ทั้งนี้ ในกรณีตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ในประเทศเพื่อทําหน้าที่จําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายชื่อตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งให้สํานักงานทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่แต่งตั้งด้วย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,791
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 128) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 128) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 101) เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสาม ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 101) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 “สถาบันการเงิน”หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) ธนาคารออมสิน (3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน “เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบัน การเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย ” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,792
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 38) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กําหนดลักษณะและหรือเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากร คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ (1) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจําเครื่อง (Serial Number) และจํานวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ (3) แผนผังแสดงตําแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (4) ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย (5) ตัวอย่างใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการประจําวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (6) ตัวอย่างใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกัน” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 218) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) ข้อ ๓ เครื่องบันทึกการเก็บเงินจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ “(1) เป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (ก) ชนิดไฟฟ้า ECR (Electronic Cash Register) ซึ่งบันทึกโปรแกรมการขายสินค้าหรือการให้บริการไว้ในความจําชนิดถาวร แบบ ROM (Read Only Memory) หรือแบบ EPROM (Erasable Programmable ROM) เป็นส่วนใหญ่ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์พิเศษของผู้ขายเครื่องบันทึกการเก็บเงินในการแก้ไขโปรแกรมการขายสินค้าหรือการให้บริการ และต้องมิใช่เครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดไฟฟ้า ECR ที่มีหัวพิมพ์ระบบ Drum Matrix ซึ่งได้มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป หรือ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 62) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไป) (ข) ชนิดคอมพิวเตอร์ ซึ่งบันทึกโปรแกรมการขายสินค้าหรือการให้บริการไว้ในความจําชนิดชั่วคราวแบบ RAM (Random Access Memory) เป็นส่วนใหญ่ และมีช่องใส่สื่อบันทึกข้อมูล เช่น Diskette เพื่อบันทึกรายละเอียดของสินค้าหรือบริการและสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการขายสินค้าหรือการให้บริการได้ หรือในกรณีที่ไม่มีช่องใส่สื่อบันทึกข้อมูล เช่น Diskette ต้องสามารถสั่งเขียนโปรแกรมการขายสินค้าหรือการให้บริการ หรือบันทึกรายการการขายหรือการให้บริการจากเครื่องควบคุมกลางได้ (2) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องใช้กระดาษออกใบกํากับภาษีอย่างย่อให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และจะใช้กระดาษขนาดเดียวกันเป็นสําเนาซ้อนกับใบกํากับภาษีตัวจริงก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องเพื่อบันทึกรายการประจําวัน (Daily Transaction Journal) ไว้ ซึ่งจะใช้เป็นสําเนาใบกํากับภาษีแทนกระดาษซ้อนใบกํากับภาษีก็ได้ (3) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถออกใบกํากับภาษีอย่างย่อซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องสามารถบันทึกคําว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” ไว้ในกระดาษใบกํากับภาษีอย่างย่อด้วย หรืออาจจะบันทึกคําว่า “TAX INV(ABB)” ในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินสามารถบันทึกได้ 12 หลัก หรือคําว่า “TAX INVOICE(ABB)” ในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินสามารถบันทึกได้ 16 หลัก แทนก็ได้ (4) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ไว้ในใบกํากับภาษีอย่างย่อได้ (5) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ไว้ในสําเนาใบกํากับภาษี โดยอย่างน้อยต้องสามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องไว้ในตอนต้นและตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวัน โดยสําเนาใบกํากับภาษีจะไม่มีชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียน เลขประจําตัวผู้เสียภาษี หรือข้อความที่ระบุว่าราคาสินค้าหรือบริการได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วก็ได้และสําหรับรายการของสินค้าหรือบริการในสําเนาใบกํากับภาษี จะบันทึกเป็นรหัสของสินค้าหรือบริการ โดยไม่บันทึกเป็นรายการของสินค้าหรือบริการตามใบกํากับภาษีอย่างย่อก็ได้ ส่วนคําว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” จะใช้วิธีตีพิมพ์หรือประทับตราไว้ในตอนต้นและตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันก็ได้ ในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินไม่สามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องในกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันได้ ก็ให้ใช้วิธีบันทึกเลขรหัสประจําเครื่อง ณ ตําแหน่งซึ่งใช้บันทึกรายการมูลค่าการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยอย่างน้อยต้องบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องไว้ในตอนต้นของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันก่อนเริ่มทําการขายสินค้าหรือให้บริการ และในตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องดังกล่าวหลังจากทําการขายสินค้าหรือให้บริการรายสุดท้ายและรวมยอดขายสินค้าหรือให้บริการแล้ว และให้แนบใบกํากับภาษีที่ออกในลักษณะนี้ติดกับหัวม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ (6) เครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่องต้องสามารถออกผลสรุปรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการประจําวันได้ ข้อ ๔ เครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดไฟฟ้าหรือชนิดคอมพิวเตอร์ ตามข้อ 3(1) จะใช้บันทึกการเก็บเงินโดยตัวเองโดยไม่ต้องต่อเชื่อม หรือจะใช้ต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นเป็นระบบ POSS (Point of Sale System) ก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 59) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2538 เป็นต้นไป) ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ดังนี้ (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะบันทึกรายการของสินค้าหรือบริการในใบกํากับภาษีอย่างย่อเป็นรหัส จะต้องมีรหัสดังกล่าวพร้อมทั้งคําแปลก่อนวันเริ่มใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน พร้อมทั้งรหัสหรือเครื่องหมายที่แสดงความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บไว้ ณ สถานประกอบการที่ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าว และในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่อเชื่อมกับระบบกลางที่ไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการที่ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน จะต้องมีรหัสทั้งระบบเก็บไว้ ณ สถานประกอบการและที่ตั้งของระบบกลางด้วย (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปติดเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่อง บนเครื่องที่ได้รับอนุมัติให้ใช้บันทึกการเก็บเงิน หรือในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบให้ติดเอง ต้องติดให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 3 วันนับจากวันที่ได้รับเครื่องหมายดังกล่าว หากเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องดังกล่าวถูกเคลื่อนย้าย ถูกทําลาย สูญหาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ให้ระงับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าว และให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากอธิบดีกรมสรรพากรทันที (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแสดงหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีลงในใบกํากับภาษีอย่างย่อที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน โดยเรียงตามลําดับตัวเลขจนหมดทุกหลักก่อน จึงจะย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ ยกเว้นกรณีที่จะทําให้ยอดขายรวมเกินความสามารถของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและทําให้ข้อมูลสูญหาย ก็ให้ออกรายงานการล้างยอดสะสมและเริ่มเลขลําดับใหม่ได้ โดยให้หมายเหตุเหตุผลไว้ในม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันด้วย (4) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องบันทึกรายการการขายสินค้าหรือการให้บริการในกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวัน ในขณะเดียวกับการออกใบกํากับภาษี และหากเป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537 หรือเป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่บันทึกเวลาได้ ก็ต้องบันทึกเวลาที่ออกใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบกํากับภาษี ใบกํากับภาษีอย่างย่อและในกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันด้วย (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกใบกํากับภาษีอย่างย่อซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องบันทึกคําว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” ไว้ในกระดาษใบกํากับภาษีอย่างย่อขณะออกใบกํากับภาษีอย่างย่อด้วย หรืออาจจะบันทึกคําว่า “TAX INV(ABB)” ในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินสามารถบันทึกได้ 12 หลัก หรือคําว่า “TAX INVOICE(ABB)” ในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินสามารถบันทึกได้ 16 หลัก แทนก็ได้ (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแสดงเลขรหัสประจําเครื่องที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ไว้ในใบกํากับภาษีอย่างย่อ (7) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแสดงเลขรหัสประจําเครื่องที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ไว้ในสําเนาใบกํากับภาษี โดยอย่างน้อยต้องสามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องไว้ในตอนต้นและตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่อง ซึ่งบันทึกรายการประจําวัน โดยสําเนาใบกํากับภาษีจะไม่มีชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียน เลขประจําตัวผู้เสียภาษี หรือข้อความที่ระบุว่าราคาสินค้าหรือบริการได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วก็ได้ และสําหรับรายการของสินค้าหรือบริการในสําเนาใบกํากับภาษี จะบันทึกเป็นรหัสของสินค้าหรือบริการ โดยไม่บันทึกเป็นรายการของสินค้าหรือบริการตามใบกํากับภาษีอย่างย่อก็ได้ ส่วนคําว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” จะใช้วิธีตีพิมพ์หรือประทับตราไว้ในตอนต้นและตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันก็ได้ ในกรณีที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินไม่สามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องในกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันได้ ก็ให้ใช้วิธีบันทึกเลขรหัสประจําเครื่อง ณ ตําแหน่งซึ่งใช้บันทึกรายการมูลค่าการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยอย่างน้อยต้องบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องไว้ในตอนต้นของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันก่อนเริ่มทําการขายสินค้าหรือให้บริการ และในตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องดังกล่าวหลังจากทําการขายสินค้าหรือให้บริการรายสุดท้ายและรวมยอดขายสินค้าหรือให้บริการแล้ว และให้แนบใบกํากับภาษีที่ออกในลักษณะนี้ติดกับหัวม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ (8) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกผลสรุปรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง (9) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําสรุปรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําสรุปรายงานการล้างยอดขายสินค้าหรือการให้บริการที่ออกจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินทุกครั้ง (11) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องเก็บม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวัน (Daily Transaction Journal) ไว้ ณ สถานประกอบการเป็นเวลา 5 ปี โดยหากเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากนั้นจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลใดก็ได้ (12) ห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินระบบ POSS ออกใบกํากับภาษีอย่างย่อด้วยมือ ยกเว้นกรณีที่เครื่องขัดข้องใช้การไม่ได้ เช่น เครื่องเสียหรือไฟฟ้าดับ โดยจะต้องประทับตราคําว่า “เครื่องขัดข้อง” ไว้ในใบกํากับภาษีอย่างย่อที่ออกด้วยมือด้วย “(13) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การเคลื่อนย้ายออกจากสถานประกอบการโดยมิใช่เพื่อการซ่อมแซมหรือบํารุงรักษา หรือกรณีที่มิได้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ (แบบ ภ.