title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 276) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 276) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (66) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 317 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น และได้ซื้อหน่วยลงทุนนั้นในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพราะทุพพลภาพหรือตาย กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ที่จะนํามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวได้อีกต่อไป ข้อ ๒ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละกองทุนที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 1 การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่งต้องมีจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอีกกองทุนหนึ่ง ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นภายใน 5 วันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่โอนได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จึงจะถือว่าระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน การโอนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ข้อ ๔ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และยกเว้นสําหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังกล่าว ข้อ ๖ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 4 แล้ว ต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 หรือข้อ 2 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 4 แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่มีการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 หรือข้อ 2 การคํานวณต้นทุนผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหน่วยลงทุน (capital gain) เพื่อเสียภาษีในกรณีดังกล่าวให้คํานวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) ข้อ ๗ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,514
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 275) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 275) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติ ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (91) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 314 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ เนื่องจากสมาชิก กองทุนการออมแห่งชาติทุพพลภาพ หรือสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือถือว่า เป็นกรณีที่สมาชิกมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือตาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนการออมแห่งชาติ” หมายความว่า กองทุนการออมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ข้อ ๒ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (1) กรณีสมาชิกทุพพลภาพ ต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าสมาชิกผู้นั้นทุพพลภาพ (2) กรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะสมาชิกอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือถือว่าเป็นกรณี ที่สมาชิกมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ความเป็นสมาชิกต้องมีอยู่ในวันก่อนวันที่สมาชิกผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือถือว่ามีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ (3) กรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะตาย ต้องมีหลักฐานแสดงถึงการตาย ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากกองทุนการออมแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,515
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 274) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 274) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (90) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 314 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเข้ากองทุน การออมแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้มีเงินได้ที่เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามข้อ 2 (90) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 314 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีนั้นไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,516
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 273) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ นำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 273) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ นําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 316 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ “ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็น เงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้จ่ายค่าบริการตามข้อ 2 เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวของผู้มีเงินได้ ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จํานวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน ข้อ ๕ ผู้มีเงินได้ที่ได้นําใบกํากับภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินได้ค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 315 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรแล้ว และยังมีจํานวนเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักในโรงแรมดังกล่าวตามจํานวนที่จ่ายจริงในส่วนที่เกินกว่าสิทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเหลืออยู่ ผู้มีเงินได้มีสิทธินําจํานวนเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักในโรงแรมที่เหลืออยู่ตามใบกํากับภาษีนั้น มาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ แต่เมื่อรวมกับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้แล้ว ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๖ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,517
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 272) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 272) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 318 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จะต้องซื้อสินค้าซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และจ่ายค่าสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้อสินค้าที่ถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าต้องนํามูลค่าของสินค้านั้นมารวมคํานวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น (2) ต้องได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยในการจัดทํารายการชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าตามมาตรา 86/4 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ในใบกํากับภาษีนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายสินค้านั้นต้องปฏิบัติดังนี้ (ก) ต้องระบุข้อความที่แสดงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละรายการสินค้า หรือจัดทําเครื่องหมายแสดงในแต่ละรายการสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีข้อความที่แสดงว่าเครื่องหมายนั้นเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไว้ในใบกํากับภาษี ทั้งนี้ ข้อความที่แสดงว่าเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น “OTOP” “โอทอป” หรือ “One Tambon One Product” เป็นต้น (ข) กรณีจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการขายสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งทุกรายการสินค้าในใบกํากับภาษีนั้นเป็นสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะไม่ระบุข้อความที่แสดงว่าสินค้าแต่ละรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตาม (ก) ก็ได้ โดยให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีประทับด้วยตรายางที่มีชื่อ ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการจดทะเบียน และมีข้อความว่า “สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือข้อความอื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ประทับในใบกํากับภาษีฉบับนั้นด้วย ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามใบกํากับภาษีไปหักภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าที่ตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,518
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 271) เรื่อง กำหนดนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 271) เรื่อง กําหนดนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นิติบุคคลดังต่อไปนี้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร (1) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเษกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,519
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 270) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 270) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) (2) และ (3) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้ (1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ (2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ (3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 การลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,520
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 269) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างให้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับบัญชีแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 269) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างให้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับบัญชีแก่นักเรียนหรือนักศึกษา ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 607) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชีแก่นักเรียนหรือนักศึกษา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชี ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีสินทรัพย์ถาวร ซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน (2) ได้จ่ายเงินได้เป็นค่าจ้างให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่อยู่ระหว่างศึกษาในแผนกหรือสาขาวิชาบัญชีไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (3) นักเรียนหรือนักศึกษาที่อยู่ระหว่างศึกษาในแผนกหรือสาขาวิชาบัญชีซึ่งได้รับค่าจ้างตาม (2) ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชีตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น (4) มีหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่แสดงว่านักเรียนหรือนักศึกษากําลังศึกษาอยู่ในแผนกหรือสาขาวิชาบัญชีในระหว่างเวลาที่ปฏิบัติงานตาม (3) (5) มีหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชีแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่อยู่ระหว่างศึกษาในแผนกหรือสาขาวิชาบัญชี ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,521
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 268) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการธุรกิจนำเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 268) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการธุรกิจนําเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ------------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 315 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการธุรกิจนําเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการธุรกิจนําเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรม ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในระหว่างวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้จะต้องชําระค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการธุรกิจนําเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และได้รับบริการดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559 โดยต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ (1) การจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารภัตตาคาร หรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม คําว่า “ธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้ (2) การจ่ายค่าบริการธุรกิจนําเที่ยว จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ (3) การจ่ายค่าที่พักในโรงแรม จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการธุรกิจนําเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรมตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,522
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 267) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 267) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 611) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ค่าห้องสัมมนา” หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการห้องสัมมนาเรียกเก็บ เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มจากการใช้ห้องสัมมนาตามปกติทางการค้า “รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา” หมายความถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียง และค่าจัดทําสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถลูกจ้างของตน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจัดทําโครงการการอบรมสัมมนาโดยมีหลักฐานเอกสารประกอบโครงการ เพื่อประโยชน์ในการแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็น ค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนานั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียน ข้อ ๕ ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักภายในประเทศ ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ในสถานประกอบการเดียวกันก็ได้ แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,523
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (1) เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ (2) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (3) ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนําออกให้เช่า (4) อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย ข้อ ๒ ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) (2) และ (3) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้ “(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานห้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 กรณีขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ไม่ว่าจะมีการขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารนั้นหรือไม่ก็ตาม ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยต้องไม่มีการลงทุนหรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้น ซึ่งทรัพย์สินตามใบอนุญาตดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 หรือ (2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 กรณีแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยต้องไม่มีการลงทุน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําใท้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ตามการแจ้งดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 หรือ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 300) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือ ทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2560) (3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 การลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 270) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต เติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือ ทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2559) ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาดังนี้ (1) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน (2) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (2) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน (3) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (3) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน (4) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้ (1) กรณีนอกจาก (2) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (2) กรณีที่นําทรัพย์สินตามข้อ 1 ไปใช้ในโครงการที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง โดยถือเสมือนเป็นการใช้สิทธิยกเว้นเช่นเดียวกับกรณี (1) และให้ถือว่าการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว เป็นการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนการเริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๕ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 และข้อ 4 จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําขึ้น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,524
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 265) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 265) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับการรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ. 2559 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยต้องกรอกคําขออนุมัติตามแบบ ร.ม.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย “การยื่นคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคําร้องขอนั้นด้วย” (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 316) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับอนุมัติตามข้อ 1 แล้ว ที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ. 2559 ยื่นคําขอตามแบบแจ้งเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายสําหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ร.ม.2) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF มาพร้อมกับคําขอด้วย ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฉบับเดียว โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,525
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 264) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 264) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 313 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (1) ต้องเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด มูลค่าไม่เกินสามล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการทําสัญญาซื้อขายที่ดินและทําสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน (2) การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด (3) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด ในอาคารชุดที่จ่ายไปในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว (4) ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลาห้าปีภาษีต่อเนื่องกันนับแต่ปีภาษีที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนเท่า ๆ กันในแต่ละปี (5) ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน (6) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ให้ได้รับยกเว้นภาษีทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง และไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด (7) กรณีสามีภริยาร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด หากต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม (6) โดยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้ พึงประเมิน ดังนี้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ (ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ (ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาด้วย (8) กรณีสามีภริยาร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด หากสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด ข้อ ๒ มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตาย หรือกรณีอสังหาริมทรัพย์นั้นสิ้นสภาพไปทั้งหมด ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานประกอบการยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนี้ (1) หนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ (2) หนังสือรับรองตนเองว่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งแรก โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ (3) สําเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (4) สําเนาสัญญากู้ยืมเงิน (กรณีกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน) ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๕ กรณีผู้มีเงินได้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว และต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้ว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร นับตั้งแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,526
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 263) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 263) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 310 (พ.ศ. 2558) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีภาษี ที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมิน ของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และ ได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ จะต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการและชําระราคาค่าสินค้าหรือบริการ ในระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในราชอาณาจักร เฉพาะที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าฐานภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้นําใบกํากับภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินได้เป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ นําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไปใช้ สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 305 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,527
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 262) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 262) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 6 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 591) พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” หมายความว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้ประกาศกําหนดพื้นที่โดยประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 1/2558 เรื่อง กําหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2558 และประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 2/2558 เรื่อง ก าหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2 ลงวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2558 “รายได้จากการผลิตสินค้า” หมายความว่า (1) รายได้จากการผลิตสินค้าตามประเภทที่อ้างอิงจากสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยประเภทเป็นสินค้านําเข้าซึ่งจัดทําโดยกระทรวงพาณิชย์เพื่อทดแทนการนําเข้า (2) รายได้จากการผลิตสินค้าที่มีการส่งออกไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 50 ของการผลิตทั้งหมด (3) รายได้จากการผลิตสินค้าที่มีแนวโน้มจะสูญเสียการแข่งขันตามที่ระบุในแผนธุรกิจซึ่งได้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร “รายได้จากการให้บริการ” หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการให้บริการและได้มีการใช้บริการนั้นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น “รายได้จากกิจการอื่น” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 591) พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 591) พ.ศ. 2558 แจ้งการขอใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสถานประกอบกิจการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 ยื่นแผนธุรกิจเพื่อประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ พร้อมแบบแจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากร แผนธุรกิจต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวนิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (2) รายละเอียดธุรกิจที่ขอจดแจ้งการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ประกอบด้วย (ก) ประเภทกิจการการผลิต ได้แก่ การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนําเข้า การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก หรือการผลิตสินค้าที่มีแนวโน้มจะสูญเสียการแข่งขัน (ข) ประเภทสินค้าที่ผลิต ทั้งนี้หากเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลักให้ระบุสัดส่วนการผลิตเพื่อการส่งออกในแผนธุรกิจด้วย (ค) รายละเอียดอื่นๆ (ถ้ามี) (3) วิสัยทัศน์และเป้าหมายธุรกิจในระยะยาว (4) แผนการดําเนินงานปัจจุบัน (5) แผนการจัดหาเงินทุน (6) ประมาณการรายได้ และรายจ่ายจากการประกอบกิจการ ข้อ ๔ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน ข้อ ๕ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและกิจการอื่น มีรายได้จากกิจการที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น หากมีผลขาดทุนสุทธิสําหรับกิจการใด ให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้สําหรับกิจการนั้นเท่านั้น ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,528
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 261) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 261) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ---------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (1) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 194) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (2) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยในปีภาษีส าหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (ก) ของ (3) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 236) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (ข) ของ (3) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 194) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 236) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (ค) ของ (3) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 194) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 236) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญในส่วนของสามีหรือภริยาเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,529
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 260) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 260) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อใช้ยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 255) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลตามวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 255) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 อยู่ก่อนแล้ว จะยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลนั้นต่อไปก็ได้ ทั้งนี้เฉพาะสําหรับการยื่นรายการของเดือนภาษีกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนภาษีมิถุนายน พ.ศ. 2559 ข้อ 5 ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง ก าหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลตามวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง ก าหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 255) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 อยู่ก่อนแล้ว จะยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลนั้นต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับการยื่นรายการของปีภาษี พ.ศ. 2558 และปีภาษี พ.ศ. 2559 ข้อ 6 ให้นําความในวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 255) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 มาใช้บังคับต่อไปสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) และ (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ดังต่อไปนี้ (1) สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ของเดือนภาษีกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนภาษีมิถุนายน พ.ศ. 2559 (2) สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (5)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ของปีภาษีพ.ศ. 2558 และปีภาษีพ.ศ. 2559 ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ยื่นรายการยังไม่อาจยื่นรายการด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หรือด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ตามรูปแบบข้อมูล(Format) ที่มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 255) เรื่อง ก าหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,530
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 259) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 259 ) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (1) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี หรือมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี หรือมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,531
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 258) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 258 ) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ -------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (1) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี หรือมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี หรือมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ยกเว้นสําหรับเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวที่คํานวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้และจะต้องมีจํานวนไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,532
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 257) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 257 ) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว -------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (66) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (1) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 169) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 2 และข้อ 3 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นบุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,533
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 256) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 256) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 ทวิ มาตรา 68 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อใช้ยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 160) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “แบบแสดงรายการตาม (4) ใช้ยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หรือด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ตามรูปแบบข้อมูล (Format) ที่มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ก็ได้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,534
