title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 109/2545 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 109/2545
เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา
80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนกรณีการส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถือเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้ เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในเขตปลอดอากรซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับ สินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น
(3) หลักฐานสําเนาคําร้องขอนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรตามแบบที่กรมศุลกากรกําหนดในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสําเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมสีน้ําเงิน สําหรับกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขอใช้สิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรหรือขอคืนอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในเขตปลอดอากรเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุอัตราภาษีร้อยละ 0”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ในการขายสินค้าระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนในคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น
(3) หลักฐานสําเนาหนังสือขออนุญาตต่อการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อนําของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือสําเนาใบขนคลังสินค้าทัณฑ์บนตามแบบที่กรมศุลกากรกําหนดซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสําเนาคําร้องขอนําสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรตามแบบที่กรมศุลกากรกําหนดซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสําเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือในเขตปลอดอากร แล้วแต่กรณี เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุอัตราภาษีร้อยละ 0”
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,912 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 108/2544
เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกําไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกําไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนําเงินส่วนแบ่งของกําไรไปรวมคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรได้รับยกเว้น ไม่ต้องนําเงินส่วนแบ่งของกําไรดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไร ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กําหนดตาม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ.2536
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนําเงินปันผลไปรวมคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัท จดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกําไร สุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินปันผลดังกล่าว มารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัท จดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวม ดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไร ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินส่วนแบ่งของกําไรดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่กําหนด ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัท จดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกําไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงิน ส่วนแบ่งของกําไร ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ.2536
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัท จดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินปันผลจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินปันผลดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 3 วรรคหนึ่งและข้อ 3 วรรคสาม ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 3 วรรคสอง และข้อ 3 วรรคสี่ ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และเงินปันผลดังกล่าวเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง และข้อ 3 วรรคสาม ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่าไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือบริษัท จดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และเงินปันผลดังกล่าวเป็นเงินปันผล ที่จ่ายจากกําไรทั้งใน ส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง และข้อ 3 วรรคสาม และกําไรจากการประกอบกิจการอื่นรวมอยู่ด้วย ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุ ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินที่ได้จ่ายนั้นจํานวนใดได้รับเครดิตภาษีและจํานวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษี
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,913 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 107/2544 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการ เช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่ง ประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 107/2544
เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สําหรับการให้บริการ เช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม
มาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตาม
มาตรา 77/1(10) แห่ง ประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สําหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 20 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.90/2542 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สําหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2542
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ พึงประเมินที่เป็นเงินได้จากการให้บริการตามข้อ 5 วรรคสอง ข้อ 6 เฉพาะกรณีการให้บริการพื้นที่จอดรถ ข้อ 12 วรรคสอง ข้อ 13 วรรคสอง และข้อ 17(1) มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม ข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,914 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 106/2544 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการของผู้ประกอบกิจการท่าเรือ และผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันกับกิจการท่าเรือ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 106/2544
เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการของผู้ประกอบกิจการท่าเรือ และผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันกับกิจการท่าเรือ
---------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบ และแนะนําเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการให้บริการของผู้ประกอบกิจการท่าเรือ และผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันกับกิจการท่าเรือ กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(1) “การให้บริการของกิจการท่าเรือ” หมายความว่า การจัดอํานวยความสะดวกด้านการเดินเรือ การรับเรือเข้าเทียบท่าหรือหลักผูกเรือหรือทุ่นผูกเรือ การเก็บรักษาสินค้า การขนถ่ายสินค้าทั้งที่บรรจุตู้สินค้าหรือไม่ได้บรรจุตู้สินค้า สินค้าที่บรรจุหีบห่อหรือไม่ได้บรรจุหีบห่อสิ่งของ คนโดยสาร สัตว์มีชีวิต ภาชนะขนส่ง ขึ้นหรือลงเรือ การจัดการทางการค้าและการจัดการอื่น ๆ ทั้งในท่าเรือ และบริเวณที่ต่อเนื่องกับท่าเรือให้แก่เจ้าของเรือหรือตัวแทนเจ้าของตู้สินค้า ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ร้องขอทําการ
“ค่าบริการของกิจการท่าเรือ” หมายความว่า ค่าภาระ ค่าบริการ ค่าเช่า ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ ในการใช้บริการในท่าเรือและบริเวณที่ต่อเนื่องกับท่าเรือที่ผู้ประกอบกิจการท่าเรือเรียกเก็บจากเจ้าของเรือหรือตัวแทน เจ้าของตู้สินค้า ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ร้องขอทําการ
(2) “กิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการท่าเรือ” หมายความว่า
(ก) การให้บริการยกขนหรือเคลื่อนย้ายสินค้า ตู้สินค้า สิ่งของหรืออื่น ๆ โดยใช้เครื่องจักร รถเครน รถเทรลเลอร์ ฯลฯ
(ข) การให้บริการขนถ่ายสินค้า โดยใช้แรงงานคน (Stevedore)
(ค) การให้บริการใช้เรือลากหรือจูงหรือดันเรือให้เข้าเทียบท่าหรือออกจากท่า
(ง) การให้บริการตรวจนับจํานวนสินค้าหรือตู้สินค้า
(จ) การให้บริการทําความสะอาดตู้สินค้า
(ฉ) การให้เช่าสังหาริมทรัพย์สําหรับยกหรือขนสินค้า เช่น ให้เช่าเครื่องจักร รถยก ปั้นจั่น เครื่องมือยกขน ฯลฯ
(ช) การให้บริการเก็บรักษาสินค้าในโรงพักสินค้าหรือคลังสินค้า
(ซ) การให้บริการเก็บรักษาสินค้าหรือตู้สินค้าในลานกองเก็บสินค้าหรือลานกองตู้สินค้า
(ฌ) การให้บริการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน
“ค่าบริการของกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการท่าเรือ” หมายความว่า ค่าบริการของกิจการตาม (ก) – (ฌ) ที่ผู้ประกอบกิจการท่าเรือเรียกเก็บจากเจ้าของเรือหรือตัวแทน เจ้าของตู้สินค้า ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ร้องขอทําการ
(3) “การให้บริการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันกับกิจการท่าเรือ” หมายความว่า
(ก) การให้บริการโรงพักสินค้าเพื่อตรวจของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตทําเนียบท่าเรือของรัฐและของเอกชน (รพท.) (Inland Container Depot หรือ ICD)
(ข) การให้บริการสถานีตรวจและบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์เพื่อการ ส่งออก (สตส.) (Off Dock CFS) ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้ทําได้เฉพาะสินค้าขาออก
(ค) การให้บริการสถานที่บริการรับฝากตู้สินค้าของรัฐและของเอกชน (Container Depot)
ข้อ ๒ กรณีผู้ประกอบกิจการท่าเรือให้บริการของกิจการท่าเรือและกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการท่าเรือ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบกิจการท่าเรือมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบกิจการท่าเรือตามวรรคหนึ่ง ต้องนํามูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับทั้งที่เป็นค่าบริการของกิจการท่าเรือ และค่าบริการของกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการท่าเรือมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าการให้บริการนั้น ผู้ประกอบกิจการท่าเรือจะคิดค่าบริการของกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการท่าเรือรวมในหรือแยกค่าบริการของกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการท่าเรือออกจากค่าบริการของ กิจการท่าเรือ
การให้บริการตามวรรคหนึ่ง ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชําระราคาค่าบริการ เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการท่าเรือได้ออกใบกํากับภาษีหรือได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชําระราคาค่าบริการ ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทํานั้น ๆ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ มูลค่าของฐานภาษีที่ต้องนําไปรวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2 ประกอบด้วย
(1) ค่าภาระ ได้แก่
- ค่าภาระการใช้ท่าของเรือ
- ค่าภาระการใช้ท่าของสินค้าทั่วไป
- ค่าภาระการใช้ท่าของตู้สินค้า
- ค่าภาระการใช้ทุ่นผูกเรือ
- ค่าภาระยกขนสินค้าขาเข้า
- ค่าภาระยกขนสินค้าขาออก
- ค่าภาระยกขนตู้สินค้า
- ค่าภาระฝากสินค้าขาเข้า
- ค่าภาระฝากสินค้าขาออก
- ค่าภาระฝากตู้สินค้า
- ค่าภาระแรงงานพิเศษ
- ค่าภาระทําความสะอาดท่า
- ค่าภาระรองาน
- ค่าภาระเก็บขยะจากเรือ
- ค่าภาระที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) ค่าบริการ ได้แก่
- ค่าบริการเรือลากจูง
- ค่าบริการบรรจุสินค้าขาออกเข้าตู้สินค้า
- ค่าบริการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้สินค้า
- ค่าบริการบรรทุกขนถ่ายสินค้าเทกอง
- ค่าบริการใช้ปั้นจั่นเพื่อทําการขนถ่ายตู้สินค้า
- ค่าบริการไฟฟ้าสําหรับตู้สินค้าห้องเย็น
- ค่าบริการโทรศัพท์บนเรือ
- ค่าบริการรับขนกระเป๋าเดินทาง
- ค่าบริการผ่านท่าสําหรับตู้สินค้า
- ค่าบริการผ่านท่าสําหรับรถบรรทุก
- ค่าบริการชั่งน้ําหนักสินค้า
- ค่าบริการที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(3) ค่าเช่า ได้แก่
- ค่าเช่าปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า
- ค่าเช่ารถปั้นจั่นเคลื่อนที่
- ค่าเช่ารถยกตู้สินค้า
- ค่าเช่ารถหัวลาก
- ค่าเช่ารถพ่วง
- ค่าเช่าเรือขุด
- ค่าเช่าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(4) ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ ได้แก่
- ค่าธรรมเนียมผู้โดยสารผ่านท่า
- ค่าธรรมเนียมการชั่งรถบรรทุกสินค้า
- ค่าธรรมเนียมปั้นจั่นลอยน้ํา
- ค่าล่วงเวลาการบริการเรือ
- ค่าล่วงเวลาการบริการขนถ่ายสินค้าขาเข้า
- ค่าล่วงเวลาขาออก
- ค่าควบคุมดูแลป้องกันอัคคีภัย
- ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
ข้อ ๔ กรณีผู้ประกอบกิจการท่าเรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ภายในบริเวณท่าเรือ เช่น ให้เช่าพื้นที่สํานักงาน โรงพักสินค้า เข้าลักษณะเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ต) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 1 ถึงข้อ 4 มาใช้บังคับสําหรับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันกับกิจการท่าเรือโดยอนุโลม
ข้อ ๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง แนวปฏิบัติ หรือคําวินิจฉัยใดของกรมสรรพากร ที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๗ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,915 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 105/2544 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่ายตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 105/2544
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย
ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของบทนิยามคําว่า สถาบันการเงินในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.95/2543 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่ายตาม มาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
“(6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,916 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 104/2544 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณี การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 104/2544
เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นใน
ราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณี การให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและ
ได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/13 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อได้มีการชําระราคาค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา 78/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณจากฐานภาษีตามมาตรา 79 และอัตราภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศได้กระทําขึ้นในต่างประเทศ และผู้รับบริการในราชอาณาจักรได้นําผลของการกระทํานั้นมาใช้ในราชอาณาจักร
กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ไม่มีรูปร่างให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในราชอาณาจักรไม่ถือเป็น การให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง ตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร
การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามวรรคสอง เช่น การโอนกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร การโอนกรรมสิทธิ์ในกู๊ดวิลล์ การโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า การโอนกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ การโอนกรรมสิทธิ์ในสัมปทาน การโอนกรรมสิทธิ์ในค่าสิทธิ หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้ให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดใน ราชอาณาจักรได้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร ได้ใช้กู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ได้ใช้ลิขสิทธิ์ ได้ใช้สัมปทาน ได้ใช้ค่าสิทธิ หรือได้ใช้สินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการใน ต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม และมาตรา 77/5 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในราชอาณาจักร โดยผู้ว่าจ้างในราชอาณาจักรยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม และมาตรา 77/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรจ่ายเงินค่าบริการให้กับผู้ประกอบการตามข้อ 1 ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้จ่ายเงินต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการตามมาตรา 83/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่า
(1) บริษัท ก จํากัด ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดําเนินการ ให้คําปรึกษาและแนะนําด้านการบริหาร การจัดการ การวางแผน กฎหมาย การเงิน การตลาดและบุคคล ซึ่งการให้บริการทั้งหมดได้กระทําในต่างประเทศและบริษัทในต่างประเทศได้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านทางโทรศัพท์ โทรสาร E – MAIL (ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) และจดหมายให้กับบริษัท ก จํากัด กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ก จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(2) บริษัท ข จํากัด ได้ทําสัญญาเช่าเครื่องจักรจากบริษัทในต่างประเทศเพื่อ นํามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสําเร็จรูปถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ข จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(3) บริษัท ค จํากัด ได้ทําสัญญารับจ้างออกแบบคํานวณโครงสร้างทางยกระดับโครงการแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัท ค จํากัด ได้ทําสัญญาจ้างช่วงงานคํานวณโครงสร้างบางส่วนกับบริษัทในต่างประเทศโดยบริษัทในต่างประเทศจะดําเนินการออกแบบและ คํานวณโครงสร้างในต่างประเทศ และส่งผลของงานให้กับบริษัท ค จํากัด กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ค จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(4) บริษัท ง จํากัด ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ซ่อมแซมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าโดยส่งเครื่องจักรไปซ่อมแซมในต่างประเทศ เมื่อบริษัทในต่างประเทศดําเนินการเรียบร้อยแล้วได้ส่งกลับมาให้บริษัท ง จํากัด ใช้ในประเทศไทย กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ง จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(5) บริษัท จ จํากัด ประกอบกิจการเกี่ยวกับสนามกอล์ฟได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดําเนินการออกแบบสนามกอล์ฟโดยมีการจัดทําแผนผัง รายละเอียดและงานเขียนแบบสําหรับใช้ในการก่อสร้างสนามกอล์ฟ ซึ่งบริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในงานเขียนแบบและแผนผังอื่น ๆ เงินค่าจ้างออกแบบดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่า ตอบแทนเพื่อค่าสิทธิ กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท จ จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(6) บริษัท ช จํากัด ประกอบธุรกิจถลุงโลหะ ได้ซื้อลิขสิทธิ์กรรมวิธีการผลิตจากบริษัทในต่างประเทศโดยบริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์กรรมวิธีการผลิต กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ช จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(7) ส่วนราชการแห่งหนึ่งทําสัญญาจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากบริษัทในต่างประเทศ โดยบริษัทในต่างประเทศเสนอราคาค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยค่าลิขสิทธิ์ที่บริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ ค่าติดตั้ง ค่าบํารุงรักษา ค่าฝึกอบรม ค่าให้คําปรึกษา ค่าเดินทาง และค่าที่พักของพนักงาน กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(8) บริษัท ซ จํากัด ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศผลิต BROCHURE เป็นรูปภาพของโรงแรมและเย็บเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ โดยบางส่วนแจกให้ลูกค้าในประเทศไทย และบางส่วนแจกให้ลูกค้าในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ซ จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36) โดยคํานวณจากค่าบริการทั้งหมด
“(9) บริษัท ฌ จํากัด ได้ทําสัญญาใช้บริการนําเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต หรือบริการเช่าพื้นที่บนเว็บไซท์ (Web Site) หรือบริการเช่าพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของบริษัทในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ฌ จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) โดยคํานวณจากค่าบริการทั้งหมด
(10) บริษัท ญ จํากัด ได้ทําสัญญาใช้บริการอินเตอร์เน็ต หรือบริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) จากบริษัทในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ญ จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) โดยคํานวณจากค่าบริการทั้งหมด
(11) บริษัท ฎ จํากัด ได้ทําสัญญาใช้บริการรับฝากเซิร์ฟเวอร์ (Data Management หรือ Co-Location) จากบริษัทในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ฎ จํากัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) โดยคํานวณจากค่าบริการทั้งหมด”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดย คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.116/2545 )
ข้อ ๔ การคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้คํานวณจากฐานภาษีตามมาตรา 79 และอัตราภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ฐานภาษีสําหรับการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ ซึ่งหมายความถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับบริการในราชอาณาจักรต้องคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายทั้งจํานวนก่อนหักภาษีเงินได้
กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรตกลงเป็นผู้ออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนผู้ประกอบการตามข้อ 1 ภาษีเงินได้ที่ออกแทนถือเป็นประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ผู้รับบริการในราชอาณาจักรต้องนําภาษีที่ออกแทนมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีจนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่ต้องออกแทนให้อีก
ข้อ ๕ กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรตามข้อ 3 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้รับบริการในราชอาณาจักรมีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นําส่งตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากรไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีที่มีการยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร
ข้อ ๖ กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและ มิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ไม่ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/13 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินค่าบริการจึงไม่มีหน้าที่ต้องนําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จํากัด ประกอบกิจการขายสินค้า ทําสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้เป็นนายหน้าติดต่อหาลูกค้าในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ก จํากัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(2) บริษัท ข จํากัด ประกอบกิจการประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ ได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ โดยบริษัท ข จํากัด ได้ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศแห่งหนึ่งเป็นตัวแทนในการจัดหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งบริษัท ข จํากัดจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ตัวแทน ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ข จํากัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(3) บริษัท ค จํากัด ประกอบกิจการผลิตสินค้า ได้ทําสัญญาแต่งตั้งบริษัทในต่างประเทศเป็นตัวแทนในการชําระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดย ตัวแทนต้องจ่ายเงินทดรองแทนบริษัทฯ ไปก่อนและเรียกเก็บเงินคืนจากบริษัทฯ พร้อมกับ เรียกเก็บค่าบริการ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ค จํากัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(4) บริษัท ง จํากัด ประกอบกิจการโรงแรม ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดําเนินการส่งเสริมการขาย การตลาด โฆษณา และรับจองห้องพัก ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ง จํากัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(5) สถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศรับจ้างโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ในต่างประเทศ โดยมีรายได้จากการรับจ้างโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์จากผู้ผลิตหรือผู้จําหน่าย สินค้าทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งมีผู้ผลิตหรือผู้จําหน่ายสินค้าในประเทศไทยได้ว่าจ้างโฆษณาดังกล่าวด้วย ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้ผลิตหรือผู้จําหน่ายสินค้าในประเทศไทยไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(6) บริษัท จ จํากัด ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศจัดทําโฆษณาลงในนิตยสารสวัสดีที่มีผู้โดยสารอ่านบนเครื่องบินซึ่งมีทั้งสายการบินในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท จ จํากัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(7) บริษัท ฉ จํากัด ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศลงพิมพ์โฆษณาในนิตยสาร (Magazine) ในต่างประเทศ ซึ่งมีการขายนิตยสารดังกล่าวในประเทศไทยด้วย ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ฉ จํากัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดย คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.116/2545 )
ข้อ ๗ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82(1) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ เป็นการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศและได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคํานวณอัตราภาษีตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ การให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามข้อ 7 หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ไม่มีรูปร่างให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร
การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามวรรคสอง เช่น การโอนกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร การโอนกรรมสิทธิ์ในกู๊ดวิลล์ การโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า การโอนกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ การโอนกรรมสิทธิ์ในสัมปทาน การโอนกรรมสิทธิ์ในค่าสิทธิ หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในต่างประเทศได้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร ได้ใช้กู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ได้ใช้ลิขสิทธิ์ ได้ใช้สัมปทาน ได้ใช้ค่าสิทธิ หรือได้ใช้สินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/5 และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในต่างประเทศโดยผู้ว่าจ้างในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/5 และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,917 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 103/2544 เรื่อง ภาษีเงินได้ รายจ่ายเพื่อการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานหรือการวิจัยเชิงประยุกต์ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 103/2544
เรื่อง ภาษีเงินได้ รายจ่ายเพื่อการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานหรือการวิจัยเชิงประยุกต์
-------------------------------------------------
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 297) พ.ศ.2539 กําหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจํานวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน โดยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจะต้องมีลักษณะเป็นการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน ซึ่งหมายถึง การวิจัยตามแบบแผน หรือการค้นคว้าอย่างจริงจัง โดยมุ่งที่จะค้นพบความรู้ใหม่ และมีความมุ่งหวังว่าความรู้ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีในการผลิต หรือการให้บริการ หรือโดยมุ่งที่จะนําความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดมาสู่ผลิตภัณฑ์กรรมวิธีในการผลิตหรือการให้บริการที่มีอยู่เดิม หรือการวิจัยเชิงประยุกต์ ซึ่งหมายถึง การนําผลการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานมาใช้เป็นแบบแผน แบบพิมพ์เขียว หรือแบบแปลนสําหรับผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี หรือการให้บริการซึ่งทําขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง ทั้งนี้ไม่ว่าเพื่อขายหรือใช้เอง และรวมถึงการประดิษฐ์ต้นแบบครั้งแรก ซึ่งไม่สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดหน่วยงานของรัฐหรือ เอกชน ที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539 นั้น
เพื่อให้เจ้าพนักงานถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนําเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ว่าการวิจัยและพัฒนาในลักษณะใด เป็นการวิจัยอุตสาหกรรมขั้น พื้นฐานหรือการวิจัยเชิงประยุกต์ กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ว่าจ้างหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนา โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ว่าจ้างได้ยื่นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ว่าจ้างดังกล่าวต่อสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติก่อนหรือหลังการว่าจ้าง เพื่อตรวจสอบและรับรองว่าโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานหรือการวิจัยเชิงประยุกต์ เมื่อโครงการ ดังกล่าวได้รับการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติแล้ว ก็ให้ถือว่าโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานหรือการวิจัยเชิงประยุกต์
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้จ่ายค่าจ้างให้กับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนา เพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 1จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละ 100 ของ รายจ่ายดังกล่าว ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 297) พ.ศ.2539
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,918 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 102/2544 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 102/2544
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ
และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง
-----------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนํา ผู้มีเงินได้หรือผู้ประกอบการ สําหรับการเสียภาษีเงินได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่ จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครวิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ ผู้ดําเนินรายการทางโทรทัศน์ นักแสดงตลก นายแบบ นางแบบ นักพูดรายการทอล์คโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น
นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใด ๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กํากับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอน นักกีฬาหรือบุคคลผู้กระทําการในลักษณะทํานองเดียวกัน”
(ดูคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.128/2546)
คําว่า "ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ" หมายความว่า ผู้ดําเนินการเพื่อ จัดให้มีการแสดงหรือแข่งขันของนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย
คําว่า "คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง" หมายความว่า ผู้ดําเนินการ ติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ
คําว่า "แสดงเป็นหมู่หรือคณะหรือแข่งขันเป็นทีม" หมายถึง การแสดงหรือการแข่งขันที่ ผู้ว่าจ้างได้ตกลงว่าจ้างให้แสดงเป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม
คําว่า "เงินได้ของนักแสดงสาธารณะ" หมายความว่า เงินได้พึงประเมินหรือ ค่าตอบแทนจากการประกอบอาชีพนักแสดงสาธารณะตามวรรค หนึ่ง รวมถึงรางวัลและประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการแสดงหรือการแข่งขัน เช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่า เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจ่ายตามจํานวนคราวที่แสดงหรือแข่งขัน จ่ายเป็นการเหมา หรือจ่ายในลักษณะ อื่นทํานองเดียวกัน
ข้อ ๒ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของนักแสดงสาธารณะ ให้นําเงินได้ ของนักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีนักแสดงสาธารณะที่แสดงเป็น หมู่หรือคณะหรือแข่งขันเป็นทีมให้นํา เงินได้ของนักแสดงสาธารณะอันเกิดจากการ แสดงหรือแข่งขันที่ได้รับทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับในนามของหมู่หรือคณะ หรือทีม หรือได้รับแยกเป็นรายบุคคล มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามคณะบุคคล โดยให้ผู้จัดการคณะบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและชําระภาษี ในชื่อของคณะ บุคคลภายในกําหนดเวลาและตามแบบแสดง รายการที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ นักแสดงสาธารณะแต่ละคนไม่ต้อง ยื่นรายการเงินได้สําหรับจํานวนเงินได้พึง ประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีเป็นราย บุคคลอีก แต่ถ้า คณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชําระให้ นักแสดงสาธารณะทุกคนในหมู่หรือคณะ หรือทีมร่วมรับผิดใน เงินภาษีที่ค้างชําระนั้นด้วย
กรณีผู้ว่าจ้างได้ตกลงว่าจ้าง นักแสดงสาธารณะเป็นรายบุคคลให้แสดงเป็น หมู่หรือคณะหรือแข่งขันเป็นทีม ให้นักแสดงสาธารณะแต่ละคนนําเงิน ได้ของนักแสดงสาธารณะที่ได้รับมารวมคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของแต่ละคน
นักแสดงสาธารณะตามวรรคสองและวรรคสามมีหน้าที่ยื่นรายการและชําระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นําเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไป ยื่นรายการและชําระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94
(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปี ให้นําเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชําระภาษีภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้ ให้นําภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชําระไว้ตาม (1) มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคํานวณภาษี
ข้อ ๓ ในการเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของนักแสดงสาธารณะตามข้อ 2 ให้คํานวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ดังนี้
(1) หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจําเป็นและสมควร หรือ
(2) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังนี้
(ก) สําหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60
(ข) สําหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40 การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ของ นักแสดงสาธารณะ ถ้าความเป็น สามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดใน การยื่นรายการและเสียภาษี โดยให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้ จ่ายตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ตัวอย่าง
นาย ก และนาง ข เป็นนักแสดงภาพยนตร์และเป็นสามีภริยากัน ในปีภาษีที่ล่วง มาแล้วต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ โดยนาย ก มีเงินได้พึงประเมิน 2,000,000 บาท และนาง ข มีเงินได้พึงประเมิน 500,000 บาท ดังนั้น นาย ก จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการยื่นรายการและชําระภาษี ในนามของนาย ก โดยนําเงินได้ของนาง ข มารวมคํานวณภาษีด้วย และหากเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้
- เงินได้ของนาย ก หักค่าใช้จ่ายได้จํานวน 600,000 บาท
- เงินได้ของนาง ข หักค่าใช้จ่ายได้จํานวน 260,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาที่มีสิทธิหักได้ 860,000 บาท
ข้อ ๔ ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ นักแสดงสาธารณะตามข้อ 2 ให้คํานวณหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีนักแสดงสาธารณะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คํานวณหักค่าลดหย่อน คู่สมรสและหรือบุตรได้ ไม่ว่าคู่สมรสและบุตรจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หรือไม่
กรณีนักแสดงสาธารณะไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย จะคํานวณหักค่า ลดหย่อนคู่สมรสและหรือบุตรได้ เฉพาะคู่สมรสและบุตรที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
ข้อ ๕ นักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลําเนาอยู่ในต่างประเทศ และเข้ามาแสดงหรือแข่ง ขันในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ทั้งนี้ ไม่ว่าการจ่ายเงิน ได้ดังกล่าวจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่งมี หน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นราย การและชําระภาษี โดยปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4
กรณีนักแสดงสาธารณะมีถิ่นที่อยู่ ในประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทําไว้กับประเทศนั้น ๆ
ข้อ ๖ คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการเป็น นักแสดงสาธารณะในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องยื่นคําร้องตามแบบที่ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด เพื่อขอรับใบผ่านภาษีอากรภายในกําหนดเวลา ไม่เกินสิบ ห้าวันก่อนออกเดินทาง ไม่ว่ามีเงินภาษีอากรที่ต้องชําระ หรือไม่ตามมาตรา 4 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๗ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้ผู้จ่ายเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่ภายในเจ็ด วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ ดังนี้
(1) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจํานวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10,000 บาท ให้คํานวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้ที่จ่าย เว้นแต่การจ่ายเงินได้ของนักแสดงสาธารณะที่ได้ จากการประกวดหรือแข่งขันให้คํานวณหัก ตามอัตราภาษีเงินได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 9(2) ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ดังนี้
(ก) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย ให้คํานวณหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
(ข) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลําเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้คํานวณหักภาษีไว้ตามอัตราที่ กําหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข้อ ๘ การเสียภาษีเงินได้ของผู้จัดให้มีการแสดง ของนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย และการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้จัดให้ มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะให้ปฏิบัติ ดังนี้
(1) กรณีผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดง สาธารณะเป็นผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนําเงินได้ที่ได้รับจากการจัดให้มี การแสดงของนักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นค่าจําหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง หรือเงินอื่นใดที่ได้จากการ จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายค่าจ้างในการจัดให้มีการ แสดงให้แก่ผู้จัดให้มีการแสดงของ นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ถ้าการจ่ายมีจํานวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
(2) กรณีผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดง สาธารณะเป็นบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํา กิจการในประเทศไทย มีหน้าที่นํารายได้จากการประกอบกิจการมา รวมคํานวณเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายค่าจ้างในการจัดให้มีการ แสดงให้แก่ผู้จัดให้มีการแสดงของ นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาลสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล หรือ นิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ให้แก่ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ ที่เป็นบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือสมาคม หรือที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ คํานวณหักภาษี ณ จ่ายนําส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 8(2) และ (3) ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
(ค) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่ง เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้จัดให้มีการ แสดงของนักแสดงสาธารณะที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศประกอบ กิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสํานักงานสาขาตั้ง อยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหัก ภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งในอัตราร้อยละ 5.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 12 ของคําสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
กรณีผู้จัดให้มีการแสดงของนัก แสดงสาธารณะมีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทําไว้กับประเทศนั้น ๆ
ข้อ ๙ การเสียภาษีเงินได้ของคู่สัญญาที่จัด หานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย และการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงให้ปฏิบัติ ดังนี้
(1) กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่ง ขันใน ประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ต้องนําเงินได้ที่ได้รับจากการติดต่อจัดหา นักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายค่าจัดหานักแสดงสาธารณะให้แก่ คู่สัญญาที่จัดหานักแสดง สาธารณะมาแสดงตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งตามมาตรา 50(1) และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง หรือแข่งขันใน ประเทศไทยเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ต้องนํารายได้ที่ได้จากการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันดังกล่าวมารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
การจ่ายค่าจัดหานักแสดงสาธารณะให้ แก่คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย นําส่ง
(3) กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ที่ได้รับจากการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง หรือแข่งขันในประเทศไทย โดยให้ผู้จ่ายเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หักภาษีนําส่งจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะ มาแสดงมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทําไว้กับประเทศนั้น ๆ
ข้อ ๑๐ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของ นักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง
(1) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฒ) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การจัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนในลักษณะเป็นค่าเข้าชมการแสดง หรือค่าตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกัน เว้นแต่เป็นการจัดการแสดงเพื่อการ กุศลสาธารณะหรือการแข่งขันกีฬาสมัครเล่น ตามมาตรา 81(1)(ฑ) และ (ธ) แห่งประมวลรัษฎากร
การจัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการ ให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมใน สาขานาฏศิลป์ สาขาดุริยางคศิลป์และสาขาคีตศิลป์ ซึ่งผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดย ตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากรและ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่ เป็นงานทางศิลปะและ วัฒนธรรมตามมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
(3) การติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง หรือแข่งขันในประเทศไทยของ คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูล ค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) การจ่ายค่าบริการตาม (2) และ (3) ให้แก่ผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นําส่งเงินภาษีมูลค่า เพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(ก) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดง สาธารณะในประเทศไทย หรือคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมา แสดงหรือแข่งขันในประเทศไทยที่ได้เข้ามา ดําเนินการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะในราช อาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
(ข) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นคู่สัญญาที่จัดหา นักแสดงสาธารณะมา แสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย โดยได้ดําเนินการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะในต่างประเทศ
ข้อ ๑๑ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ ขัดแย้งหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๑๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินให้ แก่นักแสดงสาธารณะตั้งแต่วัน ที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,919 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 101/2543 เรื่อง ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึง ได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวม คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 101/2543
เรื่อง ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึง ได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนํามารวม คํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี
ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนว ทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนํา ผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้า ให้แก่ผู้ซื้อใน ประเทศโดยสินค้าดังกล่าวผู้ ประกอบการจดทะเบียนที่ขายต้องนําเข้าจากต่างประเทศ แต่ได้โอนสินค้าดังกล่าวให้ ผู้ซื้อเป็นผู้กระทําพิธีการนําเข้าและ ชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อ เจ้าพนักงานศุลกากรตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบ การจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคํานวณ เป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํา มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคํานวณเป็น มูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็น ผู้ขายต้องเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคํานวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าที่ ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศ
(3) ผู้ซื้อซึ่งนําเข้าสินค้าได้มีการชําระ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จะต้องมีหลักฐานสําเนาใบเสร็จ รับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่ต้องออก ใบกํากับภาษีเพื่อเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 หรือใบส่งของ ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ กรณีการนําเข้าสินค้าซึ่งผู้ซื้อไม่ มีการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงาน ศุลกากรเนื่องจากผู้ซื้อได้วางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ําประกันเพื่อเป็น ประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชําระภาษี หรือผู้ซื้อได้นําเข้าสินค้าที่จําแนกประเภทไว้ใน ภาคว่าด้วยของที่ได้รับยก เว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยก เว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ถือได้ว่า ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ นําเข้าไม่ได้ชําระภาษี มูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จึงไม่มีสําเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ที่ออกให้ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงาน ประเมินตรวจสอบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออก ใบกํากับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ซื้อเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูล ค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องนํามูลค่าของสินค้าที่ ขายมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าให้แก่ผู้ ซื้อในประเทศโดย การขายสินค้าดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไข ที่กําหนดในข้อ 1 แต่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนได้รับชําระเงินล่วง หน้าหรือเงินมัดจําบางส่วนจากผู้ซื้อและได้ออก ใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเงินล่วงหน้าหรือเงินมัดจํานั้นแล้วก่อน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ต่อมามีการนําเข้าสินค้าที่ขาย โดยผู้ประกอบการ จดทะเบียนได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็น ผู้กระทําพิธีการนําเข้าและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อเจ้าพนักงานศุลกากรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป ให้ผู้ประ กอบการจดทะเบียนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสอง ของข้อ 1 สําหรับมูลค่าของสินค้าส่วนที่ยังไม่ได้รับชําระราคา
ข้อ ๔ ในการตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ไม่ว่าการตรวจ คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การตรวจปฏิบัติการ หรือตรวจสอบทั่วไป สําหรับการขายสิน ค้าที่ต้องนําเข้าจากต่างประเทศซึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อ เป็นผู้กระทําพิธีการนําเข้าและชําระ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 ถ้าการขายสินค้าดังกล่าวเข้า ลักษณะและเงื่อนไขตามข้อ 1(1) ถึง (3) แล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะ ได้นํามูลค่าของสิน ค้าที่ขายไปรวมคํานวณมูลค่าของฐาน ภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ก็ตาม ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ปฏิบัติ ถูกต้องแล้ว
ข้อ ๕ การขายสินค้าซึ่งผู้ซื้อได้นําเข้าและ ชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนัก งานศุลกากรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป หากการขายสินค้าดัง กล่าวเข้าลักษณะและเงื่อนไขตาม ข้อ 1(1) ถึง (4) แล้ว ผู้ประกอบการจดทะ เบียนที่ขายสินค้าไม่ต้องนํามูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของ ฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องออกใบกํากับภาษีเพื่อเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเเสียภาษีมูลค่า เพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่ามูลค่าของสินค้าตามสัญญาจะสูงหรือ ต่ํากว่าฐานภาษีจากการนําเข้าสินค้าดังกล่าว
ตัวอย่าง ผู้ประกอบการจดทะเบียนทําสัญญาขายสินค้าราคา 10,000 บาท โดยโอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นผู้นําเข้า ฐานภาษีจากการนําเข้าสินค้า ได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า บวกด้วยค่าธรรมเนียมอื่นจํานวน 9,000 บาท ผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ขายสินค้านั้น ไม่ต้องนําส่วนต่างของราคาสินค้าตามสัญญาและฐานภาษี จากการนําเข้าสินค้าจํานวน 1,000 บาท (10,000 - 9,000) มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องออกใบกํากับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้ออีก
ข้อ ๖ การขายสินค้าซึ่งผู้ซื้อได้นําเข้าและ ชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนัก งานศุลกากรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป หากการขายสินค้าดัง กล่าวเข้าลักษณะและเงื่อนไขตาม ข้อ 1(1) ถึง (4) แล้ว ผู้ประกอบการจดทะ เบียนที่ขายสินค้าไม่ต้องนํามูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของ ฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องออกใบกํากับภาษีเพื่อเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเเสียภาษีมูลค่า เพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่ามูลค่าของสินค้าตามสัญญาจะสูงหรือ ต่ํากว่าฐานภาษีจากการนําเข้าสินค้าดังกล่าว
ตัวอย่าง ผู้ประกอบการจดทะเบียนทําสัญญาขายสินค้าราคา 10,000 บาท โดยโอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นผู้นําเข้า ฐานภาษีจากการนําเข้าสินค้า ได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า บวกด้วยค่าธรรมเนียมอื่นจํานวน 9,000 บาท ผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ขายสินค้านั้น ไม่ต้องนําส่วนต่างของราคาสินค้าตามสัญญาและฐานภาษี จากการนําเข้าสินค้าจํานวน 1,000 บาท (10,000 - 9,000) มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องออกใบกํากับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้ออีก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,920 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 100/2543 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 100/2543
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ในอสังหาริมทรัพย์
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทาง ปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.9/2528 เรื่อง การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ กรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และกรณีที่เจ้าพนัก งานประเมินไม่ต้องกําหนดราคาขาย ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
ข้อ ๒ คําว่า "ขาย" ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึง
(1) การขาย แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การให้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริม ทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน
(ข) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือ รัฐวิสาหกิจนั้น มิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
(2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ ๔ การขายอสังหาริมทรัพย์ กรณีที่มีการถือกรรมสิทธ์รวม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามข้อ 3 มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ดังนี้
(1) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจาก การได้รับมรดก การให้โดยเสน่หา การครอบครองปรปักษ์ หรือจากการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ บุคคลอื่นเข้าถือกรรมสิทธิ์ รวมในภายหลัง ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์ รวมเสียภาษีเงินได้ในฐานะบุคคลธรรมดา โดยแยกเงินได้ตามส่วนของแต่ละ คนที่มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม
(2) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจากการทํานิติกรรมซื้อขาย ขายฝาก หรือแลกเปลี่ยน โดยเข้าถือกรรมสิทธ์รวมพร้อมกัน ให้เสียภาษีเงินได้ในฐานะห้างหุ้นส่วน สามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล แต่หากไม่ได้มีการเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกัน ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์ รวมเสียภาษีเงินได้ในฐานะบุคคลธรรมดา โดยแยกเงิน ได้ตามส่วนของแต่ละคนที่ มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม
ข้อ ๕ การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คํานวณ จากราคาขาย อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานประเมินกําหนดขึ้น ในกรณีโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดย มีหรือไม่มีค่าตอบแทน ไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตาม ปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะ เป็นอย่างไรก็ตาม โดยถือตามราคาประเมิน ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจด ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ วิธีปฏิบัติในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งขาย อสังหาริมทรัพย์ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนําส่งเงินภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน ดังนี้
(1) สําหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหาร ด้วยจํานวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คํานวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจํานวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
(2) สําหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (1) ให้หักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกําหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจาก การขายอสังหาริมทรัพย์ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้ว หารด้วยจํานวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คํานวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจํานวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
คําว่า "จํานวนปีที่ถือครอง" ตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) หมายถึง จํานวนปี นับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
กรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้ ผู้โอนมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนําส่งเงินภาษีต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามวรรคหนึ่ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตาม (1) และ (2) เฉพาะกรณีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากําไรที่ต้องชําระใน ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สํานักงานที่ดิน เมื่อคํานวณภาษีแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย
ข้อ ๗ ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 6 จะเลือกเสียภาษีโดยไม่นําไปรวมคํานวณภาษีกับเงินได้อื่น ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้
(1) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับ จากการให้โดยเสน่หา หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดย มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากําไร ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นําส่งไว้แล้ว
(2) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากําไร แต่ได้ยื่นรายการแสดงเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว และคํานวณภาษีโดยหักค่า ใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควร โดยจํานวนภาษีที่คํานวณได้ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย และเมื่อนําภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 6 มาหักออกแล้วมีภาษีที่ชําระไว้เกิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอคืนภาษี
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง เงินได้จาก การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะเป็น การขายอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่งตามข้อ 6 ไว้แล้ว
ข้อ ๘ ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ที่ได้กระทําภายในห้าปีนับ แต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นําส่งตามข้อ 6 และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว เมื่อถึงกําหนด ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ดังกล่าว ไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอ เครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๙ ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากําไร ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่งไว้ตามข้อ 6 ต้องนําเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์มา รวมคํานวณภาษีกับเงินได้อื่นตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องคํานวณ หักค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควร
ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(1) การโอนโดยทางมรดกซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาท โดยพินัยกรรม
(2) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของตนเองโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตร บุญธรรม
(3) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือ ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะการโอนในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
(4) การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกรณีที่ผู้โอนได้รับค่าตอบแทนเป็นสิทธิในการใช้ทรัพย์สินที่โอนนั้นเพื่อกิจการผลิตสินค้าของตนเอง
(5) การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและ อสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
(6) กรณีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกไปเป็นของบุคคลอื่นตามมาตรา 1367 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือโดยการถูกแย่งการครอบครองและมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืน ซึ่งการครอบครองนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามมาตรา 1375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือโดยการสละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถืออสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไปซึ่ง เป็นเหตุให้การครอบครองสิ้นสุดลงตามมาตรา 1377 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เจ้าของสิทธิครอบครองเดิมไม่อยู่ ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้
อสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลอื่นได้สิทธิครอบ ครองไปตามวรรคหนึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้สิทธิครอบครองจะต้องนํามา คํานวณภาษีเงินได้ตามปกติ
(7) กรณีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกไปเป็น กรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดย การครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เจ้าของ กรรมสิทธิ์เดิมไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้
อสังหาริมทรัพย์ที่ได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามวรรค หนึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรของผู้ได้กรรมสิทธิ์ ซึ่งจะต้องนํามาคํานวณภาษีเงินได้ตามปกติ
(8) การแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง มีราคาของแต่ละฝ่ายเท่ากัน ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
(9) การแก้ไขหรือการเพิ่มเติมชื่อคู่สมรสในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินสมรสไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
