title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 241) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้ามาเพื่อการบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีทรัพย์สินที่จะนํามาบริจาคดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายสินค้า ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๕ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามข้อ 3 และข้อ 4 ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานศึกษา พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีบริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องระบุจํานวนเงินที่ได้บริจาคและสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากสถานศึกษาว่าได้รับบริจาคจริง
(2) กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ได้แก่ หลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4
ข้อ ๖ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 ต้องไม่นําเงินบริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๗ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าวจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,112 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 548 ) พ.ศ. 2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนด เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามข้อ 1 ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินและลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,114 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินนำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 548) พ.ศ. 2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ จํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จํานวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน และต้องเป็นจํานวนเงินที่ลูกหนี้ได้นําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้สถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้
(1)แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2)แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,115 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไปโดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
สําหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย
หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน
หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 513) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการบริจาคเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจํานวนเงินที่บริจาคแต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น ทั้งนี้ สําหรับการบริจาคที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ยกเว้นสําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วต้องไม่เกินร้อยละสองของกําไรสุทธิ ทั้งนี้ สําหรับการบริจาคที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๔ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสินค้าที่ผู้ประกอบการได้นําไปบริจาคโดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนเพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สําหรับการบริจาคที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๕ การบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการบริจาค ดังต่อไปนี้
(1)ต้องเป็นการบริจาคโดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
(2)บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตาม (1) ต้องดําเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางอย่างเปิดเผยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(3)บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ดําเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ตาม (2) ที่มิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการกํากับและตรวจสอบภาษี หรือผ่านสรรพากรพื้นที่) แสดงว่าเป็นผู้ทําหน้าที่ดําเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ได้ร่วมกันเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และผู้ที่ทําหน้าที่ออกหลักฐานการรับบริจาค หรือผู้ที่ดําเนินการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรับบริจาค เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นนั้นเป็นผู้แจ้งชื่อของตนเองต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการกํากับและตรวจสอบภาษีหรือผ่านสรรพากรพื้นที่) แต่ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้แจ้งชื่อในฐานะที่เป็นตัวแทนการรับบริจาคแยกต่างหากตามวรรคหนึ่งแล้ว ก็ไม่ต้องดําเนินการแจ้งชื่อในกรณีนี้อีก
การแจ้งชื่อตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้แจ้งตามแบบคําขอแจ้งเป็นตัวแทนรับบริจาคที่มีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข)แห่งประมวลรัษฎากร ได้แจ้งชื่อการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ก่อนวันที่ที่ลงในประกาศนี้ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้แจ้งชื่อตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้วโดยไม่ต้องแจ้งชื่ออีก
(4) หลักฐานการบริจาคที่ผู้บริจาคจะนํามาใช้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน และเพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการบริจาคสินค้า แล้วแต่กรณี ได้แก่
(ก) หลักฐานการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนในการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค ได้จัดทําขึ้นเพื่อแสดงการรับเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้า ที่ระบุข้อความที่มีสาระสําคัญว่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือ
(ข) หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนในการรับบริจาคดังกล่าวได้เปิดบัญชีธนาคารขึ้นเพื่อรับเงินบริจาค โดยผู้บริจาคต้องมีหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารดังกล่าวที่พิสูจน์ได้ว่าตนเองเป็นผู้บริจาค
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับบริจาคเป็นผู้บริจาคด้วยให้แสดงหลักฐานตาม (ก) และ (ข) เป็นหลักฐานการบริจาคเพื่อใช้ยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี โดยจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีการบริจาคจริง
ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค ที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาคนั้น เช่น ใบกํากับภาษี ใบรับเงินที่ได้ซื้อทรัพย์สินหรือสินค้ามาบริจาค เป็นต้น หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นผู้ขายสินค้าที่บริจาคที่แสดงต้นทุนสินค้านั้นได้ ซึ่งจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้ารายการเดียวกับที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนในการรับทรัพย์สินหรือสินค้าออกเป็นหลักฐานในการรับบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้านั้นให้แก่ผู้บริจาค
(5)ภายหลังจากการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หากยังมีเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าเหลืออยู่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม (3) ต้องส่งมอบเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 5 (3) ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานให้แก่อธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการกํากับและตรวจสอบภาษี หรือผ่านสรรพากรพื้นที่) ได้แก่ สําเนาบัญชีการรับเงินบริจาคซึ่งต้องแยกออกจากบัญชีการดําเนินงานตามปกติ สําเนาบัญชีแสดงรายการจ่ายค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และสําเนารายชื่อผู้บริจาคที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว ได้ออกหลักฐานการรับบริจาคให้ โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,116 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 495) พ.ศ. 2553 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้
ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ จํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสําหรับการกระทําตราสาร
อันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จํานวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และต้องเป็นจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,117 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการนำเข้าหรือการขายเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุกและอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ และการนำเข้าหรือการขายทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้น เป็นของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการนําเข้าหรือการขายเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุกและอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ และการนําเข้าหรือการขายทองคําขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้น เป็นของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (6) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 3 และมาตรา 3 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการนําเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ และการนําเข้าหรือการขายทองคําขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียมเฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการนําเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ และการนําเข้าหรือการขายทองคําขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนําเข้าหรือการขายสินค้าตามข้อ 2 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้
(1) เป็นสมาชิกสมาคมอัญมณีสมาคมใดสมาคมหนึ่ง หรือเป็นสมาชิกหอการค้าไทย หรือเป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(2) มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ
(3) ได้แจ้งการประกอบกิจการต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งการประกอบกิจการนําเข้าหรือขายอัญมณี ทองคําขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,118 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้หรือรายรับที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งลูกหนี้ดังกล่าวนำมาจำนองเป็นประกันหนี้ต่อสถาบันการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของสถาบันการเงิน สําหรับเงินได้หรือรายรับที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งลูกหนี้ดังกล่าวนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ต่อสถาบันการ
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ( ฉบับที่ 462) พ . ศ . 2549 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของสถาบันการเงิน สําหรับเงินได้หรือรายรับที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งลูกหนี้ดังกล่าวนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ต่อสถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยเงินได้นั้นต้องนําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยของสถาบันการเงิน สําหรับเงินได้หรือรายรับที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งลูกหนี้ดังกล่าวนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ต่อสถาบันการเงิน โดยเงินได้นั้นต้องนําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอน อสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ . 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
( นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ )
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,119 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนด ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
-------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ( ฉบับที่ 462 ) พ.ศ . 2549 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล หมายความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัด ตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล และถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่า มาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2547 หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มี ราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2547 และให้รวมถึงหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสํารองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี และได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๒ กรณีตามข้อ 1 เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทย ประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่าง น้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากร พื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบ การตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
( นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ )
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,120 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้สนับสนุนการกีฬาตามโครงการตามยุทธศาสตร์ 4 ปีสร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548 – 2551) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้สนับสนุนการกีฬาตามโครงการตามยุทธศาสตร์ 4 ปีสร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548 – 2551)
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 458) พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้สนับสนุนการกีฬาตามโครงการตามยุทธศาสตร์ 4 ปีสร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548 – 2551) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬาตามโครงการตามยุทธศาสตร์ 4 ปีสร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548 – 2551) แก่กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5
ข้อ ๒ ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬาตามข้อ 1 ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาอุปกรณ์กีฬาสําหรับการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันกีฬา หรือเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬาอุปกรณ์กีฬาตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และต้องไม่ผ่านการใช้งานมาแล้ว
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬาตามข้อ 1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องไม่นําค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 428) พ.ศ. 2548 หรือไม่นําไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้าหรือการให้บริการอันเนื่องมาจากการดําเนินการสนับสนุนการกีฬาตามโครงการตามยุทธศาสตร์ 4 ปีสร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548 – 2551) ดังกล่าว ต้องเป็นการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้าหรือการให้บริการอันเนื่องมาจากการดําเนินการสนับสนุนการกีฬาตามข้อ 1 โดยผู้โอนต้องไม่นําต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในการคํานวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้ได้รับยกเว้นภาษีต้องมีหลักฐานจาก กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬาตามข้อ 1
ข้อ ๖ กรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,121 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรเกินกว่าหนึ่งหมายเลข | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล มีและใช้เลขประจําตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรเกินกว่าหนึ่งหมายเลข
----------------------------------------------------------
ด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อชําระภาษีเงินได้นิติบุคคล อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรายหนึ่งมีเลขประจําตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรหนึ่งหมายเลข ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจําตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรและเป็นการอํานวยความสะดวกแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 เอกาทศ แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามมาตรา 66 วรรคสอง และมาตรา 67(2) แห่งประมวลรัษฎากร และมีตัวแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยมากกว่าหนึ่งราย มีและใช้เลขประจําตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรเกินกว่าหนึ่งหมายเลขได้ โดยให้ตัวแทนแต่ละรายมีและใช้เลขประจําตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรตัวแทนละหนึ่งหมายเลข และให้ตัวแทนเป็นผู้ยื่นคําร้องขอมีเลขประจําตัวและบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรแทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,122 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.147/2548 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร จะต้องถือปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติงานดังนี้
(1) การจัดทําแนวทางการสอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องจัดทําแนวทางการสอบบัญชีสําหรับงานที่รับตรวจสอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบ และจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน และเนื่องจากแนวทางการสอบบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจึงต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการสอบบัญชี หมวดรหัส 300 - 399 เรื่อง การวางแผนงานสอบบัญชี ซึ่งในการจัดทําแนวทางการสอบบัญชีผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องพิจารณาการประเมินเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 400 เรื่อง การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีกับการควบคุมภายใน
(2) การจัดทํากระดาษทําการ
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องจัดทํากระดาษทําการ เพื่อบันทึกการตรวจสอบและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 230 เรื่อง กระดาษทําการของผู้สอบบัญชี
(3) การทดสอบความถูกต้องของงบการเงินและบัญชี รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสําคัญด้านภาษีอากร
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องทดสอบความถูกต้องของงบการเงินและบัญชีว่าถูกต้องเป็นจริงตามควรตรงตามเอกสารประกอบการลงบัญชี และบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ ซึ่งงบการเงินต้องแสดงข้อมูลและรายการตรงตามสมุดบัญชี รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทางด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเลือกใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรณี โดยต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการสอบบัญชี หมวดรหัส 500 - 599 เรื่อง หลักฐานการสอบบัญชี
วิธีการตรวจสอบที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเลือกใช้ในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของแต่ละกิจการ จะต้องรวมถึงการขอข้อมูลจากธนาคาร การขอยืนยันยอดลูกหนี้เจ้าหนี้ การขอยืนยันการออกใบกํากับภาษี การเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ และการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องใช้วิธีอื่นที่ให้ความเชื่อมั่นเช่นเดียวกันและอยู่ในวิสัยที่สามารถกระทําได้
จํานวนรายที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเลือกมาทดสอบนั้น จะต้องมีจํานวนมากพอที่จะทําให้สิ่งที่ตรวจพบสะท้อนภาพรวมของเรื่องที่ทดสอบได้ โดยอย่างน้อยที่สุดให้มี จํานวน ดังนี้
(ก) กรณีที่เป็นรายการบัญชีรับ – จ่าย บัญชีซื้อ – ขาย และเรื่องอื่น ๆ ที่มีรายการเป็นจํานวนมาก ต้องเลือกรายการเพื่อตรวจสอบอย่างน้อย 20 รายการของแต่ละบัญชี
(ข) กรณีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ การขอข้อมูลธนาคาร ต้องดําเนินการทุกรายการ
(ค) กรณีการยืนยันยอดเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ต้องยืนยันยอดเจ้าหนี้หรือลูกหนี้รวมมูลค่าหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด
(ง) กรณีการยืนยันการออกใบกํากับภาษี ต้องยืนยันการออกใบกํากับภาษีซื้อฉบับที่มีมูลค่าสูงสุด 20 ลําดับแรกของรายงานภาษีซื้อ และจะต้องไม่เป็นใบกํากับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการรายเดียวกัน เว้นแต่กรณีที่กิจการมีผู้ประกอบการที่ออกใบกํากับภาษีให้ ไม่ถึง 20 ราย ก็ให้ยืนยันการออกใบกํากับภาษีเท่าจํานวนผู้ประกอบการที่มีอยู่นั้น
(จ) กรณีเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ต้องสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือรวมมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสินค้าคงเหลือทั้งหมด
(ฉ) กรณีที่รายการบัญชีที่จะทดสอบมีจํานวนน้อย และมีสาระสําคัญค่อนข้างมาก ต้องทําการตรวจสอบทุกรายการ
(4) การตรวจสอบการปรับปรุงกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางบัญชีเป็นกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร รวมถึงการตรวจสอบการจัดทําบัญชีพิเศษของกิจการที่กําหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องตรวจสอบการปรับปรุงกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางบัญชีเป็นกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร รวมถึงการตรวจสอบการจัดทําบัญชีพิเศษของกิจการที่กําหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ดังนี้
(ก) ตรวจสอบหาความแตกต่างระหว่างนโยบายบัญชีของกิจการกับหลักเกณฑ์ทางด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(ข) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการปรับปรุงรายการตาม (ก) เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของกิจการ
(ค) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการจัดทําบัญชีพิเศษและการจัดทํารายงานตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนด โดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องทําการทดสอบรายการในบัญชีพิเศษหรือรายงานไม่น้อยกว่า 20 รายการ
ข้อ ๒ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมส่งมอบแนวทางการสอบบัญชี กระดาษทําการ ตามข้อ 1 (1) และ (2) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,123 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 238) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร | เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 238 )
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้วต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท และหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการหักลดหย่อนสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,124 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 237) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 237) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) สมาคมกีฬาจังหวัดหรือสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อการกีฬา”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,125 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 4 (8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 4 (8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,126 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 6 จัตวา (8) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 251 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,127 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 236) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 236)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ ของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194) เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ ในปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่าง ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกัน ชีวิตแบบบํานาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารอง เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จ บํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสม เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีเดียวกัน
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะ ส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็น เงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้ต่างฝ่ายต่าง ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกัน ชีวิตแบบบํานาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารอง เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จ บํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสม เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีเดียวกัน
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงิน ได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่าย เป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาทและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงิน ได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญในส่วนของสามีหรือ ภริยาเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารอง เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จ บํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสม เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งต้องไม่ เกิน500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกิน เงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,128 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดค่าธรรมเนียมการทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 7 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดค่าธรรมเนียมการทดสอบการขอขึ้นทะเบียน การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดค่าธรรมเนียมการทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การต่ออายุใบอนุญาต ค่าแก้ไขใบอนุญาต ค่าใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรชําระค่าธรรมเนียม ตามอัตราดังต่อไปนี้
(1) ค่าธรรมเนียมการทดสอบ วิชาละ 500 บาท
(2) ค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน หรือการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งละ 200 บาท
(3) ค่าธรรมเนียมการแก้ไขใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งละ 50 บาท
(4) ค่าธรรมเนียมการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ฉบับละ 50 บาท
(5) ค่าธรรมเนียมการรับรองสําเนาเอกสาร ฉบับละ 20 บาท
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,129 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 235) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 235)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551)ออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 3 ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับใน ปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่าง ได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่าย หนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษี ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาทซึ่งไม่เกิน เงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่ง ประมวลรัษฎากรแล้ว
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงิน ได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วน ที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน90,000บาทและได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยา ได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาทซึ่งไม่ เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,130 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 234) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 234)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
-------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (76) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงิน ได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันสุขภาพบิดามาร ดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 1 ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(6) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปี ภาษีที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่าง ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของ อีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้ พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทและได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,131 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 233) เรื่อง กำหนดวิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 233)
เรื่อง กําหนดวิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสอง ของมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้อ อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (6) (7) และ (8) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 213) เรื่อง กําหนดวิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(6) กรณีสามีภริยาซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด ในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย โดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็น ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฝ่ายได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
(7)กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และต่างฝ่ายต่างเป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ ในปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้ต่างฝ่ายต่าง ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่าย ตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้ พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉแห่งประมวลรัษฎากรให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปทั้งนี้ ความใน (6) (7) และ (8) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 213) เรื่อง กําหนดวิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้น ภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคาร ชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555 เดิมที่ยกเลิกตามประกาศนี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะการยกเว้นภาษีเงินได้ปีภาษี พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,132 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร จะต้องยื่นคําขอเข้ารับการทดสอบตามแบบที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๒ ผู้ขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร จะต้องได้คะแนนในแต่ละวิชาไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าสอบผ่านในวิชานั้น
ข้อ ๓ ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรสามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านได้ไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบในแต่ละวิชา
ข้อ ๔ ผู้ประสงค์จะเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่สําเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ และวุฒิการศึกษายังไม่ได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สามารถยื่นคําขอให้พิจารณาวุฒิการศึกษาก่อนยื่นคําขอเข้ารับการทดสอบได้ตามแบบที่อธิบดีกําหนด และจะต้องยื่นเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(1) ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน จํานวน 1 ฉบับ
(2) ภาพถ่ายปริญญาบัตร จํานวน 3 ฉบับ
(3) ภาพถ่ายใบแสดงผลการศึกษารายวิชา (Transcript) จํานวน 3 ฉบับ
(4) ภาพถ่ายคู่มือ/รายละเอียดหลักสูตรการศึกษาของสถาบันที่สําเร็จการศึกษาจํานวน 3 ฉบับ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,133 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขอขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต
(1) ผู้ผ่านการทดสอบครบทุกวิชาตามที่อธิบดีกําหนด จะต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ โดยจะต้องมีข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 7 ขึ้นไป หรือข้าราชการอื่น ๆ เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 7 ขึ้นไป หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร รับรองว่าผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี และมีคุณสมบัติครบถ้วนสมควรเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้ ตามหนังสือรับรองความประพฤติและคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) ผู้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนที่มีความประสงค์จะให้นําชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของตนเองลงในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้แจ้งความประสงค์ดังกล่าวไว้ในคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตาม(1) ด้วย
(3) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นสําหรับการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(ก) ภาพถ่ายใบปริญญาบัตร ตามวุฒิการศึกษาที่ใช้ในการยื่นคําขอเข้ารับการทดสอบ จํานวน 1 ฉบับ
(ข) ภาพถ่ายใบแสดงผลการศึกษารายวิชา (Transcript) จํานวน 2 ฉบับ
(ค) ภาพถ่ายใบระเบียนแสดงผลการเรียนระดับ ปวท. หรือ ปวส. หรืออนุปริญญา กรณีผู้ขอขึ้นทะเบียนสําเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี จํานวน 1 ฉบับ
(ง) ภาพถ่ายใบรับรองคุณวุฒิจากสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรณีจบการศึกษาจากต่างประเทศ หน่วยงานละ1 ฉบับ
(จ) ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน จํานวน 1 ฉบับ
(ฉ) ภาพถ่ายใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี) จํานวน 1 ฉบับ
(ช) ภาพถ่ายใบสําคัญการสมรสหรือใบสําคัญการหย่า (ถ้ามี) จํานวน 1 ฉบับ