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 255) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 255) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อใช้ยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 159) เรื่อง ก าหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “แบบแสดงรายการตาม (1) (2) (3) (6) และ (7) ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะก าหนดเป็นอย่างอื่น แบบแสดงรายการตาม (1) (2) (3) (6) และ (7) ใช้ยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หรือด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ตามรูปแบบข้อมูล (Format) ที่มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ก็ได้” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง ก าหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 “ข้อ 1/1 แบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) และ (5) ให้ยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หรือด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ตามรูปแบบข้อมูล (Format) ที่มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ สําหรับแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) สําหรับการยื่นรายการของเดือนภาษีกรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (5) สําหรับการยื่นรายการของปีภาษีพ.ศ. 2558 เป็นต้นไป” ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (1) (2) (3) (6) และ (7)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลตามวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้อยู่ก่อนแล้ว จะยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลนั้นต่อไปก็ได้ ข้อ ๔ ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลตามวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้อยู่ก่อนแล้ว จะยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลนั้นต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับการยื่นรายการของเดือนภาษีกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนภาษีธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๕ ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลตามวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้อยู่ก่อนแล้ว จะยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลนั้นต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับการยื่นรายการของปีภาษี พ.ศ. 2558 ข้อ ๖ ให้นําความในวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ มาใช้บังคับต่อไปสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการตามข้อ 1 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการของเดือนภาษีกรกฎาคม พ.ศ. 2558 และเดือนภาษีสิงหาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ยื่นรายการยังไม่อาจยื่นรายการด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หรือด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นตามรูปแบบข้อมูล (Format) ที่มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ได้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,535
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 254) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 254) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ---------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่584) พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 584) พ.ศ. 2558 “รายได้จากกิจการอื่น” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 584) พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 584) พ.ศ. 2558 แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหกสิบวันนับแต่วันแรกของทุกปีภาษีหรือวันแรกของทุกรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีการแจ้งใช้สิทธิสําหรับปีภาษี 2558 ให้แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ ส านักงานสรรพากรพื้นที่ที่ผู้มีเงินได้หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ กรณีผู้มีเงินได้เริ่มประกอบกิจการในระหว่างปีภาษีให้แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหกสิบวันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการทั้งที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งบัญชีงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีก าหนดพร้อมกับช าระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจทั้งที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่นให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,536
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 253) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 253) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ -------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 8 (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 587) พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ” หมายความว่า กิจการจัดซื้อและขายสินค้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วน หรือให้บริการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศแก่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ” หมายความว่า การให้บริการในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดหาสินค้า (2) การเก็บรักษาสินค้าระหว่างรอการส่งมอบ (3) การจัดทําหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ (4) การขนส่งสินค้า (5) การประกันภัยสินค้า (6) การให้คําปรึกษาแนะนําและบริการด้านเทคนิคและฝึกอบรมเกี่ยวกับสินค้า “รายได้จากการประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ” หมายความว่า รายได้จากการจัดซื้อและขายสินค้าในต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวมิได้ถูกนําเข้ามาในประเทศไทยหรือเข้ามาในประเทศไทยในลักษณะการผ่านแดนหรือการถ่ายลําตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และรายได้จากการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศแก่นิติบุคคลในต่างประเทศที่ได้รับจากหรือในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทการค้าระหว่างประเทศได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 587) พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ คนต่างด้าวที่จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 587) พ.ศ. 2558 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นพนักงานประจําที่ปฏิบัติงานในบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (2) เป็นผู้มีรายชื่อคนต่างด้าว ปรากฏตามเอกสารข้อ 4 (2) และเอกสารแนบท้ายแบบ ส.ญ.ค. 1.1 ตามข้อ 6 (2) (3) เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมดถึง 180 วันในปีภาษี (4) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตทํางานคนต่างด้าวระดับฝีมือหรือชํานาญการจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (5) เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านบาทต่อปีภาษี กรณีอยู่ในประเทศไทยถึง 1 ปีภาษี หรือเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน กรณีอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 1 ปีภาษี ข้อ ๓ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 587) พ.ศ. 2558 ยื่นคําขออนุมัติเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบคําขออนุมัติเป็นสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศหรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (แบบ ส.ญ.ค.1) ที่แนบท้ายประกาศนี้โดยให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรอกคําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค. 1 และให้ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารประกอบการพิจารณาตามข้อ 4 (2) ในรูปแบบของ Text File (2) พิมพ์คําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค. 1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพร้อมลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอ านาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) และให้ยื่นพร้อมไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของแผนธุรกิจตามข้อ 4 (1) ในรูปแบบของ Text File ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันถัดจากวันที่ส่งคําขออนุมัติผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ข้อ ๔ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศตามข้อ 3 ยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ พร้อมคําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค. 1 (1) แผนธุรกิจที่ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1.1) บทสรุปผู้บริหาร (1.2) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริษัท (ก) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวนิติบุคคลของบริษัท (ข) ประวัติความเป็นมาหรือแนวคิดในการก่อตั้งบริษัทโดยสังเขป (ค) รายชื่อกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (ง) อํานาจการลงนามผูกพันบริษัท (จ) แผนผังองค์กรของบริษัท (ฉ) รายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท (1.3) รายละเอียดธุรกิจที่ขออนุมัติโดยสังเขป (1.4) วิสัยทัศน์และเป้าหมายธุรกิจที่ขออนุมัติในระยะยาว (1.5) สรุปผลการดําเนินงานที่ผ่านมาของธุรกิจที่ขออนุมัติ (ถ้ามี) (1.6) การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและตลาดในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า (1.7) แผนการดําเนินงานในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า (1.8) แผนการจัดหาเงินทุนในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า (1.9) รายละเอียดแผนการจ้างงานคนต่างด้าวที่จะปฏิบัติงานในบริษัทการค้าระหว่างประเทศในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า พร้อมวิเคราะห์เหตุผลและความจําเป็น (1.10) ประมาณการรายได้ รายจ่าย การลงทุน การจ าหน่ายก าไรและการจ้างงานในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า (2) เอกสารรายละเอียดของคนต่างด้าวที่ขอใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศที่ประสงค์จะขอยกเลิกเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศให้ยื่นคําขอยกเลิกต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่กรมสรรพากร และให้การเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศนั้น มีผลเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ได้ยื่นคําขอยกเลิก ข้อ ๖ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังต่อไปนี้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงตามแบบคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศหรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (แบบ ส.ญ.ค. 1.1) ที่แนบท้ายประกาศนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจที่มีนัยสําคัญ (2) การเพิ่มหรือยกเลิกรายชื่อคนต่างด้าวที่ขอใช้สิทธิลดอัตราภาษีการยื่นคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) กรอกคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ส.ญ.ค. 1.1 และให้ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ทั้งนี้ กรณีการเพิ่มหรือยกเลิกรายชื่อคนต่างด้าวที่ขอใช้สิทธิลดอัตราภาษีให้แนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารแนบท้าย ส.ญ.ค. 1.1 ในรูปแบบของ Text File ด้วย (2) พิมพ์คําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ส.ญ.ค. 1.1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ภายใน 30 วันนับแต่ วันที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องไม่เกินกว่าวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ กรณีการเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจที่มีนัยสําคัญ ให้ยื่นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของแผนธุรกิจในรูปแบบของ Text File พร้อมการยื่นคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงด้วย ข้อ ๗ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 และมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศและกิจการอื่นให้บริษัทดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าว ตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากกิจการอื่น ข้อ ๘ กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศและกิจการอื่นหากกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศมีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น ข้อ ๙ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมแนบแบบแสดงรายละเอียดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศหรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศที่แนบท้ายประกาศนี้และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีก าหนดพร้อมกับช าระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศและกิจการอื่นให้บริษัทดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทดังกล่าวให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทในกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,537
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 28/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 28/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 64/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แก่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ หรือภายในกําหนดเวลาที่เร็วขึ้นตามที่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยกําหนด (1) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลา 9.00-12.00 น. ให้รายงานภายในเวลา 12.30 น. ของวันที่ทําการซื้อขาย (2) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาตาม (1) แต่ไม่เกิน 15.30 น. ให้รายงานภายในเวลา 16.00 น. ของวันที่ทําการซื้อขาย (3) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นภายหลังเวลา 15.30 น. ให้รายงานภายในเวลา 9.00 น. ของวันทําการถัดไป” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,538
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จาก อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมนอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 17 แห่งประกาศ ที่ กน. 54/2543 โดยการให้เช่าพื้นที่และมีการจัดหาผลประโยชน์โดยการให้บริการประกอบด้วย เช่น เซอร์วิซ อะพาร์ตเมนท์ (service apartment) บริษัทจัดการจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อกองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นในรอบปีการเงินใด ๆ ทั้งนี้ รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าวให้รวมถึงรายได้จากการให้เช่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงจากการให้เช่าพื้นที่นั้นด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดครัว เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,539
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 12/2551 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 12/ 2551 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 (1) มาตรา 121 มาตรา 122 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 8 (1) มาตรา 74 มาตรา 75 และมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การดําเนินการที่เกี่ยวกับการพิจารณาโทษทางปกครอง (2) “โทษทางปกครอง” หมายความว่า โทษทางปกครองที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (3) “ผู้ถูกกล่าวหา” หมายความว่า บุคคลซึ่งสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รวบรวมข้อเท็จจริงและพิจารณาในเบื้องต้นแล้ว เห็นว่ามีพฤติการณ์การกระทําที่มีมูลเข้าข่ายเป็นการกระทําผิดที่มีโทษทางปกครอง (4) “ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง และสํานักงาน ก.ล.ต. แล้วแต่กรณี (5) “คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (6) “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ในการพิจารณาและมีคําสั่งลงโทษทางปกครอง และการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าว นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้นํากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔ การแจ้งข้อกล่าวหา การแจ้งกําหนดนัด การแจ้งคําสั่งลงโทษทางปกครอง การแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ หรือการอย่างอื่น ให้กระทําเป็นหนังสือ ข้อ ๕ ในกรณีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วนหรือผู้รับได้แสดงความจํานงให้แจ้งด้วยวิธีอื่น การแจ้งข้อกล่าวหา การแจ้งกําหนดนัด การแจ้งคําสั่งลงโทษทางปกครอง การแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ หรือการอย่างอื่น จะใช้วิธีส่งทางโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นตามที่ผู้รับได้แจ้งความจํานงไว้ก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานการส่ง และต้องจัดส่งหนังสือแจ้งให้แก่ผู้รับในทันทีที่อาจกระทําได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าผู้รับได้รับแจ้งตามวัน เวลาที่ปรากฏในหลักฐานการส่งโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นนั้น เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากนั้น หมวด ๒ การพิจารณาและการมีคําสั่งลงโทษทางปกครอง ข้อ ๖ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. รวบรวมข้อเท็จจริงและพิจารณาในเบื้องต้นแล้ว เห็นว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์การกระทําที่มีมูลควรจะได้รับโทษทางปกครอง ให้ดําเนินการดังนี้ (1) ในกรณีที่ประเภทของโทษซึ่งผู้ถูกกล่าวหาควรจะได้รับอยู่ในอํานาจของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการพิจารณาทางปกครองตามความในหมวดนี้ (2) ในกรณีที่ประเภทของโทษซึ่งผู้ถูกกล่าวหาควรจะได้รับไม่อยู่ในอํานาจของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้วแต่กรณี เพื่อดําเนินการพิจารณาทางปกครองตามความในหมวดนี้ต่อไป ข้อ ๗ ให้ฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. ปฏิบัติงานธุรการรวมทั้งดําเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้วแต่กรณี มอบหมาย ส่วน ๑ การพิจารณาทางปกครอง ข้อ ๘ การพิจารณาทางปกครองให้รวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การแสวงหาพยานหลักฐานที่เห็นว่าจําเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง (2) การรับฟังพยานหลักฐาน คําชี้แจง หรือความเห็นของสํานักงาน ก.ล.ต. ผู้ถูกกล่าวหา หรือพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่สํานักงาน ก.ล.ต. และผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้าง เว้นแต่ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จําเป็น ฟุ่มเฟือย หรือเพื่อประวิงเวลา (3) การขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ (4) การขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง (5) การออกไปตรวจสถานที่ ผู้ถูกกล่าวหาต้องให้ความร่วมมือกับผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่แจ้งพยานหลักฐานที่ตนทราบแก่ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครอง ข้อ ๙ เมื่อผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ให้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเพื่อโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน โดยผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองจะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น (1) เมื่อได้มีการดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้วก่อนสํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครอง (2) เมื่อมีความจําเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ (3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกกล่าวหาเองได้ให้ไว้ในคําชี้แจงหรือในการให้ถ้อยคําต่อเจ้าหน้าที่ของสํานักงาน ก.ล.ต. (4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้ (5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ หากจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ ข้อ ๑๐ การแจ้งข้อกล่าวหา ให้ทําเป็นหนังสือโดยมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อผู้ถูกกล่าวหา (2) การกระทําทั้งหลายที่เข้าข่ายเป็นความผิดที่มีโทษทางปกครอง พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทําดังกล่าว (3) บทบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อ ๑๑ เมื่อผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองได้พิจารณาพยานหลักฐาน ประกอบกับคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิด ให้ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองมีคําสั่งยกข้อกล่าวหา แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิด ให้พิจารณากําหนดโทษทางปกครอง แล้วมีคําสั่งลงโทษทางปกครองต่อไป ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๒ การประชุมของคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองต้องมีกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ใช่การวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 11 ถ้าปรากฏว่าคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานในที่ประชุมอาจออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๓ ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 11 คณะกรรมการอาจมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในคณะกรรมการดําเนินการหรือปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในนามของคณะกรรมการได้ ซึ่งให้หมายความรวมถึงการดําเนินการหรือปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) การลงนามในหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือแจ้งกําหนดนัด (2) การลงนามในหนังสือเชิญให้บุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็น หรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน (3) การสอบและบันทึกคําชี้แจงหรือความเห็นของผู้ถูกกล่าวหา พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ ส่วน ๒ การกําหนดโทษทางปกครอง ข้อ ๑๔ ในการพิจารณาโทษทางปกครองที่จะใช้กับผู้ถูกกล่าวหา ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดโทษทางปกครองอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองต้องคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ (1) พฤติการณ์แห่งความผิด ซึ่งโดยทั่วไปให้พิจารณาจาก (ก) ความผิดเกิดขึ้นโดยความจงใจ หรือเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเป็นเพียงจากการขาดความระมัดระวังตามสมควร (ข) ประโยชน์ที่ผู้กระทําผิดหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําผิดหรือบุคคลอื่นได้รับหรือจะได้รับจากการกระทํานั้น (ค) พฤติการณ์แห่งความผิดเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ หลักเกณฑ์ คําสั่ง หรือเงื่อนไขที่เป็นสาระสําคัญ หรือเป็นการขัดต่อหน้าที่ที่ต้องดําเนินธุรกิจหรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง หรือเป็นเพียงการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านเทคนิค (2) ความเสียหายที่เกิดจากการกระทํานั้น ซึ่งโดยทั่วไปให้พิจารณาจาก (ก) ระดับของความเสียหายที่มีต่อตลาดเงินหรือตลาดทุนหรือต่อลูกค้าหรือบุคคลอื่น (ข) ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความเสียหายประเภทที่สามารถคํานวณเป็นตัวเงินได้ (เช่น การขาดประโยชน์ หรือการเพิ่มขึ้นของต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย เป็นต้น) หรือเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถคํานวณเป็นตัวเงินได้ (เช่น การส่งผลกระทบในเชิงลบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดหรือของธุรกิจ) (3) ข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่วไปให้พิจารณาจาก (ก) ช่วงระยะเวลาและความถี่ของการกระทําผิด (ข) ความผิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงข้อด้อยของระบบบริหารจัดการหรือระบบควบคุมภายใน และระบบจัดการหรือระบบควบคุมภายในที่มีข้อด้อยนั้นเป็นระบบที่ใช้ในธุรกิจทั้งหมดหรือธุรกิจบางส่วนของผู้กระทําผิด (ค) ความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการกระทําหรือการรับรู้ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในระดับสูงของนิติบุคคลผู้กระทําผิด (ง) เรื่องที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติเป็นเรื่องที่มีประกาศของสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว (จ) ผู้กระทําผิดแจ้งหรือรายงานความผิดนั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเวลาอันสมควร และเป็นการให้ข้อมูลทั้งหมดที่ทราบหรือให้ข้อมูลเพียงบางส่วน ตลอดจนลักษณะการรายงานข้อมูลและเหตุผลที่รายงานข้อมูล (ฉ) การเยียวยาความเสียหายของผู้กระทําผิด หรือการดําเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทําความผิดนั้น (ช) ระดับของความร่วมมือที่ผู้กระทําผิดให้กับสํานักงาน ก.ล.ต. โดยในกรณีที่ผู้กระทําผิดเป็นนิติบุคคล ระดับความร่วมมือดังกล่าวหมายความรวมถึง ความชัดเจนของนิติบุคคลที่กําหนดให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับสํานักงาน ก.ล.ต. (ซ) ประวัติการถูกลงโทษทางปกครองของผู้กระทําผิด หรือในกรณีที่ผู้กระทําผิดเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงประวัติการถูกลงโทษทางปกครองของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการกระทําผิดของนิติบุคคลนั้น (ฌ) ระดับโทษทางปกครองที่เคยใช้กับผู้กระทําผิดรายอื่นในความผิดทํานองเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ส่วน ๓ คําสั่งลงโทษทางปกครอง ข้อ ๑๕ คําสั่งลงโทษทางปกครองให้ทําเป็นหนังสือระบุ วัน เดือน ปีที่ทําคําสั่ง ลงโทษทางปกครองที่ลง รวมทั้งชื่อ ลายมือชื่อ และตําแหน่ง ของผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองที่ทําคําสั่ง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ลงลายมือชื่อ ข้อ ๑๖ คําสั่งลงโทษทางปกครองต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จําเป็นต้องระบุอีก (2) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ (3) เป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควรหากผู้ถูกลงโทษร้องขอ ข้อ ๑๗ การออกคําสั่งลงโทษทางปกครอง ผู้มีอํานาจพิจารณาทางปกครองอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จําเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน การกําหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกําหนดเงื่อนไขในกรณีดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมแก่กรณีด้วย (1) การกําหนดให้โทษทางปกครองเริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (2) การกําหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของโทษทางปกครองต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน (3) การกําหนดให้ผู้ถูกลงโทษกระทําการหรืองดเว้นกระทําการเพื่อแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ซ้ําอีกได้ ข้อ ๑๘ คําสั่งลงโทษทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อผู้ถูกลงโทษตั้งแต่ขณะที่ผู้ถูกลงโทษได้รับแจ้งเป็นต้นไป หมวด ๓ การอุทธรณ์ ข้อ ๑๙ การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางปกครองของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง ตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือ มาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว ในกรณีที่เป็นการอุทธรณ์คําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (2) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว ในกรณีที่เป็นการอุทธรณ์คําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ในการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ผู้อุทธรณ์อาจยื่นด้วยตนเอง หรืออาจส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในกรณีการยื่นอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไปรษณียากรบนซองหนังสืออุทธรณ์เป็นวันยื่นอุทธรณ์ ข้อ ๒๐ คําอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ โดยระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ต้องอุทธรณ์ เหตุผลที่เป็นข้อโต้แย้งว่าไม่เห็นด้วยกับคําสั่งลงโทษทางปกครองอย่างชัดเจน และต้องมีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย บรรดาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ผู้อุทธรณ์แนบเอกสารดังกล่าวมาพร้อมกับคําอุทธรณ์ด้วย ข้อ ๒๑ ให้ฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจคําอุทธรณ์ ถ้าเห็นว่าคําอุทธรณ์ไม่มีรายการตามข้อ 20 ให้เสนอเลขาธิการเพื่อมีคําสั่งให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขภายในระยะเวลาที่กําหนด ในกรณีที่ฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่าคําอุทธรณ์มิได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 19 หรือในกรณีที่เลขาธิการได้มีคําสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ผู้อุทธรณ์มิได้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้นําเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อมีคําสั่งไม่รับคําอุทธรณ์ไว้พิจารณา แล้วมีหนังสือแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบต่อไป ข้อ ๒๒ เมื่อฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจคําอุทธรณ์แล้ว ไม่มีกรณีตามข้อ 21 หรือผู้อุทธรณ์ได้ดําเนินการแก้ไขคําอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของเลขาธิการตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง แล้ว ให้ฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. ลงทะเบียนรับคําอุทธรณ์ และออกใบรับอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ หรือมีหนังสือแจ้งการรับอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบ แล้วแต่กรณี ใบรับอุทธรณ์หรือหนังสือแจ้งการรับอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความแสดงถึงวัน เดือน ปี ที่รับอุทธรณ์ ข้อ ๒๓ เมื่อได้ลงทะเบียนรับคําอุทธรณ์แล้ว ให้ฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. จัดทําบันทึกการพิจารณาคําอุทธรณ์ โดยระบุเรื่องหรือข้อโต้แย้งที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์อย่างชัดเจนและครบถ้วนทุกประเด็น และให้แสดงเหตุผลหรือข้อพิจารณาในการมีคําสั่งลงโทษทางปกครองอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์นั้นด้วย แล้วเสนอคําอุทธรณ์และบันทึกการพิจารณาคําอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณา ข้อ ๒๔ ในการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําอุทธรณ์ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวด้วย ข้อ ๒๕ ในการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถพิจารณาทบทวนคําสั่งลงโทษทางปกครองได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย รวมตลอดถึงความเหมาะสมของการทําคําสั่งลงโทษทางปกครอง โดยอาจขอให้ผู้อุทธรณ์หรือสํานักงาน ก.ล.ต. จัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมหรือชี้แจงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับเรื่องที่อุทธรณ์เพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือรับฟังความคิดเห็นจากผู้อุทธรณ์หรือบุคคลใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรให้ผู้อุทธรณ์เข้าแถลงด้วยวาจา ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งกําหนดนัดให้ผู้อุทธรณ์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วน อาจแจ้งกําหนดนัดล่วงหน้าน้อยกว่านั้นก็ได้ ในการเข้าแถลงด้วยวาจา ผู้อุทธรณ์จะต้องยื่นหนังสือสรุปคําแถลงต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. อย่างช้าในวันที่กําหนดให้มีการแถลงด้วยวาจานั้น ทั้งนี้ หนังสือสรุปคําแถลงจะยกข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ไม่ได้ เว้นแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสําคัญในการอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษที่ทําให้ไม่อาจเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ก่อนหน้านั้น คําแถลงด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ต้องกระชับและอยู่ในประเด็น โดยไม่อาจยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอื่นนอกจากที่ปรากฏในคําแถลงเป็นหนังสือ มิฉะนั้นคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจไม่อนุญาตให้แถลงด้วยวาจา ข้อ ๒๗ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางปกครอง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่ง หรือคณะบุคคลคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งจํานวนไม่เกินสามคน ให้มีหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย พร้อมทั้งเสนอความเห็นในเรื่องที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ได้มอบหมายให้กรรมการคนใดหรือคณะบุคคลใดทําหน้าที่ไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่มีการมอบหมายตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่เรื่องที่อุทธรณ์ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือรองประธานกรรมการ ก.ล.ต. ที่ประธานกรรมการ ก.ล.ต. มอบหมาย มีอํานาจพิจารณาแต่งตั้งกรรมการหรือคณะบุคคลตามวรรคหนึ่งแทนคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๒๘ เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวให้ผู้อุทธรณ์ทราบพร้อมด้วยเหตุผล ทั้งนี้ ให้นําข้อ 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๙ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่งลงโทษทางปกครอง แต่ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคําขอทุเลาการบังคับดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ได้ โดยชี้แจงเหตุผลอันเป็นความจําเป็นเร่งด่วนในการขอทุเลาการบังคับดังกล่าว ให้ฝ่ายคดี สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งเป็นการเร่งด่วน และรีบทําความเห็นเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาต่อไป และให้นําข้อ 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีเป็นเรื่องที่มีความจําเป็นเร่งด่วน และคําขอนั้นมีเหตุสมควรอันแท้จริง จะมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรโดยจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่จําเป็นด้วยก็ได้ และให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้อุทธรณ์ทราบ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 121 มาตรา 122 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 74 มาตรา 75 และมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 บัญญัติให้การสั่งลงโทษทางปกครอง การพิจารณาและการมีคําสั่งลงโทษทางปกครอง และการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ประกอบกับเป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวขึ้นใช้บังคับ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,540
