title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 26/2534 เรื่อง ดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/5(5) แห่ง ประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 26/2534
เรื่อง ดอกเบี้ยสําหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/5(5) แห่ง ประมวลรัษฎากร
----------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรสําหรับดอกเบี้ยที่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 11/2528 เรื่อง ดอกเบี้ยตามประกาศการค้า 12 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า
ข้อ ๒ กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนําเงินของตนหรือนําเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คําว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
ข้อ ๓ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติ กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
ข้อ ๔ ความในข้อ 2 และข้อ 3 ไม่รวมถึงการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2 (1) มาตรา 92/2 (2) และมาตรา 91/2 (3) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะการรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
ข้อ ๕ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นําเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสําหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนําดอกเบี้ยนั้นมารวมคํานวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข้อ ๖ บรรดาข้อความที่ถูกยกเลิกโดยคําสั่งกรมสรรพากรนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป เฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีการค้าที่ค้างอยู่หรือที่พึงชําระก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,012 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 23/2533 เรื่อง การกำหนดมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้ พึงประเมิน | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 23/2533
เรื่อง การกําหนดมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้ พึงประเมิน
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คํานวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลาดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
(1) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คํานวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
(2) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คํานวณประโยชน์เพิ่มตามเกณฑ์ใน (1) เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างแต่ละคน
(3) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่าตาม (1) ไม่ว่าจะเป็นการโต้แย้งในชั้นการตรวจสอบไต่สวนหรือในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินทําการประเมินค่าเช่าของบ้านนั้น ๆ ว่าสมควรให้เช่าได้ตามปกติปีละเท่าใด และให้ทําบันทึกการประเมินไว้เป็นหลักฐานแล้วรายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสรรพากร และใหถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทําการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนํามาทําการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผุ้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคํานวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป
(4) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (3) หลังเดียวอยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่ประเมินได้ตาม (3) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี และให้ถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทําการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนํามาทําการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคํานวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป
(5) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่าและเป็นบ้านที่นายจ้างได้ไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ให้คํานวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินตามค่าเช่าที่นายจ้างได้จ่ายไปจริง
(6) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (5) อยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่นายจ้างได้จ่ายไปจริงตาม (5) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
ข้อ ๒ ในกรณีนายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ซึ่งดํารงตําแหน่งระดับบริหาร โดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าเช่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ําประปา ค่าไฟฟ้า ค่าคนสวน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน แม้ต่อมาพนักงานผู้นั้นหรือนายจ้างจะได้ใช้บ้านดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ประชุมและปรึกษาหารือกิจการของนายจ้างตลอดจนการจัดงานเลี้ยงรับรองลูกค้าสําคัญ ๆ ของนายจ้างเป็นครั้งคราว ถือได้ว่าค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายไปเป็นประโยชน์ที่พนักงานผู้นั้นได้รับทั้งสิ้น พนักงานผู้นั้นจะต้องนําประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2533
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,013 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 10) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 10)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สําหรับการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ สถานพยาบาลของทางราชการต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่สถานพยาบาลนั้นสังกัดอยู่ว่า เป็นสถานพยาบาลของทางราชการที่ให้บริการรักษาพยาบาลแก่บุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปและได้รับรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาคให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขายให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาคซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ ตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องไม่นําเงินบริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค ตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงินทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ตามมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561 ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานพยาบาลของทางราชการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีที่บริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานเป็นหนังสืออื่นที่ออกโดยสถานพยาบาลของทางราชการผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตรซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องระบุจํานวนเงินที่ได้บริจาค และสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้
(2) กรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ได้แก่ หลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานพยาบาลของทางราชการผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่า ได้รับบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าจากผู้บริจาคเช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3
ทั้งนี้ เว้นแต่สถานพยาบาลของทางราชการได้ทําการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation)ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,014 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 20/2531 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินค่าจ้างทำของ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 20/2531
เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินค่าจ้างทําของ
---------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าจ้างทําของ ตามข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 19/2530 ฯลฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจ่ายเงินค่าจ้างทําของให้แก่ผู้รับจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องคํานวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนําส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ของยอดเงินค่าจ้างที่จ่าย จะต้องปรากฏว่า
(1) ผู้ว่าจ้างต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิตุบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
(2) ผู้รับจ้างต้องเป็น
(ก) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือสมาคม
(ค) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย
(3) การจ้างทําของดังกล่าวต้องเป็นการจ้างทําของตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจ้างตกลงรับจะทํางานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น เช่น การรับจ้างสีข้าว การรับจ้างเลื่อยไม้การรับจ้างบันทึกภาพและเสียในเทปแผ่นหรือสิ่งใด ๆ การรับก่อสร้างบ้าน การรับซ่อมแซมยานพาหนะ การรับจ้างบริหารงาน เป็นต้น
(4) กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการจ้างทําของกับการผลิต ให้ถือปฎิบัติตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 4/2527 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2527
ข้อ ๒ การพิจารณาว่า ผู้รับจ้างตามข้อ 1 (2) (ค) มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยหรือไม่ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทําของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2531
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,015 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 9) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้าง | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 9)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้าง
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 665) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้าง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการจ้างลูกจ้างรายวันที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และเก็บรักษารายงานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(2) สามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้าง
ข้อ ๒ บุคคลธรรมดาที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยคํานวณหักค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควรเท่านั้น
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดานําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับค่าจ้างรายวันที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เอกนิตินิติ ทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,016 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 16/2530 เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ้างแรงงาน ระหว่างปี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 16/2530
เรื่อง การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ้างแรงงาน ระหว่างปี
-----------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่เข้าทํางานระหว่างปี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การคํานวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทํางานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสําหรับปีภาษีนั้น เช่น เข้าทํางานในวันที่ 1 ตุลาคมของปีภาษี และกําหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนจํานวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงในปีภาษีนั้น เท่ากับ 3 คราว ดังนั้น จึงคูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วย 3 ได้จํานวนเงินได้พึงประเมินเท่าใดให้คํานวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากรเป็นภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจํานวนคราวที่จะต้องจ่ายไม่ลงตัวให้เพิ่มเงินเท่าจํานวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น
ข้อ ๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้นําส่งไว้แล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,017 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 667) พ.ศ. 2561 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 8)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 667) พ.ศ. 2561
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 667) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า อันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และสําหรับรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลค่าทําบัญชีและค่าสอบบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บุคคล” หมายความว่า บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 667) พ.ศ. 2561 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบุคคลผู้โอนอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 667) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับ ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นตามราคาตลาด เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้ในวันที่มีการโอนนั้น หรือราคาต้นทุนการซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมาตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ท าเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
(2) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นสามัญหรือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนทรัพย์สินเป็นจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
(3) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องไม่โอนหุ้นสามัญหรือหุ้นอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากรในราคาต่ํากว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี
(4) บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรอง ดังต่อไปนี้
(ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน เว้นแต่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมิลําเนา หรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทําบัญชี และค่าสอบบัญชีตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 667) พ.ศ. 2561 ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) กรณีรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนี้
(ก) กรณีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และที่ประชุมจัดตั้งบริษัทได้ให้สัตยาบันไว้
(ข) กรณีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และมีการรับรองโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ
(2) กรณีรายจ่ายค่าทําบัญชี และค่าสอบบัญชี ต้องเป็นค่าทําบัญชีและค่าสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,018 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 13/2529 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 13/2529 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยตามมาตรา 66 และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และต้องยื่นรายการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (แบบ ภ.ง.ด. 50) พร้อมด้วยงบดุล บัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุนที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรตรวจสอบและรับรองแล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ให้คํานวณจากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
สําหรับรายจ่ายที่สาขาในประเทศไทยได้จ่ายไปให้สํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเพื่อเป็นค่าตอบแทนการให้ความช่วยเหลือหรือการให้บริการแก่กิจการของสาขาในประเทศไทยที่จะนํามาถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิและไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนั้นเกี่ยวกับกิจการของสาขาในประเทศไทย
(2) รายจ่ายเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา (Research and Development) โดยสาขาในประเทศไทยจะต้องได้รับบริการ หรือได้นําผลการค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์ในกิจการของสาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง
(3) รายจ่ายใดถ้าสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นได้นําไปหักเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิของสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นแล้ว จะนํามาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยอีกไม่ได้
(4) รายจ่ายที่สํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นเรียกเก็บมายังสาขาในประเทศไทย จะต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการเป็นที่รับรองทั่วไป (Generally Accepted) และจะต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสาขาในประเทศอื่น ๆ และเป็นไปอย่างสม่ําเสมอ
(5) รายจ่ายดังกล่าวจะต้องมิใช่รายจ่ายของสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นโดยเฉพาะ เช่น ค่าเช่าที่ทําการ ค่าน้ําค่าไฟ ค่าเครื่องเขียน เครื่องใช้ ค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของเครื่องมือเครื่องใช้
จํานวนเงิน หลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าวตามวรรคสองที่จะนํามาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยได้จะต้องมีหลักฐานหรือหนังสือรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือโดยบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเชื่อถือได้ และหลักฐานหรือหนังสือดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าเป็นรายจ่ายที่จําเป็นและสมควรแก่การดําเนินการธุรกิจของสาขาในประเทศไทย ตามความเป็นจริง
การคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามไม่กระทบกระเทือนถึงวิธีการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 14/2529
ข้อ ๓ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 จะยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง หรือมาตรา 76 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้พิจารณาเห็นว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่สามารถจะคํานวณกําไรสุทธิได้ และอนุญาตหรือสั่งให้ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดเท่านั้น
ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 รายใดยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง หรือมาตรา 76 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ก่อนอธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตหรือมีคําสั่งตามข้อ 3 โดยนําแบบยื่นรายการที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้สําหรับใช้ยื่นรายการในกรณีอื่น ๆ มาทําการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อความแล้วใช้ยื่นรายการในกรณีดังกล่าว ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมิได้ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๕ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ได้ยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 4 แล้ว ให้เจ้าพนักงานประเมินทําการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์ในข้อ 1 และข้อ 2 หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐานพิสูจน์รายจ่ายได้ ก็ให้ถือว่ามีรายจ่ายตามเกณฑ์ดังนี้
(1) การประกอบกิจการรับทํางานให้ ให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 30 ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลาบัญชี แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ทั้งนี้ โดยเทียบเคียงกับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาตามมาตรา 42 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ให้หักรายจ่ายได้ในอัตราร้อยละของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ดังนี้
(ก) ร้อยละ 30 กรณีให้เช่าบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่นหรือยานพาหนะ
(ข) ร้อยละ 10 กรณีให้เช่าทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจาก (ก)
ทั้งนี้ โดยเทียบเคียงกับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาตามมาตรา 5(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
(3) การประกอบกิจการวิชาชีพอิสระ ให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 30 ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ โดยเทียบเคียงกับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาตามมาตรา 6 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
(4) การประกอบกิจการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสําคัญนอกจากเครื่องมือ ให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 70 ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ โดยเทียบเคียงกับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาตามาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
(5) การประกอบกิจการรับขน ให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 80 ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ โดยเทียบเคียงกับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาตามมาตรา 8 (15) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
(6) การประกอบกิจการซื้อขาย ให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 80 ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ โดยเทียงเคียงกับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาตามมาตรา 8 (25) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502"
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.21/2531)
ข้อ ๖ ระเบียบ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2529
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,019 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับการโอนทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้
สําหรับเงินปันผลจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ สําหรับการโอนทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 544) พ.ศ. 2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สิน และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สําหรับการโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินปันผล จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการโอนทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
“(8) เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผู้โอนหรือผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นผู้โอนหรือผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณีต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ โดยผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งหนังสือรับรองพร้อมแนบสําเนาสัญญาการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ดังนี้
(ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองพร้อมสําเนาสัญญาการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย และ
(ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองพร้อมสําเนาสัญญาการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมิลําเนา หรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ ภายใน 30 วันทําการนับแต่วันที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย
ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,020 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 7)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2554 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้ามาเพื่อการบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีทรัพย์สินที่จะนํามาบริจาคดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคําของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายสินค้าให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานศึกษา พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีบริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องระบุจํานวนเงินที่ได้บริจาคและสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากสถานศึกษาว่าได้รับบริจาคจริง
(2) กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ได้แก่ หลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3
ข้อ ๕ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 ต้องไม่นําเงินบริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าวจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตรซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
“ข้อ 6/1 กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 4 และข้อ 6 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 12) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,021 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 8/2528
เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทําของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับการหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทําของให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ตามข้อ 7 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 3 มกราคมพ.ศ.2528 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทําของให้แก่ผู้รับจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องคํานวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนําส่งในอัตราร้อยละ 5.0 ของยอดเงินค่าจ้างที่จ่าย จะต้องปรากฏว่า
(1) ผู้รับจ้างต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) การประกอบกิจการในประเทศไทย ของผู้รับจ้างตาม (1) จะต้องมิใช่กรณีที่ผู้รับจ้างมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย และในกรณีที่ผู้รับจ้างมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ถือได้ว่าผู้รับจ้างมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย คือ
(ก) มีสํานักงานในประเทศไทยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
(ข) มีการประกอบธุรกิจอย่างอื่นนอกจากการรับจ้างทําของในประเทศไทยเป็นประจํา เช่น การซื้อขายสินค้า
“(ค) มีการจัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อลูกจ้างในประเทศไทยตามมาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.10/2528 ใช้บังคับ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2528 เป็นต้นไป)
(3) ผู้รับจ้างตาม (1) จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ และมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ กรณีผู้รับจ้างได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตนั้น แม้ผู้รับจ้างจะต้องจดทะเบียนการค้าในการประกอบกิจการดังกล่าว ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับจ้างมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นถาวรในประเทศไทย
ข้อ ๓ กรณีผู้รับจ้างมีสถานประกอบการถาวรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยตามความหมายของคําว่า “สถานประกอบการถาวร” ที่กําหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศในกรณี เช่น กรณีผู้รับจ้างส่งลูกจ้างเข้ามาทําการติดตั้งเครื่องจักรให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทยชั่วระยะเวลาจํากัด กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าผู้รับจ้างมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่ในการถาวรในประเทศไทย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,022 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 7/2528 เรื่อง การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 7/2528
เรื่อง การคํานวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับกรณี คําว่า "เงินได้พึงประเมิน" ตามบทนิยามในมาตรา 39 และประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 เรื่อง การคํานวณค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2526 แต่ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะ ในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชําระก่อนปีภาษี พ.ศ.2528
ข้อ ๒ กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นําเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้นแล้วคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างอาจใช้ตารางการคํานวณภาษีเงินได้ที่กรมสรรพากรจัดทําขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับเงินได้จํานวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก
ข้อ ๓ กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจํานวนเงินที่แน่นอน เช่น เท่ากับจํานวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นําส่งไว้แล้วให้นําเงินค่าภาษีเงินได้ทีนายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับปีภาษีนั้น ลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง
ข้อ ๔ ความในข้อ 2 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สําหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรทุกประเภท
ข้อ ๕ กรณีนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สําหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรของปีภาษีก่อน พ.ศ.2528 แต่ได้ออกให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ในปีภาษี พ.ศ. 2528 ด้วย
กรณีนายจ้างผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ ผู้มีเงินได้สําหรับเงินได้ประเภทใด ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใด ๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือว่าเงินค่าภาษีอากรดังกล่าว เป็นเงินได้ของประเภท และของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ เช่นนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้ลูกจ้างสําหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2528 โดยออกให้ในปี พ.ศ. 2529 กรณีเช่นนี้ให้ถือว่า เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรของลูกจ้างสําหรับปีภาษี พ.ศ. 2528 นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้อาจทําให้ผู้เงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีอากรตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2528
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,023 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับการจัดอบรมสัมมนา และการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักเพิ่มเติมจากจังหวัดท่องเที่ยวรอง | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสําหรับการจัดอบรมสัมมนา และการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักเพิ่มเติมจาก
จังหวัดท่องเที่ยวรอง
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 656) พ.ศ. 2561 และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้เขตพื้นที่ท่องเที่ยวโดยคําแนะนําของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามรายชื่อเขตพื้นที่ท่องเที่ยวแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสําหรับ
(1) การอบรมสัมมนาที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดให้แก่ลูกจ้าง ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 656) พ.ศ. 2561
(2) การเดินทางท่องเที่ยวและที่พัก ตามข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,024 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 6/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีการจ่ายเงินค่าโฆษณา | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 6/2528
เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีการจ่ายเงินค่าโฆษณา
------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ สําหรับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินได้ค่าโฆษณา ตามข้อ 4(1) แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2528 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายเงินให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นค่าโฆษณา ไม่ว่าผู้นั้นจะทําเองหรือให้ผู้อื่นทําให้ กรณีดังกล่าว ให้ผู้จ่ายเงินคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย และนําส่งในอัตราร้อยละ 2.0 ของยอดเงินที่จ่ายนั้น เว้นแต่ค่าสื่อโฆษณาที่ผู้รับเงินในฐานะเป็นนายหน้า หรือตัวแทนได้จ่ายแทนผู้จ่ายเงินไปตามจํานวนเงินที่จ่ายเงิน ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อ ๒ กรณีผู้รับเงินตามข้อ 1 จ่ายเงินให้แก่สื่อโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีดังกล่าวให้ผู้จ่ายเงินคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย และนําส่งในอัตราร้อยละ 2.0 ของยอดเงินที่จ่ายนั้น”
(แก้ไขโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.19/2530 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2530 เป็นต้นไป)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,025 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 1) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า
(1) สถานศึกษาของรัฐ
(2) โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ
(3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้ามาเพื่อการบริจาคต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นโดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีทรัพย์สินที่จะนํามาบริจาคดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายสินค้าให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานศึกษา พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีบริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องระบุจํานวนเงินที่ได้บริจาคและสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากสถานศึกษาว่าได้รับบริจาคจริง
(2) กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ได้แก่ หลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3
ข้อ ๕ บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559 ต้องไม่นําเงินบริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นไปหักเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559 ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าวจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาคซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
“ข้อ 6/1 กรณีที่สถานศึกษารับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 4 และข้อ 6 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 11) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,026 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 3/2527 เรื่อง การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 3/2527
เรื่อง การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
-------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ สําหรับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ให้ใช้บังคับสําหรับทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้มาในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2527 ให้ยังคงหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 ต่อไป
ข้อ ๒ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สินที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 แต่ถ้าตามวิธีการทางบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่หักต่ํากว่าอัตราดังกล่าวก็ให้หักเพียงเท่าอัตราตามวิธีการทางบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่นั้น จะเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงได้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น
ข้อ ๓ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้คํานวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเป็นรายวัน เช่น บริษัท ก. จํากัด มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ได้ซื้อรถยนต์บรรทุกไว้ใช้งานของบริษัทฯ 1 คัน ราคา 500,000 บาท ในวันที่ 1 ธันวาคม 2527 ถ้าบริษัทฯ หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินโดยใช้วิธีแบบเส้นตรง (Straight Line Method) จะต้องเฉลี่ยหักตามส่วนของระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาเป็นรายวัน ดังนี้
31/365 x 500,000 x 20/100 = 8,493.15 บาท
ข้อ ๔ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามตัวอย่างในข้อ 3 ถ้าในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป บริษัทได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 31 มีนาคม เป็นเหตุให้รอบระยะเวลาบัญชีถัดไปไม่เต็ม 12 เดือน คือมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม หรือ 90 วัน การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์บรรทุกในรอบระยะเวลาบัญชีนี้จะต้องเฉลี่ยหักตามส่วนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ดังนี้
90/365 x 500,000 x 20/100 = 24,657.53 บาท
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือรอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่า 12 เดือนด้วย
ข้อ ๕ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนหรือรถยนต์นั่ง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เกิน 500,000 บาท จะนํามาหักไม่ได้
ข้อ ๖ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ในกรณีมีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยราคาที่ตีเพิ่มขึ้นนั้น ได้นํามารวมคํานวณกําไรสุทธิ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายใด ๆ ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากราคาส่วนที่ตีเพิ่มขึ้นของทรัพย์สินนั้นตามวิธีการทางบัญชีและอัตราที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่นั้นนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ตีราคาเพิ่มขึ้น
ในกรณีทรัพย์สินที่มีการตรีราคาเพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์นั่ง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่ตีเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนที่รวมกับมูลค่าต้นทุนเดิมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท สําหรับส่วนที่เกิน 500,000 บาท จะนํามาหักไม่ได้
ข้อ ๗ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อหรือซื้อขายเงินผ่อน ให้ถือมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่พึงต้องชําระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน และให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมูลค่าต้นทุนดังกล่าว แต่ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเมื่อรวมกับค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่หักไปในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ (ถ้ามี) แล้วจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อ หรือราคาที่ต้องผ่อนชําระในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ในกรณีที่ได้ชําระเงินค่าเช่าซื้อหรือราคาตามสัญญาครบถ้วนแล้ว โดยทรัพย์สินดังกล่าวยังคงมีมูลค่าต้นทุนหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นเหลืออยู่ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่นั้นได้ต่อไป
ข้อ ๘ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินแต่ละประเภท จะหักจนหมดมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นไม่ได้ โดยให้คงเหลือมูลค่าของทรัพย์สินนั้นเป็นจํานวนเงินอย่างน้อย 1 บาท เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์นั่ง ที่มีมูลค่าต้นทุนเกิน 500,000 บาท แต่ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคมจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท ให้คงเหลือมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สิน เท่ากับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เกิน 500,000 บาท
สําหรับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามข้อ 1 วรรคสอง ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,027 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแจ้งการใช้สิทธิเสียภาษีเงินได้ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 584) พ.ศ. 2558 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแจ้งการใช้สิทธิเสียภาษีเงินได้ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 584) พ.ศ. 2558
------------------------------------------
ตามที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 584) พ.ศ. 2558 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 254) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 กําหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยการลดอัตราภาษีสําหรับ เงินได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560 หรือตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2558 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2560 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ให้แก่ ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการใน เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อันได้แก่ท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อําเภอจะนะ อําเภอเทพา อําเภอนาทวี และอําเภอสะบ้าย้อย และจังหวัดสตูล โดยกําหนดให้ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหกสิบวันนับแต่วันแรกของทุกปีภาษี หรือวันแรกของทุกรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีการแจ้งใช้สิทธิสําหรับปีภาษี 2558 ให้แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และกรณีผู้มีเงินได้เริ่มประกอบกิจการในระหว่างปีภาษี ให้แจ้งการใช้สิทธิต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในหกสิบวันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ นั้น
เนื่องจากมีผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดังกล่าวจํานวนมาก ไม่สามารถยื่นแบบแจ้งการใช้สิทธิเสียภาษีเงินได้ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวที่ไม่ได้ยื่นแบบแจ้งการใช้สิทธิเสียภาษีเงินได้ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด และเพื่อจูงใจให้มี การลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเพิ่มขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแจ้งการใช้สิทธิเสียภาษีเงินได้ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ให้แก่ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ใน เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สําหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560 หรือตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2558 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2560 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามข้อ 1 ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีเจตนานาใบกํากับภาษีปลอมหรือใบกํากับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
(2) ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่มีการประกอบกิจการจริง ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ หรือ
(3) ผู้มีเงินได้และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้มีความผิด ในคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามลักษณะ 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,028 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 6)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 644) พ.ศ. 2460 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือ การกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2460 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บุคคล” หมายความว่า บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2460
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,029 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 1/2526 เรื่อง การคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 1/2526
เรื่อง การคํานวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับการคํานวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ เพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีที่เจ้าของที่ดินทําสัญญาให้ผู้อื่นทําการปลูกสร้างอาคารหรือโรงเรือนบนที่ดินของตน โดยผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนที่ปลูกสร้างนั้นให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ และเจ้าของที่ดินตกลงให้ผู้ปลูกสร้างเช่า หรือให้เช่าช่วงอาคารหรือโรงเรือน หรือตกลงให้ผู้ปลูกสร้างจัดหาผู้เช่าอาคารหรือโรงเรือนนั้นโดยตรงจากเจ้าของที่ดินเป็นการตอบแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้คํานวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินตามจํานวนปีแห่งอายุการเช่าในอัตราร้อยละของมูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ดังต่อไปนี้
จํานวนปีแห่งอายุการเช่า อัตราร้อยละของมูลค่าอาคารฯ
| | |
| --- | --- |
| จํานวนปีแห่งอายุการเช่า | อัตราร้อยละของมูลค่าอาคารฯ |
| 1 | 95.0 |
| 2 | 90.2 |
| 3 | 85.7 |
| 4 | 81.4 |
| 5 | 77.4 |
| 6 | 73.5 |
| 7 | 69.8 |
| 8 | 66.3 |
| 9 | 63.0 |
| 10 | 59.9 |
| 11 | 56.9 |
| 12 | 54.0 |
| 13 | 51.3 |
| 14 | 48.8 |
| 15 | 46.4 |
| 16 | 44.0 |
| 17 | 41.8 |
| 18 | 39.7 |
| 19 | 37.7 |
| 20 ปีขึ้นไป | 35.8 |
คําว่า “มูลค่าอาคารหรือโรงเรือน” หมายความว่า ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ในกรณีดังกล่าว ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้นให้ถือราคาทุนที่แท้จริงของอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์
ตัวอย่าง มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 1,000,000 บาท และมีอายุสัญญาเช่า 12 ปี เงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินจะเป็นเงิน 540,000 บาท (1,000,000 x 54.0/100 )
“มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนดังกล่าว เป็นมูลค่าที่ได้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามจํานวนปีแห่งอายุการเช่าแล้ว จะนํามาหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคํานวณภาษีเงินได้สําหรับกรณีดังกล่าวซ้ําอีกไม่ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป. 25/2533 ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ให้นําเงินได้พึงประเมินที่คํานวณได้ตามข้อ 1 มาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าในการคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ได้ โดยให้เจ้าของที่ดินยื่นรายการขอชําระภาษีเงินได้สําหรับเงินได้พึงประเมินที่เฉลี่ยได้เป็นรายปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนนั้นตามมาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีเจ้าของที่ดินมิได้ปฏิบัติตามนัยดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานประเมินดําเนินการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้สําหรับเงินได้พึงประเมินดังกล่าวตามมาตรา 18 ทวิ หรือมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ความในข้อ 1 และข้อ 2 มิให้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้เสียไว้แล้ว หรือที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บไปแล้ว สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2526
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,030 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 5) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 5)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทําตราสาร อันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมบี ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 2 การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นตามราคาตลาด เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น หรือราคาต้นทุนการซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมาตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทําเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
(2) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่รับโอนทรัพย์สินเป็นจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
(3) ต้องไม่โอนหุ้นอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากร ในราคาตํ่ากว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี
(4) บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งหนังสือรับรอง ดังนี้
(ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อน ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่
ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,031 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 4)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทําตราสาร อันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และสําหรับรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทําบัญชี และค่าสอบบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บุคคล” หมายความว่า ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นตามราคาตลาด เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น หรือราคาต้นทุนการซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมาตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทําเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
(2) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่รับโอนทรัพย์สินเป็นจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
(3) ต้องไม่โอนหุ้นอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากร ในราคาตํ่ากว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี
(4) บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งหนังสือรับรอง ดังนี้
(ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อน ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่
ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
(แก้ไขโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 5) เรื่อง ก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560)
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทําบัญชี และค่าสอบบัญชี ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) กรณีรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนี้
(ก) กรณีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และที่ประชุมจัดตั้งบริษัทได้ให้สัตยาบันไว้
(ข) กรณีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และมีการรับรองโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ
(2) กรณีรายจ่ายค่าทําบัญชี และค่าสอบบัญชี ต้องเป็นค่าทําบัญชีและค่าสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,032 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายไปในการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 3)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายไปในการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 632) พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายไปในการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ รายจ่ายในการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้การับรองสําหรับรายการ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบไฟฟ้า
(2) จัดให้มีระบบน้ําประปา
(3) จัดให้มีถนนหรือทางพิเศษ
(4) จัดให้มีระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(5) จัดให้มีระบบพลังงานทางเลือก
(6) จัดให้มีระบบบริหารจัดการน้ํา หรือชลประทาน
(7) จัดให้มีระบบป้องกันภัยธรรมชาติ รวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น
(8) พัฒนาหรือปรับปรุงอุทยานแห่งชาติ
(9) พัฒนาหรือปรับปรุงโบราณสถาน
(10) พัฒนาหรือปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่อยู่ในกํากับดูแลของส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เป็นจํานวนสองเท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายสําหรับการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 632 ) พ.ศ. 2560 การยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท ซึ่งเป็นไปตามแผนงานหรือโครงการของส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจากรัฐบาลมาให้ดําเนินการ
(2) การลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทตาม (1) ต้องไม่ซ้ําซ้อนกับแผนงานหรือโครงการที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดําเนินการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจากรัฐบาลแล้ว
(3) ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นจากการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐานหรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยไม่มีค่าตอบแทน
(4) ต้องมีหนังสือรับรองแผนงานหรือโครงการจากส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม (1) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เป็นผู้ดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการ
(5) ต้องมีหลักฐานจากส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พิสูจน์ได้ว่ามีการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาหรือปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทตามแผนงานหรือโครงการตามหนังสือรับรองแผนงานหรือโครงการตาม (4) จริง
(6) ต้องไม่นํารายจ่ายในการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
(7) ต้องไม่นําทรัพย์สินที่เกิดรายจ่ายในการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรหรือไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการลงทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งพิสูจน์ได้ว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,033 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 7/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อื่น | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 7/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร
ของบริษัทหลักทรัพย์อื่น
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 103(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 26/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์อาจตั้งหรือยอมให้กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ ได้โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบในการป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือกับลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์รู้หรือควรรู้ว่ามีการฝ่าฝืนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อเท็จจริงพร้อมแนวทางการแก้ไขการฝ่าฝืนดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว และต้องแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด หากไม่สามารถแก้ไขได้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้กรรมการ ผู้บริหาร หรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์พ้นจากตําแหน่งดังกล่าวโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ในการตั้งหรือยอมให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น เป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ได้ โดยไม่ต้องผ่านการขอความเห็นชอบจากสํานักงาน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,034 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2553 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 18/2553
เรื่อง การขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศโดยที่
บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อบัญชีตนเองโดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองได้
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งสามารถให้บริการเป็นตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์ (regulated exchange)
ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมตามข้อ 1 และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการทําธุรกรรม โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยเร็ว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการทําธุรกรรมของบริษัทหลักทรัพย์โดยการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ต่างประเทศเพื่อบัญชีตนเองโดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองได้ รวมทั้งกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,035 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 24/2552
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหาร
ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” และ “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(3) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
(ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้
(ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท
(ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น
(4) “ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร” หมายความว่า ระบบข้อมูลที่จัดขึ้นโดยสํานักงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อแสดงรายชื่อบุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ข้อ ๒ เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนฉบับใดวางข้อกําหนดให้การพิจารณลักษณะของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว การพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศฉบับนี้
ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 บริษัทใด ประสงค์จะนํารายชื่อบุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร ให้การดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้ด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๓ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(2) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(4) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศ ห้ามมิให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท
(5) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (3)
(6) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง (duties of care) และซื่อสัตย์สุจริต (duties of loyalty) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวมของกิจการที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
(7) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
(8) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
(9) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมการอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ว่าจะเป็นการกระทําในนามของตนเองหรือกระทําแทนนิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
(10) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุม หรือบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจของบริษัทนั้น
ข้อ ๔ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องเป็นบุคคลซึ่งบริษัทได้แจ้งชื่อต่อสํานักงาน และสํานักงานได้แสดงรายชื่อบุคคลนั้นไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารแล้ว
สํานักงานจะแสดงรายชื่อกรรมการและผู้บริหารไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารก็ต่อเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อสงสัยใด ๆ ต่อสํานักงานเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ของบุคคลดังกล่าว แต่ทั้งนี้ การแสดงรายชื่อบุคคลใดไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร มิได้เป็นการรับรองว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลที่บริษัทแจ้งชื่อเพื่อการนําเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 และพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วไม่เกินสิบห้าปีนับถึงวันที่แจ้งชื่อต่อสํานักงาน สํานักงานจะปฏิเสธการแสดงรายชื่อไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร เว้นแต่กรณีที่ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้น มิได้ร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร สํานักงานจะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้น มาเป็นเหตุในการปฏิเสธการแสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารก็ได้ ในการนี้ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารด้วยก็ได้
ในกรณีที่สํานักงานปฏิเสธการแสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวทราบถึงกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณารับรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคสองเป็นเหตุให้สํานักงานมีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทใด สํานักงานจะกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขสําหรับการรับพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งต่อไป โดยคํานึงถึงระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสองด้วยก็ได้
ข้อ ๖ ในระหว่างที่คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการพิจารณา หรือระหว่างที่การอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ยังคงมีผล หากกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงจากรายชื่อที่ได้แจ้งชื่อต่อสํานักงาน ให้บริษัทแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับการแจ้งรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายใหม่ (ถ้ามี) ต่อสํานักงาน เพื่อให้สํานักงานพิจารณานํารายชื่อดังกล่าวไปแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารต่อไป
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทไม่แจ้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้บริหาร หรือมีกรรมการหรือผู้บริหารรายใหม่ที่สํานักงานจะปฏิเสธการแสดงรายชื่อไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร ให้สํานักงานมีอํานาจนําข้อเท็จจริงดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาคําขออนุญาตที่ค้างอยู่หรือทบทวนการอนุญาตที่ได้ให้ไว้แล้วสําหรับหลักทรัพย์ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อก็ได้
ข้อ ๗ การแจ้งข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือข้อมูลการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่ากรรมการหรือผู้บริหารรายใดที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้สํานักงานถอนการแสดงรายชื่อบุคคลนั้นจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังนี้
(1) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อสํานักงาน สํานักงานจะไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการถอนการแสดงรายชื่อบุคคลนั้นจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร หรือ
(2) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลในกรณีนั้นมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่จะถอนการแสดงรายชื่อบุคคลนั้นจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร สํานักงานจะแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารด้วยก็ได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่สํานักงานถอนการแสดงรายชื่อบุคคลใดจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร เนื่องจากการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าว ทราบถึงกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณารับรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งถอนการแสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ตามประกาศนี้ ให้สํานักงานจัดให้มีฐานข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารที่ประชาชนเข้าตรวจดูได้
สํานักงานอาจแจ้งข่าวข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการปฏิเสธการแสดงรายชื่อหรือการถอนรายชื่อกรรมการและผู้บริหารจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม หรือการกําหนดเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือจัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้
ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ตามข้อ 5 และข้อ 8 สํานักงานอาจนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาประกอบการพิจารณาในการปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลใดในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร หรือเพื่อกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
(1) ลักษณะของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม
(2) ผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม
(3) ระดับความร้ายแรงของผลกระทบหรือความเสียหายต่อบริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม
(4) พฤติกรรมอื่นของบุคคลดังกล่าว เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสํานักงาน การให้ความร่วมมือในการแก้ไขหรือเยียวยาการกระทําที่เกิดขึ้น การปิดบังอําพรางหรือทําลายข้อมูล หรือการให้ข้อมูลเท็จ เป็นต้น
ข้อ ๑๒ นอกจากเหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 แล้ว การยกเลิกการแสดงรายชื่อบุคคลไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารให้กระทําได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) กรรมการหรือผู้บริหารตาย
(2) กรรมการหรือผู้บริหารพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทซึ่งกรรมการหรือผู้บริหารดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ สิ้นสุดหน้าที่ในการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 เว้นแต่กรรมการหรือผู้บริหารรายดังกล่าวยังคงดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทอื่นที่ได้แจ้งชื่อกรรมการหรือผู้บริหารรายนั้นเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
ข้อ ๑๓ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจสั่งการของสํานักงานตามประกาศนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงใดที่อาจนําไปสู่การปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลใดในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร ก่อนที่สํานักงานจะมีคําวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว สํานักงานต้องเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายเพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ภายใต้กระบวนพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานดังกล่าว อย่างน้อยต้องกําหนดให้มีการแจ้งให้บุคคลที่อาจถูกปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อนั้น ได้ทราบข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับข้อสงสัยถึงการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าว และแจ้งสิทธิของบุคคลดังกล่าวในการชี้แจงและนําเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสงสัยนั้นความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีข้อเท็จจริงที่แสดงถึงการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(1) (2) (3) หรือ (4) หรือกรณีอื่นใดที่สํานักงานเห็นว่าได้ผ่านกระบวนวิธีพิจารณามาเพียงพอแล้ว
ข้อ ๑๔ ข้อเท็จจริงใดที่สํานักงานได้นํามาใช้ประกอบการพิจารณากําหนดมาตรการทางปกครองตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8 แล้ว สํานักงานจะนําข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสั่งการซ้ําอีกไม่ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงการใช้ข้อเท็จจริงนั้นเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณา เพราะบุคคลซึ่งเป็นเหตุแห่งการสั่งการในครั้งก่อนมีพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามขึ้นอีก
ข้อ ๑๕ ให้บุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารที่ได้แสดงชื่อไว้แล้วตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารตามประกาศนี้
บุคคลใดมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 และยังไม่พ้นระยะเวลาหรือยังไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศดังกล่าว สํานักงานจะแสดงรายชื่อบุคคลนั้นไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารตามประกาศนี้ไม่ได้ เว้นแต่ได้พ้นระยะเวลาหรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดนั้นจนครบถ้วนแล้ว
ข้อ ๑๖ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 หรือประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ซึ่งการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เป็นหลักเกณฑ์หนึ่งในการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,036 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 19/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการ
และผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามที่กําหนดไว้ในหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(2) “ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์”หมายความว่า ระบบข้อมูลที่จัดขึ้นโดยสํานักงานเพื่อแสดงรายชื่อบุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดทุน
(3) “ประกาศกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อ ๓ ในกรณีที่ประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใดวางข้อกําหนดให้บุคคลมีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้การแสดงชื่อบุคคลนั้นในระบบข้อมูลดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับนี้
ข้อ ๔ การแจ้งชื่อบุคคลเพื่อนําเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๕ เมื่อได้มีการแจ้งชื่อบุคคลตามข้อ 4 แล้ว ให้สํานักงานแสดงชื่อบุคคลดังกล่าวในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เว้นแต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่ขอแสดงชื่อนั้นมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในประกาศกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ
ข้อ ๖ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานถอนการแสดงรายชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(1) บุคคลนั้นตาย