พ.06.1) ภายใน 7 วันก่อนวันจําหน่าย ทําลาย หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ทราบเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ทราบ” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 218) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) ข้อ ๖ หากผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับระบบกลางเป็นระบบ POSS ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องกําหนดให้ระบบกลางดังกล่าวทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยอัตโนมัติในโปรแกรมเดียวกันทุกสิ้นวันทําการด้วย ข้อ ๗ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อจะต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่โดยต้องยื่นคําขออนุมัติเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคําขออนุมัติผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลคําขออนุมัติดังกล่าวตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมกับอัปโหลด (Upload) เอกสารและรายการตามข้อ 2 ประกอบคําขออนุมัติได้อีกวีธีหนึ่ง” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 218) ใช้บังคับ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ) ข้อ ๘ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินทั้งสําหรับออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกันผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ทุกกรณีโดยจะต้องระบุคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและโปรแกรม รวมทั้งหลักการและวิธีการที่จะดําเนินการโดยละเอียด และห้ามใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินบันทึกรายการใด ๆ ในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะได้รับอนุมัติให้ใช้สําหรับออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกันได้ด้วย” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 173) ใช้บังคับ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ) ข้อ ๙ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่มีลักษณะอื่นหรือไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้แยกคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามประกาศนี้ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่หรือวางเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ และห้ามใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าวจนกว่าจะได้รับอนุมัติ ข้อ ๑๐ อธิบดีกรมสรรพากรอาจกําหนดเงื่อนไขการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพิ่มเติมเป็นการทั่วไป หรือเฉพาะรายผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 38) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ให้ยังคงใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าวได้ต่อไป จนถึงวันที่ได้รับอนุมัติหรือไม่อนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศฉบับนี้ ซึ่งต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2536 ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,793
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 127) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดี กรมสรรพากร กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษี มูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน ข้อ 1.1 ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 116) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “1.1 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและมีจํานวนเงินทุน จดทะเบียนที่ได้รับชําระแล้วเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,794
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กําหนดลักษณะและหรือเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งประสงค์จะออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ใบกํากับภาษีอย่างย่อจะต้องมีข้อความว่า “อย่างย่อ” ต่อท้ายคําว่า “ใบกํากับภาษี” ด้วย ข้อ ๒ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องดําเนินการให้มีข้อความว่า “ใบกํากับภาษีอย่างย่อ” ในใบกํากับภาษีทุกฉบับทั้งเล่ม ก่อนที่จะนําใบกํากับภาษีเล่มนั้นมาใช้ ข้อ ๓ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุความดังต่อไปนี้ไว้ในใบกํากับภาษีด้วย (1) ราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จ แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (2) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ (3) ผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จ แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตาม (1) กับราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศตาม (2) (4) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจาก (3) (5) หมายเลขลําดับของใบรับที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน แต่หากผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกํากับภาษีด้วย ไม่ต้องระบุหมายเลขลําดับของใบรับ (6) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ข้อความตามวรรคหนึ่ง จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฎด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 108) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 กันยายน 2543 เป็นต้นไป) ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,795
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 126) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 126) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน ข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหักค่าใช้จ่ายในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามอัตราที่อธิบดีกําหนดท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องคืนให้แก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีจํานวนไม่เกิน 30,000 บาท ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยคืนเป็นเงินสด ตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือนําเงินเข้าบัญชีของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และในกรณีที่จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องคืนแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีจํานวนเกินกว่า 30,000 บาทขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือ ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรเป็นตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือนําเงินเข้าบัญชีของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,796
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้น การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวจะออกใบกำกับภาษีได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 44) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้น การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวจะออกใบกํากับภาษีได้ ------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว จะออกใบกํากับภาษีได้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ต้องออกใบกํากับภาษีที่มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น ข้อ ๒ ผู้ประกอบการตามข้อ 1 ต้องสําเนาใบกํากับภาษีให้กรมสรรพากร พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการด้วยทุกครั้ง ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,797