(10) กรณีครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้เคียงกันเนื้อที่เท่ากันแต่ถือโฉนดที่ดินไว้ผิดสับเปลี่ยนกัน เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขชื่อในโฉนดให้เป็นการถูกต้องแล้วโดยมิได้มีเจตนาแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
(11) กรณีปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าเป็นตัวแทนถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์แทนตัวการ เมื่อตัวแทนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่ตัวการ โดยไม่ได้รับเงินหรือประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทน การโอนดังกล่าว ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องกําหนดจํานวน เงินเพิ่มขึ้นในการจัดเก็บอากรแสตมป์ ตามมาตรา 123 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(1) กรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดย การขาย ให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลตามความในมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าจํานวนเงินที่ผู้จ่าย เงินดังกล่าวจ่ายนั้นเป็นจํานวนเงิน ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามปกติแล้ว
(2) กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานตาม ที่กล่าวใน (1) เป็นผู้ทอดตลาด ให้ถือว่าจํานวนเงินค่าขายทอดตลาดนั้น เป็นจํานวนเงินที่ได้ รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามปกติแล้ว
(3) กรณีที่มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา ริมทรัพย์ ให้ถือว่าจํานวนเงินค่าทดแทนจาก การเวนคืนดังกล่าวเป็นจํานวนเงินที่ได้รับจาก การขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามปกติแล้ว
ข้อ ๑๒ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัด หรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
สมชาย ศรีสันติสุข
ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพรักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,921 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 99/2543 เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหา กำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 99/2543
เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหา กําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ซึ่งผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับชําระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และกรมที่ดินต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อกรมสรรพากร ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.82/2542 เรื่องการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ กรณีการขายฝากเฉพาะกรณีข้อ 3(6)
(1) การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ถ้าได้กระทําภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) กรณีการรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดก่อนวันที่ 10 เมษายน 2541 ไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 491 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากไม่เคยตกให้แก่ผู้รับซื้อฝากเลยตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2541 ผู้รับไถ่อสังหาริมทรัพย์จึงไม่ต้องนําสินไถ่ไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กรณีการรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสํานักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2541 ทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์ตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541 ดังนั้น การไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รับซื้อฝากย่อมเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 3(15)(ก)แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 365) พ.ศ. 2543 ผู้รับไถ่อสังหาริมทรัพย์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(3) กรณีผู้ขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไถ่ถอนการขายฝากภายหลังกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาหรือภายหลังกําหนดเวลาที่กฎหมายกําหนด เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้รับซื้อฝากกับผู้ขายฝาก ถ้าการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้รับซื้อฝากดังกล่าวได้กระทําภายใน 5 ปีนับแต่วันที่รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ถ้าการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้กระทําภายใน 5 ปีนับแต่วันที่รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(5) กรณีผู้ขายฝากได้ไถ่ถอนการขายฝาก และต่อมาได้ขายอสังหาริมทรัพย์นั้นไป
(ก) กรณีไถ่ถอนการขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดที่ได้กระทําก่อนวันที่ 10 เมษายน 2541 การนับระยะเวลาการได้มาให้นับระยะเวลาที่ขายฝากรวมเข้าด้วย เนื่องจากทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในกําหนดเวลาตามสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่เคยตกไปเป็นของผู้ซื้อฝากตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541
กรณีไถ่ถอนการขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2541 ทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์ ตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ดีหากต่อมาได้มีการขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกิน 5 ปี ย่อมได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3(15)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 365) พ.ศ. 2543
(ข) กรณีไถ่ถอนการขายฝากภายหลังกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาหรือภายหลังกําหนดเวลาที่กฎหมายกําหนด การนับระยะเวลาการได้มาให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ไถ่ถอนการขายฝาก”
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,922 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 98/2543
เรื่อง การชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ สําหรับกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรบางส่วน โดยมิได้ชําระให้ครบถ้วนตามแบบแสดงรายการภาษี หรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.65/2539 เรื่อง การชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2539
ข้อ ๒ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร เช่น การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม แต่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับชําระเงินดังกล่าวไว้ทุกกรณี และให้ถือว่าเป็นการชําระภาษีก่อน ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) จึงให้ชําระเงินเพิ่ม เบี้ยปรับ ตามลําดับ
ข้อ ๓ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน ตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ไม่ว่าจะได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับชําระเงินดังกล่าวไว้ทุกกรณีและให้ถือเป็นการชําระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรตามนัยของข้อ 2 โดยอนุโลม
ข้อ ๔ ให้ใช้แนวทางปฏิบัติตามข้อ 2 และข้อ 3 กับภาษีอากรทุกประเภทที่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเสียตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,923 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 97/2543
เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตาม
มาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนกรณีการส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.33/2536 เรื่อง การส่งออกสินค้าซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ลงวันที่ 24มิถุนายน พ.ศ.2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.70/241 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2541
(2) คําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.41/2537 เรื่อง การส่งออกน้ําตาลทรายที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537
ข้อ ๒ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับคําสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศและผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้ผลิตสินค้า หรือซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้ดําเนินพิธีการศุลกากรยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ ตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ตามมาตรา 77/1(13) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศตามวรรคหนึ่ง มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณภาษีตามมาตรา 80แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตสินค้าดังกล่าวหรือซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ และโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศได้จัดทําใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) หลักฐานการส่งออกสินค้าในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเช่น ใบกํากับสินค้า (Invoice) ใบตราส่ง (Bill of Lading) หรือ Airway Bill
(4) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้ซื้อในต่างประเทศมอบหมายให้ตัวแทน ผู้ทําการแทน หรือสํานักงานสาขาในประเทศไทยเป็นผู้ชําระราคาค่าสินค้าแทน ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ก็ได้
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งสินค้าไปเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ไม่จําต้องมีหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice)
(5) หลักฐานสําเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ตามมาตรา77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ตามมาตรา 77/1(13) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตสินค้าดังกล่าวหรือซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ และโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศได้จัดทําใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) หลักฐานใบกํากับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน
(3) หลักฐานการบรรจุหีบห่อ (Packing List) เว้นแต่สินค้าทีไม่จําต้องบรรจุหีบห่อ เช่น ไม้ เสาเข็ม เป็นต้น ก็ไม่จําต้องมี Packing List เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน
(4) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าว แต่ได้บันทึกรายการส่งออกสินค้าในรายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ บัญชีเงินสดรับหรือบัญชีขาย ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหลักฐานที่แสดงว่ารับชําระราคาค่าสินค้าหรือมีหลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน
(5) หลักฐานใบกํากับภาษีซื้อ และรายงานภาษีซื้อ
(6) หลักฐานสําเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร
ข้อ ๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับคําสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศและผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้อสินค้าดังกล่าวจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ โดยให้โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศเป็นผู้ดําเนินพิธีการศุลกากรยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ เพื่อส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ ตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร การที่โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศขายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคํานวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องจัดทําใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับคําสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นผู้ส่งออกตามมาตรา 77/1(13) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ และโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศได้จัดทําใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ เป็นการขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศไม่มีหน้าที่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ต้องจัดทําใบส่งของให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
(3) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้ซื้อในต่างประเทศมอบหมายให้ตัวแทน ผู้ทําการแทน หรือสํานักงานสาขาในประเทศไทยเป็นผู้ชําระราคาค่าสินค้าแทน ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ก็ได้
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งสินค้าไปเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ไม่จําต้องมีหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice)
(4) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (3) อาจไม่ตรงกับใบกํากับสินค้า (Invoice) ก็ได้ หากปรากฏว่าผู้ซื้อในต่างประเทศได้แยกหลักฐานการชําระราคาค่าสินค้าในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนและโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศออกจากกัน
(5) หลักฐานสําเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในนามของโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ ซึ่งส่งออกสินค้าประเภท ชนิด และจํานวนเท่ากับสินค้าตามหลักฐานตาม (1)
ข้อ ๔ เว้นแต่กรณีตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับคําสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และผู้ประกอบการจดทะเบียนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกหรือซื้อสินค้าดังกล่าวจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศเพื่อส่งออก แต่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศตามคําสั่งซื้อของผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยที่สินค้าดังกล่าวไม่ได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคํานวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องจัดทําใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อในต่างประเทศตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศตามคําสั่งซื้อของผู้ซื้อในต่างประเทศ ถือว่าผู้ซื้อในต่างประเทศขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศ เมื่อลูกค้าในประเทศจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ ลูกค้าในประเทศมีหน้าที่นําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อในต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษี ตามมาตรา83/6(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศแต่ผู้ซื้อในต่างประเทศได้กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งมอบสินค้าให้แก่ตัวแทนของผู้ซื้อซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคํานวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องจัดทําใบกํากับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อในต่างประเทศตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศไม่พร้อมที่จะรับมอบสินค้าและแต่งตั้งให้ตัวแทนของผู้ซื้อเป็นผู้จัดหาสถานที่เก็บรักษาสินค้าเป็นการชั่วคราว
(3) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้ยื่นใบขนสินค้าขาออกต่อกรมศุลกากรเพื่อส่งออกสินค้าที่เก็บรักษาไว้ที่ตัวแทน โดยที่สินค้าดังกล่าวเป็นประเภท ชนิด และจํานวนเท่ากับสินค้าที่ได้บันทึกออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของผู้ประกอบการจดทะเบียน
(4) ระยะเวลาที่ตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศได้รับมอบสินค้าที่ต้องเก็บรักษาไว้แทนผู้ซื้อในต่างประเทศ จะต้องห่างจากระยะเวลาที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนดําเนินการยื่นใบขนสินค้าขาออกต่อกรมศุลกากร ไม่เกิน 180 วัน
(5) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ส่งออกสินค้าที่เก็บรักษาไว้ที่ตัวแทนไปให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศตามสถานที่ที่ผู้ซื้อกําหนดเท่านั้น และต้องไม่ปรากฎว่าได้มีการขายสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้ออื่นใดอีกไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศ
(6) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้ซื้อในต่างประเทศมอบหมายให้ตัวแทน ผู้ทําการแทน หรือสํานักงานสาขาในประเทศไทยเป็นผู้ชําระราคาค่าสินค้าแทน ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ก็ได้
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งสินค้าไปเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ไม่จําต้องมีหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice)
ข้อ ๖ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากรจะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในเขตอุตสาหกรรมส่งออกซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น
(3) หลักฐานสําเนาคําร้องขอนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามแบบที่กรมศุลกากรกําหนดในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสําเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมสีน้ําเงิน สําหรับกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขอใช้สิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรหรือขอคืนอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุอัตราภาษีร้อยละ 0
ข้อ ๗ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการขายสินค้าระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกไม่ว่าจะอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเดียวกันหรือไม่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนในคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกไม่ว่าจะอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเดียวกันหรือไม่ เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น
(3) หลักฐานสําเนาหนังสือขออนุญาตต่อการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อนําของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือสําเนาใบขนคลังสินค้าทัณฑ์บนตามแบบที่กรมศุลกากรกําหนดซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสําเนาคําร้องขอนําสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามแบบที่กรมศุลกากรกําหนด ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรอง แล้ว หรือสําเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือในเขตอุตสาหกรรมส่งออก แล้วแต่กรณี เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุอัตราภาษีร้อยละ 0
ข้อ ๘ กรณีการส่งออกสินค้าที่มีการโอนส่วนจัดสรรหรือแลกเปลี่ยนส่วนจัดสรรตามหลักเกณฑ์ที่กรมการค้าต่างประเทศกําหนด ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้โอนและผู้รับโอน หรือผู้แลกเปลี่ยนและผู้ให้แลกเปลี่ยนเป็นผู้ส่งออกรับอนุญาตที่จดทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ และได้รับสิทธิจัดสรรโควต้า และได้รับอนุมัติให้โอนหรือแลกเปลี่ยนส่วนจัดสรรจากกรมการค้าต่างประเทศ โดยประเภทส่วนจัดสรรที่โอนหรือแลกเปลี่ยน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมการค้าต่าง ประเทศกําหนด
(2) หลักฐานที่แสดงการรับชําระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) ในนามเจ้าของสินค้า และหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าที่กรม การค้าต่างประเทศออกให้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นประเภทและมีจํานวนเท่ากับสินค้าที่ได้ บันทึกออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของเจ้าของสินค้า
ข้อ ๙ กรณีการส่งออกสินค้าที่มีส่วนจัดสรรโดยเจ้าของสินค้าใช้ชื่อส่วนจัดสรร ของบุคคลอื่น เจ้าของสินค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าเจ้าของสินค้าและเจ้าของส่วนจัดสรรเป็นผู้ส่ง ออกรับอนุญาตที่จดทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ โดยเจ้าของส่วนจัดสรรมีส่วนจัดสรรเหลืออยู่จริง และเจ้าของส่วนจัดสรรยินยอมให้เจ้าของสินค้าใช้ส่วนจัดสรรดังกล่าว
(2) หลักฐานการโอนสิทธิการรับชําระเงินตามใบกํากับสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้า และหลักฐานแสดงการรับชําระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) ในนามเจ้าของสินค้า
(3) หลักฐานการส่งออก และหนังสือรับรองการส่งออกที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้เป็นภาษาอังกฤษโดยระบุชื่อเจ้าของส่วนจัดสรรซึ่งเป็นประเภทและมีจํานวนเท่ากับสินค้าที่ได้บันทึกออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของเจ้าของสินค้า
ข้อ ๑๐ กรณีการส่งออกสินค้าในนามบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (Trading Company) ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน เจ้าของสินค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานของกรมการค้าต่างประเทศอนุมัติให้มอบสิทธิการส่งออกให้บริษัทการค้าระหว่างประเทศ โดยระบุประเภทส่วนจัดสรร สินค้า ประเทศผู้นําเข้า และหลักฐานการชําระค่าตอบแทน (ถ้ามี) ในหลักฐานดังกล่าว
(2) หลักฐานการส่งออก และหนังสือรับรองการส่งออกที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้เป็นภาษาอังกฤษโดยระบุชื่อบริษัทการค้าระหว่างประเทศซึ่งสินค้าส่งออกเป็นประเภทและมีจํานวนเท่ากับสินค้าที่ได้บันทึกออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของเจ้าของสินค้า
(3) หลักฐานการชําระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) ในนามเจ้าของสินค้า หรือในนามบริษัทการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๑๑ การส่งออกน้ําตาลทรายของโรงงานน้ําตาลทรายโดยผ่านตัวแทนในการส่งออก ทั้งบริษัทอ้อยและน้ําตาลไทย จํากัด หรือบริษัทส่งออกอื่น โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย และได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตให้ส่งออกน้ําตาลทราย ตามกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ําตาลทราย โดยครบถ้วน ถือว่าโรงงานน้ําตาลทรายเป็นผู้ส่งออก ตามมาตรา 77/1(13) แห่งประมวล รัษฎากร ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับตัวแทนในการส่งออกทั้งบริษัทอ้อยและน้ําตาลไทยจํากัด หรือบริษัทผู้ส่งออกอื่นถือเป็นผู้ให้บริการ และดําเนินพิธีการส่งออกแทนโรงงานน้ําตาลทราย ตามมาตรา77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตัวแทนในการส่งออกดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มจากค่าบริการที่ได้รับจากโรงงานน้ําตาลทราย ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
โรงงานน้ําตาลทรายตามวรรคหนึ่ง จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าโรงงานน้ําตาลทรายเป็นเจ้าของโควต้าตามชนิดและปริมาณน้ําตาลทรายที่คณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทรายกําหนด
(2) หนังสือสัญญาการแต่งตั้งตัวแทน ระหว่างโรงงานน้ําตาลทราย กับบริษัทอ้อยและน้ําตาลไทย จํากัด และหรือบริษัทผู้ส่งออกอื่น เพื่อทําสัญญาซื้อขายและ ดําเนินการส่งออกแทน
(3) คําร้องขอรับหนังสืออนุญาตให้ส่งน้ําตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและปริมาณน้ําตาลที่โรงงานน้ําตาลทรายผลิตได้จริง ชนิดและปริมาณน้ําตาลทรายที่ขอส่งออก ตลอดจนชนิดและปริมาณน้ําตาลทรายคงเหลือ
(4) หนังสืออนุญาตให้ส่งน้ําตาลทรายตาม (3) ออกนอกราชอาณาจักร
(5) ใบอนุญาตให้ส่งน้ําตาลทรายไปนอกราชอาณาจักร ที่ได้ดําเนินการส่งออกเรียบร้อยแล้ว
(6) หลักฐานการรับมอบน้ําตาลทรายลงเรือ (กรณีส่งออกทางเรือ) หรือบรรทุกรถยนต์ (กรณีส่งออกทางบก) หรือบรรทุกเครื่องบิน (กรณีส่งออกทางอากาศ) ที่ผู้ประกอบการขนส่ง หรือผู้รับมอบอํานาจรับรองชนิดและปริมาณของน้ําตาลทรายที่ส่งออกหรือหนังสือกํากับการขนย้ายน้ําตาลทรายซึ่งจัดทําโดยคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
ข้อ ๑๒ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้อน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตหรือผู้นําเข้า และได้ขายน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามันดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซื้อน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จากผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้อน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จากผู้ผลิตหรือผู้นําเข้า
(3) หลักฐานของกรมศุลกากรที่แสดงว่าผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าได้จัดทําใบอนุญาตนําน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามันตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตขึ้นอากาศยานหรือลงเรือเดินทะเล หรือหลักฐานที่แสดงว่ากรมศุลกากรอนุญาตให้นําน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามันดังกล่าวขึ้นอากาศยานหรือลงเรือเดินทะเล
(4) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น
ข้อ ๑๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยว่าจ้างผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศให้จัดส่งสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากรจะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ว่าจ้างผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศให้จัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ
(3) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศได้รับสินค้าที่จะดําเนินการส่งออกจากผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ
(ข) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อในต่างประเทศ
(ค) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า
(ง) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร
(4) หลักฐานสําเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร
(5) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้นเว้นแต่กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งสินค้าไปเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ไม่จําต้องมีหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice)
ข้อ ๑๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยว่าจ้างผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) ให้จัดส่งสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ว่าจ้างผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) หรือทําสัญญาเช่าตู้คอนเทนเนอร์ (Container) จากผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) ให้ดําเนินการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศแทนผู้ประกอบการจดทะเบียน
(3) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) ได้รับสินค้าที่จะดําเนินการส่งออกจากผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ
(ข) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อในต่างประเทศ
(ค) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า
(ง) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสา
(4) หลักฐานสําเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) ที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร
(5) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทํา T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านําเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้นเว้นแต่กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งสินค้าไปเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ไม่จําต้องมีหลักฐานแสดงว่าจะมีการชําระราคาค่าสินค้าตามใบกํากับสินค้า (Invoice)
ข้อ ๑๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนส่งสินค้าไปต่างประเทศโดยทางไปรษณีย์จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากรจะต้องมีหลักฐานสําเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน
ข้อ ๑๖ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อนําติดตัวออกไปนอกราชอาณาจักรเอง โดยมิได้กระทําพิธีการศุลกากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เว้นแต่กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการ ซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้ซื้อดังกล่าวได้ผ่านการตรวจลงตราจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและได้ผ่านการตรวจสินค้าจากพนักงานศุลกากรแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าที่มีสถานประกอบการ ซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศ ยานนานาชาติ
ในการขออนุมัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัดที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขอ
(ก) หนังสืออนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้ประกอบกิจการขายสินค้าภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ
(ข) สําเนาหรือภาพถ่ายสัญญาเช่าพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ ซึ่งได้ทํากับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
(ค) สําเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20
(ง) แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ และแผนผังแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการในกรณีมีสถานประกอบการตั้งอยู่ภายในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติด้วย
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ใช้ออกใบกํากับภาษีอย่างย่อในสถานประกอบการและสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ จะต้องจัดทําแผ่นป้ายที่มีข้อความ "NO VAT" หรือ "TAX FREE" และจะต้องแสดงแผ่นป้ายดังกล่าวไว้ ณ ที่เปิดเผย ซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มี ลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ทั้งนี้ สถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยดังกล่าวต้องตั้งอยู่ภายในบริเวณที่ผู้ซื้อที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรได้ผ่านการตรวจลงตราจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และได้ผ่านการตรวจสินค้าจากพนักงานศุลกากรแล้ว
(4) หลักฐานแสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้ยื่นใบขนสินค้าขาออก (พิเศษ) ต่อกรมศุลกากร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกําหนด และต้องเก็บและรักษาสําเนาใบขนสินค้าขาออก (พิเศษ) ดังกล่าวพร้อมทั้งรายงานการขาย (Sales Report) ไว้ ณ สถานประกอบการและสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ทันที
รายงานการขายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังนี้
(ก) ชื่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ
(ข) รหัสของหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย
(ค) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่กรมสรรพากรกําหนด
(ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี
(จ) ชื่อผู้ซื้อสินค้า
(ฉ) หมายเลขเที่ยวบินที่ผู้ซื้อสินค้าที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(ช) หมายเลขหนังสือเดินทางของผู้ซื้อสินค้าที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(ซ) ชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้า โดยอาจแสดงเป็นรหัสก็ได้
(ฌ) ปริมาณของสินค้า
(ญ) ราคาของสินค้า
(ฎ) วัน เดือน ปี และเวลา ที่ออกใบกํากับภาษี
ข้อ ๑๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,924 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543 เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 96/2543
เรื่อง การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้มีเงินได้และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ให้คํานวณหาจํานวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นําเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
(ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12
(ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24
(ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52
การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทํางานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทํางานด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสําหรับปีนั้น เช่น เข้าทํางานวันที่ 1 เมษายน และกําหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จํานวนคราวที่จะต้องจ่ายสําหรับปีที่เข้าทํางานจะเท่ากับ 9
(2) ให้นําจํานวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นํามาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สําหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น
การคํานวณหักค่าลดหย่อน ให้คํานวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสําเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01(แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ ให้คํานวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คํานวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น
กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คํานวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
(3) ให้นําจํานวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คํานวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น
ถ้าการหารด้วยจํานวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด ให้เพิ่มเงินเท่าจํานวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจํานวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี
(4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจํานวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คํานวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) - (3)
(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นําเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจํานวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นํามารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คํานวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคํานวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นําภาษีที่คํานวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสําหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นํามารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น
(6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคํานวณหาจํานวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คํานวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนําส่งไว้เท่านั้น หากคํานวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นําเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคํานวณครั้งแรก หากคํานวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นําเงินภาษีที่หักและนําส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนําส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คํานวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป
(7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นําเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก
(8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจํานวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจํานวนภาษีที่จะต้องชําระ ให้นําเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้น ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคํานวณภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจํานวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น โดยนําจํานวนภาษีที่ได้หักและนําส่งไว้แล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนําส่งไว้เท่านั้น เช่น
นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจํานวน 20,140 บาท ซึ่งจะต้องถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี (คํานวณตามข้อ 1) และนําส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2 เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินภาษีที่หักและนําส่งไว้แล้ว = (928.33 X 9) + (4,315 X 2) = 16,984.97 บาท เหลือภาษีที่จะต้องหักและนําส่งในเดือนธันวาคม = 20,140 - 16,984.97 = 3,155.03 บาท
ข้อ ๓ การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคํานวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นํามาแสดงโดยนําเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้นได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนําส่งไว้เท่านั้น เช่น
นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคํานวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 1,008.33 บาท ภาษีที่หักไว้ไม่ครบ = (1,008.33 - 928.33) X 5 = 400 จึงต้องหักภาษีและนําส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 1,008.33 + 400 = 1,408.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด) นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคํานวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 803.33 บาท ภาษีที่หักไว้เกิน = (928.33 - 803.33) X 5 = 625 จึงต้องหักภาษีและนําส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 803.33 - 625 = 178.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน)
ข้อ ๔ การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนอื่นนอกจากกรณีตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังคงต้องคํานวณภาษีและหัก ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่กล่าวในข้อ 1
ข้อ ๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,925 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 95/2543 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่ายตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 95/2543
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่ายตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.76/2541 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่ายตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนหรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าวมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๔ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทําสัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๕ ในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4
สถาบันการเงิน หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) ธนาคารออมสิน
(3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ให้หมายความรวมถึง ผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๖ ให้นําความในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 มาใช้บังคับกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้อื่นกับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
เจ้าหนี้อื่น หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๗ กรณีสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์หากการโอนดังกล่าวเป็นการโอนตามราคายุติธรรม (fair value) หรือไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นหลังจากกันเงินสํารองตามเกณฑ์ทยอยกันของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ถือว่าการโอนดังกล่าวมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ กรณีสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง แต่มีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง กู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ยหรือมีดอกเบี้ยต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ยหรือมีดอกเบี้ยต่ํากว่าราคาตลาด เพื่อ
(1) รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือ
(2) ใช้ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
ข้อ ๙ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,926 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 94/2543 เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือ หากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 94/2543
เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือ หากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานกรมสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6)แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ซึ่งผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์พร้อมกับชําระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และกรมที่ดินต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อกรมสรรพากรตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ.2541 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ของข้อ 5แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.82/2542 เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
“กรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะตามวรรคหนึ่ง มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับชําระภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แต่ชําระภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน จะต้องรับผิดดังนี้
(1) กรณีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท ตามมาตรา 90 และมาตรา 91/21 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมกับรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ไม่ได้ชําระ ตามมาตรา 89(2) และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ไม่ได้ชําระ ตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจ-เฉพาะแล้ว แต่ชําระไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ชําระไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 89(3) และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ชําระไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ถ้าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสอง มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถูกต้องครบถ้วน ก็ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ พร้อมกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ชําระค่าปรับทางอาญา ณ สํานักงานสรรพากรอําเภอ หรือสํานักงานสรรพากรอําเภอ (สาขา) ส่วนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะให้ดําเนินการตามวรรคสาม”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของวรรคหนึ่ง ของข้อ 6 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.82/2542 เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2542
“(4) กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ตกลงเป็นผู้ออกค่าภาษีธุรกิจเฉพาะและหรือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมายแทนผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ให้นําเงินค่าภาษีธุรกิจเฉพาะและหรือค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อออกแทนให้ดังกล่าวรวมกับรายรับตาม (1)(2)หรือ (3) เป็นฐานภาษีในการคํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย”
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,927 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 93/2542 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนำผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ สำหรับกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 93/2542
เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร0
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ
สําหรับกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ ๑ ให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้เป็น (5) และ (6) ของข้อ 1 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.46/2537 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.83/2542 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
“(5) การแก้ไขวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี อันเนื่องจากการปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกํากับภาษีกํากับการแก้ไข หรือประทับตรายางวันเดือนปีที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และให้แก้ไขได้ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000
(6) การแก้ไขวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี อันเนื่องจากการปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2000 พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกํากับภาษีกํากับการแก้ไข หรือประทับตรายางวันเดือนปีที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และให้แก้ไขได้ภายในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2000 ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,928 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 92/2542 เรื่อง การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 92/2542
เรื่อง การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และ
มาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ สําหรับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.18/2530 เรื่อง การพิจารณาลดหรืองดเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลยื่นแบบแสดงรายการมีผลขาดทุนสุทธิ ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2530
ข้อ ๒ เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ได้เฉพาะกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินต้องพิจารณาทั้งสองกรณีประกอบกัน
ข้อ ๓ บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ซึ่งมีการกระทําดังต่อไปนี้ให้ถือว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร
(1) สําคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญของการเสียภาษีอย่างชัดแจ้ง ตัวอย่างเช่น
(ก) รายการทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้หรือรายรับ แต่ทางภาษีถือเป็นรายได้หรือรายรับ และรายการทางบัญชีถือเป็นรายจ่ายแต่ทางภาษีไม่ถือเป็นรายจ่าย
(ข) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
(ค) ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามที่อธิบดีกําหนด แต่ไม่ผิดประเภทภาษี เช่น มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.90 แต่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.91
(ง) ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกําหนดเวลา เนื่องจากเข้าใจว่าวันที่ครบกําหนดเวลายื่นรายการเป็นวันหยุดราชการ เช่น วันที่1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันหยุดธนาคาร ซึ่งวันหยุดดังกล่าวเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแต่ไม่ใช่วันหยุดราชการ
(จ) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน ณ สถานประกอบการแห่งหนึ่ง ต่อมาได้แจ้งย้ายสถานประกอบการที่ได้รับอนุมัตินั้นไปอยู่ที่อื่น และได้แยกยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ
(ฉ) กรอกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 โดยนํายอดขาย หรือยอดซื้อ ของสถานประกอบการสาขามารวมคํานวณกับสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ โดยไม่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีรวมกัน
(ช) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนําไปหักออกจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มีการกระทําที่ผิดพลาดในการเสียภาษีโดยมีเหตุอันสมควร ตัวอย่างเช่น
(ก) กรอกแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามช่องรายการที่กําหนดในแบบแสดงรายการภาษี
(ข) กรอกแบบแสดงรายการภาษีโดยคํานวณภาษีถูกต้อง แต่ไม่ตรงตามเดือนภาษี ปีภาษี หรือรอบระยะเวลาบัญชี
(3) คํานวณเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากพนักงานของผู้เสียภาษีได้กระทําการทุจริตและมีหลักฐานแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
(4) ตรวจพบความผิดพลาดเอง และได้พยายามแก้ไขความผิดพลาดนั้นแล้ว แต่ก็ยังชําระภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน
(5) เริ่มประกอบกิจการ และกระทําความผิดเป็นครั้งแรก โดยมิใช่กรณีใช้ใบกํากับภาษีปลอมในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) มีเหตุสุดวิสัยทําให้ไม่สามารถนําบัญชีเอกสารหรือหลักฐานการเสียภาษีส่งมอบต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๔ บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ซึ่งมีการกระทําดังต่อไปนี้ให้ถือว่าให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
(1) ปฏิบัติตามหมายเรียก หนังสือเชิญพบ หรือหนังสืออื่นด้วยดีชี้แจงขั้นตอน และวิธีการในการประกอบกิจการโดยไม่ปิดบังข้อเท็จจริง
(2) นําบัญชี เอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชี หลักฐานการเสียภาษี และหลักฐานการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพียงพอแก่การตรวจสอบ จนทําให้การตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้น
(3) เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมาเองบางส่วน และบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของตนจริง และยังได้นําเอกสารที่เกี่ยวข้องมาส่งมอบเพิ่มเติมให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพียงพอแก่การตรวจสอบ จนทําให้การตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้น
(4) อํานวยความสะดวกให้แก่เจ้าพนักงานประเมินกรณีเจ้าพนักงานประเมินได้เข้าตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ ณ สถานประกอบการ
ข้อ ๕ บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ซึ่งมีการกระทําดังต่อไปนี้ไม่ให้เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นสมควรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
(1) กระทําความผิดซ้ําในประเด็นหรือกรณีเดียวกันกับความผิดที่เจ้าพนักงานประเมินได้เคยตรวจสอบ ได้เคยแจ้งความผิดให้ทราบ และได้แนะนําให้แก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่ การกระทําความผิดดังกล่าวไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินเข้าตรวจสอบครั้งต่อไป
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบแสดงรายการมีผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยยังไม่รวมผลขาดทุนสุทธิยกมา แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบ ปรากฏว่ามีกําไรสุทธิต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ กรณีการตรวจสอบว่ามีกําไรสุทธิเกิดจากผู้เสียภาษีสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญของการเสียภาษีอย่างชัดแจ้งตามข้อ 3(1)
(3) เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมาเองบางส่วน โดยบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มไม่ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของตนและไม่ยอมรับว่าถูกต้อง ทําให้เจ้าพนักงานประเมินต้องเสียเวลาตรวจสอบเอกสารยืนยันความถูกต้องของเอกสาร และค้นหาหลักฐานเพิ่มเติมอีก
ข้อ ๖ หลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากร หมายถึง พยานหรือหลักฐานทุกชนิดที่ปรากฏเป็นข้อมูลอย่างชัดเจน สามารถใช้แสดงประกอบหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายได้ รายรับ หรือฐานภาษีอากรที่จะคํานวณเพื่อประเมินหรือสั่งเรียกเก็บภาษีอากรได้เช่น หนังสือสําคัญเกี่ยวกับการซื้อขาย จะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ หรือจําหน่าย จ่าย โอน โดยมีผลประโยชน์ตอบแทน การกู้ยืมเงิน จํานํา จํานอง จ้างทําของ เช่า หรือ สัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่น เอกสารใบรับของหรือสินค้า บันทึกเกี่ยวกับการรับเงิน การชําระหนี้ ปลดหนี้ สมุดบัญชีและเอกสารทางการเงินต่างๆ เอกสารในสํานวนคดีความของศาล เช่น สัญญาประนอมหนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความ คําให้การหรือคํารับสารภาพด้วยความสมัครใจในสํานวนคดีความดังกล่าว
บัตรสนเท่ห์ หนังสือร้องเรียนกล่าวหาแจ้งข่าว ซึ่งไม่อาจพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงแห่งคําร้องเรียน กล่าวหา หรือแจ้งข่าวนั้น ไม่ถือเป็นหลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากร
ข้อ ๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,929 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 91/2542 เรื่อง ความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และการหักภาษี ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 91/2542
เรื่อง ความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และการ
หักภาษี ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณากรณีความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และการหักภาษี ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ต้องยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ ไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ ตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ มีสิทธิยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการ อําเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 3 อัฏฐวรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหัก ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหัก ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(4)(ก) และ (ช) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหัก ตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหัก ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(5) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหัก ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไม่ได้ยื่นรายการและนําส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ได้นําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชําระตามจํานวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและไม่ได้นําส่ง ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรและต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ ได้ออกเงินค่าภาษีแทนผู้มีเงินได้ โดยนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด แต่นําเงินส่งไว้ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชําระตามจํานวนเงินภาษีที่ขาดไป ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ได้ออกเงินค่าภาษีแทนผู้มีเงินได้ โดยนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ไว้ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินและผู้มีเงินได้พ้นความรับผิดที่จะต้องชําระเงินภาษีเท่าจํานวนที่ผู้จ่ายเงินได้นําส่งไว้ครบจํานวนที่ถูกต้อง ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ไว้ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินและผู้มีเงินได้พ้นความรับผิดที่จะต้องชําระเงินภาษีเท่าจํานวนที่ผู้จ่ายเงินได้นําส่งไว้ครบจํานวนที่ถูกต้อง ตามมาตรา 54 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชําระตามจํานวนเงินภาษีที่ขาดไป ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรและต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่ง โดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๗ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ครบจํานวนที่ถูกต้อง แต่ได้นําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง หรือไม่นําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะต้องชําระเงินภาษีเท่าจํานวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้แล้วนั้น และผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดชําระเงินภาษีจํานวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ กรณีรัฐบาล หรือองค์การของรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินที่จะตรวจสอบให้แน่ว่าจํานวนเงินภาษีที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น ได้คํานวณ และจดไว้ในฎีกาเบิกเงินแล้ว และให้เป็นหน้าที่ที่จะหักเงินจํานวนนั้นก่อนจ่าย ตามมาตรา 53 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีจํานวนเงินภาษีที่จะต้องหัก ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง ไม่ได้มีการตั้งฎีกาเบิกเงิน ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 7 โดยอนุโลม
ข้อ ๙ การคํานวณเงินเพิ่มตามข้อ 2 ถึงข้อ 8 ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการหรือนําส่งภาษีจนถึงวันที่ชําระหรือนําส่งภาษี แต่เงินเพิ่มที่คํานวณได้ไม่ให้เกินจํานวนภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่งนั้นจะเกิดจากการยื่นรายการหรือนําส่งภาษีเอง หรือจากการประเมินหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๑๐ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่ง หรือได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่งแล้ว แต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้องตามข้อ 2 ถึงข้อ 8 แต่ผู้มีเงินได้ได้นําเงินได้พึงประเมินตามจํานวนที่ไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือตามจํานวนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีแล้ว ถือว่าผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ชําระหนี้ภาษีแล้ว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงหลุดพ้นจากหนี้ภาษี เฉพาะเงินภาษีที่ต้องชําระต่อกรมสรรพากร ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายยังคงต้องรับผิดชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
การคํานวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการหรือนําส่งภาษี จนถึงวันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีครบจํานวนที่ถูกต้อง แต่เงินเพิ่มที่คํานวณได้ไม่ให้เกินจํานวนภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่ง
ข้อ ๑๑ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นําเงินส่งกรมสรรพากรหรือนําเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว สําหรับผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจํานวนเงินภาษีเท่ากับจํานวนที่ถูกหักไว้ ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้จึงมีสิทธินําเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจํานวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 60 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้
กรณีให้ถือเป็นเครดิตในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้มีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จ จริงว่า ผู้มีเงินได้ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จริง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจะได้นําเงินส่งกรมสรรพากรหรือไม่ หรือนําเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้องก็ตาม
กรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่า ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แต่ไม่ได้นําเงินส่งกรมสรรพากรหรือนําเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานประเมินดําเนินการทางแพ่งและทางอาญากับผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้นําส่งเงินภาษีให้ครบจํานวนที่ถูกต้องต่อไป
ข้อ ๑๒ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่ง หรือได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนําส่งแล้ว แต่ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้องตามข้อ 2 ถึงข้อ 8 เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมินเรียกเก็บภาษีดังกล่าวจากผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินก่อน แต่ถ้าเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินไม่ได้หรือไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอํานาจประเมินภาษีผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร หรือออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี เพื่อประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามมาตรา 22 มาตรา 26และมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ครบจํานวนที่ถูกต้องต่อไป
การคํานวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการหรือนําส่งภาษี จนถึงวันที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งภาษีครบจํานวนที่ถูกต้อง หรือวันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชําระภาษีครบจํานวนที่ถูกต้อง แล้วแต่กรณี แต่เงินเพิ่มที่คํานวณได้ไม่ให้เกินจํานวนภาษีที่ต้องเสียหรือนําส่ง
ข้อ ๑๓ กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 50(5) และมาตรา 50(6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นําส่งเงินภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทํา หรือบันทึกจนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นําส่งไว้ครบจํานวนที่ถูกต้องแล้ว ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งประมวล รัษฎากร
กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 8 โดยอนุโลม
ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนําส่งเงินภาษีตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาใช้บังคับกับผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนําส่งเงินภาษีตามข้อ 1 ถึงข้อ 9 มาใช้บังคับในกรณีผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายและนําส่งเงินภาษี ซึ่งต้องยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,930 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 87/2542 เรื่อง การยื่นแบบและการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 87/2542
เรื่อง การยื่นแบบและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับกรณีการยื่นแบบและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีส่วนราชการเป็นผู้ทอดตลาดและได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ส่วนราชการต้องจัดทําใบเสร็จรับเงินส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาด และจัดทําสําเนาใบเสร็จรับเงินส่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินตามมาตรา 83/5 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ใบเสร็จรับเงินตามวรรคหนึ่ง เป็นใบกํากับภาษีตามมาตรา 77/1 (22) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตามสําเนาใบเสร็จรับเงินตามวรรคหนึ่ง ไปลงรายการในรายงานภาษีขาย ตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร และนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ซื้อในการขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ซื้อมีสิทธินําใบเสร็จรับเงินของส่วนราชการไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๒ กรณีส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด ส่วนราชการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน และผู้ซื้อในการขายทอดตลาด ยังคงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามข้อ 1
ข้อ ๓ กรณีส่วนราชการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามข้อ 1 และข้อ 2 ไม่รวมถึงการขายของลักลอบหนีศุลกากร หรือการขายทรัพย์สินของส่วนราชการซึ่งตามกฎหมายต้องดําเนินการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นก่อนที่ของหรือทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของแผ่นดิน
ข้อ ๔ กรณีผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการและได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ทอดตลาดต้องจัดทําใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน ตามมาตรา 86/3 แห่งประมวลรัษฎากร โดยส่งมอบต้นฉบับ ใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาด และส่งมอบสําเนาใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน
ผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ผู้ดําเนินการในการขายทอดตลาดซึ่งประกอบกิจการเป็นอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจการขายทอดตลาด
การจัดทําใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบพิมพ์ใบกํากับภาษีของผู้ทอดตลาด และต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําว่า " ใบกํากับภาษี " ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ทอดตลาดที่จัดทําใบกํากับภาษี
(3) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งรายการดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
(4) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อทรัพย์สิน
(5) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม(ถ้ามี)
(6) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของทรัพย์สิน
(7) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของทรัพย์สิน โดยให้แยกออกจากมูลค่าของทรัพย์สินให้ชัดแจ้ง
(8) วัน เดือน ปี ที่จัดทําใบกํากับภาษี
กรณีผู้ซื้อในการขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ซื้อมีสิทธินําใบกํากับภาษีตามวรรคสามไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๕ ผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการตามข้อ 4 มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.36) ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียต่อกรมสรรพากร ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ขายทอดตลาด และผู้ซื้อในการขายทอดตลาดจ่ายเงินค่าทรัพย์สินให้แก่ผู้ทอดตลาด
ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินซึ่งได้รับสําเนาใบกํากับภาษีจากผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการตามข้อ 4 ไม่ต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามสําเนาใบกํากับภาษีไปลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ผู้ทอดตลาดตามวรรคหนึ่ง ส่งมอบต้นฉบับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน และถ่ายเอกสารใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ทันที
ข้อ ๖ ระเบียบ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือแนวทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,931 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 86/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําใบกํากับภาษี
ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5
แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และหรือมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูปจะต้องจัดทําใบกํากับภาษีทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า หรือให้บริการพร้อมกับการชําระราคาค่าบริการ โดยเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการรายหนึ่งรายใดเป็นจํานวนหลายครั้งในหนึ่งวันทําการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสามารถจัดทําใบกํากับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทําการสําหรับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการรายนั้นก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.155/2560 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีการกระทําดังต่อไปนี้ ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) หรือการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น โดยไม่จําต้องจัดทําใบกํากับภาษี
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ โดยไม่ได้นําสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อนําสินค้าไปใช้หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นเพื่อใช้ ตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
ตัวอย่าง บริษัท ก.จํากัด ประกอบกิจการผลิตสีทาอาคารและกิจการขายบ้านพร้อมที่ดิน บริษัทฯได้นําสีไปใช้ทาบ้านที่ขาย บริษัทฯ มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสีที่นําไปทาบ้านเพื่อขาย
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สินค้าที่นําไปใช้เป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตและสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ดังกล่าว ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อนําสินค้าไปใช้หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นเพื่อใช้ ตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
ตัวอย่าง
(ก) บริษัท ก.จํากัด ประกอบกิจการขายรถยนต์นั่ง โอนรถยนต์นั่งที่ซื้อไว้เพื่อขายไปใช้ในการบริหารงานของกิจการโดยนําไปเป็นรถประจําตําแหน่ง บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของรถยนต์นั่งที่นําไปใช้
(ข) บริษัท ข.จํากัด ประกอบกิจการขายน้ํามันเชื้อเพลิง ได้นําน้ํามันเชื้อเพลิงไปเติมรถยนต์นั่งที่ใช้ในการบริหารงานของกิจการ บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของน้ํามันเชื้อเพลิงที่เติมในรถยนต์นั่ง
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 8 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189(พ.ศ.2534)ฯลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือทั้งกรณีที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ วันเลิกประกอบกิจการ ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 9 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือทั้งกรณีที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับแจ้งคําสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 10(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือทั้งกรณีที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 10(2) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
(7) ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆโดยไม่ได้นําบริการและหรือนําสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ตามมาตรา 78/1(1)(ข) และมาตรา 78/1(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง บริษัท ก.จํากัด ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ได้นําเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ไปใช้ก่อสร้างอาคารเพื่อขาย บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของค่าบริการซึ่งรวมค่าวัสดุก่อสร้างด้วย
(8) ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําบริการและหรือนําสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นบริการที่นําไปใช้เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ตามมาตรา 78/1(1)(ข) และมาตรา 78/1(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง บริษัท ก.จํากัด ประกอบกิจการขายผลิตภัณฑ์อาหารได้นําผลิตภัณฑ์อาหารไปใช้เลี้ยงรับรองให้แก่ลูกค้าซึ่งมาดูงานของบริษัทฯ บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์อาหารที่นําไปเลี้ยงรับรอง
(9) ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําบริการและหรือนําสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นบริการที่นําไปใช้กับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ตามมาตรา 78/1(1)(ข) และมาตรา 78/1(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง บริษัท ก.จํากัด ประกอบกิจการขายรถยนต์และรับจ้างซ่อมรถยนต์ ได้ซื้อรถยนต์นั่งมาใช้ในการบริหารงานของกิจการ ถ้าบริษัทฯซ่อมรถยนต์นั่งที่ซื้อมาใช้ในกิจการ บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการซ่อมรถยนต์นั่ง
(10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจําหน่าย จ่าย โอนสินค้า โดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง
(ก) บริษัท ก.จํากัด นําอาหารกระป๋องที่ผลิตหรือซื้อมาเพื่อขาย แจกให้แก่พนักงาน เพื่อนําไปบริโภคที่บ้านนอกเวลาปฏิบัติงาน บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของอาหารกระป๋องที่นําไปแจก
(ข) บริษัท ข.จํากัด ประกอบกิจการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนยานพาหนะ บริษัทฯมีข้อบังคับและประกาศจ่ายรางวัลสําหรับพนักงานเพื่อเป็นขวัญกําลังใจในการทํางานติดต่อกันโดยไม่หยุดงาน เช่น ทํางานมา 5 ปี ได้ทองคําหนัก 2 บาท ทํางานมา 4 ปี ได้ทองคําหนัก 1 บาท บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของทองคําที่นําไปแจกเป็นรางวัล
(ค) บริษัท ค.จํากัด ประกอบกิจการผลิตและขายยางรถยนต์บริษัทฯมีเงื่อนไขเพื่อส่งเสริมการขายว่า หากลูกค้าซื้อสินค้าจากบริษัทฯครบจํานวนตามที่กําหนด บริษัทฯจะมอบรางวัล เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าทุกคน บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นําไปแจกเป็นรางวัล
(11) ผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ตามมาตรา 78/1(1)(ข) และมาตรา 78/1(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง โรงแรมเอ.เอ็ม ให้บริการห้องพักแก่กรรมการของโรงแรม และแขกรับเชิญซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนอื่น โดยไม่คิดค่าห้องพักและค่าบริการ โรงแรมฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของค่าห้องพักและค่าบริการ
(12) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนําค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษี เนื่องจากไม่มีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ มีหน้าที่จัดทําใบกํากับภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แต่โดยผลของกฎหมายทําให้ไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรอีก
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ให้ตัวแทนของตนจัดทําใบกํากับภาษีแทนตนเองตามมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีตัวแทนได้จัดทําใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีอีก
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาด โดยส่วนราชการเป็นผู้ทอดตลาดตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนราชการได้จัดทําใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาด และจัดทําสําเนาใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินเพื่อเป็นหลักฐานในการลงรายงานภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีอีก
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาด โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการเป็นผู้ทอดตลาดตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อผู้ทอดตลาดจัดทําใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาด ตามมาตรา 86/3 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีอีก
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องจัดทําใบกํากับภาษีและสําเนาใบกํากับภาษี โดยส่งมอบต้นฉบับใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีเพื่อการลงรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําว่า “ใบกํากับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทําใบกํากับภาษี
ชื่อตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่อยู่ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตําแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ชื่อตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบุคคลธรรมดา หมายความรวมถึงนามสกุลด้วย
กรณีระบุชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามวรรคหนึ่งไม่ครบถ้วนโดยมีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ละคําที่ประกอบคําหน้า แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น เช่น “องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย” เขียนว่า “องค์การโทรศัพท์ฯ” หรือ “บริษัท ไปศาจีกรุงเทพมหานครจํากัด” เขียนว่า “บริษัท ไปศาจีกรุงเทพฯ จํากัด” ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
กรณีระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามวรรคหนึ่ง โดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
ที่อยู่ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตําแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว
(4) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่มถ้ามี
(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษีด้วย ให้กระทําได้ โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) มูลค่าของสินค้าหรือของบริการที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
กรณีจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการตามวรรคหนึ่ง มีเศษเป็นจุดทศนิยม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ถ้าเศษของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นจํานวนเงินตัวที่สามหลังจุดทศนิยม มีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดเศษนั้นทิ้ง ตัวอย่าง มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว คือ 100 บาท คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้เท่ากับ 7/107 x 100 = 6.542 บาท ดังนั้น จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่แสดงในใบกํากับภาษี คือ 6.54 บาท
(ข) ถ้าเศษของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นจํานวนเงินตัวที่สามหลังจุดทศนิยม มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ให้ปัดเศษขึ้น ตัวอย่าง มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว คือ 180 บาท คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้เท่ากับ 7/107 x 180 = 11.775 บาท ดังนั้น จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่แสดงในใบกํากับภาษี คือ11.78 บาท
กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีมีจํานวนมากกว่าหรือมีจํานวนน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย อันเนื่องมาจากการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องเสียภาษีตามจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย
(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี วัน เดือน ปี ตามวรรคหนึ่ง ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้และใช้พุทธศักราชหรือคริสต์ศักราชก็ได้
ข้อ ๕ กรณีตัวแทนเป็นผู้จัดทําใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องจัดทําใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินตามมาตรา 86/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ตัวแทนและผู้ทอดตลาดใช้แบบพิมพ์ใบกํากับภาษีของตัวแทนหรือผู้ทอดตลาด โดยใบกํากับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวการ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินด้วย
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 สามารถจัดทําใบกํากับภาษีรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ หรือใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจํานวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน
การจัดทําใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ถ้าใบกํากับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ในใบกํากับภาษี
ข้อ ๗ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําใบกํากับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสําคัญไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 มีความผิด ต้องระวางโทษตามมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ รายการในใบกํากับภาษีตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 จะจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ต้องจัดทําเป็นหน่วยเงินตราไทย โดยใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค กรณีมีความจําเป็นต้องจัดทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ และหรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
รายการชื่อตามข้อ 4(2) และข้อ 4(3) กรณีเป็นบริษัทจํากัด หรือบริษัท (มหาชน) จํากัด หรือห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้คําย่อแทนได้ ดังนี้
(1) บริษัทจํากัด ใช้คําย่อว่า บ. ... จก. หรือ ใช้คําย่อว่า บจ. ...
(2) บริษัท (มหาชน) จํากัด ใช้คําย่อว่า บมจ. ...
(3) ห้างหุ้นส่วนจํากัด ใช้คําย่อว่า หจก. ...
(4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้คําย่อว่า หสน. ...
ถ้ารายการในใบกํากับภาษีตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ดังต่อไปนี้ ได้จัดทําขึ้นโดยตีพิมพ์ รายการอื่น ๆ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จะตีพิมพ์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกํากับภาษีมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(1) คําว่า “ใบกํากับภาษี”
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทําใบกํากับภาษี
(3) คําว่า “เอกสารออกเป็นชุด”
ถ้ารายการในใบกํากับภาษีตาม (1) (2) และ (3) ของวรรคสามทั้งสามรายการหรือเพียงรายการหนึ่งรายการใดได้จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ รายการอื่น ๆ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 4 จะต้องตีพิมพ์ หรือจัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกํากับภาษีจึงจะมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ข้อ ๙ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ารายหนึ่งรายใดครั้งหนึ่ง ๆ จํานวนหลายรายการ และไม่สามารถระบุรายการชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการทั้งหมดในใบกํากับภาษี 1 แผ่น ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําใบกํากับภาษี 1 ฉบับ ประกอบด้วยใบกํากับภาษี 1 แผ่น และจัดให้มีใบแนบใบกํากับภาษีด้วย ซึ่งใบแนบใบกํากับภาษีอาจมีจํานวนมากกว่า 1 แผ่นก็ได้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องหมายเหตุในรายการสินค้าหรือบริการว่ามีรายละเอียดตามใบแนบใบกํากับภาษี โดยมูลค่ารวมของสินค้าหรือของบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระบุในใบกํากับภาษี และที่ระบุในใบแนบใบกํากับภาษีต้องเป็นจํานวนเดียวกัน
ใบแนบใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ใบแนบใบกํากับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) เลขที่ เล่มที่ (ถ้ามี) ของใบกํากับภาษี
(ค) วัน เดือน ปี ของใบกํากับภาษี
(ง) รายละเอียดชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(จ) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
(ฉ) กรณีมีใบแนบใบกํากับภาษีมากกว่า 1 แผ่น จะต้องระบุคําว่า “แผ่นที่ ...” ไว้ด้วย และรายการมูลค่ารวมของสินค้าหรือของบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการทั้งหมด ตามมาตรา 86/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร จะปรากฏในใบแนบใบกํากับภาษีแผ่นสุดท้ายเท่านั้น
การจัดทําใบแนบใบกํากับภาษีตามวรรคสอง สามารถจัดทําขึ้นโดยตีพิมพ์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์ใช้ใบส่งของหรือใบแจ้งหนี้ เป็นใบแนบใบกํากับภาษี ให้กระทําได้ แต่ต้องมีรายการอย่างน้อยตามวรรคสอง
(2) จัดทําใบกํากับภาษี 1 ฉบับ ประกอบด้วยใบกํากับภาษีมากกว่า1 แผ่น โดยแต่ละแผ่นต้องมีรายการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 (1) - (5) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีที่ไม่ใช่แผ่นสุดท้ายจะต้องมีข้อความที่แสดงว่ามีใบกํากับภาษีแผ่นต่อไปไว้ด้วย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้สําหรับรายการมูลค่ารวมของสินค้าหรือของบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการทั้งหมดตามมาตรา 86/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร จะปรากฏในใบกํากับภาษีแผ่นสุดท้ายเท่านั้น
การจัดทําใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้ตีพิมพ์เลขที่ไว้แล้วใบกํากับภาษีแต่ละแผ่นจะเรียงลําดับเลขที่ แต่ถ้าไม่ได้ตีพิมพ์เลขที่ไว้ ใบกํากับภาษีแต่ละแผ่นอาจจะเรียงลําดับเลขที่หรือปรากฏเลขที่เพียงเลขที่เดียวก็ได้ กรณีใบกํากับภาษีแต่ละแผ่นมีเพียงเลขที่เดียว ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุคําว่า “แผ่นที่ ...” ไว้ด้วย
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับใบกํากับภาษี โดยภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีมีจํานวนมากกว่าหรือมีจํานวนน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย อันเนื่องมาจากการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ถ้าภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีมีจํานวนมากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ข) ถ้าภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีมีจํานวนน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับใบกํากับภาษี โดยภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีมีจํานวนมากกว่าหรือมีจํานวนน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย ซึ่งไม่ใช่การคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่มีสิทธินําใบกํากับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อ จะต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทําใบกํากับภาษีดําเนินการยกเลิกใบกํากับภาษีฉบับเดิมและจัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ข้อ ๑๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อหรือที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/6 แห่งแห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามชื่อหรือที่อยู่ที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้รับใบกํากับภาษีในชื่อเดิมหรือที่อยู่เดิม ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่มีสิทธินําใบกํากับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อ จะต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทําใบกํากับภาษีดําเนินการยกเลิกใบกํากับภาษีฉบับเดิมและจัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ข้อ ๑๒ กรณีราชการเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทําการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถแก้ไขที่อยู่ในแบบพิมพ์ใบกํากับภาษีให้ถูกต้องตามที่ทางราชการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ ให้กระทําได้ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทําการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่ แล้วแต่กรณี
การแก้ไขที่อยู่ตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถขีดฆ่าที่อยู่เดิมและระบุที่อยู่ใหม่ที่ถูกต้อง พร้อมกับลงลายมือชื่อกํากับการแก้ไข หรือประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกํากับภาษีดังกล่าวมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
กรณีราชการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ตามมาตรา 85/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีการแถมสินค้าพร้อมการขายหรือการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยระบุชนิด ประเภท และปริมาณสินค้าที่แถมไว้ในใบกํากับภาษีฉบับเดียวกันกับสินค้าที่ขายด้วย แต่ไม่ต้องนํามูลค่าสินค้าที่แถมมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี
การแถมสินค้าตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนอาจจะไม่ได้ส่งมอบสินค้าที่แถมให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการพร้อมกับการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการก็ได้ต่อมาเมื่อมีการส่งมอบสินค้าที่แถมก็ไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการอีก
ข้อ ๑๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีการให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษี ดังนี้
(1) กรณีให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยระบุส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ให้เห็นชัดแจ้งในใบกํากับภาษี และคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการหลังจากหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนแล้ว
ตัวอย่าง
(ก) บริษัท ก.จํากัด ขายรถยนต์กระบะมูลค่า 350,000 บาทได้ให้ส่วนลดแก่ผู้ที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2542 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2542 จํานวน 5,000 บาท บริษัทฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยแสดงมูลค่ารถยนต์กระบะ 350,000 บาท หักด้วยส่วนลด 5,000 บาท คงเหลือมูลค่ารถยนต์กระบะ 345,000 บาท
(ข) นายอํานาจซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้ามูลค่า 5,000 บาทห้างฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยแสดงมูลค่าของสินค้า 5,000 บาท ห้างฯได้แจกคูปองมูลค่า 250 บาท เพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไปโดยไม่จํากัดประเภทสินค้า ถ้าสินค้าชิ้นใหม่มูลค่า 1,000 บาท ห้างฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยแสดงมูลค่าของสินค้า 1,000 บาท หักด้วยมูลค่าส่วนลดตามคูปอง 250 บาท คงเหลือมูลค่าของสินค้า 750 บาท
(ค) ห้างสรรพสินค้าขายสินค้าโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าซื้อสินค้ามูลค่า 100 บาท จะได้รับแสตมป์ 1 ดวง ถ้าสะสมแสตมป์ภายในเวลาที่กําหนด ผู้ซื้อมีสิทธินําแสตมป์ดังกล่าวใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าตามประเภทที่กําหนดได้ เช่น แสตมป์ 50 ดวง มีสิทธิซื้อพัดลมมูลค่า 1,000 บาท โดยชําระเงิน 700 บาท กรณีดังกล่าว ห้างฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยแสดงมูลค่าของสินค้า 1,000 บาท หักด้วยมูลค่าส่วนลดตามแสตมป์ 50 ดวง มูลค่า 300 บาท คงเหลือมูลค่าของสินค้า 700 บาท
(ง) โรงแรม เอ.เอ็ม ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคารเมื่อลูกค้าใช้บริการห้องพักและอาหารมูลค่า 15,000 บาท โรงแรมฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยแสดงมูลค่าของบริการ 15,000 บาท โรงแรมฯมอบบัตรกํานัลให้จํานวน 1,000 บาท ต่อมาลูกค้าใช้บริการภัตตาคาร 3,000 บาท ชําระเงินสด 2,000 บาท และบัตรกํานัล 1,000 บาท โรงแรมฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยแสดงมูลค่าของบริการ 3,000 บาทหักด้วยมูลค่าตามบัตรกํานัล 1,000 บาท คงเหลือมูลค่าของบริการ 2,000 บาท
(2) กรณีให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนภายหลังจากที่ขายสินค้าไปแล้ว ซึ่งเป็นส่วนลดเงินสดหรือส่วนลดตามเป้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าทั้งหมดไม่หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อน
ตัวอย่าง
(ก) บริษัท ก.จํากัด ขายเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้งมูลค่า 350,000 บาท มีเงื่อนไขการชําระค่าสินค้าว่า ถ้าชําระภายใน 2เดือน จะลดให้ 2,000 บาท บริษัทฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยคํานวณจากมูลค่า 350,000 บาท
(ข) ห้างสรรพสินค้าขายสินค้าโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าซื้อสินค้ามูลค่า 100 บาท ผู้ซื้อจะได้รับแสตมป์ 1 ดวง ถ้าสะสมแสตมป์ภายในเวลาที่กําหนด ผู้ซื้อมีสิทธินําแสตมป์มารับของรางวัลจากห้างฯตามประเภทที่กําหนด เช่น แสตมป์ 20 ดวง มีสิทธิได้รับชามแก้วมูลค่า 400 บาท ห้างฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยคํานวณจากมูลค่า 400 บาท
อย่างไรก็ดี ถ้าการให้ส่วนลดตามเป้ามีเงื่อนไขว่า จะแจกสินค้าเป็นรางวัลให้แก่ผู้ซื้อสินค้า เฉพาะกรณีซื้อสินค้าในแต่ละวันโดยมีมูลค่ารวมกันตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกําหนด ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าที่แจกเป็นรางวัล ทั้งนี้ ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ตัวอย่าง ถ้าซื้อสินค้ามูลค่า 2,000 บาท ในแต่ละวัน ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับตะกร้า 1 ใบ ห้างฯไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของตะกร้าดังกล่าว
ข้อ ๑๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง จะต้องจัดทําใบกํากับภาษีเป็นรายสถานประกอบการ
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีการดําเนินงาน ณ สถานที่อื่นซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย ให้จัดทําใบกํากับภาษีระบุที่อยู่ของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่หรือสถานประกอบการแห่งอื่นที่ดําเนินงาน ไม่ใช่ที่อยู่ตามสถานที่ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคสอง ได้รับใบกํากับภาษีระบุชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกต้อง แต่ระบุที่อยู่ตามสถานที่ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อของสํานักงานใหญ่ หรือเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งอื่นซึ่งจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการ
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก.จํากัด มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่เขตพญาไท ประกอบกิจการให้เช่าอาคารสํานักงานซึ่งตั้งอยู่เขตบางพลัด บริษัทฯไม่ได้ใช้พื้นที่ของอาคารที่ให้เช่าเป็นสถานประกอบการ แต่บริษัทฯให้บริการสาธารณูปโภคแก่ผู้เช่า บริษัทฯขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ณ อาคารที่ให้เช่า รัฐวิสาหกิจจัดทําใบกํากับภาษีในนามของบริษัทฯ แต่ระบุที่อยู่ตามอาคารที่ให้เช่า บริษัทฯมีสิทธินําใบกํากับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อของสํานักงานใหญ่ได้ เมื่อบริษัทฯเรียกเก็บค่าบริการและภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้เช่า บริษัทฯต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่
(2) บริษัท ข.จํากัด ประกอบกิจการผลิตปลากระป๋อง มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่เขตบางซื่อ มีสํานักงานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง บริษัทฯก่อสร้างโรงงานที่จังหวัดระยอง โดยมอบหมายให้สํานักงานที่จังหวัดระยองดําเนินงานด้านการก่อสร้างและจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการก่อสร้าง บริษัทฯขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา ณ สถานที่ก่อสร้าง รัฐวิสาหกิจจัดทําใบกํากับภาษีในนามของบริษัทฯ แต่ระบุที่อยู่ ณ สถานที่ก่อสร้าง บริษัทฯมีสิทธินําใบกํากับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อของสํานักงานที่จังหวัดระยองได้
(3) บริษัท ก.จํากัด เช่าสถานที่แห่งหนึ่งเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าซึ่งต้องมีกระแสไฟฟ้าส่องป้าย บริษัทฯขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ณ สถานที่เช่า รัฐวิสาหกิจจัดทําใบกํากับภาษีในนามของบริษัทฯ แต่ระบุที่อยู่ตามสถานที่เช่า บริษัทฯมีสิทธินําใบกํากับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อของสํานักงานใหญ่ได้
ข้อ ๑๖ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 15 ได้แจ้งปิดสถานประกอบ-การบางแห่งตามมาตรา 85/7 แห่งประมวลรัษฎากร ให้จัดทําใบกํากับภาษีระบุที่อยู่ของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่หรือสถานประกอบการแห่งอื่นที่ดําเนินงาน ไม่ใช่ที่อยู่ตามสถานประกอบการที่แจ้งปิดแล้ว
หากภายหลังการแจ้งปิดสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ได้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องจัดทําใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 82/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ของสถานประกอบการแห่งนั้น ให้จัดทําใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุที่อยู่ของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่หรือสถานประกอบการแห่งอื่นที่ดําเนินงาน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งหรือใบเพิ่มหนี้ตามวรรคสอง มีสิทธินําใบกํากับภาษีและใบเพิ่มหนี้ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และกรณีได้รับใบลดหนี้ตามวรรคสอง มีสิทธินําใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ข้อ ๑๗ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 16 ยังคงได้รับใบกํากับภาษีระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่แจ้งปิดไปแล้ว ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีใบกํากับภาษีสําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการแจ้งปิดสถานประกอบการตามมาตรา 85/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่หรือสถานประกอบการแห่งอื่นที่ดําเนินงาน
(2) กรณีใบกํากับภาษีสําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการแจ้งปิดสถานประกอบการตามมาตรา 85/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบ-การจดทะเบียนไม่มีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๑๘ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีเป็นรายสถานประกอบการ และสถานประกอบการที่ไม่ใช่สํานักงานใหญ่ได้นําใบกํากับภาษีระบุที่อยู่ของสํานักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น สถานประกอบการที่ไม่ใช่สํานักงานใหญ่ต้องระบุข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกํากับภาษีคือ ...” ไว้ในใบกํากับภาษีด้วย โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
ข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกํากับภาษีคือ ...” ตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถระบุชื่อของสถานที่ก็ได้ เช่น สาขาลาดพร้าว สาขาลพบุรี
ตัวอย่าง
(1) ระบุว่า “สาขาที่ออกใบกํากับภาษี คือ สาขาลาดพร้าว” หรือ “สาขาที่ออกใบกํากับภาษี คือ สาขาที่ 1” หรือ “ สาขาที่ออกใบกํากับภาษี คือ สาขาถนนพระราม 4” หรือ
(2) ระบุว่า “สาขาลาดพร้าว” หรือ “สาขาที่ 1” หรือ “สาขาถนนพระราม 4”
ข้อ ๑๙ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการ และจัดทําใบกํากับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ แต่สถานประกอบการแห่งอื่นเป็นผู้สั่งพิมพ์ใบกํากับภาษี และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการถือว่าสํานักงานใหญ่เป็นผู้จัดทําใบกํากับภาษี ไม่ใช่การจัดทําใบกํากับภาษีตามข้อ 18 จึงไม่ต้องระบุข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกํากับภาษีคือ ...” ไว้ในใบกํากับภาษี
ข้อ ๒๐ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้นําเข้า ตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทําพิธีการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ถือเป็นใบกํากับภาษีตามมาตรา 77/1(22) แห่งประมวลรัษฎากร ถ้ารายการในใบเสร็จรับเงินดังกล่าวผิดพลาดคลาดเคลื่อน และกรมศุลกากรได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินตามวรรคหนึ่งมีจํานวนมากกว่าหรือมีจํานวนน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยหนึ่งร้อย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเนื่องมาจากการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยมหรือไม่ก็ตาม ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
กรณีใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรระบุชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียน และชื่อของผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศด้วย ถ้ามีหลักฐานแสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ว่าจ้างผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศให้จัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําใบเสร็จรับเงินไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๒๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยมีหน้าที่นําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสีย ตามมาตรา 83/6(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร ถือเป็นใบกํากับภาษีตามมาตรา 77/1(22) แห่งประมวลรัษฎากร ถ้ารายการในใบเสร็จรับเงินดังกล่าวผิดพลาดคลาดเคลื่อน และกรมสรรพากรได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป จะต้องจัดทําใบกํากับภาษีและสําเนาโดยส่งมอบต้นฉบับใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และเก็บรักษาสําเนาใบกํากับภาษีเพื่อการลงรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ใบกํากับภาษีของการขายสินค้าโดยการส่งออกตามมาตรา 86/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้มีรายการเช่นเดียวกันกับใบกํากับสินค้าซึ่งผู้ส่งออกได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ต้องมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ใบกํากับภาษีของการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้มีรายการเช่นเดียวกันกับใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ให้บริการได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ต้องมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ใบกํากับภาษีของการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ตามมาตรา 86/5(1) ให้มีรายการเช่นเดียวกับแอร์เวย์บิลหรือเฮ้าส์แอร์เวย์บิลที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนรับขนส่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ต้องมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(4) ใบกํากับภาษีของการขายน้ํามันดิบและผลิตภัณฑ์น้ํามันตามมาตรา86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ให้ระบุชื่อ ชนิด และประเภทของน้ํามันดิบและผลิตภัณฑ์น้ํามันเป็นภาษาอังกฤษได้และต้องกําหนดช่องราคาขายปลีกไว้ในใบกํากับภาษีด้วย
(5) ใบกํากับภาษีของการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ให้ระบุชื่อ ชนิด และประเภทของยาสูบเป็นภาษาอังกฤษได้ และต้องกําหนดช่องราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีกไว้ในใบกํากับภาษีด้วย
ข้อ ๒๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําใบกํากับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสําคัญไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 22 ต้องระวางโทษตามมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับใบกํากับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 22 ไม่มีสิทธินําใบกํากับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทําใบกํากับภาษีดําเนินการยกเลิกใบกํากับภาษีฉบับเดิมและจัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะมีสิทธินําไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
กรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นําใบกํากับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญตามวรรคหนึ่งไปถือเป็นภาษีซื้อแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกเลิกใบกํากับภาษีฉบับเดิม และนําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องมาให้ตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กําหนด และผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องมามอบให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคสอง ไม่สามารถนําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องมาให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ถ้าต่อมาผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องก็ยังคงมีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม ตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อขอคืนภาษีเป็นเงินสด แต่ต้องไม่เกินสามปีนับจากวันที่ได้มีการจัดทําใบกํากับภาษี
กําหนดระยะเวลาตามวรรคสองต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทําความผิด
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดทําใบกํากับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสําคัญไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 22 เมื่อได้รับการร้องขอให้ยกเลิกใบกํากับภาษีฉบับเดิมและจัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เรียกคืนใบกํากับภาษีฉบับเดิมและนํามาประทับตราว่า“ยกเลิก” หรือขีดฆ่า แล้วเก็บรวมไว้กับสําเนาใบกํากับภาษีฉบับเดิม
(2) จัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลง วัน เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตามใบกํากับภาษีฉบับเดิม และ
(3) หมายเหตุไว้ในใบกํากับภาษีฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกํากับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ ... เล่มที่ ...” และหมายเหตุการยกเลิกใบกํากับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ด้วย
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ร้องขอให้ยกเลิกใบกํากับภาษีฉบับเดิมและจัดทําฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จะต้องถ่ายเอกสารใบกํากับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้ด้วย
ข้อ ๒๖ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 25 จัดทําใบกํากับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบซอฟต์แวร์ในระบบงานจัดทําใบกํากับภาษีบันทึกเข้าระบบบัญชีแยกประเภทโดยอัตโนมัติ ถ้าระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวไม่สามารถระบุวัน เดือน ปี ในใบกํากับภาษีฉบับใหม่ ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกํากับภาษีฉบับเดิม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ โดยดําเนินการตามข้อ 8 วรรคสามและวรรคสี่ ดังนี้
(1) จัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่โดยรายการดังต่อไปนี้ ได้จัดทําขึ้นโดยตีพิมพ์ ซึ่งทําให้รายการอื่น ๆ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จะตีพิมพ์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
(ก) คําว่า “ใบกํากับภาษี”
(ข) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทําใบกํากับภาษี
(ค) คําว่า “เอกสารออกเป็นชุด”
(2) จัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่โดยรายการตาม (1)(ก)(ข) และ(ค) ทั้งสามรายการหรือเพียงรายการหนึ่งรายการใดได้จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทําให้รายการอื่น ๆ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องตีพิมพ์ หรือจัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ข้อ ๒๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,932 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 80/2542 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 80/2542
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนํากรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกํากับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(3) ภายหลังได้ออกใบกํากับภาษีแล้ว ได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจํานวนเพิ่มขึ้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าเกินกว่าจํานวนที่ตกลงซื้อขายกัน คํานวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ํากว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
(ข) มีการเพิ่มราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการเกินกว่าข้อกําหนดที่ตกลงกัน คํานวณราคาค่าบริการผิดพลาดต่ํากว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกํากับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(3) ภายหลังได้ออกใบกํากับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจํานวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกําหนดที่ตกลงกัน สินค้าชํารุดเสียหาย หรือขาดจํานวน คํานวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
(ข) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกําหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจํานวน คํานวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
(ค) ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชํารุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคําพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
(ง) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย
(จ) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้าเงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า
(ฉ) มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน
(ช) มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและผู้ซื้อสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทําภายในเวลาอันสมควร
(ซ) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากการให้บริการบกพร่องหรือให้บริการผิดข้อกําหนดที่ตกลงกัน
(ฌ) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ตามข้อ 1(3) หรือข้อ 2(3) เกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นไม่สามารถออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ได้ทันในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ตามข้อ 1(3) หรือข้อ 2(3) เกิดขึ้น ก็ให้ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําว่า "ใบเพิ่มหนี้" หรือ "ใบลดหนี้" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4) วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้
(5) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจํานวนมูลค่าทั้งสองและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บเพิ่มสําหรับส่วนต่างนั้นในกรณีของใบเพิ่มหนี้ และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้คืนสําหรับส่วนต่างนั้นในกรณีของใบลดหนี้
(6) คําอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้
รายการตามวรรคสองจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
มูลค่าของสินค้าหรือบริการตามวรรคสอง (5) หมายความถึงมูลค่ารวมทั้งหมดตามใบกํากับภาษีที่เป็นเหตุให้มีการเพิ่มหนี้หรือลดหนี้ มูลค่ารวมทั้งหมดที่ถูกต้อง มูลค่ารวมทั้งหมดของส่วนต่าง และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บเพิ่มหรือใช้คืนสําหรับส่วนต่าง
สาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ตามวรรคสอง (6) ให้แสดงเฉพาะสาเหตุและรายการสินค้าหรือบริการที่คลาดเคลื่อนเท่านั้น
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 และข้อ 2 สามารถออกใบเพิ่มหนี้ 1 ฉบับ หรือใบลดหนี้ 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกํากับภาษีเดิมมากกว่า 1 ฉบับก็ได้ และรายการตามข้อ 3(5) หรือ (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารแนบใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้อ้างถึงใบกํากับภาษีเป็นรายใบกํากับภาษีก็ได้
ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 นําภาษีขายที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นตามใบเพิ่มหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยถือเป็นภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบเพิ่มหนี้ และให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 นําภาษีขายที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยนําไปหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบลดหนี้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้จากผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง โดยได้รับใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ ให้นําภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบเพิ่มหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยถือเป็นภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบเพิ่มหนี้ หรือนําภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนําไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้วแต่กรณี ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสําคัญไม่ครบถ้วนตามข้อ 3 มีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้จากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเพิ่มหนี้ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีสิทธินําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,933 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 85/2542 เรื่อง การคำนวณฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร และการจัดทำใบกำกับภาษี กรณีการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 85/2542
เรื่อง การคํานวณฐานภาษีสําหรับการนําเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร และการจัดทําใบกํากับภาษี กรณีการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีการคํานวณฐานภาษีสําหรับการนําเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากรและการจัดทําใบกํากับภาษีกรณีการขายยาสูบ ตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากรกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การนําเข้ายาสูบจากต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ไม่ว่าจะนําเข้าโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือบุคคลอื่น ต้องคํานวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ มูลค่าของยาสูบนําเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วย อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1(19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
กรณีการนําเข้าตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้นําเข้าได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ให้นําอากรขาเข้าซึ่งได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าว มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีด้วย
คําว่า “ กฎหมายอื่น ” ตามวรรคสอง หมายความถึงกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ข้อ ๒ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายยาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่นําเข้ายาสูบเอง หรือซื้อจากผู้นําเข้า หรือผู้ขายทุกทอด จะต้องคํานวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
(1) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศ เป็นบุหรี่ซิกาแรตที่กรมสรรพสามิตได้กําหนดราคายาสูบไว้ตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 ให้คํานวณมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตโดยการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มให้คํานวณตามอัตราภาษีมูลค่า-เพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก ตามมาตรา 79/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณียาสูบตามวรรคหนึ่ง เป็นบุหรี่ซิกาแรตที่กรมสรรพสามิตได้กําหนดราคายาสูบสําหรับการขายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในจังหวัดอื่นนอกจากเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ให้คํานวณมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายบุหรี่ซิกาแรต ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ตัวอย่าง ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตในกรุงเทพมหานครซองละ 43.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.81 บาท (43 x7)107 และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 40.19 บาท (43.00 - 2.81)
ตัวอย่าง ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครซองละ 44.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.88 บาท(44 x7) และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 41.12 บาท (44.00 - 2.88)
(2) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศนอกจาก (1) ให้คํานวณมูลค่าของยาสูบตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับหรือพึงได้รับจากการขายยาสูบ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1(19) ถ้ามี ด้วย
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 จะต้องจัดทําใบกํากับภาษีดังต่อไปนี้
(1) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศ เป็นบุหรี่ซิกาแรตที่กรมสรรพสามิตได้กําหนดราคายาสูบไว้ตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษี ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากรให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(ค) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า
(ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(จ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(ฉ) ราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
(ช) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าตาม (ฉ) โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าตาม (ฉ) ให้ชัดแจ้ง
(ซ) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
(2) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศนอกจาก (1) ผู้ประกอบ-การจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีที่มีรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษี ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบ-การจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากรให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(ค) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า
(ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(จ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(ฉ) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้า โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าให้ชัดแจ้ง
(ช) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และ (2) ต้องเก็บสําเนาใบกํากับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานการลงรายงานภาษีขาย
ข้อ ๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ขายยาสูบในลักษณะขายปลีก คือ เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนําสินค้าไปบริโภคโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศ เป็นบุหรี่ซิกาแรตที่กรมสรรพสามิตได้กําหนดราคายาสูบไว้ตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี
(ค) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(ง) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(จ) ราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
(ฉ) ราคาสินค้า โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
กรณีราคาสินค้าซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วตาม (ฉ) มีจํานวนน้อยกว่ามูลค่าหรือราคาของสินค้าที่คํานวณตาม (จ) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจํานวนที่คํานวณตาม (จ)
(ช) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
(2) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศนอกจาก (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี
(ค) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(ง) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(จ) ราคาสินค้า โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(ฉ) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และ (2) ต้องเก็บสําเนาใบกํากับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานการลงรายงานภาษีขาย
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 และข้อ 2 เมื่อมีการนําเข้ายาสูบ หรือซื้อและขายยาสูบ จะต้องลงรายการมูลค่าของสินค้าและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) และรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ซึ่งนําเข้ายาสูบ จะต้องลงรายการมูลค่าของยาสูบและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มในรายงานภาษีซื้อ ตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ซึ่งขายยาสูบ โดยจัดทําใบกํากับภาษีตามข้อ 3 และข้อ 4 จะต้องลงรายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ ดังต่อไปนี้
(ก) การขายยาสูบตามข้อ 2(1) ให้ลงรายการมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตโดยการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของบุหรี่ซิกาแรต และลงรายการจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อยาสูบตามข้อ 2(1) ลงรายการมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรต และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในรายงานภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ตัวอย่าง ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตซองละ 43.00 บาท แต่ราคาขายจริง 41.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องคํานวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคา 43.00 บาท เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.81 บาท (43 x7) และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 40.19 บาท (43.00 - 2.81) ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าจํานวน 40.19 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.81 บาท
(ข) การขายยาสูบตามข้อ 2(2) ให้ลงรายการมูลค่าของยาสูบตามจํานวนที่ได้รับจริงจากการขายยาสูบ และลงรายการจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของยาสูบที่ได้รับจริง
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อยาสูบตามข้อ 2(2) ลงรายการมูลค่าของยาสูบ และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในรายงานภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ข้อ ๖ กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผลิตบุหรี่ซิกาแรตขาย ต้องคํานวณมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตโดยการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้คํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีกตามมาตรา 79/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีกรมสรรพสามิตได้กําหนดราคาขายบุหรี่ซิกาแรต สําหรับการขายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในจังหวัดอื่นนอกจากเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ให้คํานวณมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายบุหรี่ซิกาแรต ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามข้อ 3(1)
ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ขายบุหรี่ซิกาแรตในลักษณะขายปลีกโดยตรงเช่นเดียวกับการขายสินค้าตามข้อ 4 ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมีสิทธิออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามข้อ 4(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะต้องลงรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5(2)(ก)
ตัวอย่าง ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตซองละ 32 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.09 บาท (32 x7) และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 29.91 บาท ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าจํานวน 29.91 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.09 บาท
ตัวอย่าง ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครซองละ 33.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.16 บาท (33 x7) และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 30.84 บาท (33.00 - 2.16) ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าจํานวน 30.84 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 2.16 บาท
ข้อ ๗ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อบุหรี่ซิกาแรตและได้รับใบกํากับภาษีจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาลตามข้อ 6 เมื่อขายบุหรี่ซิกาแรตไป ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีและไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีที่ได้รับจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาลตามข้อ 6 จึงไม่ต้องนําใบกํากับภาษีดังกล่าว ไปลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,934 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 84/2542 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพสินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 84/2542
เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทําลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพสินค้าที่มีตําหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก
-------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนําการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับการทําลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตําหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) (3.2) ของข้อ 3 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทําลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตําหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ (3.2) การทําลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากที่โดยสภาพสามารถเก็บรักษาและรอการทําลายพร้อมกันได้เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม (3.1) และให้แจ้งการทําลายให้สรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด ในท้องที่ที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วันก่อนวันทําลาย ซึ่งสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัดอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทําลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี เว้นแต่ การทําลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากดังกล่าวของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นควบคุมเกี่ยวกับการทําลายตามระเบียบ ข้อบังคับที่กําหนด บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จําเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรร่วมเป็นพยานในการทําลายก็ได้ ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,935 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 83/2542 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 83/2542
เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ สําหรับกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 1 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.46/2537 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2537
“ (4) การแก้ไขจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการที่รวมจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกํากับภาษีกํากับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,936 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ และการจัดหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 55/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ที่เป็นหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 112 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 12/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(2) “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(3) “ผู้ค้าหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(4) “ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(5) “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้สนใจจะลงทุนในหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
(6) “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม
(ด) นิติบุคคลตามที่สํานักงานอนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งนิติบุคคลนั้นต้องประกอบธุรกิจหลักสอดคล้องกับธุรกิจหลักที่กองทุนรวมต้องการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในนโยบายการลงทุน
(7) “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) หมายความว่า การขายหรือชักชวนโดยบริษัทหลักทรัพย์กับบุคคลที่ไม่เคยเป็นลูกค้าเพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งใจเข้าพบผู้ลงทุนโดยตรง หรือติดต่อผู้ลงทุนทางโทรศัพท์โดยผู้ลงทุนมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ
(8) “ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลง
ราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนและบริษัทหลักทรัพย์ได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจ
(9) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(10) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
