title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(69) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 250 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจํานวนทั้งสิ้นไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ข้อ ๒ ชื่อบัญชีเงินฝากต้องเป็นชื่อของผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยนั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 รวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกประเภทรวมกันแล้วมีจํานวนทั้งสิ้นเกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทั้งจํานวน และนําส่งตามมาตรา 50(2) และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกันหรือแยกกัน และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี (2) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกัน และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (3) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินแยกกัน และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของแต่ละบุคคล ข้อ ๕ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ต้องแจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้ตามหนังสือแจ้งการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปและผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ต่อธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากก่อนหรือในขณะรับดอกเบี้ย เงินฝากดังกล่าว และให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากเก็บหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบต่อไป ในกรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องแจ้งข้อมูลของผู้มีเงินได้อีก ข้อ ๖ ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินที่แจ้งต่อธนาคารตามข้อ 5 และข้อมูลการฝากเงินของผู้ฝากเงินต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยให้ส่งเป็นสื่อบันทึกข้อมูลของ ผู้ฝากเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับดอกเบี้ย เงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปและผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ การส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินตามวรรคหนึ่ง สําหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ให้ส่งภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 309) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป) ข้อ ๗ ในกรณีมีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,314
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (1) ให้หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สําหรับบิดามารดาที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบิดามารดาดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป (2) ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู (3) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาคนเดียวกัน ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าวนั้นในแต่ละปีภาษี (4) การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าวให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ (5) กรณีสามีหรือภริยาเป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท (6) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่แล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้ (ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท (ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท (ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท (7) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทย ข้อ ๒ การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจําตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ข้อ ๓ การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,315
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 135) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานเฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 135) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานเฉพาะเพื่อการนําเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(2) และ (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานเฉพาะเพื่อการนําเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป และเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงาน “ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงเฉพาะเพื่อการนําเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร “รายได้จากการประกอบการธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิง” หมายความว่า รายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและการขายน้ํามันเชื้อเพลิง เพื่อการนําเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากร หรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร การซื้อและการขายน้ํามันเชื้อเพลิงที่อยู่นอกราชอาณาจักร และไม่ได้นําเข้ามาในราชอาณาจักร รวมถึงรายได้จากการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงในกรณีดังกล่าวตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2547 แจ้งการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานเฉพาะเพื่อการนําเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามแบบแจ้งการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิง ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ในกรณี ผู้เสียภาษีที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บริษัทมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ก็ได้ ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในมาตรา 65 และมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงและกิจการอื่น ให้บริษัทดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงและรายได้จากกิจการอื่น ข้อ ๔ กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงและกิจการอื่น หากกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงมีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงเท่านั้น ข้อ ๕ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนด พร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิงและกิจการอื่น ให้บริษัทดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทดังกล่าวให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทในกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน ข้อ ๖ บริษัทซึ่งประกอบกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อและขายน้ํามันเชื้อเพลิง ได้แจ้งการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2547 ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่กรณีเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ให้แจ้งการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าน้ํามันเชื้อเพลิงจากกระทรวงพลังงานภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2548 ข้อ ๗ กรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548 ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
3,316
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 424) พ.ศ.2547 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปแบบใด จังหวัด และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ คณะผู้แทนในการบริหารราชการในต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินด้วย “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของส่วนราชการ และในกรณีจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการในระดับกระทรวง กลุ่มภารกิจ หรือในหลายกรมร่วมกันตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ให้หมายความรวมถึงปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ หรืออธิบดีของทุกกรมร่วมกันแล้วแต่กรณี “กองทุนสวัสดิการ” หมายความว่า กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ข้อ ๒ การบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการ กองทุนสวัสดิการที่รับบริจาคต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ข้อ ๓ กองทุนสวัสดิการต้องเป็นกองทุนสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ และต้องเป็นกองทุนสวัสดิการที่ส่วนราชการ จัดตั้งขึ้นซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะนําเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคไปใช้เพื่อเป็นสวัสดิการของ ข้าราชการในส่วนราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ และส่วนราชการได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการไม่เกินหนึ่งกองทุน ในกรณีส่วนราชการใดจัดตั้งกองทุน สวัสดิการเกินหนึ่งกองทุน ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการกองทุนเดียวเท่านั้น ข้อ ๔ ให้ส่วนราชการแจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการที่ส่วนราชการประสงค์จะให้ ผู้บริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อประกาศรายชื่อกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาค ในกรณีส่วนราชการมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกินหนึ่งกองทุน ให้ส่วนราชการแจ้งรายชื่อกองทุน สวัสดิการเพียงหนึ่งกองทุน เพื่อประกาศเป็นกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาค การแจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการทําเป็นหนังสือแจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการที่ส่วนราชการประสงค์จะให้ผู้บริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อประกาศรายชื่อกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาค กรณีส่วนราชการใดได้แจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการ และกองทุนสวัสดิการดังกล่าวได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการแล้ว หากส่วนราชการนั้นประสงค์จะยกเลิกรายชื่อกองทุนสวัสดิการดังกล่าว และจะแจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการใหม่ให้เป็นกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาค ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นทําเป็นหนังสือแจ้งการยกเลิกรายชื่อกองทุนสวัสดิการที่ได้รับการประกาศรายชื่อไปแล้วและแจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการใหม่ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ข้อ ๕ ส่วนราชการที่ได้แจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการตามข้อ 4 ตั้งแต่ปีใด กองทุน สวัสดิการดังกล่าวจะได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคตั้งแต่ปีที่มีการแจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการ เว้นแต่กรณีที่มีการประกาศรายชื่อกองทุนสวัสดิการใหม่แทนกองทุนสวัสดิการที่ได้มีการประกาศรายชื่อไปแล้วและส่วนราชการขอให้ยกเลิกรายชื่อ ให้ผู้บริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการที่ได้ยกเลิกรายชื่อไปแล้วยังคงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคดังกล่าวจนถึงวันก่อนวันที่ได้แจ้งยกเลิกรายชื่อ และให้ผู้บริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการใหม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคดังกล่าวตั้งแต่วันที่ที่ได้แจ้งรายชื่อกองทุนสวัสดิการใหม่ ข้อ ๖ กองทุนสวัสดิการที่ได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นกองทุนสวัสดิการที่ผู้บริจาคได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาค จะต้องออกใบรับให้แก่ผู้บริจาคและต้องระบุลําดับที่ของกองทุนสวัสดิการที่ได้รับการประกาศไว้ในใบรับที่ออกให้แก่ผู้บริจาคด้วย “กรณีที่กองทุนสวัสดิการดังกล่าวรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้บริจาคไม่ต้องแสดงใบรับต่อเจ้าพนักงานประเมิน” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 338) ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป) ข้อ ๗ ในกรณีที่มีปัญหาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศนี้ได้ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร
3,317
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ยกเลิก โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169))
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ยกเลิก โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169)) --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (66) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท (2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตาย กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ที่จะนํามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวได้อีกต่อไป ข้อ ๒ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 1 การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่งต้องมีจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอีกกองทุนหนึ่ง ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นภายใน 5 วันทําการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่โอนได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จึงจะถือว่าระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน การโอนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ข้อ ๔ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังกล่าว ข้อ ๖ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 4 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 หรือข้อ 2 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 4 แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพราะทุพพลภาพหรือตาย ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่มีการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 หรือข้อ 2 การคํานวณต้นทุนผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหน่วยลงทุน (capital gain) เพื่อเสียภาษีในกรณีดังกล่าวให้คํานวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) ข้อ ๗ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อหักตามมาตรา 42 ทวิถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,318
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 132) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 132) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ -------------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี (2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปี บริบูรณ์ หรือเมื่อผู้มีเงินได้นั้นถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย (3) ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น (4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,319
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 131) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2521 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๒ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สองฉบับมีข้อความตรงกันนั้น อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามแบบที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ก่อนที่จะมีการยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไป สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินทุกประเภท เว้นแต่การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ได้รับเงินได้ดังกล่าวไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยกรณีที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นบุคคลธรรมดาที่มีและใช้เลขประจําตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ต้องเพิ่มช่องเลขประจําตัวประชาชนของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายดังกล่าวด้วย โดยช่องเลขประจําตัวประชาชน ดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ศุภรัตน์ ควัฒนกุล (นายศุภรัตน์ ควัฒนกุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,320
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 130) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 130) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) เรื่อง กําหนดการ ยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3 และให้ถือเป็นคําร้องขอคืนสําหรับผู้มีสิทธิขอคืนที่ได้แสดงความประสงค์ขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร” ข้อ ๒ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือนมีนาคม ทุก ๆ ปี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับ วันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชี เงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) หรือโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร หรือชําระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารที่เปิดให้บริการก็ได้ การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง ผู้มีเงินได้จะชําระผ่านบริการรับชําระเงินทางไปรษณีย์ที่เปิดให้บริการ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกรมสรรพากรก็ได้ และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,321
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 129) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 129) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬาไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) และ (10) ของวรรคหนึ่งของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และ รายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2543 “(9) การบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติในลักษณะทํานองเดียวกัน (10) การบริจาคทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการให้แก่ส่วนราชการ เพื่อบริจาคให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน หรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,322
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คํานวณและชําระภาษีจากกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะคํานวณและชําระภาษีจากกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องจัดให้มีการสอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินเมื่อครบกําหนดระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้แนบงบการเงินดังกล่าวและหนังสือรับรองของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วย เว้นแต่กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ต้องแนบงบการเงินและหนังสือรับรองดังกล่าว แต่ต้องจัดทําและเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการ ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 จะต้องมิใช่บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ข้อ ๔ ผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 ต้องเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีซึ่งออกตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๕ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะปฏิบัติตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ยื่นคําร้องเป็นหนังสือขอความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรอย่างช้าภายใน 90 วันนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีที่ยื่นคําร้องนั้น และให้เริ่มปฏิบัติตามข้อ 2 ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติเป็นต้นไป หากประสงค์จะเลิกปฏิบัติตามข้อ 2 ให้แจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อน หรือจะแสดงความประสงค์ให้ปรากฏไว้ในแบบแสดงรายการขณะที่ยื่นรายการก็ได้ (2) หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินเพิ่มเติมจากที่อธิบดีกรมสรรพากรให้ความเห็นชอบไว้ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นขอความเห็นชอบพร้อมแจ้งรายชื่อของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินรายใหม่ที่เปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น (3) กรณีผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือมิได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีซึ่งออกตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร และอธิบดีกรมสรรพากรไม่ให้ความเห็นชอบหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงิน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินรายใหม่ต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่ให้ความเห็นชอบหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี กรณีผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุมัติ รัฐมนตรีซึ่งออกตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินที่ถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบรายเดิมต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้อีกเมื่อพ้นกําหนดเวลา 3 ปีนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินรายนั้น ผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินรายใดถูกอธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการให้ความเห็นชอบแล้ว 2 ครั้ง อธิบดีกรมสรรพากรจะไม่พิจารณาให้เป็นผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินอีก การยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินตาม (1) (2) และ (3) ของวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้แบบขอความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้อธิบดีกรมสรรพากรจะให้ผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินดังกล่าวจัดส่งแนวการตรวจสอบบัญชี (AUDIT PROGRAM) และข้อมูลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ประสงค์จะคํานวณและชําระภาษีจากกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อได้ดําเนินการตามข้อ 2 และข้อ 4 แล้ว ให้ถือว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นได้รับความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินจากอธิบดีกรมสรรพากรตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้อ ๖ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงิน ในกรณีที่ผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือมิได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีซึ่งออกตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๗ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบให้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ให้สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีรายนั้นขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีซึ่งออกตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงิน (3) อธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินรายนั้น (4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แสดงความประสงค์ไม่คํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๘ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 ได้รับความเห็นชอบผู้สอบบัญชีจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2536 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 67) ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2540 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 78) ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกประกาศนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,323
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ภ.ง.ด. 52 และ ภ.ง.ด. 55 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ภ.ง.ด. 52 และ ภ.ง.ด. 55 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 329) ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นได้ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากรเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี ข้อ ๖ การเสียภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้วการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้ ข้อ ๗ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ที่ได้ยื่นงบการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ที่เว็บไซต์ (Web Site) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยมีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองงบการเงินดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยื่นบัญชีตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,324
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 126) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความ ตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 126) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความ ตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร --------------------------------------------- เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 96) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ แบบแจ้งข้อความตามข้อ 2 ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,325
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 125) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งเดิมและต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 125) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งเดิมและต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (62) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ.2546) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหา ริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นบ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น หรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดสําหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สําหรับการทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (1) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง (2) ผู้มีเงินได้จะใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการของตนเองด้วยก็ได้ (3) กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ และได้โอนชื่อเข้ามาในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ก่อนที่จะขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมนั้น ผู้มีเงินได้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์ที่ขายน้อยกว่า 1 ปีก็ได้ แต่เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมไประยะเวลาการมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมและอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่นับถึงวันขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี (4) การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะเวลารวมทั้งหมดถึง 1 ปี ให้ถือว่ามีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ปี (5) กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสของสามีภริยา คู่สมรส ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี (6) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย อันเป็นแหล่งสําคัญของแต่ละคน โดยมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นั้น ข้อ ๒ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 1 นั้น ผู้มีเงินได้ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากรไว้แล้วมีสิทธิขอคืนได้โดยจะต้องยื่นคําร้องขอคืนภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในกรณีดังกล่าวตามแบบที่อธิบดีกําหนด (แบบ ค.10) ณ. สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ผู้มีเงินได้มีภูมิลําเนา โดย จะต้องแนบหลักฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้ฉบับที่กรมที่ดินออกให้ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิม (2) สําเนาคู่ฉบับสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิม ที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (3) สําเนาคู่ฉบับสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (4) สําเนาทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของผู้มี เงินได้สําหรับอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ (ในกรณีมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร สําหรับอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมน้อยกว่า 1 ปี ตามข้อ 1(3)) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนสิทธิ์ และนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2546 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,326
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดง รายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีดังต่อไปนี้ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร (1) ภ.ง.ด.90 สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภท หรือผู้มีเงินได้ประเภทเดียวแต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร (2) ภ.ง.ด.91 สําหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เพียงประเภทเดียว” การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง ไม่ถือเป็นการยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากร และมิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนด ในข้อ 3 ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 “การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง ผู้มีเงินได้จะชําระผ่านบริการรับชําระเงินทางไปรษณีย์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรก็ได้ และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,327
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------- เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความและยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ข้อ ๒ ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มี หน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าวอย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้ สําหรับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าว สําหรับเงินได้ของเดือนมกราคมของทุกปี (2) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้าทํางานในระหว่างปีภาษี สําหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่เข้าทํางาน (3) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งออกจากงานในระหว่างปีภาษี สําหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน ข้อ ๓ แบบแจ้งข้อความและรายละเอียดตามข้อ 2 ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ของเดือนมกราคมของทุกปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวเข้าทํางานในระหว่างปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวออกจากงานในระหว่างปีภาษี แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สําหรับการแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าวสําหรับเงินได้ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 จะยื่นแบบแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็น คนต่างด้าวพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 หรือเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 ก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,328