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 125) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรและการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตามมาตรา 77/1(14)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 125) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรและการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตามมาตรา 77/1(14)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77/1(14)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร และการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 30) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขต อุตสาหกรรมส่งออก และการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 77/1(14) (ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ การนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรเฉพาะสินค้า ที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วย ข้อ ๓ การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ขายให้แก่ผู้ที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,798
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) เรื่อง กำหนดลักษณะและวิธีการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวและกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดลักษณะและวิธีการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวและกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ตามลักษณะและวิธีการดังต่อไปนี้มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว และกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวมีกําหนดเวลาในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ โดยให้ยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศที่มีกําหนดเวลาในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้ โดยให้ยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 112) ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 ใช้บังคับ 8 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป) ข้อ ๒ ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามข้อ 1 หมายถึงผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย สํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า (1) มีสํานักงานในประเทศไทยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง (2) มีการประกอบธุรกิจอย่างอื่นนอกจากการรับจ้างทําของในประเทศไทยเป็นประจํา เช่น การซื้อขายสินค้า หรือ (3) มีการจัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อลูกจ้างในประเทศไทยตามมาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ ผู้ประกอบการตามข้อ 1 ต้องเข้ามาดําเนินการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 77/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร สัญญาขายสินค้าหรือให้บริการตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผู้ประกอบการต้องส่งมอบสัญญาต่อกรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากต่อมาประสงค์จะขายสินค้าหรือให้บริการเพิ่มเติมจากสัญญาที่ได้ทําไว้หรือมีการขายสินค้าหรือให้บริการกับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่สัญญาเดิม ผู้ประกอบการต้องจดแจ้งสัญญาเพิ่มเติมตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเพิ่มเติมสัญญาหรือนับแต่ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการกับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่สัญญา ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ข้อ ๔ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ต้องเป็นการยื่นจดทะเบียนที่ต้องคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น ข้อ ๕ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดตามมาตรา 85 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๖ ให้ถือว่าวันที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามแบบที่อธิบดีกําหนดเป็นวันที่เริ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งให้วันที่เริ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นอย่างอื่นก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 112) ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 ใช้บังคับ 8 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป) ข้อ ๗ ให้กําหนดระยะเวลาสิ้นสุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวด้วย และเมื่อระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง ให้ถือว่าการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสิ้นสุดลงทันที หากผู้ประกอบการประสงค์จะขยายเวลาการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องยื่นคําร้องขอขยายเวลาก่อนการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสิ้นสุดลง ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,799
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 124) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 124) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการ จัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 7 (9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ (ข) การนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ในวันที่นําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร ให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่นําสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,800
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/ข. 5/2547 เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/ข. 5/2547 เรื่อง แบบคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 10/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยื่นคําขอจดทะเบียนตามแบบ 16-1 และเอกสารหลักฐานท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยสําเนาสองชุดต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,801
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 14) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ข้อ ๒ ภาษีซื้อดังต่อไปนี้ ไม่ให้นํามาหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร “(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 71) ใช้บังคับ 4 กรกฎาคม 2539 เป็นต้นไป) “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสําหรับรถยนต์ดังกล่าว” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 88) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป) (2) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 และมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขาย หรือให้เช่าหรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทําภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมาได้ขายหรือให้เช่าหรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเนื่องมาจาก (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 79) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป) “(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 192) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป) “(ค) การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 79) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป) “(ง) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ที่ได้ควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 330) พ.