(2) บุคคลนั้นพ้นจากตําแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท
(3) บริษัทนั้นมิได้เป็นบริษัทที่มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 อีกต่อไป
ข้อ ๗ ให้บุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้แสดงชื่อไว้แล้วตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศนี้
ข้อ ๘ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2552 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ยังมีผลใช้บังคับภายใต้ประกาศนี้จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงถึงประกาศที่เกี่ยวกับหรือว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงประกาศนี้
ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงถึงระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศนี้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การนํารายชื่อบุคคลเข้าสู่ระบบ
ข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการดําเนินการเพื่อให้รายชื่อในระบบดังกล่าวเป็นปัจจุบัน ซึ่งผู้ลงทุนและผู้สนใจอื่นใดสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ดํารงตําแหน่งในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จากระบบข้อมูลรายชื่อดังกล่าวได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,037 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2553 เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 25/2553
เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ
ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2551 เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ว่าจะมีสินค้าหรือตัวแปรประเภทใด และไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศหรือต่างประเทศ
(3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(4) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น
(5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(6) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นอยู่แล้วก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๑ การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เพื่อตนเอง
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองต้องกําหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ และต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง เว้นแต่เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๖ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้นอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้
ข้อ ๗ นอกจากกรณีตามข้อ 6 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน หรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๘ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้คําแนะนําแก่คู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามส่วนนี้ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงคู่สัญญาหรืออาจทําให้คู่สัญญาสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
หมวด ๒ การอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 7 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจํานวนที่เพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ
(2) มีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง ตลอดจนการจัดการด้านการปฏิบัติการ ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัท อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
(ข) การมีระบบการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทก่อนทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการขอความเห็นชอบต้องมีการนําเสนอรายละเอียดและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภทเพื่อให้คณะกรรมการของบริษัททราบถึงความเสี่ยงอย่างครบถ้วน
(ค) การจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก
1. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
2. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง
3. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสินค้าหรือตัวแปรประเภทใดประเภทหนึ่ง
4. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง
5. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลขาดทุน
(ง) การมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(จ) การมีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และมีความเป็นอิสระในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท
(ฉ) การมีระบบการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้นที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้
ข้อ ๑๐ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 12 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 7 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 10 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศนี้แล้ว
ส่วน ๒ เงื่อนไขในการดํารงความเป็นผู้ได้รับอนุญาต
ข้อ ๑๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 11 และข้อ 12 ต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 9 ไว้ตลอดเวลาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
หมวด ๓ อํานาจสั่งการและผลของการฝ่าฝืนประกาศ
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประการอื่นในการซื้อขายดังกล่าว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๕ การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 111 ประกอบกับมาตรา 114
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๖ ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือ ในศูนย์ซื้อขายสัญญาอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศนี้ และต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 9 ไว้ตลอดเวลาที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
ข้อ ๑๗ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2551 เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้เพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2551 เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้สถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นอยู่แล้วก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สามารถซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และเพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้โดยไม่จํากัดประเภทของสินค้าหรือตัวแปร ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,038 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 50/2553 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 50/2553
เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 66/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันมาตรฐานการบัญชีกําหนดไว้ครอบคลุมแล้ว โดยให้บริษัทหลักทรัพย์บันทึกบัญชีในเรื่องดังกล่าวตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดแทน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,039 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 3/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 3/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 และมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 68/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(2) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้
(3) “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ
(4) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่ตกลงรับบริการการให้คําแนะนําจากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
(5) “ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO)
(6) “หลักประกัน” หมายความว่า หลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายของลูกค้าที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน อันได้แก่
(ก) กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย
(ข) หนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) หลักประกันอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(7) “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์ดังต่อไปนี้ที่ปราศจากภาระผูกพัน
(ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร
(ข) บัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(ค) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก
(ง) สินทรัพย์สภาพคล่องอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งรวมถึงระบบการควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนํา และระบบการควบคุมดูแลการลงทุนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน และพนักงาน
(2) จัดให้มีผู้ดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเพื่อรับผิดชอบในการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การควบคุมภายในของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนนั้น รวมทั้งดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้
ข้อ ๔ ในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันให้มีมูลค่าเพียงพอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และคํานวณและรายงานการดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และมิให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และ
(3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
ข้อ ๕ โดยไม่เป็นการจํากัดอํานาจคณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 143 ที่จะสั่งเป็นประการอื่น บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามข้อ 4 ที่ไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดทํารายงานที่แสดงถึงความไม่เพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการถัดไป
(2) แก้ไขให้สามารถดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่กําหนดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน ภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้ และแจ้งการแก้ไขให้สํานักงานทราบภายในสองวันทําการนับแต่วันที่สามารถแก้ไขได้
ข้อ ๖ ในระหว่างที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตามข้อ 4 ไม่สามารถดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอ หรืออยู่ในระหว่างการแก้ไขการดํารงความเพียงพอตามข้อ 5(2) ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงความเพียงพอได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
(1) การให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่
(2) การขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิม
(3) การกระทําอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๗ ในการติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้า บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนดังกล่าวปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
ข้อ ๘ เพื่อให้การให้คําแนะนําเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของลูกค้า ในการติดต่อชักชวนลูกค้าเพื่อให้เข้าเป็นคู่สัญญารับบริการแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้อง
(1) จัดทําข้อมูลลูกค้าและจัดให้มีการให้คําแนะนําที่เหมาะสมโดยการพิจารณาจาก วัตถุประสงค์ในการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปัจจัยอื่น ๆ ของลูกค้าโดยบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องขอข้อมูลดังกล่าวจากลูกค้าเพื่อประกอบการพิจารณา
สัญญาให้บริการแนะนําการลงทุนต้องระบุสิทธิของลูกค้าในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการแนะนําการลงทุนที่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ การกําหนดข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าด้วย
(2) เปิดเผยหรือดําเนินการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างเพียงพอ และภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีความถูกต้องเป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศว่ามีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถดําเนินการให้คําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น
(2) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศทราบ
(3) แจ้งชื่อและที่อยู่ของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการให้คําแนะนําได้ และ
(4) ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ
ข้อ ๑๐ บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การให้คําแนะนําในการลงทุนในหลักทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้
(1) จัดเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้คําแนะนําในการลงทุนในหลักทรัพย์ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่เผยแพร่เอกสารหลักฐานดังกล่าวให้แก่ลูกค้าในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ไม่ว่าเป็นบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย
(2) จัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในการให้คําแนะนําไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําและการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนยังไม่เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๑๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงให้หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสอดคล้องกัน และ (2) เพื่อกําหนดแนวปฏิบัติในการที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศไทยพร้อมทั้งการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนําดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,040 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สก. 2/2539 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สก. 2 /2539
เรื่อง การกาหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนบิดได้เพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนด ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เป็นผู้ออกได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคมพ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,041 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2539 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน.26/2539
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์ สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนด ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง และจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในพันธบัตรหรือตั๋วเงินที่ ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือตั๋วเงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,042 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2540 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน.30 /2540
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์ สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญา ใช้เงินที่จะครบกําหนดชําระเงินคืนไม่เกินหนึ่งปีที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก หรือเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือหุ้นกู้หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นกู้ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,043 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2541 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 36/2541
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์
สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,044 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 42/2541 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 42/2541
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์
สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนปิดได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 6 )
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนปิดให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Right หรือ TSR) ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,045 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สก. 3/2539 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้เพิ่มเติม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สก. 3 /2539
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้เพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภท รับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนเปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนเปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เป็นผู้ออกได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคมพ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,046 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 37/2541 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 37/2541
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์
สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนเปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนเปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,047 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2541 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 43/2541
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์
สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 6 )
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนเปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Right หรือ TSR) ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,048 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 3/2540 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 3/2540
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่ให้บริษัทหลักทรัพย์ ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 (10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุน ในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง และจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
“กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้” หมายความว่า กองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่มีนโยบาย ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก
“สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนใน ตั๋วแลกเงินที่จะครบกําหนดชําระเงินคืนไม่เกินหนึ่งปี หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตั๋วแลกเงินที่จะครบกําหนดชําระเงินคืนไม่เกิน หนึ่งปี ซึ่งมีสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิ ไล่เบี้ย ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,049 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 38/2541 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 38/2541
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่ให้บริษัทหลักทรัพย์
ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 (10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
“กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้” หมายความว่า กองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,050 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2539 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 16/2539
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 3)
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126 (4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็น ทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น กองทุนรวมก่อนวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในระหว่าง ระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม และในระยะเวลาหนึ่งปี ก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือ เป็นกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
(ข) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสาร แห่งหนี้เป็นกองทุนเปิดที่ไม่มีการกําหนดอายุโครงการ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วน การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งเก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 5/2539 เรี่ยง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเนี่ยเป็นทรัพย์สินของ กองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2539
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น กองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับใน ระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม และในระยะเวลาหกเดือน ก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือเป็น กองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
(ข) ในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสาร แห่งหนี้เป็นกองทุนเปิดที่ไม่มีการกําหนดอายุโครงการ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,051 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2541 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 2/2541
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สิน
ของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 7)
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า "ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน" ระหว่างบทนิยามคําว่า "หลักทรัพย์" และคําว่า "สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์" ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่องการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2540 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ดังต่อไปนี้
"ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน" หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 29/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และตราสารแห่งหนี้ทุกประเภทของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ให้นับหลักทรัพย์และตราสารแห่งหนี้ของบริษัทดังกล่าวตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย
กรณีบริษัทดังกล่าวเป็นสถาบันการเงิน ให้นับเงินฝากในสถาบันการเงินนั้นรวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณตามวรรคหนึ่ง
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก หรือที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไปรวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณดังกล่าว
ในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้ มิให้นับเงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก หรือตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออกที่มิใช่ส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใน ขายคืนตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน รวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณตามวรรคหนึ่ง
(ก) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม และในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือเป็นกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
(ข) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนเปิดที่ไม่มีการกําหนดอายุโครงการ"
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,052 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2541 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 39/2541
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สิน
ของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126 (4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และตราสารแห่งหนี้ทุกประเภทของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้นับหลักทรัพย์และตราสารแห่งหนี้ของบริษัทดังกล่าวตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย
กรณีบริษัทดังกล่าวเป็นสถาบันการเงิน ให้นับเงินฝากในสถาบันการเงินนั้นรวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณตามวรรคหนึ่ง
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก หรือที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป รวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณดังกล่าว
ในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้ มิให้นับเงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก หรือตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ที่มิใช่ส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการขายคืนตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน รวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณตามวรรคหนึ่ง
(ก) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม และในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือเป็นกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
(ข) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนเปิดที่ไม่มีการกําหนดอายุโครงการ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก.2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.29/2539 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และตราสารแห่งหนี้ทุกประเภทของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
กรณีบริษัทดังกล่าวเป็นสถาบันการเงิน มิให้นับบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก หรือตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก รวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณตามวรรคหนึ่ง
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมในอัตราส่วนที่ต้องคํานวณดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2540 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก หรือตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ได้เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม และในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือเป็นกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
(ข) ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนเปิดที่ไม่มีการกําหนดอายุโครงการ
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 จนถึงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2540 มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม และในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือเป็นกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ
(ข) ในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนเปิดที่ไม่มีการกําหนดอายุโครงการ
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในระหว่างระยะเวลาหกเดือนก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวม กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็นกองทุนปิดหรือเป็นกองทุนเปิดที่มีการกําหนดอายุโครงการ”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,053 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 49/2541 เรื่อง กำหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 49/2541
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ
กองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 2/2538 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,054 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 8/2540
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
"กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
"กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ
"รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
"ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ
"การบริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า การดูแลรักษาให้อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้ตลอดเวลา ตลอดจนการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
"คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินให้มีสิทธิในที่ดินได้เสมือนกับคนต่างด้าว
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของโครงการซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้น ต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้
(1) คําว่า "หนังสือชี้ชวน"
(2) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ
(3) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ (ในกรณีที่ไม่กําหนดอายุโครงการ ให้ระบุว่าไม่กําหนดอายุโครงการ)
(4) จํานวนเงินทุนของโครงการ จํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าที่ตราไว้ ประเภทและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา
(5) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจงหรือกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง
(6) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
3. ประมาณการรายได้
4. หากปรากฏว่า บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าของหรือมีทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าให้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(7) ข้อจํากัดการลงทุนของกองทุนรวม
(8) ทรัพย์สินอื่นที่กองทุนรวมจะลงทุน
(9) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
(10) ระยะเวลาในการเสนอขายหน่วยลงทุน วัน เวลา และสถานที่ในการจองซื้อหน่วยลงทุน
(11) การจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการขึ้นทะเบียนหน่วยลงทุนในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(12) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของคนต่าวด้าวและของผู้ถือหน่วยลงทุน
(13) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี นายทะเบียนหน่วยลงทุน ที่ปรึกษา (ถ้ามี) และผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(14) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้จัดการการจัดจําหน่ายและรับประกันการจําหน่าย ผู้จัดจําหน่าย และตัวแทนผู้จัดจําหน่าย
(15) อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใด ซึ่งบริษัทจัดการจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม
(16) อัตราและวิธีการจ่ายค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี นายทะเบียนหน่วยลงทุน ที่ปรึกษา (ถ้ามี) และผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) พึงได้รับจากกองทุนรวม
(17) วิธีการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม
(18) สิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(19) การเลิกโครงการ และเหตุที่จะเลิกโครงการในกรณีที่ไม่กําหนดอายุโครงการ
(20) รายงานและเอกสารต่าง ๆ ที่บริษัทจัดการจะจัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(21) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ณ วันที่รวบรวมข้อมูลในหนังสือชี้ชวน เช่น รายชื่อกรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการกองทุน เป็นต้น
(22) ข้อความว่า
"การที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้ประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย"
(23) ข้อความที่แสดงว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทุนรวมที่มุ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว ผู้ลงทุนจึงควรตระหนักถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน และเมื่อหน่วยลงทุนได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือขึ้นทะเบียนในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว ราคาของหน่วยลงทุนอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นเดียวกับหลักทรัพย์อื่น สําหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษารายละเอียดของโครงการ สามารถขอรับได้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ สํานักงานสาขาของบริษัทจัดการ และตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุน
(24) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลในหนังสือชี้ชวน
ข้อความตาม (22) (23) และ (24) ให้พิมพ์ไว้ที่ปกหน้าด้านในของหนังสือชี้ชวนด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวนซึ่งอ่านได้ชัดเจน ทั้งนี้ ข้อความตาม (22) ให้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,055 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 16/2540
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (11) และ (12) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.8/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(11) การจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการขึ้นทะเบียนหน่วยลงทุนในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(12) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,056 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2540
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) (ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"ประกาศที่ สน. 8/2540 " หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
"กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
"รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
"การประเมินค่า" หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
"การสอบทานการประเมินค่า" หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
"ผู้ประเมินหลัก" หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมได้ และลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินค่า
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
"ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ
"การบริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า การดูแลรักษาให้อสังหาริมทรัพย์ของ
กองทุนรวมอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้ตลอดเวลา ตลอดจนการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของโครงการซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 8/2540 และประกาศนี้ แต่ทั้งนี้ มิให้นําข้อ 2 วรรคหนึ่ง (6) (11) (17) (22) (23) (24) และวรรคสอง แห่งประกาศที่ สน. 8/2540 มาใช้บังคับ
ข้อ ๓ นอกจากรายการที่บริษัทจัดการต้องแสดงในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของโครงการตามข้อ 2 แห่งประกาศที่ สน. 8/2540 แล้ว ให้บริษัทจัดการแสดงรายการดังต่อไปนี้ไว้ในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวด้วย
(1) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าของหรือมีทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(2) วิธีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(3) วิธีการเพิ่มเงินทุนและวิธีการลดเงินทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี)
(4) ข้อความว่า
"การที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้ประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย"
(5) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลในหนังสือชี้ชวน
ข้อความตาม (4) และ (5) ให้พิมพ์ไว้ที่ปกหน้าด้านในของหนังสือชี้ชวนด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวนซึ่งอ่านได้ชัดเจน ทั้งนี้ ข้อความตาม (4) ให้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมด้วย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,057 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 11/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับประมวล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2540
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) (ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"ประกาศที่ สน. 8/2540 " หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
"กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
"รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
"การประเมินค่า" หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน โดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
"การสอบทานการประเมินค่า" หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
"ผู้ประเมินหลัก" หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมได้ และลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินค่า
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น เพื่อ ประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
"ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ
"การบริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า การดูแลรักษาให้อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้ตลอดเวลา ตลอดจนการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2[1](#fn1) หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของโครงการซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 8/2540 และประกาศนี้ รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้ มิให้นําข้อ 2 วรรคหนึ่ง (6) (11) (17) (22) (23) (24) และวรรคสอง แห่งประกาศที่ สน. 8/2540 มาใช้บังคับ
ข้อ 3 นอกจากรายการที่บริษัทจัดการต้องแสดงในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของโครงการตามข้อ 2 แห่งประกาศที่ สน. 8/2540 แล้ว ให้บริษัทจัดการแสดงรายการดังต่อไปนี้ไว้ในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวด้วย
(1) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2.[2](#fn2) ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว (ถ้ามี)
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าของหรือมีทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
4.[3](#fn3) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ได้ดําเนินการไปแล้ว ประมาณการเงินทุนที่ใช้ในการดําเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ บริษัทที่จะดําเนินการก่อสร้าง และระยะการก่อสร้างจนแล้วเสร็จด้วย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(2) วิธีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(3) วิธีการเพิ่มเงินทุนและวิธีการลดเงินทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี)
(4) ข้อความว่า
"การที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_มิได้เป็นการ
แสดงว่าคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้ประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย"
(5) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลในหนังสือชี้ชวน
ข้อความตาม (4) และ (5) ให้พิมพ์ไว้ที่ปกหน้าด้านในของหนังสือชี้ชวนด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวนซึ่งอ่านได้ชัดเจน ทั้งนี้ ข้อความตาม (4) ให้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมด้วย
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 11/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ลงวันที่ 28/04/2540 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 18/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23/05/2540 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 46/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11/12/2540 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ
---
1.
2.
3. | 3,058 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2540
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) (ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
"ประกาศที่ สน. 6/2540" หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
"กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
"รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
"การประเมินค่า" หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินเงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
"การสอบทานการประเมินค่า" หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
"ผู้ประเมินหลัก" หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมได้ และลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินค่า
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
"ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ
"การบริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า การดูแลรักษาให้อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้ตลอดเวลา ตลอดจนการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"กองทุนที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ รายละเอียดของโครงการที่บริษัทจัดการจัดทําขึ้นเพื่อใช้ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวม ให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 6/2540 และประกาศนี้ แต่ทั้งนี้ มิให้นําข้อ 2(5) (9) (17) และ (21) แห่งประกาศที่ สน. 6/2540 มาใช้บังคับ
ข้อ ๓ นอกจากรายการที่บริษัทจัดการต้องแสดงในรายละเอียดของโครงการตามข้อ 2 แห่งประกาศที่ สน. 6/2540 แล้ว ให้บริษัทจัดการแสดงรายการดังต่อไปนี้ไว้ในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวด้วย
(1) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าของหรือมีทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(2) วิธีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(3) วิธีการเพิ่มเงินทุนและวิธีการลดเงินทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี)
(4) การบริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,059 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 17/2540
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 2 รายละเอียดของโครงการที่บริษัทจัดการจัดทําขึ้นเพื่อใช้ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 6/2540 และประกาศนี้ รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้มิให้นําข้อ 2(5) (9) (17) และ(21) แห่งประกาศที่ สน. 6/2540 มาใช้บังคับ"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,060 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 45/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 45/2540
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน 2. ของ (ก) ใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.10/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว (ถ้ามี)"
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 4. ใน (ก) ของ (1) ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2540
"4. กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ได้ดําเนินการไปแล้ว ประมาณการเงินทุนที่ใช้ในการดําเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ บริษัทที่จะดําเนินการก่อสร้าง และระยะเวลาการก่อสร้างจนแล้วเสร็จด้วย"
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,061 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 10/2540 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2540
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) (ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
"ประกาศที่ สน. 6/2540" หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
"กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
"รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
"การประเมินค่า" หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินเงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
"การสอบทานการประเมินค่า" หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
"ผู้ประเมินหลัก" หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมได้ และลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินค่า
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
"ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ
"การบริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า การดูแลรักษาให้อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้ตลอดเวลา ตลอดจนการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"กองทุนที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2[1](#fn1) รายละเอียดของโครงการที่บริษัทจัดการจัดทําขึ้นเพื่อใช้ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 6/2540 และประกาศนี้ รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้ มิให้นําข้อ 2(5) (9) (17) และ(21) แห่งประกาศที่ สน. 6/2540 มาใช้บังคับ
ข้อ 3 นอกจากรายการที่บริษัทจัดการต้องแสดงในรายละเอียดของโครงการตามข้อ 2 แห่ง
ประกาศที่ สน. 6/2540 แล้ว ให้บริษัทจัดการแสดงรายการดังต่อไปนี้ไว้ในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวด้วย
(1) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2.[2](#fn2) ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว (ถ้ามี)
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าของหรือมีทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
4.[3](#fn3) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ได้ดําเนินการไปแล้ว ประมาณการเงินทุนที่ใช้ในการดําเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ บริษัทที่จะดําเนินการก่อสร้าง และระยะเวลาการก่อสร้างจนแล้วเสร็จด้วย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(2) วิธีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(3) วิธีการเพิ่มเงินทุนและวิธีการลดเงินทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี)
(4) การบริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 10/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ลงวันที่ 28/04/2540 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 01/05/40 ฉบับทั่วไป เล่ม 114 ตอนที่ 35ง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 17/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23/05/2540 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 27/05/40 ฉบับทั่วไป เล่ม 114 ตอนพิเศษ 38ง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 45/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11/12/2540 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 15/12/40 ฉบับทั่วไป เล่ม 114 ตอนพิเศษ 115ง
---
1.
2.
3. | 3,062 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 32/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 4) | สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 32/2541
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผัน
การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ
=======================================
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ในประกาศนี้
“ผ่อนผัน” หมายความว่า ผ่อนผันให้ได้หุ้นมาโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
“คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการเป็นการทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
“ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิซื้อหุ้นของกิจการนั้นเอง และให้หมายความรวมถึงใบแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
“หลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง
- 2 -
“ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” หมายความว่า ตราสารที่บริษัทมหาชนจํากัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นหรือบุคคลอื่นที่รับโอนตราสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนจํากัดนั้น โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสัดส่วนกับจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นแต่ละคนมีอยู่
“กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัด
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,063 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 19/2540 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์หยุดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้เป็นการชั่วคราว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 19/2540
เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์หยุดการรับซื้อคืน
หน่วยลงทุนได้เป็นการชั่วคราว
ตามที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบริหารทุนไทย จํากัด ได้ขออนุญาตต่อ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อหยุดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดที่ซีเอ็ม พลัส กองทุนเปิดทิสโก้ตราสารหนี้ และกองทุนเปิดเอกสินตราสารหนี้ ที่ตน เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการประสบปัญหาการดําเนินธุรกิจของ สถาบันการเงินบางแห่งได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสาร แห่งหนี้ และเป็นผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เป็น จํานวนมาก แต่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่สามารถไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินดังกล่าวได้ หรือต้องเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นตราสารการเงินของสถาบันการเงินอื่น ทําให้บริษัทหลักทรัพย์ ขาดสภาพคล่องที่จะนํามารับซื้อคืนหน่วยลงทุน นั้น
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อกองทุนรวมในวงกว้างและต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ของประเทศ ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภท รับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวหยุดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 จนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,064 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2542 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 12/2542
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์
ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการเป็นการทั่วไปที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องปฏิบัติตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
“ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิซื้อหุ้นของกิจการนั้นเอง
“หลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง
“กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัด
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อรวมกันทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการต้องไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเนื่องจากการรับชําระหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้ อันเป็นผลให้กองทุนรวมที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) กรณีที่เป็นหุ้นของบริษัทที่เป็นกิจการ บริษัทจัดการต้องได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหรือฟื้นฟูกิจการ หรือได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นและงดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในส่วนของหุ้นที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวตามข้อ 6(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538
การลดสัดส่วนการถือหุ้นตามข้อ 6(5) แห่งประกาศดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลดสัดส่วนตามสัดส่วนของหุ้นของบริษัทที่แต่ละกองทุนรวมได้มาจากการรับชําระหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,065 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2543 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 3/2542
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์
ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
“การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 รวมในอัตราส่วนดังกล่าว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
(นายวสันต์ เทียนหอม)
ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
แทน
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,066 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2543 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 36/2543
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์
ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2543 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
(1) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(2) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,067 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์
ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 12/2542 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 3/2543 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2543 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
"กองทุนปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
"กองทุนเปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"คําเสนอซื้อ" หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการเป็นการทั่วไปที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
"หลักทรัพย์" หมายความว่า หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
"ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น" หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิซื้อหุ้นของกิจการนั้นเอง
"หลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้" หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง
"กิจการ" หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัด
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อรวมกันทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการได้ไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวน หุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นเว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหันของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการรับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการต้องงดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) กรณีที่เป็นหุ้นของบริษัทที่เป็นกิจการ บริษัทจัดการต้องได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขอผ่อนผันการทําดําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหรือฟื้นฟูกิจการ หรือได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยการลดสัดส่วนการรอหุ้นและงดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในส่วนของหุ้นที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ละตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
การลดสัดส่วนการถือหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้บริษัทจัดการลดสัดส่วนตามสัดส่วนของหุ้นของบริษัทที่แต่ละกองทุนรวมได้มาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการรับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ในการนับอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 3 มิให้นับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
(1) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(2) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(3) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,068 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 42/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 42/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์
ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
“(4) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามแนวทางการดําเนินการกับธนาคารนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารศรีนคร จํากัด (มหาชน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,069 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 56/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 56/2544
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์
ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 42/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2544
“(5) กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,070 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2546 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 26/2546
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง
หลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งเป็นประกาศที่มีวัตถุประสงค์มิให้กองทุนรวมถือหุ้นของบริษัทใดจนถึงจํานวนที่ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 21/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 42/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2544
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 56/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ประกาศ ที่ กน. 14/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
“ประกาศ ที่ กจ. 53/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อรวมกันทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการได้ไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทนั้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศ ที่ กน. 14/2544
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทใดเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศ ที่ กน. 14/2544 เป็นผลให้กองทุนรวมได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นเกินอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 3 ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 14/2544
(2) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน และ
(3) กรณีที่เป็นหุ้นของบริษัทที่เป็นกิจการ และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว เป็นผลให้กองทุนรวมได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ บริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อให้ได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อโดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ตามประกาศ ที่ กจ. 53/2545 ทั้งนี้ การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลดสัดส่วนตามสัดส่วนของหุ้นของบริษัท
ที่แต่ละกองทุนรวมได้มาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศ ที่ กน. 14/2544
ข้อ ๕ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 3 มิให้นับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
(1) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(2) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(4) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามแนวทางการดําเนินการกับธนาคารนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารศรีนคร จํากัด (มหาชน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544
(5) กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
(6) กองทุนรวมวายุภักษ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,071 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2539 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ได้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28/2539
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่ให้บริษัทหลักทรัพย์ ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 3)
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 (10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุน ในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง และจัดการ โดยบริษัทหลักทรัพย์
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง และจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
“กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้” หมายความว่า กองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่มี นโยบายลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนใน พันธบัตรหรือตั๋วเงินที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือตั๋วเงินที่ ออกโดยธนาคารพาณิชย์ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,072 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สก. 1 /2539
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้
ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 1 /2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ผู้จัดการกองทุนรวม" หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ มอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์นั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผล โดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและ จดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท ที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตาม ประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"บริษัท" หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
"ผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
"ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล" หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความ เห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามประกาศสํานักงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวม ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําหรือกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นใน บริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่การดารงตําแหน่งอื่นในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นพนักงานประจําของบริษัทหลักทรัพย์ ต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นสามารถ ทํางานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลา
(2) บรรลุนิติภาวะ
(3) ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพตามที่สมาคมกาหนด
(4) ไม่เป็นผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการหรือพนักงานประจําในบริษัทอื่น
(5) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
ข้อ ๓ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับ ยกเว้นจากสํานักงาน
(4) เคยถูกสั่งถอดถอนจากการเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินมาก่อน
(5) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการ กองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เหตุแห่งการเพิกถอนนั้นเนื่องมาจากการไม่เข้าอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบ วิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
(6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากสถาบันการเงินใดเนื่องจากการกระทํา ทุจริตในสถาบันการเงินนั้น
(7) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(8) มีประวัติการบริหารงานอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หลายครั้ง หรือที่เป็นความผิดร้ายแรง อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงาน
(9) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงาน หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ฟ้องร้อง หรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดี เนื่องจากการกล่าวโทษหรือร้องทุกข์ดังกล่าว ในความผิดที่บัญญัติไว้หรือความผิดที่อาจดําเนินการได้ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการ กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
(10) เป็นผู้ขาดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมอันแสดง ถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงานอย่างร้ายแรง
ข้อ ๔ ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนรวมต้องมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําหรือกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่น ในบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่การดํารงตําแหน่งอื่นในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นพนักงานประจําของบริษัทหลักทรัพย์ ต้องปรากฏว่าบุคคลนั้น สามารถทํางานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลา
(2) ไม่เป็นผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการหรือพนักงานประจําในบริษัทอื่น
ข้อ ๕ ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการ ประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปีตามที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่ ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะ เวลาที่จะต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีได้
บุคคลที่เคยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวม แต่ต่อมามิได้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมของบริษัทหลักทรัพย์ใดแล้ว บุคคลนั้นอาจเข้ารับการอบรมความรู้ และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพจากสมาคมตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง เพื่อรักษา สถานภาพการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมใด มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขคุณสมบัติภายใน ระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้
(1) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(2) ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมโดยขาดคุณสมบัติตามข้อ 4
(3) ไม่เข้ารับการอบรมความรู้และจรรยาบรรณตามข้อ 5
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนรวมต้อง
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพตามที่สมาคมกําหนด ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัด ระวังตามสมควรเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนรวมเป็นสําคัญ
(4) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อพิทักษ์ประโยชน์
ของประชาชน
ข้อ ๘ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคล ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมด้วย แล้วแต่กรณี แต่บุคคลนั้นจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมและผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในบริษัทหลักทรัพย์ นั้นเองหรือในบริษัทอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมฝาผืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ หรือ จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม สํานักงานมีอํานาจ ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ตักเตือน
(2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควร
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุนรวม อันเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ ให้ไว้แก่บุคคลใด สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาการขอความ เห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมรายนั้นของบริษัทหลักทรัพย์ในคราวต่อไป และเมื่อพ้นระยะเวลา
หรือบุคคลดังกล่าวได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว หากบริษัทหลักทรัพย์ยื่นหนังสือขอความเห็นชอบเพื่อ แต่งตั้งบุคคลนั้นเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอีก สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้ สํานักงานเคยไม่ให้ความเห็นชอบหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณา
ข้อ ๑๑ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 บริษัทหลักทรัพย์อาจขอความเห็นชอบบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) (4) และ (5) ไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 และมีคุณสมบัติตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้
ข้อ ๑๒ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 บริษัทหลักทรัพย์อาจแต่งตั้งบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมของบริษัทหลักทรัพย์อยู่ก่อนวันที่ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นการ ชั่วคราวได้ หากปรากฏว่าบุคคลนั้นมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) และ (4) (2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้จัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานพร้อมหนังสือรับรองของบริษัทหลักทรัพย์ว่า บุคคล ดังกล่าวมีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
บุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานตามวรรคสอง ต้องเข้ารับการอบรมความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณ ในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม ภายในหกเดือนนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
“ในกรณีที่สํานักงานปฏิเสธการขอขึ้นทะเบียนบุคคลตามวรรคสอง หรือบุคคลตามวรรคหนึ่ง ที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง หรือบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากสํานักงานตามวรรคสองแต่ไม่เข้ารับการอบรมความรู้และจรรยาบรรณที่จัดโดยสมาคมภายในระยะ เวลาตามวรรคสาม ให้บุคคลดังกล่าวหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมทันทีเมื่อได้รับแจ้งการ ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนจากสํานักงาน หรือเมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 บริษัทหลักทรัพย์อาจแต่งตั้งบุคคลที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามข้อกําหนด ในประกาศนี้ หรือบุคคลที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้ตามข้อกําหนดในข้อ 12 เป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้ หากปรากฏว่าบุคคลนั้นมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) และ (4)
(2) และ (4) (2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(3) ผ่านการอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
(4) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานแล้ว