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 122) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามข้อ 2(59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) (ยกเลิกโดย 165)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 122) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามข้อ 2(59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) (ยกเลิกโดย 165) --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 236 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อม ที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง (3) ต้องจํานองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดหรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจํานองตามระยะเวลาการกู้ยืม (4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจําหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ จนไม่อาจใช้อาคารชุดหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้ (5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษีเกินกว่า 1 แห่ง ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งสําหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) (6) ให้ได้รับยกเว้นภาษีตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ (7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนจํานวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจํานวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 50,000 บาท (8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้ยกเว้นภาษี ให้แก่ผู้มีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท (9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ ยังคงได้รับยกเว้นภาษีดังนี้ (ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท (ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท (ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจํานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 50,000 บาท (10) กรณีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม (1) กับธนาคาร บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ข้อ ๒ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ 1 ให้หมายความรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสําหรับเงินกู้ยืมเพื่อชําระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระนั้น ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม (52) และหรือ (53) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และหรือ (59) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 236 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับลดหย่อนและได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันต้องไม่เกิน 50,000 บาท ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,329
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 121) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 121) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคหก และวรรคเจ็ด ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ”รายการของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง สําหรับรายการประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้ ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุจํานวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งก็ได้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,330
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 35 /2540 เรื่อง การผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2540 เรื่อง การผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) มาตรา 72 มาตรา 77 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การปรับปรุงและฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินสามารถดําเนินไปได้ด้วยดี สถาบันการเงินใดประสงค์จะทําการควบกิจการหรือโอนกิจการตามหมวด 5 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 และหากการดําเนินการดังกล่าวบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องมีการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บุคคลดังกล่าวอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,331
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 37/2540 เรื่อง ระยะเวลาในการยืมหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สค. 37 /2540 เรื่อง ระยะเวลาในการยืมหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและ ให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการจัดให้มีการยืมหลักทรัพย์ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์จัดให้มีการยืมหลักทรัพย์ใดติดต่อกันเป็นระยะ เวลา 1 ปี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยืมครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกันจากผู้ให้ยืมรายเดียวหรือหลายราย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,332
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 72/2543 เรื่อง ระยะเวลาในการยืมหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 72/2543 เรื่อง ระยะเวลาในการยืมหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ ที่ สด. 37/2540 เรื่อง ระยะเวลาในการยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ข้อ ๒ ในการจัดให้มีการยืมหลักทรัพย์ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ จัดให้มีการยืมหลักทรัพย์ใดติดต่อกันเกินระยะเวลา 2 ปี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยืมครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกันจากผู้ให้ยืมรายเดียวหรือหลายราย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,333
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 38/2540 เรื่อง เหตุจำเป็นในการยืมหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สค. 38 2540 เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการ ส่งมอบ “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีเหตุจําเป็นต้องยืมหลักทรัพย์หรือจัดให้ลูกค้ายืม หลักทรัพย์จากหรือผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อนํามาส่งมอบในการขายที่มิได้แสดงว่าเป็นการขาย ชอร์ตตามนัยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์ โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งต่อ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ถึงสาเหตุที่ตนหรือลูกค้าไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ขายได้ภายในเวลา ที่สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องเข้ากรณีใด กรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขายได้ส่งหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ หลักทรัพย์นั้นไม่สามารถมาถึงบริษัทหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กําหนดเนื่องจากความผิดพลาดใน กระบวนการจัดส่งหรือเนื่องจากเหตุการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบ (2) ผู้ขายได้ซื้อหรือได้ใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์เดียวกันนั้นก่อนที่ผู้ขายจะได้ตกลงขาย หลักทรัพย์ดังกล่าวต่อผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง และผู้ขายมีเหตุอันควรเชื่อว่าตนจะสามารถนําหลักทรัพย์ที่ซื้อ ไว้ในครั้งก่อนมาส่งมอบในการขายในครั้งหลังได้ทันเวลาที่กําหนด แต่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ขาย ไม่ต้องรับผิดชอบ ทําให้ผู้ขายไม่สามารถได้รับหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบในทอดต่อไป (3) บริษัทหลักทรัพย์ส่งคําสั่งขายหลักทรัพย์โดยผิดพลาดและได้พยายามแก้ไขความ ผิดพลาด ดังกล่าวในเวลาอันสมควรแล้วแต่ไม่อาจแก้ไขได้ทัน (4) ผู้ขายหรือบุคคลที่รับฝากหลักทรัพย์จากผู้ขายถูกศาลหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายสั่งยืดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือสั่งห้ามมิให้จําหน่าย จ่าย หรือโอนทรัพย์สิน โดยผู้ขายได้ตกลงขายหลักทรัพย์ ตั้งเป้าวไปก่อนที่จะรู้ถึงคําสั่งศาลหรือคําสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้น ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคมพ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,334
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 39/2540 เรื่อง ลักษณะและสาระสำคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 39 / 2540 เรื่อง ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืม และให้ยืมหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการ ส่งมอบ “บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อ หลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขาย “ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 3 สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ใช้ในกิจ การการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องทําเป็นหนังสือโดยต้องมีลักษณะและสาระสําคัญอย่างน้อย เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) วัตถุประสงค์ของการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้มีการขายหรือจะมีการขายในประเทศไทย หรือเพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถคืนหลักทรัพย์ที่เคยยืมมาก่อน (2) หลักทรัพย์ที่ให้ยืมและหลักประกันในการยืมหลักทรัพย์ สัญญาต้องมี ข้อกําหนดให้ผู้ให้ยืมต้องโอนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ยืมโดยปลอดจากบุริมสิทธิหรือภาระผูกพันใด ๆ โดยผู้ยืมต้องส่งมอบหลักประกันให้แก่ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ และผู้ให้ยืมจะส่งมอบ หลักประกันคืนให้แก่ผู้ยืม เมื่อผู้ยืมคืนหลักทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืมการคืนหลักทรัพย์ที่ยืมและการคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่เป็นหลักประกัน ให้ใช้หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกัน ประเภท รุ่น ชนิด และจํานวนที่ เทียบเท่ากันแทนกันได้ในกรณีที่วางเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นหลักประกัน การคืนหลักประกันให้กระทําโดย การยกเลิกหรือลควงเงินของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่นํามาวางไว้ (3) การปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืน สัญญา ต้องมีข้อกําหนดที่ชัดเจนในการปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืนเมื่อ มีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่ครบกําหนดคืนอันจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ ของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมเมื่อมีการโอนหลักทรัพย์หรือหลักประกันคืน (ก) การให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่มีอยู่ก่อนแล้ว (ข) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง (ค) การไถ่ถอนหลักทรัพย์ (จ) การจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น (ฉ) การแปลงสภาพหลักทรัพย์ หรือ (ช) กรณีอื่นใดในทํานองเดียวกัน (4) การชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่คู่สัญญา สัญญาต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการ ชดเชยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์หรือผู้ยืมหลักทรัพย์จึงได้รับ หากยังถือหลักทรัพย์หรือหลักประกันไว้ แล้วแต่กรณี โดยต้องกําหนดให้การจ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ ดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารจ่ายให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ หรือตราสารนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงเป็นประการอื่น (5) ข้อกําหนดในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ที่ทําให้หนี้ ถึงกําหนดชําระโดยพลัน สัญญาต้องมีข้อกําหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของคู่สัญญาตลอดจนมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน ข้อ ๓ สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตผ่านบัญชีมาร์จิ้นให้เป็นไป ตามที่ตน บททกทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,335
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2542 เรื่อง ลักษณะและสาระสำคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2542 เรื่อง ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 39/2540 เรื่อง ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) วัตถุประสงค์ของการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องมีวัตถุประสงค์ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์กําหนด” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 39/2540 เรื่อง ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 “ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นนิติบุคคลตามข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ผู้ให้ยืมและผู้ยืมอาจตกลงกําหนดลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันไว้เป็นประการอื่นก็ได้” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,336
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 47/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47 2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 41/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็น ผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ (2) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นตาม (1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือ โอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัท จัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่บุคคลทั่วไปหรือแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จาก อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตาม ข้อ 7(3)(ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ธุรกิจที่มีรายได้หลักจากการรับเหมาก่อสร้าง การพัฒนาที่ดิน การสร้างที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ หรืออาคารชุดเพื่อจําหน่าย การจัดหา จําหน่าย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเป็นตัวแทนหรือนายหน้าเกี่ยวกับที่ดิน ที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ หรืออาคารชุด รวมทั้ง การให้คําปรึกษาและการให้บริการด้านสถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ และวิศวกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้าง และการตกแต่ง “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับ ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามประกาศสํานักงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ของสถาบันการเงิน “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและ จดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับ การจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และ ประกาศที่เกี่ยวข้อง “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) บรรลุนิติภาวะ (2) มีประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (3) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทจัดการอื่น (4) ไม่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท จัดการอื่น หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทอื่น ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันคุณสมบัติดังกล่าวได้ ข้อ ๓ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่มี ลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ กระทําโดยทุจริต (3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับยกเว้น จากสํานักงาน (4) เคยถูกสั่งถอดถอนจากการเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงิน (5) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการ กองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เหตุแห่งการเพิกถอนนั้นเนื่องมาจากการไม่เข้าอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบ วิชาชีพที่จัดโดยสมาคม (6) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (7) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากสถาบันการเงินใดเนื่องจากการกระทํา ทุจริตในสถาบันการเงินนั้น (8) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (9) มีประวัติการบริหารงานอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หลายครั้ง หรือที่เป็นความผิดร้ายแรง อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงาน (10) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงาน หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ฟ้องร้อง หรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดี เนื่องจากการกล่าวโทษหรือร้องทุกข์ดังกล่าว ในความผิดที่บัญญัติไว้หรือความผิดที่อาจดําเนินการได้ตาม กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน (11) มีลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ ในการขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้บริษัทจัดการ ยื่นขอความเห็นชอบบุคคลที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ต่อสํานักงานพร้อมหนังสือรับรองของบริษัทจัดการว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติตามข้อ 2 และไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามข้อ 3 ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้อง (1) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเงื่อนไขอื่นตามที่สํานักงานกําหนด (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัดระวัง ตามสมควรเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นสําคัญ (3) ไม่เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ล่วงรู้มาเนื่องจากการ ปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อระบบ สถาบันการเงินหรือประชาชน (4) ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนการกระทําความผิดตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง หรือการกระทําอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริต (5) ไม่กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์รายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ บุคคลดังกล่าวแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ที่ได้ให้ไว้แล้วได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ตักเตือน (2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควร (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,337
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 41/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 47/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ (2) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นตาม (1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่บุคคลทั่วไปหรือแก่ผู้ลงทุนสถาบันและนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ธุรกิจที่มีรายได้หลักจากการรับเหมาก่อสร้างการพัฒนาที่ดิน การสร้างที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ หรืออาคารชุดเพื่อจําหน่าย การจัดหา จําหน่าย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเป็นตัวแทนหรือนายหน้าเกี่ยวกับที่ดิน ที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ หรืออาคารชุด รวมทั้งการให้คําปรึกษาและการให้บริการด้านสถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ และวิศวกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้างและการตกแต่ง “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) บรรลุนิติภาวะ (2) มีประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (3) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทจัดการอื่น (4) ไม่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการอื่น หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทอื่น ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันคุณสมบัติดังกล่าวได้ ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะ ต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากสํานักงาน (4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145 หรือเคยถูกถอดถอนตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีดําตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการ ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วย ประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจ ทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อ ขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการ ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วย ประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มี ลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่ เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน (11) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เหตุแห่งการเพิก ถอนนั้นเนื่องจากการไม่เข้าอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม (12) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (13) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการ เงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือ การดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อ การปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภาย หลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ (14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (15) จงใจอําพรางการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุน รวมอื่นที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความ จริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรแจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (16) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือ มาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๕ ในการขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ 117 - 12 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้ และรับรองว่าผู้ที่บริษัทจัดการขอความเห็นชอบมีคุณสมบัติตามข้อ 3 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 ด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 3 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รายนั้นแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดหรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้ ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้อง (1) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งเงื่อนไขอื่นตามที่สํานักงานกําหนด (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัดระวังตามสมควรเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และต้อง คํานึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นสําคัญ (3) ไม่เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ล่วงรู้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงินหรือประชาชน (4) ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนการกระทําความผิดตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องหรือการกระทําอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยทุจริต (5) ไม่กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามที่สํานักงาน กําหนด ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 7สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ตักเตือน (2) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควร (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการ โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวจะไม่เกินห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบบุคคลนั้น หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่ขอรับหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการ และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ในภายหลัง ข้อ ๑๐ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้น เมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่กําหนดในประกาศสํานักงานตามข้อ 9 แล้ว อยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 9 สูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือจะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจจัดการลงทุน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าสํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 9 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 9 แล้ว สํานักงานจะไม่นําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ซึ่งเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งหลังอีก ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดมีผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดการนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รายนั้น ข้อ ๑๓ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,338
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 4/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นผู้คัดเลือกหรือเสนอผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ธุรกิจที่มีรายได้หลักของบริษัทหรือที่มีรายได้หลักของฝ่ายงานหรือกลุ่มธุรกิจของบริษัท จากการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) การรับเหมาก่อสร้าง (2) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การพัฒนาที่ดิน การสร้างที่อยู่อาศัย อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ เป็นต้น (3) การจัดหา จําหน่าย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเป็นตัวแทนหรือนายหน้าเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (4) การให้บริการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (5) การให้คําปรึกษาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น การให้คําปรึกษาด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้าง การตรวจสอบอย่างผู้มีวิชาชีพเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (due diligence) การศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น (6) การปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนเพื่อการแก้ไขปัญหา “รายได้หลัก” หมายความว่า รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของรายได้จากการประกอบธุรกิจทั้งหมดของบริษัท หรือรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นรายได้ของฝ่ายงานหนึ่งหรือกลุ่มธุรกิจหนึ่งของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของรายได้ทั้งหมดของ ฝ่ายงานนั้น ๆ หรือกลุ่มธุรกิจนั้น ๆ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 “ผู้จัดการกองทุนเพื่อการแก้ไขปัญหา” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นผู้คัดเลือกหรือเสนอผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) บรรลุนิติภาวะ (2) มีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี โดยต้องปฏิบัติงานในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายพัฒนาโครงการ ฝ่ายก่อสร้างหรือออกแบบ ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายงานให้คําปรึกษาหรือประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น (3) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทจัดการอื่น (4) ไม่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนเพื่อการแก้ไขปัญหา หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ของบริษัทอื่น ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันระยะเวลาเกี่ยวกับประสบการณ์ตามวรรคหนึ่ง (2) ได้ และสํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันด้วยก็ได้ ข้อ ๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากสํานักงาน (4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน (11) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนเพื่อการแก้ไขปัญหา หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (12) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (13) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ (14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (15) จงใจอําพรางการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรแจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (16) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๔ ในการขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ 117 - อ1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้ และรับรองว่าผู้ที่บริษัทจัดการขอความเห็นชอบมีคุณสมบัติตามข้อ 2 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ด้วย ในกรณีที่สํานักงานได้ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งบริษัทจัดการขอความเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แล้ว ต่อมาภายหลังปรากฏว่าข้อมูลที่ได้ระบุในแบบ 117 - อ1 เปลี่ยนแปลงไป ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวให้ สํานักงานทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวตามแบบ 117 - อ2 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน (1) รายงานวันเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของแต่ละกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้นเริ่มหรือหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามแบบ 117 - อ3 ท้ายประกาศนี้ (2) รายชื่อผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของแต่ละกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ณ วันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนั้นตามแบบ 117 - อ4 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 สํานักงานอาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รายนั้นแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดหรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้ ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้อง (1) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งเงื่อนไขอื่นตามที่สํานักงานกําหนด (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัดระวังตามสมควรเยี่ยงผู้ประกอบธุรกิจเช่นนั้นจะพึงกระทํา และต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นสําคัญ (3) ไม่เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ล่วงรู้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงินหรือประชาชน (4) ไม่กระทําการอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริต (5) ไม่กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 7 สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กําหนด (3) เพิกถอนการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฝ่าฝืนคําสั่งของสํานักงานตาม (2) สํานักงานอาจสั่งตาม (3) ได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการ โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวจะไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่ขอรับหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการ และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ในภายหลัง ข้อ ๑๐ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้น เมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่กําหนดในประกาศสํานักงานตามข้อ 9 แล้ว อยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 9 สูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 3 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือจะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจจัดการลงทุน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าสํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 9 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 9 แล้ว สํานักงานจะไม่นําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ซึ่งเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งหลังอีก ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดมีผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้บริษัทจัดการนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รายนั้น ข้อ ๑๓ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,339