ศ.2541” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 84) ใช้บังคับ 17 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป) “(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 184) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) “(ฉ) การแปรรูปกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดําเนินการในกิจการของรัฐ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 98) ใช้บังคับ 1 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นไป) “(ช) การแปรรูปกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 109) ใช้บังคับ 1 กันยายน 2543 เป็นต้นไป) “(ซ) การเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 121) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป) “(ฌ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนื้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และ ได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 ถึงวันที่ 31 ธั นวาคม พ . ศ . 2549 (ญ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของเจ้าหนี้อื่น โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 168) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป) “(ฎ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย โดยได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ เฉพาะการขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น หรือนําอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้กระทําภายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (ฏ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นโดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ เฉพาะการขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น หรือนําอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้กระทําภายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ใน (ฎ) และ (ฏ) ของวรรคสอง “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (7) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี “เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยและได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน “ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด “ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 193) ใช้บังคับ วันที่ 18 มีนาคาม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป) “ใน (ก) และ (ข) ของวรรคสอง “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (5) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี “เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 192) ใช้บังคับ วันที่ 18 มีนาคาม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป) (5) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(1) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกํากับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ (6) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้จัดทําขึ้นตามวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร (7) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนา (copy) แต่ไม่รวมถึงใบกํากับภาษีที่ได้จัดทํารวมกับเอกสารทางการค้าอื่น ซึ่งมีจํานวนหลายฉบับ และใบกํากับภาษีซึ่งมีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย (8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คํานวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร (9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนนําไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวใช้สิทธิเลือกไม่นําภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ ตามข้อ 3(2) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2535 “(10) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งรายการตามมาตรา 86/4 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด” ( ดูคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.46/2537 ) (11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่มิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทําภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง (12) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกํากับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 50) ใช้บังคับ 1 เมษายน 2537 เป็นต้นไป) ”ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับใบกํากับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 134) ใช้บังคับ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกประกาศนี้ เว้นแต่ ข้อ 2(5) และ (6) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,802
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณีตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณีตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 96) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการ บางกรณี ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ การขายสินค้า การให้บริการที่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่าง หรือการให้บริการที่ไม่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างแต่ทําให้สินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร หรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ การให้บริการที่ไม่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการให้บริการกับสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักร และต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อ ๓ การขายสินค้าหรือการให้บริการตามข้อ 2 ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร จะต้องเป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ข้อ ๔ การขายสินค้าหรือการให้บริการตามข้อ 2 ระหว่างผู้ประกอบการกับ ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกัน หรือไม่ จะต้องเป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,803
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 122) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 122) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) การให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อส่งออกและการให้บริการที่กระทําในเขตปลอดอากรเพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน การให้บริการตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การให้บริการที่กระทําต่อตัวสินค้าและมีการส่งออกสินค้านั้นหรือการให้บริการที่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เช่น การรับจ้างแกะสลักบานประตู การรับจ้างทําน้ํายาเคลือบประตู หรือการให้บริการรับจ้างทําส่วนประกอบ อุปกรณ์ เพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 การประกอบกิจการตามข้อ 2(4) กรณีการให้บริการที่กระทําใน ราชอาณาจักรที่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกรณีการให้บริการที่กระทําในเขตปลอดอากรที่ ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,804