ในการขอขึ้นทะเบียนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขอต่อสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) หนังสือรับรองของบริษัทหลักทรัพย์ว่า บุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(2) ประกาศนียบัตรหรือหลักฐานจากสมาคมซึ่งแสดงการผ่านการอบรมความรู้และ จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
ให้บุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้จัดการกองทุนรวมได้ นับตั้งแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2540
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,073 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 8 /2539
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ ให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานพร้อมหนังสือรับรองของบริษัทหลักทรัพย์ว่า บุคคล ดังกล่าวมีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2539"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,074 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10 /2539
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อ กําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลาหรือเป็น กรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่ง ในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนรวม
(2) บรรลุนิติภาวะ
(3) ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพตามที่สมาคมกําหนด
(4) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่น เว้นแต่ การเป็นผู้บริหารนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนรวม
(5) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 4 ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนรวมต้องมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลาหรือเป็น กรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่ เป็นตําแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตําแหน่งในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือ
(ข) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนรวม โดยได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
(2) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่น เว้นแต่ การเป็นผู้บริหารนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนรวมโดยได้รับ อนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 1/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,075 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 43/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ
ผู้จัดการกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 40 วรรคสอง และข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1 (3) แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่นหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทจัดการได้เต็มเวลาหรือเป็นกรรมการของบริษัทจัดการ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทจัดการนั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่งในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนรวม
(2) มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
(3) ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพจากสถาบันฝึกอบรมหรือตาม หลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(4) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่นหรือไม่เป็นผู้จัดการการลงทุนให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่การเป็นพนักงานประจํา ผู้บริหาร หรือผู้จัดการการลงทุนนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนรวม
(5) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หากผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าว
มาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าได้ผ่านการอบรมความรู้ดังกล่าว ที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งเป็นผู้จัดการ หรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการที่ผ่านการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดใน (5) มาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ให้ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตาม (3) และ (5) แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวให้ใช้สําหรับผู้ขอรับความเห็นชอบเพียงรายเดียวและต่อบริษัทจัดการแต่ละแห่ง และให้การยกเว้นสิ้นสุดลงเมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น
ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากสํานักงาน
(4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน
(11) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(12) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(13) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ
(14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(15) จงใจอําพรางการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรแจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวม
(16) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143
(17) มีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(18) มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจจัดการลงทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจนั้น
ข้อ ๕ ในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ 117-6 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่สํานักงานได้ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งบริษัทจัดการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมแล้ว ต่อมาหากปรากฏว่าข้อมูลที่ได้ระบุในแบบ 117-6 เปลี่ยนแปลงไป ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวตามแบบ 117-7 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน
(1) รายงานวันเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมของแต่ละกองทุนรวมภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนรวมนั้นเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตามแบบ 117-8 ท้ายประกาศนี้
(2) รายชื่อผู้จัดการกองทุนรวมของแต่ละกองทุนรวม ณ วันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนั้นตามแบบ 117-10 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดในข้อ 3(5) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีได้
ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมผู้ใด แม้จะมิได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการใดแล้ว หากประสงค์จะรักษาสถานภาพการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวม บุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมสิ้นสุดลง
ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมผู้ใดที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามวรรคสาม หากเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดในข้อ 3(5) และยื่นขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมต่อไป
ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมรายใดมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนรวมรายนั้นแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้
(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3(1) หรือ (4)
(2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4
ข้อ ๙ ในการจัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนรวมต้อง
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๐ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมด้วย ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมและผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในบริษัทจัดการเดียวกันได้ในกรณีที่บริษัทจัดการนั้นได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย แต่บุคคลนั้นจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมในบริษัทจัดการอื่นหรือเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่จะถือว่าได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ที่บริษัทจัดการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนรวมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําชับ
(2) ภาคทัณฑ์
(3) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควร
(4) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว
ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่ขอรับหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ในภายหลัง
ข้อ ๑๓ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่สํานักงานประกาศกําหนดตามข้อ 12 แล้ว อยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามข้อ 12 สูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของกองทุนรวม หรือจะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจจัดการลงทุน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าสํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 12 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 12 แล้ว สํานักงานจะไม่นําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ซึ่งเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนรวมในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งหลังอีก
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดมีผู้จัดการกองทุนรวมที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดการนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการกองทุนรวมรายนั้น
ข้อ ๑๖ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๑๗ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544บุคคลใดที่ผ่านการทดสอบความรู้หรือผ่านการอบรมความรู้ตามข้อ 3(5) มาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ อาจยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้ โดยสํานักงานจะไม่นําระยะเวลาตามข้อ 3(5) มาใช้บังคับในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,076 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สก. 4/2539 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สก. 4 /2539
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุน ในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 สํานักงานคณะกรรมการกากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนบิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
"กองทุนเปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
"กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้" หมายความว่า กองทุนปิดหรือกองทุนเปิดที่มีนโยบาย ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในตั๋วแลกเงิน ที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เป็นผู้ออกได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,077 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2553 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการและการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการอีทีเอฟต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 49 /2553
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการและการเข้าถือหลักทรัพย์
เพื่อครอบงํากิจการอีทีเอฟต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 มาตรา 89/14 มาตรา 89/29 มาตรา 89/31 มาตรา 246 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับ
(1) อีทีเอฟต่างประเทศที่จัดตั้งในรูปบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายต่างประเทศสําหรับการบริหารกิจการตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(2) การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการอีทีเอฟต่างประเทศตาม (1)
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศนั้นได้รับยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “อีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collectiveinvestment scheme) แบบ exchange-traded fund ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
(2) “หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่อยู่ในรูปหุ้น
(3) “ตลาดหลักทรัพย์หลัก” (home exchange) หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึงตลาดหลักทรัพย์ที่อีทีเอฟต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก
(4) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์หลักหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี กําหนดให้อยู่ในความหมายของคําว่า “ผู้บริหาร” ด้วย
(5) “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้นอยู่แล้ว และในกรณีที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งประเทศ ให้หมายถึง หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของตลาดหลักทรัพย์หลัก
(6) “บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องตาม (1) (2)และ (3) ของบทนิยามคําว่า “บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง” ตามมาตรา 89/1
ข้อ ๓ การทําธุรกรรมระหว่างอีทีเอฟต่างประเทศกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง หากเป็นธุรกรรมในประเภท หรือที่มีมูลค่าหรืออัตรา ที่กฎหมายของประเทศอันเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลักมิได้กําหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศแล้ว ให้ถือว่าเป็นธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 89/12
ข้อ ๔ การดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ของอีทีเอฟต่างประเทศ ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศอันเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก
(1) การรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับอีทีเอฟต่างประเทศตามมาตรา 89/14
(2) การทําธุรกรรมที่มีนัยสําคัญต่ออีทีเอฟต่างประเทศตามมาตรา 89/29
(3) การกระทําการใด ๆ ที่เป็นการชักชวนให้ผู้ถือหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมอบฉันทะในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 89/31
ข้อ ๕ บุคคลใดที่มีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ให้การคํานวณสิทธิออกเสียงและการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศดังกล่าวตามมาตรา 246 เป็นไปตามกฎหมายของประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก
ข้อ ๖ มิให้นําประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการมาใช้บังคับกับการได้มาหรือถือหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศในลักษณะที่เป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารกิจการและการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการของอีทีเอฟต่างประเทศให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,078 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2554 เรื่อง การขายอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 9 /2554
เรื่อง การขายอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟ
โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2552 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“อีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟ หรืออีทีเอฟต่างประเทศ
“กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“อีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) แบบ exchange-traded fund ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ในรูปบริษัทหรือทรัสต์
“การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง
“หน่วยอีทีเอฟ” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ หรือหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
“หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นของบริษัท (investment company) หรือใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่ออกภายใต้อีทีเอฟต่างประเทศ
“หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟ” หมายความว่า หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณีซึ่งอยู่ในรายชื่อทรัพย์สินที่ผู้ลงทุนสามารถนําไปแลกกับหน่วยอีทีเอฟได้ตามข้อกําหนดของอีทีเอฟนั้น ๆ
“ธุรกรรมแลกหน่วยอีทีเอฟ” หมายความว่า การทําธุรกรรมดังต่อไปนี้ กับบริษัทจัดการหรือผู้ออกหน่วยอีทีเอฟ แล้วแต่กรณี
(1) การซื้อหน่วยอีทีเอฟ โดยชําระค่าซื้อเป็นทรัพย์สินตามข้อกําหนดของอีทีเอฟนั้น ๆ หรือ
(2) การขายคืนหน่วยอีทีเอฟ โดยรับชําระค่าขายคืนเป็นทรัพย์สินตามข้อกําหนดของอีทีเอฟนั้น ๆ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งสามารถให้บริการเป็นตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์ (regulated exchange)
“ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยอีทีเอฟในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอีทีเอฟได้อย่างใกล้เคียงกัน
“ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลตามที่เอกสารจัดตั้งอีทีเอฟระบุให้สามารถซื้อหรือขายหน่วยอีทีเอฟกับบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือกับผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ได้
“สํานักหักบัญชี” หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขายชอร์ตหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1) หน่วยอีทีเอฟ
(2) หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟ
ข้อ ๔ การขายชอร์ตหน่วยอีทีเอฟหรือหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ และตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์อาจขายชอร์ตหน่วยอีทีเอฟหรือหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟ เพื่อบัญชีตนเองหรือลูกค้าได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การขายชอร์ตที่ต้องยืมเพื่อมาส่งมอบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ที่ต้องยืมหลักทรัพย์เพื่อมาส่งมอบ
(2) การขายชอร์ตที่ต้องทําธุรกรรมแลกหน่วยอีทีเอฟเพื่อมาส่งมอบ
(3) การขายชอร์ตหน่วยอีทีเอฟที่ต้องซื้อจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อมาส่งมอบ
การขายชอร์ตตามวรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หรือลูกค้า แล้วแต่กรณี เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อกําหนดของอีทีเอฟนั้น ๆ โดยให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8
ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตปฏิบัติหรือดําเนินการให้ลูกค้าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เพื่อให้สามารถส่งมอบหน่วยอีทีเอฟหรือหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟตามรายการที่ขายชอร์ตได้ภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีกําหนด หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ตกลงกัน
(1) ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตเพื่อบัญชีตนเอง
(ก) มีทรัพย์สินที่สามารถนําไปแลกหน่วยอีทีเอฟได้หรือมีหน่วยอีทีเอฟที่สามารถนําไปแลกเป็นหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟได้ แล้วแต่กรณี ตามข้อกําหนดของอีทีเอฟนั้น ๆ อยู่ในความครอบครองในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตที่ต้องทําธุรกรรมแลกหน่วยอีทีเอฟเพื่อมาส่งมอบ
(ข) มีคําสั่งซื้อหน่วยอีทีเอฟในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศไว้แล้วในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตหน่วยอีทีเอฟที่ต้องซื้อจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อมาส่งมอบ
(2) ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตเพื่อบัญชีลูกค้า
(ก) ให้ลูกค้าแสดงว่ามีทรัพย์สินที่สามารถนําไปแลกกับหน่วยอีทีเอฟได้หรือมีหน่วยอีทีเอฟที่สามารถนําไปแลกเป็นหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟได้ แล้วแต่กรณี ตามข้อกําหนดของอีทีเอฟนั้น ๆ อยู่ในความครอบครองในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตที่ต้องทําธุรกรรมแลกหน่วยอีทีเอฟเพื่อมาส่งมอบ
(ข) ให้ลูกค้าแสดงว่าได้มีคําสั่งซื้อหน่วยของอีทีเอฟในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศไว้แล้วในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตหน่วยอีทีเอฟที่ต้องซื้อจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อมาส่งมอบ
ข้อ ๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หรือลูกค้าไม่ได้รับหน่วยอีทีเอฟหรือหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟจากการทําธุรกรรมหรือการมีคําสั่งซื้อดังกล่าว เพื่อให้สามารถส่งมอบตามรายการที่ขายชอร์ตได้ภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีกําหนด หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ตกลงกัน
ข้อ ๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาข้อมูลและจัดทํารายงานเกี่ยวกับการขายชอร์ตตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2550 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ทและตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2550 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ขายชอร์ตหน่วยอีทีเอฟหรือหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟได้ โดยกําหนดวิธีการในการที่บริษัทหลักทรัพย์จะได้หน่วยอีทีเอฟหรือหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของอีทีเอฟเพื่อมาส่งมอบไว้ สามกรณี คือ การยืมมาส่งมอบ การทําธุรกรรมแลกหน่วยอีทีเอฟเพื่อมาส่งมอบ และการซื้อหน่วยอีทีเอฟจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อมาส่งมอบ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,079 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการกองทุนรวม | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 27/2554
เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
กับบริษัทจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการ
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
ข้อ ๓ ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม
(2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อความที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้
(3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ
(4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน
(5) ข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี)
(6) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น
(7) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
(8) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน
(9) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์
(10) การเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์
(11) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน
(12) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ
(13) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการและผู้ถือหน่วยลงทุน
(14) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม
(15) รายการอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๔ รายการอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันแล้ว
ข้อ ๕ รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการไม่ครบ
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อ
หรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในข้อผูกพันซึ่งลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการโดยชอบ
(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย
ข้อ ๖ รายการจ่ายเงินปันผลและข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในส่วนที่ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะจัดทําบัญชีและแยกเงินที่ไม่อาจจ่ายเป็นเงินปันผลออกจากบัญชีและทรัพย์สิ
ข้อ ๗ รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการชําระหนี้
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนดเท่านั้น
ข้อ ๘ รายการการออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการและบุคคลอื่นได้ โดยให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนด้วย
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจําเป็นต้องใช้ใบหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องจัดทําใบหน่วยลงทุนมอบให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๙ รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนหน่วยลงทุนถูกต้อง และการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว
(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการสามารถปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๑๐ รายการการแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่หากมีการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการ งดเว้นกระทําการหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจใช้สิทธิตามมาตรา 132 ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้
(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่กระทําการอันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ดูแลผลประโยชน์เองหรือประโยชน์ของผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือเป็นการดําเนินการในลักษณะที่เป็นธรรมและได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวมิได้แสดงการคัดค้าน
(4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการอันเป็นการขัดแย้งกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่เข้าข้อยกเว้นให้กระทําได้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญและไม่สามารถแก้ไขให้หมดไป ให้บริษัทจัดการมีอํานาจบอกเลิกสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ได้
(5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้
ข้อ ๑๑ รายการการเปลี่ยนบริษัทจัดการ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทจัดการ ไม่ว่าโดยคําสั่งของสํานักงานหรือโดยเหตุอื่นใดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บริษัทจัดการต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการรายใหม่เข้าทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่บริษัทจัดการรายใหม่
ข้อ ๑๒ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตาวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า เรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญตาม (2) ให้รวมถึง
(ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
(4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน
(ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือ
(ข) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
(5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) รวมทั้งให้มีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและเว็บไซต์ของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในรอบปีบัญชีพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม
ข้อ ๑๓ รายการหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติ ซึ่งกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) วิธีการขอมติ เช่น การขอมติจะกระทําโดยการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน หรือโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น
(ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการขอมติ
(ค) องค์ประชุม (ถ้ามี) ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
(ง) ข้อจํากัดสิทธิในการออกเสียงลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในเรื่องที่จะลงมติ เป็นต้น
(จ) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติและวิธีการนับมติ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดเพื่อรองรับกรณีดังต่อไปนี้
1. กรณีการขอมติโดยการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน
2. กรณีการขอมติโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
3. กรณีการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด (ถ้ามี)
ข้อกําหนดตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการขอมติและการออกเสียงลงคะแนนในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การดําเนินการใดที่โครงการจัดการกองทุนรวมหรือกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับมาโดยชอบแล้ว ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงเห็นชอบให้ดําเนินการดังกล่าวและมีผลผูกพันตามมติ
(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 3,080 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย (ฉบับที่ 2 ) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 7 /2554
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) “หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้การทําหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย ครอบคลุมถึงหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่เสนอขายในประเทศไทยด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 3,081 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 252) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 252)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1)แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่าย ให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง และวรรคสาม ของ (ก) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2543
“การนับระยะเวลาการทํางานตามวรรคหนึ่ง กรณีผู้มีเงินได้ได้เคยออกจากงานมาแล้ว ซึ่งมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานจากนายจ้างคนหนึ่งและเข้าทํางานกับนายจ้างอีกคนหนึ่งไม่เกินหนึ่งปี โดยได้โอนเงินและผลประโยชน์จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของนายจ้างเดิมไปยังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ หรือเข้าทํางานกับนายจ้างเดิมซึ่งมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานและเข้าทํางานใหม่ไม่เกินหนึ่งปี และเมื่อออกจากงานนั้น ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ให้นับระยะเวลาการทํางานในระหว่างที่ทํางานกับนายจ้างแต่ละคนเป็นระยะเวลาทํางานตามวรรคหนึ่งด้วย
การนับระยะเวลาการทํางานตามวรรคสอง กรณีผู้มีเงินได้เคยใช้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเงินได้ที่ได้รับเมื่อออกจากงานจากนายจ้างคนใดแล้ว หรือผู้มีเงินได้เมื่อออกจากงานจากนายจ้างคนใดแล้วมีช่วงระยะเวลาที่ออกจากงานจากนายจ้างนั้นและเข้าทํางานใหม่เกินหนึ่งปี ให้นับระยะเวลาการทํางานเฉพาะที่ได้ทํากับนายจ้างหลังจากนั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,082 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 251) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 251)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 580) พ.ศ. 2557 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ในประกาศนี้
“ค่าห้องสัมมนา” หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการห้องสัมมนาเรียกเก็บเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มจากการใช้ห้องสัมมนาตามปกติทางการค้า
“รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา” หมายความถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการ ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียง และค่าจัดทําสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีการอบรมสัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถลูกจ้างของตน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจัดทําโครงการการอบรมสัมมนาโดยมีหลักฐานเอกสารประกอบโครงการ เพื่อประโยชน์ในการแสดง ต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว
ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนานั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียน
ข้อ ๕ ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักภายในประเทศ ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ใน สถานประกอบการเดียวกันก็ได้ แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 ต้องไม่ใช้สิทธิ ยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,083 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 250) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ นำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 250)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ นําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 305 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้น ภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงแรม สําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์
ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสําหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยา ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันโดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตน เป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้จ่ายค่าบริการตามข้อ 2 เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวของผู้มีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม โดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จํานวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
ข้อ ๕ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,084 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 249) เรื่อง กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 249)
เรื่อง กําหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
--------------------------------------------------------
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา จํานวนรวมของยอดรายได้และยอดรายจ่ายที่ได้มีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างปีภาษี และยอดเงินคงเหลือยกไป โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ การจัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ 1 ให้ทําเป็นภาษาไทย ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกํากับ
ข้อ ๓ การจัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ 1 ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ของทุกปีภาษี
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ซึ่งจะต้องยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,085 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 248) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 248)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนําไปใช้ในการป้องกันอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 570) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนําไปใช้ในการป้องกันอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยอันมีลักษณะถาวร ทั้งนี้ สําหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนําไปใช้ในการป้องกันอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องเป็นเงินที่จ่ายตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งกําหนดให้ส่วนราชการจ่ายให้แก่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อนําไปใช้ในการดําเนินการเพื่อป้องกันอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ต้องนําเงินที่ได้รับจากรัฐบาลไปใช้ในการดําเนินการเพื่อการป้องกันอุทกภัยวาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดทรัพย์สินอันมีลักษณะถาวร โดยทรัพย์สินดังกล่าวต้องมีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งปีหรือหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,086 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 247) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 247)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (78) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 303 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องจดทะเบียนและได้รับใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจาก กรมส่งเสริมการเกษตรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และต้องจัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวันเป็นภาษาไทย ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีรายได้ หรือรายจ่าย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) เรื่อง กําหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทําบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ทั้งนี้ ให้เก็บรักษาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจําวัน และใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ณ ที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ทันที
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,087 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 246) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง ค่าประกันภัย ค่าระวาง หรือค่าขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 246)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง ค่าประกันภัย ค่าระวาง หรือค่าขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 569) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง ค่าประกันภัย ค่าระวาง หรือค่าขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 569) พ.ศ. 2556 ต้องแสดงหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้เข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศจริง
กรณีหน่วยงานของรัฐมีการสนับสนุนช่วยเหลือในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หน่วยงานของรัฐดังกล่าว ต้องออกหนังสือรับรองการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยต้องระบุรายละเอียดของการสนับสนุนช่วยเหลือไว้ในหนังสือรับรองด้วย
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง ค่าประกันภัย ค่าระวาง หรือค่าขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง ค่าประกันภัย ค่าระวาง หรือค่าขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศนั้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,088 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 245) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 245)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 566) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“รายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 566) พ.ศ. 2556
“รายได้จากกิจการอื่น” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 566) พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการทั้งที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมทั้งบัญชีงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดพร้อมกับชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจทั้งที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,089 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 244) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่บริจาคเพื่อนำไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 244)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่บริจาคเพื่อนําไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา
-------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 559) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่บริจาคเพื่อนําไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขันการจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาหรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้รับบริจาค” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาจังหวัดหรือสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ที่บริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคเพื่อนําไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬาจะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่บริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคเพื่อนําไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้ามาเพื่อการบริจาคดังกล่าวต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีทรัพย์สินที่จะนํามาบริจาคดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายสินค้า ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคดังกล่าว ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากผู้รับบริจาค พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีบริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินของผู้รับบริจาค หรือหลักฐานอื่นที่เป็นหนังสือที่ออกโดยผู้รับบริจาค ซึ่งสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้รับบริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากผู้รับบริจาคว่าได้รับบริจาคจริง
(2) กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ได้แก่ หลักฐานที่เป็นหนังสือที่พิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่ผู้รับบริจาคซึ่งได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,090 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 243) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 243)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๒ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
(1) ภ.ง.ด.90 สําหรับผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภท หรือผู้มีเงินได้ประเภทเดียวแต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร
(2) ภ.ง.ด.91 สําหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพียงประเภทเดียว ให้ยื่นรายการได้ดังนี้
(ก) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร
(ข) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางแอพพลิเคชั่น (Application) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ของกรมสรรพากรที่ใช้สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ (Mobile Device) ทั้งนี้ เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มิได้เลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร หรือมิได้หักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (ฏ) แห่งประมวลรัษฎากร
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 4 และให้ถือเป็นคําร้องขอคืนสําหรับผู้มีสิทธิขอคืนที่ได้แสดงความประสงค์ขอคืนภาษีอากร
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ที่มีความประสงค์จะยื่นรายการตามข้อ 2 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือทางแอพพลิเคชั่น (Application) ของกรมสรรพากร แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง
ข้อ ๔ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป
ข้อ ๕ ผู้มีเงินได้ต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระเงินภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านผู้ให้บริการรับชําระภาษีที่มีข้อตกลงกับกรมสรรพากร
การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกัน เว้นแต่กรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร หากภาษีที่ต้องเสียมีจํานวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีเงินได้จะชําระเป็นสามงวด งวดละเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้
ข้อ ๖ ให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๗ การเสียภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 6 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้วการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,091 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 242 )เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 242)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจํานวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจําตัวคนพิการตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภ
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2552 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจํานวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจํานวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจําตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ ตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,092 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 241) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 241)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556 ต้องไม่นําเงินบริจาคนั้นไปหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องไม่นําไปหักเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องไม่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับเงินหรือทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
ข้อ ๔ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สิน การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้ามาเพื่อการบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีทรัพย์สินที่จะนํามาบริจาคดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายสินค้า ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๕ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากสถานศึกษาพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีบริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาผู้รับบริจาค หรือหลักฐานอื่นที่เป็นหนังสือที่ออกโดยสถานศึกษาผู้รับบริจาค ซึ่งสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้รับบริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากสถานศึกษาว่าได้รับบริจาคจริง
(2) กรณีบริจาคเป็นสินค้า ได้แก่ หลักฐานที่เป็นหนังสือที่พิสูจน์ได้ว่า ได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่สถานศึกษา ซึ่งได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นเป็นไปตามข้อ 4
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,093 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 240) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 240)
เรื่อง กําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามข้อ 17/2 ของข้อ 2 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 296 (พ.ศ. 2555)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ต้องออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จํานวนสามฉบับมีข้อความตรงกันนั้น อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความแต่ละฉบับ ดังนี้
(1) ฉบับที่ 1 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย / สําเนาใบเสร็จรับเงิน มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ขาย) ใช้แสดงพร้อมแบบแสดงรายการนําเข้า ส่งออกอัญมณีที่ยังมิได้เจียระไนต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ขณะเดินทางออกนอกประเทศไทย”
(2) ฉบับที่ 2 สําเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย / สําเนาใบเสร็จรับเงิน มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ขาย) เก็บไว้เป็นหลักฐาน”
(3) ฉบับที่ 3 สําเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย / ใบเสร็จรับเงิน มีข้อความว่า “สําหรับผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ซื้อ) เก็บไว้เป็นหลักฐาน”
ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทําสําเนาคู่ฉบับไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แต่ชํารุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และมีข้อความว่า “ใบแทน” หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลําดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลําดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่มจะไม่มีหมายเลขลําดับของเล่มก็ได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ข้อ ๑ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ต้องทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค
ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวในข้อ 1 และข้อ 2 ต้องยื่นคําขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้ปฏิบัติตามนั้นได้
ข้อ ๓ การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้ถือเป็นการออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,094 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 239) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 239)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุ
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 557) พ.ศ.2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้จากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชร หรือไข่มุก หรือที่ทําขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชร หรือไข่มุก หรือที่ทําขึ้นใหม่ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(2) ต้องเป็นเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกันเฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชร หรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่
(3) ต้องเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้แล้วในอัตราร้อยละ 1.0 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้ได้รับยกเว้นภาษีต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และใบเสร็จรับเงินต่อเจ้าพนักงานประเมิน เพื่อแสดงว่าได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนําส่งไว้แล้ว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,095 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สก. 7/2539 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อหาลูกค้าในต่างประเทศหรือส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ 7 /2539
เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อหาลูกค้า
ในต่างประเทศหรือส่งคาสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
"บริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศ" หมายความว่า บริษัทซึ่งจัดตั้งและประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ
"ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต." หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อหาลูกค้า ในต่างประเทศหรือส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
"ประกาศตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ประกาศตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการตั้ง ตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อหาลูกค้าในต่างประเทศหรือส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ . จากต่างประเทศ
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ "ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะตั้งบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นตัวแทนหรือ นายหน้าเพื่อหาลูกค้าในต่างประเทศหรือส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศ ให้ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กาหนดตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการขอรับ อนุญาตจากสํานักงาน
ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ว่าด้วย
การตั้งตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อลูกค้าในต่างประเทศหรือส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากประเทศไว้ด้วย ซึ่งเป็นประกาศที่สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หากตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณา เห็นก.ล.ต. กับประกาศตลาดหลักทรัพย์แล้ว และตลาดหลักทรัพย์พิจารณาอนุญาต ให้ถือว่าสํานักงานพิจารณาอนุญาตด้วยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้ยื่นขออนุญาตต่อสํานักงานและตลาดหลักทรัพย์นั้นได้ปฏิบัติถูกต้องและเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ
นอกจากกรณีที่สํานักงานมีคาสั่งเพิกถอนหรือยกเลิกการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้ง ตัวแทนหรือนายหน้าตามวรรคหนึ่่งโดยตรง หากปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ เพิกถอนหรือยกเลิกการอนุญาตดังกล่าว ให้ถือว่าวํานักงานเพิกถอนหรือยกเลิกการอนุญาตด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,096 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 483) พ.ศ. 2552 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หมายความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดและให้รวมถึงหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสํารองครบร้อยละร้อย และตัดออกจากบัญชีแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชีและได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าบัญชีลูกหนี้จะได้รับการจัดชั้นดังกล่าวก่อนปี พ.ศ. 2552 หรือภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,097 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำทะเบียนการรับฝากและเก็บรักษาทรัพย์สิน รายงานฐานะทรัพย์สินของลูกค้า และรายงานการดำเนินงานของผู้รับฝากทรัพย์สิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11 /2539
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําทะเบียนการรับฝาก และเก็บรักษาทรัพย์สิน รายงานฐานะทรัพย์สินของลูกค้า
และรายงานการดําเนินงานของผู้รับฝากทรัพย์สิน
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 10,2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการรับฝากทรัพย์สิน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําทะเบียนการรับฝากและเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในแต่ละกองทุน โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี
(ก) ชื่อ ประเภท และจํานวนทรัพย์สินที่รับฝากและที่เบิกจ่าย
(ข) เงินปันผล ดอกเบี้ย ส่วนลดรับ กําไรขาดทุนจากการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน และผลประโยชน์อื่นใดที่ลูกค้าได้รับจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของ บริษัทจัดการ
(ค) สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน
(2) จัดทํารายงานฐานะทรัพย์สินของลูกค้าในแต่ละกองทุนเป็นรายเดือน และส่งให้ บริษัทจัดการภายในสองวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยแสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ประเภท และจํานวนทรัพย์สินที่รับฝากและที่เบิกจ่าย
(ข) ยอดทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน
(3) จัดทําและส่งรายงานการดําเนินงานของผู้รับฝากทรัพย์สินให้สํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๓ ในการรับฝากทรัพย์สิน ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องกระทําด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัดระวังตามสมควรเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,098 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและส่งรายงานให้แก่สำนักงาน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 12 /2539
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงานให้แก่สํานักงาน
และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้า
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 และข้อ 20 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
. "บริษัทนายหน้า" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตาม แบบที่สํานักงานกําหนดให้แก่สํานักงานเป็นรายเดือน โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) จํานวนกองทุนส่วนบุคคลทั้งหมดที่บริษัทจัดการรับจัดการ
(2) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคลทั้งหมดที่บริษัทจัดการรับจัดการโดย แยกตามประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น
(3) มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ และค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนอื่น ในการซื้อขายหลักทรัพย์
(4) ชื่อบริษัทนายหน้าซึ่งกระทําการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ให้แก่บริษัทจัดการ
ข้อ ๓ เมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ส่วนบุคคลในเรื่องดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ
(1) ฐานะการลงทุน ผลการดําเนินงาน และการซื้อขายหลักทรัพย์ทุกรายการ โดยจัดทําเป็นรายงานให้แก่ลูกค้าเป็นรายเดือน ทั้งนี้ รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน ส่วนบุคคลต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละรายการ
(ข) ชื่อบริษัทนายหน้าซึ่งกระทําการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ ให้แก่บริษัทจัดการนั้น
(ค) ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทนายหน้าตาม (ข) แต่ละราย เรียกเก็บ
(2) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้า ในกรณีที่ลูกค้าร้องขอ ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงมากกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ บริษัทจัดการ ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบในครั้งสุดท้าย ให้บริษัทจัดการแจ้งการลดลงของมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิดังกล่าวให้ลูกค้าทราบภายในวันทําการถัดไป
(3) ข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าขอทราบ เพิ่มเติม โดยบริษัทจัดการต้องจัดส่งรายงานข้อมูลดังกล่าวให้ลูกค้าทราบภายในสองวันทําการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการร้องขอจากลูกค้านั้น หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาได้ตกลง กันไว้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดทํารายงานดังกล่าวด้วยก็ได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,099 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 13 2539
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออก ข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการ ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จาก หลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและ จดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้ และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"ผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
"บริษัท" หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
"ผู้จัดการกองทุนรวม" หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับ ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
. (1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทจัดการได้เต็มเวลาหรือเป็น กรรมการของบริษัทจัดการ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทจัดการนั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่งใน สายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) บรรลุนิติภาวะ
(3) ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพตามที่สมาคมกําหนด
(4) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่น เว้นแต่ การเป็นผู้บริหารนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(5) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
ข้อ ๓ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องไม่มีลักษณะ ต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ที่กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับ ยกเว้นจากสํานักงาน
(4) เคยถูกสั่งถอดถอนจากการเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินมาก่อน
(5) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือผู้จัดการ กองทุนรวม เว้นแต่เหตุแห่งการเพิกถอนนั้นเนื่องมาจากการไม่เข้าอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ ที่จัดโดยสมาค
(6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากสถาบันการเงินใดเนื่องจากการกระทํา ทุจริตในสถาบันการเงินนั้น
(7) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(8) มีประวัติการบริหารงานอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หลายครั้ง หรือที่เป็นความผิดร้ายแรง อันแสดงถึงการขาคความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงาน
(9) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงาน หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ฟ้องร้อง หรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดี เนื่องจากการกล่าวโทษหรือร้องทุกข์ดังกล่าว ในความผิดที่บัญญัติไว้หรือความผิดที่อาจดําเนินการได้ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการ กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
(10) เป็นผู้ขาดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมอัน แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงานอย่างร้ายแรง
ข้อ ๔ ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทจัดการได้เต็มเวลาหรือเป็น กรรมการของบริษัทจัดการ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทจัดการนั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตําแหน่งในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือ
(ข) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล โดยได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
(2) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่น เว้นแต่ การเป็นผู้บริหารนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๕ ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลเข้ารับการอบรม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปีตามที่ สํานักงานกําหนด เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่จะต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีได้
บุคคลที่เคยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ต่อมามิได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการใดแล้ว บุคคลนั้นอาจเข้ารับ การอบรมความรู้และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพจากสมาคมตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน วรรคหนึ่ง เพื่อรักษาสถานภาพการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคลใดมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข คุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้
(1) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(2) ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยขาดคุณสมบัติตามข้อ 4
(3) ไม่เข้ารับการอบรมความรู้และจรรยาบรรณตามข้อ 5
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้อง (1) ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพตามที่สมาคม(3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัดระวัง กําหนด ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามสมควรเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
ข้อ ๘ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการ กองทุนรวมได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย แล้วแต่กรณี แต่บุคคลนั้นจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและผู้จัดการกองทุนรวม ในบริษัทจัดการนั้นเองหรือในบริษัทอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และจรรยาบรรณ ในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล สํานักงานมีอํานาจ
(1) ตักเตือน
(2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควร
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคลอันเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ที่ได้ให้ไว้แก่บุคคลใด สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาการขอ ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายนั้นของบริษัทจัดการ ในคราวต่อไป และเมื่อพ้น ระยะเวลาหรือบุคคลดังกล่าวได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว หากบริษัทจัดการยื่นหนังสือขอความเห็นชอบ เพื่อแต่งตั้งบุคคลนั้นเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอีก สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุ ให้สํานักงานเคยไม่ให้ความเห็นชอบหรือเพิกถอนความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณา
ข้อ ๑๑ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 บริษัทจัดการอาจขอความเห็นชอบบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) (4) และ (5) ไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 และมีคุณสมบัติตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจาก สํานักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้
ข้อ ๑๒ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นการชั่วคราวได้
(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) และ (4)
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(3) ผ่านการอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
(4) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานแล้ว
ในการขอขึ้นทะเบียนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อ สํานักงานพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) หนังสือรับรองของบริษัทจัดการว่า ผู้ที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลมีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) และ (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(2) ประกาศนียบัตรหรือหลักฐานจากสมาคมซึ่งแสดงว่าได้ผ่านการอบรมความรู้และ จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,100 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 17/2539 เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับแบบของร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 17 2539
เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับแบบของร่างหนังสือชี้ชวน
และเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง ร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหุ้นก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง ร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ก่อนวันที่แบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง ร่างหนังสือชี้ชวนของหุ้นกู้แปลงสภาพร่างหนังสือชี้ชวนของหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ เอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขาย หุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ แปลงสภาพและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง ร่างหนังสือชี้ชวนของใบสําคัญแสดงสิทธิ ร่างหนังสือชี้ชวนของหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับ ใบสําคัญแสดงสิทธิ และเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ เอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิก่อนวันที่ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารกาเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภท หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิ และหุ้นหรือหุ้นกู้ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และ ร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2536
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14,2538 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมร่างหนังสือชี้ชวนของใบสําคัญแสดงสิทธิ ร่างหนังสือชี้ชวน ของหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ และเอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการ เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ เอกสารการเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2539 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,101 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 20/2539 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 20 /2539
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการ โดยบริษัทจัดการเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"บริษัทจดทะเบียน" หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งทําสัญญายินยอมให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ กองทุนรวมได้
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมทุกกองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการกองทุนรวม เดียวกัน บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ และนายทะเบียน หน่วยลงทุน
(2) ชื่อ ประเภท และอาย (ถ้ามี) ของโครงการจัดการกองทุนรวม
(3) จํานวนหน่วยลงทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการ กองทุนรวมเดียวกัน และจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม
(4) วัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวม
(5) เงื่อนไขการเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์และสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวม
(6) วิธีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในกรณีทั่วไป และวิธีการและระยะเวลาในการ รับซื้อคืนหน่วยลงทุนในกรณีมีผู้ทําคําเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
(7) การออกและการส่งมอบหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุน
(8) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียนหน่วยลงทุน และตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(9) ประเภท อัตรา และวิธีการเรียกค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย หรือเงินตอบแทนอื่นใด จากผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน
(10) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวม
(11) กําหนดเวลาและวิธีการเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับหรือใช้สิทธิประโยชน์ทางการเงิน หรือสิทธิประโยชน์อื่นใด
(12) การดําเนินการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่บริษัท จดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง
(13) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีจัดการ .
(14) วิธีการเลิกและชําระบัญชีกองทุนรวม และวิธีการเฉลี่ยคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือ หน่วยลงทุน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,102 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2539 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2539
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่
ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกาหนดไว้ดังต่อไปนี
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทจัดการเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"บริษัทจดทะเบียน" หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งทําสัญญายินยอมให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนเพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุนรวมได้
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ ซึ่งบริษัทจัดการที่จัดตั้งและจัดการ โครงการจัดการกองทุนรวมจัดทําขึ้น ให้มีสองส่วนเรียงตามลําดับ คือ ส่วนสรุปสาระสําคัญ และส่วน ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการจัดการกองทุนรวมและกองทุนรวม
ข้อ ๓ ส่วนสรุปสาระสําคัญอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) คาว่า "หนังสือชี้ชวน"
(2) ชื่อ ประเภท และอายุ (ถ้ามี) ของโครงการจัดการกองทุนรวม
(3) วัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวม
(4) ชื่อบริษัทจัดการที่จัดตั้งและจัดการโครงการจัดการกองทุนรวม
(5) จํานวนหน่วยลงทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมภายใต้โครงการ จัดการกองทุนรวมเดียวกัน และจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุน
(6) วิธีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในกรณีทั่วไป และวิธีการและระยะเวลา ในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในกรณีมีผู้ทําคําเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
(7) ประเภท อัตราและวิธีการเรียกค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย หรือเงินตอบแทนอื่นใด จากผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน
(8) กําหนดเวลาและวิธีการเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับหรือใช้สิทธิประโยชน์ทาง การเงินหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด
(9) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์
(10) ข้อความดังต่อไปนี้
“การที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติให้ จัดตั้งและจัดการโครงการจัดการกองทุนรวม\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_เมื่อวันที่\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้รับประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย”
(11) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้รายการตาม (1) ถึง (4) อยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษ และข้อความตาม (10) และ (11) ให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวนซึ่งอ่านได้ชัดเจนโดยให้อยู่ ในกรอบสี่เหลี่ยม ทั้งนี้ ข้อความตาม (10) และ (11) ต้องพิมพ์ไว้ที่ปกหน้าด้านในของหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๔ ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับโครงการจัดการกองทุนรวมและกองทุนรวมต้องมีรายการ และรายละเอียดตามที่บริษัทจัดการได้แสดงไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับ อนุมัติจากสํานักงาน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพันหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,103 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 23/2539 เรื่อง การกำหนดแบบรายงานการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สค. 23/2539
เรื่อง การกําหนดแบบรายงานการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 18/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการจัดทําารายงานการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้นายทะเบียน หลักทรัพย์จัดทํารายงานดังกล่าวตามแบบ 223-1 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,104 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 24/2539 เรื่อง การกำหนดประเภทสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะที่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 24/2539
เรื่อง การกําหนดประเภทสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น โดยเฉพาะที่สามารถ
ยื่นขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและ การออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 สํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะประเภทดังต่อไปนี้สามารถ ยื่นขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้
(1) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารออมสิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,105 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 25/2539 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง การตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนสนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 25 /2539
เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง
การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนสนับสนุน
การจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง การตั้งตัวแทน จําหน่ายหลักทรัพย์หรือสนับสนุนการจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,106 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 30 2539
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณา
เพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
"ข้อความ" หมายความว่า ตัวอักษร ตัวเลข ผัง ภาพ แผนแบบ เสียง หรือสิ่งอื่นใด ที่ทําให้บุคคลทั่วไปเข้าใจความหมายได้
"การโฆษณา" หมายความว่า การกระทําให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ โดยทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา จดหมาย ประกาศ หรือโดยทางอื่นใด
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต และจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อดําเนินการใด ๆ ตาม ประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ การโฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด บริษัทหลักทรัพย์ จะกระทําหรือยินยอมให้กระทําได้ต่อเมื่อคําขอจัดตั้งกองทุนรวมนั้นได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว และได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
ข้อ ๓ ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ต้องไม่ ขัดหรือแย้งกับรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน และต้องไม่มี ข้อความที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
(2) ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
(3) ข้อความที่มีลักษณะที่เป็นการเร่งรัดให้ซื้อหน่วยลงทุน
(4) ข้อความที่เป็นการเปรียบเทียบหรือแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ผลตอบแทนจากการลงทุนในหน่วยลงทุนที่โฆษณานั้นกับการลงทุนโดยวิธีอื่น เว้นแต่จะได้ระบุ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละ ประเภทอย่างชัดเจน
(5) ข้อความที่แสดงถึงผลตอบแทนที่คาดหวังว่าจะได้รับ
(6) ข้อความที่รับรองว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนจะมีกําไรหรือจะไม่มีผลขาดทุน เว้นแต่จะจัดให้มีการค้ําประกัน การให้หลักประกัน หรือการประกันด้วยวิธีอื่นใดซึ่งบังคับกันได้ ตามกฎหมาย ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
ข้อ ๔ การโฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต้องมีข้อความอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(1) ข้อความที่ระบุชื่อ อายุ และประเภทของโครงการจัดการกองทุนรวม
(2) ข้อความที่ระบุถึงสถานที่และวันเวลาที่จะขอรับหนังสือชี้ชวนได้
ข้อ ๕ การโฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโดยทางหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์อื่น หรือสิ่งอื่นในทํานองเดียวกัน นอกจากต้องมีข้อความตามที่กําหนดในข้อ 4 แล้ว ต้องมี ข้อความที่เป็นคําเตือนว่า "การลงทุนในหน่วยลงทุนย่อมมีความเสี่ยงควบคู่ไปกับผลตอบแทน ก่อนตัดสินใจลงทุนควรศึกษาหนังสือชี้ชวนอย่างรอบคอบ" และต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) จํานวนเงินทุนของโครงการจัดการกองทุนรวม ราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ต่อหน่วย และจํานวนหน่วยลงทุน
(2) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม
(3) ชื่อผู้จัดจําหน่ายที่เป็นแกนนําในการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทน สนับสนุนการจําหน่ายหน่วยลงทุนหลัก อย่างน้อยหนึ่งราย
(4) ระยะเวลาในการเสนอขายหน่วยลงทุน
ข้อความที่เป็นคําเตือนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงไว้ในกรอบสี่เหลี่ยม ให้เห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน โดยขนาดของตัวอักษรต้องไม่เล็กกว่าขนาดของตัวอักษรปกติที่ใช้ใน การโฆษณานั้น
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์อาจโฆษณาหรือยินยอมให้โฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมในกองทุนรวมหนึ่งโดยเปรียบเทียบกับผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนรวมนั้นเอง หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกันได้ ทั้งนี้ ต้องเปิดเผยถึงแหล่งที่มา ของข้อมูลและแสดงผลการดําเนินงานโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมกําหนด หากใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานอื่นใด ให้แสดงผลการดําเนินงานที่ใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตาม มาตรฐานที่สมาคมกําหนดควบคู่กันไปด้วย
การโฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโดยเปรียบเทียบกับผลการ ดําเนินงานในอดีตตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า "ผลการ ดําเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต" ด้วย
ข้อ ๗ การคัดลอก หรืออ้างอิงข้อความหรือคํากล่าวของบุคคลใด ๆ เพื่อใช้ในการ โฆษณาเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ข้อความหรือคํากล่าวดังกล่าวต้องเป็นข้อความที่ ตรงตามความเป็นจริง มีสาระสําคัญที่ครบถ้วนและเกี่ยวข้องกับการเสนอขายหน่วยลงทุน โดยไม่มี การตัดทอนหรือต่อเติมที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญและต้องกล่าวถึงแหล่งที่มาของ ข้อความหรือคํากล่าวนั้นโดยชัดเจน
ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนเพื่อทําหน้าที่จําหน่าย หน่วยลงทุน หรือตัวแทนเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนการจําหน่ายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัท หลักทรัพย์นั้นต้องจัดให้มีข้อตกลงที่กําหนดให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ในประกาศนี้ และต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,107 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ประสงค์จะรับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 ยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตั้งอยู่ก็ได้
ข้อ ๒ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามข้อ 1 จะต้องมีฐานะเป็น
(1) กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และหมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
(2) บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล นิติบุคคลอื่น หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ เฉพาะที่ประกอบกิจการรับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศไทย
ข้อ ๓ ให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามข้อ 2 โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมกับแนบเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ภาพถ่ายเอกสารการจัดตั้งและวัตถุประสงค์หลักในกรณีที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ยกเว้น กระทรวง ทบวง กรม
(2) ภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(3) ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน และบัตรประจําตัวประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
(4) รายชื่อนักวิจัยซึ่งจบการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการทําวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมประวัติโดยละเอียดและภาพถ่ายแสดงวุฒิการศึกษา (ให้แยกระหว่างนักวิจัยที่เป็นพนักงานประจําและที่จ้างเป็นครั้งคราว)
(5) ภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 20) (ถ้ามี)
(6) ภาพถ่ายแบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 01) (ถ้ามี)
(7) ภาพถ่ายแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 09) (ถ้ามี)
(8) ตัวอย่างไปรับซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งระบุข้อความ "เป็นผู้รับทําการวิจัยฯ ลําดับที่... ของประกาศอธิบดีฯ" และข้อความ " ประเภทของการวิจัย คือ ..."
(9) รายละเอียดเครื่องจักร/อุปกรณ์ เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ถ้ามี)
(10) ข้อมูลโดยย่อของการประกอบกิจการในปัจจุบัน
(11) แผนการดําเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ข้อ ๔ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะได้รับสิทธิ์เป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอเป็นผู้รับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามข้อ 1
ข้อ ๕ ในกรณีผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามข้อ 2 (2) ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกําไรสุทธิประกอบกิจการรับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยมีการประกอบกิจการอื่นรวมอยู่ด้วย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นํากําไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิของทั้งสองกิจการมารวมเข้าด้วยกัน
ข้อ ๖ กรณีที่หน่วยงานของรัฐตามข้อ 2 (1) เป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ระบุไว้ในสัญญาและในใบรับว่า เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับรายจ่ายเพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๗ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการประกาศกําหนดจากอธิบดีกรมสรรพากรและรับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับบุคคลใด ให้ปฏิบัติในการออกไปรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
(1) ก็รณีหลับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับบุคคลอื่น ให้ออกไปรับในนามของหน่วยงานที่ได้รับการประกาศจากอธิบดีกรมสรรพากร โดยให้แยกใบรับสําหรับรายได้จากกิจการดังกล่าวต่างหากจากรายได้จากกิจการอื่น
(2) ก็รณีทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับตนเอง ให้ออกใบรับให้กับตนเองเสมอเป็นการรับทําวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับบุคคลอื่นตาม (1) โดยไม่จําเป็นต้องจัดทําใบกํากับภาษี
ข้อ ๘ คําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ได้ยื่นไว้ตาม ประกาศสรรพากร เรื่อง การยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามประกาศฉบับนี้โดยอนุโลม แล้วถ้าเอกสารแนบคําขอยังไม่ครบถ้วนตามประกาศฉบับนี้ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรผู้มีอํานาจพิจารณาคําขอสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนส่งมอบเอกสารแนบเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิดีกรมสรรพากร | 3,108 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (1) แห่งพระราชกําหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาในการจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ซึ่งคํานวณตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท สําหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาและมีกําหนดครบสิบสองเดือน โดยมีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559
การปฏิบัติตามวรรคหนึ่งให้ถือว่า เป็นการจดแจ้งเมื่อกรมสรรพากรได้แจ้งการตอบรับแล้ว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,109 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระภาษีอากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชําระภาษีอากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนําส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี และแบบนําส่งภาษีทุกประเภทภาษีที่กรมสรรพากรประกาศกําหนดให้ยื่นรายการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์กรมสรรพากร เป็นการยื่นแบบแสดงรายการตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนําส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี และแบบนําส่งภาษีที่ยื่นรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ที่ประสงค์จะเลือกชําระภาษีอากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ให้กระทําได้โดยพิมพ์ชุดชําระเงิน (Pay In Slip) จากระบบการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชําระภาษีอากรทั้งจํานวนตามชุดชําระเงิน (Pay In Slip) ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงวิธีการเดียว ดังต่อไปนี้
(ก) ชําระด้วยเงินสด
(ข) ชําระด้วยบัตรภาษี
(ค) ชําระด้วยบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารที่ได้ทําความตกลงกับกรมสรรพากร
(ง) ชําระด้วยบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารที่ได้ทําความตกลงกับกรมสรรพากร
(จ) ชําระด้วยบัตร Tax Smart Card ที่ออกโดยธนาคารที่ได้ทําความตกลงกับกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ การเสียภาษีตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,110 |
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ มาตรา ๗ ถึงมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ ถึงมาตรา ๓๑ มาตรา ๒๖๒ มาตรา ๒๖๓ มาตรา ๓๑๘ ถึงมาตรา ๓๒๐ และมาตรา ๓๓๒ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗
(๒) พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า
(๑) ตั๋วเงินคลัง
(๒) พันธบัตร
(๓) ตั๋วเงิน
(๔) หุ้น
(๕) หุ้นกู้
(๖) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม
(๗) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(๘) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
(๙) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(๑๐) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
“ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วเงินที่ออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไป ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
“หุ้นกู้” หมายความว่า ตราสารแห่งหนี้ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดที่แบ่งเป็นหน่วยแต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากันและกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงิน
“ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ทําการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า เอกสารใด ๆ ที่ออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาชี้ชวนให้บุคคลอื่นจองซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์ที่ตนหรือบุคคลอื่นออกหรือเสนอขาย
“บริษัท”หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึง
(๑) องค์การมหาชน
(๒) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
(๓) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ
(๔) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และ
(๕) ผู้ออกหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหรือสถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
“ธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้
(๑) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(๒) การค้าหลักทรัพย์
(๓) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(๔) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(๕) การจัดการกองทุนรวม
(๖) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๗) กิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีกําหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
“การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หมายความว่า การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นทางค้าปกติ โดยได้รับค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนอื่น
“การค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในนามของตนเองเป็นทางค้าปกติโดยกระทํานอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
“การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า การให้คําแนะนําแก่ประชาชนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ เป็นทางค้าปกติ ทั้งนี้ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการให้คําแนะนําแก่ประชาชนในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
“การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า การรับหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ไปเสนอขายต่อประชาชน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ก็ตาม
“การจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า การจัดการลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมโดยการออกหน่วยลงทุนของแต่ละโครงการจําหน่ายแก่ประชาชน เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนนั้นไปลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น
“การจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า การจัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้มอบหมายให้จัดการลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการจัดการลงทุนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
“หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔/๑ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดให้การประกอบกิจการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งไม่เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในการออกใบอนุญาตและการให้ความเห็นชอบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาและการสั่งการให้เป็นที่ทราบโดยทั่วไป และในกรณีที่ไม่อนุญาตหรือไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคําขอทราบด้วย
มาตรา ๖ การลงลายมือชื่อของกรรมการหรือนายทะเบียนในใบหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะใช้เครื่องจักรประทับหรือโดยวิธีอื่นใดแทนตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงและแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ การกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ส่วน ๑ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ ก.ล.ต.” ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคําแนะนําของรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา ๓๑/๗ จํานวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินหกคน เป็นกรรมการ โดยในจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านบัญชี และด้านการเงินด้านละหนึ่งคน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๙ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๘ ต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือผู้ดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสํานักงาน
(๖) ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการในธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบริษัทอื่นใดซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลตาม (๕) หรือ (๖) ผู้ได้รับการแต่งตั้งจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อได้ลาออกจากตําแหน่งตาม (๕) หรือ (๖) แล้ว โดยต้องกระทําภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดําเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่แทน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๐ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๘ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
เมื่อประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระให้ดําเนินการแต่งตั้งใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วแต่กรณี อยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่าประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๘ พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๔) เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙
(๕) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคําแนะนําของรัฐมนตรีสําหรับประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือรัฐมนตรีมีคําสั่งให้ออกโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดสําหรับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ มติและคําสั่งให้ออกดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้ง
ในกรณีที่ประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระคณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. แทน หรือรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนแทน
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งประธานกรรมการ ก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการ ก.ล.ต. เท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหกคน
มาตรา ๑๒ การประชุมของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการ ก.ล.ต. ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ถ้าประธานกรรมการ ก.ล.ต. ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานให้รองประธานทําหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานหรือมีแต่ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ ก.ล.ต. ที่มาประชุมเลือกกรรมการ ก.ล.ต. คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ ก.ล.ต. คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓ กรรมการ ก.ล.ต. ผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาให้แจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
แนวทางการพิจารณาส่วนได้เสียตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาตลอดจนกํากับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการและการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อํานาจดังกล่าวให้รวมถึง
(๑) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับคําขออนุญาต คําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(๓) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
(๔) ออกระเบียบ คําสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน ระบบพนักงานสัมพันธ์ การบรรจุแต่งตั้งถอดถอน และวินัยพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน การกําหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ
(๔/๑) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่งหรือข้อกําหนดใด ๆ ที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๔/๑ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งจํานวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน ในจํานวนนี้ต้องเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. อย่างน้อยสองคน
ให้คณะกรรมการตรวจสอบแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
มาตรา ๑๔/๒ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ทบทวนและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
(๒) สอบทานรายงานการเงินและข้อมูลทางการเงินของสํานักงาน
(๓) ประสานงานกับสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องการตรวจสอบงบการเงิน
(๔) ทบทวนและสอบทานการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
(๕) กํากับดูแลหน่วยงานตรวจสอบภายใน
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
มาตรา ๑๕ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มอบหมายได้
ให้นําความในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. กรรมการ ก.ล.ต. และคณะอนุกรรมการ ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกําหนด และให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของสํานักงาน
ส่วน ๑/๑ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
มาตรา ๑๖/๑ ให้มีคณะกรรมการกํากับตลาดทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย เลขาธิการเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายหนึ่งคน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา ๓๑/๗ อีกไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสองคนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์
ให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
มาตรา ๑๖/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙ และต้องไม่ดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือตําแหน่งอื่นใดในธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบริษัทอื่นใดซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงาน
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙ (๕) หรือตามวรรคหนึ่ง ต้องลาออกจากการเป็นบุคคลตามมาตรา ๙ (๕) หรือตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่แทน
มาตรา ๑๖/๓ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๑๖/๑ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี และเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ โดยในวาระเริ่มแรกเมื่อครบสองปี ให้กรรมการออกจากตําแหน่งเป็นจํานวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก และให้ถือว่าการออกจากตําแหน่งโดยการจับสลากเป็นการออกตามวาระ
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการคัดเลือกภายในหกสิบวันเพื่อดําเนินการตามที่กําหนดในมาตรา ๓๑/๗ ทั้งนี้ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
ให้นําความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน โดยอนุโลม
มาตรา ๑๖/๔ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖/๑ พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๔) รัฐมนตรีมีคําสั่งให้ออกโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมด ทั้งนี้ คําสั่งให้ออกดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้ง
(๕) เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖/๒
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนแทน
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการกํากับตลาดทุนเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าคน
มาตรา ๑๖/๕ ให้กรรมการกํากับตลาดทุนจัดทํารายงานการถือหลักทรัพย์ของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ และระยะเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
มาตรา ๑๖/๖ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น โดยต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึง
(๑) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี นายทะเบียนหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(๒) รายงานผลการดําเนินงานเป็นระยะต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
(๓) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๖/๗ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมอบหมายได้
ให้นําความในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม
มาตรา ๑๖/๘ ให้กรรมการกํากับตลาดทุนและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด และให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของสํานักงาน
ส่วน ๒ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๗ ให้จัดตั้งสํานักงานขึ้นเรียกว่า “สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” และให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๘ ให้สํานักงานมีสํานักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดก็ได้
มาตรา ๑๙ ให้สํานักงานมีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(๒) กํากับดูแลให้มีการปฏิบัติตามและดําเนินการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
(๔) รับค่าธรรมเนียม
(๕) ปฏิบัติงานอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๐ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเลขาธิการโดยคําแนะนําของรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๒๑ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้สามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่สํานักงาน
(๑/๑) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(๑/๒) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านตลาดทุน เศรษฐศาสตร์ หรือการเงินการธนาคาร
(๒) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๔) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(๕) ไม่ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ใดหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในบริษัทหลักทรัพย์
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) (ยกเลิก)
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๕) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคําแนะนําของรัฐมนตรี ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพราะบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถโดยมติดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลในการให้ออกอย่างชัดแจ้ง
มาตรา ๒๒/๑ ภายในสองปีนับแต่วันพ้นจากตําแหน่ง เลขาธิการจะประกอบธุรกิจหรือทํางานให้แก่ผู้ประกอบการ องค์กร หรือบริษัท หรือดํารงตําแหน่งที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๑๖/๒ วรรคหนึ่ง มิได้
วรรคสอง (ยกเลิก)
มาตรา ๒๒/๒ ให้เลขาธิการได้รับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในการกําหนดเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการ ให้คํานึงถึงข้อห้ามมิให้ประกอบอาชีพตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๒/๑ ด้วย
มาตรา ๒๓ ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการดําเนินกิจการทั้งปวงของสํานักงาน
ในการดําเนินกิจการ เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
มาตรา ๒๔ ในกิจการของสํานักงานที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงาน และเพื่อการนี้เลขาธิการจะมอบอํานาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทําการเฉพาะอย่างแทนก็ได้
มาตรา ๒๔/๑ เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ให้สํานักงานหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากสํานักงานมีอํานาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การกระทําความผิดและการลงโทษบุคคลที่กระทําความผิด หรือข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๕ ให้สํานักงานมีทุนประเดิมประกอบด้วยเงินที่โอนมาตามมาตรา ๓๑๙ และมาตรา ๓๒๐
มาตรา ๒๖ ให้สํานักงานจัดให้มีเงินสํารองประเภทต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในกฎกระทรวงและค่าธรรมเนียมอื่นที่สํานักงานได้รับและรายได้อื่นอันได้มาจากการดําเนินงานของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงาน ให้ตกเป็นของสํานักงาน และเมื่อได้หักด้วยรายจ่ายและหักเป็นเงินสํารองตามมาตรา ๒๖ แล้ว เหลือเท่าใดให้นําส่งเป็นรายได้ของรัฐ
มาตรา ๒๘ การพ้นจากตําแหน่งของพนักงานของสํานักงาน รวมทั้งการพ้นจากตําแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
ในกรณีที่มีเหตุผลสมควรเมื่อคํานึงถึงตําแหน่งหรือลักษณะงานใดที่พนักงานรับผิดชอบก่อนพ้นตําแหน่งหรือหน้าที่ในสํานักงาน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจออกข้อบังคับกําหนดให้นําความในมาตรา ๒๒/๑ มาใช้บังคับกับพนักงานนั้นโดยอนุโลม
มาตรา ๒๙ มิให้นํากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยและการจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มาใช้บังคับกับเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างของสํานักงาน
มาตรา ๒๙/๑ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. กรรมการ ก.ล.ต. กรรมการกํากับตลาดทุน และเลขาธิการ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๐ ให้สํานักงานจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการของสํานักงานและจัดให้มีการสอบบัญชีภายในเป็นประจํา
มาตรา ๓๑ ให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสํานักงานและเสนอรายงานผลการสอบบัญชีต่อรัฐมนตรีภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๓๑/๑ ให้สํานักงานจัดทํารายงานประจําปีซึ่งแสดงถึงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานเสนอรัฐมนตรี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๓๑/๒ ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จัดทําแผนการดําเนินงานของสํานักงานเสนอรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจําทุกปี และเปิดเผยไว้ในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจําเป็น สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจแก้ไขเพิ่มเติมแผนการดําเนินงานของสํานักงานได้ โดยให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
แผนการดําเนินงานของสํานักงานที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทําเป็นแผนสามปี เพื่อส่งเสริมให้การกํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน เสริมสร้างความเป็นธรรม ความมีประสิทธิภาพ ความโปร่งใสของตลาดทุน และลดความเสี่ยงของระบบการเงิน ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ส่วน ๓ คณะกรรมการคัดเลือก
มาตรา ๓๑/๓ ในกรณีที่จะต้องมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือในคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกจํานวนเจ็ดคนเพื่อทําหน้าที่คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดังกล่าว
คณะกรรมการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเคยดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้เคยดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทั้งนี้ ไม่เกินตําแหน่งละหนึ่งคน
บุคคลซึ่งเคยดํารงตําแหน่งเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามวรรคสอง ให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งเคยดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย
กรรมการคัดเลือกต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา และไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอย่างมีนัยสําคัญในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการคัดเลือกตามวรรคหนึ่งพิจารณาเลือกกรรมการคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการคัดเลือก
ให้คณะกรรมการคัดเลือกได้รับค่าตอบแทนจากสํานักงานตามที่รัฐมนตรีกําหนดและให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๑/๔ ให้คณะกรรมการคัดเลือกกําหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอรายชื่อ การพิจารณาและการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือในคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกําหนดให้มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่ได้รับการเสนอชื่ออย่างเพียงพอที่คณะกรรมการคัดเลือกจะดําเนินการพิจารณาคัดเลือกได้
ระเบียบตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และให้มีผลใช้บังคับต่อไป แม้คณะกรรมการคัดเลือกที่กําหนดระเบียบดังกล่าวจะพ้นจากตําแหน่งแล้ว
การแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิก หรือการกําหนดระเบียบขึ้นใหม่ จะกระทําได้ก็แต่โดยคณะกรรมการคัดเลือกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมด และให้มีผลใช้บังคับเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
ให้คณะกรรมการคัดเลือกเปิดเผยระเบียบที่กําหนดขึ้นตามมาตรานี้ไว้ในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
มาตรา ๓๑/๕ คณะกรรมการคัดเลือกทั้งคณะพ้นจากตําแหน่งเมื่อดําเนินการคัดเลือกและได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือในคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเสร็จสิ้นตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดําเนินการคัดเลือกในครั้งนั้น
มาตรา ๓๑/๖ การประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการคัดเลือกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้นําความในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกโดยอนุโลม
มาตรา ๓๑/๗ ในการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ให้บุคคลดังต่อไปนี้ร่วมกันเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนสองเท่าของจํานวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะแต่งตั้งต่อคณะกรรมการคัดเลือก
(๑) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการ ก.ล.ต. ที่มิใช่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกันเสนอรายชื่อ
(๒) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เสนอรายชื่อ
ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกไม่เห็นชอบกับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกมีอํานาจให้มีการดําเนินการเสนอรายชื่อใหม่ได้
เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการกํากับตลาดทุน แล้วแต่กรณี แล้ว ให้เสนอชื่อต่อรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้ง
หมวด ๒ การออกหลักทรัพย์ของบริษัท
ส่วน ๑ ส่วนที่ ๑
การอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานและปฏิบัติตามมาตรา ๖๕
การขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทดังกล่าวได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดแล้ว
มาตรา ๓๓ ห้ามมิให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ประเภทหุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และหลักทรัพย์อื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด เว้นแต่
(๑) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามมาตรา ๖๓
(๒) ได้รับอนุญาตจากสํานักงานและปฏิบัติตามมาตรา ๖๕ หรือ
(๓) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ทั้งหมดโดยบริษัทมหาชนจํากัดต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นโดยได้รับชําระราคาเต็มมูลค่าที่เสนอขายจากผู้ถือหุ้น
มาตรา ๓๓/๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ สําหรับกองทรัสต์ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนตามประเภทกองทรัสต์และประเภทหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓
(๑) ผู้ที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์หรือผู้ก่อตั้งทรัสต์ เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก
(๒) ผู้มีหน้าที่จัดการกองทรัสต์
เมื่อยื่นคําขอแล้ว ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ให้บุคคลตาม (๑) และ (๒) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลเช่นเดียวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และภายหลังที่ได้รับอนุญาต ให้บุคคลตาม (๒) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูล รวมทั้งหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวด ๒ การออกหลักทรัพย์ของบริษัท และหมวด ๓ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน เช่นเดียวกับที่กําหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้ลงทุน และการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดให้บุคคลตาม (๑) และ (๒) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติหรือปฏิบัติแตกต่างไปจากบทบัญญัติในส่วนที่ ๔ การจัดทําทะเบียนและการโอนของหมวด ๒ การออกหลักทรัพย์ของบริษัท หรือมาตรา ๘๘ ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้
มาตรา ๓๓/๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประเภทที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ซึ่งผลตอบแทนของหลักทรัพย์นั้นขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยบุคคลอื่นนั้นยินยอม คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดให้บุคคลอื่นนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลก่อนและภายหลังที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ด้วยก็ได้
มาตรา ๓๔ การเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าจะกระทําโดยบริษัทจํากัดที่ออกหุ้นนั้นหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวมิให้กระทําเป็นการทั่วไปหรือต่อบุคคลในวงกว้าง เว้นแต่จะได้รับยกเว้นหรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๓๕ การขอเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการอนุญาตตามมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด ในการนี้ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจประกาศกําหนดรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ไว้ด้วยก็ได้
(๑) สัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
(๒) ระยะเวลาในการเสนอขายหลักทรัพย์
(๓) การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์
(๔) การรับชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์
(๕) การเก็บรักษาและการปฏิบัติเกี่ยวกับเงินค่าจองหลักทรัพย์
(๖) เงื่อนไขอื่นที่จําเป็นในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนผู้ลงทุน
มาตรา ๓๕/๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๓ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายต่างประเทศที่มีมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในทํานองเดียวกันกับที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ได้รับยกเว้นการปฏิบัติหรือปฏิบัติแตกต่างไปจากบทบัญญัติในส่วนที่ ๒ หุ้นกู้ ส่วนที่ ๓ การออกหุ้นกู้มีประกัน ส่วนที่ ๔ การจัดทําทะเบียนและการโอน หรือส่วนที่ ๕ การเปิดเผยข้อมูลและผู้สอบบัญชี ของหมวดนี้ หรือตามหมวด ๓ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ผู้ลงทุน และการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น
มาตรา ๓๖ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรา ๓๕
มาตรา ๓๗ มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๑๒๒๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามมิให้บริษัทจํากัดออกหุ้นกู้ มาใช้บังคับแก่บริษัทจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘ มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๖๕๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา มาใช้บังคับแก่หลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้และตั๋วเงินที่เสนอขายตามพระราชบัญญัตินี้
ส่วน ๒ หุ้นกู้
มาตรา ๓๙ หุ้นกู้ของบริษัทต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าฉบับละหนึ่งร้อยบาทโดยชําระเป็นเงินและผู้ซื้อจะขอหักกลบลบหนี้กับบริษัทมิได้
มาตรา ๔๐ ใบหุ้นกู้อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อบริษัท
(๒) เลขทะเบียนบริษัท และวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท
(๓) จํานวนเงินที่ออกหุ้นกู้
(๔) ชื่อผู้ถือหุ้นกู้ หรือคําแถลงว่าได้ออกหุ้นกู้นั้นให้แก่ผู้ถือ
(๕) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้นกู้ จํานวนหุ้นกู้และจํานวนเงิน อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาการชําระคืน
(๖) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระดอกเบี้ยหุ้นกู้ และการไถ่ถอนหุ้นกู้
(๗) สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในกรณีที่บริษัทมีหนี้ก่อนการออกหุ้นกู้
(๘) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้ามี)
(๙) ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทหรือนายทะเบียนหุ้นกู้
(๑๐) วันเดือนปีที่ออกหุ้นกู้
(๑๑) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ส่วน ๓ การออกหุ้นกู้มีประกัน
มาตรา ๔๑ ในการขออนุญาตตามมาตรา ๓๓ เพื่อออกหุ้นกู้มีประกัน ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) เสนอร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(๒) เสนอร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(๓) ขอความเห็นชอบบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(๔) ดําเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัดจะเสนอขายหุ้นกู้มีประกันที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นซึ่งไม่ต้องขออนุญาตตามมาตรา ๓๓ ให้บริษัทมหาชนจํากัดดําเนินการตามวรรคหนึ่งก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ด้วย
มาตรา ๔๒ ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิและเงื่อนไขตามหุ้นกู้
(๒) ผลประโยชน์ตอบแทน
(๓) ทรัพย์สินที่เป็นประกันหรือหลักประกันอื่น
(๔) การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(๕) เงื่อนไขการเปลี่ยนตัวผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(๖) คํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ที่จะให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ได้รับความเห็นชอบไว้ตามมาตรา ๔๑ (๓)
(๗) คํารับรองของผู้ออกหุ้นกู้มีประกันที่จะจํานอง จํานํา หรือให้หลักประกันอย่างอื่นเพื่อเป็นประกันหุ้นกู้ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๔๔
(๘) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระหนี้
(๙) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้ามี)
(๑๐) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๔๓ สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) อํานาจและหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในการรับจํานอง รับจํานํา หรือรับหลักประกันอย่างอื่น การใช้สิทธิบังคับหลักประกันดังกล่าว หรือการดําเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันปฏิบัติ ให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่ทําไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ รวมทั้งการเรียกค่าเสียหาย
(๒) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและบําเหน็จในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(๓) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๔๔ เมื่อผู้ออกหุ้นกู้มีประกันได้เสนอขายหุ้นกู้มีประกันต่อผู้ถือหุ้นหรือต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ แล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิและหน้าที่ตามข้อกําหนดตามมาตรา ๔๑ (๑) และตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมกับดําเนินการจํานอง จํานํา หรือจัดให้มีหลักประกันอย่างอื่นให้กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปิดการเสนอขาย
มาตรา ๔๕ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจกระทําการในนามของตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงในการรับจํานอง รับจํานํา หรือรับหลักประกันอย่างอื่น การใช้สิทธิบังคับหลักประกัน และการดําเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้รวมทั้งการเรียกค่าเสียหาย
การกระทําของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทําของผู้ถือหุ้นกู้โดยตรง
มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้
มาตรา ๔๗ นอกจากหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทําการ งดเว้นกระทําการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ถือหุ้นกู้หรือสํานักงานมีสิทธิฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงได้
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้ฟ้องร้องบังคับคดี ผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีจํานวนหุ้นกู้มีประกัน หรือได้รับแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นกู้อื่นซึ่งมีจํานวนหุ้นกู้มีประกันรวมกันไม่ต่ํากว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นกู้มีประกันที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามบทบัญญัติในหมวด ๑ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หรือหมวด ๗ ของลักษณะ ๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้สํานักงานเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการมีอํานาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแทนผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในการนี้ ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๙ ในการออกหุ้นกู้ลักษณะอื่นนอกจากหุ้นกู้มีประกัน หากผู้ออกหุ้นกู้ประสงค์จะจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องแสดงความจํานงในขณะที่ขออนุญาตออกหุ้นกู้และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับการขออนุญาตการทําข้อกําหนดและสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้โดยอนุโลม
ส่วน ๔ การจัดทําทะเบียนและการโอน
มาตรา ๕๐ ให้บริษัทที่ออกหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ตามมาตรา ๓๓ จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๕๑ การโอนหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือที่ออกตามมาตรา ๓๓ จะสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้มีชื่อแสดงว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนคนสุดท้ายได้ส่งมอบใบหลักทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้รับโอนโดยลงลายมือชื่อสลักหลังแสดงการโอน
มาตรา ๕๒ ผู้ใดครอบครองใบหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือที่ออกตามมาตรา ๓๓ ที่มีการสลักหลังตามมาตรา ๕๑ แล้ว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของหลักทรัพย์นั้น
