title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 78/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่าย ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 78/2541
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่าย ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
-------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางประการในคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่องการใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 65 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 4.8 ของข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรม สรรพากร ที่ ท.ป.30/2534 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่าย ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2534
“ 4.8 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่ง ประกอบกิจการขายชอร์ต (การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ) ตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด.30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ ตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ จาก การขายชอร์ตมาเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ส่วนต้นทุนให้ใช้ราคาปิดของหลักทรัพย์ ในวันที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์นั้นถือเป็นต้นทุนของหลักทรัพย์ และเมื่อมีการซื้อหลักทรัพย์มาคืน เมื่อใด ให้คํานวณกําไรขาดทุนอีกครั้ง โดยถือราคาปิดของหลักทรัพย์ในวันที่ทําสัญญายืม หลักทรัพย์ (ราคา ณ วันยืม) เป็นเสมือนราคาขาย ส่วนต้นทุนให้ใช้ราคาของหลักทรัพย์ที่ ซื้อมาคืน (ในจํานวนหน่วยที่เทียบเท่ากัน) ถือเป็นกําไรหรือขาดทุน ณ วันที่มีการคืนหลักทรัพย์ และธุรกรรมการยืมสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ไม่ว่าการคืนจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกับที่ได้ยืม หลักทรัพย์มาหรือไม่ สําหรับค่าใช้จ่ายหากเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้ถือเป็นรายจ่าย ของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,712 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 77/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 77/2541
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางประการในคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจตามมาตรา 65 วรรคสอง และวรรคสาแห่งประมวลรัษฎากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน 4.1 ของข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 1/2528 สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เรื่อง การใช้เกณฑ์ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.6/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ 4.1 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการธุรกิจหลักทรัพย์เบี้ยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยสําหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชําระติดต่อกันเป็นเวลาเกินสามเดือนแล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะนําดอกเบี้ยส่วนนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบ กิจการประกันชีวิต หรือกิจการอื่นทํานองเดียวกันที่ไม่เข้าลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยสําหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชําระติดต่อกันเป็นเวลาเกินหกเดือน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะนําดอกเบี้ยส่วนนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้ เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่สามารถได้รับชําระหนี้และ
(2) มีกรณีแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า ลูกหนี้ไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเพียงพอที่จะชําระเช่น
(ก) มีหลักประกันไม่คุ้มกับหนี้ที่ต้องชําระ
(ข) ลูกหนี้ดําเนินธุรกิจขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีหรือเลิกกิจการแล้ว หรืออยู่ระหว่างการชําระบัญชี
(ค) ได้ดําเนินคดีแพ่งหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้แล้ว
(ง) ได้ดําเนินคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้ว”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,713 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 155/2549 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 155/2549
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายใดได้ปฏิบัติในการคํานวณรายได้และรายจ่ายตามข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องถือปฏิบัติตามวิธีการที่ได้รับอนุมัตินั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร
3.1 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยสําหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชําระติดต่อกันเป็นเวลาเกินสามเดือนแล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะนําดอกเบี้ยส่วนนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้
การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการประกันชีวิต กิจการธุรกิจบัตรเครดิต หรือกิจการอื่นทํานองเดียวกัน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยสําหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชําระติดต่อกันเป็นเวลาเกินหกเดือน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะนําดอกเบี้ยส่วนนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้ เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่สามารถได้รับชําระหนี้ และ
(2) มีกรณีแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า ลูกหนี้ไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเพียงพอที่จะชําระ เช่น
(ก) มีหลักประกันไม่คุ้มกับหนี้ที่ต้องชําระ
(ข) ลูกหนี้ดําเนินธุรกิจขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือเลิกกิจการแล้ว หรืออยู่ระหว่างการชําระบัญชี
(ค) ได้ดําเนินคดีแพ่งหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้แล้ว
(ง) ได้ดําเนินคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้ว
3.2 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการประกันชีวิต ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นเบี้ยประกันชีวิต บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะนํารายได้ส่วนนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้
3.3 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการฝากขายสินค้าซึ่งผู้รับฝากสินค้า (Consignee) ทําหน้าที่ขายสินค้าแทนผู้ฝากสินค้า (Consignor) ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํารายได้จากการขายสินค้ามารวมคํานวณเป็นรายได้ทั้งจํานวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการฝากขายสินค้า
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการฝากขาย สินค้าตามวรรคหนึ่งได้ทําสัญญาการตั้งตัวแทนผู้รับฝากสินค้า (Consignee) เพื่อขายเป็นหนังสือ โดยตัวแทนผู้รับฝากสินค้า (Consignee) ได้รับค่าตอบแทนหรือบําเหน็จตามที่กําหนดไว้ในสัญญา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะคํานวณรายได้เมื่อตัวแทนผู้รับฝากสินค้า (Consignee) ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก็ได้
3.4 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํารายได้ค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการให้เช่าทรัพย์สิน
การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนํารายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคํานวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
3.5 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อและมีอายุสัญญาเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํากําไรที่เกิดจากการขายมารวมคํานวณเป็นรายได้ทั้งจํานวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระ สําหรับดอกผลเช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระให้นํามารวมคํานวณเป็นรายได้แต่ละงวดตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายผ่อนชําระที่กรรมสิทธิ์ได้โอนไปยังผู้ซื้อทันที ให้นํารายได้จากการขายมารวมคํานวณเป็นรายได้ทั้งจํานวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการขายสินค้า
การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อหรือผู้ซื้อจากการขายผ่อนชําระตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนําทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระมาคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นให้ถือตามราคาที่พึงต้องชําระทั้งหมด แต่ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่จะนํามาหักในรอบระยะเวลาบัญชีจะต้อง ไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือราคาที่จะต้องผ่อนชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
คําว่า “กําไรที่เกิดจากการขาย” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า ผลต่างระหว่างราคาขายเงินสดกับต้นทุนของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระ
คําว่า “ดอกผลเช่าซื้อหรือขายผ่อนชําระ” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า ผลต่างระหว่างจํานวนเงินทั้งสิ้นที่ต้องจ่ายตามสัญญากับราคาขายเงินสด
3.6 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการก่อสร้าง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํารายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามอัตราส่วนของงานที่ทําเสร็จตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปมารวมคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
3.7 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นรายได้และรายจ่ายทั้งจํานวนเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการขายนั้น
(2) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามอัตราส่วนของงานที่ทําเสร็จในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีมารวมคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือ
(3) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามงวดที่ถึงกําหนดชําระโดยให้ใช้วิธีการคํานวณตามอัตรากําไรขั้นต้น
การคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายตาม (2) และ (3) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดตาม (2) หรือ (3) เพื่อคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดแล้ว ให้ใช้วิธีนั้นตลอดไปสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร
คําว่า “กิจการค้าอสังหาริมทรัพย์” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า การขายที่ดิน การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง การขายสิ่งปลูกสร้าง และการขายอาคารชุด
3.8 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือกิจการให้บริการตามสัญญาระยะยาวแก่สมาชิกให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้บริการทั้งจํานวน ไม่ว่ารายได้นั้นจะเกิดขึ้นจากการผ่อนชําระหรือชําระครั้งเดียว และไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินค่าสมาชิก เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันมารวมคํานวณเป็นรายได้ทั้งจํานวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้เริ่มให้บริการ หรือจะนํารายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีตามสัญญา แต่ไม่เกินสิบปี และนํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามสัญญา แต่ไม่เกินสิบรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้เริ่มให้บริการก็ได้
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งได้มีการจ่ายคืนเงินดังกล่าวตามข้อตกลงหรือสัญญา ให้นํามาถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้จ่ายคืนเงิน
3.9 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายชอร์ต (การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากการขายชอร์ตมาเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ส่วนต้นทุนให้ใช้ราคาปิดของหลักทรัพย์ในวันที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์นั้นถือเป็นต้นทุนของหลักทรัพย์ และเมื่อมีการซื้อหลักทรัพย์มาคืนเมื่อใด ให้คํานวณกําไรขาดทุนอีกครั้ง โดยถือราคาปิดของหลักทรัพย์ในวันที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์ (ราคา ณ วันยืม) เป็นเสมือนราคาขาย ส่วนต้นทุนให้ใช้ราคาของหลักทรัพย์ที่ซื้อมาคืน (ในจํานวนหน่วยที่เทียบเท่ากัน) ถือเป็นกําไรหรือขาดทุน ณ วันที่มีการคืน
หลักทรัพย์และธุรกรรมการยืมสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ไม่ว่าการคืนจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกับที่ได้ยืมหลักทรัพย์มาหรือไม่ สําหรับค่าใช้จ่ายหากเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
3.10 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนหรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องนํารายได้ที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากการขายชอร์ตมาเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ส่วนต้นทุนให้ใช้ราคาปิดของหลักทรัพย์ในวันที่ทําสัญญาซื้อหลักทรัพย์นั้นถือเป็นต้นทุนของหลักทรัพย์ และเมื่อมีการซื้อหลักทรัพย์มาคืนเมื่อใดให้คํานวณกําไรขาดทุนอีกครั้ง โดยถือราคาปิดของหลักทรัพย์ในวันที่ทําสัญญาซื้อหลักทรัพย์ (ราคา ณ วันซื้อ) เป็นเสมือนราคาขาย ส่วนต้นทุนให้ใช้ราคาของหลักทรัพย์ที่ซื้อมาคืน (ในจํานวนหน่วยที่เทียบเท่ากัน) ถือเป็นกําไรหรือขาดทุน ณ วันที่มีการคืนหลักทรัพย์และธุรกรรมการซื้อคืนสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ไม่ว่าการคืนจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกับที่ได้ซื้อหลักทรัพย์มาหรือไม่ สําหรับค่าใช้จ่ายหากเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
3.11 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ซึ่งเกิดจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์จะนํารายได้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,714 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 76/2541 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 76/2541
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและเพื่อให้การบริหารการจัดเก็บ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่ง ประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรออกคําสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“ องค์กรร่วม ” หมายความว่า องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533
“ พื้นที่พัฒนาร่วม ” หมายความว่า พื้นที่พัฒนาร่วมตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533
ข้อ ๒ ให้สํานักงานขององค์กรร่วม เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเฉพาะในเขตพื้นที่พัฒนาร่วม
ข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรร่วม ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร เป็น “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” ตามข้อ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,715 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 72/2540 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 72/2540
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา
----------------------------------------
ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกประกาศเรื่องปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยน เงินตรา ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 อาจมีผลกระทบต่อการคํานวณกําไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
ฉะนั้น อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติในการคํานวณรายได้และ รายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงิน ตราโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 65 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีค่าหรือ ราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือ หลังวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องคํานวณค่า หรือราคาเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผล ของการคํานวณถ้ามีผลกําไรหรือขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินดังกล่าว ให้นํามา รวมคํานวณเป็นรายได้หรือรายจ่าย แล้วแต่กรณี ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ทั้งจํานวน หรือ
ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะนําผลกําไรหรือขาดทุน จากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินดังกล่าวในข้อ 1 เฉพาะผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกที่มีการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มารวมคํานวณเป็นรายได้หรือรายจ่ายในแต่ละรอบ ระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้ก็ได้ คือ
(1) คํานวณตามส่วนแห่งมูลค่าทรัพย์สินหรือหนี้สินที่ถึงกําหนดชําระใน แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกดังกล่าวเป็นต้นไป หรือ
(2) คํานวณตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาการชําระหนี้ นับแต่รอบระยะ เวลาบัญชีแรกดังกล่าวถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องชําระหนี้ครั้งสุดท้าย
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะเลือกคํานวณกําไรหรือขาดทุนจาก การตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินตามส่วนเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้นตั้งแต่รอบระยะ เวลาบัญชีแรกดังกล่าวเป็นต้นไป แต่ไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก็ได้
ข้อ ๔ เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดได้เลือกปฏิบัติตามข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 แล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องปฏิบัติอย่างเดียวกันทั้งในด้านรายได้ และรายจ่ายและทั้งในบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเอง รวมตลอดทั้งในบัญชีเพื่อ ประโยชน์ในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
สมใจนึก เองตระกูล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,716 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 154/2549 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 154/2549
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ เฉพาะวันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 และวันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,717 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 71/2540 เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 71/2540
เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกําหนด
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดสถานที่เก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานประกอบการที่จัดทํา รายงานนั้น ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและ ชําระภาษี และผู้มีหน้าที่ต้องจัดทํารายงานตามบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทํารายงาน เก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลง รายงานไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทํารายงานนั้น หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกําหนดเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทํารายงาน แล้วแต่กรณี ตาม มาตรา 87/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งมีหน้าที่เก็บและรักษา รายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทํารายงานนั้น มีความประสงค์จะเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนา ใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานของปีภาษีก่อนปีภาษีปัจจุบันไว้ ณ สถานประกอบการแห่งอื่นหรือสถานที่แห่งอื่น นอกจากสถานประกอบการที่จัดทํารายงานนั้น ให้ยื่น คําร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจัดทํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานตั้งอยู่"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 116/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้สถานประกอบการที่ เป็นสํานักงานใหญ่เป็นผู้ยื่นคําร้องต่อผู้มีอํานาจตามวรรคหนึ่ง
คําร้องตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ.ของรายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับ ภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงาน ที่ขออนุญาตนําไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น
(2) สถานที่ที่ขออนุญาตนําเอกสารตาม (1) ไปเก็บและรักษาไว้แทนสถาน ประกอบการที่จัดทํารายงาน
(3) กําหนดระยะเวลาในการเก็บและรักษา
(4) เหตุผล และความจําเป็นในการขออนุญาต
(5) คํารับรองกรณีจะส่งมอบเอกสารตาม (1) ให้แก่เจ้าพนักงานประเมิน เพื่อทําการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานประเมินกําหนด
ข้อ ๓ ให้สรรพากรพื้นที่เป็นผู้พิจารณาคําร้องตามข้อ 2 แล้วแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการทราบการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พร้อมทั้งส่งสําเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้สรรพากรภาคทราบด้วย และจัดทําทะเบียนคุมการอนุญาตหรือไม่อนุญาตแยกเป็นเขต หรืออําเภอตามที่ตั้งสถานประกอบการนั้น ๆ โดยระบุรายการดังนี้
(1) ลําดับที่
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบการ
(3) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ. ของรายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี และเอกสารประกอบการลงรายงานที่ได้รับอนุญาตให้นําไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น
(4) สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้นํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนา ใบกํากับภาษี และเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษา"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 116/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคําร้องตามข้อ 2 แล้ว จะนํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตได้ต่อเมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตจากสรรพากรพื้นที่"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 116/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ให้ผู้ประกอบการจัดทําทะเบียน และลงรายการทันที ทุกครั้งที่มีการนํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษา ไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยให้บันทึกรายการดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่นํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี และ เอกสารประกอบการลงรายงาน ออกจากสถานประกอบการไปเก็บและรักษาไว้ยังสถานที่ ที่ได้รับอนุญาต
(2) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ. ของรายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบ กํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานที่นําไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่ ที่ได้รับอนุญาต
(3) ที่ตั้งของสถานที่ที่ได้รับอนุญาต
(4) วัน เดือน ปี ที่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้เก็บเอกสารตามข้อ 1 ณ สถานที่อื่น นอกจากสถานที่ที่จัดทําเอกสารดังกล่าวอยู่ก่อนคําสั่งนี้ ให้ผู้ประกอบการนั้นปฏิบัติตาม วรรคสองด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ให้ผู้มีอํานาจในการพิจารณา ตามข้อ 2 เสนอความเห็นต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป และระเบียบ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
สมใจนึก เองตระกูล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,718 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 60/2539 เรื่อง การแจ้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 60/2539
เรื่อง การแจ้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย
-----------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ดําเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้เสียภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.2/2528 เรื่อง การมอบหมายงานตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2528
ข้อ ๒ มอบหมายให้ผู้อํานวยการสํานักกฎหมาย กรมสรรพากร แจ้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,719 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 153/2549 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 153/2549
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาวัฒนา ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารกลาสเฮาส์ เลขที่ 1 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารกรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 8 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 16 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) เฉพาะวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 และวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) เฉพาะวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,720 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 52/2537 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 52/2537
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.35/2534 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ข้อ ๒ ให้สถานที่ยื่นแบบรายการภาษีและชําระภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสรรพสามิตเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตด้วย
ข้อ ๓ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ตามข้อ 1 ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจรับชําระภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสรรพสามิตได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,721 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 152/2549 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 152/2549
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานตลาด (ตลาดธนบุรี) แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2549 และวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,722 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 42/2535 เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 42/2535
เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร ออกคําสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กองคลัง กรมสรรพากร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรบางกรณีดังต่อไปนี้ เฉพาะกรณีที่ชําระภาษีอากรทั้งจํานวนพร้อม กับแบบแสดงรายการ และกรณีที่ไม่มีภาษีอากรต้องเสียตามแบบแสดงรายการที่ยื่นสําหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครได้อีกแห่งหนึ่ง
(1) กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางไปรษณีย์
(2) กรณีอื่น ๆ ตามที่อธิบดีเห็นสมคว
ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็น “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตามจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงาน
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,723 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 7/2528 เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 7/2528
เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียหรือนําส่งเงินภาษีอากร ที่ประสงค์จะชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรทางธนาคารอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร ออกคําสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร
1.1 ให้ธนาคารและสาขาของธนาคารที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณี ตามประมวลรัษฎากร สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากร ที่มีภูมิลําเนาหรือสถานการค้าอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
(1) ธนาคารกรุงเทพ จํากัด
(2) ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จํากัด
(3) ธนาคารกรุงไทย จํากัด
(4) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด
(5) ธนาคารกสิกรไทย จํากัด
(6) ธนาคารทหารไทย จํากัด
(7) ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด
(8) ธนาคารนครธน จํากัด
(9) ธนาคารนครหลวงไทย จํากัด
(10) ธนาคารเอเซีย จํากัด
(11) ธนาคารศรีนคร จํากัด
(12) ธนาคารแหลมทอง จํากัด
(13) ธนาคารไทยทนุ จํากัด
(14) ธนาคารมหานคร จํากัด
(15) ธนาคารสหธนาคาร จํากัด
1.2 ให้สํานักงานสาขาทุกสาขาของธนาคารตาม 1.1 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือที่จะตั้งขึ้นใหม่ในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีการค้า และภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณีตามประมวลรัษฎากรสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ และชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากร ที่มีภูมิลําเนาหรือสถานการค้าอยู่ในเขตจังหวัดดังกล่าว
(1) จังหวัดนนทบุรี
(2) จังหวัดปทุมธานี
(3) จังหวัดสระบุรี
(4) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(5) จังหวัดสมุทรปราการ
(6) จังหวัดชลบุรี
(7) จังหวัดนครราชสีมา
(8) จังหวัดอุบลราชธานี
(9) จังหวัดขอนแก่น
(10) จังหวัดอุบลราชธานี
(11) จังหวัดลําปาง
(12) จังหวัดเชียงใหม่
(13) จังหวัดนครสวรรค์
(14) จังหวัดนครปฐม
(15) จังหวัดราชบุรี
(16) จังหวัดสมุทรสาคร
(17) จังหวัดสมุทรสงคราม
(18) จังหวัดกาญจนบุรี
(19) จังหวัดนครศรีธรรมราช
(20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(21) จังหวัดภูเก็ต
(22) จังหวัดสงขลา
(23) จังหวัดอ่างทอง
(24) จังหวัดลพบุรี
(25) จังหวัดสิงห์บุรี
(26) จังหวัดชัยนาท
(27) จังหวัดระยอง
(28) จังหวัดฉะเชิงเทรา
(29) จังหวัดจันทบุรี
(30) จังดวัดตราด
(31) จังหวัดปราจีนบุรี
(32) จังหวัดนครนายก
(33) จังหวัดบุรีรัมย์
(34) จังหวัดชัยภูมิ
(35) จังหวัดสุรินทร์
(36) จังหวัดศรีสะเกษ
(37) จังหวัดยโสธร
(38) จังหวัดเลย
(39) จังหวัดหนองคาย
(40) จังหวัดสกลนคร
(41) จังหวัดนครพนมฦ
(42) จังหวัดมหาสารคาม
(43) จังหวัดร้อยเอ็ด
(44) จังหวัดกาฬสินธุ์
(45) จังหวัดมุกดาหาร
(46) จังหวัดลําพูน
(47) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
(48) จังหวัดแพร่
(49) จังหวัดน่าน
(50) จังหวัดพะเยา
(51) จังหวัดเชียงราย
(52) จังหวัดพิษณุโลก
(53) จังหวัดกําแพงเพชร
(54) จังหวัดตาก
(55) จังหวัดสุโขทัย
(56) จังหวัดอุตรดิตถ์
(57) จังหวัดอุทัยธานี
(58) จังหวัดพิจิตร
(59) จังหวัดเพชรบูรณ์
(60) จังหวัดเพชรบุรี
(61) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(62) จังหวัดสุพรรณบุรี
(63) จังหวัดกระบี่
(64) จังหวัดพังงา
(65) จังหวัดระนอง
(66) จังหวัดชุมพร
(67) จังหวัดสตูล
(68) จังหวัดพัทลุง
(69) จังหวัดปัตตานี
(70) จังหวัดยะลา
(71) จังหวัดตรัง
(72) จังหวัดนราธิวาส”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.25/2532 ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร
ให้พนักงานของธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ”เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การลงลายมือชื่อในใบนําฝากและใบเสร็จรับเงิน
การเสียหรือนําส่งเงินภาษีอากร ณ สถานที่ตามข้อ 1 ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบนําฝากและใบเสร็จรับเงินที่พนักงานของธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารให้เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อในใบนําฝากและใบเสร็จรับเงินนั้น ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 25/2532)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2528
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,724 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 151/2549 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 151/2549
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และอาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า (ลาดพร้าว) ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) และ (3)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) เฉพาะวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2549 และอาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า (ลาดพร้าว) ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) เฉพาะวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2549 วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2549 และวันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,725 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 158/2564 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 158/2564
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินเพื่อชําระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินและเช่าทรัพย์สินนั้นกลับคืนในอัตราที่ต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่าการให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าวมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ ในข้อ 1
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(3) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,726 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 150/2549 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 150/2549
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,727 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 157/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับรายจ่ายจากการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 157/2561
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับรายจ่ายจากการดําเนินการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจแนะนําผู้เสียภาษีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทํางาน หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาลงเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับรายจ่ายจากการดําเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ คือ การจ้างคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรง ในงานที่มุ่งผลสําเร็จของงาน หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเพื่อการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการที่เป็นไปเพื่อกิจการของตนหรือเป็นไปเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ โดยเป็นการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการไปยังสถานที่ดังต่อไปนี้ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ข. สภากาชาดไทย
ค. วัดวาอาราม
ง. สถานพยาบาลของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล
จ. สถานศึกษาของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชน
ฉ. องค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
หากการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ซึ่งมิได้เป็นไปเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ไปยังสถานที่ตาม ก. ถึง ฉ. ข้างต้นนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการมาลงเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท ก. ได้ทําสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้จัดทําของที่ระลึกของบริษัทเพื่อแจกเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดยบริษัทจะเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ให้คนพิการ โดยบริษัทจะจ่ายเงินค่าจ้างทาของที่ระลึกในราคา 109,500 บาทต่อคนพิการ 1 คน บริษัท ก. มีสิทธินําเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ตัวอย่างที่ 2
บริษัท ก. ได้ทําสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้ไปทางานในบริษัท ข. เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีมูลค่าสัญญาจ้างจํานวน 109,500 บาทต่อคนพิการ 1 คน บริษัท ก. ไม่มีสิทธินําเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่างที่ 3
บริษัท ก. ได้ทําสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้ไปทางานในสภากาชาดไทยซึ่งเป็นไปเพื่อการสาธารณประโยชน์ เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีมูลค่าสัญญาจ้างจํานวน 109,500 บาท ต่อคนพิการ 1 คน บริษัท ก. มีสิทธินําเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,728 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 156/2561 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายจ่ายจากการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 156/2561
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรายจ่ายจากการดําเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
---------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจแนะนาผู้เสียภาษีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทํางาน หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งรับคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทํางาน มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทํางานมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้
1.1 กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทํางาน นายจ้างหรือเจ้าของ สถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทํางาน นํามาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจํานวนสองเท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทํางาน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553