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 2/2554 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 2 /2554 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(1) มาตรา 121 และมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 8(1) มาตรา 74 และมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 12/2551 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้ส่วนงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. มอบหมายปฏิบัติงานธุรการรวมทั้งดําเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้วแต่กรณี มอบหมาย” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 และข้อ 14/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 12/2551 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 14/1 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่มีโทษทางปกครอง หากมิใช่กรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควรลงโทษโดยการภาคทัณฑ์หรือการตําหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจทั่วไป ให้ลงโทษปรับทางปกครอง (2) ให้พิจารณาดําเนินการลงโทษจํากัดการประกอบการ พักการประกอบการ หรือเพิกถอนใบอนุญาต การจดทะเบียน หรือการให้ความเห็นชอบด้วย เมื่อการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรือลูกค้า ต่อระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือต่อระบบตลาดทุนโดยรวม (ก) การขาดจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจอย่างร้ายแรง (ข) การขาดการบริหารจัดการ หรือการกํากับดูแลที่เพียงพออย่างมีนัยสําคัญ เพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และมีการปฏิบัติกับผู้ลงทุนหรือลูกค้าอย่างเป็นธรรม หรือ (ค) การขาดความมั่นคงทางฐานะการเงินเพื่อรองรับการดําเนินธุรกิจ ข้อ 14/2 การกําหนดค่าปรับทางปกครองให้คํานึงถึงระดับความร้ายแรงของการกระทําในแต่ละกรณี ทั้งนี้ ให้นําอัตราการเปรียบเทียบปรับทางอาญาสําหรับความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเดียวกัน มาเป็นฐานในการคํานวณ การพิจารณาระดับความร้ายแรงของการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาตามปัจจัยที่กําหนดในข้อ 14 ในกรณีที่การกระทําความผิดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันเป็นผลให้ผู้กระทําความผิดได้ไปซึ่งประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือทําให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรือลูกค้า ต่อระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือต่อระบบตลาดทุนโดยรวม ให้นําผลประโยชน์ที่ได้รับหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นมารวมคํานวณเป็นค่าปรับทางปกครองด้วย แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินค่าปรับสูงสุดที่กฎหมายกําหนดสําหรับความผิดแต่ละกรรม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อผ่อนคลายให้สํานักงาน ก.ล.ต. มอบหมาย ให้ส่วนงานใดปฏิบัติงานธุรการเพื่อคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองได้ และเพื่อเพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณากําหนดโทษทางปกครองให้สอดคล้องกับลักษณะของความผิด รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการกําหนดค่าปรับทางปกครอง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,541
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 4/2555 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 4 /2555 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(1) และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 8(1) และมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 12/2551 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ให้ส่วนงานที่มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ตรวจคําอุทธรณ์ ถ้าเห็นว่าคําอุทธรณ์ไม่มีรายการตามข้อ 20 ให้เสนอเลขาธิการเพื่อมีคําสั่งให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขภายในระยะเวลาที่กําหนด ในกรณีที่ส่วนงานที่มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าคําอุทธรณ์มิได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 19 หรือในกรณีที่เลขาธิการได้มีคําสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ผู้อุทธรณ์มิได้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้นําเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อมีคําสั่งไม่รับคําอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีหนังสือแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบต่อไป ข้อ 22 เมื่อส่วนงานที่มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ตรวจคําอุทธรณ์แล้ว ไม่มีกรณีตามข้อ 21 หรือผู้อุทธรณ์ได้ดําเนินการแก้ไขคําอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของเลขาธิการตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง แล้ว ให้ส่วนงานที่มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ลงทะเบียนรับคําอุทธรณ์ และออกใบรับอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ หรือมีหนังสือแจ้งการรับอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบ แล้วแต่กรณี ใบรับอุทธรณ์หรือหนังสือแจ้งการรับอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความแสดงถึงวัน เดือน ปี ที่รับอุทธรณ์ ข้อ 23 เมื่อได้ลงทะเบียนรับคําอุทธรณ์แล้ว ให้ส่วนงานที่มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์จัดทําบันทึกการพิจารณาคําอุทธรณ์ โดยระบุเรื่องหรือข้อโต้แย้งที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์อย่างชัดเจนและครบถ้วนทุกประเด็น และให้แสดงเหตุผลหรือข้อพิจารณาในการมีคําสั่งลงโทษทางปกครองอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์นั้นด้วย แล้วเสนอคําอุทธรณ์และบันทึกการพิจารณาคําอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณา” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 12/2551 เรื่อง การพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ส่วนงานที่มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์พิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งเป็นการเร่งด่วนและรีบทําความเห็นเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาต่อไป และให้นําข้อ 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,542
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 17/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับผู้ได้รับ ใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาชําระค่าธรรมเนียมคงที่ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นรายปีตามปีปฏิทินในอัตราปีละ 500,000 บาท ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาชําระค่าธรรมเนียมในวันที่เริ่มประกอบกิจการ ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินสําหรับในปีแรกที่เริ่มประกอบกิจการเหลือน้อยกว่าหกเดือน ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาชําระค่าธรรมเนียมเพียงกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 เฉพาะในส่วนที่ยังไม่ได้ชําระ หากตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ชําระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วทั้งจํานวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๔ ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา เพื่อให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนในการกํากับดูแลกิจการดังกล่าวของสํานักงาน ก.ล.ต. จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,543
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2552 เรื่อง การกำหนดลักษณะบุคคลที่จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2552 เรื่อง การกําหนดลักษณะบุคคลที่จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ไม่ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การเข้าจัดการเงินทุนหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะรับจัดการเงินทุนให้แก่บุคคลอื่น เพื่อแสวงหาประโยชน์จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกระทําเป็นทางค้าปกติ “การลดความเสี่ยง (hedging)” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่น ด้วยการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ บุคคลที่มีการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (1) เป็นการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล เพื่อกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี และ (2) เป็นการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) เท่านั้น ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าสถานการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ปัจจุบันมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สมควรสนับสนุนให้บริษัทจัดการกองทุนสามารถใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,544
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2552 เรื่อง แนวทางการพิจารณากรณีที่ไม่ถือเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันตามมาตรา 89/12
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2552 เรื่อง แนวทางการพิจารณากรณีที่ไม่ถือเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามมาตรา 89/12 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(4/1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกแนวทางการพิจารณามาตรา 89/12 ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “กิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ” หมายความว่า (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีหน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนนั้น (ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือนิติบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนนั้น (2) “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า (ก) ส่วนราชการ (ข) องค์กรของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ (3) “บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ข้อ ๒ ให้การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อย กับหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท และธุรกรรมดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นธุรกรรมที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 89/12 (1) ธุรกรรมที่บริษัทหรือบริษัทย่อยมีหน้าที่ต้องกระทําตามที่กฎหมายกําหนดต่อหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ (2) การจ่ายหรือชําระค่าบริการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของมีภารกิจในการให้บริการสาธารณะ หรือเป็นหน่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐ การที่บุคคลดังกล่าวมีธุรกรรมกับบริษัทหรือบริษัทย่อย ธุรกรรมนั้นจึงเป็นการกระทําที่ตั้งอยู่บนผลประโยชน์สาธารณะเป็นสําคัญ และอยู่ภายในกรอบของกฎหมายที่ให้อํานาจหรือจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของนั้น นอกจากนี้ ธุรกรรมบางลักษณะเป็นเรื่องที่บริษัทหรือบริษัทย่อยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติต่อหน่วยงานของรัฐโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ลักษณะของธุรกรรมดังกล่าวจึงไม่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของมาตรา 89/12 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,545
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 74) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ยืมและผู้ให้ยืมหลักทรัพย์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 74) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ยืมและผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้น ภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ยืมและผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1.1 ต้องมีสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ 1.2 ต้องมีข้อกําหนดให้มีการโอนหลักทรัพย์จากผู้ให้ยืมไปยังผู้ยืม โดยผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ยืมไปดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามวันที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าหรือในวันที่ผู้ให้ยืมทวงถาม โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ยืมจนถึงวันที่คืนหลักทรัพย์จะต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันให้ยืมหลักทรัพย์ ทั้งนี้ หากผู้ยืมผิดนัดไม่ส่งมอบหลักทรัพย์คืนให้แก่ผู้ให้ยืมภายในกําหนดเวลา และผู้ให้ยืมได้ซื้อหลักทรัพย์ที่ให้ยืมมาคืนตนเองภายในกําหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ผิดนัด ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่ผู้ให้ยืมซื้อมานั้น เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับคืนตามวรรคหนึ่งด้วย 1.3 ในกรณีที่การยืมหลักทรัพย์มีหลักประกันการยืมหลักทรัพย์และหลักประกันดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์หรือตราสารใด ๆ สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องกําหนดให้มีการโอนหลักประกันจากผู้ยืมไปยังผู้ให้ยืม โดยผู้ให้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักประกันดังกล่าวคืนแก่ผู้ยืมเมื่อผู้ยืมคืนหลักทรัพย์ตามข้อ 1.2 หรือเมื่อผู้ยืมได้วางหลักประกันอื่นแทน หลักประกันเดิมแล้ว ทั้งนี้ หากผู้ให้ยืมผิดนัดไม่ส่งมอบหลักประกันคืนให้แก่ผู้ยืมภายในกําหนดเวลา และผู้ยืมได้ซื้อหลักประกันการยืมหลักทรัพย์มาคืนตนเองภายในกําหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ผิดนัด ให้ถือว่าหลักประกันที่ผู้ยืมซื้อมานั้น เป็นหลักประกันที่ได้รับคืนตามวรรคหนึ่งด้วย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 141) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ) ) ข้อ ๒ ในระหว่างที่มีการยืมหลักทรัพย์ใด ๆ และยังไม่ได้คืน หากผู้ออก หลักทรัพย์ที่ให้ยืมมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ที่เกิดจากการ ถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ยืมต้องจ่ายเงินเป็นจํานวนเท่ากับผลประโยชน์ดังกล่าวให้ แก่ผู้ให้ยืม ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยืมจะได้รับผลประโยชน์นั้นหรือไม่ก็ตาม ข้อ ๓ ในระหว่างที่มีการวางหลักประกันใด ๆ และยังไม่ได้คืนหลักประกัน หากผู้ออกหลักทรัพย์หรือตราสารที่เป็นหลักประกันมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ หรือตราสารนั้น เช่น เงินปันผลหรือดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์หรือ ตราสารนั้น ผู้ให้ยืมจะต้องจ่ายเงินเป็นจํานวนเท่ากับผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ยืม ข้อ ๔ ต้องมีการบันทึกบัญชีในรูปแบบของการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และ จัดเก็บหลักฐานแยกออกจากธุรกรรมอื่น ข้อ ๕ คู่สัญญาในการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ประกอบ กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยผู้ประกอบกิจการดังกล่าวหรือศูนย์รับฝาก หลักทรัพย์อาจตกลงทําสัญญาในฐานะคู่สัญญาเองหรือนายหน้าหรือตัวแทนของบุคคลอื่นก็ได้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,546
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 36 /2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ “ผู้ค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ (2) ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ (3) ธนาคารแห่งประเทศไทย “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ได้เฉพาะเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ (1) ตั๋วเงินคลัง (2) พันธบัตร (3) ตั๋วเงิน (4) หุ้นกู้ (5) หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้อื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๓ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติต่อผู้ค้าหลักทรัพย์ทุกรายอย่างเป็นธรรมในเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอซื้อเสนอขายและข้อมูลการซื้อขาย การจัดลําดับราคาเสนอซื้อเสนอขาย และการให้บริการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง โดยให้กําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (2) ยืนยันการซื้อขายให้ผู้ค้าหลักทรัพย์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลังจากที่มีการตกลงซื้อขายแล้ว (3) จัดให้มีการทดสอบระบบที่ทําการจับคู่คําสั่งซื้อขายหรือระบบที่อํานวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์อย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งจัดให้มีมาตรการฉุกเฉินเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อการทํางานของระบบดังกล่าว (4) จัดให้มีระบบบันทึกข้อมูลการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้มีการจัดทําข้อมูลนั้น (5) จัดให้มีมาตรการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานหรือผู้บริหารแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ (6) จัดให้มีมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ (7) รายงานข้อมูลการเสนอซื้อเสนอขายและข้อมูลการซื้อขายตามหลักเกณฑ์และภายใน ระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยชื่อผู้ค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการรายงานข้อมูลตามข้อ 3(7) หรือเป็นการ เปิดเผยชื่อผู้ค้าหลักทรัพย์ฝ่ายหนึ่งให้ผู้ค้าหลักทรัพย์อีกฝ่ายหนึ่งทราบภายหลังจากที่ได้มีการตกลงซื้อขายตราสารแห่งหนี้ตามข้อตกลงที่ได้ทําไว้กับผู้ค้าหลักทรัพย์ (2) ให้คําแนะนําหรือความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับสภาพตลาดหรือทิศทางของตลาดตราสารแห่งหนี้ (3) ซื้อหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เว้นแต่กระทําตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) ขายตราสารแห่งหนี้โดยที่ยังไม่มีตราสารแห่งหนี้นั้นอยู่ในครอบครอง เว้นแต่เป็นกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหรือมีการผิดนัดชําระหนี้โดยผู้ค้าหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการซื้อตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวมาในโอกาสแรกที่ทําได้เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ให้ยืมในกรณีที่ได้ยืมตราสารแห่งหนี้มาเพื่อส่งมอบสําหรับการขายคราวนั้น ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้น แก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดก็ได้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,547
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 57/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 57/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 “ข้อ 3/1 บริษัทหลักทรัพย์ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,548
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 57/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (2) “ผู้ค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ (ข) ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) ธนาคารแห่งประเทศไทย (3) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย ข้อ ๓ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ได้เฉพาะเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ (1) ตั๋วเงินคลัง (2) พันธบัตร (3) ตั๋วเงิน (4) หุ้นกู้ (5) หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้อื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติต่อผู้ค้าหลักทรัพย์ทุกรายอย่างเป็นธรรมในเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอซื้อเสนอขายและข้อมูลการซื้อขาย การจัดลําดับราคาเสนอซื้อเสนอขาย และการให้บริการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง โดยให้กําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (2) ยืนยันการซื้อขายให้ผู้ค้าหลักทรัพย์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลังจากที่มีการตกลงซื้อขายแล้ว (3) จัดให้มีการทดสอบระบบที่ทําการจับคู่คําสั่งซื้อขายหรือระบบที่อํานวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์อย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งจัดให้มีมาตรการฉุกเฉินเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อการทํางานของระบบดังกล่าว (4) จัดให้มีระบบบันทึกข้อมูลการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้มีการจัดทําข้อมูลนั้น (5) จัดให้มีมาตรการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงาน กรรมการ หรือผู้บริหารแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ (6) จัดให้มีมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ (7) รายงานข้อมูลการเสนอซื้อเสนอขายและข้อมูลการซื้อขายตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ข้อ ๖ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยชื่อผู้ค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการรายงานข้อมูลตามข้อ 4(7) หรือเป็นการเปิดเผยชื่อผู้ค้าหลักทรัพย์ฝ่ายหนึ่งให้ผู้ค้าหลักทรัพย์อีกฝ่ายหนึ่งทราบภายหลังจากที่ได้มีการตกลงซื้อขายตราสารแห่งหนี้ตามข้อตกลงที่ได้ทําไว้กับผู้ค้าหลักทรัพย์ (2) ให้คําแนะนําหรือความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับสภาพตลาดหรือทิศทางของตลาดตราสารแห่งหนี้ (3) ซื้อหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เว้นแต่กระทําตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดได้ ข้อ ๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการขายตราสารแห่งหนี้โดยที่ยังไม่มีตราสารแห่งหนี้อยู่ในครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดห้ามบริษัทหลักทรัพย์ขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดให้กระทําได้ จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,549
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 17/2552 เรื่อง การทำธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2552 เรื่อง การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2547 เรื่อง การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 38/2549 เรื่อง การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ในการทําธุรกรรมในตั๋วเงิน ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ ๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2547 เรื่อง การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - หตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และห้ามบริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2547 เรื่อง การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,550
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 18/2552 เรื่อง การทำธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจำกัดการโอนโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2552 เรื่อง การทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอน โดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 52/2545 เรื่อง การทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ ในการทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอน ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอนโดยบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ ๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 52/2545 เรื่อง การทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 52/2545 เรื่อง การทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,551
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 19/2552 เรื่อง การกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2552 เรื่อง การกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หลักทรัพย์ และประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ./น. 8/2545 เรื่อง การกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ ในการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ ๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ./น. 8/2545 เรื่อง การกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ./น. 8/2545 เรื่อง การกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,552
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 20/2552 เรื่อง การดำรงความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2552 เรื่อง การดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 13/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนและการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (3) “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทจัดการ ซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการบัญชี (5) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยการดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่ายี่สิบล้านบาท ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วย ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่ายี่สิบล้านบาท (2) ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งไม่ได้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่าสิบล้านบาท (3) ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีการกํากับดูแลฐานะตามกฎหมายอื่นหรือที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว ให้ดํารงเงินกองทุนและเงินสํารองไม่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนและการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนและการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนเป็นอํานาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้อํานาจสั่งการในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีฐานะอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน และการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนและการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,553
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 73) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และ มาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และ มาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือ กองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะหตุ ออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๓ การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับ เงินได้ตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (1) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสีย ภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ทั้งจํานวน (2) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน นอกจากกรณีตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ประเภทเดียวหรือหลายประเภท ก็ตาม โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกัน หากเงินได้พึงประเมินนี้ รวมกันแล้วไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางานให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้งจํานวน ในกรณีเงินได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนเกินกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางาน (3) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) และยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานประเภทอื่น ๆ ตาม (ง) อีก โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้ แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกัน ให้นําเงินได้พึงประเมินนั้นมาเลือกเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงินได้ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) และหรือ (ง) โดยหากเงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุ ออกจากงานตาม (ง) มีจํานวนเกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางานก็ให้นําเงินได้ ตาม (ง) มาคํานวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้เพียงจํานวนเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางาน ในกรณีเงินได้ตาม (ง) มีจํานวนไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ ทํางาน ให้นําเงินได้พึงประเมินตาม (ง) มาคํานวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งจํานวน (4) เงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางานตาม (2) และ (3) หมายความถึง จํานวนเงินเดือนสําหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจํานวนปีที่ ทํางาน ซึ่งเงินเดือนสําหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายนี้ จะต้องไม่เกินเงินเดือน ถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานบวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจํา พ.ศ. 2540 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541 บุญรอด โบว์เสรีวงศ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
3,554
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 22/2552 เรื่อง การกำหนดการจัดการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2552 เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ 1 ให้การจัดการเงินทุนของนิติบุคคลภายในกลุ่มกิจการเดียวกัน ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ความเป็นนิติบุคคลภายในกลุ่มกิจการเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในการจัดการเงินทุน ถือหุ้นในคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือ (2) หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในการจัดการเงินทุน มีอํานาจในการควบคุมกิจการคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) คู่สัญญาที่เป็นผู้ให้บริการจัดการเงินทุนต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ซึ่งแสดงว่า (ก) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีอํานาจในการควบคุมกิจการคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยต้องแสดงลักษณะของการมีอํานาจในการควบคุมกิจการดังกล่าว และ (ข) คู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเจ้าของเงินทุนไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เอกสารหลักฐานตาม (2) นี้ ต้องลงลายมือชื่อรับรองโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันคู่สัญญาในการจัดการเงินทุนแต่ละฝ่าย และต้องยื่นต่อสํานักงานก่อนเริ่มดําเนินการจัดการเงินทุนตามสัญญา ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้การจัดการเงินทุนของนิติบุคคลภายในกลุ่มกิจการเดียวกันไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,555
