title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 47/2546 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินอื่นที่ลูกค้าอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 47/2546
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินอื่นที่ลูกค้าอาจมอบหมาย
ให้บริษัทจัดการจัดการได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/ 2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ 2 ในการมอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลูกค้าอาจมอบเงินฝากในบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt) ให้บริษัทจัดการจัดการได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,414 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2545 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลได้เพิ่มเติม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2545
เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลได้เพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และข้อ 6 (6) ข้อ 6/4 ข้อ 6/5 ข้อ 6/6 ข้อ 6/7 ข้อ 6/8 และข้อ 6/9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สัญญาฟิวเจอร์” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในตลาดหรือศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งบริษัทจัดการเข้าผูกพันตนในสัญญาดังกล่าว โดยมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการต้องส่งมอบสินค้าอ้างอิงหรือชําระราคาของสินค้าอ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
“สินค้าอ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือเงินตราสกุลใด ๆ
“ตัวแปรอ้างอิง” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์หรืออัตราดอกเบี้ย
“สัญญาฟอร์เวิร์ด” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นนอกตลาดหรือศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งบริษัทจัดการเข้าผูกพันตนในสัญญาดังกล่าว โดยมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการต้องส่งมอบสินค้าอ้างอิงหรือชําระราคาของสินค้าอ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
ตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
“สัญญาสวอป” หมายความว่า สัญญาที่บริษัทจัดการเข้าผูกพันแลกเปลี่ยนผลตอบแทนซึ่งมีมูลค่าผลตอบแทนอย่างน้อยข้างใดข้างหนึ่งของสัญญาผูกกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง ทั้งนี้ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญา
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
“กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาฟิวเจอร์ สัญญาฟอร์เวิร์ด หรือสัญญาสวอปได้
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกนโยบายการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการอาจทําสัญญาฟิวเจอร์ที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดหรือสัญญาสวอปที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากับสถาบันการเงินได้ โดยมีมูลค่าของสัญญาที่ไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการทําสัญญานั้นต้องไม่เกินมูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รวมทั้งดอกผลที่เกิดหรืออาจเกิดจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดการมีภาระต้องชําระ และมีระยะเวลาของสัญญาไม่เกินระยะเวลาที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือมีภาระต้องชําระค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าว
ข้อ ๔ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามนโยบายการลงทุนที่มิใช่นโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ําและนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ได้
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,415 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 46/2546 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 46/2546
เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทจัดการ
สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(7) ข้อ 6(1) (ซ) ข้อ 6(2) (ญ) และข้อ 6/2(11)แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt)
“หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ประกาศที่ กน. 14/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่4 เมษายน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ํา บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้
ข้อ 3 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ํา บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวได้ และในกรณีที่ใบแสดงสิทธิมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นตราสารแห่งทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 และในกรณีที่ใบแสดงสิทธิมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 6(2) แห่งประกาศที่ กน. 14/2543
ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ระยะยาว นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น หรือนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิตามวรรคหนึ่งที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์เท่านั้น
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,416 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 51/2544 เรื่อง การกำหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดำเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 51/2544
เรื่อง การกําหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์
ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดําเนินการเกี่ยวกับ
หลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9/1(14) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กระทรวงการคลังเป็นนิติบุคคลตามข้อ 9/1(14) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,417 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 39/2546 เรื่อง การกำหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดำเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
##### ที่ สธ. 39/2546
##### เรื่อง การกําหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์
##### ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดําเนินการเกี่ยวกับ
##### หลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9/1(14) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้บริษัทประกันวินาศภัยเป็นนิติบุคคลตามข้อ 9/1(14) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,418 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 117) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกำไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 117)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกําไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 260) พ.ศ. 2535 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการลดอัตราภาษี เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 47) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกําไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 3 การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น และยื่นรายการ ภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา หกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น
ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิเหลือร้อยละ 10 และกิจการที่ต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิในอัตราปกติร้อยละ 30 ให้ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แยกบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนออกเป็นคนละชุดเสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,419 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 116) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษี เงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 116)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษี เงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 (4) และ (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ดังต่อไป
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 109) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษี เงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 2 ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่ประสงค์จะได้รับสิทธิลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับ 405) พ.ศ. 2545 แจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการ ภูมิภาค ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคตั้งอยู่ ก็ได้"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,420 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 59/2543 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ และแบบคำขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 59/2543
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ประกาศที่ กจ. 24/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ให้นําบทนิยามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 แห่งประกาศ ที่ กจ. 24/2543 มาใช้บังคับกับประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-dw-1 ท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี จํานวน 5 ชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขออนุญาต
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อบุคคลในวงจํากัด ประกอบด้วย
(1) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายตามหมวด 1 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543
(ก) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้
(ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้ โดยในการมีมตินั้น ผู้ถือหุ้นได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และนโยบายในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว
(เฉพาะกรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามความในมาตรา 56 หรือเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และผู้ขออนุญาตไม่เคยเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือไม่มีใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ออกคงค้างอยู่ในระยะสองปีก่อนยื่นคําขออนุญาต)
(ค) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตาม ข้อ 14 และส่วนที่ 3 ของหมวด 1 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543
(ง) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PP ท้ายประกาศนี้
(2) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามส่วนที่ 1 ของหมวด 4 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543
(ก) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PP ท้ายประกาศนี้
(ข) ดัชนีหัวข้อที่เป็นสาระสําคัญแห่งร่างข้อกําหนดสิทธิตามข้อ 65(2) แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543 ตามแบบตรวจสอบรายการในข้อกําหนดสิทธิ dw-PP ท้ายประกาศนี้
(ค) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 66 วรรคสองแห่งประกาศที่ กจ. 24/2543
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการดําเนินธุรกิจเพื่อการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยเฉพาะ ให้ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ประกอบคําขออนุญาตด้วย
(1) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(2) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(3) สําเนาข้อบังคับที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน ประกอบด้วย
(1) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543
(ก) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในลักษณะเดียวกับรายละเอียดที่แสดงในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย
หลักทรัพย์ตามแบบ 69-dw แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หัวข้อ “บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์”
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้ยื่นนั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตาม (ก) แล้ว
(ข) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(ค) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(ง) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(จ) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้
(ฉ) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้ โดยในการมีมตินั้น ผู้ถือหุ้นได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และนโยบายในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว (เฉพาะกรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามความในมาตรา 56 หรือเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และผู้ขออนุญาตไม่เคยเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือไม่มีใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ออกคงค้างอยู่ในระยะสองปีก่อนยื่นคําขออนุญาต)
(ช) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(ซ) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 ของหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543
(ฌ) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 56 มาตรา 57 และมาตรา 81
(ญ) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน
(ฎ) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PO ท้ายประกาศนี้
(2) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามส่วนที่ 2 ของหมวด 4 แห่งประกาศที่ กจ.24/2543
(ก) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในลักษณะเดียวกับรายละเอียดที่แสดงในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69-dw แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หัวข้อ "บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์"
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้ยื่นนั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตาม (ก) แล้ว
(ข) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(ค) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(ง) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(จ) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(ฉ) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 70 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543 และหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 56 มาตรา 57 และมาตรา 81
(ช) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน
(ซ) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PO ท้ายประกาศนี้
(ฌ) ดัชนีหัวข้อที่เป็นสาระสําคัญแห่งร่างข้อกําหนดสิทธิตามข้อ 67(3) แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543 ตามแบบตรวจสอบรายการในข้อกําหนดสิทธิ dw-PO ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ในการขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวด 1 หรือหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543 ยื่นคําขอตามแบบ 35-dw-2 ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 24/2543 ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นหนังสือรับรองว่าในระยะเวลาสองสัปดาห์ก่อนการยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ผู้ได้รับอนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ได้รับอนุญาต ไม่มีการจัดทําบทวิเคราะห์เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปเกี่ยวกับความเหมาะสมในการลงทุนหรือราคาของหุ้นอ้างอิง โดยหนังสือรับรองนั้นให้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,421 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 32/2546 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ และแบบคำขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 32/2546
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 59/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 35-dw-2 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 59/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,422 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 115) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 115) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 64) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงิน ในประเทศ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 7 ธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ย ตั้งอยู่ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้ ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
(1) กรณีบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งสื่อบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงิน ตามรูปแบบ (Format) ที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หรือ
(2) กรณีไม่ได้บันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,423 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 114) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 114)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 42(8)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 และตามความในข้อ 2 (38) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์ ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 8 ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 ต้องส่งข้อมูลของ ผู้ฝากเงินพร้อมกับรายละเอียดที่ผู้ฝากเงินแจ้งต่อธนาคารตามข้อ 7 ต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้> (1) กรณีบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งสื่อบันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงิน ตามรูปแบบ (Format) ที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หรือ> (2) กรณีไม่ได้บันทึกข้อมูลของผู้ฝากเงินด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,424 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ยกเลิกโดย 172) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ยกเลิกโดย 172)
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 240 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกําหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และการประกันชีวิตได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ได้รับยกเว้นภาษีตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สําหรับเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหัก ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากบริษัทประกันชีวิตที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตด้วย
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,425 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 14/2542 เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่สธ/น. 14/2542
เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็น
ลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 13/2542 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ประกาศคณะกรรมการ" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 13/2542 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการสํานักงานจึงกําหนดให้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการพิจารณาระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
(1) ปัจจัยหลัก ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงานให้น้ําหนักในการพิจารณามากกว่าข้อเท็จจริงอื่น ได้แก่
(ก) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่นมีผลกระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
(ข) นัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ค) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม
(2) ปัจจัยรอง ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงานใช้เพื่อการเพิ่มหรือลดน้ําหนักในการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยรวม ได้แก่
(ก) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น
(ข) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่นการใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น
(ค) ประวัติพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในเรื่องเดียวกันในอดีต
(ง) การจงใจฝ่าฝืนหรือละเลยกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(จ) พฤติกรรมอื่นในภายหลัง เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์
ต่อการพิจารณาคดีหรือการดําเนินคดี หรือปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานในคดีหรือให้การเท็จเป็นต้น
ข้อ ๓ กําหนดระยะเวลาห้ามมิให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์มีดังต่อไปนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทของลักษณะต้องห้าม | ระดับความร้ายแรงของพฤติกรรม | ระยะเวลาสูงสุดที่จะห้ามมิให้เป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ |
| ข้อ 4(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) แห่งประกาศคณะกรรมการ | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสามปีห้าปี |
| ข้อ 4(11) หรือ (12) แห่งประกาศคณะกรรมการ | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสามปีสามปี |
| ข้อ 4(13) แห่งประกาศคณะกรรมการ | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หกเดือนหนึ่งปีสองปี |
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ที. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,426 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 22/2546 เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 22/2546
เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะ
ต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
เนื่องด้วยผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความสําคัญในการกํากับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ให้ปฏิบัติ ตามข้อกําหนดของกฎหมาย ดังนั้น ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเนื่อง มาจากผู้บริหารสั่งการหรือไม่สั่งการ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ ละเลยหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรับผิดชอบ สํานักงานจะนําพฤติกรรมในการทํางาน การบริหารงาน และควบคุมการปฏิบัติงานของผู้บริหารนั้น เป็นปัจจัยที่เข้าข่ายเป็นพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเป็นผู้บริหารของ บริษัทหลักทรัพย์ ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 13/2542 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่น ของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงได้แก้ไขข้อกําหนดเกี่ยวกับปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของ พฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ดังนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (2) ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 14/2542 เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) ประวัติพฤติกรรมในการบริหารจัดการบริษัทและการควบคุมการปฏิบัติงานในอดีต”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,427 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 111) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 111)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 59 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษี กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 328) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๔ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ต้องนําส่งเงินภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การนําส่งเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การนําส่งภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้วการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,428 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 65/2543 เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้ำหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 65 /2543
เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และข้อ 2แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประเภทการค้าหลักทรัพย์ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้
“บริษัทที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า
(1) บริษัทที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
(3) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทดังกล่าว และในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทและบริษัทหลักทรัพย์นั้น
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่น หรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
ข้อ ๒ กรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียกับหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์
(1) บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ เฉพาะช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ตั้งแต่ห้าวันทําการก่อนวันกําหนดราคาเสนอขายจนถึงสามสิบวันหลังจากวันปิดการเสนอขาย ในกรณีที่หลักทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ข) ตั้งแต่ห้าวันทําการก่อนวันกําหนดราคาเสนอขายจนถึงสามสิบวันหลังจากวันแรกที่หลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรณีที่หลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
(3) ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์เป็นกรรมการในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
(4) บริษัทหลักทรัพย์ ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ หรือเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ที่จะทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ถือหุ้นในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้นเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ในการนับหุ้นของผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,429 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2546 เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 11/2546
เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกนิยามคําว่า “บริษัทที่เกี่ยวข้อง” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 65/2543 เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บริษัทที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า
(1) บริษัทที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
(2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
(3) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทดังกล่าว และในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทและบริษัทหลักทรัพย์นั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 65/2543 เรื่อง การมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ห้าวันทําการก่อนวันเริ่มเสนอขายจนถึงวันปิดการเสนอขาย สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ในกรณีทั่วไป หรือวันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดสรรหุ้นส่วนเกิน ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,430 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 51 /2541
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2536
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด หรือตัวแทนเพื่อทําหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด แล้วแต่กรณี
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้มี 2 ส่วน คือ
(1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ
(2) ส่วนข้อมูลโครงการ
ข้อ ๔ ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) นโยบายการลงทุน
(2) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้” และสําหรับกองทุนเปิดต้องมีคําเตือนเพิ่มเติมว่า“และอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่ได้มีคําสั่งไว้”
(3) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น
(4) ตารางแสดงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือ
ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม ซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางแนบท้ายประกาศ
(5) ข้อความว่า “สําหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม
นอกเหนือจากที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบนี้ สามารถ
ตรวจดูหรือขอสําเนาหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือตัวแทนสนับสนุน”
(6) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
ให้รายการตาม (2) (3) และ (5) พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าข้อความทั่วไป
ในหนังสือชี้ชวนซึ่งอ่านได้ชัดเจน
ข้อ ๕ ส่วนข้อมูลโครงการให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนปิดให้มีรายการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
(2) กรณีกองทุนเปิดให้มีรายการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) ข้อความว่า “การที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและ
จัดการโครงการของกองทุนรวม ............................................ เมื่อวันที่ ..................
มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึง
ความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้ประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย”
(4) คําเตือนให้ผู้สนใจลงทุนศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้ถี่ถ้วนเพื่อใช้
ประกอบการตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต
(5) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “การลงทุนใน
หน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืน
มากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้” และสําหรับกองทุนเปิดต้องมีคําเตือนเพิ่มเติมว่า
“และอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถ
ขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่ได้มีคําสั่งไว้”
(6) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น
(7) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
ให้รายการตาม (3) (4) (5) และ (6) พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าข้อความทั่วไป
ในหนังสือชี้ชวนซึ่งอ่านได้ชัดเจน และรายการตาม (3) (4) และ (5) ต้องปรากฏไว้ในหนังสือชี้ชวน
ก่อนรายการตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ กรณีของกองทุนเปิด หนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการจัดทําใหม่ทุกรอบปีบัญชีต้องแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นปีบัญชีนั้น
รายการของหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5
ยกเว้นรายการเกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุนครั้งแรก และให้เพิ่มรายการต่อไปนี้ไว้ด้วย
(1) ประเภท ชื่อ จํานวน และมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สิน
หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนรวมลงทุนไว้
(2) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
(3) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐาน
ที่สมาคมกําหนด หากใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานอื่นใด ให้แสดงผลการดําเนินงานที่ใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมกําหนดควบคู่กันไปด้วย
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,431 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2543 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28/2543
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) นโยบายการลงทุน
(2) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “การลงทุนในหน่วยลงทุน มิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่า เงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้” และสําหรับกองทุนเปิดต้องมีคําเตือนเพิ่มเติมว่า “และอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืน หน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้”
(3) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น
(4) ตารางแสดงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม ซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางแนบท้ายประกาศ
(5) ข้อความว่า “สําหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ ปรากฏในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบนี้ สามารถตรวจดูหรือขอสําเนาหนังสือ ชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือตัวแทนสนับสนุน”
1. วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
ให้รายการตาม (2) (3) และ (5) พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่า ข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศสํานักงาน ในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบนอกจากต้องมีรายการตามวรรคหนึ่งและต้องปฏิบัติตามวรรคสองแล้ว ต้องมีรายการที่เป็นคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศสํานักงานว่า “กองทุนรวม ...(ชื่อ)... มีความเสี่ยง
มากกว่ากองทุนรวม ...(ประเภท)... ทั่วไป เนื่องจากมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นอัตราส่วนมากกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด” และต้องมีรายการเปรียบเทียบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวในส่วนที่แตกต่างกับอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ คําเตือนดังกล่าวต้องพิมพ์ไว้ ในกรอบสี่เหลี่ยมที่ปกหน้าด้านนอกของหนังสือชี้ชวน และที่ส่วนบนของหน้าแรกของส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ที่ผู้ลงทุนควรทราบ และพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปใน หนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้รายการตาม (3) (4) (5) และ (6) พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน และรายการตาม (3) (4) และ (5) ต้องปรากฏไว้ในหนังสือชี้ชวนก่อนรายการตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหลังจากวันสิ้นปีบัญชี และอยู่ในระหว่างการจัดทําหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันจัดทําหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,432 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 20/2544
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
====================================================
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.28/2543 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศสํานักงาน ในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบนอกจากต้องมีรายการตามวรรคหนึ่งและต้องปฏิบัติตามวรรคสองแล้ว ต้องมีรายการที่เป็นคําเตือนว่า “กองทุนรวม... (ชื่อ)...มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวม....(ประเภท).....ทั่วไป เนื่องจากมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นอัตราส่วนมากกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ผู้ลงทุนควรศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน” และต้องมีรายการเปรียบเทียบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวในส่วนที่แตกต่างกับอัตราส่วนการลงทุน ตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ คําเตือนดังกล่าวต้องพิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่ปกหน้า ด้านนอกของหนังสือชี้ชวน และที่ส่วนบนของหน้าแรกของส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ และพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,433 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 40/2545 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 40/2545
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2543 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2544
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 52/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมมีประกันหรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
"กองทุนรวมตลาดเงิน" หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมทางการเงิน หรือตราสารการเงินอื่นใด ที่มีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน
"กองทุนรวมมีประกัน" หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณีตามจํานวนเงินที่ประกันไว้
"เงินลงทุน" หมายความว่า เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนเปิดหรือเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนปิด โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ใน โครงการ (ถ้ามี)
"กองทุนเปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
"กองทุนปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน
"กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ" หมายความว่า กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ผู้สอบบัญชี" หมายความว่า ผู้สอบบัญชีของกองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
"ผู้ประกัน" หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับข้อ 4 ถึงข้อ 14 แต่ต้องมีข้อมูลซึ่งระบุวันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ และข้อมูลที่สรุปสาระสําคัญเกี่ยวกับโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๔ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้มี 2 ส่วน คือ
(1) ส่วนข้อมูลโครงการ
(2) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
ข้อ ๕ ส่วนข้อมูลโครงการ ให้ใช้รายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ
ข้อ ๖ ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมตามข้อ 7 หรือข้อ 8 แล้วแต่กรณี
(2) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 9 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี
(3) ตารางแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางแนบท้ายประกาศนี้
(4) การเปรียบเทียบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนในส่วนที่แตกต่างกับอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานกําหนดไว้
(5) คําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน และมีข้อความตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 หรือข้อ 12 หรือข้อ 13 แล้วแต่กรณี
(6) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
รายการตาม (1) ถึง (6) ให้เป็นไปตามลําดับ ยกเว้นคําเตือนและข้อแนะนําตามข้อ 11(1) และ (2) ข้อ 11 วรรคสอง ข้อ 12 และข้อ 13 (1) ให้จัดพิมพ์ตามที่กําหนดไว้ในข้อดังกล่าว
ข้อ ๗ รายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ประเภท และอายุของโครงการ
(2) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวนและราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
(3) นโยบายและวัตถุประสงค์การลงทุน
(4) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
(5) วันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(6) วันที่ที่เสนอขายหน่วยลงทุนกรณีกองทุนปิด และวันที่ที่เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกกรณีกองทุนเปิด
(7) สถานที่ติดต่อซื้อขายหน่วยลงทุน
(8) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ รวมทั้งสัดส่วนการถือหุ้น
(9) ชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียนหน่วยลงทุน และผู้สอบบัญชี
(10) กําหนดเวลาการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนภายหลังการเสนอขายครั้งแรก และระยะเวลาการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนเปิด
(11) หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (automatic redemption) (ถ้ามี) ในกรณีที่เป็นกองทุนเปิด
ข้อ ๘ รายการลักษณะที่สําคัญสําหรับกองทุนรวมมีประกัน ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) ชื่อของผู้ประกัน
(2) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน ในกรณีที่ผู้ประกันเป็นธนาคารต่างประเทศ
(3) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี)
(4) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี)
(5) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้ง่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวมมีประกัน
(6) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน
ต่างประเทศ
(7) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้
ข้อ ๙ รายการความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน เช่น ความเสี่ยงจากการดําเนินงานของผู้ออกตราสาร (business risk) ความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk)ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (market risk) ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร ( liquidity risk) เป็นต้น รวมทั้งแนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง (ถ้ามี) และการเปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนกับกองทุนรวมประเภทอื่น (ถ้ามี)
ข้อ ๑๐ รายการความเสี่ยงในการลงทุนสําหรับกองทุนรวมมีประกัน ให้มีข้อความที่แสดงให้ผู้ลงทุนเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันเพิ่มเติมด้วย
ข้อ ๑๑ รายการดําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีข้อความดังต่อไปนี้
(1) ข้อความว่า "การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้" เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมมีประกัน ให้มีข้อความดังต่อไปนี้แทน "การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน" ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(2) ข้อความว่า "กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ดังนั้น (ชื่อบริษัทจัดการ). จึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของ. (ชื่อกองทุนรวม) ทั้งนี้ ผลการดําเนินงานของ (ชื่อกองทุนรวม). ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานของ (ชื่อบริษัทจัดการ) " ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรกหรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(3) ข้อความว่า "ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน"
(4) ข้อความว่า "ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ขายหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการ ก..ต. และควรขอดูบัตรประจําตัวของบุคคลดังกล่าวที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกให้ด้วย"
ในกรณีที่เป็นกองทุนเปิด ให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า "ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้" ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศสํานักงาน ให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า “ (ชื่อกองทุนรวม). มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวม .(ประเภท). ทั่วไป เนื่องจากมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นอัตราส่วนมากกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดผู้ลงทุนควรศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน”
ข้อ ๑๒ รายการคําเดือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมมีประกัน ให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า "กองทุนรวมนี้มีการประกันเงินลงทุนร้อยละ...................และผลตอบแทนร้อยละ .................(ถ้ามี) ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนจนครบระยะเวลาการประกันที่กําหนดในหนังสือชี้ชวนนี้จะได้รับชําระเงินลงทุนคืนตามเงื่อนไขในการรับประกัน อย่างไรก็ดีการประกันไม่ได้รวมถึงการประกันความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกัน" ทั้งนี้ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปกโดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
ข้อ ๑๓ รายการคําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้มีข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) ข้อความว่า "ผู้ลงทุนไม่สามารถนําหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปจําหน่าย โอน จํานํา หรือนําไปเป็นประกัน" ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(2) ข้อความว่า "ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และ จะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกําหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชําระเงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรด้วยดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้เข้าใจ รวมทั้งสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคู่มือภาษีได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน"
ข้อ ๑๔ กรณีของกองทุนเปิค หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่บริษัทจัดการจัดทําใหม่ทุกรอบปีบัญชีต้องแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นปีบัญชีนั้น โดยไม่ต้องระบุวันที่ที่เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก และให้เพิ่มวันที่ที่จดทะเบียนกองทุนรวมในลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม รวมทั้งให้เพิ่มรายการดังต่อไปนี้ในลําดับถัดจากรายการตามข้อ 6(3) หรือข้อ 6(4) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศสํานักงาน
(1) ประเภท ชื่อ จํานวน และมูลค่าตามการตลาดของหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนรวมลงทุนไว้
(2) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมกําหนด หากใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานอื่นใด ให้แสดงผลการดําเนินงานที่ใช้วิธี วัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมกําหนดควบคู่กันไปด้วย
ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อความ "สําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปีที่........... สิ้นสุดวันที่.................. " ไว้ที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปกและหากมีการแก้ไขเพิ่มเดิมโครงการหลังจากวันสิ้นปีบัญชี และอยู่ในระหว่างการจัดทําหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันจัดทําหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,434 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2546 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2546
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 40/2545 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 รายการคําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมมีประกัน ให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า “กองทุนรวมนี้มีการประกันเงินลงทุนร้อยละ ~~.~~และผลตอบแทนร้อยละ (ถ้ามี) ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนจนครบระยะเวลาการประกันที่กําหนดในหนังสือชี้ชวนนี้จะได้รับชําระเงินลงทุนคืนตามเงื่อนไขในการรับประกันและตามความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ประกัน” ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมมีประกันที่ประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมมีประกันด้วย ให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ กองทุนรวมนี้ยังมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่ (ชื่อผู้ประกัน) เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันรวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ (ตามที่กําหนดในโครงการ) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ผู้ลงทุนจึงอาจได้รับเงินลงทุนคืนในจํานวนไม่เกินร้อยละ (สัดส่วนที่เหลือหลังจากหักส่วนที่กองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ผู้ประกันออก
หรือมีภาระต้องชําระคืนดังกล่าว) หากผู้ประกันไม่สามารถชําระหนี้คืนได้” ต่อท้ายข้อความตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง โดยจัดพิมพ์ให้มีรูปแบบตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งเช่นกัน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,435 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 34/2544 เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 34/2544
เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 13/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีคุณสมบัติเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,436 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2545 เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 23/2545
เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 34/2544 เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณีตามจํานวนเงินที่ประกันไว้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ ผู้ประกันดังกล่าวจะต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น
(2) เป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
การพิจารณาความสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองตาม (1) จะพิจารณาจากรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ยื่นต่อหน่วยงานที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,437 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2546 เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 5/2546
เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 13/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 23/2545 เรื่อง คุณสมบัติผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน ลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ และนิติบุคคลดังกล่าวต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น
1. ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
2. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
3. บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือ
4. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ
(2) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
การพิจารณาความสามารถในการดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองตาม (1) จะพิจารณาจากรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ยื่นต่อหน่วยงานที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,438 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 5/2545
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองถุนสํารองเลี้ยงชีพ
“สัญญา” หมายความว่า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้า
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ทั้งนี้ไม่ว่าเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม”สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“เจ้าหน้าที่การตลาด” หมายความว่า ผู้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคระกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด
“ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยงานลงทุน” หมายความว่าผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และววิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนสนับสนุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยืและตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรัยซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน
“บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึษาการลงทุน
“ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลัหทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน
“ประกาศ ที่ กน. 6/254:” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อน และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การว่างแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
“สํานักงานหมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บุคคลที่จะทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนด้วนการตลาดกองทุนส่วนบุคคลเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้น ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศนี้แล้ว
ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเพื่อนทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แกลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลนั้นต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๕ การขอรับความเห็นชอบเพื่อทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ขอรับความเห็นชอบดําเนินการจัดส่งข้อมูลผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้เพื่อการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวและนําส่งเอกสารที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่ผู้ยื่นคําขอได้ส่งผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ให้สํานักงานภานในวันทําการถัดจากวันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านระบบดังกล่าว
ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้แล้ว และให้ถือว่าการเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการทําหน้าที่ขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการเป็นตัวแทนสนับสนุน อย่างน้อยหนี่งครั้งภายในทุกๆวงสองปีตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุนแล้วแต่กรณี เป็นการเข้ารับการอบรมตามที่กําหนดในข้อ 16
หมวด 1
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ส่วนที่ 1
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ นิติบุคคลที่จะขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ต้องเป็น
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต
(5) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ
(7) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอยุ่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท
ข้อ ๘ ผู้ขอรับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ระบบการรับลูกค้า
(ข) ระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้า
(ค) ระบบการรับเงินทุนที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการลงทุน
(ง) ระบบการรับเรื่องร้องเรียน
(2) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคคลกร โดยพนักงานที่จะทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แกลูกค้าต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ด้วย
(3) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๙ ผู้รับขอความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานใดๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ
(2) มีประวัติดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอและจนถึงวันที่ได้รับความเห็นชอบ
(ก) เคยกระทําความผิดกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะป็นการหลอกลวงฉ้อฉล หรือทุจริต
(ข) เคยกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(ค) เคยดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลุกค้าหรือขาดความรอบคอบหรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
(ง) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนจากการปฏิบัติงานใดๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใดๆ
ลักษณะต้องห้ามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าผู้ขอรับความเห็นชอบได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่งในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบรัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 8 และไม่มีลักษระต้องห้ามตามข้อ 9
ส่วนที่ 2
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ บุคคลธรรมดาที่จะขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ต้องเป็น
(1) พนักงานของบริษัทจัดการ
(2) พนักงานของนิติบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลหรือ
(3) บุคคลธรรมดาที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 11 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีวุฒิทางการศึกษาหรือประสบการณ์ในการทํางานดังนี้
(ก) สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าตามที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง หรือ
(ข) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าสองปี และ
(2) ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือว่างแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ
ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลของนิติบุคคลตามข้อ 11(1) และ (2) ซึ่งได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอ ให้ยกเว้นคุณสมบัติตาม (2) แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวให้ใช้สําหรับผู้ขอรับความเห็นชอบเพียงรายเดียว และต่อนิติบุคคลตามข้ 11(1) และ (2) แต่ละแห่ง
ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามข้อ 18(5) แต่ได้ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบครั้งก่อนสิ้นสุดลง ให้ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตาม (2)
ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับความเห็นตามข้อ 11 นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 12 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เป็นบุคคลที่อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลที่มีขื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(5) อยู่ในระหว่างกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของประเทศไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(6) อยู่ระหว่างกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(7) อยู่ในระหว่างสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตัวแทนสนับสนุน หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา
(8) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(9) มีประวัติดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอและจนถึงวันที่ได้รับความเห็นชอบ
(ก) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(ข) เคยต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตามกฎหมายตาม (5) หรือ (6)
(ค) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(ง) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ชักขวนลูกค้าหรือว่าแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(จ) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา
(ฉ) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ช) เคยมีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
(ซ) เคยมีการทํางานที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า หรือขาดความรอบคอบหรือสะท้อนถึงการทํางานที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
หมวด 2
การให้ความเห็นชอบ และการสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจะแจ้งให้ผู้ขอรับความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะคือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเพื่อทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้วนการตลาดกองทุนส่วนบุคคลแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7 ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นชอบแล้ว
(2) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ
(3) มีหนังสือแจ้งการแต่งต้องหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ
ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมตามข้อ 8(1) และ (2) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอให้สํานักงานพิจารณาความเห็นชอบ
การเปลี่ยนแปลงระบบงานตาม (1) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบนั้นดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความเห็นชอบอาจแจ้งต่อสํานักงานเพื่อขอทราบผลการพิจารณาก่อนครบระยะเวลาสิบห้าวันก็ได้
ข้อ ๑๖ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันการฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการกบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้
ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับความเห็นชอบรายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 8 หรือข่อ 12 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 9 หรือข้อ 13(5) (6) (9)(ก) (ข) (ค) (ช) หรือ (ซ) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามนั้น
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับความเห็นชอบรายใดมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การได้รับความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลง
(1) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 13(1) (2) (3) และ (4)
(2) ถูกสํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 19
(3) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลพ้นจากการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(4) ผู้ได้รับความเห็นชอบให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนพ้นจากการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน
(5) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการชัดชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการเป็นการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น
(6) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแหนการลงทุนให้ลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานได้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 16
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับความเห็นชอบรายใดมีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ได้รับความเห็นชอบรายนั้น
(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8 หรือข้อ 12
(2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 13(5) หรือ (6)
(3) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 9 หรือข้อ 13(9) อยู่แล้วก่อนวันที่ได้รับความเห็นชอบ และสํานักงานตรวจพบลักษณะต้องห้ามดังกล่าวภายในสามปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ
(4) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 9 หรือตามนัยข้อ 13(9)(ก) (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบ และสํานักงานตรวจพบลักษณะต้องห้ามดังกล่าวภายในสามปีนัลแต่วันที่มีลักษณะต้องห้ามนั้น
(5) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 15 หรือข้อ 17
(6) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่การชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าให้เป็นไปตามประกาศที่ กน. 6/2545 กําหนดไว้ในลักษณะที่ร้ายแรง หรือฝ่าฝืนคําสั่งของสํานักงานที่สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ ที่ กน. 6/2545
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้ผู้ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ไม่อาจทําหน้าที่ในการชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือทําหน้าที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลได้ สํานักงานอาจมีคําสั่งกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดตามวรรคสองแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุสั่งให้เพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก
ข้อ ๒๐ สํานักงานอาจเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามข้อ 18 หรือสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 19 ตามที่กฎหมายให้อํานาจไว้ได้
หมวด 3
บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2545 สํานักงานจะไม่นําระยะเวลาตามข้อ 12(2) ที่กําหนดให้ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบหรือผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอมาใช้บังคับในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแก่ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,439 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 4/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนต้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 4/2546
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน
หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน การตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสองปีในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน การให้คําแนะนําหรือการวางแผนเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกันชีวิต และ”
ข้อ 2 นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานจะไม่นําระยะเวลาที่ผ่านการทดสอบความรู้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีตามที่กําหนดในข้อ 12 (2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 มาใช้บังคับในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแก่ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามประกาศดังกล่าว
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,440 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 110) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 110)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 และ ภ.ง.ด.3 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดง รายการภาษี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่ออธิบดีกรมสรรพากรและต้องได้รับอนุมัติแล้ว มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 และ ภ.ง.ด.3 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,441 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(4) และ (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” หมายความว่า กิจการการให้บริการด้านการบริหารหรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนดังต่อไปนี้ แก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาของตน ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ
(1) การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และการประสานงานทางธุรกิจ
(2) การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน
(3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
(4) การสนับสนุนด้านเทคนิค
(5) การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย
(6) การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรมในภูมิภาค
(7) การให้คําปรึกษาด้านการเงิน
(8) การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
(9) การจัดการและควบคุมสินเชื่อ
(10) การให้บริการสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด
“การควบคุม” หมายความว่า การควบคุมตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานทางบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นําผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคไปใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการแก่สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
“รายได้จากการประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” หมายความว่า รายได้ที่สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคได้รับจากวิสาหกิจในเครือ สาขาของตน และจากวิสาหกิจในเครือที่มีการควบคุมระหว่างกัน ซึ่งได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คํานวณจากกําไรสุทธิเหลือร้อยละ 10 ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ.2545 ดังต่อไปนี้
(1) รายได้จากการให้บริการของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคแก่วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
(2) ดอกเบี้ยที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของ สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยจากเงินกู้ยืมที่สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคได้กู้มาเพื่อให้กู้ยืมต่อ
(3) ค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของ สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เฉพาะค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่กระทําขึ้นในประเทศไทย
ข้อ ๒ “ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่ประสงค์จะได้รับสิทธิลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 8 หรือมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 แจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคตั้งอยู่ก็ได้ บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสิทธิที่จะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือจะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ก็ได้”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 191) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทซึ่งประกอบกิจการ สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 และมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและ กิจการอื่น ให้บริษัทดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการ ภูมิภาคและรายได้จากกิจการอื่น
ข้อ ๔ กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและกิจการอื่น หากกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ใน กิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคเท่านั้น
ข้อ ๕ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายใน หนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและ กิจการอื่น ให้บริษัทดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทดังกล่าวให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทในกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน
ข้อ ๖ บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ได้แจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ได้รับสิทธิลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป
ข้อ ๗ กรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,442 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 94 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์(Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ยื่นรายการเงินได้เฉพาะตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วย หรือไม่ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) หรือจะใช้วิธีการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารก็ได้
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การเสียภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้วการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่1 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,443 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 107) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 107) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 327) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นได้ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การเสียภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,444 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 316) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 316)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบ อุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 265) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การยื่นคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และต้อง ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคําร้องขอนั้นด้วย”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,445 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 และ ภ.ง.ด. 3 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 และ ภ.ง.ด. 3 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 326) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๔ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ต้องนําส่งเงินภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การนําส่งเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การนําส่งภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,446 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (97) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 334 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ต้องเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยจากเงินได้ที่ได้รับซึ่งต้องนามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ การประกันสุขภาพตามข้อ 1 ให้หมายถึง
(1) การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
(2) การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
(3) การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
(4) การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้เอาประกันไว้ ทั้งนี้ สําหรับการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ปีภาษี 2561 เป็นต้นไป
สําหรับในปีภาษี 2560 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ผู้มีเงินได้ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ นามสกุล และเลขประจําตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้และจ่ายเบี้ยประกันจากเงินได้นั้น
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้รับประกันภัย
(3) จํานวนเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพตามข้อ 2
(4) จํานวนเงินที่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง ต้องส่งข้อมูลของผู้เอาประกันต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 364) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,447 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่ผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทำกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 105)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่ผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 82) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 การซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนหรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เป็นการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้
(1.1) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อ หลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้)
(ก) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และบริษัท หลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย
(ฉ) บริษัทมหาชนจํากัดนอกจากบริษัทตาม (ข) - (จ)
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ซ) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(ฌ) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ฑ) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ
(1.2) คู่สัญญาที่เป็นผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ได้อย่างเดียวเท่านั้น ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (1.1)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็น ลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
(3)ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะซื้อคืนหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนดซื้อคืนตามสัญญา หรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับที่นํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืน มาเพิ่มหรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่นํามาเพิ่มหรือหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืน ตามวรรคหนึ่งด้วย
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้นมีจํานวนหรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2545
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,448 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 314) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 314)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (78) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 330 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องจดทะเบียนและได้รับใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจาก กรมส่งเสริมการเกษตรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และต้องจัดทาบัญชี หรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวันเป็นภาษาไทย ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีรายได้ หรือรายจ่าย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) เรื่อง กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ทั้งนี้ ให้เก็บรักษาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวัน และใบสําคัญ แสดงการจดทะเบียนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ณ ที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ทันที
ข้อ ๒ วิสาหกิจชุมชนตามข้อ 1 ต้องแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป แต่สําหรับปีภาษี พ.ศ. 2560 วิสาหกิจชุมชนดังกล่าวไม่ต้องแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีที่วิสาหกิจชุมชนไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งในปีภาษีใด วิสาหกิจชุมชนดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีนั้น
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,449 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 313) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของ กิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 313)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของ กิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 624) พ.ค. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“รายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ" หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 624) พ.ศ. 2560
“รายได้จากกิจการอื่น” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 624) พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ให้ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 624) พ.ศ. 2560 แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันแรกของทุกปีภาษี หรือวันแรกของทุกรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามแบบที่แนบท้าย ประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่ผู้มีเงินได้หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมี สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
กรณีผู้มีเงินได้เริ่มประกอบกิจการในระหว่างปีภาษีให้แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากร ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
“กรณีในปีภาษี พ.ศ. 2563 หรือรอบระยะเวลาบัญชี 2563 ให้แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในสองร้อยห้าสิบวันนับแต่วันแรกของปีภาษี พ.ศ. 2563 หรือวันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 2563 แล้วแต่กรณี”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 375) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการทั้งที่มีรายได้จากการประกอบ กิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น
ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือการ ให้บริการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งบัญชีงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจทั้งที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลและให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,450 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 312) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 312)
เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่าย เพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น (11) ของวรรคหนึ่ง ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 129) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่าย เพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2546
“(11) การส่งเสริมการแสดงกิจกรรมหรือผลงานสิ่งประดิษฐ์ และการจัดนิทรรศการ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แก่หน่วยงานภายใต้การบริหารกิจการขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,451 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 311) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 311)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 333 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรสําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บา
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการ และเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ จะต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการและชําระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเฉพาะที่ต้องรวมคํานวณเป็นมูลค่าฐานภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น
ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,452 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีดังต่อไปนี้ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
(1) ภ.ง.ด.90 สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภท หรือผู้มีเงินได้ประเภทเดียวแต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ภ.ง.ด.91 สําหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เพียงประเภทเดียว”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป )
“การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3 และให้ถือเป็นคําร้องขอคืนสําหรับผู้มีสิทธิขอคืนที่ได้แสดงความประสงค์ขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 130) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป )
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือนมีนาคม ทุก ๆ ปี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับ วันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 130) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป )
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการชําระเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านผู้ให้บริการรับชําระภาษีที่มีข้อตกลงกับกรมสรรพากรการชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกัน เว้นแต่ภาษีที่ต้องเสียมีจํานวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้มีเงินได้จะชําระเป็นสามงวด งวดละเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 208) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป )
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การเสียภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,453 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 103) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 103)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2544
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,454 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 102) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 102)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 87) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2544
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,455 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 101) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 101)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อน แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อน แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2544
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,456 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100)
เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 66) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายต้องออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สองฉบับมีข้อความตรงกันนั้น อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับดังนี้
(1) ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
(2) ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน”
ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทําสําเนาคู่ฉบับไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วแต่ชํารุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีถ่ายเอกสาร และมีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลําดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลําดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลําดับของเล่มก็ได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 2 ต้องทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามแบบที่กําหนดไว้ตามข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 66) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะมีการยกเลิกโดยประกาศนี้ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2544
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,457 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 99) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน ออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 99)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน ออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(57) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 233 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เกี่ยวกับกรณีครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน ออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจาก กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