1.2 กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทํางานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้าง ในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่มีเงินได้ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการ เข้าทํางานมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจํานวนสามเท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทํางาน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 519) พ.ศ. 2554
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท ก. รับนาย ข. ซึ่งเป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการเข้าทํางานเป็นพนักงานประจําของบริษัท โดยบริษัท ก. จ่ายค่าจ้างให้นาย ข. จํานวน 20,000 บาทต่อเดือน หรือ 240,000 บาทต่อปี บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างนาย ข. นํามาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ้างได้ทั้งสิ้นจํานวน 480,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2
ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม บริษัท ก. มีพนักงานในบริษัททั้งหมด 100 คน เป็นพนักงานที่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการทั้งหมด 61 คน โดยได้จ้างพนักงานที่เป็นคนพิการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคมของปีถัดไป รวมทั้งสิ้น 275 วัน ในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น บริษัท ก. จ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่เป็นคนพิการคนละ 20,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 180,000 บาทในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว บริษัท ก. จึงมีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างพนักงานที่เป็นคนพิการมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ้างได้ทั้งสิ้นจํานวน 540,000 บาทต่อพนักงานที่เป็นคนพิการ 1 คน
ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจากการจ้างคนพิการเข้าทํางาน หมายความถึง ค่าใช้จ่ายที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีหน้าที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพันที่กาหนดในสัญญาจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าล่วงเวลา โบนัส ค่ารักษาพยาบาล เงินประกันสังคม เป็นต้น
ข้อ ๒ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้จ้างคนพิการเข้าทํางานตามจํานวนที่กาหนดตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 (มาตรา 33กาหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป รับคนพิการเข้าทํางานในอัตราส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน) แต่ได้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามจํานวนที่กฎหมายกาหนด ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธินาเงินที่ส่งเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เพราะเป็นรายจ่ายที่จ่ายตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ข้อ ๓ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้จ้างคนพิการเข้าทํางานตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และไม่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการอาจปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
การปฏิบัติตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 อาจกระทําได้โดยการให้สัมปทาน จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ มีค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริง ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของตนเอง นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่รายจ่ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินจํานวนเงินที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
ข้อ ๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธินารายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้
(1) การให้สัมปทาน คือ การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ เช่น การให้ใช้ประโยชน์จากอาคาร สถานที่หรือทรัพย์สินของสถานประกอบการ การให้สิทธิในลิขสิทธิ์ในการจําหน่ายสินค้า การจัดสรรเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศน์ วิทยุ
การดําเนินการในลักษณะดังกล่าว เป็นกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จากสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่มีสิทธินํามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่าง
บริษัท ก. มีที่ดินเป็นของตนเอง ได้ทําสัญญาให้สัมปทานใช้พื้นที่ในการทําการเกษตรปลูกผักแก่ผู้ดูแลคนพิการเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน คิดเป็นมูลค่า 109,500 บาท โดยผู้ดูแลคนพิการจะเป็นผู้หาประโยชน์และเป็นผู้ได้รับรายได้จากการขายผักตลอดระยะเวลาการให้สัมปทาน บริษัท ก. ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ บริษัท ก. ไม่มีสิทธินํามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) การจัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ คือ การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
การดําเนินการในลักษณะดังกล่าว เป็นกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่มีสิทธินํามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่าง
บริษัท ก. มีอาคารสถานประกอบการ ได้ทําสัญญาให้คนพิการใช้พื้นที่อาคารบริเวณโรงอาหารของบริษัทเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้คนพิการขายอาหารจํานวน 1 ร้าน โดยไม่มีค่าตอบแทน คิดเป็นมูลค่า 109,500 บาท ผลประโยชน์เงินรายได้ที่เกิดจากการจําหน่ายอาหารให้ตกเป็นของคนพิการ
บริษัท ก. ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จากอาคารของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่มีสิทธินํามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการโดยวิธีการพิเศษ คือ การจ้างคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรง ในงานที่มุ่งผลสาเร็จของงาน หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเพื่อการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการที่เป็นไปเพื่อกิจการของตน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคค
หากการจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะไม่ใช่รายจ่ายเพื่อหากาไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎาก
ตัวอย่างที่
บริษัท ก. ได้ทําสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้จัดทําของที่ระลึกของบริษัทเพื่อแจกเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดยบริษัทจะเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ให้คนพิการ โดยบริษัทจะจ่ายเงินค่าจ้างทําของที่ระลึกในราคา 109,500 บาทต่อคนพิการ 1 คน บริษัท ก. มีสิทธินาเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ตัวอย่างที่ 2
บริษัท ก. ได้ทําสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้ไปทํางานในบริษัท ข. หรือส่วนราชการใด ๆ เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีมูลค่าสัญญาจ้างจํานวน 109,500 บาทต่อคนพิการ 1 คน บริษัท ก. ไม่มีสิทธินาเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
(4) การฝึกงาน คือ การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ การถ่ายทอดวิทยาการ เทคโนโลยี องค์ความรู้ เพื่อให้นาไปใช้ประกอบอาชีพ
หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้มีการจ่ายเงินเพื่อการฝึกงานให้แก่ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจํานวน ที่ได้จ่ายไปนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่าง
บริษัท ก. จัดให้มีการอบรมอาชีพพนักงาน Call center สําหรับคนพิการ โดยจ้างทีมงานฝึกอบรมจากบริษัท ข. โดยบริษัท ก. จ่ายเงินค่าจ้างทีมงานฝึกอบรมให้แก่บริษัท ข. จํานวน 109,500 บาท ต่อคนพิการ 1 คน บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายการจ้างทีมงานฝึกอบรมที่ได้จ่ายไปจริง จํานวน 109,500 บาท มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
(5) การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก คือ การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทํางานในสถานประกอบการ ให้มีสิทธิทํางานได้ตามความเหมาะสม นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธินารายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปเพื่อการจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวก มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่าง
บริษัท ก. มีพนักงานลูกจ้างทั้งสิ้นจํานวน 2,100 คน ได้จ้างคนพิการทํางาน ในสถานประกอบการจํานวน 20 คน และได้จัดให้มีทางลาดสําหรับคนพิการ โดยบริษัท ก. จ่ายเงินค่าจัดทํา ทางลาดคนพิการเป็นจํานวน 109,500 บาท ดังนั้น บริษัท ก. มีสิทธินํามูลค่าต้นทุนของทางลาดที่ได้จัดทํานั้นมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้และเนื่องจากกรณีดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการจัดอุปกรณ์ สิ่งอํานวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ให้แก่คนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ บริษัท ก. จึงได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553
(6) การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ คือ การจัดหาบุคคลซึ่งจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือ ต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่ออํานวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินกับบุคคลอื่นในสถานประกอบการของตน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปเพื่อการจัดให้มีล่ามภาษามือมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท ก. มีพนักงานลูกจ้างทั้งสิ้นจํานวน 2,100 คน ได้จ้างคนพิการทางการได้ยินเข้าทํางานในสถานประกอบการจํานวน 20 คน และได้จ่ายเงินค่าจ้างล่ามภาษามือ 1 คน เป็นจํานวน 109,500 บาทต่อ 1 ปี เพื่ออํานวยความสะดวกในการสื่อสารในสถานประกอบการ บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ตัวอย่างที่ 2
บริษัท ก. จ่ายเงินค่าจัดให้มีบริการล่ามภาษามือเป็นจํานวน 109,500 บาท เพื่อจ้างล่ามภาษามือไปให้บริการในงานปีใหม่ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง หรือสถานที่ของหน่วยงานของรัฐอื่นใด บริษัท ก. ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
(7) การช่วยเหลืออื่นใด คือ การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อมในการทํางาน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่สนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือหรือทรัพย์สินอื่นแก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท ก. สนับสนุนให้เครื่องดนตรีแก่คนพิการเพื่อประกอบอาชีพนักดนตรี โดยจ่ายเงินเพื่อซื้อกีตาร์ 1 ตัว ราคา 109,500 บาท บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดนตรีดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ตัวอย่างที่ 2
บริษัท ก. สนับสนุนเงินให้แก่คนพิการเป็นจํานวน 109,500 บาท ในลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์ให้เปล่า ให้คนพิการนาเงินดังกล่าวไปใช้โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนพิการ บริษัท ก. ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจ่ายในลักษณะของการสงเคราะห์คนพิการ มิใช่การสนับสนุนเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ หรือเตรียมความพร้อมในการทํางานในด้านรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการให้บริการแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยไม่มีค่าตอบแทน อันเป็นการดําเนินการตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกาหนด กรณีถือเป็นเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอํานาจประเมินตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ รายจ่ายตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากร
(1) กรณีการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการเข้าทํางาน ได้แก่ สัญญาจ้างแรงงาน และหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนพิการที่จ้างเข้าทํางาน
(2) กรณีการจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(3) กรณีการให้สัมปทาน จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้แก่ หนังสือแจ้งผลการใช้สิทธิตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ซึ่งอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รวมทั้งเอกสารประกอบการขอใช้สิทธิ และหลักฐานการจ่ายเงินเพื่อดําเนินการดังกล่าว
ข้อ ๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,729 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 149/2549 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 149/2549
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี
----------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดเบี้ยปรับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่ทราบว่าเมื่อรายรับต่อปีเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,730 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 155/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.155/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5
แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และหรือมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป จะต้องจัดทําใบกํากับภาษีทุกครั้งที่ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า หรือให้บริการพร้อมกับ การชําระราคาค่าบริการ โดยเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซี้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการรายหนึ่งรายใดเป็นจํานวนหลายครั้งในหนี่งวันทําการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสามารถ จัดทําใบกํากับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทําการสําหรับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการรายนั้นก็ได้”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,731 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 148/2548 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 148/2548
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางเขน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จํากัด (มหาชน) สาขาสะพานใหม่-ดอนเมือง แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จํากัด (มหาชน) สาขาแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกะปิ ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) และ (3)
(3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(4
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548 วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2548 วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2548 วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 และวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) และ (3) ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(4) ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,732 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 154/2559 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 154/2559
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกันให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนหรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าวมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทําสัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,733 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 153/2559 เรื่อง การเสียอากรสำหรับตราสารการเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ และตราสารจ้างทำของ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 153/2559
เรื่อง การเสียอากรสําหรับตราสารการเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ และตราสารจ้างทําของ
---------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียอากรสําหรับตราสาร เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ และตราสารจ้างทําของ ตามมาตรา 103 (1) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งตังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ตราสารเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ และตราสารจ้างทําของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เป็นตราสารที่กําหนดให้ต้องเสียอากรแสตมป์ โดยมีวิธีการเสียอากรแสตมป์ดังนี้
(1) ปิดแสตมป์ทับบกระดาษ เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ
(2) ชําระเป็นตัวเงินเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย
ข้อ ๒ ตราสารตังต่อไปนี้ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร (1) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ
(ก) ตราสารที่มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป สําหรับตราสารที่กระทํา ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
(ข) ตราสารที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า หรือ
(ค) ตราสารที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(2) จ้างทําของ
(ก) ตราสารที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป สําหรับตราสารที่กระทํา ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป หรือ
(ข) ตราสารที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป
ตราสารตามวรรคหนึ่ง หากมิได้มีการชําระอากรแสตมปเป็นตัวเงิน ถือว่าตราสารนั้น ไม่ได้ปีดแสตมป์บริบูรณ์ ต้องชําระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินและเสียเงินเพิ่มอากร ตามมาตรา 113 และ 114 แหงประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ตราสารเช่าาที่ต้องเสียอากร หมายถึง เอกสารการเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ซึ่งผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้เช่า เพื่อให้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ จากทรัพย์สินนั้นภายในกําหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน และผู้เช่าได้ตกลงที่จะชําระค่าเช่าเป็นการตอบแทน โดยคู่สัญญาได้ลงลายมือซื่อทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าที่ดิน กําหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยได้ทําสัญญา และลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในวันที่ 1 มีนาคม 2559 โดยสัญญาเช่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากร ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทําตราสารเช่า
(2) บริษัท ก จํากัดให้บริษัท ข จํากัด เช่าอาคารสํานักงานเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ กําหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยสัญญาเช่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2560 และบริษัท ข จํากัด ผู้เช่า ได้เข้าใช้อาคารสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 แต่บริษัท ก จํากัด และบริษัท ข จํากัด ได้ทําสัญญาและลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายในวันที่ 1 มีนาคม 2559 บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากร ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทําตราสารเช่า
(3) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าโกดังเก็บสินค้า กําหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยสัญญาเช่า มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2560 และบริษัท ข จํากัด ผู้เช่า ได้เข้าใช้โกดังเก็บสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาบริษัท ก จํากัด ได้มีหนังสือแจ้งบริษัท ข จํากัด ให้มาลงนาม ในสัญญาเข่าในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และบริษัท ข จํากัด ได้ลงนามในสัญญาเช่าดังกล่าวในวันที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากร ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทําตราสารเช่า
(4) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าห้องในศูนย์การค้าเพื่อประกอบกิจการขาย เฟอร์นิเจอร์ กําหนดเวลาเช่า 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 แต่บริษัท ข จํากัด ผู้เช่า ได้เข้าปรับปรุงพื้นที่เพื่อใช้ประกอบกิจการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ก่อนสัญญาเช่ามีผลใช้บังคับ ต่อมาบริษัท ก จํากัด และบริษัท ข จํากัด ลงนามในหนังสือเจตนาจองพื้นที่ (Reservation Information Sheet) ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการเช่าในวันที่ 1 มีนาคม 2559 บริษัท ก จํากัดผู้ให้เช่า มีหน้าที่ต้องเสียอากร ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทําตราสารเช่า
(5) บริษัท ก จํากัดให้บริษัท ข จํากัด เช่าโรงงานเพื่อใช้ผลิตสินค้า กําหนดเวลาเช่า 5 ปี บริษัท ก จํากัด และบริษัท ข จํากัด ได้ทําสัญญาและลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และ จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในวันที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสีย อากรเป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียน ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่นําตราสาร ไปจดทะเบียนการเช่า
(6) บริษัท ก จํากัดให้บริษัท ข จํากัด เช่าห้องชุด-โดยบริษัท ข จํากัด มีหนังสือขอเช่า ห้องชุดดังกล่าวไปยังบริษัท ก จํากัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และบริษัท ก จํากัด มีหนังสือตอบ รับยินยอมให้เช่าไปยังบริษัท ข จํากัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 หนังสือตอบรับตามหนังสือขอเช่าเป็น หนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารเช่า บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่า มีหน้าที่ต้องเสียอากร ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซี่งเป็นวันที่ได้จัดทําตราสารเช่า
ข้อ ๔ ผู้ให้เช่าตามข้อ 3 มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจํานวนเงิน 1,000 บาท หรือ เศษของ 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า
กรณีสัญญาเช่าที่ไม่ได้กําหนดอายุการเช่าไว้ให้ถือว่าสัญญาเช่านั้นมีกําหนด 3 ปี
กรณีสัญญาเช่าใดครบกําหนดเวลาเช่าแล้ว แต่ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ โดยผู้ให้เช่าไม่ได้ทักท้วง และคู่สัญญาไม่ได้ทําสัญญาขึ้นใหม่ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทํากันใหม่ โดยไม่มีกําหนดอายุการเช่าและต้องเสียอากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ถือว่าเริ่มสัญญาใหม่นั้น
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าอาคารสํานักงานเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ ตกลงค่าเช่าปีละ 300,000 บาท โดยไม่กําหนดระยะเวลาการเช่า ให้ถือว่าสัญญาเช่าดังกล่าวมีกําหนด ระยะเวลาการเช่า 3 ปี ดังนั้น สัญญาเช่าจึงมีมูลค่าทั้งสิ้นจํานวน 900,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่า มีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
(2) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าอาคารสํานักงานเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ ตกลงค่าเช่าปีละ 300,000 บาท กําหนดระยะเวลาการเช่า 1 ปี บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้อง เสียอากรจากมูลค่า 300,000 บาท
ต่อมาเมื่อครบกําหนดเวลาเช่า บริษัท ข จํากัด ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สิน ที่เช่าอยู่โดยบริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง และคู่สัญญาก็ไม่ได้ทําสัญญาขึ้นใหม่ ถือว่าสัญญาเช่าเดิม นั้นได้เริ่มทํากันใหม่โดยไม่มีกําหนดอายุการเช่า เนื่องจากสัญญาเช่าที่ถือว่าเริ่มขึ้นใหม่นั้นเป็นสัญญาเช่า ที่ไม่กําหนดเวลาจึงต้องถือว่ามีกําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี และสัญญาเช่าใหม่มีมูลค่าทั้งสิ้นจํานวน 900,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ถือว่า เริ่มสัญญาใหม่ โดยต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
(3) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าอาคารโรงงานเพื่อใช้ผลิตสินค้า ตกลงค่าเช่าปีละ 500,000 บาท กําหนดระยะเวลาการเช่า 5 ปี แต่มิได้นําสัญญาเช่าไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้โดยผลกฎหมายจะทําให้สัญญาเช่าดังกล่าวใช้บังคับได้เพียง 3 ปี แต่สัญญาเช่ามีมูลค่าทั้งสิ้นจํานวน 2,500,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 2,500,000 บาท
(4) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าโกดังเพื่อใช้เป็นที่เก็บสินค้า ตกลงค่าเช่าปีละ 500,000 บาท กําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจาก มูลค่า 1,500,000 บาท
ต่อมาเมื่อครบกําหนดเวลาเช่า บริษัท ข จํากัดผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่า อยู่โดยบริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง และคู่สัญญาก็ไม่ได้ทําสัญญาขึ้นใหม่ กรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้น ได้เริ่มทํากันใหม่โดยไม่มีกําหนดอายุการเช่า เนื่องจากสัญญาเช่าที่ถือว่าเริ่มขึ้นใหม่นั้นเป็นสัญญาเช่า ที่ไม่กําหนดเวลาจึงต้องถือว่ามีกําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี และสัญญาเช่าใหม่มีมูลค่าทั้งสิ้นจํานวน 1,500,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ถือว่าเริ่มสัญญาใหม่ โดยต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 1,500,000 บาท
(5) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าโกดังเพื่อใช้เป็นที่เก็บสินค้า ตกลงค่าเช่า ปีละ 500,000 บาท กําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี โดยข้อตกลงตามสัญญาเช่ากําหนดว่าเมื่อครบ กําหนดเวลาเช่าให้สัญญาเช่าเดิมมีผลใช้บังคับต่อไปตามเงื่อนไขของสัญญาเพื่อไม่ต้องจดทะเบียน การเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อตกลงการต่ออายุสัญญาเช่าจึงใช้บังคับไม่ได้ บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 1,500,000 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม หากครบกําหนดเวลาเช่า บริษัท ข จํากัด ผู้เช่ายังคงครอบครอง ทรัพย์สินที่เช่าอยู่ โดยบริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง และคู่สัญญาก็ไม่ได้ทําสัญญาขึ้นใหม่ ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทํากันใหม่โดยไม่มีกําหนดอายุการเช่า เนื่องจากสัญญาเช่าที่ถือว่า เริ่มขึ้นใหม่นั้นเป็นสัญญาเช่าที่ไม่กําหนดเวลาจึงต้องถือว่ามีกําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี และ สัญญาเช่าใหม่มีมูลค่าทั้งสิ้นจํานวน 1,500,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้อง เสียอากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ถือว่าเริ่มสัญญาใหม่ โดยต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 1,500,000 บาท
(6) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าห้องในศูนย์การค้าเพื่อประกอบกิจการ ขายสินค้า กําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี ตกลงค่าเช่าเดือนละ 25,000 บาท และมีข้อตกลงให้ บริษัท ข จํากัด ต้องจ่ายค่าเช่าอีกส่วนหนึ่งตามส่วนแบ่งรายได้ สัญญาเช่ามีมูลค่าที่ปรากฏจํานวน 900,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
หากบริษัท ก จํากัด ได้รับส่วนแบ่งรายได้ในเดือนแรกแห่งสัญญาเช่าอีกจํานวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นผลให้บริษัท ก จํากัด ได้รับค่าเช่าเกิน 1,000,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่า มีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท
(7) บริษัท ก จํากัด ให้บริษัท ข จํากัด เช่าห้องในศูนย์การค้าเพื่อประกอบกิจการขายสินค้า กําหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี บริษัท ข จํากัด ตกลงจ่ายค่าเช่าให้บริษัท ก จํากัด ตามส่วนแบ่งรายได้ โดยประมาณค่าเช่าตลอดสัญญาเช่ามีมูลค่า จํานวน 900,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
ต่อมาบริษัท ก จํากัด ได้รับค่าเช่าตามส่วนแบ่งรายได้จริงมากกว่ามูลค่าที่ประมาณไว้ จํานวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นผลให้บริษัท ก จํากัด ได้รับค่าเช่าเกิน 1,000,000 บาท บริษัท ก จํากัด ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท
ข้อ ๕ ตราสารจ้างทําของที่ต้องเสียอากร หมายถึง เอกสารการจ้างทําของซึ่งผู้รับจ้างตกลงทําการงาน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเป็นการตอบแทน โดยคู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จํากัด ว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ซึ่งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ให้สร้างอาคาร สํานักงานโดยบริษัท ก จํากัด แจ้งให้บริษัท ข จํากัด ประเมินราคางานเบื้องต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และ บริษัท ข จํากัด ทําใบเสนอราคา (Quotation) ให้แก่บริษัท ก จํากัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ต่อมา บริษัท ก จํากัด และบริษัท ฃ จํากัด ได้ทําสัญญาจ้างและลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายในวันที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเปีนวันที่ได้จัดทําตราสารจ้างทําของ
(2) บริษัท ก จํากัด ว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ซ่อมเครื่องจักร โดยบริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้าง ออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จํากัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และ บริษัท ก จํากัด ได้ลงนามในใบเสนอราคาฉบับดังกล่าวในวันที่ 1 มีนาคม 2559 บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดทําตราสารจ้างทําของ
(3) บริษัท ก จํากัด ว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร โดยบริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้าง ออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จํากัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 แต่บริษัท ก จํากัด ไม่ได้ลงนามในใบเสนอราคาดังกล่าว ต่อมาบริษัท ก จํากัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase order) แจ้งให้ บริษัท ข จํากัด ทราบในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ใบสั่งจ้างตามใบเสนอราคาเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกัน และก่อให้เกิดตราสารจ้างทําของบริษัท ข จํากัดผู้รับจ้างจึงมืหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559
(4) บริษัท ก จํากัด ว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ซ่อมหลังคาอาคารโรงงาน บริษัท ข จํากัด ได้ซ่อมหลังคาอาคารโรงงานตามที่ตกลงแล้วเสร็จใบวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาบริษัท ก จํากัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ให้แก่บริษัท ข จํากัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และบริษัท ข จํากัด ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินจากบริษัท ก จํากัด ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ใบแจ้งหนี้ตามใบสั่งจ้างเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทําของ บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559
ข้อ ๖ ผู้รับจ้างตามขอ 5 มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจํานวนเงิน 1,000 บาท หรือ เศษของ 1,000 บาท แห่ง่สินจ้างซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีไม่ทราบจํานวนสินจ้างในขณะทําสัญญาจ้างทําของว่าเป็นจํานวนเท่าใด ให้ประมาณ จํานวนสินจ้างตามสมควร แล้วเสียอากรตามจํานวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
กรณีมีการรับเงินสินจ้างเป็นคราวๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากร เพิ่มเติมให้ครบตามจํานวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
ตัวอย่าง
(1) นาย ก ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ให้ทําการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคา ค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000
(2) บริษัท ก จํากัดได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ซึ่งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ให้ทําการก่อสร้างอาคารสํานักงานราคาค่าก่อสร้าง 1,100,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 1,100,000 บาท
(3) ในวันที่ 1 มีนาคม 2449 นาย ก ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ให้ทําการ ก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสีย อากรจากมูลค่า 900,000 บาท ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2559 นาย ก และบริษัท ข จํากัด ได้ทําบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวแก้ไขข้อสัญญาโดยเพิ่มค่าก่อสร้างอีกจํานวน 200,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องชําระอากรเพิ่มเติมให้ครบเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นวันจัดทําตราสารบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างทําของ
(4) ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 นาย ก ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ให้ทําการ ก่อสร้างบ้าน ราคาค่าก่อสร้าง 900,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2449 นาย ก และบริษัท ข จํากัด ได้ทําบันทึกข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวให้บริษัท ข จํากัด ทําการก่อสร้างโรงจอดรถยนต์ ราคาค่าก่อสร้าง 200,000 บาท โดยบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้าง บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งเป็น วันจัดทําตราสารบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างทําของ
(5) บริษัท ก จํากัด ได้ทําสัญญาจ้างนาย ข เป็นนายหน้าจัดหาลูกค้า โดยคิดสินจ้างจาก จํานวนลูกค้าที่หาได้ในอัตราคนละ 10,000 บาท ทําให้ไม่อาจทราบจํานวนสินจ้างในขณะทําสัญญา จึง ประมาณสินจ้างตามสมควรไว้จํานวน 500,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 500,000 บาท
ต่อมา เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง บริษัท ก จํากัด จ่ายสินจ้างตามผลงานที่นาย ข ทําได้จํานวนรวมทั้งสิ้น 700,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้าง มีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 200,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น ในทันทึที่มีการรับเงิน
(6) บริษัท ก จํากัด ได้ทําสัญญาจ้างนาย ข เป็นที่ปรึกษาทางการตลาดและแนะนํา ลูกค้า โดยคิดสินจ้างในอัตราร้อยละ 2 ของยอดขายของบริษัท ก จํากัด ในแต่ละปี ทําให้ไม่อาจทราบ จํานวนสินจ้างในขณะทําสัญญา จึงประมาณสินจ้างตามสมควรไว้จํานวน 800,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 800,000 บาท
ต่อมา เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง บริษัท ก จํากัด จ่ายสินจ้างตามผลงานที่นาย ข ทํา ได้จํานวนรวมทั้งสิ้น 1,000,000 บาท นาย ข ผู้รับจ้าง มีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่า 200,000 บาทที่เพิ่มขึ้น ในทันทีที่มีการรับเงิน
(7) บริษัท ก จํากัด ได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัท ข จํากัด ให้ซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร ที่สํานักงานของบริษัท ก จํากัด กําหนดระยะเวลาการจ้าง 3 ปี ตกลงจ่ายสินจ้างรายปีๆ ละ 300,000 บาท รวมสินจ้างทั้งสิ้น 900,000 บาท โดยข้อตกลงการจ้างตามสัญญากําหนดให้บริษัท ข จํากัด ปฏิบัติงานเฉพาะช่วงเวลา 08.00 น. ถึง 16.00 น. และหากบริษัท ข จํากัด ได้ปฏิบัติงานนอกเวลาดังกล่าว จะเรียกเก็บสินจ้างเพิ่มอีกครั้งละ 5,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรจากมูลค่า 900,000 บาท ในขณะทําสัญญา
หากบริษัท ข จํากัด ได้ปฏิบัติงานนอกเวลา บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากร เพิ่มเติมให้ครบ 1 บาท ต่อทุกจํานวน 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่ได้รับเป็นคราว ๆ ในทันทีที่มีการรับเงิน และหากบริษัท ก จํากัด ได้จ่ายสินจ้างให้บริษัท ข จํากัด โดยมีจํานวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 1,000,000 บาท บริษัท ข จํากัด ผู้รับจ้าง มีหน้าที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินจากมูลค่าสินจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
ข้อ ๗ ผู้มีหน้าที่เสียอากรใดเพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากรหรือกระทําการใด ๆ เพื่อไม่ให้ เสียอากร ผู้นั้นมีความผิดอาญาต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร
ข้อ ๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้ง กับคําสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วัน ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,734 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 152/2558 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” กรณีแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.152/2558
เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” กรณีแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร”กรณีแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2537 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิและยื่นแบบ
แสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําหรือจะได้กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากําไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,735 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 147/2548 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 147/2548
