title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 32/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 32/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มภายหลังจากการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (2) เพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการเพิ่มเงินทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมสามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,512
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งที่ดินตามข้อ 15 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น ในการจําหน่ายที่ดินของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมได้รับอนุญาตหรือได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินได้เฉพาะกรณีที่ที่ดินที่กองทุนรวมได้มาเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,513
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย (3) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (4) “หน่วยลงทุน” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายชนิด โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน (5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ) (ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฐ) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฒ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) (ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป (6) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม (7) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (8) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (9) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตามเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม (10) “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น การหาดอกผลโดยวิธีอื่น หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการ (11) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน (12) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ 3 บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมดํารงลักษณะดังต่อไปนี้ ตลอดอายุโครงการ (1) มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดํารงลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้น (2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนสิ้นอายุโครงการ (3) มีลักษณะอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารดังต่อไปนี้ (1) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 8 (2) สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี) (3) รายละเอียดของโครงการ โดยจัดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และให้จัดทําสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใดบริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสองให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น ข้อ 6 ในกรณีที่บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถืออยู่ทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุนหรือสิทธิเรียกร้องโดยมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุนหรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสี่ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้ ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 8 ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดหรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 3(1) (2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ข้อ 9 ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท และอายุโครงการ (ถ้ามี) (2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม (3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ (5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน (6) ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 (7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ (8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์ (9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการหรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี ข้อ 10 ห้ามมิให้บริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมก็ได้ ข้อ 11 บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8 ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ 12 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน โดยอนุโลม ข้อ 13 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม (1) พันธบัตร (2) ตั๋วเงินคลัง (3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก (4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (5) หุ้น (6) หุ้นกู้ (7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (8) หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน (9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ 14 ในการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินจะต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นหรือจากหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ข้อ 15 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สิน ที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ 16[1](#fn1) ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งที่ดินตามข้อ 15 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น [2](#fn2) ในการจําหน่ายที่ดินของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมได้รับอนุญาตหรือได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินได้เฉพาะกรณีที่ที่ดินที่กองทุนรวมได้มาเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว ข้อ 17 การลงทุนในสิทธิเรียกร้องตามข้อ 14 หรือในทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ (ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว การนับอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 15รวมในอัตราส่วนดังกล่าวได้ (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้ ข้อ 18 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 15 ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ เว้นแต่ในกรณีการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการต้องไม่ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ (2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า ข้อ 19 ให้บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องตามข้อ 14 ทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 15 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้จัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลอย่างน้อยต้องมีข้อมูลซึ่งระบุราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว (2) รายงานที่แสดงอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 17(1) ของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี ให้จัดส่งให้สํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีนั้น โดยรายงานดังกล่าวให้จําแนกตามประเภททรัพย์สิน ข้อ 20 ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม และดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งมูลค่าที่คํานวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ (2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่คํานวณ ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถคํานวณมูลค่าดังกล่าวให้เสร็จสิ้นได้ ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม เช่น กรณีที่เป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินซึ่งมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนมากและจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการประเมินมูลค่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าว สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ได้ ข้อ 21 ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 20 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ข้อ 22 ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 20 ให้บริษัทจัดการคํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ข้อ 23 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกปีสิ้นสุดเดือนธันวาคมและส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นเดือนธันวาคม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องจากการได้รับชําระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี (2) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน (3) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี (4) การเปรียบเทียบงบดุลและงบกําไรขาดทุนของปีปัจจุบันและปีก่อน (5) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ข้อ 24 การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายสิทธิเรียกร้องตามข้อ 14 ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ข้อ 25[3](#fn3) การลดเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจะชําระคืนเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 25/1 และข้อ 25/2 แล้วแต่กรณี ข้อ 25/1[4](#fn4) การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นเงินทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจัดส่งเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการลดเงินทุน ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน [5](#fn5) ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น [6](#fn6) ในกรณีที่โครงการมีข้อกําหนดให้การลดเงินทุนของกองทุนรวมต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)[7](#fn7) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ (ก)[8](#fn8) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย (ข)[9](#fn9) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน (ค)[10](#fn10) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน (2)[11](#fn11) ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ข้อ 25/2[12](#fn12) การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเมื่อได้รับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายแล้วโดยบริษัทจัดการต้องลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนและโอนทรัพย์สินหรือจัดส่งเงิน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับมติ [13](#fn13) ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น [14](#fn14) ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อมูลอย่างน้อยตามที่ระบุดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (1)[15](#fn15) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย (2)[16](#fn16) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน (3)[17](#fn17) ทรัพย์สินที่จะชําระคืน ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับทรัพย์สินแต่ละชิ้น และราคาของทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มา ราคาตามรายงานการประเมินมูลค่าที่จัดทําขึ้นโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งจัดทําขึ้นไม่เกินหกเดือนก่อนวันลดเงินทุน และราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (4)[18](#fn18) จํานวนเงินที่จะชําระคืน และชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับเงิน (ถ้ามี) (5)[19](#fn19) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน ข้อ 26[20](#fn20) ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)[21](#fn21) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มภายหลังจากการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (2)[22](#fn22) เพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการเพิ่มเงินทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท ข้อ 27 เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจแก้ไขกองทุนรวมนั้นเป็นกองทุนเปิดได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 28 ให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอยู่ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สามารถถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นต่อไปได้ ข้อ 29 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทใดที่มิใช่หุ้นของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ อยู่แล้วก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ให้กองทุนรวมดังกล่าวสามารถมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้นต่อไปได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหุ้นดังกล่าวไปเท่าใด ให้กองทุนรวมมีไว้ซึ่งหุ้นเพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น ข้อ 30[23](#fn23) ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ข้อ 31 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อน วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 32 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 33 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน *หมายเหตุ* 1. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายนพ.ศ. 2552 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ 2. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดเงินทุน ของกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับส่วนที่ลดทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินได้ และเพื่อขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการ ขายทอดตลาด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ ประกาศนี้มีมีบทเฉพาะกาลดังนี้ ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 117-ล3 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ข้อ 5 กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้ จนกว่าการลดเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ 3. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 32/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยาย พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมสามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ 4. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 -----------------------ประกาศฉบับประมวล -----------------------ประกาศฉบับประมวล --- 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23.
2,514
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน (3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือ ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย (4) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ) (ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฐ) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) (ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป (6) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม (7) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (8) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (9) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสิทธิเรียกร้อง หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม (10) “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ (ข) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (ก) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง (11) “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น (12) “เช่า” หมายความว่า การที่กองทุนรวมเช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงการที่กองทุนรวมได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (13) “อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกินหนึ่งพันตารางเมตรหรือโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร (14) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (15) “บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (16) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน (17) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารดังต่อไปนี้ 1. ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 12 (2) สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี) 3. รายละเอียดของโครงการ โดยจัดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และให้จัดทําสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้บริษัทจัดการกําหนดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น ข้อ ๕ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และให้บริษัทจัดการดํารงลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้นตลอดอายุโครงการ ข้อ ๖ บริษัทจัดการอาจแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดได้ โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน แต่ต้องกําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ในการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจแบ่งตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา หรือแบ่งตามสิทธิหรือประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากกองทุนรวมก็ได้ แต่ในกรณีที่แบ่งตามทรัพย์สินจะต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวอย่างน้อยสิบราย ข้อ ๗ ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุน ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (1) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (2) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น (3) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้น (4) สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น (5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น (6) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น (7) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของสิทธิการเช่านั้น หรือ (8) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) และ (3)ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวทุกราย ถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ตามวรรคหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า หรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินลงทุนตามแผนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาท จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (ก) ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ข) ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2609 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 การคํานวณวงเงินลงทุนและเงินลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับมูลค่าที่ดินรวมในวงเงินลงทุนและเงินลงทุนดังกล่าว (2) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจ จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ในกรณีที่กองทุนรวมใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินทั้งหมดของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามข้อ 23 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมตามข้อ 8 ยื่นคําขอและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 8(1) ให้ยื่นแผนการพัฒนาที่ดินที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นโครงการที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในทําเลเดียวกันตั้งแต่หนึ่งร้อยไร่ขึ้นไปเพื่อรองรับการก่อสร้างหลายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ และ (ข) เป็นโครงการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. โครงการที่พัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอ โดยมีการพัฒนาที่ดินและระบบสาธารณูปโภคในระดับที่ทําให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อที่ดินและพื้นที่โดยรอบ และนําความเจริญสู่ชุมชนในลักษณะที่ทําให้เศรษฐกิจของชุมชนดังกล่าวเจริญขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งมีการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนสร้างฐานภาษีให้แก่หน่วยงานกลางและท้องถิ่นในอนาคต 2. โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า (logistic) ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม 3. โครงการอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวมตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด (2) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 8(2) ให้ยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพร้อมทั้งข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าที่ดินดังกล่าวใช้สําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ (3) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม การขอผ่อนผันอายุโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ 1. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) (ก) 2. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) (ข) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) หากต่อมาบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 8(1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 8(1) (ก) หรือ (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (2) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 8(1) (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่า ห้าร้อยล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แต่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับ เงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ข้อ ๑๑ ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงาน (1) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท (2) ในกรณีที่การรายงานตาม (1) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท (3) ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) (ข) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงานด้วย (ก) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท (ข) ในกรณีที่การรายงานตาม (ก) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดหรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 (2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท ชนิด และอายุโครงการ (ถ้ามี) (2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม (3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ (5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน (6) ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 (7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ (8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์ (9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการ หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ห้ามบริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมก็ได้ ข้อ ๑๕ บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 12 ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอน หน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 12 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๖ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ ทําหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวม (1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง โดยผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง (2) ผู้จัดการกองทุนรวม เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้ง ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ข้อ ๑๗ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนขึ้นซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนหรือตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน และตัวแทนบริษัทจัดการ เพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง (2) พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม (3) คัดเลือกผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ และผู้บริหารสิทธิเรียกร้อง (4) พิจารณาเรื่องการเพิ่มเงินทุนหรือลดเงินทุนของกองทุนรวม หรือ (5) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๘ การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในสิทธิเรียกร้อง ต้องมีลักษณะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย (2) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าจะต้องเริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (3) อสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (ก) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจน (ข) ได้จํานองหรือวางเป็นหลักประกันการชําระหนี้ไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ได้มาอันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้หรือการบังคับคดีในหนี้ ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ง) เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งนี้ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประกันหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (จ) เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (4) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงิน องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ (ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 20 (5) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับการลงทุนในทรัพย์สินใด ๆ ในลักษณะที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และการลงทุนในสิทธิเรียกร้องผ่านการซื้อหุ้นของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน เช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (6) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าวเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง หรือทรัพย์สินใด ๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามอัตราส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (5) ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๑๙ การลงทุนตามข้อ 18 เพื่อให้ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการอาจลงทุนก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น (2) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้างมูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือได้มาซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้ว หรือ (3) กรณีที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จํานวนเงินที่ใช้ในการก่อสร้างต่อต้องไม่เกินสี่เท่าของราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างนั้น โดยมิให้นับรวมค่าที่ดินในราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มา และมิให้นับรวมค่าเครื่องตกแต่งและอุปกรณ์ ในจํานวนเงินดังกล่าว ข้อ ๒๐ บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สิน ที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้ 1. มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 7 หรือ 2. มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 18 และข้อ 19 ข้อ ๒๒ การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้อง ต้องเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ หรือเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยและดําเนินการโดยสาขาในประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม และต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น (2) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจํานวนด้วย (3) สิทธิเรียกร้องที่มีหลักประกันร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจํานวนด้วย หรือ (4) สิทธิเรียกร้องที่มีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการเป็นเจ้าหนี้ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ข้อ ๒๓ ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ และในกรณีที่เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการอาจให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ตามข้อ 8(1) (ข) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจตามข้อ 8(2) หรือ (ค) เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 24 (2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า ข้อ ๒๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ที่มิใช่กรณีตามข้อ 8(1) และ (2) บริษัทจัดการต้องยื่นขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายว่า หากบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้พัฒนาได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจากกองทุนรวม ข้อ ๒๕ ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ทําการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่มีหรือเคยมีใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าวในขณะที่ซื้อหรือได้มาซึ่งที่ดินนั้น (2) ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพ หรือการปกปักรักษาที่ดินหรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 18 ข้อ 20 และข้อ 22 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ ๒๗ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม (1) พันธบัตร (2) ตั๋วเงินคลัง (3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก (4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (5) หุ้นกู้ (6) หุ้น (7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (8) หลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่มีสัญญาขายคืน (9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่า การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเหตุให้การจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวม สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้ ข้อ ๒๘ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และแจ้งมูลค่าดังกล่าวที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม แล้วแต่กรณี ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุน รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๒๙ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ คํานวณตามข้อ 28 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ข้อ ๓๐ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกสิ้นปีการเงินของกองทุนรวมและส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายใน สามเดือนนับแต่วันสิ้นปีการเงินของกองทุนรวม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องจากการได้รับชําระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี (2) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง (3) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง (4) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี (5) การเปรียบเทียบงบดุล และงบกําไรขาดทุนของปีการเงินปัจจุบันและปีก่อน (6) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ข้อ ๓๑ การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายในการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องแล้ว ข้อ ๓๒ ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่อง การลดเงินทุนและเหตุในการลดเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องจัดประชุม ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และได้มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนบริษัทจัดการต้องระบุจํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลด วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนและวันคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว (2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน การลดเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจลดมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนก็ได้ และเมื่อได้ดําเนินการลดเงินทุนของกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-ล4 ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ํากว่าห้าสิบล้านบาทให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น ข้อ ๓๓ บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ ข้อ ๓๔ ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามข้อ 33 หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการ ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวน หน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน (2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย (3) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่เริ่มเสนอขาย หน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบันเพื่อเพิ่มเงินทุน (4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม โดยยื่นคําขอต่อสํานักงานภายในสิบห้าวัน ทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-พ4 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓๕ เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่าคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนตามข้อ 34(4) มีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง และบริษัทจัดการได้ชําระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามอัตรา ที่สํานักงานกําหนดแล้ว ให้สํานักงานรับจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนพร้อมออกหลักฐานการรับจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่บริษัทจัดการ ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สูญหายหรือถูกทําลาย ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สํานักงานกําหนด ผู้ใดประสงค์จะตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียน กองทุนรวม ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓๖ ให้นําความในข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม โดยไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติ จากสํานักงาน ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการ หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ ๓๗ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๓๘ บริษัทจัดการที่ได้ยื่นคําขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. และได้รับการผ่อนผันอายุโครงการจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมตามที่ได้รับการผ่อนผัน ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในคําสั่งผ่อนผันของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าว ข้อ ๓๙ ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง อยู่แล้วก่อนวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 หากการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 7 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหากสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนหรือการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 7 ข้อ ๔๐ ภายใต้บังคับข้อ 39 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อไปก็ได้ ข้อ ๔๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๔๒ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อเป็นการบรรเทาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่มีการลงทุนในที่ดินโดยมีแผนพัฒนาเป็นโครงการ ขนาดใหญ่และมีจํานวนเงินลงทุนอย่างมีนัยสําคัญภายใต้กรอบเวลาที่กําหนด อันจะเป็นการสนับสนุน ให้เกิดการลงทุนภายในประเทศซึ่งจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น และ (2) เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทน ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,515