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ----------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ.2540 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สําหรับ เงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากการประกอบกิจการ ขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ รายได้ที่จะนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิจากการประกอบกิจการซึ่งจะ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น หมายความถึงรายได้ ดังต่อไปนี้ (1) รายได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ (ก) กรณีผู้ประกอบการขนส่งประเภทสายการเดินเรือ หมายความถึง รายได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล ทั้งนี้ตามที่ได้มีการออกใบตราส่ง (Bill of Lading) หรือตามบัญชีค่าระวางเรือ (Freight Manifest) (ข) กรณีผู้ประกอบการขนส่งประเภทเรือจรที่ไม่มีกําหนดเวลา เดินทางที่แน่นอน หมายความถึง รายได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล ทั้งการรับขนของ ทางทะเลประเภท Voyage Charter ซึ่งจะต้องมีการออกเอกสาร Charter Party หรือการรับขนของทางทะเลประเภท Time Charter ที่ผู้ประกอบการขนส่งเป็นผู้รับภาระ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการเดินเรือทั้งหมด เช่น การดูแลรักษาเรือ การประกันภัย การจัดหากัปตันเรือและลูกเรือ และการตรวจสภาพเรือ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายผันแปรอันเนื่องมาจากการใช้เรือ เช่น ค่าน้ํามันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายในการเทียบท่า และค่าขนถ่ายสินค้า” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 75) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป) (2) รายได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ให้หมาย ความรวมถึง รายได้ดังต่อไปนี้ด้วย (ก) รายได้จากการฝากสินค้าในการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศระหว่างกัน (Slot Exchange) ระหว่างผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลอื่น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ - ต้องมีการทําสัญญาฝากสินค้าในการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศระหว่างกัน - ต้องเป็นการฝากสินค้าในการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศสําหรับการเดินเรือในเส้นทางเดียวกัน และจํานวนสินค้าที่ฝากนั้นจะต้องไม่เกินกว่าเนื้อที่ในระวางเรือที่เข้าทําสัญญาฝากสินค้าใน 1 รอบของการเดินเรือ การเดินเรือในเส้นทางเดียวกัน หมายถึง การเดินเรือโดยมีเส้นทางที่ผ่านประเทศหนึ่งไปยังท่าเรือในประเทศอื่น ๆ และกลับมายังประเทศนั้น ถือเป็นหนึ่งรอบการเดินเรือ โดยมีการระบุรายชื่อท่าเรือ และชื่อเรือไว้ในสัญญา ทั้งนี้ จะมีการจอดที่ท่าเรือในเส้นทางที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ก็ได้ แต่จะไม่มีการเดินทางไปท่าเรืออื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ในสัญญา ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องจัดทํารายงานเพื่อแสดงต่อกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี ตามแบบรายงานและระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวีกําหนด” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 144) ใช้บังคับ 6 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป) (ค) รายได้จากค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการขนส่ง สินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ผู้ประกอบการขนส่งเรียกเก็บนอกเหนือจากค่าระวาง เช่น - ค่าระวางที่เรียกเก็บเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียม การใช้ท่าเรือ (Terminal Handling Charge (THC) และ Cost Recovery charge (CRC)) - ค่าระวางที่เรียกเก็บเพิ่มเติมเมื่อราคาน้ํามันในตลาดโลกสูงขึ้น (Bunker Adjustment Factor (BAF)) - ค่าระวางที่เรียกเก็บเพิ่มเติมเมื่อมูลค่าของเงินตราต่างประเทศ ลดลง ซึ่งเป็นเหตุให้รายได้ค่าระวางที่เป็นเงินตราต่างประเทศลดลงไปด้วย (Currency Adjustment Factor (CAF)) - ค่าระวางที่เรียกเก็บเพิ่มเติมเนื่องจากท่าเรือมีการปรับหรือ เรียกเก็บค่าเครื่องมือขนถ่ายสินค้าจากผู้ขนส่ง (Crane Charge) - เงินส่วนลดที่ได้รับคืนจากความสามารถในการให้บริการ ขนส่งได้จํานวนมาก (Rebate) (ง) รายได้หรือผลกําไรจากการคํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยของทรัพย์สินหรือหนี้สินส่วนที่เป็นกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศได้มาหรือจ่ายไปในรอบระยะเวลบัญชี หรือที่คงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลบัญชี (จ) รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากรายได้จากการขนส่ง สินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะเงินฝากประเภทออมทรัพย์และมีจํานวน รวมในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ในรอบระยะเวลาบัญชี ข้อ ๓ กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบ กิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หากรายจ่ายใดเป็นรายจ่ายโดยตรงของกิจการที่ได้รับยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการนํา รายจ่ายดังกล่าวไปหักออกจากบัญชีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้รับยกเว้น นั้น และหากรายจ่ายใดที่เป็นรายจ่ายร่วมกันในการประกอบกิจการทั้งสองประเภท และ ไม่สามารถแยกได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้ผู้ประกอบกิจการ เฉลี่ยรายจ่ายนั้นตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ ข้อ ๔ กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุน จะได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 เฉพาะรายได้ที่เกิดจากการรับ ขนส่งสินค้าของเรือที่ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ข้อ ๕ กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบ กิจการอื่นทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศดังกล่าว คํานวณกําไรสุทธิและ ขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน และห้ามมิให้นําผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในรอบ ระยะเวลาบัญชีของกิจการหนึ่งไปหักออกจากกําไรสุทธิของอีกกิจการหนึ่ง ข้อ ๖ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศจะต้องจัดให้มีบัญชี สําหรับรายได้และรายจ่ายที่ได้จากการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ เป็นแต่ละลําเรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้านั้น ในกรณีเช่าเรือจากผู้อื่นมาใช้ในการขนส่งสินค้า ดังกล่าว ต้องระบุถึงหลักฐานแห่งสัญญาเช่าเรือ (Charter Party) ด้วย ข้อ ๗ การยื่นแบบแสดงรายการภาษี “ (1) ให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศยื่นรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น และยื่นรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น“ ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 118) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) “ (2) กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบกิจการอื่นทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แยกบัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุนออกเป็นคนละชุดเสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 212) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป) ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 ยื่นคําขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยให้ยื่นที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ “ ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 118) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๙ เงินปันผลที่ผู้รับอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการขนส่งสินค้าทางทะเล ระหว่างประเทศที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคํานวณกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศฉบับนี้เท่านั้น ข้อ ๑๐ กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบ กิจการอื่นทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมที่เกิดจากกิจการใด เป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ผู้ได้รับเงินปันผลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่ จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคํานวณกําไรสุทธิตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศฉบับนี้เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้จ่ายเงินปันผลต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ชัดเจนว่า เงินได้ที่จ่ายนั้นจํานวนใดได้มาจากกิจการใด (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)) ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด ตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,556
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 24/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ส่วน ๑ ความสัมพันธ์กับประกาศอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑ ผู้ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วน ๒ บทนิยาม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามประเภทดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกด้วยวัตถุประสงค์ใด (ก) หุ้น (ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ค) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นใดที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้น (3) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ (4) “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจาก สํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ภายหลังหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (5) “ตลาดหลักทรัพย์หลัก” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หุ้นของ บริษัทต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ที่บริษัทต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก ส่วน ๓ กรณีที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ให้บริษัทต่างประเทศได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ข้อ ๔ การพิจารณาลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัดตามข้อ 3 ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่เป็นที่ตั้งของ ตลาดหลักทรัพย์หลักเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา หากมีการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในประเทศ ที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลักด้วย และหลักเกณฑ์นั้นไม่มีข้อกําหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อ ผู้ลงทุนก่อนการเสนอขาย (2) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา หากไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในประเทศ ที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก ส่วน ๔ การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 3 รายงานผลการขายหลักทรัพย์ในประเทศไทยต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์ (2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (ถ้ามี) (3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายในประเทศไทยทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด (4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือราคาและอัตราการใช้สิทธิ หากเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (5) ลักษณะของผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่เป็นบุคคลในวงจํากัดตามข้อ 4(1) (6) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย ข้อ ๖ ให้บริษัทต่างประเทศรายงานผลการขายหุ้นรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ แปลงสภาพ ซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 5 โดยอนุโลม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ในแต่ละครั้ง ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพ อาจใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ส่วน ๕ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนให้แก่บริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ภายหลังที่หุ้น ของบริษัทได้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว อันเป็น การอํานวยความสะดวกในการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศยิ่งขึ้น โดยการยกเว้นดังกล่าว ไม่กระทบต่อการเข้าถึงข้อมูลสําคัญของบริษัทที่ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นมีการเปิดเผยเป็นการทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่แล้ว อีกทั้งการยกเว้นนั้น จํากัดไว้เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัด ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและอยู่ในฐานะที่จะเข้าถึงข้อมูลของบริษัทต่างประเทศได้โดยง่าย การยกเว้นนั้น จึงมิได้มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,557
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2556 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ================================================ ที่ กจ. 11/2556 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทต่างประเทศได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์แก่บุคคลในวงจํากัด (2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นที่อยู่ในประเทศไทยตามสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นในประเทศไทยมีสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น หรือขายหรือโอนสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นของตนได้ (3) การเสนอขายหุ้นที่ออกเพื่อรองรับหลักทรัพย์ตาม (2) ที่ให้สิทธิที่จะซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นได้ (4) การเสนอขายหุ้นที่ออกเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (5) การเสนอขายหุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,558
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับกรณีสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการเพราะ เหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับกรณีสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการเพราะ เหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (44) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 209 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เกี่ยวกับกรณีสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่สมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการเมื่อสมาชิกนั้นออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดังนี้ “(1) กรณีเหตุสูงอายุ (ก) สําหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่ออายุ ครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว หรือลาออกเมื่ออายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว (ข) สําหรับสมาชิกซึ่งลาออกจากราชการเมื่อมีเวลาราชการยี่สิบห้าปีขึ้นไปแต่อายุไม่ครบห้าสิบปีบริบูรณ์ และได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่ตัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับ 76) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 ต.ค. 2542 เป็นต้นไป) (2) กรณีเหตุทุพพลภาพ สําหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะ ป่วยเจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ไม่สามารถที่จะรับราชการในตําแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้ (3) กรณีเหตุทดแทน สําหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทาง ราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งหรือมีคําสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิดหรือทหารซึ่งออกจากกองหนุน เบี้ยหวัด (4) กรณีตาย สําหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะถึงแก่ความตาย ในระหว่างรับราชการ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2541 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,559
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 26/2552 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2552 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภท การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2546 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์มีการประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ลงทุนเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์และมีการลงทุนในหลักทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งการดําเนินธุรกิจดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ แต่หลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ยังแตกต่างจากบริษัทหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าว จึงเห็นควรกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์โดยทั่วไปแทน เพื่อให้การกํากับดูแลฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,560
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 1/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539)ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ======================================================================================================================================================================================================================================================================= “(1) ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทหลักทรัพย์ หรือให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์” #### ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 “(4) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง รวมทั้งต้องจัดให้มีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่สํานักงานอาจประกาศกําหนดเพิ่มเติมด้วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) ### รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,561
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่ายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ขาย” ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน “ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุน “คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น . “คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 16. ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) 17. ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) หมายความว่า การขายหรือชักชวนโดยบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้นมาก่อน หรือโดยผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนของบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของตนมาก่อน แล้วแต่กรณี เพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวตั้งใจเข้าพบผู้ลงทุนโดยตรง หรือติดต่อผู้ลงทุนทางโทรศัพท์ โดยผู้ลงทุนมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนด้วยตนเอง นอกจากบริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม แล้ว บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนด้วยตนเอง บริษัทจัดการต้องมีพนักงานผู้ดําเนินการดังกล่าวที่เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ และพนักงานดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์รายใดเป็นผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนบริษัทจัดการต้องตั้งผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีพนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ และ (2) มีการควบคุมการขายหน่วยลงทุนซึ่งเป็นไปตามที่กําหนดในหมวด 3 โดย (ก) มีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของผู้ลงทุน (ข) มีระบบควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุน เช่น การจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานการปฏิบัติหน้าที่ขายหน่วยลงทุนของพนักงาน เป็นต้น (ค) มีหน่วยงานที่ควบคุมดูแลให้พนักงานของตนปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ (3) ไม่เคยมีประวัติการควบคุมการขายหน่วยลงทุนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เว้นแต่สํานักงานเห็นว่าผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนนั้นได้ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องดังกล่าวแล้ว เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้รับการตั้งให้เป็นผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนแล้ว ให้พนักงานของผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตาม (1) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ในกรณีที่การลงทุนในหน่วยลงทุนเกิดจากความประสงค์ของผู้ลงทุนเอง โดยผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนไม่ได้ให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน (execution only) ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนต้องจัดทําหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ว่าการลงทุนดังกล่าว ผู้จัดจําหน่าย หน่วยลงทุนไม่ได้มีการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน ข้อ ๖ ในการตั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดเป็นตัวแทนสนับสนุนเพื่อทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บุคคลดังกล่าวต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบและต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ตัวแทนสนับสนุนตามวรรคหนึ่งที่เป็นนิติบุคคล ต้องมีพนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบและพนักงานดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ข้อ ๗ การให้ความเห็นชอบบุคคลตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยการให้ความเห็นชอบแก่บุคคลธรรมดาให้มีสองระดับ คือ บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบระดับหนึ่งซึ่งสามารถให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงและคําแนะนําทั่วไป และบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบระดับสองซึ่งสามารถให้คําแนะนําได้เฉพาะคําแนะนําทั่วไป ข้อ ๘ ในการตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนสนับสนุน บริษัทจัดการต้องทําสัญญาตั้งตัวแทนสนับสนุนเป็นหนังสือ โดยกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนสนับสนุนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดให้ตัวแทนสนับสนุนต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และบริษัทจัดการต้องดูแลให้ตัวแทนสนับสนุนปฏิบัติตามข้อสัญญาและข้อกําหนดในประกาศนี้ด้วย ข้อ ๙ นิติบุคคลที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุน ต้องมีสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาตามที่ระบุไว้ในคําขอความเห็นชอบตามข้อ 7 และต้องจัดให้มีพนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนประจําอยู่ที่สํานักงานใหญ่หรือสาขาอย่างน้อยแห่งละหนึ่งคนในขณะที่สํานักงานใหญ่หรือสาขานั้นทําการขายหน่วยลงทุน เว้นแต่ สํานักงานใหญ่หรือสาขาดังกล่าวได้จัดให้มีบริการการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นใดแทน หรือได้จัดให้มีบริการเฉพาะการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้นโดยไม่มีการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน หมวด ๑ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐ ในการขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลต้องจัดให้มีคู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุน และให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนของบุคคลดังกล่าวแจกจ่ายคู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุนดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งนี้ คู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุน ต้องมีรายการข้อมูลตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดาแจกจ่ายคู่มือผู้ลงทุน หรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วย ส่วน ๑ การให้คําแนะนําเพื่อการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ ในการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนนั้น บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และตัวแทนสนับสนุนอาจให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงก็ได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้คําแนะนําดังต่อไปนี้ (1) ให้คําแนะนําด้วยความสุจริต เป็นธรรม รวมทั้งใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการให้คําแนะนํา โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) ให้คําแนะนําโดยอธิบายให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนที่ให้คําแนะนํานั้น (3) ให้คําแนะนําตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและมีเอกสารหลักฐานที่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้ (4) ไม่นําข้อมูลของผู้ลงทุนไปเปิดเผย เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย (5) เปิดเผยข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน (6) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนสนับสนุนอาจได้รับจากการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนนั้น (7) ไม่ให้คําแนะนําซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การรับประกันผลตอบแทนในกองทุนรวมที่มิได้มีลักษณะการประกันไว้เช่นนั้น เป็นต้น หรือให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่น (8) ไม่ให้คําแนะนําในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้ลงทุนซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการบ่อยครั้งหรือเกินกว่าสมควร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้รับค่าธรรมเนียมหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการให้บริการการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ ๑๒ ในการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน ให้บริษัทจัดการผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนเปิดเผยคําเตือนให้ผู้ลงทุนทราบดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุน (2) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น (3) คําเตือนในกรณีการให้คําแนะนําทั่วไปว่า คําแนะนําดังกล่าวมิใช่คําแนะนําแก่บุคคลเป็นการเฉพาะเจาะจง และคําแนะนํานั้นไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์หรือคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของผู้ลงทุนรายนั้น (4) คําเตือนในกรณีการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงว่า ในกรณีที่ผู้ลงทุนปฏิเสธ การให้ข้อมูลส่วนตัวหรือการให้ข้อมูลส่วนตัวที่เป็นปัจจุบัน ผู้ลงทุนอาจได้รับคําแนะนําที่ไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของผู้ลงทุน เนื่องจากคําแนะนําที่ให้นั้นได้พิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่าที่ผู้ลงทุนเปิดเผยให้ทราบ ข้อ ๑๓ ในการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ทําความรู้จักกับผู้ลงทุน (know your customer) โดยจะต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของผู้ลงทุน และจัดให้มีบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทุน(customer’s profile) แต่ละรายที่เปิดบัญชีเพื่อซื้อหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (suitability) โดยประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ลงทุน เช่น วัตถุประสงค์ในการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดในการลงทุน ส่วน ๒ การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ ข้อ ๑๔ ในการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุนในวันและเวลาตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๕ ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ให้ผู้ลงทุนทราบเมื่อมีการเสนอขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าต้องการจบการสนทนา (1)ชื่อผู้ติดต่อ และชื่อของนิติบุคคลที่ตนทําหน้าที่แทน พร้อมทั้งแสดงบัตรประจําตัวซึ่งมีรายละเอียดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดในกรณีที่เป็นการเข้าพบผู้ลงทุนด้วยตนเอง (2) วัตถุประสงค์ในการติดต่อ (3) สิทธิของผู้ลงทุนที่จะแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการรับการติดต่อ (4) สิทธิของผู้ลงทุนที่จะยกเลิกคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนหรือขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 18 ในกรณีที่เป็นการขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ข้อ ๑๖ ในการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ ห้ามมิให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน และหากผู้ลงทุนได้แสดงเจตนาว่าไม่ต้องการซื้อหน่วยลงทุนหรือต้องการจบการสนทนา ให้หยุดการขายหน่วยลงทุนทันที ข้อ ๑๗ ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุนจัดให้มีบัญชีรายชื่อของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการรับการติดต่อจากตน และห้ามมิให้ติดต่อกับผู้ลงทุนนั้นในลักษณะที่เป็นการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขออีก ข้อ ๑๘ ในการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ บริษัทจัดการต้องให้สิทธิผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันในการถอนการแสดงเจตนาเพื่อซื้อหน่วยลงทุน หรือในการขายคืนหน่วยลงทุนได้ภายใระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในระหว่างการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่อประชาชนครั้งแรก ผู้ลงทุนมีสิทธิยกเลิกคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในสองวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ระบุในใบจองซื้อหน่วยลงทุน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุนหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ (2) การขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดในช่วงระยะเวลาหลังจากการขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนครั้งแรก ผู้ลงทุนมีสิทธิขายคืนหน่วยลงทุนได้ภายในสองวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ระบุในใบสั่งซื้อหน่วยลงทุน โดยได้รับคืนตามราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันทําการรับซื้อคืนวันถัดจากวันแสดงเจตนาขายคืนหน่วยลงทุน และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หมวด ๒ ตัวแทนสนับสนุน ข้อ ๑๙ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานอนุญาตให้บริษัทจัดการตั้งเป็นตัวแทนสนับสนุน นอกจากต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในหมวด 1 แล้ว บุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ด้วย ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ตัวแทนสนับสนุนตั้งตัวแทนช่วง และตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีความระมัดระวังเอาใจใส่ในการทํางาน โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (3) จัดทํารายงาน ชี้แจง หรือจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนสนับสนุนตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๒๑ ให้ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดา และพนักงานของนิติบุคคลที่เป็นตัวแทนสนับสนุนทําหน้าที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้เฉพาะกิจการดังต่อไปนี้ (1) กรณีบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบระดับหนึ่ง (ก) ให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน (ข) ให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน (ค) รับเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ (ง) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยลงทุนที่จําหน่าย (จ) แจกจ่ายหรือรับเอกสารการจองซื้อหรือคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ฉ) รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนและส่งคําสั่งดังกล่าวให้บริษัทจัดการ (ช) รับชําระเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุน หรือชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายกองทุนรวมหรือผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งมอบหลักฐานการรับเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนด้วย (ซ) ยืนยันการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน (ฌ) ส่งมอบหรือรับมอบใบหน่วยลงทุน หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุน หรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน รวมถึงเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน (ญ) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุน (ฎ) จัดให้มีหรือแจกจ่ายเอกสารเผยแพร่ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกองทุนรวม และรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน (ฏ) ชี้แจงข้อมูลรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกองทุนรวม (ฐ) ดําเนินการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) กรณีบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบระดับสอง (ก) ให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน (ข) กระทําการตาม (1) (ค) ถึง (ฏ) (ค) ดําเนินการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๒๒ ในกรณีที่การลงทุนในหน่วยลงทุนเกิดจากความประสงค์ของผู้ลงทุนเองโดยตัวแทนสนับสนุนไม่ได้ให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน (execution only) ตัวแทนสนับสนุนต้องจัดทําหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ว่าการลงทุนดังกล่าว ตัวแทนสนับสนุนไม่ได้มีการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ตัวแทนสนับสนุนเรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากผู้ลงทุนนอกเหนือจากที่ผู้ลงทุนมีหน้าที่ต้องชําระต่อบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเรียกเก็บค่าบริการที่สถาบันการเงินอาจเรียกได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลอาจรับชําระเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุน หรือชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุน พร้อมทั้งมอบหลักฐานการรับเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวให้ผู้ลงทุนด้วย ข้อ ๒๔ ให้ตัวแทนสนับสนุนขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามกําหนดระยะเวลาการขายที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน และให้ตัวแทนสนับสนุนจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ พร้อมกับใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ที่สนใจจะลงทุน หมวด ๓ การควบคุมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๒๕ บริษัทจัดการต้องดูแลให้พนักงานของตนที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและพนักงานของผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ และบริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้พนักงานของตนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทุน และการให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (2) จัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ลงทุน เพื่อดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว และหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนั้นต้องจัดเก็บรวบรวมข้อมูล และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี รวมทั้งมีหลักปฏิบัติในการควบคุมเอกสารที่ชัดเจนและรัดกุม (3) จัดให้มีระบบควบคุมภายใน ในส่วนที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเช่น จัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานการปฏิบัติหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของพนักงาน เป็นต้น (4) จัดให้มีหน่วยงานที่ควบคุมดูแลให้พนักงานของตน ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ บริษัทจัดการต้องดูแลให้ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดาเข้ารับการอบรมตาม (1) และจัดให้หน่วยงานตาม (2) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนที่มีต่อตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวด้วย ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลต้องดูแลให้พนักงานของตนผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้และต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (4) ด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลกําหนดขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนของผู้ถือหน่วยลงทุนเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานหรือตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดา แล้วแต่กรณี และการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อมีข้อร้องเรียนดังกล่าวเกิดขึ้น ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนร้องเรียนต่อผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ให้ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งรวบรวมข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจัดส่งให้บริษัทจัดการทราบภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันรับข้อร้องเรียนหรือวันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ด้วย ก่อนที่ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนจะดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว (2) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนร้องเรียนต่อบริษัทจัดการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งรวบรวมข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งในส่วนที่ได้รับแจ้งตาม (1) ส่วนที่ร้องเรียนต่อบริษัทจัดการโดยตรง และส่วนที่สํานักงานจัดส่งให้ตาม (3) ให้สํานักงานเป็นรายไตรมาส ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นไตรมาสนั้น ทั้งนี้ หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บริษัทจัดการบันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ด้วย ก่อนที่บริษัทจัดการจะดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว (3) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนร้องเรียนต่อสํานักงาน และสํานักงานได้จัดส่งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการแล้ว ให้บริษัทจัดการพิจารณาดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว และรายงานการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับข้อร้องเรียนนั้น และหากบริษัทจัดการยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้บริษัทจัดการรายงานการดําเนินการทุกระยะเวลาสามสิบวันจนกว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานกําหนดเป็นอย่างอื่น (4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนตาม (1) (2) หรือ (3) แล้ว ให้บริษัทจัดการผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี แจ้งผลของข้อยุติและการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน (ถ้ามี) พร้อมเหตุผลประกอบกรณีดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีข้อยุตินั้น หมวด ๔ การกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสมหรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศนี้ หรือตามประกาศที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้มาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้กระทําหรืองดเว้นการกระทํา (3) ตักเตือน (4) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลาที่กําหนด หากปรากฏว่า (ก) เหตุที่กําหนดไว้ข้างต้นมีลักษณะร้ายแรง (ข) มีเหตุตามที่กําหนดไว้ข้างต้นเกิดซ้ําอีกภายในช่วงสองปีใด ๆ (ค) บุคคลดังกล่าวไม่ดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตาม (1) หรือ (2) การสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (4) ไม่มีผลกระทบต่อการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บุคคลดังกล่าวได้ทําไว้ก่อนวันที่สํานักงานสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏแก่สํานักงานว่าบุคคลตามข้อ 27 รายใดฝ่าฝืนคําสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 27(4) สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนสนับสนุน หรือผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และให้นําความในวรรคสองของข้อ 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๙ ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่ถูกสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกเพิกถอนการอนุญาตตามข้อ 27 หรือข้อ 28 ได้ หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๐ ให้ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีพนักงานที่ได้รับความเห็นชอบประจําอยู่ที่สํานักงานใหญ่หรือสาขาตามข้อ 9 โดยสํานักงานใหญ่หรือสาขาของนิติบุคคลที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ได้รับการผ่อนผันจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 และสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนอกเหนือจากนั้นให้ได้รับการผ่อนผันจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,562
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 12/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ------------------------------------------------ ที่ กธ. 12/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 55/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 “ข้อ 2 สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อย หนึ่งในสี่ของจํานวนกรรมการของบริษัท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ### ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,563
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ------------------------------------------------ ที่ กธ. 22/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 “ในกรณีที่กรรมการอิสระของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตาย ลาออกหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (Financial Conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้น การตรวจสอบการบริหารงานภายในกลุ่ม และการกํากับดูแลโดยหน่วยงานทางการอื่น ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระเป็นการชั่วคราวหรือถาวรตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ### ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,564
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กธ. 32/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ส่วน ๑ บทยกเลิก ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 55/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ส่วน ๒ ความสัมพันธ์กับประกาศอื่น ข้อ ๒ นอกจากการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แล้ว ในกรณีที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ลงทุนในหลักทรัพย์โดยการซื้อหรือมีหุ้น สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการซื้อหรือมีหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และนอกจากการประกอบกิจการตามข้อ 5 ห้ามมิให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 98(8) ส่วน ๓ บทนิยาม ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “เงินกองทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (2) “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (3) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นนอกเหนือจากธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หมวด ๒ หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ ส่วน ๑ การจัดให้มีกรรมการอิสระ ข้อ ๔ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อย1 ใน 4 ของจํานวนกรรมการของบริษัท ในกรณีที่กรรมการอิสระของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตาย ลาออกหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (Financial Conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้น การตรวจสอบการบริหารงานภายในกลุ่ม และการกํากับดูแลโดยหน่วยงานทางการอื่น ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระ ส่วน ๒ ขอบเขตการประกอบกิจการ ข้อ ๕ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบกิจการได้แต่เฉพาะกิจการดังต่อไปนี้ (1) ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทหลักทรัพย์ หรือให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ (2) รับรอง รับอาวัล สอดเข้าแก้หน้า หรือสลักหลังตั๋วเงินที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรง (3) รับซื้อหรือซื้อลดตั๋วเงินที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขาย (4) จัดการเกี่ยวกับการหาแหล่งเงินทุนหรือค้ําประกันการกู้ยืมเงินให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ตลอดจนให้บริการวิเคราะห์โครงการเพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ (5) ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากกิจการตาม (1) ถึง (4) ส่วน ๓ หลักเกณฑ์การดําเนินงาน ข้อ ๖ ในการประกอบกิจการตามข้อ 5 ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีและปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทหลักทรัพย์หรือนักลงทุนเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ การค้ําประกันการกู้ยืมเงิน การรับรอง การรับอาวัล การสอดเข้าแก้หน้า หรือการสลักหลังตั๋วเงิน และการรับซื้อหรือซื้อลดตั๋วเงินจากบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งการรับหลักประกันจากการประกอบกิจการดังกล่าว (2) ให้กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันเพื่อบริษัทหลักทรัพย์ใดบริษัทหลักทรัพย์หนึ่ง หรือลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ใดบริษัทหลักทรัพย์หนึ่งได้ไม่เกิน 1 เท่าของเงินกองทุน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (3) ดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๗ ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์สามารถนําทรัพย์สินของตนไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือหาประโยชน์โดยวิธีอื่นได้ โดยต้องจัดให้มีและปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนหรือหาประโยชน์โดยให้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้มีอํานาจอนุมัติ วงเงินอนุมัติ และขั้นตอนการวิเคราะห์ประกอบการพิจารณาอนุมัติของผู้มีอํานาจอนุมัติ ตลอดจนการรายงานการลงทุนหรือหาประโยชน์ตามที่ได้รับอนุมัติเป็นระยะ ๆ ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติทราบ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ หมวด ๔ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดห้ามบริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น เว้นแต่เป็นการได้มาเนื่องจากประกอบการค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือธุรกิจหลักทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดหรือเป็นการได้มาโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด และเห็นควรปรับปรุงบทนิยามในส่วนของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,565
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/ด. 2/2552 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ด. 2/2552 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายหลังจากมีสถานะเป็นสถาบันการเงินแล้ว (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรา 89/25 ซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการของบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานประจําวันและมีจํานวนไม่น้อยกว่าสองคน เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สํานักงานและผู้สอบบัญชีทราบ ข้อ ๓ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 เนื่องจากการตาย ลาออก หรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการเป็นกรรมการของบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแก้ไขเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทเป็นไปตามที่กําหนดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว และให้ถือว่าบริษัทได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในกําหนดระยะเวลานั้น ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ที่มิใช่สถาบันการเงินหรือที่ไม่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบตามองค์ประกอบที่กําหนดเพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สํานักงานและผู้สอบบัญชีทราบตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,566
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 69) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 69) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(42) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 207 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมายว่า ด้วยการธนาคารพาณิชย์และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินุทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ต้องเป็นการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคาร พาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยความ เห็นชอบของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้บริษัทจํากัดอันได้ตั้งขึ้นใหม่ด้วยควบเข้ากันนั้น แจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้น จํานวนหุ้น และมูลค่าหุ้น ตามทะเบียนหุ้นทั้งของต่างบริษัทที่ควบเข้ากัน และบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ ต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที 3 กันยายน พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,567
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 65) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 65) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย -------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 300) พ.ศ. 2539 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจํานวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่ได้เสียไปในต่างประเทศแต่ไม่เกินจํานวนที่กําหนด ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีจากกําไรสุทธิซึ่งคํานวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ ภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้เสียไปในต่างประเทศ ที่มีสิทธินําไปหักจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียในประเทศไทย ต้องเป็นดังนี้ (1) ภาษีเงินได้ที่คํานวณจากกําไรสุทธิหรือจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีในต่างประเทศ และได้มีการชําระภาษีดังกล่าวไปแล้วในต่างประเทศ (2) ภาษีเงินได้ที่คํานวณจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้มีการชําระภาษีดังกล่าวไปแล้วในต่างประเทศ ข้อ ๓ การคํานวณหาจํานวนภาษีที่ต้องเสียตามกฎหมายไทยส่วนที่คํานวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแต่ละประเทศ ให้คํานวณแยกเป็นรายประเทศตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) กรณีมีเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศ ให้นํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในต่างประเทศ หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ได้เท่าใด ให้คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย ผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือเป็นจํานวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทยส่วนที่คํานวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศ (2) กรณีมีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ให้นําเงินได้ดังกล่าวคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย ผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือเป็นจํานวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทยส่วนที่คํานวณจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ข้อ ๔ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีทั้งเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศและเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ จากประเทศเดียวกัน การคํานวณหาจํานวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทยส่วนที่คํานวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศหรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ให้คํานวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 (1) เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้เสียภาษีจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศตามกฎหมายของประเทศนั้นแล้ว โดยไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปรวมคํานวณเสียภาษีเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีในประเทศนั้นอีก ให้นําเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าวไปคํานวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 (2) ข้อ ๕ จํานวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) กรณีจํานวนภาษีที่เสียไปในต่างประเทศ เนื่องจากการประกอบกิจการในต่างประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศตามข้อ 2 มีจํานวนน้อยกว่าภาษีที่คํานวณได้ตามข้อ 3 (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนเท่ากับภาษีที่ได้เสียไปในต่างประเทศแต่ละประเทศทั้งจํานวน (2) กรณีจํานวนภาษีที่เสียไปในต่างประเทศ เนื่องจากการประกอบกิจการในต่างประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศตามข้อ 2 มีจํานวนมากกว่าภาษีที่คํานวณได้ตามข้อ 3 (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนเท่ากับภาษีที่คํานวณได้ตามข้อ 3 (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ เงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สินที่ได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศ ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย ตามบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๗ ภาษีที่เสียไปในต่างประเทศตามข้อ 2 เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่ได้มีการชําระภาษีดังกล่าวนั้น ข้อ ๘ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการในต่างประเทศโดยมีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ตรงกันกับรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย การคํานวณหาจํานวนภาษีที่ต้องเสียตามกฎหมายไทยส่วนที่คํานวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 (1)ให้ใช้รายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในต่างประเทศในช่วงระยะเวลาที่ตรงกันกับรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย สําหรับภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้เสียไปเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีในต่างประเทศ ที่จะนํามายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยได้นั้นต้องเป็นดังนี้ (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกําไรสุทธิในต่างประเทศ ต้องเฉลี่ยภาษีที่ได้เสียไปในต่างประเทศตามส่วนของกําไรที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ตรงกันกับรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายในต่างประเทศ ต้องเฉลี่ยภาษีที่ได้เสียไปในต่างประเทศตามส่วนของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ตรงกันกับรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ข้อ ๙ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้ชําระภาษีเงินได้ในต่างประเทศหลังจากที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าวนั้นใหม่เพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องด้วย ข้อ ๑๐ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 300) พ.ศ. 2539 ในรอบระยะเวลาบัญชีใดแล้ว ให้ถือปฏิบัติเช่นนั้นในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ข้อ ๑๑ เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ในต่างประเทศที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีในต่างประเทศรับรอง ต้องมีคําแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และต้องใช้เลขไทยหรืออารบิค รวมทั้งต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้ (1) ชื่อผู้มีเงินได้ (2) รายการเงินได้ (3) จํานวนภาษีที่ได้เสียไปแล้วในต่างประเทศ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,568
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ต้องเปิดบัญชีเงินฝากขึ้นใหม่โดยเฉพาะแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และต้องมีบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้เพียงบัญชีเดียว ข้อ ๒ การฝากเงินดังกล่าวจะต้องเป็นการฝากภายในระยะเวลาที่กําหนดในแต่ละเดือน จะขาดการฝาก หรือฝากไม่ครบตามวงเงินที่กําหนด หรือฝากล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กําหนดทุกกรณีรวมกันเกินสองเดือนไม่ได้ ข้อ ๓ ชื่อบัญชีเงินฝากจะต้องเป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยนั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ถอนเงินฝากตามข้อ 1 ก่อนครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝาก ผู้มีเงินได้เป็นอันหมดสิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยดังกล่าว ข้อ ๕ ผู้มีเงินได้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกันหรือแยกกัน ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี (2) ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาตาม (1) มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์ตามประกาศนี้ (3) ในกรณีบิดาและหรือมารดาและบุตรผู้เยาว์เป็นผู้ฝากเงินร่วมกันให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือของมารดาผู้ใช้อํานาจปกครองแล้วแต่กรณี หรือเป็นเงินได้ของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อํานาจปกครองร่วมกัน บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม (4) กรณีบิดาและหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๖ ผู้ฝากเงินต้องแจ้งเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมแสดงบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตนต่อธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว “การแจ้งเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมแสดงบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งเลขประจําตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแทนก็ได้” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 140) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป ) ข้อ ๗ ธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ย ตั้งอยู่ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้ ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป (1) กรณีบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งสื่อบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงิน ตามรูปแบบ (Format) ที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หรือ (2) กรณีไม่ได้บันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 115) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๘ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,569
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2521 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายดังต่อไปนี ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 20) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2526 ข้อ ๒ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สองฉบับมีข้อความตรงกันนั้น อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีเกี่ยกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 131 ใช้บังคับสําหรับการเหมาจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป) หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับดังนี้ (1) ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ” (2) ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน” “ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทําสําเนาคู่ฉบับไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วแต่ชํารุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และมีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 146) ใช้บังคับ 6 มกราคม 2548 เป็นต้นไป) หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลําดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลําดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลําดับของเล่มก็ได้ การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป) “รายการของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง สําหรับรายการประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้ ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุจํานวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 121) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 2 ต้องทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป) ข้อ ๔ ผู้ใดประสงค์จะทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวในข้อ 2 และข้อ 3 ต้องยื่นคําขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้ปฏิบัติตามนั้นได้ ข้อ ๕ การจ่ายเงินตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่จดแจ้งการหักภาษีไว้ในฎีกาเบิกเงินตามมาตรา 53 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของทางราชการแล้ว ให้ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 2 ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2539 เป็นต้นไป เว้นแต่กรณีที่ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามแบบที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2539 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,570
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 61) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 61) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------- เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความและยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นบริษัทจํากัด นอกจากบริษัทจดทะเบียน ซึ่งถือหุ้นใน บริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจํากัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ แบบแจ้งข้อความและรายละเอียดตามข้อ 1 ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,571
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 60) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น (ยกเลิกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148))
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 60) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น (ยกเลิกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148)) ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 288) พ.ศ.2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลนั้น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้าง และได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้างแต่ละคนนั้นต้องเป็นไปตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ข้อ ๒ การฝึกอบรมตามข้อ 1 ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้างนั้น ข้อ ๓ ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ 1 ต้องเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่า 6 เดือน ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานลูกจ้างของตน ต้องมีการกําหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมนั้นกลับเข้าทํางานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น ข้อ ๕ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในการฝึกอบรมตามข้อ 1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องกําหนดลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อมิให้ปะปนกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ตอน ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,572
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อใช้ยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้แบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบแสดงรายการหักภาษีและนําเงินภาษีส่งตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร (1) ภ.ง.ด.1 แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ใช้สําหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (2) ภ.ง.ด.1 ก แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58(2) แห่งประมวลรัษฎากร ใช้สําหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (3) ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 58(1) ใช้สําหรับแสดงรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีมีการตั้งฎีกาเบิกเงิน เฉพาะข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ (4) ภ.ง.ด.2 แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ใช้สําหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร (5) ภ.ง.ด.2 ก แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 58(2) แห่งประมวลรัษฎากร ใช้สําหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร (6) ภ.ง.ด.3 แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ใช้สําหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 50(3)(4) และ (5) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8)แห่งประมวลรัษฎากร (7) ภ.ง.ด.3 ก แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58(1) แห่งประมวลรัษฎากร ใช้สําหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น “แบบแสดงรายการตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ใช้ยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดก็ได้ โดยผู้ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องยื่นคําขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่159) ใช้บังคับตั้งแต่ 1ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป ) ( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2545 ) ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,573