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ 2.1 ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“สําหรับมาตรฐานการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแนวทางที่อธิบดีกําหนด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน 2.2 ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“2.2 การแจ้งรายชื่อกิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องแจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตนจะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี พร้อมแนบหนังสือตอบรับงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่มีข้อความอย่างน้อยตามแบบท้ายแบบสําหรับการแจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ทั้งนี้ ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
กรณีผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีภายหลังกําหนดระยะเวลาการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
การแจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงกรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่มีการลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีด้วย”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่แนบท้ายข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้แบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทน
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,736 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 151/2558 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้กรณีเงินกินเปล่าหรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.151/2558
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้กรณีเงินกินเปล่าหรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้เสียภาษีที่มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน (เงินกินเปล่า) ให้ถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าที่สามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าได้จะต้องเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ให้เช่าที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีและกองมรดก
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าตั้งแต่ปีภาษี2557 เป็นต้นไป โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดินอาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี10 ปีหรือ 30 ปีจะต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้ดังนี้
2.1 นําเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจํานวนไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) และชําระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ
2.2 นําเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 93) และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้เมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษีผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 โดยนําเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 ไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษี
กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดําเนินการตาม 2.1 และ 2.2 แต่ต่อมาได้นําเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกําหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 ได้แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระ โดยให้คํานวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป
ตัวอย่าง
ในปีพ.ศ. 2557 นายแดงได้นําที่ดินของตนเองไปให้บริษัท ดํา จํากัด เช่าเพื่อสร้างห้างสรรพสินค้า สัญญาเช่ามีกําหนดเวลา 30 ปีเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึงปีพ.ศ. 2586 โดยนายแดงได้รับเงินกินเปล่าในวันที่ทําสัญญาเช่าเป็นเงินจํานวน 30 ล้านบาท และได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 5 นายแดงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ดังนี้
1. นําเงินกินเปล่าทั้งจํานวน 30 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี 2557 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม 2558 โดยนายแดงมีสิทธินําภาษีเงินได้ที่ถูก บริษัท ดํา จํากัด หัก ณ ที่จ่ายไว้ทั้งจํานวน มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในปีภาษี2557 หรือ
2. ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยนําเงินกินเปล่าจํานวน 30 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี2557 ถึงปีภาษี 2586 จ านวน 30 ปีคิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดําเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 30 ฉบับ และชําระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 30 ปีเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม 2558 และเมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษี2557 ถึงปีภาษี2586 นายแดงมีหน้าที่ต้องนําเงินกินเปล่าดังกล่าวมาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น ทั้งนี้นายแดงมีสิทธินําภาษีเงินได้ที่บริษัท ดํา จํากัด ได้หักไว้ณ ที่จ่ายทั้งจํานวน มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษี 2557 ได้ด้วย
หากนายแดงได้นําเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 30 ฉบับ ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 นายแดงจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชําระตามแบบ ภ.ง.ด. 93 ทั้ง 30 ฉบับ เป็นจํานวน 2 เดือน (เมษายน - พฤษภาคม 2558) และจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ส าหรับปีภาษี2557 เพิ่มเติม โดยน าเงินกินเปล่าตามส่วนของปีภาษี2557 ไปรวมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย
ข้อ ๓ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าก่อนปีภาษี2557 โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี10 ปีหรือ 30 ปีจะต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้ดังนี้
3.1 นําเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจํานวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และชําระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ
3.2 นําเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ทั้งนี้ เมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษีผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 โดยนําเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 ไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษี
กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดําเนินการตาม 3.1 และ 3.2 แต่ต่อมาได้น าเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นวันสิ้นปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 ได้แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระ โดยให้คํานวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีหากเป็นการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าผู้มีเงินได้สามารถยื่นคําร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการได้
ตัวอย่าง
ในปีพ.ศ. 2556 นายฟ้าได้นําที่ดินของตนเองไปให้บริษัท เหลือง จํากัด เช่าเพื่อสร้างอาคารโรงงาน สัญญาเช่ามีกําหนดเวลา 10 ปีเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปีพ.ศ. 2565 โดยนายฟ้าได้รับเงินกินเปล่าในวันที่ทําสัญญาเช่าเป็นเงินจํานวน 10 ล้านบาท นายฟ้ามีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ดังนี้
1. นําเงินกินเปล่าทั้งจํานวน 10 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี 2556 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม 2557 หากนายฟ้าได้นําเงินกินเปล่าทั้งจํานวน 10 ล้านบาท ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ในเดือนพฤษภาคม 2557 จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย เป็นจํานวน 2 เดือนภาษี(เมษายน - พฤษภาคม 2557) หรือ
2. ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยนําเงินกินเปล่าจํานวน 10 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2556 ถึงปีภาษี 2565 จํานวน 10 ปีคิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดําเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 10 ฉบับ และชําระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 10 ปีเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนธันวาคม 2556 และเมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษี2556 ถึงปีภาษี2565 นายฟ้ามีหน้าที่ต้องนําเงินกินเปล่าดังกล่าวมาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น
หากนายฟ้าได้นําเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 10 ฉบับ ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 นายฟ้าจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชําระตามแบบ ภ.ง.ด. 93 ทั้ง 10 ฉบับ เป็นจํานวน 3 เดือน (มกราคม – มีนาคม 2557) โดยนายฟ้ามีสิทธิยื่นคําร้องขอขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้และเมื่อได้รับอนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จะมีผลทําให้นายฟ้าต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย
อย่างไรก็ดีหากนายฟ้าได้นําเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 10 ฉบับ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2557 นายฟ้าจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชําระตามแบบ ภ.ง.ด. 93 ทั้ง 10 ฉบับ เป็นจํานวน 10 เดือน (มกราคม – ตุลาคม 2557) และจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 สําหรับปีภาษี2556 เพิ่มเติม โดยนําเงินกินเปล่าตามส่วนของปีภาษี2556 ไปรวมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย
ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน แล้วได้รับเงินกินเปล่าเป็นจํานวนหลายครั้ง เช่น ให้เช่า 10 ปีแล้วได้รับเงินกินเปล่าในปีที่ 1 จํานวน 1 ล้านบาทในปีที่ 3 จํานวน 1 ล้านบาท ผู้มีเงินได้จะต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้ดังนี้
4.1 นําเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจํานวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และชําระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ
4.2 นําเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามจํานวนปีของอายุการเช่าที่เหลือ กล่าวคือ ได้รับเงินกินเปล่าในปีที่ 1 จํานวน 1 ล้านบาท ให้เฉลี่ยเป็นจํานวน 10 ปีแล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 10 ฉบับ และช าระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 10 ปีภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีที่ 2 ส่วนเงินกินเปล่าที่ได้รับในปีที่ 3 จํานวน 1 ล้านบาท ให้เฉลี่ยเป็นจํานวน 8 ปี แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 8 ฉบับ และช าระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 8 ปีภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีที่ 4 เป็นต้น
ข้อ ๕ กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าโดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน แต่สัญญาเช่าจะมีผลใช้บังคับเริ่มในปีอื่นที่มิใช่ปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน จะต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้ดังนี้
5.1 นําเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจํานวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และชําระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ
5.2 นําเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า และยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 ส าหรับปีที่สัญญาเช่าเริ่มมีผลใช้บังคับจนถึงปีที่ครบอายุสัญญาเช่า และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า และเมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษีผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 โดยนําเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ในแต่ละปีไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษี
กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดําเนินการตาม 5.1 และ 5.2 แต่ต่อมาได้นําเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่า และชําระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกําหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 ได้แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระ โดยให้คํานวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป
ตัวอย่าง
ในปีพ.ศ. 2558 นายเขียวได้น าที่ดินของตนเองไปให้บริษัท ขาว จํากัด เช่าโดยทําสัญญาเช่ามีก าหนดเวลา 3 ปีสัญญาเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 ถึงปีพ.ศ. 2562 โดยได้รับเงินกินเปล่าจากการทําสัญญาเช่าในวันที่ทําสัญญาเช่าเป็นเงินจํานวน 3 ล้านบาท นายเขียวมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
1. นําเงินกินเปล่าทั้งจํานวน 3 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี 2558 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และช าระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม 2559
2. ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยนําเงินกินเปล่าจํานวน 3 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี2560 ถึงปีภาษี 2562 คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดําเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 3 ฉบับและชําระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 3 ปีเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม 2559 และเมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษี2560 ถึงปีภาษี2562 นายเขียวมีหน้าที่ต้องนําเงินกินเปล่าดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น
หากนายเขียวได้นําเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 จํานวน 3 ฉบับ ในวันที่ 31 มีนาคม 2560 นายแดงจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชําระตามแบบ ภ.ง.ด. 93 ทั้ง 3 ฉบับ เป็นจํานวน 12 เดือน (เมษายน 2559- มีนาคม 2560) และเมื่อถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจ าปีภาษี2560 ถึงปีภาษี2562นายเขียวมีหน้าที่ต้องนําเงินกินเปล่าดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 แล้วนําจํานวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คํานวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น
ข้อ ๖ ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่า แต่มิได้ยื่นรายการตามที่กําหนดในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4และข้อ 5 ของคําสั่งนี้ให้เจ้าพนักงานประเมินดําเนินการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ก่อนถึงกําาหนดเวลายื่นรายการเป็นรายปีภาษีตามมาตรา 60 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๗ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๘ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,737 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 150/2558 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 150/2558
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าว โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนหรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่า การโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าวมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทําสัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่า เป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๔ ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่าง เจ้าหนี้อื่นกับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
สั่ง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,738 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 148/2557 เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 148/2557
เรื่อง การคํานวณกําไรสุทธิและเงินได้สุทธิสําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์
---------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และแนะนําผู้เสียภาษีในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่จะนําไปคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือในการคํานวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 เรื่อง การคํานวณกําไรสุทธิและเงินได้สุทธิสําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2539
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนํารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ในการคํานวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนํารายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้จะยังไม่ได้รับชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นํารายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๓ การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นรายได้และรายจ่ายทั้งจํานวนเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการขายนั้น
(2) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามอัตราส่วนของงานที่ทําเสร็จในแต่ละ รอบระยะเวลาบัญชีมารวมคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือ
(3) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามงวดที่ถึงกําหนดชําระโดยให้ใช้วิธีการคํานวณตามอัตรากําไรขั้นต้น
การคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายตาม (2) และ (3) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดตาม (2) หรือ (3) เพื่อคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดแล้ว ให้ใช้วิธีนั้นตลอดไปสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร
การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities) ตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
คําว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า การขายที่ดิน การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง การขายสิ่งปลูกสร้าง และการขายอาคารชุด
ข้อ ๔ ในการคํานวณรายได้ตามข้อ 3 ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) รายได้ หมายความรวมทั้งเงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ที่คํานวณได้เป็นเงิน และ ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย แต่ได้ผลักภาระให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อเป็น ผู้ออกให้
(2) ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับชําระเงินจอง เงินมัดจํา หรือเงินอื่นทํานองเดียวกัน ตามใบจองหรือเอกสารทํานองเดียวกันก่อนทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งตามข้อตกลงต้องคืนเงินทั้งจํานวนนั้นแก่ผู้จ่ายเงินดังกล่าวโดยไม่มีเงื่อนไขภายในกําหนดเวลาตามข้อตกลง แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี หากไม่มีการทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ว่ากรณีใด และในทางปฏิบัติบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ได้รับชําระเงินดังกล่าวได้คืนเงินตามข้อตกลงนั้น เช่นนี้ให้ถือว่าเงินจอง เงินมัดจํา หรือเงินอื่นทํานองเดียวกันดังกล่าว มิใช่รายได้ตาม (1) ในขณะที่ได้รับเงินดังกล่าวนั้น
ข้อ ๕ ให้ถือรายการต่อไปนี้เป็นมูลค่าต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์หน่วยหรือแปลงที่ขายในแต่ละโครงการ
(1) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากที่ดินแปลงที่ขาย เช่น ค่าของที่ดิน ค่าถมดิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สําหรับสิ่งปลูกสร้าง ค่าปลูกต้นไม้ จัดสวนหย่อม ปูสนามหญ้า ขุดหรือสร้างสระน้ํา ระบบระบายน้ํา การประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การบําบัดน้ําเสีย ค่าทําถนนและทางเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทําลงในที่ดินแปลงที่ขาย
(2) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มโครงการ เช่น ค่าปรึกษาทางกฎหมาย ค่าปรึกษา การลงทุน ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ค่าวิเคราะห์โครงการ ค่าสํารวจตรวจสอบ และค่าออกแบบแปลนแผนผัง เป็นต้น
(3) รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นต้น
(4) ค่าของที่ดิน ค่าถมดินที่ใช้ไปเพื่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคอันเป็นทรัพย์สินส่วนที่กําหนดไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสําหรับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการนั้น เช่น ใช้ทําถนน ทางเท้า ท่อ หรือทําระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ระบบการระบายน้ํา การบําบัดน้ําเสียรวม เป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการสร้างสิ่งดังกล่าวด้วยเฉพาะส่วนที่พัฒนาแล้วพร้อมจะขาย
สําหรับค่าของที่ดิน ค่าถมดิน ที่ใช้ไปเพื่อทําสวนหย่อม สนามหญ้า บึง หรือ สระน้ํา สนามเทนนิส สระว่ายน้ํา สนามออกกําลังกาย อาคาร สโมสร สปอร์ตคลับ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งที่ดินดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขาย จะนําไป รวมคํานวณเป็นต้นทุนของที่ดินแปลงที่ขายไม่ได้ เว้นแต่ต้องตกอยู่ในภาระจํายอมเพื่อประโยชน์แก่ ที่ดินจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหรือกฎหมายอื่นลักษณะทํานองเดียวกัน
(5) ค่าก่อสร้างระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น อันเป็นทรัพย์สินส่วนที่กําหนดไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสําหรับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการนั้นและอยู่นอกที่ดินแปลงที่ขาย ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของส่วนราชการหรือขององค์การรัฐบาล หรือผู้ให้บริการของระบบดังกล่าว
(6) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดจากสัญญากู้ยืมเงินเพื่อนํามาใช้ในการจัดสรรที่ดินหรือ พัฒนาที่ดิน เพื่อขายแต่ละโครงการเฉพาะส่วนของดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระก่อนที่โครงการนั้นพร้อมที่จะขาย แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม (4) วรรคสอง
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม (4) วรรคสองของแต่ละโครงการเฉพาะส่วนของดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระก่อนที่สิ่งปลูกสร้างนั้นพร้อมที่จะให้บริการ ให้ถือเป็นต้นทุนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ถึงกําหนดชําระตั้งแต่วันที่โครงการนั้นพร้อมจะขายหรือพร้อมจะให้บริการ ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถึงกําหนดชําระได้ทั้งจํานวน
หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายที่ดินดังกล่าว ได้นําค่าดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายไปก่อนแล้วทั้งจํานวน ก็ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นปรับปรุง กําไรขาดทุน ตลอดทั้งต้นทุนสินค้านั้นเสียใหม่ ถ้าในรอบระยะเวลาบัญชีใดได้เสียภาษีเงินได้ไว้ขาด ก็ต้องชําระเพิ่มเติม และถ้าได้เสียภาษีเงินได้ไว้เกิน ก็ให้ยื่นคําร้องขอคืน
ให้นํารายการจ่ายตาม (2) (3) (4) (5) และ (6) วรรคหนึ่ง มารวมคํานวณเฉลี่ยเป็นต้นทุนของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างที่ขาย โดยให้เฉลี่ยต้นทุนตามส่วนของพื้นที่ที่ขายหรือเฉลี่ยตามส่วนของรายได้จากการขายที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้าง
(7) ในกรณีการขายอาคารพร้อมที่ดิน การคํานวณต้นทุนของอาคารให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีที่จะกล่าวในข้อ 6
ข้อ ๖ ในการคํานวณมูลค่าต้นทุนของอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ต้นทุนของอาคารชุด นอกจากที่กล่าวในข้อ 5 แล้ว ต้นทุนอาคารชุด เช่น ค่าก่อสร้างอาคาร และส่วนประกอบอื่น ๆ รวมทั้ง ค่าออกแบบ ค่าควบคุมงานก่อสร้าง และค่าดําเนินงานเพื่อการก่อสร้างดังกล่าว ค่าติดตั้งลิฟต์ ระบบป้องกันอัคคีภัย วินาศภัย หรือภัยอย่างอื่น ค่าติดตั้งเสาโทรทัศน์รวม และจานดาวเทียมรวม เป็นต้น ไม่ว่าจะแยกทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือเป็นทรัพย์สินส่วนกลางก็ตาม
ให้นําต้นทุนตามวรรคหนึ่ง มารวมคํานวณเฉลี่ยเป็นต้นทุนของห้องชุดตามสัดส่วนของพื้นที่ที่ขายหรือรายได้จากการขายห้องชุดนั้น ๆ
ข้อ ๗ ในการคํานวณมูลค่าต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ โดยวิธีการประมาณการกําไรของโครงการ
(1) กรณีทําสัญญาว่าจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาทั้งหมด ให้คํานวณต้นทุนดังกล่าวจากสัญญาว่าจ้างนั้น
(2) กรณีเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาเองทั้งหมด หรือจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาบางส่วน การคํานวณต้นทุนดังกล่าวต้องมีรายละเอียดการคํานวณต้นทุนของโครงการที่น่าเชื่อถือได้ของผู้รับผิดชอบในการคํานวณต้นทุน เช่น วิศวกร หรือสถาปนิก เป็นต้น
รอบระยะเวลาบัญชีใดที่ต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจริงสูงกว่าหรือต่ํากว่าที่ได้ประมาณการไว้ใน ส่วนที่เป็นสาระสําคัญ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนําต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่ได้ประมาณการไว้ มาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือนําต้นทุนส่วนที่ลดลงจากต้นทุนที่ประมาณการไว้ มาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้ปรับปรุงการประมาณการต้นทุนใหม่เพื่อถือเป็นต้นทุนของรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป
ข้อ ๘ ในการคํานวณรายจ่ายสําหรับโครงการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขาย นําต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของโครงการนั้น มาจัดสรรให้เป็นไปตามสัดส่วนของอสังหาริมทรัพย์สําหรับหน่วยหรือแปลงที่จะขาย เพื่อให้ได้ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่จะขายแต่ละหน่วยหรือแต่ละแปลง
(2) ในกรณีที่ทรัพย์สินใด ได้นําไปรวมคํานวณเป็นต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์หน่วยหรือแปลงที่ขายตามข้อ 5 หากต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินนั้นไปเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ หรือการอื่นใดก็ตาม จะนํามูลค่าของทรัพย์สินนั้นมารวมคํานวณเป็นรายจ่ายหรือเป็นต้นทุนซ้ําอีกไม่ได้
(3) ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่ละโครงการ ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
ข้อ ๙ ในการคํานวณรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน สําหรับทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิกและหรือบุคคลทั่วไปหรือไม่เรียกเก็บค่าบริการก็ตาม รวมตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เช่น ค่าใช้จ่ายการสร้างสนามเทนนิส สระว่ายน้ํา สนามออกกําลังกาย อาคารสโมสรสปอร์ตคลับ บ่อบาดาล เครื่องสูบน้ํา ระบบระบายน้ํา การบําบัดน้ําเสียรวม ระบบป้องกันอัคคีภัย วินาศภัยหรือภัยอื่น เครื่องไฟฟ้าฉุกเฉิน รั้วรอบโครงการ ซุ้มทางเข้าออกต้นไม้ ศาลพระภูมิ ศาลาพักร้อน ป้อมยาม กําแพงกันดินถล่ม เป็นต้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
ข้อ ๑๐ ให้นําความในข้อ 1 ถึงข้อ 9 มาใช้บังคับในกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับ การคํานวณเงินได้สุทธิในปีภาษี 2557 เป็นต้นไป ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลมด้วย
ข้อ ๑๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมี รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,739 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 147/2557 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 147/2557
เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ สําหรับกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.46/2537 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.60/2539 เรื่อง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การแก้ไขเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกํากับภาษีพร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกํากับภาษีกํากับการแก้ไข หรือประทับตรายางเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกํากับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่กรมสรรพากรได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรให้ใหม่”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,740 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 146/2557 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัทซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 146/2557
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัทซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนําผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 135/2551 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,741 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 145/2555 เรื่อง การคำนวณฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร และการจัดทำใบกำกับภาษีกรณีการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 145/2555
เรื่อง การคํานวณฐานภาษีสําหรับการนําเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกําหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร และการจัดทําใบกํากับภาษีกรณีการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีการคํานวณฐานภาษีสําหรับการนําเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร และการจัดทําใบกํากับภาษีกรณีการขายยาสูบ ตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.85/2542เรื่อง การคํานวณฐานภาษีสําหรับการนําเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกําหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร และการจัดทําใบกํากับภาษีกรณีการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(1) “ค่าการตลาด” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แต่ไม่รวมถึงอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และไม่รวมถึงกําไรของกิจการ โดยการคํานวณค่าการตลาดให้คํานวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของยอดขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตแต่ละชนิดของรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะแสดงให้เห็นว่า มีวิธีการคํานวณอื่นที่เหมาะสมกว่าวิธีการคํานวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของยอดขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตแต่ละชนิด
(2) “ราคา ซี.ไอ.เอฟ.” หมายความว่า ราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยสินค้าเสียหายในขณะขนส่ง และค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรที่นําสินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 79/2 (1) วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
(3) “ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ” หมายความว่า ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบไม่รวมภาษี ตามมาตรา 5 ตรี(1) วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509
(4) “ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น” หมายความว่า ราคาตลาดของยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตแต่ละชนิดที่ผู้บริโภคทั่วๆ ไปหรือเป็นส่วนใหญ่ซื้อจากผู้ค้ายาสูบที่มีการจัดจําหน่ายกันตามความเป็นจริงทั่วไป ณ วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาลและผู้นําเข้า แจ้งราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษี
ตัวอย่าง
(ก) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดของบุหรี่ยี่ห้อกรองทิพย์ ณ วันที่ โรงงานยาสูบต้องแจ้งราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ได้แก่ ราคาขายปลีกของบุหรี่ยี่ห้อกรองทิพย์ที่ผู้ค้าปลีกทั่วๆ ไป เช่น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์สโตร์ เป็นต้น ใช้เป็นราคาขายปลีกที่ขายให้แก่ผู้บริโภคทั่วๆ ไปหรือเป็นส่วนใหญ่
(ข) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดของบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโร ณ วันที่ บริษัทผู้นําเข้าต้องแจ้งราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ได้แก่ ราคาขายปลีกของบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโรที่ผู้ค้าปลีกทั่วๆ ไป เช่น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์สโตร์ เป็นต้น ใช้เป็นราคาขายปลีกของยาสูบที่ขายให้แก่ผู้บริโภคทั่วๆ ไปหรือเป็นส่วนใหญ่ราคาตลาดของยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตแต่ละชนิดตาม (ก) หรือ (ข) เป็นราคาขายปลีกที่โรงงานยาสูบหรือบริษัทผู้นําเข้า ใช้สําหรับแจ้งราคาขายปลีกต่อกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีของยาสูบยี่ห้อดังกล่าว
ข้อ ๓ การนําเข้ายาสูบจากต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ไม่ว่าจะนําเข้าโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือบุคคลอื่น ต้องคํานวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ มูลค่าของยาสูบนําเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1(19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กําหนดในหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีการนําเข้าตามวรรคหนึ่งถ้าผู้นําเข้าได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ให้นําอากรขาเข้าซึ่งได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าว มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีด้วย
คําว่า “กฎหมายอื่น” ตามวรรคสอง หมายความถึง กฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ข้อ ๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นองค์การของรัฐบาลได้ขายยาสูบที่ผลิตให้แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายทุกทอด จะต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษี จากมูลค่าของยาสูบซึ่งเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ได้มาจากการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบ โดยให้คํานวณจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
ราคาขายปลีกตามวรรคหนึ่งคํานวณได้จากมูลค่าดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
(ก) ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ บวกด้วย ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และค่าการตลาด
(ข) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ตัวอย่าง
(ก) ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ บวกด้วย ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และค่าการตลาด ซองละ 46.00 บาท
(ข) ราคาเฉลี่ยของตลาดของยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ที่ผู้บริโภคทั่วๆ ไปหรือเป็นส่วนใหญ่ซื้อจากผู้ค้ายาสูบที่มีการจัดจําหน่ายกันตามความเป็นจริงทั่วไป ณ วันที่โรงงานยาสูบ แจ้งราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ซองละ 50.00 บาท
ดังนั้น ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตต้องคํานวณจากราคาตลาด ซองละ 50.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 3.27 บาท (50 (7/107) และเป็นมูลค่าของยาสูบที่ได้มาจากการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบจํานวน 46.73 บาท (50.00 – 3.27) โดยมูลค่าของฐานภาษีของยาสูบ จะใช้ราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นมูลค่าของฐานภาษี สําหรับการขายบุหรี่ซิกาแรตทุกทอด
ข้อ ๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายยาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่นําเข้ายาสูบเอง หรือซื้อจากผู้นําเข้า หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายทุกทอด จะต้องคํานวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
(1) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศ เป็นบุหรี่ซิกาแรต ได้แก่ มูลค่าของยาสูบที่ได้มาจากการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบ โดยให้คํานวณจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
ราคาขายปลีกตามวรรคหนึ่งคํานวณได้จากมูลค่าดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
(ก) ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1(19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และค่าการตลาด
(ข) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ตัวอย่าง
(ก) ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และค่าการตลาด ซองละ 63.00 บาท
(ข) ราคาเฉลี่ยของตลาดของยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ที่ผู้บริโภคทั่วๆ ไปหรือเป็นส่วนใหญ่ซื้อจากผู้ค้ายาสูบที่มีการจัดจําหน่ายกันตามความเป็นจริงทั่วไป ณ วันที่ผู้นําเข้ายาสูบแจ้งราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ซองละ 70.00 บาท
ดังนั้น ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตต้องคํานวณจากราคาตลาด ซองละ 70.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 4.58 บาท(70 x7/107) และเป็นมูลค่าของยาสูบที่ได้มาจากการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบจํานวน 65.42 บาท (70.00 – 4.58) โดยมูลค่าของฐานภาษีของยาสูบ จะใช้ราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นมูลค่าของฐานภาษี สําหรับการขายบุหรี่ซิกาแรตทุกทอด
(2) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศนอกจาก (1) ให้คํานวณมูลค่าของยาสูบตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับหรือพึงได้รับจากการขายยาสูบ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1(19) ถ้ามี ด้วย
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล และผู้นําเข้า ซึ่งขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ต้องดําเนินการแจ้งราคาขายปลีกแยกเป็นประเภทชนิดหรือยี่ห้อ ตามตัวอย่างแบบแจ้งราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตที่แนบท้ายคําสั่ง ดังต่อไปนี้