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 32 การลดเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุนหรือลดมูลค่าที่ตราไว้ และจะชําระคืนเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 32/1 และข้อ 32/2 แล้วแต่กรณี ในกรณีที่บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ํากว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 32/1 และข้อ 32/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “ข้อ 32/1 การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นเงินทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการลดจํานวนหน่วยลงทุนหรือลดมูลค่าที่ตราไว้ และจัดส่งเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการลดเงินทุน ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ในกรณีที่โครงการมีข้อกําหนดให้การลดเงินทุนของกองทุนรวมต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย (ข) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน (ค) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดเงินทุน (2) ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ข้อ 32/2 การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเมื่อได้รับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายแล้วโดยบริษัทจัดการต้องลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนและโอนทรัพย์สินหรือจัดส่งเงิน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับมติ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อมูลอย่างน้อยตามที่ระบุดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (1) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย (2) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน (3) ทรัพย์สินที่จะชําระคืน ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับทรัพย์สินแต่ละชิ้น และราคาของทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มา ราคาตามรายงานการประเมินมูลค่าที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินจัดทําขึ้นไม่เกินหกเดือนก่อนวันลดเงินทุน และราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (4) จํานวนเงินที่จะชําระคืน และชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับเงิน (ถ้ามี) (5) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 41 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553” ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 117-ล4 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ข้อ 5 กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้ จนกว่าการลดเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับส่วนที่ลดทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินได้ และเพื่อขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,516
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 33 บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ (2) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมสามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,517
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 30/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 30 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 4)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น ในการจําหน่ายที่ดินของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมได้รับอนุญาตหรือได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินได้เฉพาะกรณีที่ที่ดินที่กองทุนรวมลงทุนหรือได้มาเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,518
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน (3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย (4) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ) (ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฐ) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) (ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป (6) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม (7) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (8) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (9) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสิทธิเรียกร้อง หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม (10) “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ (ข) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (ก) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง (11) “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น (12) “เช่า” หมายความว่า การที่กองทุนรวมเช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงการที่กองทุนรวมได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (13) “อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกินหนึ่งพันตารางเมตรหรือโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร (14) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (15) “บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (16) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน (17) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543ซึ่งได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารดังต่อไปนี้ (1) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 12 (2) สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี) (3) รายละเอียดของโครงการ โดยจัดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และให้จัดทําสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้บริษัทจัดการหนดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น ข้อ 5 บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และให้บริษัทจัดการดํารงลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้นตลอดอายุโครงการ ข้อ 6 บริษัทจัดการอาจแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดได้ โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน แต่ต้องกําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ในการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจแบ่งตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา หรือแบ่งตามสิทธิหรือประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากกองทุนรวมก็ได้ แต่ในกรณีที่แบ่งตามทรัพย์สินจะต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวอย่างน้อยสิบราย ข้อ 7 ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (1) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (2) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น (3) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้น (4) สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น (5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น (6) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น (7) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของสิทธิการเช่านั้น หรือ (8) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) และ (3) ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวทุกราย ถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ตามวรรคหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า หรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน ข้อ 8 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินลงทุนตามแผนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาท จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (ก) ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ข) ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2609 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 การคํานวณวงเงินลงทุนและเงินลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับมูลค่าที่ดินรวมในวงเงินลงทุนและเงินลงทุนดังกล่าว (2) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจจะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ในกรณีที่กองทุนรวมใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินทั้งหมดของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามข้อ 23 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 9 ให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมตามข้อ 8ยื่นคําขอและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 8(1) ให้ยื่นแผนการพัฒนาที่ดินที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นโครงการที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในทําเลเดียวกันตั้งแต่หนึ่งร้อยไร่ขึ้นไปเพื่อรองรับการก่อสร้างหลายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ และ (ข) เป็นโครงการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. โครงการที่พัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอโดยมีการพัฒนาที่ดินและระบบสาธารณูปโภคในระดับที่ทําให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อที่ดินและพื้นที่โดยรอบ และนําความเจริญสู่ชุมชนในลักษณะที่ทําให้เศรษฐกิจของชุมชนดังกล่าวเจริญขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งมีการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนสร้างฐานภาษีให้แก่หน่วยงานกลางและท้องถิ่นในอนาคต 2. โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า (logistic) ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม 3. โครงการอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวมตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด (2) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 8(2) ให้ยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพร้อมทั้งข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าที่ดินดังกล่าวใช้สําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ (3) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม การขอผ่อนผันอายุโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) (ก) (2) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) (ข) ข้อ 10 ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) หากต่อมาบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 8(1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 8(1) (ก) หรือ (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (2) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 8(1) (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แต่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ข้อ 11 ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงาน (1) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท (2) ในกรณีที่การรายงานตาม (1) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท (3) ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 8(1) (ข)ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงานด้วย (ก) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทก่อนวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท (ข) ในกรณีที่การรายงานตาม (ก) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท ข้อ 12 ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดหรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 (2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ข้อ 13 ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท ชนิด และอายุโครงการ (ถ้ามี) (2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม (3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ (5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน (6) ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 (7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ (8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์ (9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการ หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี ข้อ 14 ห้ามบริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมก็ได้ ข้อ 15 บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 12 ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 12 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ 16 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ ทําหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวม (1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการซื้อ เช่า จําหน่ายโอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง โดยผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง (2) ผู้จัดการกองทุนรวม เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ข้อ 17 ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนขึ้นซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนหรือตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน และตัวแทนบริษัทจัดการ เพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง (2) พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม (3) คัดเลือกผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ และผู้บริหารสิทธิเรียกร้อง (4) พิจารณาเรื่องการเพิ่มเงินทุนหรือลดเงินทุนของกองทุนรวม หรือ (5) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 18 การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในสิทธิเรียกร้อง ต้องมีลักษณะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย (2) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าจะต้องเริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (3) อสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (ก) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจน (ข) ได้จํานองหรือวางเป็นหลักประกันการชําระหนี้ไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้นซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ได้มาอันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้หรือการบังคับคดีในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ง) เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งนี้ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประกันหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (จ) เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (4) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงิน องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ (ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 20 (5) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับการลงทุนในทรัพย์สินใด ๆในลักษณะที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และการลงทุนในสิทธิเรียกร้องผ่านการซื้อหุ้นของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (6) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าวเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง หรือทรัพย์สินใด ๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามอัตราส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (5) ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ 19 การลงทุนตามข้อ 18 เพื่อให้ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการอาจลงทุนก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมดเช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น (2) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้างมูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือได้มาซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้ว หรือ (3) กรณีที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จํานวนเงินที่ใช้ในการก่อสร้างต่อต้องไม่เกินสี่เท่าของราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างนั้น โดยมิให้นับรวมค่าที่ดินในราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มา และมิให้นับรวมค่าเครื่องตกแต่งและอุปกรณ์ในจํานวนเงินดังกล่าว ข้อ 20 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ 21 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้ (1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 7 หรือ (2) มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 18 และข้อ 19 ข้อ 22 การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้อง ต้องเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ หรือเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยและดําเนินการโดยสาขาในประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม และต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น (2) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจํานวนด้วย (3) สิทธิเรียกร้องที่มีหลักประกันร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจํานวนด้วย หรือ (4) สิทธิเรียกร้องที่มีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการเป็นเจ้าหนี้ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ข้อ 23 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ และในกรณีที่เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการอาจให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ตามข้อ 8(1) (ข) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจตามข้อ 8(2) หรือ (ค) เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 24 (2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า ข้อ 24 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ที่มิใช่กรณีตามข้อ 8(1) และ (2) บริษัทจัดการต้องยื่นขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายว่า หากบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้พัฒนาได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558ผู้ถือหน่วยลงทุนจะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจากกองทุนรวม ข้อ 25[1](#fn1) ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น [2](#fn2) ในการจําหน่ายที่ดินของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมได้รับอนุญาตหรือได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินได้เฉพาะกรณีที่ที่ดินที่กองทุนรวมลงทุนหรือได้มาเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว ข้อ 26 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 18 ข้อ 20 และข้อ 22 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ 27 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม (1) พันธบัตร (2) ตั๋วเงินคลัง (3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก (4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (5) หุ้นกู้ (6) หุ้น (7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (8) หลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่มีสัญญาขายคืน (9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่า การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเหตุให้การจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวม สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้ ข้อ 28 ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และแจ้งมูลค่าดังกล่าวที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม แล้วแต่กรณี ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ข้อ 29 ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 28 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ข้อ 30 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกสิ้นปีการเงินของกองทุนรวมและส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีการเงินของกองทุนรวม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องจากการได้รับชําระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี (2) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง (3) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง (4) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี (5) การเปรียบเทียบงบดุล และงบกําไรขาดทุนของปีการเงินปัจจุบันและปีก่อน (6) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ข้อ 31 การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายในการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องแล้ว ข้อ 32[3](#fn3) การลดเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุนหรือลดมูลค่าที่ตราไว้ และจะชําระคืนเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 32/1 และข้อ 32/2 แล้วแต่กรณี (1)[4](#fn4) ยกเลิกทั้งวงเล็บ 1 (2)[5](#fn5) ยกเลิกทั้งวงเล็บ 2 [6](#fn6) ในกรณีที่บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ํากว่าห้าสิบล้านบาทให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น [7](#fn7) ยกเลิกทั้งวรรค 3 ข้อ 32/1[8](#fn8) การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นเงินทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการลดจํานวนหน่วยลงทุนหรือลดมูลค่าที่ตราไว้ และจัดส่งเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการลดเงินทุน ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน [9](#fn9) ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น [10](#fn10) ในกรณีที่โครงการมีข้อกําหนดให้การลดเงินทุนของกองทุนรวมต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)[11](#fn11) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ (ก)[12](#fn12) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย (ข)[13](#fn13) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน (ค)[14](#fn14) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดเงินทุน (2)[15](#fn15) ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ข้อ 32/2[16](#fn16) การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเมื่อได้รับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายแล้วโดยบริษัทจัดการต้องลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนและโอนทรัพย์สินหรือจัดส่งเงิน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับมติ [17](#fn17) ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น [18](#fn18) ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อมูลอย่างน้อยตามที่ระบุดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (1)[19](#fn19) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย (2)[20](#fn20) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน (3)[21](#fn21) ทรัพย์สินที่จะชําระคืน ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับทรัพย์สินแต่ละชิ้น และราคาของทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มา ราคาตามรายงานการประเมินมูลค่าที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินจัดทําขึ้นไม่เกินหกเดือนก่อนวันลดเงินทุน และราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือ หน่วยลงทุน (4)[22](#fn22) จํานวนเงินที่จะชําระคืน และชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับเงิน (ถ้ามี) (5)[23](#fn23) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน ข้อ 33[24](#fn24) บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)[25](#fn25) ปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ (2)[26](#fn26) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท ข้อ 34 ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามข้อ 33 หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนบริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่มวิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน (2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย (3) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบันเพื่อเพิ่มเงินทุน (4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม โดยยื่นคําขอต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-พ4 ท้ายประกาศนี้ ข้อ 35 เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่าคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนตามข้อ 34(4) มีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง และบริษัทจัดการได้ชําระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามอัตรา ที่สํานักงานกําหนดแล้ว ให้สํานักงานรับจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนพร้อมออกหลักฐานการรับจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่บริษัทจัดการ ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สูญหายหรือถูกทําลาย ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สํานักงานกําหนด ผู้ใดประสงค์จะตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ 36 ให้นําความในข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม โดยไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการ หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ 37 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ 38 บริษัทจัดการที่ได้ยื่นคําขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. และได้รับการผ่อนผันอายุโครงการจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต้องกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมตามที่ได้รับการผ่อนผัน ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในคําสั่งผ่อนผันของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าว ข้อ 39 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง อยู่แล้วก่อนวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 หากการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 7 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหากสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนหรือการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 7 ข้อ 40 ภายใต้บังคับข้อ 39 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อไปก็ได้ ข้อ 41[27](#fn27) ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ข้อ 42 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 43 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 44 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน *หมายเหตุ* 1. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อเป็นการบรรเทาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่มีการลงทุนในที่ดินโดยมีแผนพัฒนาเป็นโครงการ ขนาดใหญ่และมีจํานวนเงินลงทุนอย่างมีนัยสําคัญภายใต้กรอบเวลาที่กําหนด อันจะเป็นการสนับสนุน ให้เกิดการลงทุนภายในประเทศซึ่งจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น และ (2) เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทน ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ 2. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ทน. 11/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 มีนาคมพ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดเงินทุน ของกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับส่วนที่ลดทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินได้ และเพื่อขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ ประกาศนี้มีบทเฉพาะกาลดังนี้ ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 117-ล4 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ข้อ 5 กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้จนกว่าการลดเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ 3. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยาย พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมสามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ 4. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 30/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับ 4) ลงวันที่ 17 มิถุนายนพ.ศ. 2556 -----------------------ประกาศฉบับประมวล --- 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27.