(11) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๓ ในการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ประกอบธุรกิจโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ คํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง
(2) จัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน มาตรการควบคุมภายในเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มาตรการดูแลรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของลูกค้า รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
(3) กํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการให้คําแนะนําเพื่อการขายหรือ
รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํากับผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน รวมทั้งต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดและตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานในการให้คําแนะนําด้วย
(2) ให้ข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งการแจ้งสิทธิต่าง ๆ ที่ควรทราบแก่ลูกค้า และต้องปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
(3) ในการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ หรือการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการดําเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการขายหน่วยลงทุนดังกล่าวมิได้รบกวนความเป็นส่วนตัว ก่อความรําคาญ หรือเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจ
(4) ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตน
(5) ให้คําแนะนําโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
(6) ซื้อขายหน่วยลงทุนโดยไม่ใช้ข้อมูลภายในที่อาจเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอกหรือโดยเปิดเผยข้อมูลภายในให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์
(7) นําข้อมูลของลูกค้าไปเปิดเผยได้เฉพาะเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือเป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย
(8) ดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๕ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานที่มั่นใจได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่น มีวิธีปฏิบัติงานและมาตรการควบคุมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ครอบคลุมถึงการรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้าการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า การจัดทําบัญชีแยกทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ผู้ดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ผู้มีอํานาจในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า และการดําเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
(2) กระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิในทรัพย์สินของลูกค้าได้เฉพาะเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนกระทําการอันจะก่อให้เกิดผลดังกล่าว
(3) นําทรัพย์สินของลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอีกรายหนึ่งหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เองได้เฉพาะเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนนําทรัพย์สินของลูกค้าไปใช้เพื่อการดังกล่าว
(4) ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่แสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าโดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้า
(5) รายงานทรัพย์สินของลูกค้าให้แก่ลูกค้าทราบอย่างสม่ําเสมอ
(6) ดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า
ข้อ ๖ ในการทําหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ลงทุนในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทนายหน้าดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้า ต้องจัดทําหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีขั้นตอนที่มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชีหรือทําสัญญา
(2) สัญญาที่ทํากับลูกค้าต้องครอบคลุมถึงขอบเขตการให้บริการ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทนายหน้า และต้องไม่มีข้อความที่ปฏิเสธความรับผิดชอบของบริษัทนายหน้าต่อลูกค้าจากการกระทําหรือละเว้นการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทนายหน้าหรือพนักงานของบริษัทนายหน้า
(3) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจนและครบถ้วนถึงการทําธุรกิจที่ปฏิบัติแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทนายหน้าทําการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทนายหน้าต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีระบบในการปฏิบัติงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับการปฏิบัติอย่างสุจริตและเป็นธรรมเกี่ยวกับการจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ การแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของบริษัทนายหน้า การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า การจัดทํารายงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน รวมถึงการจัดส่งรายงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ลูกค้าในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้บริษัทนายหน้าแจ้งระบบงานดังกล่าวต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าก่อนดําเนินการ ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้บริษัทนายหน้าดําเนินการตามระบบงานดังกล่าวได้
(2) ในกรณีที่บริษัทนายหน้าประสงค์จะปฏิบัติต่อลูกค้าในเรื่องใดซึ่งมีผลทําให้ลูกค้าได้รับเงื่อนไขหรือสิทธิประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกับการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบเปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทนายหน้าจัดให้มีหลักฐานที่แสดงว่าลูกค้าทราบและยอมรับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกันนั้นแล้ว ทั้งนี้ การปฏิบัติดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งและไม่น้อยกว่าที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๘ ในการค้าหน่วยลงทุน ให้ผู้ค้าหน่วยลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดราคาซื้อขายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ทําความรู้จักลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีเอกสารที่แสดงถึงความมีตัวตนของลูกค้า หรือมีผู้ที่มีอํานาจในการตัดสินใจซื้อขายในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคล
(3) ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด หากโครงการจัดการกองทุนรวมนั้นมีการกําหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลสภาพคล่องไว้ ผู้ค้าหน่วยลงทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวด้วย
ข้อ ๙ ในการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ให้ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ในกรณีที่ในหนังสือชี้ชวนไม่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนไว้ ให้ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนกําหนดรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจองซื้อ และเงื่อนไขในการจัดสรรหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบโดยเปิดเผยก่อนการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้นั้นด้วย
(2) นําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหน่วยลงทุนของผู้เสนอขายหน่วยลงทุน หรือแยกเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนเรียกเก็บเงินจากผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ
(3) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรภายในสิบสี่วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย หากไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น
ข้อ ๑๐ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๑๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,937 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 81/2542 เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 81/2542
เรื่อง การคํานวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการคํานวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.30/2535 เรื่อง การคํานวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2535
(2) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.38/2536 เรื่อง การคํานวณเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2536
ข้อ ๒ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกําหนดเวลา ให้คํานวณเบี้ยปรับสองเท่าของจํานวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร
จํานวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง จํานวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จํานวนภาษีขายหรือจํานวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกําหนดเวลา ให้คํานวณเบี้ยปรับดังนี้
(1) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
(2) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
(3) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป และคํานวณเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
(4) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(5) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(6) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
(7) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(8) กรณีแสดงจํานวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจํานวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
ข้อ ๔ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกําหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จํานวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจํานวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร
จํานวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง จํานวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
จํานวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามวรรคหนึ่ง หมายความถึงผลต่างระหว่างจํานวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีกับจํานวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อที่พึงต้องเสียในเดือนภาษีนั้น
จํานวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามวรรคสาม ได้แก่
(1) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจํานวนภาษีที่ต้องชําระไว้น้อยกว่าจํานวนภาษีที่พึงต้องชําระในเดือนภาษีนั้น ให้คํานวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
(2) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจํานวนภาษีที่ขอคืนไว้มากกว่าจํานวนภาษีที่พึงได้คืนในเดือนภาษีนั้น ไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
(3) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจํานวนภาษีที่ขอคืน แต่ในเดือนภาษีนั้นนอกจากไม่มีจํานวนภาษีที่พึงได้คืนแล้ว ยังมีจํานวนภาษีที่พึงต้องชําระอีกด้วย ให้คํานวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเฉพาะจํานวนภาษีที่พึงต้องชําระ
ข้อ ๕ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกําหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จํานวนภาษีขายหรือจํานวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามข้อ 3 และยังเป็นเหตุให้จํานวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามข้อ 4 คลาดเคลื่อนไปด้วย ให้คํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 และยังต้องคํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 4 ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทําให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจํานวนมากกว่า
ข้อ ๖ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกําหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสําหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5
การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) เพิ่มเติมภายในกําหนดเวลาไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๗ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) เมื่อพ้นกําหนดเวลา โดยได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสําหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ของจํานวนภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติมนั้น
ถ้าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งได้ปรับปรุงจํานวนภาษีขายและหรือจํานวนภาษีซื้อที่ได้แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามข้อ 3 ให้คํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับตามข้อ 3 หรือเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทําให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจํานวนมากกว่า
ข้อ ๘ ให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน สําหรับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.31) ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งได้คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.36) ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1(2) โดยวิธีนําส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกําหนด (ใบขนสินค้าขาเข้า) ของผู้นําเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๙ กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทําใบกํากับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้คํานวณเบี้ยปรับสองเท่าของจํานวนภาษีตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 89(5) แห่งประมวลรัษฎากร
ไม่ให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีที่ไม่ได้จัดทําตามวรรคหนึ่งไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว โดยไม่ได้รับคําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
คําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสองหมายความถึง กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว
ข้อ ๑๐ กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกระทําผิดดังต่อไปนี้
(1) ไม่ได้จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ไม่ได้จัดทํารายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ไม่ได้จัดทํารายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร
(4) ลงรายการในรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ไม่ถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ให้คํานวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคํานวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทํารายงาน หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
การลงรายการในรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตาม\*ี่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไม่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้นําไปใช้กับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้คํานวณมูลค่าของฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดของสินค้าหรือบริการ ตามมาตรา 79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทํารายงานตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร จากการที่ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้
ฐานภาษีที่ไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งหมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร จากการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้
ข้อ ๑๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ไว้ ณ สถานประกอบการที่ทํางานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทํารายงานตามข้อ 10(1)(2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ไว้ ณ สถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนํารายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด มาให้เจ้าพนักงานประเมินทําการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กําหนด และผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนํารายงานดังกล่าวมาให้เจ้าพนักงานประเมินทําการตรวจสอบได้ ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
กําหนดเวลาตามวรรคสองต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทําความผิด ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๒ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทํารายงานภาษีซื้อ ตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีซื้อไว้ ณ สถานประกอบการทํารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๓ ให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 10 และข้อ 11 มาใช้บังคับในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87(3) และมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรหรือลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานสินค้าและวัตถุดิบไว้ ณ สถานประกอบการที่ทํางานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๔ ในการตรวจปฏิบัติการ หรือการตรวจสอบทั่วไปกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทํารายงานหรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ถ้าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอํานาจประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยแสดงจํานวนภาษีที่ต้องเสียต่ํากว่าความเป็นจริง
(3) ผู้ประกอบการจด\*ะเบียนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคําถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแสดงใบกํากับภาษีในกรณีภาษีซื้อหรือสําเนาใบกํากับภาษีในกรณีภาษีขาย พร้อมหลักฐานอื่นเพื่อการคํานวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เก็บสําเนาใบกํากับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกําหนดไว้ หรือ
(6) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคําขอจดทเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1 มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13
ไม่ให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณเบี้ยปรับตามวรรคสองมาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทํารายงาน หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว โดยไม่ได้รับคําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
คําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสามหมายความถึง กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว
ข้อ ๑๕ กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หมายความถึง กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อมีการตรวจนับสินค้าไม่ว่าโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนเองหรือเจ้าพนักงานประเมินปรากฏว่ามีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา77/1(8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคํานวณจากมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ตรวจพบตามมาตรา 79/3(3) และมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๖ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 13 หรือข้อ 15 ให้คํานวณเบี้ยปรับทุกกรณี แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทําให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจํานวนมากกว่า
ข้อ ๑๗ ให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณเบี้ยปรับตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 มาใช้บังคับสําหรับการทํารายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 91/14 แห่งประมวลรัษฎากร โดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน
ข้อ ๑๘ กรณีผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) หรือยื่นแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกําหนดเวลา หรือยื่นแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 83/6(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ผู้จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๙ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 โดยวิธีนําส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) หรือยื่นแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกําหนดเวลา ให้คํานวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องนําส่งในเดือนภาษีตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 82/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสินค้าหรือบริการดังกล่าวได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้รับโอนสินค้าตามมาตรา 82/1(3)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 โดยวิธีนําส่งภาษีตามมาตรา83/7 แห่งประมวลรัษฎากรตามวรรคหนึ่งยื่นแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) ภายในกําหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จํานวนภาษีที่นําส่งไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด ให้คํานวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่นําส่งคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒๐ กรณีที่ผู้มีหน้าทีเสียภาษี หรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษี กระทําผิดดังต่อไปนี้
(1) ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.31 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36)
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.31 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกําหนดเวลา
(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.31 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนําส่งภาษี (ภ.พ.36) ภายในกําหนดเวลาโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนําส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้ชําระภาษีหรือนําส่งภาษีในเดือนภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน
(4) มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร อันเนื่องจากชําระภาษีในเดือนภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ให้คํานวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒๑ เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณจากเงินภาษีที่ต้องชําระในเดือนภาษีหลังจากนําเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคํานวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ไปชําระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเครดิตภาษีตามส่วน 8 ของหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร มาหักออก
เครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึงภาษีซื้อที่คงเหลืออยู่จริงจากการคํานวณภาษีตามมาตรา 82/3 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งสะสมมาจากเดือนภาษีก่อนและได้แสดงในแบบแสดงรายการในเดือนภาษีที่ผ่านมา
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนําเครดิตภาษีมาชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วน 8 ของหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร เกินกว่าจํานวนเครดิตภาษีที่เหลืออยู่จริงในแบบแสดงรายการภาษีของเดือนที่ผ่านมา อันเป็นเหตุให้การชําระภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้คํานวณเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระ โดยไม่ต้องคํานวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒๒ ให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามข้อ 2 ถึงข้อ 21มาใช้บังคับในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีเอง หรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษียื่นแบบนําส่งภาษีเอง หรือในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีในทุกกรณี
ข้อ ๒๓ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 2 ถึงข้อ 21 และในกรณีอื่นตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณเบี้ยปรับทุกกรณี แต่การงดหรือลดเบี้ยปรับและการเรียกเก็บเบี้ยปรับให้เป็นไปตามระเบียบหรือคําสั่งที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๔ ระเบียบ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,938 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 74/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 74 /2552
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
(2) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
(3) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(4) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งทําสัญญายินยอมให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
ข้อ ๒ เมื่อบริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเริ่มขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้ถือว่ากองทรัพย์สินที่เกิดจากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นได้รับการจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมแล้ว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการถัดจากวันที่เริ่มขายหน่วยลงทุน
(1) สําเนาข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการที่มีการลงนามแล้วซึ่งกรรมการผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อของบริษัทจัดการได้รับรองความถูกต้อง
(2) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีการลงนามแล้ว ซึ่งกรรมการผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อของบริษัทจัดการได้รับรองความถูกต้อง
(3) รายงานจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ในวันเริ่มขายหน่วยลงทุน
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งได้ในจํานวนซึ่งเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนกับจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนแล้วไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนนั้น
ข้อ ๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงกับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนกองทรัพย์สินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนเป็นกองทุนรวม เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,939 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2551 เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 2/2551
เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยมีสินค้าหรือตัวแปรเป็นหลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ เงินตราสกุลใด ๆ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินหรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัทต้องกําหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการลงทุน และต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท
ข้อ ๓ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสัญญาอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง เว้นแต่เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือเป็นการลงทุนเพื่อบัญชีของบริษัท และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๔ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้นอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้
ข้อ ๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อบัญชีของบริษัทโดยการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 5 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจํานวนที่เพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ
(2) มีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการลงทุน รวมทั้งนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการจัดการด้านการปฏิบัติการ มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัท อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแลได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดหรือมาตรฐานอื่นที่สูงกว่าตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ
(ข) การจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (position limit) ที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก
1. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
2. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง
3. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสินค้าหรือตัวแปรประเภทใดประเภทหนึ่ง
4. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง
5. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลขาดทุน
(ค) การมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(ง) การมีหน่วยงานดูแลการปฏิบัติงาน (compliance unit) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัท
5. การมีระบบการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้นที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้
ข้อ ๗ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 9 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 5 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๘ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 7 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศว่าด้วยการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และตัวแทนซื้อขายสัญญาดังกล่าวมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 6 ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตให้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อบัญชีของบริษัทตามประกาศนี้ด้วยแล้ว
ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8 และข้อ 9 ต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 6 ไว้ตลอดเวลาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อบัญชีของบริษัท
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นทองคําหรือน้ํามันดิบนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาตามข้อ 5 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ (perfectly hedge) โดยไม่ชักช้า
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทออปชันในฐานะผู้ได้รับสิทธิตามสัญญา
เพื่อประโยชน์ในข้อนี้ คําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทออปชัน” ให้หมายความถึง สัญญาที่มีลักษณะตามที่กําหนดใน (3) ของบทนิยามคําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดลงทุนในหลักทรัพย์หรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประการอื่นในการซื้อขายดังกล่าว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 2 ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(2) ในกรณีที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาคงฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เพียงเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสัญญาดังกล่าวและห้ามมิให้ทําการขยายระยะเวลาหรือต่ออายุสัญญานั้นจนกว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ จึงสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการดําเนินการดังกล่าวของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 2,940 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 82/2542 เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 82/2542
เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ซึ่งผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์พร้อมกับชําระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และกรมที่ดินต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อกรมสรรพากร ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําว่า “ขาย” ในการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจําหน่ายจ่ายโอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) กรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยอมให้บุคคลอื่นเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร ตามสัดส่วนที่ให้บุคคลอื่นเข้าถือกรรมสิทธิ์รวม
(2) กรณีคู่สมรสฝ่ายใดยกกรรมสิทธิ์ในสินสมรสในส่วนของคู่สมรสฝ่ายนั้น ให้แก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ถือเป็นการขาย ตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร ตามสัดส่วนที่ยกให้
(3) กรณีการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมจึงไม่ใช่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ข้อ ๒ คําว่า “นิติบุคคล” ตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(2) กิจการซึ่งดําเนินการเป็นทางค้าหรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(3) กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่ กิจการที่ดําเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากําไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น
(4) มูลนิธิหรือสมาคม
(5) องค์การของรัฐบาล ตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่ องค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และหมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
(6) สหกรณ์
(7) องค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล
ข้อ ๓ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ การขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังต่อไปนี้
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(2) การขายห้องชุดของผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้จดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1)(2) หรือ (3)เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทําถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่นหรือให้คํามั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว
(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของนิติบุคคล ตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ถูกส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเวนคืนที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์บนที่ดินพร้อมที่ดิน ซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่ขอรับเงินค่าทดแทนดังกล่าว การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการโดยการถูกเวนคืนดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 295) พ.ศ. 2539
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1)(2)(3)(4) หรือ(5) ที่ได้กระทําภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กล่าวในข้อ 4
(ก) “วันที่ได้มา” ได้แก่วันที่จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
(ข) “การนับระยะเวลาการได้มา” ให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้มาจนถึงวันโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยการนับระยะเวลาให้นับตามมาตรา 193/5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กําหนดเวลาห้าปีให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
ข้อ ๔ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อ 3(1)(2)(3)(4) หรือ (5) และเฉพาะกรณีที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(1) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(ก) กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรสของผู้ตาย ส่วนของสินสมรสของคู่สมรส (กึ่งหนึ่ง) ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนของสินสมรส (อีกกึ่งหนึ่ง)ที่เป็นมรดกไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น สามีและภริยาไม่มีบุตรด้วยกัน สามีถึงแก่ความตาย ต่อมาภริยาได้ขายสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปทั้งหมดภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มา ส่วนที่เป็นของภริยา (กึ่งหนึ่ง) ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนที่เป็นมรดก (อีกกึ่งหนึ่ง ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ข) กรณีผู้จัดการมรดกขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งถือว่าทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
(ก) กรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมทั้งหมดถึงหนึ่งปี ให้ถือว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งปีแล้ว
(ข) กรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมแต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแยกเป็นรายบุคคลตามส่วนในกรรมสิทธิ์รวมตามข้อ 7(1) บุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
(ค) กรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมแต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลตามข้อ 7(2) ไม่ให้นําเงื่อนไขการมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมาใช้สิทธิในกรณีดังกล่าว
(ง) กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรส คู่สมรสทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
(จ) กรณีคู่สมรสฝ่ายใดยกกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสในส่วนของตนให้แก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าคู่สมรสฝ่ายที่ยกให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(4) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
(5) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
(6) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล ตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีค่าตอบแทน
(7) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือองค์การรัฐบาล ตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้น มิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
ข้อ ๕ วิธีปฏิบัติในการเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับชําระภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
“กรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะตามวรรคหนึ่ง มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับชําระภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แต่ชําระภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน จะต้องรับผิดดังนี้
(1) กรณีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท ตามมาตรา 90 และมาตรา 91/21 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมกับรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ไม่ได้ชําระ ตามมาตรา 89(2) และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ไม่ได้ชําระ ตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจ-เฉพาะแล้ว แต่ชําระไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ชําระไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 89(3) และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ชําระไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ถ้าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสอง มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถูกต้องครบถ้วน ก็ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ พร้อมกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ชําระค่าปรับทางอาญา ณ สํานักงานสรรพากรอําเภอ หรือสํานักงานสรรพากรอําเภอ (สาขา) ส่วนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ และชําระภาษีธุรกิจเฉพาะให้ดําเนินการตามวรรคสาม”
(แก้ไขเพิ่มเติมตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.94/2543 สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2543)
ข้อ ๖ การคํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้คํานวณจากยอดรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ
(1) กรณีราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามบันทึกถ้อยคําการชําระภาษีอากร (ท.ด.16) สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น ให้คํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะตามราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามบันทึกถ้อยคําการชําระภาษีอากร (ท.ด.16)
(2) กรณีราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามบันทึกถ้อยคําการชําระภาษีอากร (ท.ด.16) ต่ํากว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้คํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะตามราคาประเมินทุนทรัพย์
(3) ภายใต้บังคับ (1) และ (2) กรณีที่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ติดจํานอง ให้คํานวณยอดรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์รวมกับภาระจํานองที่ติดกับทรัพย์ด้วย
(4) กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ตกลงเป็นผู้ออกค่าภาษีธุรกิจเฉพาะและหรือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมายแทนผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ให้นําเงินค่าภาษีธุรกิจเฉพาะและหรือค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อออกแทนให้ดังกล่าวรวมกับรายรับตาม (1)(2)หรือ (3) เป็นฐานภาษีในการคํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
(แก้ไขเพิ่มเติมตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.94/2543 สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2543)
แต่อย่างไรก็ตาม หากปรากฏหลักฐานจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินในภายหลัง พบว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีราคาสูงกว่าราคาซื้อขายตามบันทึกถ้อยคําการชําระภาษีอากร (ท.ด.16) หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ เจ้าพนักงานประเมินยังคงมีอํานาจในการติดตามประเมินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากราคาซื้อขายที่แท้จริงที่สูงกว่าต่อไปได้
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะให้คํานวณในอัตราร้อยละ 3.3 (รวมภาษีท้องถิ่น)
ข้อ ๗ การขายอสังหาริมทรัพย์กรณีที่มีการถือกรรมสิทธิ์รวม ที่ได้ขายไปภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามข้อ 3(6)
(1) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจากการให้โดยเสน่หาการครอบครองปรปักษ์ หรือจากการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้บุคคลอื่นเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลัง ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์รวมเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยแยกรายรับตามส่วนของแต่ละคนที่มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม
(2) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจากการทํานิติกรรมซื้อขาย ขายฝาก หรือแลกเปลี่ยน โดยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกัน ให้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล แต่หากไม่ได้มีการเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกัน ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์รวมเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยแยกรายรับของแต่ละคนที่มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม
ข้อ ๘ กรณีการขายฝากเฉพาะกรณีข้อ 3(6)
(1) การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ถ้าได้กระทําภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) กรณีการรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดก่อนวันที่ 10 เมษายน 2541 ไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 491 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากไม่เคยตกให้แก่ผู้รับซื้อฝากเลยตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2541 ผู้รับไถ่อสังหาริมทรัพย์จึงไม่ต้องนําสินไถ่ไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กรณีการรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสํานักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2541 ทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์ตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541 ดังนั้น การไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รับซื้อฝากย่อมเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 3(15)(ก)แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 365) พ.ศ. 2543 ผู้รับไถ่อสังหาริมทรัพย์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(3) กรณีผู้ขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไถ่ถอนการขายฝากภายหลังกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาหรือภายหลังกําหนดเวลาที่กฎหมายกําหนด เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้รับซื้อฝากกับผู้ขายฝาก ถ้าการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้รับซื้อฝากดังกล่าวได้กระทําภายใน 5 ปีนับแต่วันที่รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ถ้าการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้กระทําภายใน 5 ปีนับแต่วันที่รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(5) กรณีผู้ขายฝากได้ไถ่ถอนการขายฝาก และต่อมาได้ขายอสังหาริมทรัพย์นั้นไป
(ก) กรณีไถ่ถอนการขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดที่ได้กระทําก่อนวันที่ 10 เมษายน 2541 การนับระยะเวลาการได้มาให้นับระยะเวลาที่ขายฝากรวมเข้าด้วย เนื่องจากทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในกําหนดเวลาตามสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่เคยตกไปเป็นของผู้ซื้อฝากตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541
กรณีไถ่ถอนการขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2541 ทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์ ตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ดีหากต่อมาได้มีการขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกิน 5 ปี ย่อมได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3(15)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 365) พ.ศ. 2543
(ข) กรณีไถ่ถอนการขายฝากภายหลังกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาหรือภายหลังกําหนดเวลาที่กฎหมายกําหนด การนับระยะเวลาการได้มาให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ไถ่ถอนการขายฝาก”
(แก้ไขเพิ่มเติมตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.99/2543 สั่ง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2543)
ข้อ ๙ วันเริ่มใช้บังคับในการเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะของกรมที่ดินเพื่อกรมสรรพากร ให้เริ่มใช้บังคับสําหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542
ข้อ ๑๐ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,941 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 4/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 4/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข.16/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 2/1 ให้ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.”
ข้อ ๒ ให้ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดําเนินการให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวให้กระทําในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาท โดยอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อการอํานวยความยุติธรรม | 2,942 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2551 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 15/2551
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
“(11/1) “บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทย่อยในลําดับเดียวกันตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกัน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของหัวข้อที่ 9. การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) โครงสร้างการจัดการ :
(1.1) ให้อธิบายโครงสร้างกรรมการบริษัทว่าประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมด
กี่ชุด เช่น คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกําหนดค่าจ้างผู้บริหาร เป็นต้น และขอบเขตอํานาจหน้าที่ของกรรมการแต่ละชุด
(1.2) ให้ระบุรายชื่อกรรมการบริษัท และหากกรรมการรายใดเป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ หรือกรรมการในชุดอื่นตาม (1.1) ให้ระบุให้ชัดเจน นอกจากนี้ ให้ระบุรายชื่อกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงินของบริษัท และประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงินของกรรมการรายดังกล่าวด้วย
(1.3) ให้ระบุหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระ ได้แก่ คุณสมบัติ และกระบวนการสรรหา
(1.4) ให้ระบุจํานวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการ และจํานวนครั้งที่กรรมการ
แต่ละรายเข้าประชุมคณะกรรมการบริษัท ในปีที่ผ่านมา
(1.5) ให้ระบุรายชื่อและตําแหน่งของผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) และรายชื่อของเลขานุการบริษัท
(1.6) ให้เปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพระหว่างกรรมการอิสระกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าที่กําหนดไว้ในประกาศว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ถ้ามี) ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งมติและความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติให้ทํารายการที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพดังกล่าว (ถ้ามี)
ทั้งนี้ ให้แนบข้อมูลของกรรมการบริษัทของบริษัท ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาล่าสุด ประวัติการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และทักษะของการเป็นกรรมการ (เช่น การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)) ประสบการณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และประวัติการกระทําผิด รวมทั้งรายชื่อของกรรมการในบริษัทย่อยตามเอกสารแนบ และในกรณีที่กรรมการอิสระของบริษัทดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการอิสระของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลําดับเดียวกันให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่งของกรรมการรายดังกล่าวไว้ด้วย”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3.1) (ก) ของ (3) ในหัวข้อที่ 9. การจัดการ ของส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3.1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
(ก) ให้แสดงค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทแต่ละรายในปีที่ผ่านมา โดยให้ระบุเฉพาะค่าตอบแทนในฐานะกรรมการเท่านั้น ในกรณีกรรมการได้รับค่าตอบแทนในฐานะผู้บริหารตาม (ข) ด้วย ให้แยกระบุค่าตอบแทนไว้ใน (ข) และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (เช่น ค่าตอบแทนกรรมการรายนาย ก เท่ากับ xx บาท ในปี 25xx โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุมและบําเหน็จกรรมการซึ่งแปรตามผลการดําเนินงานของบริษัท เป็นต้น)
ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการอิสระของบริษัทเป็นกรรมการอิสระของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลําดับเดียวกัน ให้แสดงค่าตอบแทนรวมที่กรรมการอิสระแต่ละรายได้รับจากบริษัทดังกล่าวในปีที่ผ่านมาด้วย”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (4) ของหัวข้อที่ 9. การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การกํากับดูแลกิจการ : ให้อธิบายว่าที่ผ่านมาบริษัทมีการปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ หากมีเรื่องใดที่บริษัทมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ระบุเรื่องที่ไม่ปฏิบัตินั้น พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ ในการแสดงเหตุผลประกอบดังกล่าว บริษัทอาจเลือกใช้วิธีอ้างอิงไปยังคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในหัวข้ออื่นก็ได้”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในหัวข้อที่ 5. โครงสร้างการจัดการ ของส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในแบบ 69-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“**5. โครงสร้างการจัดการ**
(1) ให้ระบุรายชื่อและตําแหน่งของกรรมการของบริษัท ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุม รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาล่าสุด ประสบการณ์ทํางาน และประวัติการกระทําผิด ตามเอกสารแนบ
(2) ให้ระบุรายชื่อกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงินของบริษัท และประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงินของกรรมการรายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการอิสระของบริษัทดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการอิสระของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลําดับเดียวกัน ให้แสดงรายละเอียดการดํารงตําแหน่งของกรรมการรายดังกล่าวด้วย
(3) ให้เปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพระหว่างกรรมการอิสระกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมี
ความขัดแย้ง ซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าที่กําหนดไว้ในประกาศว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นที่ออกใหม่ (ถ้ามี) ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งมติและความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติให้ทํารายการที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพดังกล่าว (ถ้ามี)”
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,943 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 4/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 4/2550
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายตราสารหนี้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ข้อ 2 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะตามข้อ 10(3)(ข) ข้อ 11(3) และข้อ 12(3)(ข) ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามความในมาตรา 81 ในส่วนที่ใช้บังคับกับรายงานผลการขายตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวต่อประชาชน โดยอนุโลม”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ (3) ในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
“เพื่อประโยชน์ตาม (3) วันปิดการเสนอขายให้หมายถึงวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายตราสารหนี้ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายตราสารหนี้ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงิน ระยะเวลาการเสนอขายตราสารหนี้ที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลแต่ละฉบับต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลฉบับนั้นมีผลใช้บังคับ”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
“(4) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น ให้เลือกใช้แบบ 69-SR แบบ 69-S หรือแบบ 69-S(Listed) ท้ายประกาศนี้”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
“ข้อ 19/1 ในกรณีเป็นการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวอาจเลือกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานก็ได้
1. แบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 18 แบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 19 หรือแบบ 69-S ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกกรณี
2. แบบ 69-S(Listed) ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะกรณีที่มิใช่การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น
ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ตามข้อนี้ เลือกยื่นแบบ 69-S หรือแบบ 69-S(Listed) ต่อสํานักงานแล้วสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินเป็นครั้งแรกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินในครั้งต่อ ๆ ไปภายในระยะเวลาดังกล่าว ผู้ออกตราสารหนี้อาจยื่นแบบ 69-S หรือแบบ 69-S(Listed) ฉบับใหม่ต่อสํานักงานโดยเพียงแต่อ้างอิงข้อมูลให้ผู้ลงทุนตรวจสอบได้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับเดิม และระบุข้อมูลเฉพาะในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ออกตราสารหนี้ต้องระบุคํารับรองไว้ให้ชัดเจนว่าการรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว ครอบคลุมถึงข้อมูลที่ผู้ออกตราสารหนี้อ้างอิงให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับเดิมด้วย”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
1. กรณีทั่วไปที่มิได้มีข้อกําหนดไว้เป็นประการอื่น ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
2. กรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 19 ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับไม่ต่ํากว่า investment grade ให้เป็นดังนี้
(ก) ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 19(1) มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
(ข) ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 19(2)
มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ซึ่งไม่เข้าลักษณะตามข้อ 19 ให้เป็นดังนี้
(ก) ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นเป็นครั้งแรกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น แต่ในกรณีที่เข้าลักษณะตาม (5) หรือ (6) ให้การมีผลใช้บังคับเป็นไปตามที่กําหนดไว้สําหรับกรณีดังกล่าว
1. ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นในครั้งต่อ ๆ ไปมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ ให้เป็นดังนี้
(ก) ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นเป็นครั้งแรกภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น แต่ในกรณีที่เข้าลักษณะตาม (5) หรือ (6) ให้การมีผลใช้บังคับเป็นไปตามที่กําหนดไว้สําหรับกรณีดังกล่าว
1. ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นในครั้งต่อ ๆ ไปภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
2. ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ให้เป็นดังนี้
(ก) กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
(ข) กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นมิใช่บริษัทจดทะเบียน ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนดังกล่าว และผู้ออกหุ้นกู้ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะที่สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 19 ได้ หรือเข้าลักษณะดังกล่าวแต่เลือกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 18(3) ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกโดยนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น”
ข้อ 9 ให้เพิ่มแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แบบ 69-S(Listed) ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ข้อ 10 ให้การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังคงได้รับยกเว้นในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 10(2) และข้อ 11(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ต่อไปอีกหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 11 ให้ผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เคยเสนอขายโดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 10(2) และข้อ 11(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ ยังคงได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นดังกล่าวในทุกทอดต่อ ๆ ไป
ข้อ 12 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ **สุสังกร์กาญจน์)**
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,944 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 15/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 15/2550
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) การเสนอขายพันธบัตรที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการ
เสนอขายพันธบัตรดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก
2. ผู้ออกพันธบัตรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง”
###### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ **สุสังกร์กาญจน์)**
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,945 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 2/2551 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 2/2551
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(ฉบับที่ 4)
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ภายใต้บังคับของข้อ 19/1 กรณีระยะเวลาการเสนอขายตราสารหนี้ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลง ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานไว้แล้ว ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน หรือก่อนการเสนอขายตราสารหนี้เพิ่มเติม แล้วแต่กรณี”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ให้เลือกใช้แบบ 69-SR แบบ 69-S หรือแบบ 69-S(Listed) ท้ายประกาศนี้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19/1 ในกรณีเป็นการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ให้เป็นดังนี้
(1).ผู้ออกตราสารหนี้ที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือตามมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 ให้ใช้แบบ 69-S(Listed) ซึ่งภายหลังจากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน ให้ผู้ออกตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อปรับปรุงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับเดิมต่อสํานักงานทุกครั้ง ภายในกําหนดเวลายื่นงบการเงินรายไตรมาสหรืองบการเงินประจําปีต่อสํานักงาน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 56 และให้ผู้ออกตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงานภายในกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงาน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับดังกล่าว
(2).ผู้ออกตราสารหนี้ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) ให้ใช้แบบ 69-S ซึ่งภายหลังจากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน ให้ผู้ออกตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อปรับปรุงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับเดิมต่อสํานักงานทุกครั้ง ภายในกําหนดเวลาส่งงบการเงินที่จัดทําขึ้นระหว่างงวดปีบัญชี ต่อหน่วยงานกํากับดูแลตามกฎหมาย และให้ผู้ออกตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงานภายในกําหนดเวลาส่งงบการเงินประจําปีต่อหน่วยงานกํากับดูแลตามกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้มีหน้าที่ส่งงบการเงินต่อหน่วยงานกํากับดูแลหลายแห่ง ให้ใช้กําหนดเวลาที่ครบก่อน
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
“(1/1) การเสนอขายโดยผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 19/1 การลงลายมือชื่อให้เป็นดังนี้
(ก) ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี
ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลดังต่อไปนี้
1. แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
2. แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นภายในกําหนดเวลาส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 56 สําหรับผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56
3. แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นภายในกําหนดเวลาส่งงบการเงินประจําปีต่อหน่วยงานกํากับดูแล สําหรับผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตาม 2.