(1) แจ้งราคาขายปลีกครั้งแรก พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในกําหนดเวลา 30 วัน นับถัดจากวันที่ 31 สิงหาคม 2555 หรือนับถัดจากวันที่ขาย และให้ใช้ราคาขายปลีกที่แจ้งไว้ ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่แจ้งถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
ตัวอย่าง
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นโรงงานยาสูบและผู้นําเข้า ต้องแจ้งราคาขายปลีกครั้งแรก พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 (ภายในกําหนดเวลา 30 วัน นับถัดจากวันที่ 31 สิงหาคม 2555) และให้ใช้ราคาขายปลีกที่แจ้งไว้ ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556
(2) แจ้งราคาขายปลีกครั้งต่อๆ ไปทุกปี พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในวันที่ 1 มิถุนายนถึงวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี และให้ใช้ราคาขายปลีกในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีสําหรับการขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
ตัวอย่าง
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นโรงงานยาสูบและผู้นําเข้า ต้องแจ้งราคาขายปลีกครั้งต่อไปในปี 2556 พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556 และให้ใช้ราคาขายปลีกที่แจ้งไว้ ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557
(3) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีภายหลังจากการแจ้งราคาขายปลีกครั้งแรกหรือครั้งต่อๆ ไป แล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
(ก) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(ข) อากรขาเข้า
(ค) ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร
(ง) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(จ) เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(ฉ) เงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
(ช) ภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ
(ซ) ค่าการตลาด
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล และผู้นําเข้า แจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีก พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกนั้นและให้ใช้ราคาขายปลีกตามที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงไว้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่แจ้งเป็นต้นไปถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
ตัวอย่าง
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2556 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นโรงงานยาสูบและผู้นําเข้า ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีก พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในเดือนมกราคม 2556 (แจ้งเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2556) และให้ใช้ราคาขายปลีกตามที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงไว้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556
(4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล และผู้นําเข้า ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทชนิด หรือยี่ห้อใหม่ ให้แจ้งราคาขายปลีกครั้งแรก เป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในเดือนที่มีการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทชนิด หรือยี่ห้อใหม่นั้น และให้ใช้ราคาขายปลีกที่แจ้งไว้ ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่แจ้งถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ไม่แจ้งราคาขายปลีก หรือแจ้งราคาขายปลีกต่ํากว่าราคาที่แท้จริง หรือแจ้งราคาขายปลีกต่อกรมสรรพากรเกินระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามข้อ 6(1) (2) และ (3) โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมินราคาขายปลีกที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีของยาสูบในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้เป็นไปตามราคาที่แท้จริงที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้
ข้อ ๗ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายยาสูบ จะต้องจัดทําใบกํากับภาษีดังต่อไปนี้
(1) กรณียาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษี ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(ค) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า
(ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(จ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(ฉ) ราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
(ช) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าตาม (ฉ) โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าตาม (ฉ) ให้ชัดแจ้ง
(ซ) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
(2) กรณียาสูบนอกจาก (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีที่มีรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษี ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(ค) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า
(ง) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(จ) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(ฉ) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้า โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าให้ชัดแจ้ง
(ช) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และ (2) ต้องเก็บสําเนาใบกํากับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานการลงรายงานภาษีขาย
ข้อ ๘ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 ขายยาสูบในลักษณะขายปลีก คือ เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนําสินค้าไปบริโภคโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) กรณียาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี
(ค) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(ง) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(จ) ราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
(ฉ) ราคาสินค้า โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
กรณีราคาสินค้าซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วตาม (ฉ) มีจํานวนน้อยกว่ามูลค่าหรือราคาของสินค้าที่คํานวณตาม (จ) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจํานวนที่คํานวณตาม (จ)
(ช) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
(2) กรณียาสูบที่นําเข้าจากต่างประเทศนอกจาก (1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) คําว่า “ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(ข) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี
(ค) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม ถ้ามี
(ง) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า ซึ่งระบุเป็นภาษาอังกฤษได้
(จ) ราคาสินค้า โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(ฉ) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และ (2) ต้องเก็บสําเนาใบกํากับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานการลงรายงานภาษีขาย
ข้อ ๙ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 เมื่อมีการนําเข้ายาสูบ หรือซื้อและขายยาสูบ จะต้องลงรายการมูลค่าของสินค้าและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) และรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 ซึ่งนําเข้ายาสูบหรือซื้อยาสูบ จะต้องลงรายการมูลค่าของยาสูบและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มในรายงานภาษีซื้อ ตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร หรือหลักฐานใบกํากับภาษีซื้อ
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 ซึ่งขายยาสูบ โดยจัดทําใบกํากับภาษีตามข้อ 7 และข้อ 8 จะต้องลงรายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ ดังต่อไปนี้
(ก) การขายยาสูบตามข้อ 4 และข้อ 5(1) ให้ลงรายการมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตโดยการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของบุหรี่ซิกาแรต และลงรายการจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อยาสูบตามข้อ 4 และข้อ 5(1) ลงรายการมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรต และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในรายงานภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ตัวอย่าง
1. ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ ซองละ 50.00 บาท แต่ราคาขายจริง 48.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องคํานวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคา 50.00 บาท เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 3.27 บาท (50 x7/107) และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 46.73 บาท (50.00 – 3.27) ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าจํานวน 46.73 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 3.27 บาท
2. ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตนําเข้า ซองละ 70.00 บาท แต่ราคาขายจริง 68.00 บาท อัตราภาษีร้อยละ 7.0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องคํานวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคา 70.00 บาท เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 4.58 บาท (70 x7/107) และเป็นมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจํานวน 65.42 บาท (70.00 – 4.58) ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าจํานวน 65.42 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจํานวน 4.58 บาท
(ข) การขายยาสูบตามข้อ 5(2) ให้ลงรายการมูลค่าของยาสูบตามจํานวนที่ได้รับจริงจากการขายยาสูบ และลงรายการจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของยาสูบที่ได้รับจริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อยาสูบตามข้อ 5(2) ลงรายการมูลค่าของยาสูบ และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในรายงานภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๐ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,742 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 144/2555 เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้และการเสียภาษีเงินได้ กรณีการขายสินค้ายาสูบที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ และมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.144/2555
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้และการเสียภาษีเงินได้ กรณีการขายสินค้ายาสูบที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ และมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้และการเสียภาษีเงินได้ สําหรับการขายสินค้ายาสูบที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ และมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้ขายสินค้ายาสูบให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขายส่ง (ป.1) ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) หรือผู้ขายปลีก (ป.3) โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอดที่ซื้อสินค้ายาสูบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 12.5 ของกําไรของผู้ขายส่งไม่ว่าทอดใด และในอัตราร้อยละ 10.0 ของกําไรของผู้ขายปลีก ภาษีที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้เสียแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตภาษีในการคํานวณภาษีเงินได้ของผู้ซื้อสินค้ายาสูบ เฉพาะกรณีที่ผู้ซื้อสินค้ายาสูบไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๒ คําว่า “กําไร” หมายความว่า ผลต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อสินค้าที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับผู้ขายส่งแต่ละทอดหรือผู้ขายปลีก แล้วแต่กรณี คูณด้วยปริมาณสินค้าที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังขายให้ผู้ขายส่งทอดแรก ดังนั้น การคํานวณกําไรเพื่อเสียภาษีเงินได้ของผู้ขายส่ง ผู้ขายส่งช่วง และผู้ขายปลีก จึงต้องคํานวณจากฐานราคาขายส่ง ราคาขายส่งช่วง และราคาขายปลีกตามประกาศกําหนดราคาขายบุหรี่ซิกาแรตของโรงงานยาสูบ
ตัวอย่าง
(ก) ราคาขายส่งบุหรี่กรองทิพย์ไลทส์ตามประกาศของโรงงานยาสูบห่อละ 207.75 บาท และราคาที่ผู้ขายส่ง (ป.1) ซื้อจากโรงงานยาสูบห่อละ 205.50 บาท ดังนั้น ผลต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อสินค้าที่โรงงานยาสูบกําหนดไว้สําหรับผู้ขายส่งเท่ากับ 2.25 บาท (207.75 - 205.50) และโรงงานยาสูบมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายส่งในอัตราร้อยละ 12.5 ของกําไรของผู้ขาย เป็นจํานวน 0.28125 บาท
(ข) ราคาขายส่งช่วงบุหรี่กรองทิพย์ไลทส์ตามประกาศของโรงงานยาสูบห่อละ 210.00 บาท และราคาที่ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) ซื้อจากโรงงานยาสูบห่อละ 207.75 บาท ดังนั้น ผลต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อสินค้าที่โรงงานยาสูบกําหนดไว้สําหรับผู้ขายส่งช่วงเท่ากับ 2.25 บาท (210.00 - 207.75) และโรงงานยาสูบมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายส่งช่วงในอัตราร้อยละ 12.5 ของกําไรของผู้ขายส่งช่วงเป็นจํานวน 0.28125 บาท
(ค) ราคาขายปลีกบุหรี่กรองทิพย์ไลทส์ตามประกาศของโรงงานยาสูบห่อละ 220.00 บาท และราคาที่ผู้ขายปลีก (ป.3) ซื้อจากโรงงานยาสูบห่อละ 210.00 บาท ดังนั้น ผลต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อสินค้าที่โรงงานยาสูบ กําหนดไว้สําหรับผู้ขายปลีกเท่ากับ 10.00 บาท (220.00 - 210.00) และโรงงานยาสูบมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายปลีกในอัตราร้อยละ 10.0 ของกําไรของผู้ขายปลีก เป็นจํานวน 1.00 บาท
ข้อ ๓ กรณีผู้ขายส่ง ( ป.1) ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) หรือผู้ขายปลีก (ป.3) ตามข้อ 1 เป็นบุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(19) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยผู้ขายส่ง ( ป.1) ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) หรือผู้ขายปลีก (ป.3) ดังกล่าวเมื่อถึงกําหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง
นาย ก ประกอบกิจการเป็นผู้ขายส่งช่วงบุหรี่ (ป.2) ของโรงงานยาสูบ มีเงินได้พึงประเมินจากการขายส่งช่วงบุหรี่ในปีภาษี 2555 จํานวน 2,000,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(19) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90) นาย ก ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายบุหรี่ครึ่งปีและทั้งปี (จํานวน 2,000,000 บาท)มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษี 2555
ข้อ ๔ กรณีผู้ขายส่ง ( ป.1) ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) หรือผู้ขายปลีก (ป.3) ตามข้อ 1 เป็นบุคคลธรรมดา มีเงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบและมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เฉพาะเงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(19) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ดังนั้น ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) หรือผู้ขายปลีก (ป.3) ดังกล่าวเมื่อถึงกําหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ให้นําเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตัวอย่าง
นาย ก ประกอบกิจการเป็นผู้ขายส่งช่วงบุหรี่ (ป.2) ของโรงงานยาสูบ มีเงินได้พึงประเมินจากการขายส่งช่วงบุหรี่ในปีภาษี 2555 จํานวน 2,000,000 บาท และมีเงินได้พึงประเมินจากการขายของเบ็ดเตล็ดตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จํานวน 3,000,000 บาท เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90) นาย ก ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายของเบ็ดเตล็ดครึ่งปีและทั้งปี (จํานวน 3,000,000 บาท) มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายบุหรี่ครึ่งปีและทั้งปี (จํานวน 2,000,000 บาท) มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษี 2555
ข้อ ๕ กรณีผู้ขายส่ง ( ป.1) ผู้ขายส่งช่วง (ป.2) หรือผู้ขายปลีก (ป.3) ตามข้อ 1 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้ายาสูบดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายสินค้ายาสูบนั้นตามเกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น มีหลักฐานการเสียภาษีแทนผู้ขายสินค้ายาสูบเป็นบัญชีแสดงรายการภาษีเงินได้ชําระล่วงหน้า (บ.ช. 17) ที่โรงงานยาสูบออกให้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสิทธินําภาษีที่โรงงานยาสูบเสียแทน มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ตามมาตรา 65 จัตวา วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง
(ก) บริษัท ข จํากัด ประกอบกิจการเป็นผู้ขายส่งบุหรี่ (ป.1) ของโรงงานยาสูบ มีเงินได้พึงประเมินจากการขายส่งบุหรี่ตามเกณฑ์สิทธิ ในปีภาษี 2555 จํานวน 5,000,000 บาท และมีหลักฐานการเสียภาษีแทนผู้ขายส่งบุหรี่ เป็นบัญชีแสดงรายการภาษีเงินได้ชําระล่วงหน้า (บ.ช. 17) ที่โรงงานยาสูบออกให้ จํานวน 6,768.95 บาท บริษัท ข จํากัด ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายส่งบุหรี่จํานวน 5,000,000 บาท ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50) สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และมีสิทธินําภาษีที่โรงงานยาสูบเสียแทนผู้ขายส่ง มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
(ข) บริษัท ข จํากัด ประกอบกิจการเป็นผู้ขายส่งช่วงบุหรี่ (ป.2) ของโรงงานยาสูบ มีเงินได้พึงประเมินจากการขายส่งช่วงบุหรี่ตามเกณฑ์สิทธิ ในปีภาษี 2555 จํานวน 5,000,000 บาท และไม่มีหลักฐานการเสียภาษีแทนผู้ขายส่งช่วงบุหรี่ (บ.ช. 17) ที่โรงงานยาสูบออกให้ บริษัท ข จํากัด ต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายส่งช่วงบุหรี่จํานวน 5,000,000 บาท ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50) สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธินําภาษีที่โรงงานยาสูบเสียแทนผู้ขายส่งช่วง มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่อย่างใด
ข้อ ๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,743 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2550 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 9/2550
เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่มในจํานวนที่เป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายดังกล่าวไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้น เมื่ออัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายนั้นลดลงต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ (maintenance margin) ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) งดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอันจะเป็นผลให้มีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ให้แก่ลูกค้ารายดังกล่าว เว้นแต่การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะทําให้ความเสี่ยงจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คงค้างอยู่ของลูกค้ารายนั้นลดลง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องวางหลักประกันสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายกับสํานักหักบัญชีสัญญาตามที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด โดยไม่ให้นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกันมาหักกลบลบกัน”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,744 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 25/2551
เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันวินาศภัย
(ฉ) บริษัทประกันชีวิต
(ช) นิติบุคคลประเภทบรรษัท
(ซ) กองทุนรวม
(ฌ) กองทุนส่วนบุคคล
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฐ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฑ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ณ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ด) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตามที่กําหนดใน (ก) – (ณ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ต) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตามที่กําหนดใน (ก) – (ด) โดยอนุโลม
(3) “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องไว้กับศูนย์ซื้อขายสัญญา เพื่อทําหน้าที่สร้างสภาพคล่องในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา
(4) “หลักประกันเริ่มต้น” (initial margin) หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อมีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่
(5) “หลักประกันรักษาสภาพ” (maintenance margin) หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ลูกค้าต้องดํารงไว้ตลอดเวลาที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(6) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(7) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๓ ในการประกอบการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้ารายใดรายหนึ่งอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (single client total open position limit) รวมทั้งอัตราหรือมูลค่าหลักประกันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะเรียกจากลูกค้าสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฐานะทางการเงิน ความสามารถในการวางหลักประกันและประวัติการชําระหนี้ของลูกค้า
(2) เรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเริ่มต้น (initial margin) ในอัตราหรือมูลค่าไม่ต่ํากว่าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(3) คํานวณมูลค่าตลาด (market price) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทําการซื้อขายเพื่อลูกค้า ตลอดจนผลกําไรหรือขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเพื่อทําการปรับมูลค่าหลักประกันของลูกค้า อย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ
การคํานวณมูลค่าตลาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่มในจํานวนที่เป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายดังกล่าวไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้น เมื่ออัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายนั้นลดลงต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ (maintenance margin) ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกให้ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกันตามวรรคหนึ่ง (2) และ (4) ต้องเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันกับที่สํานักหักบัญชีสัญญาเรียกจากสมาชิกเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการคํานวณมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้ลูกค้าวางประกันให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการวางหลักประกันเริ่มต้น
(ก) สําหรับลูกค้าสถาบันหรือผู้ดูแลสภาพคล่อง ให้วางประกันก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า
(ข) นอกจากกรณีตาม (ก) ให้วางประกันก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า
(2) ในกรณีเป็นการวางหลักประกันเพิ่ม ให้วางประกันก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้เรียกให้ลูกค้าวางประกันเพิ่ม
ข้อ ๕ ในกรณีที่ลูกค้ารายใดไม่สามารถวางประกันภายในกําหนดเวลาตามข้อ 4(1)(ก) หรือข้อ 4(2) ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) งดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอันจะเป็นผลให้มีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ให้แก่ลูกค้ารายดังกล่าว เว้นแต่การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะทําให้ความเสี่ยงจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คงค้างอยู่ของลูกค้ารายนั้นลดลง
(2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายดังกล่าวก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายดังกล่าว จนเป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้นไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้นตามที่กําหนดในข้อ 3(2)
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องวางหลักประกันสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายกับสํานักหักบัญชีสัญญาตามที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด โดยไม่ให้นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกันมาหักกลบลบกัน
ข้อ ๗ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อนํามาวางประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลสภาพคล่องสามารถทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องกําหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกและการวางหลักประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นอกจากนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้การออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแทนอํานาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังนั้น ในการเรียกและการวางหลักประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจึงให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้แทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,745 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2553 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 8/2553
เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
“ข้อ 7/1 ในกรณีที่มีการโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่ถือผ่านตัวแทน ซื้อขายสัญญารายหนึ่งเพื่อไปถือผ่านตัวแทนซื้อขายสัญญาอีกรายหนึ่งในระบบการชําระหนี้ของ สํานักหักบัญชีสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาผู้รับโอนปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 นับแต่ได้รับโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น โดยตัวแทนซื้อขายสัญญาผู้โอน ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 3 และข้อ 4 นับแต่มีการโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่รับโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ามีหน้าที่ในการเรียกและดําเนินการเกี่ยวกับการวางหลักประกันของลูกค้า นับแต่ได้รับโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวแทนตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผู้โอน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,746 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 13/2554 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ.13/2554
เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
“(8) “เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ” หมายความว่า เวลาปิดทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภาคบ่ายของศูนย์ซื้อขายสัญญา (afternoon session)”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
“ข้อ 2/1 เพื่อประโยชน์ในการเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในการประกอบการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้ารายใดรายหนึ่งอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (single client total open position limit) รวมทั้งอัตราหรือมูลค่าหลักประกันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะเรียกจากลูกค้าสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฐานะทางการเงิน ความสามารถในการวางหลักประกันและประวัติการชําระหนี้ของลูกค้า
(2) เรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเริ่มต้น (initial margin) ในอัตราหรือมูลค่าไม่ต่ํากว่าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(3) คํานวณมูลค่าตลาด (market price) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทําการซื้อขายเพื่อลูกค้าตลอดจนผลกําไรหรือขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเพื่อทําการปรับมูลค่าหลักประกันของลูกค้า อย่างน้อยทุกวันทําการ ณ เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ
การคํานวณมูลค่าตลาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่มในจํานวนที่เป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายดังกล่าวไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้น เมื่ออัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายนั้นลดลงต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ (maintenance margin) ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกให้ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกันตามวรรคหนึ่ง (2) และ (4) ต้องเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันกับที่สํานักหักบัญชีสัญญาเรียกจากสมาชิกเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการคํานวณมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด
ข้อ 4 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้ลูกค้าวางหลักประกันให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการวางหลักประกันเริ่มต้น
(ก) สําหรับลูกค้าสถาบันหรือผู้ดูแลสภาพคล่อง ให้วางหลักประกันก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกิดขึ้น
(ข) นอกจากกรณีตาม (ก) ให้วางหลักประกันก่อนสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า
(2) ในกรณีเป็นการวางหลักประกันเพิ่ม ให้วางหลักประกันก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่ม
ข้อ 5 ในกรณีที่ลูกค้ารายใดไม่สามารถวางหลักประกันภายในกําหนดเวลาตามข้อ 4(1)(ก) หรือข้อ 4(2) ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) งดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอันจะเป็นผลให้มีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ให้แก่ลูกค้ารายดังกล่าว เว้นแต่การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะทําให้ความเสี่ยงจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คงค้างอยู่ของลูกค้ารายนั้นลดลง
(2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายดังกล่าวก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าดังกล่าว จนเป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้นไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้นตามที่กําหนดในข้อ 3(2)”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ กําหนดให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาทําการซื้อขายภาคปกติของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดไป เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าตลาด การเรียกและการวางหลักประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขยายเวลาทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,747 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 25/2551
เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ประมวล)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันวินาศภัย
(ฉ) บริษัทประกันชีวิต
(ช) นิติบุคคลประเภทบรรษัท
(ซ) กองทุนรวม
(ฌ) กองทุนส่วนบุคคล
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฐ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฑ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ณ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ด) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตามที่กําหนดใน (ก) – (ณ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ต) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตามที่กําหนดใน (ก) – (ด)โดยอนุโลม
(3) “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องไว้กับศูนย์ซื้อขายสัญญา เพื่อทําหน้าที่สร้างสภาพคล่องในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา
(4) “หลักประกันเริ่มต้น” (initial margin) หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อมีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่
(5) “หลักประกันรักษาสภาพ” (maintenance margin) หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ลูกค้าต้องดํารงไว้ตลอดเวลาที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(6) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(7) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(8)[1](#fn1) “เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ” หมายความว่า เวลาปิดทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภาคบ่ายของศูนย์ซื้อขายสัญญา (afternoon session)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ 2/1[2](#fn2) เพื่อประโยชน์ในการเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า”
ข้อ 3[3](#fn3) ในการประกอบการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้ารายใดรายหนึ่งอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (single client total open position limit) รวมทั้งอัตราหรือมูลค่าหลักประกันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะเรียกจากลูกค้าสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฐานะทางการเงิน ความสามารถในการวางหลักประกันและประวัติการชําระหนี้ของลูกค้า
(2) เรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเริ่มต้น (initial margin) ในอัตราหรือมูลค่าไม่ต่ํากว่าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(3) คํานวณมูลค่าตลาด (market price) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทําการซื้อขายเพื่อลูกค้าตลอดจนผลกําไรหรือขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเพื่อทําการปรับมูลค่าหลักประกันของลูกค้า อย่างน้อยทุกวันทําการ ณ เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ
การคํานวณมูลค่าตลาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่มในจํานวนที่เป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายดังกล่าวไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้น เมื่ออัตราหรือมูลค่าหลักประกันของลูกค้ารายนั้นลดลงต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ (maintenance margin) ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกให้ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกันตามวรรคหนึ่ง (2) และ (4) ต้องเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันกับที่สํานักหักบัญชีสัญญาเรียกจากสมาชิกเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการคํานวณมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด
ข้อ 4[4](#fn4) ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้ลูกค้าวางหลักประกันให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการวางหลักประกันเริ่มต้น
(ก) สําหรับลูกค้าสถาบันหรือผู้ดูแลสภาพคล่อง ให้วางหลักประกันก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกิดขึ้น
(ข) นอกจากกรณีตาม (ก) ให้วางหลักประกันก่อนสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า
(2) ในกรณีเป็นการวางหลักประกันเพิ่ม ให้วางหลักประกันก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่ม
ข้อ 5[5](#fn5) ในกรณีที่ลูกค้ารายใดไม่สามารถวางหลักประกันภายในกําหนดเวลาตามข้อ 4(1)(ก) หรือข้อ 4(2) ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) งดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอันจะเป็นผลให้มีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ให้แก่ลูกค้ารายดังกล่าว เว้นแต่การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะทําให้ความเสี่ยงจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คงค้างอยู่ของลูกค้ารายนั้นลดลง
(2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายดังกล่าวก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าดังกล่าว จนเป็นผลให้อัตราหรือมูลค่าหลักประกันสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้นไม่ต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันเริ่มต้นตามที่กําหนดในข้อ 3(2)”
ข้อ 6 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องวางหลักประกันสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายกับสํานักหักบัญชีสัญญาตามที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด โดยไม่ให้นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกันมาหักกลบลบกัน
ข้อ 7 ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อนํามาวางประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ 7/1[6](#fn6) ในกรณีที่มีการโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่ถือผ่านตัวแทนซื้อขายสัญญารายหนึ่งเพื่อไปถือผ่านตัวแทนซื้อขายสัญญาอีกรายหนึ่งในระบบการชําระหนี้ของสํานักหักบัญชีสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาผู้รับโอนปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 นับแต่ได้รับโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น โดยตัวแทนซื้อขายสัญญาผู้โอน ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 3 และข้อ 4 นับแต่มีการโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว
ข้อ 8 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2551 เรื่องการเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่05/11/2551ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เล่ม 125 ตอนพิเศษ 182 ง
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2553 เรื่อง**การ**เรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่10/02/2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เล่ม 127 ตอนพิเศษ 27 ง
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 13/2554 เรื่องการเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่13/06/2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2554 เล่ม 128 ตอนพิเศษ 74 ง
---
1.