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 42(8)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2534 และตามความในข้อ 2(38) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 41) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2534 ข้อ ๒ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านระบบการหักหรือโอนเงินจากบัญชีดังกล่าวไปยังบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากอื่นใด และมีจํานวนดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 177) ใช้บังคับ 27 เมษายน 2552 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ ชื่อบัญชีเงินฝากจะต้องเป็นชื่อของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยนั้น ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนําดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 ที่ได้รับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไปรวมคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ข้อ ๕ กรณีผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 จากทุกธนาคารรวมกัน มีจํานวนทั้งสิ้นเกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น ให้แจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนําส่งตามมาตรา 50 (2) และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยแต่ละแห่งได้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวมีจํานวนรวมกันทั้งสิ้นเกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้นให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากนั้นหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนําส่งตามมาตรา 50 (2) และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 181) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป) ข้อ ๖ ผู้มีเงินได้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกันหรือแยกกัน ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี (2) ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาตาม (1) มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (3) ในกรณีบิดาและหรือมารดาและบุตรผู้เยาว์เป็นผู้ฝากเงินร่วมกันให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือของมารดาผู้ใช้อํานาจปกครองแล้วแต่กรณี หรือเป็นเงินได้ของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อํานาจปกครองร่วมกัน บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม (4) กรณีบิดาและหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม (5) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้ฝากเงิน ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลนั้น ข้อ ๗ ผู้มีเงินได้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาทในแต่ละปีภาษี ต้องแจ้งเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมแสดงบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตนต่อธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ก่อนหรือในขณะรับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าว และให้ธนาคารแจ้งเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรดังกล่าวต่อกรมสรรพากร ถ้าผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่มีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ผู้มีเงินได้ลงนามรับทราบว่า ถ้าเป็นคนโสดและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นรวมกันเกิน 30,000 บาท หรือมีคู่สมรสและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นรวมกันเกิน 60,000 บาท ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษีนั้น และให้ธนาคารส่งหลักฐานการรับทราบของผู้มีเงินได้รายดังกล่าวต่อกรมสรรพากร ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรต่อธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ต่อไปไม่ต้องแจ้งอีก “การแจ้งเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมแสดงบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้แจ้งเลขประจําตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแทนก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 139) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป) ข้อ ๘ ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 ต้องส่งข้อมูลของ ผู้ฝากเงินพร้อมกับรายละเอียดที่ผู้ฝากเงินแจ้งต่อธนาคารตามข้อ 7 ต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (1) กรณีบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งสื่อบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงิน ตามรูปแบบ (Format) ที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หรือ (2) กรณีไม่ได้บันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 114) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) การส่งข้อมูลพร้อมรายละเอียดของผู้ฝากเงินตามวรรคหนึ่ง สําหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ต้องส่งภายในเดือนกรกฎาคมของปีนั้น และสําหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ต้องส่งข้อมูลพร้อมรายละเอียดดังกล่าวของเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป ข้อ ๙ ในกรณีผู้มีเงินได้ที่ได้ฝากเงินต่อธนาคารก่อนวันที่อธิบดีกรมสรรพากรลงนามในประกาศนี้ การแจ้งเลขประจําตัวและการส่งหลักฐานการรับทราบของผู้มีเงินได้ที่ธนาคารต้องปฏิบัติตามกําหนดเวลาในข้อ 8 ให้ขยายกําหนดเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2539 ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,574
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีเงินได้ จากการโอนทรัพย์สินเพื่อแยกบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีเงินได้ จากการโอนทรัพย์สินเพื่อแยกบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 282) พ.ศ.2538 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้จากการโอนทรัพย์สินเพื่อแยกบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ (ก) บุคคลธรรมดา (ข) กองมรดก (ค) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (จ) บริษัทจดทะเบียน (ฉ) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (ช) บริษัทเงินทุน ข้อ ๒ บริษัทผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อการรับโอนธุรกิจประกันชีวิต หรือรับโอนธุรกิจประกันวินาศภัย ตามมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 หรือตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ข้อ ๓ ผู้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอน จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเดิม และสัดส่วนในการถือหุ้นในบริษัทใหม่จะต้องเป็นอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนในบริษัทเดิม ข้อ ๔ บริษัทผู้รับโอน ต้องนํากําไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรในส่วนที่ยกมาจากปีบัญชีก่อนปีบัญชีสุดท้าย ไปจดทะเบียนเป็นหุ้นสามัญเต็มจํานวน ตามอัตราส่วนของผู้ถือหุ้นเดิม โดยให้ส่วนที่เหลือเศษไม่ลงตัวและกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ของผลการดําเนินงานงวดปีบัญชีสุดท้าย ยกไปเป็นกําไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร ข้อ ๕ ผู้โอนจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากร ณ วันที่โอน เว้นแต่ได้จัดให้มีธนาคารหรือหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้าง และค่าใช้จ่ายในการบังคับหนี้ดังกล่าวแล้ว ข้อ ๖ ผู้โอนต้องแจ้งการโอนทรัพย์สินดังกล่าว ให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้าก่อนวันที่โอนไม่น้อยกว่า 15 วัน ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,575
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ สําหรับกรณีลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 195 (พ.ศ.2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้ “ (1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกําหนดหรือสิ้นกําหนดเวลาทํางานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่ น้อย กว่า 5 ปี ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 158) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ) (2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าลูกจ้างผู้นั้นไม่สามารถที่จะทํางานในตําแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่ นายจ้าง หรือไม่ก็ตาม (3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องมีหลักฐานจากนายจ้างเพื่อรับรองว่าลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,576
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 51) เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งได้รับสิทธิให้หักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 51) เรื่อง กําหนดลักษณะของเครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งได้รับสิทธิให้หักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 ตรี วรรคสอง (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 264) พ.ศ.2536 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ซึ่งได้รับสิทธิให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 4 ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ตัวเครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งใช้สําหรับบันทึกการเก็บเงินเพื่อการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ ส่วนพ่วงของเครื่องบันทึกการเก็บเงินตามข้อ 1 ซึ่งใช้ในการออกใบกํากับภาษีเท่านั้น และไม่สามารถบันทึกโปรแกรมได้ด้วยแป้นพิมพ์ (Keyboard) แต่ต้องให้ส่วนระบบควบคุมกลาง (CPU) เป็นตัวสั่งงาน ดังนี้ (1) Pre Checker (2) File Server และ (3) Optical Disk ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,577
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 47) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกำไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 47) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกําไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 260) พ.ศ. 2535 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ (1) กําไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ หมายถึง กําไรเท่าที่พึงถือว่าเป็นของกิจการวิเทศธนกิจเท่านั้น (2) ภายใต้บังคับข้อ 2 การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (3) ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิเหลือร้อยละ 10 และกิจการที่ต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิในอัตราปกติร้อยละ 30 ให้ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน และห้ามมิให้นําผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการหนึ่งไปหักออกจากกําไรสุทธิของอีกกิจการหนึ่ง ข้อ ๒ รายได้และรายจ่ายที่ต้องนํามาคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ (1) รายได้ที่จะนําไปคํานวณกําไรสุทธิจากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจนั้น หมายถึง รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี การคํานวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร (2) ในกรณีกิจการวิเทศธนกิจจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้กับสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้กิจการวิเทศธนกิจนําดอกเบี้ยดังกล่าวมาถือหักเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ (ก) ในกรณีกิจการวิเทศธนากิจของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ถ้าเป็นการจ่ายดอกเบี้ยให้กับสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศ ถ้าเป็นการจ่ายดอกเบี้ยให้กับสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศ จะต้องมีการหักและนําส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าเป็นการจ่ายให้กับสาขาอื่นในประเทศไทย สาขาผู้รับดอกเบี้ยจะต้องบันทึกดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายได้ด้วย (ข) ในกรณีกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งเป็นผู้รับดอกเบี้ยจะต้องบันทึกดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายได้ด้วย (ค) การจ่ายดอกเบี้ยตามข้อนี้จะต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชี ซึ่งแสดงรายการเงินต้นที่ก่อให้เกิดการจ่ายดอกเบี้ยและจํานวนดอกเบี้ยที่จ่าย และอัตราดอกเบี้ยที่คิดระหว่างกันจะต้องเป็นอัตราที่เหมาะสม (3) ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิเหลือร้อยละ 10 และกิจการที่ต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิในอัตราปกติร้อยละ 30 หากรายได้หรือรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายได้หรือรายจ่ายของกิจการใด ให้ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเฉลี่ยรายได้และรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) ในด้านรายได้ ให้เฉลี่ยรายได้นั้นตามส่วนของรายได้ที่แยกได้ ระหว่างกิจการที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้และกิจการที่ไม่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ (ข) ในด้านรายจ่าย ให้เฉลี่ยรายจ่ายนั้นตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ (ค) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเห็นว่า การคํานวณรายได้หรือรายจ่ายโดยวิธีอื่นจะถูกต้องตามความเป็นจริงมากกว่า หรือมีความเหมาะสมมากกว่าการคํานวณตามหลักเกณฑ์ข้อ (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ธนาคารพาณิชย์อาจขออนุมัติเพื่อนําหลักเกณฑ์อื่นนั้นมาใช้แทนได้ โดยทําเป็นหนังสือแสดงเหตุผลของการขอเปลี่ยนแปลงยื่นต่ออธิบดี และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกําหนดเป็นต้นไป” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 50) ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น และยื่นรายการ ภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา หกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิเหลือร้อยละ 10 และกิจการที่ต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิในอัตราปกติร้อยละ 30 ให้ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แยกบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนออกเป็นคนละชุดเสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล” ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 117) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,578
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้หมายถึงเงินได้ดังนี้ (ก) เงินได้ที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคํานวณบําเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ “(ข)เงินที่จ่ายจากกองทุนดังนี้ 1) เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 2) เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ 3) เงินที่จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหน่วยลงทุนที่ได้จากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” (แก้ไขโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 287) ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2559 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป) (ค) เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน (ง) เงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคํานวณแตกต่างไปจากวิธีการตาม (ก) ข้อ ๒ เงินได้พึงประเมินตามข้อ 1 ที่ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้ (ก) เป็นเงินได้ที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานที่มีระยะเวลาทํางานไม่น้อยกว่า 5 ปี “การนับระยะเวลาการทํางานตามวรรคหนึ่ง กรณีผู้มีเงินได้ได้เคยออกจากงานมาแล้ว ซึ่งมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานจากนายจ้างคนหนึ่งและเข้าทํางานกับนายจ้างอีกคนหนึ่งไม่เกินหนึ่งปี โดยได้โอนเงินและผลประโยชน์จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของนายจ้างเดิมไปยังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ หรือเข้าทํางานกับนายจ้างเดิมซึ่งมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานและเข้าทํางานใหม่ไม่เกินหนึ่งปี และเมื่อออกจากงานนั้น ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ให้นับระยะเวลาการทํางานในระหว่างที่ทํางานกับนายจ้างแต่ละคนเป็นระยะเวลาทํางานตามวรรคหนึ่งด้วย การนับระยะเวลาการทํางานตามวรรคสอง กรณีผู้มีเงินได้เคยใช้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเงินได้ที่ได้รับเมื่อออกจากงานจากนายจ้างคนใดแล้ว หรือผู้มีเงินได้เมื่อออกจากงานจากนายจ้างคนใดแล้วมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานจากนายจ้างนั้นและเข้าทํางานใหม่เกินหนึ่งปี ให้นับระยะเวลาการทํางานเฉพาะที่ได้ทํากับนายจ้างหลังจากนั้น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 252) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป) “(ข) ในกรณีที่มีการจ่ายเงินได้ตามข้อ 1 ไม่ว่าจะจ่ายหรือแบ่งจ่ายจากเงินประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะเงินได้ที่ได้จ่ายในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้ดังกล่าวเท่านั้น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 303) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ) “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีการจ่ายเงินได้ตามข้อ 1 ให้แก่ข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป) (ค) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในกรณีนี้ได้เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวไปรวมคํานวณภาษีตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อ ๓ การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเงินได้ตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (1) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ 1 (ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้งจํานวน (2) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนอกจากกรณีตามข้อ 1 (ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ประเภทเดียวหรือหลายประเภทก็ตาม โดยจ่ายให้พร้อมกัน หรือทยอยจ่ายให้แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกัน หากเงินได้พึงประเมินนี้รวมกันแล้วไม่เกินกว่าจํานวนเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางาน ให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ทั้งจํานวน ในกรณีเงินได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนเกินกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่ กําหนดในมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจํานวนเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจํานวนปีที่ทํางาน “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ และได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามโครงการดังกล่าว โดยให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้งจํานวน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2542 เป็นต้นไป) (3) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ 1 (ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) และยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานประเภทอื่น ๆ ตาม (ง) อีก โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกันให้นําเงินได้พึงประเมินนั้นมาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงินได้ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) และหรือ (ง) โดยหากเงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุอกจากงานตาม (ง) มีจํานวนเกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางานก็ให้นําเงินได้ตาม (ง) มาคํานวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้เพียงจํานวนเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางาน ในกรณีเงินได้ตาม (ง) มีจํานวนไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางาน ให้นําเงินได้พึงประเมินตาม (ง) มาคํานวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งจํานวน “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ โดยได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ (1)ก และยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามดครงการดังกล่าวอีก โดยให้นําเงินได้พึงประเมินตังกล่าวมาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้งจํานวน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 ต.ค. 2542 เป็นต้นไป) (4) เงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทํางานตาม (2) และ (3) หมายความถึง จํานวนเงินเดือนสําหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจํานวนปีที่ทํางาน ซึ่งเงินเดือนสําหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายนี้ จะต้องไม่เกินเงินเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานบวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 73) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2540 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป) ข้อ ๔ การคํานวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ 1 ให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาคํานวณภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามข้อ 2 และข้อ 3 ข้อ ๕ ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ 1 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 2 และข้อ 3 ดังกล่าวข้างต้น โดยให้คํานวณและชําระภาษีถ้ามีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งที่เป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ที่ได้รับจากนายจ้างต่างรายกัน ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 2 และข้อ 3 ดังกล่าวข้างต้น โดยนําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวรวมกันแล้วให้คํานวณและชําระภาษีถ้ามี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่สําหรับจํานวนปีที่ทํางาน ให้ถือจํานวนปีที่ทํางานกับนายจ้างในรายที่มีจํานวนปีที่ทํางานมากที่สุด ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจํา พ.ศ. 2535 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 โกวิทย์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมสรรพากร
3,579
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 45/2547 เรื่อง การกำหนดลักษณะการกระทำที่ไม่ถือเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 45/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการกระทําที่ไม่ถือเป็น ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ที่กระทําเพื่อตนเองในการเสนอซื้อขายหรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มิให้ถือเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,580
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 12/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะการกระทำที่ไม่ถือเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะการกระทําที่ไม่ถือเป็น ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 45/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการกระทําที่ไม่ถือเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ผู้ที่เสนอซื้อขายหรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มิให้ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ กําหนดลักษณะของการกระทําที่ไม่ถือเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ครอบคลุมถึงการเสนอซื้อขายหรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองกับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อรองรับการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,581
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 18/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 18/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 11 มาตรา 12(3) มาตรา 13 มาตรา 37(4) มาตรา 54 มาตรา 55(3) มาตรา 56 มาตรา 58 และมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “ศุกูก” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นใบทรัสต์ที่ออกโดยทรัสต์ผู้ออกศุกูก (ข) มีการกําหนดโครงสร้างของการทําธุรกรรมของกองทรัสต์เพื่อนําเงินที่ได้จากการออกตราสารไปหาประโยชน์ในรูปแบบที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม และ (ค) มีการกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือตราสาร และมีการกําหนดเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารด้วย ซึ่งการกําหนดอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม (2) “ผู้ระดมทุน” (Originator หรือ Obligor) หมายความว่า กิจการที่ได้ใช้ประโยชน์จากเงินที่ได้จากการขายศุกูกซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับทรัสต์ผู้ออกศุกูกก็ได้ (3) “ผู้ถือศุกูก” หมายความว่า ผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ที่จะได้รับประโยชน์จากกองทรัสต์เนื่องจากการออกศุกูก (4) “ทรัสต์ผู้ออกศุกูก” (Asset trustee) หมายความว่า ทรัสต์ที่เป็นผู้ออกและเสนอขายศุกูกตามประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูก และเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิในทรัพย์สินของกองทรัสต์ตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูก (5) “ศุกูกทรัสต์” (Sukuk trustee) หมายความว่า ทรัสต์ที่ทําหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูก (6) “ผู้ก่อตั้งทรัสต์” หมายความว่า ผู้ที่โอนทรัพย์สินหรือก่อทรัพยสิทธิหรือสิทธิใด ๆ ที่จะเป็นกองทรัสต์ให้แก่ทรัสต์ผู้ออกศุกูก (7) “ผู้ขออนุญาต” หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตเป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกตามประกาศฉบับนี้ (8) “ประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูก” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (9) “ประกาศอนุญาตให้ประกอบธุรกิจทรัสต์เป็นการทั่วไป” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การอนุญาตให้เป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 1 (2) ผู้ก่อตั้งทรัสต์และการประกาศตั้งทรัสต์โดยทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 (3) การทําหน้าที่ของศุกูกทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 3 (4) การจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูกและรายการในใบศุกูก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 4 หมวด ๑ การอนุญาตให้เป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูก **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๓ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสต์ อาจยื่นคําขออนุญาตเป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกตามประกาศฉบับนี้ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. และให้ยื่นคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไปหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศตามที่ประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูกกําหนด ให้ยื่นคําขออนุญาตเป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ตามประกาศดังกล่าว (2) ในกรณีที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดในประเทศไทยตามที่ประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูกกําหนด ให้ยื่นคําขออนุญาตเป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกมาพร้อมกับการยื่นขอจดข้อจํากัดการโอนศุกูกตามประกาศดังกล่าว ข้อ ๔ ผู้ยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 3 ที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูก (1) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ตามประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูก (3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ผู้ขออนุญาตต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่นใดนอกจากการออกและจําหน่ายศุกูก และการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกศุกูกเท่านั้น (ข) ผู้ขออนุญาตต้องเป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกเพื่อการระดมทุนของผู้ระดมทุนรายใดรายหนึ่งเพียงรายเดียว โดยต้องระบุชื่อผู้ระดมทุนไว้ในคําขออนุญาตอย่างชัดเจน (4) มีส่วนของทุนไม่น้อยกว่าห้าพันบาท และ (5) มีระบบงานที่มีความพร้อมในการทําหน้าที่เป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกตามประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูกและตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่จะจัดทําขึ้นเนื่องจากการออกศุกูก ทั้งนี้ การจัดให้มีระบบงานดังกล่าวจะจัดให้มีโดยตนเองหรือโดยการมอบหมายให้ศุกูกทรัสต์ก็ได้ ข้อ ๕ การอนุญาตให้เป็นทรัสต์ผู้ออกศุกูกเป็นอันสิ้นสุดลง เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์ผู้ออกศุกูกไม่มีคุณลักษณะตามข้อ 4(2) (3) (4) หรือ (5) (2) ทรัสต์ผู้ออกศุกูกไม่มีการออกศุกูกอีกในช่วงสองปีนับแต่วันที่ครบอายุศุกูกรุ่นที่ครบกําหนดอายุหลังสุด (3) เมื่อผู้ระดมทุนสิ้นสภาพนิติบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือมิได้เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินอีกต่อไป (ในกรณีที่ทรัสต์ผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน) หมวด ๒ ผู้ก่อตั้งทรัสต์และการประกาศตั้งทรัสต์โดยทรัสต์ ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการออกศุกูก ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์เนื่องจากการออกศุกูกได้ (1) ผู้ระดมทุน (2) ทรัสต์ผู้ออกศุกูก (3) ทรัสต์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศอนุญาตให้ประกอบธุรกิจทรัสต์เป็นการทั่วไปไม่ว่าโดยตนเองหรือร่วมกับทรัสต์ผู้ออกศุกูก เพื่อให้ทรัสต์ดังกล่าวสามารถทําหน้าที่เป็นศุกูกทรัสต์ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ทรัสต์ตามข้อ 6(2) และ (3) เป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ตามมาตรา 11 วรรคสอง ให้ทรัสต์ดังกล่าวยื่นคู่ฉบับของหนังสือแสดงเจตนาก่อตั้งทรัสต์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ หมวด ๓ การทําหน้าที่ของศุกูกทรัสต์ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๘ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ตามประกาศอนุญาตให้ประกอบธุรกิจทรัสต์เป็นการทั่วไป จะรับเป็นศุกูกทรัสต์ได้ต่อเมื่อทรัสต์ดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนแล้วแต่กรณี ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 9 (1) เป็นผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนที่เกี่ยวข้องกับการออกศุกูกที่จะทําหน้าที่เป็นศุกูกทรัสต์ (2) เป็นผู้ถือหุ้นในทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุน โดยมีสิทธิออกเสียงเกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนนั้น ทั้งนี้ หุ้นของศุกูกทรัสต์ดังกล่าวที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับเป็นหุ้นของศุกูกทรัสต์ด้วย (ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือผู้บริหารของศุกูกทรัสต์เป็นหุ้นส่วน (ข) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการหรือผู้บริหารของศุกูกทรัสต์เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดรวมกันเกินร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น (ค) บริษัทที่ศุกูกทรัสต์ กรรมการหรือผู้บริหารของศุกูกทรัสต์ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ง) บริษัทที่ศุกูกทรัสต์ กรรมการหรือผู้บริหารของศุกูกทรัสต์ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) หรือบริษัทตาม (ค) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (จ) บริษัทที่มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของศุกูกทรัสต์ (3) มีทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนเป็นผู้ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงในศุกูกทรัสต์เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของศุกูกทรัสต์นั้น ทั้งนี้ หุ้นของศุกูกทรัสต์ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตาม (2) (ก) ถึง (จ) ถืออยู่ ให้นับรวมเป็นหุ้นที่ถือโดยทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนด้วยโดยอนุโลม (4) มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งในศุกูกทรัสต์ และในทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุน เว้นแต่เป็นการถือหุ้นของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (5) มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุน เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นกรรมการที่ไม่มีอํานาจในการจัดการของศุกูกทรัสตและทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุน ซึ่งมีจํานวนไม่เกินหนึ่งคน และเฉพาะกรณีที่ศุกูกทรัสต์ และทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนมีกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่าเก้าคน (6) มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอื่นที่อาจเป็นเหตุให้ศุกูกทรัสต์ขาดความเป็นอิสระในการดําเนินงาน เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้บริหาร” ให้หมายถึง ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า ข้อ ๙ ให้ศุกูกทรัสต์ที่มีความสัมพันธ์กับทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 8 ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นศุกูกทรัสต์ได้ หากเป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดในประเทศไทยตามที่ประกาศเกี่ยวกับการออกศุกูกกําหนด ให้การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นสุดลง หากในการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ ทรัสต์ผู้ออกศุกูกไม่ได้เปิดเผยความสัมพันธ์ที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้ลงทุนที่จะซื้อศุกูกทราบก่อนการซื้อขายศุกูกนั้น ข้อ ๑๐ ให้ศุกูกทรัสต์ดูแลให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ในกรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ไม่เป็นไปตามที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายกําหนด ให้ศุกูกทรัสต์ดําเนินการให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูก ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ศุกูกทรัสต์และทรัสต์ผู้ออกศุกูกร่วมกันประกาศตั้งทรัสต์เนื่องจากการออกศุกูก หากศุกูกทรัสต์ประสงค์จะเป็นผู้รับประโยชน์ของกองทรัสต์ที่จัดตั้งนั้นโดยการเข้าถือศุกูก ให้ศุกูกทรัสต์เข้าถือศุกูกได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนศุกูกที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ศุกูกทรัสต์เป็นผู้ถือศุกูกในกองทรัสต์ที่ตนทําหน้าที่เป็นศุกูกทรัสต์ด้วยตามข้อ 11 การออกเสียงหรือการดําเนินการใด ๆ ในฐานะผู้ถือศุกูกของศุกูกทรัสต์ ต้องคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือศุกูก และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริตและความรอบคอบระมัดระวัง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะศุกูกทรัสต์ของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ ๑๓ ในกรณีที่การออกศุกูกใดที่ศุกูกทรัสต์ต้องประกาศตั้งทรัสต์โดยตนเองเพื่อให้สามารถทําหน้าที่เป็นศุกูกทรัสต์ได้ ให้ศุกูกทรัสต์ดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทํางบการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์สําหรับกองทรัสต์นั้น หมวด ๔ การจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูกและรายการในใบศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจัดให้มีการจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูก โดยทรัสต์ผู้ออกศุกูกอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการแทนได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีการออกใบศุกูกเป็นหลักฐานแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือ ใบศุกูกดังกล่าวต้องมีรายการขั้นต่ําตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ทรัสต์เป็นกลไกในการพัฒนาตราสารทางการเงินที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม และเป็นกลไกที่ทําให้มีทรัสต์เข้ามาทําหน้าที่ดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,582