(ซ) รูปถ่ายปกติหน้าตรง แต่งกายสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา โดยถ่ายในคราวเดียวกันไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นคําขอ ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 2 รูป
(ฌ) หนังสือรับรองความประพฤติและคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรพร้อมแนบเอกสารหลักฐานของผู้ให้คํารับรอง ได้แก่
- ภาพถ่ายบัตรประจําตัวของข้าราชการผู้ให้คํารับรองจํานวน 1 ฉบับ หรือ
- ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน และภาพถ่ายใบอนุญาตเป็น ผู้สอบบัญชี กรณีผู้รับรองเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร อย่างละ 1 ฉบับ
(4) เมื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะเสนอคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาตให้รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(5) ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรให้มีอายุห้าปี
ข้อ ๒ การต่ออายุใบอนุญาต
(1) กรณีใบอนุญาตหมดอายุ
(ก) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในสามเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตหมดอายุ พร้อมแจ้งการเข้ารับการอบรมในปีที่ใบอนุญาตหมดอายุตามแบบที่อธิบดีกําหนด
(ข) กรณีที่ไม่สามารถยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรภายในเวลาที่กําหนดตาม (ก) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องขอความเห็นชอบจากอธิบดีเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนระยะเวลาดังกล่าวแต่จะต้องไม่เกินหกเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุดตามแบบที่อธิบดีกําหนด
(ค) กรณีที่ไม่สามารถยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรภายในเวลาที่กําหนดตาม (ก) หรือ (ข) ให้ถือว่าผู้นั้นหมดสภาพการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรและหากประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่อไปจะต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุดและเข้ารับการอบรมนอกเหนือจากที่ต้องแจ้งตาม (ก) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง โดยจะต้องแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนด พร้อมยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้เข้ารับการอบรมครบสิบแปดชั่วโมง
(ง) กรณีที่ไม่ได้เข้ารับการอบรม หรือเข้ารับการอบรมไม่ครบตามที่อธิบดีกําหนด หรือตามที่ได้รับการผ่อนผันการเข้ารับการอบรมจากอธิบดี ผู้นั้นจะไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต
(2) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นสําหรับการขอต่ออายุใบอนุญาต
(ก) ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(ข) รูปถ่ายหน้าตรง แต่งกายสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา ถ่ายในคราวเดียวกันไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นคําขอ ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 2 รูป
ข้อ ๓ การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียน
(1) การขอออกใบแทนใบอนุญาต กรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย หรือถูกทําลาย หรือชํารุดเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรยื่นคําขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนดและจะต้องยื่นเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน
(ข) บันทึกประจําวันรับแจ้งเอกสารหายของสถานีตํารวจ กรณีสูญหาย
(ค) ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร กรณีถูกทําลายหรือชํารุดเสียหายเพียงบางส่วน
(ง) รูปถ่ายหน้าตรง แต่งกายสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา โดยถ่ายในคราวเดียวกันไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นคําขอ ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 2 รูป
(2) การขอแก้ไขทะเบียน กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนตามที่ได้เคยแจ้งไว้ต่ออธิบดี ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรยื่นคําขอแก้ไขทะเบียนตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น และจะต้องยื่นเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน
(ข) ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(ค) รูปถ่ายหน้าตรง แต่งกายสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา โดยถ่ายในคราวเดียวกันไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นคําขอ ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 2 รูป
(ง) ภาพถ่ายเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน
ข้อ ๔ สําเนาหรือภาพถ่ายเอกสารหลักฐานที่ต้องนําส่งสําหรับการยื่นคําขอตามประกาศนี้ ผู้ยื่นคําขอจะต้องลงลายมือชื่อรับรองเอกสารทุกฉบับ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,134 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 232) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัว คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 232)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัว คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (81) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 197) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 เป็นสามีภริยาและ ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,135 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2547 หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2547 และให้รวมถึงหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสํารองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี และได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๒ กรณีตามข้อ 1 เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,136 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 231) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 231)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่ต่ํากว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549)ออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ํากว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ํากว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ใน ปีภาษีได้รับ ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ํากว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษี ได้รับ ลงวันที่12 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 เป็นสามีภริยาและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,137 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้า เพื่อการศึกษาและการวิจัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการนําเข้าสินค้า เพื่อการศึกษาและการวิจัย
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 422) พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการนําเข้าสินค้าเพื่อการศึกษาและการวิจัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้การนําเข้าสินค้าที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองว่านําเข้ามาเพื่อใช้ในการศึกษาและการวิจัยของหน่วยงานต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) สถานศึกษาของรัฐ
(2) สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(3) หน่วยงานที่กฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่และวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและการวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
(4) สมาคมและมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยทางการศึกษา
ข้อ ๒ สินค้าที่นําเข้าตามข้อ 1 ต้องเป็นสินค้าที่ไม่มีการผลิตในประเทศเว้นแต่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่ามีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศตามกฎหมายเรื่องการลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากรซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ข้อ ๓ ผู้นําเข้าตามข้อ 1 ต้องส่งหนังสือรับรองของกระทรวงศึกษาธิการและข้อมูลที่เป็นหลักฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือลักษณะวิชาที่ใช้ในการเรียนการสอนหรือโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติแล้ว และแจ้งสถานที่เก็บรักษาสินค้าและใช้สินค้าดังกล่าวต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของหน่วยงานซึ่งผู้นําเข้าตั้งอยู่
ข้อ ๔ กรณีผู้นําเข้านําสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นนอกเหนือจากที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองเป็นเหตุให้สินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือมีการโอนสินค้าไปให้ผู้ไม่มีสิทธิตามข้อ 1(1)(2)(3) และ (4) ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันนําเข้า ผู้นําเข้าสินค้าดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้นําเข้าสินค้าแจ้งเป็นหนังสือให้กระทรวงศึกษาธิการทราบทันที เพื่อกระทรวงศึกษาธิการจะได้แจ้งให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีอากรเพื่อกรมสรรพากรตามกฎหมาย
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการนําเข้าสินค้าตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,138 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 230) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 230) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงิน ได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)เรื่องกําหนดหลัก เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(6) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน ที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงแล้วมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,00 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือ เป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 56 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่าง ฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอา เงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของ มาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มี เงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการหักลดหย่อนสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,139 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ( ฉบับที่ 420) พ . ศ . 2547 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่สถานศึกษาของ ทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรง เรียน เอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ สถานศึกษา ” หมายความว่า สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาของ องค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ข้อ ๒ เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษา โดยบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11
ข้อ ๓ ค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดิน ให้แก่ สถานศึกษา ต้องเป็นการจัดหาหรือจัดสร้างทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๔ ค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตํารา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดที่ให้แก่สถานศึกษาดังกล่าวต้องเป็นการจัดหาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
วัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษาตามวรรคหนึ่งในกรณีที่เป็นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ต้องไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและต้องไม่ผ่านการใช้งานมาแล้ว
“คอมพิวเตอร์ตามวรรคสอง หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทําหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วย หรือเครื่องประกอบกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2548 ใช้บังคับ 25 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ โครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบมีดังต่อไปนี้
(1) สถานศึกษาตามโครงการพระราชดําริ
(2) สถานศึกษาตามนโยบายที่จะระดมพลังเพื่อเร่งรัดปรับปรุงคุณภาพ
(3) สถานศึกษาที่รองรับพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ
สถานศึกษาตามโครงการตามวรรคหนึ่งเป็นไปตามรายชื่อสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกําหนด
ข้อ ๖ ผู้ที่ประสงค์จะให้กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบโครงการเพื่อ สนับสนุน การศึกษาตามข้อ 5 ต้องยื่นคําขอต่อกระทรวงศึกษาธิ การ เพื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด และเมื่อกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้วให้แจ้งโครงการ ที่ได้รับความเห็นชอบต่อกรมสรรพากร เพื่อให้ประกาศตามข้อ 5
ข้อ ๗ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่สถานศึกษาดังกล่าว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ต้องไม่นําค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ไปหักเป็น ค่าลด หย่อนสําหรับเงินบริจาค ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่นําไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการศึกษาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่สถานศึกษาดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องไม่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ข้อ ๙ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์ สําหรับการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่อง มาจากการดําเนินการสนับสนุนการศึกษา ตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ ผู้โอนจะต้องไม่นําต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่าย ในการคํานวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ข้อ ๑๐ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้ได้รับยกเว้นภาษีต้องมีหลักฐานจาก สถานศึกษาที่พิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ตามข้อ 3 และข้อ 4เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๑ กรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และ คําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศ นี้ด้วย
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ . 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548
( ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ )
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,140 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 229) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 229)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 2 (69) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 250 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ย เงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137)เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกันและไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นเงินฝากของสามี หรือภริยาแต่ละฝ่ายจํานวนเท่าใด ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามีและภริยา ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,141 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 228) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงิน ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 228)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงิน ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64)เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและดอกเบี้ยเงิน ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ผู้มีเงินได้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกัน และไม่อาจแยก ได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นเงินฝากของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจํานวนเท่าใดให้ถือว่าเงิน ได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
(2) ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,142 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2547
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,143 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 227) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 227)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 42 (8) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 และตามความในข้อ 2 (38 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ กระทรวงฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อ ทวงถามประเภทออมทรัพย์ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55)เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ผู้มีเงินได้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ 2 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ในกรณีที่สามีภริยาเป็นผู้ฝากเงินร่วมกัน และไม่อาจแยก ได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นเงินฝากของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจํานวนเท่าใดให้ถือว่าเงินได้ ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
(2) ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม
(3) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็น ผู้ฝากเงิน ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลนั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,144 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 226) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยตามข้อ 2 (59)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 226)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยตามข้อ 2 (59)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่264 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อเช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 167) เรื่องกําหนดหลัก เกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงิน กู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีดังนี้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน ที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงแล้วมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่ถือ เป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือ เอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสาม ของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่ จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตาม จํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,145 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 224) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกัน การกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 224)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกัน การกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกัน การกู้ยืมนั้นดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 165) เรื่องกําหนดหลัก เกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงิน กู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคาร ที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงได้รับยกเว้นภาษีดังนี้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน ที่ตนได้รับในปีภาษี ที่ล่วงแล้วมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่ถือ เป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้ต่าง ฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือ เอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสาม ของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่าย จริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตาม จํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,146 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ (6) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจาก บัญชีลูกหนี้ (6)
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 6 จัตวา (6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 243 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2547
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,147 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 223) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 223)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 292 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือลูกจ้างออกจากงานกรณีอื่น แต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ” หมายความว่า กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ข้อ ๓ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีลูกจ้างออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังนี้
(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจํานวนจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการไปยังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้ว
การเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๔ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานก่อนอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังนี้
(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจํานวนจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการไปยังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้วการเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,148 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 222) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่บริจาคให้แก่โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึก | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 222)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่บริจาคให้แก่โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึก
---------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 541) พ.ศ. 2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่บริจาคให้แก่โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่บริจาคให้แก่โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
(1) สําหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสําหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากรเป็นจํานวนสองเท่าของจํานวนเงินที่บริจาคแต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
(2) สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นสําหรับเงินได้เป็นจํานวนสองเท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบและรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบํารุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไป โดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่บริจาคเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในโครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟูและสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดหาทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่บริจาคที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้ถือว่า มูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่บริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทรัพย์สินที่บริจาคตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
ข้อ ๓ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่บริจาคเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในโครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
(1) ใบเสร็จรับเงิน กรณีบริจาคเป็นเงิน
(2) หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ได้จัดหาทรัพย์สินให้แก่โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินที่เป็นไปตามข้อ 2 กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สิน
“กรณีที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม รับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 343) ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,149 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ (5) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจาก บัญชีลูกหนี้ (5)
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 6 จัตวา (6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 243 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินเป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2547
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,150 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 410) พ.ศ. 2545 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 410) พ.ศ. 2545
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 410) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,151 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 221) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 221)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (78) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 287 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องจดทะเบียนและได้รับใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจากกรมส่งเสริมการเกษตรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และต้องจัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวันเป็นภาษาไทย ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่ายโดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) เรื่อง กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ทั้งนี้ ให้เก็บรักษาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวันและใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ณ ที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ทันที
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิ รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,152 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 220) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ำท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 220)
เรื่อง กําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัย
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 288 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัย แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามหมื่นบาท ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) รถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมซึ่งได้รับการซ่อมแซมต้องเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก โดยรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่อุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พื้นที่ ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ กรณีในกรุงเทพมหานคร
เป็นไปตามประกาศของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ หรือกรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อต้องมีหลักฐานแสดงการเช่าซื้อรถ ซึ่งเป็นรถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขายรถ ใบคู่มือจดทะเบียนรถซึ่งมีชื่อผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ เอกสารตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถ หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อรถ ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่าซื้อ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่าซื้อรถ
(ค) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา รถที่สามีภริยาได้กรรมสิทธิ์มาระหว่างสมรสและเป็นสินสมรสซึ่งสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ โดยผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาไม่มีชื่อในเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ หลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ ได้แก่ หลักฐานตาม (ก) ที่มีชื่อของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ประกอบกับใบทะเบียนสมรส
(3) กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) เป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินสามหมื่นบาท
กรณีมีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคนให้ผู้มีเงินได้ทุกคนซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยให้เฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วนของค่าซ่อมแซม ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ และอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ผู้มีเงินได้ซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซ่อมแซมนั้นได้จ่ายไปในการซ่อมแซม แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคัน ให้ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้นแต่ละคันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่เมื่อรวมทุกคันแล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาท
(4) การจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถหนึ่งคันตาม (3) หมายความว่า ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถ และอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกในรถ ซึ่งเป็นรถที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัยตาม (1) เช่น ระบบแอร์ ระบบเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่างรถยนต์ สี เบาะ วิทยุ เป็นต้น
(5) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว โดยสามีหรือภริยาจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ที่สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถนั้น ให้สามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่สามีหรือภริยาได้จ่ายไปนั้น ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
(6) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องจัดทําแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) เอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถ ที่เสียหายจากการถูกน้ําท่วมเนื่องจากเหตุอุทกภัยที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจํานวนเงินที่จ่ายหรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถนั้น
(2) เอกสารหลักฐานตาม ข้อ 1 (2) ผู้มีเงินได้จะยื่นแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาพถ่ายเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถตามข้อ 1 โดยให้ใช้สิทธิได้ในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555 และหากผู้มีเงินได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในรถทั้งสองปีภาษี ให้ได้รับยกเว้นตามที่ได้จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่รวมกันสองปีภาษีแล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,154 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 219) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 219)
เรื่อง กําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับอสังหาริมทรัพย์
--------------------------------------------
ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 288 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สิน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารหรือที่อยู่ในเขตอาคารหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินหนึ่งแสนบาท ให้เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) ทรัพย์สินที่ได้รับการซ่อมแซมต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคาร หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
พื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ กรณีในกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้เช่าอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยนั้นเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่น แล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขาย หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เช่า ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่า หรือหลักฐานอื่นที่แสดงได้ว่ามีการเช่า
(ค) กรณีผู้มีเงินได้ได้ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่น ได้แก่ หลักฐานการรับรองจากเจ้าของทรัพย์สินว่าผู้มีเงินได้ได้ใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ในการประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่นใดโดยให้ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าใช้ประโยชน์ใด
(ง) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่สามีภริยาได้มาระหว่างสมรสและเป็นสินสมรสซึ่งสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดโดยผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาไม่มีชื่อในเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดนั้น หลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ได้แก่ หลักฐานตาม (ก) ที่มีชื่อของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ประกอบกับใบทะเบียนสมรส
(3) กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) เป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
กรณีมีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการจ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยให้เฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วนของค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุและค่าอุปกรณ์ในการซ่อมแซมที่ผู้มีเงินได้ซึ่งใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ได้จ่ายไปในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
กรณีผู้มีเงินได้ตาม (2) จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นแต่ละแห่งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่เมื่อรวมทุกแห่งแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท.