2,519
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 “(5) มีข้อตกลงที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ ๒ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้ทําสัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดําเนินการให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวให้กระทําในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อการอํานวยความยุติธรรม
2,520
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 31 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) “ผู้จัดการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้อื่น (3) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (4) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (5) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลซึ่งมอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ให้บริการแก่ตนในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) “ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย ข้อ ๓ เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกอบกิจการสมกับที่ได้รับ ความไว้วางใจจากผู้ลงทุนในฐานะผู้มีวิชาชีพ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกและดูแลให้บุคลากรมีคุณสมบัติเป็นไปตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ มาตรการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ (2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุน หรือทําหน้าที่ในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีการวางแผนการลงทุนให้ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจธุรกิจ โดยต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (3) กํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบของสํานักงาน ก.ล.ต. (4) เป็นสมาชิกของสมาคม และต้องไม่ปฏิบัติฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ ข้อ ๔ ในการชักชวนให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (2) เปิดเผยหรือดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเข้าทําสัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นกองทุนรวมและได้มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ข้อจํากัดการลงทุน และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดโครงการแล้ว ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง หากได้รับความยินยอมจากกองทุนรวม ข้อ ๕ การโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่ใช้ถ้อยคําหรือข้อความใดที่เกินความจริง หรือเป็นเท็จ หรืออาจทําให้บุคคลอื่นสําคัญผิด ข้อ ๖ สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีกรอบหรือขอบเขตการลงทุนหรือข้อห้ามการลงทุนที่ชัดเจน (2) ไม่มีข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า (3) กําหนดสิทธิของลูกค้าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) มีข้อมูลและคําเตือนต่าง ๆ ที่จําเป็นที่ลูกค้าต้องรับรู้และทําความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) มีข้อตกลงที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๗ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจให้จัดการเงินทุนของลูกค้า ต้องลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ เพื่อคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ออกหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นทําการซื้อขายมิได้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าแต่ละประเภทจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในส่วนที่ 3 การปฏิบัติต่อทรัพย์สินของลูกค้า และส่วนที่ 4 การคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า ของหมวด 2 แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดํารงฐานะทางการเงินเพื่อรองรับการจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดด้วย ข้อ ๑๑ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. และหากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใดที่สมาคมมิได้ประกาศกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าไว้ ให้การคํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปตามวิธีการที่ได้ตกลงกับลูกค้า (2) วัดผลการดําเนินงานของการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดเผยข้อมูลการลงทุน ผลการดําเนินงานหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการจัดการให้ลูกค้าทราบ การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง จะต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาและความเป็นสากล รวมทั้งความครอบคลุมของหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมอบหมายการจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บุคคลอื่นกระทําแทน การมอบหมายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่ได้รับมอบหมายการจัดการดังกล่าวต้องเป็นบุคคลที่สามารถให้บริการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ และ (2) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า การตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุน บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในการมอบหมายการจัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง การตั้งตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนตามวรรคสอง และการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน (back office) ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังในการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๓ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ ๑๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,521
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 5 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุน โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและความเข้าใจธุรกิจ และต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,522
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 3/2553เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,523
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 4/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 4/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผน เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ (3) “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น (4) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่ตกลงรับบริการการให้คําแนะนําจากบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ข้อ ๒ ในการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ซึ่งรวมถึงระบบการควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนํา และระบบการควบคุมดูแลการลงทุนของบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และพนักงาน (2) จัดให้มีผู้ดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อรับผิดชอบในการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การควบคุมภายในของบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น รวมทั้งดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้ ข้อ ๓ ในการติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้า บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดด้วย ข้อ ๔ เพื่อให้การให้คําแนะนําเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของลูกค้าในการติดต่อชักชวนลูกค้าเพื่อให้เข้าเป็นคู่สัญญารับบริการแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้อง (1) จัดทําข้อมูลลูกค้าและจัดให้มีการให้คําแนะนําที่เหมาะสมโดยการพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปัจจัยอื่น ๆ ของลูกค้า โดยบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องขอข้อมูลดังกล่าวจากลูกค้าเพื่อประกอบการพิจารณา สัญญาให้บริการแนะนําการลงทุนต้องระบุสิทธิของลูกค้าในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการแนะนําการลงทุนที่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ การกําหนดข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าด้วย (2) เปิดเผยหรือดําเนินการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างเพียงพอ และภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีความถูกต้องเป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ ให้บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศว่ามีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถดําเนินการให้คําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น (2) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศทราบ (3) แจ้งชื่อและที่อยู่ของบริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการให้คําแนะนําได้ และ (4) ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ข้อ ๖ บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้คําแนะนําในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้ดังต่อไปนี้ (1) จัดเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้คําแนะนําในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่เผยแพร่เอกสารหลักฐานดังกล่าวให้แก่ลูกค้าในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ ให้บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ไม่ว่าเป็นบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย (2) จัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในการให้คําแนะนํา ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําและการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนยังไม่เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนให้สอดคล้องกันและ (2) เพื่อกําหนดแนวปฏิบัติในการที่ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้จัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศไทย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,524
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 4/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,525
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 17/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ เว้นแต่จะมีข้อความกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (1) คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (2) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (3) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (4) “ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ที่ทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลตาม (ซ) (ช) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ซ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฏ) กองทุนรวม (ฐ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ฑ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฐ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ฒ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฑ) โดยอนุโลม (5) “ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าสถาบัน (6) “ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนและบริษัทหลักทรัพย์ได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจ (7) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผนการลงทุน ให้กับผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ได้ด้วย และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ (8) “การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” หมายความว่า การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อใช้สําหรับการให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ ให้คําว่า “บุคลากร” และ “พนักงาน” ตามที่กําหนดในประกาศนี้ หมายความรวมถึงผู้อื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ด้วย ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 19 มาใช้บังคับกับการทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม หมวด ๑ การควบคุมการปฏิบัติงาน ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ (1) ระบบการควบคุมภายในและระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ (2) ระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ โดยความเสี่ยงที่นํามาประเมินเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงต้องครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ (3) มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ โดยอย่างน้อยต้องกําหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสทราบข้อมูลภายในเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ กับหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในดังกล่าว (4) ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนของกรรมการ ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของจํานวนกรรมการของบริษัท ในกรณีที่กรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์ตาย ลาออกหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (financial conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้น การตรวจสอบการบริหารงานภายในกลุ่ม และการกํากับดูแลโดยหน่วยงานทางการอื่น ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระเป็นการชั่วคราวหรือถาวรตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานและหน่วยงานควบคุมภายในที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระในการดําเนินงานและมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่น ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือมีลักษณะการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ออกจากกัน โดยอย่างน้อยต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ให้บริการด้าน หลักทรัพย์ (front office) ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ (back office) และต้องจัดให้มีระบบการสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องไม่มอบหมายให้บุคลากรคนหนึ่งคนใดรับผิดชอบการปฏิบัติงานตลอดกระบวนการในลักษณะที่อาจเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บรายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที หมวด ๒ การปฏิบัติงาน ส่วน ๑ การติดต่อ ชักชวน หรือการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า และการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อ ๑๓ ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้ารายย่อยหรือผู้ลงทุนที่มิได้มีลักษณะเดียวกับลูกค้าสถาบัน หรือในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือประเภท ข แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่จะให้คําแนะนําหรือทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ผ่านสื่อ ขออนุญาตจากบริษัทหลักทรัพย์ก่อน ในการนี้บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตรวจพบการกระทําของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตรวจพบ ข้อ ๑๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้า ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา วันที่ได้รับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือวันที่เจรจาตกลง ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลงและการดําเนินการกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ ในกรณีที่การให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลงได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเจรจาตกลง โดยเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก หรือเปิดเผยข้อมูลภายในนั้นให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ ส่วน ๒ การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ ๑๘ ในส่วนนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ ๑๙ ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าที่แต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องพิจารณาและจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า และสําหรับกรณีลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของลูกค้ารายย่อยนั้นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าด้วย บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนความสามารถในการชําระหนี้และวงเงินซื้อขายของลูกค้าแต่ละรายเป็นประจํา บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือเลิกสัญญากับลูกค้า ข้อ ๒๐ สัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ทํากับลูกค้ารายย่อยที่มอบหมายให้ตนทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องมีข้อความที่แสดงด้วยตัวอักษรที่มีขนาดเด่นกว่าข้อความอื่นหรือกํากับเครื่องหมายหรือกระทําด้วยประการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการเน้นข้อความดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าทราบถึง (1) ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกัน อันอาจมีผลให้ลูกค้าขาดทุนหรือต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมตามจํานวนที่กําหนด (2) การที่ลูกค้าอาจถูกบริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการในเรื่องต่อไปนี้ หากลูกค้าไม่ชําระราคา ไม่ส่งมอบหลักทรัพย์ หรือไม่วางหลักประกันภายในระยะเวลาที่กําหนด (ก) การบังคับหลักประกัน (ข) การบังคับขายหลักทรัพย์ หรือการบังคับซื้อคืนหลักทรัพย์ (ค) การระงับการชําระเงินที่ลูกค้ามีสิทธิได้รับจากบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อนํามาชําระหนี้ที่ลูกค้าค้างชําระ (ง) การบอกเลิกสัญญา สัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ทํากับลูกค้ารายย่อยตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทหลักทรัพย์หรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ ๒๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามคําสั่งของลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชีและต้องมีระบบตรวจสอบที่เชื่อถือได้ว่าบุคคลที่ส่งคําสั่งซื้อขายดังกล่าวหรือคําสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการใด ๆ กับทรัพย์สินในบัญชีของลูกค้า เป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบัญชีที่แท้จริง ข้อ ๒๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบสถานะบัญชีของลูกค้าก่อนทําการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า ข้อ ๒๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าให้เป็นไปตามลําดับก่อนหลัง และต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์โดยต้องซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อลูกค้าก่อนตนเอง เว้นแต่คําสั่งของลูกค้าดังกล่าว จะกําหนดเงื่อนไขในการซื้อขายไว้ชัดเจนเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องควบคุมดูแลมิให้มีการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนด ข้อ ๒๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้บัญชีของลูกค้ารายหนึ่งเพื่อลูกค้ารายอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี ข้อ ๒๖ ในการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จะมอบหมายให้ผู้อื่นทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้ต่อเมื่อจัดให้มีมาตรการที่ทําให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด หมวด ๓ ข้อปฏิบัติของพนักงาน ข้อ ๒๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานเพื่อป้องกันมิให้พนักงานนําข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ และเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน ทั้งนี้ ระเบียบปฏิบัติดังกล่าวจะต้องกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ระเบียบปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดให้พนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่ตนสังกัดด้วย เว้นแต่จะแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์มีวิธีการอื่นในการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และในกรณีที่เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์อื่นตามข้อ 28 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้พนักงานของตนยอมรับการปฏิบัติตามที่กําหนดในข้อ 28 ดังกล่าวด้วย ในกรณีที่คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของพนักงานมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์อื่น ระเบียบปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้พนักงานแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบถึงการมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่บริษัทหลักทรัพย์ว่าลูกค้าของตน หรือบุคคลที่ขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับตน หรือบุคคลที่มีอํานาจสั่งการในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้าของตน เป็นพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์อื่น ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการที่ลูกค้ามีบัญชี การรับเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการมีอํานาจสั่งการในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์กับตน ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์จะให้บริการแก่ลูกค้าในบัญชีนั้นต่อไป (2) จัดส่งสําเนารายงานการซื้อขายหลักทรัพย์รายเดือนซึ่งแสดงรายการซื้อขายแต่ละรายการ ให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป รวมทั้งจัดส่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานและอยู่ในความครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์ตามที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นร้องขอภายในเวลาอันสมควรด้วย (3) แจ้งให้ลูกค้าและบุคคลที่มีอํานาจสั่งการในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้าทราบว่า บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งและจัดส่งข้อมูลและเอกสารตาม (1) และ (2) ให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้นด้วย เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “บริษัทหลักทรัพย์อื่น” ให้หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน และการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๓๐ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในส่วนของลูกค้ารายเดิมทุกรายที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่เคยมีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๓๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 | | | | --- | --- | | | (นายวิจิตร สุพินิจ) | | | ประธานกรรมการคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ และการขอรับอนุญาตและการอนุญาตตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,526