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกําากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50 /2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 1 (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 10/2538 เรื่อง การรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือการดํารงฐานะทางการเงินตามแบบและวิธีการที่ กํํานดตามข้อ 3 ให้นําบทนิยามตามข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับ กับประกาศนี้ด้วย ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือการดํารงฐานะทางการเงิน ตามแบบและวิธีการดังนี้ (1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ให้บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4 (แก้ไขเพิ่มเติม) ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ โดยคํานวณตามวิธีที่กําหนดในรายละเอียดประกอบการคํานวณเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิที่กําหนดท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 9/2538 เรื่อง การกําหนดแบบและรายละเอียดประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประกอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด ประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4 ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ (2) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 หากบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ใดประกอบธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน การขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาซื้อคืน การยืมหลักทรัพย์ หรือการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์นั้นเพิ่มเติมรายการการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของธุรกรรมดังกล่าวไว้ใน แบบ บ.ล.4 (แก้ไขเพิ่มเติม) โดยใช้รูปแบบและวิธีคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของธุรกรรมนั้น ตามที่กําหนดไว้ในแบบ บ.ล. 4/1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล.1 ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ (3) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดทํารายงานการคํานวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวันให้เสร็จสิ้น ภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคล ผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้าย ของเดือนต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป (3) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ใดมีหนี้สินด้อยสิทธิหรือ สัญญาเช่าทางการเงินใดที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในกาคํานวณหนี้สินรวม หรือมีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระ ผูกพันใดที่นับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินพิเศษ ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันดังกล่าวต่อสํานักงานพร้อมกับแบบรายงานใน งวดแรกที่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นับรายการดังกล่าวรวมไว้ในรายงานการ คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าว (4) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของทุกวันพร้อมหลักฐาน ที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เพื่อพร้อมที่จะให้สํานักงาน ตรวจสอบได้หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่งวันใดเท่ากับ หรือน้อยกว่า (ก) ร้อยละ 4 ของหนี้สินทั่วไป สําหรับระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 (ข) ร้อยละ 6 ของหนี้สินทั่วไป สําหรับระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 (ค) ร้อยละ 8 ของหนี้สินทั่วไป สําหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป หรือ (2) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ใดมีฐานะการเงินที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 (4) ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารง เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยละ 1 ของหนี้สิน ทั่วไปเฉพาะส่วนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิหรือฐานะทางการเงินของบริษัทเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราที่กําหนด และของทุกวันถัดไป ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทต้องจัดทํารายงานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จตามข้อ 4 (1) และหน้าที่ในการยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อ สํานักงานเป็นรายวันตามข้อนี้ จะสิ้นสุดเมื่อบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้นสามารถ ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิหรือฐานะทางการเงิน แล้วแต่กรณี ได้มากกว่าอัตราที่กําหนดเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าสองวันทําการติดต่อกัน และได้ยื่นรายงานของสองวันทําการนั้นต่อสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,340
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ---------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 1(3) แห่งประกาศดณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคถ่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกส่วนที่ 1 หน้า 1 และส่วนที่ 2 ถึงส่วนที่ 4 ของแบบ บ.ล.4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณงินกองทุนสภาพคถ่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ใขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 40/254 1 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้แบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกหน้า 3 ถึงหน้า 6 หน้า 8 ถึงหน้า 10 หน้า 14 และหน้า 16 ถึงหน้า 29 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคถ่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ชันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.40/2541 เรื่อง กํารคํานวณเละการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคถ่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 สิงหาดม พ.ศ. 2541 และให้ใช้คําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังตับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ใดเข้ามีความผูกพันในลักษณะใดดังต่อไปนี้ภายหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้นตั้งแต่วันที่บริษัทเข้ามีดวามผูกพันดังกล่าวเป็นต้นไป (1) เป็นผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative warrants) หรือออปชัน (Options) ไม่ว่าออปชันนั้นจะเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ หรือ (2) เป็นคู่สัญญาตามอนุพันธ์ประเภทฟิวเจอร์ (Futures) ฟอร์เวิร์ด (Forwards) สวอป (Swaps) หรือสัญญาอื่นในทํานองเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์อื่นใดที่มิใช่เพื่อการป้องกันความเสี่ยงตามที่สํานักงานยอมรับ ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (นายวสันต์ เทียนหอม) ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส เลขาธิการแทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,341
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 7/2544 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 7/2544 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในส่วนที่ 4 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหน้า 28 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3 ) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในหน้า 28 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ให้เพิ่มความในหน้า 28/1 หน้า 28/2 หน้า 28/3 และหน้า 28/4 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นความในหน้า 28/1 หน้า 28/2 หน้า 28/3 และหน้า 28/4 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในหน้า 29 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในหน้า 29 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในหน้า 29/1 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,342
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 10/2546 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2546 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 หน้า 2 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณ และการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในส่วนที่ 1 หน้า 2 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหน้า 11 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในหน้า 11 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ให้เพิ่มความในหน้า 33 และหน้า 34 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นความในหน้า 33 และหน้า 34 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,343
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2546 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัย มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 วรรคสอง (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2538 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 41/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 32/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ข้อ 2 ในประกาศนี้และในแบบท้ายประกาศนี้ -------------------------------------- (1) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ที่กิจการเป็นผู้ออก เพื่อให้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง (2) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) “ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (4) “บุคคลที่เกี่ยวโยง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้บริหารของกิจการ (ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกิจการ 1. ผู้มีอํานาจควบคุมของกิจการ 2. บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา รวมทั้งคู่สมรสและบุตรของบุคคลดังกล่าว 3. นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ (5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย 1. “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในกิจการเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ทั้งนี้ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยบุคคลตามมาตรา 258 ด้วย (7) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของกิจการอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ 1. บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของกิจการนั้นได้ (ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของกิจการให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของกิจการ (ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในกิจการหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกิจการเยี่ยงผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของกิจการนั้น (8) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (9) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### ข้อ 3 บุคคลใดประสงค์จะได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพของกิจการใด อันจะเป็นผลให้เมื่อมีการได้มาซึ่งหุ้นนั้นแล้วหรือเมื่อมการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นแล้ว จะทําให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 บุคคลนั้นอาจยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการก็ได้ ### คําขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อสํานักงานก่อนการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าว พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด และจะได้รับการผ่อนผันภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน และยินยอมให้ผู้ขอผ่อนผันไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าว โดย ### (ก) ในกรณีที่จํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มา จะไม่เป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงจนถึงหรือข้ามร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ข) ในกรณีที่จํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มา จะเป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงจนถึงหรือข้ามร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของ จํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งมีสิทธิออกเสียงรวมกันตั้งแต่ร้อยละห้าของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมคัดค้านการขอผ่อนผัน และ 1. หลักทรัพย์ที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มาต้องเป็นหลักทรัพย์ซึ่งเหลือจากการเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามส่วนจํานวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ก่อนแล้ว และเสนอขายให้แก่ ผู้ขอผ่อนผัน โดยมีราคาเสนอขาย รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่ไม่ดีไปกว่าที่กิจการเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม 2. มติดังกล่าวต้องได้รับจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมครั้งเดียวกันกับ ที่ได้มีมติให้ออกหลักทรัพย์ใหม่ดังกล่าวเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามส่วนจํานวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ก่อน และ 3. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งดังกล่าวได้กําหนดจํานวนสิทธิออกเสียงสูงสุดที่ยินยอมให้ผู้ขอผ่อนผันได้มาโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (2) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีรายละเอียดเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5และการประชุมผู้ถือหุ้นได้จัดให้มีขึ้นภายในระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน (3) ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันต้องไม่มีการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการนั้นในระหว่างระยะเวลาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน จนถึงวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน เว้นแต่เป็นการได้มาโดยทางมรดก หรือเป็นการได้มาตามส่วนเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น (4) ในกรณีที่ราคาหุ้นหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพของหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ขอผ่อนผันจะได้มา เข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ การนัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ซึ่งเกี่ยวกับวาระดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าวด้วย ข้อ 4 ในกรณีที่ผู้ขอผ่อนผันตามข้อ 3 เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ นอกจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว การผ่อนผันจะอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย 1. ผู้ขอผ่อนผันได้มีการเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ตามแบบ 247-7 ท้ายประกาศนี้ (ก) ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขอผ่อนผันกับกิจการในฐานะบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ เช่น เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกิจการ (ข) ระบุจํานวนหุ้นของกิจการที่ถืออยู่แล้วโดยผู้ขอผ่อนผัน และบุคคลตามมาตรา 258 แต่ละรายของผู้ขอผ่อนผัน (ถ้ามี) (2) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 3 วรรคสอง (1) ได้มาโดยมิได้นับรวมการออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน และเพื่อประโยชน์ในการนี้ มิให้นับสิทธิออกเสียงลงคะแนนของบุคคลดังกล่าวรวมอยู่ในจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสําหรับวาระนั้น ข้อ 5 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอผ่อนผันสามารถได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน ### (1) ชื่อผู้ขอผ่อนผันซึ่งประสงค์จะขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ### (2) จํานวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระนั้น เช่น ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนผัน และจํานวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่การออกเสียงลงคะแนนไม่สามารถนับรวมในวาระดังกล่าวได้ภายใต้บังคับของประกาศนี้ เช่น บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีที่ผู้ขอผ่อนผันเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ (3) วิธีการกําหนดราคาหลักทรัพย์ที่จะเสนอขาย และเหตุผลในการกําหนดราคาดังกล่าวว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทหรือไม่อย่างไร ### (4) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ถ้าเป็นกรณีตามข้อ 3 วรรคสอง (1) (ข) 1. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เหตุผลและความจําเป็นในการเพิ่มทุนของบริษัท 1. เหตุผลในการออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. ราคาหุ้นหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพของหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ขอผ่อนผันจะได้มา เข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือ 2. ผู้ขอผ่อนผันเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ (ค) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขอผ่อนผันกับกิจการ ผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกิจการ และข้อตกลงที่มีนัยสําคัญระหว่างกัน (ง) ประโยชน์หรือผลกระทบจากนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการของผู้ขอผ่อนผัน รวมทั้งความเป็นไปได้ของนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการดังกล่าว (จ) ความเห็นที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นว่าควรหรือไม่ควรอนุมัติให้ผู้ขอผ่อนผันได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ พร้อมทั้งเหตุผลในการให้ความเห็นดังกล่าว (6) ความเห็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นที่กิจการแต่งตั้งจากบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ * 1. ความเห็นต่อนโยบายและแผนการบริหารกิจการที่เสนอโดยผู้ขอผ่อนผัน 2. สิทธิออกเสียงทั้งหมดที่ผู้ขอผ่อนผันจะมีภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์และที่จะสามารถได้มาเพิ่มเติมในอนาคตโดยไม่เกิดหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (ค) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อย่างน้อยในเรื่องสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและกําไรต่อหุ้น (ง) ความเหมาะสมของราคาหลักทรัพย์ออกใหม่ที่กิจการจะเสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน 1. ความครบถ้วนถูกต้องของรายชื่อและจํานวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน ###### ผู้ขอผ่อนผันต้องดําเนินการให้กิจการแนบหนังสือมอบฉันทะและรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระของกิจการอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ ไปพร้อมกับการส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ### ข้อ 6 ในการขอผ่อนผัน ผู้ขอผ่อนผันต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ 1. ส่งหนังสือขอผ่อนผันพร้อมกับแนบสําเนาหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (แบบ 247-7) และสําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้แก่สํานักงาน และ 2. จัดให้มีการส่งหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (แบบ 247-7)ไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ เมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารตาม (1) เว้นแต่สํานักงานจะแจ้งเป็นอย่างอื่น (ก) ผู้ถือหุ้น โดยต้องส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น (ข) ตลาดหลักทรัพย์ เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) แล้ว ให้ผู้ขอผ่อนผันส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดโดยทันที ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้ขอผ่อนผันยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความ ถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง ข้อ 7 เมื่อกรณีครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติอนุมัติตามคําขอของผู้ขอผ่อนผันแล้ว ให้ถือว่าผู้ขอผ่อนผันได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการในสัดส่วนที่ไม่เกินกว่าที่ได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ การผ่อนผันของสํานักงานตามวรรคหนึ่งให้มีผลในวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัตินั้น ในการนี้ ให้ผู้ขอผ่อนผันแจ้งมติดังกล่าวพร้อมกับแนบสําเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับการมีมติอนุมัตินั้น ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ที่ประชุผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติ ทั้งนี้ หนังสือแจ้งมติดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ในวาระดังกล่าว 1. จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ในวาระดังกล่าว และผู้ถือหุ้นที่การออกเสียงลงคะแนนไม่สามารถนับรวมในวาระดังกล่าวได้ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ### คํารับรองของผู้ขอผ่อนผันว่ามติอนุมัติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ 8 ในระหว่างระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 7 จนถึงวันที่ผู้ได้รับการผ่อนผันชําระราคาหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่กิจการ หากผู้ได้รับการผ่อนผันหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการโดยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้รับการผ่อนผัน ให้การผ่อนผันของสํานักงานมีผลเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ถ้าจํานวนที่ได้มาโดยวิธีการอื่นนั้นไม่เป็นผลให้ผู้ได้รับการผ่อนผันมีการถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ. 53/2545 ให้ลดสัดส่วนหุ้นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานลงเหลือเพียงสัดส่วนที่เมื่อรวมกับหุ้นที่ได้มานอกเหนือจากที่ได้รับการผ่อนผันแล้วจะไม่เกินสัดส่วนที่ได้รับการผ่อนผัน หรือ 2. ถ้าจํานวนที่ได้มาโดยวิธีการอื่นนั้นเป็นผลให้ผู้ได้รับการผ่อนผันมีการถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 ให้การผ่อนผันที่ได้รับจากสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่เวลานั้น และในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ได้รับการผ่อนผันปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 ต่อไป ### ข้อ 9 ในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติตามข้อ 3 หากผู้ได้รับการผ่อนผันหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว เปลี่ยนแปลงนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการอย่างมีนัยสําคัญจากที่ได้เสนอไว้ในหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ให้การผ่อนผันที่ได้รับจากสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ผู้ได้รับการผ่อนผันตามประกาศนี้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 ต่อไป ### ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ### ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ### (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ### เลขาธิการ ### สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,344
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2547 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2547 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหน้า 17/18 และหน้า 17/30 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในหน้า 17/18 และหน้า 17/30 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้เพิ่มความในหน้า 17/18-1 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นความในหน้า 17/18-1 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,345
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2547 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2547 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 9) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือการดํารงฐานะทางการเงินตามแบบและวิธีการที่กําหนดตามข้อ 3 “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ “ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์กับสํานักงาน ให้นําบทนิยามตามข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับกับประกาศนี้ด้วย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 “ข้อ 5/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานดังกล่าว ผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,346
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 36/2548 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36 /2548 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 10) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหน้า 17/12 หน้า 17/16 และหน้า 17/31 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงาน การคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในหน้า 17/12 หน้า 17/16 และหน้า 17/31 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้เพิ่มความในหน้า 17/16-1 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นความในหน้า 17/16-1 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,347
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 342) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับการบริจาคเงิน ให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 217
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 342) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงิน ให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 217 ---------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 520) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 217) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้น ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555 “กรณีที่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสาร หลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,348
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 51/2551 เรื่อง กำหนดรายการเพิ่มเติมประกอบบทนิยามตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51 /2540 เรื่อง กําหนดรายการเพิ่มเติมประกอบบทนิยาม ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้รายการต่อไปนี้เป็นหนี้สินพิเศษตามบทนิยามข้อ 2 (6) (ค) แห่งประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (1) หนี้สินที่เป็นเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือตราสารแห่งหนี้อื่นที่มีกําหนดระยะเวลาชําระคืน เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่คํานวณรายการ ซึ่งไม่มีเงื่อนไขการชําระคืนก่อนกําหนด ภายใน 6 เดือน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการให้สิทธิผู้กู้หรือผู้ให้กู้ไถ่ถอนก่อนกําหนด (putcall option) หรือเงื่อนไขอื่นในทํานองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ เฉพาะหนี้สินส่วนที่เหลือหลังจากหักดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากหนี้สินนั้นที่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์จะต้องจ่ายจริงภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่คํานวณรายการ (2) ภาระผูกพันที่มีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มี การชําระหนี้ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่คํานวณรายการ (3) หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,349
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 341) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 214
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 341) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอํานวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 214 ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการ ได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 214) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอํานวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 “กรณีที่หน่วยงานของรัฐรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยบุคคลธรรมดา บริษัทและ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อ เจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,350
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 340) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 209
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 340) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 209 ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 526) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 209) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้น ภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554 “กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,351
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 339) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 200
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 339) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 200 ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 515) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อใช้ในการจัดหา หนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 200) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้น ภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 “กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้น ภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,352
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 338) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 134
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 338) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 134 ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้น ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 “กรณีที่กองทุนสวัสดิการดังกล่าวรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้บริจาคไม่ต้องแสดงใบรับ ต่อเจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,353
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 337) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายจ่าย ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 337) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่าย ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 659) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่าย ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่ได้จดแจ้งต่อกรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือต่อสํานักงาน พัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์จังหวัด เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างในสถานประกอบการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า สถานรับเลี้ยงเด็กที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก “ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า ศูนย์รับเลี้ยงเด็กตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติว่าด้วยการจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่าย เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างเฉพาะในส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง ค่าใช้จ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจําเป็นต้องจ่ายในการจัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีลักษณะและคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์จนได้รับ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือได้รับใบประกาศการจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กใน สถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2560 แล้วแต่กรณี ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1)ยื่นคําขอและได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กหรือยื่นคําขอจดแจ้งและได้รับใบประกาศการจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก แห่งชาติ ว่าด้วยการจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (2) จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้สิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยตามแบบ แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมิน ตรวจสอบได้ (3) เก็บรักษาใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือใบประกาศการจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,354