(4) การจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินแห่งหนึ่งตาม (3) หมายความว่า ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร และอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตอาคาร และทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคาร ในเขตอาคาร หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบติดตั้งติดอยู่กับอาคาร เครื่องสุขภัณฑ์ที่ติดตั้งติดอยู่ในอาคารหรือในเขตอาคาร ประตู หน้าต่าง รั้ว ประตูรั้ว สนามหญ้า สระว่ายน้ํา บ่อเลี้ยงปลา ระบบประปา เช่น แท็งก์น้ํา ปั๊มน้ํา ท่อน้ํา ระบบบําบัดน้ําเสีย เช่น บ่อหรือถังบําบัดน้ําเสีย ระบบไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นต้น หรือเป็นการจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นห้องชุดในอาคารชุด และทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งอยู่ในที่แห่งเดียวกันหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน
(5) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว โดยสามีหรือภริยาจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ที่สามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้สามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าซ่อมแซมทรัพย์สินหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่สามีหรือภริยาได้จ่ายไปนั้นตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
(6) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยตาม (1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ตาม (2) (3) และ (4)
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องจัดทําแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) เอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจํานวนเงินที่จ่าย หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น
(2) เอกสารหลักฐานตาม ข้อ 1 (2) ผู้มีเงินได้จะยื่นแบบแสดงการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาพถ่ายเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินตามข้อ 1 โดยให้ใช้สิทธิได้ในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555 และหากผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินดังกล่าวทั้งสองปีภาษี ให้ได้รับยกเว้นตามที่ได้จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่รวมกันสองปีภาษีแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,155 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 218) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 218)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 536) พ.ศ. 2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย และได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้า เป็นจํานวนร้อยละยี่สิบห้าของค่าใช้จ่ายนั้น ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และต้องมีใบเสร็จรับเงินที่ผู้รับเงินได้ออกให้เป็นหลักฐานเพื่อการได้มาซึ่งเครื่องจักรดังกล่าว
พื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ กรณีในกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรณีในจังหวัดอื่นเป็นไปตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้า โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าวรวมทั้งเอกสารประกอบกับการลงรายการในรายงานไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว แต่ต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 536) พ.ศ. 2555 และตามข้อ 1 และข้อ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องนําเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วมารวมเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น และกรณีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เพิ่มเติมของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,156 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 217) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 217)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 520) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น ดังนี้
(1) สําหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีสําหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนสองเท่าของจํานวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับการจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
(2) สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีสําหรับเงินได้เป็นจํานวนสองเท่าของจํานวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ และรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่าย ในการจัดสร้างและการบํารุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใด ๆ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นตามที่แนบท้ายประกาศนี้
“กรณีที่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่องการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 342) ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการบริจาคที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,157 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 216) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 216)
เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 195) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 18 มีนาคมพ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) แบบ ภ.ง.ด. 95 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคหรือศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,158 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 215) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทำงานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างในสถานประกอบการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 215)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทํางานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างในสถานประกอบการ
-------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เข้าทํางานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่มีเงินได้
ข้อ ๑ เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เข้าทํางานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่มีเงินได้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายในการจ้างคนพิการดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553
ข้อ ๒ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ที่ประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ จะต้องมีหนังสือรับรองจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการตามข้อ 1 โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ต้องระบุรายชื่อและจํานวนลูกจ้างทั้งหมดรายชื่อและจํานวนลูกจ้างที่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมทั้งระยะเวลาการจ้างงานของลูกจ้างนั้นๆ
ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีหลักฐานสําเนาบัตรประจําตัวคนพิการของลูกจ้างและหลักฐานสําเนาสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการจ้างแรงงานของลูกจ้างทั้งหมด ประกอบการออกหนังสือรับรองดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,159 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 214) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 214)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอํานวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
“โครงการของรัฐ” หมายความว่า โครงการของหน่วยงานของรัฐ ที่จัดให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ข้อ ๒ เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 และข้อ 4
ข้อ ๓ เงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554
(1) สําหรับบุคคลธรรมดาให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(2)(3)(4)(5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของเงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว
(2) สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ยกเว้นภาษีสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่เป็นจํานวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบและรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบํารุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับรายจ่ายที่เป็นทรัพย์สิน จะต้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรง และได้มาในระหว่างเวลาการดําเนินงานของโครงการของรัฐในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ข้อ ๔ บุคคลธรรมดา บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554 จะต้องแสดงหลักฐานเป็นหนังสือที่พิสูจน์ได้ว่าได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานตามโครงการของรัฐให้แก่หน่วยงานของรัฐซึ่งจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐนั้น
“กรณีที่หน่วยงานของรัฐรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยบุคคลธรรมดา บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 341) ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,160 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 213) เรื่อง กำหนดวิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 213)
เรื่อง กําหนดวิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสอง ของมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดวิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามวิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด มูลค่าไม่เกินห้าล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการทําสัญญาซื้อขายที่ดินและทําสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน
อสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(3) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่จ่ายไปในระหว่างวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว
(4) ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายในห้าปีภาษี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว และต้องใช้สิทธิเป็นเวลาห้าปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนเท่า ๆ กันในแต่ละปี
(5) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ให้ได้รับยกเว้นภาษีทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง และไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(6) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา ให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้เพียงแห่งเดียว
(7) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนี้
(ก) กรณีภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันเท่าจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกของสามีและภริยา จะต้องกระทําในปีภาษีเดียวกัน
(ค) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้วให้สามีและภริยาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพียงแห่งเดียว
(8) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งต้องยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีผู้มีเงินได้สมรสกัน ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของจํานวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(9) ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน หรือไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเองหรือคู่สมรสตามทะเบียนบ้าน
(10) กรณีการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน โดยผู้กู้ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเอง หรือเคยใช้สิทธิหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมาแล้ว ผู้กู้ร่วมจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในส่วนของเงินได้ที่ใช้กู้ร่วม
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานประกอบการยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนี้
(1) หนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) หนังสือรับรองตนเองว่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งแรก โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(3) สําเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(4) สําเนาสัญญากู้ยืมเงิน (กรณีกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน)
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีชื่อเป็นคู่สัญญากับสถาบันการเงินที่ให้กู้ เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตาย หรือกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปหักจากภาษีที่ต้องชําระจากการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนการคํานวณเครดิตภาษี
กรณีผู้มีเงินได้มีภาษีที่ต้องชําระน้อยกว่าจํานวนค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีจากส่วนต่างดังกล่าว
ข้อ ๕ กรณีผู้มีเงินได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว และต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามวิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่นําเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดไปหักออกจากภาษีที่ต้องชําระมาแล้ว พร้อมเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,161 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 212) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 212)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(2) กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบกิจการอื่นทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แยกบัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุนออกเป็นคนละชุดเสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,162 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 211) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 211)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 532) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องซื้อทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกําหนด และรับรองว่า เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และต้องมีหลักฐานการจ่ายค่าซื้อทรัพย์สินดังกล่าวผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้และเก็บรักษารายงานดังกล่าวรวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๒ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคํานวณหักค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควรการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดานําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๓ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว แต่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 532) พ.ศ. 2554 และตามข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องนําเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว รวมเป็นเงินได้ในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือรวมเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เพิ่มเติมสําหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,163 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 210) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสำหรับสถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุค | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 210)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสําหรับสถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุค
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 526) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสําหรับสถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสําหรับสถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง ค่าใช้จ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจําเป็นต้องจ่ายเพื่อให้สถานรับเลี้ยงเด็กของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น มีลักษณะและคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก พ.ศ. 2549 จนได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,164 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 209) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 209)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 526) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(1) สําหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีสําหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนสองเท่าของจํานวนเงินที่บุคคลธรรมดาได้จ่าย แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
(2) สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีสําหรับเงินได้เป็นจํานวนสองเท่าของรายจ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่าย ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สินแต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบและรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบํารุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะหรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดหาทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่บริจาคที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้ถือว่า มูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่บริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทรัพย์สินที่บริจาคตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
ข้อ ๓ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(1) ใบเสร็จรับเงิน กรณีบริจาคเป็นเงิน
(2) หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ได้จัดหาทรัพย์สินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินที่เป็นไปตามข้อ 2 กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สิน
“กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 340) ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,165 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 208) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 208)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 130) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการชําระเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านผู้ให้บริการรับชําระภาษีที่มีข้อตกลงกับกรมสรรพากรการชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกัน เว้นแต่ภาษีที่ต้องเสียมีจํานวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้มีเงินได้จะชําระเป็นสามงวด งวดละเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,166 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 207) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ได้รับ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 207)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ได้รับ
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (82) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 282 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ได้รับ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ได้รับ ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ต้องลงทะเบียนแจ้งรายการหรือมูลค่าความเสียหาย ไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการ โดยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 ให้ได้รับยกเว้นเฉพาะส่วนที่เท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่ได้ลงทะเบียนแจ้งไว้นั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,167 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 206) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 206)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินที่ได้รับชดเชยจากรัฐบาล ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นนั้น ต้องมีการลงทะเบียนต่อศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทางราชการ
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยสําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคหรือช่วยเหลือเพื่อชดเชยความเสียหายที่ได้รับนอกเหนือจากกรณีตามข้อ 1 ซึ่งไม่เกินมูลค่าความเสียหายที่ได้รับ ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นนั้น จะต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นนั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยไม่ต้องนําไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินหรือรายได้ในการคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,168 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 205) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินช่วยเหลือที่จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบหรือความเสียหาย อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 205)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินช่วยเหลือที่จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบหรือความเสียหาย อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 523) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินช่วยเหลือที่จ่ายให้ผู้เอาประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้เท่าจํานวนเงินช่วยเหลือที่จ่ายให้ผู้เอาประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เงินได้เท่าจํานวนเงินช่วยเหลือที่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจประกันภัย
(2) เงินได้เท่าจํานวนเงินช่วยเหลือที่บริษัทซึ่งประกอบธุรกิจประกันภัยจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย
(3) ต้องเป็นเงินช่วยเหลือที่บริษัทซึ่งประกอบธุรกิจประกันภัยจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามคําปรึกษาแนะนํา ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท รวมทั้งการเจรจาเพื่อให้ความช่วยเหลือและให้ความเป็นธรรมของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
(4) ต้องมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป หรือสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,169 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 204) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 204)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 522) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ต้องเป็นบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้
ข้อ ๒ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินช่วยเหลือและประโยชน์อย่างอื่นซึ่งอาจคิดคํานวณเป็นเงินที่ได้รับจากรัฐบาลหรือกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓ บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป หรือสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,170 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 203) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายจากหรือเนื่องมาจากการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 203)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายจากหรือเนื่องมาจากการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 524) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายจากหรือเนื่องมาจากการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 524) พ.ศ. 2554 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้
ข้อ ๒ บุคคลธรรมดาที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคํานวณหักค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควรการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดานําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คํานวณเสียภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์การได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 มาตรา 4 หรือ มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 524) พ.ศ.2554 แล้วแต่กรณี พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,171 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 277 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกจ้างออกจากงานกรณีอื่นแต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกําหนดเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,172 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 404) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายอันเนื่องมาจากธนาคารพาณิชย์ควบเข้ากัน หรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 404)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายอันเนื่องมาจากธนาคารพาณิชย์ควบเข้ากัน หรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 677) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายอันเนื่องมาจากธนาคารพาณิชย์ควบเข้ากันหรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่เกิดจากการควบเข้ากันหรือที่รับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 677) พ.ศ. 2562 สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการเปลี่ยนแปลงหรือทําให้ดีขึ้นซึ่งอาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย อันเนื่องมาจากการควบเข้ากันหรือการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุน หรือการเปลี่ยนแปลงหรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการควบเข้ากันหรือการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(2) ให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ต้องสามารถแสดงหลักฐานการจ่ายตาม (1) พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
หมวด ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่เกิดจากการควบเข้ากันหรือที่รับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 677) พ.ศ. 2562 สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการเลิกหรือการปรับปรุงแก้ไขสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาจ้างทําของ หรือสัญญาบํารุงรักษา ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ และสําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการรื้อถอนเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ อันเนื่องมาจากการควบเข้ากันหรือการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(2) รายจ่ายที่ธนาคารพาณิชย์ได้จ่ายตาม (1) ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(3) ต้องสามารถแสดงหลักฐานการจ่ายตาม (1) พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