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 6/2547 เรื่อง แบบคำขอ เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ และแบบใบอนุญาต การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2547 เรื่อง แบบคําขอ เอกสารหลักฐานประกอบคําขอ และแบบใบอนุญาต การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบ 16-2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,805
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 7/2547 เรื่อง แบบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2547 เรื่อง แบบคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ จดทะเบียนการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จดทะเบียนการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยื่นคําขอจดทะเบียนต่อสํานักงานตามแบบ 16-3 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,806
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 8/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในงบการเงินงวดล่าสุด ที่ยื่นต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศ เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้เป็นผู้สอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,807
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 1/2545 เรื่อง วันและเวลาในการขายหน่วยลงทุนโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2545 เรื่อง วันและเวลาในการขายหน่วยลงทุนโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ --------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) หมายความว่า การขายหรือชักชวนโดยบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้นมาก่อน หรือโดยผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนของบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของตนมาก่อน แล้วแต่กรณี เพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวตั้งใจเข้าพบผู้ลงทุนโดยตรง หรือติดต่อผู้ลงทุนทางโทรศัพท์ โดยผู้ลงทุนมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ขาย” ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย ข้อ ๒ ในการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุน ขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันในระหว่างเวลา 8.00-18.00 น. ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,808
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 2/2545 เรื่อง การจัดทำรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการกำหนดแบบรายงานวันเริ่ม และวันหยุดปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้คำแนะนำ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2545 เรื่อง การจัดทํารายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการกําหนดแบบรายงาน วันเริ่มและวันหยุดปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้คําแนะนํา --------------------------------------- เพื่อประโยชน์ในการกํากับและตรวจสอบฐานะและการดําเนินงานจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนํา และให้หมายความรวมถึงตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนด้วย “บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน “ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นตัวแทนในการให้คําแนะนํา แต่บุคคลดังกล่าวต้องมิใช่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดทํารายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเป็นรายเดือนตามแบบ ท.ป. 1 ท้ายประกาศนี้ และเก็บไว้ที่สถานที่ทําการของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน ข้อ ๓ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดทํารายงานวันเริ่มและวันหยุดปฏิบัติหน้าที่ในการให้คําแนะนําของผู้ให้คําแนะนําให้เป็นไปตามแบบ ท.ป. 2 ท้ายประกาศนี้ โดยจัดส่งข้อมูลผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ และนําส่งเอกสารที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่ได้ส่งผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ให้สํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านระบบดังกล่าว ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวได้แจ้งให้สํานักงานทราบว่ายังไม่ประสงค์จะให้คําแนะนําแก่ลูกค้า ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,809
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 48/2543 เรื่อง การจัดทำและการส่งแฟ้มข้อความและแบบรายงานของบริษัทจัดการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 48/2543 เรื่อง การจัดทําและการส่งแฟ้มข้อความ และแบบรายงานของบริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “แฟ้มข้อความ” หมายความว่า ข้อมูลที่บริษัทจัดการจัดทําขึ้นตามรูปแบบ แฟ้มข้อความ (text file format) ที่สํานักงานกําหนด โดยจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic file) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการลงทุน” หมายความว่า ระบบงานที่สํานักงานกําหนดให้ใช้สําหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสํานักงานกับบริษัทจัดการ (ระบบ Investment Management Reporting System) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ 2 ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ตามรูปแบบแฟ้มข้อความท้ายประกาศนี้ (1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมเป็นรายกองทุน ให้จัดทําตามรูปแบบแฟ้มข้อความที่มีชื่อเรียกว่า “mpf 1000.txt” (2) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมทุกกองทุน ให้จัดทําตามรูปแบบแฟ้มข้อความที่มีชื่อเรียกว่า “mpf 2000.txt” (3) ข้อมูลการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเป็นรายกองทุน ให้จัดทําตามรูปแบบแฟ้มข้อความที่มีชื่อเรียกว่า “mpf 3000.txt” (4) ข้อมูลการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นรายกองทุน ให้จัดทําตามรูปแบบแฟ้มข้อความที่มีชื่อเรียกว่า “mpf 4000.txt” (5) ข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด ให้จัดทําตามรูปแบบแฟ้มข้อความที่มีชื่อเรียกว่า “mpf 5000.txt” (6) ข้อมูลการลงทุนของบริษัทจัดการ ให้จัดทําตามรูปแบบแฟ้มข้อความที่มีชื่อเรียกว่า “mpf 6000.txt” การจัดทําแฟ้มข้อความตาม (1) ถึง (6) ให้จัดทําเป็นรายเดือน โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการลงทุนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ข้อ ๓ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสํารองของแฟ้มข้อความที่ส่งให้สํานักงานไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งแฟ้มข้อความดังกล่าวต่อสํานักงาน ข้อ ๔ ในกรณีการจัดทําแฟ้มข้อความตามข้อ 2(2) ถึง (6) บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานเป็นรายเดือนควบคู่กันด้วย และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,810