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 336) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัยกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 336) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัยกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 668) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 668) พ.ศ. 2561 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น ข้อ ๒ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 668) พ.ศ. 2561 ต้องมีเอกสารหลักฐานพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นเป็นหนังสือ เช่น หนังสือขอบคุณใบประกาศเกียรติคุณที่ออกโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวต้องระบุจํานวนเงินที่ได้บริจาคและสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้ ทั้งนี้เว้นแต่กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัยกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขได้ท าการรับบริจาค ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่งโดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,355
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 335) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 335) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 306) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 310) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ผู้มีเงินได้ตามข้อ 1 จะต้องมีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่งประมวลรัษฎากร จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งได้รับสิทธิและประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 4/2560 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ 16 มีนาคม 2560 หรือประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 6/2561 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้ (1) กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้นจะต้องมีเงินได้ดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน (2) กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายและกิจการอื่นจะต้องกําหนดในสัญญาจ้างแรงงานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงินได้ในส่วนที่ปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน โดยจะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 641) พ.ศ. 2560 เฉพาะเงินได้จากการปฏิบัติงานในกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,356
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 334) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกำหนด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 334) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 340 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามดังต่อไปนี้ ต่อจากคําว่า “ผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์ไทย” ในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 322) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทาง ท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศก าหนด ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 “ผู้ประกอบกิจการสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการให้บริการที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” หมายความว่า สถานที่พักที่มีจํานวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกินสี่ห้องและมีจํานวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสําหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยกําหนด ตามข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ก าหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และได้ทําบันทึกข้อตกลงกับกรมสรรพากรซึ่งเป็นข้อตกลงการรับส่งข้อมูลการรับชําระค่าบริการท่องเที่ยวของผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่รับชําระค่าบริการโดย QR Code สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 340 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 322) เรื่อง ก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศก าหนด ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นค่าบริการ หรือค่าที่พัก สําหรับการเดินทางท่องเที่ยว ในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่่ตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 340 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจน าเที่ยว สําหรับ (ก) การเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใด ที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ข) การเดินทางท่องเที่ยวในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับท้องที่ในเขตจังหวัดอื่น ซึ่งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2) เป็นการจ่ายค่าที่พักในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขต พื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดังนี้ (ก) ค่าที่พักในโรงแรม ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ข) ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์ไทย (ค) ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบกิจการสถานที่พัก ที่ไม่เป็นโรงแรม (3) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ได้จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้ว ไม่เกิน 15,000 บาท (4) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15,000 บาท (5) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการ และเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมิน ของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ได้จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 322) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศก าหนด ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจ โรงแรม ผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์ไทย หรือผู้ประกอบกิจการสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม โดยหลักฐาน ดังกล่าวต้องระบุชื่อของผู้มีเงินได้ จํานวนเงิน วัน เดือน ปีที่จ่ายเงิน ท้องที่ในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือ เขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสําหรับ (1) หลักฐานการรับชําระค่าบริการตามข้อ 2 (1) (ข) ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้อง ระบุลําดับที่ของเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในหลักฐาน การรับเงินด้วย (2) หลักฐานการรับชําระค่าที่พักตามข้อ 2 (2) (ค) ผู้ประกอบกิจการสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ต้องระบุเลขที่รับแจ้งและจังหวัด ตามหนังสือรับแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ที่ออกโดย นายทะเบียนกระทรวงมหาดไทยด้วย กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้ช าระค่าบริการสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวตามข้อ 2 (1) (ก) และ (ข) ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวผ่านธนาคารโดย QR Code และผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวดังกล่าวได้มีการทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งตัวแทน และมอบอํานาจให้ธนาคารส่งข้อมูลการรับชําระค่าบริการนั้น ให้กรมสรรพากร โดยกําหนดให้ธนาคารจัดส่งข้อมูลการรับชําระค่าบริการให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 มกราคม ของปีถัดไป ตามรูปแบบและวิธีการนําส่งข้อมูลที่ธนาคารทําไว้กับกรมสรรพากร ข้อมูลการรับชําระค่าบริการที่ธนาคารส่งให้กรมสรรพากรดังกล่าว ถือเป็นหลักฐานการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้ ตามประกาศนี้ โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการรับเงินตามวรรคหนึ่งต่อเจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,357
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 333) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 333) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 341 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ สําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และชําระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีการจ่ายค่าซื้อยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ หรือยางรถจักรยาน ต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งหลักฐานคูปองที่แสดงประเภทของยางที่ซื้อจากผู้ขาย ซึ่งเป็นหลักฐานที่การยางแห่งประเทศไทยรับรองว่า ยางดังกล่าวผลิตโดยผู้ผลิตที่ซื้อวัตถุดิบจากการยางแห่งประเทศไทยยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ หรือยางรถจักรยานตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน หลักฐานคูปองจากผู้ขายตามวรรคหนึ่งต้องปรากฏชื่อหรือตราประทับของผู้ขายและผู้มีเงินได้ต้องมีจํานวนคูปองมาแสดงเท่ากับจํานวนยางที่ซื้อ (2) กรณีการจ่ายค่าซื้อหนังสือแต่ไม่รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ขายที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่ผู้ขายมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) กรณีการจ่ายค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแต่ไม่รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ให้บริการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้ (4) กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรจากผู้ขาย ในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่ผู้ขายมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยในการจัดทํารายการชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (5) แห่งประมวลรัษฎากร หรือในใบรับนั้น ผู้ขายต้องปฏิบัติ ดังนี้ (ก) ต้องระบุข้อความที่แสดงว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละรายการสินค้า หรือจัดทําเครื่องหมายแสดงในแต่ละรายการสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และมีข้อความที่แสดงว่าเครื่องหมายนั้นหมายถึงสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไว้ในใบกํากับภาษีหรือใบรับ เช่น “OTOP” “โอทอป” หรือ “One Tambon One Product” เป็นต้น (ข) กรณีที่สินค้าทุกรายการในใบกํากับภาษีหรือใบรับนั้น เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะไม่ระบุข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงว่า สินค้าแต่ละรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตาม (ก) ก็ได้โดยให้ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีหรือใบรับ ประทับด้วยตรายางที่มีชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ขายสินค้านั้น และให้ระบุข้อความว่า “สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือข้อความอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันในใบกํากับภาษีหรือใบรับฉบับนั้นด้วย การออกใบกํากับภาษีหรือใบรับตามวรรคหนึ่งที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการออกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2560 หรือระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ กรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,358
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 332) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อดำเนินโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐหรือเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 332) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อดําเนินโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐหรือเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 657) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อดําเนินโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ หรือเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “คณะทํางานสานพลังประชารัฐ” หมายความว่า คณะทํางานสานพลังประชารัฐที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) จํานวน 12 คณะย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 รับทราบการแต่งตั้งคณะทํางานดังกล่าวแล้ว ดังนี้ (1) คณะทํางานด้านการยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ (2) คณะทํางานด้านการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (3) คณะทํางานด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจเริ่มต้น (4) คณะทํางานด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (5) คณะทํางานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (6) คณะทํางานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและส่งเสริมอุตสาหกรรมการประชุมและจัดนิทรรศการ (7) คณะทํางานด้านการส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ (8) คณะทํางานด้านพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (9) คณะทํางานด้านการปรับแก้กฎหมายและกลไกภาครัฐ (10) คณะทํางานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ (11) คณะทํางานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นํา (12) คณะทํางานด้านการสร้างรายได้และการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศ ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อดําเนินโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 657) พ.ศ. 2561 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ดําเนินโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ และจะต้องแสดงรายละเอียดของโครงการดังกล่าวเพื่อประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ (2) จัดทํารายงานแสดงรายการค่าใช้จ่ายตามโครงการสานพลังประชารัฐ ซึ่งได้รับการรับรองจากหัวหน้าคณะทํางานสานพลังประชารัฐภาคเอกชนแต่ละคณะ โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานแสดงรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (3)สามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่า รายจ่ายตาม (2) เป็นรายจ่ายตามโครงการสานพลังประชารัฐ ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 657) พ.ศ. 2561 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) จะต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น (2) สามารถแสดงหลักฐานการรับเงินซึ่งออกโดยมูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ ที่มีข้อความว่าเป็น “รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการดําเนินโครงการสานพลังประชารัฐ” และจัดทํารายงานแสดงรายการค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ต้องไม่นํารายจ่ายดังกล่าวที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อดําเนินโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ หรือเพื่อสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่ให้แก่มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ) อธิบดีกรมสรรพากร
3,359
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงิน ได้เท่าที่จ่ายเป็น ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงิน ได้เท่าที่จ่ายเป็น ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (99) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 338 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ค่าบําบัดทางการแพทย์ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่าทําคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตรอดหรือไม่ “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาลตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท (2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแยกยื่นรายการสําหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภท หรือเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ภริยาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เต็มจํานวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท (3) กรณีผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสจ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์ในคราวเดียวกันแต่คนละปีภาษี ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษีแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท (4) กรณีผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสจ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์หลายคราวในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราว ๆ ละไม่เกิน 60,000 บาท ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 จะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ (1) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสมีภาวะตั้งครรภ์ (2) ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่า ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาล ข้อ ๔ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 เมื่อนําไปรวมกับสิทธิการเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรซึ่งเป็นสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ผู้มีเงินได้และคู่สมรสได้รับสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 บาท สิทธิสวัสดิการจากภาครัฐหรือภาคเอกชนตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ สิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐสิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากนายจ้างภาคเอกชน ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วัน ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,360
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 330) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 330) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินหนึ่งแสนบาท ผู้มีเงินได้ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (1) เอกสารสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ขอจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีชื่อของผู้มีเงินได้ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ สําหรับกรณีที่เป็นการถือหุ้นในบริษัทจํากัด (2) เอกสารหนังสือรับรองการจ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรไปแล้ว แต่ต่อมาไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่อเนื่องกันจนครบกําหนดสองปีนับแต่วันที่จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นั้นพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและลักษณะเป็นไปตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ในรอบระยะเวลาบัญชีใดและได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว ต่อมาในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 3 ( 2) หรือ (3) แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรอนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ได้นําเงินไปลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสําหรับปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดจากวันที่พ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีคุณสมบัติและลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 3 (2) หรือ (3) แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว โ ดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,361
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 329) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 329) เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ภ.ง.ด. 52 และ ภ.ง.ด. 55 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ภ.ง.ด. 52 และ ภ.ง.ด. 55 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,362
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 328) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 328) เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 59 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 111) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษี กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 111) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,363
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 327) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 327) เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 107) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 107) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบ แสดงรายการภาษี ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,364
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 326) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 326) เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 110) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 และ ภ.ง.ด. 3 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 110) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 และ ภ.ง.ด. 3 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,365
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 325) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 325) เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 95) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 54 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร (2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 95) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีเงินได้ตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด. 54 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,366
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 324) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 324) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง ---------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 69 และมาตรา 149 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง ผู้เสียภาษีที่จะอุดหนุนเงินภาษีได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย และเมื่อคํานวณภาษีตามประมวลรัษฎากรตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีแล้วมีภาษีที่ต้องชําระ ผู้เสียภาษีสามารถแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองได้ไม่เกินจํานวนภาษีที่ต้องชําระนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินห้าร้อยบาท โดยให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องแสดงเจตนาไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีโดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์จะอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่อุดหนุน ต้องระบุรหัสรายชื่อพรรคการเมืองที่ต้องการอุดหนุน และต้องระบุจํานวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุน หากไม่ระบุความประสงค์หรือไม่ระบุรหัสรายชื่อพรรคการเมืองหรือไม่ระบุจํานวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุนให้ถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง การระบุจํานวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุนตามวรรคหนึ่ง กรณีที่ระบุจํานวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุนเกินกว่าจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระหรือเกินกว่าห้าร้อยบาท ให้ถือว่าประสงค์จะอุดหนุนเงินภาษีเพียงจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระนั้น หรือจํานวนห้าร้อยบาทแล้วแต่กรณี (2) แสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีได้เพียงหนึ่งพรรคการเมืองและเมื่อได้แสดงเจตนาแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้ หากแสดงเจตนาเกินกว่าหนึ่งพรรคการเมือง ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองใด (3) เงินภาษีที่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองตามประกาศนี้ ห้ามมิให้นําไปหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร (4) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้เสียภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีรวมกันและรวมคํานวณภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิระบุความประสงค์ของตนเองในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปี ข้อ ๒ พรรคการเมืองที่ผู้เสียภาษีจะแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้ได้ในปีภาษีใดจะต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนพรรคการเมืองในปีภาษีนั้น พรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งที่สิ้นสุดความเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายในปีภาษีใดให้ถือเสมือนว่าไม่มีพรรคการเมืองนั้นที่จะได้รับการแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีในปีภาษีนั้น ข้อ ๓ ให้สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งรายชื่อและรหัสของพรรคการเมืองตามข้อ 2 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบเพื่อใช้สิทธิตามประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้กรมสรรพากรจัดทํารายชื่อพรรคการเมืองที่ได้รับการอุดหนุนเงินภาษีพร้อมจํานวนเงินภาษีที่ได้รับการอุดหนุนทั้งหมดส่งให้นายทะเบียนพรรคการเมือง พร้อมกับโอนเงินดังกล่าวให้กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อโอนต่อให้พรรคการเมืองที่ได้รับการอุดหนุนเงินภาษีนั้นต่อไป ในกรณีที่พรรคการเมืองใดสิ้นสุดความเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายก่อนที่กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจะโอนเงินให้แก่พรรคการเมืองนั้น ให้กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองดําเนินการโอนเงินภาษีที่ได้อุดหนุนให้พรรคการเมืองนั้นกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดิน ข้อ ๕ ในกรณีมีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษี พ.ศ. 2561 ที่ต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,367
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 323) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้าง ณ ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกำหนด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 323) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้าง ณ ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด -------------------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 656) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่าย เป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้าง ณ ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ค่าห้องสัมมนา” หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการห้องสัมมนาเรียกเก็บ เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มจากการใช้ห้องสัมมนาตามปกติทางการค้า “รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา” หมายความถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียง และค่าจัดทําสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถลูกจ้างของตน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจัดทําโครงการการอบรมสัมมนาโดยมีหลักฐานเอกสารประกอบโครงการ เพื่อประโยชน์ในการแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนานั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียน ข้อ ๕ ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักที่จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ในสถานประกอบการเดียวกันก็ได้ แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,368
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 322) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกำหนด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 322) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พักสําหรับการเดินทางท่องเที่ยว ในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ “ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม “ผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์ไทย” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการให้บริการที่พักโฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พัก สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนด ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2) เป็นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวรองร่วมกับท้องที่ในเขตจังหวัดอื่น ซึ่งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (3) เป็นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม (4) เป็นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (5) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้ว ไม่เกิน 15,000 บาท (6) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (7) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ (ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้จ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักตามข้อ 2 เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวของผู้มีเงินได้ ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์ไทย โดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จํานวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน ทั้งนี้ หากเป็นการจ่ายค่าบริการ ตามข้อ 2 (2) ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้องระบุลําดับที่ได้รับการรับรอง เส้นทางท่องเที่ยวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในหลักฐานการรับเงินด้วย ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,369
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 321) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 321) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 647) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือค่าจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 647) พ.ศ. 2560 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจ่ายค่าซื้อหรือค่าจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่รวมค่าบํารุงรักษารายปี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้แก่ ผู้ขาย ผู้รับจ้างทํา หรือผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (2) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจด้านต่าง ๆ และเป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นในประเทศไทย (3) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทํา หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี (4) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่นํามาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคําของทรัพย์สินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามประสงค์ภายในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายค่าซื้อหรือค่าจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (5) ไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นําไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (6) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ซื้อ จ้างทํา หรือใช้บริการจะต้องไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทเดียวกันตามรายงานแสดงรายละเอียดประเภทและลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ซื้อ จ้างทํา หรือใช้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ เฉพาะภายใน รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,370