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “(9) “ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” ใน (7) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ในการจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จัดเก็เอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ไม่ว่าเป็นบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 13/1 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศว่ามีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถดําเนินการให้คําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น (2) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศทราบ (3) แจ้งชื่อและที่อยู่ของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการให้คําแนะนําได้ และ (4) ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดแนวปฏิบัติในการที่บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศไทยพร้อมทั้งการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนําดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,527
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,528
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 52 /2555 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 52 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13 ในส่วน 1 การติดต่อ ชักชวน หรือการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ของหมวด 2 การปฏิบัติงาน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 “ข้อ 13 บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องจัดทําบทวิเคราะห์หุ้นด้านปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis) และนําเสนอข้อมูลตามบทวิเคราะห์ดังกล่าวต่อลูกค้า โดยการจัดทําและนําเสนอข้อมูลบทวิเคราะห์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทําบทวิเคราะห์ให้เป็นไปตามแนวทางเกี่ยวกับการจัดทําบทวิเคราะห์ที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้ทําหน้าที่แนะนําการลงทุนของบริษัทได้รับทราบและทําความเข้าใจกับข้อมูลในบทวิเคราะห์นั้นอย่างเพียงพอ และสามารถนําข้อมูลตามบทวิเคราะห์ดังกล่าวไปใช้ประกอบการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 27 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน เพื่อป้องกันมิให้พนักงานนําข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ และเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน ทั้งนี้ นโยบายและระเบียบปฏิบัติดังกล่าวต้องกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่ยังไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายและระเบียบปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,529
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 93/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 93/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” และ “วงเงินจัดสรร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิได้จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา (3) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสัญญาอื่นใดในทํานองเดียวกัน (4) “ศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (regulated exchange) (5) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (regulated derivatives agent) (6) “สมาคมบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศโดยใช้วงเงินจัดสรร และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นําความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 มาใช้บังคับกับการให้บริการดังกล่าว ในกรณีที่เป็นการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้บริการได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศแก่ลูกค้าได้เฉพาะเพื่อการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของลูกค้ารายนั้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะมอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศเป็นตัวแทนในการส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศแทนตนก็ได้ ข้อ ๔ ในการให้บริการตามข้อ 3 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังนี้ (1) จัดให้มีกระบวนการที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศ โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศซึ่งมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามแนวทางของเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนการส่งคําสั่งซื้อขาย การวางหลักประกัน และการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนดังกล่าว ตลอดจนการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศนั้น (3) ปฏิบัติตามขั้นตอน ระเบียบ และวิธีปฏิบัติอื่นเกี่ยวกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ เมื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับคําสั่งให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศจากลูกค้า ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาตรวจสอบวงเงินจัดสรรที่ลูกค้ารายนั้นยังคงใช้ได้เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าในแต่ละครั้งยังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรดังกล่าว ข้อ ๖ ให้นําความในข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 มาใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศ โดยอนุโลม ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และขยายขอบเขตการให้บริการของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้สามารถซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในหรือนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศให้กับลูกค้าทั่วไป เพื่อการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของลูกค้าดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,530
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 93/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 93/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจให้บริการแก่ลูกค้าด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศเป็นตัวแทนในการส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาต่างประเทศแทนก็ได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภา คม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,531
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ (2) “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย (3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ซึ่งออกโดยบริษัทต่างประเทศ (4) “ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศนั้นเอง (5) “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทต่างประเทศ หรือของบริษัทในเครือ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย (6) “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของบริษัทต่างประเทศ หรือของบริษัทในเครือ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย (7) “บริษัทย่อย” หมายความว่า (ก) บริษัทที่บริษัทต่างประเทศถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้น และมีสิทธิออกเสียงของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยการถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมนั้น (ง) บริษัทที่บริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (8) “บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่บริษัทต่างประเทศหรือบริษัทย่อยถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น ข้อ ๒ บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยให้อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ และให้สามารถเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ข้อ ๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ตามข้อ 2 เป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ถือว่าบริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการออกใบหลักทรัพย์ ให้บริษัทต่างประเทศส่งมอบใบหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหลักทรัพย์โดยปฏิบัติตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 88 ข้อ ๕ ให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แสดงรายละเอียดหลักทรัพย์รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขในการให้สิทธิแก่กรรมการหรือพนักงานในการซื้อหลักทรัพย์ มาพร้อมกับรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยไว้แล้วตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ตามคําขอแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศต่อกรรมการหรือพนักงานของบริษัทหรือบริษัทในเครือที่ปฏิบัติงาอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์โดยถือว่าบริษัทต่างประเทศได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวมากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,532
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2555 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30 /2555 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย (ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของบริษัทต่างประเทศ หรือของบริษัทในเครือ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย และให้หมายความรวมถึงตัวแทนประกันชีวิตด้วย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “(6/1) “ตัวแทนประกันชีวิต” หมายความว่า ตัวแทนประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต ของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือที่เป็นบริษัทประกันชีวิต” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) และ (10) ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “(9) “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศดังต่อไปนี้ (ก) ประเทศที่บริษัทต่างประเทศมีหุ้นจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้นอยู่ โดยหากมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งประเทศ ให้หมายถึงหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของตลาดหลักทรัพย์หลัก (ข) ประเทศที่บริษัทต่างประเทศจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศนั้นไม่มีหุ้นจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (10) “ตลาดหลักทรัพย์หลัก” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หุ้นของบริษัทต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศมากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึงตลาดหลักทรัพย์ที่บริษัทต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 การเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทต่างประเทศได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ในกรณีที่หลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง เป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ถือว่าบริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิต ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) โครงการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนและจูงใจตัวแทนประกันชีวิตที่สร้างรายได้หรือทําประโยชน์ให้แก่บริษัท และต้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เท่านั้น (ก) ปฏิบัติงานให้เฉพาะกับบริษัทหรือบริษัทในเครือ (exclusive agent) และ (ข) มีรายได้หรือทําประโยชน์ให้แก่บริษัทหรือบริษัทในเครืออย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากปริมาณกรมธรรม์หรือจํานวนเบี้ยประกันเป็นสําคัญ (active agent) (2) การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตกระทําได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (3) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่ได้ดําเนินการไปพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน (4) มีการแต่งตั้งหรือดําเนินการให้มีการแต่งตั้งบริษัทในเครือซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการจัดสรรหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามโครงการ (5) ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น บริษัทได้จัดให้มีเงื่อนไขการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับที่แสดงว่าบุคคลที่ใช้สิทธิต้องยังมีสถานะเป็นตัวแทนประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ด้วย เว้นแต่มีข้อตกลงเป็นประการอื่นในกรณีที่ตัวแทนประกันชีวิตเสียชีวิต” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทในเครือ ในประเทศไทย ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 3/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งมิให้การอนุญาตตามข้อ 2 และข้อ 3 มีผล หรือสั่งระงับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ได้ (1) บริษัทที่จะออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ (2) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,533
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับประมวล) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “หุ้นรองรับ” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (3) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ (4) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิและผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิ (5) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (6) “การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ที่กําหนดราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิเมื่อรวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นรองรับมีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (7) “การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่กําหนดราคาการใช้สิทธิแปลงสภาพในลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ข้อ ๓ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับตามประกาศนี้ ต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเท่านั้น ทั้งนี้ ให้การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนเป็นไปตามหมวด 1 (2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัดเป็นไปตามหมวด 3 (3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่โดยไม่มีการเรียกชําระราคาสําหรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว บริษัทมหาชนจํากัดนั้นจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิต่อเมื่อเป็นไปตามหมวด 1 หรือหมวด 3 แล้วแต่กรณี (4) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด เป็นไปตามหมวด 2 (5) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นแต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท กรณีอื่นนอกจาก (4) เป็นไปตามหมวด 1 หรือหมวด 3 แล้วแต่กรณี (6) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย เป็นไปตามหมวด 3/1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นตามวรรคหนึ่ง (4) ให้หมายความรวมถึงการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในลักษณะเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น โดยเป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๓/๑ ให้บริษัทสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายโดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเอง หรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด (2) เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในลักษณะเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิและผู้ใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น (3) เป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับตามคําขอได้ (1) บริษัทหรือการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๔/๑ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้ มาใช้บังคับกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) บริษัทมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) บริษัทมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ข้อ ๔/๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามหมวด 2 หรือต่อบุคคลในวงจํากัดตามหมวด 3 ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วได้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับหรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตได้ (2) ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน (3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับมีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๔/๓ ในการจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามหมวด 1 บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนด้วย หมวด ๑ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ และหุ้นรองรับต่อประชาชน ส่วน ๑ การขออนุญาตและการอนุญาต ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต และให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อแบบคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนประสงค์ที่จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้บริษัทยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณา คําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของบริษัทหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล บริษัทต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัทชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากบริษัท ข้อ ๘ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับตามหมวดนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี (1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ในส่วนที่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน (3) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ข้อกําหนดของใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ขัดแย้งกับลักษณะที่กําหนดตามข้อ 9 (ข) มีจํานวนหุ้นรองรับไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 10 เว้นแต่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน เนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม เนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือกรณีอื่นใด (ค) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 11 (4) ได้ดําเนินการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะได้รับผลกระทบจากการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับของบริษัท (dilution effect) อย่างเพียงพอและเป็นไปตามข้อ 12 ข้อ ๙ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีอายุแน่นอน ซึ่งต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิ (2) มีหุ้นรองรับเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท (3) กําหนดราคาและอัตราการใช้สิทธิไว้อย่างแน่นอน (4) มีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ ข้อ ๑๐ จํานวนหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตเสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิในครั้งอื่น ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นรองรับ ซึ่งบริษัทจะเสนอขายควบคู่กับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในครั้งนี้ (ถ้ามี) (2) จํานวนหุ้นที่บริษัทได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ข้อ ๑๑ ข้อกําหนดสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของใบสําคัญแสดงสิทธิ ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงถึงอายุ ราคา อัตราและวิธีการใช้สิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ (2) เหตุ เงื่อนไข และกระบวนการในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิ (3) ค่าเสียหายที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิได้ ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่าส่วนต่างระหว่างราคาตลาดของหุ้นของบริษัทซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ณ วันที่มีการใช้สิทธิ กับราคาที่จะซื้อหุ้นตามสิทธิในใบสําคัญแสดงสิทธิ (4) มาตรการคุ้มครองผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อผูกพันดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่มีข้อกําหนดให้บริษัทสามารถเรียกให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิใช้สิทธิก่อนระยะเวลาที่กําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ข้อผูกพันดังกล่าวต้อง 1. ได้รับการรับรองจากบริษัทว่ามีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่ไม่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ 2. กําหนดให้บริษัทต้องเรียกให้มีการใช้สิทธิเมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ 3. ได้รับการรับรองจากบริษัทว่ามีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อผูกพันดังกล่าว (ข) เหตุและเงื่อนไขในการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิด้อยไปกว่าเดิม พร้อมทั้งวิธีคํานวณ ทั้งนี้ เหตุแห่งการปรับสิทธิหมายถึงกรณีดังต่อไปนี้ 1. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัท อันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น 2. เมื่อบริษัทมีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา 3. เมื่อบริษัทมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําหรือมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา 4. เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น 5. เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ 6. เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ 1. ถึง 5. ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิด้อยไปกว่าเดิม ความในวรรคหนึ่ง (4) (ข) มิให้ใช้บังคับกับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เข้าลักษณะตาม 1. ถึง 6. ซึ่งได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยแสดงได้ว่า จะมีมาตรการอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ลงทุนที่จะได้รับผลกระทบจากการไม่ปรับสิทธินั้นทราบก่อนการลงทุนว่า บริษัทจะไม่ดําเนินการเปลี่ยนแปลงอัตราหรือราคาการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ข้อ ๑๒ บริษัทต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้เพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับของบริษัท (dilution effect) (1) จัดให้หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ แสดงข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการใช้สิทธิ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิ เป็นต้น (ข) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นครบถ้วนตามใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น(price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (ค) วิธีการจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิ (ง) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท (2) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับต้องได้มาไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 5 (3) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้บริษัทจัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม (ข) หนังสือนัดประชุมตาม (ก) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกจากต้องมีข้อมูลตาม (1) แล้วอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา 2. รายละเอียดเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในเรื่อง จํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ และราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน 3. ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิ รวมทั้งวิธีการคํานวณ 4. ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย 5. ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ําที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) 6. สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ําตาม (ง) 7. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว 8. ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (ค) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (ง) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิหรือหุ้นรองรับนั้น ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีต่อไปนี้ (1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ (2) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๑๓ เมื่อบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๔ ในกรณีที่การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิ เป็นการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิตามข้อ 11(4) (ข) บริษัทจะดําเนินการโดยการปรับราคาและอัตราการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ หรือปรับราคาตามใบสําคัญแสดงสิทธิควบคู่กับการออกใบสําคัญแสดงสิทธิใหม่ทดแทนการปรับอัตราการใช้สิทธิก็ได้ ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทต้องออกหุ้นรองรับเพิ่มเติม ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับดังกล่าวเมื่อได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการปรับสิทธินั้นอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว ข้อ ๑๔/๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้บริษัทที่ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับหรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงาอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้ (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้น ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๑๕ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนนี้ (1) ดําเนินการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีคําขอต่อสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8(2) ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ (ถ้ามี) ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้ได้อีกตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก ทั้งนี้ การยื่นคําขอขยายระยะเวลาดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ข) กําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการอนุญาตของสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง (2) ตลอดระยะเวลาที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุม ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๖ ภายหลังการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้จะต้องไม่ขยายอายุใบสําคัญแสดงสิทธิและต้องไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 11(4) (ข) ข้อ ๑๗ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิภายหลังการเสนอขาย ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ มีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้บริษัทมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาต และบริษัทไม่สามารถแก้ไขลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งให้บริษัทระงับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกใหม่ และเมื่อมีการแจ้งแล้ว ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ และหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว เป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๒ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท และหุ้นรองรับ ข้อ ๑๙ ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท หากบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด ให้บริษัทนั้นสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับดังกล่าวได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตดังต่อไปนี้ (1) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 8(3) (2) ดําเนินการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นของบริษัทอย่างเพียงพอและเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(1) และ (2) โดยอนุโลม (3) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ และต้องกําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุการใช้สิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ เว้นแต่เป็นกรณีการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 3 วรรคสอง ให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ (4) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิต้องเป็นไปตามข้อ 14 และข้อ 17 (5) ไม่ขยายอายุใบสําคัญแสดงสิทธิ ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 11(4) (ข) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในส่วนนี้ เนื่องจากบริษัทต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ให้บริษัทเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด [5](#_ftn1)ยกเลิกวรรคสาม หมวด ๓ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด ส่วน ๑ การอนุญาต ข้อ ๒๐ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด หมายถึง การเสนอขายที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเมื่อนับรวมกับผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัทแล้ว มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (2) การเสนอขายที่มีมูลค่าไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของใบสําคัญแสดงสิทธิให้ถือเอาราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิรวมกับราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับเป็นเกณฑ์ (3) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน การนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) และการคํานวณมูลค่าการเสนอขายตาม (2) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายให้ต่อผู้ลงทุนตาม (3) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน ข้อ ๒๑ การอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้บริษัทดังกล่าวสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดแล้ว ทั้งนี้ ให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 เฉพาะข้อ 22(1) (1/1) (4) (5) และ (6) และเงื่อนไขตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าวด้วย (2) กรณีเป็นบริษัทอื่นนอกจากบริษัทจดทะเบียนตาม (1) ให้บริษัทสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะเสนอขายนั้นกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะของบุคคลในวงจํากัดตามที่กําหนดในข้อ 20 ได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก โดยให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 ด้วย ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด เนื่องจากบริษัทตามวรรคหนึ่งต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทดังกล่าวเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 เว้นแต่เงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๒๒ บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังนี้ (ก) เป็นใบสําคัญแสดงสิทธิชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบสําคัญแสดงสิทธิที่แสดงข้อจํากัดการโอน (ข) มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ใน ข้อ 8(3) (ข) ข้อ 9(1) (2) และ (3) และข้อ 11(1) และ(2) และในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิมีข้อกําหนดเกี่ยวกับเหตุและเงื่อนไขในการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ เหตุและเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามข้อ 11(4) (ข) ด้วย โดยอนุโลม (1/1) จัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับ ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิได้ (2) ดําเนินการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นของบริษัทอย่างเพียงพอและเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 โดยอนุโลม (3) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ และต้องกําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุของใบสําคัญแสดงสิทธิ (4) ไม่โฆษณาการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับและหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย บริษัทต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 20(1) (2) หรือ (3) เท่านั้น เอกสารประกอบการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิเช่นเดียวกับที่ได้จดแจ้งไว้กับสํานักงาน และระบุข้อความตาม (7) ในเอกสารดังกล่าวด้วย (5) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิต้องเป็นไปตามข้อ 14 และข้อ 17 (6) ไม่ขยายอายุใบสําคัญแสดงสิทธิ ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 11(4) (ข) (7) ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ซึ่งต้องไม่มีหุ้นหรือหุ้นรองรับที่สามารถเสนอขายได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว คงค้างอยู่ บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทยื่นต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่บริษัทจะได้ยื่นคําขอและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อบริษัทที่จะลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้บริษัทตรวจสอบความถูกต้องของการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว หากพบว่าเป็นการโอนที่จะขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน บริษัทต้องไม่ลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธินั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ในกรณีที่บริษัทจัดให้มีนายทะเบียนใบสําคัญแสดงสิทธิ บริษัทต้องดําเนินการให้นายทะเบียนใบสําคัญแสดงสิทธิปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย หมวด ๓/๑ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการ และหุ้นรองรับ ข้อ ๒๓/๑ ให้บริษัทมหาชนจํากัดสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายต่อเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย และแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวกําหนดให้เจ้าหนี้ต้องรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แทนการรับชําระหนี้ (2) บริษัทได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะเสนอขายนั้นกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่จํากัดอยู่เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (ก) เจ้าหนี้ของบริษัทตาม (1) (ข) ผู้ลงทุนสถาบัน (ค) ผู้ลงทุนใด ๆ ที่มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่นับรวมส่วนที่โอนให้แก่ผู้ลงทุนตาม (ก) และ (ข) ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนตามวรรคหนึ่ง ในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ข้อ ๒๓/๒ บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดใน ข้อ 11(1) และ (2) และข้อ 22(1) (ก) โดยอนุโลม (2) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด (3) ดําเนินการให้การลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23 โดยอนุโลม ข้อ ๒๓/๓ ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ หากบริษัทต้องออกหุ้นรองรับเพิ่มเติม ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับดังกล่าวเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การออกหุ้นเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (2) บริษัทได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการปรับสิทธิอย่างเพียงพอต่อสํานักงาน หมวด ๔ การยื่นเอกสารพร้อมรายงานผลการขาย ข้อ ๒๔ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 หมวด 3 และหมวด 3/1 ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน อื่นๆ หมวด 5 บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๕ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป เว้นแต่บริษัทที่ ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวจะแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานแสดงความประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๖ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมิได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่ออกใหม่และหุ้นรองรับตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว หรือยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานแล้วแต่แสดงความประสงค์ตามข้อ 25 ที่จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับมติดังกล่าว แล้วแต่เวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง (1) บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด ที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท (2) บริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด ข้อ ๒๗ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,534
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “หุ้นรองรับ” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยาในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (3) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ (4) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิและผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิ (5) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (6) “การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ที่กําหนดราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิเมื่อรวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นรองรับมีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (7) “การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่กําหนดราคาการใช้สิทธิแปลงสภาพในลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ข้อ ๓ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับตามประกาศนี้ ต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเท่านั้น ทั้งนี้ ให้การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนเป็นไปตามหมวด 1 (2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัดเป็นไปตามหมวด 3 (3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่โดยไม่มีการเรียกชําระราคาสําหรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว บริษัทมหาชนจํากัดนั้นจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิต่อเมื่อเป็นไปตามหมวด 1 หรือหมวด 3 แล้วแต่กรณี (4) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด เป็นไปตามหมวด 2 (5) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นแต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทกรณีอื่นนอกจาก (4) เป็นไปตามหมวด 1 หรือหมวด 3 แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทหรือการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้น เข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน (2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของบริษัทในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น (ข) บริษัทมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (ค) บริษัทมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน หมวด ๑ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ และหุ้นรองรับต่อประชาชน ส่วน ๑ การขออนุญาตและการอนุญาต ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชน ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขอและชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของบริษัทหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล บริษัทต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๗ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่บริษัทไม่มาชี้แจงหรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าบริษัทไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้นอีกต่อไป ข้อ ๘ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับตามหมวดนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ในส่วนที่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน (3) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ข้อกําหนดของใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ขัดแย้งกับลักษณะที่กําหนดตามข้อ 9 (ข) มีจํานวนหุ้นรองรับไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 10 เว้นแต่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน เนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม เนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือกรณีอื่นใด (ค) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 11 (4) ได้ดําเนินการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะได้รับผลกระทบจากการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับของบริษัท (dilution effect) อย่างเพียงพอและเป็นไปตามข้อ 12 ข้อ ๙ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีอายุแน่นอน ซึ่งต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิ (2) มีหุ้นรองรับเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท (3) กําหนดราคาและอัตราการใช้สิทธิไว้อย่างแน่นอน (4) มีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ ข้อ ๑๐ จํานวนหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตเสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิในครั้งอื่น ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นรองรับ ซึ่งบริษัทจะเสนอขายควบคู่กับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในครั้งนี้ (ถ้ามี) (2) จํานวนหุ้นที่บริษัทได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ข้อ ๑๑ ข้อกําหนดสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของใบสําคัญแสดงสิทธิ ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงถึงอายุ ราคา อัตราและวิธีการใช้สิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ (2) เหตุ เงื่อนไข และกระบวนการในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิ (3) ค่าเสียหายที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิได้ ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่าส่วนต่างระหว่างราคาตลาดของหุ้นของบริษัทซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ณ วันที่มีการใช้สิทธิ กับราคาที่จะซื้อหุ้นตามสิทธิในใบสําคัญแสดงสิทธิ (4) มาตรการคุ้มครองผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อผูกพันดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่มีข้อกําหนดให้บริษัทสามารถเรียกให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิใช้สิทธิก่อนระยะเวลาที่กําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ข้อผูกพันดังกล่าวต้อง 1. ได้รับการรับรองจากบริษัทว่ามีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่ไม่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ 2. กําหนดให้บริษัทต้องเรียกให้มีการใช้สิทธิเมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ 3. ได้รับการรับรองจากบริษัทว่ามีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อผูกพันดังกล่าว (ข) เหตุและเงื่อนไขในการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิด้อยไปกว่าเดิม พร้อมทั้งวิธีคํานวณ ทั้งนี้ เหตุแห่งการปรับสิทธิหมายถึงกรณีดังต่อไปนี้ 1. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัท อันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น 2. เมื่อบริษัทมีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา 3. เมื่อบริษัทมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําหรือมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา 4. เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น 5. เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ 6. เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ 1. ถึง 5. ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิด้อยไปกว่าเดิม ความในวรรคหนึ่ง (4)(ข) มิให้ใช้บังคับกับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เข้าลักษณะตาม 1. ถึง 6. ซึ่งได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยแสดงได้ว่า จะมีมาตรการอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ลงทุนที่จะได้รับผลกระทบจากการไม่ปรับสิทธินั้นทราบก่อนการลงทุนว่า บริษัทจะไม่ดําเนินการเปลี่ยนแปลงอัตราหรือราคาการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ข้อ ๑๒ ิษัทต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้เพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับของบริษัท (dilution effect) (1) จัดให้หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ แสดงข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการใช้สิทธิ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิ เป็นต้น (ข) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นครบถ้วนตามใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (ค) วิธีการจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิ (ง) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท (2) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับต้องได้มาไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 5 (3) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้บริษัทจัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม (ข) หนังสือนัดประชุมตาม (ก) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกจากต้องมีข้อมูลตาม (1) แล้วอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา 2. รายละเอียดเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในเรื่อง จํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ และราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน 3. ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิ รวมทั้งวิธีการคํานวณ 4. ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย 5. ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ําที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) 6. สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ําตาม (ง) 7. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว 8. ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (ค) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (ง) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิหรือหุ้นรองรับนั้น ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีต่อไปนี้ (1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ (2) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๑๓ เมื่อบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๔ ในกรณีที่การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิ เป็นการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิตามข้อ 11(4) (ข) บริษัทจะดําเนินการโดยการปรับราคาและอัตราการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ หรือปรับราคาตามใบสําคัญแสดงสิทธิควบคู่กับการออกใบสําคัญแสดงสิทธิใหม่ทดแทนการปรับอัตราการใช้สิทธิก็ได้ ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทต้องออกหุ้นรองรับเพิ่มเติม ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับดังกล่าวเมื่อได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการปรับสิทธินั้นอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๑๕ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนนี้ (1) ดําเนินการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หรือภายในกําหนดระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลา และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 8(2) ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ (ถ้ามี) และในการพิจารณาผ่อนผัน สํานักงานอาจเรียกให้บริษัทส่งข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมก็ได้ (ข) กําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการอนุญาตของสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง (2) ตลอดระยะเวลาที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุม ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๖ ภายหลังการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้จะต้องไม่ขยายอายุใบสําคัญแสดงสิทธิและต้องไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 11(4)(ข) ข้อ ๑๗ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิภายหลังการเสนอขายให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เป็นลายลักษณ์อักษรให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ข้อ ๑๘ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ มีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้บริษัทมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาต และบริษัทไม่สามารถแก้ไขลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งให้บริษัทระงับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกใหม่ และเมื่อมีการแจ้งแล้ว ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ และหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว เป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๒ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท และหุ้นรองรับ ข้อ ๑๙ ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท หากบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดให้บริษัทนั้นสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับดังกล่าวได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตดังต่อไปนี้ (1) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 8(3) (2) ดําเนินการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นของบริษัทอย่างเพียงพอและเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(1) และ (2) โดยอนุโลม (3) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ และต้องกําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุการใช้สิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ (4) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิต้องเป็นไปตามข้อ 14 และข้อ 17 (5) ไม่ขยายอายุใบสําคัญแสดงสิทธิ ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 11(4)(ข) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในส่วนนี้ เนื่องจากบริษัทต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ให้บริษัทเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามส่วนนี้อาจได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตจากสํานักงาน หากสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4(2) โดยสํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ หมวด ๓ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด ส่วน ๑ การอนุญาต ข้อ ๒๐ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด หมายถึง การเสนอขายที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเมื่อนับรวมกับผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัทแล้ว มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (2) การเสนอขายที่มีมูลค่าไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของใบสําคัญแสดงสิทธิให้ถือเอาราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิรวมกับราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับเป็นเกณฑ์ (3) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน การนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) และการคํานวณมูลค่าการเสนอขายตาม (2) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายให้ต่อผู้ลงทุนตาม (3) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน ข้อ ๒๑ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัดได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะเสนอขายนั้นกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 และให้นําความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 19 มาใช้บังคับกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ด้วย โดยอนุโลม ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๒๒ บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังนี้ (ก) เป็นใบสําคัญแสดงสิทธิชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบสําคัญแสดงสิทธิที่แสดงข้อจํากัดการโอน (ข) มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ใน ข้อ 8(3)(ข) ข้อ 9(1) (2) และ(3) และข้อ 11(1) และ(2) และในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิมีข้อกําหนดเกี่ยวกับเหตุและเงื่อนไขในการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ เหตุและเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามข้อ 11(4)(ข) ด้วย โดยอนุโลม (2) ดําเนินการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นของบริษัทอย่างเพียงพอและเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 โดยอนุโลม (3) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ และต้องกําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุของใบสําคัญแสดงสิทธิ (4) ไม่โฆษณาการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย บริษัทต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 20(1) (2) หรือ (3) เท่านั้น เอกสารประกอบการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิเช่นเดียวกับที่ได้จดแจ้งไว้กับสํานักงาน และระบุข้อความตาม (7) ในเอกสารดังกล่าวด้วย (5) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิต้องเป็นไปตามข้อ 14 และข้อ 17 (6) ไม่ขยายอายุใบสําคัญแสดงสิทธิ ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 11(4)(ข) (7) ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ซึ่งต้องไม่มีหุ้นหรือหุ้นรองรับที่สามารถเสนอขายได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว คงค้างอยู่ บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทยื่นต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่บริษัทจะได้ยื่นคําขอและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อบริษัทที่จะลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้บริษัทตรวจสอบความถูกต้องของการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว หากพบว่าเป็นการโอนที่จะขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน บริษัทต้องไม่ลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธินั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ในกรณีที่บริษัทจัดให้มีนายทะเบียนใบสําคัญแสดงสิทธิ บริษัทต้องดําเนินการให้นายทะเบียนใบสําคัญแสดงสิทธิปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย หมวด ๔ การยื่นเอกสารพร้อมรายงานผลการขาย ข้อ ๒๔ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 และหมวด 3 ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๕ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป เว้นแต่บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวจะแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานแสดงความประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๖ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมิได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว หรือยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานแล้วแต่แสดงความประสงค์ตามข้อ 25 ที่จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับมติดังกล่าว แล้วแต่เวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง (1) บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท (2) บริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด ข้อ ๒๗ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและหุ้นออกใหม่ที่รองรับ ทั้งนี้ ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด หรือผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่เดิมของบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 โดยให้บริษัทสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในกรณีดังกล่าวและหุ้นรองรับได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว โดยกําหนดให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอและต้องขออนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นของบริษัท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,535
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2554 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16 /2554 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําว่า “หุ้นรองรับ” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ตลอดระยะเวลาที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุม ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,536
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 47/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 47 /2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับตามคําขอได้ (1) บริษัทหรือการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยให้อยู่ในลําดับก่อนหมวด 1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชน “ข้อ 4/1 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้ มาใช้บังคับกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) บริษัทมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) บริษัทมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 ในส่วนที่ 2 เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ของหมวด 1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 14/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้บริษัทที่ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับหรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้ (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับนั้น” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “(1/1) จัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิจะได้รับ ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิได้” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,537
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยให้อยู่ในลําดับก่อนหมวด 1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรับรองต่อประชาชน “ข้อ 4/2 ในการจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามหมวด 1 บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนด้วย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป หมวด ๑ ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,538
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต และให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อแบบคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนประสงค์ที่จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้บริษัทยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัทชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากบริษัท” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8(2) ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมี นัยสําคัญ (ถ้ามี) ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นสมควร แต่ระยะเวลา ดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,539
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 75/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 6)
1. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน 1. ที่ ทจ. 75/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับ ใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4/2 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามหมวด 2 หรือต่อบุคคลในวงจํากัดตามหมวด 3 ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วได้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับหรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตได้ (2) ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน (3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับมีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยให้อยู่ในลําดับก่อนหมวด 1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรับรองต่อประชาชน “ข้อ 4/3 ในการจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามหมวด 1 บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกวรรคสามของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 การอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้บริษัทดังกล่าวสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดแล้ว ทั้งนี้ ให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 เฉพาะข้อ 22(1) (1/1) (4) (5) และ (6) และเงื่อนไขตามที่กําหนดในประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าวด้วย (2) กรณีเป็นบริษัทอื่นนอกจากบริษัทจดทะเบียนตาม (1) ให้บริษัทสามารถเสนอขาย ใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะเสนอขายนั้นกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะของบุคคลในวงจํากัดตามที่กําหนดในข้อ 20 ได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก โดยให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 ด้วย ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อบุคคลในวงจํากัด เนื่องจากบริษัทตามวรรคหนึ่งต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทดังกล่าวเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 เว้นแต่เงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,540
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “(6) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย เป็นไปตามหมวด 3/1” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นตามวรรคหนึ่ง (4) ให้หมายความรวมถึงการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในลักษณะเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น โดยเป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 3/1 ให้บริษัทสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายโดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเอง หรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด (2) เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ในลักษณะเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิและผู้ใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น (3) เป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับ และต้องกําหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุการใช้สิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ เว้นแต่เป็นกรณีการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 3 วรรคสอง ให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 3/1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการ และหุ้นรองรับ ข้อ 23/1 ข้อ 23/2 และข้อ 23/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “หมวด 3/1 การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการ และหุ้นรองรับ ข้อ 23/1 ให้บริษัทมหาชนจํากัดสามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายต่อเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย และแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวกําหนดให้เจ้าหนี้ต้องรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แทนการรับชําระหนี้ (2) บริษัทได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะเสนอขายนั้นกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่จํากัดอยู่เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (ก) เจ้าหนี้ของบริษัทตาม (1) (ข) ผู้ลงทุนสถาบัน (ค) ผู้ลงทุนใด ๆ ที่มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่นับรวมส่วนที่โอนให้แก่ผู้ลงทุนตาม (ก) และ (ข) ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนตามวรรคหนึ่ง ในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ข้อ 23/2 บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดใน ข้อ 11(1) และ (2) และข้อ 22(1) (ก) โดยอนุโลม (2) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด (3) ดําเนินการให้การลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23 โดยอนุโลม ข้อ 23/3 ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีการปรับสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิหากบริษัทต้องออกหุ้นรองรับเพิ่มเติม ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับดังกล่าวเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การออกหุ้นเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (2) บริษัทได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการปรับสิทธิอย่างเพียงพอต่อสํานักงาน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 หมวด 3 และหมวด 3/1 ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้บังคับก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,541
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีคําขอต่อสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8(2) ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ (ถ้ามี) ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้ได้อีกตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก ทั้งนี้ การยื่นคําขอขยายระยะเวลาดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดตามใบสําคัญแสดงสิทธิภายหลังการเสนอขาย ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,542