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2547 เรื่อง การจัดทำและการส่งแฟ้มข้อความและแบบรายงานของบริษัทจัดการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2547 เรื่อง การจัดทําและการส่งแฟ้มข้อความ และแบบรายงานของบริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 48/2543 เรื่อง การจัดทําและการส่งแฟ้มข้อความและแบบรายงานของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “แฟ้มข้อความ” หมายความว่า การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (electronic file) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนดให้ใช้สําหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสํานักงานกับบริษัทจัดการ (ระบบ Investment Management Reporting System) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ (1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมเป็นรายกองทุน (2) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมทุกกองทุน (3) ข้อมูลการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเป็นรายกองทุน (4) ข้อมูลการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นรายกองทุน (5) ข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเป็นรายกองทุน (6) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ การจัดทําแฟ้มข้อความตาม (1) ถึง (6) ให้จัดทําเป็นรายเดือนโดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันทําการสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนรวมภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๔ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสํารองของข้อมูลในแฟ้มข้อความที่ส่งให้สํานักงานตามข้อ 3 ไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ข้อ ๕ ในการจัดทําข้อมูลในรูปแบบแฟ้มข้อความตามข้อ 3(2) ถึง (6) ของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลในรูปเอกสารและจัดส่งให้สํานักงานภายในกําหนดระยะเวลาเดียวกับการส่งแฟ้มข้อความ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,811
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการในการจัดทำและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 20/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้า ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลดังต่อไปนี้เป็นรายเดือนและส่งให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป (1) รายงานการเปลี่ยนแปลงสถานะของการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยจําแนกตามผู้รับฝากทรัพย์สินตามแบบ กทบ. 1 ท้ายประกาศนี้ (2) รายงานสรุปการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลโดยจําแนกตามผู้รับฝากทรัพย์สินตามแบบ กทบ. 2 ท้ายประกาศนี้ (3) รายงานการซื้อขายลักทรัพย์และด่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อกองทุนส่วนบุคคลโดยจําแนกตามบริษัทนายหน้า และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยตามแบบ กทบ. 3 ท้ายประกาศนี้ (4) รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนส่วนบุคคลตามแบบ กทบ. 4 ท้ายประกาศนี้ (5) รายงานรายละเอียด การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลตามแบบ กทบ. 5 ท้ายประกาศนี้ (6) รายงานรายได้จากค่าธรรมเนียมในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามแบบ กทบ. 6 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน สํารองเลี้ยงชีพดังต่อไปนี้ (1) รายงานรายละเอียดการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามแบบ กทช.1 ท้ายประกาศนี้ (2) รายงานรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามแบบ กทช. 2 ท้ายประกาศนี้ (3) รายงานแสดงส่วน ของสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นายจ้างและผลประโยชน์ตามแบบ กทช. 3 ท้ายประกาศนี้ (4) รายงานส่วนสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและนายจ้างในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยรวมตามแบบ กทช. 4 ท้ายประกาศนี้ (5) รายงานรายละเอียดกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีการบริหารจัดการร่วมตามแบบ กทช. 5 ท้ายประกาศนี้ (6) รายงานการจัดให้มีนโยบายการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างเลือกได้ตามความเหมาะสมของตนเอง (Employee’s choice) ตามแบบ กทช. 6 ท้ายประกาศนี้ (7) รายงานรายละเอียดการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพรายไตรมาสตามแบบ กทช. 7 ท้ายประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการจัดส่งรายงานตามวรรคหนึ่งพร้อมแผ่นบันทึก (diskette) ต่อสํานักงานโดยรายงานตาม (1) ถึง (6) ให้จัดทําเป็นรายเดือนและส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไปสําหรับรายงานตาม (1) ให้จัดทําเป็นรายไตรมาสและส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนแรกถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการรัดทําสําเนางบดุลและรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีฉบับที่ที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพรับรองแล้วจํานวนหนึ่งชุดและส่งให้สํานักงานภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและแสดงไว้ที่ที่ทําการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตรวจดูได้ด้วย ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกงวดหกเดือนของปีปฏิทินให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบ โดยให้ส่งรายงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดหกเดือน รายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งต้องแสดงจํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสมของสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เงินสมทบของนายจ้าง พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบทั้งนี้ ข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวให้ใช้บังคับสําหรับงวดหกเดือนหลังของปี 2544 เป็นต้นไป ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน (1) รายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ระบุในแบบ 134-1 ให้สํานักงานทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวตามแบบ 133-1 ท้ายประกาศนี้ (2) รายงานวันเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลนั้นเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตามแบบ 133-2 ท้ายประกาศนี้ (3) รายชื่อผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ณ วันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนั้นตามแบบ 133-3 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,812