(1) กรณีเหตุสูงอายุ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนต้องออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ และมีระยะเวลาทํางานกับโรงเรียนเอกชนที่ทํางานอยู่ก่อนออกจากงานไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
(2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนผู้นั้นไม่สามารถประกอบอาชีพครูต่อไปได้
(3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานหรือไม่
ทั้งนี้ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนต้องมีการส่งเงินสมบทเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และต้องมีหลักฐานจากโรงเรียนเอกชนเพื่อรับรองว่า ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,458 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 98) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุดหรือที่ดินพร้อมกับว่าจ้างก่อสร้างอาคารในที่ดิน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 98)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุดหรือที่ดินพร้อมกับว่าจ้างก่อสร้างอาคารในที่ดิน
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความแห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อม ที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุด หรือที่ดินพร้อมกับว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ในที่ดิน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีสําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคาร ชุด หรือที่ดิน พร้อมกับว่าจ้างก่อสร้างอาคารในที่ดิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุด หรือที่ดินพร้อมกับว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ในที่ดิน แต่เพียงแห่งเดียว
(2) ต้องทําสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจะซื้อขายอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุด หรือที่ดินพร้อม กับว่าจ้างก่อสร้างอาคารในที่ดินระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545
(3) ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) ระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545 หรือกรณีซื้อที่ดินพร้อมกับว่าจ้างก่อสร้างอาคารในที่ดิน ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อพร้อมกับ ก่อสร้างอาคารต้องแล้วเสร็จระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545
(4) การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ โดยไม่มีการจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรืออาคาร ที่สร้างนั้นเป็นประกันการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสร้างอาคารดังกล่าวให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเท่ากับ จํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีดังนี้
(ก) ให้ได้รับยกเว้นภาษีปีภาษีละครึ่งหนึ่งของจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเป็นระยะเวลา 2 ปี ติดต่อกันนับแต่ปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้รับโอน กรรมสิทธิ์
(5) การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ โดยมีการจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรืออาคารที่ ก่อสร้างนั้นเป็นประกันการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสร้างอาคารดังกล่าว ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเท่ากับ จํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีในปีภาษีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์นั้น
(6) อาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดนั้น ผู้มีเงินได้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประกอบ กิจการ หรือเพื่อการอื่นก็ได้
(7) กรณีสามีและภริยาร่วมกันซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุด หรือที่ดินพร้อมกับ ว่าจ้างก่อสร้างอาคารในที่ดินหลายแห่ง ให้ยกเว้นภาษีแต่เพียงแห่งแรกแห่งเดียว
(8) ถ้าสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่ เกินจํานวนตามที่กําหนดใน (4) และ (5)
(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้วต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษี ดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจํานวนตามที่กําหนดใน (4) และ (5)
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการ และเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันตามจํานวนที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกินจํานวนที่กําหนดใน (4) และ (5)
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและ เสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้ กึ่งหนึ่งของจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจํานวนตามที่กําหนดใน (4) และ (5)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุด หรือที่ดินเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว หากผู้มีเงินได้ถือครอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวน้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้น ภาษีตามข้อ 1. ในการนี้ ผู้มีเงินได้จําเป็นต้องปรับปรุงการคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้มีการใช้สิทธิ ยกเว้นภาษีดังกล่าวไปแล้ว โดยการปรับปรุงดังกล่าวมีเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีตามข้อ 1. ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้ขายหรือ ผู้รับจ้างที่พิสูจน์ได้ ว่าได้มีการจ่ายเงินตามสัญญาภายในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีตามข้อ 1. ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจาก เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,459 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 97) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญของนิติบุคคลเฉพาะกิจ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 97)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์สําหรับเงินสํารองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญของนิติบุคคลเฉพาะกิจ
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์สําหรับเงินสํารองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญของนิติบุคคลเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีการกันสํารองตามปกติทั่วไป กําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ กันสํารองไว้เป็นอัตราร้อยละของยอดลูกหนี้รวมในอัตราไม่เกินอัตราหนี้สูญในอดีตของลูกหนี้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับลูกหนี้ตามโครงการที่ได้ยื่นไว้กับสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้ยื่นโครงการได้แสดงไว้ในเอกสารเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน
ข้อ ๒ กรณีการกันสํารองตามมูลเหตุเฉพาะของลูกหนี้แต่ละราย กําหนดให้กันสํารองไว้ ดังนี้
(1) ส่วนดอกเบี้ยค้างชําระ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชําระหนี้ได้ตาม กําหนด ให้กันสํารองไว้เท่ากับจํานวนดอกเบี้ยที่ได้รับรู้เป็นรายได้ไปแล้วทั้งจํานวน
(2) ส่วนเงินต้น ให้กันสํารองไว้เป็นอัตราร้อยละของเงินต้น ตามระยะ เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ย ดังนี้
(ก) ลูกหนี้ค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ ให้กันสํารองไว้ไม่เกินร้อยละ 2 ของเงินต้นที่ค้างชําระทั้งหมด
(ข) ลูกหนี้ค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ ให้กันสํารองไว้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินต้นที่ค้างชําระทั้งหมด
(ค) ลูกหนี้ค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ ให้กันสํารองไว้ไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินต้นที่ค้างชําระทั้งหมด
(ง) ลูกหนี้ค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 12 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ ให้กันสํารองไว้ไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินต้นที่ค้างชําระทั้งหมด
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,460 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 96) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความ ตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร (ยกเลิกตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 126) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 96)
เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความ ตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร (ยกเลิกตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 126)
---------------------------------------------------------
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความและยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 35) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2533
ข้อ ๒ ให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ แบบแจ้งข้อความตามข้อ 2 ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,461 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 95) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 95)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 54 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 54 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 325) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน หรือนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จําหน่ายเงินกําไร แล้วแต่กรณี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๔ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ต้องนําส่งเงินภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การนําส่งเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การนําส่งภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,462 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 94) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 94) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อใช้ยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสามของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการ เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
“แบบแสดงรายการตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) ใช้ยื่นโดยแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดก็ได้ โดยผู้ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องยื่นคําขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,463 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ.2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อ การเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 หรือข้อ 2 ในปีใดเมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมตามข้อ 8 แล้ว และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่ เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 และข้อ 2 นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
ข้อ 4 กรณีผู้มีเงินได้ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทุพพลภาพผู้มีเงินได้จะไม่ซื้อหน่วยลงทุนต่อไป หรือจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในปีใดปีหนึ่ง และจะซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 1(1) และข้อ 2 วรรคสอง
ข้อ 5 กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นไม่ว่าจะโอนไปยัง กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5 วันทําการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ 6 การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วย ลงทุนตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น
กรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการต้องไม่เกิน 300,000 บาท”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 7 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ผู้มีเงินได้ต้องมี หลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ”
ข้อ 8 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 6 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 6 และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ในการเสียภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว ได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,464 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 92) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ย เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ หรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 92) เรื่อง
กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ย เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ หรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 375) พ.ศ.2543 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นโดยตรงเนื่องจากการดําเนินธุรกิจการค้าหรือ วิชาชีพหรือเกี่ยวเนื่องโดยตรงต่อทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้
ข้อ ๒ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อม ที่จะใช้ได้ตามประสงค์ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
(2) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่ จะใช้ได้ตามประสงค์ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
กรณีที่เงินกู้มานั้นได้นําไปใช้เพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือใช้ใน กิจการอื่น ๆ รวมกัน ในการคํานวณตาม (1) และหรือ (2) ให้นําดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินมาคํานวณเท่านั้น
ข้อ ๓ เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อ 2(2) แล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องไม่นําดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวไปรวมคํานวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการ ลงทุน หรือไปหักเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,465 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้รับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพราะเหตุสูงอายุทุพพลภาพ หรือตาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้รับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพราะเหตุสูงอายุทุพพลภาพ หรือตาย
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (56) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ.2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้รับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(1) กรณีเหตุสูงอายุ ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ และถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ให้นับเฉพาะปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุน และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ.2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ที่จะนํามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้อีกต่อไป
(3) กรณีตาย ต้องเป็นกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถึงแก่ความตายในระหว่างการ ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย
ข้อ ๒ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่จะได้รับยกเว้นตามข้อ 1 จะต้องคํานวณจากเงินได้พึงประเมินที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ.2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,466 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 310) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 310)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 306) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้มีเงินได้ตามข้อ 1 จะต้องมีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งได้รับสิทธิและประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 4/2560 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกลงวันที่ 16 มีนาคม 2560 ดังนี้
(1) กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้นจะต้องมีเงินได้ดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน
(2) กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย และกิจการอื่น จะต้องกําหนดในสัญญาจ้างแรงงานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงินได้ในส่วนที่ปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน โดยจะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2560 เฉพาะเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามสัญญาจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใดๆ ที่ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับจากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้น และได้กําหนดไว้ในสัญญาจ้างแรงงานอย่างชัดเจน”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,467 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ยกเลิกตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 171) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ยกเลิกตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 171)
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วย ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
(2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปี บริบูรณ์ หรือเมื่อผู้มีเงินได้นั้นถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
(3) ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 132) ใช้บังคับ 3 กันยายน 2547 เป็นต้นไป )
ข้อ ๒ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามข้อ 1
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งต้องมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 หรือข้อ 2 ในปีใดเมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมตามข้อ 8 แล้ว และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่ เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 และข้อ 2 นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทุพพลภาพผู้มีเงินได้จะไม่ซื้อหน่วยลงทุนต่อไป หรือจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในปีใดปีหนึ่ง และจะซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 1(1) และข้อ 2 วรรคสอง
ข้อ ๕ กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นไม่ว่าจะโอนไปยัง กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5 วันทําการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๖ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วย ลงทุนตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น
กรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการต้องไม่เกิน 300,000 บาท”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 ม.ค. 2544 เป็นต้นไป)
ข้อ ๗ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ข้อ ๘ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 6 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 6 และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ในการเสียภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว ได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
"ข้อ 8/1 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว"
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 119) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 ม.ค 2544 เป็นต้นไป)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,468 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 89) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 89)
เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้ยื่นรายการต่อ เจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2 ทวิ) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2531 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 71) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2 ทวิ) แบบ ภ.ง.ด.92 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เพียงประเภทเดียวที่ยื่นแบบแสดงรายการด้วยข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,469 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมจากผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคาร
(ข) บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) บริษัทประกันชีวิต
(ง) สหกรณ์
(จ) นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
(ฉ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
(3) ต้องจํานองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจํานองตามระยะเวลาการกู้ยืม
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 103) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป)
(5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษีเกินกว่า 1 แห่ง ให้ได้รับยกเว้นภาษีทุกแห่งสําหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3)
(6) ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
(7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้ได้รับยกเว้นภาษีทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนจํานวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
(8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีดังนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 40,000 บาท
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันตามจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่รวมกันไม่เกิน 40,000 บาท
(10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม (1) ให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
ข้อ ๒ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ 1 ให้หมายความรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสําหรับเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระนั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,470 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 87) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 87)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 84) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
(3) ต้องจํานองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจํานองตามระยะเวลาการกู้ยืม
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 102) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป)
(5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษีเกินกว่า 1 แห่ง ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งสําหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3)
(6) ให้ได้รับยกเว้นภาษีตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
(7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนจํานวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจํานวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 50,000 บาท
(8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีดังนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้น ภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจํานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 50,000 บาท
(10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม (1) ให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
ข้อ ๓ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ 2 ให้หมายความรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสําหรับเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระนั้น
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม (52) และหรือ (53) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับลดหย่อนและได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันต้องไม่เกิน 50,000 บาท
ข้อ ๖ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,471 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 309) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภารเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 309)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภารเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (69) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 250 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ดังต่อไปบี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน ข้อ 5 และข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราฃอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝาก ตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ต้องแจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้ ตามหนังสือแจ้งการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปและผู้มีเงินได้มีอายุไม่ตํ่ากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ต่อธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากก้อนหรือในขณะรับดอกเบี้ย เงินฝากดังกล่าว และให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากเก็บหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อให้เจ้าพนักงาน ประเมินตรวจสอบต่อไป
ในกรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องแจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้อีก
ข้อ 6 ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินที่แจ้ง ต่อธนาคารตามข้อ 5 และข้อมูลการฝากเงินของผู้ฝากเงินต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยให้ส่งเป็นสื่อบันท้กข้อมูลของผู้ฝากเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับดอกเบี้ย เงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปและผู้มีเงินได้มีอายุไม่ตํ่ากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
การส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินตามวรรคหนึ่ง สําหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ให้ส่งภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้แจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้ตามหนังสือแจ้ง การขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้ส่งข้อมูลการฝากเงินของผู้ฝากเงิน ที่ได้กระทําไปก่อนวันที่ที่ลงในประกาศนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,472 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 24) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2529
ข้อ ๒ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมจากผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคาร
(ข) บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) บริษัทประกันชีวิต
(ง) สหกรณ์
(จ) นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
(ฉ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
(3) ต้องจํานองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจํานองตามระยะเวลาการกู้ยืม
“(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อน แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 101) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป)
(5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนได้ทุกแห่งสําหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3
(6) ให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
(7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้หักลดหย่อนได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจํานวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจํานวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 10,000 บาท