(ข) ให้กรรมการที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดของผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินลงลายมือชื่อ ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังต่อไปนี้
1. แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นภายในกําหนดเวลาส่งงบการเงินรายไตรมาสหรืองบการเงินประจําปี ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 56 สําหรับผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อปรับปรุงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามข้อ 19/1(1)
2. แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นภายในกําหนดเวลาส่งงบการเงินที่จัดทําขึ้นระหว่างงวดปีบัญชี ต่อหน่วยงานกํากับดูแลตามกฎหมาย สําหรับผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตาม 1. ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อปรับปรุงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามข้อ 19/1(2)
ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินมิได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อปรับปรุงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามข้อ 19/1(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี การลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลให้เป็นไปตาม (ก)”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ให้เป็นดังนี้
(ก) กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นมีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น
(ข) กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นไม่เข้าลักษณะตาม (ก) ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้น”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกแบบ 69-S(Listed) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2550 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้แบบ 69-S(Listed) ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551
(นายฉลองภพ **สุสังกร์กาญจน์)**
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,946 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2551 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 16/2551
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายตราสารหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของหัวข้อที่ 9. การจัดการ ในส่วนที่ 2 ผู้ออกตราสารหนี้ของแบบ 69-SR ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การกํากับดูแลกิจการ : ให้อธิบายว่าที่ผ่านมาบริษัทมีการปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ หากมีเรื่องใดที่บริษัทมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ระบุเรื่องที่ไม่ปฏิบัตินั้น พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ ในการแสดงเหตุผลประกอบดังกล่าว บริษัทอาจเลือกใช้วิธีอ้างอิงไปยังคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในหัวข้ออื่นก็ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,947 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 31) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการนำส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 31) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการนําส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 และตามความในข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 364 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการนําส่งเงินภาษี อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ในการนําส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 20) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ในการนําส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
“ในการนําส่งภาษีเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการนําส่งเงินภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี โดยให้นําส่งเงินภาษีพร้อมข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ได้นําส่งเงินภาษีและรายการข้อมูลต่อธนาคารตามข้อ 4 โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,948 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 30) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 30)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)” หมายความว่า ระบบการจัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของบล็อก (Block) โดยแบ่งฐานข้อมูล (Shared Database) ให้กับผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละบล็อก (Block) จะเชื่อมโยงกันด้วยค่าแฮชฟังค์ชั่น (Hash Function) ซึ่งเมื่อข้อมูลถูกบันทึกแล้ว หากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว จะสามารถตรวจสอบการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนั้นได้และจะมีการบันทึกข้อมูลไว้ทุกครั้งที่มีการทําธุรกรรมเกิดขึ้น โดยสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ทุก ๆ บล็อก (Block) ย้อนกลับไปจนถึงบล็อก (Block) เริ่มต้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีมาสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการด้านภาษี (Tax Sandbox) ซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามประกาศฉบับนี้และอนุญาตให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิจัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
“ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 ใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 ที่ได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และนําเข้าสู่ระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
“ใบรับอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ใบรับ ตามมาตรา 105 ทวิ ที่ได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และนําเข้าสู่ระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ และเก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิจัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
“ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิจัดทําใบรับอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
“ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)” หมายความว่า ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นทางอิเล็กทรอนิกส์โดยการคํานวณทางคณิตศาสตร์เข้ารหัสอัลกอริทึมแบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) บนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัสลับ (Encryption) และใช้กับระบบคู่กุญแจ (Key Pair) โดยนําไปคํานวณร่วมกับกุญแจส่วนตัว (Private Key) ของผู้ลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะที่สามารถจะใช้กุญแจสาธารณะ (Public Key) ของผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบได้ว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้สร้างขึ้นโดยกุญแจส่วนตัว (Private Key) ของผู้ลงลายมือชื่อนั้นหรือไม่ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังการลงลายมือชื่อหรือไม่ รวมถึงการทําให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดจากข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้
ข้อ ๒ ผู้ประสงค์จะเป็นผู้ให้บริการต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
2.1 ต้องเป็นผู้เข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีมาสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการด้านภาษี (Tax Sandbox) ของกรมสรรพากร
2.2 มีระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ที่ผ่านการรับรองหรือให้ความเห็นเป็นหนังสือจากสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ดังนี้
(1) ระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และสามารถพิสูจน์ได้ว่า หากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจะสามารถตรวจสอบการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนั้นได้
(2) ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาบนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) มีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกันกับขณะที่จัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาดังกล่าว หากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจะสามารถตรวจสอบการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนั้นได้
2.3 ต้องมีระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ตามวิธีการที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ทั้งในส่วนของระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) และระบบซอฟต์แวร์ (Software) และมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) สามารถแสดงภาพการทํางานรวม (System Flowchart) ของระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
(2) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วจะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ การแก้ไขรายการไม่ให้ใช้วิธีลบทิ้ง หรือล้างรายการออก ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงเพิ่มเข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นรายการก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง และต้องมีรายงานการแก้ไขรายการเพื่อการตรวจสอบได้
(3) แสดงระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ โดยระบุจํานวนและระดับเจ้าหน้าที่ที่สามารถบันทึก อ่าน หรือเข้าไปใช้ระบบงานในแต่ละระดับได้
(4) มีการควบคุมโดยใช้รหัสผ่านสําหรับผู้มีสิทธิเข้าไปใช้ระบบงานทุกระดับและมีระบบงานที่บันทึกการเปลี่ยนรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
(5) มีรายงานบันทึกการใช้ระบบงานโดยระบุให้ทราบถึงรหัสประจําตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบงานที่ทํา วัน เดือน ปี และเวลาที่เข้าใช้ระบบงาน (Access) ในกรณีที่มีการแก้ไขรายการจะต้องระบุให้ทราบถึงรหัสประจําตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ จํานวน และรายละเอียดของรายการที่แก้ไขปรับปรุง
(6) มีระบบการตรวจสอบผู้เข้าใช้หรือผู้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในระบบ และมีกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบที่สามารถแสดงว่าข้อมูลดังกล่าวได้บันทึกไว้ครบถ้วนทุกรายการแล้วและไม่มีการแก้ไขรายการของเอกสารที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.4 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีตามแบบคําขอเป็นผู้ให้บริการระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 พร้อมแนบหนังสือรับรองจาก สพธอ. เพื่อประกอบการพิจารณา และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามแบบคําขอนั้น
ข้อ ๓ ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 2 แล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้
3.1 จัดให้มีการลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะใช้บริการระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ของผู้ให้บริการ สําหรับการจัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์โดยการลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนนั้นต้องมีระดับความน่าเชื่อถือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3.2 จัดทําข้อตกลงกับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เข้าร่วมระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) สําหรับการจัดทํา ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
(1) ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์รับรองและยอมรับข้อความในใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทําบนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ว่าข้อความมีความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของข้อความ และ
(2) ยินยอมให้ผู้ให้บริการแจ้งรายชื่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน รวมถึงนําส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากร
3.3 จัดทําข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งข้อมูลอื่นใดบนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ในรูปแบบ XML File Format ตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จําเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สําหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ. 3-2560) ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ขนาดของข้อมูลที่นําส่งต้องไม่เกินกว่าที่ระบบของกรมสรรพากรให้บริการ
3.4 นําส่งข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยระบบงานสําหรับการนําส่งข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้นต้องเชื่อมต่อกับระบบของกรมสรรพากรพร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) บนข้อมูลดังกล่าว และต้องมีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จําเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสําหรับผู้ให้บริการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 21-2562) ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562
3.5 เก็บรักษาความลับของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทําบนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) และต้องไม่นําข้อมูลนั้นไปใช้หรือเปิดเผยไม่ว่าด้วยประการใด ๆ เว้นแต่เป็นการใช้หรือเปิดเผยตามหน้าที่ของผู้ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีมาสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการด้านภาษี (Tax Sandbox) โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้บริการระบบโครงข่ายบล็อกเชนของผู้ให้บริการ หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ
ข้อ ๔ ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้บริการระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ของผู้ให้บริการต้องปฏิบัติดังนี้
4.1 จัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องมีรายการที่เป็นสาระสําคัญ ตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/9 มาตรา 86/10 และมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
4.2 ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 4.1 ต้องจัดทําด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลาย ๆ วิธีการ ดังนี้
(1) จัดทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ Excel File และนําเข้าสู่ระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
(2) จัดทําตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และนําเข้าสู่ระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
(3) จัดทําบนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ตามรูปแบบและวิธีการที่ผู้ให้บริการกําหนด
4.3 จัดส่งใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชําระราคาตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นระบบข้อมูลที่ผู้รับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้กําหนดไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กรณีผู้ให้บริการได้นําส่งข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 4.2 (2) แล้ว ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องนําส่งข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อีก
ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ได้รับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้น จัดเก็บและรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
5.1 ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
(2) เก็บรักษาข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่จัดทํา ส่ง หรือได้รับข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่จัดทํา ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ
(3) เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกําเนิดต้นทางและปลายทางของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี
5.2 จัดเก็บและรักษาข้อความในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตามปกติในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อความนั้น และ
(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้
5.3 จัดเก็บและรักษาในรูปของสิ่งพิมพ์ออกตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ต้องทําให้ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่พิมพ์ออกมานั้นปรากฏข้อความด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า “เอกสารนี้ได้จัดทําและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” และให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้
ข้อ ๖ การยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเดิมเพื่อออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดเตรียมข้อความของใบกํากับภาษีฉบับใหม่ขึ้นเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เลขที่ใบกํากับภาษีใหม่ และลงวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ พร้อมหมายเหตุไว้ในใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกํากับภาษีฉบับใหม่แทนใบกํากับภาษีฉบับเดิม เลขที่ ... วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเดิม” ทั้งนี้ ให้หมายเหตุการยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ด้วย
การยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเดิมเพื่อออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้นําความในข้อ 3.4 ข้อ 4.3 และข้อ 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๗ การยกเลิกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเดิมเพื่อออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ ให้นําความในข้อ 3.4 ข้อ 4.3 ข้อ 5 และข้อ 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘ ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้เป็นผู้ให้บริการ หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กําหนดในประกาศนี้ อธิบดีมีอํานาจสั่งยุติการเป็นผู้ให้บริการ โดยให้มีผลนับตั้งแต่ผู้ให้บริการได้รับแจ้งจากกรมสรรพากรเป็นต้นไป
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,949 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นแบบคำขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การยื่นแบบคําขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการ และชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบคําขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและประสงค์จะใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร ยื่นแบบคําขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามแบบคําขอที่แนบท้ายประกาศนี้โดยให้ถือเป็นการยื่นแบบคําขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่อกรมสรรพากร
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับแบบคําขอและตรวจสอบข้อมูลประกอบการยื่นแบบคําขอตามข้อ 1 ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มาแสดงตัวต่อกรมสรรพากรแล้ว และให้เจ้าพนักงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าบันทึกข้อมูลแบบคําขอส่งให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการตามข้อ 1 ต้องดําเนินการยืนยันและยอมรับข้อตกลงในการยื่นแบบคําขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามช่องทางที่ระบุไว้โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับทางที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) ที่ได้ระบุไว้ในแบบคําขอ
ข้อ ๔ เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ดําเนินการตามข้อ 3 แล้ว เจ้าพนักงานสรรพากรจะจัดส่งชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) สําหรับการใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ข้อ ๕ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) ที่ได้ระบุไว้ในแบบคําขอ ถือว่าการยื่นแบบคําขอไม่สําเร็จ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นแบบคําขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th อีกครั้ง
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องเก็บรักษาชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไว้เป็นความลับ โดยชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) เป็นหลักฐานการแสดงการลงลายมือชื่อและการยืนยันตัวตนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในการใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นการรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบคําขอตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
หมวด - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,950 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 29)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน” หมายความถึง สถาบันการเงิน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความถึง เจ้าหนี้อื่น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
“ลูกหนี้” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๓ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หมายความว่า หนี้ที่ดําเนินการตามมาตรการหรือหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๔ กรณีตามข้อ 3 เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๕ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 โดยเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ได้ร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ให้หนังสือรับรองดังกล่าวยังคงมีผลใช้ได้ต่อไป สําหรับหนังสือรับรองดังกล่าวที่ได้จัดทําขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,951 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 623) พ.ศ. 2559 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 28)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 623) พ.ศ. 2559
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 623) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หมายความว่า หนี้ที่ดําเนินการตามมาตรการหรือหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๓ กรณีตามข้อ 2 สถาบันการเงินและลูกหนี้ของสถาบันการเงินจะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 623) พ.ศ. 2559 โดยสถาบันการเงินและลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้ร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ให้หนังสือรับรองดังกล่าวยังคงมีผลใช้ได้ต่อไป สําหรับหนังสือรับรองดังกล่าวที่ได้จัดทําขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,952 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 27) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 27)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการบริจาคให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 701) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการบริจาคให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 701) พ.ศ. 2563 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น โดยบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาทําเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” เลขที่บัญชี 067-0-13829-0
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 701) พ.ศ. 2563 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริจาคเป็นเงินต้องเป็นการบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาทําเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” เลขที่บัญชี 067-0-13829-0
(2) กรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ประเภทและชนิดตามที่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีกําหนด
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(4) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(5) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(6) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การบริจาคให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 701) พ.ศ. 2563 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,953 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 26) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 699) พ.ศ. 2563 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 26)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 699) พ.ศ. 2563
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 699) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 699) พ.ศ. 2563 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ทรัพย์สินที่บริจาคต้องเป็นทรัพย์สินที่เป็นเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรเพื่อระบบอัตโนมัติสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(2) ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อ ๒ การคํานวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินมาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 699) พ.ศ. 2563 ผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าวต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้เก็บไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานการรับบริจาคที่ออกโดยศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ซึ่งได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ
(2) หลักฐานการรับรองทรัพย์สินที่บริจาคตามข้อ 1 (1
(3) หลักฐานการรับรองศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ตามข้อ 1 (2
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,954 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 25) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 25)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 696) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หน่วยรับบริจาค” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด สมาคมกีฬาที่ใช้คําว่า “แห่งประเทศไทย” หรือกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรมพลศึกษา
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 696) พ.ศ. 2563 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาค ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 696) พ.ศ. 2563 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาค ต้องไม่นําเงินบริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค ตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ การบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาค ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 696) พ.ศ. 2563 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,955 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 24) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 24)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า
(1) สถานศึกษาของรัฐ
(2) โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ
(3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(4) สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ การบริจาคให้แก่สถานศึกษา ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 4 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,956 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 23) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 23)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 714) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 714) พ.ศ. 2563 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 714) พ.ศ. 2563 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การบริจาคให้แก่มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 3 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 714) พ.ศ. 2563 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,957 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 22) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 22)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เพื่อนําไปชําระหนี้ที่ค้างชําระแก่เจ้าหนี้ ซึ่งดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“เจ้าหนี้” หมายความถึง สถาบันการเงิน และบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
“ลูกหนี้” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๒ จํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ และสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จํานวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับเจ้าหนี้ หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้ และต้องเป็นจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ เจ้าหนี้และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ลูกหนี้ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,958 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 21) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 21)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน” หมายความถึง สถาบันการเงิน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความถึง เจ้าหนี้อื่น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 709) พ.ศ. 2563
“ลูกหนี้” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๒ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หมายความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญและสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และให้รวมถึงหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสํารองครบร้อยละร้อย และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี และได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าบัญชีลูกหนี้จะได้รับการจัดชั้นดังกล่าวก่อนหรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๓ กรณีตามข้อ 2 เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,959 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 19) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 19)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 706) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 706) พ.ศ. 2563 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 706) พ.ศ. 2563 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาด ตามข้อ 1 และข้อ 2 ต้องไม่นําเงินบริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค ตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ การบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 3 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 706) พ.ศ. 2563 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,960 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 18) เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าและบริจาคสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 18)
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม การนําเข้าและบริจาคสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 700) พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการนําเข้าและบริจาคสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ สินค้าที่นําเข้าต้องเป็นสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามรายการและกําหนดเวลาสิ้นสุดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๒ ผู้นําเข้าต้องระบุข้อความ “บริจาค COVID-19” ในใบขนสินค้าขาเข้า สําหรับการนําเข้าที่ได้กระทําตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงในประกาศนี้ โดยการส่งข้อมูลใบขนสินค้าให้เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกําหนด
ข้อ ๓ สถานพยาบาลของทางราชการที่รับบริจาคต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่สถานพยาบาลนั้นสังกัดว่าเป็นสถานพยาบาลของทางราชการที่ให้บริการรักษาพยาบาลแก่บุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปและได้รับรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๔ องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาล ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ที่รับบริจาคต้องเป็นหน่วยงานดังต่อไปนี้
(1) สภากาชาดไทย หรือ
(2) องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาล ตามข้อ 3 ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535
ข้อ ๕ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 700) พ.ศ. 2563 ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) ใบขนสินค้าขาเข้า
(2) เอกสารหลักฐานเป็นหนังสือจากผู้รับบริจาค ซึ่งสามารถพิสูจน์การรับบริจาคสินค้านําเข้าจากผู้บริจาคได้ เว้นแต่ผู้รับบริจาคได้ทําการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฎในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่งไม่ว่าเป็นหนังสือหรือเป็นข้อมูลที่ปรากฎในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ต้องระบุจํานวนและมูลค่าของสินค้านําเข้าที่บริจาคด้วย
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,961 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 26/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 26/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นผู้บริหาร
ของบริษัทหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 103(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(2) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
(4) “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
(5) “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์อาจตั้งหรือยอมให้ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อื่น เป็นหรือทําหน้าที่ผู้บริหารหรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ได้โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากบริษัทหลักทรัพย์แสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ และในกรณีที่ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ดํารงตําแหน่งที่ต้องทํางานเต็มเวลา ผู้บริหารรายนั้นจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งดังกล่าวในบริษัทหลักทรัพย์ได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ข้อ ๓ การขอความเห็นชอบตามหลักการที่กําหนดไว้ในข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะได้รับความเห็นชอบยื่นคําขอต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานจากบริษัทหลักทรัพย์ครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว
ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญตามคําขอที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว
หากสํานักงานได้พิจารณาข้อมูลดังกล่าวแล้วเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นเป็นเหตุ
ให้ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามข้อ 2 ให้สํานักงานแจ้งการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงต่อบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ในการตั้งหรือยอมให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น เป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ได้ อันสอดคล้องกับการสนับสนุนให้บริษัทหลักทรัพย์มีการจัดโครงสร้างการดําเนินการในรูปกลุ่มธุรกิจ (financial conglomerate) ซึ่งทําให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น และเป็นไปตามแนวโน้มการกํากับดูแลสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม (consolidated supervision) ของธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วย | 2,962 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2551 เรื่อง ข้อกำหนดพิเศษเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงินในต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 27/2551
เรื่อง ข้อกําหนดพิเศษเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงินในต่างประเทศ
เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในต่างประเทศซึ่งส่งผลต่อภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ การที่กิจการทําการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นหรือการที่ผู้ลงทุนมีการซื้อหลักทรัพย์ของกิจการมากขึ้นในช่วงเวลาตามที่ประกาศนี้กําหนด จะเป็นมาตรการประการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว จึงเป็นการสมควรที่จะให้มีการผ่อนคลายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการในบางประการเป็นการชั่วคราว โดยกําหนดให้หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้เป็นเพียงทางเลือกที่บุคคลที่มีหน้าที่ตามประกาศว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการจะถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ได้อีกทางหนึ่ง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากบุคคลใดมีการได้หุ้นของกิจการภายหลังการซื้อหุ้นคืนของกิจการ หรือบุคคลใดประสงค์จะขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในภายหลัง ให้บุคคลนั้นปฏิบัติตามข้อกําหนดเฉพาะตามประกาศนี้ได้ ทั้งนี้ ข้อกําหนดในเรื่องใดมิได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อยู่เช่นเดิม
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(2) “ประกาศว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(3) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ที่กิจการเป็นผู้ออก เพื่อให้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง
ข้อ ๔ ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืนและเป็นผลให้บุคคลใดมีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในกิจการเพิ่มขึ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หากต่อมาในระหว่างระยะเวลาตามข้อ 2 บุคคลดังกล่าวได้หุ้นของกิจการเพิ่มขึ้นอีกในจํานวนที่เมื่อคํานวณจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลนั้นก่อนกิจการมีการซื้อหุ้นคืนแล้วไม่เป็นผลให้ถึงจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการข้างต้น ให้บุคคลนั้นไม่มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
ข้อ ๕ ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืนและเป็นผลให้บุคคลใดมีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในกิจการเพิ่มขึ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หากต่อมาในระหว่างระยะเวลาตามข้อ 2บุคคลดังกล่าวได้หุ้นของกิจการเพิ่มขึ้นอีกในจํานวนที่เมื่อคํานวณจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลนั้นก่อนกิจการซื้อหุ้นคืนแล้วเป็นผลให้ถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ บุคคลนั้นต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
ข้อ ๖ ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืนและเป็นผลให้บุคคลใดมีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในกิจการเพิ่มขึ้นจนถึงหรือข้ามร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ตามประกาศว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะได้หุ้นของกิจการเพิ่มขึ้นอีกในระหว่างระยะเวลาตามข้อ 2 ในจํานวนที่เมื่อคํานวณสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลนั้นก่อนมีการซื้อหุ้นคืนแล้วเป็นผลให้จะถึงหรือข้ามจุดร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานในการทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในภายหลัง
ข้อ ๗ การขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในภายหลัง จะได้รับอนุมัติจากสํานักงานต่อเมื่อผู้ยื่นคําขอสามารถแสดงและรับรองต่อสํานักงานว่า
(1) เมื่อรวมจํานวนหุ้นดังต่อไปนี้ทั้งหมดแล้วจะไม่เป็นผลให้ผู้ขอผ่อนผันเป็นผู้ถือหุ้นหรือสามารถเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไปของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ
(ก) หุ้นทุกประเภทที่ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันถืออยู่เดิมก่อนการขอผ่อนผัน
(ข) หุ้นที่จะได้จากการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันถืออยู่เดิมก่อนการผ่อนผัน
(ค) หุ้นที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มาโดยการทําคําเสนอซื้อบางส่วน
(2) ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นของกิจการให้ผู้ขอผ่อนผันทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการได้ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติยินยอมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
(ข) ผู้ถือหุ้นของกิจการมีหนังสือให้ความให้ยินยอมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่ส่งหนังสือตอบกลับการขอความยินยอมดังกล่าว โดยผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่ส่งหนังสือตอบกลับจะต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดและต้องมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ในการนับคะแนนเสียงที่ให้ความยินยอม มิให้นับรวมคะแนนเสียงของบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน และเพื่อประโยชน์ในการนี้ มิให้นับคะแนนเสียงของบุคคลดังกล่าวรวมอยู่ในจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมหรือผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่ส่งหนังสือตอบกลับ แล้วแต่กรณี
(3) มีหนังสือรับรองโดยผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ซึ่งรับรองว่าได้ตรวจสอบหนังสือให้ความยินยอมว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (2)
(4) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นหรือหนังสือขอความยินยอมจากผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8
ข้อ ๘ หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นหรือหนังสือขอความยินยอมจากผู้ถือหุ้นตามข้อ 7 ต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง และจะต้องจัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นหรือวันครบกําหนดการให้ความยินยอมเป็นหนังสือ
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่ประสงค์จะได้หุ้นมา รวมทั้งจํานวนหุ้นและสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าวและบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว ทั้งก่อนและหลังการทําคําเสนอซื้อบางส่วน
(2) รายละเอียดและจํานวนของหุ้นที่ประสงค์จะซื้อ ทั้งนี้ จํานวนหุ้นที่จะระบุดังกล่าวไม่มีข้อจํากัดเกี่ยวกับจํานวนขั้นต่ําที่ประสงค์จะซื้อ
(3) วัตถุประสงค์ของการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในกิจการ และผลกระทบต่อกิจการและผู้ถือหุ้นจากการดําเนินการดังกล่าว
(4) วันครบกําหนดให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โดยต้องระบุวันให้ชัดเจนว่าวันใดเป็นวันที่ปิดรับการแสดงเจตนาตามหนังสือขอความยินยอม
ข้อ ๙ ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้ทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนตามข้อ 7 จะต้องซื้อหุ้นตามจํานวนที่ระบุในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นหรือหนังสือขอความยินยอมจากผู้ถือหุ้นตามข้อ 8
ในกรณีที่ผู้ได้รับการผ่อนผันมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้การผ่อนผันเป็นอันสิ้นสุดไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,963 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่ายและการจัดสรรหลักทรัพย์ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 29/2551
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(4) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(5) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน
(6) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ก) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว
2. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าวซึ่งหมายถึง
1. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว
2. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม 1. เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
3. บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่งให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย
(ค) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง
1. บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
2. บริษัทที่บริษัทตาม 1. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
3. บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ว่าจะมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือไม่ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น จัดสรรหุ้นที่เสนอขายให้แก่บริษัทย่อย
ข้อ ๓ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) กองทุนรวมซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลตาม (1) ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ข้อ ๔ ข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ตามข้อ 3 มิให้ใช้บังคับกับกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งจํานวนให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(ค) เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตาม
กฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
(ง) ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่เดิม
(จ) ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิม
(ฉ) บุคคลอื่นใดที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายได้ด้วยตนเอง และการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลดังกล่าวไม่จําต้องนําหลักการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกันมาใช้บังคับ
(2) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะที่มีการแบ่งแยกจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลตาม (1)(ข) (ค) (ง) หรือ (จ) ออกจากหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชน เป็นการทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(3) การจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกองทุนรวมที่ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ตามข้อ 3(2) ตามที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าว เป็นไปตามมติที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้ส่งเพื่อการประชุมในครั้งที่มีมติดังกล่าวต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รายชื่อของบุคคลที่จะได้รับการจัดสรรจากส่วนที่แบ่งแยกไว้เป็นการเฉพาะสําหรับผู้จองซื้อที่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกองทุนรวมดังกล่าว แล้วแต่กรณี
2. จํานวนหลักทรัพย์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าว และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้ระบุสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวทั้งก่อนและหลังการจัดสรร
3. เหตุผลและความจําเป็นในการจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าว
(ข) จํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลดังกล่าวได้ถูกแบ่งแยกออกจากจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปอย่างชัดเจน และบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว โดยในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนต้องระบุสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวทั้งก่อนและหลังการจัดสรรไว้ด้วย
(ค) ราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อบุคคลดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อบุคคลดังกล่าวพร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากบุคคลนั้น บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอซื้อด้วย และ
(ง) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร และจะไม่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั่วไป
(4) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้ออื่นทั้งหมด
(5) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าวแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทอื่น พร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์นั้น
ข้อ ๕ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้รับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนไปจัดจําหน่าย และหากเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นจะต้องไม่เป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะไม่จัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก็ได้
1. เมื่อเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในส่วนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อบุคคลดังต่อไปนี้ (placement) และได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่แบ่งสรรไว้เพื่อการดังกล่าว
1. ผู้ลงทุนสถาบัน
2. ผู้ถือหุ้นเดิม
3. กรรมการและพนักงาน
4. บุคคลอื่นใดซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงได้ต่อสํานักงานว่าสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท ได้ด้วยตนเอง
5. เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นมิใช่หุ้น และ
(ข) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศดังต่อไปนี้ด้วย โดยอนุโลม
1. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
2. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ แต่มิให้นําข้อห้ามเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อ้างอิง มาใช้บังคับกับการซื้อขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น
(3) เมื่อเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าวแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทอื่น พร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์นั้น
ข้อ ๖ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้การแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน กระทําไปพร้อมกับการแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาโดยสมัครใจที่จะไม่รับข้อมูลนั้น
(1) หนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์
2. หนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ซึ่งต้องมีข้อมูลอย่างเดียวกับหนังสือชี้ชวนตาม (1)
(3) สรุปหนังสือชี้ชวน ซึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์
(ข) มีข้อมูลอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดในแบบ 77-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
(ค) เป็นการแสดงข้อมูลที่คัดลอกหรือสรุปย่อจากข้อมูลรายการเดียวกันนั้นที่ได้แสดงไว้แล้วในหนังสือชี้ชวน และไม่มีการนําเสนอในลักษณะที่อาจทําให้สําคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่เสนอขายหรือข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสําคัญอื่น
การแจกจ่ายสรุปหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งให้กระทําได้เมื่อพ้นสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับสรุปหนังสือชี้ชวนจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และสํานักงานมิได้แจ้งความเห็นเป็นอื่นภายในระยะเวลานั้น โดยสํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แจกจ่ายเอกสารดังกล่าวก่อนพ้นระยะเวลาที่กําหนดก็ได้ แต่ในกรณีที่สรุปหนังสือชี้ชวนที่จะแจกจ่ายมีข้อมูลอย่างเดียวกับเอกสารชุดที่ได้ผ่านการพิจารณาของสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่จําต้องดําเนินการตามวรรคนี้อีก
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เลือกแจกจ่ายข้อมูลตาม (2) หรือ (3) แก่ผู้ลงทุน ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนตาม (1) ให้ผู้ลงทุนด้วย หากผู้ลงทุนร้องขอ
ข้อ ๗ ใบจองซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยต้องมีรายการเกี่ยวกับผู้จองซื้อหลักทรัพย์ในเรื่อง ชื่อ ที่อยู่ เลขที่บัตรประจําตัวตามบัตรประชาชนหรือตามทะเบียนบ้าน เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี) จํานวนหลักทรัพย์ที่จองซื้อ และข้อความที่ให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์แสดงว่าได้รับหรือไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน โดยในกรณีที่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้รับหนังสือชี้ชวน ให้ระบุรูปแบบของหนังสือชี้ชวนที่ได้รับ ทั้งนี้ ใบจองซื้อจะต้องมีข้อความโดยชัดเจนเตือนให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทราบว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ย่อมมีความเสี่ยง และก่อนตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์ ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ควรอ่านหนังสือชี้ชวนอย่างรอบคอบด้วย
นอกจากรายการและข้อความตามวรรคหนึ่ง ใบจองซื้อหุ้นกู้ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ผู้จองซื้อหุ้นกู้ยินยอมแต่งตั้ง (ชื่อบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(2) ผู้จองซื้อหุ้นกู้ยินยอมผูกพันตามข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ สําหรับหุ้นกู้ (ชื่อเฉพาะของหุ้นกู้ที่ใช้ในการอ้างอิง) ทุกประการ หากผู้จองซื้อได้รับการจัดสรรหุ้นกู้
(3) ผู้จองซื้อหุ้นกู้อาจตรวจดูข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานแห่งใหญ่ของผู้ออกหุ้นกู้ และสํานักงานของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
ข้อ ๘ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดไปใช้ในกิจการใด ๆ นอกจากการส่งคืนให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรซึ่งต้องดําเนินการภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องมีข้อกําหนดว่า หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ส่งคืนเงินไปยังผู้จองซื้อหลักทรัพย์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้ ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาส่งคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องระบุถึงสิทธิที่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์จะได้รับดอกเบี้ยนี้ไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยมีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องมีข้อตกลงให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการส่งคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรตามระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ หากบริษัทที่ออกหุ้นกู้ไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้หรือไม่อาจจัดให้มีหลักประกันการออกหุ้นกู้ตามข้อกําหนดสิทธิ (ถ้ามี) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องคืนเงินค่าจองซื้อหุ้นกู้พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากบัญชีจองซื้อหุ้นกู้ให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยมีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหุ้นกู้ต้องมีข้อตกลงให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการส่งคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้ตามระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดให้มีการระบุหลักเกณฑ์และวิธีการในการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหรือยินยอมให้มีการเสนอขายหลักทรัพย์ของตนพร้อมกับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบุคคลอื่น เว้นแต่จะได้ระบุความประสงค์หรือความยินยอมดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและมี
การแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้บริษัท ที่ออกหลักทรัพย์จัดทํารายชื่อผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปจากส่วนที่แบ่งไว้สําหรับผู้มีอุปการคุณตามแบบ 35-IPO-1M และรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งแรกหลังจากวันที่รายงานผลการขายหุ้นดังกล่าวต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ คําว่า “ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของการช่วยเหลือเกื้อกูลกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ พนักงานของบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อย หรือกิจการที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจ เป็นต้น
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงข้อห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และข้อกําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชน โดยกําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์สามารถจัดสรรหลักทรัพย์ได้โดยไม่มีข้อจํากัดมิให้จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัท และยกเว้นหน้าที่ในการจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการที่มีการปรับโครงสร้างดังกล่าวได้รับสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ตามสัดส่วนการถือหลักทรัพย์ที่มีอยู่เดิมและได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มแรก จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,964 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 79/2541 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิสินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 79/2541
เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทําลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตําหนิสินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก
-------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนําการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับการทําลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตําหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้า ที่หมดอายุ และเศษซาก กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(1) ของเสียตามปกติ หมายถึงของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรรมวิธีการผลิต ซึ่งได้มีการกําหนดอัตราของเสียที่ถือว่าเป็นอัตราปกติของกรรมวิธีการผลิต
(2) ของเสียเกินปกติ”หมายถึงของเสียที่เกิดขึ้นมากกว่าอัตราปกติที่ได้กําหนดไว้ในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เศษซาก หมายถึงเศษวัตถุที่เกิดจากกระบวนการผลิตบางประเภทซึ่งมีมูลค่ากลับคืนที่อาจวัดได้ แต่มีจํานวนน้อย
ข้อ ๒ การพิจารณาต้นทุนหรือรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับผลิตภัณฑ์ หน่วยที่ดี ให้ถือว่าต้นทุนของของเสียตามปกติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนของผลิตภัณฑ์หน่วยที่ดีด้วย
ข้อ ๓ การลงรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับของเสียเกินปกติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตําหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประสงค์จะตัดต้นทุนดังกล่าวเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ทําลายนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ให้ถือปฏิบัติตามวิธีการเกี่ยวกับการทําลายของเสีย สินค้า และเศษซากที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกําหนดและให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทําลาย หรือจัดทํารายงานการทําลายให้ผู้สอบบัญชีรับทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแนบงบดุลไว้ด้วย
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มีการนําเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก การควบคุมปริมาณวัตถุดิบนําเข้าซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนั้น ในการทําลายวัตถุดิบ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกําหนด และให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทําลาย หรือจัดทํารายงานการทําลายให้ผู้สอบบัญชีรับทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแนบงบดุลไว้ด้วย สําหรับการทําลายสินค้าอื่นนอกจากวัตถุดิบดังกล่าวข้างต้น ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (3)
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
(3.1) การทําลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(ก) ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าดังกล่าวว่า เสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กําหนดไว้หรือไม่ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอํานาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหายตามเงื่อนไข ี่กําหนดดังกล่าว กรณีสินค้าที่ได้รับคืน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีเอกสารหลักฐานการรับคืนสินค้า ซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่รับคืน เช่น วันเดือนปีที่รับคืน ปริมาณสินค้า ชนิดสินค้าหรือรหัสสินค้า สาเหตุที่รับคืนสินค้า เลขที่อ้างอิงของการสั่งซื้อสินค้าที่รับคืนนั้น และให้มีการลงลายมือชื่อของลูกค้าที่คืนสินค้า พนักงานที่รับคืนสินค้าด้วย เมื่อมีการนําสินค้าที่รับคืนมาเก็บไว้เพื่อรอทําลาย ให้พนักงานฝ่ายคลังสินค้าที่เก็บรักษาสินค้าเสียหายตรวจนับและลงลายมือชื่อกํากับไว้ พร้อมทั้งแจ้งให้ฝ่ายบัญชีทราบด้วย