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทค. 2/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทค. 2/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 315/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “เงินสินบน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ “เงินรางวัล” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ผู้จับผู้กระทําความผิด “ผู้แจ้งข้อมูล” หมายความว่า บุคคลซึ่งแจ้งข้อมูลการกระทําความผิดที่ทําให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดได้ “ผู้นําจับ” หมายความว่า บุคคลซึ่งแจ้งข้อมูลนําจับต่อผู้รับแจ้งข้อมูลให้ทําการจับกุมผู้กระทําความผิด หรือนําเจ้าพนักงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายไปทําการจับกุมผู้กระทําความผิด ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องมิใช่ผู้จับหรือผู้มีหน้าที่ดําเนินการตามกฎหมายในเรื่องนั้น “ผู้จับ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีชื่อระบุในบันทึกการจับกุมผู้กระทําความผิด และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งทําหน้าที่จับกุมผู้กระทําความผิด (2) บุคคลซึ่งช่วยในการจับกุมผู้กระทําความผิดตามที่เจ้าพนักงานตาม (1) ขอความช่วยเหลือ “ข้อมูลการกระทําความผิด” หมายความว่า ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ทําให้น่าเชื่อว่ามีบุคคลใดกระทําความผิด แต่มิใช่ข้อมูลที่สํานักงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย รู้หรือควรรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ปกติ “ข้อมูลนําจับ” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่อยู่ของผู้กระทําความผิดที่ผู้นําจับแจ้งต่อผู้รับแจ้งข้อมูล ซึ่งทําให้สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดได้ “พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ” หมายความว่า พนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ “คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 317 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลให้แก่ผู้แจ้งข้อมูล ผู้นําจับหรือผู้จับตามบทบัญญัติที่กําหนดไว้ในมาตรา 315/1 และศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับ หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทําการเปรียบเทียบปรับผู้กระทําความผิดนั้น ข้อ ๔ การจ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การแจ้งข้อมูลและการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล ให้เป็นไปตามหมวด 2 หมวด ๑ การแจ้งข้อมูลและการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ข้อมูลการกระทําความผิดหรือข้อมูลนําจับ ต้องมิใช่ข้อมูลที่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ แล้วแต่กรณี ได้รับมาจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสินบนตามมาตรา 315/1 ข้อ ๖ การแจ้งความประสงค์ขอรับเงินสินบน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีการแจ้งข้อมูลการกระทําความผิด ให้ผู้แจ้งข้อมูลแจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ (2) กรณีการแจ้งข้อมูลนําจับ ให้ผู้นําจับแจ้งความประสงค์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือผู้ได้รับมอบหมายจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ผู้รับแจ้งข้อมูลจัดทําหลักฐานการรับแจ้งเป็นหนังสือ โดยมีรายละเอียดของข้อมูลที่รับแจ้งและความประสงค์ขอรับเงินสินบน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของผู้รับแจ้งข้อมูล และผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ แล้วแต่กรณี และมอบสําเนาให้ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับเก็บไว้หนึ่งชุด ข้อ ๗ ในกรณีที่มีผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับหลายราย การพิจารณาว่าบุคคลใดมีสิทธิขอรับเงินสินบนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ข้อมูลที่ได้รับจากผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับแต่ละรายมีรายละเอียดไม่เท่ากัน ให้ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับที่ทําให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดได้ ซึ่งให้ข้อมูลที่มีรายละเอียดและเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินคดีมากที่สุด เป็นผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบน (2) กรณีที่ข้อมูลที่ได้รับจากผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับแต่ละรายมีรายละเอียดใกล้เคียงกัน ให้ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับที่ให้ข้อมูลในลําดับแรก เป็นผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบน (3) กรณีที่ข้อมูลที่ได้รับจากผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับแต่ละรายมีรายละเอียดไม่เพียงพอ ที่จะทําให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดได้ โดยต้องนําข้อมูลของบุคคลดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกัน จึงจะดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดได้ ให้ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับดังกล่าวทุกราย เป็นผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบน ข้อ ๘ การแจ้งความประสงค์ขอรับเงินรางวัล ให้ผู้จับแจ้งต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือผู้ได้รับมอบหมายจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการจับกุมผู้กระทําความผิด พร้อมทั้งยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายในสามสิบวันนับแต่วันจับกุมผู้กระทําความผิด ข้อ ๙ เมื่อสํานักงานพิจารณาให้ผู้ใดมีสิทธิขอรับเงินสินบนแล้ว ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้นั้นทราบ โดยให้แจ้งด้วยว่าสํานักงานจะดําเนินการเพื่อให้มีการร้องขอต่อศาลหรือต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบ แล้วแต่กรณี เพื่อให้ศาลหรือคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งให้จ่ายเงินสินบน ข้อ ๑๐ เมื่อกรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาให้ผู้ใดมีสิทธิขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลแล้ว ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้นั้นทราบ โดยให้แจ้งด้วยว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษจะดําเนินการเพื่อให้มีการร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้จ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัล แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ การร้องขอต่อศาลเพื่อมีคําสั่งให้จ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัล ให้ดําเนินการดังนี้ (1) ในกรณีที่สํานักงานเป็นผู้พิจารณาผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบน ให้สํานักงานระบุในหนังสือกล่าวโทษว่าคดีดังกล่าวมีการขอรับเงินสินบน โดยระบุรายละเอียดของข้อเท็จจริงพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เพียงพอแก่การพิจารณา เพื่อให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูล (2) ในกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้พิจารณาผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่รับผิดชอบสํานวนคดีนั้นระบุในสํานวนการสอบสวนว่า คดีดังกล่าวมีการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล โดยระบุรายละเอียดของข้อเท็จจริงพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เพียงพอแก่การพิจารณา เพื่อให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ หรือจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับ ในกรณีที่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับแจ้งว่าไม่ต้องการเปิดเผยตัว ให้สํานักงานและกรมสอบสวนคดีพิเศษดําเนินการให้เป็นไปตามความต้องการของผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับด้วย ข้อ ๑๒ การร้องขอต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบเพื่อให้มีการจ่ายเงินสินบน ให้สํานักงานระบุในวาระที่เสนอต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบว่าคดีดังกล่าวมีการขอรับเงินสินบน โดยระบุรายละเอียดของข้อเท็จจริงพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เพียงพอแก่การพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ หมวด ๒ การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาล เมื่อศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับผู้กระทําความผิด และมีคําสั่งให้จ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ หรือให้จ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับแล้ว ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งการมีคําพิพากษาและคําสั่งศาลดังกล่าวไปยังผู้แจ้งข้อมูล ผู้นําจับ หรือผู้จับ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัล หรือแจ้งสํานักงานในกรณีที่ผู้แจ้งข้อมูลไม่ต้องการเปิดเผยตัว แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการว่าศาลได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ข้อ ๑๔ เงินสินบนที่จะจ่ายให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบน และเงินรางวัลที่จะจ่ายให้แก่ผู้จับซึ่งมีสิทธิได้รับเงินรางวัล ให้เป็นไปตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ศาลมีคําสั่งให้จ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล ให้จ่ายเงินสินบนในอัตราสองส่วน และเงินรางวัลในอัตราหนึ่งส่วน ของจํานวนที่ศาลมีคําสั่งให้จ่าย เว้นแต่ศาลมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น (2) กรณีที่ศาลมีคําสั่งให้จ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้จ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลทั้งจํานวนที่ศาลมีคําสั่งให้จ่าย ในกรณีที่มีผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบนหลายราย ให้จ่ายเงินสินบนเท่ากันทุกราย และในกรณีที่มีผู้จับซึ่งมีสิทธิได้รับเงินรางวัลหลายราย ให้จ่ายเงินรางวัลตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานที่ดําเนินการจับกุม ข้อ ๑๕ ในการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลตามคําสั่งศาล ให้ผู้แจ้งข้อมูล ผู้นําจับ หรือผู้จับ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัลดังกล่าว ยื่นคําขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลต่อศาลยุติธรรมตามระเบียบที่สํานักงานศาลยุติธรรมกําหนด ในกรณีที่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับไม่ต้องการเปิดเผยตัว ให้สํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ แล้วแต่กรณี ยื่นคําขอรับเงินสินบนต่อศาลยุติธรรมตามระเบียบที่สํานักงานศาลยุติธรรมกําหนด และนํามาจ่ายให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับ ข้อ ๑๖ เมื่อสํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเงินสินบนตามข้อ 15 วรรคสองแล้ว ให้สํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งไปยังผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ แล้วแต่กรณี ได้รับเงินสินบน ข้อ ๑๗ ในการขอรับเงินสินบนตามข้อ 16 ให้ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบนยื่นคําขอรับเงินสินบนต่อสํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ แล้วแต่กรณี ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุในหนังสือของสํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษที่แจ้งให้ผู้แจ้งข้อมูลหรือผู้นําจับดังกล่าวทราบถึงการรับเงินสินบน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบความผิด เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับผู้กระทําความผิดและให้จ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูล ให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดได้ชําระค่าปรับภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกําหนดแล้ว ให้สํานักงานแจ้งการมีคําสั่งของคณะกรรมการเปรียบเทียบดังกล่าวไปยังผู้แจ้งข้อมูลซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้กระทําความผิดได้ชําระค่าปรับครบถ้วนแล้ว (2) ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ชําระค่าปรับหรือชําระค่าปรับไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกําหนด ให้สํานักงานดําเนินการตามข้อ 11(1) และแจ้งการกล่าวโทษของสํานักงานไปยังผู้แจ้งข้อมูลซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ข้อ ๑๙ ในการขอรับเงินสินบนตามคําสั่งคณะกรรมการเปรียบเทียบ ให้ผู้แจ้งข้อมูลซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบนยื่นคําขอรับเงินสินบนต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุในหนังสือของสํานักงานที่แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบถึงคําสั่งคณะกรรมการเปรียบเทียบ ข้อ ๒๐ ให้สํานักงานจ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบน โดยการออกเช็คหรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ทั้งนี้ ตามที่ผู้แจ้งข้อมูลได้ระบุไว้ในคําขอรับเงินสินบน ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้แจ้งข้อมูล ผู้นําจับ หรือผู้จับ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัลถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลให้แก่บุคคลที่ผู้แจ้งข้อมูล ผู้นําจับ หรือผู้จับ ระบุไว้ในหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นคําขอรับเงินสินบนต่อสํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษภายในกําหนดเวลาตามข้อ 17 หรือข้อ 19 หรือในกรณีที่ไม่มีการรับเงินตามเช็คภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกเช็ค ให้สํานักงานหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษนําส่งเงินค่าปรับเพื่อจ่ายเป็นเงินสินบนให้กระทรวงการคลังภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาตามข้อ 17 หรือข้อ 19 หรือนับแต่วันพ้นกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกเช็ค แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้แจ้งข้อมูล ผู้นําจับ หรือผู้จับ ได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัล แล้วแต่กรณี ตามกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศ หรือระเบียบอื่นแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัลตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,543
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2558 เรื่อง กำหนดลักษณะของบริษัทที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2558 เรื่อง กําหนดลักษณะของบริษัทที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับ ของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2551 เรื่อง กําหนดลักษณะของบริษัทที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีหน้าที่จัดทําและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,544
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 21/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 21/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับ การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) และมาตรา 98(7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 44/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 51/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 100/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,545
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 80 /2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 80/2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากร ในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 23(3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน “บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งตามที่ประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนกําหนด คําว่า “ผู้จัดการ” “ผู้อํานวยการฝ่าย” “ผู้จัดการสาขา” “ผู้แนะนําการลงทุน” “นักวิเคราะห์การลงทุน” และ “เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒ หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้กําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ โดยมิต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๓ การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๔ บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (1) บุคลากรที่ได้ปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (ก) งานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า (ข) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุน การจัดการสาขา หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า (ค) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง (2) บุคลากรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ บุคลากรซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4 ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ (1) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่ (ก) กรรมการ (ข) ผู้จัดการ (ค) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (ข) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุน การจัดการสาขา หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า ได้แก่ (ก) รองผู้จัดการ (ข) ผู้ช่วยผู้จัดการ (ค) ผู้อํานวยการฝ่าย (ง) ผู้จัดการสาขา (จ) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (ก) ถึง (ง) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (3) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ (ก) รองผู้จัดการ (ข) ผู้ช่วยผู้จัดการ (ค) ผู้อํานวยการฝ่าย (ง) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (จ) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (ก) ถึง (ง) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉ) กรรมการในคณะกรรมการซึ่งผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวทําหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง เช่น คณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น (ช) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ว่าจะเรียกชื่อใดซึ่งให้คําปรึกษาหรือความเห็นต่อคณะกรรมการตาม (ฉ) (4) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า ได้แก่ (ก) ผู้แนะนําการลงทุน (ข) นักวิเคราะห์การลงทุน (ค) เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร ข้อ ๖ การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่ทําการแต่งตั้งหรือมอบหมายต้องเป็น (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ที่ได้รับใบอนุญาตเนื่องจากใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 (ข) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ได้รับใบอนุญาตเนื่องจากใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 (2) เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิม หรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม (3) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งงานตามข้อ 4(1)(ก) หรือ (ข) บุคลากรดังกล่าวต้อง (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 8 (ค) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่กําหนดในข้อ 9 (4) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งงานตามข้อ 4(1)(ค) บุคลากรดังกล่าวต้อง (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 8 ข้อ ๗ การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามข้อ 4(2) เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจทําการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรดังกล่าวให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ (ก) ผู้แนะนําการลงทุน (ข) นักวิเคราะห์การลงทุน (ค) เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร (2) บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายต้อง (ก) มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 8 (ข) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่กําหนดในข้อ 9 ข้อ ๘ บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจจะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ผ่านการอบรม หรือการทดสอบหลักสูตที่สํานักงาน ก.ล.ต. หรือหน่วยงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของ บุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) สําหรับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิมหรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม ซึ่งเป็นงานตามข้อ 4(1)(ก) ให้ยื่นคําขอก่อนเริ่มปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (2) สําหรับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิมหรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม ซึ่งเป็นงานตามข้อ 4(1)(ข) ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (3) สําหรับการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนหรือเจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร แล้วแต่กรณี ให้ยื่นคําขอก่อนเริ่มปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๐ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบคําขอรับความเห็นชอบตามข้อ 9 เมื่อบุคลากรดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งได้ยื่นคําขอภายในระยะเวลาที่กําหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายชื่อบุคลากรที่จะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่แต่งตั้งหรือมอบหมาย (1) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5(1) ข้อ 5(2) และข้อ 5(4) (2) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฎิบัติงานตามข้อ 5(3)(ง) ข้อ ๑๒ ให้ถือว่าบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน และให้ผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรดังกล่าวมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต่อไป ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิมหรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม หากปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงตําแหน่งงานในภายหลังจนเป็นผลให้บุคลากรดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเดิมอีกต่อไป ให้ถือว่าการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้สิ้นสุดลง และให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับบุคลากรรายดังกล่าวใหม่ตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,546
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 36/2560 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 36/2560 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากร ในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 23(3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ.80/2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) สําหรับการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนหรือเจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร แล้วแต่กรณี ให้ยื่นคําขอก่อนเริ่มปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นในข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ.80/2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10/1 การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรให้ทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตามข้อ 5(3)(ง) ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561” ข้อ 3 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ.80/2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,547