(8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลดหย่อนสําหรับผู้มีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
“(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้วต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท และหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 238) ใช้บังคับกับการหักลดหย่อนสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
(10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม (1) ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ข้อ ๓ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ 1 ให้หมายความรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสําหรับเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระนั้น
ข้อ ๔ การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่า ได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเป็นผู้ประกอบกิจการตามข้อ 2 (1) (ก) (ข) (ค) และ (ฉ) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทําสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม
(2) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้ทําสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินนั้น”
“ข้อ 4/1 เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 4 ต้องส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมดังกล่าวแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 396) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2564 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,473 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 85) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 85)
เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 1 วรรคหนึ่ง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2540
“(8) การก่อสร้างถนนและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลผู้รับโอนได้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในถนนดังกล่าว”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,474 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออก จากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของ (ข) ของข้อ 2 แห่งประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2541
“ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีการจ่ายเงินได้ตามข้อ 1 ให้แก่ ข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี วัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของ (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2541
“ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการ ตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ และได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานตามโครงการดังกล่าว โดยให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือก เสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้ง จํานวน”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของ (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2541
“ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการ ตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณ อายุ โดยได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานตามข้อ 1(ก) และยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงานตามโครงการดังกล่าวอีก โดยให้นําเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือก เสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้ง จํานวน”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,475 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ขายและ ผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทำกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 82)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ขายและ ผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้
(1.1) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้)
(ก) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย
(ฉ) บริษัทมหาชนจํากัดนอกจากบริษัทตาม (ข) - (จ)
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ซ) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(ฌ) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ฑ) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
“(ณ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ด) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 149) ใช้บังคับ 5 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)
(1.2) คู่สัญญาที่เป็นผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ได้อย่างเดียวเท่านั้น ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (1.1)
“(1.3) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้) ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ลงทุนทั่วไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 153) ใช้บังคับ 22 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
“(3) ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะคืนหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนดซื้อคืนตามสัญญาหรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
กรณีผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ส่งมอบหลักทรัพย์คืนให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ภายในกําหนดเวลา และผู้ขายหลักทรัพย์ได้ซื้อหลักทรัพย์มาคืนตนเองภายในกําหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ผิดนัด ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์ซื้อมานั้น เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับคืนตามวรรคหนึ่ง
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับที่นํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืน มาเพิ่มหรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่นํามาเพิ่มหรือหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนตามวรรคหนึ่งด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 144) ใช้บังคับ 6 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป)
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้นมีจํานวนหรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์ ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 105) ใช้บังคับ 20 เมษายน 2545 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ในระหว่างที่มีการขายหลักทรัพย์ตามสัญญาขายหรือซื้อคืนหลักทรัพย์และผู้ขายหลักทรัพย์ยังไม่ได้ซื้อคืนหลักทรัพย์ตามสัญญา หากผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีการนํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืนมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องจ่ายคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ขายหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ต้องไม่นํามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนในจํานวนที่เท่ากับส่วนเกินมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ มารวมเป็นต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนหรือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ต้องไม่นํามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนส่วนที่เกินจากมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้ขายไป มารวมเป็นมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืน แต่ให้นําไปถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2543
เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,476 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 195 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) วรรคหนึ่ง ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 59) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ และ
(ก) เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
(ข) เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในระหว่างวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2537 ถึงวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2538 และได้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2543 ซึ่งมีระยะเวลาที่ทํางานกับนายจ้างนั้นก่อนเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจํา พ.ศ. 2537 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,477 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 79) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 79)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 362) พ.ศ.2542 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องทําข้อตกลงกับสถาบันการเงินผู้ถือหุ้น และสถาบันการเงินผู้ถือหุ้นต้องยินยอมหักรายจ่ายอื่นที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับเงินปันผลลดลงเป็นจํานวนเท่ากับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น
รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับเงินปันผลตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้จ่ายเงินปันผลประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น
ข้อ ๒ บริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินที่ทําข้อตกลงตาม ข้อ 1 ต้องนําส่งสําเนาข้อตกลงดังกล่าวให้กรมสรรพากรพร้อมการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50)
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,478 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 308) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 308)
เรื่อง กําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 331 (พ.ศ. 2560) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามหมื่นบาท ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) รถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยซึ่งได้รับการซ่อมแซมต้องเป็นรถตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์หรือตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก โดยรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก ในรถนั้นได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
พื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนี่ง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ กรณีในกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศชองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ หรือกรณีผู้มีเงินได้เป็น ผู้เช่าซื้อต้องมีหลักฐานแสดงการเช่าซื้อรถ ซึ่งเป็นรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โนรถ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขายรถ ใบคู่มือจดทะเบียนรถซึ่งมีชื่อผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ เอกสารตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถ หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในรถ
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อรถ ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่าซื้อ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงได้ว่า ผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อรถ
(ค) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา รถที่สามีภริยาได้กรรมสิทธิ์มาระหว่างสมรสและเป็นสินสมรส ซึ่งสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ โดยผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาไม่มีชื่อในเอกสารที่แสดง ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ หลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ ได้แก่ หลักฐานตาม (ก) ที่มีชื่อของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ประกอบกับใบทะเบียนสมรส
(3) กรณีผู้มีเงินได้ตาม (6) เป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินสามหมื่นบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยให้เฉลี่ยการได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ตามส่วนของค่าซ่อมแซม ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ และอุปกรณ์และสิ่งอํานวย ความสะดวกในรถที่ผู้มีเงินได้ซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซ่อมแซมนั้นได้จ่ายไปในการซ่อมแซม แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคัน ให้ผู้มีเงินได้ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นแต่ละคันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่เมื่อรวมทุกคันแล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาท
(4) การจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวย ความสะดวกในรถหนึ่งคันตาม (3) หมายความว่า ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ ในการซ่อมแซมรถ และอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกในรถ ซึ่งเป็นรถที่ได้รับความเสียหายจาก เหตุอุทกภัยตาม (1) เช่น ระบบแอร์ ระบบเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่างรถยนต์ สี เบาะ วิทยุ เป็นต้น
(5) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว โดยสามีหรือภริยาจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจาก เหตุอุทกภัยตาม (1) ที่สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถนั้น ให้สามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่สามีหรือภริยาได้จ่ายไปนั้น ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
(6) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุ หรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจาก เหตุอุทกภัยตาม (1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องจัดทําแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) เอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดไกในรถที่เสียหายเนื่องจากเหตุอุทกภัยที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของ ผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจํานวนเงินที่จ่าย หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินไต้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้น
(2) เอกสารหลักฐานตามข้อ 1 (2)
ผู้มีเงินได้จะยื่นแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาพถ่ายเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้น่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,479 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 77) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การถือหุ้นโดยอ้อมใน บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และ สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 77)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การถือหุ้นโดยอ้อมใน บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และ สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 362) พ.ศ.2542 และข้อ 6 เบญจ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 225 (พ.ศ.2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการถือหุ้นโดยอ้อมในบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การถือหุ้นโดยอ้อมในบริษัทบริหารสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
(2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้บุคคลอื่นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไว้แทนตน ซึ่งเมื่อรวมกับการถือหุ้นโดยตรงแล้วเกินร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
ให้นําหลักเกณฑ์การถือหุ้นโดยอ้อมตามวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับกรณีที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ในบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยอนุโลม
ข้อ ๒ การถือหุ้นโดยอ้อมในบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดสําหรับการซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทอื่นเกินอัตราที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,480 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 307) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 307)
เรื่อง กําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 331 (พ.ศ. 2560) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซม ทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรือ อุปกรณ์ในการซ่อนแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคาร หรือทรัพย์สินที่ประกอบ ติดตั้งในลักษณะถาวรทับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรทับห้องชุดในอาคารชุด แต่รวมทันทั้งหมดแล้วไม่เกินหนึ่งแสนบาท ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) ทรัพย์สินที่ได้รับการซ่อมแซมต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคาร หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรทับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
พื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ กรณีในกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้เช่าอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากอาคารหรือห้องชุด ในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยนั้นเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่น แล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขาย หนังสือขออนุญาต ปลูกสร้างอาคาร หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่า ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่า หรือหลักฐานอื่นที่แสดงได้ว่ามีการเช่า
(ค) กรณีผู้มีเงินได้ได้ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่น ได้แก่ หลักฐานการรับรองจากเจ้าของทรัพย์สินว่าผู้มีเงินได้ได้ใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัย หรือใช้ในการบระกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่นใดโดยให้ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าใช้ประโยชน์ใด
(ง) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่สามีภริยาได้มาระหว่าง สมรสและเป็นสินสมรสซึ่งสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดโดย ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาไม่มีชื่อในเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดนั้น หลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ได้แก่ หลักฐานตาม (ก) ที่มีชื่อของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ประกอบกับใบทะเบียนสมรส
(3) กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) เป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซม ทรัพย์สินแห่งหนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่ง ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการจ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยให้เฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามส่วนของค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุและค่าอุปกรณ์ในการซ่อมแซมที่ผู้มีเงินได้ซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ได้จ่ายไปในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน หนึ่งแสนบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับ ความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับ เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นแต่ละแห่งตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่เมื่อรวมทุกแห่งแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(4) การจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งตาม (3) หมายความว่า ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็น อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร และอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตอาคาร และทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้ง ในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรือ อยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบติดตั้งอยู่กับอาคาร เครื่องสุขภัณฑ์ที่ติดตั้งติดอยู่ในอาคาร หรือในเขตอาคาร ประตู หน้าต่าง รั้ว ประตูรั้ว สนามหญ้า สระว่ายน้ํา บ่อเลี้ยงปลา ระบบประปา เช่น แท็งก์น้ํา ปั๊มน้ํา ท่อน้ํา ระบบบําบัดน้ําเสีย เข่น บ่อหรือถังบําบัดน้ําเสีย ระบบไฟฟ้า เข่น หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นต้น หรือเป็นการจ่ายค่าซ่อมแซมหรือ ค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นห้องชุดในอาคารชุด และทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรือ อยู่ในบริเวณเดียวกัน
(5) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว โดยสามีหรือภริยาจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ที่สามีภริยาต่างฝ่าย ต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้สามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเวันภาษีเงินได้สําหรับ ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่สามีหรือภริยาได้จ่ายไปนั้นตาม หลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
(6) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุ หรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่าย ต่างได้รับยกเวันภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องจัดทําแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้น ภาษีเงินได้ โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) เอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่แสดงชื่อ พร้อมที่อยู่และลายมีอชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจํานวนเงิน ที่จ่าย หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น
(2) เอกสารหลักฐานตามข้อ 1 (2)
ผู้มีเงินได้จะยื่นแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาพถ่ายเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึง มาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,481 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 76) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีสมาชิกกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 76)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีสมาชิกกองทุนบําเหน็จ บํานาญข้าราชการออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(44) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 208 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับกรณีสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรณีเหตุสูงอายุ
(ก) สําหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว หรือลาออกเมื่ออายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
(ข) สําหรับสมาชิกซึ่งลาออกจากราชการเมื่อมีเวลาราชการยี่สิบห้าปีขึ้นไปแต่อายุไม่ครบห้าสิบปีบริบูรณ์ และได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอาย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,482 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 306) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เขี่ยวขาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 306)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เขี่ยวขาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย
---------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้บริหาร ผู้เขี่ยวชาญ หรือนักวิจัยที่ปฏิบัติงานเป็นลูกจ้าง เนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยองตามสัญญาจ้างแรงงาน จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2460 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นผู้บริหาร
(ก) มีประสบการณ์การทํางานในต่างประเทศในตําแหน่งระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป และต้องทํางานหรือเคยทํางานในต่างประเทศในทุกตําแหน่งระดับรวมกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือ
(ข) มีประสบการณ์การทํางานในต่างประเทศในตําแหน่งระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และต้องทํางานหรือเคยทํางานในต่างประเทศในทุกตําแหน่งระดับรวมกับตําแหน่งระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปมาแล้วรวมกันตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
(2) กรณีเป็นผู้เชี่ยวชาญ
(ก) ต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(ข) ต้องปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายในด้านที่เกี่ยวข้องกับหรือเป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
(ค) ต้องมีประสบการณ์การทํางานในต่างประเทศในด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเป็นประโยชน์แก่การนํามาปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ดังนี้
1) กรณีสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องทํางานหรือเคยทํางานในด้านดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ
2) กรณีสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ต้องทํางานหรือเคยทํางาน ในด้านดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี
(3) กรณีเป็นนักวิจัย
(ก) ต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
(ข) ปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาตามสัญญาจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายในด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเป็นประโยชน์ในการนํามาวิจัยและพัฒนาแก่อุตสาหกรรมเป้าหมายด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
(ค) ต้องมีประสบการณ์ในการทํางานวิจัยและพัฒนาในต่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเป็นประโยชน์ในการนํามาวิจัยและพัฒนาแก่อุตสาหกรรมเป้าหมายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยต้องทํางานวิจัยและพัฒนาในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนในต่างประเทศ ดังนี้
1) ประสบการณ์ในการทํางานวิจัยและพัฒนาดังกล่าว ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่ถึง 5 ปี และมีผลงานวิจัยและพัฒนาที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ หรือได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยหรือในต่างประเทศในนามของตน หรือในนามของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนที่ตนทํางานอยู่ หรือในนามของผู้ว่าจ้างอื่น หรือ
2) ประสบการณ์ในการทํางานวิจัยและพัฒนาดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ตามข้อ 1 จะต้องมีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งได้รับสิทธิและประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 4/2560 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ 16 มีนาคม 2560 หรือประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 6/2561 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้
(1) กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้นจะต้องมีเงินได้ดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน
(2) กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายและกิจการอื่นจะต้องกําหนดในสัญญาจ้างแรงงานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงินได้ในส่วนที่ปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน โดยจะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2560 เฉพาะเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 335) ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
“เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามสัญญาจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ที่ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับจากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้น และได้กําหนดไว้ในสัญญาจ้างแรงงานอย่างชัดเจน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 310) ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นนายจ้างของผู้มีเงินได้ตาม 1. แจ้งชื่อผู้มีเงินได้ ที่เป็นลูกจ้างซึ่งจะใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารประกอบด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หรือด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,483 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 75) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 75)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การ คํานวณกําไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สําหรับเงินได้ จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1)(ข) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การ ยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทาง ทะเลระหว่างประเทศ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) กรณีผู้ประกอบการขนส่งประเภทเรือจรที่ไม่มีกําหนดเวลาเดินทาง ที่แน่นอน หมายความถึง รายได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล ทั้งการรับขนของทางทะเล ประเภท Voyage Charter ซึ่งจะต้องมีการออกเอกสาร Charter Party หรือการรับ ขนของทางทะเลประเภท Time Charter ที่ผู้ประกอบการขนส่งเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ประจําในการบริหารเรือ เช่น การดูแลรักษาเรือ การประกันภัย การจัดหากัปตันเรือและ ลูกเรือ และการตรวจสภาพเรือ ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายผันแปรอันเนื่องมาจากการใช้เรือ เช่น ค่าน้ํามันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายในการเทียบท่า ค่านําร่อง และค่าขนถ่ายสินค้า”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,484 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 305) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 305)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
---------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 625) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่าที่ ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของเงินได้เท่าที่ ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) จ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดซึ่งไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน และได้ติดตั้ง ณ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(3) ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้จ่าเป็นการจ่าย ค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดดังกล่าว ตั้งแต่รันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงรันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคํานวณหักค่าใช้จ่าย ตามความจําเป็นและสมควร
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อย ของเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการจ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดซึ่งไม่ผ่านการใช้งาน มาก่อน และได้ติดตั้ง ณ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(2) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวช้องกับทรัพย์สินนั้นตาม พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(3) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นําไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(4) ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่า เป็นการจ่าย ค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดดังกล่าว สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(5) ต้องเริ่มต้นทัก่ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกิน วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้สิทธิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มีการจ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์ วงจรปิดนั้น
ข้อ ๓ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว แต่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 625) พ.ศ. 2560 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องนําเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วรวมเป็นเงินได้ในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือรวมเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นั้นได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้เพิ่มเติมสําหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,485 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 (1) และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่าย เพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเติม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ต้องเป็นเงินได้ ที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็น การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์
(2) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(3) ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนําออกให้เช่า
(4) อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย
ข้อ ๒ ทรัพย์สินตามข้อ 1(1) (2) และ (3) ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้น ซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณีที่ได้กระทําตั้งแต่จันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงจันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 หรือ
(2) ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 แต่การจ่ายเงินเพื่อการลงทุน ยังไม่ได้จ่ายให้ครบถ้วนตามจํานวนที่ตกลงกันไว้
ข้อ ๓ ทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้
(ก) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กรณีขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ไม่ว่าจะมีการขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารนั้นหรือไม่ก็ตาม ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยต้องไม่มีการลงทุน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตามใบอนุญาตดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 หรือ
(ข) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กรณีแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยต้องไม่มีการลงทุน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตามการแจ้งดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 หรือ
(ค) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสันที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 หรือ
(2) ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 แต่การจ่ายเงินเพื่อการลงทุน ยังไม่ได้จ่ายให้ครบถ้วนตามจํานวนที่ตกลงกันไว้ การลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา
ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2 และข้อ 3 ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินใต้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาดังนี้
(1) ทรัพย์สินตามข้อ 1(1) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 1(2) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 1(3) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ 6ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามข้อ 4 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
(1) กรณีการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2(1) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ประมวลรัษฎากร
(2) กรณีการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2(2) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
(ก) กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่ใช่เครื่องจักร ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยการจ่ายเงินนั้นจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้เริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(ข) กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นเครื่องจักร ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นดังนี้
1) กรณีเครื่องจักรนั้นได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2560โดยการจ่ายเงินนั้นจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้เริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2) กรณีเครื่องจักรนั้นยังไม่ได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลา บัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นอาคารเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 3(1) ให้เริ่ม ใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) กรณีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นอาคารเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 3(2) ให้เริ่ม ใช้สิทธิยกเว้นดังนี้
(ก) กรณีอาคารนั้นได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยการจ่ายเงินนั้นจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้เริ่มต้นใช้สิทธิ ยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(ข) กรณีอาคารนั้นยังไม่ได้เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ให้บริษัทหรือห้างหันส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 4 ที่นํา ทรัพย์สินตามข้อ 1 ไปใช้ในโครงการที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยขน์ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มี การลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจาก รอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง
ข้อ ๗ ให้บริษัทหรือห้างหันส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ดําเป็นการดังนี้
(1) กรณีเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ข้อ 2(1) และข้อ 3(1) ให้จัดทําโครงการ ลงทุนและแผนการลงทุนตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(2) กรณีเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ข้อ 2(2) และข้อ 3(2) ให้แจ้งแผนการจ่ายเงินตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(3) จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการ และข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําขึ้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,486 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 303) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (4) และมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 303) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (4) และมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราซกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนี่งของ (ข) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(4) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2435 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) ในกรณีที่มีการจ่ายเงินได้ตามข้อ 1 ไม่ว่าจะจ่ายหรือแบ่งจ่ายจากเงินประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้เฉพาะเงินได้ที่ได้จ่าย ในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้ดังกล่าวเท่านั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ.2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,487 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 302) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 302)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราขกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 637) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรม เป้าหมายด้งต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซี่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย และได้รับการรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิต และการให้บริการจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งซาติ ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้น ภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 637) พ.ศ. 2560 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติ เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยต้องกรอกคําขออนุมัติ ตามแบบ ร.ม.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร httpy/www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งซาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
การยื่นคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคําร้องขอนั้นด้วย
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับอนุมัติตามข้อ 1 แล้ว ที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราขกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 637) พ.ศ. 2560 ยื่นคําขอตามแบบแจ้งเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายสําหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ร.ม.2) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้อง แนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF มาพร้อมกับคําขอด้วย
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเนินไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฉบับเดียว โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,488 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 301) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยซน์โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝาก | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 301)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยซน์โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝาก
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (94) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 326 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคาร ที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมาย จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งการฝากเงินนั้นมีข้อตกลงว่าผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยชน์ โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของผู้ฝาก และมีกําหนดระยะเวลาการฝากเงินตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) จะต้องเป็นการฝากเงินที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้จ่ายเงินฝากนั้น และการฝากเงินนั้นจะต้องฝากในนามของผู้มีเงินได้
(2) กรณีที่มีข้อกําหนดให้ผู้ฝากเงินได้รับเงินหรือผลประโยขน์คืนในระหว่างการฝากเงินต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(ก) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินฝากรายปี หรือ
(ข) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่ฝากเงิน เซ่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 4 ปี เป็นต้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินฝากสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ฝากเงินที่ ผู้รับฝากกําหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน หรือ
(ค) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนที่ไม่เป็นไปตาม (ก) หรือ (ข) ผลรวมของเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินฝากทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้ เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ไม่รวมเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อการฝากเงินครบกําหนดแล้ว หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการฝากเงิน
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับจํานวนเงินที่ฝากไว้กับผู้รับฝากเงินจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมีนที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษี ตาม่จํานวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันโดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตน เป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมิให้ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับสิทธิยกเว้นดังนี้
1) กรณียื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
2) กรณีแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับค่าลดหย่อน ตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตามข้อ 2 (61) วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 326 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
(1) กรณีการฝากเงินตามข้อ 1 ที่ได้เริ่มทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคารผู้รับฝากเงิน
(2) กรณีการฝากเงินตามข้อ 1 ที่ได้ทําก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคารผู้รับฝากเงิน ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากธนาคารผู้รับฝากเงินที่พิสูจน์ได้ว่า มีการส่งเงินฝากตามข้อ 1
กรณีการฝากเงินตามข้อ 1 ที่ธนาคารผู้รับฝากเงินมีข้อกําหนดให้ผู้รับฝากได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุการฝากเงิน หลักฐานตามวรรคหนึ่งตองระบุเงื่อนไขตามข้อ 1 (2) ด้วย”
“ข้อ 3/1 ธนาคารผู้รับฝากเงินที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 3 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 363) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2562 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
“กรณีธนาคารผู้รับฝากเงินได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้ธนาคารผู้รับฝากเงินแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 387) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 แล้ว และต่อมาไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 และต้องเสียภาษีเงินได้ สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินฝากตามข้อ 1 ไปหักออกจากเงินได้ เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้ว นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มิเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,489 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 300) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 300)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือ การต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 270) เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตาม มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานห้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กรณีขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ไม่ว่าจะมีการขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารนั้นหรือไม่ก็ตาม ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยต้องไม่มีการลงทุนหรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้น ซึ่งทรัพย์สินตามใบอนุญาตดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กรณีแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยต้องไม่มีการลงทุน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ตามการแจ้งดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 หรือ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,490 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 299) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 299)
เรื่อง กําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 329 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามีหมื่นบาท ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) รถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยซึ่งได้รับการซ่อมแซมต้องเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ได้ยรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
พื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมได้ยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ทั้งนี้กรณีในกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ หรือกรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อต้องมีหลักฐานแสดงการเช่าซื้อรถ :ซึ่งเป็นรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขายรถ ใบคู่มือจดทะเบียนรถซึ่งมีชื่อผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ เอกสารตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถ หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อรถ ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่าซื้อ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อรถ
(ค) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา รถที่สามีภริยาได้กรรมสิทธิ์มาระหว่างสมรสและเป็นสินสมรสซึ่งสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ ได้ยผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาไม่มีชื่อในเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ หลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ ได้แก่ หลักฐานตาม (ก) ที่มีชื่อของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ประกอบกับใบทะเบียนสมรส
(3) กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) เป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินสามีหมื่นบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคัน ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนซึ่งใช้ทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ได้ยให้เฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วนของค่าซ่อมแซม ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ และอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ผู้มีเงินได้ซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับการซ่อมแซมนั้นได้จ่ายไปในการซ่อมแซม แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินสามีหมื่นบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคัน ให้ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นแต่ละคันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่เมื่อรวมทุกคันแล้วต้องไม่เกินสามีหมื่นบาท
(4) การจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันตาม (3) หมายความว่า ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุและอุปกรณที่ใช้ในการซ่อมแซมรถ และอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกในรถ ซึ่งเป็นรถก็ได้รับความเลียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) เช่น ระบบแอร์ ระบบเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่างรถยนต์ สี เบาะ วิทยุ เป็นต้น
(5) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้ยสามีหรือภริยาจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ที่สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถนั้น ให้สามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าที่สุดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแชมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่สามีหรือภริยาได้จ่ายไปนั้น ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
(6) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องจัดทําแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) เอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์การซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่เสียหายเนื่องจากเหตุอุทกภัยที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจํานวนเงินที่จ่าย หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้น
(2) เอกสารหลักฐานตามข้อ 1 (2)
ผู้มีเงินได้จะยื่นแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาพถ่ายเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถตามข้อ 1 ได้ให้ใช้สิทธิได้ในปีภาษี 2559 และปีภาษี 256o และหากผู้มีเงินได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถทั้งสองปีภาษี ให้ได้รับยกเว้นตามที่ได้จ่ายจริงในแต่ละปีภาษีแต่รวมกันสองปีภาษีแล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,491 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 298) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สาหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติตตั้งในลักษณะถาวรกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 298)
เรื่อง กําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สาหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติตตั้งในลักษณะถาวรกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 329 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคาร หรือทรัพย์ที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินหนึ่งแสนบาท ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) ทรัพย์สินที่ได้รับการซ่อมแซมต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคารหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ของอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31พฤษภาคม พ.ศ.2560 และอยู่ในพื้นที่ที่สางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
พื้นที่ที่สางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 ซึ่งแก้ไขโดยเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ทั้งนี้กรณีในกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้เช่าอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยนั้นเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่น แล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขาย หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่า ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่า หรือหลักฐานอื่นที่แสดงได้ว่ามีการเช่า
(ค) กรณีผู้มีเงินได้ได้ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่นได้แก่ หลักฐานการรับรองจากเจ้าของทรัพย์สินว่าผู้มีเงินได้ได้ใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัย หรือใช้ในการประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่นใดโดยให้ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าใช้ประโยชน์ใด
(ง) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่สามีภริยาได้มาระหว่างสมรสและเป็นสินสมรสซึ่งสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดโดยผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาไม่มีชื่อในเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดนั้นหลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ได้แก่ หลักฐานตาม (ก) ที่มีชื่อของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ประกอบกับใบทะเบียนสมรส
(3) กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) เป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งที่รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุ หรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกวาหนึ่งคน ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการจ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยให้เฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วนของค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุและค่าอุปกรณ์ในการซ่อมแซมที่ผู้มีเงินได้ซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ได้จ่ายไปในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่า1หนึ่งแห่ง ให้ผู้มีเงินได้ได้รบสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นแต่ละแห่งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่มือรวมทุกแห่งแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(4) การจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งตาม (3) หมายความว่า ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร และอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตอาคาร และทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบติดตั้งอยู่กับอาคาร เครื่องสุขภัณฑ์ที่ติดตั้งติดอยู่ในอาคารหรือในเขตอาคาร ประตู หน้าต่าง รั้ว ประตูรั้ว สนามหญ้า สระว่ายน้ํา บ่อเลี้ยงปลา ระบบประปา เช่น แท็งน้ํา ปั๊มน้ํา ท่อน้ํา ระบบบําบัดน้ําเสีย เช่น บ่อหรือถังบําบัดน้ําเสีย ระบบไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นต้น หรือเป็นการจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นห้องชุดในอาคารชุดและทรัพย์สินที่ประกอบติตตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน
(5) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว โดยสามีหรือภริยาจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ที่สามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้สามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าซ่อมแซมทรัพย์สินหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่สามีหรือภริยาได้จ่ายไปนั้นตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
(6) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องจัดทําแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) เอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจํานวนเงินที่จ่าย หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น
(2) เอกสารหลักฐานตามข้อ 1 (2)
ผู้มีเงินได้จะยื่นแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาพถ่ายเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประการนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึง มาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรเเล้ว
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินตามข้อ 1 โดยให้ใช้สิทธิได้ในปีภาษี 2559 และปีภาษี 2560 และหากผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินดังกล่าวทั้งสองปีภาษี ให้ได้รับยกเว้นตามที่ได้จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่รวมกันสองปีภาษีแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,492 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 297) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 297)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 68 และมาตรา 6 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบันที่ 296) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา กรณีวันสุดท้ายของการยื่นบัญชีดังกล่าวตรงกับวันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชีดังกล่าวในหรือหลังแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,493 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 296) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 296)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 68 และมาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแนบแสตงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนขบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามนาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นบัญชีดังกล่าวตรงกับวันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชีดังกล่าวในหรือหลังแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,494 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 295) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้อานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนได้รับเมื่อออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 295)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้อานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนได้รับเมื่อออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (57) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนได้รับเมื่อออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินใด้ (ฉบับที่ 99) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน ออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ พุทธภาพ หรือตาย ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
ข้อ ๒ เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีเหตุสูงอายุ ผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนต้องออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ และมีระยะเวลาทํางานกับโรงเรียนเอกชนที่ทํางานอยู่ก่อนออกจากงานไม่น้อยกว่า 10 ปีบริบูรณ์
(2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนผู้นั้นไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
(3) กณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานหรือไม่
ทั้งนี้ ผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนต้องมีการส่งเงินสมทบเข้ากองทุน สงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และต้องมีหลักฐานจากโรงเรียนเอกชนเพื่อรับรองว่าผู้อํานายการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดง
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงรับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,495 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 294) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงือนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 294)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงือนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (1) และ (6) และมาตรา 7 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 628) พ.ศ.2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษีเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้มีเงินได้ที่เป็นแรงงานฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 628) พ.ศ.2560 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นแรงงานฝีมือ
(1.1) ต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่าขึ้นไป
(1.2) ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 2 ในแต่ละสาขา ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ
(1.3) กรณีทํางานในสายงานที่ตรงวุฒิการศึกษา ต้องมีประสบการณ์การทํางานในสายงานดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 ปี เว้นแต่ทํางานในสายงานอื่นที่ไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา จะต้องมีประสบการณ์การทํางานในสายงานนั้นไม่น้อยกว่า 8 ปี โดยต้องมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างรายหนึ่งรายใด หรือหลายรายที่แสดงถึงระยะเวลาการทํางานรวมกันตามประสบการณ์การทํางานดังกล่าว
(2) กรณีเป็นผู้เชี่ยวชาญ
(2.1) ต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(2.2) กรณีทํางานในสายงานที่ตรงกับวุฒิการศึกษา ต้องมีประสบการณ์การทํางานในสายงานดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 ปี เว้นแต่ทํางานในสายงานอื่นที่ีไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา จะต้องมีประสบการณ์การทํางานในสายงานนั้นไม่น้อยกว่า 8 ปี โดยต้องมีหนังสือรับรองการทํางานจากนายจ้างรายหนึ่งรายใด หรือหลายรายที่แสดงถึงระยะเวลาการทํางานรวมกันตามประสบการณ์การทํางานดังกล่าว
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นนายจ้างของผู้มีเงินได้ตาม 1. แจ้งชื่อผู้มีเงินได้ที่เป็นลูกจ้างซึ่งจะใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ก่อนที่จะมีการจ่ายเงินได้ให้แก่ลูกจ้างครั้งแรกและให้เก็บรักษาเอกสารหลักฐานประกอบนั้นโว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจํานวนสองเท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายจริงสําหรับเดินลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ิมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 628) พ.ศ.2560 นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ต้องไม่มีสถานประกอบกิจการแห่งใดตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนการลงทุนนั้น
(2) ต้องไม่ขายหรือโอนหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควรซึ่งเป็นกรณีที่ได้ขายหรือโอนหุ้นหรือความเป็นหุ้นส่วนนั้น เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจมีความประสงค์ที่จะเพิ่มทุน จึงจําต้องขายหรือโอนหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนของบริษัทที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจนั้นบางส่วนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เพื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นจะเข้าซื้อหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจในส่วนที่มีการเพิ่มทุนดังกล่าวได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,496 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (93) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ.2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“นักกีฬา ” หมายความว่า บุคคลซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ
“ผู้ฝึกสอนกีฬา” หมายความว่า ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ฝึกสอนนักกีฬา ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน รายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ
“สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คําว่า “แห่งประเทศไทย” และ คําว่า “แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์”
“การแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ส่งเข้าแข่งขัน ดังต่อไปนี้
(1) โอลิมปิกเกมส์ (ฤดูร้อน - ฤดูหนาว)
(2) พาราลิมปิกเกมส์
(3) เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน - ฤดูหนาว)
(4) อาเชี่ยนพาราเกมส์
(5) เอเชี่ยนพาราเกมส์
(6) เอเชี่ยนอินดอร์มาเชียลอาร์ทเกมส์
(7) เอเชี่ยนบีชเกมส์
(8) ซีเกมส์
“การแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ” หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่สมาคมกีฬาส่งเข้าแข่งขัน ดังนี้
(1) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
(2) การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย
(3) การแข่งขันชิงฆนะเลิศแห่งอาเซียน หรือ
(4) รายการแข่งขันระดับนานาชาติที่สหพันธ์กีฬานานาชาติเป็นเจ้าของการจัดการแข่งขัน
ข้อ ๒ นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติในนามทีมชาติไทย
ข้อ ๓ นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬาต้องได้รับเงินจากการให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติจากภาครัฐหรือเอกชน โดยไม่มีข้อผู้กพันต้องกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการตอบแทนให้แก่ผู้ให้หรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ เงินรางวัลดังกล่าว จะต้องได้รับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การแข่งขันสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับรางวัลดังกล่าว จะต้องแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้รับเงินจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ ศ 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,497 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 292) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดง รายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 292)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดง รายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 59 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host” หมายความว่า ระบบยื่นรายการข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หรือผู้ให้บริการ แล้วแต่กรณี มายังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของกรมสรรพากรผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่กรมสรรพากรกําหนด
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการยื่นรายการข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host แทนผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้
ข้อ ๒ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด. 53 ผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 59 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 5
ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 2 ด้วยตนเอง จะต้องยื่นคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host (ภ.อ.01.1) พร้อมข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการและนําส่งภาษีผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host ที่แนบท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง
ข้อ ๔ ผู้ให้บริการที่มีความประสงค์จะให้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 2 แทนผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ จะต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนหรือตัวแทนช่วงเพื่อยื่นแบบแสดงรายการและนําส่งภาษีในนามผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ โดยทําสัญญาการตั้งตัวแทนหรือสัญญาการตั้งตัวแทนช่วงและมอบอํานาจให้กระทําการแทนเป็นลายลักษณ์อักษร และทําบันทึกข้อตกลงให้บริการยื่นแบบแสดงรายการและนําส่งภาษีผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host กับกรมสรรพากร โดยมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้ให้บริการที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host แทนผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง
ข้อ ๕ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host ให้ยื่นได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดรายการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไปและให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๖ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หรือผู้ให้บริการต้องนําส่งเงินภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host การนําส่งเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๗ ให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๘ การนําส่งภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแบบ Host to Host โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 7 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้วการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,498 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 291) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของวิสาหกิจเพื่อสังคม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 291)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของวิสาหกิจเพื่อสังคม
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 8 (3) (5) (6) และ(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะขออนุมัติเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมต้องมีวัตถุประสงค์อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการ และ
(2) ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นตั้งอยู่ หรือแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจากหน่วยงานที่อธิบดีประกาศกําหนด ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนมัติ/ยกเลิกเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (แบบ ว.ส.1) ที่แนบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจากหน่วยงานที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดและแผนธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
แผนธุรกิจต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) บทสรุปผู้บริหาร
(2) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ ประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย รายชื่อกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้มีอํานาจลงนาม รวมทั้งโครงสร้างองค์กร
(3) รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ รวมทั้งตลาดของสินค้าหรือบริการ
(4) แผนการดําเนินงานในระยะเวลาสามปีข้างหน้า ซึ่งรวมถึงแผนการจ้างงานในท้องที่ที่ตั้งอยู่หรือแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากการจ้างงานหรือการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม
(5) แผนการจัดหาเงินทุนในระยะเวลาสามปีข้างหน้า
(6) ประมาณการรายไต้ รายจ่าย การลงทุน และการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกําไรในระยะเวลาสามปีข้างหน้า
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจากอธิบดีกรมสรรพากรจะได้รับสิทธิเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง ให้มีสิทธิตั้งแต่วันที่จัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม แต่ไม่ก่อนวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง แต่ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้มีสิทธิตั้งแต่วันที่เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์มาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม แต่ไม่ก่อนวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๔ ใหวิสาหกิจเพื่อสังคมนําผลกําไรไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ ในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป หรือสะสมไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ ในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นพร้อมกับผลกําไรในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นนั้น และต้องจัดทําคําชี้แจงตามข้อ 8 (3) ทั้งนี้วิสาหกิจเพื่อสังคมจะต้องนํากําไรสะสมไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ จนครบตามเงื่อนไขของการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมก่อนเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการหรือก่อนวิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกกัน
ข้อ ๕ วิสาหกิจเพื่อสังคมต้องไม่มีการจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) การโอนทรัพย์สินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมอื่น หรือสถานพยาบาลหรือสถานศึกษาของทางราชการ องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลหรือสถานศึกษาอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคมผู้รับโอน ต้องเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศฉบับนี้
(2) การขายทรัพย์สินที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้นํารายรับทั้งหมดไปใช้ในกิจการของตนเอง หรือนําไปใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนด
ข้อ ๖ วิสาหกิจเพื่อสังคมต้องไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนและไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือผู้ถือหุ้น หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีค่าตอบแทนเป็นไปตามราคาตลาด
คําว่า “สินค้า” ตามวรรคหนึ่ง หลายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ที่มีไว้เพื่อขายเท่านั้น
คําว่า “บริการ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทําใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า
ข้อ ๗ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของวิสาหกิจเพื่อสังคม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ ให้วิสาหกิจเพื่อสังคมยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมทั้งบัญชีทําการ บัญชีกําไรขาดทุน และบัญชีงบดุล ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรพร้อมด้วยรายงานประจําปี และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของวิสาหกิจเพื่อสังคมภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
รายงานประจําปีตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ผลการดําเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา
(2) รายงานการนําผลกําไรในสองรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ
(3) คําชี้แจงกําไรสะสมในสองรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเพื่อรอไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆพร้อมกับผลกําไรในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เฉพาะกรณีที่มีกําไรสะสมดังกล่าว
ข้อ ๙ กรณีวิสาหกิจเพื่อสังคมประสงค์จะเลิกกิจการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ยื่นคําร้องขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติ/ยกเลิกเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (แบบ ว.ส.1) ที่แนบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,499 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไปเข้าทํางาน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้สูงอายุ” หมายความว่า ลูกจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีคุณสมบัติตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560
“รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ ที่คํานวณได้เป็นเงิน ภาษีอากรที่ผู้จ่ายออกแทนให้ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แต่ไม่รวมถึงรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามที่กฎหมายกําหนดขึ้นโดยเฉพาะ เช่น เงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นต้น
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนํารายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 ได้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) จํานวนรายจ่ายที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จะต้องเกิดจากการจ้างผู้สูงอายุเข้าทํางานเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยจํานวนรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ และจํานวนผู้สูงอายุนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) เป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุในรายที่มีจํานวนไม่เกิน 15,000 บาท ในแต่ละเดือน
(ข) จํานวนผู้สูงอายุที่จะนํามาเป็นฐานในการคํานวณหารายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนํามาใช้สีทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ได้แก่ จํานวนผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุตาม (ก) ที่ทํางานเต็มเดือนในแต่ละเดือน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนลูกจ้างทั้งหมดที่ทํางานเต็มเดือนในประเทศไทยในแต่ละเดือนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยให้คํานวณหาจํานวนผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินํามายกเว้นภาษีเงินได้เป็นรายเดือน
การคํานวณหาจํานวนผู้สูงอายุตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่า การคํานวณหาจํานวนผู้สูงอายุที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ใด้ผลลัพธ์ไม่ลงตัว ปรากฏเศษในการคํานวณ และเศษของผลลัพธ์มีจํานวนตั้งแต่ 0.5 ให้ปัดเศษขึ้นไปให้ได้จํานวนเต็มและให้ถือเป็นจํานวนผู้สูงอายุที่จะเป็นฐานในการคํานวณหารายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่จะได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
(2) ต้องจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจ้างผู้สูงอายุที่จะนํามาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ ซึ่งมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(3) ต้องแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนํามาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยต้องแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุอย่างน้อยตามที่กําหนดในเว็บไซต์ดังกล่าว
การแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุตามวรรคหนึ่ง สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ให้แจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560
“การแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุตามวรรคหนึ่ง สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุในหรือหลังวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 แต่ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ให้แจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 379) ประกาศ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,500 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 289) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 289)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 (2) (ก) และมาตรา 8 (2) (ก) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้จากการโอนหุ้นของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือโอนหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือในหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทเป้าหมาย ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทเป้าหมายประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนและประกอบกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นํากําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการทั้งกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนและกิจการอื่นมารวมเข้าด้วยกัน
บริษัทเป้าหมายตามวรรคสองจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจากกิจการใดเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนที่ได้รับเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนเท่านั้น และกรณีที่บริษัทเป้าหมายจ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่า จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลนั้นตามส่วนของกําไรสุทธิของกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนกับกําไรสุทธิของกิจการอื่น
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และประกอบกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นํากําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการทั้งกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มารวมเข้าด้วยกัน
บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามวรรคสองจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจากกิจการใดเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ผู้ลงทุนที่ได้รับเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่านั้น และกรณีที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินรวมลงทุนจ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่า จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลดังกล่าวตามส่วนของกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กับกําไรสุทธิของกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ กรณีทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจากกิจการใดเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ผู้ลงทุนที่ได้รับเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิจากการลงทุนในบริษัทเป้าหมายในส่วนที่คํานวณได้จากการประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนเท่านั้น และกรณีที่ทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนจ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่าเงินปันผลดังกล่าวจ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลดังกล่าวตามส่วนของกําไรสุทธิจากการลงทุนในบริษัทเป้าหมายในส่วนที่คํานวณได้จากการประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนกับกําไรสุทธิจากการลงทุนในกิจการอื่น
ข้อ ๕ กรณีผู้ลงทุนได้รับเงินได้จากการโอนหุ้นของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือจากการโอนหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน หากบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนไม่มีกําไรสะสมนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินรวม ลงทุนได้ลงทุนในบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน
(2) บริษัทเป้าหมายต้องประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและก่อให้เกิดรายได้ในบริษัทเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดในรอบระยเวลาบัญชีก่อนที่ผู้ลงทุนได้รับรายได้จากการโอนหุ้น
(3) ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามสัดส่วนการลงทุนที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนได้ลงทุนในบริษัทเป้าหมายตาม (2)