(ข) เมื่อได้รับอนุมัติให้ทําลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอํานาจอนุมัติให้ทําลายแล้ว ให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทําลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทําลาย ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จําเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทําลายก็ได้
(3.2) การทําลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากที่โดยสภาพสามารถเก็บรักษาและรอการทําลายพร้อมกันได้เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม (3.1) และให้แจ้งการทําลายให้สรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วันก่อนวันทําลาย ซึ่งสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทําลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือแนวทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,965 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 78/2541 เรื่อง ขอบเขตการใช้อำนาจ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 78/2541
เรื่อง ขอบเขตการใช้อํานาจ ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนว ทางปฏิบัติสําหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.5/2527 เรื่อง การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวัน 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
ข้อ ๒ กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทําการตรวจสอบภาษีอากร ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น นําบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทําการตรวจสอบด้วย ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้นําบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่จําเป็นต้องใช้ในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมามอบให้ตามหมายเรียกและเพียงพอแก่การตรวจสอบเพื่อหากําไรสุทธิได้แล้ว ให้เจ้าพนักงานประเมินทําการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
(ก) นําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีมามอบให้เจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียก แต่ไม่เพียงพอแก่การตรวจสอบเพื่อหากําไรสุทธิ หรือ
(ข) ไม่นําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีมามอบให้เจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียก หรือ
(ค) ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกให้เจ้าพนักงานประเมินทําการประเมินภาษีโดยอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีสํานักงาน หรือสถานประกอบการ หรือสถานที่เก็บรักษาบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือกฎหมายอื่นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประสบภัยธรรมชาติหรือถูกเพลิงไหม้ทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นเหตุให้ไม่สามารถนําบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีมามอบให้เจ้าพนักงานประเมินทําการตรวจสอบภาษีอากรตามหมายเรียกที่ออกตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินทําการประเมินภาษีโดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๔ กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทําการตรวจสอบภาษีอากร ตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทําการตรวจสอบด้วย ให้เจ้าพนักงานประเมินทําการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับ 2 เท่าของจํานวนเงินภาษีอากรที่ต้องชําระ ตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทําการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีใดจะมีจํานวนมากกว่า
ข้อ ๕ กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียก ตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อทําการตรวจสอบภาษีอากรบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบ กิจการขายส่งสินค้าบางประเภท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินสามารถหาหลักฐานเพื่อนํามาใช้ในการคํานวณกําไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ํามันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของจํานวนเงินภาษีอากรที่ต้องชําระ ตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ กรณีตามข้อ 4 เจ้าพนักงานประเมินจะไม่ประเมินภาษีเงินได้โดยอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ประเมินภาษีเงินได้ ตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป
ข้อ ๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือ ทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๘ คําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,966 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 75/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 75/2541
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับกรณีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะของกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/5 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะของกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กิจการธุรกิจหลักทรัพย์ และกิจการประกันภัยเฉพาะกรณีการรับประกันชีวิต การคํานวณรายรับส่วนที่เป็นดอกเบี้ย หากได้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามข้อ 4.1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.77/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะรายนั้น ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และการปฏิบัติทางบัญชีตามมาตรา 91/8 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๒ ให้นําความในข้อ 1 มาใช้บังคับกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่ได้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับรายรับส่วนที่เป็นดอกเบี้ย ตามข้อ 4.1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,967 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 74/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 74/2541
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา หรือเงินจอง
----------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการที่ได้มีการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกัน กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1)(ก) ของข้อ 2 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายนพ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) การคํานวณรายได้ และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้เช่าทรัพย์สินทั้งจํานวน ไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกัน มารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สิน หรือจะนํารายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีตามสัญญา และนํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สินก็ได้
ในกรณีการให้บริการอื่นซึ่งเป็นบริการตามสัญญาระยะยาว ต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้บริการทั้งจํานวน ไม่ว่ารายได้นั้นจะเกิดจากการผ่อนชําระหรือชําระครั้งเดียว และไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้บริการหรือจะนํารายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีตามสัญญาแต่ไม่เกินสิบปี และนํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่ปีทิ่เริ่มให้บริการก็ได้
ในกรณีการให้เช่าทรัพย์สินหรือให้บริการได้กระทําในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีหรือสัญญาการให้เช่าทรัพย์สินหรือให้บริการเป็นสัญญาสิ้นสุดในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้เฉลี่ยเงินรายได้ตามส่วนของเดือนหรือจํานวนวันที่ให้เช่าหรือให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายนพ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจํา
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจําให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจําที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 3-6 เท่าของค่าเช่ารายเดือน และ
(ง) สัญญาให้เช่าทรัพย์สินมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี”
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,968 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 73/2541
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา หรือเงินจอง
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการที่ได้มีการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา หรือเงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกัน กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การให้บริการรับเหมาก่อสร้าง และได้มีการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้าจากผู้ว่าจ้าง โดยมีข้อตกลงต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้าง โดยยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวออกจากเงินค่างานที่ผู้รับจ้างจะได้รับในแต่ละงวด เพื่อชดเชยกับเงินจ่ายล่วงหน้าที่รับไปจนกว่าจะครบถ้วน พร้อมทั้งหักเงินค่าประกันผลงานของผู้รับจ้างไว้อีกส่วนหนึ่ง และจะคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้างเมื่อหมดระยะเวลาประกันผลงาน จะมีภาระภาษีดังนี้
(1) เงินจ่ายล่วงหน้า (ADVANCE PAYMENT)
(ก) ผู้รับจ้างจะต้องนําเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4.4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ว่าจ้าง เมื่อจ่ายเงินล่วงหน้า มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินล่วงหน้าตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
เมื่อมีการจ่ายค่างวดงานแต่ละงวดให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินค่างวดงานหลังหักเงินจ่ายล่วงหน้าในแต่ละงวดออกแล้ว
(ค) ผู้รับจ้างต้องนําเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นในขณะได้รับชําระเงินดังกล่าว ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) เงินประกันผลงาน (RETENTION)
(ก) เงินประกันผลงานที่ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจํานวนที่ตกลงในสัญญา โดยยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เพื่อเป็นประกันผลงานนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดให้ผู้รับจ้างโดยหักเงินประกันผลงานดังกล่าว กรณีจึงถือเป็นรายได้ของผู้รับจ้างเต็มจํานวนมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จในแต่ละงวด และเมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอีก
(ข) ผู้รับจ้างต้องนําเงินประกันผลงานที่ถูกผู้ว่าจ้างหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นในขณะที่ได้รับเงินค่าจ้างแต่ละงวด ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อมีการจ่ายเงินประกันผลงานคืนให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างไม่ต้องนําเงินประกันผลงานดังกล่าวมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
กรณีการให้บริการรับจ้างทําของอย่างอื่น นอกจากการให้บริการรับเหมาก่อสร้าง และได้มีการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า และเงินประกันผลงาน ให้ถือปฏิบัติทํานองเดียวกับวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒ การให้เช่าทรัพย์สิน หรือการให้บริการอื่น
(1) การให้เช่าทรัพย์สิน หรือการให้บริการอื่น
“(ก) การคํานวณรายได้ และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้เช่าทรัพย์สินทั้งจํานวน ไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกัน มารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สิน หรือจะนํารายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีตามสัญญา และนํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สินก็ได้
ในกรณีการให้บริการอื่นซึ่งเป็นบริการตามสัญญาระยะยาว ต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้บริการทั้งจํานวน ไม่ว่ารายได้นั้นจะเกิดจากการผ่อนชําระหรือชําระครั้งเดียว และไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้บริการหรือจะนํารายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีตามสัญญาแต่ไม่เกินสิบปี และนํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่ปีทิ่เริ่มให้บริการก็ได้ ในกรณีการให้เช่าทรัพย์สินหรือให้บริการได้กระทําในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีหรือสัญญาการให้เช่าทรัพย์สินหรือให้บริการเป็นสัญญาสิ้นสุดในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้เฉลี่ยเงินรายได้ตามส่วนของเดือนหรือจํานวนวันที่ให้เช่าหรือให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.74/2541 สั่ง ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541)
(ข) ในกรณีที่ได้มีการปฏิบัติตาม (ก) แล้วต่อมาหากได้มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้า หรือเงินประกัน ฯลฯ ให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงหรือสัญญา ให้ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการนําเงินจ่ายล่วงหน้า หรือเงินประกัน ฯลฯ ที่ได้คืนให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการ มาถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้จ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้า หรือเงินประกัน ฯลฯ
(2) การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีการให้เช่าทรัพย์สิน ถือเป็นการจ่ายเงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินทั้งจํานวน ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5.0 ทุกครั้งที่มีการจ่าย ตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
(ข) กรณีการให้บริการอื่น ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการให้บริการทั้งจํานวน ถ้าการให้บริการนั้นเป็นบริการรับจ้างทําของ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างทําของ ตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
(3) การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกัน ปฏิบัติดังนี้
(ก) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าต้องนํามูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน ฯลฯ มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้า เกิดขึ้นในขณะที่มีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ได้รับชําระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกํากับภาษีก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทํานั้น ๆ ด้วย ตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) ผู้ประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ หรือการให้บริการอื่น ต้องนํามูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้เช่าทรัพย์สิน หรือการให้บริการอื่นไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน ฯลฯ มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้เช่าทรัพย์สิน หรือการให้บริการอื่นเกิดขึ้นในขณะได้รับชําระเงินดังกล่าว ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(ค) ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ปฏิบัติตาม (ก) หรือ (ข) แล้ว ต่อมาหากได้มีการคืนเงินจ่ายล่วงหน้า หรือเงินประกัน ฯลฯ ให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้รับบริการอื่นตามข้อตกลงหรือสัญญา ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้รับบริการอื่น ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร
(ง) ผู้ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน ฯลฯ ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ต) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ เงินประกัน หรือเงินมัดจําในกรณีดังต่อไปนี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับของข้อ 1 และข้อ 2
(1) กรณีเงินประกัน หรือเงินมัดจําภาชนะบรรจุสินค้าซึ่ง
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจ ได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจําภาชนะบรรจุสินค้า และ
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจําให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทันทีที่มีการคืนภาชนะบรรจุสินค้า โดยไม่มีเงื่อนไข
ความในวรรคหนึ่งไม่รวมถึงกรณีที่มีการเรียกเก็บเงินเป็นการชดใช้ความชํารุดเสียหาย หรือสูญหายของภาชนะบรรจุสินค้า ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร
“(2) การประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจํา
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจําให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจําที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 3-6 เท่าของค่าเช่ารายเดือน และ
(ง) สัญญาให้เช่าทรัพย์สินมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.74/2541 สั่ง ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541)
ข้อ ๔ กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีการเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.36/2536 เรื่อง การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชําระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 และตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 เรื่อง การคํานวณกําไรสุทธิ และเงินได้สุทธิสําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว
ข้อ ๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง แนวทางปฏิบัติ หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,969 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 72/2541 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 72/2541
เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ สําหรับกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 1 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.46/2537 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกํากับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกํากับภาษีกํากับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทําการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
(2) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกํากับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทําการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,970 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 69/2541 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 69/2541
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และการขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวปฏิบัติในการตรวจ หรือแนะนําบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ถือปฏิบัติสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมกับการชําระภาษีต่ออําเภอ ณ ที่ว่าการอําเภอดังนี้
(1) แบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) แบบ ภ.ง.ด.51 ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ประกอบกิจการอื่นทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประกอบการดังกล่าว แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.51) พร้อมบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการ เสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มีหน้าที่ยื่นคําร้องขอมีเลขประจําตัว และบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด สําหรับการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศแยกต่างหากจากเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร สําหรับการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีอีกหนึ่งหมายเลข ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีสถานประกอบการกี่แห่งก็ตาม
(ยกเลิกโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 141/2555 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,971 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 68/2541 เรื่อง ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 68/2541
เรื่อง ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะนําข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามาบันทึกบัญชี ณ วันทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ โดยเหตุที่การบันทึกบัญชีสําหรับข้อผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทําให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งต้องคํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะนําข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามาบันทึกบัญชี ณ วันทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าจะมีสถานประกอบการในประเทศไทยหรือไม่
(2) การทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าต้องเกิดจากความต้องการประกันความเสี่ยงในมูลหนี้ เพราะมีหนี้สินที่ต้องชําระในภายหน้า หรือมีลูกหนี้ที่จะได้รับชําระในภายหน้า
(3) กรณีที่ทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจํานวนหลายสัญญาต้องนําสัญญาดังกล่าวมาบันทึกบัญชี ณ วันทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศทุกสัญญาจะเลือกปฏิบัติเพียงสัญญาหนึ่งสัญญาใดไม่ได้
ข้อ ๒ การบันทึกบัญชีสําหรับข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 อาจมีผลทําให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีผลกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ดังนั้น การบันทึกบัญชีเพื่อคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) กรณีการทําสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหนี้สินที่ต้องชําระให้แก่เจ้าหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ
(ก) เมื่อมีการทําสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารเพื่อประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลเงินที่จะต้องชําระคืนให้แก่เจ้าหนี้ ถือว่าธนาคารมีภาระต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีภาระต้องชําระเงินตราไทยให้แก่ธนาคารนั้นตามสัญญา จึงต้องบันทึกบัญชีโดยบันทึกบัญชีธนาคารคู่สัญญาเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้
(ข) กรณีที่ยังไม่ถึงกําหนดเวลาชําระหนี้หรือการชําระหนี้ยังไม่หมดสิ้นในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และยังไม่ถึงกําหนดเวลาส่งมอบเงินตราต่างประเทศตามสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนของภาระผูกพันเจ้าหนี้เงินตราต่างประเทศ และลูกหนี้ธนาคารคู่สัญญาตาม(ก) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
(ค) เมื่อถึงกําหนดเวลาส่งมอบเงินตราต่างประเทศตามสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ธนาคารคู่สัญญาตาม (ก) ต้องชําระเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับเงินตราต่างประเทศในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งต้องคํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาด (อัตราธนาคารพาณิชย์รับซื้อ) ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ในขณะเดียวกันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องชําระเงินตราไทยให้แก่ธนาคารคู่สัญญาด้วย เป็นผลทําให้สถานะการเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้หมดสิ้นไป
(ง) กรณีที่วันถึงกําหนดชําระหนี้ และวันถึงกําหนดส่งมอบเงินตราต่างประเทศตามสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นวันเดียวกัน เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยการโอนเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากธนาคารคู่สัญญาตาม (ก) ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินตราต่างประเทศไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องคํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาด (อัตราธนาคารพาณิชย์ขาย) ในวันที่จ่ายไปนั้นตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ทําให้เกิดผลตางระหว่างอัตราธนาคารพาณิชย์ซื้อและอัตราธนาคารพาณิชย์ขาย เป็นผลกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี
(2) กรณีการทําสัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเงินตรา หรือทรัพย์สินที่จะได้รับชําระจากลูกหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องบันทึกรายการทางบัญชีตามหลักการเดียวกันทุกขั้นตอน
ข้อ ๓ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 เลือกนําข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามาบันทึกบัญชี ณ วันทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 2 แล้ว
(1) การคํานวณกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากการบันทึกบัญชีข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องถือปฏิบัติตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งทําให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ด้วย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องบันทึกบัญชีข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าทั้งในบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเอง รวมตลอดทั้งในบัญชีเพื่อประโยชน์ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใด ที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,972 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 66/2539 เรื่อง การแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 66/2539
เรื่อง การแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติในกรณีเลิกประกอบกิจการและแจ้งการเลิกกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการและแจ้งการเลิกกิจการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ซึ่งต้องระบุว่าเลิกประกอบกิจการ ณ วันใดพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไปจนกว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/18 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การขายสินค้าหรือการให้บริการที่ผู้ประกอบการดังกล่าวได้กระทําตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการเป็นต้นไป ผู้ประกอบการยังคงต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการขายสินค้าและการให้บริการดังกล่าว ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่แจ้งเลิกการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิ์ออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ยังคงต้องมีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 และใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิ์นําภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้กระทําตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักออกจากภาษีขายในการคํานวณภาษี ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่แจ้งเลิกการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการยังคงมีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 และใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3และมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการตามข้อ 1 มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ซึ่งตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือเป็นการขายและให้ถือมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 79/3(5) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย
โดยเหตุที่กรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งไม่มีการส่งมอบสินค้า ไม่มีการรับชําระเงินค่าสินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงไม่มีหน้าที่ต้องออกใบส่งของ ใบรับ และใบกํากับภาษีตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่แจ้งเลิกการประกอบกิจการได้ขายสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการให้แก่ผู้ซื้อไปจริงในเดือนภาษีใด ไม่ต้องนํามูลค่าของสินค้าหรือทรัพย์สินดังกล่าว มารวมคํานวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรอีก และไม่มีสิทธิ์ออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยังคงมีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 และใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการตามข้อ 1 ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้วก่อนวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ และได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาถ้ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 82/9 และมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรเกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจํานวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ประกอบการดังกล่าวยังคงมีสิทธิ์ออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ แต่ทั้งนี้จะต้องออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ แล้วแต่กรณี ภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ
ข้อ ๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการตามข้อ 1 ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้วก่อนวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและในการออกใบกํากับภาษียังไม่เกิดขึ้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าวได้เกิดขึ้นนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวยังคงมีสิทธิ์ออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ
ข้อ ๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการตามข้อ1 ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไปแล้วก่อนวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ได้รับใบกํากับภาษีสําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิ์นําภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีนั้นมาหักในการคํานวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิ์ตามข้อ 4 และข้อ 5 ต้องแสดงรายละเอียดการใช้สิทธิ์ตามข้อ 4 และข้อ 5 ในเอกสารตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยยื่นพร้อมกับแบบที่ยื่นเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2540 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,973 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 64/2539 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 64/2539
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับบริษัทซึ่งได้โอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้าและประกอบกิจการให้บริการ ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อการรับโอนกิจการโดยเฉพาะ และ
(2) ผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการผลิตสินค้าหรือการให้บริการค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และต้องได้รับโอนทรัพย์สินก่อนเริ่มประกอบกิจการ และ
(3) ผู้โอนต้องถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทผู้รับโอน และ
(4) ผู้โอนและผู้รับโอนต้องดําเนินการโอนและรับโอนทรัพย์สินในราคา ไม่ต่ํากว่าราคาตามมูลค่าที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) ณ วันที่โอน และ
(5) ผู้โอนจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากร ณ วันที่โอน เว้นแต่ได้จัดให้มีธนาคารหรือหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้าง และค่าใช้จ่ายในการบังคับหนี้ดังกล่าวแล้ว และ
(6) ผู้โอนต้องแจ้งการโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้าก่อนวันที่โอนไม่น้อยกว่า 7 วัน
การโอนทรัพย์สินดังกล่าว ให้ถือราคาที่โอนและรับโอนเป็นราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้น ตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่เจ้าพนักงานประเมินจะกําหนดราคาขาย ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และกําหนดจํานวนเงินเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 123 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ สําหรับการคํานวณกําไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2539
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,974 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 62/2539 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขอมีเลขประจำตัวของธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 62/2539
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขอมีเลขประจําตัวของธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับ
อนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการตรวจหรือแนะนําให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจถือปฏิบัติ สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร กรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมกับชําระภาษีต่ออําเภอ ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่ ดังนี้
(1) แบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมด้วยงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) แบบ ภ.ง.ด.51 ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ให้ธนาคารดังกล่าวแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.51) พร้อมงบดุล บัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการ ตามอัตราภาษีร้อยละ 10 หรือร้อยละ 30 แล้วแต่กรณี เสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดด้วยหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๓ ธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ มีหน้าที่ยื่นคําร้องขอมีเลขประจําตัวและบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด สําหรับการเสียภาษีเงินได้จากการประกอบธุรกิจวิเทศธนกิจในอัตราร้อยละ 10 แยกต่างหากจากเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรสําหรับการเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 อีกหนึ่งหมายเลข ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีสถานประกอบการกี่แห่งก็ตาม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,975 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 61/2539 เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 61/2539
เรื่อง การคํานวณกําไรสุทธิและเงินได้สุทธิสําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และแนะนําผู้เสียภาษีในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ที่จะนําไปคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือในการคํานวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.35/2536 เรื่อง การคํานวณกําไรสุทธิและเงินได้สุทธิสําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2536
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ในการคํานวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนํารายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้จะยังไม่ได้รับชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นํารายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๓ เนื่องจากมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ได้ให้สิทธิ์แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีกรณีจําเป็น จะขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ์และวิธีการทางบัญชีเพื่อคํานวณรายได้และรายจ่ายตามข้อ 2 ก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว จะต้องถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดเป็นต้นไป
เพื่อมิให้เป็นภาระแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์และมีกรณีจําเป็นไม่ประสงค์จะคํานวณรายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ์ตามข้อ 2 ในการที่จะต้องยื่นขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ์เป็นรายกรณีตามวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้มีคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528 ยอมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์รายใด ซึ่งได้ตกลงขายอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้ซื้อในลักษณะให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ และมีอายุสัญญาเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี และมีกรณีจําเป็น ไม่ประสงค์จะคํานวณรายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ์ตามข้อ 2 มีสิทธิ์ที่จะเลือกคํานวณรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามงวดที่ถึงกําหนดชําระตามสัญญาก็ได้ และหากได้ใช้สิทธิ์เลือกปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว โดยจะต้องถือปฏิบัติตามวิธีการที่ได้รับอนุมัตินั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๔ ในการคํานวณรายได้ตามข้อ 3 ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) รายได้ หมายความรวมทั้งเงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ที่คํานวณได้เป็นเงิน และภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย แต่ได้ผลักภาระให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกให้
กรณีการผลักภาระภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ตามวรรคหนึ่ง หากไม่ทราบจํานวนเงินที่แน่นอนก็ให้ประมาณขึ้นอย่างน้อยต้องเท่ากับจํานวนที่คํานวณได้จากราคาตามสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจะซื้อจะขายนั้น
(2) ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับชําระเงินจอง เงินมัดจํา หรือเงินอื่นทํานองเดียวกัน ตามใบจองหรือเอกสารทํานองเดียวกัน ก่อนทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งตามข้อตกลงต้องคืนเงินนั้นแก่ผู้จ่ายเงินดังกล่าวโดยไม่มีเงื่อนไขภายในกําหนดเวลาตามข้อตกลง แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี หากไม่มีการทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ว่ากรณีใด และในทางปฏิบัติบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ได้รับชําระเงินดังกล่าวได้คืนเงินตามข้อตกลงนั้น เช่นนี้ให้ถือว่าเงินจอง เงินมัดจํา หรือเงินอื่นทํานองเดียวกันดังกล่าว มิใช่รายได้ตาม (1) ในขณะที่ได้รับเงินดังกล่าวนั้น และให้ถือว่าเงินจอง เงินมัดจําหรือเงินอื่นทํานองเดียวกัน เป็นรายได้ตาม (1) ในวันที่ทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจะซื้อจะขายแล้วแต่กรณี
(3) ในการคํานวณรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ให้คํานวณรายได้ตามงวดที่ถึงกําหนดชําระตามสัญญา โดยไม่คํานึงว่าจะได้รับชําระตรงตามงวดที่ถึงกําหนดชําระหรือไม่ และไม่คํานึงว่ามูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ตามงวดที่ถึงกําหนดชําระตามสัญญาแต่ละงวด จะเป็นร้อยละเท่าใดของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาหรือมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ทั้งโครงการ
ข้อ ๕ ให้ถือรายการต่อไปนี้เป็นมูลค่าต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์หน่วยหรือแปลงที่ขายในแต่ละโครงการ
(1) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากที่ดินแปลงที่ขาย เช่น ค่าของที่ดิน ค่าถมดิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สําหรับสิ่งปลูกสร้าง ค่าปลูกต้นไม้ จัดสวนหย่อม ปูสนามหญ้า ขุดหรือสร้างสระน้ํา ระบบระบายน้ํา การประปาไฟฟ้า โทรศัพท์ การบําบัดน้ําเสีย ค่าทําถนนและทางเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทําลงในที่ดินแปลงที่ขาย
(2) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มโครงการ เช่น ค่าปรึกษาทางกฎหมาย ค่าปรึกษาการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ค่าวิเคราะห์โครงการ ค่าสํารวจตรวจสอบ และค่าออกแบบแปลนแผนผัง เป็นต้น
(3) รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นต้น
(4) ค่าของที่ดิน ค่าถมดินที่ใช้ไปเพื่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคอันเป็นทรัพย์สินส่วนที่กําหนดไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสําหรับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการนั้น เช่นใช้ทําถนน ทางเท้า ท่อ หรือทําระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ระบบการระบายน้ํา ระบบประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การบําบัดน้ําเสียรวม เป็นต้น รวมค่าใช้จ่ายในการสร้างสิ่งดังกล่าวด้วยเฉพาะส่วนที่พัฒนาแล้วพร้อมจะขาย
สําหรับค่าของที่ดิน ค่าถมดิน ที่ใช้ไปเพื่อทําสวนหย่อม สนามหญ้า บึงหรือสระน้ํา สนามเทนนิส สระว่ายน้ํา สนามออกกําลังกาย อาคาร สโมสรสปอร์ตคลับ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งที่ดินดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขาย จะนําไปรวมคํานวณเป็นต้นทุนของที่ดินแปลงที่ขายไม่ได้ เว้นแต่ต้องตกอยู่ในภารจํายอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหรือกฎหมายอื่นลักษณะทํานองเดียวกัน
(5) ค่าก่อสร้างระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น อันเป็นทรัพย์สินส่วนที่กําหนดไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสําหรับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการนั้นและอยู่นอกที่ดินแปลงที่ขาย ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของส่วนราชการหรือขององค์การรัฐบาล หรือผู้ให้บริการของระบบดังกล่าว
(6) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดจากสัญญากู้ยืมเงินเพื่อนํามาใช้ในการจัดสรรที่ดินหรือพัฒนาที่ดิน เพื่อขายแต่ละโครงการเฉพาะส่วนของดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระก่อนที่โครงการนั้นพร้อมที่จะขาย แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม (4) วรรคสอง
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม (4) วรรคสองของแต่ละโครงการเฉพาะส่วนของดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระก่อนที่สิ่งปลูกสร้างนั้นพร้อมที่จะให้บริการ ให้ถือเป็นต้นทุนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ถึงกําหนดชําระตั้งแต่วันที่โครงการนั้นพร้อมจะขายหรือพร้อมจะให้บริการ ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถึงกําหนดชําระได้ทั้งจํานวน
หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายที่ดินดังกล่าว ได้นําค่าดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายไปก่อนแล้วทั้งจํานวน ก็ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นปรับปรุงกําไรขาดทุน ตลอดทั้งต้นทุนสินค้านั้นเสียใหม่ ถ้าในรอบระยะเวลาบัญชีใดได้เสียภาษีเงินได้ไว้ขาด ก็ต้องชําระเพิ่มเติม และถ้าได้เสียภาษีเงินได้ไว้เกิน ก็ให้ยื่นคําร้องขอคืน
(7) ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่ละโครงการ กรณีที่ทําสัญญาจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดําเนินการ หรือที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน ที่ถึงกําหนดชําระก่อนที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเริ่มมีรายได้
ส่วนค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่ละโครงการที่ถึงกําหนดชําระตั้งแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเริ่มมีรายได้จากโครงการนั้นแล้ว ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถึงกําหนดชําระได้ทั้งจํานวน
ให้นํารายการจ่ายตาม (2) (3) (4) (5) (6) วรรคหนึ่ง และ (7) มารวมคํานวณเฉลี่ยเป็นต้นทุนของที่ดินแปลงที่ขาย
(8) ในกรณีการขายอาคารพร้อมที่ดิน การคํานวณต้นทุนของอาคารให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีที่จะกล่าวในข้อ 6
ข้อ ๖ ในการคํานวณมูลค่าต้นทุนของอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดต้นทุนของอาคารชุด นอกจากที่กล่าวในข้อ 5 แล้ว ต้นทุนอาคารชุด ได้แก่ ค่าก่อสร้างอาคาร และส่วนประกอบอื่น ๆ รวมทั้งค่าออกแบบค่าควบคุมงานก่อสร้างและค่าดําเนินงานเพื่อการก่อสร้างดังกล่าว ค่าติดตั้งลิฟท์ ระบบป้องกันอัคคีภัย วินาศภัย หรือภัยอย่างอื่น ค่าติดตั้งเสาโทรทัศน์รวม และจานดาวเทียมรวม เป็นต้น ไม่ว่าจะแยกทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือเป็นทรัพย์สินส่วนกลางก็ตาม
ให้นําต้นทุนตามวรรคหนึ่ง มารวมคํานวณเฉลี่ยเป็นต้นทุนของห้องชุดตามสัดส่วนของรายได้จากการขายห้องชุดนั้น ๆ
ข้อ ๗ ในการคํานวณมูลค่าต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ โดยวิธีการประมาณการกําไรของโครงการ
(1) กรณีทําสัญญาว่าจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาทั้งหมด ให้คํานวณต้นทุนดังกล่าวจากสัญญาว่าจ้างนั้น
(2) กรณีเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาเองทั้งหมด หรือจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาบางส่วน การคํานวณต้นทุนดังกล่าวต้องมีรายละเอียดการคํานวณต้นทุนของโครงการที่น่าเชื่อถือได้ของผู้รับผิดชอบในการคํานวณต้นทุน เช่น วิศวกร หรือสถาปนิก เป็นต้น
รอบระยะเวลาบัญชีใดที่ต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจริงสูงกว่าหรือตํากว่าที่ได้ประมาณการไว้ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนําต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่ได้ประมาณการไว้ มาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือนําต้นทุนส่วนที่ลดลงจากต้นทุนที่ประมาณการไว้ มาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้ปรับปรุงการประมาณการต้นทุนใหม่เพื่อถือเป็นต้นทุนของรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป
ข้อ ๘ ในการคํานวณรายจ่ายสําหรับโครงการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขาย นําต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของโครงการนั้น มาจัดสรรให้เป็นไปตามสัดส่วนของอสังหาริมทรัพย์สําหรับหน่วยหรือแปลงที่จะขาย เพื่อให้ได้ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่จะขายแต่ละหน่วยหรือแต่ละแปลง
(2) การนําต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่จะขายไปแต่ละหน่วยหรือแต่ละแปลง มาหักเป็นรายจ่ายนั้น ให้นําต้นทุนดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายตามส่วนของจํานวนรายได้ตามงวดที่ถึงกําหนดชําระตามสัญญาตามที่กล่าวไว้ในข้อ 4(3) โดยไม่ต้องคํานึงว่ารายจ่ายดังกล่าวจะได้จ่ายตรงตามงวดตามสัญญาหรือไม่ก็ตาม
(3) ในกรณีที่ทรัพย์สินใด ได้นําไปรวมคํานวณเป็นต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์หน่วยหรือแปลงที่จะขายตามข้อ 5 หากต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอครองในทรัพย์สินนั้นไปเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ หรือการอื่นใดก็ตามจะนํามูลค่าของทรัพย์สินนั้นมารวมคํานวณเป็นรายจ่ายหรือเป็นต้นทุนซ้ําอีกไม่ได้
ข้อ ๙ สําหรับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขาย มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 สําหรับทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิกและหรือบุคคลทั่วไปหรือไม่เรียกเก็บค่าบริการก็ตาม รวมตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เช่น ค่าใช้จ่ายในการสร้างสนามเทนนิส สระว่ายน้ํา สนามออกกําลังกาย อาคารสโมสรสปอร์ตคลับ บ่อบาดาล เครื่องสูบน้ํา ระบบระบายน้ํา การบําบัดน้ําเสียรวม ระบบป้องกันอัคคีภัย วินาศภัยอื่น หรือภัยอื่น เครื่องไฟฟ้าฉุกเฉิน รั้วรอบโครงการ ซุ้มทาง เข้าออก ต้นไม้ ศาลพระภูมิ ศาลาพักร้อน ป้อมยาม กําแพงกันดินถล่ม เป็นต้น
ข้อ ๑๐ ให้นําความในข้อ 1 ถึงข้อ 9 มาใช้บังคับในกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับการคํานวณเงินได้สุทธิในปีภาษี ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ( ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลมด้วย
ข้อ ๑๑ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง แนวปฏิบัติ หรือคําวินิจฉัยใดของกรมสรรพากรที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,976 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 55/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 55/2538
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสําหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจแนะนํา กรณีฐานภาษีสําหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือการให้บริการรับขนสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ฐานภาษีสําหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารซึ่งต้องนําไปรวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 หรือมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อรวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณจากมูลค่าของค่าโดยสารที่ได้รับหรือพึงได้รับ สําหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากคนโดยสาร อันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนคนโดยสาร ไม่ว่าสายการบินนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
ข้อ ๒ ฐานภาษีสําหรับการให้บริการรับขนสินค้าซึ่งต้องนําไปรวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 หรือมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อรวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คํานวณจากมูลค่าของค่าระวางที่ได้รับหรือพึงได้รับ สําหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในแอร์เวย์บิลในกรณีรับขนสินค้าโดยอากาศยาน หรือสําหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในบิลออฟเลดิงในกรณีรับขนสินค้าโดยเรือเดินทะเล รวมถึงค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนสินค้า ไม่ว่าสายการบินนั้นหรือสายการเดินเรือนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,977 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 59/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 59/2538
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งแนะนําผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ สําหรับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในกรณีที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่นอกสํานักงานหรือนอกสถานที่เป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ลูกจ้างหรือผู้มีหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรือผู้รับทํางานให้ ได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเข้าลักษณะดังนี้
(1) ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
(2) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกําหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์
(3) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงตาม (2) และบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจําเป็น เพียงเฉพาะในส่วนที่ไม่เกินอัตราตาม (2)
ข้อ ๒ การเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสํานักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทําและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณีด้วย
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,978 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 58/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 58/2538
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน
ที่สูญหายหรือชํารุดจนไม่สามารถใช้งานได้
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนํากรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชํารุดจนไม่สามารถใช้งานได้ กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีที่ทรัพย์สินชํารุดจนไม่สามารถใช้งานได้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะนํามูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ตัดเป็นรายจ่ายทั้งจํานวนไม่ได้ แต่หากได้ทําลายหรือขายไปซึ่งทรัพย์สินนั้น ก็มีสิทธิ์ตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีที่ขายทรัพย์สินนั้นไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องนําราคาขายทรัพย์สินดังกล่าวมารวมคํานวณกําไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
ข้อ ๒ กรณีที่ทรัพย์สินสูญหาย ซึ่งถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ประสงค์จะตัดต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้นเป็นรายจ่ายทั้งจํานวน ได้ดังนี้
(ก) กรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ ไว้ กรณีดังกล่าวถือเป็นผลเสียหายอันอาจได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินได้รับความเสียหายและกําลังรอการชดใช้จากบริษัทประกันภัย แต่ได้สิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไปก่อน เช่นนี้บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะตัดผลเสียหายดังกล่าวเป็นรายจ่ายทันทีไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น จะต้องรอจนกว่าจะได้รับค่าสินไหมที่ได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยเสียก่อน ถ้าผลเสียหายมากกว่าค่าชดใช้ผลต่างถือเป็นผลเสียหายที่มีสิทธิ์หักเป็นรายจ่ายได้ แต่ถ้าค่าชดใช้สูงกว่าความเสียหาย ผลต่างถือเป็นรายได้ จึงต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
(ข) กรณีทรัพย์สินที่สูญหายนั้น ไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ มูลค่าของต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีสิทธิ์ตัดเป็นรายจ่ายได้ทั้งจํานวน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินนั้นได้สูญหายจริง
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2538
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,979 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 57/2538 เรื่อง แนวทางการพิจารณา กรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันเป็นสองบริษัท | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 57/2538
เรื่อง แนวทางการพิจารณา กรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันเป็นสองบริษัท
-------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนํากรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันเป็นสองบริษัท สําหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่รับโอนจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เดิม กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแยกกิจการทั้งสองประเภทออกจากกัน โดยการตั้งบริษัทขึ้นใหม่ ซึ่งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เดิมจะต้องมีการโอนทั้งทรัพย์สินและหนี้สินไปยังบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่นั้น ในกรณีนี้ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้โอน มีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร ดังนี้ คือ
(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล การโอนทรัพย์สินต่าง ๆ ถือเป็นการขาย ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามปกติจะต้องตีราคาทรัพย์สินในราคาตามสภาพของทรัพย์สิน ณ วันโอน แต่ต้องไม่ต่ํากว่าราคาตลาด ณ วันโอนตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
หากการโอนทรัพย์สินในกรณีดังกล่าว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด ตามข้อ 2 ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินดังกล่าว เป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอนทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่ใช้ในการประกอบกิจการทั้งที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปให้บริษัทที่ตั้งใหม่ ถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทผู้โอนต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทตั้งใหม่ผู้รับโอนในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือราคาตามที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) เป็นมูลค่าของฐานภาษี
(3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ การโอนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีดังกล่าว ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 บริษัทผู้โอน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
สําหรับรายรับซึ่งเป็นฐานภาษีที่ต้องนํามาคํานวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ต้องใช้ราคาตลาดหรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
แต่หากการโอนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังกล่าว เป็นไปตามเงื่อนไข วิธีการ และหลักเกณฑ์ที่กําหนด ตามข้อ 2 ให้ถือว่ากรณีดังกล่าวมีเหตุอันสมควรที่จะถือว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) ณ วันที่โอน เป็นรายรับซึ่งเป็นฐานภาษีที่จะนํามาคํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข้อ ๒ การโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อการรับโอนกิจการโดยเฉพาะ และ
(2) ผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่มีวัตถุประสงค์ ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และต้องได้รับโอนทรัพย์สินก่อนหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และ
(3) ผู้โอนต้องถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทผู้รับโอน และ
(4) ผู้โอนและผู้รับโอน ต้องดําเนินการโอนและรับโอนทรัพย์สินในราคาไม่ต่ํากว่าราคาตามมูลค่าที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) ณ วันที่โอน และ
(5) ผู้โอนจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากร ณ วันที่โอน เว้นแต่ได้จัดให้มีธนาคารหรือหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้าง และค่าใช้จ่ายในการบังคับหนี้ดังกล่าวแล้ว และ
(6) ผู้โอนต้องแจ้งการโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้าก่อนวันที่โอนไม่น้อยกว่า 15 วัน
ข้อ ๓ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ที่บริษัทผู้รับโอนได้รับทรัพย์สินจากบริษัทผู้โอน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่บริษัทผู้โอนใช้อยู่เพียงเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่นั้นเท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2538
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,980 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 56/2538 เรื่อง การกำหนดรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 56/2538
เรื่อง การกําหนดรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณารายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงออกคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายเงินดังต่อไปนี้
(1) เงินค่าสมาชิก เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย หรือเงินอื่นที่จ่ายไปในลักษณะทํานองเดียวกัน เพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ สโมสรการกีฬา (Sport Club) หรือสโมสรเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการ (Member Club)
(2) เงินค่าเล่นกอล์ฟ ค่าเล่นกีฬา ค่าตอบแทนเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการในการใช้สิทธิตาม (1) หากการจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เป็นการจ่ายตามข้อกําหนดในลักษณะเป็นการจํากัดเฉพาะตัวบุคคลบางคนซึ่งเป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้เข้าไปใช้บริการได้ ไม่ว่าจะมีการนําบุคคลอื่นที่มิใช่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าไปใช้บริการด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่ารายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเป็นการส่วนตัว ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
หากการจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เป็นการจ่ายตามข้อกําหนดเพื่อให้การรับรองลูกค้าหรือบุคคลตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) ออกตามความประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร และในการรับรองดังกล่าวเปิดโอกาสให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าใช้บริการได้เป็นการทั่วไป ให้ถือว่ารายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่ารับรองที่ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินตามข้อ 1 วรรคสอง ให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ของกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกัน นั้น
ข้อ ๓ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมอบสิทธิตามข้อ 1 วรรคสาม ให้แก่ กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกันโดยเด็ดขาด ไม่ว่าในกรณีใดหรือในกรณีการออกจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ของกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตําแหน่งในลักษณะทํานองเดียวกัน นั้น
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,981 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2551 เรื่อง กำหนดลักษณะของบริษัทที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 22/2551
เรื่อง กําหนดลักษณะของบริษัทที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1
แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชน และมีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