2.
3.
4.
5.
6. | 2,748 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข.37/2553
เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตราดังต่อไปนี้
(1) มาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(10) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
(2) มาตรา 15 มาตรา 18 มาตรา 23(3) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 57/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 85/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” ให้หมายความเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี
(2) “บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ และบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) “บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(ก) กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) ผู้จัดการกองทุน
(ค) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ง) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
(4) “บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้
(ก) กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ข) ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ค) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวม และผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(6) “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(7) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุนซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้
(8) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับ ผู้ลงทุนซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้
(9) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า กิจการที่ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(ก) ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ข) ธุรกิจหลักทรัพย์
(ค) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ง) ธุรกิจประกันภัย หรือ
(จ) ธุรกิจสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
หมวด ๑ การมีลักษณะต้องห้าม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ลักษณะต้องห้าม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมายหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน หรือมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1
(2) มีประวัติการถูกดําเนินการหรือถูกลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2
(3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ลงทุนบริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม ในเรื่องที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3
ข้อ ๔ ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือ
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ เฉพาะในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนตามที่ระบุในบัญชีท้ายประกาศนี้ หรือ
(4) เป็นบุคคลที่สํานักงานปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท
ข้อ ๕ ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2
(1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน และทําให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะต่อสถาบันการเงินที่ตนสังกัดหรือต่อลูกค้า หรือ
(2) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ ในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือ
(3) เป็นผู้ที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกันและยังไม่พ้นสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือ
(4) เป็นผู้ที่หน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ พิจารณาว่ามีลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือผู้บริหารของสถาบันการเงิน หรือบุคลากรที่มีหน้าที่ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการบริการทางการเงิน จัดการหรือรับเงินทุนของลูกค้า ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือ
(5) อยู่ระหว่างถูกดําเนินการอันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ถูกสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือมีลักษณะที่ทําให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุด หรือถูกดําเนินการอื่นในทํานองเดียวกันอันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนหรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ
สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ และ
(ข) การดําเนินการตาม (ก) สืบเนื่องจากการปฏิบัติงานในฐานะเป็นบุคลากรในตําแหน่งที่มีผลกระทบถึงความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่พิจารณา และ
(ค) เหตุของการดําเนินการตาม (ก) เป็นเรื่องการกระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง ทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือขาดความระมัดระวัง ขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๖ ให้กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3
(1) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่หรือการให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น หรือ
(2) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น หรือ
(3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมในการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือโดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นหรือจัดส่งต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน คณะกรรมการ ก.ล.ต. หน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น หรือ
(4) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจทรัสต์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น หรือ
(5) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณ หรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สํานักงานยอมรับ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
ส่วน ๒ ผลบังคับของการมีลักษณะต้องห้าม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้มีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 เป็นผู้ยื่นขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้สํานักงานใช้เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวในการปฏิเสธการให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวได้
ข้อ ๘ สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ หรือกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากปรากฏในภายหลังว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 ให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 หรือลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 5(1) ถึง (3) ให้สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
(2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 5(4) หรือ (5) ให้สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามแต่เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามนั้น
(3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามสมควรแก่กรณี
ข้อ ๙ สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ หากปรากฏในภายหลังว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตั้งแต่เมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดในเรื่องที่กําหนด หรือเมื่อสํานักงานได้มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวน หรือมีหนังสือแจ้งการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ แล้วแต่กรณี จนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว
(2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตั้งแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่มีลักษณะตามข้อ 5 ต่อสํานักงาน และสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะดังกล่าว จนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว
(3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในหนังสือของสํานักงานซึ่งแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะต้องห้ามที่กําหนดตามข้อ 6 แล้ว จนกว่าจะพ้นเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๐ สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอื่นนอกจากข้อ 8 และข้อ 9 หากปรากฏในภายหลังว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 ให้มีผลดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดในเรื่องที่กําหนด หรือเมื่อสํานักงานได้มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวนหรือมีหนังสือแจ้งการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ แล้วแต่กรณี
(2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 5(1) ถึง (3) ให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อสํานักงาน และสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะดังกล่าว
(3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 5(4) หรือ (5) ให้มีผลเมื่อสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามแต่เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามนั้น
(4) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ให้มีผลเมื่อสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามสมควรแก่กรณี
ข้อ ๑๑ ในการใช้ดุลยพินิจปฏิเสธการให้ความเห็นชอบตามข้อ 7 หรือสั่งห้ามการปฏิบัติหน้าที่ พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 8(2) และ (3) หรือข้อ 9(3) หรือข้อ 10(3) และ (4) แล้วแต่กรณี ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ แทนหรือประกอบการดําเนินการดังกล่าวได้
(1) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไป โดยระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกินสิบปี สําหรับการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามในแต่ละกรณี
(2) กําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ ซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในตําแหน่งเดิมต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นคําขอความเห็นชอบ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกินกว่าอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่
(3) ในกรณีพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 มีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือเกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน สํานักงานอาจไม่ยกรณีดังกล่าวขึ้นพิจารณาเป็นเหตุในการปฏิเสธการให้ความเห็นชอบ สั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ หรืออาจลดระดับการดําเนินการเป็นการตําหนิพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวก็ได้
หมวด ๒ การพิจารณาลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒ ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 หรือการพิจารณาดําเนินการตามข้อ 11 ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา
(1) บทบาทความเกี่ยวข้องและพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกพิจารณา
(2) การลงโทษที่บุคคลนั้นได้รับไปแล้ว
(3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม หรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่พิจารณา
(4) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก
(5) พฤติกรรมอื่นของผู้ถูกพิจารณาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน
(6) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ส่วน ๒ คณะกรรมการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งเพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อสํานักงานเกี่ยวกับการพิจารณาสั่งห้ามการปฏิบัติหน้าที่ พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 หรือพิจารณาให้ความเห็นต่อสํานักงานในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ตลอดจนกําหนดหลักเกณฑ์การลงโทษเพื่อให้สํานักงานใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการ
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากตลาดเงินหรือตลาดทุนจํานวนไม่เกินห้าคนซึ่งไม่เป็นเลขาธิการหรือพนักงานของสํานักงาน โดยจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ลงทุนจํานวนหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจํานวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากรายชื่อบุคคลที่สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้เสนออีกสองคน
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้สํานักงานแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
กรรมการรายใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาในลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อการให้ความเห็นอย่างเป็นกลาง ให้ผู้นั้นแจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
ส่วน ๓ กระบวนการพิจารณา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจสั่งการของสํานักงานตามประกาศนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร ในการสั่งห้ามการปฏิบัติหน้าที่ หรือพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเนื่องจากการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 สํานักงานจะกระทําได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง
(2) เสนอข้อเท็จจริงรวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และหากคณะกรรมการประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม ให้สํานักงานจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น
ในการปฏิบัติอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ข้อ ๑๕ สํานักงานอาจไม่ดําเนินการตามข้อ 14 วรรคหนึ่งได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการพิจารณาอื่นที่ทําให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจง และเคยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นในรูปองค์คณะที่มีผู้มีความรู้ประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจในตลาดทุนเป็นองค์คณะด้วยหรือโดยองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องมาอย่างเพียงพอแล้ว หรือ
(2) คณะกรรมการได้กําหนดแนวทางพิจารณาดําเนินการสําหรับกรณีที่มีข้อเท็จจริงทํานองเดียวกันกับกรณีที่พิจารณานี้ไว้ชัดเจนเพียงพอแล้ว
หมวด ๓ หน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงาน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว
(1) การมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(2) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ตามประกาศนี้ แต่ไม่รวมถึงการมีลักษณะต้องห้ามอันเนื่องจากการดําเนินการของสํานักงาน
ข้อ ๑๗ เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือตามประกาศนี้ พ้นจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่จําเป็นและสมควรโดยไม่ชักช้า
หมวด ๔ บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่คณะกรรมการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 57/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 85/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 รับพิจารณาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการสั่งการกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาต่อไปได้จนเสร็จสิ้นตามประกาศนี้
ข้อ ๑๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก วางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจในบทเฉพาะกาล ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 57/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 85/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 57/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 85/2552 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๒๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงลักษณะต้องห้ามบางลักษณะของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนให้เหมาะสมขึ้นและสอดคล้องกับการกําหนดลักษณะที่ขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยยังคงกําหนดลักษณะต้องห้ามบางประการไว้เช่นเดิม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,749 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 23/2554 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 23/2554
เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) “บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(ก) กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) ผู้จัดการกองทุน
(ค) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (6) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,750 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2552 เรื่อง กำหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทำร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการ ตามมาตรา 246 และมาตรา 247 | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ.7/2552
เรื่อง กําหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็น
การกระทําร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการ
ตามมาตรา 246 และมาตรา 247
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 246 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
“ห้างหุ้นส่วน” หมายความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจํากัด
ข้อ ๒ บุคคลใดมีเจตนาร่วมกันใช้สิทธิออกเสียงของตนและบุคคลอื่นไปในทางเดียวกัน หรือให้บุคคลอื่นใช้สิทธิออกเสียงของตน เพื่อควบคุมสิทธิออกเสียงหรือควบคุมกิจการร่วมกัน และบุคคลดังกล่าวมีความสัมพันธ์หรือมีพฤติกรรมร่วมกับบุคคลอื่นในลักษณะดังต่อไปนี้ บุคคลนั้นมีลักษณะเป็นบุคคลที่กระทําการร่วมกับบุคคลอื่นอันเป็นผลให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 หรือมีหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247
(1) การมีข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงที่คู่สัญญามีอยู่ไปในทางเดียวกันหรือให้คู่สัญญาฝ่ายใดเป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงของคู่สัญญาฝ่ายอื่น หรือมีข้อตกลงในการบริหารกิจการร่วมกัน ไม่ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการของกิจการหรือในการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ หรือเกี่ยวกับการเห็นชอบร่วมกันในการเสนอวาระสําคัญต่อคณะกรรมการของกิจการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ และไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะได้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่
(2) การมีข้อตกลงเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิในการขายหลักทรัพย์ในกรณีที่มีผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ หรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับการรักษาหรือเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ของกิจการ (standstill agreement) ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะได้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่
(3) การชักชวนบุคคลอื่นไม่ว่าโดยตนเองหรือโดยบุคคลอื่นที่ตนมอบหมาย เพื่อให้ได้มา หรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
(4) การมีแหล่งเงินทุนร่วมกัน หรือกระทําการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือในการได้มาซึ่งแหล่งเงินทุน เพื่อนําแหล่งเงินทุนนั้นมาใช้ในการซื้อหรือกระทําการอื่นใดอันเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการ
(5) การได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการโดยร่วมกับบุคคลที่เคยมีพฤติกรรมร่วมกันในการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการอื่น และการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการในครั้งนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เคยมีพฤติกรรมร่วมกัน
(6) การให้บุคคลอื่นใช้สิทธิออกเสียงของตนเป็นปกติและอย่างต่อเนื่องในการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ไม่ว่าบุคคลอื่นนั้นจะเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงการมอบฉันทะให้แก่กรรมการอิสระ ผู้รับฝากหลักทรัพย์ (custodian) หรือผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับมอบฉันทะ (proxy voting service) ในการเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงแทนตน
(7) การเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน หรือการเป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใด โดยมีการแสดงตนหรือมีพฤติกรรมที่แสดงว่าตนถือครองหลักทรัพย์ของกิจการแทนหรือร่วมกับห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นใดนั้น
(8) การให้หลักทรัพย์ของกิจการแก่บุคคลอื่นที่มิใช่การให้โดยเสน่หาตามความสัมพันธ์ปกติระหว่างบิดามารดากับบุตรที่บรรลุนิติภาวะ
(9) การมีข้อตกลงระหว่างกันของบุคคลใด ๆ เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ของกิจการในราคาต่ําโดยไม่มีเหตุอันควร แต่ไม่รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างบิดามารดากับบุตรที่บรรลุนิติภาวะ
(10) บุคคลในกลุ่มเดียวกันตามนัยแห่งประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 หรือมาตรา 247
ให้นําความสัมพันธ์และพฤติกรรมตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการพิจารณาหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการอันเนื่องจากการเข้ามีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้ว (chain principle) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ด้วย
ข้อ ๓ ในการพิจารณาหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 หรือหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ให้นับรวมจํานวนหลักทรัพย์ของกิจการที่ถือโดยบุคคลตามข้อ 2 และบุคคลตามมาตรา 258 ของแต่ละบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๔ การทําหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 ให้เป็นดังนี้
(1) ให้บุคคลตามข้อ 2 แต่ละรายที่เริ่มต้นมีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรม มีหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการแยกต่างหากจากกัน เว้นแต่จะเข้ากรณีตามข้อ 10
(2) ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 2 รายใดได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการภายหลังการมีหน้าที่ตาม (1) อันเป็นผลให้ถึงหรือข้ามจุดที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 อีกครั้งหนึ่ง ให้บุคคลที่เป็นผู้ได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นมีหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
ข้อ ๕ การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 ให้เป็นดังนี้
(1) ให้บุคคลตามข้อ 2 ที่เริ่มต้นมีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรม ร่วมกันทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ โดยอาจตกลงกันให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับซื้อหลักทรัพย์ตามคําเสนอซื้อแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีตามข้อ 11
(2) ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 2 รายใดได้หลักทรัพย์ของกิจการเพิ่มขึ้นภายหลังการมีหน้าที่ร่วมกันตาม (1) อันเป็นผลให้ถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 อีกครั้งหนึ่ง ให้บุคคลรายนั้นมีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 2 ไม่มีการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาเสนอซื้อหุ้นแต่ละประเภทต้องไม่ต่ํากว่าราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นนั้นในระหว่างห้าวันทําการก่อนวันที่บุคคลดังกล่าวจะมีลักษณะตามข้อ 2
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจเสนอเรื่องต่อคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ เพื่อพิจารณาหรือสั่งการใด ๆ เกี่ยวกับการพิจารณาความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมระหว่างบุคคลตามข้อ 2 หรือการทําหน้าที่ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 และมาตรา 247 ได้
ข้อ ๘ บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 และจะเป็นผลให้มีการได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นรวมกันจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 บุคคลนั้นอาจยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน หรือต่อคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการผ่านสํานักงาน เพื่อมิให้ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมของบุคคลที่เข้าลักษณะของการกระทําการร่วมกับบุคคลอื่นตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 หรือตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 เปลี่ยนแปลงไปและเป็นผลให้บุคคลดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 อีกต่อไป บุคคลดังกล่าวอาจแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
การที่สํานักงานได้รับแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง มิได้แสดงว่าสํานักงานเห็นชอบหรือรับรองข้อมูลที่ได้รับแจ้งนั้น
ข้อ ๑๐ บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และการถือหลักทรัพย์ของบุคคลเหล่านั้นถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 ให้บุคคลเหล่านั้นไม่มีหน้าที่รายงานการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการในกรณีดังกล่าว
หากต่อมาบุคคลตามวรรคหนึ่งรายใดมีการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการไม่ว่าจํานวนใด ๆ ให้บุคคลรายที่มีการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นมีหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246
ข้อ ๑๑ บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและการถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้นถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ให้บุคคลเหล่านั้นไม่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการในกรณีดังกล่าว
หากต่อมาบุคคลตามวรรคหนึ่งรายใดมีการได้หุ้นของกิจการไม่ว่าจํานวนใด ๆ บุคคลรายที่มีการได้มานั้นมีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 เว้นแต่จะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการได้หุ้นของกิจการในขณะที่การถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้นไม่ถึงหรือข้ามจุดตามวรรคหนึ่งแล้ว
(2) เป็นการได้หุ้นของกิจการในขณะที่การถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้นถึงหรือข้ามจุด
ตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลรายที่มีการได้มานั้นจําหน่ายหุ้นของกิจการในส่วนที่มีการได้มาดังกล่าวทั้งหมดบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์หรือจําหน่ายคืนบุคคลที่ตนซื้อมาภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการ แต่ต้องก่อนวันที่บุคคลรายที่มีการได้มานั้นมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๑๒ บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมตามข้อ 2 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยบุคคลเหล่านั้นมีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้ว (chain principle) ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ให้บุคคลเหล่านั้นไม่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการในกรณีดังกล่าว
หากต่อมาบุคคลตามวรรคหนึ่งรายใดมีการได้อํานาจควบคุมของนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้วเพิ่มเติมหรือได้หุ้นของกิจการ ไม่ว่าจํานวนใด ๆ ให้บุคคลรายที่มีการได้อํานาจควบคุมมานั้นมีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 เว้นแต่จะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการได้อํานาจควบคุมของนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการเพิ่มเติมหรือได้หุ้นของกิจการในขณะที่บุคคลเหล่านั้นไม่มีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็น
ผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้วตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247
(2) เป็นการได้อํานาจควบคุมของนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการเพิ่มเติมในขณะที่บุคคลเหล่านั้นมีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้วตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 แต่บุคคลรายที่มีการได้อํานาจควบคุมมานั้นดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้อํานาจควบคุมเพิ่มเติม แต่ต้องก่อนวันที่กิจการกําหนดสิทธิผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ
(ก) ลดการมีอํานาจควบคุมที่ได้มาเพิ่มในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้ว หรือ
(ข) จําหน่ายหุ้นของกิจการบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้คงเหลือน้อยกว่าจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
(3) เป็นการได้หุ้นของกิจการเพิ่มเติมในขณะที่บุคคลเหล่านั้นมีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้วตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 แต่บุคคลรายที่มีการได้มานั้นจําหน่ายหุ้นของกิจการในส่วนที่มีการได้มาทั้งหมดบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์หรือจําหน่ายคืนบุคคลที่ตนซื้อมา หรือลดการมีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้วจนทําให้ไม่มีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ทั้งนี้ การจําหน่ายหุ้นของกิจการในส่วนที่มีการได้มาทั้งหมดหรือการลดการมีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการต้องกระทําภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการแต่ต้องก่อนวันที่บุคคลรายที่มีการได้มานั้นมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทําร่วมกับบุคคลอื่น อันเป็นผลให้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 246 และมาตรา 247 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,751 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2554 เรื่อง กำหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทำร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการ ตามมาตรา 246 และมาตรา 247 (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 29 /2554
เรื่อง กําหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็น
การกระทําร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการ
ตามมาตรา 246 และมาตรา 247
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2552 เรื่อง กําหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทําร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการตามมาตรา 246 และมาตรา 247 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2552 เรื่อง กําหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทําร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการตามมาตรา 246 และมาตรา 247 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ รักษาการ
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,752 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2551 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 24 /2551
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับ
การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 246 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 259 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
1. “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ที่กิจการเป็นผู้ออกเพื่อให้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง
2. “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้ยื่นแบบ 246-2 ตามที่สํานักงานประกาศกําหนดต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการนั้น โดยผู้รายงานต้องคํานวณร้อยละของหลักทรัพย์ที่ถือครองตามจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ในกรณีหลักทรัพย์ที่รายงานเป็นหุ้น
จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดที่ถือครอง X 100
จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ
(2) ในกรณีหลักทรัพย์ที่รายงานเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ
จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดที่จะได้มาหากมีการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพทั้งหมดที่ถือครอง X 100
จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ
ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืนและยังมิได้จําหน่ายหรือตัดหุ้นที่ซื้อคืนมานั้นออกจากจํานวนหุ้นที่จดทะเบียนชําระแล้ว ในการคํานวณจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ให้หักสิทธิออกเสียงของหุ้นที่กิจการซื้อคืนและยังคงค้างอยู่ ณ สิ้นเดือนของเดือนก่อนเดือนที่มีการได้มาหรือจําหน่ายไปในครั้งนั้นออกจากฐานการคํานวณ
ข้อ ๓ ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืนและมีผลทําให้บุคคลใดซึ่งถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้น เมื่อคํานวณร้อยละของหลักทรัพย์ที่ถือครองตามจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าวตามข้อ 2 แล้ว มีสัดส่วนการถือหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บุคคลนั้นไม่มีหน้าที่รายงานการเพิ่มขึ้นของหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าว
หากต่อมาบุคคลตามวรรคหนึ่งมีการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการไม่ว่าจํานวนใด ๆ บุคคลนั้นมีหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
ในกรณีที่การได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามวรรคสอง มีขึ้นในขณะที่การถือหลักทรัพย์ของบุคคลนั้นไม่ถึงหรือข้ามจุดตามวรรคหนึ่ง บุคคลนั้นจะมีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ก็ต่อเมื่อการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น เมื่อคํานวณร้อยละของหลักทรัพย์ที่ถือครองตามจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าวตามข้อ 2 แล้ว มีผลทําให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในจํานวนที่ถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องรายงานดังกล่าว
ข้อ ๔ ในกรณีที่บุคคลใดถือหลักทรัพย์ของกิจการอยู่ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยบุคคลนั้นมิได้มีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ แต่เมื่อคํานวณร้อยละของหลักทรัพย์ที่ถือครองตามจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าวตามข้อ 2 และรวมกับบุคคลตามมาตรา 258 ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 เป็นผลให้การถือหลักทรัพย์ของบุคคลนั้นถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บุคคลนั้นไม่มีหน้าที่รายงานการเพิ่มขึ้นของหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าว
หากต่อมาบุคคลตามวรรคหนึ่งมีการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการไม่ว่าจํานวนใด ๆ บุคคลนั้นมีหน้าที่รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
ในกรณีที่การได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามวรรคสอง มีขึ้นในขณะที่การถือหลักทรัพย์ของบุคคลนั้นไม่ถึงหรือข้ามจุดตามวรรคหนึ่ง บุคคลนั้นจะมีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ก็ต่อเมื่อการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น เมื่อคํานวณร้อยละของหลักทรัพย์ที่ถือครองตามจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าวตามข้อ 2 แล้ว มีผลทําให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในจํานวนที่ถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องรายงานดังกล่าว
ข้อ ๕ บุคคลใดถือหุ้นของกิจการอยู่ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยการถือหุ้นของบุคคลนั้นมิได้ถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ แต่เมื่อนับรวมจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าวกับจํานวนสิทธิออกเสียงของบุคคลตามมาตรา 258 ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลทําให้การถือหุ้นของบุคคลนั้นถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อ
หลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับดังกล่าว ให้บุคคลนั้นไม่มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในกรณีดังกล่าว
บุคคลใดไม่มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามวรรคหนึ่ง หากต่อมามีการได้หุ้นของกิจการไม่ว่าจํานวนใด ๆ บุคคลนั้นต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ เว้นแต่จะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการได้หุ้นของกิจการในขณะที่การถือหุ้นของบุคคลนั้นไม่ถึงหรือข้ามจุดตามวรรคหนึ่ง และการได้หุ้นนั้นไม่มีผลทําให้การถือหุ้นของบุคคลนั้นถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
(2) เป็นการได้หุ้นของกิจการในขณะที่การถือหุ้นของบุคคลนั้นถึงหรือข้ามจุดตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นจําหน่ายหุ้นของกิจการในส่วนที่มีการได้มาทั้งหมดบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์หรือจําหน่ายคืนบุคคลที่ตนซื้อมาภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการ แต่ต้องก่อนวันที่บุคคลนั้นมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๖ บุคคลตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง ที่มีการได้หุ้นของกิจการในขณะที่การถือหุ้นของบุคคลนั้นถึงหรือข้ามจุดที่มีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ และเป็นการได้หุ้นของกิจการในครั้งแรกภายในระยะเวลาหกเดือนตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บุคคลนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) แจ้งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการ โดยใช้แบบ 246-2 ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และ
(2) ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกิจการในส่วนที่มีการได้มาทั้งหมด โดยจําหน่ายบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์หรือจําหน่ายคืนบุคคลที่ตนซื้อมาภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่แจ้งต่อสํานักงาน แต่ต้องก่อนวันที่บุคคลนั้นมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เป็นผลให้บทบัญญัติในเรื่องการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการมีการแก้ไขเพิ่มเติมบางประการ จึงจําเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ | 2,753 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2554 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 30 /2554
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับ
การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2551 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,754 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 58/2552
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของ
กรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 103(9) และ (10) และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(2) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
(4) “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
(5) “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
(6) “ประสบการณ์ในการทํางาน” หมายความว่า ประสบการณ์การทํางานในสถาบันการเงินหรือองค์กรอื่น โดยอยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือประสบการณ์การทํางานในระดับบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจหลักทรัพย์ หรือประสบการณ์จากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการหรือผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพด้านการบัญชี การเงิน การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือกฎหมาย
ข้อ ๒ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหาร กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทกรรมการอิสระ ผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระต้อง
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ข) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ค) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร
ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทย่อย
(ง) ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน และไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ตามวรรคหนึ่ง (2) ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้บริษัทหลักทรัพย์ได้เต็มเวลา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว หรือบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นตามมาตรา 103(7)
ข้อ ๓ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้บริหารรายใดของบริษัทหลักทรัพย์ ให้สํานักงานดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๔ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการหรือผู้บริหารรายใดของบริษัทหลักทรัพย์มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์และไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวอีกต่อไป โดยสํานักงานมีหนังสือแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบแล้ว บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้กรรมการหรือผู้บริหารรายนั้นพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่จําเป็นและสมควรโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ใดมีกรรมการหรือผู้บริหารที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 หรือตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้บริหารรายนั้น
ข้อ ๖ ความในข้อ 2(1) (ข) มิให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้จัดการสาขา หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
ข้อ ๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 4/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 4/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 4/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,755 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 5/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 5/2553
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของ
กรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 103(9) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“(2/1) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” ใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ การกํากับดูแลการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุนหรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ทําหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น หรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กรรมการบริหาร” ใน (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 4 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถทํางานให้กับบริษัทหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่งได้ อันก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจและสอดคล้องกับการสนับสนุนให้บริษัทหลักทรัพย์มีการจัดโครงสร้างการดําเนินการในรูปกลุ่มธุรกิจ (financial conglomerate) มากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,756 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 38/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 38/2553
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 103(9) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
1. สําหรับผู้ดํารงตําแหน่ง กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท กรรมการอิสระ ผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
*หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อนําขั้นตอนการดําเนินการในกรณีที่กรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศนี้ ไปกําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,757 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 6/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 6/2553
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหาร
ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“(2/1) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” ใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าการปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การกํากับดูแลการปฏิบัติงานด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้น จะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเอง
และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ทําหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น หรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถทํางานให้กับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามากกว่าหนึ่งแห่งได้ อันก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจและสอดคล้องกับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีการจัดโครงสร้างการดําเนินการในรูปกลุ่มธุรกิจ (financial conglomerate) มากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,758 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 39/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 39/2553
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหาร
ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท กรรมการอิสระ ผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อนําขั้นตอนการดําเนินการในกรณีที่กรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะต้องห้ามตามประกาศฉบับนี้โดยนําไปกําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,759 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 87/2552
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหาร
ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การกํากับดูแลการปฏิบัติงานด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเอง และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
(4) “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
(5) “ประสบการณ์ในการทํางาน” หมายความว่า ประสบการณ์การทํางานในสถาบันการเงินหรือองค์กรอื่น โดยอยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือประสบการณ์การทํางานในระดับบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประสบการณ์จากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการหรือผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพด้านการบัญชี การเงิน การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือกฎหมาย
ข้อ ๒ ให้บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๓ กรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีคุณวุฒิทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทํางานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(ก) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท กรรมการอิสระ ผู้จัดการ บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการ ซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี
(ข) สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1. สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
2. สําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระต้อง
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ข) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(ค) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบริษัทย่อย
ผู้บริหารตามวรรคหนึ่งของ (ค) มิให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ง) ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน และไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ต้องสามารถทํางานให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เต็มเวลา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๔ กรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้บริหารรายใดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๕ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการหรือผู้บริหารรายใดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวอีกต่อไป โดยสํานักงาน ก.ล.ต. มีหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการให้กรรมการหรือผู้บริหารรายนั้นพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่จําเป็นและสมควรโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๖ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดมีกรรมการหรือผู้บริหารที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 23 หรือตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นต้องรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้บริหารรายนั้น
ข้อ ๗ ความในข้อ 3(1) (ข) มิให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้จัดการสาขา หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
ข้อ ๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 37/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 37/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ และการกําหนดให้บุคคลที่ดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 37/2548 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,760 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 20/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่าย
เป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 และมาตรา 89/29 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บทนิยามดังต่อไปนี้ ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้มีความหมายดังนี้
(1) “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทย่อยตามมาตรา 89/1
(2) “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
(3) “ทรัพย์สิน” หรือ “สินทรัพย์” หมายความว่า สิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของและมีมูลค่าสามารถจําหน่ายจ่ายโอนได้
ข้อ ๓ การทํารายการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทปฏิบัติเช่นเดียวกับการตกลงเข้าทํารายการตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(1) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย
(2) การโอนหรือสละสิทธิประโยชน์ รวมตลอดถึงการสละสิทธิเรียกร้องที่มีต่อผู้ที่ก่อความเสียหายแก่บริษัท ไม่ว่าสิทธิประโยชน์นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย
เพื่อประโยชน์ในการทํารายการตามวรรคหนึ่ง
1. (1) ให้ใช้คําว่า “สํานักงาน” แทนคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
(2) ในกรณีเป็นการทํารายการที่เข้าลักษณะตามส่วนที่ 4 รายการประเภทที่ 4 ของหมวด 3 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการในเรื่องที่เกี่ยวกับมูลค่ารายการ
(3) ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยจําหน่ายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจตามปกติของตนไปทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเป็นผลให้บริษัทหรือบริษัทย่อยมีทรัพย์สินทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในรูปของเงินสดหรือหลักทรัพย์ระยะสั้น และบริษัทหรือบริษัทย่อยได้หยุดการประกอบธุรกิจปกติของตน บริษัทต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กําหนดไว้ใน ส่วนที่ 1 รายการประเภทที่ 1 ของหมวด 3 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
(4) ในกรณีเป็นการขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 30 ข้อ 31 และข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ บริษัทต้องดําเนินการดังนี้
(ก) ส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน
(ข) ปฏิบัติตามการสั่งการของสํานักงานในเรื่องความเพียงพอของสารสนเทศหรือการสั่งการอื่นใด
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,761 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 21/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่าย
เป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/29 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 การทํารายการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทปฏิบัติเช่นเดียวกับการตกลงเข้าทํารายการตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 3/1
(1) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย
(2) การโอนหรือสละสิทธิประโยชน์ รวมตลอดถึงการสละสิทธิเรียกร้องที่มีต่อผู้ที่ก่อความเสียหายแก่บริษัท ไม่ว่าสิทธิประโยชน์นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 3/1 ในกรณีที่บริษัทเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หากบริษัทจะทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินโดยประสงค์จะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้กระทําได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. (1) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินเป็นไปตามแผนการควบ โอน หรือรับโอนกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
2. (2) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังบริษัทได้รับ
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เพิกถอนหุ้นของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วยความสมัครใจตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และในการขอมติเพิกถอนหุ้นดังกล่าว บริษัทได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ก่อนแล้ว โดยระบุไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
1. (ก) แผนการทํารายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินนั้น
2. (ข) การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นในการอนุมัติให้เข้าทํารายการ ซึ่งจะไม่ห้ามการออกเสียงลงคะแนนของผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (ข) คําว่า “ส่วนได้เสีย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
1. (ค) คําเตือนผู้ถือหุ้นที่แสดงว่า ผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วยกับการทํารายการ ต้องใช้สิทธิออกเสียงคัดค้านตั้งแต่การพิจารณาวาระการเพิกถอนหุ้นของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
2. การทํารายการได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการควบ โอน หรือรับโอนกิจการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้การควบ โอน หรือรับโอนกิจการของสถาบันการเงิน
ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบ ที่มีการทําธุรกรรมที่เป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญต่อบริษัท สามารถเกิดขึ้นได้ โดยยังมีมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนตามสมควร จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,762 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 50/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย.50/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 55 มาตรา 73 มาตรา 76 มาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้า” หมายความว่า
(1) ผู้รับประโยชน์หรือร่วมรับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(2) ผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หรือ
(3) ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือการชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
ทั้งนี้ ไม่ว่าการรับประโยชน์ การควบคุม หรือการสนับสนุนทางการเงินจะเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่งหรือโดยประการอื่น
“บริษัทใหญ่” หมายความว่า
(1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (1) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๓ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอสําหรับรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยแหล่งเงินทุนส่วนที่มีไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงต้องสามารถนําไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
ข้อ ๔ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยสํานักหักบัญชีสัญญาที่ดําเนินการโดยศูนย์ซื้อขายสัญญาเองหรือโดยบุคคลอื่น ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องรับประกันการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทันทีที่เกิดการซื้อขายขึ้นและจะสิ้นความผูกพันต่อเมื่อสํานักหักบัญชีสัญญาได้เข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว ในการนี้ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่สํานักหักบัญชีสัญญาโดยเร็วภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายขึ้น
ข้อ ๕ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอเพื่อส่งเสริมและรักษามาตรฐานในเรื่องความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ ตลอดจนความเป็นธรรมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังต่อไปนี้
(1) มีระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นรวมทั้งสามารถขยายให้รองรับการซื้อขายที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ โดยต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย
(2) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งรวมทั้งข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย (post-trade information) เพื่อประโยชน์ในการติดตามตรวจสอบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภายหลัง (audit trail)และต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่มีการบันทึกข้อมูล เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะสั่งเป็นประการอื่น
(3) มีระบบติดตามและตรวจสอบสภาพการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้อง
(ก) มีการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริง (unique identification) ของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้าให้ตรงตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน โดยอาจจัดเก็บในรูปของเลขหมายประจําตัวของผู้ถือบัตรประชาชน (citizen identification) เลขทะเบียนนิติบุคคล หรือเลขหมายอื่นใดที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(ข) มีระบบประมวลฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าแต่ละรายเพื่อประโยชน์ในการติดตามฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบุคคลดังกล่าว
(ค) มีระบบติดตามและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถึงระดับที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด (large trader) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบุคคลดังกล่าว
(ง) มีระบบติดตามและตรวจสอบสภาพการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นปัจจุบัน (real time)
(จ) มีการเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการดําเนินการตาม (ข) – (ง) ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะสั่งเป็นประการอื่น
ข้อ ๖ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสม (trading abuse) โดยอย่างน้อยต้อง
(1) มีกฎเกณฑ์ที่ให้อํานาจศูนย์ซื้อขายสัญญาในการดําเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่สมาชิกกระทําเพื่อตนเองและเพื่อลูกค้าดังต่อไปนี้
(ก) สั่งงดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ข) สั่งล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ค) สั่งจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ง) สั่งจํากัดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) มีข้อกําหนดให้สมาชิกต้องจัดให้มีหนังสือแสดงความยินยอมของลูกค้าที่แต่งตั้งให้สมาชิกเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยลูกค้าตกลงที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้าให้แก่สมาชิก ตลอดจนยินยอมให้สมาชิกจัดส่งข้อมูลดังกล่าวแก่ศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักงาน ก.ล.ต. รวมทั้งยินยอมให้สมาชิกงดให้บริการในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จํากัดฐานะหรือปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของศูนย์ซื้อขายสัญญา
(3) มีกฎเกณฑ์ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญากับสํานักหักบัญชีสัญญา ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ข้อ ๗ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอราคาและการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นการทั่วไปโดยแยกเป็นรายสัญญา
(1) การเสนอราคาและปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้มีการซื้อขายกัน
(3) ปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ยังคงค้างอยู่ (open interest)
(5) ข้อมูลอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ ๘ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยต้องกําหนดกรณีฉุกเฉินให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งกําหนดขั้นตอนการดําเนินการและผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวในแต่ละกรณีให้ชัดเจน
ข้อ ๙ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือเกิดจากการใช้บริการที่จัดโดยศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๐ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ความพร้อม ความสามารถ และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก เป็นสําคัญ
ข้อ ๑๑ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก มีมาตรการในการกํากับดูแลให้สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานให้กับสมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีมาตรการดําเนินการต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณดังกล่าว ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องประเมินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าวในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดทํารายงานผลการประเมินและการดําเนินการต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ
ข้อ ๑๒ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ ๑๓ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานหรือผู้บริหารแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ และมีมาตรการรักษาความลับของสมาชิกและลูกค้า เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามประกาศนี้หรือกฎหมายให้อํานาจกระทําได้
หมวด ๒ หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๑๔ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทโดยอาจประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นของสํานักหักบัญชีสัญญา ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญามีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือข้อผูกพันเป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายจากบริษัทใหญ่ในการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่สํานักหักบัญชีสัญญา โดยบริษัทใหญ่ต้องกันทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและมีความเสี่ยงต่ําไว้เพื่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าว (explicit guarantee)
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเพียงพอของแหล่งเงินทุนตามวรรคหนึ่ง สํานักหักบัญชีสัญญาต้องทําการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด (stress test) อย่างน้อยทุกไตรมาส และรายงานผลการประเมินดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบทุกครั้ง
ข้อ ๑๕ ในการให้บริการระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระบบที่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยสํานักหักบัญชีสัญญาต้องเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทันทีที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายให้แก่สํานักหักบัญชี
สัญญาภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญา รวมทั้งต้องมีกระบวนการจัดกาที่ชัดเจนสําหรับกรณีที่มีการผิดนัดชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
ข้อ ๑๖ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีมาตรการบริหารและติดตามความเสี่ยงเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้อง
(1) มีระบบการวางหรือเรียกหลักประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้มาตรฐานสากล โดยต้องคํานวณมูลค่าหลักประกันที่ต้องดํารงไว้ทุกวันตามความผันผวนของราคาและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า (volatility based margining) และต้องเรียกให้สมาชิกวางหลักประกันล่วงหน้าเพื่อรองรับการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยไม่ให้นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า หรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกัน มาหักกลบลบกัน (gross margining) และในกรณีที่ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความผันผวนมาก สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีระบบการวางหรือเรียกหลักประกันระหว่างวัน (intra-day margining) รวมทั้งต้องปรับมูลค่าหลักประกันที่วางไว้ให้เป็นปัจจุบันทุกวัน (daily mark to market) นอกจากนี้ ต้องมีการคํานวณและเรียกให้สมาชิกชําระผลขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นทุกวันเพื่อมิให้มีขาดทุนสะสม
(2) มีข้อกําหนดให้สมาชิกต้องเรียกหลักประกันจากลูกค้าไม่น้อยกว่าที่สํานักหักบัญชีสัญญาเรียกหลักประกันจากสมาชิก
(3) กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในรูปของเงินสด พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(4) จัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อทําหน้าที่กําหนดนโยบายในการบริหารจัดการความเสี่ยงและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายที่วางไว้ โดยคณะกรรมการดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ในด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารความเสี่ยง หรือการบริหารงานสํานักหักบัญชีสัญญาหรือสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
ข้อ ๑๗ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก เป็นสําคัญ
ข้อ ๑๘ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก มีมาตรการในการกํากับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว และมีมาตรการดําเนินการต่อสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ทั้งนี้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องประเมินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสมาชิกในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดทํารายงานผลการประเมินและการดําเนินการต่อสมาชิกที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ
ข้อ ๑๙ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระบบกํากับตรวจสอบฐานะทางการเงินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า โดยอย่างน้อยต้อง
(1) มีการประเมินและติดตามฐานะทางการเงิน ความมั่นคงทางการเงิน และระบบบริหารความเสี่ยงของสมาชิกอย่างสม่ําเสมอ และมีมาตรการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าฐานะทางการเงินและระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีสัญญา
(2) เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าแต่ละรายไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่ได้มา เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะสั่งเป็นประการอื่น
(3) มีกฎเกณฑ์ให้สํานักหักบัญชีสัญญาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับศูนย์ซื้อขายสัญญา ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ข้อ ๒๐ ให้นําความในข้อ 8 ข้อ 12 และข้อ 13 มาใช้บังคับกับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,763 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 51/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 51/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 73 และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
#### ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 50/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 13/1 เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนหรือคุ้มครองผู้ลงทุน ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ลงทุนหรือการทําธุรกรรมกับสมาชิกอย่างเพียงพอ โดยการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องกระทําในลักษณะที่ทันต่อเหตุการณ์และผู้ลงทุนทั่วไปมีโอกาสได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ประเภทของข้อมูล วิธีการและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ในกรณีที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทของข้อมูล วิธีการและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว ตลอดจนมีอํานาจสั่งให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาดําเนินการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรได้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 50/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ให้นําความในข้อ 8 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 13/1 มาใช้บังคับกับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาโดยอนุโลม”
### ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,764 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 96/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 55 มาตรา 73 มาตรา 76 มาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 14 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) “ผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้า” หมายความว่า
(ก) ผู้รับประโยชน์หรือร่วมรับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(ข) ผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หรือ
(ค) ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือการชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
ทั้งนี้ ไม่ว่าการรับประโยชน์ การควบคุม หรือการสนับสนุนทางการเงินจะเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่งหรือโดยประการอื่น
(4) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า
(ก) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (ก) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการบริหาร ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคล
ที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย
(6) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(7) “สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๓ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอสําหรับรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยแหล่งเงินทุนส่วนที่มีไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงต้องสามารถนําไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
ข้อ ๔ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยสํานักหักบัญชีสัญญาที่ดําเนินการโดยศูนย์ซื้อขายสัญญาเองหรือโดยบุคคลอื่น ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องรับประกันการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทันทีที่เกิดการซื้อขายขึ้นและจะสิ้นความผูกพันต่อเมื่อสํานักหักบัญชีสัญญาได้เข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว ในการนี้ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่สํานักหักบัญชีสัญญาโดยเร็วภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายขึ้น
ข้อ ๕ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอเพื่อส่งเสริมและรักษามาตรฐานในเรื่องความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ ตลอดจนความโปร่งใสและเป็นธรรมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังต่อไปนี้
(1) มีระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถขยายให้รองรับการซื้อขายที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ โดยต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย
(2) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งรวมทั้งข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย (post-trade information) เพื่อประโยชน์ในการติดตามและตรวจสอบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภายหลัง (audit trail) และต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่มีการบันทึกข้อมูล เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะสั่งเป็นประการอื่น
(3) มีระบบติดตามและตรวจสอบสภาพการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้อง
(ก) มีการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริง (unique identification) ของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้าให้ตรงตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน โดยอาจจัดเก็บในรูปของเลขหมายประจําตัวของผู้ถือบัตรประชาชน เลขทะเบียนนิติบุคคล หรือเลขหมายอื่นใดที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(ข) มีระบบประมวลฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าแต่ละรายเพื่อประโยชน์ในการติดตามฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบุคคลดังกล่าว
(ค) มีระบบติดตามและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถึงระดับที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด (large trader) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบุคคลดังกล่าว
(ง) มีระบบติดตามและตรวจสอบสภาพการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นปัจจุบัน (real time)
(จ) มีการเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการดําเนินการตาม (ข) ถึง (ง) ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะสั่งเป็นประการอื่น
ข้อ ๖ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสม โดยอย่างน้อยต้อง
(1) มีกฎเกณฑ์ที่ให้อํานาจศูนย์ซื้อขายสัญญาในการดําเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่สมาชิกกระทําเพื่อตนเองและเพื่อลูกค้าดังต่อไปนี้
(ก) สั่งงดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ข) สั่งล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ค) สั่งจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ง) สั่งจํากัดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) มีข้อกําหนดให้สมาชิกต้องจัดให้มีหนังสือแสดงความยินยอมของลูกค้าที่แต่งตั้งให้สมาชิกเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยลูกค้าตกลงที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้าให้แก่สมาชิก รวมทั้งยินยอมให้สมาชิกจัดส่งข้อมูลดังกล่าวแก่ศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักงาน ก.ล.ต. ตลอดจนยินยอมให้สมาชิกงดให้บริการในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จํากัดฐานะหรือปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของศูนย์ซื้อขายสัญญา
(3) มีกฎเกณฑ์ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญากับสํานักหักบัญชีสัญญา ตลาดหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ข้อ ๗ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอราคาและการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นการทั่วไปโดยแยกเป็นรายสัญญา
(1) การเสนอราคาและปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้มีการซื้อขายกัน
(3) ปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ยังคงค้างอยู่ (open interest)
ข้อ ๘ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยต้องกําหนดกรณีฉุกเฉินให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งกําหนดขั้นตอนการดําเนินการและผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวในแต่ละกรณีให้ชัดเจน
ข้อ ๙ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือเกิดจากการใช้บริการที่จัดโดยศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๐ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ความพร้อม ความสามารถ และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก เป็นสําคัญ
ข้อ ๑๑ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก มีมาตรการในการกํากับดูแลให้สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานให้กับสมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีมาตรการดําเนินการต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณดังกล่าว ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องประเมินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าวในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดทํารายงานผลการประเมินและการดําเนินการต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ
ข้อ ๑๒ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องเผยแพร่กฎเกณฑ์และข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้แก่สมาชิกหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายสัญญาทราบ
ข้อ ๑๓ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ ๑๔ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่ศูนย์ซื้อขายสัญญา แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ และมีมาตรการที่เพียงพอในการรักษาความลับของสมาชิกและลูกค้า
ข้อ ๑๕ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนหรือคุ้มครองผู้ลงทุน ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ลงทุนหรือการทําธุรกรรมกับสมาชิก โดยการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องกระทําในลักษณะที่ทันต่อเหตุการณ์ มีข้อมูลเพียงพอ และผู้ลงทุนทั่วไปมีโอกาสได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ประเภทของข้อมูล วิธีการและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมวด ๒ หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๑๖ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทโดยอาจประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นของสํานักหักบัญชีสัญญา ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญามีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือข้อผูกพันเป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายจากบริษัทใหญ่ในการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่สํานักหักบัญชีสัญญา โดยบริษัทใหญ่ต้องกันทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและมีความเสี่ยงต่ําไว้เพื่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าว (explicit guarantee)
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเพียงพอของแหล่งเงินทุนตามวรรคหนึ่ง สํานักหักบัญชีสัญญาต้องทําการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด (stress test) อย่างน้อยทุกไตรมาส และรายงานผลการประเมินดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบทุกครั้ง
ข้อ ๑๗ ในการให้บริการระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระบบที่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสํานักหักบัญชีสัญญาต้องเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในทันทีที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายให้แก่สํานักหักบัญชีสัญญาภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญา และสํานักหักบัญชีสัญญาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะยกเลิก แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายการมิได้ รวมทั้งต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการดําเนินการเมื่อมีการผิดนัดชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
ข้อ ๑๘ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีมาตรการบริหารและติดตามความเสี่ยงเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้อง
(1) มีระบบการวางหรือเรียกหลักประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้มาตรฐานสากล โดยต้องคํานวณมูลค่าหลักประกันที่ต้องดํารงไว้ทุกวันตามความผันผวนของราคาและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า (volatility based margining) และต้องเรียกให้สมาชิกวางหลักประกันล่วงหน้าเพื่อรองรับการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ให้นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า หรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกัน มาหักกลบลบกัน (gross margining) และในกรณีที่ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความผันผวนมาก สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีระบบการวางหรือเรียกหลักประกันระหว่างวัน (intra-day margining) รวมทั้งต้องปรับมูลค่าหลักประกันที่วางไว้ให้เป็นปัจจุบันทุกวัน (daily mark
to market) นอกจากนี้ ต้องมีการคํานวณและเรียกให้สมาชิกชําระผลขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นทุกวันเพื่อมิให้มีขาดทุนสะสม
(2) มีข้อกําหนดให้สมาชิกต้องเรียกหลักประกันจากลูกค้าไม่น้อยกว่าที่สํานักหักบัญชีสัญญาเรียกหลักประกันจากสมาชิก
(3) กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในรูปของเงินสด หรือทรัพย์สินอื่นตามกฎเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด
(4) จัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อทําหน้าที่กําหนดนโยบายในการบริหารจัดการความเสี่ยงและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายที่วางไว้ โดยคณะกรรมการดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ในด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารความเสี่ยง หรือการบริหารงานสํานักหักบัญชีสัญญาหรือสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
ข้อ ๑๙ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก เป็นสําคัญ
ข้อ ๒๐ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก มีมาตรการในการกํากับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว และมีมาตรการดําเนินการต่อสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ทั้งนี้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องประเมินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสมาชิกในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดทํารายงานผลการประเมินและการดําเนินการต่อสมาชิกที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ
ข้อ ๒๑ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระบบกํากับตรวจสอบฐานะทางการเงินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า โดยอย่างน้อยต้อง
(1) มีการประเมินและติดตามฐานะทางการเงิน ความมั่นคงทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกอย่างสม่ําเสมอ และมีมาตรการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าฐานะทางการเงินและระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีสัญญา
(2) เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าแต่ละรายไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่ได้มา เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะสั่งเป็นประการอื่น
(3) มีกฎเกณฑ์ให้สํานักหักบัญชีสัญญาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้า รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญากับศูนย์ซื้อขายสัญญา ตลาดหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ข้อ ๒๒ ให้นําความในข้อ 8 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 มาใช้บังคับกับสํานักหักบัญชีสัญญาโดยอนุโลม
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 50/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กย. 50/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 50/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ เพื่อกําหนดให้สมาชิกสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถนําทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนด มาวางเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,765 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 30/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 30/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
### อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) มีกฎเกณฑ์ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาสามารถเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญากับสํานักหักบัญชีสัญญา ตลาดหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สํานักงาน ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย และองค์กรอื่นที่ติดตามตรวจสอบสินค้าหรือตัวแปร ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดให้มีกฎเกณฑ์ในการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยและองค์กรที่ติดตามตรวจสอบสินค้าหรือตัวแปรเพิ่มเติม เพื่อให้การกํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถคุ้มครองผู้ลงทุนได้อย่างเพียงพอ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,766 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 12/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 12/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 112 มาตรา 113 มาตรา 114 และมาตรา 116แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” และคําว่า “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547
““ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9)
(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(13) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(15) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) โดยอนุโลม
(17) นิติบุคคลตามที่สํานักงานอนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งนิติบุคคลนั้นต้องประกอบธุรกิจหลักสอดคล้องกับธุรกิจหลักที่กองทุนรวมต้องการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในนโยบายการลงทุน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) จัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํา กับผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน รวมทั้งต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดและตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานในการให้คําแนะนําด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,767 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 36/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 36/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 6/1 การทําหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของผู้ลงทุนในการซื้อขายหน่วยลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้บริษัทนายหน้าซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและทําหน้าที่ซื้อขายหน่วยลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีระบบงานที่รองรับการส่งคําสั่งซื้อขายไปที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,768 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและ การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสำนักงานสาขา | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 8/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและ
การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 31/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง
“สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ” หมายความว่า สํานักงานสาขาในประเทศไทยของบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้บริการได้ตามขอบเขตการให้บริการที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับอนุญาต
“สํานักงานสาขาออนไลน์” หมายความว่า สํานักงานสาขาในประเทศไทยของบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และจํากัดการให้บริการเฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ในข้อ 7
หมวด ๑ สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสํานักงานสาขาออนไลน์
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว หากในวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ บริษัทหลักทรัพย์มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (2) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วมีสถานะเป็นบวก ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการเพิ่มทุนภายหลังจากวันที่ในงบการเงินฉบับล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์อาจนําข้อมูลการเพิ่มทุนดังกล่าวมาคํานวณรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมได้
(3) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดแต่ไม่เกินห้าปีย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ
(4) ไม่อยู่ระหว่างถูกคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานสั่งห้ามขยายหรือระงับการประกอบธุรกิจหรืออยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานสั่งการตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) ในช่วงระยะเวลาสิบสองเดือนย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการไม่ปรากฏว่ามีความผิดในลักษณะที่เป็นการจงใจอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทหลักทรัพย์
(6) มีระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าเพื่อระงับข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าและมีการเข้าร่วมโครงการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทหลักทรัพย์และลูกค้า เป็นต้น