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 320) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 320) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับการรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยต้องกรอกคําขออนุมัติตามแบบ ร.ม. 1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย การยื่นคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคําร้องขอนั้นด้วย ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับอนุมัติตามข้อ 1 แล้ว ที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 ยื่นคําขอตามแบบแจ้งเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายสําหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ร.ม. 2) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในรูปแบบของไฟล์ PDF มาพร้อมกับคําขอด้วย ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินกิจการ ที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีรายได้จาก การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฉบับเดียว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,371
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 319) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่มีหนังสือรับรองความพิการจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 319) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่มีหนังสือรับรองความพิการจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ---------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (98) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 336 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ที่มีหนังสือรับรองความพิการจากกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ที่มีหนังสือรับรองความพิการจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้อง รวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้พึงประเมินที่ได้รับส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ หากผู้มีเงินได้ที่มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีใด ได้ใช้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (98) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ในปีภาษีนั้นอีก ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินหลายประเภท และแต่ละประเภท จะยกเว้นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจํานวนเงินได้พึงประเมินที่ใช้สิทธิยกเว้นดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีตามข้อ 1 เป็นสามีภริยาและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องแสดงรายการเงินได้พึงประเมิน และจํานวนเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,372
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 318) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 318) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 297) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบ แสดงรายการภาษี ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องยื่นบัญชีงบดุลบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ที่ได้ยื่นงบการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ผ่านทางอิเล็กทรอนิส์ (DBD e-Filing) ที่เว็บไซต์ (Web Site) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยมีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบ และรับรองงบการเงินดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยื่นบัญชีตามวรรคหนึ่งแล้ว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,373
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 317) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 317) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 640) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายเท่าที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจ่ายเพื่อการลงทุนในอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และต้องเริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาภายในกําหนดเวลาดังกล่าว (2) เป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อการลงทุนในอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคําของทรัพย์สิน ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (3) ต้องจัดทํารายงานข้อมูลการติดตั้งและยกเลิกการติดตั้งอุปกรณ์รับชําระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการลงทุนที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติหรือผู้ที่คณะกรรมการดังกล่าวมอบหมาย พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมจากการรับชําระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมจากการรับชําระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านอุปกรณ์รับชําระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ หมายถึง ค่าธรรมเนียมส่วนลดร้านค้า (Merchant Discount Rate : MDR) ที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการอุปกรณ์รับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากการรับชําระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านอุปกรณ์รับชําระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว (2) ต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตาม (1) จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ (3) ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าธรรมเนียมตาม (1) พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (4) กรณีบุคคลธรรมดาที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร (ข) จ่ายค่าธรรมเนียมตาม (1) เพื่อรับชําระเงินซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม (ก) (ค) หากประสงค์จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมตาม (ข) สําหรับเงินได้พึงประเมินประเภทใด ในการคํานวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องหักค่าใช้จ่ายสําหรับเงินได้พึงประเมินประเภทนั้นตามความจําเป็นและสมควร และต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียมแยกตามประเภทเงินได้พึงประเมินที่เลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (ง) ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
3,374
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 24/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 16 ข้อ 18 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30 /2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบดังต่อไปนี้ (1) ระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๒ ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นหักด้วยค่าธรรมเนียมการโอนย้ายการลงทุน (ถ้ามี) ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้รับคําสั่งโอนจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายในห้าวันทําการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 4 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ข้อ ๓ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดปีบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม (2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของกําไรสะสมดังกล่าว หรือกําไรสุทธิในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 5 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมด ลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทเป็นเวลาห้าวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมเป็นต้นไป (2) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทในวันทําการใด และบริษัทประสงค์จะเลิกกองทุนรวม เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมเป็นต้นไป (3) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมด ลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบล้านบาทในวันทําการใด เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมเป็นต้นไป (4) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้ารายในวันทําการใด ๆ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (1) หรือตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (2) (3) หรือ (4) (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่าบริษัทจะดําเนินการการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 2 และดําเนินการตามข้อ 5 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (2) (3) หรือ (4) (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (2) (3) หรือ (4) เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (1) หรือภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 4 (2) (3) หรือ (4) และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม ข้อ ๖ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ข้างต้น การจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งทุนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,375
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 42/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 42 /2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18(2) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายในห้าวันทําการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 4 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวม มีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และกําหนดหลักเกณฑ์การโอนย้ายหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนดเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้
3,376
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 33/2548 เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 33/2548 เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2545 เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ข้อ 2 ให้ลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากในขณะที่ครบกําหนดชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน บริษัทดังกล่าวได้รับการจัดอันดับการกํากับดูแลกิจการโดยมีคะแนนรวมตั้งแต่เจ็ดคะแนนขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด และมีการเปิดเผยอันดับการกํากับดูแลกิจการนั้นต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ตามอัตราและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของอัตราค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เฉพาะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดพิเศษสําหรับการขออนุญาตและการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (2) ร้อยละห้าสิบของอัตราค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับการกํากับดูแลกิจการของบริษัทที่ได้รับในแต่ละปี สามารถนํามาใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในกรณีนี้ได้เพียงครั้งเดียว ข้อ 3 อัตราค่าธรรมเนียมที่ลดหย่อนตามประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,377
ประกาศสำนักงานกณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 45/2544 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 45 /2544 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32 /2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบท้ายประกาศนี้ (1) ให้นําบทนิยามตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32 /2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับกับประกาศนี้และแบบท้ายประกาศนี้ (2) “ประกาศที่ กจ. 32 /2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32 /2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 32 /2544 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ (1) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ (2) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) (3) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (กรณีผู้ขออนุญาตมิใช่บริษัทจดทะเบียน) ข้อ ๓ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กจ. 32 /2544 ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในครั้งนั้นตามแบบ 35-2-1 (ก) ท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงานเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์ ข้อ ๔ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 3 แห่งประกาศที่ กจ. 32 /2544 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-2-2 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ จํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ (1) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ (2) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) ในกรณีที่การยื่นคําขออนุญาตตามหมวด 3 แห่งประกาศที่ กจ. 32 /2544 จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามนัยของข้อ 6 วรรคสอง (4) แห่งประกาศที่ กจ. 32 /2544 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารแสดงข้อมูลประกอบการขอผ่อนผันพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,378
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2545 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2545 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 45/2544 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 เมื่อผู้ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามหมวด 2 การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป แห่งประกาศที่ กจ. 32/2544 ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 2 การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป หรือหมวด 2 การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป ประกอบหมวด 4 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ แล้วแต่กรณี ในแต่ละครั้ง ให้ผู้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในครั้งนั้นพร้อมแบบ 35-2-1 (ก) ท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงานเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์ ข้อ 4 ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวด 3 การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 6 วรรคสอง หรือหมวด 3 การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 6 วรรคสอง ประกอบหมวด 4 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ แห่งประกาศที่ กจ. 32/2544 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-2-2 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับหุ้นกู้ที่จะขออนุญาต และเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ 1. สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ 2. สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) ในกรณีที่การยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามนัยข้อ 6 วรรคสอง (4) แห่งประกาศที่ กจ. 32/2544 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารแสดงข้อมูลประกอบการขอผ่อนผันพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตด้วย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 35-2-1 (ก) และแบบ 35-2-2 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 45/2544 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้แบบ 35-2-1 (ก) และแบบ 35-2-2 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,379
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2548 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2548 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 35/7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32 /2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 45/2544 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 “ข้อ 4/1 ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการ ตามหมวด 5 แห่งประกาศที่ กจ. 32 /2544 ให้บุคคลที่จะเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากสํานักงานและบริษัทที่จะเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นคําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่มาพร้อมกันตามแบบ 35-2-3 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามแบบดังกล่าว จํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ” ข้อ 2 ให้เพิ่มแบบคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์และแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (แบบ 35-2-3) ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 45/2544 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ###### ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ ###### สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,380
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน ในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และ การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนมีทางเลือกในการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์หลากหลายมากยิ่งขึ้นภายใต้หลักของการกระจายความเสี่ยง สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นสมควรขยายขอบเขตการลงทุนของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลให้สามารถลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศได้ ภายในอัตราส่วนการลงทุนที่เหมาะสมซึ่งจะไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงต่อกองทุนมากเกินไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบข้อ 11 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 2(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งและจัดการอยู่ในต่างประเทศ “ตราสารทางการเงิน” หมายความว่า พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และให้หมายความรวมถึงเงินฝาก และสัญญาทางการเงินอื่นด้วย “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ (1) พันธบัตรที่รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออก โดยพันธบัตรดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวอาจเป็นการจัดอันดับที่ตัวผู้ออกก็ได้ (2) พันธบัตรที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออก โดยพันธบัตรดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (3) หุ้นที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (4) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน และได้รับการคัดเลือกให้ใช้ในการคํานวณดัชนีตราสารแห่งหนี้ (benchmark bond index) ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือในประเทศที่มีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) (6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives exchange) ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือประเทศที่มีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นเท่านั้น และผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (ข) บริษัทจัดการจัดให้มีระบบที่เหมาะสมในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว (7) หุ้นกู้อนุพันธ์หรือตราสารทางการเงินที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือคู่สัญญาในตราสารทางการเงินดังกล่าว เป็นบริษัทต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน และ (ข) หุ้นกู้อนุพันธ์หรือตราสารทางการเงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อกําหนดให้กองทุนรวมมีหน้าที่ต้องชําระหนี้มากกว่ามูลค่าที่ได้ลงทุนไป (ค) หุ้นกู้อนุพันธ์หรือตราสารทางการเงินดังกล่าวต้องมิได้อ้างอิงกับตัวแปรดังต่อไปนี้ 1. ตัวแปรที่เกี่ยวกับกองทุนรวมประเภทเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) เว้นแต่เป็นดัชนีกองทุนรวมประเภทเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund index) ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน 2. ตัวแปรที่เป็นสินค้า (commodity) เว้นแต่ทองคําและน้ํามันดิบ (ง) ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตัวแปรของหุ้นกู้อนุพันธ์หรือตราสารทางการเงินดังกล่าวต้องเป็นตราสารแห่งหนี้ ราคาหรืออันดับความน่าเชื่อถือของตราสารแห่งหนี้ ดัชนีตราสารแห่งหนี้ อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงิน เท่านั้น ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 2 ที่บุคคลใดเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนในขณะใดขณะหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 4 และกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนตามข้อ 2(5) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุน ให้บริษัทได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมหน่วยลงทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนตามข้อ 2(5) ของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนรวมเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้น และ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมแจกจ่ายเอกสารแสดงข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญของกองทุนรวมต่างประเทศซึ่งผู้ลงทุนควรทราบ ให้แก่ผู้ลงทุนพร้อมกับหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ ประเภท และอายุของโครงการกองทุนรวมต่างประเทศ (ข) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (ค) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่างประเทศ ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุนรวมมีประกัน (guaranteed fund) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) และกองทุนรวมดัชนี (index fund) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 3 ต่อสํานักงานได้ ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุนที่มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามข้อ 2 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากระยะสั้น หรือตราสารที่เทียบเท่าเงินฝาก (near-cash) ระยะสั้น ในสถาบันการเงินที่ตั้งในประเทศที่ได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวได้ หากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินฝากดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกหรือป้องกันปัญหาในการดําเนินงานของกองทุน เช่น เพื่อรอการลงทุน หรือเพื่อชําระค่าใช้จ่าย เป็นต้น ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดที่กองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 3 หรือที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดหรือที่ได้รับการผ่อนผันภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแรกที่ผู้ซื้อหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ข้อ ๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 หรือที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยเหตุดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ (1) การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ (2) เหตุอื่นใดที่มิใช่การลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดหรือที่ได้รับการผ่อนผันพร้อมสาเหตุ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดหรือที่ได้รับการผ่อนผัน พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,381
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2548 =============== เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน ในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และ การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2) ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประเภทที่สํานักงานเสนอ โดยให้อัตราส่วนเป็นไปตามประกาศว่าด้วยการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนนั้น แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ เป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ได้กําหนดอัตราส่วนการลงทุนไว้อย่างจํากัด ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้บริษัทจัดการสามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวในอัตราส่วนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งเพื่อให้กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปสามารถลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศโดยไม่จํากัดอัตราส่วนการลงทุน สํานักงานจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ ###### อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมต่างประเทศ” และคําว่า “ตราสารทางการเงิน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ดังต่อไปนี้ ““กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท” ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ประกาศที่ สน. 13/2548” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทต่างประเทศ” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ดังต่อไปนี้ ““ ประกาศ ที่ สน. 13/2548 ” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2548 เรื่อง อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนในตราสารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายในประเทศไทย ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 2 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยในขณะใดขณะหนึ่งตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรตามข้อ 2(1) และ (2) ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออก มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด มูลค่าของพันธบัตรที่ลงทุนในหรือมีไว้ดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าพันธบัตรทั้งหมดที่ออกในคราวเดียวกันด้วย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่ สน. 13/2548 ด้วย ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งพันธบัตรหรือตราสารดังกล่าวรวมเข้ากับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วย 1. การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 2(3) (4) (5) (6) และ (7) ที่บุคคลใดเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนที่ได้รับการยกเว้นตามข้อ 4 และกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนตามข้อ 2(5) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ 3 ที่เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุน รวมทั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกันกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 3(2) หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนตามข้อ 2(5) ของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนรวมเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนนั้น และ 2. บริษัทจัดการแจกจ่ายเอกสารแสดงข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญของกองทุนรวมต่างประเทศซึ่งผู้ลงทุนควรทราบ ให้แก่ผู้ลงทุนหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ ประเภท และอายุโครงการกองทุนรวมต่างประเทศ 1. นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ 2. ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่างประเทศในกรณีของกองทุนรวมหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจกจ่ายเอกสารตาม (2) ให้แก่ผู้ลงทุนไปพร้อมกับหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ข้อ 5 ในการจัดการกองทุนรวมมีประกัน (guaranteed fund) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) กองทุนรวมดัชนี (index fund) และกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) รวมทั้งการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับ กองทุนรวมดังกล่าว บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 3(2) ต่อสํานักงานได้” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 “ข้อ 5/1 การจัดการกองทุนส่วนบุคคลในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตามข้อ 3 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามข้อ 2 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วนการลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้นําเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 และข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2548 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทจัดการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดที่กองทุนรวมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 3 หรือที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดหรือที่ได้รับการผ่อนผันภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแรกที่ผู้ซื้อหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ข้อ 8 ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 หรือที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยเหตุดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ 1. การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ 2. เหตุอื่นใดที่มิใช่การลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ------------------------------------- ( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
3,382