(1) บริษัทที่ได้ดําเนินการเพิกถอนหุ้นของตนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยความสมัครใจ และบริษัทได้จัดให้มีการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดแล้วตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และภายหลังการเสนอซื้อ มีผู้ถือหุ้นรายอื่นซึ่งมิใช่ผู้ทําคําเสนอซื้อ บุคคลที่ร่วมกันตามมาตรา 247 และผู้ที่เกี่ยวข้องของแต่ละบุคคลดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
เพื่อประโยชน์ตาม (1) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลตามมาตรา 258 (1) ถึง (9)
(2) บริษัทที่มิได้มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. บริษัทที่ไม่มีการกระจายหุ้นในวงกว้าง ซึ่งเคยเสนอขายหุ้นโดยไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือยื่นแบบดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับ หรือไม่สามารถขายหุ้นได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาต
2. ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายหุ้นตามคําขออนุญาตแล้ว บริษัทมีจํานวนผู้ถือหุ้นรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยราย
(ค) บริษัทที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(ง) บริษัทที่เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย
(จ) บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ และมิได้มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานตามมาตรา 56 เนื่องจากการเสนอขายหุ้น
(3) บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน ของบริษัท บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย
บริษัทตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2)(ข) ที่มีจํานวนผู้ถือหุ้นเกินกว่าที่กําหนดไว้ในแต่ละกรณีดังกล่าว หากได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือหุ้นทุกรายว่า ไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ให้ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,982 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 54/2537 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล และสำหรับกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 54/2537
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล และสําหรับกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล
--------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจแนะนําสําหรับกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล บริษัทสายการเดินเรือต่างประเทศจะต้องนําค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกนอกประเทศไทยมารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง
(1) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือต่างประเทศรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง
(2) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ที่บริษัทสายการเดินเรือต่างประเทศออกให้ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือต่างประเทศรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล
ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ตาม (1) และ (2)
ข้อ ๒ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล บริษัทสายการเดินเรือจะต้องนํามูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักรมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร มูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด หมายถึง
(1) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง
(2) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ที่บริษัทสายการเดินเรือออกให้ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล
ข้อ ๓ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ โดยให้คํานวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ได้ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บ
ข้อ ๔ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ค่าบริการที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง มูลค่าของค่าบริการ โดยให้คํานวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นได้ที่ได้ถูกบริษัทสายการเดินเรอเรียกเก็บ โดยให้ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลใช้ใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์บิลออฟเลดิง) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เป็นใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้แยกค่าบริการ และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของค่าบริการ ออกจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ที่ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บ และให้ถือเป็นใบกํากับภาษีทั้งในส่วนของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บ และเป็นใบกํากับภาษีทั้งในส่วนของค่าบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลเรียกเก็บ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีระเบียบ คําสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กําหนดให้ต้องนําใบกํากับภาษีไปใช้ดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบยัน เป็นต้น ให้นําใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ที่บริษัทสายการเดินเรือออกให้ผู้รับบริการในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง หรือใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์บิลออฟเลดิง) ที่ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลออกให้ผู้รับบริการ ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลไปใช้ดําเนินการดังกล่าว
สําหรับการตรวจสอบความถูกต้องของใบกํากับภาษีของผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ให้ทําการตรวจสอบกับใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) และใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์บิลออฟเลดิง) ใบเรียกเก็บเงิน (อินวอยซ์) และหลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลออกให้แก่ผู้รับบริการ
กรณีผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลรับจัดการขนส่งสินค้าโดยวิธีรวมห่อ (คอนโซลิเดชั่น) และผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลได้ออกใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์บิลออฟเลดิง) ให้แก่ลูกค้าหลายราย กรณีดังกล่าวมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์บิลออฟเลดิง) ที่ออกให้ลูกค้าแต่ละรายเมื่อรวมกันแล้วต้องมีจํานวนเท่ากับมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ที่บริษัทสายการเดินเรือออกให้สําหรับการขนส่งสินค้าดังกล่าว
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,983 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 53/2537 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานและสำหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสาร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 53/2537
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับกิจการ
ให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานและสําหรับกิจการ
ให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสาร
----------------------------------------------------
เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการตรวจและแนะนําสําหรับกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการเป็นตัวแทนของบริษัทสายการบิน และโดยที่ตัวแทนนั้นเป็นตัวแทนของบริษัทสายการบินไม่ใช่ตัวแทนของผู้ใช้บริการโดยสาร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานบริษัทสายการบินต่างประเทศจะต้องนําค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารมารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร
รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คํานึงว่า รายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุในตั๋วโดยสาร
ข้อ ๒ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คํานึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุในตั๋วโดยสาร
ข้อ ๓ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน บริษัทสายการบินจะต้องนํามูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง รายได้ที่ได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คํานึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุในตั๋วโดยสาร
ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน มีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรให้คนโดยสาร ทั้งในกรณีที่ได้ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่ได้ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน
ข้อ ๔ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสารโดยเป็นตัวแทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้บริษัทสายการบิน โดยให้คํานวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน
(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง
(ก) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คํานวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทสายการบิน
(ข) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร แก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการแก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยให้คํานวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสาร
ข้อ ๕ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสารโดยเป็นตัวแทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้บริษัทสายการบิน โดยให้คํานวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน และตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีตามมาตรา86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับค่าบริการดังกล่าวให้บริษัทสายการบิน
(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง
(ก) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คํานวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทสายการบิน และตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับค่าบริการดังกล่าวให้ตัวแทน
(ข) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร แก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการซื้อตั๋วโดยสารให้แก่คนโดยสาร โดยให้คํานวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสาร และตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับค่าบริการให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ โดยให้แยกออกจากใบกํากับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ สําหรับค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร โดยใบกํากับภาษีที่ตัวแทนช่วงออกเพื่อเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวจะต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการสําหรับการซื้อตั๋วโดยสารเลขที่ใด ของบริษัทสายการบินใด
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีระเบียบ คําสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กําหนดให้ต้องนําใบกํากับภาษีไปใช้ดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบยัน ให้นําใบกํากับภาษีที่บริษัทสายการบินออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการในกรณีบริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการโดยตรง หรือใบกํากับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ ในกรณีบริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการโดยผ่านตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งไปใช้ดําเนินการ
สําหรับการตรวจสอบความถูกต้องของใบกํากับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ ให้ทําการตรวจสอบกับหลักฐานรับเงินที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหรือตัวแทนช่วงออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ
ข้อ ๗ มิให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 ถึงข้อ 6 มาใช้บังคับในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับสิทธิให้ดําเนินการขายตั๋วโดยสารของบริษัทสายการบินใดสายการบินหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวให้กับตัวแทนหรือคนโดยสาร โดยได้รับค่าบริการในอัตราที่แน่นอนตามข้อตกลงจากบริษัทสายการบิน
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,984 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 52/2537 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การคำนวณรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 52/2537
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การคํานวณรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือ
เพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และ
รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติ
รัฐมนตรีตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับกรณีการหักรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปแต่ละรายการมีจํานวนสูงกว่าหรือเท่ากับ 2/104 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายทั้งสองรายการ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นคํานวณหักรายจ่ายแต่ละรายการได้เท่ากับ 2/104 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายทั้งสองรายการ
ข้อ ๒ กรณีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปแต่ละรายการ โดยรายการหนึ่งมีจํานวนสูงกว่าหรือเท่ากับ 2/104 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายทั้งสองรายการ และอีกรายการหนึ่งมีจํานวนต่ํากว่า 2/104 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายทั้งสองรายการ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นคํานวณหักรายจ่ายสําหรับรายการที่มีจํานวนต่ํากว่าเสียก่อนโดยให้คํานวณหักได้เท่ากับจํานวนที่จ่ายจริง หลังจากนั้นจึงให้คํานวณหักรายจ่ายสําหรับรายการที่เหลือได้ไม่เกิน 2/102 ของกําไรสุทธิหลังจากหักรายจ่ายรายการแรกออกไปแล้ว
ข้อ ๓ กรณีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปแต่ละรายการ โดยทั้งสองรายการมีจํานวนต่ํากว่า 2/104 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายทั้งสองรายการ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลคํานวณหักรายจ่ายแต่ละรายการได้เท่ากับจํานวนที่จ่ายไปจริง โดยจะเลือกหักรายจ่ายจากรายการใดก่อนก็ได้
ข้อ ๔ ระเบียบ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือแนวทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,985 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 51/2537 เรื่อง การออกใบกำกับภาษีและใบรับ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการด้วยเช็ค | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 51/2537
เรื่อง การออกใบกํากับภาษีและใบรับ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชําระ
ราคาสินค้าหรือค่าบริการด้วยเช็ค
----------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานกรมสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการตรวจหรือแนะนําให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนถือปฏิบัติ สําหรับการออกใบกํากับภาษีและใบรับ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชําระราคาสินค้าหรือค่าบริการด้วยเช็ค เพื่อประโยชน์ในการออกใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86 การจัดทํารายงาน ตามมาตรา 87 มาตรา 87/1 และมาตรา 87/2 และการออกใบรับ ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายสินค้า ได้รับชําระราคาสินค้าด้วยเช็ค ซึ่งลงวันที่ก่อนส่งมอบสินค้า หรือก่อนโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือเป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการ ได้รับชําระค่าบริการด้วยเช็ค ผู้ประกอบการมีหน้าที่ออกใบกํากับภาษีและใบรับตามวันที่ลงในเช็ค
ข้อ ๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค โดยได้รับมอบเช็คลงวันที่ที่ผ่านมาแล้ว ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําใบกํากับภาษีและใบรับตามวันที่ลงในเช็คนั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้จัดทําใบกํากับภาษีและใบรับในวันที่ได้รับมอบเช็คนั้น
(1) กรณีรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้ออกเช็ค
(2) นอกจากกรณีตาม (1) ในกรณีผู้ออกเช็คเป็นบุคคลธรรมดาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งได้ออกเอกสารรับรองว่า ได้ส่งมอบเช็คให้ผู้ประกอบการเมื่อ วัน เดือน ปีใด และได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้ในวันเดียวกับที่ส่งมอบเช็คนั้น และผู้ประกอบการต้องมีเอกสารนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ทันที
ตอน ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,986 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 50/2537
เรื่อง แนวทางการพิจารณา
--------------------------------------------------------
ตามที่บทบัญญัติมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกําไรสุทธิ จัดทําประมาณการกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วให้คํานวณและชําระภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ได้แสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชําระขาด ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แม้ต่อมาจะได้มีหนังสือที่ กค 0810/6379 ลงวันที่ 27 เมษายน 2533 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือปฏิบัตแล้วก็ตาม แต่ในระยะเวลาต่อมา การพิจารณา “เหตุอันสมควร” ก็ยังเป็นเรื่องยุ่งยากสับสนและไม่สามารถแสดงได้ว่าความ “สมควร” เกิดขึ้นจริง และโดยที่การเสียภาษีตามมาตรา 67 ทวิ เป็นเพียงการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการประจําปี
ฉะนั้น เพื่ออํานวยความสะดวกในการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ดังกล่าว กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,987 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 49/2537 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และสำหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 49/2537
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และสําหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานบริษัทสายการบินต่างประเทศจะต้องนําค่าระวางค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกนอกประเทศไทยมารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง
(1) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวางตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทยในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง
(2) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวางตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้าที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานออกให้ผู้รับบริการ (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทยในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ไม่ว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าระวางที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล)
ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึงรายได้ตาม (1) และ (2)
ข้อ ๒ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน บริษัทสายการบินจะต้องนํามูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักร มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร มูลค่าของค่าระวางฯลฯ หมายถึง
(1) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทย ตามมูลค่าของค่าระวางตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการบินรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง
(2) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทย ตามมูลค่าของค่าระวางตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้าที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานออกให้ผู้รับบริการ (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการบินรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ไม่ว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าระวางที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล)
ข้อ ๓ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ โดยให้คํานวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการไว้แทนบริษัทสายการบินหักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้ถูกบริษัทสายการบินเรียกเก็บ
(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง ถือว่าตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนํามารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึงรายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการให้แก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คํานวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้ถูกตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งเรียกเก็บ
ข้อ ๔ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการเป็นตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง มูลค่าของค่าบริการ โดยให้คํานวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการไว้แทนบริษัทสายการบินหักด้วยค่าระวางค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้ถูกบริษัทสายการบินเรียกเก็บโดยตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้บริษัทสายการบิน
(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง ถือว่าตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง มูลค่าของค่าบริการ โดยให้คํานวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้ถูกตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งเรียกเก็บ โดยตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีระเบียบ คําสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กําหนดให้ต้องนําใบกํากับภาษีไปใช้ดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบยัน เป็นต้น ให้นําใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล) ที่บริษัทสายการบินออกให้ผู้รับบริการในกรณีบริษัทสายการบินรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง หรือใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล) ที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าออกให้ผู้รับบริการแทนบริษัทสายการบิน และใบตราส่งสินค้าที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าออกให้แก่ผู้รับบริการ (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) ในกรณีที่บริษัทสายการบินรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านตัวแทนไปใช้ดําเนินการดังกล่าวด้วย
สําหรับการตรวจสอบความถูกต้องของใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) ให้ทําการตรวจสอบกับใบเรียกเก็บเงิน (อินวอยซ์) และหลักฐานการรับเงินที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าออกให้แก่ผู้รับบริการ
กรณีตัวแทนรับขนส่งสินค้าโดยวิธีรวมห่อ (คอนโซลิเดชั่น) และตัวแทนได้ออกใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) ให้แก่ลูกค้าหลายราย กรณีดังกล่าวให้ตรวจสอบมูลค่าของค่าระวางสินค้า ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) กับรายงานขายและรายงานภาษีขายที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าจัดทําตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,988 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 48/2537 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการมอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนซื้อ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 48/2537
เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการมอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนซื้อ
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนถือปฏิบัติสําหรับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีผู้ประกอบการมอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนซื้อ เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้าดังกล่าว จึงตกลงซื้อขายสินค้าตัวที่มอบนั้น กรณีนี้ถือว่าเป็นการขายตามคํานิยามในมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่มอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้
ข้อ ๒ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนซื้อ เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้าดังกล่าว ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าตัวใหม่ให้ สินค้าที่มอบให้ลูกค้าทดลองใช้ดังกล่าวยังไม่ให้ถือเป็นการขาย เฉพาะกรณีที่เข้าตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(1) สินค้าที่มอบให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนซื้อนั้น จะต้องเป็นสินค้าที่ผู้ขายมีไว้สําหรับให้ทดลองใช้โดยเฉพาะเท่านั้น และเมื่อลูกค้าตกลงซื้อสินค้า ผู้ขายต้องมอบสินค้าตัวใหม่ที่เป็นชนิดเดียวกันให้ลูกค้า
(2) ระยะเวลาที่ให้ลูกค้าทดลองใช้สินค้านั้น จะต้องเป็นกรณีที่ให้ทดลองใช้เพียงชั่วคราว เพียงเพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น และต้องไม่เกินความจําเป็นแก่การทดลอง และ
(3) สินค้าที่มอบให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนซื้อนั้น จะต้องมิใช่เป็นสินค้าชนิดที่เป็นของใช้สิ้นเปลือง
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,989 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 47/2537 เรื่อง ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้าไปใช้ในการบริหารงานของกิจการกรณีเครื่องแบบของพนักงาน | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 47/2537
เรื่อง ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําสินค้าไปใช้ในการบริหารงานของกิจการกรณีเครื่องแบบของพนักงาน
--------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 1) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1(8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กรณีเครื่องแบบของพนักงาน กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องแบบของพนักงาน โดยผู้ประกอบการเป็นฝ่ายจัดหาให้พนักงานใช้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันจะเข้าเงื่อนไขว่าเป็นการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงนั้น ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้
(1) เป็นเครื่องแบบที่ใช้เฉพาะงานหรือห้องปฏิบัติงานโดยเฉพาะในปริมาณไม่เกินสมควร ซึ่งไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่พนักงาน และเมื่อพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วต้องเก็บรักษาไว้ที่สถานที่ประกอบการ หรือให้พนักงานนําออกไปจากสถานประกอบการได้เพียงเพื่อการซักฟอกหรือทําความสะอาด เป็นต้น
(2) เป็นเครื่องแบบที่พนักงานแต่ละคนต้องแต่งอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันในจํานวนคนมากพอสมควร ซึ่งประชาชนทั่วไปเมื่อพบเห็นสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องแบบของพนักงานของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าพนักงานแต่ละคนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตัดเย็บเอง หรือผู้ประกอบการเป็นผู้จ่ายให้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานในจํานวนคนละไม่เกินปีละ 2 ชุด เสื้อนอกไม่เกินปีละ 1 ตัว แต่ไม่รวมถึงรองเท้า ชุดชั้นใน หรือเครื่องแต่งตัวอย่างอื่น
การจ่ายสิ่งของดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องลงรายการให้ชัดเจน ดังนี้
(ก) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ผลิตสิ่งของดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องลงรายการจ่ายในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในช่องหมายเหตุว่า จ่ายเพื่อตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก ของพนักงาน แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ซื้อหรือสั่งจ้างทําสิ่งของดังกล่าว เพื่อนํามาจ่ายให้แก่พนักงาน ให้ผู้ประกอบการลงรายการในรายงานภาษีซื้อ ในช่องรายการใต้รายการสินค้าหรือบริการว่า เพื่อจ่ายให้แก่พนักงานตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก หรือใช้เป็นเครื่องแบบของพนักงาน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ สําหรับค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 ผู้ประกอบการหรือนายจ้างสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,990 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 46/2537 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 46/2537
เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ สําหรับกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ตาม (10) ของข้อ 2 แห่งประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 50)เรื่อง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2537
“(1) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกํากับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกํากับภาษีกํากับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทําการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
(2) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกํากับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทําการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตําบลหรือแขวง อําเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่”
(แก้ไขเพิ่มเติมตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.72/2541 ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,991 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 45/2537 เรื่อง วันทำการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 45/2537
เรื่อง วันทําการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ สําหรับวันทําการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประโยชน์ในการออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86 และการจัดทํารายงานตามมาตรา 87 มาตรา 87/1 และมาตรา 87/2 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีกําหนดระยะเวลาสิ้นวันทําการที่ชัดเจน เช่น การขายน้ํามันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ํามันตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะถือช่วงเวลาใดระหว่างเวลา 17.00 น. จนถึงเวลา 8.00 น. เป็นช่วงเวลาสิ้นวันทําการก็ได้ และหากได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว ให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้เลือกปฏิบัติตามข้อ 1 จะต้องออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86 และจัดทํารายงานตามมาตรา 87 มาตรา 87/1 และมาตรา 87/2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เป็นไปตามวันทําการตามข้อ 1 ด้วย
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,992 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 37/2536 เรื่อง การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในห้างสรรพสินค้า | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 37/2536
เรื่อง การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อในห้างสรรพสินค้า
--------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับกรณีการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงินในห้างสรรพสินค้าตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า โดยขายสินค้าทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) การขายสินค้าในแผนกที่มีสินค้าทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น แผนก Super Market
(ก) หากห้างสรรพสินค้าขายสินค้าทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในคราวเดียวกัน ห้างสรรพสินค้าสามารถใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การอนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ในการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อได้ โดยจะต้องมีรหัสหรือเครื่องหมายที่แสดงความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว
(ข) หากห้างสรรพสินค้าขายสินค้าเฉพาะประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงประเภทเดียว ห้างสรรพสินค้าสามารถใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ในการออกใบเสร็จรับเงินได้ แต่จะต้องไม่มีข้อความว่า "ใบกํากับภาษีอย่างย่อ" ในใบเสร็จรับเงินดังกล่าว และจะต้องมีรหัสหรือเครื่องหมายหรือข้อความที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามิใช่ใบกํากับภาษีอย่างย่ออยู่ในใบเสร็จรับเงินนั้น และในม้วนกระดาษต่อเนื่องบันทึกรายการประจําวัน (Daily Transaction Journal) ด้วย โดยสามารถใช้หมายเลขลําดับของใบเสร็จรับเงินต่อเนื่องกันไปกับหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษีอย่างย่อได้
(2) การขายสินค้าในแผนกที่มีเฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด เช่น แผนกหนังสือ
(ก) หากห้างสรรพสินค้าประสงค์จะออกใบเสร็จรับเงินด้วยมือ ห้างสรรพสินค้าก็สามารถออกใบเสร็จรับเงินซึ่งไม่มีข้อความว่า "ใบกํากับภาษี" หรือ "ใบกํากับภาษีอย่างย่อ" ได้ โดยใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้สําหรับใบรับตามมาตรา 105 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) หากห้างสรรพสินค้าประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบเสร็จรับเงิน เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าวจะต้องมิใช่เครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ใช้สําหรับการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 โดยใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้สําหรับใบรับตามมาตรา 105 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,993 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 36/2536 เรื่อง การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซ้อเมื่อได้ส่งมอบ ตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 36/2536
เรื่อง การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชําระ
ที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซ้อเมื่อได้ส่งมอบ
ตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณา เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อน ชําระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายและผู้ซื้อยังมิได้ตกลงว่าจะทําการซื้อขายในลักษณะซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือซื้อขายตามสัญญาให้เช่าซื้อในขณะที่มีการ ชําระเงินจองหรือเงินมัดจํา และต่อมาผู้ซื้อได้ตกลงซื้อขายในลักษณะซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ขายเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้ขายได้ให้ส่วนลดหรือ ค่าลดหย่อนแก่ผู้ซื้อในขณะตกลงซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ดังกล่าวออกจากราคาสินค้า โดยแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกํากับภาษีที่ออกแล้ว ถือเป็นส่วนลดหรือค่าลดหย่อนตามมาตรา 79(1) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขายไม่ต้องนํามูลค่าของส่วนลดหรือค่าลดหย่อนมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๒ ในกรณีการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ให้เช่าซื้อเกิดขึ้นเมื่อถึงกําหนดชําระราคาตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวด ตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้ให้เช่าซื้อต้องออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้เช่าซื้อทุกครั้งเมื่อถึงกําหนดชําระราคาตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวด ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้เช่าซื้อ เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าหรือราคาทั้งหมดตามสัญญาให้เช่าซื้อเพียงฉบับเดียวแต่ไม่รวมถึงกรณีผู้ให้เช่าซื้อได้ออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้เช่าซื้อจากมูลค่าหรือราคาทั้งหมดตามสัญญาให้เช่าซื้อเพียงฉบับเดียว โดยยังคงเรียกเก็บค่าสินค้าตามงวดที่ถึงกําหนดชําระพร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณจากมูลค่าสินค้าของงวดนั้น
(3) ในกรณีผู้เช่าซื้อมิได้ชําระราคาสินค้าตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวด ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีเมื่อถึงกําหนดชําระราคาตามงวดนั้น แต่จะยังไม่ส่งมอบใบกํากับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าซื้อก็ได้
(4) ในกรณีผู้เช่าซื้อได้ชําระราคาสินค้าตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวดไปแล้ว ต่อมาผู้เช่าซื้อได้ชําระราคาสินค้าตามงวดที่เหลือทั้งหมดก่อนถึงกําหนดชําระแต่ละงวด หากผู้ให้เช่าซื้อได้ให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนแก่ผู้เช่าซื้อ ถือเป็นการให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนหลังจากที่มีการขายสินค้า ไม่เข้าลักษณะเป็นส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ตามมาตรา 79(1) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ให้เช่าซื้อต้องนํามูลค่าของส่วนลดหรือค่าลดหย่อนมารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชําระราคาสินค้างวดใดงวดหนึ่ง และต่อมาได้ชําระราคาสินค้างวดที่ผิดนัด หากผู้ให้เช่าซื้อได้เรียกเก็บดอกเบี้ยสําหรับงวดที่ผิดนัด ถือเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องนํามูลค่าของดอกเบี้ยดังกล่าวมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) ในกรณีมีการบอกเลิกสัญญาให้เช่าซื้อ ให้ผู้ให้เช่าซื้อแจ้งเลิกสัญญาเป็นหนังสือต่อผู้เช่าซื้อ และนับแต่เดือนภาษีที่ส่งหนังสือแจ้งเลิกสัญญาถือว่าไม่มีการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ ตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากรอีกต่อไป ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องออกใบกํากับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวด ตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ในกรณีผู้เช่าซื้อโอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีสัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อมิได้เปลี่ยนแปลงสาระสําคัญอื่น ๆ ของสัญญา โดยเปลี่ยนแปลงเฉพาะผู้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวดต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดตามสัญญาให้เช่าซื้อ
(2) ในกรณีสัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อได้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญอื่น ๆ ของสัญญานอกเหนือจากการเปลี่ยนผู้เช่าซื้อ เช่น การเปลี่ยนมูลค่าของสัญญา จํานวนงวดที่ถึงกําหนดชําระ หรือมูลค่าหรือราคาที่ต้องชําระแต่ละงวด ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสัญญา จํานวนงวดที่ถึงกําหนดชําระ หรือมูลค่าหรือราคาที่ต้องชําระแต่ละงวดที่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมด
ข้อ ๔ ในกรณีมีการเลิกสัญญาให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเลิกสัญญาเนื่องจากผู้เช่าซื้อมิได้ชําระราคาสินค้าตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวด และผู้เช่าซื้อได้ส่งคืนสินค้าให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อแล้ว
(ก) ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามงวดที่ถึงกําหนดชําระแต่ละงวดจนถึงงวดก่อนงวดที่มีการเลิกสัญญา ไม่ว่าผู้เช่าซื้อจะได้ชําระราคาสินค้าสําหรับงวดที่ถึงกําหนดชําระหรือไม่
(ข) หากสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อเกิดเสียหายและผู้ให้เช่าซื้อได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากผู้รับประกันภัย ผู้เช่าซื้อหรือบุคคลอื่นแล้วแต่กรณี ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องนําค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ในกรณีผู้เช่าซื้อมิได้ส่งคืนสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อในทันทีที่เลิกสัญญา ซึ่งเป็นผลให้ผู้ให้เช่าซื้อสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ใช้สอยในสินค้าดังกล่าว ถือว่าค่าขาดประโยชน์เป็นค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ให้เช่าซื้อต้องนําเงินค่าขาดประโยชน์มารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ในกรณีเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อถูกทําลายหรือเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ และได้มีการทําสัญญาประกันภัยสินค้าที่ให้เช่าซื้อไว้ด้วย ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องนําค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับตามสัญญาประกันภัยมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีผู้ให้เช่าซื้อได้รับค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ต้องคืนซากสินค้าให้แก่ผู้รับประกันภัยด้วย ถือว่าผู้ให้เช่าซื้อได้ขายสินค้าให้แก่ผู้รับประกันภัยตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องนํามูลค่าซากสินค้ามารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การคํานวณมูลค่าซากของสินค้าตามวรรคสอง ให้คํานวณมูลค่าตามสภาพ ณ วันโอนซากสินค้าให้แก่ผู้รับประกันภัย
(4) ในกรณีเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อสูญหายและในสัญญาได้กําหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินตามมูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่ตามสัญญาให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบถ้วน เงินตามมูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่ ถือเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าผู้เช่าซื้อหรือผู้รับประกันภัยเป็นผู้จ่าย ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องนําค่าตอบแทนที่ได้รับมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ก) ในกรณีผู้ให้เช่าซื้อได้รับเงินจากผู้เช่าซื้อหรือผู้รับประกันภัยเท่ากับหรือน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่ตามสัญญาให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจํานวนเงินที่ได้รับ และในกรณีได้รับเงินน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่ตามสัญญาให้เช่าซื้อ ต่อมาภายหลังได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อได้อีก ผู้ให้เช่าซื้อต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากจํานวนเงินที่เรียกเก็บได้เพิ่มเติม
(ข) ในกรณีผู้ให้เช่าซื้อได้รับเงินจากผู้เช่าซื้อหรือผู้รับประกันภัยมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่ตามสัญญาให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะจํานวนเงินที่นําไปชําระค่าสินค้าที่เหลืออยู่ตามสัญญาให้เช่าซื้อเท่านั้น สําหรับเงินส่วนที่เกินจากมูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่และผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนให้แก่ผู้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องนํามารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อเป็นผู้ถูกเรียกเก็บ หากผู้เช่าซื้อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนย่อมมีสิทธินํามาถือเป็นภาษีซื้อในลักษณะเดียวกับกรณีที่ผู้เช่าซื้อได้จ่ายชําระราคาสินค้าตามงวดที่ถึงกําหนดชําระราคาแต่ละงวดจนครบถ้วนตามกรณีปกติ
(5) ในกรณีผู้ให้เช่าซื้อได้รับเงินตามมูลค่าสินค้าที่เหลืออยู่ตามสัญญาให้เช่าซื้อจนครบถ้วนตาม (4) แล้ว หากสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และมีข้อตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อต้องโอนทะเบียนให้แก่ผู้รับประกันภัยถือเป็นการโอนสินค้าแทนผู้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้เช่าซื้อเป็นผู้ประกอบการ ตามมาตรา77/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจํานวนเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับจากผู้รับประกันภัย
ข้อ ๕ ในกรณีผู้ซื้อได้ชําระเงินล่วงหน้าจํานวนหนึ่งให้แก่ผู้ขายก่อนทําการตกลงว่าจะซื้อขายสินค้าในลักษณะซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือซื้อขายตามสัญญาให้เช่าซื้อ
(1) ในกรณีเงินชําระล่วงหน้าเป็นเงินจองหรือเงินมัดจํา ซึ่งตามข้อตกลงจะต้องคืนให้กับผู้ชําระเงินจองหรือเงินมัดจําโดยไม่มีเงื่อนไขหากผู้ชําระเงินจองหรือเงินมัดจําไม่ประสงค์จะทําการซื้อขายให้สําเร็จบริบูรณ์ต่อไป และในทางปฏิบัติผู้ได้รับชําระเงินจองหรือเงินมัดจําได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว ถือได้ว่าผู้ขายซึ่งได้รับเงินจองหรือเงินมัดจํายังมิได้รับชําระราคาสินค้าเป็นบางส่วนตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขายยังไม่ต้องออกใบกํากับภาษีตามมูลค่าของเงินจองหรือเงินมัดจําในขณะที่ได้รับเงินจองหรือเงินมัดจํา
(2) ในกรณีเงินชําระล่วงหน้าเป็นเงินค่าสินค้าที่ได้ชําระบางส่วนหรือเป็นเงินจองหรือเงินมัดจําที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) ถือได้ว่าผู้ขายซึ่งได้รับเงินชําระล่วงหน้า เงินจองหรือเงินมัดจําได้รับชําระราคาสินค้าเป็นบางส่วนตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้ขายต้องออกใบกํากับภาษีตามมูลค่าที่ได้รับชําระในขณะที่ได้รับชําระราคาสินค้าเป็นบางส่วน เงินจองหรือเงินมัดจําตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ในกรณีผู้ซื้อได้ตกลงกับผู้ขายว่าจะซื้อขายสินค้าในลักษณะซื้อขายเสร็จเด็ดขาดภายหลังจากที่ได้มีการชําระเงินล่วงหน้าจํานวนหนึ่งให้แก่ผู้ขาย โดยเงินชําระล่วงหน้าเป็นการชําระไว้ตาม (2) ถือว่าผู้ขายได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อตามมูลค่าทั้งหมดของสินค้า รวมทั้งส่วนที่ได้มีการชําระล่วงหน้าด้วย และให้ผู้ขายออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร จากมูลค่าทั้งหมดของสินค้าซึ่งได้หักเงินส่วนที่ชําระล่วงหน้าออกแล้วในขณะที่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ
(4) ในกรณีผู้ซื้อได้ตกลงว่าจะซื้อขายสินค้าในลักษณะให้เช่าซื้อภายหลังจากที่ได้มีการชําระเงินล่วงหน้าจํานวนหนึ่งให้แก่ผู้ขาย โดยเงินชําระล่วงหน้าเป็นการชําระไว้ตาม (2) ถือว่าผู้ขายได้ขายสินค้าที่ผู้ซื้อได้ชําระราคาล่วงหน้าไว้แล้วให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมูลค่าทั้งหมดของสินค้ารวมทั้งส่วนที่ได้มีการชําระล่วงหน้าด้วย และผู้ให้เช่าซื้อได้ขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อตามมูลค่าทั้งหมดของสินค้ารวมทั้งราคาสินค้าชําระล่วงหน้า ให้ผู้ขายสินค้าและผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ขายสินค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าทั้งหมดของสินค้ารวมทั้งราคาสินค้าชําระล่วงหน้า และต้องออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 78(1) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) ผู้ให้เช่าซื้อต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าทั้งหมดของสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อรวมทั้งราคาสินค้าชําระล่วงหน้า และต้องออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้เช่าซื้อ ตามมาตรา 78(2) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
(ค) ในกรณีที่ผู้ขายได้รับชําระราคาสินค้าล่วงหน้าจํานวนหนึ่งจากผู้ซื้อ และผู้ขายได้ออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อแล้วตามมาตรา 78(1) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อผู้ขายได้ออกใบกํากับภาษีขายสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตาม (ก) แล้ว ให้ผู้ขายออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ให้นําความในข้อ 1 ถึง ข้อ 5 มาใช้บังคับสําหรับการขายสินค้าตามสัญญาขายผ่อนชําระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย
ข้อ ๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,994 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 20) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ในการนำส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 20)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ในการนําส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 และตามความในข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 6 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 364 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการนําส่งเงินภาษี อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการนําส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
“ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 ภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ และภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ให้ธนาคารที่มีความประสงค์เป็นผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลและเงินภาษี ยื่นคําขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เพื่อทําหน้าที่รับเงินภาษีจากผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีแทนกรมสรรพากร ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดไว้ในขั้นตอนการลงทะเบียน และต้องผ่านการประเมินระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งรายการและเงินภาษีจากกองเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมสรรพากร ทั้งนี้ ธนาคารต้องไม่เคยถูกอธิบดีกรมสรรพากรเพิกถอนการเป็นผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลและเงินภาษีตามประกาศนี้
ข้อ ๓ ธนาคารที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 2 อาจกําหนดประเภทของบริการธุรกรรมทางการเงินของธนาคารทั้งหมดหรือบางส่วนที่ธนาคารให้บริการเพื่อรองรับระบบการนําส่งเงินภาษี โดยต้องจัดให้มีระบบการให้บริการที่สามารถรองรับรายการที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษีจากผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี ตามท้ายประกาศนี้
ธนาคารมีหน้าที่แจ้งประเภทของบริการธุรกรรมทางการเงินของธนาคารที่ให้บริการเพื่อรองรับระบบการนําส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เพื่อการเผยแพร่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรให้ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ
ข้อ ๔ ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีอาจเลือกวิธีการนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้ ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกระทําผ่านธนาคารที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 2 พร้อมกับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน หรือการจําหน่ายเงินกําไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกําไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกําไร หรือการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยจะต้องแจ้งรายการที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษีต่อธนาคารอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี
(2) ชื่อหรือเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้รับเงิน
(3) ในกรณีภาษีเงินได้ ให้ระบุประเภทของเงินได้พึงประเมินและจํานวนเงินได้ที่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีได้นําส่ง และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)
(4) ในกรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ระบุมูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ
(5) จํานวนเงินภาษีที่หักหรือนําส่ง
ข้อ ๕ ให้ธนาคารซึ่งได้รับเงินภาษีและรายการตามข้อ 4 ออกหลักฐานแสดงการรับชําระเงินภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีและผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และสามารถระบุได้ว่าหลักฐานดังกล่าวนั้นธนาคารเป็นผู้ออก โดยต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี
(2) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (สําหรับธุรกรรมในประเทศ)
(3) ประเภทของเงินได้พึงประเมิน
(4) จํานวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)
(5) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)
(6) หมายเลขอ้างอิง (ธนาคารกําหนดเอง)
(7) ชื่อผู้รับเงินภาษาอังกฤษ (สําหรับเฉพาะธุรกรรมระหว่างประเทศ)
(8) นามสกุลผู้รับเงินภาษาอังกฤษ (สําหรับเฉพาะธุรกรรมระหว่างประเทศ)
เพื่อประโยชน์ในการส่งหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีแจ้งช่องทางการติดต่อของตนและผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ธนาคาร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ธนาคารส่งหลักฐานให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีและผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่าน Short Message Service (SMS) แต่ธนาคารต้องระบุรายการอย่างน้อยตาม (1) (2) (4) สําหรับธุรกรรมในประเทศ หรือ (1) (4) (7) (8) สําหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักฐานที่ส่งให้ผ่านช่องทางดังกล่าว
ให้หลักฐานแสดงการรับชําระเงินภาษีที่ธนาคารได้ออกให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีและผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง เป็นหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย และให้ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แก่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ธนาคารต้องนําส่งเงินภาษีพร้อมรายการตามข้อ 4 และรายการเดินบัญชีในรูปแบบ MT940 หรือตามรูปแบบที่กําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ต่อกรมสรรพากรภายในสี่วันทําการนับถัดจากวันที่ธนาคารได้รับเงินภาษีและรายการจากผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี
รายการที่ธนาคารต้องนําส่งต่อกรมสรรพากรพร้อมเงินภาษีตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ กรณีที่ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีพบว่าจํานวนเงินภาษีตามข้อ 4 ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปและทําให้การนําส่งเงินภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีดําเนินการนําส่งเงินภาษีเพิ่มเติมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรโดยเลือกรายการนําส่งเงินภาษีที่ประสงค์จะทําการนําส่งเงินภาษีเพิ่มเติม โดยระบุจํานวนเงินภาษีที่จะนําส่งเพิ่มเติมและทําการนําส่งเงินภาษีนั้นทั้งจํานวนผ่านระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) หรือนําส่งโดยวิธีการพิมพ์ชุดชําระเงิน (Pay In Slip) จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรและนําส่งเงินภาษีทั้งจํานวนตามชุดชําระเงิน (Pay In Slip) ณ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งซึ่งมีระบบการให้บริการที่รองรับการนําส่งเงินภาษีเพิ่มเติม
ธนาคารต้องนําส่งเงินภาษีพร้อมรายการนําส่งเงินภาษีเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง และข้อมูล Bill Payment Output file BOT format (256) หรือตามรูปแบบที่กําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ต่อกรมสรรพากรภายในหนึ่งวันนับถัดจากวันที่ธนาคารได้รับเงินภาษีและรายการจากผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี
“ในการนําส่งภาษีเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการนําส่งเงินภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษี โดยให้นําส่งเงินภาษีพร้อมข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ได้นําส่งเงินภาษีและรายการข้อมูลต่อธนาคารตามข้อ 4 โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 31) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ข้อ ๘ ธนาคารที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารต้องรักษามาตรฐานของระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งรายการและเงินภาษีตลอดเวลาที่ให้บริการนําส่งเงินภาษี และต้องประเมินระบบงานของธนาคารทุก ๆ 2 ปี
(2) กรณีที่ธนาคารไม่นําส่งหรือนําส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากรไม่ครบถ้วนตามข้อ 6 และข้อ 7 ธนาคารต้องรับผิดและนําส่งเงินภาษีดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากรจนครบถ้วนพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานําส่งเงินภาษี จนกว่าจะนําส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากรครบถ้วน ทั้งนี้ กรมสรรพากรมีสิทธิที่จะเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายที่ได้เกิดขึ้นจากการที่ธนาคารไม่นําส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากรไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนนั้น
(3) กรณีที่ธนาคารไม่นําส่งรายการที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษี หรือรายการเดินบัญชีในรูปแบบ MT940 หรือรายการนําส่งเงินภาษีเพิ่มเติม หรือข้อมูล Bill Payment Output file BOT format (256) ต่อกรมสรรพากร ตามข้อ 6 และข้อ 7 ถือว่าธนาคารไม่นําส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากรทั้งจํานวนตามข้อ 6 และข้อ 7 ด้วย ธนาคารต้องชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานําส่งเงินภาษี โดยคํานวณจากจํานวนเงินภาษีที่ต้องนําส่งสําหรับรายการข้อมูลดังกล่าวนั้นทั้งจํานวนเสมือนมิได้นําส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากร จนกว่าจะนําส่งรายการและข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากรครบถ้วน ทั้งนี้ กรมสรรพากรมีสิทธิที่จะเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายที่ได้เกิดขึ้นจากการนั้น
(4) กรณีที่ธนาคารไม่นําส่งหรือนําส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากรไม่ครบถ้วน หรือไม่นําส่งรายการที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษี หรือรายการนําส่งเงินภาษีเพิ่มเติม หรือรายการเดินบัญชีในรูปแบบ MT940 หรือข้อมูล Bill Payment Output file BOT format (256) หรือข้อมูลตามรูปแบบที่กําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ต่อกรมสรรพากรภายในกําหนดเวลาตามข้อ 6 และข้อ 7 แล้วแต่กรณี หรือดําเนินการอื่นใดอันไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษีตามประกาศนี้ กรมสรรพากรสามารถดําเนินการ ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ธนาคารจะพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจําเป็นอย่างอื่นซึ่งทําให้ธนาคารไม่สามารถดําเนินการได้
(ก) กรณีที่กรมสรรพากรได้แจ้งเตือนให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยมีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ธนาคารไม่ปรับปรุงแก้ไขหรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ธนาคารต้องถูกระงับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลและเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง และกรมสรรพากรจะประกาศรายชื่อของธนาคารที่ถูกระงับการให้บริการไว้บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
(ข) กรณีที่พ้นกําหนดเวลาที่กรมสรรพากรได้แจ้งให้ธนาคารปรับปรุงแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องตาม (ก) แล้ว และกรมสรรพากรได้แจ้งเตือนให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องครั้งที่สอง โดยแจ้งกําหนดเวลาให้ดําเนินการไม่น้อยกว่า 15 วันแล้ว แต่ธนาคารไม่ปรับปรุงแก้ไขหรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ธนาคารต้องถูกเพิกถอนการเป็นผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลและเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรตามประกาศนี้ และกรมสรรพากรจะประกาศรายชื่อของธนาคารไว้บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
ข้อ ๙ ให้รายการที่เกี่ยวข้องกับการนําส่งเงินภาษีตามข้อ 4 เป็นส่วนหนึ่งของรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินหรือรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้แล้วตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๐ ผู้มีหน้าที่นําส่งเงินภาษีและผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการนําส่งเงินภาษี หรือจํานวนเงินภาษีซึ่งตนได้ถูกหักและนําส่งตามข้อ 4 จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,995 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระภาษีอากรผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 17)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชําระภาษีอากรผ่านระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
--------------------------------------------------------