หมวด ๓ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 677) พ.ศ. 2562 ให้ใช้สินทรัพย์รวมของธนาคารพาณิชย์ที่เกิดจากการควบเข้ากันหรือที่รับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ณ วันที่ธนาคารพาณิชย์ได้ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่กัน
หมวด ๔ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เกิดจากการควบเข้ากันหรือที่รับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินหรือรายจ่ายที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และต้องเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ โดยทรัพย์สินที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินหรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันที่ได้จัดทําขึ้นโดยธนาคารพาณิชย์ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,173 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 403) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 403)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (78) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 371 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องจดทะเบียนและได้รับใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจากกรมส่งเสริมการเกษตรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และต้องจัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวันเป็นภาษาไทย ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) เรื่อง กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ทั้งนี้ ให้เก็บรักษาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวัน และใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ณ ที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ทันที
ข้อ ๒ วิสาหกิจชุมชนตามข้อ 1 ต้องแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป แต่สําหรับปีภาษี พ.ศ. 2560 วิสาหกิจชุมชนดังกล่าวไม่ต้องแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีที่วิสาหกิจชุมชนไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งในปีภาษีใด วิสาหกิจชุมชนดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีนั้น
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 256
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,174 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 402) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 402)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (1) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 258) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 258) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุนที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 1”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 กรณีผู้มีเงินได้ที่ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 หรือข้อ 2 ในปีใด เมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสําหรับปีภาษีที่ได้นําจํานวนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินในการคํานวณภาษีเงินได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นั้น และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่ หากผู้มีเงินได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 และข้อ 2 นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 258) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
“กรณีการขายหน่วยลงทุนที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่คํานวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,175 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 357 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน
(2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
(3) ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้
การซื้อหน่วยลงทุนตาม (1) และการถือหน่วยลงทุนตาม (2) ให้รวมถึงการซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนหรือถือหน่วยลงทุนไว้ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ด้วย
ข้อ ๓ กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุนที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 2
ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือทุพพลภาพ ผู้มีเงินได้จะไม่ซื้อหน่วยลงทุนต่อไป หรือจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปีใดปีหนึ่ง และจะซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 2 (1)
ข้อ ๕ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับปีภาษีนั้น
กรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ข้อ ๖ กรณีผู้มีเงินได้ได้มาซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องกับการโอนมาจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือได้มาโดยวิธีการอื่นซึ่งมิใช่การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 2 หรือข้อ 3 การได้มาซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 5
ตอน ๗ กรณีผู้มีเงินได้ที่ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 5 แล้ว ต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2 หรือข้อ 3 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 5 และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําจํานวนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีเงินได้ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง และถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่ เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 หรือข้อ 3 นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมนั้น การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
ข้อ ๘ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ข้อ ๙ กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5 วันทําการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ให้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้จัดทําหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแนบพร้อมหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๑๐ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 8 และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 9 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิค โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวด้วยตรายางหรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ข้อ ๑๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,176 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 400) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 400)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 369 (พ.ศ. 2563) อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
“ธุรกรรมที่ถูกควบคุม” หมายความว่า ธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
“ธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม” หมายความว่า ธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คู่สัญญาของธุรกรรมนั้นไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
“ผลตอบแทนสําหรับธุรกรรม” หมายความรวมถึง ตัวชี้วัดทางการเงินซึ่งสัมพันธ์กับวิธีการกําหนดราคาที่เลือกใช้ ดังต่อไปนี้ หรือตัวชี้วัดทางการเงินอื่นที่เหมาะสมซึ่งสัมพันธ์กับวิธีการกําหนดราคาอื่น แล้วแต่กรณี
(1) ราคา สําหรับวิธีการเปรียบเทียบราคาที่มิได้ถูกควบคุม
(2) อัตรากําไรจากการขายต่อ สําหรับวิธีราคาขายต่อ
(3) อัตรากําไรส่วนเพิ่มจากต้นทุน สําหรับวิธีราคาทุนบวกกําไรส่วนเพิ่ม
(4) อัตรากําไรสุทธิ สําหรับวิธีอัตรากําไรสุทธิที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรม
(5) ส่วนแบ่งกําไรจากการดําเนินงาน สําหรับวิธีแบ่งสรรกําไรของธุรกรรม
ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีข้อกําหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกัน โดยมีการกําหนดผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นแตกต่างไปจากที่ควรจะกําหนดหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดําเนินการโดยอิสระในลักษณะที่เชื่อได้ว่ามีการถ่ายโอนกําไร อันทําให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดไม่ได้รับหรือได้รับกําไรหรือเงินได้พึงประเมินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีน้อยกว่าที่พึงจะได้รับหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดําเนินการโดยอิสระ เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวเพื่อให้ได้จํานวนรายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่ายหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดําเนินการโดยอิสระ เสมือนว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้รับและได้จ่ายตามนั้นเพื่อใช้ในการคํานวณกําไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
จํานวนกําไรหรือเงินได้พึงประเมินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งจะถือว่าเป็นจํานวนที่พึงได้รับหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดําเนินการโดยอิสระต่อเมื่อการกําหนดผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นไม่แตกต่างไปจากผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้
ในการพิจารณาปรับปรุงรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งและการพิจารณาเทียบเคียงผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมตามวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 3 ถึงข้อ 10
ข้อ ๓ ธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมจะเข้าลักษณะเป็นธุรกรรมที่อาจเทียบเคียงกันได้กับธุรกรรมที่ถูกควบคุมในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อธุรกรรมที่นํามาเทียบเคียงกันนั้นไม่มีความแตกต่างอันอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อตัวชี้วัดทางการเงินที่ถูกตรวจสอบด้วยวิธีการกําหนดราคาตามข้อ 5 หรือ
(2) เมื่อธุรกรรมที่นํามาเทียบเคียงกันนั้นมีความแตกต่างอันอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อตัวชี้วัดทางการเงินที่ถูกตรวจสอบด้วยวิธีการกําหนดราคาตามข้อ 5 แต่ได้มีการปรับปรุงความสามารถในการเทียบเคียงกันของธุรกรรมนั้นอย่างเหมาะสมเพื่อขจัดผลกระทบของความแตกต่างดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๔ ในการพิจารณาความสามารถในการเทียบเคียงกันตามข้อ 3 ให้นําปัจจัยดังต่อไปนี้มาพิจารณาเท่าที่มีความเกี่ยวพันในเชิงเศรษฐกิจกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์
(1) ข้อตกลงตามสัญญาในการทําธุรกรรม
(2) หน้าที่งานที่คู่สัญญาแต่ละรายรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น โดยคํานึงถึงสินทรัพย์ที่ใช้และความเสี่ยงที่รับ
(3) ลักษณะของทรัพย์สินที่โอนหรือบริการที่ทํา
(4) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะที่ทําธุรกรรม และ
(5) กลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันใช้ในการทําธุรกรรม
ข้อ ๕ ในการพิจารณาว่าผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมเป็นผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมที่พึงกําหนดหากได้ดําเนินการโดยอิสระ ให้พิจารณาเลือกใช้วิธีการกําหนดราคาที่เหมาะสมที่สุดสําหรับสถานการณ์ในแต่ละกรณีโดยคํานึงถึงปัจจัยที่กําหนดไว้ตามข้อ 6 ประกอบการเลือกใช้นั้น
วิธีการกําหนดราคาตามวรรคหนึ่ง หมายถึง วิธีการกําหนดราคาที่ได้รับการรับรองแล้วดังต่อไปนี้
(1) วิธีการเปรียบเทียบราคาที่มิได้ถูกควบคุม (Comparable Uncontrolled Price Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างราคาที่เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมกับราคาที่เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการสําหรับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้
(2) วิธีราคาขายต่อ (Resale Price Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างอัตรากําไรจากการขายต่อซึ่งผู้ซื้อทรัพย์สินผ่านธุรกรรมที่ถูกควบคุมได้รับจากการนําทรัพย์สินนั้นไปขายต่อผ่านธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมกับอัตรากําไรจากการขายต่อซึ่งได้รับจากการซื้อมาและขายต่อทรัพย์สินผ่านธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้
(3) วิธีราคาทุนบวกกําไรส่วนเพิ่ม (Cost Plus Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างอัตรากําไรส่วนเพิ่มจากต้นทุนซึ่งรวมทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อมในการโอนทรัพย์สินและให้บริการสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมกับอัตรากําไรส่วนเพิ่มจากต้นทุนซึ่งรวมทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อมในการโอนทรัพย์สินและให้บริการสําหรับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้
(4) วิธีอัตรากําไรสุทธิที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรม (Transactional Net Margin Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างอัตรากําไรสุทธิที่สัมพันธ์กับฐานที่เหมาะสม (เช่น ต้นทุน ยอดขาย หรือสินทรัพย์ เป็นต้น) ซึ่งเป็นผลจากการทําธุรกรรมที่ถูกควบคุม กับอัตรากําไรสุทธิที่สัมพันธ์กับฐานเดียวกันนั้นซึ่งเป็นผลจากการทําธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม
(5) วิธีแบ่งสรรกําไรของธุรกรรม (Transactional Profit Split Method) โดยการปันส่วนผลกําไร (หรือขาดทุน) ที่ได้รับจากธุรกรรมที่ถูกควบคุม ให้เป็นไปตามส่วนที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแต่ละรายได้มีส่วนร่วมดําเนินการในธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นเพื่อให้แต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่พึงคาดหมายว่าจะได้รับหากได้มีส่วนร่วมดําเนินการในธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้เว้นแต่ในกรณีที่สามารถนําวิธีการกําหนดราคาวิธีการใดวิธีการหนึ่งตาม (1) ถึง (4) มาปรับใช้เพื่อหาจํานวนกําไรหรือเงินได้พึงประเมินบางส่วนที่คู่สัญญาที่เป็นอิสระพึงได้รับสําหรับการปฏิบัติหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นได้ ให้นําวิธีแบ่งสรรกําไรของธุรกรรมมาปรับใช้เฉพาะกับส่วนของกําไรที่คงเหลืออยู่หลังจากหักจํานวนกําไรหรือเงินได้พึงประเมินที่ได้จากการปรับใช้วิธีการกําหนดราคาตาม (1) ถึง (4) แล้ว
การเลือกใช้วิธีการกําหนดราคาอื่นนอกเหนือจากวิธีการกําหนดราคาที่ได้รับรองแล้วตามวรรคสอง จะสามารถกระทําได้เฉพาะในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปรับใช้วิธีการกําหนดราคาที่ได้รับการรับรองแล้วกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมได้อย่างสมเหตุสมผลและมีวิธีการกําหนดราคาอื่นที่อาจปรับใช้ได้กับกรณีได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประสงค์จะเลือกใช้วิธีการกําหนดราคาอื่นให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเป็นหนังสือพร้อมคําอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการกําหนดราคานั้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการปรับใช้วิธีการกําหนดราคาอื่นนั้นกับธุรกรรมที่ถูกควบคุม พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานซึ่งอธิบายถึงเหตุที่ไม่สามารถปรับใช้วิธีการกําหนดราคาที่ได้รับการรับรองแล้วกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมได้และคําอธิบายเกี่ยวกับวิธีการกําหนดราคาอื่นที่ปรับใช้นั้นโดยละเอียดพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๖ ในการพิจารณาเลือกใช้วิธีการกําหนดราคาที่เหมาะสมที่สุดตามข้อ 5 ให้คํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
(1) จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละวิธีการกําหนดราคา
(2) ความเหมาะสมของวิธีการกําหนดราคาตามลักษณะของธุรกรรมที่ถูกควบคุมผ่านการวิเคราะห์หน้าที่งานของคู่สัญญาแต่ละรายในธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นโดยคํานึงถึงสินทรัพย์ที่ใช้และความเสี่ยงที่รับ
(3) ความมีอยู่ของข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่จําเป็นในการปรับใช้วิธีการกําหนดราคาที่เลือกใช้
(4) ระดับความสามารถในการเทียบเคียงกันได้ระหว่างธุรกรรมที่ถูกควบคุมและธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมรวมถึงความน่าเชื่อถือของการปรับปรุงความสามารถในการเทียบเคียงกันตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2)
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีการทําธุรกรรมที่ถูกควบคุมตั้งแต่สองธุรกรรมขึ้นไปภายใต้สถานการณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยธุรกรรมดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกันและไม่สามารถวิเคราะห์แยกจากกันได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้รวมธุรกรรมดังกล่าวเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 3 ถึงข้อ 6
ข้อ ๘ ในกรณีที่สามารถคํานวณช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดําเนินการโดยอิสระได้ เมื่อนําช่วงดังกล่าวมาเทียบเคียงกับตัวชี้วัดทางการเงินสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมหรือชุดของธุรกรรมที่ถูกรวมเข้าด้วยกันตามข้อ 7 ที่ได้ถูกตรวจสอบด้วยวิธีการกําหนดราคาตามข้อ 5 แล้ว และปรากฏว่าตัวชี้วัดทางการเงินนั้นอยู่ภายนอกช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดําเนินการโดยอิสระ เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกตรวจสอบนั้นตามข้อ 2 เพื่อปรับปรุงให้ตัวชี้วัดทางการเงินดังกล่าวสามารถสะท้อนสถานการณ์ของกรณีได้ดีที่สุดและอยู่ภายในช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดําเนินการโดยอิสระ
ช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดําเนินการโดยอิสระตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ช่วงของตัวชี้วัดทางการเงินอันเป็นผลที่ได้จากการปรับใช้วิธีการกําหนดราคาที่เหมาะสมที่สุดตามข้อ 5 กับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมหลายธุรกรรมที่อาจเทียบเคียงกันได้ตามข้อ 3
ข้อ ๙ ภายใต้บังคับของวรรคสอง ในกรณีที่ธุรกรรมที่ถูกควบคุมเป็นการบริการจะถือว่าค่าตอบแทนสําหรับการบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนที่พึงกําหนดหากได้ดําเนินการโดยอิสระต่อเมื่อ
(1) เป็นค่าตอบแทนสําหรับการบริการที่ได้กระทําจริง
(2) บริการนั้นมีประโยชน์หรือพึงคาดหมายได้ว่าจะมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจหรือในทางการค้าแก่ผู้รับบริการ
(3) เป็นบริการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นอิสระภายใต้สถานการณ์ที่อาจเทียบเคียงกันได้พึงจ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้ได้รับบริการนั้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเพื่อให้มีการทําบริการนั้นโดยหน่วยงานภายในของตนเอง และ
(4) จํานวนค่าตอบแทนเป็นจํานวนที่พึงกําหนดหากได้ดําเนินการโดยอิสระสําหรับการบริการที่อาจเทียบเคียงกันได้
ค่าตอบแทนของธุรกรรมการบริการซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ของความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ถือว่าเป็นค่าตอบแทนที่พึงกําหนดหากได้ดําเนินการโดยอิสระ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ธุรกรรมที่ถูกควบคุมเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินไม่มีตัวตนให้คํานึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณาผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมด้วย
(1) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินไม่มีตัวตนให้คํานึงถึงหน้าที่งานที่คู่สัญญาแต่ละรายรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การปรับปรุง การบํารุงรักษา การคุ้มครอง และการแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินไม่มีตัวตนนั้น โดยคํานึงถึงสินทรัพย์ที่ใช้และความเสี่ยงที่รับ
(2) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิการใช้ ขาย หรือโอนทรัพย์สินไม่มีตัวตนให้คํานึงถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ข้อจํากัดทางภูมิศาสตร์ คุณลักษณะที่เฉพาะตัวหรือไม่เฉพาะตัว และสิทธิในการมีส่วนร่วมพัฒนาในทรัพย์สินไม่มีตัวตน
ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ปรับปรุงรายได้และรายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดตามข้อ 2 แล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า การปรับปรุงตามข้อ 2 มีส่วนที่เป็นการปรับเพิ่มรายได้สําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงยังไม่เคยได้รับจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุม หรือมีส่วนที่เป็นการปรับลดรายจ่ายสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงได้จ่ายออกไปให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุมแล้ว จํานวนรายได้ที่ไม่ได้รับจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือจํานวนรายจ่ายที่จ่ายเกินออกไปให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงนั้นได้จ่ายออกไปให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันให้เสมือนว่าได้มีการรับและจ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการคํานวณกําไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๒ ภายใต้บังคับของวรรคสอง เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ปรับปรุงรายได้และรายจ่ายสําหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดตามข้อ 2 หรือข้อ 11 แล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงรายได้และรายจ่ายตามข้อ 2 หรือข้อ 11 ดังกล่าว ไม่มีการโต้แย้งการปรับปรุงนั้นและได้ชําระภาษีให้เป็นไปตามผลของการปรับปรุงดังกล่าวแล้ว หรือได้มีการโต้แย้งการปรับปรุงนั้นแต่ได้มีคําวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคําพิพากษาศาลเป็นที่สุดแล้วและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ยอมชําระภาษีให้เป็นไปตามผลของคําวินิจฉัยหรือคําพิพากษาดังกล่าวแล้ว และ
(2) จํานวนรายได้หรือรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวที่ถูกปรับปรุงโดยเจ้าพนักงานประเมินตามข้อ 2 นั้น เป็นจํานวนที่ได้เคยถูกรวมในการคํานวณกําไรสุทธิหรือเงินได้พึงประเมินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุมแล้ว และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ปกปิดข้อมูลการทําธุรกรรมที่ถูกควบคุมดังกล่าวหรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมนั้นเป็นเท็จ
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของคู่สัญญาฝ่ายแรกด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณกําไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เพื่อประโยชน์ในการเว้นการเก็บภาษีซ้อนตามสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ การพิจารณาปรับปรุงตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนตามสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ
ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการเว้นการเก็บภาษีซ้อนตามสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ และเพื่อการป้องกันการเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกําหนดราคาระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันเป็นการล่วงหน้า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีการทําธุรกรรมด้านการพาณิชย์หรือการเงินกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ อาจร้องขอให้มีการจัดทําข้อตกลงการกําหนดราคาเป็นการล่วงหน้า เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการหาผลตอบแทนสําหรับธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่จะมีขึ้นภายในช่วงเวลาในอนาคตที่ได้ตกลงกันไว้
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,177 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 399) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 399)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 707) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 เฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย ซึ่งมีกําหนดครบสิบสองเดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคนในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว
(2) มีการยื่นรายการภาษีเงินได้สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีตาม (1) ภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด และ
(3) ต้องแสดงความยินยอมต่อสถาบันการเงินผู้ให้กู้เพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดเงินกู้ยืมที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้กู้ได้รับตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างน้อยดังต่อไปนี้ ต่อกรมสรรพากร
(ก) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้กู้ และ
(ข) รายละเอียดของสัญญากู้ยืมเงิน ได้แก่ เลขที่สัญญา วันที่ทําสัญญา จํานวนเงินกู้ยืม ระยะเวลาของสัญญากู้ยืมเงิน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,178 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 398) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 398)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 167) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยตามข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่า ได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย เว้นแต่
(1) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทําสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม
(2) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้ทําสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินนั้น”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 167) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามข้อ 2 (59) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 4/1 เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 4 ต้องส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมดังกล่าวแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2564 ที่จะต้องยื่นรายการในพ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,179 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 397) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อ หรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 397)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อ หรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่า ได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเป็นผู้ประกอบกิจการตามข้อ 2 (1) (ก) (ข) (ค) และ (ฉ) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทําสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม
(2) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้ทําสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินนั้น”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 4/1 เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 4 ต้องส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมดังกล่าวแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2564 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,180 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 396) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 396)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่า ได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินด้วย เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเป็นผู้ประกอบกิจการตามข้อ 2 (1) (ก) (ข) (ค) และ (ฉ) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทําสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม
(2) กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินที่ได้ทําสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินนั้น”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 4/1 เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 4 ต้องส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมดังกล่าวแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2564 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,181 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 395) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 395)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 693) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” หมายความว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้ประกาศกําหนดพื้นที่โดยประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 1/2558 เรื่อง กําหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2558 และประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 2/2558 เรื่อง กําหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2 ลงวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2558
“รายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า” หมายความว่า
(1) รายได้จากการผลิตสินค้าตามประเภทที่อ้างอิงจากสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ประเภทเป็นสินค้านําเข้าซึ่งจัดทําโดยกระทรวงพาณิชย์เพื่อทดแทนการนําเข้า
(2) รายได้จากการผลิตสินค้าที่มีการส่งออกไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 50 ของการผลิตทั้งหมด
(3) รายได้จากการผลิตสินค้าที่มีแนวโน้มจะสูญเสียการแข่งขันตามที่ระบุในแผนธุรกิจซึ่งได้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร
“รายได้ที่เกิดจากการให้บริการ” หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการให้บริการและได้มีการใช้บริการนั้นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น
“รายได้จากกิจการอื่น” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 693) พ.ศ. 2563
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 693) พ.ศ. 2563 แจ้งการขอใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสถานประกอบกิจการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 ยื่นแผนธุรกิจเพื่อประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ พร้อมแบบจดแจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากร
แผนธุรกิจต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวนิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(2) รายละเอียดธุรกิจที่ขอจดแจ้งการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ประกอบด้วย
(ก) ประเภทกิจการการผลิต ได้แก่ การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนําเข้า การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก หรือการผลิตสินค้าที่มีแนวโน้มจะสูญเสียการแข่งขัน
(ข) ประเภทสินค้าที่ผลิต ทั้งนี้ หากเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ให้ระบุสัดส่วนการผลิตเพื่อการส่งออกในแผนธุรกิจด้วย
(ค) รายละเอียดอื่นๆ (ถ้ามี)
(3) วิสัยทัศน์และเป้าหมายธุรกิจในระยะยาว
(4) แผนการดําเนินงานปัจจุบัน
(5) แผนการจัดหาเงินทุน
(6) ประมาณการรายได้ และรายจ่ายจากการประกอบกิจการ
ข้อ ๔ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๕ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและกิจการอื่น มีรายได้จากกิจการที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น หากมีผลขาดทุนสุทธิสําหรับกิจการใด ให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้สําหรับกิจการนั้นเท่านั้น
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,182 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 394) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 394)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 694) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” หมายความว่า โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
“คาร์บอนเครดิต” หมายความว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคํานวณในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องคํานวณกําไรสุทธิของรายได้จากการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละโครงการแยกต่างหากออกจากรายได้จากการประกอบกิจการอื่นเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน หากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีผลขาดทุนสุทธิ ให้คงผลขาดทุนสุทธิไว้ในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น
กรณีรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าเป็นรายจ่ายของรายได้จากการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือเป็นรายจ่ายของรายได้จากการประกอบกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวเฉลี่ยรายจ่ายตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละโครงการ และรายได้จากการประกอบกิจการอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 694) พ.ศ. 2563 แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมทั้งบัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละโครงการ สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในกิจการอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกันในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นั้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,183 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 393) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 393)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 712) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
(2) ต้องเริ่มการศึกษาหรือฝึกอบรมหลักสูตรตาม (1) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๒ การศึกษาหรือการฝึกอบรมในหลักสูตรตามข้อ 1 ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้างนั้น
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 712) พ.ศ. 2563 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรอื่นอีก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,184 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 392) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 392)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 711) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ตามจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อเดือน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงาน ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(2) บุคลากรที่จ้างต้องเป็นบุคลากรที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
(3) ตําแหน่งงานที่จ้างต้องเป็นตําแหน่งงานของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้ทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะสูงซึ่งมีรายการตามที่แนบท้ายประกาศนี้ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,185 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 5 (1) และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 710) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกัน ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(2) เครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติต้องได้รับการรับรองจากสถาบันไทย-เยอรมัน
ข้อ ๒ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน โดยให้เริ่มยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน โดยให้เริ่มยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,186 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 390) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 390)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 368 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 30,000 บาท และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และชําระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ นอกจากกรณีตาม (2) (3) และ (4) ต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะที่ต้องรวมคํานวณเป็นมูลค่าฐานภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น
(2) กรณีการจ่ายค่าซื้อหนังสือ แต่ไม่รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้แก่ผู้ขาย ต้องได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้ในกรณีที่ผู้ขายมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) กรณีการจ่ายค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่ไม่รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้แก่ผู้ให้บริการ ต้องได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้
(4) กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากผู้ขายในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้ในกรณีที่ผู้ขายมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยในการจัดทํารายการ ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (5) แห่งประมวลรัษฎากร หรือในใบรับนั้น ผู้ขายจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
(ก) ต้องระบุข้อความที่แสดงว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละรายการสินค้า หรือจัดทําเครื่องหมายแสดงในแต่ละรายการสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีข้อความที่แสดงว่าเครื่องหมายนั้น หมายถึง สินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไว้ในใบกํากับภาษีหรือใบรับ เช่น “OTOP” “โอทอป” หรือ “One Tambon One Product” เป็นต้น
(ข) กรณีที่สินค้าทุกรายการในใบกํากับภาษีหรือใบรับนั้นเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะไม่ระบุข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงว่า สินค้าแต่ละรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตาม (ก) ก็ได้ โดยให้ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีหรือใบรับประทับตรายางที่มีชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ขายสินค้านั้น และให้ระบุข้อความว่า “สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือข้อความอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันในใบกํากับภาษีหรือใบรับฉบับนั้นด้วย
การออกใบกํากับภาษีหรือใบรับตามวรรคหนึ่งที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการออกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 หรือระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e – Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560
ข้อ ๓ กรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,187 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 389) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 389)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 704) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้พ้นโทษ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมีสัญชาติไทย และได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจําเนื่องจากครบกําหนดโทษตามหมายศาล ลดวันต้องโทษจําคุก หรือพักการลงโทษ
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 704) พ.ศ. 2563 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) รับผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจําเป็นระยะเวลาไม่เกินสามปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัว เข้าทํางาน
(2) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการรับผู้พ้นโทษเข้าทํางานที่จะนํามาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ เป็นรายเดือน ซึ่งมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(3) ต้องมีหลักฐานประกอบการปล่อยตัวของผู้พ้นโทษดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(ก) หนังสือสําคัญการปล่อยตัว (ร.ท.25)
(ข) หนังสือสําคัญปล่อยตัวลดวันต้องโทษจําคุก (ล.ว.ท.3)
(ค) หนังสือสําคัญพักการลงโทษ (พ.7)
(ง) หนังสือสําคัญพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ (พ.8)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,188 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 388) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 388)
เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 702) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ เป็นจํานวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เฉพาะการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากโรงงานที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีหนังสือรับรองการผลิตผลิตภัณฑ์จากสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ จะต้องซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพตามประเภทดังนี้
(1) ถุงหูหิ้ว
(2) ถุงขยะ
(3) แก้วพลาสติก
(4) จาน ชาม ถาดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
(5) ช้อน ส้อม มีดพลาสติก
(6) หลอดพลาสติก
(7) ถุงพลาสติกสําหรับเพาะชํา
(8) ฟิล์มคลุมหน้าดิน
(9) ขวดพลาสติก
(10) ฝาแก้วน้ํา
(11) ฟิล์มปิดฝาแก้ว
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงาน ดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,189 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 201) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน สำหรับหอสมุดหรือห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 201)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน สําหรับหอสมุดหรือห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 515) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านสําหรับหอสมุดหรือห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน” หมายความถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบันทึกข้อมูลด้วยสื่อประเภทสารแม่เหล็กซึ่งเป็นแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy disk) หรือบันทึกข้อมูลด้วยสื่อประเภทจานแสง (Optical disk) ทั้งนี้ เฉพาะที่มีการบันทึกข้อความลักษณะเดียวกันกับหนังสือและเพื่อส่งเสริมการอ่าน
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน สําหรับหอสมุดหรือห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินห้าหมื่นบาทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน สําหรับหอสมุดหรือห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ที่ระบุจํานวนและมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน โดยให้ถือว่า มูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ผลิตเพื่อขายหรือมีไว้เพื่อขาย สําหรับหอสมุดหรือห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,190 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 200) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 200)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 515) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
“สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน” หมายความถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบันทึกข้อมูลด้วยสื่อประเภทสารแม่เหล็กซึ่งเป็นแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy disk) หรือบันทึกข้อมูลด้วยสื่อประเภทจานแสง (Optical disk) ทั้งนี้ เฉพาะที่มีการบันทึกข้อความลักษณะเดียวกันกับหนังสือและเพื่อส่งเสริมการอ่าน
ข้อ ๒ การได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่สถานศึกษา ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องไม่นําค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(2)(3)(4)(5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่นําค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องไม่นําค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละสิบของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการศึกษาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่นําค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่สถานศึกษา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องไม่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับเงินหรือหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
ข้อ ๔ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่สถานศึกษา กรณีบริจาคเป็นหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ที่ระบุจํานวนและมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน โดยให้ถือว่า มูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน เป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๕ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่สถานศึกษา ต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานศึกษา
(1) ใบเสร็จรับเงิน กรณีบริจาคเป็นเงิ
(2) หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ได้จัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ให้แก่สถานศึกษา ซึ่งได้ระบุมูลค่าของหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านที่เป็นไปตามข้อ 4 กรณีบริจาคเป็นหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน
“กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 339) ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,191 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 387) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยชน์ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝาก | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 387)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยชน์ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝาก
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (94) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 326 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 3/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 301) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยชน์ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝาก ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 363) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและผลประโยชน์ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝาก ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
“กรณีธนาคารผู้รับฝากเงินได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้ธนาคารผู้รับฝากเงินแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,192 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 199) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 199)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 514) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” หมายความว่า โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 514) พ.ศ. 2554
“โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ซึ่งจําหน่ายคาร์บอนเครดิตประเภท Certified Emission Reductions (CERs)” หมายความว่า โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จําหน่ายใบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ซึ่งออกโดยคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดแห่งสหประชาชาติ โดยคํานวณในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
“โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจําหน่ายคาร์บอนเครดิตประเภท Voluntary Emission Reductions (VERs)” หมายความว่า โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จําหน่ายใบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยคํานวณในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
“ก๊าซเรือนกระจก” หมายความว่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HIFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) และ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)
“คาร์บอนเครดิต” หมายความว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคํานวณในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องคํานวณกําไรสุทธิของรายได้จากการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละโครงการแยกต่างหากออกจากรายได้จากการประกอบกิจการอื่นเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันตามที่กําหนดไว้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 514) พ.ศ. 2554 หากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีผลขาดทุนสุทธิ ให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 514) พ.ศ. 2554 เท่านั้น
ทั้งนี้ กรณีรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าเป็นรายจ่ายของรายได้จากการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือเป็นรายจ่ายของรายได้จากการประกอบกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวเฉลี่ยรายจ่ายตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละโครงการ และรายได้จากการประกอบกิจการอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 514) พ.ศ. 2554 แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละโครงการ สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทดังกล่าว ให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในกิจการอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกันในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นั้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,193 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 386) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 386)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 3/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 362) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
“กรณีผู้รับประกันภัยได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้ผู้รับประกันภัยแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,194 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 198) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 198)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 8 มาตรา 11 (4) และ (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 518) พ.ศ. 2554 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศที่ประสงค์จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 518) พ.ศ. 2554 แจ้งการจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบแจ้งการจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศมีสถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้ ในกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศตั้งอยู่ ทั้งนี้ บริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศต้องจดแจ้งภายในสองปีนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 บริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศมีสิทธิที่จะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งศูนย์กลาง
การจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศที่พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือจะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ก็ได้
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ ให้คํานวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศและกิจการอื่น ให้บริษัทดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใดให้บริษัทเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศและรายได้จากกิจการอื่น
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศและกิจการอื่น หากกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศมีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศเท่านั้น
ข้อ ๓ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศและกิจการอื่น ให้บริษัทดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทดังกล่าวให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทในกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน
ข้อ ๔ พนักงานปฏิบัติงานในศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศซึ่งมีทักษะและความรู้ขั้นต่ําตาม มาตรา 11 (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับ 518) พ.ศ. 2545 จะต้องสําเร็จการศึกษาในระดับที่ไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น หรือเทียบเท่า
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,195 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (81) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2554)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้พึงประเมินที่ได้รับส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ที่มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีใด ได้ใช้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรแล้ว ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (81) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ในปีภาษีนั้นอีก
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นภาษีเงินได้จํานวนเท่าใดก็ได้แต่เมื่อรวมจํานวนเงินได้พึงประเมินที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ
ข้อ ๕ ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องแสดงรายการเงินได้พึงประเมินและจํานวนเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ทั้งนี้ สําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,196 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 196) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 196)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 280 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ประสบอุทกภัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นบุคคลธรรมดา บุคคลที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่ง คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน
(2) ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกิจการที่ทําในพื้นที่ประสบอุทกภัย
(3) ต้องมีการลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2553 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,197 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 385) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 385)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 361) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
“กรณีผู้รับประกันภัยได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้ผู้รับประกันภัยแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,198 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 195) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 195)
เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2531
ข้อ ๒ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(1) แบบ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับ
(ก) ผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภท หรือผู้มีเงินได้ประเภทเดียว แต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่งและมีเงินได้
(ค) ผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(2) แบบ ภ.ง.ด.91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เพียงประเภทเดียว
(3) แบบ ภ.ง.ด.92 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เพียงประเภทเดียวที่ยื่นแบบแสดงรายการด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
(4) แบบ ภ.ง.ด.93 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้ที่ขอชําระภาษีก่อนกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการประจําปี ตามมาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(5) แบบ ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินฯ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมาฯ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ฯลฯ ตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่
“(6) แบบ ภ.ง.ด. 95 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคหรือศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 216) ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2553 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2553 หรือ พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณีเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,199 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบํานาญที่มีกําหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
(2) เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
(3) มีการกําหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบํานาญเป็นรายงวดอย่างสม่ําเสมอ ซึ่งจํานวนผลประโยชน์เงินบํานาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบํานาญจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจํานวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
(4) มีการกําหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบํานาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบํานาญ
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้ กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี ให้ยกเว้นเงินได้ที่จ่ายไปเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ หรือการประกันชีวิตแบบบํานาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามข้อ 2 (61) วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และให้ยกเว้นเงินได้เพิ่มขึ้นอีกตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ สําหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ มีสิทธิหักลดหย่อนสําหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี และภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญ เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคํานวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
(1) กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบํานาญที่ได้เริ่มทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้
(2) กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบํานาญที่ได้ทําก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยซึ่งได้รับรองว่า เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันชีวิตแบบบํานาญที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศฉบับนี้”
“ข้อ 3/1 ผู้รับประกันภัยที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 3 ต้องส่งข้อมูลของผู้เอาประกันต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 362) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2562 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
“กรณีผู้รับประกันภัยได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้ผู้รับประกันภัยแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 386) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 และต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับปีภาษีที่ได้นําเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,200 |
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พ.ศ. 2562
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 28 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 26 และ มาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า มาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศอันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
“ภัยคุกคามทางไซเบอร์” หมายความว่า การกระทําหรือการดําเนินการใด ๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทํางานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
“ไซเบอร์” หมายความรวมถึง ข้อมูลและการสื่อสารที่เกิดจากการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายโทรคมนาคม รวมทั้งการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมและระบบเครือข่ายที่คล้ายคลึงกัน ที่เชื่อมต่อกันเป็นการทั่วไป
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
“ประมวลแนวทางปฏิบัติ” หมายความว่า ระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กําหนด
“เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทําหรือการดําเนินการใด ๆ ที่มิชอบซึ่งกระทําการผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
“มาตรการที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า การแก้ไขปัญหาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี โดยผ่านคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือบริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใด ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
“โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ” หมายความว่า คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนใช้ในกิจการของตนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
“หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งมีภารกิจหรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
“หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่และอํานาจในการควบคุมหรือกํากับดูแลการดําเนินกิจการของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกประกาศและแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ คณะกรรมการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า “กมช.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “National Cyber Security Committee” เรียกโดยย่อว่า “NCSC” ประกอบด้วย
(1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(2) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อดํารงตําแหน่งแทนผู้ที่พ้นจากตําแหน่งก่อนวาระตามมาตรา 7 วรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการ
มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจําคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(4) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานจากหน่วยงานที่เคยปฏิบัติหน้าที่ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(5) เคยถูกถอดถอนออกจากตําแหน่งตามกฎหมาย
(6) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระไม่ได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมหรือแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมหรือแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นดํารงตําแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เว้นแต่วาระที่เหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
เมื่อครบกําหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
มาตรา ๘ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6
มาตรา ๙ คณะกรรมการมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) เสนอนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 42 และมาตรา 43 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งต้องเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้ในมาตรา 42
(2) กําหนดนโยบายการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
(3) จัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สําหรับเป็นแผนแม่บทในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่อาจจะเกิดหรือเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยแผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติ และกรอบนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(4) กําหนดมาตรฐานและแนวทางส่งเสริมพัฒนาระบบการให้บริการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สร้างมาตรฐานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงส่งเสริมการรับรองมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานเอกชน
(5) กําหนดมาตรการและแนวทางในการยกระดับทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(6) กําหนดกรอบการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(7) แต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการ
(8) มอบหมายการควบคุมและกํากับดูแล รวมถึงการออกข้อกําหนด วัตถุประสงค์ หน้าที่และอํานาจ และกรอบการดําเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
(9) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(10) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(11) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดให้มีหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(12) จัดทํารายงานสรุปผลการดําเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญหรือแนวทางการพัฒนามาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้คณะรัฐมนตรีทราบ
(13) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด โดยอาจประชุมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นก็ได้
มาตรา ๑๑ ให้ประธานกรรมการ และกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ส่วน ๒ คณะกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๑๒ ในการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการตามมาตรา 9 ให้มีคณะกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรียกโดยย่อว่า “กกม.” ประกอบด้วย
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ
(2) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกินสี่คน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลที่เห็นสมควรเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๑๓ กกม. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) ติดตามการดําเนินการตามนโยบายและแผนตามมาตรา 9 (1) และมาตรา 42
(2) ดูแลและดําเนินการเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง ตามมาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 66
(3) กํากับดูแลการดําเนินงานของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และการเผชิญเหตุและนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์
(4) กําหนดประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อันเป็นข้อกําหนดขั้นต่ําในการดําเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สําหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ รวมทั้งกําหนดมาตรการในการประเมินความเสี่ยง การตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เมื่อมีภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญหรืออย่างร้ายแรงต่อระบบสารสนเทศของประเทศ เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(5) กําหนดหน้าที่ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ และหน้าที่ของหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล โดยอย่างน้อยต้องกําหนดหน้าที่ให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลต้องกําหนดมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ และหน่วยงานของรัฐ
(6) กําหนดระดับของภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมทั้งรายละเอียดของมาตรการป้องกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในแต่ละระดับเสนอต่อคณะกรรมการ
(7) วิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาสั่งการ เมื่อมีหรือคาดว่าจะมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรงขึ้น
ในการกําหนดกรอบมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง (4) ให้คํานึงถึงหลักการบริหารความเสี่ยง โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยวิธีการและมาตรการ ดังต่อไปนี้
(1) การระบุความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นแก่คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ทรัพย์สินและชีวิตร่างกายของบุคคล
(2) มาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
(3) มาตรการตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์
(4) มาตรการเผชิญเหตุเมื่อมีการตรวจพบภัยคุกคามทางไซเบอร์
(5) มาตรการรักษาและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
มาตรา ๑๔ ในการดําเนินการตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (2) เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ทันท่วงที กกม. อาจมอบอํานาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และกรรมการอื่นซึ่ง กกม. กําหนด ร่วมกันปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวได้ และจะกําหนดให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่ถูกคุกคามเข้าร่วมดําเนินการ ประสานงาน และให้การสนับสนุนด้วยก็ได้
การปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ กกม. กําหนด
มาตรา ๑๕ ให้นําความในมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 มาใช้บังคับกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กกม. โดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ ให้ กกม. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ กกม. มอบหมาย
มาตรา ๑๗ การประชุมของ กกม. และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ กกม. กําหนด โดยอาจประชุมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นก็ได้
มาตรา ๑๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการ ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการที่ กกม. แต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๑๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้รัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความชํานาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ระดับความรู้ความชํานาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่ กกม. ประกาศกําหนด
หมวด ๒ สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๒๐ ให้มีสํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๑ กิจการของสํานักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสํานักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๒๒ ให้สํานักงานรับผิดชอบงานธุรการ งานวิชาการ งานการประชุม และงานเลขานุการของคณะกรรมการ และ กกม. และให้มีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เสนอแนะและสนับสนุนในการจัดทํานโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 9 ต่อคณะกรรมการ
(2) จัดทําประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (4) เสนอต่อ กกม. เพื่อให้ความเห็นชอบ
(3) ประสานงานการดําเนินการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศตามมาตรา 53 และมาตรา 54
(4) ประสานงานและให้ความร่วมมือในการตั้งศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ในประเทศและต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และกําหนดมาตรการที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(5) ดําเนินการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
(6) เฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ติดตาม วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
(7) ปฏิบัติการ ประสานงาน สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือตามคําสั่งของคณะกรรมการ
(8) ดําเนินการและให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเฉพาะภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบหรือเกิดแก่โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
(9) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความตระหนักด้านสถานการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกันเพื่อให้มีการดําเนินการเชิงปฏิบัติการที่มีลักษณะบูรณาการและเป็นปัจจุบัน
(10) เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและเหตุการณ์ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน
(11) เป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(12) ทําความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจของสํานักงาน เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
(13) ศึกษาและวิจัยข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งดําเนินการอบรมและฝึกซ้อมการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจํา
(14) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนดําเนินการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(15) รายงานความคืบหน้าและสถานการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดําเนินการ ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกําหนด
(16) ปฏิบัติงานอื่นใดอันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศตามที่คณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจตาม (6) ให้สํานักงานจัดตั้งศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสํานักงาน และให้มีหน้าที่และอํานาจตามที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๒๓ ในการดําเนินการของสํานักงาน นอกจากหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติในมาตรา 22 แล้ว ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจทั่วไปดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(2) ก่อตั้งสิทธิ หรือทํานิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สิน ตลอดจนทํานิติกรรมอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของสํานักงาน
(3) จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดําเนินกิจการของสํานักงาน
(4) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดําเนินงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สํานักงานกําหนดโดยความเห็นชอบของ กบส.
(5) ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่และอํานาจของสํานักงาน หรือตามที่คณะกรรมการ หรือ กบส. มอบหมาย
มาตรา ๒๔ ทุนและทรัพย์สินในการดําเนินงานของสํานักงาน ประกอบด้วย
(1) ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามมาตรา 81 วรรคหนึ่ง และเงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 82
(2) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(3) เงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล
(4) ค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อันเกิดจากการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจของสํานักงาน
(5) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสํานักงาน
เงินและทรัพย์สินของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๒๕ ให้มีคณะกรรมการบริหารสํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรียกโดยย่อว่า “กบส.” เพื่อดูแลงานด้านกิจการบริหารงานทั่วไปของสํานักงาน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินหกคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านบริหารธุรกิจ หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของ กบส. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
ให้นําความในมาตรา 6 และมาตรา 8 มาใช้บังคับกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม
มาตรา ๒๖ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กบส. มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมหรือแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมหรือแทนตําแหน่งที่ว่างได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมหรือแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นดํารงตําแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกําหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
มาตรา ๒๗ ให้ กบส. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงานของสํานักงาน
(2) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดองค์กร การเงิน การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป การพัสดุ การตรวจสอบภายใน รวมตลอดทั้งการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ ของสํานักงาน
(3) อนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินและงบประมาณรายจ่ายประจําปีของสํานักงาน
(4) ควบคุมการบริหารงานและการดําเนินการของสํานักงานและเลขาธิการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) วินิจฉัยคําสั่งทางปกครองของเลขาธิการในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสํานักงาน
(6) ประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานและการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
(7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นหน้าที่และอํานาจของ กบส. หรือตามที่คณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง กบส. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา เสนอแนะ หรือกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ กบส. มอบหมายได้ ทั้งนี้ การปฏิบัติงานและการประชุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กบส. กําหนด
กบส. อาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของสํานักงานเป็นที่ปรึกษา กบส. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๒๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการ ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการที่ กบส. แต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๒๙ ให้สํานักงานมีเลขาธิการคนหนึ่ง รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสํานักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน
มาตรา ๓๐ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปี แต่ไม่เกินหกสิบปี
(3) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับภารกิจของสํานักงานและการบริหารจัดการ
มาตรา ๓๑ ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นเลขาธิการ
(1) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจําคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(4) เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(5) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(6) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(7) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานจากหน่วยงานที่เคยปฏิบัติหน้าที่ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือเคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
(8) เคยถูกให้ออกเพราะไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรา 35 (5)
มาตรา ๓๒ ให้คณะกรรมการเป็นผู้กําหนดอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๓๓ เลขาธิการมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปี
เลขาธิการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระ
มาตรา ๓๔ ในแต่ละปี ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระยะเวลาและวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๕ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ เลขาธิการพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 30 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 31
(4) คณะกรรมการมีมติให้ออก เพราะบกพร่องหรือทุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(5) คณะกรรมการให้ออก เพราะไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(6) ออกตามกรณีที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับเลขาธิการ
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการ กกม. และ กบส. ต้องดําเนินการตามคําสั่งของคณะกรรมการ กกม. และ กบส. ภายใต้หน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) บริหารงานของสํานักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของสํานักงาน และตามนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นโยบายของคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการ และข้อบังคับ นโยบาย มติ และประกาศของ กบส.
(2) วางระเบียบภายใต้นโยบายของคณะกรรมการและ กกม. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย มติของคณะรัฐมนตรี และข้อบังคับ นโยบาย มติ และประกาศที่คณะกรรมการและ กกม. กําหนด
(3) เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างของสํานักงานตามข้อบังคับของ กบส. และระเบียบของสํานักงาน
(4) แต่งตั้งรองเลขาธิการหรือผู้ช่วยเลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ เพื่อเป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานของเลขาธิการตามที่เลขาธิการมอบหมาย
(5) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างของสํานักงานออกจากตําแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับของ กบส. และระเบียบของสํานักงาน
(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามข้อบังคับ นโยบาย มติ หรือประกาศของ กบส. หรือ กกม.