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543และข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ "บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ "เจ้าหน้าที่การตลาด" หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่ติดต่อชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง "ตราสารทุน" หมายความว่า หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่โอนสิทธิได้ (ransierable subscription right) และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (depositary receipt) "ตราสารหนี้" หมายความว่า หุ้นกู้ ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ และพันธบัตรที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ย "ตราสารที่มี leverage" หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญ แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (derivative warrant) และออปชันที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือบริษัทย่อยออก "สถาบันฝึกอบรม" หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด 1 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเจ้าหน้าที่การตลาด ------------------------------------ ข้อ ๓ เจ้าหน้าที่การตลาดต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามเกณฑ์ต่อไปนี้ (ก) สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง หรือ (ข) สําเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาและมีประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าสองปี และ (2) ผ่านการทดสอบหลักสูตรการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประเภทหลักทรัพย์ที่จะให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนจากสถาบันฝึกอบรมมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียน ยกเว้นบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ของบริษัทหลักทรัพย์เพียงหนึ่งรายได้รับยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3(2) หากบุคคลดังกล่าวได้ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การตลาดตามประเภทที่ขอขึ้นทะเบียนจากสถาบันฝึกอบรมมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียน (1) กรรมการผู้จัดการ หรือ (2) ผู้บริหารสูงสุดของสายงานที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่การตลาดต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุกกลล้มละลาย (2) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (3) ไม่มีประวัติดังต่อไปนี้ในช่วงระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียน (ก) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (ข) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (ค) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในความผิดทํานองเดียวกัน (ง) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องมาจากการกระทําโดยทุจริต (จ) เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉ) เคยมีการทํางานที่ส่อไปในทางไม่สุจริตในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 การขึ้นทะเบียนและการต่ออายุ ------------------------------------- ข้อ ๖ ให้บุคคลที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานตามแบบ 113-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่างๆ ข้อ ๗ สํานักงานจะรับขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาดแยกตามประเภทหลักทรัพย์ที่ผู้อื่นคําขอขึ้นทะเบียนประสงค์จะให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุน (2) เจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารหนี้ (3) เจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage ข้อ ๘ การขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือการต่ออายุการขึ้นทะเบียนตามประกาศนี้ให้มีกําหนดระยะเวลาสองปี โดยมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือรับขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาดหรือหนังสือรับต่ออายุการขึ้นทะเบียนนั้น ข้อ ๙ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานจากบุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนหรือขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และในกรณีที่สํานักงานไม่รับขึ้นทะเบียนหรือไม่ต่ออายุการขึ้นทะเบียนบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย ข้อ ๑๐ เจ้าหน้าที่การตลาดที่ประสงค์จะต่ออายุการขึ้นทะเบียนให้ยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนตามแบบ 113-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามข้อ 8 จะสิ้นสุดลง พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมการต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่างๆ เจ้าหน้าที่การตลาดที่จะได้รับการพิจารณาต่ออายุการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (2) ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การตลาดตามประเภทที่ขอต่ออายุ (refresher course) จากสถาบันฝึกอบรมมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน (3) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือระหว่างทั้งนี้ ในกรณีที่ถูกสั่งพัก ระยะเวลาที่สํานักงานสั่งไม่รับพิจารณาคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนการปฏิบัติงานและสํานักงานได้กําหนดเงื่อนไขในการต่ออายุการขึ้นทะเบียนไว้ บุคคลดังกล่าวจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้วด้วย ข้อ ๑๑ เจ้าหน้าที่การตลาดที่อายุการขึ้นทะเบียนสิ้นสุดลง โดยมิได้ยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามข้อ 10 หากได้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานภายในระยะเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่อายุการขึ้นทะเบียนนั้นสิ้นสุดลง ให้เจ้าหน้าที่การตลาดดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองของข้อ 10 ได้ ข้อ ๑๒ ในการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน สํานักงานอาจแจ้งให้บุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน มาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติม ได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีบุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนไม่มาชี้แจง ไม่ส่งเอกสาร หรือจัดส่งเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือไม่ประสงค์จะขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี อีกต่อไป ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่การตลาดที่ได้รับขึ้นทะเบียนมีความประสงค์จะแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยยื่นคําขอไว้ตามข้อ 6 หรือข้อ 10 ให้เจ้าหน้าที่การตลาดดังกล่าวยื่นคําขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่อสํานักงานตามแบบ 113-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ หมวด 3 มาตรการบังคับ ---------------------------------- ข้อ ๑๔ เจ้าหน้าที่การตลาดใดมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 15 (1) ปฏิบัติงานด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่คํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้า (2) เบียดบังหรือแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบจากการปฏิบัติงานไม่ว่าเพื่อตนเอง บริษัทหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่น (3) ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่นโดยใช้บัญชีของลูกค้า (4) ให้คําแนะนําหรือข้อมูลที่อาจก่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า (5) แนะนําให้ลูกค้าทําการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตนเองหรือบริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการมีส่วนได้เสียดังกล่าว (6) รับมอบอํานาจจากลูกค้าในการดําเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกเหนือจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ (7) ไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงฐานะของบริษัทหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จะทําการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้าในฐานะที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นคู่สัญญา (8) ไม่รักษาความลับของถูกค้า นําข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์หรือข้อมูลทางการเงิน ของลูกค้า ไปเปิดเผยให้บุคคลอื่นทราบ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือมิใช่กรณีที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อํานาจกระทําได้ (9) ให้คําแนะนําแก่ลูกค้าในลักษณะที่เป็นการยุยงหรือสนับสนุนให้ลูกค้าทําการซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยครั้ง (churning) (10) ขาดความระมัดระวังและการเอาใจใส่ในการเตรียมคําแนะนํา ให้คําแนะนําโดยขาดหลักวิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ หรือให้คําแนะนําไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า (11) ไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์ให้ลูกค้าทราบ ความใน (10) และ (11) ของวรรคหนึ่ง ไม่ถือเป็นลักษณะของการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของเจ้าหน้าที่การตลาด ในกรณีที่ลูกค้าเป็นลูกค้าสถาบันดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งไม่ใช่ชนิดบุคคลตาม (8) (7) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (8) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (11) กองทุนสํารองเ เลี้ยงชีพ (12) กองทุนรวม (13) นิบุคคลที่มีเงินลงทุนตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (14) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (13) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (15) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (14) โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ เจ้าหน้าที่การตลาดใจมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 14 สํานักงานอาจพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กําชับ (2) ภาคทัณฑ์ (3) สั่งพักการปฏิบัติงาน หรือ (4) เพิกถอนการขึ้นทะเบียน ในการสั่งพักการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่การตลาดตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไข ในการรับพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน.ของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฎต่อสํานักงานว่าเจ้าหน้าที่การตลาดใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 3หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 สํานักงานจะพิจารณาเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาดนั้น หมวด 4 บทเฉพาะกาล -------------------------------------- ข้อ ๑๗ ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่การตลาดที่ได้รับใบอนุญาตหรือที่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด พ.ศ. 2543 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามประกาศนี้ โดยให้มีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเท่ากับระยะเวลาคงเหลือที่เจ้าหน้าที่การตลาดนั้นได้รับใบอนุญาตหรือได้รับการต่ออายุใบอนุญาต จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ในกรณีเจ้าหน้าที่การตลาดที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับการต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ 17 ดํารงตําแหน่งกรรมการหรือกรรมการผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และเจ้าหน้าที่การตลาดดังกล่าวไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด พ.ศ. 2543 ให้ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าหน้าที่การตลาดนั้นพ้นจากการเป็นกรรมการหรือกรรมการผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์นั้น หรือเมื่อใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่การตลาดนั้นสิ้นอายุลง และหากเจ้าหน้าที่การตลาดดังกล่าวประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดกับสํานักงานอีกต่อไป เจ้าหน้าที่การตลาดนั้นจะต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรตามข้อ 3(2) ของประกาศนี้ด้วย เว้นแต่เจ้าหน้าที่การตลาดนั้นเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องผ่านการทดสอบตามข้อ 4 ข้อ ๑๙ ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชัน พ.ศ. 2543 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามประกาศนี้ โดยให้มีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเท่ากับระยะเวลาคงเหลือที่เจ้าหน้าที่การตลาดนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหากเจ้าหน้าที่การตลาดดังกล่าวประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage กับสํานักงานอีกต่อไป เจ้าหน้าที่การตลาดนั้นจะต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรตามข้อ 3(2) ของประกาศนี้ด้วย ข้อ ๒๐ ให้บุคคลที่ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับออปชันตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชัน พ.ศ. 2543 แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage จากสถาบันฝึกอบรมตามที่กําหนดในประกาศนี้ หากบุคคลดังกล่าวได้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่บุคคลนั้นผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับออปชัน โดยให้อายุการขึ้น ทะเบียนสําหรับบุคคลดังกล่าวมีอายุถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 และหากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage กับสํานักงานอีกต่อไป บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรตามข้อ 3(2) ของประกาศนี้ด้วย ข้อ ๒๑ ให้เจ้าหน้าที่การตลาดที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนตามประกาศนี้ สามารถทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้กําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ได้ด้วย ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,383
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543และข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 ให้บุคคลที่ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับออปชันตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันพ.ศ. 2543 แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดด้านออปชันกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage จากสถาบันฝึกอบรมตามที่กําหนดในประกาศนี้ หากบุคคลดังกล่าวได้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานภายในวันที่ 30มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยให้การขึ้นทะเบียนสําหรับบุคคลดังกล่าวมีอายุเพียงวันที่ 30 กันยายนพ.ศ. 2545 และหากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage กับสํานักงานอีกต่อไป บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรตามข้อ 3(2) ของประกาศนี้ด้วย” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22 ข้อ 23 และข้อ 24 แห่งประกาศสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 “ข้อ 22 ให้ถือว่าบุคคลที่ผ่านหลักสูตรเกี่ยวกับการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด พ.ศ. 2543 เป็นบุคคลที่ผ่านการทดสอบหลักสูตรการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนจากสถาบันฝึกอบรมตามข้อ 3(2) หรือผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนจากสถาบันฝึกอบรมตามข้อ 10 วรรคสอง (2) แล้วแต่กรณี ข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้าที่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ทําหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่การตลาด และมีประสบการณ์ในการทํางานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีย้อนหลังก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับแต่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3(1) สามารถปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนตามประกาศนี้ได้ แต่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดกับสํานักงานภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้นําเกณฑ์การต่ออายุการขึ้นทะเบียนตามข้อ 10 วรรคสองมาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนของบุคคลดังกล่าวโดยอนุโลม ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอนุญาตให้เป็นเจ้าหน้าที่ การตลาดด้านออปชันสามารถปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage ตามประกาศนี้ได้ แต่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage กับสํานักงานภายในวันที่30 กันยายน พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรตามข้อ 3(2) ของประกาศนี้ด้วย ข้อ 24 มิให้นําความในข้อ 3(1) มาใช้บังคับกับบุคคลตามข้อ 23 ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารหนี้หรือประเภทตราสารที่มี leverage กับสํานักงานตามประกาศนี้ หากบุคคลดังกล่าวไม่เคยขาดต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดสําหรับตราสารประเภทอื่นที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนแล้ว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,384
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 16แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน” และคําว่า“ตัวแทนสนับสนุน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่การตลาด” และคําว่า “ตราสารทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 “ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนสนับสนุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ตราสารหนี้” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ตราสารหนี้” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 “ข้อ 13/1 ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน หรือบุคคลที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนหรือเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage เป็นบุคคลที่ได้รับขึ้นทะเบียนกับสํานักงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารหนี้ตามประกาศนี้โดยไม่ต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามข้อ 6 อีก แต่บุคคลนั้นจะทําหน้าที่ได้เฉพาะการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า ทั้งนี้ ให้อายุการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามข้อนี้ มีระยะเวลาเท่ากับที่บุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน หรือได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนหรือเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,385
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาดลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) มีวุฒิทางการศึกษาหรือมีประสบการณ์ในการทํางานดังนี้ (ก) สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าตามที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง หรือ (ข) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ไม่น้อยกว่าสองปี และ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (3) ในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(จ) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด หรือเคยถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิกถอนใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 “ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนสามารถทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนแก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และหน่วยลงทุนที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13/1 ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน หรือบุคคลที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนหรือเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage เป็นบุคคลที่ได้รับขึ้นทะเบียนกับสํานักงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารหนี้ระดับสองโดยไม่ต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามข้อ 6 ทั้งนี้ ให้อายุการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามข้อนี้ มีระยะเวลาเท่ากับที่บุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนหรือได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนหรือเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาดลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 “ข้อ 15/1 ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีคําสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาดอันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่การตลาดนั้นกระทําการด้วยตนเองหรือให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทหลักทรัพย์ในการจ่ายเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้กับลูกค้า เนื่องจากการติดต่อซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนกับบริษัทหลักทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนและการกํากับดูแลกิจการที่ดีของสมาชิก สํานักงานจะพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 15 กับเจ้าหน้าที่การตลาดรายดังกล่าวด้วย” ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,386
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 11/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 11/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 16 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และ “เจ้าหน้าที่รับอนุญาต” ระหว่าง บทนิยามคําว่า “สถาบันฝึกอบรม” และ “สํานักงาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้ ““ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “เจ้าหน้าที่รับอนุญาต” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ด้วยระบบการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดให้มีขึ้น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 4)ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 และข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 เจ้าหน้าที่การตลาดต้องมีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดเพื่อให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ตามประเภทที่ขอขึ้นทะเบียนจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน (2) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ โดยต้องผ่านการทดสอบทั้งความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA และความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA หรือการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน (3) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศซึ่งมีมาตรฐานการกํากับดูแลเทียบเท่ากับสํานักงานให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประเภทที่ขอขึ้นทะเบียน และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน หรือผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น มาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน ข้อ 4 ให้บุคคลที่ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ของบริษัทหลักทรัพย์เพียงหนึ่งรายได้รับยกเว้น ไม่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 (1) กรรมการผู้จัดการ หรือ (2) ผู้บริหารสูงสุดของสายงานที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความซึ่งเป็นชื่อของหมวด 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด 2 การขึ้นทะเบียน และการสิ้นสุดการขึ้นทะเบียน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ12 และข้อ13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่รับขึ้นทะเบียนบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย สํานักงานอาจแจ้งให้บุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การตลาดตามประเภทที่ขอขึ้นทะเบียนจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับขึ้นทะเบียน สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้ ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดมีความประสงค์จะแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยยื่นคําขอไว้ตามข้อ 6 ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่อสํานักงานตามแบบ 113-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 11 ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือบุคคลที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนหรือเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสํานักงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารหนี้ระดับสองโดยไม่ต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนกับสํานักงานตามข้อ 6 ทั้งนี้ ให้การได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามข้อนี้ สิ้นสุดลงเมื่อการให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน หรือได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารทุนหรือเจ้าหน้าที่การตลาดประเภทตราสารที่มี leverage สิ้นสุดลง ข้อ 12 เมื่อผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การขึ้นทะเบียนเป็นอันสิ้นสุดลง (1) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (1) (2) ถูกสํานักงานสั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนตามข้อ 13 หรือข้อ 15 (4) (3) ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนที่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารสูงสุดของสายงานที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 4 พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น (4) ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การตลาดตามประเภทที่ขอขึ้นทะเบียนจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 9 ข้อ 13 เมื่อผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจเพิกถอนการขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าว (1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3 (2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (2) (3) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (3) อยู่แล้วก่อนวันที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และสํานักงานตรวจพบลักษณะต้องห้ามดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียน (4) มีลักษณะต้องห้ามตามนัยข้อ 5 (3) ภายหลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และสํานักงานตรวจพบลักษณะต้องห้ามดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่มีลักษณะต้องห้ามนั้น การเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนมาประกอบการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนของบุคคลดังกล่าวอีก” ข้อ 5 ให้ยกเลิกข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 ### ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12) (13) (14) และ (15) ของข้อ 14 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 “(12) ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของลูกค้า (13) กระทําการตัดสินใจซื้อขาย เบิกถอน หรือโอนย้ายหลักทรัพย์ของลูกค้าแทนลูกค้า โดยมิได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทหลักทรัพย์ (14) ปฏิบัติตามคําสั่งของบุคคลที่มิใช่เจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือบุคคลที่ไม่ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้า (15) เป็นผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รับอนุญาตปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดในข้อ 12 (1) (3) และ (5) แห่งประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง เจ้าหน้าที่รับอนุญาตในระบบการซื้อขาย พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 เจ้าหน้าที่การตลาดรายใดมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 14 สํานักงานอาจพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กําชับ (2) ภาคทัณฑ์ (3) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กําหนด หรือ (4) เพิกถอนการขึ้นทะเบียน ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนตาม (4) สํานักงานอาจมีคําสั่งกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนมาประกอบการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียน ของบุคคลดังกล่าวอีก” ข้อ 8 ให้ยกเลิกข้อ 15/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งดังต่อไปนี้ สํานักงานจะพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 15 กับเจ้าหน้าที่การตลาดรายดังกล่าวด้วย 1. มีคําสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด เนื่องจากบุคคลดังกล่าวกระทําการด้วยตนเองหรือให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทหลักทรัพย์ในการจ่ายเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้กับลูกค้า เนื่องจากการติดต่อซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนกับบริษัทหลักทรัพย์ อันเป็นการ ฝ่าฝืนข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนและการกํากับดูแลกิจการที่ดีของสมาชิก หรือ 1. มีคําสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาดในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รับอนุญาต เนื่องจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 12 (1) (3) และ (5) แห่งประกาศตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เรื่อง เจ้าหน้าที่รับอนุญาตในระบบการซื้อขาย พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ” ข้อ 10 ให้ยกเลิกหมวด 4 บทเฉพาะกาล แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,387
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 16 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (13) ของข้อ 14 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 11/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(13) ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้า หรือกระทําการเบิกถอน โอนย้าย หรือจัดการทรัพย์สินของลูกค้า โดยได้รับหรือไม่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (16) ของข้อ 14 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 - 2 - “(16) สนับสนุนหรือร่วมมือกับลูกค้าให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสมกับฐานะการเงิน ความสามารถในการชําระหนี้ หรือข้อจํากัดในการลงทุนของลูกค้า ซึ่งรวมถึงการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อชําระค่าซื้อหลักทรัพย์ การชําระค่าซื้อหลักทรัพย์แทนลูกค้า และการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,388