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณสมบัติตาม (3) หรือ (5) บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณสมบัติดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบมีผู้จัดการสํานักงานสาขาและหน่วยงานดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานให้บริการด้านหลักทรัพย์
(2) หน่วยงานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์อาจจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบใช้หน่วยงานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ร่วมกับสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นก็ได้
ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการสํานักงานสาขารายใหม่ภายในหนึ่งเดือนเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทหลักทรัพย์อาจให้เจ้าหน้าที่ของสํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นทําหน้าที่แทนเป็นการชั่วคราวก็ได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งใดมีผู้จัดการสํานักงานสาขาร่วมกับสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่น ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดของแผนการบริหารงานและการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบที่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาร่วมกันดังกล่าว
ให้สํานักงานพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสองแล้ว หากสํานักงานไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดไปยังบริษัทหลักทรัพย์ ให้ถือว่าสํานักงานอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตามที่ขอได้
ข้อ ๗ ให้สํานักงานสาขาออนไลน์ทําหน้าที่ได้เฉพาะกิจการต่อไปนี้
(1) จัดให้มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ลูกค้าส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยตนเอง
(2) รับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อส่งให้สํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบพิจารณาอนุมัติ
(3) รับหรือส่งมอบเงินหรือหลักทรัพย์โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
(4) ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นหรือเกี่ยวเนื่องตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้สํานักงานสาขาออนไลน์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีข้อความแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าไม่ได้รับอนุญาต ให้ทําการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้าด้วย
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการดําเนินงานสํานักงานสาขาออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบดังกล่าวอาจเป็นเจ้าหน้าที่สํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบก็ได้
ข้อ ๙ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายละเอียดการจัดตั้งสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการตามแบบที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะยกระดับสํานักงานสาขาออนไลน์ให้เป็นสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ ให้ดําเนินการได้หากในวันที่จะเริ่มยกระดับบริษัทหลักทรัพย์มีคุณสมบัติตามข้อ 4 และต้องแจ้งรายละเอียดการยกระดับสํานักงานสาขาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มยกระดับตามแบบที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
หมวด ๒ สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๑๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขาในต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาในต่างประเทศตามข้อ 11 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 4 (1) (3) (4) (5) และ (6) ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณสมบัติตามข้อ 4(3) หรือ (5) บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณสมบัติดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว
2. มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการเพิ่มทุนหรือลดทุนภายหลังจากวันที่ในงบการเงินฉบับล่าสุด ให้บริษัทหลักทรัพย์นําข้อมูลการเพิ่มทุนหรือลดทุนดังกล่าวมาคํานวณรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมด้วย
(3) แสดงได้ว่าบริษัทมีแผนงานเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจในต่างประเทศอย่างรัดกุม โดยอย่างน้อยต้องมีการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความพร้อมด้านบุคลากร
(4) มีประวัติการบริหารงานที่ดี ดังต่อไปนี้
(ก) ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตไม่มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนถูกสํานักงานสั่งลงโทษตั้งแต่ระดับภาคทัณฑ์ขึ้นไปเกินกว่าสามกรณีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานให้กับบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ การถูกสั่งลงโทษดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ตรวจพบการกระทําความผิดและส่งเรื่องให้สํานักงานดําเนินการ
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” ให้หมายความถึงผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(ข) ในช่วงระยะเวลาสามปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต บริษัทหลักทรัพย์ไม่เคยถูกสํานักงานสั่งการให้แก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน หรือการจัดเก็บ
เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสําคัญ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตตามข้อ 11 ให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้
ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงานสาขาในต่างประเทศแต่ละแห่งมีผู้จัดการสํานักงานสาขาเพื่อปฏิบัติงานให้สํานักงานสาขาแห่งนั้นเพียงแห่งเดียว
ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการสํานักงานสาขารายใหม่ภายในหนึ่งเดือนเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานโดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินงานแทนเป็นการชั่วคราว
หมวด ๓ อํานาจสั่งการของสํานักงานและการแจ้งวันปิดทําการสํานักงานสาขา
ข้อ ๑๕ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงานว่าสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ สํานักงานสาขาออนไลน์ หรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศแห่งใดของบริษัทหลักทรัพย์มีการดําเนินงานในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า หรือบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือข้อ 12 (1) หรือ (2) หรือบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน หรือระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรตามที่กําหนดในข้อ 12 (3) แล้วแต่กรณี หรือไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ตลอดระยะเวลาที่มีและเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาแห่งนั้น ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้มีสํานักงานสาขาแห่งนั้นได้
ข้อ ๑๖ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะปิดสํานักงานสาขาแห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้แจ้งวันปิดทําการต่อสํานักงานและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของสํานักงานสาขาแห่งนั้นล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการปิดสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ บริษัทหลักทรัพย์ยังมีหน้าที่ต้องดําเนินการให้ลูกค้าได้รับบริการจากสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาแห่งอื่นหรืออํานวยความสะดวกให้ลูกค้าได้รับบริการจากบริษัทหลักทรัพย์อื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว สามารถเพิ่มรายได้และขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคต รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่ออนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีความพร้อมสามารถมีสํานักงานสาขาในต่างประเทศได้ จึงจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประกาศนี้ | 2,769 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและ การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสำนักงานสาขา (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 45 /2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและ
การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา
(ฉบับที่ 2 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบมีหน่วยงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานให้บริการด้านหลักทรัพย์
(2) หน่วยงานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์อาจใช้ร่วมกับสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นก็ได้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสํานักงานสาขาออนไลน์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรให้เพียงพอกับการดําเนินงานของสํานักงานสาขา ตลอดจนต้องจัดให้มีการบริหารจัดการและระบบงานในการกํากับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่ไม่มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาดังกล่าว
บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกข้อกําหนดเกี่ยวกับการมีผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ และกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสาขาออนไลน์แทน รวมทั้งต้องจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรให้เพียงพอตลอดจนต้องจัดให้มีการบริหารจัดการและระบบงานในการกํากับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดําเนินธุรกิจและการบริหารจัดการองค์กรของบริษัทหลักทรัพย์มีความคล่องตัวและสามารถรองรับการแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,770 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสำนักงานสาขา | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 7/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้
ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
มีสํานักงานสาขา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภายหลัง
“สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ” หมายความว่า สํานักงานสาขาในประเทศไทยของตัวแทนซื้อขายสัญญาที่สามารถให้บริการได้ตามขอบเขตการให้บริการที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาต
“สํานักงานสาขาออนไลน์” หมายความว่า สํานักงานสาขาในประเทศไทยของตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ให้บริการด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และจํากัดการให้บริการเฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ในข้อ 7
ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจมีสํานักงานสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
หมวด ๑ สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสํานักงานสาขาออนไลน์
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว หากในวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการตัวแทนซื้อขายสัญญามีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี
ที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วมีสถานะเป็นบวก ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญา มีการเพิ่มทุนภายหลังจากวันที่ในงบการเงินฉบับล่าสุด ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจนําข้อมูลการเพิ่มทุนดังกล่าวมาคํานวณรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมได้
(3) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดแต่ไม่เกินห้าปีย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ
(4) ไม่อยู่ระหว่างถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง หรือสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพักหรือจํากัดการประกอบการหรืออยู่ระหว่างกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง หรือสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งการ แล้วแต่กรณี
(5) ในช่วงระยะเวลาสิบสองเดือนย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการไม่ปรากฏว่ามีความผิดในลักษณะที่เป็นการจงใจอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของตัวแทนซื้อขายสัญญา
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาขาดคุณสมบัติตาม (3) หรือ (5) ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อแสดงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาขาดคุณสมบัติดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว
ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบมีผู้จัดการสํานักงานสาขาและหน่วยงานดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) หน่วยงานปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบใช้หน่วยงานปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าร่วมกับสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นก็ได้
ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการสํานักงานสาขารายใหม่ภายในหนึ่งเดือนเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจให้เจ้าหน้าที่ของสํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นทําหน้าที่แทนเป็นการชั่วคราวก็ได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสงค์จะให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งใดมีผู้จัดการสํานักงานสาขาร่วมกับสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่น ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดของแผนการบริหารงานและการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบที่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาร่วมกันดังกล่าว
ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงาน ก.ล.ต. ได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสองแล้ว หากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดไปยังตัวแทนซื้อขายสัญญา ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการตามที่ขอได้
ข้อ ๗ ให้สํานักงานสาขาออนไลน์ทําหน้าที่ได้เฉพาะกิจการต่อไปนี้
(1) จัดให้มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ลูกค้าส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยตนเอง
(2) รับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อส่งให้สํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบพิจารณาอนุมัติ
(3) รับหรือส่งมอบเงินหรือหลักทรัพย์โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
(4) ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นหรือเกี่ยวเนื่องตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ในการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้สํานักงานสาขาออนไลน์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องมีข้อความแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าไม่ได้รับอนุญาตให้ทําการให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าด้วย
ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการดําเนินงานสํานักงานสาขาออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบดังกล่าวอาจเป็นเจ้าหน้าที่สํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบก็ได้
ข้อ ๙ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแจ้งรายละเอียดการจัดตั้งสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการตามแบบที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะยกระดับสํานักงานสาขาออนไลน์ให้เป็นสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ ให้ดําเนินการได้หากในวันที่จะเริ่มยกระดับตัวแทนซื้อขายสัญญามีคุณสมบัติตามข้อ 4 และต้องแจ้งรายละเอียดการยกระดับสํานักงานสาขาให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มยกระดับตามแบบที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
หมวด ๒ สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๑๑ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขาในต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่จะได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาในต่างประเทศตามข้อ 11 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีคุณสมบัติตามข้อ 4 (1) (3) (4) และ (5) ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาขาดคุณสมบัติตามข้อ 4 (3) หรือ (5) ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อแสดงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาขาดคุณสมบัติดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว
(2) มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการเพิ่มทุนหรือลดทุนภายหลังจากวันที่ในงบการเงินฉบับล่าสุด ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญา นําข้อมูลการเพิ่มทุนหรือลดทุนดังกล่าวมาคํานวณรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมด้วย
(3) แสดงได้ว่าบริษัทมีแผนงานเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจในต่างประเทศอย่างรัดกุมโดยอย่างน้อยต้องมีการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความพร้อมด้านบุคลากร
(4) มีประวัติการบริหารงานที่ดี ดังต่อไปนี้
(ก) ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตไม่มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนถูกสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งลงโทษตั้งแต่ระดับภาคทัณฑ์ขึ้นไปเกินกว่าสามกรณีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานให้กับบริษัทนั้น เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การถูกสั่งลงโทษดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่บริษัทเป็นผู้ตรวจพบการกระทําความผิดและส่งเรื่องให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการ
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” ให้หมายความถึงผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
2. ในช่วงระยะเวลาสามปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่เคยถูกสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งการให้แก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน หรือการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสําคัญ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตตามข้อ 11 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงาน ก.ล.ต. ได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได
ข้อ ๑๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงานสาขาในต่างประเทศแต่ละแห่งมีผู้จัดการสํานักงานสาขาเพื่อปฏิบัติงานให้สํานักงานสาขาแห่งนั้นเพียงแห่งเดียว
ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการสํานักงานสาขารายใหม่ภายในหนึ่งเดือนเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินงานแทนเป็นการชั่วคราว
หมวด ๓ อํานาจสั่งการของสํานักงาน ก.ล.ต. และการแจ้งวันปิดทําการสํานักงานสาขา
ข้อ ๑๕ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ สํานักงานสาขาออนไลน์ หรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศแห่งใดของตัวแทนซื้อขายสัญญามีการดําเนินงานในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือข้อ 12 (1) หรือ (2) หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่มีการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน หรือระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรตามที่กําหนดในข้อ 12 (3) แล้วแต่กรณี หรือไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ตลอดระยะเวลาที่มีและเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาแห่งนั้น ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้มีสํานักงานสาขาแห่งนั้นได้
ข้อ ๑๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะปิดสํานักงานสาขาแห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้แจ้งวันปิดทําการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของสํานักงานสาขาแห่งนั้นล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการปิดสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ ตัวแทนซื้อขายสัญญายังมีหน้าที่ต้องดําเนินการให้ลูกค้าได้รับบริการจากสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาแห่งอื่นหรืออํานวยความสะดวกให้ลูกค้าได้รับบริการจากตัวแทน
ซื้อขายสัญญาอื่น
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์แห่งใดอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้มีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์แห่งนั้นตามประกาศนี้แล้ว ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดํารงคุณสมบัติและปฏิบัติตามประกาศนี้ตลอดเวลาที่มีและเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาแห่งนั้นด้วยโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว สามารถเพิ่มรายได้และขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในอนาคต รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์เพื่ออนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีความพร้อมสามารถมีสํานักงานสาขาในต่างประเทศได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,771 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 46/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสำนักงานสาขา (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 46 /2553
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทน
ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสํานักงานสาขา
(ฉบับที่ 2 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบมีหน่วยงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) หน่วยงานปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจใช้ร่วมกับสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นก็ได้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสํานักงานสาขาออนไลน์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรให้เพียงพอกับการดําเนินงานของสํานักงานสาขา ตลอดจนต้องจัดให้มีการบริหารจัดการและระบบงานในการกํากับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่ไม่มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้จัดการของตัวแทนซื้อขายสัญญาทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาดังกล่าว
ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดู
หรือตรวจสอบได้ในทันที”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกข้อกําหนดเกี่ยวกับการมีผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ และกําหนดให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสาขาออนไลน์แทน รวมทั้งต้องจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรให้เพียงพอ ตลอดจนต้องจัดให้มีการบริหารจัดการและระบบงานในการกํากับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของสํานักงานสาขาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดําเนินธุรกิจและการบริหารจัดการองค์กรของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความคล่องตัว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,772 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 1) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 1)
-----------------------------------------
โดยที่ได้เกิดภัยพิบัติจากพายุโซนร้อนปาบึกในบางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยเป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกในหลายท้องที่ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีภายในเวลาที่พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กําหนดเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติดังกล่าวไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญาอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนหรือขยายกําหนดเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ดังต่อไปนี้
1.1 สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์และสํานักงานสรรพากรพื้นที่เพชรบุรี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรภาค 6
1.2 สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สํานักงานสรรพากรพื้นที่ชุมพร สํานักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 และสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรภาค 11
1.3 สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่ตรัง สํานักงานสรรพากรพื้นที่พัทลุง และสํานักงานสรรพากรพื้นที่ปัตตานี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรภาค 12
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกภายในเดือนมกราคม 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562
ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,773 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 2)
---------------------------------------
โดยที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในเขตพื้นที่บางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกในหลายท้องที่ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีภายในเวลาที่พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กําหนดเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติดังกล่าวไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนหรือขยายกําหนดเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรภาค 11 ดังต่อไปนี้
(1) สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช
(2) สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกภายในเดือนธันวาคม 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,774 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคหนึ่งของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนให้กองทุน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“เงินกู้ยืม” หมายความว่า เงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรม สํานักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หักเงินได้พึงประเมินของข้าราชการและลูกจ้างประจําในสังกัดซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงิน ตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบแล้วนําส่งผ่านระบบของกรมบัญชีกลางตามกฎหมายว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้กรมบัญชีกลางโอนเงินดังกล่าวให้กรมสรรพากรผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “กรมสรรพากร 1 เพื่อรับชําระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,775 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560(ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคหนึ่งของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนให้กองทุน ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“เงินกู้ยืม” หมายความว่า เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“หน่วยงาน” หมายความว่า
(1) กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
(2) หน่วยงานของรัฐอื่นใดนอกจากหน่วยงานตาม (1) และ
(3) หน่วยงานเอกชน ที่เป็นบุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล
“ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า
(1) พนักงานราชการหรือลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวง ทบวง กรม สํานักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
(2) พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐอื่นใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม สํานักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน และ
(3) พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชน ที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
“ระบบ e-PaySLF” หมายความว่า ระบบรับชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุนผ่านกรมสรรพากร
ข้อ 2 ให้หน่วยงานซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 โดยให้เข้าใช้ระบบ e-PaySLF และให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่หน่วยงานยังไม่มีหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง ให้ดําเนินการ ดังนี้
(ก) กรอกคําขอยื่นแบบแสดงรายการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร (ภ.อ.01) พร้อมพิมพ์แบบ ภ.อ.01 และแบบข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) มายื่นต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือที่กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ กรณีที่หน่วยงานมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมายื่นเอกสารหลักฐานแทน ให้มีหนังสือมอบอํานาจ และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องมาแสดงด้วย หรือ
(ข) กรอกคําขอยื่นใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกระทรวงการคลัง แล้วพิมพ์ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มายื่นต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือที่กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่กรมสรรพสามิต ทั้งนี้กรณีที่หน่วยงานมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมายื่นเอกสารหลักฐานแทน ให้มีหนังสือมอบอํานาจ และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องมาแสดงด้วย
(2) กรณีที่หน่วยงานมีหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) สําหรับเข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรแล้ว แต่ยังมิได้ขอเพิ่มประเภทกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้ยื่นคําขอนําส่งเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามแบบคําขอเพิ่ม/ลดประเภท แบบแสดงรายการยื่นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ภ.อ.02)
ข้อ 3 กรณีที่หน่วยงานได้ดําเนินการตามข้อ 2 แล้ว ให้หน่วยงานซึ่งได้รับแจ้งจํานวนเงินกู้ยืมและรายชื่อผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน เข้าสู่ระบบ e-PaySLF ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th และตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อผู้กู้ยืมเงินตามที่กองทุนแจ้งให้ทราบกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนตามรายชื่อที่กองทุนแจ้งให้ทราบ ไม่ได้อยู่ในสังกัดของหน่วยงาน ให้หน่วยงานแจ้งยกเลิกรายชื่อดังกล่าวผ่านระบบ e-PaySLF โดยดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์รายการข้อมูลรายชื่อผู้กู้ยืมเงินตามที่กองทุนแจ้งให้ทราบจากระบบ e-PaySLF และดําเนินการแก้ไขรายการข้อมูลรายชื่อผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในสังกัดให้ถูกต้อง ทั้งนี้ต้องระบุเหตุผลการแก้ไข และอัปโหลด (Upload) ไฟล์รายการข้อมูลรายชื่อผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในสังกัดที่ได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้วเข้าสู่ระบบ e-PaySLF โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่หน่วยงานได้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในสังกัด หรือ
(2) ให้ยกเลิกรายชื่อผู้กู้ยืมเงินที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของหน่วยงาน ในรายการข้อมูลรายชื่อผู้กู้ยืมเงินผ่านระบบ e-PaySLF โดยตรง ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผลการยกเลิก โดยต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่หน่วยงานได้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในสังกัด
ข้อ 4 เมื่อหน่วยงานได้ตรวจสอบรายชื่อผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน ว่าถูกต้องตามข้อ 3 แล้วต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) หักเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้กู้ยืมเงินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ
(2) ทําการยืนยันรายการข้อมูลรายชื่อผู้กู้ยืมเงินดังกล่าวบนระบบ e-PaySLF และ
(3) พิมพ์ชุดชําระเงิน (Pay-in Slip) ออกจากระบบ e-PaySLF พร้อมนําเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในสังกัดซึ่งถูกหักไว้ตาม (1) มาชําระตามช่องทางที่ปรากฏในชุดชําระเงิน (Pay-in Slip) ภายในกําหนดเวลานําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยต้องเป็นช่องทางการชําระเงิน ดังต่อไปนี้
(ก) ชําระเป็นเงินสด เข้าบัญชีชื่อ “กรมสรรพากร 2 เพื่อรับชําระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา”
(ข) ชําระด้วยเช็ค ซึ่งเป็นเช็คธนาคารและสาขาที่หน่วยงานเปิดบัญชี ไปชําระ ณ สาขาของธนาคารนั้น ๆ โดยระบุผู้รับเงิน คือ “กรมสรรพากร 2 เพื่อรับชําระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา”
(ค) ชําระด้วยแคชเชียร์เช็ค (Cashier Cheque) ซึ่งเป็นแคชเชียร์เช็คของทุกธนาคารสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไปชําระ ณ สาขาของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน)ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยระบุผู้รับเงิน คือ “กรมสรรพากร 2 เพื่อรับชําระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” ก่อนเวลา 14.00 นาฬิกา หรือ
(ง) ชําระด้วยตั๋วแลกเงิน (Draft) ซึ่งเป็นตั๋วแลกเงินของทุกธนาคาร สาขาในต่างจังหวัดไปชําระ ณ สาขาของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดเดียวกัน โดยระบุผู้รับเงิน คือ“กรมสรรพากร 2 เพื่อรับชําระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” ก่อนเวลา 14.00 นาฬิกา
ข้อ 5 เมื่อหน่วยงานได้ดําเนินการตามข้อ 4 แล้ว ให้กองทุนตรวจสอบความถูกต้องและจัดทําใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่หน่วยงานดังกล่าวภายใน 10 วันทําการ นับจากวันที่หน่วยงานได้นําเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้กู้ยืมเงินซึ่งถูกหักไว้ตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ มาชําระตามช่องทางที่ปรากฏในชุดชําระเงิน (Pay-in Slip) ทั้งนี้ หน่วยงานต้องจัดเก็บใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ไว้เป็นหลักฐานการหักเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน และเป็นหลักฐานการชําระเงินตามข้อ 4 (3) แล้ว
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,776 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืม
เพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3)
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนให้กองทุน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“เงินกู้ยืม” หมายความว่า เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“หน่วยงาน” หมายความว่า
(1) กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีพนักงานราชการหรือลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดซึ่งมิได้รับเงินเดือนผ่านระบบของกรมบัญชีกลางตามกฎหมายว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
(2) หน่วยงานของรัฐอื่นใดนอกจากหน่วยงานตาม (1) ที่มีพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน และ
(3) หน่วยงานเอกชนที่มีพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
“พนักงานหรือลูกจ้าง” หมายความว่า
(1) พนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
(2) พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐอื่นใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และ
(3) พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชน
“ระบบ DSL” หมายความว่า ระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัลของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ ๓ ให้หน่วยงานซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างในสังกัด มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินดังกล่าวตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบเพื่อชําระเงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของตน โดยดําเนินการผ่านระบบ DSL และนําส่งเงินที่ได้หักดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากรผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “กรมสรรพากร 2 เพื่อรับชําระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” ภายในกําหนดระยะเวลานําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,777 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อให้เจ้าพนักงานนําส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“เงินกู้ยืม” หมายความว่า เงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการโอนเงินกู้ยืมที่ได้รับจากกรมบัญชีกลางเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “บัญชีรับชําระหนี้จากกรมสรรพากร” เลขที่บัญชี 989-8-570911-0
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วัน ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,778 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคสามของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้เจ้าพนักงานนําส่งเงินกู้ยืมให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“เงินกู้ยืม” หมายความว่า เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“หน่วยงาน” หมายความว่า
(1) กระทรวง ทบวง กรม สํานักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
(2) หน่วยงานของรัฐอื่นใดนอกจากหน่วยงานตาม (1) และ
(3) หน่วยงานเอกชน ที่เป็นบุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล
“ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า
(1) พนักงานราชการหรือลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
(2) พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐอื่นใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่เป็นผู้กู้ยืมเงิน จากกองทุน และ
(3) พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชน ที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการโอนเงินกู้ยืมที่ได้รับจากหน่วยงาน ซึ่งได้หักเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากผู้กู้ยืมเงิน เพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุน ตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 เข้าบัญชีของกองทุน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,779 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3)
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 51 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อให้เจ้าพนักงานนําส่งเงินกู้ยืมให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“เงินกู้ยืม” หมายความว่า เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
“หน่วยงาน” หมายความว่า
(1) กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีพนักงานราชการหรือลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดซึ่งมิได้รับเงินเดือนผ่านระบบของกรมบัญชีกลางตามกฎหมายว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
(2) หน่วยงานของรัฐอื่นใดนอกจากหน่วยงานตาม (1) ที่มีพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน และ
(3) หน่วยงานเอกชนที่มีพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
“พนักงานหรือลูกจ้าง” หมายความว่า
(1) พนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
(2) พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐอื่นใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และ
(3) พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชน
ข้อ 3 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการโอนเงินกู้ยืมที่ได้รับจากหน่วยงาน ซึ่งได้หักเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อชําระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 เข้าบัญชีของกองทุน
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,780 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อหน่วยงานรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง รายชื่อหน่วยงานรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อหน่วยงานรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560
“(3) สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,781 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 11/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. /2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 44/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,782 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 15/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 15/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) ไม่ชักชวนหรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามประเภทและภายในช่วงระยะเวลาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลมิให้เจ้าหน้าที่การตลาดติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่จะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงส่วนได้เสียดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่การตลาดต้องดําเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,783 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 19/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 19/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้า
ซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” และ “นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่การตลาด” และ “สํานักงาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
““การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” หมายความว่า การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อใช้สําหรับการให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น
“นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ได้มอบหมายให้ทําหน้าที่ในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในนามของบริษัทหลักทรัพย์ ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย และต้องจัดเก็บรายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ไว้อย่างน้อยสองปีนับแต่วันที่มีการจัดทํารายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว”
- 2 -
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 12/1 ในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ดําเนินการ และต้องดูแลให้นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์และมาตรฐานการปฏิบัติงานของนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งระยะเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,784 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 40/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 40/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “หลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้และหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,785 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 48/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 48/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/2 และข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 12/2 บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดให้นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่จะให้คําแนะนําหรือทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ผ่านสื่อ ขออนุญาตจากบริษัทหลักทรัพย์ก่อน ในการนี้บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
ข้อ 12/3 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตรวจพบการกระทําของเจ้าหน้าที่การตลาดหรือนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแจ้งต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับจากวันที่ตรวจพบ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,786 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 18/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 18/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่การตลาด” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543และให้ใช้บทนิยามต่อไปนี้แทน
““ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผนการลงทุน ให้กับผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ได้ด้วย และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กข. 19/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา ให้กับผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือประเภท ข แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย”
ข้อ 4 ให้ยกเลิก