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกนิยามคําว่า “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” และคําว่า “บริษัทนายหน้า” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ข้อ 2 ให้เพิ่มนิยามคําว่า “แฟ้มข้อความ” และคําว่า “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการ” และคําว่า “นายจ้าง” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ““แฟ้มข้อความ” หมายความว่า การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic file) “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า ระบบงานที่สํานักงานกําหนดให้ใช้สําหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสํานักงานกับบริษัทจัดการ (ระบบ Private Fund and Provident Fund Reporting System)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนเป็นรายเดือนในรูปแบบแฟ้มข้อความ โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน ทั้งนี้ แฟ้มข้อความดังกล่าวต้องมีลักษณะตามแบบแฟ้มข้อความ “pf 1000.txt” ที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้บริษัทจัดการส่งแฟ้มข้อความนั้นผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่งในรูปเอกสารโดยให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้จัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงานภายในกําหนดระยะเวลาเดียวกับการส่งแฟ้มข้อความตามวรรคหนึ่ง ข้อ 4 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ในรูปแบบแฟ้มข้อความ โดยแฟ้มข้อความดังกล่าวต้องมีลักษณะตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้บริษัทจัดการส่งแฟ้มข้อความนั้นผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกกองทุน ให้จัดทําตามแบบแฟ้มข้อความ “pvd 1000.txt” (2) ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้าง ให้จัดทําตามแบบแฟ้มข้อความ “pvd 2000.txt” (3) ข้อมูลรายละเอียดการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้จัดทําตามแบบแฟ้มข้อความ“pvd 3000.txt” การจัดทําแฟ้มข้อความตาม (1) และ (2) ให้จัดทําเป็นรายเดือน โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป สําหรับแฟ้มข้อความตาม (3) ให้จัดทําเป็นรายไตรมาสโดยใช้ข้อมูล ณ วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนแรกถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่งในรูปเอกสารโดยให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้จัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงานภายในกําหนดระยะเวลาเดียวกับการส่งแฟ้มข้อความตามวรรคสอง” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงานและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 “ข้อ 4/1 บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสํารองของแฟ้มข้อความที่ส่งให้สํานักงานไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งแฟ้มข้อความดังกล่าวต่อสํานักงาน” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,813
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “แฟ้มข้อความ” หมายความว่า การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic file) “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนดให้ใช้สําหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสํานักงานกับบริษัทจัดการ (ระบบ Private Fund and Provident Fund Reporting System) “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานข้อมูลการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๔ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานข้อมูลดังต่อไปนี้ในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยให้บริษัทจัดการส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกกองทุน (2) ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้าง (3) ข้อมูลรายละเอียดการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การจัดทําแฟ้มข้อความตาม (1) และ (2) ให้จัดทําเป็นรายเดือน โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป สําหรับแฟ้มข้อความตาม (3) ให้จัดทําเป็นรายไตรมาสโดยใช้ข้อมูล ณ วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนแรกถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ข้อ ๕ ในการจัดทํารายงานข้อมูลตามข้อ 3 และข้อ 4 ของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานข้อมูลดังกล่าวในรูปเอกสารและจัดส่งให้สํานักงานภายในกําหนดระยะเวลาเดียวกับการส่งแฟ้มข้อความ ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสํารองของแฟ้มข้อความที่ส่งให้สํานักงานตามข้อ 3 และข้อ 4 ไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการจัดทําสําเนางบดุลและรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีฉบับที่ที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพรับรองแล้วจํานวนหนึ่งชุดและส่งให้สํานักงานภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและแสดงไว้ที่ที่ทําการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตรวจดูได้ด้วย ข้อ ๘ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกงวดหกเดือนของปีปฏิทินให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบ โดยให้ส่งรายงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดหกเดือน รายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งต้องแสดงจํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสมของสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เงินสมทบของนายจ้าง พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน (1) รายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ระบุในแบบ 134-1 ให้สํานักงานทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวตามแบบ 133-1 ท้ายประกาศนี้ (2) รายงานวันเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลนั้นเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตามแบบ 133-2ท้ายประกาศนี้ (3) รายชื่อผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ณ วันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนั้นตามแบบ 133-3 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,814
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 15/2547 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2547 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-W ท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด (1) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิ (2) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ขออนุญาต (กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อประชาชน) (3) เอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้สําหรับการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม (กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อประชาชน ให้แนบเฉพาะเอกสารหลักฐานที่ไม่ได้กําหนดไว้เป็น การเฉพาะในประกาศนี้) (4) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งที่มีการพิจารณาให้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (5) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นวาระที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (6) สําเนาหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้ไม่เกินสามเดือนก่อนวันยื่นคําขออนุญาต (7) ร่างข้อกําหนดสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ (8) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิ (ถ้ามี) ในกรณีที่บริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าบริษัทได้แนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,815