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 25/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อาจเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์ หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น โดยการดําเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับคําแนะนําการลงทุนในหลักทรัพย์จากบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการเกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ได้รับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ดีและไม่ถูกเอาเปรียบ จึงควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบและกํากับดูแลบุคคลดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12/1 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 19/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล “สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุนและสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ “ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนสนับสนุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน “ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน “บริษัทที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (1) บริษัทที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์นั้น (3) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทดังกล่าว และในบริษัทหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทและบริษัทหลักทรัพย์นั้น “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ จัดส่งข้อมูลผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้เพื่อการขอความเห็นชอบดังกล่าว และนําส่งเอกสารที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่ได้ส่งผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ให้สํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านระบบดังกล่าว ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบตามข้อ 4 เป็นผู้ให้คําแนะนํา ผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ถือว่าบุคคลที่ยื่นขอนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้แล้ว หมวด ๑ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ข้อ ๖ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ต้องมีคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์จากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ และหากเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินสองปี ต้องผ่านการเข้าอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (2) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป และผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวต้อง ไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ และหากเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้มาแล้วเกินสองปี ต้องผ่านการเข้าอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) ภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (3) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศที่สํานักงานยอมรับโดยทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ และหากเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้มาแล้วเกินสองปี ต้องผ่านการเข้าอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) ภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (4) เป็นผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้บริหารที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และจํากัดบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งเพียงหนึ่งราย ข้อ ๗ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 6 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย (1) เป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นบุคคลที่อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (6) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น (7) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตัวแทนสนับสนุน ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา (8) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (9) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (10) ต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตามกฎหมายตาม (5) หรือ (6) (11) ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (12) ถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ (13) ถูกสํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตัวแทนสนับสนุน ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา (14) ถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (15) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (16) มีการทํางานที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงการทํางานที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาประวัติการมีลักษณะต้องห้ามตาม (9) ถึง (16) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ หมวด ๒ การให้ความเห็นชอบ และการสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๘ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๙ 9 ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์จากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้าอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้าอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้ ในกรณีผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้คําแนะนํา เป็นผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ถือว่าการเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นการเข้าอบรมตามวรรคหนึ่ง ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6(4) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์รายใดขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตาม (3) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก หมวด ๓ มาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๑ นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) วิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูลด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นอิสระ รวมทั้งใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) อธิบายให้ลูกค้าทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ที่ทําการวิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูลนั้น (3) วิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูลตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ และมีเอกสารหลักฐานที่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้ (4) ใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูล หากเป็นการวิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์ข่าวที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ และแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงแหล่งที่มาของข่าวดังกล่าวด้วย (5) ไม่ทําการวิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูลซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และไม่ทําการวิเคราะห์ ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูลโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่นหรือโดยมีการรับประกันผลตอบแทน (6) ไม่นําข้อมูลของลูกค้าไปเปิดเผย เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ (7) แจ้งชื่อนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และชื่อบริษัทหลักทรัพย์ที่มอบหมายให้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ เมื่อมีการให้คําแนะนํา หรือเปิดเผยไว้ในรายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ได้จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่ลูกค้า ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้น (1) บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ออกหลักทรัพย์นั้น (2) ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์เป็นกรรมการในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น (3) บริษัทหลักทรัพย์ ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ หรือนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ถือหุ้นในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้นเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ในการนับหุ้นของผู้บริหารหรือนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๓ ในการเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งอยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ให้นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศดังกล่าว แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตนอยู่ระหว่างการจัดทํารายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อเผยแพร่แก่ลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์จนกว่ารายงานหรือบทความนั้นจะได้เผยแพร่แก่ลูกค้าแล้วไม่น้อยกว่าสามวันทําการ หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๕ ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามข้อ 6(1) (2) หรือ (3) หากบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติตามข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้มีประสบการณ์การทํางานกับบริษัทหลักทรัพย์ ทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์หรือการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ทั้งนี้ ประสบการณ์การทํางานดังกล่าวต้องอยู่ภายในช่วงระยะเวลาห้าปีย้อนหลังนับแต่วันยื่นคําขอ (2) เป็นผู้ได้รับการมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ให้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์หรือวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ในขณะที่ยื่นคําขอ และ (ก) ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป (ข) ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศที่สํานักงานยอมรับโดยทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ หรือ (ค) ผ่านการอบรมความรู้ตามโครงการสร้างนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ใหม่ที่มีคุณภาพที่จัดขึ้นโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ความใน (1) และ(2)(ก) (ข) ให้ใช้กับบุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ความใน (2)(ค) ให้ใช้กับบุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และการให้ความเห็นชอบมีกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,389
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 41/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 41/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12/1 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 19/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6 (3) และ (4)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะหการลงทุนในหลักทรัพย์และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เป็นผู้มีประสบการณ์การทํางานกับบริษัทหลักทรัพย์ทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์หรือการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี โดยประสบการณ์การทํางานดังกล่าวต้องอยู่ภายในช่วงระยะเวลาห้าปีย้อนหลังนับแต่วันยื่นคําขอ - 2 - ทั้งนี้ ให้รวมถึงผู้มีประสบการณ์การทํางานดังกล่าวกับบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งเป็นหรือเคยเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกันกับบริษัทหลักทรัพย์ด้วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,390
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 120) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 120) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้ยื่นรายการต่อ เจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2531 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ดังนี้ “(5) แบบ ภ.ง.ด. 95 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2545 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
3,391
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 10/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 10/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 4/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 11 ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (2) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ โดยต้องผ่านการทดสอบทั้งความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือCISA และความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA หรือการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (3) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศซึ่งมีมาตรฐานการกํากับดูแลเทียบเท่ากับสํานักงานให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (4) เป็นผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลของนิติบุคคลตามข้อ 11(1) และ (2) ทั้งนี้ สํานักงานจะให้ความเห็นชอบผู้ขอรับความเห็นชอบที่มีคุณสมบัติตามข้อนี้เพียงหนึ่งรายสําหรับนิติบุคคลตามข้อ 11(1) และ (2) แต่ละแห่ง” #### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 12(1) (2) หรือ (3) เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน - 3 - “(3) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลพ้นจากการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เนื่องจาก ขาดการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ผู้ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวได้เข้ารับการอบรมตามข้อ 16” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,392
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ "ตัวแทนสนับสนุน" หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม "ขาย" ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย "กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด "คําแนะนําเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น "คําแนะนําทั่วไป" หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น "ผู้จัดการกองทุนรวม" หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม "ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล" หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล "ผู้จัดการ" หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม "หลักประกัน" หมายความว่า หลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายของลูกค้าที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนของตัวแทนสนับสนุน อันได้แก่ (ก) กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย (ข) หนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ค) หลักประกันอื่นใดตามประกาศสํานักงานที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน "สินทรัพย์สภาพคล่อง" หมายความว่า สินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพัน ดังต่อไปนี้ (ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (ข) บัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมาย เฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (ค) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก (ง) สินทรัพย์สภาพคล่องอื่นใดตามประกาศสํานักงานที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน "สถาบันฝึกอบรม" หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ "ผู้อํานวยการฝ่าย" หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท "เจ้าหน้าที่การตลาด" หมายความว่า ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด "บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน "ผู้ให้คําแนะนํา" หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน "ประกาศที่ กน. 3/2544" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ บุคคลที่จะทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวจะทําหน้าที่เป็นตัวแทนสนับสนุนเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นตัวแทนสนับสนุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนสนับสนุนตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศนี้ การขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง หากเป็นบุคคลธรรมดาให้ระบุว่าต้องการขอรับความเห็นชอบเพื่อเป็นผู้ที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงและคําแนะนําทั่วไป หรือระดับสอง ซึ่งสามารถให้คําแนะนําได้เฉพาะคําแนะนําทั่วไป ข้อ ๕ การขอรับความเห็นชอบเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ให้ผู้ขอรับความเห็นชอบดําเนินการจัดส่งข้อมูลผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้เพื่อการขอรับความเห็นชอบดังกล่าว และนําส่งเอกสารที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่ผู้ยื่นคําขอได้ส่งผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ให้สํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านระบบดังกล่าว ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้แล้ว และให้ถือว่าการเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปีตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นการเข้ารับการอบรมตามที่กําหนดในข้อ 19 หมวด 1 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม -------------------------- ส่วนที่ 1 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับความเห็นชอบ ที่เป็นนิติบุคคล -------------------------- ข้อ ๗ นิติบุคคลที่จะขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ต้องเป็น (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (5) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ (7) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนสนับสนุนอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ข้อ ๘ ผู้ขอรับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7(1) (2) (3) (4) (5) และ (6)ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนสนับสนุนดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (ก) ระบบการรับลูกค้า วิธีการรับลูกค้า และการให้คําแนะนํา (ข) ระบบรับคําสั่งซื้อขายจากพนักงานในสังกัดและการส่งคําสั่งซื้อขายให้บริษัทจัดการ (ค) ระบบการนําส่งเงินค่าขายหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการ และระบบการนําส่งเงินค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ลูกค้า (ง) ระบบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการเก็บรักษาความลับของลูกค้า (จ) ระบบการรับเรื่องร้องเรียน (2) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยพนักงานที่จะทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ด้วย (3) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนสนับสนุน ข้อ ๙ ผู้ขอรับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7(7) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติตามข้อ 8 (2) มีหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันมีมูลค่าไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ทั้งนี้ การคํานวณและการดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 17 และข้อ 18 ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ และจนถึงวันที่ได้รับความเห็นชอบ (1) มีประวัติการกระทําความผิดตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (2) มีประวัติการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) มีประวัติการดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ (4) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนจากการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 8 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 10 ส่วนที่ 2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับความเห็นชอบ ที่เป็นบุคคลธรรมดา ---------------------------- ข้อ ๑๒ บุคคลธรรมดาที่จะขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ต้องเป็น (1) พนักงานของบริษัทจัดการ (2) พนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (3) พนักงานของนิติบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนสนับสนุน หรือ (4) บุคคลธรรมดาที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนสนับสนุน ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 12 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีวุฒิทางการศึกษาหรือประสบการณ์ในการทํางานดังนี้ (ก) สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าตามที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง หรือ (ข) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ไม่น้อยกว่าสองปี และ (2) ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนสนับสนุนของนิติบุคคลตามข้อ 12(1) (2) และ (3) ซึ่งได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอ ให้ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตาม (2) แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวให้ใช้สําหรับผู้ขอรับความเห็นชอบเพียงรายเดียว และต่อนิติบุคคลตามข้อ 12(1) (2) และ (3) แต่ละแห่ง ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามข้อ 21(5) แต่ได้ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบครั้งก่อนสิ้นสุดลง ให้ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตาม (2) ข้อ ๑๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 12 นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 13 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย (1) เป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นบุคคลที่อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (6) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น (7) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา (8) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (9) มีประวัติดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ และจนถึงวันที่ได้รับความเห็นชอบ (ก) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (ข) เคยต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตามกฎหมายตาม (5) หรือ (6) (ค) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (ง) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน (จ) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา (ฉ) เคยถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (ช) เคยมีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ซ) เคยมีการทํางานที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงการทํางานที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ หมวด 2 การให้ความเห็นชอบ และการสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบ ------------------------------ ข้อ ๑๕ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอรับความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7 ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นชอบแล้ว (2) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ (3) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมตามข้อ 8(1) และ (2) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอให้สํานักงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ การเปลี่ยนแปลงระบบงานตาม (1) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบนั้นดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบงานอย่างเร่งด่วน ผู้ได้รับความเห็นชอบอาจแจ้งต่อสํานักงานเพื่อขอทราบผลการพิจารณาก่อนครบระยะเวลาสิบห้าวันก็ได้ ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7(7) ต้องดํารงความพอเพียงของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดตามข้อ 9(2) ตลอดเวลาที่ประกอบกิจการเป็นตัวแทนสนับสนุน ในกรณีที่มีการดํารงความเพียงพอของหลักประกันและสินทรัพย์สภาพคล่องรวมกัน หรือใช้สินทรัพย์สภาพคล่องเพียงอย่างเดียว ให้คํานวณความเพียงพอของหลักประกันและสินทรัพย์สภาพคล่องทุกสิ้นวันทําการ และยื่นรายงานตามแบบ 100-1 ท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป ในกรณีที่มีการดํารงความเพียงพอของหลักประกันเพียงอย่างเดียวโดยมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดตามข้อ 9(2) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวแสดงหลักฐานการมีหลักประกันต่อสํานักงาน และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักประกัน ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบจัดส่งหลักฐานการมีหลักประกันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 7(7) ไม่สามารถดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่กําหนดในข้อ 17 ได้ในวันใด ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานที่แสดงถึงความไม่เพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามแบบ 100-1 ท้ายประกาศนี้ และยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการถัดไป (2) แก้ไขให้สามารถดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่กําหนดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน ภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้ และแจ้งการแก้ไขให้สํานักงานทราบภายในสองวันทําการนับแต่วันที่สามารถแก้ไขได้ ข้อ ๑๙ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับความเห็นชอบรายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 13 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 10 หรือข้อ 14(5) (6) (9) (ก) (ข) (ค) (ช) หรือ (ซ) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามนั้น เว้นแต่กรณีขาดคุณสมบัติตามข้อ 9(2) และได้ดําเนินการตามข้อ 18 แล้ว ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับความเห็นชอบรายใดมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การได้รับความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลง (1) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14(1) (2) (3) หรือ (4) (2) ถูกสํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 22 (3) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลพ้นจากการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น (5) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 19 ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับความเห็นชอบรายใดมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ได้รับความเห็นชอบรายนั้น (1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 13 (2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14(5) หรือ (6) (3) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 10 หรือข้อ 14(9) อยู่แล้วก่อนวันที่ได้รับความเห็นชอบและสํานักงานตรวจพบลักษณะต้องห้ามดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (4) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 10 หรือตามนัยข้อ 14(9) (ก) (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบ และสํานักงานตรวจพบลักษณะต้องห้ามดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่มีลักษณะต้องห้ามนั้น (5) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 หรือข้อ 20 (6) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 3/2544 กําหนดไว้ในลักษณะที่ร้ายแรง หรือฝ่าฝืนคําสั่งของสํานักงานที่สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ ที่ กน. 3/2544 ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้ผู้ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ไม่อาจทําหน้าที่ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือทําหน้าที่เป็นตัวแทนสนับสนุนได้ สํานักงานอาจมีคําสั่งกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดตามวรรคสองแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก ข้อ ๒๓ สํานักงานอาจเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามข้อ 21หรือสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 22 ตามที่กฎหมายให้อํานาจไว้ได้ หมวด 3 บทเฉพาะกาล ------------------------ ข้อ ๒๔ นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545สํานักงานจะไม่นําระยะเวลาตามข้อ 13(2) ที่กําหนดให้ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบหรือผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีในวันที่ยื่นคําขอ มาใช้บังคับในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแก่ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,393
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 3/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 3/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสองปีในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน การให้คําแนะนําหรือการวางแผนเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกันชีวิต และ” ข้อ 2 นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานจะไม่นําระยะเวลาที่ผ่านการทดสอบความรู้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีตามที่กําหนดในข้อ 13 (2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแก่ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามประกาศดังกล่าว ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,394
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 9/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 9/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 3/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 12 ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (2) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ โดยต้องผ่านการทดสอบทั้งความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA และความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร CFA หรือ CISA หรือการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ - 2 - (3) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศซึ่งมีมาตรฐานการกํากับดูแลเทียบเท่ากับสํานักงานให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน และผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือผ่านการทดสอบความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นมาแล้วเกินกว่าสองปี แต่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบภายในสองปีก่อนวันยื่นคําขอ (4) เป็นผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้จัดการหรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนสนับสนุนของนิติบุคคลตามข้อ 12(1) (2) และ (3) ทั้งนี้ สํานักงานจะให้ความเห็นชอบผู้ขอรับความเห็นชอบที่มีคุณสมบัติตามข้อนี้เพียงหนึ่งรายสําหรับนิติบุคคลตามข้อ 12(1) (2) และ (3) แต่ละแห่ง” ##### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 13(1) (2) หรือ (3) เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้” #### ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ผู้ได้รับความเห็นชอบที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลพ้นจากการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เนื่องจาก ขาดการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ผู้ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวได้เข้ารับการอบรมตามข้อ 19” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,395
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 119) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 119) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(55) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ.2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วย ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2544 "ข้อ 8/1 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,396
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.27/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมตลาดเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมทางการเงิน หรือตราสารการเงินอื่นใด ที่มีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ธุรกรรมทางการเงิน” หมายความว่า ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ธุรกรรมการทําสัญญาฟิวเจอร์ สัญญาฟอร์เวิร์ด สัญญาสวอป หรือธุรกรรมอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตลาดเงิน “กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นที่บุคคลใดดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินได้โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน ทั้งนี้ ให้นับตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย (1) ตราสารแห่งหนี้ที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้ (ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ค) บริษัทเงินทุน (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (2) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (3) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดเป็นผู้ออก โดยมีบุคคลตาม (1) (ก) (ข) หรือ (ค) เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (4) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (5) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นตามวรรคหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน และให้นับเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับอัตราส่วน การลงทุนในตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าวรวมกัน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสอง มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมตลาดเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต. 42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ข้อ ๔ การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตราสารแห่งหนี้หรือตราสารการเงินอื่นตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินได้ เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน ทั้งนี้ มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมตลาดเงินรวมในอัตราส่วนดังกล่าว อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการกําหนดอายุโครงการ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนอันเนื่องมาจากปัญหาความผันผวน (fluctuation) ของตลาดเงินและตลาดทุนในวงกว้างในรอบปีบัญชีใด บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานเพื่อไม่ต้องนําการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ในช่วงเวลาที่เกิดความผันผวนดังกล่าวมารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่งได้สําหรับรอบปีบัญชีนั้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ทรัพย์สินตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง ของกองทุนรวมตลาดเงินมีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีใดเกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยเฉลี่ยตั้งแต่วันแรกของรอบปีบัญชีนั้นจนถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าว เมื่อบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ตรวจสอบการปฏิบัติดังกล่าว และดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แจ้งให้สํานักงานทราบภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากบริษัทจัดการ ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมตลาดเงินนั้น ข้อ ๘ การลงทุนในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีที่กําหนดตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 5 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ได้โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน แต่การลงทุนในกรณีดังกล่าวซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงิน เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงินด้วย ข้อ ๙ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลังหรือค้ําประกัน ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารการเงินอื่นนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารการเงินอื่นในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงิน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 และข้อ 8 หากต่อมาตราสารแห่งหนี้หรือตราสารการเงินอื่นนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าว โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารการเงินอื่นมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือตราสารการเงินอื่นดังกล่าวข้างต้น และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนรวมตลาดเงินด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้อัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 3 และข้อ 8 ไม่เป็นไปตามที่กําหนด บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงิน และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๒ อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 และข้อ 8 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงินซึ่งเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๑๓ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงินซึ่งเป็นกองทุนเปิดที่ปรากฏเหตุตามข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และบริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนเปิดนั้นตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,397