(1) ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(2) ข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 6/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(3) ข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 19/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/2 และข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 48/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/2 บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่จะให้คําแนะนําหรือทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ผ่านสื่อ ขออนุญาตจากบริษัทหลักทรัพย์ก่อน ในการนี้บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
ข้อ 12/3 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตรวจพบการกระทําของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแจ้งต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่ตรวจพบ”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,787 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 10/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 10/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 3/1 เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ ให้คําว่า “บุคลากร” และ “พนักงาน” ตามที่กําหนดในประกาศนี้ หมายความรวมถึงผู้อื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 4/1 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของจํานวนกรรมการของบริษัท”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 22/1 ในการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จะมอบหมายให้ผู้อื่นทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้ต่อเมื่อจัดให้มีมาตรการที่ทําให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,788 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 23/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 23/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 10)
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 3/2 ให้นําความในข้อ 16 มาใช้บังคับกับการทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
“ในกรณีที่กรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์ตาย ลาออกหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (Financial Conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้น การตรวจสอบการบริหารงานภายในกลุ่ม และการกํากับดูแลโดยหน่วยงานทางการอื่น ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระเป็นการชั่วคราวหรือถาวรตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 19/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บรายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 6/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าที่แต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องพิจารณาและจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า และสําหรับกรณีลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของลูกค้ารายย่อยนั้นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าด้วย
บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนความสามารถในการชําระหนี้และวงเงินซื้อขายของลูกค้าแต่ละราย (Total Exposure) เป็นประจํา
บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือเลิกสัญญากับลูกค้า”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 บริษัทหลักทรัพย์ต้องซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามคําสั่งของลูกค้า ที่เป็นเจ้าของบัญชีและต้องมีระบบตรวจสอบที่เชื่อถือได้ว่าบุคคลที่ส่งคําสั่งซื้อขายดังกล่าวหรือคําสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการใด ๆ กับทรัพย์สินในบัญชีของลูกค้า เป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบัญชีที่แท้จริง”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 22 บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้บัญชีของลูกค้ารายหนึ่งเพื่อลูกค้ารายอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 25/1 นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้”
ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในส่วนของลูกค้ารายเดิมทุกรายที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่เคยมีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
เว้นแต่ข้อ 3 และข้อ 7 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
\ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,789 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 10/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 18/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้ารายย่อยหรือผู้ลงทุนที่มิได้มีลักษณะเดียวกับลูกค้าสถาบัน หรือในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือประเภท ข แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 18/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/3 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตรวจพบการกระทําของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแจ้งต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่ตรวจพบ”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 113 โดยกําหนดให้การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกตลาดหลักทรัพย์ ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด นอกจากนี้ สมควรยกเว้นให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ดําเนินการในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้าสถาบัน เนื่องจากลูกค้าดังกล่าวเป็นผู้ที่สามารถดูแลและรักษาผลประโยชน์ในการลงทุนของตนเองได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,790 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 17/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 17/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้า ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา วันที่ได้รับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือวันที่เจรจาตกลง ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลงและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อขยายระยะเวลาในการจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้การกํากับดูแลบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,791 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 1/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 109 มาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
“หลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ออกเป็นเงินตราและจําหน่ายใต่างประเทศโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือนิติบุคคลในต่างประเทศ
“ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งสามารถให้บริการเป็นตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและ อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์ (regulated exchange)
“วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงานเป็นผู้จัดสรรวงเงิน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศและการทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์โดยใช้วงเงินจัดสรร
ข้อ ๓ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการได้เฉพาะเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน
(2) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน หรือ
(3) หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ข้อ ๔ ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าที่แต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้
(1) กําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า
2. จัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
ในกรณีที่ลูกค้าตามวรรคหนึ่งเป็นลูกค้าเดิมซึ่งมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์อยู่แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตาม (2) และตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า โดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี
ข้อ ๕ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้
(1) จัดให้มีกระบวนการที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามแนวทางของเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนการส่งคําสั่งซื้อขาย การชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนดังกล่าว รวมถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้น
(3) จัดให้ลูกค้าทําการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านบัญชีเงินสด
(4) รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(5) ปฏิบัติตามขั้นตอน ระเบียบ และวิธีปฏิบัติอื่นเกี่ยวกับการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์จะให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยใช้วงเงินจัดสรรให้กับลูกค้าแต่ละรายได้ต่อเมื่อได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของวงเงินที่ลูกค้ารายดังกล่าวจะนําไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ในการรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศจากลูกค้าทุกครั้งให้บริษัทหลักทรัพย์ ตรวจสอบวงเงินที่ลูกค้ารายนั้นยังคงใช้ได้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนของลูกค้ายังคงอยู่ภายในวงเงิน
ที่ได้รับจัดสรรดังกล่าว
ข้อ ๗ ให้นําความในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 มาใช้บังคับกับการทําธุรกรรมการค้า หลักทรัพย์ต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์โดยอนุโลม
ข้อ ๘ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์
ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการกระทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ข้อ ๙ ในการทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 7/1 ข้อ 14 และข้อ 15 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
ในกรณีที่การทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่งเป็นการทําธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ด้วย
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,792 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 92/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 92/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ออกเป็นเงินตราต่างประเทศและจําหน่ายในต่างประเทศ
(3) “ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งสามารถให้บริการเป็นตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์ (regulated exchange)
(4) “วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงานเป็นผู้จัดสรรวงเงิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการได้เฉพาะเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ รวมทั้งสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์อันเกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว
(2) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน
(3) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน
(4) ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตัวตราสารหรือผู้ออกตราสาร อยู่ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (investment grade)
(5) หุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งผู้ออกมีแผนงานและกําหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการนําหุ้นดังกล่าวไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(6) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (7) เป็นหลัก ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือ
(7) หลักทรัพย์อื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 65/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกระทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 9 ในการทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 8 ข้อ 15 และข้อ 16 ของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ในกรณีที่การทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่งเป็นการทําธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14 ของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์กับลูกค้าได้ รวมทั้งปรับปรุงถ้อยคําในประกาศเพื่ออ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่มีการปรับปรุงใหม่ซึ่งทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกระทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,793 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 596) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา ทั้งนี้ เพื่อนําไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้รับบริจาค” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬาที่ใช้คําว่า “แห่งประเทศไทย” หรือกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรมพลศึกษา
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่บริจาคให้แก่ผู้รับบริจาค ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 596) พ.ศ. 2559 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 596) พ.ศ. 2559 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้ กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้ามาเพื่อการบริจาคดังกล่าว ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบันทึกบัญชีทรัพย์สินที่จะนํามาบริจาคดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายหรือเป็นผู้ขายสินค้าให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ข้อ ๔ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคตามข้อ 2 และข้อ 3 จะต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จากผู้รับบริจาค พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) กรณีบริจาคเป็นเงิน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นเป็นหนังสือที่ออกโดยผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องระบุจํานวนเงินที่ได้บริจาคและสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากผู้รับบริจาคว่าได้รับบริจาคจริง
(2) กรณีบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ได้แก่ หลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยผู้รับบริจาคที่พิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่ผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3
ข้อ ๕ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่ผู้รับบริจาค ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 596) พ.ศ. 2559 ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าวจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่ออกโดยผู้รับบริจาคที่พิสูจน์ได้ว่าได้บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้าให้แก่ผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งหลักฐานดังกล่าวได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้านั้นตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
“ข้อ 5/1 กรณีที่ผู้รับบริจาครับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 4 และข้อ 5 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,794 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย (ฉบับที่ 1) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย (ฉบับที่ 1)
---------------------------------------------
โดยที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในบางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยเป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกในหลายท้องที่ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดกภายในกําหนดเวลาที่พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กําหนด เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติอุทกภัยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มและค่าปรับอาญา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนหรือขยายกําหนดเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีการรับมรดกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรภาค 11 ดังนี้
1.1 สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในสังกัดสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 จํานวน 15 สาขา ได้แก่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก ไชยา ท่าชนะ พนม ท่าฉาง บ้านนาสาร บ้านนาเดิม เคียนซา เวียงสระ พระแสง พุนพิน ชัยบุรี และคีรีรัฐนิคม
1.2 สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ดังนี้
2.1 ท้องที่ตาม 1.1 สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2561 ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
2.2 ท้องที่ตาม 1.2 สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีการรับมรดก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 มกราคม 2561
ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,795 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
เนื่องจากกรมสรรพากรได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับบทกําหนดโทษกรณี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ตามมาตรา 34 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นบัญชีด้งกล่าวภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายใดไม่ยื่นบัญชีดังกล่าว ภายในกําหนดเวลาจะต้องเสียค่าปรับอาญา ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกรมสรรพากรได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบ แสดงรายการภาษี การขําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 กําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอรัเน็ต ต้องยื่นบัญชีดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ณ สํานักงานสรรพากร พื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นบัญชีด้งกล่าวตรงกับ วันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการกัดไป ทั้งนี้โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป เป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ในหรือหลังวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องรับผิดเสียค่าปรับอาญา เนื่องจากมิได้ยื่นบัญชีดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเป็นการบรรเทาภาระค่าปรับอาญา อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 3 อัฎฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชี รายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใด้ยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มิวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชีดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ออกไป เป็นวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 อันจะมีผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่ต้องรับผิดเสียค่าปรับอาญา ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
นายประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,796 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การขยายกําหนตเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------------
ตามที่กรมสรรพากรได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับบทกําหนดโทษกรณีบริษัทหรือห้างหันส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นบัญชีดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายใดไม่ยื่นบัญชีดังกล่าว ภายในกําหนดเวลาจะต้องเสียค่าปรับอาญา ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกรมสรรพากร ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบ แสดงรายการภาษีการชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีลงวันที่ 17 เมษายนพ.ศ.2546 โดย กําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้องยื่นบัญชีดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา กรณีวันสุดท้ายของการยื่นบัญชีดังกล่าวตรงกับวันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป นั้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ในหรือหลังวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ค. 2559 เป็นต้นไป ต้องรับผิดเสียค่าปรับอาญา เนื่องจากไม่อาจยื่นบัญชีดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด อีกทั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรยังไม่รองรับการยื่นบัญชีดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและเป็นการบรรเทาภาระค่าปรับอาญา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตาม มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชี รายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบ แสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชีดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ออกไปเป็นวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 อันจะมีผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่ต้องรับผิดเสียค่าปรับอาญา ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นบัญชีดังกล่าวตามที่เจ้าพนักงานประเมินร้องขอ และให้ยื่นตาม วิธีการที่เจ้าพนักงานประเมินกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,797 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุนบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3)
-----------------------------------------------------
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วัน พ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากร ที่กําหนดให้ยื่นรายการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 นั้น
เพื่อให้การยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบ ระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร สอดคล้องกับการขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังกล่าว อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศว่า
ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย ที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลา บัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นบัญชี ดังกล่าว ทั้งนี้ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นบัญชีตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,798 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อหน่วยงานรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ฉบับที่ 1) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง รายชื่อหน่วยงานรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ฉบับที่ 1)
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กําหนดให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ เป็นหน่วยงานรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
(1) คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
(2) กรมการพัฒนาชุมชน สําหรับการรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายสานพลังประชารัฐ
“(3) สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อหน่วยงานรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,799 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ (ฉบับที่ 2)
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 8 (4) และมาตรา 9 (4) และ (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(4) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตทํางานคนต่างด้าวระดับฝีมือหรือชํานาญการจากกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน หรือได้รับอนุญาตให้เข้าทํางานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) กรอกคําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค.1 และให้ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารประกอบการพิจารณาตามข้อ 4 (1) ในรูปแบบของ PDF File และข้อ 4 (2) ข้อ 4 (3) และข้อ 4 (4) ในรูปแบบของ XML File
(2) พิมพ์คําขออนุมัติตามแบบ ส.ญ.ค.1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมลงลายมือชื่อของ กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) และให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันถัดจากวันที่ส่งคําขออนุมัติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต"
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"การยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทดําเนินการดังนี้
(1) กรอกคําขอแจ้ง เปลี่ยนแปลงตามแบบ ส.ญ.ค. 1.1 และให้ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารแนบท้ายแบบ ส.ญ.ค. 1.1 ในรูปแบบของ XML File ทั้งนี้ กรณีเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจที่มีนัยสําคัญให้แนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของแผนธุรกิจในรูปแบบของ PDF File พร้อมยื่นคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงด้วย ภายใน 30 วันนับแต่ วันที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ ต้องไม่เกินกว่าวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง
(2) พิมพ์คําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงตามแบบ ส.ญ.ค. 1.1 ออกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผอมลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) และให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร ภายใน 5 วันทําการนับ แต่วันถัดจากวันที่ส่งคําขอแจ้งเปลี่ยนแปลงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต"
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ และเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 11 กรณีบริษัทประกอบกิจการทางกิจการสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศและกิจการอื่นมีรายได้ที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ และรายได้อื่นหากมีผลขาดทุนสุทธิสําหรับส่วนรายได้ใด ให้คงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้สําหรับรายได้นั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป"
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,800 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากรไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ การอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องเข้ารับการอบรมดังต่อไปนี้จากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมงต่อปี และแจ้งการเข้ารับการอบรมต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตมีอายุครบทุกหนึ่งปี สําหรับปีสุดท้ายที่ใบอนุญาตสิ้นอายุให้แจ้งพร้อมการยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต
(ก) ความรู้ทางด้านกฎหมายภาษีอากร
(ข) ความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการสอบบัญชี
(2) กรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถเข้ารับการอบรมตามที่อธิบดีกําหนดได้ ให้ยื่นคําขอผ่อนผันการเข้ารับการอบรมต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตมีอายุครบทุกหนึ่งปี สําหรับปีสุดท้ายที่ใบอนุญาตสิ้นอายุจะไม่พิจารณาผ่อนผันให้
(3) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมหรือเข้ารับการอบรมน้อยกว่าเก้าชั่วโมงต่อปี อธิบดีอาจพิจารณาพักใบอนุญาตการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นการชั่วคราวจนกว่าผู้นั้นจะได้เข้ารับการอบรมตามที่กําหนด และแจ้งการเข้ารับการอบรมดังกล่าวต่ออธิบดีตามแบบที่กําหนดใน (1)
การพักใบอนุญาตเป็นการชั่วคราวมิได้ทําให้อายุของใบอนุญาตสะดุดหยุดลง ใบอนุญาตยังคงมีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
(4) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมการแจ้งการเข้ารับการอบรม
(ก) สําเนาหรือภาพถ่ายใบประกาศนียบัตร หรือหนังสือรับรองการเข้ารับการอบรมจากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(ข) สําเนาหรือภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการเข้ารับการอบรม
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป เว้นแต่ กรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้เข้ารับการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแล้วไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมงต่อปีก่อนที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้สามารถนําการอบรมดังกล่าวแจ้งต่ออธิบดีได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,801 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 2)
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคมพ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 263/2559 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุและการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
ข้อ 2 การอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องเข้ารับการอบรมดังต่อไปนี้ จากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และแจ้งการเข้ารับการอบรมต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตมีอายุครบทุกหนึ่งปี สําหรับปีสุดท้ายที่ใบอนุญาตสิ้นอายุให้แจ้งพร้อมยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต
(ก) ความรู้ทางด้านกฎหมายภาษีอากร
(ข) ความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
(2) กรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถเข้ารับการอบรมตามที่อธิบดีกําหนดได้ ให้ยื่นขอผ่อนผันการเข้ารับการอบรมต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตมีอายุครบทุกหนึ่งปี สําหรับปีสุดท้ายที่ใบอนุญาตสิ้นอายุจะไม่พิจารณาผ่อนผันให้
(3). ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมหรือเข้ารับการอบรมน้อยกว่า สิบสองชั่วโมงต่อปี อธิบดีอาจพิจารณาพักใบอนุญาตการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นการชั่วคราวจนกว่าผู้นั้นจะได้เข้ารับการอบรมตามที่กําหนด และแจ้งการเข้ารับการอบรมดังกล่าวต่ออธิบดีตามแบบที่กําหนดใน (1)
การพักใบอนุญาตเป็นการชั่วคราวไม่ได้ทําให้อายุของใบอนุญาตสะดุดหยุดลง ใบอนุญาตยังคงมีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
(4) เอกสารหลักที่ต้องยื่นพร้อมการแจ้งการเข้ารับการอบรม
(ก) สําเนาหรือภาพถ่ายใบประกาศนียบัตร หรือหนังสือรับรองการเข้ารับการอบรมจากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(ข) สําเนาหรือภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าทําเนียมการเข้ารับการอบรม
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการอบรมที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,802 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 142/2555 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 142/2555
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และการลดดอกเบี้ยหรือการกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทน หรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่า การโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าว มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทํา สัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่า เป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และการชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๔ ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่าง เจ้าหนี้อื่นกับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และการลดดอกเบี้ยหรือการกระทําอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน การโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการ การชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย”
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,803 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 141/2555 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 141/2555
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และการขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ
---------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจหรือแนะนําบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ถือปฏิบัติสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และการขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.69/2541 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,804 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 140/2554 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ(4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 140/2554
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ(4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนหรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าวมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทําสัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้อื่นกับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,805 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 139/2553 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ(4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 139/2553
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ(4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนหรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าว
มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทําสัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๔ ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้อื่นกับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วยและให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,806 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 138/2553 เรื่อง การยื่นแบบและการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 138/2553
เรื่อง การยื่นแบบและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับกรณีการยื่นแบบและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 87/2542 เรื่อง การยื่นแบบและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ กรณีที่ผู้ทอดตลาดไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือไม่ใช่ส่วนราชการ ได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้ทอดตลาดดังกล่าว มีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยยื่นแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 36) ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียต่อกรมสรรพากร ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ขายทอดตลาดราคาของทรัพย์สินในการขายทอดตลาด ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่า เป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ข้อ ๓ ผู้ทอดตลาดที่เป็นส่วนราชการ ต้องจัดทําใบเสร็จรับเงินและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาด พร้อมทั้งจัดทําสําเนาใบเสร็จรับเงินและส่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินตามมาตรา 83/5 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับสําเนาใบเสร็จรับเงินจากส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง ไม่ต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามสําเนาใบเสร็จรับเงินไปลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 30) ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร
ใบเสร็จรับเงินตามวรรคหนึ่ง เป็นใบกํากับภาษีตามมาตรา 77/1 (22) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ ผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ต้องจัดทําใบกํากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน ตามมาตรา 86/3 แห่งประมวลรัษฎากรและส่งมอบต้นฉบับใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดพร้อมทั้งส่งมอบสําเนาใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน ผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ผู้ดําเนินการในการขายทอดตลาดซึ่งประกอบกิจการเป็นอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจการขายทอดตลาดการจัดทําใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบพิมพ์ใบกํากับภาษีของผู้ทอดตลาด และต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําว่า “ใบกํากับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ทอดตลาดที่จัดทําใบกํากับภาษี
(3) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งรายการดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
(4) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อทรัพย์สิน
(5) หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขลําดับของเล่ม (ถ้ามี)
(6) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของทรัพย์สิน
(7) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของทรัพย์สิน โดยให้แยกออกจากมูลค่าของทรัพย์สินให้ชัดแจ้ง
(8) วัน เดือน ปี ที่จัดทําใบกํากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินซึ่งได้รับสําเนาใบกํากับภาษีจากผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ไม่ต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามสําเนาใบกํากับภาษีไปลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องนํามูลค่าของทรัพย์สินและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 30) ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ผู้ทอดตลาดตามวรรคหนึ่ง ส่งมอบต้นฉบับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน และถ่ายเอกสารใบเสร็จรับเงินดังกล่าว เก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ทันที
ข้อ ๕ กรณีที่ส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด ส่วนราชการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน และผู้ซื้อในการขายทอดตลาด ยังคงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามข้อ 2 และ ข้อ 3
ข้อ ๖ กรณีที่ส่วนราชการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 5 ไม่รวมถึงการขายของลักลอบหนีศุลกากร หรือการขายทรัพย์สินของส่วนราชการซึ่งตามกฎหมายต้องดําเนินการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นก่อนที่ของหรือทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของแผ่นดิน
ข้อ ๗ ระเบียบ คําสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือแนวทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ ๘ คําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,807 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 137/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 137/2552
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําสําหรับการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือกระทําการอย่างอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ให้ถือว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่สถาบันการเงินดังกล่าวสามารถดําเนินการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินหรือให้บริการแก่สถาบันการเงินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนหรือค่าบริการต่ํากว่าราคาตลาด ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าวมีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๓ กรณีสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้สถาบันการเงินดังกล่าวทําสัญญาหรือข้อตกลงให้ลูกหนี้ชําระเงินต้นก่อนการชําระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้สถาบันการเงินดังกล่าวกระทําได้ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่ง ประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๔ ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้อื่นกับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กระทําระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,808 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 136/2551 เรื่อง การจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest rate swap)และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Cross currency swap) | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 136/2551
เรื่อง การจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest rate swap)และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศ (Cross currency swap)
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest rate swap) และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Cross currency swap) โดยเหตุที่การจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อาจทําให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.114/2545 เรื่อง การจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest rate swap) และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Cross currency swap) ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ ข้อ 4 กรณีการทําสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest rate swap) สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Cross currency swap) หรือสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ย (Cross currency interest rate swap) ตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งคู่สัญญาผู้รับทําสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินด้วย หากมีพฤติการณ์ที่แสดงว่า คู่สัญญามีเจตนากู้ยืมเงินกัน แต่ตกลงทําสัญญาแลกเปลี่ยนเพิ่มอีกสัญญาหนึ่งเพียงเพื่อเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนปกติที่คู่สัญญาผู้ให้กู้ยืมเงินพึงจะได้รับตามสัญญากู้ยืมเงิน ให้เป็นผลตอบแทนที่ได้รับจากสัญญาแลกเปลี่ยนแทน โดยมิได้มีเจตนาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ย เงินผลต่างที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ยซึ่งคู่สัญญาผู้รับทําสัญญาแลกเปลี่ยนได้รับ จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,809 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 135/2551 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 135/2551
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนําผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย และได้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทลูกหนี้ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกหนี้จนถึงการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทลูกหนี้
ข้อ ๒ บริษัทลูกหนี้ได้จัดการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทลูกหนี้ และบริษัทตามข้อ 1 จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทลูกหนี้และต้องเป็นหนี้ที่จะกระทําการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ข้อ ๓ บริษัทลูกหนี้ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการและมีการชําระบัญชีภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทลูกหนี้ทําการเพิ่มทุน
ข้อ ๔ บริษัทตามข้อ 1 มีสิทธินํามูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากบริษัทลูกหนี้ ซึ่งเป็นผลเสียหายจากการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทลูกหนี้จดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชีและถือเป็นรายจ่ายมีจํานวนไม่เกินมูลค่าหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทตามข้อ 1 ณ วันเพิ่มทุน โดยบริษัทตามข้อ 1 จะต้องไม่ได้รับเงินได้เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ สําหรับผลเสียหายดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,810 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 134/2549 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีการโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 134/2549
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีการโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะเป็นการโอน
ทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนําผู้เสียภาษีสําหรับผู้เสนอโครงการซึ่งได้โอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้โอนซึ่งเป็นผู้เสนอโครงการจะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้รับโอนซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ
(2) ผู้โอนและผู้รับโอนต้องดําเนินการโอนและรับโอนทรัพย์สินในราคาไม่ต่ํากว่าราคาตามมูลค่าที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) ณ วันที่โอน
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,811 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.