มาตรา ๕๓ ผู้รับโอนหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือที่ออกตามมาตรา ๓๓ ผู้ใดประสงค์จะลงทะเบียนการโอน ให้ยื่นคําขอต่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียน พร้อมทั้งส่งมอบใบหลักทรัพย์ที่ตนได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนในด้านหลังของใบหลักทรัพย์นั้นแล้ว และให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียน แล้วแต่กรณี ลงทะเบียนการโอนพร้อมทั้งรับรองการโอนไว้ในใบหลักทรัพย์นั้น หรือออกใบหลักทรัพย์ให้ใหม่ ทั้งนี้ ภายในกําหนดระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่การโอนหลักทรัพย์นั้นจะขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อข้อจํากัดในเรื่องการโอนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จดทะเบียนข้อจํากัดนั้นไว้กับสํานักงานแล้ว
เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนได้รับคําขอโอนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้การโอนนั้นใช้ยันกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ แต่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้เมื่อมีการลงทะเบียนการโอนแล้ว
มาตรา ๕๔ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ แก่บุคคลที่มิได้มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ตามมาตรา ๕๓ เว้นแต่เป็นกรณีของหุ้นกู้ชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ ให้จ่ายได้เมื่อผู้ครอบครองได้ยื่นใบหุ้นต่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในกรณีเช่นนี้ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์สลักหลังการจ่ายไว้ด้วย
มาตรา ๕๕ การโอนหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือที่ออกตามมาตรา ๓๓ จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ส่งมอบใบหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้รับโอน
มาตรา ๕๕/๑ ให้นําความในส่วนนี้และบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องไปใช้บังคับแก่การจัดทําทะเบียนและการโอนหลักทรัพย์อื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามมาตรา ๓๓ ด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนและการโอนหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งแตกต่างไปจากบทบัญญัติในส่วนนี้ได้
ส่วน ๕ ส่วนที่ ๕
การเปิดเผยข้อมูลและผู้สอบบัญชี
มาตรา ๕๖ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงาน ดังต่อไปนี้
(๑) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
(๒) งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(๓) รายงานประจําปี
(๔) รายงานการเปิดเผยข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับบริษัทตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
งบการเงินและรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด การกําหนดดังกล่าวให้คํานึงถึงมาตรฐานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วด้วย
คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจออกประกาศเพื่อผ่อนผันหรือยกเว้นหน้าที่การจัดทําหรือส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง โดยคํานึงถึงความจําเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ลงทุนก็ได้
มาตรา ๕๗ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ รายงานพร้อมด้วยเหตุผลต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
(๑) บริษัทประสบความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๒) บริษัทหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน
(๓) บริษัทเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ หรือลักษณะการประกอบธุรกิจ
(๔) บริษัททําสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัท
(๕) บริษัทกระทําหรือถูกกระทําอันมีลักษณะเป็นการครอบงําหรือถูกครอบงํากิจการตามมาตรา ๒๔๗
(๖) กรณีใด ๆ ที่มีหรือจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน หรือต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์ของบริษัทตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเอกสารหรือรายงานที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ จัดส่งให้มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน หรือมีกรณีอื่นใดที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน หรือต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์ของบริษัท ให้สํานักงานมีอํานาจที่จะดําเนินการประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ดังนี้
(๑) ให้บริษัทรายงานหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(๒) ให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทชี้แจงเพิ่มเติม
(๓) ให้บริษัทจัดให้มีการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชี และรายงานผลการสอบบัญชีนั้นให้สํานักงานทราบ และเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไป
มาตรา ๕๙ ให้กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ มีหน้าที่จัดทําและเปิดเผยรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตน คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ได้แก่
(๑) หลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(๒) หลักทรัพย์ใด ๆ ที่ออกโดยบุคคลอื่นที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือหลักทรัพย์นั้นที่จะซื้อ ขาย ได้มา หรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ตาม (๑) หรือได้รับผลตอบแทนที่อ้างอิงกับราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ตาม (๑)
(๓) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กําหนดให้ส่งมอบหลักทรัพย์หรือที่กําหนดให้ผลตอบแทนของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงกับราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ตาม (๑) หรือ (๒)
การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยนิติบุคคลซึ่งบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลดังกล่าว โดยให้นับรวมสิทธิออกเสียงของคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลนั้นด้วย
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงกรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหารของนิติบุคคลนั้นตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
มาตรา ๖๐ เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนเกี่ยวกับฐานะและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์รวมทั้งการถือหลักทรัพย์ในบริษัทดังกล่าว ให้สํานักงานมีอํานาจเปิดเผยรายงานหรือข้อมูลที่ได้รับตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๙ ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๖๑ ผู้สอบบัญชีตามมาตรา ๕๖ ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
เมื่อได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้สอบบัญชีนั้นมีสิทธิสอบบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๐๖ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในมาตรา ๑๙๙ และบริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในมาตรา ๒๑๗ ได้ด้วย
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือสอบบัญชีพบว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ จัดทํางบการเงินรายไตรมาสหรืองบการเงินประจํางวดการบัญชีไม่ตรงตามความเป็นจริง ให้ผู้สอบบัญชีรายงานข้อสังเกตหรือเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญของงบการเงิน และแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการสอบทานหรือรายงานการสอบบัญชีที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็น พร้อมทั้งแจ้งให้สํานักงานทราบ
ในการแสดงความเห็นต่องบการเงินประจํางวดการบัญชี ผู้สอบบัญชีใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นได้
หมวด ๓ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
มาตรา ๖๓ บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับแก่การเสนอขายหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(๑) ตั๋วเงินคลัง
(๒) พันธบัตรรัฐบาล
(๓) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(๔) พันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(๕) หลักทรัพย์อื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๖๔ บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับแก่การเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจัดการกองทุนรวม
(๒) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มีมูลค่าของหลักทรัพย์ทั้งหมดน้อยกว่าจํานวนเงินที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(๓) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะ ประเภท หรือจํานวนของผู้ลงทุนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
การเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (๒) และ (๓) ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ต้องรายงานผลการขายให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย
มาตรา ๖๕ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามมาตรา ๖๕ ที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทอาจยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ หรือจะยื่นภายหลังจากวันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ก็ได้
ในกรณีที่บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามมาตรา ๓๓ ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ได้หลายครั้งภายในวงเงินและระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด และหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่มีกําหนดเวลาการชําระคืนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน บริษัทไม่จําต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนทุกครั้งที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว แต่ต้องจัดส่งข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ครั้งแรกให้แก่สํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันทําการก่อนวันจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๘ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสี่สิบห้าวันนับจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะประกาศกําหนดให้มีผลใช้บังคับก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว
มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ หากสํานักงานยังมิได้อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๖๗ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทนั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ได้
มาตรา ๖๙ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด โดยให้มีรายละเอียดของรายการ ดังนี้
(๑) วัตถุประสงค์ของการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ
(๒) ชื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(๓) ทุนของบริษัท
(๔) จํานวนและประเภทหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(๕) ราคาที่คาดว่าจะขายของหลักทรัพย์ต่อหน่วย
(๖) ลักษณะการประกอบธุรกิจ
(๗) ฐานะทางการเงิน การดําเนินงาน และข้อมูลที่สําคัญของธุรกิจ
(๘) ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(๙) ผู้สอบบัญชี สถาบันการเงินที่ติดต่อประจํา และที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(๑๐) วิธีการจอง จัดจําหน่ายและจัดสรรหลักทรัพย์
(๑๑) ข้อมูลอื่นใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สํานักงานจะกําหนดให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์แนบเอกสารหลักฐานอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก็ได้
มาตรา ๗๐ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ นอกจากจะต้องมีรายละเอียดของรายการตามมาตรา ๖๙ แล้ว ให้มีรายละเอียดของรายการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) สิทธิและข้อจํากัดในการโอนตามตั๋วเงินหรือหุ้นกู้
(๒) ผลประโยชน์ตอบแทน
(๓) ทรัพย์สินหรือหลักประกันอื่นที่เป็นประกันการออกหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(๔) ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(๕) ภาระผูกพันในทรัพย์สินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เฉพาะกรณีหลักทรัพย์ที่ไม่มีประกัน
(๖) ยอดหนี้คงค้างในการออกตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ครั้งก่อน
(๗) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระหนี้
(๘) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้ามี)
(๙) ข้อมูลอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๗๑ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน นอกจากจะต้องมีรายละเอียดของรายการตามมาตรา ๖๙ แล้ว ให้มีรายละเอียดของรายการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) สิทธิ และเงื่อนไขตามใบสําคัญแสดงสิทธิ
(๒) มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้ออกหุ้นหรือหุ้นกู้ หรือคําอนุมัติของสํานักงานที่ให้ออกหน่วยลงทุนเพื่อการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ แล้วแต่กรณี
(๓) จํานวนหุ้นหรือหุ้นกู้หรือหน่วยลงทุนทั้งสิ้นที่จะออกตามใบสําคัญแสดงสิทธิ
(๔) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ
(๕) ข้อมูลอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๗๒ ร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด สําหรับรายการในร่างหนังสือชี้ชวนที่ตรงกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต้องมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างกัน
มาตรา ๗๓ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบถ้วน ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนยื่นรายการหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบถ้วน แต่สํานักงานจะสั่งภายหลังจากที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ แล้ว มิได้
มาตรา ๗๔ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว ให้ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือข้อมูลที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานได้ เว้นแต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสําคัญ สํานักงานอาจกําหนดให้การขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเข้ามาใหม่ โดยให้ถือว่าวันที่สํานักงานได้รับคําขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นวันเริ่มต้นในการนับระยะเวลาตามมาตรา ๖๗ ด้วย
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าการขอแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ดังกล่าว ยื่นเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมได้
มาตรา ๗๕ ในการนับระยะเวลาตามมาตรา ๖๗ มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่สํานักงานได้สั่งการตามมาตรา ๗๓ หรือมาตรา ๗๔ วรรคสอง จนถึงวันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลโดยครบถ้วน
มาตรา ๗๖ ภายหลังจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ห้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่สํานักงานตรวจพบว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนเป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญอันอาจทําให้บุคคลผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน และในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์นั้นได้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตนั้นได้ในทันที
(๒) ในกรณีที่สํานักงานตรวจพบว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนคลาดเคลื่อนในสาระสําคัญ หรือมีเหตุการณ์ที่มีผลให้ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ ทั้งนี้ อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการลงทุนของบุคคลผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการดําเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนดเพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว
(๓) ในกรณีที่สํานักงานตรวจพบว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนคลาดเคลื่อนในลักษณะอื่น ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่ยื่นแบบดังกล่าวแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
การสั่งการของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบถึงการดําเนินการใด ๆ ของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ก่อนที่จะมีการสั่งการดังกล่าว และไม่กระทบถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายของบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒
มาตรา ๗๗ เมื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนแล้ว การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวมีผลใช้บังคับให้กระทําได้ แต่ต้องมีสาระสําคัญของข้อมูลตามที่สํานักงานประกาศกําหนด พร้อมทั้งมีข้อความให้เห็นชัดเจนว่าการเผยแพร่ดังกล่าวมิใช่เป็นหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๗๘ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ให้กระทําได้เมื่อได้ปฏิบัติตามระเบียบที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๗๙ เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนจะกระทําได้ต่อเมื่อได้มีการจัดส่ง หรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งระบุวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนไว้ด้วย
มาตรา ๘๐ การโฆษณาชี้ชวนต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ให้ซื้อหลักทรัพย์ของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์โดยมิใช่ด้วยวิธีการตามมาตรา ๗๙ จะกระทําได้ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ แล้ว และต้องไม่ใช้ถ้อยคําหรือข้อความใดที่เกินความจริง หรือเป็นเท็จ หรืออาจทําให้บุคคลอื่นสําคัญผิด และถ้าเป็นการโฆษณาทางสิ่งตีพิมพ์ต้องมีรายละเอียดตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) จํานวน ชนิด ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ต่อหน่วยและมูลค่าของหลักทรัพย์ทั้งหมดที่โฆษณาชี้ชวนให้ซื้อ
(๒) ชื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์
(๓) ประเภทของธุรกิจที่จะดําเนินการ หรือกําลังดําเนินการ
(๔) สถานที่ และวันเวลาที่จะขอรับหนังสือชี้ชวนได้
(๕) ชื่อผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(๖) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๘๑ เมื่อได้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนแล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ต้องรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน และในกรณีที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์เสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์แจ้งจํานวนหลักทรัพย์ และจํานวนเงินส่วนที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้รับซื้อไว้เองด้วย
การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนมีข้อความหรือรายการที่เป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญให้บุคคลใด ๆ ที่ซื้อหลักทรัพย์จากผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์และยังเป็นเจ้าของหลักทรัพย์อยู่และได้รับความเสียหายจากการนั้น มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ดังกล่าวได้
บุคคลผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ซื้อหลักทรัพย์ก่อนที่จะปรากฏข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘๓ ให้บุคคลดังต่อไปนี้รับผิดตามมาตรา ๘๒ ร่วมกับบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีส่วนรู้เห็น หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ตนไม่อาจล่วงรู้ถึงความแท้จริงของข้อมูล หรือการขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งนั้น
(๑) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทซึ่งลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวน
(๒) ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวน
(๓) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือผู้ประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงลงลายมือชื่อรับรองข้อมูลในแบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวน
มาตรา ๘๔ บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์และบุคคลตามมาตรา ๘๓ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา ๘๒ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ซื้อหลักทรัพย์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อความหรือรายการเป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ หรือ
(๒) ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันมิใช่เป็นผลมาจากการได้รับข้อความหรือรายการที่เป็นเท็จ หรือการไม่แจ้งข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
มาตรา ๘๕ ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา ๘๒ ให้มีผลเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของจํานวนเงินที่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้จ่ายไปสําหรับการได้มาซึ่งหลักทรัพย์นั้นกับราคาที่ควรจะเป็นหากมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องตามที่สํานักงานกําหนดซึ่งต้องไม่ต่ํากว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์นั้น บวกด้วยดอกเบี้ยของจํานวนส่วนต่างดังกล่าวสําหรับระยะเวลาที่ถือหลักทรัพย์ตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์อย่างน้อยสี่แห่งตามที่สํานักงานกําหนดพึงจ่ายสําหรับเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
มาตรา ๘๖ สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา ๘๒ ให้มีอายุความหนึ่งปีนับจากวันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนมีข้อความหรือรายการที่เป็นเท็จหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งแต่ไม่เกินสองปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘๗ การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงานได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และในหนังสือชี้ชวนดังกล่าว หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงานได้ประกันราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น
มาตรา ๘๘ บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๘๙ ผู้สอบบัญชีที่แสดงความเห็นต่องบการเงินซึ่งเผยแพร่ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่และหนังสือชี้ชวนในหมวดนี้ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
หมวด ๓/๑ การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
มาตรา ๘๙/๑ ในหมวดนี้
“บริษัท” หมายความว่า
(๑) บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชน เว้นแต่บริษัทมหาชนจํากัดที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๒) บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
“บริษัทย่อย” หมายความว่า
(๑) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บริษัทมีอํานาจควบคุมกิจการ
(๒) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บริษัทย่อยตาม (๑) มีอํานาจควบคุมกิจการ
(๓) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการต่อเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทย่อยตาม (๒)
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัท
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของบริษัท
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารงานของบริษัทไม่ว่าโดยพฤติการณ์หรือโดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
“บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงกรรมการของนิติบุคคลนั้นด้วย
(๒) คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลตาม (๑)
(๓) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (๑) หรือ (๒) มีอํานาจควบคุมกิจการ
(๔) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
เมื่อบุคคลใดกระทําการด้วยความเข้าใจหรือความตกลงว่า หากบริษัททําธุรกรรมที่ให้ประโยชน์ทางการเงินแก่บุคคลดังกล่าว กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) จะได้รับประโยชน์ทางการเงินด้วย ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสําหรับการทําธุรกรรมนั้น
“อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า
(๑) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(๒) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด
(๓) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
มาตรา ๘๘/๒ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทกระทําการใดอันเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อพนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นใดที่รับจ้างทํางานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะโดยการเปลี่ยนแปลงตําแหน่งงาน ลักษณะงาน หรือสถานที่ทํางาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง หรือกระทําการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุที่บุคคลนั้น
(๑) ให้ข้อมูล ให้ความร่วมมือ หรือให้ความช่วยเหลือไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน อันเกี่ยวข้องกับกรณีที่พนักงาน ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นใดนั้นเชื่อหรือมีเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้ถ้อยคํา ยื่นเอกสารหลักฐาน หรือให้ความช่วยเหลือไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหรือตรวจสอบกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะกระทําไปโดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานมีคําสั่งให้ปฏิบัติหรือไม่
ส่วน ๑ กรรมการและผู้บริหาร
มาตรา ๘๙/๓ กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๘๙/๔ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการด้วยเหตุตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดแล้ว กรรมการย่อมพ้นจากตําแหน่งเมื่อมีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา ๘๙/๓ และจะดํารงตําแหน่งกรรมการในบริษัทต่อไปมิได้
มาตรา ๘๙/๕ บรรดากิจการของบริษัทที่คณะกรรมการ กรรมการ หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการได้กระทําไปในนามของบริษัท ย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันบริษัท แม้จะปรากฏในภายหลังว่ากรรมการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือขาดความเหมาะสมตามมาตรา ๘๙/๓
มาตรา ๘๙/๖ ผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ผู้บริหารคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารคนนั้นพ้นจากตําแหน่ง และจะดํารงตําแหน่งผู้บริหารในบริษัทต่อไปมิได้
ส่วน ๒ หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหาร
มาตรา ๘๙/๗ ในการดําเนินกิจการของบริษัท กรรมการและผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา ๘๙/๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวัง กรรมการและผู้บริหารต้องกระทําเยี่ยงวิญญูชนผู้ประกอบธุรกิจเช่นนั้นจะพึงกระทําภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกัน
การใดที่กรรมการหรือผู้บริหารพิสูจน์ได้ว่า ณ เวลาที่พิจารณาเรื่องดังกล่าว การตัดสินใจของตนมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้บริหารผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวังตามวรรคหนึ่งแล้ว
(๑) การตัดสินใจได้กระทําไปด้วยความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสําคัญ
(๒) การตัดสินใจได้กระทําบนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อโดยสุจริตว่าเพียงพอ และ
(๓) การตัดสินใจได้กระทําไปโดยตนไม่มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่ตัดสินใจนั้น
มาตรา ๘๙/๙ ในการพิจารณาว่ากรรมการหรือผู้บริหารแต่ละคนได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวังหรือไม่ ให้คํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ตําแหน่งในบริษัทที่บุคคลดังกล่าวดํารงอยู่ ณ เวลานั้น
(๒) ขอบเขตความรับผิดชอบของตําแหน่งในบริษัทของบุคคลดังกล่าวตามที่กําหนดโดยกฎหมายหรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ และ
(๓) คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้ง
มาตรา ๘๙/๑๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กรรมการและผู้บริหารต้อง
(๑) กระทําการโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสําคัญ
(๒) กระทําการที่มีจุดมุ่งหมายโดยชอบและเหมาะสม และ
(๓) ไม่กระทําการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับประโยชน์ของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ
มาตรา ๘๙/๑๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นผลให้กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ได้รับประโยชน์ทางการเงินอื่นนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย ให้สันนิษฐานว่าเป็นการกระทําที่ขัดหรือแย้งกับประโยชน์ของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ
(๑) การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง โดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๘๙/๑๒ หรือมาตรา ๘๙/๑๓
(๒) การใช้ข้อมูลของบริษัทที่ล่วงรู้มา เว้นแต่เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว หรือ
(๓) การใช้ทรัพย์สินหรือโอกาสทางธุรกิจของบริษัทในลักษณะที่เป็นการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๘๙/๑๒ กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องจะกระทําธุรกรรมกับบริษัทหรือบริษัทย่อยได้ต่อเมื่อธุรกรรมดังกล่าวได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว เว้นแต่ธุรกรรมดังกล่าวจะเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ธุรกรรมที่เป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทํากับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอํานาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และเป็นข้อตกลงทางการค้าที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือเป็นไปตามหลักการที่คณะกรรมการอนุมัติไว้แล้ว
(๒) การให้กู้ยืมเงินตามระเบียบสงเคราะห์พนักงานและลูกจ้าง
(๓) ธุรกรรมที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของบริษัทหรือคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสถานะเป็น
(ก) บริษัทย่อยที่บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทย่อย หรือ
(ข) บริษัทย่อยที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องถือหุ้นหรือมีส่วนได้เสียอยู่ด้วย ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ไม่เกินจํานวน อัตรา หรือมีลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๔) ธุรกรรมในประเภทหรือที่มีมูลค่าไม่เกินจํานวนหรืออัตราที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในการประกาศกําหนดตาม (๓) (ข) หรือ (๔) คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจกําหนดให้ธุรกรรมที่กําหนดต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการด้วยก็ได้
มิให้นําความในมาตรา ๘๗ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้บังคับกับการทําธุรกรรมระหว่างกรรมการกับบริษัทหรือบริษัทย่อย
หมวด ๘๙/๑๓ ในกรณีมีเหตุสมควร โดยพิจารณาจากผลของธุรกรรมที่มีนัยสําคัญต่อบริษัทหรือความสัมพันธ์ของธุรกรรมกับธุรกิจปกติของบริษัท ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อใช้บังคับกับการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องได้
(๑) การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทําธุรกรรมดังกล่าวต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป หรือในหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการหรือหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
(๒) จํานวนคะแนนเสียงของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการลงมติอนุมัติการทําธุรกรรมดังกล่าว
(๓) หลักเกณฑ์ในการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีบัตรออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้น การจัดให้มีผู้ตรวจการการประชุม หรือการพิจารณาส่วนได้เสียเป็นพิเศษของผู้ถือหุ้นซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียง
มาตรา ๘๙/๑๔ กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานให้บริษัททราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๘๙/๑๕ คณะกรรมการต้องจัดให้มีเลขานุการบริษัทรับผิดชอบดําเนินการดังต่อไปนี้ในนามของบริษัทหรือคณะกรรมการ
(๑) จัดทําและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) ทะเบียนกรรมการ
(ข) หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานประจําปีของบริษัท
(ค) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
(๒) เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร
(๓) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในกรณีที่เลขานุการบริษัทพ้นจากตําแหน่งหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะกรรมการแต่งตั้งเลขานุการบริษัทคนใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เลขานุการบริษัทคนเดิมพ้นจากตําแหน่งหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ และให้คณะกรรมการมีอํานาจมอบหมายให้กรรมการคนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนในช่วงเวลาดังกล่าว
ให้ประธานกรรมการแจ้งชื่อเลขานุการบริษัทต่อสํานักงานภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่จัดให้มีผู้รับผิดชอบในตําแหน่งดังกล่าว และให้แจ้งให้สํานักงานทราบถึงสถานที่เก็บเอกสารตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ด้วย
มาตรา ๘๙/๑๖ ให้เลขานุการบริษัทจัดส่งสําเนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๙/๑๔ ให้ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบทราบภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น
มาตรา ๘๙/๑๗ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงข้อมูลตามมาตรา ๘๙/๒๐ รวมทั้งดูแลให้มีการเก็บรักษาเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีการจัดทําเอกสารหรือข้อมูลดังกล่าว
การเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการเก็บรักษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใดที่สามารถเรียกดูได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความ
มาตรา ๘๙/๑๘ นอกจากการดําเนินการกับกรรมการตามมาตรา ๘๕ และมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ในกรณีที่กรรมการกระทําการหรือละเว้นกระทําการใดอันเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙/๗ จนเป็นเหตุให้กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องได้ประโยชน์ไปโดยมิชอบ บริษัทอาจฟ้องเรียกให้กรรมการรับผิดชอบในการส่งคืนประโยชน์ดังกล่าวให้แก่บริษัทได้
ในกรณีผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทได้แจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว และบริษัทไม่ดําเนินการตามที่ผู้ถือหุ้นแจ้งภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่แจ้ง ผู้ถือหุ้นดังกล่าวสามารถใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนประโยชน์ตามวรรคหนึ่งแทนบริษัทได้
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิดําเนินการกับกรรมการตามมาตรานี้แทนบริษัท หากศาลเห็นว่าการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นเป็นไปโดยสุจริต ให้ศาลมีอํานาจกําหนดให้บริษัทชดใช้ค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่เห็นสมควรซึ่งเกิดขึ้นจริงให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ใช้สิทธิดังกล่าว และเพื่อประโยชน์ในการกําหนดค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ศาลมีอํานาจเรียกให้บริษัทเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย
มาตรา ๘๙/๑๙ ให้นําความในมาตรา ๘๙/๑๘ มาใช้บังคับกับการฟ้องเรียกให้ผู้บริหารกระทําการหรือละเว้นกระทําการใดอันเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙/๗ รับผิดชอบในการส่งคืนประโยชน์ที่ตนหรือกรรมการหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องได้ไปโดยมิชอบ โดยอนุโลม
มาตรา ๘๙/๒๐ กรรมการและผู้บริหารต้องร่วมกันรับผิดต่อบุคคลที่ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในความเสียหายใด ๆ อันเกิดขึ้นเนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นหรือประชาชนทั่วไปโดยแสดงข้อความที่เป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวจะพิสูจน์ได้ว่าโดยตําแหน่งหน้าที่ตนไม่อาจล่วงรู้ถึงความแท้จริงของข้อมูลหรือการขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งนั้น
(๑) การให้ข้อมูลประกอบการขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(๒) งบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทหรือรายงานอื่นใดที่ต้องเปิดเผยตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๑๙๙
(๓) ความเห็นของกิจการเมื่อมีผู้ทําคําเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป
(๔) การให้ข้อมูลหรือรายงานอื่นใดเกี่ยวกับกิจการที่บริษัทจัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ต่อผู้ถือหุ้นหรือประชาชนเป็นการทั่วไป ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกําหนดสองปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงตามวรรคหนึ่งหรือเมื่อพ้นกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้มีการกระทํานั้น
มาตรา ๘๙/๒๑ กรรมการหรือผู้บริหารที่กระทําการหรือละเว้นกระทําการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้บริษัทเสียหายหรือเสียประโยชน์ที่ควรได้ จะยกเหตุที่ได้รับอนุมัติหรือให้สัตยาบันโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการมาทําให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดมิได้
การกระทําการหรือละเว้นกระทําการตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) การขอมติคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยแสดงข้อความที่เป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ
(๒) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการเบียดบังเอาทรัพย์สินหรือประโยชน์ของบริษัท
(๓) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินของบริษัท
มาตรา ๘๙/๒๒ ให้นําบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา ๘๙/๗ ถึงมาตรา ๘๙/๒๑ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับบุคคลดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม
(๑) ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย และในกรณีที่ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้บริหารแผนชั่วคราวเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงกรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องของนิติบุคคลนั้นด้วย
(๒) ผู้ชําระบัญชี
มาตรา ๘๙/๒๓ เลขานุการบริษัทต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙/๑๕ ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และให้นําความในมาตรา ๘๙/๘ วรรคสอง มาตรา ๘๙/๑๐ มาตรา ๘๙/๑๑ (๒) และ (๓) และมาตรา ๘๙/๑๘ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา ๘๙/๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการของบริษัทย่อยและผู้บริหารของบริษัทย่อยให้นําความในมาตรา ๘๙/๗ มาตรา ๘๙/๘ มาตรา ๘๙/๙ และมาตรา ๘๙/๑๐ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับบุคคลตามมาตรา ๘๙/๒๒ (๑) และ (๒) ของบริษัทย่อยโดยอนุโลม
มาตรา ๘๙/๒๕ ในการสอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทตามมาตรฐานการสอบบัญชี ไม่ว่าจะกระทําในฐานะเป็นผู้สอบบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าว หรือในฐานะอื่นซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวยินยอมให้สอบบัญชีก็ตาม ถ้าผู้สอบบัญชีพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลดังกล่าวได้กระทําความผิดตามมาตรา ๒๘๑/๒ วรรคสอง มาตรา ๓๐๕ มาตรา ๓๐๖ มาตรา ๓๐๘ มาตรา ๓๐๙ มาตรา ๓๑๐ มาตรา ๓๑๑ มาตรา ๓๑๒ หรือมาตรา ๓๑๓ ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทนั้นทราบ เพื่อดําเนินการตรวจสอบต่อไปโดยไม่ชักช้า และให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สํานักงานและผู้สอบบัญชีทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งให้สํานักงานทราบ
พฤติการณ์อันควรสงสัยที่ต้องแจ้งตามวรรคหนึ่ง และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ส่วน ๓ การประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา ๘๙/๒๖ ในการประชุมผู้ถือหุ้น บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนต้องเป็นผู้ถือหุ้นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่คณะกรรมการกําหนด และจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนให้เป็นไปตามที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันเดียวกันนั้น ทั้งนี้ สิทธิของบุคคลดังกล่าวย่อมไม่ได้รับผลกระทบ แม้ว่าทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมผู้ถือหุ้นจะมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
วันที่กําหนดโดยคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นวันที่ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นไม่เกินสองเดือน แต่ต้องไม่ก่อนวันที่คณะกรรมการอนุมัติให้มีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น และเมื่อคณะกรรมการกําหนดวันเพื่อกําหนดผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้
มาตรา ๘๙/๒๗ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดประเภทหรือรายละเอียดของข้อมูลที่คณะกรรมการต้องแจ้งต่อผู้ถือหุ้นในหนังสือนัดประชุมและระยะเวลาในการจัดส่งหนังสือนัดประชุม
มาตรา ๘๙/๒๘ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท จะทําหนังสือเสนอเรื่องที่จะขอให้คณะกรรมการบรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งต้องระบุว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติหรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรายละเอียดของเรื่องที่เสนอสําหรับการประชุมสามัญประจําปีหรือการประชุมวิสามัญก็ได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ให้คณะกรรมการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะจัดให้มีขึ้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ คณะกรรมการจะปฏิเสธการบรรจุเรื่องดังกล่าวเสนอเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้
(๑) เป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
(๒) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจปกติของบริษัท และข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างโดยผู้ถือหุ้นมิได้แสดงถึงเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความไม่ปกติของเรื่องดังกล่าว
(๓) เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออํานาจที่บริษัทจะดําเนินการให้เกิดผลตามที่ประสงค์
(๔) เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นได้เคยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแล้วในรอบสิบสองเดือนที่ผ่านมา และเรื่องดังกล่าวได้รับมติสนับสนุนด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เว้นแต่ข้อเท็จจริงในการนําเสนอครั้งใหม่จะได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญจากข้อเท็จจริงในขณะที่นําเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งก่อน
(๕) กรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในกรณีที่คณะกรรมการปฏิเสธการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด ให้แจ้งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องเพื่อทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นโดยต้องระบุเหตุผลในการปฏิเสธการบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ด้วย
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นในการประชุมตามวรรคสามมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง เห็นชอบให้มีการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นวาระการประชุมของผู้ถือหุ้น ให้คณะกรรมการบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะจัดให้มีขึ้นในครั้งถัดไป
มาตรา ๘๙/๒๙ การดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญต่อบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(๑) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย
(๒) การโอนหรือสละสิทธิประโยชน์ รวมตลอดถึงการสละสิทธิเรียกร้องที่มีต่อผู้ที่ก่อความเสียหายแก่บริษัท ไม่ว่าสิทธิประโยชน์นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย
(๓) การเข้าทํา แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่าหรือให้เช่าซื้อกิจการหรือทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่ากิจการหรือทรัพย์สินนั้นจะดําเนินการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย
(๔) การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าบริหารจัดการธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ว่าธุรกิจนั้นจะดําเนินการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย
(๕) การรวมกิจการกับบุคคลอื่น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างการบริหารจัดการบริษัท
(๖) การให้กู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ การค้ําประกัน การทํานิติกรรมผูกพันบริษัทให้ต้องรับภาระทางการเงินเพิ่มขึ้น ในกรณีที่บุคคลภายนอกขาดสภาพคล่องหรือไม่สามารถปฏิบัติการชําระหนี้ได้ หรือการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในลักษณะอื่นใดแก่บุคคลอื่นและมิใช่ธุรกิจปกติของบริษัท ไม่ว่าการนั้นจะดําเนินการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย
(๗) การดําเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้เพื่อใช้บังคับกับการดําเนินการของบริษัทตามวรรคหนึ่งได้
(๑) การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปที่เกี่ยวกับการดําเนินการของบริษัทตามวรรคหนึ่งหรือข้อมูลในหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการหรือหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
(๒) จํานวนคะแนนเสียงของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการลงมติอนุมัติการทําธุรกรรมดังกล่าว
มาตรา ๘๙/๓๐ ในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด ถ้าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมหรือลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดนี้ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมครั้งนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ให้นําบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดมาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา ๘๙/๓๑ การชักชวน ชี้นํา หรือกระทําด้วยประการใด ๆ ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นการทั่วไป เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ตนหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๘๙/๓๒ ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทอาจดําเนินการในห้องประชุมมากกว่าหนึ่งห้อง แต่ต้องให้ผู้เข้าประชุมในห้องอื่นสามารถแสดงความคิดเห็นให้ปรากฏต่อผู้ถือหุ้นอื่นในแต่ละห้องได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
หมวด ๔ ธุรกิจหลักทรัพย์
ส่วน ๑ การจัดตั้งและการออกใบอนุญาต
มาตรา ๙๐ การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จะกระทําได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดหรือเมื่อเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
วรรคสอง (ยกเลิก)
การควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากันให้ถือว่าเป็นการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด แล้วแต่กรณี
การขอรับใบอนุญาต การขอความเห็นชอบ การออกใบอนุญาต และการให้ความเห็นชอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๙๑ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศหรือเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชน ให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดเงื่อนไขที่ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้
ในกรณีที่สภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดความจําเป็นตามวรรคหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่กําหนดไว้แล้วนั้นได้
มาตรา ๙๑/๑ เพื่อให้การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและได้สัดส่วนกับความจําเป็นในการคุ้มครองผู้ลงทุน คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจประกาศกําหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ประกอบธุรกิจในลักษณะตามที่กําหนดได้รับยกเว้นการปฏิบัติหรือปฏิบัติแตกต่างไปจากบทบัญญัติในส่วนที่ ๒ การกํากับและควบคุม ของหมวดนี้ ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้
ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขใด ๆ ให้ผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งถือปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา ๙๒ บริษัทหลักทรัพย์อาจมีสํานักงานสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด
การจัดตั้งสํานักงานสาขาของสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๙๓ ผู้ใดจะกระทําการแทนบริษัทซึ่งจัดตั้งและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ โดยมีสํานักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ให้ผู้กระทําการแทนตามวรรคหนึ่งทํากิจการได้เฉพาะที่ระบุไว้ในการอนุญาต
มิให้นําความในมาตรา ๙๕ มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรานี้ แต่ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ส่วน ๒ การกํากับและควบคุม
มาตรา ๙๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องใช้ชื่อซึ่งมีคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” นําหน้าและ “จํากัด” ต่อท้าย
มาตรา ๙๕ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทหลักทรัพย์ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อในธุรกิจว่า “บริษัทหลักทรัพย์” หรือคําอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา ๙๖ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจประกาศกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามจํานวนที่กําหนดสําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แต่ละประเภทหรือแต่ละลักษณะก็ได้
มาตรา ๙๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
มาตรา ๙๘ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
(๒) กระทําการใด ๆ อันจะทําให้ลูกค้า หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคา คุณค่า และลักษณะของหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
(๓) กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๔) ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในนามของตนเองหรือลูกค้า เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดให้กระทําได้
(๕) ขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดให้กระทําได้
(๖) รับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากลูกค้านอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
(๗) ซื้อหรือมีหุ้น เว้นแต่
(ก) เป็นการได้มาเนื่องจากประกอบการค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือธุรกิจหลักทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด หรือ
(ข) เป็นการได้มาโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๘) ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
การประกอบกิจการอื่นใดตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์หรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์และในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าหลักทรัพย์
(๙) ย้ายที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาโดยมิได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
(๑๐) โฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่การโฆษณานั้นจะได้กระทําตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๙๙ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับใบหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ครอบครองอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งว่า บริษัทหลักทรัพย์ได้ครอบครองไว้เพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทได้ครอบครองไว้เพื่อลูกค้ารายใด ให้เป็นไปตามลําดับก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
(๑) ให้การครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในลําดับก่อนการครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อตนเอง
(๒) ให้ลูกค้าที่สั่งซื้อก่อนได้รับประโยชน์ตามลําดับก่อนหลังหลักทรัพย์ที่ซื้อ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะยึดถือหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้ด้วยหรือไม่ก็ตาม
มาตรา ๑๐๐ การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน
การขอรับอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๐๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทหลักทรัพย์
มาตรา ๑๐๒ การให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด
มาตรา ๑๐๓ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์