โดยที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) และนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชําระภาษีอากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ กําหนดให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนําส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี และแบบนําส่งภาษีทุกประเภทภาษีที่กรมสรรพากรประกาศกําหนดให้ยื่นรายการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์กรมสรรพากร เป็นการยื่นแบบแสดงรายการตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนําส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี แบบนําส่งภาษีที่ยื่นรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชันของกรมสรรพากร RD Smart Tax หรือผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th จะต้องชําระภาษีอากรผ่านระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) เท่านั้น
ข้อ ๔ ความในข้อ 3 ไม่ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีซึ่งได้ใช้สิทธิชําระภาษีอากรเป็นรายงวด ตามมาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้ชําระภาษีอากรงวดใดงวดหนึ่ง ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาไว้แล้ว ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นชําระภาษีอากรงวดที่เหลือ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจนกว่าจะชําระเสร็จสิ้น โดยเลือกวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) ชําระด้วยเงินสด
(ข) ชําระด้วยบัตรภาษี
(ค) ชําระด้วยบัตรเครดิต
(ง) ชําระด้วยบัตรเดบิต
(จ) ชําระด้วยบัตร Tax Smart Card ที่ออกโดยธนาคารที่ได้ทําความตกลงกับกรมสรรพากร
(ฉ) ชําระผ่าน QR Code
ข้อ ๕ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญในสํากัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ต้องรับชําระภาษีอากรตามข้อ 4 เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังและรายได้ กรรสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรซึ่งได้ชําระผ่านระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๗ การเสียภาษีตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินที่กรมสรรพากรออกให้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากรมีหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินให้ถูกต้องตรงกับวันที่มีการยื่นแบและชําระภาษีอากร
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนําส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี และแบบนําส่งภาษีมีหน้าที่เข้ามาดาวน์โหลดใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งจากระบบการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,996 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดเหตุอันสมควร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องยื่นรายการภาษีอากรทุกประเภทภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดเหตุอันสมควร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องยื่นรายการภาษีอากรทุกประเภทภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้กรณีดังต่อไปนี้ เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนําส่งภาษี หรือแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน สําหรับภาษีอากรทุกประเภทตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครบถ้วน
ข้อ ๑ กรณีที่ระบบการรับแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรไม่รองรับหรือไม่สมบูรณ์ เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนําส่งภาษี หรือแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ดังต่อไปนี้
(1) แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.30) ที่มีจํานวนเงินยอดขาย ยอดซื้อ ภาษีขาย หรือภาษีซื้อ เป็นจํานวนเงินน้อยกว่าศูนย์บาท
(ข) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้ (ภ.พ.30.2) และแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วน ของการใช้พื้นที่อาคาร (ภ.พ.30.3)
(2) แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามประมวลรัษฎากร (ภ.ธ.40) สําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์พร้อมชําระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(ข) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(3) แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือแบบนําส่งภาษี
(ก) การยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) การยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนต่างด้าวและไม่มีเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร
(ค) การยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยตัวแทนในฐานะผู้กระทําการแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ (4) การยื่นแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินทุกกรณี
(5) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือแบบนําส่งภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในกําหนดเวลา และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือแบบนําส่งภาษีดังกล่าวเพิ่มเติมในรูปแบบของกระดาษ
ข้อ ๒ กรณีที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนําส่งภาษี หรือแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน เกิดเหตุขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนําส่งภาษี หรือแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินและชําระภาษีอากรได้
(1) กรณีที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงินเพื่อชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ระบบการโอนเงินของหน่วยรับชําระภาษีขัดข้องโดยผู้เสียภาษีเข้าใจว่า ได้โอนเงินชําระภาษีแล้ว
(2) กรณีที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลา แต่การสั่งโอนเงินเพื่อชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําเร็จเมื่อพ้นกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้วเนื่องจากธนาคารไม่ปิดระบบการโอนเงิน เป็นเหตุให้ผู้เสียภาษีเข้าใจว่า ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว
(3) กรณีที่ระบบการรับแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่าง ที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการและสั่งโอนเงิน
(4) กรณีที่ระบบเครือข่ายของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการและสั่งโอนเงิน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,997 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 16)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะตามมาตรา 3 สัตตรส แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้มีหน้าที่รายงาน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
“ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)” หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใดซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างผู้มีหน้าที่รายงานกับข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะสําหรับการเข้ารหัสลับ (Encryption) และใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่กรมสรรพากรออกให้แก่ผู้มีหน้าที่รายงาน
“ระบบ” หมายความว่า ระบบการนําเข้าและคัดแยกข้อมูลการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (National e-Payment) ของกรมสรรพากร
ข้อ ๒ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตน พร้อมกับยื่นคําร้องขอรับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้งานซึ่งกําหนดไว้บนระบบ
ข้อ ๓ เมื่อผู้มีหน้าที่รายงานพิสูจน์และยืนยันตัวตนสําเร็จ โดยได้รับแจ้งจากระบบแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่รายงานดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมเข้ารหัสข้อมูลจากระบบ พร้อมตั้งค่าโปรแกรมตามคู่มือที่ดาวน์โหลดจากระบบกรมสรรพากร
ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานจัดทํารายงานข้อมูลตามรูปแบบรายการข้อมูลตามท้ายประกาศนี้ โดยทําการเข้ารหัสลับ (Encryption) และสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ผ่านโปรแกรมเข้ารหัสข้อมูล โดยใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) ที่เป็นคู่กับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่กรมสรรพากรออกให้ซึ่งยังไม่หมดอายุในขณะสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และขณะส่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะเข้าสู่ระบบ
ข้อ ๕ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานนําส่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะของปีที่ล่วงมาซึ่งได้ดําเนินการตามข้อ 4 เข้าสู่ระบบภายวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,998 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้แบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (DisclosureForm) ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ ๒ แบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (DisclosureForm) ตามข้อ 1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลพิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ในการยื่นกับกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบตามข้อ 1 ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,999 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดใบนำส่ง/แบบรายการข้อมูลของผู้ฝากเงิน สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศ ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์ หรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการศาสนาอิสลามตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดใบนําส่ง/แบบรายการข้อมูลของผู้ฝากเงิน สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศ ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์ หรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการศาสนาอิสลามตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 664) พ.ศ. 2561 ประกอบกับข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 351) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศ ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการศาสนาอิสลามตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดใบนําส่ง/แบบรายการข้อมูลของผู้ฝากเงิน สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศ ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการศาสนาอิสลามตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้แบบดังต่อไปนี้เป็นใบนําส่ง/แบบรายการข้อมูลของผู้ฝากเงินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้
(1) แบบ ด.บ.04 ใบนําส่งรายการข้อมูลของผู้ฝากเงิน
(2) แบบ ด.บ.05 แบบรายการข้อมูลของผู้ฝากเงิน กรณีบันทึกข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
(3) แบบ ด.บ.06 แบบรายการข้อมูลของผู้ฝากเงิน กรณีไม่ได้บันทึกข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,000 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 15)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ใบกํากับภาษีที่ได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)
“ใบรับอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ใบรับที่ได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)
“ผู้ประกอบการจดทะเบียน” หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
“ผู้มีหน้าที่ออกใบรับ” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
“ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้จัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้
“ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ออกใบรับที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้จัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้
“อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีการอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)” หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใดซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กับข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)
“ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)” หมายความว่า บุคคลที่ให้บริการเกี่ยวกับการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) เพื่อรับรองตัวตนของบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยมีมาตรฐานหรือมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยตามที่สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กําหนด
“ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)” หมายความว่า ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นทางอิเล็กทรอนิกส์โดยการคํานวณทางคณิตศาสตร์เข้ารหัสอัลกอริทึมแบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) บนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัสลับ (Encryption) และใช้กับระบบคู่กุญแจ (Key Pair) โดยนําไปคํานวณร่วมกับกุญแจส่วนตัว (Private Key) ของผู้ลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะที่สามารถจะใช้กุญแจสาธารณะ (Public Key) ของผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบได้ว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้สร้างขึ้นโดยกุญแจส่วนตัว (Private Key) ของผู้ลงลายมือชื่อนั้นหรือไม่ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังการลงลายมือชื่อหรือไม่
“กุญแจส่วนตัว (Private Key)” หมายความว่า กุญแจที่ใช้ในการสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และสามารถนําไปใช้ในการเข้ารหัสลับ (Encryption) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมิให้สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเข้ารหัสลับนั้นได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้
“กุญแจสาธารณะ (Public Key)” หมายความว่า กุญแจที่ใช้ในการตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และสามารถนําไปใช้ในการถอดรหัสลับ (Decryption) เมื่อมีการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกุญแจส่วนตัว (Private Key) เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเข้ารหัสลับนั้นได้
“คู่กุญแจ (Key Pair)” หมายความว่า กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในระบบการเข้ารหัสลับ (Encryption) แบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) ที่ได้สร้างขึ้นโดยวิธีการที่ทําให้กุญแจส่วนตัว (Private Key) มีความสัมพันธ์ในทางคณิตศาสตร์กับกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในลักษณะที่สามารถใช้กุญแจสาธารณะ (Public Key) ตรวจสอบได้ว่าลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ได้สร้างขึ้นโดยใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) นั้นหรือไม่ และสามารถนํากุญแจส่วนตัว (Private Key) ไปใช้ในการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทําให้ไม่สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่บุคคลที่ถือกุญแจสาธารณะ (Public Key) ซึ่งเป็นคู่กับกุญแจส่วนตัว (Private Key) นั้น นําไปใช้ในการถอดรหัสลับ (Decryption) ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บุคคลที่ถือกุญแจสาธารณะ (Public Key) สามารถอ่านหรือเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้
“ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้บริการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามท้ายประกาศนี้
“การอัปโหลด (Upload)” หมายความว่า วิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบข้อมูลของกรมสรรพากร
“การส่งข้อมูลแบบ Host to Host” หมายความว่า วิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์โดยการเชื่อมต่อระบบข้อมูลระหว่างผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ กับกรมสรรพากร”
“ส่งมอบ” หมายความว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข้อมูลของผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และให้หมายความรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข้อมูลของตัวแทน
“แบบ บ.อ.01” หมายความว่า แบบคําขอจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
“แบบ บ.อ.09” หมายความว่า แบบคําขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ ให้ผู้ประสงค์จะจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นคําขอต่ออธิบดีตามแบบ บ.อ.01 ที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๔ ผู้ประสงค์ที่จะยื่นคําขอตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 77/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)
(3) มีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทําและส่งมอบให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่ง และรับ โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไร้ร่องรอย หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารที่ออกระหว่างทาง
ข้อ ๕ การยื่นคําขอตามข้อ 3 ให้ยื่นต่ออธิบดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกําหนด โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อตกลงแนบท้ายแบบ บ.อ.01 และให้ผู้ยื่นคําขอยืนยันตัวตนโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)
ข้อ ๖ เมื่อผู้ยื่นคําขอได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้เป็นผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้มีสิทธิจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๗ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ตามวิธีการแบบปลอดภัยที่เชื่อถือได้ทั้งในส่วนของระบบฮาร์ดแวร์และระบบซอฟต์แวร์ดังต่อไปนี้
(1) มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ โดยจะต้อง
(ก) สามารถแสดงภาพการทํางานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) ได้
(ข) เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วจะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ การแก้ไขรายการไม่ให้ใช้วิธีลบทิ้ง หรือล้างรายการออก ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงเพิ่มเข้าไป เพื่อแสดงให้เห็นรายการก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง และต้องมีรายงานการแก้ไขรายการเพื่อการตรวจสอบได้
(ค) แสดงระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ โดยระบุจํานวนและระดับเจ้าหน้าที่ที่สามารถบันทึก อ่าน หรือเข้าไปใช้ระบบงานในแต่ละระดับได้
(ง) มีการควบคุมโดยใช้รหัสผ่านสําหรับผู้มีสิทธิเข้าไปใช้ระบบงานทุกระดับ และมีระบบงานที่บันทึกการเปลี่ยนรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
(จ) มีรายงานบันทึกการใช้ระบบงานโดยระบุให้ทราบถึงรหัสประจําตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบงานที่ทํา วัน เดือน ปี และเวลาที่เข้าใช้ระบบงาน (Access) ในกรณีที่มีการแก้ไขรายการจะต้องระบุให้ทราบถึงรหัสประจําตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ จํานวนและรายละเอียดของรายการที่แก้ไขปรับปรุง
(ฉ) มีระบบการตรวจสอบผู้เข้าใช้หรือผู้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในระบบ และมีกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบที่สามารถแสดงว่าข้อมูลดังกล่าวได้บันทึกไว้ครบถ้วนทุกรายการแล้ว และไม่มีการแก้ไขรายการของเอกสารที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(2) มีการควบคุมแฟ้มข้อมูลซึ่งมีการเข้ารหัสลับ (Encryption) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล ถ้ามีการถอดรหัสลับ (Decryption) ต้องบันทึกหลักฐานไว้ทุกครั้งเพื่อการตรวจสอบ และสามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเพื่อการตรวจสอบได้
ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ อาจใช้ซอฟต์แวร์ที่บุคคลอื่นพัฒนาขึ้นมาใช้ในการจัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ หากซอฟต์แวร์นั้น มีวิธีการแบบปลอดภัยที่เชื่อถือได้ทํานองเดียวกับ (1) และ (2)
ข้อ ๘ การจัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําใบกํากับภาษีโดยมีรายการที่เป็นสาระสําคัญตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(2) ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อาจกําหนดให้มีรายการอื่นใดในใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากรายการที่เป็นสาระสําคัญตาม (1) ก็ได้
(3) นําข้อมูลตาม (1) และ (2) มาคํานวณทางคณิตศาสตร์เข้ารหัสอัลกอริทึมแบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) บนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัสลับ (Encryption) และใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) ที่เป็นคู่กับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ซึ่งผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) ได้ออกให้แก่ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังไม่หมดอายุ ในขณะสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และขณะส่งใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4) นําลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ตาม (3) ส่งไปพร้อมข้อมูลตาม (1) และ (2) ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ข้อ ๙ การจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อโดยมีรายการที่เป็นสาระสําคัญตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้นําความตามข้อ 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้องให้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไม่จําต้องเรียกคืนข้อมูลใบกํากับภาษีอย่างย่อตามวรรคหนึ่ง แต่ให้จัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ตามข้อ 8 โดยให้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้ตรงวันเดือนปีในใบกํากับภาษีอย่างย่อ พร้อมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และหมายเหตุในใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อเลขที่ ... และออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่แทน”
ข้อ ๑๐ การจัดทําใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการจัดทําข้อความใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้โดยมีรายการที่เป็นสาระสําคัญตามมาตรา 86/9 หรือตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี และให้นําความตามข้อ 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ การจัดทําใบรับตามมาตรา 105 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการจัดทําใบรับโดยมีรายการที่เป็นสาระสําคัญตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้นําความตามข้อ 8 (2) (3) และ (4) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีสิทธิเลือกที่จะดําเนินการจัดทําใบกํากับภาษีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือในรูปแบบกระดาษสําหรับการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้งก็ได้
ข้อ ๑๓ ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งมอบใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กรณีผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ประสงค์จะรับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดทําสิ่งพิมพ์ออกของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวโดยให้ปรากฏข้อความว่า “เอกสารนี้ได้จัดทําและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้ทั้งนี้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะทําให้ปรากฏข้อความดังกล่าวนั้น โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
ข้อ ๑๔ ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งมอบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงิน หรือผู้ชําระราคาตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร และให้นําความตามข้อ 13 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๕ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรตามวรรคหนึ่ง ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) ที่เป็นคู่กับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ซึ่งผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) ได้ออกให้แก่ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น ซึ่งยังไม่หมดอายุในขณะสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และในขณะส่งข้อมูลดังกล่าว
ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์อาจส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งโดยวิธีการอัปโหลด (Upload) หรือการส่งข้อมูลแบบ Host to Host หรือตั้งผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแทนส่งข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๖ การส่งข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 15 ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์จัดทําข้อมูลให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จําเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ETDA RECOMMENDATION ON ICTSTANDARD FORELECTRONIC TRANSACTION) (ขมธอ. 3-2560) ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๑๗ กรณีที่ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตั้งผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแทนส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้นแจ้งให้กรมสรรพากรทราบถึงการตั้งตัวแทนดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๑๘ ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งประสงค์จะเป็นผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นตัวแทนนําส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แทนผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์อื่น มีหน้าที่แจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกําหนด ทั้งนี้ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๙ การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จําเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสําหรับผู้ให้บริการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (INFORMATION SECURITY FOR DATA MESSAGE GENERATION, TRANSFER AND STORAGE SERVICE PROVIDERS) (ขมธอ. 21-2562) ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562
ข้อ ๒๐ กรณีที่ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รายใด มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ท้ายประกาศนี้ ระหว่างดําเนินการในฐานะตัวแทนเพื่อนําส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นขาดคุณสมบัติและไม่มีสิทธิส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในฐานะตัวแทนต่อไป
ข้อ ๒๑ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และต้องไม่นําข้อมูลนั้นไปใช้หรือเปิดเผยไม่ว่าด้วยประการใด ๆ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาความลับตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ต้องกําหนดความรับผิดของผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน สําหรับการเปิดเผยความลับหรือการนําข้อมูลไปใช้ โดยปราศจากความยินยอมดังกล่าว
ข้อ ๒๒ การยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดเตรียมข้อความของใบกํากับภาษีใหม่ขึ้นเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เลขที่ใบกํากับภาษีใหม่ และลงวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ พร้อมหมายเหตุไว้ในใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกํากับภาษีใหม่แทนใบกํากับภาษีเดิม เลขที่ ... วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิม”
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นําความตามข้อ 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ เมื่อผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการตามข้อ 22 แล้ว ให้หมายเหตุยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ด้วย
ข้อ ๒๔ การยกเลิกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้นําความตามข้อ 13 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ การยกเลิกใบรับอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้นําความตามข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 22 ข้อ 23 และข้อ 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๖ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการที่ได้รับใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไว้ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และถ้าได้เก็บรักษาในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาไว้ตามประกาศนี้แล้ว
(1) ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นโดยสามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และ
(2) ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ ในขณะที่ได้สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ
(3) ได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกําเนิด ต้นทาง และปลายทางของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี
กรณีใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ทําสิ่งพิมพ์ออกของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อ 13 วรรคสอง ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เก็บรักษาไฟล์ข้อมูลใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง และให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเก็บรักษาสิ่งพิมพ์ออกของใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับมาในรูปของกระดาษ
ข้อ ๒๗ การเก็บรักษาใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้นําความตามข้อ 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๘ ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ประสงค์จะจัดทําใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นคําขอตามแบบ บ.อ.09 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๒๙ ให้ผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยื่นคําขอตามข้อ 28 หมดสิทธิในการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อพ้นวันสุดท้ายของเดือนที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๓๐ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 เป็นผู้ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้
ข้อ ๓๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,001 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 14) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 14)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 681) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า
(1) สถานศึกษาของรัฐ
(2) โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ
(3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 681) พ.ศ. 2562 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาค ให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 681) พ.ศ. 2562 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐาน การได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สิน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณ หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคา ที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องไม่นําเงินที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ การบริจาคให้แก่สถานศึกษาให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 2 และข้อ 3 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร ไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,002 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิตามมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ต่อกรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิตามข้อ 1 จัดพิมพ์หลักฐานการลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรและนําส่งกรมสรรพากรพร้อมกับการดําเนินการตามมาตรา 6 (2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562
ข้อ ๓ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,003 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 13) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 13)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 มาตรา 6 มาตรา 10 มาตรา 13 มาตรา 16 มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา และลดอัตราภาษีเงินได้และยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
“ศูนย์บริหารเงิน” หมายความว่า ศูนย์บริหารเงินซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
“กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ” หมายความว่า กิจการประเภทต่าง ๆ ดังนี้
(1) กิจการการให้บริการด้านบริหาร ให้บริการด้านเทคนิค หรือให้บริการสนับสนุน ดังต่อไปนี้
(1.1) การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และการประสานงานทางธุรกิจ
(1.2) การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน
(1.3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
(1.4) การสนับสนุนด้านเทคนิค
(1.5) การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย
(1.6) การบริหารด้านงานบุคคลและการ่ฝึกอบรม
(1.7) การให้คําปรึกษาด้านการเงิน
(1.8) การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
(1.9) การจัดการและควบคุมสินเชื่อ
(2) กิจการการให้บริการด้านการบริหารเงิน ดังต่อไปนี้
(2.1) การบริหารเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของศูนย์บริหารเงิน
(2.2) การกู้ยืมและให้กู้ยืมเงินบาทของศูนย์บริหารเงิน
“กิจการการค้าระหว่างประเทศ” หมายความว่า การจัดซื้อและขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยอาจมีการให้บริการสําหรับสินค้าที่จัดซื้อและขายนั้นก็ได้ ทั้งนี้ บริการดังกล่าว ได้แก่
(1) การจัดหาสินค้า
(2) การเก็บรักษาสินค้าระหว่างรอการส่งมอบ
(3) การจัดทําหีบห่อและบรรจุภัณฑ์
(4) การขนล่งสินค้า
(5) การประกันภัยสินค้า
(6) การให้คําปรึกษาแนะนําและบริการค้านเทคนิคและสิกอบรมเกี่ยวกับสินค้า
“ค่าสิทธิ” หมายความว่า ค่าสิทธิที่มาจากสิทธิบัตรหรือลิฃสิทธี้ซอฟต์แวร์ ของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่กระทําในประเทศไทยโดยศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ หรือที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศได้ว่าจ้าง ผู้อื่นทําการวิจัยและพัฒนาขึ้นในประเทศไทย
“รายได้ของกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ” หมายความว่า รายได้ดังต่อไปนี้
(1) รายได้จากการให้บริการค้านการบริหาร ให้บริการค้านเทคนิค ให้บริการสนับสนุน หรือให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ
(2) ค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ
“รายจ่ายของกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ” หมายความว่า รายจ่ายที่ได้จ่ายไป เพื่อให้เกิดรายได้ของกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
“บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค” หมายความว่า บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคตามมาตรา 10 (4) หรือมาตรา 11/6 (6) แห่งพระราซกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ” หมายความว่า บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศตามมาตรา 9 (4) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558 และที่แกไขเพิ่มเติม
ข้อ ๒ คนต่างด้าวที่จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้และยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมิน มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นลูกจ้างประจําของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 และปฏิบัติงานในกิจการ ดังต่อไปนี้
(1.1) กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
(1.2) กิจการการค้าระหว่างประเทศ
ในกรณีที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ประกอบกิจการอื่น ๆ นอกเหนือจากกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและกิจการการค้าระหว่างประเทศ และลูกจ้าง ตามวรรคหนึ่งปฏิบัติงานทั้งในกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ หรือกิจการการค้าระหว่างประเทศ และกิจการอื่น ๆ รายได้จากกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศหรือกิจการการค้าระหว่างประเทศ หรือทั้ง 2 กิจการรวมกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของรายไต้ทั้งหมดของบริษัท
(2) เป็นคนต่างด้าวที่มีรายขื่อในเอกสารรายละเอียดคนต่างด้าวที่ขอใช้สิทธิลดอัตราภาษี
(3) เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 180 วันในปีภาษีที่ใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นั้น เว้นแต่ปีภาษีแรกและปีภาษีสุดท้าย ที่ใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ จะอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันในปีภาษีนั้นก็ไต้
(4) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตทํางานคนต่างด้าวระดับฝีมือหรือชํานาญการจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือได้รับอนุญาตให้เข้าทํางานในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น ภายในวันเริ่มเข้าทํางานในศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
(5) เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก การจ้างแรงงานของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน โดยเฉลี่ยตามจํานวนเดือนที่อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น
ข้อ ๓ บริษัทที่ประสงค์จะได้รับอนุมัติเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ต้องยื่นคําขออนุมัติเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมระบุ ประเภทกิจการที่ประสงค์จะขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบคําขออนุมัติเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (แบบ ศ.ก.ร.1) ที่แนบท้ายประกาศนี้โดยต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) กรอกคําขออนุมัติตามแบบ ศ.ก.ร.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ ของกรมสรรพากร
(2) พิมพ์คําขออนุมัติตามแบบ ศ.ก.ร.1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมีอขื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
(3) สแกน (Scan) คําขออนุมัติตามแบบ ศ.ก.ร.1 ตาม (2) และอัปโหลด (Upload) พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารประกอบการพิจารณาตามข้อ 4 (1) และ (2) ในรูปแบบ ของ PDF File และข้อ 4 (3) (4) (5) หรือ (6) ในรูปแบบของ XML File ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์ณ็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันถัดจากวันที่พิมพ์คําขออนุมัติตาม (2)
กรณีมีเหตุจําเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งการให้ดําเนินการด้วยวิธีการอื่นก็ได้
ข้อ ๔ บริษัทที่ประสงค์จะได้รับอนุมัติเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้โดยวิธีการอัปโหลด (Upload)พร้อมกับคําขออนุมัติตามแบบ ศ.ก.ร.1 ตามข้อ 3 (3)
(1) แผนธุรกิจที่ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1.1) บทสรุปผู้บริหาร
(1.2) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริษัท ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ และเลขทะเบียนนิติบุคคลของบริษัท ประวัติความเป็นมาหรือแนวคิดในการจัดตั้งบริษัทโดยสังเขป รายชื่อกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท รายชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท แผนผังองค์กรของบริษัท รายชื่อของผู้ถือหุ้น สัญชาติของผู้ถือหุ้น และสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละรายในบริษัท รายขื่อ สัดส่วนการถือหุ้นหรืออํานาจควบคุม และที่ตั้งของวิสาหกิจในเครือของบริษัทตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
(1.3) รายละเอียดกิจการที่ขออนุมัติ
(1.4) สรุปผลการดําเนินงานที่ผ่านมาของกิจการที่ขออนุมัติ (ถ้ามี)
(1.5) การวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมและตลาดในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
(1.6) แผนการดําเนินงานในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
(1.7) แผนการจัดหาเงินทุนในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
(1.8) แผนการจ้างงานคนต่างด้าวในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า พร้อมเหตุผลและความจําเป็น
(1.9) ประมาณการรายได้ รายจ่าย และการจ่ายเงินปันผลในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
(2) ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์บริหารเงิน (กรณีขออนุมัติประเภทกิจการการให้บริการด้านการบริหารเงิน)
(3) เอกสารรายละเอียดวิสาหกิจในเครือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(4) เอกสารรายละเอียดวิสาหกิจในเครือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(5) เอกสารรายละเอียดพนักงานที่มีความรู้และทักษะที่จําเป็นสําหรับศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามที่แนบท้ายประกาศนี้
(6) เอกสารรายละเอียดคนต่างด้าวที่ขอใช้สิทธิลดอัตราภาษีตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ บริษัทที่ได้ดําเนินการตามข้อ 3 และข้อ 4 จะได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 เฉพาะตามประเภทกิจการที่ยื่นดําขออนุมัติ ตามข้อ 3 และได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเท่านั้น โดยให้มีผลนับแต่วันกัดจากวันที่ ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
ข้อ ๖ ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ที่จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 7 มาตรา 8 หรือมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ต้องมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจดังต่อไปนี้ในประเทศไทย
(1) กิจการการให้บริการด้านบริหาร ให้บริการด้านเทคนิค หรือให้บริการสนับสนุน ต้องมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้หลักของการเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น การตัดสินใจด้านบริหารที่เกี่ยวข้อง กับวิสาหกิจในเครือ การรับภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่มบริษัท การประสานงานภายในกลุ่มบริษัทเกี่ยวกับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจของกลุ่มบริษัท และการจัดการการถือหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วน ในวิสาหกิจในเครือ
(2) กิจการการให้บริการด้านการบริหารเงิน ต้องมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้หลักของการเป็นศูนย์บริหารเงิน เช่น การตกลงเงื่อนไขของการกู้ยืมกับผู้ให้กู้ยืมนอกกลุ่มบริษัทเพื่อให้กู้ยืมต่อแก่วิสาหกิจในเครือ การกําหนดระยะเวลาและเงื่อนไขของการให้กู้ยืมแก่วิสาหกิจในเครือ การติดตามและการปรับปรุงข้อตกลงต่าง ๆ และการจัดการความเสี่ยง
(3) กิจการการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีเฉพาะสิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับคนต่างด้าว ต้องมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้หลักของกิจการการค้าระหว่างประเทศ เช่น การขนส่งและการเก็บ รักษาสินค้า การจัดการสินค้าคงเหลือและการริบคําสั่งซื้อ และการให้คําปรึกษาหรือการให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการการค้าระหว่างประเทศ
“กลุ่มบริษัท” ตามวรรคหนี่ง หมายความว่า ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ และวิสาหกิจในเครือของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
ข้อ ๗ ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่ประสงค์จะขอเพิ่มหรือลดประเภทกิจการ เพื่อขอรับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 7 มาตรา 8 หรือมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ให้ยื่นคําขออนุมัติเพิ่มหรือลดประเภทกิจการตามแบบ ศ.ก.ร.1 ต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้นําข้อ 3 และข้อ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การได้รับอนุมัติเพิ่มหรือลดประเภทกิจการตามวรรคหนึ่งให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 และในกรณีเพิ่มประเภทกิจการ ให้นับระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับประเภทกิจการที่ขอเพิ่มต่อเนื่องไปจนกว่า จะสิ้นสภาพการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
ข้อ ๘ ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่ประสงค์จะยกเลิกการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ มีหนังสือแจ้งยกเลิกการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร และให้การเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ได้แจ้งยกเลิก
ข้อ ๙ ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ตามแบบคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศ (แบบ ศ.ก.ร.1.1) ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารแสดงรายละเอียดที่ขอเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีกรมสรรพากร ภายในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ขอเปลี่ยนแปลง หรือภายใน วันสุดท้ายของปีภาษีที่คนต่างด้าวจะใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้
(1) การเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจที่มีนัยสําคัญ
(2) การเพิ่มหรือยกเลิกรายชื่อวิสาหกิจในเครือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
(3) การเพิ่มหรือยกเลิกรายชื่อวิสาหกิจในเครือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
(4) การเพิ่มหรือยกเลิกรายชื่อคนต่างด้าวที่ขอใช้สิทธิลดอัตราภาษี
การยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทดําเนินการ ดังนี้
(1) กรอกดําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ศ.ก.ร.1.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
(2) พิมพ์คําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ศ.ก.ร.1.1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมีอชื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
(3) สแกน (Scan) คําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ศ.ก.ร.1.1 ตาม (2) และอัปโหลด (Upload) พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารประกอบการพิจารณาตามข้อ 9(1)ในรูปแบบ ของ PDF File และข้อ 9 (2)(3) หรือ (4) ในรูปแบบของ XML File ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันถัดจากวันที่พิมพ์คําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตาม (2)
ข้อ ๑๐ กรณีที่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงตามข้อ 9
(1) ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ที่ได้แจ้งเพิ่มรายชื่อวิสาหกิจในเครือตาม (2) และ (3) ของข้อ 9 วรรคหนึ่ง ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 7 มาตรา 8 หรือมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ตามรายชื่อวิสาหกิจที่ในเครือได้แจ้งเพิ่มตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ยื่นแบบ ศ.ก.ร.1.1
(2) ให้คนต่างด้าวที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ได้แจ้งเพิ่มรายชื่อตาม (4) ของข้อ 9 วรรคหนึ่ง ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ หรือยกเว้นไม่ต้องนํามารวมคํานวณภาษีตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ตั้งแต่ปีภาษี ที่ยื่นตามแบบ ศ.ก.ร.1.1
ข้อ ๑๑ ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ที่จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ สําหรับรายได้จากค่าสิทธิตามมาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 จะต้องจัดทํารายงานซี่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ และเก็บรักษารายงานและเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ
(1) รายละเอียดของสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ก่อให้เกิดค่าสิทธิซึ่งใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งหลักฐานแสดงว่า สิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่กระทําในประเทศไทย โดยศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ วิจัยและพัฒนาเอง หรือที่จ้างผู้อื่นทําการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
(2) บัญชีแสดงรายได้ค่าสิทธิและรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อให้เกิดรายได้ค่าสิทธินั้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งรวมถึงรายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้วย
ข้อ ๑๒ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรและต้อง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศประกอบกิจการทั้งกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและกิจการอื่น ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้ ากการประกอบกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและรายได้จากกิจการอื่น
(2) กรณีที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ มีรายได้จากกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ดังนี้
(2.1) การให้บริการด้านการบริหาร ให้บริการด้านเทคนิค ให้บริการสนับสนุน หรือให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ และ
(2.2) รายได้จากค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ
ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของรายได้ แต่ละส่วนแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าเป็นรายจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ในส่วนใด ให้เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้ตาม (2.1) และ (2.2)
(3) กรณีที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศประกอบกิจการทั้งกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและกิจการอื่น หากกิจการใดมีผลขาดทุนสุทธิ ให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ ในกิจการนั้นเท่านั้น
(4) กรณีที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศประกอบกิจการศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศ มีรายได้จากกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ดังนี้
(4.1) การให้บริการด้านการบริหาร ให้บริการด้านเทคนิค ให้บริการสนับสนุน หรือให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ และ
(4.2) รายได้จากค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ
หากรายได้ใดมีผลขาดทุนสุทธิให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้ในรายได้นั้นเท่านั้น
ข้อ ๑๓ ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้พร้อมทั้ง บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับขําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่ง.ประมวลรัษฎากร พร้อมแบบแบบแสดงรายละเอียดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ หรือกิจการการค้าระหว่างประเทศที่แนบท้ายประกาศนี้ และยืนแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับขําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีที่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศซึ่งประกอบกิจการทั้งกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและกิจการอื่น มีรายได้จาก
(1) การให้บริการด้านการบริหารให้บริการด้านเทคนิค ให้บริการสนับสนุน หรือให้บริการ ด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ
(2) รายได้จากค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ และ
(3) รายได้จากกิจการอื่น
ให้ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมทั้งบัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนของรายได้โนแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด สําหรับบัญชีงบดุล ให้ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของรายได้ในกิจการใดก็ได้ โดยในการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ดังกล่าว ให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน
ข้อ ๑๔ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือบริษัทซึ่งประกอบกิจการ สํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ตามมาตรา 16 มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 แล้วแต่กรณี ต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) ยื่นคําขออนุมัติตามแบบ ศ.ก.ร.1 และให้ดําเนินการตามข้อ 3 ทั้งนี้ กรณีที่บริษัท ดังกล่าวยื่นคําขออนุมัติตามแบบ ศ.ก.ร.1 โดยระบุประเภทกิจการเดิม ให้บริษัทนั้นไม่ต้องยื่นแผนธุรกิจอีก
(2) ต้องรับรองวาบริษัทมีคุณสมบัติตามมาตรา 10 หรือมาตรา 11/6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือตามมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ยื่นคําขออนุมัติตาม (1)
ข้อ ๑๕ บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ แล้วแต่กรณี ที่ได้ดําเนินการตามข้อ 14 จะได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 เฉพาะตามประเภทกิจการที่ได้รับ อนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเท่านั้น โดยให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
ข้อ ๑๖ บริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือบริษัทซึ่งประกอบกิจการ สํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ แล้วแต่กรณี ที่ได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ตามมาตรา 16 มาตรา 17 หรือมาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ที่จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 หรือมาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561 ต้องมีรายจ่ายในการดําเนินงานซึ่งเกี่ยวกับกิจการศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศที่จ่ายให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท หรือมีรายจ่ายในการดําเนินงาน และรายจ่ายอื่นของกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศที่จ่ายให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท อย่างใดอย่างหนึ่ง ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 13 (1) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,004 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิตามมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ต่อกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิตามข้อ 1 จัดพิมพ์หลักฐานการลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิทางเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรและนาส่งกรมสรรพากรพร้อมกับการดําเนินการตามมาตรา 6 (2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,005 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา (ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 596) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา ทั้งนี้ เพื่อนาไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559
“ข้อ 5/1 กรณีที่ผู้รับบริจาครับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 4 และข้อ 5 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,006 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 28/2535 เรื่อง การขายพืชผลทางการเกษตร ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 28/2535
เรื่อง การขายพืชผลทางการเกษตร ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการขายพืชผลทางการเกษตร ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายพืชผลทางการเกษตรในราชอาณาจักรในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การขายผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งเกิดจากการนําพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นลําต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช มาจัดทําโดยปรุงแต่งด้วยการใส่สารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันและผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวยังคงลักษณะเป็นพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในสภาพสด หรืออยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียในระหว่างขนส่ง หรืออยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง ทั้งนี้ เฉพาะที่บรรจุกระป๋องภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(2) การขายน้ําผลไม้ น้ําจากพืช หรือน้ํามัน ที่ได้จากการนําพืชผลทางการเกษตร มาคั้น หีบ สกัด หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะมีสารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันผสมอยู่ด้วยหรือไม่ทั้งนี้ เฉพาะที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(3) การขายน้ําผลไม้ น้ําจากพืช หรือน้ํามัน ซึ่งเป็นวัตถุพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ําตาล
(4) การขายพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ลําต้น กิ่ง ใบ เปลือกหน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ที่ได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นอาหารหรือสินค้าอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) แล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าอาหารหรือสินค้าอื่นนั้นจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
(5) การขายฟืน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือไม้ซุงไม่ว่าจะตัดเป็นไม้ทั้งต้น หรือตัดเป็นท่อน เพื่อการแปรรูป ทําเสาเข็ม หรือใช้ในการก่อสร้าง
ข้อ ๒ การขายพืชผลทางการเกษตรในราชอาณาจักรในกรณีดังต่อไปนี้ ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การขายพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ลําต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ที่ไม่เข้าลักษณะ ตามข้อ 1
(2) การขายข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
(3) การขายกากของพืช น้ํายางจากพืช ยางแผ่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีสารอื่นใดผสมอยู่ด้วยหรือไม่ และไม่ว่าจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
ข้อ ๓ คําว่า "ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง" ตามข้อ 1 และข้อ 2 หมายความถึงการติดหรือปิดให้แน่นไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งเมื่อมีการเปิดจะต้องมีการฉีก ทําลาย แปรรูปหรือแปรสภาพ ของภาชนะหรือการผนึกนั้น ทั้งนี้ โดยมิอาจคงสภาพในรูปรอยเดิมได้
ข้อ ๔ ให้นําความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับสําหรับการนําพืชผล ทางการเกษตรเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 81 (2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย
ข้อ ๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
โกวิทย์ โปษยานนท์
อธิบดีกรมสรรพสามิต รักษาการในตําแหน่ง
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,007 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 12)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 6/1 กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 4 และข้อ 6 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,008 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 27/2535 เรื่อง การเสนอหรือแสดงราคาค่าบริการในราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 27/2535
เรื่อง การเสนอหรือแสดงราคาค่าบริการในราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
---------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการให้บริการในลักษณะกิจการภัตตาคาร จะเสนอหรือแสดงราคาค่าบริการในราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ตามมาตรา 82/4 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการให้บริการในลักษณะกิจการภัตตาคารรายใด ได้เสนอหรือแสดงราคาค่าบริการอันได้แก่ ค่าอาหาร หรือค่าบริการอื่น โดยไม่ได้ระบุไว้ในรายการอาหารให้เห็นชัดแจ้งว่า เป็นราคาค่าบริการที่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว กรณีดังกล่าวให้ถือว่าค่าบริการตามรายการอาหารนั้นได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
คําว่า “กิจการภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าชนิดใดรวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2535
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,009 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 11) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 11)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 1) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
“ข้อ 6/1 กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 4 และข้อ 6 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,010 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 การได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประกาศนี้ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรต้องมีหลักฐานจากสถานศึกษาที่พิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 4/1 เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,011 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.