(4) สัดส่วนการลงทุนตาม (3) ให้ใช้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนที่ผู้ลงทุนได้รับรายได้จากการโอนหุ้นหรือโอนหน่วยทรัสต์ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวต้องแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นการลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และส่วนใดเป็นการลงทุนที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(5) บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพี่อกิจการเงินร่วมลงทุน จะต้องจัดทํารายงานการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดและส่งมอบสําเนารายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(6) ผู้ลงทุนต้องมีหลักฐานที่แสดงสัดส่วนการลงทุนตาม (3) และ (4) ซึ่งปรากฏตามรายงานการลงทุนที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนนําส่งไว้ต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทั้งจะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,501 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 288) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 288)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 7/1 กรณีผู้มีเงินได้ได้มาซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งเป็นการได้มาจากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ได้เกิดจากการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 2(1) การได้มาซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 7”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2559 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2560เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,502 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 287) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 287)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ใขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินไต้ (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) เงินที่ฝ่ายจากกองทุนดังนี้
1) เงินที่ฝ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
2) เงินที่ฝ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
3) เงินที่ฝ่ายจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาตหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหน่วยลงทุนที่ได้จากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2559 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,503 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 286) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 286)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (92) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 324 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้จากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทนรวม
ข้อ ๒ เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหน่วยลงทุนที่ได้จากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ด้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไง ดังต่อไปนี้
(1) กรณีขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ต้องมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับระยะเวลาถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
การนับระยะเวลาถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรวมกับระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ให้นับระยะเวลาถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพโดยนับตั้งแต่วันที่ที่โอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ถ้ามีการโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นอีก และไม่ว่าจะมีการไอนต่อไปอีกกี่ทอด ให้นับระยะเวลาระหว่างที่ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกกองทุนนั้น เป็นระยะเวลาถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(2) กรณีขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อผู้มีเงินได้ทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อผู้มีเงินได้ตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้โอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งเป็นหน่วยลงทุนที่ได้จากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมอื่น ต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนนั้น ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนทั้งหมด
(2) กรณีโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน จะโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนนั้นก็ได้
การโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้ถือหน่วยลงทุน จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบแก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานตรวจสอบได้
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงจํานวนเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,504 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 285) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายเท่าที่ได้จ่ายไป เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 285)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนสองเท่าของรายจ่ายเท่าที่ได้จ่ายไป เพื่อส่งเสริมการดําเนินกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
--------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 631) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลําหรับเงินได้เป็นจํานวนสองเท่าของรายจ่ายเท่าที่ได้จ่ายไปเพื่อส่งเสริมการดําเนินกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้” หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินเกินกว่าสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินกว่าสองร้อยคนที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 631) พ.ศ. 2560
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการ” หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและ มีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคนที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 631) พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 631) พ.ศ. 2560 สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายสําหรับค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการมีหน้าที่ต้องจ่าย ต้องมีหลักฐานใบรับหรือใบเสร็จรับเงินที่แสดงถึงการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่ออกโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยชื่อผู้จ่ายเงินที่ระบุในเอกสารดังกล่าวต้องเป็นชื่อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการ ต้องมีหลักฐานข้อตกลงระหว่างกันในการจ่ายค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการดําเนินกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการ ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) กรณีเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการส่งเสริมการดําเนินกิจการที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ให้การรับรอง สําหรับรายการดังต่อไปนี้ โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ต้องเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการส่งเสริมการดําเนินกิจการดังกล่าว
(ก) จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหาร การตลาด การบัญชี หรือการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(ข) จัดให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
(ค) จัดให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการผลิต หรือการเพิ่มกําไร
(ง) จัดให้มีการส่งเสริมการตลาด
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการส่งเสริมการดําเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหลักฐานตาม (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้ออกค่าใช้จ่ายตาม (2)ได้ส่งเสริมการดําเนินกิจการแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการโดยตรง ต้องมีหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(ก) หลักฐานการรับรองค่าใช้จ่ายที่ออกโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปจริง ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ได้ส่งเสริมการดําเนินกิจการแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการเกินกว่าหนี่งรายในคราวเดียวกัน หลักฐานการรับรองค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะจัดทําร่วมกันเพียงหนึ่งฉบับโดยระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร และลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการทุกรายในหลักฐานการรับรองค่าใช้จ่ายนั้นก็ได้
(ข) หลักฐานการจ่ายเงินที่ต้องจ่ายเพื่อให้การส่งเสริมการดําเนินกิจการตาม (2) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการดําเนินกิจการแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการ โดยต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้อย่างชัดเจน เช่น ใบรับ ใบเสร็จรับเงิน สําเนาเช็คที่ระบุชื่อผู้รับที่ผ่านการเข้าบัญชีแล้ว หลักฐานการโอนเงินให้แก่ผู้รับ เป็นต้น โดยหลักฐานการจ่ายเงินดังกล่าวต้องสอดคล้องกับหลักฐานการรับรองค่าใช้จ่ายที่ออกโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการตาม (ก)
(ค) หนังสือรับรองการส่งเสริมการดําเนินกิจการตาม (2) ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แล้วแต่กรณีถึงต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(4) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้ออกค่าใช้จ่ายตาม (2) โดยเป็นการส่งเสริมการดําเนินกิจการแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการตามที่ได้จัดทําเป็นโครงการหรือแผนงานที่ทําร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ต้องมีหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(ก) หลักฐานการรับรองค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายเพื่อส่งเสริมการดําเนินกิจการแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการดําเนินกิจการตามโครงการหรือแผนงานที่ทําร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ต้องจัดทําหลักฐานดังกล่าว ซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องสอดคล้องตรงตามโครงการ หรือแผนงานนั้นด้วย
(ข) หลักฐานการจ่ายเงินที่ต้องจ่ายเพื่อให้การส่งเสริมการดําเนินกิจการตา (2) เป็นไปตามโครงการหรือแผนงานที่ทําร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้อย่างชัดเจน เช่น ใบรับ ใบเสร็จรับเงิน สําเนาเช็คที่ระบุชื่อผู้รับที่ผ่านการเข้าบัญชีแล้ว หลักฐานการโอนเงินให้แก่ผู้รับ เป็นต้น โดยหลักฐานการจ่ายเงินดังกล่าวต้องสอดคล้องกับหลักฐานการรับรองค่าใช้จ่ายตาม (ก)
(ค) หนังสือรับรองการส่งเสริมการดําเนินกิจการตาม (2) ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แล้วแต่กรณี ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเก็บรักษาหลักฐานและหนังสือรับรองต่างๆ ตามข้อ 2 ไว้พร้อมให้เจ้าพนกังานประเมินตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,505 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 284) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 284) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 627) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับการรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเปัาหมายซึ่งใช้เนคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าต้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 627) พ.ศ. 270 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยต้องกรอกคําขออนุมัติตามแบบ ร.ม.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตท่างเว็บไซต์ (Web Site)ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
การยื่นคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคําร้องขอนั้นด้วย
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับอนุมัติตามข้อ 1 แล้ว ที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าต้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 627) พ.ศ. 2560 ยื่นคําขอตามแบบแจ้งเพื่อกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายสําหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ร.ม.2) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.thบริษัทหรือห้างหุ้นล่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF มาพร้อมกับคําขอด้วย
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเป็นไปตามหลักเกณ์ และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยขัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฉบับเดียว โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,506 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 283) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซี่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 283)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซี่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 626) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการ ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 626) พ.ศ. 2560 ต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์
(2) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(3) ยานพาหนะที่จดทะเบียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่มิใช่ได้มาเพื่อนําออกให้เช่า
(4) อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย
ข้อ ๒ ทรัพย์สินตามข้อ 1(1) (2) และ (3) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
การลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินไต้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ชยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาดังนี้
(1) ทรัพย์สินตามข้อ 1(1) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 1(2) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 1(3) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 1(4) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซี่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
(1) กรณีนอกจาก (2) ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีที่นําทรัพย์สินตามข้อ 1 ไปใช้ในโครงการที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์มาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนจริงและเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้น ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง โดยถือเสมือนเป็นการใช้สิทธิยกเว้นเช่นเดียวกับกรณี (1) และให้ถือว่าการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว เป็นการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แทนการเริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 และข้อ 4 จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สิน ที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําขึ้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,507 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 282) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 282)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 323 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการ และเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ จะต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และชําระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเฉพาะที่ต้อง รวมคํานวณเป็นมูลค่าฐานภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้นอ
ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,508 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 281) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 281)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตาม ความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 618 ) พ.ศ.2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้จากการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้ เจียระไนแต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้พึงประเมินจากการขาย เพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึง สิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องเป็นผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล
(2) ต้องเป็นเงินได้พึงประเมินจากการชายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีทีมีลักษณะทํานอง เดียว กัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่
(3) ต้องเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้แล้วในอัตราร้อยละ 1.0 ของ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนทีใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้ได้รับยกเว้นภาษีต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่าย และใบเสร็จรับเงินต่อเจ้าพนักงานประเมิน เพื่อแสดงว่าได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนําส่งไว้แล้ว
ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ที่มิเงินได้พึงประเมินจากการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกันเฉพาะที่ยังมิได้ เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เป็นคนต่างด้าว บุคคลดังกล่าวจะด้อง ดําเนินการขอรับใบผ่านภาษีอากรตามที่ได้กําหนดไว้ใน (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร ลงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่องกําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,509 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 280) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 280)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 322 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์
“ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15,000 บาท เฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้จ่ายค่าบริการตามข้อ 2 เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวของผู้มีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม โดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จํานวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
ข้อ ๕ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 322 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เมื่อนําไปรวมกับการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 316 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แล้ว ต้องไม่เกิน 30,000 บาท
ข้อ ๖ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,510 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 279) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 279)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 (2) (ก) และมาตรา 8 (2) (ก) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้จากการโอนหุ้นของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน หรือโอนหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในหุ้นของ บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือในหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทเป้าหมาย ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทเป้าหมายประกอบกิจการที่รัฐด้องการสนับสนุนและประกอบกิจการอื่น ให้ คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นํากําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการทั้งกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนและ กิจการอื่นมารวมเข้าด้วยกัน
บริษัทเป้าหมายตามวรรคสองจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจากกิจการใดเป็น จํานวนเท่าใดก็ได้ แต่บริษัทซี่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนที่ได้รับเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เฉพาะเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนเท่านั้น และกรณีที่บริษัทเป้าหมาย จ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่า จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลนั้นตามส่วนของกําไรสุทธิ ของกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนกับกําไรสุทธิของกิจการอื่น
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยน่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และ ประกอบกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการ แยกต่างหากจากกัน แต่ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้น่ากําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ ของกิจการทั้งกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มารวมเข้าด้วยกัน
บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามวรรคสองจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจาก กิจการใดเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ผู้ลงทุนที่ได้รับเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่ จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่านั้นและกรณีที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนจ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่า จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลดังกล่าว ตามส่วนของกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กับกําไรสุทธิของกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้
ข้อ ๔ กรณีทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจากกิจการใดเป็น จํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ผู้ลงทุนที่ได้รับเงินปันผลนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่จ่ายจาก กําไรสุทธิจากการลงทุนในบริษัทเป้าหมายในส่วนที่คํานวณได้จากการประกอบกิจการที่รัฐต้องการ สนับสนุนเท่านั้น และกรณีที่ทรัสต้เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนจ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่าเงินปันผลดังกล่าว จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลดังกล่าวตามส่วนของกําไรสุทธิจากการลงทุนในบริษัท เป้าหมายในส่วนที่คํานวณได้จากการประกอบกิจการที่รัฐด้องการสนับสนุนกับกําไรสุทธิจากการลงทุน ในกิจการอื่น
ตอน ๕ กรณีผู้ลงทุนได้รับเงินได้จากการโอนหุ้นของบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือ จากการโอนหน่วยทรัสต์ของทรัสต้เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน หากบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน หรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนไม่มีกําไรสะสมนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนได้ลงทุน ในบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน
(2) บริษัทเป้าหมายต้องประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องซึ่งสร้าง มูลค่าเพิ่มและก่อให้เกิดรายได้ในบริษัทเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนที่ผู้ลงทุนได้รับรายได้จากการโอนหุ้น
(3) ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามสัดส่วนการลงทุนที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการ เงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนได้ลงทุนในบริษัทเป้าหมายตาม (2)
(4) สัดส่วนการลงทุนตาม (3) ให้ใช้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทซึ่งประกอบกิจการ เงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนที่ผู้ลงทุนได้รับรายได้จากการ โอนหุ้นหรือโอนหน่วยทรัสต์ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวต้องแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นการลงทุน ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และส่วนใดเป็นการลงทุนที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(5) บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน จะต้อง จัดทํารายงานการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศกําหนดและล่งมอบสําเนารายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงาน ประเมินตรวจสอบได้
(6) ผู้ลงทุนต้องมีหลักฐานที่แสดงสัดส่วนการลงทุนตาม (3) และ (4) ซึ่งปรากฏตามรายงาน การลงทุนที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนนําส่งไว้ต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,511 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 278) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 278) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 6 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 591) พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 262) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่นให้คํานวณกําไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วน ของรายได้”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 262) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 4/1ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมตั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดี กําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับขําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็น คนละชุด สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในกิจการใดกิจการหนี่งก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,512 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 277) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 277 )
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 8 (3) และ (4) แหงพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 487) พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 243) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตทํางานคนต่างด้าวระดับฝีมือหรือชํานาญการจาก กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 253) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้น ภาษีเงินได้ ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรอกคําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค.1 และให้ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://wvwv.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเลกทรอนิกส์เอกสารประกอบการพิจารณาตามข้อ 4 (1) ในรูปแบบของ PDF File และข้อ 4 (2) ในรูปแบบของ XML File
(2) พิมพ์คําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค. 1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) และให้ยื่นต่ออธิบดี กรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันถัดจาก วันที่ส่งคําขออนุมัติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 253) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้น ภาษีเงินได้ ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การยื่นคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามวรรคห,นึ่ง ให้บริษัทดําเนินการดังนี้
(1) กรอกคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ส.ญ.ค. 1.1 และให้ส่งผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารแนบท้ายแบบ ส.ญ.ค. 1.1 ใบรูปแบบของ XML File ทั้งนี้ กรณีเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจที่มีนัยสําคัญ ให้แนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของแผนธุรกิจใบรูปแบบของ PDF File พร้อมการยื่นคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงด้วย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องไม่เกินกว่าวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ที่มีการเปลี่ยนแปลง
(2) พิมพ์คําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ส.ญ.ค. 1.1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันถัดจากวันที่ส่งคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงใบประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ )
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,513 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.