ในกิจการของสํานักงานที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานภายใต้ขอบเขตที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
เลขาธิการอาจมอบอํานาจให้บุคคลใดในสังกัดของสํานักงาน ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่ กบส. กําหนด
ในกรณีที่ไม่มีเลขาธิการหรือเลขาธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองเลขาธิการที่มีอาวุโสตามลําดับรักษาการแทน ถ้าไม่มีรองเลขาธิการหรือรองเลขาธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมมารักษาการแทน
มาตรา ๓๗ การบัญชีของสํานักงานให้จัดทําตามแบบและหลักเกณฑ์ที่ กบส. กําหนด โดยให้คํานึงถึงหลักสากลและมาตรฐานการบัญชี
มาตรา ๓๘ ให้สํานักงานจัดทํางบการเงินและบัญชี แล้วส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของสํานักงาน และประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสํานักงานทุกรอบปีแล้วทํารายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อ กบส. เพื่อรับรอง
มาตรา ๓๙ ให้สํานักงานจัดทํารายงานผลการดําเนินงานประจําปีเสนอคณะกรรมการและรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และเผยแพร่รายงานนี้ต่อสาธารณชน
รายงานผลการดําเนินงานประจําปีตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงรายละเอียดของงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีให้ความเห็นแล้ว พร้อมทั้งผลงานของสํานักงานและรายงานการประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานในปีที่ล่วงมาแล้ว
การประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานตามวรรคสอง จะต้องดําเนินการโดยบุคคลภายนอกที่ กบส. ให้ความเห็นชอบ
มาตรา ๔๐ ให้รัฐมนตรีมีอํานาจกํากับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามหน้าที่และอํานาจของสํานักงาน กฎหมาย แผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนี้ให้รัฐมนตรีมีอํานาจสั่งให้เลขาธิการชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือทํารายงานเสนอ และมีอํานาจสั่งยับยั้งการกระทําของสํานักงานที่ขัดต่อหน้าที่และอํานาจของสํานักงาน กฎหมาย แผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนของรัฐบาล หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดําเนินการของสํานักงานได้
หมวด ๓ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ นโยบายและแผน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๔๑ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องคํานึงถึงความเป็นเอกภาพและการบูรณาการในการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน และต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
การดําเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ต้องมุ่งหมายเพื่อสร้างศักยภาพในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศของประเทศ
มาตรา ๔๒ นโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ต้องมีเป้าหมายและแนวทางอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การบูรณาการการจัดการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ
(2) การสร้างมาตรการและกลไกเพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
(3) การสร้างมาตรการในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศของประเทศ
(4) การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(5) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(6) การพัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน
(7) การสร้างความตระหนักและความรู้ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(8) การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดทํานโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขึ้นตามแนวทางในมาตรา 42 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อได้ประกาศแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศตามที่กําหนดไว้ในแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนดังกล่าว
ในการจัดทํานโยบายและแผนตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานจัดให้มีการรับฟังความเห็นหรือประชุมร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
มาตรา ๔๔ ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศจัดทําประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยเร็ว
ประมวลแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) แผนการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยผู้ตรวจประเมิน ผู้ตรวจสอบภายใน หรือผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอก อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(2) แผนการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
เพื่อประโยชน์ในการจัดทําประมวลแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดทําประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานสําหรับให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล หรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทําหรือนําไปใช้เป็นประมวลแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล หรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศของตน และในกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวยังไม่มีหรือมีแต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่สอดคล้องกับประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐาน ให้นําประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานดังกล่าวไปใช้บังคับ
ส่วน ๒ การบริหารจัดการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๔๕ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ มีหน้าที่ป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของแต่ละหน่วยงาน และจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (4) ด้วย
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล หรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศไม่อาจดําเนินการหรือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ สํานักงานอาจให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากรหรือเทคโนโลยีแก่หน่วยงานนั้นตามที่ร้องขอได้
มาตรา ๔๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ แจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ เพื่อประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปยังสํานักงาน
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ แจ้งให้สํานักงานทราบโดยเร็ว
มาตรา ๔๗ ในกรณีที่การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ คณะกรรมการหรือ กกม. อาจมอบหมายให้เลขาธิการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญตามความเหมาะสมเฉพาะงานได้
ผู้เชี่ยวชาญตามวรรคหนึ่งต้องมีคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
เลขาธิการต้องออกบัตรประจําตัวผู้เชี่ยวชาญให้แก่บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง และในการปฏิบัติหน้าที่บุคคลดังกล่าวต้องแสดงบัตรประจําตัวในฐานะผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อพ้นจากหน้าที่แล้วจะต้องคืนบัตรประจําตัวแก่สํานักงานโดยเร็ว
ส่วน ๓ โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๔๘ โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศเป็นกิจการที่มีความสําคัญต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางทหาร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเป็นหน้าที่ของสํานักงานในการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเฉพาะภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบหรือเกิดแก่โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
มาตรา ๔๙ ให้คณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะหน่วยงานที่มีภารกิจหรือให้บริการในด้านดังต่อไปนี้ เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ
(1) ด้านความมั่นคงของรัฐ
(2) ด้านบริการภาครัฐที่สําคัญ
(3) ด้านการเงินการธนาคาร
(4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
(5) ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
(6) ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค
(7) ด้านสาธารณสุข
(8) ด้านอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนดเพิ่มเติม
การพิจารณาประกาศกําหนดภารกิจหรือบริการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ คณะกรรมการจะต้องพิจารณาทบทวนการประกาศกําหนดภารกิจหรือบริการดังกล่าวเป็นคราว ๆ ไปตามความเหมาะสม
มาตรา ๕๐ ให้คณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะ หน้าที่และความรับผิดชอบของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ สําหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศตามมาตรา 49 เพื่อประสานงาน เฝ้าระวัง รับมือ และแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยจะกําหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีความพร้อมหรือหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น ๆ ทําหน้าที่ดังกล่าวให้แก่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศตามมาตรา 49 ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
การพิจารณาประกาศกําหนดภารกิจหรือบริการของหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ คณะกรรมการจะต้องพิจารณาทบทวนการประกาศกําหนดภารกิจหรือบริการดังกล่าวเป็นคราว ๆ ไปตามความเหมาะสม
มาตรา ๕๑ กรณีมีข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับลักษณะหน่วยงานที่มีภารกิจหรือให้บริการในด้านที่มีการประกาศกําหนดตามมาตรา 49 หรือมาตรา 50 ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา ๕๒ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อประสานงาน ให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศแจ้งรายชื่อและข้อมูลการติดต่อของเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ และผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ไปยังสํานักงาน หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลของตน และหน่วยงานตามมาตรา 50 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการประกาศตามมาตรา 49 วรรคสอง และมาตรา 50 วรรคสอง หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคําวินิจฉัยตามมาตรา 51 แล้วแต่กรณี โดยอย่างน้อยเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ และผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ต้องเป็นบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารงานของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ และผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ให้แจ้งโดยเร็ว
มาตรา ๕๓ ในการดําเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ ให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลตรวจสอบมาตรฐานขั้นต่ําเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับควบคุมดูแลของตน หากพบว่าหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศใดไม่ได้มาตรฐาน ให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลนั้นรีบแจ้งให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่ต่ํากว่ามาตรฐานแก้ไขให้ได้มาตรฐานโดยเร็ว หากหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้นยังคงเพิกเฉยไม่ดําเนินการ หรือไม่ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลกําหนด ให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลส่งเรื่องให้ กกม. พิจารณาโดยไม่ชักช้า
เมื่อได้รับคําร้องเรียนตามวรรคหนึ่ง หาก กกม. พิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุดังกล่าวและอาจทําให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้ กกม. ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นหน่วยงานของรัฐ ให้แจ้งต่อผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานเพื่อใช้อํานาจในทางบริหารสั่งการไปยังหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น เพื่อให้ดําเนินการแก้ไขจนได้มาตรฐานโดยเร็ว
(2) กรณีเป็นหน่วยงานเอกชน ให้แจ้งไปยังผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน ผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ และผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น เพื่อให้ดําเนินการแก้ไขจนได้มาตรฐานโดยเร็ว
ให้เลขาธิการดําเนินการติดตามเพื่อให้เป็นไปตามความในวรรคสองด้วย
มาตรา ๕๔ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ ต้องจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยมีผู้ตรวจประเมิน รวมทั้งต้องจัดให้มีการตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยผู้ตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ทั้งโดยผู้ตรวจสอบภายในหรือโดยผู้ตรวจสอบอิสระภายนอก อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศจัดส่งผลสรุปรายงานการดําเนินการต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ
มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ กกม. เห็นว่า การประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือการตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตามมาตรา 54 ไม่เป็นไปตามมาตรฐานตามรายงานของหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล ให้ กกม. มีคําสั่งให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้นดําเนินการประเมินความเสี่ยงใหม่เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือดําเนินการตรวจสอบในด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศได้
ในกรณีที่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น ได้จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือการตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ กกม. เห็นว่ายังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ให้ กกม. ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นหน่วยงานของรัฐ ให้แจ้งต่อผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานเพื่อใช้อํานาจในทางบริหาร สั่งการไปยังหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น เพื่อให้ดําเนินการแก้ไขจนได้มาตรฐานโดยเร็ว
(2) กรณีเป็นหน่วยงานเอกชน ให้แจ้งไปยังผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน ผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ และผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศนั้น เพื่อให้ดําเนินการแก้ไขจนได้มาตรฐานโดยเร็ว
ให้เลขาธิการดําเนินการติดตามเพื่อให้เป็นไปตามความในวรรคสองด้วย
มาตรา ๕๖ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ ต้องกําหนดให้มีกลไกหรือขั้นตอนเพื่อการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศของตน ตามมาตรฐานซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และตามประมวลแนวทางปฏิบัติ รวมถึงระบบมาตรการที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่คณะกรรมการหรือ กกม. กําหนด และต้องเข้าร่วมการทดสอบสถานะความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สํานักงานจัดขึ้น
มาตรา ๕๗ เมื่อมีเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างมีนัยสําคัญต่อระบบของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ ให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ รายงานต่อสํานักงานและหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และปฏิบัติการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามที่กําหนดในส่วนที่ 4 ทั้งนี้ กกม. อาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการรายงานด้วยก็ได้
ส่วน ๔ การรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบสารสนเทศซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศใด ให้หน่วยงานนั้นดําเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานนั้น รวมถึงพฤติการณ์แวดล้อมของตน เพื่อประเมินว่ามีภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นหรือไม่ หากผลการตรวจสอบปรากฏว่าเกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ขึ้น ให้ดําเนินการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานนั้น และแจ้งไปยังสํานักงานและหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลของตนโดยเร็ว
ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลใดพบอุปสรรคหรือปัญหาในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ของตน หน่วยงานหรือบุคคลนั้นอาจร้องขอความช่วยเหลือไปยังสํานักงาน
มาตรา ๕๙ เมื่อปรากฏแก่หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล หรือเมื่อหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลได้รับแจ้งเหตุตามมาตรา 58 ให้หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล ร่วมกับหน่วยงานตามมาตรา 50 รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ วิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินผลกระทบเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่อยู่ในการควบคุมหรือกํากับดูแลของตน และให้ความร่วมมือและประสานงานกับสํานักงาน ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
(2) แจ้งเตือนหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่อยู่ในการควบคุมหรือกํากับดูแลของตน รวมทั้งหน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแลหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
มาตรา ๖๐ การพิจารณาเพื่อใช้อํานาจในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ คณะกรรมการจะกําหนดลักษณะของภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยแบ่งออกเป็นสามระดับ ดังต่อไปนี้
(1) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับไม่ร้ายแรง หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญถึงระดับที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญของประเทศ หรือการให้บริการของรัฐด้อยประสิทธิภาพลง
(2) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง หมายถึง ภัยคุกคามที่มีลักษณะการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งหมายเพื่อโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสําคัญของประเทศและการโจมตีดังกล่าวมีผลทําให้ระบบคอมพิวเตอร์หรือโครงสร้างสําคัญทางสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสําคัญของประเทศ ความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ การสาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเสียหาย จนไม่สามารถทํางานหรือให้บริการได้
(3) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นกว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง โดยส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศของประเทศในลักษณะที่เป็นวงกว้าง จนทําให้การทํางานของหน่วยงานรัฐหรือการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสําคัญของประเทศที่ให้กับประชาชนล้มเหลวทั้งระบบจนรัฐไม่สามารถควบคุมการทํางานส่วนกลางของระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐได้ หรือการใช้มาตรการเยียวยาตามปกติในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังโครงสร้างพื้นฐานสําคัญอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งอาจมีผลทําให้บุคคลจํานวนมากเสียชีวิตหรือระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์จํานวนมากถูกทําลายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ
(ข) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทําให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทําความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจําเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดํารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง
ทั้งนี้ รายละเอียดของลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ มาตรการป้องกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์แต่ละระดับ ให้คณะกรรมการเป็นผู้ประกาศกําหนด
มาตรา ๖๑ เมื่อปรากฏแก่ กกม. ว่าเกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง ให้ กกม. ออกคําสั่งให้สํานักงานดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) รวบรวมข้อมูล หรือพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
(2) สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ และเข้าร่วมในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น
(3) ดําเนินการป้องกันเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เสนอแนะหรือสั่งการให้ใช้ระบบที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการหาแนวทางตอบโต้หรือการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(4) สนับสนุน ให้สํานักงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือและเข้าร่วมในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น
(5) แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ตามความจําเป็นและเหมาะสมโดยคํานึงถึงสถานการณ์ ความร้ายแรง และผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้น
(6) ให้ความสะดวกในการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานเอกชน เพื่อจัดการความเสี่ยงและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
มาตรา ๖๒ ในการดําเนินการตามมาตรา 61 เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้เลขาธิการสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือขอความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อมาให้ข้อมูลภายในระยะเวลาที่เหมาะสมและตามสถานที่ที่กําหนด หรือให้ข้อมูลเป็นหนังสือเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
(2) มีหนังสือขอข้อมูล เอกสาร หรือสําเนาข้อมูลหรือเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นอันเป็นประโยชน์แก่การดําเนินการ
(3) สอบถามบุคคลผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่มีความเกี่ยวพันกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
(4) เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องหรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้น
ผู้ให้ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ซึ่งกระทําโดยสุจริตย่อมได้รับการคุ้มครองและไม่ถือว่าเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญา
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้ กกม. มีคําสั่งให้หน่วยงานของรัฐให้ข้อมูล สนับสนุนบุคลากรในสังกัด หรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในความครอบครองที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
กกม. ต้องดูแลมิให้มีการใช้ข้อมูลที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย และให้ กกม. รับผิดชอบในค่าตอบแทนบุคลากร ค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
ให้นําความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับในการร้องขอต่อเอกชนโดยความยินยอมของเอกชนนั้นด้วย
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ซึ่งอยู่ในระดับร้ายแรง ให้ กกม. ดําเนินการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และดําเนินมาตรการที่จําเป็น
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ กกม. มีหนังสือถึงหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กระทําการหรือระงับการดําเนินการใด ๆ เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามแนวทางที่ กกม. กําหนด รวมทั้งร่วมกันบูรณาการในการดําเนินการเพื่อควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นได้อย่างทันท่วงที
ให้เลขาธิการรายงานการดําเนินการตามมาตรานี้ต่อ กกม. อย่างต่อเนื่อง และเมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ดังกล่าวสิ้นสุดลง ให้รายงานผลการดําเนินการต่อ กกม. โดยเร็ว
มาตรา ๖๕ ในการรับมือและบรรเทาความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง กกม. มีอํานาจออกคําสั่งเฉพาะเท่าที่จําเป็นเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเหตุอันเชื่อได้ว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) เฝ้าระวังคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง
(2) ตรวจสอบคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์เพื่อหาข้อบกพร่องที่กระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
(3) ดําเนินมาตรการแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อจัดการข้อบกพร่องหรือกําจัดชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ หรือระงับบรรเทาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ดําเนินการอยู่
(4) รักษาสถานะของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อดําเนินการทางนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์
(5) เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องเฉพาะเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์
ในกรณีมีเหตุจําเป็นที่ต้องเข้าถึงข้อมูลตาม (5) ให้ กกม. มอบหมายให้เลขาธิการยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อมีคําสั่งให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งดําเนินการตามคําร้อง ทั้งนี้ คําร้องที่ยื่นต่อศาลต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งกําลังกระทําหรือจะกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง ในการพิจารณาคําร้องให้ยื่นเป็นคําร้องไต่สวนคําร้องฉุกเฉิน และให้ศาลพิจารณาไต่สวนโดยเร็ว
มาตรา ๖๖ ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง กกม. มีอํานาจปฏิบัติการหรือสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเฉพาะเท่าที่จําเป็นเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) เข้าตรวจสอบสถานที่ โดยมีหนังสือแจ้งถึงเหตุอันสมควรไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่เพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่นั้น หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
(2) เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ทําสําเนา หรือสกัดคัดกรองข้อมูลสารสนเทศหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
(3) ทดสอบการทํางานของคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือถูกใช้เพื่อค้นหาข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ภายในหรือใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์นั้น
(4) ยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ใด ๆ เฉพาะเท่าที่จําเป็นซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ ทั้งนี้ ไม่เกินสามสิบวัน เมื่อครบกําหนดเวลาดังกล่าวให้ส่งคืนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด ๆ แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองโดยทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบหรือวิเคราะห์
ในการดําเนินการตาม (2) (3) และ (4) ให้ กกม. ยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อมีคําสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามคําร้อง ทั้งนี้ คําร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งกําลังกระทําหรือจะกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง ในการพิจารณาคําร้องให้ยื่นเป็นคําร้องไต่สวนคําร้องฉุกเฉิน และให้ศาลพิจารณาไต่สวนโดยเร็ว
มาตรา ๖๗ ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในการดําเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๖๘ ในกรณีที่เป็นเหตุจําเป็นเร่งด่วน และเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้เลขาธิการมีอํานาจดําเนินการได้ทันทีเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกันและเยียวยาความเสียหายก่อนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องยื่นคําร้องต่อศาล แต่หลังจากการดําเนินการดังกล่าว ให้แจ้งรายละเอียดการดําเนินการดังกล่าวต่อศาลที่มีเขตอํานาจทราบโดยเร็ว
ในกรณีร้ายแรงหรือวิกฤติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ประเมินผล รับมือ ปราบปราม ระงับ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการหรือ กกม. มีอํานาจขอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและต่อเนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยผู้นั้นต้องให้ความร่วมมือและให้ความสะดวกแก่คณะกรรมการหรือ กกม. โดยเร็ว
มาตรา ๖๙ ผู้ที่ได้รับคําสั่งอันเกี่ยวกับการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจอุทธรณ์คําสั่งได้เฉพาะที่เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับไม่ร้ายแรงเท่านั้น
หมวด ๔ บทกําหนดโทษ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๗๐ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่บุคคลใด ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทําเพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือผู้กระทําความผิดตามกฎหมายอื่นหรือเพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบ
มาตรา ๗๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ผู้ใดกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของผู้ใช้บริการหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๒ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของผู้ใช้บริการ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใดโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๓ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศใดไม่รายงานเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามมาตรา 57 โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา ๗๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ส่งข้อมูลให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 62 (1) หรือ (2) โดยไม่มีเหตุอันสมควร แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๗๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของ กกม. ตามมาตรา 65 (1) และ (2) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาที่ กกม. ออกคําสั่งให้ปฏิบัติจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของ กกม. ตามมาตรา 65 (3) และ (4) หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาลตามมาตรา 65 (5) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๖ ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของ กกม. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามคําสั่งของ กกม. ตามมาตรา 66 (1) หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาลตามมาตรา 66 (2) (3) หรือ (4) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
บทเฉพาะกาล - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๗๘ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา 5 (1) (2) และให้เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จําเป็นไปพลางก่อน และให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตามมาตรา 5 (3) ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอาจเสนอรายชื่อบุคคลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวด้วยได้
มาตรา ๗๙ ให้ดําเนินการเพื่อให้มี กกม. และ กบส. ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตามมาตรา 78
ให้ดําเนินการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งสํานักงานแล้วเสร็จตามมาตรา 80
มาตรา ๘๐ ให้ดําเนินการจัดตั้งสํานักงานให้แล้วเสร็จเพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่การดําเนินการจัดตั้งสํานักงานยังไม่แล้วเสร็จ ให้สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทําหน้าที่สํานักงานตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทําหน้าที่เลขาธิการจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามมาตรา 79 วรรคสอง
มาตรา ๘๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีจัดสรรทุนประเดิมให้แก่สํานักงานตามความจําเป็น
ให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานที่สํานักงานเป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ให้ถือว่าข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่มาปฏิบัติงานในสํานักงานเป็นการชั่วคราวตามวรรคสองไม่ขาดจากสถานภาพเดิมและคงได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง แล้วแต่กรณี จากสังกัดเดิม ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจกําหนดค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐตามวรรคสอง ในระหว่างปฏิบัติงานในสํานักงานด้วยก็ได้
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งสํานักงานแล้วเสร็จ ให้สํานักงานดําเนินการคัดเลือกข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐตามวรรคสองเพื่อบรรจุเป็นพนักงานของสํานักงานต่อไป
ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐผู้ใดได้รับการคัดเลือกและบรรจุตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับระยะเวลาทํางานที่เคยทํางานอยู่ในสังกัดเดิมต่อเนื่องรวมกับระยะเวลาทํางานในสํานักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๘๒ เมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีดําเนินการเพื่ออนุมัติให้มีการโอนบรรดาอํานาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๘๓ การดําเนินการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดําเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน หรือรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สมควรกําหนดลักษณะของภารกิจหรือบริการที่มีความสําคัญเป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน ที่จะต้องมีการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้มีหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรงตลอดจนกําหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง อันจะทําให้การป้องกันและการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ | 3,201 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 384) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 384)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (76) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 3/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 360) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
“กรณีบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,202 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 193) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 193)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจํานวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ.2552 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจํานวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามและวรรคสี่ของ (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจํานวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ ตามมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552
“กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจําตัวคนพิการ ตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้ และทําความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจําตัวคนพิการดังกล่าวเป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนพิการใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้
กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยาซึ่งมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการ โดยผู้มีเงินได้มีเงินได้ฝ่ายเดียวแต่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลบุตรซึ่งเป็นคนพิการและมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยไม่มีผู้มีเงินได้อื่นมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจําตัวคนพิการอีกให้ผู้มีเงินได้ดังกล่าวมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นคนพิการนั้นโดยไม่ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในกรณีนี้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการหักลดหย่อนสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2552 ซึ่งจะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,203 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 383) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 383)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (97) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 365 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 364) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ต้องเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยจากเงินได้ที่ได้รับซึ่งต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
ข้อ ๓ การประกันสุขภาพตามข้อ 2 ให้หมายถึง
(1) การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
(2) การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
(3) การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
(4) การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้เอาประกันไว้
ข้อ ๕ บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 4 ต้องส่งข้อมูลของผู้เอาประกันต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลเบี้ยประกันภัยเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ข้อ ๖ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 364) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป เฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีเงินได้ที่ค้างชําระหรือพึงชําระก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,204 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 192) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 192)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 506) พ.ศ. 2553 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ค่าห้องสัมมนา” หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการห้องสัมมนาเรียกเก็บเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มจากการใช้ห้องสัมมนาตามปกติทางการค้า
“รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา” หมายความถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการ ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียงและค่าจัดทําสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถลูกจ้างของตนและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจัดทําโครงการการอบรมสัมมนาโดยมีหลักฐานเอกสารประกอบโครงการ เพื่อประโยชน์ในการแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว
ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนานั้นจะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียน
ข้อ ๕ ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักภายในประเทศ ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ในสถานประกอบการเดียวกันก็ได้ แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,205 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 191) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 191)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 116) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่ประสงค์จะได้รับสิทธิลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 8 หรือมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 แจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคตั้งอยู่ก็ได้
บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสิทธิที่จะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือจะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ก็ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,206 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 382) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 382)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 708) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนํารายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 708) พ.ศ. 2563 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน โดยลูกจ้างนั้นต้องได้รับค่าจ้างไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน
(2) ต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
(3) ต้องมีจํานวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ณ วันสุดท้ายของเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 และเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 แล้วแต่กรณี ไม่น้อยกว่าจํานวนลูกจ้าง ณ วันสุดท้ายของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีลูกจ้างเกษียณอายุตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือตาย
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างที่จะนํามาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 708) พ.ศ. 2563 ตามรายงานแสดงรายละเอียดการจ้างแรงงาน รายจ่ายค่าจ้างแรงงานและจํานวนการจ้างแรงงาน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
การแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 ให้แจ้งข้อมูลภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ข้อ - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,207 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 190) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 190)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11/1 มาตรา 11/6 (5) (6) และ (7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 508) พ.ศ. 2553 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” หมายความว่า กิจการการให้บริการด้านการบริหารหรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนดังต่อไปนี้ แก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาของตนไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ
(1) การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และการประสานงานทางธุรกิจ
(2) การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน
(3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
(4) การสนับสนุนด้านเทคนิค
(5) การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย
(6) การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรมในภูมิภาค
(7) การให้คําปรึกษาด้านการเงิน
(8) การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
(9) การจัดการและควบคุมสินเชื่อ
(10) การให้บริการสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด
“การควบคุม” หมายความว่า การควบคุมตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานทางบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นําผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคไปใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการแก่สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
“รายได้จากการประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” หมายความว่า รายได้ที่สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคได้รับจากวิสาหกิจในเครือ สาขาของตน และจากวิสาหกิจในเครือที่มีการควบคุมระหว่างกัน ซึ่งได้รับสิทธิลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม มาตรา 11/2 หรือมาตรา 11/3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับ 405) พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 508) พ.ศ. 2553 ดังต่อไปนี้
(1) รายได้จากการให้บริการของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคแก่วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค
(2) ดอกเบี้ยที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยจากเงินกู้ยืมที่สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคได้กู้มาเพื่อให้กู้ยืมต่อ
(3) ค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ หรือสาขาต่างประเทศของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เฉพาะค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่กระทําขึ้นในประเทศไทย
ข้อ ๒ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่ประสงค์จะได้รับสิทธิลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม มาตรา 11/2 มาตรา 11/3 หรือมาตรา 11/4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับ 405) พ.ศ. 2545
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 508) พ.ศ. 2553 แจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคตั้งอยู่ก็ได้ ทั้งนี้ บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคต้องจดแจ้งภายในห้าปีนับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีสิทธิที่จะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือจะใช้แบบแจ้งการจัดตั้งที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ก็ได้
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 และมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและกิจการอื่นให้บริษัทดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใดให้บริษัทเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและรายได้จากกิจการอื่น
กรณีบริษัทประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ซึ่งมีทั้งรายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้ ให้บริษัทดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของรายได้แต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันหากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าเป็นรายจ่ายของรายได้ในส่วนใดให้บริษัทเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นและรายได้ที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้
ข้อ ๔ กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและกิจการอื่น หากกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคมีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคเท่านั้น
กรณีบริษัทประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ซึ่งมีทั้งรายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้หากรายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้มีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคในรายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เท่านั้น
ข้อ ๕ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคและกิจการอื่นให้บริษัทดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัท พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด สําหรับบัญชีงบดุลของบริษัทดังกล่าวให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทในกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน
ข้อ ๖ พนักงานปฏิบัติงานในสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคซึ่งมีทักษะและความรู้ขั้นต่ําตาม มาตรา 11/6 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับ 405) พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 508) พ.ศ. 2553 จะต้องสําเร็จการศึกษาในระดับที่ไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้นหรือเทียบเท่า
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,208 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 381) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 381)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 698) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 698) พ.ศ. 2563 ต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายไปเพื่อการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) อาคารถาวรที่มีไว้ใช้ในการประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
(2) เครื่องตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นส่วนประกอบและยึดติดกับอาคารตาม (1) เป็นการถาวร โดยไม่อาจแยกออกจากอาคารได้ นอกจากจะทําลาย ทําให้บุบสลาย หรือทําให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
ข้อ ๒ ทรัพย์สินตามข้อ 1 (2) ต้องเกิดจากการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นแล้วแต่กรณี ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) ต้องเกิดจากการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
กรณีขออนุญาตดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ไม่ว่าจะมีการขอต่ออายุใบอนุญาตนั้นหรือไม่ก็ตาม ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยต้องไม่มีการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตามใบอนุญาตดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 หรือ
(2) ต้องแจ้งดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
กรณีแจ้งดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ต้องมีการทําสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยต้องไม่มีการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินตามการแจ้งดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 และข้อ 4 ดําเนินการ ดังนี้
(1) จัดทําโครงการลงทุนและแผนการลงทุนตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
(2) จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําขึ้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,209 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 189) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 189)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (44) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 277 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆที่ได้รับจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เนื่องจากสมาชิกออกจากราชการเพราะตาย เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน เหตุสูงอายุ หรือสมาชิกออกจากราชการในกรณีอื่น
แต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากสมาชิกผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สําหรับกรณีสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ” หมายความว่า กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ข้อ ๓ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเนื่องจากสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการเพราะตาย เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือเหตุสูงอายุ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
(1) กรณีตาย สําหรับสมาชิกที่ออกจากราชการเพราะถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ
(2) กรณีเหตุทุพพลภาพ สําหรับสมาชิกที่ออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ไม่สามารถที่จะรับราชการในตําแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
(3) กรณีเหตุทดแทน สําหรับสมาชิกที่ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่ง หรือมีคําสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
(4) กรณีเหตุสูงอายุ
(ก) สําหรับสมาชิกที่ออกจากราชการเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว หรือลาออกเมื่ออายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
(ข) สําหรับสมาชิกที่ลาออกจากราชการเมื่อมีเวลาราชการยี่สิบห้าปีขึ้นไปแต่อายุไม่ครบห้าสิบปีบริบูรณ์ และได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ
ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ข้อ ๔ เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการออกจากราชการในกรณีอื่นนอกจากข้อ 3 แต่เมื่อออกจากราชการแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากสมาชิกผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,210 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 277 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกจ้างออกจากงานกรณีอื่นแต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกําหนดเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ สําหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ” หมายความว่า กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ข้อ ๓ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
(1) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ต้องเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ในเวลาที่ออกจากงาน โดยการเกษียณอายุตามข้อบังคับนั้นลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังนี้
“(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)
(ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจํานวนจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการไปยังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้วการเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๔ เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานในกรณีอื่นนอกจากตามข้อ 3 แล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกําหนดเวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
(1) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นครบกําหนดเวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ต้องเป็นการรับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นครบกําหนดเวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ในเวลาที่ลูกจ้างผู้นั้นออกจากงาน โดยการเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดังนี้
“(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202) ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)
(ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจํานวนจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการไปยังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้ว การเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,211 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 380) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 380)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 697) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ค่าห้องสัมมนา” หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการห้องสัมมนาเรียกเก็บเป็นค่าอาหาร และเครื่องดื่มจากการใช้ห้องสัมมนาตามปกติทางการค้า
“รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา” หมายความถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียง และค่าจัดทําสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถลูกจ้างของตน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจัดทําโครงการการอบรมสัมมนาโดยมีหลักฐานเอกสารประกอบโครงการ เพื่อประโยชน์ในการแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนานั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียน
ข้อ ๕ ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักภายในประเทศ ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ในสถานประกอบการเดียวกันก็ได้แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,212 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 187) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 187)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 278 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์
ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(2) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีมีคู่สมรส
(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(ข) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี และภริยาจะใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ก็ตาม ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาท
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้จ่ายค่าบริการตามข้อ 2 เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวของผู้มีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จํานวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,213 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.