(๑) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๒) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(๓) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
(๔)[[๑๑๔]](https://www.krisdika.go.th/librarian/getfile?sysid=573045&ext=htm#_ftn114) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น เว้นแต่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๕) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๑๔๕ หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(๖) เป็นข้าราชการการเมือง
(๗) เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทหลักทรัพย์ พนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงาน เว้นแต่
(ก) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเพื่อเข้าไปช่วยเหลือในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ หรือ
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๔๕
(ค) เป็นกรณีของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๘) (ยกเลิก)
(๙) เป็นบุคคลซึ่งมิได้มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางานหรือคุณสมบัติอื่น ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๑๐) มีลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๐๔ บริษัทหลักทรัพย์จะแต่งตั้งกรรมการหรือผู้จัดการ หรือทําสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลตามวรรคหนึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๓ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้ และให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อขอความเห็นชอบจากสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนความเห็นชอบ
ให้นําความในมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับแก่บุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ตลอดจนผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่บุคคลนั้นด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๐๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําบัญชีเพื่อแสดงผลการดําเนินงานและฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงโดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสถาบันวิชาชีพที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๑๐๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนทุกงวด การบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือนตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด งบดุลนั้นต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในรอบปีบัญชีนั้นและผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมิใช่กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และเสนอต่อสํานักงานหนึ่งฉบับ
การจัดทํางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนสําหรับงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีตามวรรคหนึ่งและการประกาศตามวรรคสอง ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชี และสําหรับงวดประจําปีบัญชี ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบเอ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ แต่ระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๐๗ ผู้สอบบัญชีตามมาตรา ๑๐๖ ต้องรักษามรรยาทและปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ทําเอกสารประกอบการลงบัญชีและหรือลงบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริง ให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญของบัญชีที่มีผลกระทบต่องบการเงินไว้ในรายงานการสอบบัญชีที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็น
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีผู้นั้นได้
มาตรา ๑๐๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศรายการหรือเปิดเผยข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์นั้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ประกาศรายการหรือข้อมูลดังกล่าว ให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และให้รายงานต่อสํานักงานทราบพร้อมด้วยสําเนาประกาศรายการหรือข้อมูลที่เปิดเผย
มาตรา ๑๐๙ สํานักงานจะกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ใดยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนดก็ได้ และสํานักงานจะให้ทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และภายในกําหนดเวลาที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
รายงานและเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง
มาตรา ๑๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องเปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เปิดทําการหรือหยุดทําการในเวลาหรือวันอื่น
มาตรา ๑๑๑ มิให้นําความในมาตรา ๙๔ มาตรา ๙๘ (๑) (๗) (๘) และ (๙) มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๑๐ มาใช้บังคับแก่สถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๙๐
มาตรา ๑๑๑/๑ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ตกเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือถูกทางการหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กํากับดูแลตามกฎหมายอื่นสั่งระงับการดําเนินกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด ให้นําความในมาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับแก่ลูกค้า และทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ในการนี้ ให้สันนิษฐานว่ารายการและจํานวนทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งปรากฏตามบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเป็นรายการและจํานวนที่ถูกต้อง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
“ลูกค้า” หมายความว่า
(๑) บุคคลที่ใช้บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด และมีฐานะสุทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ โดยมีสิทธิเรียกเอาเงิน หลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับ ได้มา หรือมีไว้เพื่อบุคคลดังกล่าว
(๒) บุคคลอื่นนอกจากบุคคลตาม (๑) ซึ่งมีฐานะสุทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเพื่อประโยชน์ของบุคคลตาม (๑)
“ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นของลูกค้า” หมายความว่า
(๑) บรรดาทรัพย์สินของลูกค้าและทรัพย์สินอื่นที่ได้มาแทนทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครอง หรืออํานาจสั่งการหรือสั่งจําหน่ายของบริษัทหลักทรัพย์ อันเนื่องมาจากประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
(๒) หลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่บริษัทหลักทรัพย์ถือไว้ในลักษณะเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท และชนิดเดียวกันกับหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของลูกค้า ทั้งนี้ ในจํานวนที่จําเป็นเพื่อการส่งคืนหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินประเภทและชนิดเดียวกันนั้นแก่ลูกค้าตามสิทธิเรียกร้องที่ลูกค้ามีต่อบริษัทหลักทรัพย์
ส่วน ๓ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
มาตรา ๑๑๒ ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําสัญญาเป็นหนังสือกับลูกค้าที่มอบหมายให้ทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในการนี้ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจกําหนดรายการอันเป็นสาระสําคัญแห่งสัญญาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๑๓ ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ส่วน ๔ การค้าหลักทรัพย์
มาตรา ๑๑๔ ในการค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการค้าหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ส่วน ๕ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
มาตรา ๑๑๕ ในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด และคณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการที่บริษัทหลักทรัพย์อาจเรียกจากลูกค้าในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนด้วยก็ได้
ส่วน ๖ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
มาตรา ๑๑๖ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด และคณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการที่บริษัทหลักทรัพย์ อาจเรียกจากลูกค้าในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วยก็ได้
ส่วน ๗ การจัดการกองทุนรวม
มาตรา ๑๑๗ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จะจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ เมื่อคําขอจัดตั้งกองทุนรวมนั้นได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๑๘ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามมาตรา ๑๑๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมตามรายการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(๒) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์
(๓) ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
มาตรา ๑๑๙ ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทหลักทรัพย์
(๒) การแต่งตั้ง เงื่อนไขการเปลี่ยนตัว และค่าตอบแทนของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(๓) อัตรา และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและบําเหน็จในการจัดการกองทุนรวม
(๔) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน
(๕) การเลิกกองทุนรวมไม่ว่าเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการจัดการกองทุนรวมหรือเพราะเหตุอื่นใด
(๖) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๒๐ ข้อผูกพันตามมาตรา ๑๑๙ และสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิดของบริษัทหลักทรัพย์ และผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีลักษณะอันไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อความในข้อผูกพันหรือในสัญญาใดที่มีลักษณะที่ขัดบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ตกเป็นโมฆะ
มาตรา ๑๒๑ ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมต้องเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่มีคุณสมบัติตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในการประกาศกําหนดตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นสําคัญ
(๑) เงินกองทุน สินทรัพย์รวมสุทธิ และผลการดําเนินงานของผู้ที่จะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์
(๒) ความสัมพันธ์ของผู้ดูแลผลประโยชน์กับบริษัทหลักทรัพย์
(๓) การจัดองค์กรและการควบคุมภายในเพื่อการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์
มาตรา ๑๒๒ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามมาตรา ๑๑๗ แล้วและก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
มาตรา ๑๒๓ การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนจะกระทําได้ต่อเมื่อบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนพร้อมทั้งระบุวันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไว้ด้วย
หนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด สําหรับรายการในหนังสือชี้ชวนที่ตรงกับรายการในโครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างกัน
มาตรา ๑๒๔ เงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในแต่ละโครงการจัดการกองทุนรวมให้รวมเข้าเป็นกองทรัพย์สิน และให้บริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนกองทรัพย์สินดังกล่าวเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นําทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมตามที่ได้รับอนุมัติ โดยให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวม
ให้กองทุนรวมตามวรรคสองมีสัญชาติเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวม
มาตรา ๑๒๔/๑ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีนโยบายการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม รวมทั้งติดตามดูแลการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนและการกระทําที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๒๕ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดการให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนข้อผูกพันที่ทําไว้กับผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเคร่งครัด
(๒) จัดให้มีการฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมไว้กับผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(๓) จัดทําบัญชีแสดงการลงทุนของกองทุนรวมไว้โดยถูกต้องครบถ้วน
(๔) จัดทํารายงานการลงทุนของกองทุนรวมให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(๕) จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
(๖) จัดให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการนําทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุนและนําผลประโยชน์ดังกล่าวฝากไว้กับผู้ดูแลผลประโยชน์
มาตรา ๑๒๖ ในการจัดการกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการดังต่อไปนี้
(๑) กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(๒) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการนั้นเอง
(๓)(ยกเลิก)
(๔) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทใดเกินอัตราส่วนที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ สํานักงานจะกําหนดตามประเภทของหลักทรัพย์หรือตามประเภทของกิจการของบริษัทนั้นก็ได้
(๕) กู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวม หรือก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
การประกาศตาม (๔) สํานักงานจะประกาศกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ถือปฏิบัติ สําหรับแต่ละกองทุนรวมหรือรวมทุกกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการก็ได้
มาตรา ๑๒๖/๑ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์เดียวกันนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งในโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติและในหนังสือชี้ชวน และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๑๒๗ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๕ โดยเคร่งครัด
(๒) รับฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งดูแลให้การเบิกจ่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเป็นไปตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
(๓) จัดทําบัญชีแสดงการรับจ่ายทรัพย์สินของกองทุนรวม
(๔) จัดทํารายงานเสนอต่อสํานักงาน ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนรวม หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒๕
(๕) ดําเนินการฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน หรือฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง หรือเมื่อได้รับคําสั่งจากสํานักงาน
ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องบังคับคดีเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมใดให้เรียกร้องจากทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น
มาตรา ๑๒๘ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์กระทําการหรืองดเว้นกระทําการจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนรวม หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมจัดทํารายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยละเอียดและส่งให้แก่สํานักงานภายในห้าวันนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
ในกรณีที่สํานักงานได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง และพิจารณาเห็นว่าการกระทําของบริษัทหลักทรัพย์เป็นการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์แก้ไขการกระทําหรืองดเว้นการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นการฝ่าฝืนหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๒๕
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานที่สั่งตามวรรคสอง ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) สั่งเพิกถอนการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของบริษัทหลักทรัพย์นั้นและแต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นเข้าเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการแทน ทั้งนี้ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่สํานักงานแต่งตั้งได้รับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งเพิกถอน
(๒) สั่งให้บริษัทหลักทรัพย์เลิกกองทุนรวมนั้น
มาตรา ๑๒๙ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการให้กระทําโดยการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งจะดําเนินการโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้
ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือวิธีการจัดการให้สํานักงานทราบ รวมทั้งแจ้งไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนทุกคนและเผยแพร่ในลักษณะที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข
มาตรา ๑๒๙/๑ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์อาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามมาตรา ๑๒๙ วรรคสอง ก็ได้
(๑) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(๒) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง
(๓) การดําเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้
(๔) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการในลักษณะที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๑๒๙/๒ ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามมาตรา ๑๒๙ ต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนหรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด และต้องมีหน่วยลงทุนนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึงหนึ่งชั่วโมง แต่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์อาจนัดประชุมใหม่ โดยในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
มติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะประกาศกําหนดให้ต้องได้คะแนนเสียงของจํานวนหน่วยลงทุนที่มากกว่านั้น
ให้นําความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๙/๓ การส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อมูลที่ต้องแจ้งในหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน การจัดการประชุม สิทธิในการออกเสียงลงคะแนน การมอบฉันทะ และการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๒๙/๔ ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งใด ไม่ว่าจะโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือโดยการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนเห็นว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนในครั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือบริษัทหลักทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๙/๒ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๑๒๙/๓ ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าห้าคนและมีหน่วยลงทุนนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมนั้นจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งนั้นก็ได้แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้แก้ไข
มาตรา ๑๓๐ เมื่อเลิกกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้งผู้ชําระบัญชีเพื่อทําหน้าที่รวบรวมและแจกจ่ายทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งทําการอย่างอื่นตามแต่จําเป็นเพื่อชําระบัญชีให้เสร็จสิ้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ผู้ชําระบัญชีตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน
ค่าใช้จ่ายและเงินค่าตอบแทนในการชําระบัญชีของกองทุนรวมใด ให้จ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น
มาตรา ๑๓๑ เมื่อการชําระบัญชีเสร็จสิ้นให้ผู้ชําระบัญชีขอจดทะเบียนเลิกกองทุนรวมกับสํานักงาน
ภายหลังจดทะเบียนเลิกกองทุนรวมแล้ว หากปรากฏว่ายังมีทรัพย์สินคงค้างอยู่ ให้ผู้ชําระบัญชีจัดการโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงาน
มาตรา ๑๓๒ ให้นําความในมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๘๐ มาตรา ๘๑ มาตรา ๘๒ มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๔ มาตรา ๘๕ มาตรา ๘๖ มาตรา ๘๗ และมาตรา ๘๙ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับแก่การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนและการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์โดยอนุโลม
ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องบังคับคดีเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมใด ให้เรียกร้องได้จากทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น
ส่วน ๘ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
มาตรา ๑๓๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้บริษัทหลักทรัพย์ทําสัญญาเป็นหนังสือกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และต้องดําเนินการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด ในการนี้ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจกําหนดรายการอันเป็นสาระสําคัญแห่งสัญญาดังกล่าวได้
มาตรา ๑๓๔ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยความเห็นชอบของสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้นําความในมาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคสองหรือวรรคสาม ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลนั้นได้
มาตรา ๑๓๕ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินโดยความเห็นชอบของสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
บริษัทหลักทรัพย์อาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการได้เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๑๓๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลออกจากทรัพย์สินของตน และในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ให้บริษัทหลักทรัพย์นําทรัพย์สินนั้นไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา ๑๓๕ วรรคหนึ่ง ภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือภายในระยะเวลาตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๑๓๗ ในการรับฝากทรัพย์สิน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแยกทรัพย์สินที่ตนรับฝากไว้ออกจากทรัพย์สินอื่นของตน และดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่รับฝากนั้นตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ผู้รับฝากทรัพย์สินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินนั้นได้
มาตรา ๑๓๘ บรรดาทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ต้องลงชื่อของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ทําการแทนไว้ด้วย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๑๓๙ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงทุนในทรัพย์สินประเภทอื่นใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล นอกจากที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญามอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๒) รับค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดจากผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในสัญญามอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๓) ซื้อหรือขายทรัพย์สินในนามของตนเองให้แก่ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมิได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงการกระทําดังกล่าว
(๔) ให้คํารับรองแก่ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลว่าจะมีกําไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอนหรือสัญญาว่าจะไม่มีผลขาดทุนในอัตราที่กําหนดไว้โดยแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คํารับรองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(๕) กระทําการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
มาตรา ๑๔๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําบัญชีแสดงฐานะทางการเงินของกองทุนส่วนบุคคลแต่ละรายตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องเก็บรักษาเอกสารประกอบบัญชีแสดงให้เห็นความถูกต้องแห่งบัญชีนั้นไว้ด้วย
ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีลักษณะตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบการเงินของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด การกําหนดดังกล่าวให้คํานึงถึงมาตรฐานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีได้ให้ความเห็นชอบแล้วด้วย
งบการเงินตามวรรคสองต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมิใช่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
ผู้สอบบัญชีของกองทุนส่วนบุคคลต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี และข้อกําหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ทําเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เป็นสาระสําคัญต่องบการเงินไว้ในรายงานการสอบบัญชีที่ตนต้องลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็น
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคสี่หรือวรรคห้า ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นได้
ส่วน ๘/๑ ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่รัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๑๔๐/๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ในประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ตาม (๗) ของบทนิยามคําว่า “ธุรกิจหลักทรัพย์” ในมาตรา ๔ ประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ส่วน ๙ การเพิกถอนใบอนุญาตและการเลิกบริษัท
หมวด ๑๔๑ มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์ใด
(๑) จัดทําบัญชีไม่เรียบร้อยหรือไม่ทําให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร
(๒) กระทําการหรือไม่กระทําการตามที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไขการกระทําดังกล่าวหรือกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในเวลาที่กําหนด
มาตรา ๑๔๒ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีฐานะหรือมีการดําเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไขฐานะหรือการดําเนินงานดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
มาตรา ๑๔๓ ในกรณีที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีฐานะหรือมีการดําเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขการบริหารงานให้ถูกต้องหรือดําเนินการอื่นใดภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด ในการนี้ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะหรือการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้นด้วยก็ได้
บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่ดําเนินการแก้ไขหรือไม่สามารถแก้ไขการดําเนินงานดังกล่าวได้ ให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัทหลักทรัพย์นั้นได้
มาตรา ๑๔๔ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ใดมีฐานะหรือมีการดําเนินงานในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามมาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตําแหน่งได้ และให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากสํานักงานเข้าดํารงตําแหน่งแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันถอดถอน
มาตรา ๑๔๕ บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่ถอดถอนบุคคลหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดํารงตําแหน่งแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันถอดถอน ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจสั่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์นั้นไม่ถอดถอน
(๒) แต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปดํารงตําแหน่งแทนผู้ซึ่งถูกถอดถอนเป็นเวลาไม่เกินสามปี และให้บุคคลนั้นได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดโดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดํารงตําแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคําสั่งของสํานักงานมิได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าคําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่งเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด แล้วแต่กรณี
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดําเนินการใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อมในบริษัทหลักทรัพย์นั้นมิได้ และต้องอํานวยความสะดวก และให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งแทน
มาตรา ๑๔๖ บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามมาตรา ๑๔๔ ให้สํานักงานรายงานต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
มาตรา ๑๔๗ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่ประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตในปริมาณที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดในช่วงระยะเวลาสองปีใด ๆ ให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทุกประเภทหรือประเภทใดประเภทหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตนั้นได้
มาตรา ๑๔๘ ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๖ หรือมาตรา ๑๔๗ ที่เป็นการสั่งเพิกถอนการประกอบกิจการทุกประเภท ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวเป็นอันเลิกบริษัท
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินที่อาจประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๔๙ ในการเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัทหลักทรัพย์ ให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นทราบและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น กับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา ๑๕๐ บริษัทหลักทรัพย์ใดประสงค์จะเลิกประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตให้ยื่นขออนุญาตเลิกประกอบกิจการต่อรัฐมนตรีผ่านคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการอนุญาตรัฐมนตรีจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
มาตรา ๑๕๑ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ใดเลิกกิจการหรือเลิกประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นทําการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ชําระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ในรายการที่ค้างอยู่ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
มาตรา ๑๕๒ เมื่อมีการเลิกบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๔๘ ให้มีการชําระบัญชีและให้สํานักงานแต่งตั้งผู้ชําระบัญชี
การชําระบัญชีให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชําระบัญชีบริษัทจํากัด หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดว่าด้วยการชําระบัญชี แล้วแต่กรณี เว้นแต่การใดที่เป็นอํานาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ให้เป็นอํานาจและหน้าที่ของสํานักงาน
ค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ใดให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
หมวด ๕ ตลาดหลักทรัพย์
ส่วน ๑ การจัดตั้ง
มาตรา ๑๕๓ ให้จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเรียกว่า “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์โดยไม่นําผลกําไรมาแบ่งปันกันดังนี้
(๑) จัดให้มีการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน รวมตลอดถึงการจัดระบบและวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ดังกล่าว
(๒) ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ อันได้แก่ ธุรกิจให้บริการเกี่ยวกับหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยเป็นสํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ ธุรกิจให้บริการด้านข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ หรือธุรกิจทํานองเดียวกัน
(๓) ประกอบธุรกิจอื่นใดนอกจาก (๑) และ (๒) โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๕๔ ให้ตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจกระทําการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๑๕๓ อํานาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) จัดให้ได้มา ถือกรรมสิทธิ์ มีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ครอบครอง เช่าหรือให้เช่า เช่าซื้อหรือให้เช่าซื้อ โอนหรือรับโอนสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ จํานองหรือรับจํานองขายหรือจําหน่าย ด้วยวิธีอื่นใดซึ่งสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์
(๒) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินและลงทุนหาผลประโยชน์
มาตรา ๑๕๔/๑ ตลาดหลักทรัพย์ต้องส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง ความเป็นธรรม การตรวจสอบได้ และความเรียบร้อยในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของตลาดทุนและการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
มาตรา ๑๕๔/๒ เพื่อให้การดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์เป็นไปตามมาตรา ๑๕๓ และมาตรา ๑๕๔/๑ ตลาดหลักทรัพย์ต้องดําเนินการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) มีแหล่งเงินทุนและระบบงานที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ สามารถรองรับความเสี่ยงจากการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งมีมาตรการรองรับในสถานการณ์ฉุกเฉิน
(๒) มีระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ ระบบบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอราคาและการซื้อขายหลักทรัพย์ ระบบกํากับตรวจสอบการซื้อขายหลักทรัพย์ และระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ที่ส่งเสริมและรักษาความมั่นคง ความมีประสิทธิภาพ ตลอดจนความเป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์
(๓) มีหลักเกณฑ์การรับสมาชิกที่เป็นธรรม มีหลักเกณฑ์ที่สมาชิกต้องปฏิบัติในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งมีมาตรการกํากับดูแลและลงโทษสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(๔) มีหลักเกณฑ์การรับจดทะเบียนหลักทรัพย์ การดํารงสถานะ และการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน ตลอดจนการสร้างหลักธรรมาภิบาลและการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียน
(๕) มีมาตรการในการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(๖) มีการจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นว่า การดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งในเรื่องใดอาจกระทบต่อความมั่นคง อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรืออาจนํามาซึ่งความไม่เรียบร้อยในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์ ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกการดําเนินงานนั้นก็ได้
มาตรา ๑๕๕ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นอกจากตลาดหลักทรัพย์ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๕๖ ห้ามมิให้บุคคลใดนอกจากตลาดหลักทรัพย์ ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อในธุรกิจว่า “ตลาดหลักทรัพย์” หรือ “ตลาดหุ้น” หรือคําอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา ๑๕๗ หลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนตามส่วนที่ ๔ แห่งหมวดนี้
มาตรา ๑๕๘ บริษัทหลักทรัพย์ที่จะทําการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
ส่วน ๒ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๕๙ ให้มีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คณะหนึ่งประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งจํานวนไม่เกินหกคนตามกระบวนการที่กําหนดในมาตรา ๑๕๙/๑ และบุคคลซึ่งสมาชิกตามมาตรา ๑๕๘ เลือกตั้งอีกจํานวนไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ และให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์โดยตําแหน่ง
ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เลือกกรรมการตลาดหลักทรัพย์คนหนึ่งนอกจากผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นประธานกรรมการ และจะเลือกกรรมการตลาดหลักทรัพย์อีกคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการด้วยก็ได้
มาตรา ๑๕๙/๑ บุคคลซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๕๙ ต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์อันจําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์และต้องมาจากรายชื่อที่เสนอโดยนิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุน
ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้หรือประสบการณ์อันจําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งประเภทหรือลักษณะของนิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุนซึ่งมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๖๐ กรรมการตลาดหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง หรือพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งได้รับเลือกตั้ง
(๕) ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตําแหน่งเนื่องจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติให้ออก
มาตรา ๑๖๐/๑ ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๑๕๘ เห็นว่า การดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์เฉพาะด้านของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย สมาชิกตามมาตรา ๑๕๘ อาจเลือกบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยจํานวนไม่เกินสองคนเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ก็ได้
มาตรา ๑๖๑ ให้กรรมการตลาดหลักทรัพย์นอกจากผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ดํารงตําแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งได้อีก แต่จะแต่งตั้งหรือเลือกตั้งให้ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๑๖๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตลาดหลักทรัพย์พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติให้ออก
(๔) เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐
เมื่อกรรมการตลาดหลักทรัพย์พ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งหรือสมาชิกตามมาตรา ๑๕๘ เลือกตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์แทน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๖๓ ให้นําความในมาตรา ๑๐ วรรคสอง มาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๖๔ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้แต่งตั้งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์โดยให้ได้รับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละไม่เกินสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๑๖๕ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ต้อง
(๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐
(๒) เป็นผู้สามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่ตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๖๖ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
(๔) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติให้ออก
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐
มติคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่ให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ออกจากตําแหน่งต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยไม่นับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๖๗ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์มีหน้าที่บริหารกิจการของตลาดหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และมีอํานาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์
ในการบริหารกิจการ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๖๘ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้แทนของตลาดหลักทรัพย์ และเพื่อการนี้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์จะมอบหมายให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการบางอย่างแทนโดยไม่ขัดต่อระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ก็ได้
การมอบหมายตามวรรคหนึ่งให้ทําเป็นหนังสือ
มาตรา ๑๖๙ เมื่อตําแหน่งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ว่างลงหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์หรือพนักงานของตลาดหลักทรัพย์คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ทําการแทนเป็นการชั่วคราวได้ ในการนี้ ให้ผู้ทําการแทนมีอํานาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๗๐ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายควบคุมดูแลการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ และปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการกําหนดระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับและเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน
(๒) อัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน
(๓) หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์ การเลือกตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๕๙ จํานวน วิธีการรับ คุณสมบัติ สิทธิและหน้าที่ วินัย การลงโทษ การประชุม ตลอดจนการโอนและการพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
(๔) การกําหนดเกี่ยวกับค่าเข้าเป็นสมาชิก ค่าบํารุง เงินประกันและค่าบริการต่าง ๆ ที่สมาชิกจะพึงจ่ายให้แก่ตลาดหลักทรัพย์
(๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อกําหนดเพิ่มเติมในการบัญชีและการสอบบัญชีโดยไม่ขัดต่อมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันวิชาชีพซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้การรับรอง
(๖) การประกาศรายชื่อผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ให้ทําการสอบบัญชีของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(๗) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ จดทะเบียน การเปิดเผยฐานะการเงิน และผลการดําเนินงานของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(๘) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการทําสัญญาเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าและบริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่สมาชิก
(๙) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การอนุญาตให้สมาชิกซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์และการชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ได้มีการซื้อหรือขายในตลาดหลักทรัพย์
(๑๐) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว
(๑๑) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเข้าไปตรวจสอบเอกสารและสมุดบัญชีของสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
(๑๒) เวลาทําการประจําวันและวันหยุดทําการสําหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
(๑๓) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ รวมทั้งกําหนดระยะเวลาการรับรองการโอนหลักทรัพย์และการออกใบหลักทรัพย์
(๑๔) การบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน พนักงานและลูกจ้าง วินัย การลงโทษพนักงานและลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนการร้องทุกข์และระเบียบวิธีปฏิบัติงานของตลาดหลักทรัพย์
(๑๕) การกําหนดตําแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้างและเงินบําเหน็จรางวัลพนักงานและลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์
(๑๖) การสงเคราะห์พนักงานและลูกจ้าง หรือผู้พ้นจากการเป็นพนักงานและลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนครอบครัวของบุคคลเหล่านั้น
(๑๗) การอื่นใดที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์
การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคสอง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับระเบียบหรือข้อบังคับ
ในกรณีที่การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคสองอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ให้ตลาดหลักทรัพย์จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อน พร้อมทั้งจัดส่งรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การขอความเห็นชอบระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคสามและการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับกับระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคสอง (๑๔) (๑๕) หรือ (๑๖) และระเบียบหรือข้อบังคับอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคสอง (๓) ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้หรือประสบการณ์อันจําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ด้วย
มาตรา ๑๗๐/๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่า กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชนหรือไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองและรักษาความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์กําหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม ยกเลิก หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้วได้
มาตรา ๑๗๑ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รับหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนตามมาตรา ๑๗๐ (๑) เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(๒) ห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนรายใดรายหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว โดยกําหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
(๓) ห้ามสมาชิกรายใดรายหนึ่งเข้าทําการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว โดยกําหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
(๔) เพิกถอนการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนตามมาตรา ๑๗๐ (๑)
การสั่งรับหลักทรัพย์หรือเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ตลาดหลักทรัพย์ประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการของตลาดหลักทรัพย์และเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบก่อนวันที่หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหรือถูกเพิกถอนการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
มาตรา ๑๗๒ เพื่อให้การดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์เป็นไปโดยเรียบร้อยหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุน ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจสั่งให้บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กระทําการหรืองดเว้นกระทําการในเรื่องใด ๆ ตามความจําเป็นและสมควร
ในกรณีที่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฝ่าฝืนคําสั่งของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะใช้อํานาจตามมาตรา ๑๗๑ (๒) หรือ (๔) ก็ได้
มาตรา ๑๗๓ ในกรณีที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพิกถอนการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเนื่องจากบริษัทฝ่าฝืนคําสั่งตามมาตรา ๑๗๒ ให้บุคคลผู้ถือหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนนั้นมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทผู้เป็นต้นเหตุแห่งการฝ่าฝืนคําสั่งดังกล่าว
บุคคลผู้ถือหลักทรัพย์ที่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ได้หลักทรัพย์นั้นมาก่อนการเพิกถอนและมิได้มีส่วนร่วมหรือให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติแก่การฝ่าฝืนเช่นว่านั้น
มาตรา ๑๗๔ ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา ๑๗๓ ให้เป็นจํานวนเงินเท่ากับมูลค่าที่ลดลงจากราคาขายครั้งสุดท้ายในตลาดหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์นั้น
มาตรา ๑๗๕ ให้ตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจฟ้องร้องบังคับคดีเรียกค่าเสียหาย ตามมาตรา ๑๗๔ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ทั้งปวง
มาตรา ๑๗๖ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อดําเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มอบหมายได้ และให้นําความในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะอนุกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
มาตรา ๑๗๗ ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่ที่ประชุมสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์กําหนด
ส่วน ๓ การดําเนินงาน
มาตรา ๑๗๘ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เสนองบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายประจําปีซึ่งผู้สอบบัญชีรับรองต่อที่ประชุมสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
มาตรา ๑๗๙ ให้ที่ประชุมสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากบุคคลที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เสนอ และให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่ที่ประชุมสมาชิกกําหนด
ผู้สอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี และไม่เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ พนักงานหรือลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๑๘๐ ให้ผู้สอบบัญชีมีอํานาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชี และเอกสารหลักฐานของตลาดหลักทรัพย์ และขอคําชี้แจงจากกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ พนักงานหรือลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์ได้
มาตรา ๑๘๑ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ยื่นงบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายประจําปีตลอดจนทํารายงานและจัดส่งเอกสารต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด
มาตรา ๑๘๒ ให้ตลาดหลักทรัพย์จ่ายเงินให้แก่สํานักงานเพื่อเป็นการอุดหนุนตามอัตราที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
มาตรา ๑๘๒/๑ ให้ตลาดหลักทรัพย์นําส่งเงินให้แก่กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนตามมาตรา ๒๑๘/๒ ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ภาษี และเงินสํารอง ทั้งนี้ ให้ใช้งบการเงินรวมของตลาดหลักทรัพย์ในการคํานวณจํานวนเงินนําส่ง
การกันเงินสํารองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประเภทและจํานวนที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด และให้ตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกันเงินสํารองดังกล่าวไว้ในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
มาตรา ๑๘๓ ให้ตลาดหลักทรัพย์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ มีอํานาจเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ทราบเพื่อคุ้มครองประโยชน์หรือส่วนได้เสียของประชาชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
มาตรา ๑๘๔ การซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้กระทําได้โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
ในการซื้อหรือการขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง สมาชิกจะกระทําการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนของบุคคลใด ๆ หรือของบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นสมาชิกก็ได้
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อาจประกาศกําหนดให้บุคคลที่มิใช่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์สามารถทําการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทใดประเภทหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้
มาตรา ๑๘๕ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายในฐานะนายหน้าหรือตัวแทนหรือในนามของสมาชิกเอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์หรือเป็นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการ ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาต
มาตรา ๑๘๖ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเศรษฐกิจของประเทศ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจ
(๑) ห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว โดยกําหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
(๒) สั่งให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์หรือผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอื่นใดตามที่เห็นสมควร
การดําเนินการตาม (๑) ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําเป็นหนังสือและประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการของตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทั้งรายงานให้รัฐมนตรีทราบโดยเร็ว ในการนี้ ให้รัฐมนตรีมีอํานาจสั่งแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงการสั่งการดังกล่าวได้
มาตรา ๑๘๗ ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องอันเนื่องมาแต่เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผลให้ไม่อาจซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ตามปกติ ให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจสั่งหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นการชั่วคราวได้ แต่ต้องรายงานเหตุดังกล่าวโดยละเอียดต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในทันที
มาตรา ๑๘๘ เมื่อสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์รายใดพ้นจากสมาชิกภาพ ตลาดหลักทรัพย์ต้องอนุญาตให้สมาชิกนั้นซื้อขายหลักทรัพย์รายการที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ
ส่วน ๔ หลักทรัพย์จดทะเบียน
มาตรา ๑๘๙ บุคคลใดประสงค์จะนําหลักทรัพย์ที่ตนออกไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องนําหลักทรัพย์นั้นไปจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
เมื่อตลาดหลักทรัพย์ได้รับคําขอจดทะเบียนแล้ว ให้พิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อสั่งรับหรือไม่รับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
มาตรา ๑๙๐ ในกรณีที่ต้องมีการส่งมอบ การโอน การยึดถือหรือส่งคืนหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ใช้หลักทรัพย์ของนิติบุคคลเดียวกันหรือของโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภทและชนิดเดียวกัน และจํานวนเท่ากันแทนกันได้
มาตรา ๑๙๑ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
การจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะมอบให้ตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๒๑ เป็นผู้ดําเนินการแทนก็ได้
มาตรา ๑๙๒ ในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนใดซึ่งมีจํานวนรวมกันไม่ต่ํากว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นร้องขอต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์รับเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้ตลาดหลักทรัพย์รับเป็นนายทะเบียนตามคําขอนั้น และให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดําเนินการส่งมอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ตลาดหลักทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งการรับเป็นนายทะเบียนต่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เมื่อพ้นกําหนดดังกล่าวแล้วบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวจะทําหน้าที่นายทะเบียนต่อไปไม่ได้
มาตรา ๑๙๓ ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนจะงดรับการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์ชนิดระบุชื่อผู้ถือก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น และได้มีผู้ถือหลักทรัพย์ขอลงทะเบียนการโอนไว้ก่อนวันงดรับการลงทะเบียนดังกล่าว บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนจะต้องดําเนินการโอนหลักทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นนั้น
มาตรา ๑๙๔ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนจ่ายเงินปันผลหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นแก่บุคคลที่มิได้ลงทะเบียนเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ และในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหุ้น ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนดังกล่าวยอมให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา ๑๙๕ ในกรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์มีสัญญาให้บริษัทหลักทรัพย์ยึดถือหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้เป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีบัญชีหลักทรัพย์จดทะเบียนดังกล่าวตามแบบที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด และต้องลงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน
(๒) รักษาหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้ให้ตรงตามประเภท ชนิด และตามจํานวนสุทธิที่ปรากฏในบัญชีหลักทรัพย์ตาม (๑) อยู่ตลอดเวลา เว้นแต่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะประกาศกําหนดเป็นอย่างอื่น และต้องส่งคืนให้แก่ผู้กู้ได้ในทันทีที่ผู้กู้ได้ชําระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว
การยึดถือหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้เป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้ตามวรรคหนึ่งมิให้นํามาตรา ๗๕๒ และมาตรา ๗๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับ
ให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการจํานําตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการให้ประกันตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรานี้และมาตรา ๑๙๖
ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ยึดถือหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้เป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้ตามวรรคหนึ่ง มีบุริมสิทธิเหนือหลักทรัพย์ดังกล่าวทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา
มาตรา ๑๙๖ การบังคับขายหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ยึดถือไว้เป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้ตามมาตรา ๑๙๕ ผู้ให้กู้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้กู้และผู้ให้ประกันก่อน เพื่อให้มีการชําระหนี้ภายในเวลาอันควร ถ้าผู้กู้และผู้ให้ประกันไม่ปฏิบัติตามคําบอกกล่าว ผู้ให้กู้มีสิทธินําหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นไปขายในตลาดหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด หรือขายทอดตลาดได้
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการบังคับจํานําหลักทรัพย์จดทะเบียนที่จํานําไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย โดยอนุโลม
มาตรา ๑๙๗ ในการออกใบหลักทรัพย์ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์มีอํานาจลงลายมือชื่อในใบหลักทรัพย์แทนการลงลายมือชื่อกรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนได้เมื่อได้รับมอบหมายจากบริษัทดังกล่าว
มาตรา ๑๙๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๙๑ มาตรา ๑๙๒ มาตรา ๑๙๓ มาตรา ๑๙๔ มาตรา ๑๙๕ และมาตรา ๑๙๖ มิให้ใช้บังคับแก่หลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(๑) พันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
(๒) ตั๋วเงิน
(๓) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
มาตรา ๑๙๙ ให้นําความในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๕ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับแก่การโอนและการจัดทําทะเบียนหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนอันมิใช่ตั๋วเงินโดยอนุโลม
ให้นําความในมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๒ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับแก่การเปิดเผยข้อมูลและผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนอันมิใช่พันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหลักทรัพย์อื่นใดตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนดโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวได้จัดทําและส่งรายงานการเปิดเผยข้อมูลต่อสํานักงานตามมาตรา ๕๖ ไว้แล้ว บริษัทจะส่งสําเนารายงานข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ก็ได้
ในกรณีที่บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานหรือคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้ถือว่าบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกําหนดอํานาจหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์หรือคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๐๐ ให้งบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนประจํางวดการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดทําตามแบบที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๑๐๖ วรรคหนึ่ง หรือกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น เป็นงบการเงินประจํางวดการบัญชีตามที่กําหนดในมาตรา ๑๙๙ และให้ถือว่าผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับความเห็นชอบตามมาตรา ๑๐๖ หรือตามกฎหมายดังกล่าว เป็นผู้สอบบัญชีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ
ส่วน ๕ การชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
มาตรา ๒๐๑ ในกรณีที่สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์มีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง หรือระหว่างสมาชิกกับลูกค้าของสมาชิก คู่พิพาทอาจยื่นคําร้องต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อขอให้มีการชี้ขาดข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งหนึ่งคนเป็นประธาน และบุคคลซึ่งคู่พิพาทแต่งตั้งอีกฝ่ายละหนึ่งคน
มาตรา ๒๐๒ คําร้องตามมาตรา ๒๐๑ ให้เป็นไปตามแบบที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด และอย่างน้อยต้องระบุเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อและที่อยู่ของคู่พิพาท
(๒) ประเด็นข้อพิพาท
(๓) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๐๓ ให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับกับการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทตามมาตรา ๒๐๑ โดยอนุโลม
หมวด ๖ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า
ส่วน ๑ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
มาตรา ๒๐๔ บริษัทหลักทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้ารายอาจขอรับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. จัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้
มาตรา ๒๐๕ การขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๐๔ ให้ยื่นคําขอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(๒) ที่ตั้งสํานักงาน
(๓) บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง
(๔) ทุนและที่มาของทุนในการดําเนินงาน
(๕) ข้อบังคับของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(๖) รายละเอียดอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
คําขอตามวรรคหนึ่งให้แนบเอกสารหลักฐานข้อตกลงในการจัดตั้ง ข้อบังคับที่ใช้บังคับกับสมาชิก และหลักฐานอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๒๐๖ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๒๐๗ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้
มาตรา ๒๐๘ ให้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๒๐๙ ห้ามมิให้บุคคลใดให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นอกจากศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตตามส่วนนี้
มาตรา ๒๑๐ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๐๔ แล้ว ให้มีคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการที่สมาชิกผู้ก่อตั้งเลือกเข้ามาจํานวนไม่เกินเก้าคน
ให้กรรมการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นผู้เลือกประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ ผู้จัดการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และตําแหน่งอื่นตามที่เห็นสมควรจากกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์แจ้งชื่อและตําแหน่งของกรรมการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนทราบโดยมิชักช้า
มาตรา ๒๑๑ ในกรณีที่ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับที่ใช้กับสมาชิก ให้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์รายงานการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าวให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๒๑๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๑๓ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้สมาชิกผูกพันว่าจะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือตามระเบียบหรือข้อบังคับของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นั้น หรือตามระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด หากสมาชิกใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นั้นต้องลงโทษสมาชิกดังกล่าว
โทษตามวรรคหนึ่ง ได้แก่
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ปรับ
(๓) ห้ามมิให้ซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเป็นการชั่วคราว
(๔) ให้พ้นจากสมาชิกภาพ
มาตรา ๒๑๔ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ย่อมเลิกกันด้วยเหตุดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าในข้อตกลงในการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์มีกําหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น
(๒) ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้เลิก
(๓) ถ้าจํานวนสมาชิกลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสิบห้าราย และคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติให้เลิก
(๔) ล้มละลาย
(๕) คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งให้เลิกเมื่อมีเหตุอันสมควร
การเลิกตาม (๑) และ (๒) จะมีผลต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
มาตรา ๒๑๕ เมื่อศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เลิกกันแล้ว หากข้อตกลงในการจัดตั้งหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับกับสมาชิกไม่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้แบ่งทรัพย์สินที่เหลืออยู่แก่สมาชิกจํานวนเท่า ๆ กัน
มาตรา ๒๑๖ ให้นําความในมาตรา ๙๑ มาตรา ๑๕๔/๑ มาตรา ๑๕๔/๒ มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐/๑ มาตรา ๑๖๑ มาตรา ๑๖๒ มาตรา ๑๖๓ มาตรา ๑๗๐/๑ มาตรา ๑๘๖ มาตรา ๑๙๐ มาตรา ๑๙๓ มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๑๙๗ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๑๗ ให้นําความในมาตรา ๑๖๗ มาตรา ๑๖๘ มาตรา ๑๗๐ มาตรา ๑๗๑ มาตรา ๑๗๒ มาตรา ๑๗๘ มาตรา ๑๗๙ มาตรา ๑๘๐ มาตรา ๑๘๑ มาตรา ๑๘๒ มาตรา ๑๘๓ มาตรา ๑๘๔ มาตรา ๑๘๗ มาตรา ๑๘๘ มาตรา ๑๘๙ มาตรา ๑๙๑ มาตรา ๑๙๕ มาตรา ๑๙๖ มาตรา ๑๙๘ มาตรา ๑๙๙ มาตรา ๒๐๐ มาตรา ๒๐๑ มาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๓ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ให้ถือว่าบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกําหนดอํานาจหน้าที่ของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือผู้จัดการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
ส่วน ๒ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า
มาตรา ๒๑๘ การจัดตั้ง การดําเนินงาน การกํากับและควบคุมกิจการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๖/๑ กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน
มาตรา ๒๑๘/๑ ในหมวดนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน
“คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน
“คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุน
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน
มาตรา ๒๑๘/๒ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน” มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุน
(๒) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนหรือการกํากับดูแลตลาดทุน
(๓) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดทุน การลงทุน และการพัฒนาตลาดทุน ให้แก่ผู้ลงทุน ประชาชน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย อบรม และพัฒนาองค์ความรู้หรืองานวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุน
มาตรา ๒๑๘/๓ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาจากตลาดหลักทรัพย์
(๒) เงินที่ได้รับตามมาตรา ๑๘๒/๑
(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้
(๔) ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๒๑๘/๔ ให้กองทุนมีอํานาจกระทํากิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๒๑๘/๒
การลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน การจัดตั้งนิติบุคคล การเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือการถือหุ้นในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด
มาตรา ๒๑๘/๕ ให้กองทุนมีอํานาจจ่ายเงินจากกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๒) การสนับสนุนทางการเงินแก่ตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๑๘/๖
(๓) ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุน
(๔) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด
มาตรา ๒๑๘/๖ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์หรือกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ และตลาดหลักทรัพย์จําเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน คณะกรรมการกองทุนอาจพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ตลาดหลักทรัพย์โดยอาจกําหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา ๒๑๘/๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน” ประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เป็นกรรมการ
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนสามคนซึ่งคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งตามกระบวนการที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๑๘/๘ เป็นกรรมการ
ให้ผู้จัดการกองทุนเป็นเลขานุการ
มาตรา ๒๑๘/๘ บุคคลซึ่งคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งเป็นกรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔) ต้องมาจากรายชื่อที่เสนอโดยนิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุน
ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้หรือประสบการณ์อันจําเป็นต่อการดําเนินงานของกองทุน รวมทั้งประเภทหรือลักษณะของนิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุนซึ่งมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นกรรมการกองทุน
มาตรา ๒๑๘/๙ ให้นํามาตรา ๑๖๐ และมาตรา ๑๖๐/๑ มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔)
มาตรา ๒๑๘/๑๐ กรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๒๑๘/๑๑ ในกรณีที่กรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔) พ้นจากตําแหน่งตามวาระและยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการกองทุนขึ้นใหม่ ให้กรรมการกองทุนที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการกองทุนที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
ในกรณีที่กรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔) พ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยกรรมการกองทุนเท่าที่เหลืออยู่ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔) แทนตําแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งว่างลง
มาตรา ๒๑๘/๑๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการกองทุนตามมาตรา ๒๑๘/๗ (๔) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑๘/๙
(๔) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๕) ขาดการประชุมคณะกรรมการกองทุนเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
มาตรา ๒๑๘/๑๓ ให้นําความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับกรรมการกองทุนและการประชุมของคณะกรรมการกองทุนโดยอนุโลม
มาตรา ๒๑๘/๑๔ ให้คณะกรรมการกองทุนมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลและดําเนินกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๑๘/๒ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
(๑) กําหนดนโยบายการบริหารงานและให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณประจําปีของกองทุน
(๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุน รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว
(๓) ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๔) ควบคุมดูแลการดําเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบหรือข้อบังคับกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ข้อบังคับว่าด้วยการคัดเลือกผู้จัดการกองทุน การปฏิบัติงานและการมอบอํานาจของผู้จัดการกองทุน
(ข) การกําหนดตําแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของพนักงานและลูกจ้างของกองทุน รวมถึงการบริหารงานทั่วไปและการบริหารงานบุคคล
(ค) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ การบัญชี การงบประมาณ และทรัพย์สินของกองทุน
(๕) กระทําการอื่นใดที่จําเป็นหรือเกี่ยวเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๒๑๘/๑๕ ให้คณะกรรมการกองทุนมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย
มาตรา ๒๑๘/๑๖ ให้กรรมการกองทุน อนุกรรมการ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุน ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
มาตรา ๒๑๘/๑๗ ให้กองทุนมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้แต่งตั้ง
ผู้จัดการกองทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการกองทุนประกาศกําหนด
การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การปฏิบัติงาน การกําหนดค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่นใดของผู้จัดการกองทุน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด
มาตรา ๒๑๘/๑๘ ให้ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของกองทุนและรับผิดชอบการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด
ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้ ผู้จัดการกองทุนจะมอบอํานาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด
มาตรา ๒๑๘/๑๙ ให้กองทุนจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการของกองทุนและจัดให้มีการสอบบัญชีเป็นประจํา
ให้กองทุนจัดทํางบการเงินส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี งบการเงินนั้นต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี
ในทุกรอบปีบัญชี ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งผู้สอบบัญชีซึ่งต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และให้ผู้สอบบัญชีได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนด
ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจํานวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการกองทุน
หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา องค์ประกอบ และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตามวรรคสี่ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด
มาตรา ๒๑๘/๒๐ ให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดําเนินงานของกองทุน ทุกหนึ่งปี โดยให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุน จํานวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน เพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน
(๒) รายงานข้อจํากัดหรืออุปสรรคในการดําเนินกิจการของกองทุน
(๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการกองทุน
ให้คณะกรรมการประเมินผลรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ทราบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นรอบการประเมิน และให้กองทุนเผยแพร่รายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อสาธารณชน
เมื่อคณะกรรมการประเมินผลได้ดําเนินการตามวรรคสองเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการประเมินผลพ้นจากหน้าที่
มาตรา ๒๑๘/๒๑ ให้กองทุนจัดทํารายงานประจําปีซึ่งแสดงถึงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และต้องเปิดเผยไว้ในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้”
หมวด ๗ องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
ส่วน ๑ สํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์
มาตรา ๒๑๙ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
สํานักหักบัญชี หมายความว่า สถานที่อันเป็นศูนย์กลางการให้บริการเพื่อประโยชน์ในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้มีการซื้อขายกัน รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๒๐ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หมายความว่า สถานที่อันเป็นศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการหักบัญชี
มาตรา ๒๒๑ ห้ามมิให้บุคคลใดให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
มาตรา ๒๒๒ ให้นําความในมาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ รวมทั้งบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับสํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๓ ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ บุคคลที่ประกอบการดังกล่าวต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๒๓/๑ การเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์โดยสํานักหักบัญชีและการวางหลักประกัน ซึ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
มาตรา ๒๒๓/๒ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ให้สํานักหักบัญชีมีความผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตนให้บริการในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เฉพาะกับสมาชิกของตนเท่านั้น ไม่ว่าสมาชิกดังกล่าวจะดําเนินการเพื่อตนเองหรือเพื่อบุคคลอื่น
มาตรา ๒๒๓/๓ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินจากสมาชิกเพื่อเป็นประกันการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบต่อสํานักหักบัญชี ทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งของสมาชิกและของลูกค้า หรือทรัพย์สินที่สมาชิกนํามาวางไว้กับสํานักหักบัญชีเพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ให้นําความในมาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับสํานักหักบัญชีในการดูแลรักษาและการใช้ทรัพย์สินดังกล่าว โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๓/๔ เมื่อสมาชิกถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้นําความในมาตรา ๘๔ มาตรา ๘๕ มาตรา ๘๖ และมาตรา ๘๗ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับสํานักหักบัญชีและทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้ตามมาตรา ๒๒๓/๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๓/๕ เมื่อสํานักหักบัญชีตกเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกทางการหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กํากับดูแลสั่งระงับการดําเนินกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพย์สินของสมาชิกและลูกค้าของสมาชิกหรือระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ให้นําความในมาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับสํานักหักบัญชีและทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้ตามมาตรา ๒๒๓/๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๔ ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ประกอบการได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทั้งนี้ ให้ตลาดหลักทรัพย์ประกอบการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามมาตรา ๒๒๓
คําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ตามวรรคหนึ่งและที่จะกล่าวต่อไปในส่วนนี้ให้หมายความรวมถึงบริษัทจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น
มาตรา ๒๒๕ ในการฝากหลักทรัพย์ไว้กับตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้ฝากหลักทรัพย์จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่ได้ฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด และเมื่อรับฝากหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ตลาดหลักทรัพย์อาจรับโอนหลักทรัพย์ที่รับฝากไว้ในชื่อของตนในฐานะที่ถือแทนผู้ฝากหลักทรัพย์หรือลูกค้าของผู้ฝากหลักทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ก็ได้
ให้สันนิษฐานว่าหลักทรัพย์ที่อยู่ในชื่อของตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง เป็นหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ถือแทนบุคคลผู้มีชื่อปรากฏในบัญชีรายชื่อดังกล่าวที่ผู้ฝากหลักทรัพย์จัดทําขึ้น ทั้งนี้ ตามชนิด ประเภท และจํานวนที่ปรากฏในบัญชี
ในวันปิดสมุดทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้ตลาดหลักทรัพย์รวบรวมบัญชีหลักทรัพย์ที่รับฝากไว้และรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ดังกล่าวในวันก่อนวันแรกที่ปิดสมุดทะเบียนนั้นจากผู้ฝากหลักทรัพย์ส่งให้แก่นายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และให้ถือว่าบัญชีรายชื่อดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ เว้นแต่รายชื่อของบุคคลที่นายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แจ้งคัดค้านภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อนั้นว่าการถือหลักทรัพย์ของบุคคลดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือข้อจํากัดในเรื่องการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย
ในกรณีที่ไม่มีวันปิดสมุดทะเบียน ให้นําความในวรรคสามมาใช้บังคับแก่กรณีที่คณะกรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์กําหนดวันที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา ๘๙/๒๖ หรือกําหนดวันที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผล สิทธิในการซื้อหรือได้รับหลักทรัพย์หรือหุ้นเพิ่มทุนหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด
มาตรา ๒๒๕/๑ ในกรณีที่ผู้ฝากหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๒๕ เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้ถือว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้จัดทําใบหลักทรัพย์มอบให้แก่ผู้ซื้อตามแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกําหนดแล้ว หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด
มาตรา ๒๒๖ เมื่อตลาดหลักทรัพย์ยื่นคําขอต่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์พร้อมทั้งส่งมอบใบหลักทรัพย์เพื่อให้ลงทะเบียนการโอน ว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหลักทรัพย์แทนบุคคลตามมาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่งแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะขอให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ออกใบรับโดยมีรายการตามแบบที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดแทนการออกใบหลักทรัพย์ก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ถือเสมือนว่าบริษัทดังกล่าวได้ออกใบหลักทรัพย์แล้ว
มาตรา ๒๒๗ เจ้าของหลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์อาจขอให้ตลาดหลักทรัพย์ออกใบหลักทรัพย์ในชื่อของตนได้โดยยื่นคําขอตามแบบที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด
เมื่อได้รับคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ตลาดหลักทรัพย์แจ้งรายชื่อผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ทราบ และให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้รับแจ้งรายชื่อดังกล่าวแล้ว ดําเนินการใส่ชื่อผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์นั้นลงในสมุดทะเบียนของบริษัทพร้อมทั้งออกใบหลักทรัพย์ใหม่ในชื่อของเจ้าของหลักทรัพย์ดังกล่าว
การยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าของหลักทรัพย์มิได้เป็นผู้ฝากหลักทรัพย์โดยตรงกับตลาดหลักทรัพย์ ให้ยื่นคําขอผ่านผู้ฝากหลักทรัพย์นั้น
มาตรา ๒๒๘ การโอนหลักทรัพย์จากบัญชีผู้ฝากหลักทรัพย์รายหนึ่งไปยังบัญชีของผู้ฝากหลักทรัพย์อีกรายหนึ่ง จะกระทําได้ต่อเมื่อตลาดหลักทรัพย์ได้รับคําร้องขอจากผู้ฝากหลักทรัพย์ หรือเมื่อสํานักหักบัญชีของตลาดหลักทรัพย์ได้แจ้งรายการการส่งมอบหลักทรัพย์ระหว่างสมาชิกที่ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละสิ้นวัน
การโอนหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือภายในบัญชีผู้ฝากหลักทรัพย์รายเดียวกันให้ถือว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๒๘/๑ การใช้หลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ที่มิใช่กรณีตามมาตรา ๑๙๕ ให้มีผลสมบูรณ์เป็นประกันการชําระหนี้ และใช้ยันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบุคคลภายนอกได้ เมื่อตลาดหลักทรัพย์ได้ลงบันทึกบัญชีที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดขึ้นตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
การบังคับชําระหนี้จากหลักทรัพย์ที่เป็นประกันตามวรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้และผู้ให้ประกันก่อน เพื่อให้มีการชําระหนี้ภายในเวลาอันควร ถ้าลูกหนี้และผู้ให้ประกันไม่ปฏิบัติตามคําบอกกล่าว เจ้าหนี้มีสิทธินําหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นไปขายในตลาดหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด หรือขายทอดตลาดได้
ให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการจํานําตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการใช้หลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรานี้
ให้เจ้าหนี้ที่รับหลักทรัพย์ไว้เป็นประกันการชําระหนี้ตามวรรคหนึ่ง มีบุริมสิทธิเหนือหลักทรัพย์ดังกล่าวทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา
มาตรา ๒๒๘/๒ ให้นําความในมาตรา ๒๒๕ มาตรา ๒๒๕/๑ มาตรา ๒๒๖ มาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๘ และมาตรา ๒๒๘/๑ มาใช้บังคับกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๙ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ประกอบการได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นําความในมาตรา ๒๒๕ มาตรา ๒๒๖ มาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๘ และมาตรา ๒๒๘/๑ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ การใดที่เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามบทบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ตลาดหลักทรัพย์ตามมาตราดังกล่าวหมายความถึงธนาคารแห่งประเทศไทย
ส่วน ๒ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
มาตรา ๒๓๐ บริษัทหลักทรัพย์จะรวมกันจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อันมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้แบ่งปันกันได้ก็แต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๓๑ การจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ต้องได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
มาตรา ๒๓๒ การขออนุญาตและการจดทะเบียนนั้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งที่มีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบห้ารายยื่นคําขอต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ให้สํานักงานมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ได้
มาตรา ๒๓๓ ให้สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๒๓๔ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ต้องมีข้อบังคับ และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ
(๒) วัตถุที่ประสงค์
(๓) ที่ตั้งสํานักงาน
(๔) วิธีรับสมาชิก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๕) วินัยและการลงโทษสมาชิก
(๖) การดําเนินกิจการของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การตั้ง การออกจากตําแหน่ง และการประชุมของกรรมการ ตลอดจนการประชุมใหญ่
(๗) ข้อบังคับอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อบังคับของสมาคมต้องนําไปจดทะเบียนต่อสํานักงานพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ก่อนออกใบอนุญาตถ้าสํานักงานเห็นสมควรจะสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้นก็ได้
มาตรา ๒๓๕ สมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้น
มาตรา ๒๓๖ ชื่อของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์จะต้องเป็นชื่อเฉพาะที่ปรากฏในข้อบังคับเท่านั้น และห้ามมิให้ใช้ข้อความ “แห่งประเทศไทย” หรือข้อความที่มีความหมายทํานองเดียวกันประกอบเป็นชื่อของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
ให้สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์จัดให้มีป้ายชื่ออ่านได้ชัดเจนติดไว้หน้าสํานักงาน
มาตรา ๒๓๗ ให้นําบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจการ การควบคุม การเลิก และบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในส่วนนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้คําว่า “คณะกรรมการ ก.ล.ต.” แทนคําว่า “รัฐมนตรี” คําว่า “สํานักงาน” แทนคําว่า “นายทะเบียน” คําว่า “สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์” แทนคําว่า “สมาคมการค้า” และให้อํานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้า เป็นอํานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๘ การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
ส่วน ๑ การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับ
การซื้อขายหลักทรัพย์
มาตรา ๒๓๘ บทบัญญัติในส่วนนี้ให้ใช้บังคับแก่หลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
มาตรา ๒๓๙ ในส่วนนี้
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามมาตรา ๘๙/๑
“อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามมาตรา ๘๙/๑
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อมูลที่ยังมิได้มีการเปิดเผยต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าของหลักทรัพย์
“ผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์” หมายความว่า ผลกระทบที่ทําให้ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้น ต่ําลง คงที่ หรือเป็นการพยุงราคาหลักทรัพย์
มาตรา ๒๔๐ ห้ามมิให้บุคคลใดบอกกล่าว เผยแพร่ หรือให้คํารับรองข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความอันอาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยประการที่น่าจะทําให้มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์
มาตรา ๒๔๑ ห้ามมิให้บุคคลใดวิเคราะห์หรือคาดการณ์ฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยนําข้อมูลที่รู้ว่าเป็นเท็จหรือไม่ครบถ้วนอันอาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ มาใช้ในการวิเคราะห์หรือคาดการณ์หรือละเลยที่จะพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว หรือโดยบิดเบือนข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ และได้เปิดเผยหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือคาดการณ์นั้นต่อประชาชนโดยประการที่น่าจะมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์
มาตรา ๒๔๒ ห้ามมิให้บุคคลใดซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์กระทําการดังต่อไปนี้
(๑) ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่
(ก) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย คําสั่งศาล หรือคําสั่งของหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย
(ข) เป็นการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทําขึ้นก่อนที่ตนจะรู้ หรือครอบครองข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ค) เป็นการกระทําโดยตนมิได้เป็นผู้รู้เห็นหรือตัดสินใจ แต่ได้มอบหมายให้ผู้ได้รับอนุญาตหรือจดทะเบียนตามกฎหมายให้จัดการเงินทุนหรือการลงทุน ตัดสินใจในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์นั้น หรือ
(ง) เป็นการกระทําในลักษณะที่มิได้เป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นหรือในลักษณะตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(๒) เปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมและไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยรู้หรือควรรู้ว่าผู้รับข้อมูลอาจนําข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการกระทําในลักษณะที่มิได้เป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นหรือในลักษณะตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๓ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในตามมาตรา ๒๔๒
(๑) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(๒) พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในตําแหน่งหรือสายงานที่รับผิดชอบข้อมูลภายในหรือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายใน
(๓) บุคคลซึ่งอยู่ในฐานะที่สามารถรู้ข้อมูลภายในอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน หรือบุคคลอื่นใดที่ทําหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายใน และให้รวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ร่วมงานของบุคคลดังกล่าว ที่อยู่ในตําแหน่งหรือสายงานที่มีส่วนร่วมในการทําหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในนั้น
(๔) กรรมการ อนุกรรมการ ผู้แทนนิติบุคคล ตัวแทน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ สํานักงาน ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งอยู่ในตําแหน่งหรือฐานะที่สามารถรู้ข้อมูลภายในอันได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(๕) นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) มีอํานาจควบคุมกิจการ
มาตรา ๒๔๔ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งมีพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผิดไปจากปกติวิสัยของตน เป็นบุคคลซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในตามมาตรา ๒๔๒
(๑) ผู้ถือหลักทรัพย์เกินร้อยละห้าของหลักทรัพย์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยให้นับรวมหลักทรัพย์ที่ถือโดยคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหลักทรัพย์
(๒) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุมกิจการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกิจการในกลุ่มของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในตําแหน่งหรือสายงานที่รับผิดชอบข้อมูลภายในหรือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้
(๓) บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือบุตรบุญธรรมของบุคคลตามมาตรา ๒๔๓
(๔) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของบุคคลตามมาตรา ๒๔๓
(๕) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตามมาตรา ๒๔๓ หรือบุคคลตาม (๓) หรือ (๔)
กิจการในกลุ่มของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตาม (๒) หมายความว่า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๔/๑ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายใดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น กระทําการดังต่อไปนี้ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น ในประการที่น่าจะทําให้ลูกค้ารายดังกล่าวเสียประโยชน์
(๑) ส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น โดยใช้โอกาสดําเนินการก่อนที่ตนจะดําเนินการตามคําสั่งของลูกค้ารายดังกล่าวแล้วเสร็จ
(๒) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคําสั่งของลูกค้ารายดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น โดยรู้หรือควรรู้ว่าบุคคลนั้นจะอาศัยข้อมูลดังกล่าวเพื่อทําการส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้นได้ก่อนที่ตนจะดําเนินการตามคําสั่งของลูกค้ารายดังกล่าวแล้วเสร็จ
มาตรา ๒๔๔/๒ ให้นําความในมาตรา ๒๔๔/๑ มาใช้บังคับแก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุน และพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนหรือกิจการอื่นที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับกองทุน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์นั้นรับจัดการทรัพย์สินหรือการลงทุนให้ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔๔/๓ ห้ามมิให้บุคคลใดกระทําการ ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ อันเป็นการทําให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์
(๒) ส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ในลักษณะต่อเนื่องกันโดยมุ่งหมายให้ราคาหลักทรัพย์หรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด
มาตรา ๒๔๔/๔ มิให้นํามาตรา ๒๔๔/๓ มาใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้
(๑) การซื้อหรือขายหลักทรัพย์เพื่อทําหน้าที่รักษาระดับราคาตามข้อตกลงในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ให้กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยได้ปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) การซื้อหุ้นคืน หรือการจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนในโครงการซื้อหุ้นคืน โดยได้ปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๔/๕ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการกระทําดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําที่ทําให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๔๔/๓ (๑) หรือเป็นการกระทําที่ทําให้ราคาหลักทรัพย์หรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาดตามมาตรา ๒๔๔/๓ (๒) แล้วแต่กรณี
(๑) ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ซึ่งในที่สุดบุคคลที่ได้ประโยชน์จากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ยังคงเป็นบุคคลคนเดียวกัน
(๒) ส่งคําสั่งซื้อหลักทรัพย์โดยรู้อยู่แล้วว่าตนเองหรือบุคคลซึ่งร่วมกันกระทําการ ได้สั่งขายหรือจะสั่งขายหลักทรัพย์เดียวกัน ในจํานวนใกล้เคียงกัน ราคาใกล้เคียงกัน และภายในเวลาใกล้เคียงกัน
(๓) ส่งคําสั่งขายหลักทรัพย์โดยรู้อยู่แล้วว่าตนเองหรือบุคคลซึ่งร่วมกันกระทําการ ได้สั่งซื้อหรือจะสั่งซื้อหลักทรัพย์เดียวกัน ในจํานวนใกล้เคียงกัน ราคาใกล้เคียงกัน และภายในเวลาใกล้เคียงกัน
(๔) ส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงก่อนเปิดหรือช่วงก่อนปิดตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี โดยมุ่งหมายให้ราคาเปิดหรือราคาปิดของหลักทรัพย์นั้นสูงหรือต่ํากว่าที่ควรจะเป็น
(๕) ส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งมีผลทําให้บุคคลอื่นต้องส่งคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในราคาที่สูงกว่าหรือต่ํากว่าที่ควรจะเป็น
มาตรา ๒๔๔/๖ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้กระทําการดังต่อไปนี้ เป็นตัวการในการกระทําความผิดตามมาตรา ๒๔๔/๓
(๑) เปิดบัญชีธนาคารร่วมกันเพื่อการชําระเงินหรือรับชําระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์
(๒) ยอมให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์จากบัญชีธนาคารของตนเพื่อการชําระเงินหรือรับชําระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์
(๓) ยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตน
(๔) ชําระเงินหรือรับชําระเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์แทนกัน
(๕) นําเงินหรือทรัพย์สินอื่นมาวางเป็นประกันในการซื้อขายหลักทรัพย์แทนกัน
(๖) ยอมให้บุคคลอื่นรับประโยชน์หรือรับผิดชอบในการชําระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของตน หรือ
(๗) โอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ระหว่างกัน
มาตรา ๒๔๔/๗ ห้ามมิให้บุคคลใดส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์เข้าไปในระบบซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ โดยรู้หรือควรรู้ว่าการกระทําดังกล่าวนั้นน่าจะทําให้ราคาหลักทรัพย์หรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพปกติของตลาดและเป็นเหตุให้ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ล่าช้าหรือหยุดชะงัก
ส่วน ๒ การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
มาตรา ๒๔๕ ในส่วนนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
“กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๖ บุคคลใดกระทําการไม่ว่าโดยตนเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นอันเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการในจํานวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อรวมกันแล้ว มีจํานวนทุกร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น ไม่ว่าจะมีการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์นั้นหรือไม่ และไม่ว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นจะมีจํานวนเท่าใดในแต่ละครั้ง บุคคลนั้นต้องรายงานการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนหลักทรัพย์ในทุกร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการดังกล่าวต่อสํานักงานทุกครั้ง ทั้งนี้ การคํานวณจํานวนสิทธิออกเสียงและการรายงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
การเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการมีสิทธิที่จะซื้อหรือได้รับการส่งมอบหลักทรัพย์ของกิจการอันเนื่องมาจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ที่กิจการมิได้เป็นผู้ออกหรือจากการเข้าเป็นคู่สัญญากับบุคคลอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๗ บุคคลใดเสนอซื้อหรือได้มาไม่ว่าโดยตนเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือกระทําการอื่นใด อันเป็นผลหรือจะเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการรวมกันถึงร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ เว้นแต่การเป็นผู้ถือหลักทรัพย์นั้นเป็นผลจากการได้มาโดยทางมรดก ในการนี้ ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ โดยอาจกําหนดให้บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลที่ร่วมกันจัดทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดให้จัดทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง คําเสนอดังกล่าวต้องยื่นต่อสํานักงาน และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๘ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ประกาศหรือแจ้งการเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๔๙ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ส่งสําเนาคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้แก่กิจการที่ตนเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้นโดยทันทีที่ได้ยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน
มาตรา ๒๕๐ เมื่อได้รับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๔๙ ให้กิจการนั้นจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ และให้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมทั้งส่งสําเนาให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๕๐/๑ กิจการจะกระทําการหรืองดเว้นกระทําการใดในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตรานี้ไม่มีผลผูกพันกิจการ และให้กรรมการของกิจการต้องรับผิดต่อความเสียหายของบุคคลภายนอกที่สุจริตและเสียค่าตอบแทน
มาตรา ๒๕๑ ห้ามมิให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ซื้อหลักทรัพย์ของกิจการก่อนที่คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ยื่นต่อสํานักงานจะมีผลใช้บังคับและได้ดําเนินการตามมาตรา ๒๔๘
ในระหว่างเวลานับจากวันที่คําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่พ้นกําหนดระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ห้ามมิให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เข้าซื้อหลักทรัพย์นั้นโดยวิธีการอื่นใด นอกจากที่ได้กําหนดไว้ตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้น
มาตรา ๒๕๒ เมื่อครบกําหนดระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์แล้ว หากปรากฏว่าผู้ถือหลักทรัพย์ได้แสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ให้แก่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์มากกว่าจํานวนที่ได้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ไว้ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องซื้อหลักทรัพย์นั้นไว้ทั้งหมด เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่หลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีความประสงค์จะมิให้หลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่อไป
(๒) ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีความประสงค์จะเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์สําคัญของกิจการ
(๓) ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีความประสงค์จะเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหลักทรัพย์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ
(๔) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จะต้องชําระราคาหลักทรัพย์แก่ผู้ขายหลักทรัพย์โดยทันทีที่ได้รับมอบหลักทรัพย์ และในกรณีที่หลักทรัพย์ที่ซื้อขายดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ถือว่าเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
มาตรา ๒๕๓ เมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้เสนอซื้อหลักทรัพย์ไว้ในราคาหนึ่ง แต่ปรากฏว่ามีผู้ถือหลักทรัพย์แสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ไม่ครบตามจํานวนในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องการจะซื้อให้ครบตามจํานวน ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จะเสนอราคาใหม่ที่สูงกว่าเดิมก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องชําระราคาค่าหลักทรัพย์ในส่วนที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ที่ได้แสดงเจตนาเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งก่อนด้วย
มาตรา ๒๕๔ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเข้าครอบงํากิจการมีความประสงค์มิให้หลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่อไป ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์โดยชัดแจ้งในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ไว้ด้วย
มาตรา ๒๕๕ บุคคลที่เคยทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเข้าครอบงํากิจการไม่ว่าจะดําเนินการสําเร็จหรือไม่ จะทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเข้าครอบงํากิจการได้อีกภายหลังระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ครั้งก่อน เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะอนุมัติเป็นประการอื่น
มาตรา ๒๕๖ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ได้ซื้อหลักทรัพย์ไว้เรียบร้อยแล้ว รายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด
การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด
มาตรา ๒๕๗ ให้สํานักงานเก็บรักษาข้อมูลคําเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับจากวันที่คําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๒๕๘ หลักทรัพย์ของกิจการที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ ด้วย
(๑) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗
(๒) บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว โดยให้นับรวมสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นนั้นด้วย
(๓) นิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว
(๔) ผู้ถือหุ้นในบุคคลตาม (๓) ต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากการถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (๓) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้น ทั้งนี้ หากการถือหุ้นในทอดใดมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาให้นับรวมจํานวนสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวในนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นนั้นด้วย
(๕) นิติบุคคลที่มีบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว
(๖) นิติบุคคลที่มีบุคคลตาม (๕) เป็นผู้ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากผู้ถือหุ้นในนิติบุคคล (๕) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นดังกล่าว
(๗) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนจํากัดตาม (๘) เป็นหุ้นส่วน
(๘) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนสามัญตาม (๗) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด
(๙) นิติบุคคลที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ มีอํานาจในการจัดการเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์
มาตรา ๒๕๙ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีการถือหลักทรัพย์อันมีลักษณะที่นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลเดียวกันตามมาตรา ๒๕๘ ให้สํานักงานแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง หากบุคคลดังกล่าวมิได้ชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขภายในกําหนดเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าเป็นการถือหุ้นอันเข้าลักษณะที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๒๕๘
หมวด ๙ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
มาตรา ๒๖๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๖๑ (ยกเลิก)
หมวด ๑๐ การกํากับและควบคุม
มาตรา ๒๖๒ ให้รัฐมนตรีมีอํานาจและหน้าที่กํากับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๖๒/๑ ให้รัฐมนตรีมีอํานาจสั่งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือทํารายงานเกี่ยวกับสภาพของตลาดทุนหรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือแนวทางการกํากับดูแลตลาดทุนหรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้
มาตรา ๒๖๓ บรรดาเรื่องที่ต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
หมวด ๑๑ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๖๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของบริษัทหลักทรัพย์ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมผู้รับฝากทรัพย์สิน ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันดังกล่าวด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใด ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันดังกล่าว รวมทั้งเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันดังกล่าว
(๒) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบุคคลดังกล่าวด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใด ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) เข้าไปในธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือสถานที่ใดในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อทําการตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทําอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดําเนินคดี
(๕) สั่งให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สิน ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ และผู้รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันดังกล่าวด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใด มาให้ถ้อยคํา หรือส่งสําเนา หรือแสดงสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือหลักฐานอื่นเกี่ยวกับกิจการ การดําเนินงานสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันดังกล่าว
(๖) สั่งให้บุคคลใด ๆ ที่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์กับหรือผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์มาให้ถ้อยคําหรือส่งสําเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสาร และหลักฐานอื่นเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์
(๗) สั่งให้บุคคลใด ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่มาให้ถ้อยคํา หรือส่งสําเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือวัตถุใดที่เกี่ยวข้องหรือจําเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๘) เข้าไปตรวจสอบฐานะหรือการดําเนินงานในสถานที่ประกอบธุรกิจของลูกหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทําการตรวจสอบตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๘) แล้ว ถ้ายังดําเนินการไม่เสร็จ จะกระทําต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทําการของสถานที่นั้นก็ได้
การใช้อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม (๖) (๗) และ (๘) จะต้องเป็นการกระทําต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่ดําเนินการตรวจสอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน และในกรณีตาม (๖) และ (๗) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องกําหนดระยะเวลาอันสมควรที่จะให้บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติตามคําสั่งได้
มาตรา ๒๖๔/๑ มื่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายอื่นในทํานองเดียวกันของต่างประเทศร้องขอ ให้สํานักงานมีอํานาจให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมหรือตรวจสอบข้อมูลหรือหลักฐานที่จําเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการกระทําอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายอื่นในทํานองเดียวกันของประเทศผู้ร้องขอ ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) การให้ความช่วยเหลือนั้นต้องไม่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะหรือการรักษาความลับของประเทศ
(๒) การกระทําซึ่งเป็นมูลกรณีของความช่วยเหลือนั้นเข้าลักษณะประเภทความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) หน่วยงานต่างประเทศที่ร้องขอความช่วยเหลือตกลงหรือยินยอมที่จะให้ความช่วยเหลือในทํานองเดียวกันเป็นการตอบแทนหากได้รับคําร้องขอจากสํานักงาน
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นําความในมาตรา ๒๖๔ และบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับ
มาตรา ๒๖๔/๒ พยานหลักฐานที่ได้มาตามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างประเทศกับสํานักงานให้นํามาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในการดําเนินคดีทั้งปวงได้
มาตรา ๒๖๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๖๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๖๖/๑ ข้อมูล ข้อเท็จจริง เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่สํานักงานส่งมอบในการกล่าวโทษผู้กระทําความผิด พนักงานสอบสวนอาจนําไปเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนคดีอาญาได้
มาตรา ๒๖๗ ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานว่าบุคคลใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ประชาชน และสํานักงานมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กระทําความผิดจะยักย้ายหรือจําหน่ายทรัพย์สินของตน ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลนั้นหรือทรัพย์สินซึ่งมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าเป็นของบุคคลนั้นได้ แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาล ให้คําสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น และในกรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถฟ้องคดีได้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ศาลที่มีเขตอํานาจจะสั่งขยายระยะเวลาออกไปอีกตามคําขอของสํานักงานก็ได้ แต่จะขยายเวลาอีกเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันมิได้
ให้สํานักงานมีอํานาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวจะหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร เมื่อสํานักงานร้องขอให้ศาลอาญามีอํานาจสั่งห้ามมิให้บุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรไว้ก่อนได้ และในกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีคําสั่งห้ามมิให้บุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวได้เป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน จนกว่าศาลอาญาจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
หมวด ๑๒ โทษทางอาญา
มาตรา ๒๖๑/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๖๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของราคาขายของหลักทรัพย์ทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้ เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๖๘/๑ บุคคลตามมาตรา ๓๓/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามมาตรา ๓๓/๑ วรรคสอง ในเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูล หรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติภายหลังการได้รับอนุญาตเช่นเดียวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น และในกรณีที่เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ ให้เปรียบเทียบได้เช่นเดียวกัน
มาตรา ๒๖๘/๒ บุคคลตามมาตรา ๓๓/๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดตามมาตรา ๓๓/๒ ให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการเปิดเผยข้อมูลต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น และในกรณีที่เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ ให้เปรียบเทียบได้เช่นเดียวกัน
มาตรา ๒๖๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๓/๑ วรรคสาม มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๕/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๗๐ ผู้ออกหุ้นกู้ผู้ใดออกใบหุ้นกู้โดยมีรายการไม่เป็นไปตามมาตรา ๔๐ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง หรือทําข้อกําหนดหรือสัญญาซึ่งขาดสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา ๒๗๑ ผู้ออกหุ้นกู้ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๗๒ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๔๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๗๓ บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๓ มาตรา ๑๙๑ มาตรา ๑๙๒ หรือมาตรา ๑๙๓ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๕/๑ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๗๔ บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๑) หรือ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทใดไม่มาชี้แจงตามมาตรา ๕๘ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๗๕ ผู้ที่มีหน้าที่จัดทําและเปิดเผยรายงานตามมาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๙ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๕๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๗๖ ผู้ใดเสนอขายหรือขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามมาตรา ๖๕ หรือในระหว่างที่สํานักงานสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนตามมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของราคาขายของหลักทรัพย์ทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้ เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดเสนอขายหรือขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานตามมาตรา ๖๕ มีผลใช้บังคับ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกินหนึ่งเท่าของราคาขายของหลักทรัพย์ทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้ เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๗๘ ผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามมาตรา ๖๕ ในสาระสําคัญ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี และปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของราคาขายของหลักทรัพย์ทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้ เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๔ วรรคสอง มาตรา ๖๖ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๘๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๗ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๑ บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทใดกระทําความผิดตามมาตรานี้ ถ้าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๑/๒ กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา ๘๙/๗ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายหรือทําให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินจํานวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าห้าแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทําโดยทุจริต ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๑/๓ กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๔ คณะกรรมการบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ประธานกรรมการบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๕ เลขานุการบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กําหนดตามมาตรา ๘๙/๑๕ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมาตรา ๘๙/๑๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๒๘๑/๖ บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๗ เลขานุการบริษัทผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๒๓ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือทําให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินจํานวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทําโดยทุจริต ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๑/๘ ผู้สอบบัญชีผู้ใดหรือคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๒๘๑/๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๓๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
มาตรา ๒๘๑/๑๐ ผู้ใดมีหน้าที่ส่งหรือเปิดเผยเอกสารหรือข้อมูลดังต่อไปนี้ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) เอกสารหรือข้อมูลที่ส่งต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๑๙๙
(๒) เอกสารหรือข้อมูลที่ส่งหรือเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้นหรือประชาชนทั่วไปตามบทบัญญัติแห่งหมวด ๓/๑ การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(๓) เอกสารหรือข้อมูลที่ส่งหรือเปิดเผยต่อสํานักงานหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๒๔๖ มาตรา ๒๔๗ มาตรา ๒๔๘ หรือมาตรา ๒๕๐
มาตรา ๒๘๒ บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๔ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๑๐๐ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๖/๑ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๓๖ มาตรา ๑๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔๐ วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม มาตรา ๑๕๑ หรือมาตรา ๑๙๕ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ หรือคําสั่งที่กําหนดตามมาตรา ๙๐ วรรคสี่ มาตรา ๙๑ มาตรา ๙๑/๑ วรรคสอง มาตรา ๙๒ มาตรา ๙๘ (๗) หรือ (๑๐) มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๒๖/๑ มาตรา ๑๒๙/๓ มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๓๙ (๔) มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง มาตรา ๑๔๐/๑ มาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๒ มาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๑๕๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทําความผิดตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๖ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๔๐ วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม มาตรา ๑๕๑ หรือมาตรา ๑๙๕ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ หรือคําสั่งที่กําหนดตามมาตรา ๙๑/๑ วรรคสอง มาตรา ๙๒ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๒๙/๓ มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๔๐/๑ หรือมาตรา ๑๕๐ ถ้าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทําความผิดตามมาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๖/๑ มาตรา ๑๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๖ หรือมาตรา ๑๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ หรือคําสั่งที่กําหนดตามมาตรา ๙๐ วรรคสี่ มาตรา ๙๑ มาตรา ๙๘ (๗) หรือ (๑๐) มาตรา ๑๒๖/๑ มาตรา ๑๓๙ (๔) มาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๒ มาตรา ๑๔๓ หรือมาตรา ๑๔๔ ถ้าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๓/๑ บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๑๒๔/๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔/๑ วรรคหนึ่งด้วย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคสามเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔/๑ วรรคหนึ่งด้วย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๔ ผู้ดูแลผลประโยชน์ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒๗ หรือมาตรา ๑๒๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๕ ผู้ชําระบัญชีผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๐ หรือมาตรา ๑๓๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๕ ทวิ บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่งด้วย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทําความผิดตามมาตรา ๑๓๓ วรรคสอง ถ้าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคสามเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่งด้วย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๕ ตรี ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลใดไม่ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ประกาศกําหนดตามมาตรา ๑๓๔ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓๔ วรรคสองด้วย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๖ ผู้รับฝากทรัพย์สินผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๖ ทวิ บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๘ หรือมาตรา ๑๓๙ (๕) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทําความผิดตามมาตรา ๑๓๘ หรือมาตรา ๑๓๙ (๕) ถ้าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๗ ผู้สอบบัญชีผู้ใดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินไม่เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีหรือข้อกําหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด หรือทํารายงานเท็จ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐๗ หรือมาตรา ๑๔๐ วรรคสี่ หรือวรรคห้า ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๓ มาตรา ๙๕ หรือมาตรา ๑๕๖ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา ๒๘๙ ผู้ใดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๙๐ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๑๕๕ มาตรา ๒๐๙ มาตรา ๒๑๙ มาตรา ๒๒๐ หรือมาตรา ๒๒๑ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา ๒๙๐ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗๑ วรรคสอง มาตรา ๑๘๘ หรือมาตรา ๒๑๓ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการ หรือคําสั่งที่กําหนดตามมาตรา ๑๘๖ (๑) หรือมาตรา ๒๐๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๙๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งที่กําหนดตามมาตรา ๑๘๖ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๒ ผู้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ผู้ใดไม่ดําเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๒๒๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๓ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๙๔ บริษัทหลักทรัพย์ใดตกลงเข้ากันเพื่อทําการส่งเสริมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อันมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน โดยมิได้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามมาตรา ๒๓๒ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๒๙๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔๐ มาตรา ๒๔๑ มาตรา ๒๔๒ มาตรา ๒๔๔/๑ มาตรา ๒๔๔/๒ หรือมาตรา ๒๔๔/๓ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงสองล้านบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา ๒๔๐ หรือมาตรา ๒๔๑ เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๖/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔๔/๓ (๒) หรือมาตรา ๒๔๔/๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๖/๒ กรณีความผิดตามมาตรา ๒๙๖ หรือมาตรา ๒๙๖/๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับการกําหนดโทษปรับ ถ้าผู้กระทําความผิดได้รับหรือพึงได้รับผลประโยชน์จากการกระทําความผิดนั้นให้ปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของผลประโยชน์ ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าค่าปรับขั้นต่ําที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๖ หรือมาตรา ๒๙๖/๑ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีธนาคารที่ใช้ชําระค่าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อปกปิดตัวตนของบุคคลที่ใช้บัญชีดังกล่าว ในประการที่บุคคลนั้นอาจนําบัญชีไปใช้ในการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ตามส่วนที่ ๑ การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ของหมวด ๘ การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
ผู้ใดใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีธนาคารของบุคคลอื่นเพื่อดําเนินการอันไม่เป็นธรรมตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา ๒๙๗/๑ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจําเลยกระทําความผิดตามมาตรา ๒๗๘ มาตรา ๒๘๑/๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘๑/๑๐ มาตรา ๒๙๖ มาตรา ๒๙๖/๑ หรือมาตรา ๒๙๗ ให้ศาลสั่งให้ผู้กระทําความผิดกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ชดใช้เงินในจํานวนที่เท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการกระทําความผิดนั้นโดยให้ตกเป็นของแผ่นดิน
(๒) ห้ามเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่กําหนดซึ่งต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง
(๓) ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กําหนดซึ่งต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง
(๔) ชดใช้ค่าใช้จ่ายของสํานักงานเนื่องจากการตรวจสอบการกระทําความผิดนั้นคืนให้แก่สํานักงาน
หากผู้กระทําความผิดไม่ชดใช้เงินตาม (๑) หรือค่าใช้จ่ายตาม (๔) ให้ศาลมีอํานาจออกหมายบังคับคดี โดยให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือว่าสํานักงานเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
มาตรา ๒๙๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔๖ มาตรา ๒๔๗ มาตรา ๒๔๘ มาตรา ๒๔๙ มาตรา ๒๕๑ มาตรา ๒๕๒ มาตรา ๒๕๓ มาตรา ๒๕๔ มาตรา ๒๕๕ หรือมาตรา ๒๕๖ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดตามมาตรา ๒๔๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕๐ หรือมาตรา ๒๕๐/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๙๙/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบันทึกการยินยอมที่กําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งตามมาตรา ๓๑๗/๔ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๙/๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลที่กําหนดมาตรการลงโทษตามมาตรา ๒๙๗/๑ (๒) หรือ (๓) หรือมาตรา ๓๑๗/๔ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๙/๓ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผู้ใด ให้บริการกับผู้กระทําความผิดตามมาตรา ๒๙๙/๑ หรือมาตรา ๒๙๙/๒ โดยรู้หรือควรรู้ว่ามีการกําหนดมาตรการลงโทษตามบันทึกการยินยอมหรือโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
มาตรา ๓๐๐ เว้นแต่จะได้กําหนดความรับผิดของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๓๐๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๐๒ ผู้ใดแจ้งข้อความหรือให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสํานักงาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๓๐๒/๑ ผู้ใดนําส่งสําเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่ก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรแสดงในสาระสําคัญต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสํานักงาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๓๐๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๕ วรรคสาม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๖๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๓๐๔ ผู้ใดถอน ทําให้เสียหาย ทําลาย หรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งตราหรือเครื่องหมาย ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๖๔ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดหรืออายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสามแสนบาท
มาตรา ๓๐๕ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทําให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใด ๆ อันพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยึด อายัด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา ๒๖๔ ไม่ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะรักษาทรัพย์สินหรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
มาตรา ๓๐๖ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยทุจริต หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชนผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ประชาชนผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๐๗ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของนิติบุคคลดังกล่าวหรือทรัพย์สินที่นิติบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทําผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๐๘ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของนิติบุคคลดังกล่าว หรือซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๐๙ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ เอาไปเสีย ทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินอันนิติบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ถ้าได้กระทําเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๓๑๐ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ รู้ว่าเจ้าหนี้ของนิติบุคคลดังกล่าว หรือเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นซึ่งจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้นิติบุคคลนั้นบังคับการชําระหนี้จากนิติบุคคล ใช้หรือน่าจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชําระหนี้
(๑) ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินของนิติบุคคลนั้น หรือ
(๒) แกล้งให้นิติบุคคลนั้นเป็นหนี้ซึ่งไม่เป็นความจริง
ถ้าได้กระทําเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๑๑ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ กระทําการหรือไม่กระทําการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๑๒ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ กระทําหรือยินยอมให้กระทําการดังต่อไปนี้
(๑) ทําให้เสียหาย ทําลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสาร หรือหลักประกันของนิติบุคคลดังกล่าว หรือที่เกี่ยวกับนิติบุคคลดังกล่าว
(๒) ลงข้อความเท็จหรือไม่ลงข้อความสําคัญในบัญชีหรือเอกสารของนิติบุคคลหรือที่เกี่ยวกับนิติบุคคลนั้น หรือ
(๓) ทําบัญชีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบันหรือไม่ตรงต่อความเป็นจริง
ถ้ากระทําหรือยินยอมให้กระทําเพื่อลวงให้นิติบุคคลดังกล่าวหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ หรือลวงบุคคลใด ๆ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๑๓ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหรือนิติบุคคลที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ใด ฝ่าฝืนมาตรา ๓๐๗ มาตรา ๓๐๘ มาตรา ๓๐๙ หรือมาตรา ๓๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่บุคคลดังกล่าวได้กระทําการฝ่าฝืนในมาตรานั้น ๆ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าห้าแสนบาท
มาตรา ๓๑๔ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา ๒๘๗ มาตรา ๒๙๖ มาตรา ๒๙๖/๑ มาตรา ๓๐๖ มาตรา ๓๐๗ มาตรา ๓๐๘ มาตรา ๓๐๙ มาตรา ๓๑๐ มาตรา ๓๑๑ หรือมาตรา ๓๑๒ ไม่ว่าด้วยการใช้ สั่ง ขู่เข็ญ จ้าง หรือด้วยวิธีอื่นใด ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น
มาตรา ๓๑๕ ผู้ใดกระทําการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทําความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา ๒๘๗ มาตรา ๒๙๖ มาตรา ๒๙๖/๑ มาตรา ๓๐๖ มาตรา ๓๐๗ มาตรา ๓๐๘ มาตรา ๓๐๙ มาตรา ๓๑๐ มาตรา ๓๑๑ หรือมาตรา ๓๑๒ ไม่ว่าก่อนหรือขณะกระทําความผิด ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้น
มาตรา ๓๑๕/๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๑๖ ผู้ใดล่วงรู้กิจการของบุคคลใดเนื่องจากการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือล่วงรู้ข้อมูลใดจากการเปิดเผยของบุคคลที่มีอํานาจตามพระราชบัญญัตินี้ อันเป็นกิจการหรือข้อมูลที่เป็นความลับของทางราชการ หรือตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ถ้าผู้นั้นนําไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ความในวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับแก่การเปิดเผยในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การเปิดเผยตามอํานาจหรือหน้าที่
(๒) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาคดี
(๓) การเปิดเผยเกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะหรือการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์
(๕) การเปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชีของนิติบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๖) การเปิดเผยแก่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทําหน้าที่กํากับดูแลในด้านตลาดเงิน ตลาดทุน ผู้สอบบัญชี สินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือหน่วยงานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(๗) การเปิดเผยเมื่อได้รับความเห็นชอบจากบุคคลดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรา ๓๑๖/๑ ความผิดตามหมวดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้มีอายุความหนึ่งปี โดยเริ่มนับแต่วันที่สํานักงานวินิจฉัยว่ามีการกระทําความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวผู้กระทําความผิด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีการกระทําความผิดนั้น
มาตรา ๓๑๗ ความผิดตามมาตรา ๒๖๘ มาตรา ๒๖๙ มาตรา ๒๗๐ มาตรา ๒๗๑มาตรา ๒๗๒ มาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๗๔ มาตรา ๒๗๕ มาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๗๙ มาตรา ๒๘๐ มาตรา ๒๘๑ มาตรา ๒๘๑/๑ มาตรา ๒๘๑/๓ มาตรา ๒๘๑/๔ มาตรา ๒๘๑/๕ มาตรา ๒๘๑/๖ มาตรา ๒๘๑/๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘๑/๘ มาตรา ๒๘๑/๙ มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ มาตรา ๒๘๓/๑ มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๒๘๕ มาตรา ๒๘๕ ทวิ มาตรา ๒๘๕ ตรี มาตรา ๒๘๖ มาตรา ๒๘๖ ทวิ มาตรา ๒๘๗ มาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๑ มาตรา ๒๙๒ มาตรา ๒๙๓ มาตรา ๒๙๔ มาตรา ๒๙๕ มาตรา ๒๙๘ มาตรา ๒๙๙ และมาตรา ๒๙๙/๓ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอํานาจเปรียบเทียบได้
คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้มีจํานวนสามคน ซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทําการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชําระค่าปรับตามคําเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกําหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
หมวด ๑๒/๑ มาตรการลงโทษทางแพ่ง
มาตรา ๓๑๗/๑ มาตรา ๓๑๗/๑[[๒๗๐]](https://www.krisdika.go.th/librarian/getfile?sysid=573045&ext=htm#_ftn270) ให้การกระทําความผิดดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําความผิดที่อาจดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทําความผิดนั้นได้
(๑) กระทําการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๙๖ หรือมาตรา ๒๙๖/๑
(๒) แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ อันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๗๘ หรือมาตรา ๒๘๑/๑๐
(๓) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรือผู้บริหารตามมาตรา ๘๙/๗ อันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๘๑/๒ วรรคหนึ่ง
(๔) ยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีธนาคารที่ใช้ชําระค่าซื้อขายหลักทรัพย์หรือใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีธนาคารของบุคคลอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๙๗
การนํามาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับแก่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความร้ายแรงของการกระทํา ผลกระทบต่อตลาดทุน พยานหลักฐานที่อาจนํามาใช้พิสูจน์ความผิด และความคุ้มค่าในการดําเนินมาตรการนั้น
มาตรา ๓๑๗/๒ ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในคดีเกี่ยวกับการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๑๗/๑ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้ และในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งเห็นสมควรใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ให้สํานักงานแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบด้วย
มาตรา ๓๑๗/๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง” ประกอบด้วย อัยการสูงสุด เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเลขาธิการ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
กรรมการตามวรรคหนึ่งอาจมอบหมายให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองมาประชุมแทนได้
ให้นําความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด และให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๑๗/๔ มาตรการลงโทษทางแพ่ง ได้แก่
(๑) ค่าปรับทางแพ่งตามมาตรา ๓๑๗/๕
(๒) ชดใช้เงินในจํานวนที่เท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการกระทําความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑๗/๑
(๓) ห้ามเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่กําหนดซึ่งต้องไม่เกินห้าปี
(๔) ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กําหนดซึ่งต้องไม่เกินสิบปี
(๕) ชดใช้ค่าใช้จ่ายของสํานักงานเนื่องจากการตรวจสอบการกระทําความผิดนั้นคืนให้แก่สํานักงาน
มาตรา ๓๑๗/๕ ให้กําหนดค่าปรับทางแพ่ง ดังนี้
(๑) กรณีตามมาตรา ๓๑๗/๑ (๑) หรือ (๒) ให้ปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของผลประโยชน์ที่บุคคลนั้นได้รับไว้หรือพึงได้รับจากการกระทําความผิดนั้น แต่ต้องไม่ต่ํากว่าห้าแสนบาท ในกรณีที่ไม่สามารถคํานวณผลประโยชน์ได้ ให้ปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงสองล้านบาท
(๒) กรณีตามมาตรา ๓๑๗/๑ (๓) หรือ (๔) ให้ปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๓๑๗/๖ ในกรณีที่มีการกระทําความผิดที่อาจดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งตามมาตรา ๓๑๗/๑ ได้ หากสํานักงานเห็นว่าควรใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทําความผิดนั้น ให้สํานักงานเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งพิจารณาว่าควรดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทําความผิดนั้นหรือไม่ อย่างไร หากคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ควรนํามาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับ ให้ดําเนินคดีอาญากับผู้กระทําความผิดนั้นต่อไป
มาตรา ๓๑๗/๗ เมื่อคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งเห็นควรให้นํามาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับแก่ผู้กระทําความผิดและได้กําหนดวิธีการในการบังคับตามมาตรการลงโทษทางแพ่งตามควรแก่กรณีแล้ว และผู้กระทําความผิดยินยอมที่จะปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งตามที่กําหนด ให้สํานักงานจัดทําบันทึกการยินยอมและเมื่อผู้นั้นได้ชําระเงินครบถ้วนแล้ว ให้สิทธิในการนําคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ชําระเงินตามบันทึกการยินยอมหรือชําระไม่ครบถ้วน ให้สํานักงานยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อดําเนินการบังคับให้เป็นไปตามที่ยินยอมไว้ภายในสามปีนับแต่วันที่ผิดนัด
มาตรา ๓๑๗/๘ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมที่จะระงับคดีตามมาตรา ๓๑๗/๗ ให้สํานักงานฟ้องผู้กระทําความผิดต่อศาลเพื่อกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งแก่ผู้กระทําความผิดนั้นต่อไป ในกรณีที่ศาลสั่งให้ผู้กระทําความผิดชดใช้เงินตามมาตรา ๓๑๗/๔ (๒) หรือ (๕) ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จด้วย
เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งและผู้กระทําความผิดได้ชําระเงินครบถ้วนแล้ว ให้สิทธิในการนําคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
มาตรา ๓๑๗/๙ เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งตามมาตรา ๓๑๗/๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑๗/๘ แล้ว คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลนั้นได้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๑๗/๑๐ เมื่อคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งหรือศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งตามมาตรา ๓๑๗/๔ (๓) หรือ (๔) ให้สํานักงานแจ้งบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ให้ดําเนินการหรืองดเว้นดําเนินการ เพื่อให้มีผลตามที่กําหนดไว้ในบันทึกการยินยอม หรือคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลนั้นด้วย
มาตรา ๓๑๗/๑๑ ถ้าบุคคลหลายคนร่วมกันกระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๑๗/๑ ในระหว่างบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลทั้งหลายนั้นต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์จะวินิจฉัยได้เป็นประการอื่น
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๑๗/๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลหรือแต่ละนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องถูกดําเนินการตามมาตรการลงโทษทางแพ่งตามหมวดนี้ด้วย โดยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับนิติบุคคลนั้น
มาตรา ๓๑๗/๑๒ เงินที่ผู้กระทําความผิดได้ชําระตามมาตรา ๓๑๗/๔ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๓๑๗/๔ (๕) คืนให้แก่สํานักงานแล้ว เหลือเท่าใดให้ตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา ๓๑๗/๑๓ ให้นําอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีเพื่อกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งสําหรับการกระทําความผิดที่อาจดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งได้ตามมาตรา ๓๑๗/๑
มาตรา ๓๑๗/๑๔ การดําเนินการทางศาลตามหมวดนี้ ให้ยื่นต่อศาลแพ่งและให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณา การพิพากษา และการบังคับคดีด้วย โดยอนุโลม
หมวด ๑๓ บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๑๘ ในวาระเริ่มแรกเป็นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิให้นําบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๑ (๔) มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของเลขาธิการ
มาตรา ๓๑๙ ให้กระทรวงการคลังดําเนินการให้มีการโอนเงินดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเป็นทุนประเดิมของสํานักงานตามมาตรา ๒๕
(๑) เงินคงเหลือจากกองทุนแก้ไขปัญหาธุรกิจหลักทรัพย์จํานวนห้าร้อยห้าล้านหกแสนสี่หมื่นสองพันหกร้อยสี่สิบสี่บาทหกสิบสตางค์ พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒) เงินคงเหลือจากกองทุนพัฒนาตลาดทุนจํานวนสองร้อยล้านบาท
มาตรา ๓๒๐ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยโอนเงินจํานวนห้าร้อยล้านบาทให้แก่สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเป็นทุนประเดิมของสํานักงานตามมาตรา ๒๕
มาตรา ๓๒๑ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้นตามพระราชบัญญัตินี้
มิให้นําความในมาตรา ๙๔ มาใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๒๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒๑ ที่มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ต้องดําเนินการให้มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าห้าสิบล้านบาท
(๒) ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ต้องดําเนินการให้มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
มาตรา ๓๒๓ บุคคลผู้กระทําการแทนบริษัทซึ่งจัดตั้งและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ โดยมีสํานักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักรและได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้กระทําการแทนบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จัดการโครงการลงทุนตามที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดโครงการลงทุนนั้น ทั้งนี้ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายดังกล่าวด้วย สําหรับการใดที่กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน
ในระหว่างยังไม่สิ้นสุดโครงการลงทุน หากบริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีความประสงค์จะแปรสภาพโครงการลงทุนให้เป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัตินี้ บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด และเมื่อได้ดําเนินการแล้ว ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๒๕ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๒๑ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจัดการกองทุนรวม ซื้อหรือมีหุ้นเป็นของตนเองโดยมิใช่เพื่อประโยชน์ของโครงการลงทุนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่อาจกระทําได้ตามมาตรา ๙๘ (๗) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวคงมีสิทธิถือหรือมีไว้ซึ่งหุ้นนั้นต่อไปได้ แต่ถ้าจําหน่ายหุ้นไปเท่าใด ก็ให้มีสิทธิถือหรือมีไว้เพียงเท่าจํานวนที่เหลือนั้น
มาตรา ๓๒๖ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซึ่งได้รับความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒๗ ในกรณีที่บริษัทตามมาตรา ๓๒๑ มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒๘ ให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บรรดาซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ออกใช้บังคับ
การใดที่กฎกระทรวงและประกาศตามวรรคหนึ่งกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป แล้วแต่กรณี จนกว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ก.ล.ต. และเลขาธิการแล้ว ให้อํานาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรี คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๒๙ ให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งและเลือกตั้งคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๓๐ ให้โอนบรรดาพนักงานและลูกจ้างของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ไปเป็นของตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๓๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทุน สินทรัพย์ สิทธิ หนี้สิน ความรับผิดและงบประมาณของตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนบรรดาเงินของกองทุนทดแทนความเสียหายที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ไปเป็นของตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๓๒ ให้ตลาดหลักทรัพย์จ่ายเงินปีละห้าสิบล้านบาทเป็นเวลาห้าปีให้แก่สํานักงาน โดยในปีแรกให้ดําเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในปีต่อ ๆ ไปให้ดําเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของปีที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและของปีถัดไปจนครบห้าปี
เงินที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเงินที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘๒ ตลอดเวลาที่ยังดําเนินการตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๓๓ ให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๓๔ ให้หลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ในกรณีที่บริษัทที่มีหลักทรัพย์ดังกล่าวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บริษัทนั้นแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่มีความจําเป็นคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่จะขยายระยะเวลาเกินกว่าห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ได้
มาตรา ๓๓๔/๑ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓ และมีหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
มาตรา ๓๓๕ ในกรณีที่บริษัทใดดําเนินการยื่นคําขออนุญาตให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งรับหลักทรัพย์ของตนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังมิได้มีคําสั่งให้รับหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไปได้ และให้อํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้สั่งรับหลักทรัพย์ของบริษัทที่ได้ยื่นขออนุญาตให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนดังกล่าวต้องดําเนินการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจํากัดตามมาตรา ๓๓๔ แห่งพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๓๓๖ ในกรณีที่บริษัทใดดําเนินการยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชนหรือออกหุ้นกู้ ต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา ๑๙ ตรี แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ยังมิได้อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชนหรือออกหุ้นกู้ได้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ดําเนินการพิจารณาการขออนุญาตดังกล่าวต่อไปได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา ๑๙ ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวเพื่อให้การพิจารณาอนุญาตลุล่วงไปได้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการใด ๆ ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก็ได้
มาตรา ๓๓๗ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชน หรือออกหุ้นกู้ตามมาตรา ๑๙ ตรี แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชนหรือออกหุ้นกู้ตามมาตรา ๓๓๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการเสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชนหรือออกหุ้นกู้ต่อไปได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามมาตรา ๑๙ ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและในกรณีที่มีเหตุจําเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวเพื่อให้การเสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชนหรือออกหุ้นกู้ลุล่วงไปได้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการใด ๆ ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก็ได้
มาตรา ๓๓๘ ให้บรรดากฎกระทรวงและประกาศกระทรวงการคลังที่ออกตามความในพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระเบียบตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระเบียบปฏิบัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับทะเบียนหุ้น และประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บรรดาซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ออกใช้บังคับ
การใดที่กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับ และระเบียบตามวรรคหนึ่งกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ยังคงเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป แล้วแต่กรณี จนกว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้อํานาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรี คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๓๙ บุคคลใดที่ให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดําเนินการได้ต่อไป แต่ต้องยื่นคําขอใบอนุญาตเพื่อประกอบการดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อได้ยื่นคําขออนุญาตแล้วให้ดําเนินการต่อไปได้จนกว่าจะมีคําสั่งไม่อนุญาต
มาตรา ๓๔๐ ให้บรรดาสมาคมที่มีลักษณะหรือวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นสมาคมการค้าตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องขออนุญาตเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้แล้วให้นายทะเบียนสมาคมการค้าตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าขีดชื่อสมาคมการค้านั้นออกเสียจากทะเบียนสมาคมการค้า
บรรดาทรัพย์สินและหนี้สินของสมาคมที่มีลักษณะหรือวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้โอนมาเป็นของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่
ถ้าสมาคมที่มีลักษณะหรือวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์เป็นสมาคมการค้าตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้า ไม่ขออนุญาตเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นอันเลิก และให้นายทะเบียนสมาคมการค้าตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าขีดชื่อสมาคมการค้านั้นออกเสียจากทะเบียนสมาคมการค้า
ถ้าสมาคมการค้าไม่พอใจในคําสั่งของนายทะเบียนสมาคมการค้าตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าที่ให้ขีดชื่อออกจากทะเบียน สมาคมการค้าก็มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งคําวินิจฉัยของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๔๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง
ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ถือว่าบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ออกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เป็นบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อมีการแต่งตั้งเลขาธิการแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานการปฏิบัติหน้าที่ต่อสํานักงาน
มาตรา ๓๔๒ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัตินี้ มีอํานาจเปรียบเทียบความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๓๔๓ บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒๒ หรือไม่ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา ๓๒๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการกระทําความผิดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการ การกระทําการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้นผู้ใด ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๔ ความผิดตามมาตรา ๓๔๓ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา ๓๑๗ มีอํานาจเปรียบเทียบได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ๑ อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ๑ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การพัฒนาตลาดทุนของประเทศที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดรองซึ่งเป็นตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหลัก แต่ยังขาดการพัฒนาตลาดแรกอันเป็นตลาดสําหรับหลักทรัพย์ออกใหม่ควบคู่กันไปด้วย ทําให้บทบาทที่สําคัญของตลาดรองในการเป็นตลาดที่สนับสนุนตลาดแรกไม่เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาตลาดแรกได้กว้างขวางขึ้นและให้มีตราสารประเภทต่าง ๆ ได้มากขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุน นอกจากนี้โดยที่การควบคุมดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับตลาดทุนมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหลายหน่วยงานทําให้การกํากับและพัฒนาตลาดทุนขาดความเป็นเอกภาพ ทั้งยังขาดมาตรการที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมควรมีกฎหมายและหน่วยงานที่เป็นศูนย์รวมในการกํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุนเพื่อให้สามารถดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ | 3,111 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.