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 27/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนด ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 “(6) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,398
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สน. 53/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 27/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ใบแสดงสิทธิ” “หลักทรัพย์อ้างอิง” และ “บริษัทจดทะเบียน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” และ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 ““ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt) “หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” #### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นที่บุคคลใดดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงิน โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน ทั้งนี้ ให้นับตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย (1) ตราสารแห่งหนี้ที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้ (ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ค) บริษัทเงินทุน (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (2) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (3) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดเป็นผู้ออก โดยมีบุคคลตาม (1) (ก) (ข) หรือ (ค) เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (4) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (5) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (6) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ หรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นผู้ออก ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (7) ใบแสดงสิทธิที่ผู้ออก หรือผู้ค้ําประกันหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (6) ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นตามวรรคหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน และให้นับเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในตราสารแห่งหนี้และตราสารการเงินอื่นที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าวรวมกัน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสอง มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมตลาดเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท(คปต. 42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 “ข้อ 3/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในใบแสดงสิทธิ ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่ใบแสดงสิทธิดังกล่าวได้อ้างอิงรวมในอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 หรือข้อ 8 แล้วแต่กรณี โดยถือเสมือนหนึ่งว่าบริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่นํามาคํานวณรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าใบแสดงสิทธิที่บริษัทจัดการได้ลงทุนไว้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินได้ เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตลาดเงิน ทั้งนี้ มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมตลาดเงินรวมในอัตราส่วนดังกล่าว อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการกําหนดอายุโครงการ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนอันเนื่องมาจากปัญหาความผันผวน (fluctuation) ของตลาดเงินและตลาดทุนในวงกว้างในรอบปีบัญชีใด บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานเพื่อไม่ต้องนําการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ในช่วงเวลาที่เกิดความผันผวนดังกล่าวมารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่งได้สําหรับรอบปีบัญชีนั้น” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,399
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22/2542 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้เพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2542 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหา ดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุนรวมได้เพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม "กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน และกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาชําระเงินที่ธนาคารไทยธนาคาร จํากัด (มหาชน) ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซึ่งรวมกิจการกับธนาคารสหธนาคาร จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคารสหธนาคาร จํากัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,400
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2544 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2544 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหา ดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุนรวมได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน และกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “ออปชัน” หมายความว่า ตราสารที่ตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยออกเพื่อแสดงสิทธิแก่ผู้ถือดังต่อไปนี้ 1. สิทธิที่จะซื้อหรือสิทธิที่จะขายสินค้าอ้างอิง กับตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ตามจํานวนและราคาที่กําหนดไว้ในตราสารหรือ 2. สิทธิที่จะได้รับชําระเงินจากตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย โดยสิทธิดังกล่าวคํานวณจากส่วนต่างของราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตกับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงตามที่กําหนดไว้ในตราสาร “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น “สินค้าอ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือเงินตราสกุลใด ๆ “ตัวแปรอ้างอิง” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์หรืออัตราดอกเบี้ย “สัญญาฟิวเจอร์” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในตลาดหรือศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งบริษัทจัดการเข้าผูกพันตนในสัญญาดังกล่าว โดยมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการต้องส่งมอบสินค้าอ้างอิงหรือชําระราคาของสินค้าอ้างอิให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคา หรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา “สัญญาฟอร์เวิร์ด” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นนอกตลาดหรือศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งบริษัทจัดการเข้าผูกพันตนในสัญญาดังกล่าว โดยมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการต้องส่งมอบสินค้าอ้างอิงหรือชําระราคาของสินค้าอ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการได้รับชําระเงิน หรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา “สัญญาสวอป” หมายความว่า สัญญาที่บริษัทจัดการเข้าผูกพันแลกเปลี่ยนผลตอบแทนซึ่งมีมูลค่าผลตอบแทนอย่างน้อยข้างใดข้างหนึ่งของสัญญาผูกกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง ทั้งนี้ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญา “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ข้อ 2 เพื่อประโยชน์ในการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งออปชันในฐานะซื้อ (long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งตลาหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออกได้ และให้ออปชันดังกล่าวเป็นตราสารแห่งทุนตามข้อ 12(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 3 เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจทําสัญญาฟิวเจอร์ที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดหรือสัญญาสวอปที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากับสถาบันการเงินได้ โดยมีมูลค่าของสัญญาที่ไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการทําสัญญานั้นต้องไม่เกินมูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม รวมทั้งดอกผลที่เกิดหรืออาจเกิดจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นนั้น หรือค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการมีภาระต้องชําระ และมีระยะเวลาของสัญญาไม่เกินระยะเวลาที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น หรือมีภาระต้องชําระค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,401
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 51/2546 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2546 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือ การหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่บริษัทจัดการสามารถลงทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt) “หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 2 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ และให้เงินฝากดังกล่าวเป็นเงินฝากตามข้อ 12(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ โดยให้ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นตราสารแห่งทุนตามข้อ 12(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ซึ่งไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ เป็นตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตราสารแห่งนี้ระยะยาว กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น หรือกองทุนรวมตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิตามวรรคหนึ่งที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ซึ่งไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์เท่านั้น ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,402
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2545 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน” หมายความว่า กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ที่มีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา “กองทุนรวมตลาดเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงินได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก และหลักทรัพย์ที่บุคคลใดดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงินได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ทั้งนี้ ให้นับตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย (1) ตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ที่บุคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้ (ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ค) บริษัทเงินทุน (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (2) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (3) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดเป็นผู้ออก โดยมีบุคคลตาม (1) (ก) (ข) หรือ (ค) เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (4) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (5) ตราสารแห่งหนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน และให้นับเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัลผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าวรวมกัน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสอง มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน)และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตาม โครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต. 42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ข้อ ๔ การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์ตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงินได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน ข้อ ๖ การลงทุนในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีที่กําหนดตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 5 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ได้โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน แต่การลงทุนในกรณีดังกล่าวซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงินด้วย ข้อ ๗ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัลสลักหลัง หรือค้ําประกัน ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย ข้อ ๘ ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์ในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 และข้อ 6 หากต่อมาตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อไปก็ได้ เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนประสงค์ให้บริษัทจัดการจําหน่ายตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์นั้นเพื่อให้มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น และวันที่ตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้คณะกรรมการกองทุนทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ตราสารแห่งหนี้หรือหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้มีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 หรือข้อ 6บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้น และส่งให้คณะกรรมการกองทุนภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงินโดยมีอัตราส่วนการลงทุนเป็นไปตามกฎหมายอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์นั้นไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์ดังกล่าวเพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,403
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สน. 20/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 “(6) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ------------------------------------ (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ ========= สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
3,404
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 50/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สน. 50/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า”ใบแสดงสิทธิ” “หลักทรัพย์อ้างอิง” และ “บริษัทจดทะเบียน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน” และคําว่า “ธุรกรรมการซื้อโดยมี สัญญาขายคืน”ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34 /2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 “ “ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt) “หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ##### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก และหลักทรัพย์ที่บุคคลใดดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงินได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ทั้งนี้ ให้นับตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย (1) ตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้ (ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ค) บริษัทเงินทุน (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (2) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (3) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดเป็นผู้ออก โดยมีบุคคลตาม (1) (ก) (ข) หรือ (ค) เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (4) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (5) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (6) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ หรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นผู้ออก ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (7) ใบแสดงสิทธิที่ผู้ออก หรือผู้ค้ําประกันหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (6) ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน และให้นับเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับอัตราส่วนการลงทุนในตราสารแห่งหนี้และหลักทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าวรวมกัน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสอง มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท(คปต. 42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของ่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 “ข้อ 3/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในใบแสดงสิทธิ ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่ใบแสดงสิทธิดังกล่าวได้อ้างอิงรวมในอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยถือเสมือนหนึ่งว่าบริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่นํามาคํานวณรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าใบแสดงสิทธิที่บริษัทจัดการได้ลงทุนไว้” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,405
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16 /2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "ประกาศที่ กน. 14/2543" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล "บริษัทจดทะเบียน" หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ "ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน" หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามข้อดังต่อไปนี้แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 (1) ข้อ 6/2 เว้นแต่ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 (2) ข้อ 6/3 ถึงข้อ 6/12 ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (1) ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออก (2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน (3) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ถ้ําประกัน (ก) บริษัทจดทะเบียน (ข) รัฐวิสาหกิจ (ค) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมิได้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศตาม (จ) (ง) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (จ) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (4) เงินฝากที่บุคคลตาม (3) (ค) (ง) และ (จ) เป็นผู้รับฝากไว้ (5) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (6) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) และ (5) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไถ่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือประกัน ตาม (2) (3) และ (5) ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้จํานวนอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้รวมจํานวนเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิ ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในขณะใดขณะหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ให้นับหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง สู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน ตามข้อ 3(2) รวมในอัตราส่วนดังกล่าวทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวรวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศให้นับอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าว รวมกัน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสาม มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากเพื่อออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต. 42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในประกาศนี้ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดข้างต้นภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์ติดประกาศเครื่องหมาย XR ไว้ที่หันของบริษัทนั้น หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันแรกที่ผู้ซื้อหุ้น มดสิทธิ์จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ข้อ ๗ ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้และข้อ 6/2 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประสงค์ให้บริษัทจัดการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นเพื่อให้มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแทนการรับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้มูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้และข้อ 6/2 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้น และส่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ข้อ ๙ ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้และข้อ 6/2 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวที่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ได้เพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,406
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกันตามข้อ 3(2) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๓ ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,407
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10 /2545 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” “กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” และ “กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” และคําว่า “สํานักงาน”ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544ดังต่อไปนี้ ““กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ (SLIPS & CAPS) ที่ออกโดยสถาบันการเงิน ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามข้อ 6/2 ถึงข้อ 6/12 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 ในกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามข้อ 6/2 มิให้นําข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 5/1 ข้อ 5/2 และข้อ 6 มาใช้บังคับ” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 “ข้อ 5/1 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ได้ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และเมื่อรวมหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมดังกล่าวแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ มิให้นําการลงทุนในหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวคํานวณรวมในอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง แต่ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ (SLIPS & CAPS) ที่กองทุนรวมดังกล่าวได้ลงทุนไว้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5/2 ข้อ 5/2 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ(SLIPS & CAPS) ที่กองทุนรวมดังกล่าวได้ลงทุน รวมในอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี โดยถือเสมือนหนึ่งว่าบริษัทจัดการได้ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ(SLIPS & CAPS) นั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ (SLIPS & CAPS)ที่นํามาคํานวณรวมในอัตราดังกล่าวให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการได้ลงทุนไว้” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,408
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2545 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” และ “กองทุนรวมมีประกัน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” และคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 “ “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 “กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามข้อ 6/2 ถึงข้อ 6/6 และข้อ 6/8 ถึงข้อ 6/12 แห่งประกาศ ที่ กน. 14/2543 ในกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามข้อ 6/2 มิให้นําข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 5/1 (3) ข้อ 5/2 และข้อ 6 มาใช้บังคับ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกันกับนโยบายการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนตามที่กําหนดในประกาศ ที่ กน. 46/2541 ได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศสํานักงาน (specific fund) ให้ลงทุนในหรือมีไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกันดังนี้ 1. กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน ลงทุนได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน (ข) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนทั้งจํานวน ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ค) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนเพียงบางส่วน ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ได้ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และเมื่อรวมหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมดังกล่าวแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ### ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีลักษณะตาม (1) และ (2) ร่วมกัน บริษัทจัดการอาจลงทุนใน หรือมีไว้ซึ่งอัตราส่วนการลงทุนตาม (1) หรือ (2) ที่สูงกว่า ได้ อัตราส่วนการลงทุนตาม (1) และ (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่นําเงินลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนเดียว (feeder fund) หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุน (fund of funds) ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ มิให้นําการลงทุนในหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวคํานวณรวมในอัตราส่วนตาม (3)แต่ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ (SLIPS & CAPS) ที่กองทุนรวมดังกล่าวได้ลงทุนไว้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5/2” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,409
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 19/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สน. 19/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ======================================================= (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.23/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- “ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (8) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (8) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 1. ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออก 2. ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน (3) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน 1. ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (ก) บริษัทจดทะเบียน 1. รัฐวิสาหกิจ 2. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมิได้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศตาม (จ) 3. ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น 4. ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (5) เงินฝากที่บุคคลตาม (4) (ค) (ง) และ (จ) เป็นผู้รับฝากไว้ (6) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (7) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน 1. หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) (4) และ (6) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) (4) และ (6) ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย” #### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ------------------------------------ (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ ========= สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,410
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ใบแสดงสิทธิ” และ“หลักทรัพย์อ้างอิง” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2545 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 “ “ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (depositary receipt) “หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 19/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (10) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (10) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (1) ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออก (2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน (3) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน โดยพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ หรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นผู้ออก ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (4) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (ก) บริษัทจดทะเบียน (ข) รัฐวิสาหกิจ (ค) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมิได้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศตาม (จ) (ง) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (จ) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (5) เงินฝากที่บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยรับฝากไว้ (6) เงินฝากที่บุคคลตาม (4) (ค) (ง) และ (จ) เป็นผู้รับฝากไว้ (7) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (8) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (9) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (10) ใบแสดงสิทธิที่ผู้ออก หรือผู้ค้ําประกันหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (7) การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตาม (2) (3) (4) และ (7) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 “ข้อ 5/3 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในใบแสดงสิทธิ ให้บริษัทจัดการนับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่ใบแสดงสิทธิดังกล่าวได้อ้างอิงรวมในอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี โดยถือเสมือนหนึ่งว่าบริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่นํามาคํานวณรวมในอัตราดังกล่าวให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าใบแสดงสิทธิที่บริษัทจัดการได้ลงทุนไว้” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,411
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 118) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 118) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(1) ให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศยื่นรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น และยื่นรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษี ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้น" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 8 ให้ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 ยื่นคําขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยให้ยื่นที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่" ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
3,412
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 29/2545 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินอื่นที่ลูกค้าอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2545 เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่ลูกค้าอาจมอบหมาย ให้บริษัทจัดการจัดการได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ทรัพย์สินที่ลูกค้าอาจมอบให้บริษัทจัดการจัดการทรัพย์สินของตนตามข้อ 4(8) ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3,413