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 23/2553 เรื่อง การรับประโยชน์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์ในการตั้งบัญชีเงินสำรอง หรือเงินทุนทยอยชำระในรูปทรัสต์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 23 /2553 เรื่อง การรับประโยชน์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์ในการตั้งบัญชีเงินสํารอง หรือเงินทุนทยอยชําระในรูปทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่เป็นการตั้งบัญชีเงินสํารอง (Reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (Sinking fund) ในรูปทรัสต์เพื่อการชําระหนี้ในการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ก่อตั้งทรัสต์เป็นผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์เฉพาะไม่เกินส่วนของดอกผลที่เกิดจากเงินในบัญชีเงินสํารองหรือเงินทุนทยอยชําระดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อรองรับการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่กองทรัสต์ ซึ่งในการนําทรัสต์มาใช้ในธุรกรรมการออกหุ้นกู้ที่จัดให้มีบัญชีเงินสํารอง (Reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (Sinking fund) การคงดอกผลที่เกิดขึ้นในบัญชีดังกล่าวไว้ในกองทรัสต์ที่ได้รับยกเว้นภาษี ย่อมส่งผลให้ดอกผลนั้นมีสถานะเป็นเงินได้รอการตัดบัญชี (deferred tax) จึงจําเป็นต้องมีข้อกําหนดให้ทรัสตีโอนดอกผลดังกล่าวไปให้แก่ผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์อยู่ด้วย และโดยที่พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 กําหนดให้ผู้ก่อตั้งทรัสต์รับประโยชน์ในกองทรัสต์ได้ ก็ต่อเมื่อมีผู้อื่นรับผลประโยชน์ในกองทรัสต์ด้วย และไม่เกินส่วนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,583
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 24/2553 เรื่อง การไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24 /2553 เรื่อง การไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน มาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “อีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collectiveinvestment scheme) แบบ exchange-traded fund ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (2) “หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นของบริษัท (investment company) หรือใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่ออกภายใต้อีทีเอฟต่างประเทศ (3) “ตลาดหลักทรัพย์หลัก” (home exchange) หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึงตลาดหลักทรัพย์ที่อีทีเอฟต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก ข้อ ๒ ให้หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหลักทรัพย์ที่มิให้นําบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ (1) มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลักที่เป็นสมาชิกของ World Federation ofExchanges (WFE) และ (2) เป็นหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่มีลักษณะตามข้อ 3 ข้อ ๓ หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) อีทีเอฟต่างประเทศและผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศ(ETF operator) ต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) มีวัตถุประสงค์ในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยในลักษณะที่แปรผันโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรดังต่อไปนี้ (ก) ราคาทองคํา (ข) ดัชนีที่มีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหรือเกี่ยวข้องกับน้ํามันดิบ (ค) ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ (ง) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) โดยดัชนีดังกล่าวมีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) หรือตราสารหนี้ที่มีตลาดรอง (organized market)และ (3) มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินประเภทและชนิดเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้และมีการบริหารจัดการเงินลงทุนในเชิงรับ (passive management) (4) ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศต้องไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งจํากัดการประกอบธุรกิจ พักการประกอบธุรกิจ หรือเพิกถอนการอนุญาตหรือการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศนั้นต้องมีตัวแทนในประเทศไทยที่ทําหน้าที่ประสานงานและอํานวยความสะดวกในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย (ก) การให้และจัดส่งข้อมูลของอีทีเอฟต่างประเทศแก่บุคคลต่าง ๆ เช่นทางการหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือผู้ถือหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ เป็นต้น และ (ข) การรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ แทนผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศ หรือแทนอีทีเอฟต่างประเทศ ข้อ ๔ ผู้ที่ประสงค์จะนําหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทยโดยไม่อยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน อาจยื่นคําขอให้สํานักงานตรวจสอบหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศว่าเข้าลักษณะเป็นหลักทรัพย์ตามประกาศนี้หรือไม่ ก็ได้ เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศตามวรรคหนึ่งแล้วให้สํานักงานเปิดเผยรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่เข้าลักษณะเป็นหลักทรัพย์ตามประกาศนี้เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่มีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย และมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด เป็นหลักทรัพย์ที่มิให้นําบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,584
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/ข/ด/น. 25/2553 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 25/2553 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการจัดทําบัญชี ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กก. 1/2538 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 46/2540 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ/น. 19/2545 เรื่อง การบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่บริษัทมหาชนจํากัด ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดแทน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
3,585
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 17/2554 เรื่อง การเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 17 / 2554 เรื่อง การเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(1) และมาตรา 155 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 8(1) และมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ความผิดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งไม่มีผลเสียหาย ร้ายแรงต่อลูกค้า ประชาชน ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือระบบการเงินของประเทศ ที่คณะกรรมการ เปรียบเทียบความผิดมีอํานาจเปรียบเทียบได้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ในบทบัญญัติที่เป็นความผิดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลดังกล่าว ข้อเท็จจริงในกรณีนั้นต้องมิใช่กรณีที่ (ก) ก่อให้เกิดผลเสียหายจนถึงขนาดที่ทําให้ระบบการซื้อขายและระบบการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดําเนินการต่อไปไม่ได้ (ข) ทําให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการซื้อขายและระบบการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อย่างร้ายแรง หรือ (ค) แสดงถึงการมีเจตนาทุจริต (2) ในบทบัญญัติที่เป็นความผิดของผู้สอบบัญชี ข้อเท็จจริงในกรณีนั้นต้องมิใช่กรณีที่ (ก) แสดงถึงการมีเจตนาทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อ ผู้ใช้งบการเงิน หรือ (ข) แสดงถึงการมีส่วนรู้เห็นหรือปกปิดข้อมูลการปฏิบัติงานโดยมิชอบด้วยกฎหมายของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่ง รับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี (3) ในบทบัญญัติที่เป็นความผิดของผู้ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อเท็จจริงในกรณีนั้นต้องมิใช่กรณีที่แสดงว่า ผู้นั้นมีเจตนาช่วยเหลือผู้กระทําความผิดมิให้ถูกดําเนินการตามกฎหมายในความผิดที่เปรียบเทียบไม่ได้ ข้อ ๒ ความผิดตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ซึ่งไม่มีผลเสียหายร้ายแรงต่อกองทรัสต์ ที่คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดมีอํานาจเปรียบเทียบได้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ในบทบัญญัติที่เป็นความผิดของผู้ใช้ชื่อว่าเป็นทรัสตีโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ข้อเท็จจริงในกรณีนั้นต้องไม่ปรากฏว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นการกระทําความผิดตามมาตรา 77 ด้วย (2) ในบทบัญญัติที่เป็นความผิดของผู้สอบบัญชี หรือผู้ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 1(2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ข้อ ๓ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดเพื่อดําเนินการเปรียบเทียบ ข้อ ๔ ในการเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดพิจารณาเปรียบเทียบปรับในแต่ละกรณีโดยคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ (1) พฤติการณ์แห่งความผิด โดยให้พิจารณาจาก (ก) ความจงใจในการกระทําความผิด (ข) ประโยชน์ที่ผู้ต้องหาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด หรือบุคคลอื่นได้รับหรือจะได้รับจากการกระทํานั้น (ค) ระดับความสําคัญของความผิดที่ฝ่าฝืนต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาดทุนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (2) ระดับความเสียหายที่เกิดจากการกระทํานั้นทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน (3) ข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยให้พิจารณาจาก (ก) ช่วงระยะเวลาและความถี่ของการกระทําความผิด (ข) ระดับของความบกพร่องของระบบบริหารจัดการหรือระบบควบคุมภายในของผู้ต้องหาที่เป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิด (ค) ความเกี่ยวข้องของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของผู้ต้องหาที่เป็นนิติบุคคล เกี่ยวกับการกระทําความผิดนั้น (ง) การดําเนินการของผู้ต้องหาในการป้องกันมิให้เกิดการกระทําความผิดนั้น หรือการติดตามดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และการรายงานหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทําความผิดดังกล่าวต่อสํานักงาน (จ) การดําเนินการของผู้ต้องหาเพื่อแก้ไขเยียวยาความเสียหาย (ฉ) ระดับความร่วมมือที่ผู้ต้องหาให้กับสํานักงาน ก.ล.ต. โดยในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคล ระดับความร่วมมือดังกล่าวให้หมายความรวมถึง ระดับความร่วมมือของกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงาน หรือพนักงานของผู้ต้องหานั้นด้วย (ช) ประวัติการถูกลงโทษทางอาญาของผู้ต้องหาตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 แล้วแต่กรณี หรือในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงประวัติการกระทําของบุคคล ที่การกระทํานั้นเป็นต้นเหตุของความผิดของนิติบุคคลด้วย ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะเคยถูกลงโทษหรือไม่ (ซ) ระดับการเปรียบเทียบความผิดกับบุคคลที่ได้เคยเปรียบเทียบความผิดที่มีข้อเท็จจริงทํานองเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าเป็นการเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป หมายเหตุ - 5 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,586
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 18/2554 เรื่อง หลักการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2554 เรื่อง หลักการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่ใช้หรือจะใช้บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริการด้านธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม เป็นธรรม และเป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานที่ดีในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งมีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงวางหลักการในการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจไว้ดังต่อไปนี้ (1) ความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีคุณธรรม (honesty, fairness and integrity) ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีคุณธรรม โดยให้ความสําคัญกับความน่าเชื่อถือของตลาดทุนโดยรวม (market integrity) (2) การใช้ทักษะ ความเอาใจใส่ และความระมัดระวัง (skill, care and diligence) ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวัง (3) การบริหารจัดการและการควบคุม (management and control) ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผลเพื่อบริหารจัดการและควบคุมดูแลการดําเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิผลและมีความรับผิดชอบ โดยมีระบบการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่รัดกุมเพียงพอ (4) ความมั่นคงทางการเงิน (financial prudence) ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงและเพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (5) การปฏิบัติตามมาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพ (market conduct) ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันนั้นพึงกระทํา (6) ความพร้อมของบุคลากร (competent staff readiness) ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความสามารถและเหมาะสมในจํานวนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจ รวมทั้งต้องกํากับดูแลบุคลากรให้ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ในกรอบและเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ จรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (7) การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflicts of interest) ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจกับลูกค้า หรือระหว่างลูกค้าด้วยกันเอง (8) การคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้า (clients’ interests) ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญและปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม (9) การทําความรู้จักลูกค้า (know your clients) ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริง และข้อมูลอื่นเพื่อประกอบการให้บริการได้อย่างเหมาะสม (10) การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า (communication with clients) ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ความสําคัญกับข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจของลูกค้า และต้องสื่อสารข้อมูลดังกล่าวให้กับลูกค้าอย่างชัดเจน โดยไม่บิดเบือน และไม่ทําให้เข้าใจผิดในสาระสําคัญ (11) ความสัมพันธ์กับลูกค้าบนพื้นฐานแห่งความไว้วางใจ(clients’ relationships of trust) ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความรอบคอบและระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ได้ให้คําแนะนําหรือตัดสินใจลงทุนเพื่อลูกค้าอย่างเหมาะสม ตามที่ลูกค้ามีสิทธิที่จะได้รับบริการดังกล่าวจากผู้ประกอบธุรกิจ (12) การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (clients’ asset) ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบการจัดการอย่างเพียงพอในการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของผู้ประกอบธุรกิจ (13) การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกํากับดูแล (relations with regulators) ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกํากับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอย่างเต็มที่ และต้องแจ้งหรือเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นประโยชน์หรือจําเป็นต่อการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหรือตลาดทุนโดยรวม ต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,587
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 21/2546 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทำธุรกรรมด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2546 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทําธุรกรรม ด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98 (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน “กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จดทะเบียนและตั้งอยู่ในต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านอนุพันธ์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น “อนุพันธ์” หมายความว่า สัญญาที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือระดับตัวเลขของตัวแปรอ้างอิง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง “สินค้าอ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ เงินตราสกุลใด ๆ หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด “ตัวแปรอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ย ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีทางการเงิน หรือตัวแปรทางการเงินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด “ซื้อขายอนุพันธ์” หมายความว่า เข้าผูกพันตามอนุพันธ์ “ฐานะอนุพันธ์” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิอันเนื่องมาจากการซื้อขายอนุพันธ์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (2) มีนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง และการจัดการด้านการปฏิบัติการที่เพียงพอ สําหรับการประกอบกิจการการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน (3) มีมาตรการควบคุมภายในของการประกอบกิจการการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันที่มีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ต่อเมื่อบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดส่งรายละเอียดและขอบเขตการประกอบกิจการการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและหลักฐานที่แสดงได้ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 2 ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ผ่านสํานักงาน และสํานักงานพิจารณาแล้วเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 2 ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 3 ต้องดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 2ตลอดเวลาที่ประกอบกิจการการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์เพื่อตนเองกับสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 4 หรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามข้อ 5 ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้ ให้ถือว่าการอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,588
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 14/2550 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทำธุรกรรมด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 14/2550 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทําธุรกรรม ด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “สถาบันการเงิน” “สถาบันการเงินต่างประเทศ” “อนุพันธ์” “สินค้าอ้างอิง” “ตัวแปรอ้างอิง” “ซื้อขายอนุพันธ์” และ “ฐานะอนุพันธ์” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2546 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2546 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2546 เรื่อง การเป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันและการทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 4 ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้ ให้ถือว่าการอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลง” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (นายฉลองภพ **สุสังกร์กาญจน์)** รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,589
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่าย เพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่าย เพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ได้แก่รายจ่ายที่จ่ายให้แก่หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) การส่งเสริม อนุรักษ์ และรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (2) การคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ (3) การคุ้มครองและรักษาป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ (4) การส่งเสริม คุ้มครอง และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (5) การควบคุม ป้องกัน แก้ไข ตลอดจนการลดและขจัดอันตรายอันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ หรือภาวะมลพิษและของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (6) กองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ “(7) การบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 68) ใช้บังคับ 1 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไป “(8) การก่อสร้างถนนและได้โอนกรรมสิทธิให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลผู้รับโอนได้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในงานดังกล่าว” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 85) ใช้บังคับ 1 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป) “(9) การบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติในลักษณะทํานองเดียวกัน (10) การบริจาคทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการให้แก่ส่วนราชการ เพื่อบริจาคให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน หรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 129) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป) “(11) การส่งเสริมการแสดงกิจกรรมหรือผลงานสิ่งประดิษฐ์ และการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แก่หน่วยงานภายใต้การบริหารกิจการขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 312) ใช้บังคับ 29 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป “ทั้งนี้ รายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการจ่ายให้แก่กิจการตามโครงการพระราชดําริ หรือของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล หรือองค์การกุศลสาธารณะที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพกร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 68) ใช้บังคับ 1 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไป) ข้อ ๒ รายจ่ายเพื่อการศึกษา ได้แก่ รายจ่ายในการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้แก่หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) สถานศึกษา หอสมุดหรือห้องสมุด หรือสถาบันวิจัย ทั้งนี้ เฉพาะของทางราชการ (2) การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นการทั่วไป (3) กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างสถานศึกษาหอสมุดหรือห้องสมุดของทางราชการ “(4) สถานศึกษาที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นและสถานศึกษาที่เป็นสถานบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 54) ใช้บังคับ 1 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ รายจ่ายเพื่อการกีฬา ได้แก่รายจ่ายในการบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้แก่หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการกีฬา (2) คณะกรรมการกีฬาจังหวัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด (3) กรมพลศึกษาเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน “(4) สมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 46 ) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป ) ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 โกวิทย์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมสรรพากร
3,590
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 67ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 67ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (ยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128)) ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 31) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คํานวณและชําระภาษีจากกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจัดให้มีการสอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินเมื่อครบกําหนดระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้ผู้สอบบัญชีตามข้อ 3 โดยให้แนบงบการเงินดังกล่าว และหนังสือรับรองของผู้สอบบัญชีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการชําระภาษีด้วย ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 จะต้องมิใช่บริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ข้อ ๓ ผู้สอบทางงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 และใบอนุญาตไม่ขาดอายุ ไม่ถูกสั่งพัก และไม่เคยถูกเพิกถอนโดยคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) หรือถูกถอนใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยอธิบดีกรมสรรพากรตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (2) เป็นผู้ที่เคยปฏิบัติงานการสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และได้ลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่าสามนิติบุคคล (3) เป็นผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาหรือมีผู้ช่วยผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเต็มเวลา โดยผู้ช่วยผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวใน (1) หากผู้สอบบัญชีไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลา และไม่มีผู้ช่วยผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเต็มเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งการขาดคุณสมบัตินั้นต่ออธิบดีกรมสรรพากรโดยทันทีและให้ดําเนินการแก้ไขให้มีคุณสมบัติครบถ้วนภายใน 90 วันนับแต่วันที่ขาดคุณสมบัติ (4) ผู้สอบบัญชี คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งสํานักงานสอบบัญชีที่ปฏิบัติงานอยู่ ต้องไม่เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้สอบบัญชีนั้นสอบบัญชี ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีมีผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีดังกล่าวแต่ละคนรวมตลอดทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีนั้น จะเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีปฏิบัติหน้าที่ช่วยสอบบัญชี รวมกันเกินร้อยละ 0.5 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันนั้น แล้วแต่กรณีไม่ได้ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชีที่ปฏิบัติงานอยู่ ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นในสํานักงานดังกล่าวแต่ละคน รวมตลอดทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นเป็นหุ้นส่วนอื่นนั้น จะเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้สอบบัญชีนั้นสอบบัญชี รวมกันเกินร้อยละ 0.5 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว หรือของบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันนั้น แล้วแต่กรณีไม่ได้ (5) ผู้สอบบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นในสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน คู่สมรสและบุตรของผู้สอบบัญชี คู่สมรสและบุตรของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นนั้น และผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ต้องไม่เป็นกรรมการหรือตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับที่ผู้สอบบัญชีนั้นสอบบัญชี (6) ผู้สอบบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นในสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน คู่สมรสของผู้สอบบัญชี คู่สมรสของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นนั้น และผู้ช่วยผู้สอบบัญชีต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับที่ผู้สอบบัญชีนั้นสอบบัญชี (7) มีผลงานที่แสดงไว้ว่าสามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปและเหมาะสมในการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คําว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน" หมายถึง "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ยื่นคําร้องเป็นหนังสือขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อน โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2) หากปรากฏว่าผู้สอบบัญชีขาดคุณสมบัติตามข้อหนึ่งข้อใดในข้อ 3 และอธิบดีกรมสรรพากรไม่ให้ความเห็นชอบ หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบของผู้สอบบัญชี จากการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายใหม่ต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่ให้ความเห็นชอบหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีดังกล่าว แล้วแต่กรณี (3) หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมจากที่อธิบดีกรมสรรพากรให้ความเห็นชอบไว้ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายใหม่ต่ออธิบดีกรมสรรพากร การยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีตาม (1) (2) และ (3) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้แบบตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด พร้อมด้วยหนังสือรับรองประวัติ และรายละเอียดของผู้สอบบัญชีที่จะขอให้ความเห็นชอบ และหนังสือรับรองของหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และอธิบดีกรมสรรพากรอาจจะกําหนดให้ผู้สอบบัญชีดังกล่าวจัดส่งแนวการตรวจสอบ (AUDIT PROGRAM) และข้อมูลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ ข้อ ๕ การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีดังกล่าว ให้สิ้นสุดลงเมื่อ (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี (ข) อธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ข้อ ๖ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ผู้สอบบัญชีขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามข้อ 3 (ข) ผู้สอบบัญชีไม่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ข้อ ๗ ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 6 (ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีดังกล่าวต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้อีกเมื่อพ้นกําหนด 3 ปีนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ในกรณีที่อธิบดีเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีผู้ใดตามวรรคหนึ่งแล้ว 2 ครั้ง อธิบดีกรมสรรพากรจะไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีผู้นั้นอีก ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีจากที่อธิบดีกรมสรรพากรให้ความเห็นชอบไว้ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนดังกล่าวแจ้งชื่อของผู้สอบบัญชีที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นสําหรับกรณีบริษัทจํากัด หรือของผู้เป็นหุ้นส่วนสําหรับกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งจัดส่งหนังสือรับรอง ประวัติและรายละเอียดของผู้สอบบัญชี และหนังสือรับรองของหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีสําหรับกรณีที่ผู้สอบบัญชีเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชี ในกรณีดังกล่าว อธิบดีกรมสรรพากรอาจจะกําหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดส่งแนวการตรวจสอบบัญชี (AUDIT PROGRAM) และข้อมูลอื่นให้อธิบดีกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาทบทวนว่าผู้สอบบัญชีผู้นั้นได้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และเหมาะสมในการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือไม่ ด้วยก็ได้ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2534 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2535 ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
3,591
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48 ตรี มาตรา 56 มาตรา 56 ทวิ และมาตรา 86 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 25) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการสําหรับยื่นเงินได้พึงประเมิน ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2529 ข้อ ๒ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1) แบบ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับ (ก) ผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภท หรือผู้มีเงินได้ประเภทเดียว แต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร (ข) กองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่งและมีเงินได้ (ค) ผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (2) แบบ ภ.ง.ด.91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เพียงประเภทเดียว “(2 ทวิ ) แบบ ภ.ง.ด.92 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เพียงประเภทเดียวที่ยื่นแบบแสดงรายการด้วยข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 89) ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2544 เป็นต้นไป) (3) แบบ ภ.ง.ด.93 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับผู้มีเงินได้ที่ขอชําระภาษีก่อนกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการประจําปี ตามมาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (4) แบบ ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินฯ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมาฯ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ฯลฯ ตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ “(5) แบบ ภ.ง.ด. 95 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 120) ใช้บังคับ 1 มค.2546 เป็นต้นไป) (6) แบบ ภ.ค.05 แบบคําร้องขอเสียภาษีเงินได้เหมาเป็นงวด “แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 57) ใช้บังคับ 23 พ.ย. 2538 เป็นต้นไป) ( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2545 ) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจํา พ.ศ. 2530 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2530 หรือ พ.ศ. 2531 แล้วแต่กรณีเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2531 บัณฑิต บุณยะปานะ อธิบดีกรมสรรพากร
3,592
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 19) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแสดงรายการหรือแจ้งข้อความตามมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 19) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแสดงรายการหรือแจ้งข้อความตามมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------- เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ยื่นรายการแสดงรายการหรือแจ้งข้อความ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ (ยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 63) ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2539 ซึ่งจะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป) ข้อ ๒ ให้ผู้ยื่นรายการตามมาตรา 58(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แสดงรายการการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ไม่ถึงเกณฑ์ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ก. หรือจะแสดงรายการดังกล่าวไว้ในแบบ ภ.ง.ด.1 ก. ก็ได้ ข้อ ๓ ให้ผู้ยื่นรายการตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความเกี่ยวกับการออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ว่าออกให้ครั้งเดียว ออกให้ตลอดไป หรืออื่น ๆ ให้ชัดเจน ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด.1 ก. ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินประจํา พ.ศ. 2526 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2526 วิทย์ ตันตยกุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,593
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 115) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 115) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 30 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3 และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร” ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 30 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 222) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับเดือนภาษีใด ให้ยื่นได้ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันที่สิบห้าตรงกับวันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ข้อ ๕ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ข้อ ๖ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมกับชําระภาษี (ถ้ามี) โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรแล้ว และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,594
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 114) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 114) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของบทนิยามคําว่า "สถาบันการเงิน" ในวรรคสาม ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 101) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543 “(6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,595
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 ทวิ มาตรา 68 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อใช้ยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 14) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2524 ข้อ ๒ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้เป็นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (1) แบบ ภ.ง.ด.50 ใช้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร “(2) แบบ ภ.ง.ด.51 ท้ายประกาศนี้ ใช้สําหรับ (ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทําประมาณการกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ข) กรณีบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอหรือตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 42) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่ 26 มี.ค. 2535 เป็นต้นไป) (3) แบบ ภ.ง.ด.52 ใช้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งดําเนินกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร (4) แบบ ภ.ง.ด.53 ใช้สําหรับ (ก) กรณีที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครั้งหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ข) กรณีที่มีการจ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครั้งหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (5) แบบ ภ.ง.ด.54 ใช้สําหรับ (ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไม่ว่าจะเป็นการจ่ายนอกหรือในประเทศไทย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (ข) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการในประเทศไทย จําหน่ายเงินกําไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกําไรหรือถือได้ว่าเป็นเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย และต้องเสียภาษีเงินได้ในจํานวนที่จําหน่าย ตามมาตรา 70 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร “(6) แบบ ภ.ง.ด.55 ใช้สําหรับมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ หรือกองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศตาม (3) หรือ (3/1) ของคํานิยาม “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 365) ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป) “แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 56) ใช้บังคับ 23 พฤศจิกายน 2538 เป็นต้นไป) (ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2545) “แบบแสดงรายการตาม (4) ใช้ยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดก็ได้ โดยผู้ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องยื่นคําขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 160) ใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ แบบแสดงรายการที่ยกเลิกตามประกาศฉบับนี้ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมด ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ไพจิตร โรจนวานิช รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
3,596
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดให้ผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์มีบัญชีพิเศษ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 12) เรื่อง กําหนดให้ผู้ทําการค้าของเก่าประเภทรถยนต์มีบัญชีพิเศษ ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดให้ผู้ทําการค้าของเก่าประเภท รถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์มีบัญชีพิเศษตามแบบบัญชีที่ต้องจัดทําตามกฎหมาย ว่าด้วยการค้าของเก่าและให้กรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษนี้นั้น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ทําการค้าของเก่าประเภทรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ลงรายการในบัญชีพิเศษให้เสร็จภายในสามวันนับแต่วันที่มีอยู่ ได้มาหรือจําหน่ายไปในแต่ละครั้ง ไม่ว่ารถยนต์นั้นได้ซื้อมาขายหรือขายแทนผู้อื่น การลงรายการในบัญชีดังกล่าวให้เขียนด้วยหมึก หรือพิมพ์เป็นภาษาไทย ถ้าใช้ภาษาต่างประเทศต้องมีภาษาไทยกํากับส่วนตัวเลขจะใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิคก็ได้ ข้อ ๒ ให้กรอกเลขหมายทะเบียนรถยนต์ไว้ในรายการ “ตําหนิรูปพรรณ” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2523 พนัส สิมะเสถียร อธิบดีกรมสรรพากร
3,597
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่อง กำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่อง กําหนดให้ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดให้ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนมีบัญชีพิเศษตามแบบท้ายประกาศนี้หรือมีบัญชีพิเศษให้มีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบท้ายประกาศนี้แสดงรายการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบโรคศิลปะและกรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษนั้น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รายการในบัญชีพิเศษต้องลงทันทีหรือภายในสามวันนับแต่วันมีรายการนั้นเกิดขึ้นแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะมีการจ่ายเงินแล้วหรือไม่ก็ตาม ข้อ ๒ การกรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษให้ใช้ภาษาไทย ถ้าใช้ภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกํากับไว้ด้วย สําหรับตัวเลขจะใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิคก็ได้ ข้อ ๓ ให้ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลเก็บรักษาบัญชีพิเศษไว้ ณ สถานพยาบาลนั้น ๆ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ทันที ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2522 พนัส สิมะเสถียร อธิบดีกรมสรรพากร
3,598
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 9) เรื่อง ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 9) เรื่อง ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2521 อธิบดีกรมสรรพากรให้ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับการจ่ายเงินตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่จดแจ้งการหักเงินภาษีไว้ในฎีกาเบิกเงินตามมาตรา 53 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของทางราชการแล้ว ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2522 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 พนัส สิมะเสถียร อธิบดีกรมสรรพากร
3,599
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 113) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 113) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของวรรคสามของ (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อ ที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 100) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543 “(6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,600
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเงินได้ส่วนที่ได้จ่ายไปเป็นรายจ่ายในต่างประเทศของบริษัทการค้า
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดเงินได้ส่วนที่ได้จ่ายไปเป็นรายจ่ายในต่างประเทศของบริษัทการค้า ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 79) พ.ศ.2521 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเป็นรายจ่ายในต่างประเทศของบริษัทการค้านั้น ต้องเป็นเงินได้ส่วนที่ได้จ่ายไปในกรณีต่อไปนี้ภายใน 5 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทการค้ามีเงินได้ และมีจํานวนไม่เกินสมควร (1) ค่าโฆษณา (2) ค่ารับรอง (3) ค่าเดินทาง (4) ค่าที่พัก (5) รายจ่ายต่าง ๆ ของสํานักงานสาขาในต่างประเทศแต่ไม่รวมถึงค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2521 พนัส สิมะเสถียร อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาการในตําแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร
3,601
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 112) เรื่อง กำหนดลักษณะและวิธีการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวและกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 112) เรื่อง กําหนดลักษณะและวิธีการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวและกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขาย สินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ตามลักษณะ และวิธีการดังต่อไปนี้มีสิทธิ ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวและกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดลักษณะและวิธีการประกอบ กิจการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวและกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการ ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536 “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับผู้ ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศซึ่งมิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็น การถาวรในประเทศไทยและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็นครั้งคราวกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการ เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่าง ประเทศที่มีกําหนดเวลาในการประกอบกิจการในราชอาณา จักรเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่ว คราวได้ โดย ให้ยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดก่อนวัน เริ่มประกอบกิจการ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดลักษณะและวิธีการประกอบกิจการในราชอาณาจักร เป็นครั้งคราวและกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มชั่วคราวและการออกใบทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ให้ถือว่าวันที่ยื่น คําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามแบบ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดเป็นวันที่เริ่มเป็นผู้ ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ผู้ประกอบการ ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศซึ่งมิได้มีสํานักงาน สาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยและ เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการใน ราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งให้วันที่เริ่ม เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นอย่างอื่นก็ได้” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,602
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 111) เรื่อง กำหนดรายการในใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 111) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดรายการในใบกํากับ ภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือ บริการบางกรณี ตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 61) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(3) ใบกํากับภาษีของการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศ โดยอากาศยานให้มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่รายการชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการกรณีผู้ รับบริการเป็นบุคคลธรรมดาจะ ระบุที่อยู่หรือไม่ก็ได้ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนส่งคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน ไม่ต้องระบุที่อยู่และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน แต่ต้องระบุเลขที่ของตั๋วโดยสารในใบกํากับภาษีและสําหรับรายการหมาย เลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่มถ้ามี ให้ระบุหมายเลขลําดับของตัวแทน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
3,603
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทำกิจการโรงสีข้าว มีบัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าวและรำ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 1) เรื่อง กําหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทํากิจการโรงสีข้าว มีบัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าวและรํา ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทํากิจการโรงสีข้าวมีบัญชีพิเศษตามแบบท้ายประกาศนี้แสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าว และรํา ซึ่งมีอยู่ ได้มาและจําหน่ายไปเป็นรายวันและให้กรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษนั้น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รายการในบัญชีพิเศษต้องลงให้เสร็จภายในสามวันนับแต่วันที่มีอยู่ ได้มาหรือจําหน่ายไปแต่ละครั้ง ข้อ ๒ การกรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษให้ใช้ภาษาไทย ถ้าใช้ภาษาต่างประเทศให้มีภาษีไทยกํากับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ชาญชัย ลี้ถาวร อธิบดีกรมสรรพากร
3,604
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 110) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 110) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงาน แตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543 “ข้อ 7 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนําค่า ตอบแทนที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตาม มาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(14) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยว กับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูล ค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2543 จัดทํารายงานภาษีขายโดยต้องมีรายการ และข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
3,605
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 109) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 109) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้ นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ช) ของวรรคสอง ของข้อ 2(4) แห่ง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษี ซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 98) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการ คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 ดังนี้ “(ช) การแปรรูปกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใน โครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
3,606
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 108) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 108) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6(7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.253 “ข้อ 3 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทอง รูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในใบกํากับภาษีด้วย (1) ราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จ แต่ไม่รวมภาษีมูล ค่าเพิ่ม (2) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ (3) ผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จ แต่ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตาม (1) กับราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ ตาม (2) (4) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจาก (3) (5) หมายเลขลําดับของใบรับที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน แต่หากผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกํากับภาษีด้วย ไม่ต้อง ระบุหมายเลขลําดับของใบรับ (6) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากร กําหนด ข้อความตามวรรคหนึ่ง จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะ ทํานองเดียวกันก็ได้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,607
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 107) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 107) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 77) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 6 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทอง รูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในใบกํากับภาษีด้วย (1) ราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูล ค่าเพิ่ม (2) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ (3) ผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จแต่ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตาม (1) กับราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ ตาม (2) (4) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจาก (3) (5) หมายเลขลําดับของใบรับที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน แต่หากผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกํากับภาษีด้วย ไม่ต้อง ระบุหมายเลขลําดับของใบรับ (6) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากร กําหนด ข้อความตามวรรคหนึ่ง จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะ ทํานองเดียวกันก็ได้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,608
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวล รัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 103) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวล รัษฎากร ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2543 “(14) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วย การค้าของเก่า และใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวล รัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่อง ประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชําร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่ มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคํานวณราคา รับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืน” ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณอยู่ก่อน วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จะต้องดําเนินการเพื่อใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2543 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,609
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตาม มาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตาม มาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทํา ในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทํา ในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้น ในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ กําหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เป็นการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร “(1) การให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้น ในต่างประเทศ กรณีการให้บริการตามวรรคหนึ่งซึ่งมีการใช้บริการบางส่วนในราชอาณาจักรด้วย ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะส่วนที่ได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ การให้บริการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนําเที่ยวในต่างประเทศ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 181) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) (2) การให้บริการต่อเรือเดินทะเล การให้บริการซ่อมแซมอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทําในราชอาณาจักร โดยผู้รับบริการต้องเป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้รับบริการดังกล่าวจะเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ผู้รับบริการตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบกิจการให้บริการขนส่ง ระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้ (ก) ให้บริการรับขนคนโดยสารหรือรับขนสินค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ผ่านประเทศไทย (ข) ให้บริการรับขนคนโดยสารหรือรับขนสินค้าระหว่างประเทศ โดยผ่านประเทศไทยด้วย (ค) ให้บริการรับขนคนโดยสารหรือรับขนสินค้าระหว่างประเทศ และมีการรับขนคนโดยสารหรือรับขนสินค้าภายในประเทศไทยด้วย (3) การให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน สําหรับทรัพย์สินในต่างประเทศ หรือสําหรับสินค้า ที่ได้ส่งออกนอกราชอาณาจักร “(4) การให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อส่งออกและการให้บริการที่กระทําในเขตปลอดอากรเพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน การให้บริการตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การให้บริการที่กระทําต่อตัวสินค้าและมีการส่งออกสินค้านั้นหรือการให้บริการที่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เช่น การรับจ้างแกะสลักบานประตู การรับจ้างทําน้ํายาเคลือบประตู หรือการให้บริการรับจ้างทําส่วนประกอบ อุปกรณ์ เพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 122) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ การประกอบกิจการตามข้อ 2 ต้องมีหลักฐานแสดงการชําระราคา ค่าบริการตามใบแจ้งหนี้ (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐาน การเปิด L/C (Letter of Credit) หลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เอกสารใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับชําระเงิน ตาม L/C (Letter of Credit) หรือ Bank Statement เอกสารที่ระบุว่านําเงิน เข้าบัญชีธนาคารโดยใช้สมุดคู่ฝาก เอกสารการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยไม่มีสมุดคู่ฝาก หลักฐานการรับชําระเงินตามบัตรเครดิต การใช้ E-money หรือ E-cash เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ไม่จําต้องมีหลักฐานแสดงการชําระราคาค่าบริการ ข้อ ๔ การประกอบกิจการตามข้อ 2(4) กรณีการให้บริการที่กระทําใน ราชอาณาจักรที่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกรณีการให้บริการที่กระทําในเขตปลอดอากรที่ ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนําไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 122) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป) ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
3,610
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 238) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 238) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 228) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ผู้ประกอบการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ 1 ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) บุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (2) มูลนิธิ (3) สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้ (ก) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสถานศึกษาในกํากับของรัฐ (ข) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงอื่น ๆ (ค) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (4) หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (5) หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม เฉพาะที่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่แสวงหากําไร แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,611
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 237) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 237) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (24) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 213) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(24) มูลค่าของค่าน้ําประปาที่การประปานครหลวงเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ําประปาเฉพาะมูลค่าของค่าน้ําประปาที่พึงเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ําประปาแต่ละรายในส่วนที่ไม่เกิน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 มูลค่าของค่าน้ําประปาตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ค่าน้ําประปา ค่าน้ําดิบและค่าบริการที่การประปานครหลวงพึงได้เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ําประปา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,612
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 มาตรา 81/3 มาตรา 82/6 มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 85 มาตรา 85/3 มาตรา 85/5 มาตรา 85/6 มาตรา 85/10 มาตรา 85/12 มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 มาตรา 85/16 มาตรา 86/6 มาตรา 86/8 และมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ข้อ ๒ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) แบบ ภ.พ.01 แบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (2) แบบ ภ.พ.01.1 แบบคําขอแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) แบบ ภ.พ.01.2 แบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว (4) แบบ ภ.พ.02 แบบคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน (5) แบบ ภ.พ.02.1 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน (6) แบบ ภ.พ.04 แบบคําขอรับใบแทนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (7) แบบ ภ.พ.05.1 แบบแจ้งรายการประมาณการการใช้พื้นที่อาคาร (8) แบบ ภ.พ.05.2 แบบแจ้งวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ (9) แบบ ภ.พ.05.3 แบบแจ้งรายการเริ่มใช้อาคาร (10) แบบ ภ.พ.05.4 แบบแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร (11) แบบ ภ.พ.06 แบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (12) แบบ ภ.พ.06.1 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ (13) แบบ ภ.พ.07 แบบคําขออนุมัติให้สถานบริการน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย (14) แบบ ภ.พ.08 แบบคําขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (15) แบบ ภ.พ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (16) แบบ ภ.พ.09.1 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว (17) แบบ ภ.พ.30 และแบบ ภ.พ.31 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (18) แบบ ภ.พ.30.2 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้ (19) แบบ ภ.พ.30.3 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร (20) แบบ ภ.พ.36 แบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้น หรือให้พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือให้ใช้รายการข้อมูลตามแบบดังกล่าวที่สามารถยื่นแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรงหรือผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,613