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 80 /2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 80/2558 เรื่อง การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 23(3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน “บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งตามที่ประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนกําหนด คําว่า “ผู้จัดการ” “ผู้อํานวยการฝ่าย” “ผู้จัดการสาขา” “ผู้แนะนําการลงทุน”“นักวิเคราะห์การลงทุน” และ “เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 2 หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้กําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ โดยมิต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 3 การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 4 บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (1) บุคลากรที่ได้ปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (ก) งานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า (ข) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุน การจัดการสาขา หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า (ค) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง (2) บุคลากรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 5 บุคลากรซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4 ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ (1) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่ (ก) กรรมการ (ข) ผู้จัดการ (ค) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (ข) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุน การจัดการสาขา หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า ได้แก่ (ก) รองผู้จัดการ (ข) ผู้ช่วยผู้จัดการ (ค) ผู้อํานวยการฝ่าย (ง) ผู้จัดการสาขา (จ) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (ก) ถึง (ง) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (3) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ (ก) รองผู้จัดการ (ข) ผู้ช่วยผู้จัดการ (ค) ผู้อํานวยการฝ่าย (ง) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (จ) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (ก) ถึง (ง) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉ) กรรมการในคณะกรรมการซึ่งผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวทําหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง เช่น คณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น (ช) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ว่าจะเรียกชื่อใดซึ่งให้คําปรึกษาหรือความเห็นต่อคณะกรรมการตาม (ฉ) (4) ตําแหน่งงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า ได้แก่ (ก) ผู้แนะนําการลงทุน (ข) นักวิเคราะห์การลงทุน (ค) เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร ข้อ 6 การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่ทําการแต่งตั้งหรือมอบหมายต้องเป็น (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ที่ได้รับใบอนุญาตเนื่องจากใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 (ข) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ได้รับใบอนุญาตเนื่องจากใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 (2) เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิม หรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม (3) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งงานตามข้อ 4(1)(ก)หรือ (ข) บุคลากรดังกล่าวต้อง (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 8 (ค) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่กําหนดในข้อ 9 (4) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งงานตามข้อ 4(1)(ค) บุคลากรดังกล่าวต้อง (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 8 ข้อ 7 การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามข้อ 4(2) เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจทําการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรดังกล่าวให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ (ก) ผู้แนะนําการลงทุน (ข) นักวิเคราะห์การลงทุน (ค) เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร (2) บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายต้อง (ก) มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 8 (ข) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่กําหนดในข้อ 9 ข้อ 8 บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจจะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ผ่านการอบรม หรือการทดสอบหลักสูตรที่สํานักงาน ก.ล.ต. หรือหน่วยงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 9 ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) สําหรับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิมหรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม ซึ่งเป็นงานตามข้อ 4(1)(ก) ให้ยื่นคําขอก่อนเริ่มปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (2) สําหรับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิมหรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม ซึ่งเป็นงานตามข้อ 4(1)(ข) ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (3)( สําหรับการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนหรือเจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร แล้วแต่กรณี ให้ยื่นคําขอก่อนเริ่มปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ 10 สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบคําขอรับความเห็นชอบตามข้อ 9 เมื่อบุคลากรดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งได้ยื่นคําขอภายในระยะเวลาที่กําหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 10/1( การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคลากรให้ทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตามข้อ 5(3)(ง) ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 11 ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายชื่อบุคลากรที่จะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่แต่งตั้งหรือมอบหมาย (1) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5(1) ข้อ 5(2) และข้อ 5(4) (2) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฎิบัติงานตามข้อ 5(3)(ง) ข้อ 12 ให้ถือว่าบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน และให้ผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรดังกล่าวมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต่อไป ข้อ 13 ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยปฏิบัติงานในตําแหน่งงานเดิมหรือตําแหน่งงานใหม่ที่อยู่ในงานด้านเดิม หากปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงตําแหน่งงานในภายหลังจนเป็นผลให้บุคลากรดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเดิมอีกต่อไปให้ถือว่าการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้สิ้นสุดลง และให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับบุคลากรรายดังกล่าวใหม่ตามประกาศบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,548
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 93/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 93/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 98(5) มาตรา 100 มาตรา 109 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 4/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 37/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 47/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (11) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 (12) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 5/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 (13) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (14) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,549
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 247/2558 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 247/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ --------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13) และ (14) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 117/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 “(13) การอนุมัติให้เป็นสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ตามมาต ร า 9 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558 (14) การอนุมัติให้เป็นบริษัทการค้า ระหว่างประเทศ ตามมาตร า 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 587) พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,550
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 246/2558 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 246/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ----------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (10) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 “(10) การอนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการและเสียภาษีของสามีและภริยา ตามมาตรา 57 ฉ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีสามีหรือภริยาได้ยื่นคําขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการนั้น โดยยังไม่มีการออกหมายเรียกหรือออกหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานประเมิน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.164/2550 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 มอบอํานาจให้นักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) และ (10) ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น” ข้อ ๓ คําสั่งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,551
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 245/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 245/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ หมวด ๑ 1 ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะยาว ที่ตั้งอยู่ ณ เกาะไข่ ตําบลพรุใน อําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะยาว สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด หมวด ๒ ให้สรรพากรพื้นที่พังงาออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ในวันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,552
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 244/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 244/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2558 ถึงวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,553
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 243/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 243/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------- เพื่อให้การบริหารจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีก แห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) สาขาศาลายา จังหวัดนครปฐม (2) ธนาคารธนชาติ จํากัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ข้อ ๒ ให้นายเกรียงไกร ลิมปอารยะกุล สรรพากรพื้นที่นครปฐม 1 เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงิน ภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่ รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ตอน ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มี ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,554
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 242/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 242/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร --------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและ รับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง"เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558 ถึงวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558 เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,555
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 241/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 241/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า MBK CENTER ชั้น 5 (บริเวณโซน Open Well) เลขที่ 444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง"เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558 ถึงวันอังคารที่ 31 มีนาคม 2558 ไม่เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,556
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 240/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 240/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,557
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 239/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 239/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองกระบี่ ที่ตั้งอยู่ ณ บริษัท พีพีมารีนแทรเวล จํากัด (โรงแรมพีพี ไอส์แลนด์ คาบาน่า) สาขา 0001 เลขที่ 58 หมู่ที่ 7 (เกาะพีพี) ตําบลอ่าวนาง อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการกํานันตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่กระบี่ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,558
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 238/2558 เรื่อง มอบอำนาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 238/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร ---------------------------------- เพื่อให้การออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 และมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.230/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ มอบอํานาจให้รองอธิบดี ที่กํากับดูแลและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเรื่องราชการของสํานักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี เป็นผู้มีอํานาจออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากรแทนอธิบดีกรมสรรพากร ข้อ ๓ ในกรณีที่รองอธิบดีตามข้อ 2 ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ มอบอํานาจให้รองอธิบดีตามลําดับที่กําหนดไว้ในคําสั่งกรมสรรพากร เรื่อง การมอบอํานาจหน้าที่ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น เป็นผู้มีอํานาจออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากรแทนอธิบดีกรมสรรพากร ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,559
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 237/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 237/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญเป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 และ ภ.ง.ด. 94) ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,560
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 236/2558 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 236/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร --------------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ พิจารณาคําร้องขอขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีที่ได้ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งกรณีที่เข้าหลักเกณฑ์ และกรณีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ลงนามในหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ตอน ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,561
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 235/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 235/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) (สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) เฉพาะวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 และวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2558 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) เฉพาะวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) เฉพาะวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,562
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 234/2558 เรื่อง มอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้รักษาราชการแทนรองอธิบดีสั่งและปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 234/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้รักษาราชการแทนรองอธิบดีสั่งและปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร ------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 และมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑ ให้รองอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้รักษาราชการแทนรองอธิบดีซึ่งมีอํานาจสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเรื่องราชการของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ มีอํานาจสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับผู้เสียภาษีที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การออกคําสั่งยึดหรืออายัดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมทั้งการถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร (2) การออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชําระภาษีอากรค้าง และบุคคลใดๆ ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาให้ถ้อยคํา การสั่งบุคคลดังกล่าวให้นําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันจําเป็นแก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาตรวจสอบ และการออกหมายเรียกเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการมีสิทธิเรียกร้องหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ การออกหมายเรียกเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการมีสิทธิเรียกร้องตามข้อ 1 (2) ไม่รวมถึงการออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร ตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.230/2557 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๓ คําสั่งที่ขัด หรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มกราคม 2558 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,563
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เพื่อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนหรือ แสวงหาประโยชน์เพื่อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เพื่อกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” และ “ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” และ “ค่าเดลต้า” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน “การลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์” หมายความว่า การลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น การขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง หรือการหาดอกผลหรือแสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีอื่น “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” หมายความว่า กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เพื่อกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน การลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์ตามวรรคหนึ่งต้องไม่ทําให้ฐานะการลงทุนสุทธิของกองทุนรวมในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนมีมูลค่าต่ํากว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีของกองทุนรวมนั้น ฐานะการลงทุนสุทธิตามวรรคสองให้คํานวณจากผลรวมของมูลค่าการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด หักด้วยผลรวมของการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่ลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามวรรคสาม ให้คํานวณตามขนาดของสัญญาหรือตราสารนั้น (notional amount)เว้นแต่ในกรณีที่เป็นสัญญาออปชัน ให้คํานวณตามขนาดของสัญญาคูณกับค่าเดลต้าของสัญญาออปชันแทน ข้อ ๔ ให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับโดยโครงการจัดการกองทุนรวมนั้นไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 ยังคงสามารถจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์ตามโครงการดังกล่าวต่อไปได้แต่จะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติมได้ต่อเมื่อได้จัดการลงทุนหรือแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,564
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 233/2557 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 233/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ------------------------------- เพื่อให้การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 8 (1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 227/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(8)การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการได้ประกอบกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังต่อไปนี้ ก่อนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก (ก) ผู้ประกอบการประกอบกิจการโดยสําคัญผิดว่าได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (ข) ผู้ประกอบการออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ในการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง และจัดทําในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (ค) ผู้ประกอบการจัดทํารายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย (ง) ผู้ประกอบการได้ยื่นแบบแสดงรายการ และชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน กําหนดเวลาตามกฎหมาย ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยวิธีภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้ประกอบการได้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อพ้นกําหนดเวลาตามกฎหมายโดยตนเอง ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน (จ) ในขณะที่มีการยื่นคําร้องขออนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการยังประกอบกิจการอยู่จนถึงในปัจจุบัน และ (ฉ) ผู้ประกอบการขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้มีสิทธิออกใบกํากับภาษีและนําส่งภาษีขายให้ถูกต้อง มิได้มีเจตนา ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด ทั้งนี้ โดยพิจารณาในปีนั้นว่ามีภาษีขายที่ต้องชําระมากกว่าภาษีซื้อ ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,565
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 232/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 232/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 94) ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด และสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 94) ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด และสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอละงู จังหวัดสตูล ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 94) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ถึงวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ)
2,566
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 231/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 231/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ ยื่นแบบแสดงรายการ และชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,567
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 229/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 229/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียหรือนําส่งเงินภาษีอากร ที่ประสงค์จะชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรทางธนาคาร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร ออกคําสั่งไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 7/2528 เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,568
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 228/2557 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 228/2557 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในของข้อ 3.7 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 155/2549 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้ (1) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นรายได้และรายจ่ายทั้งจํานวนเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการขายนั้น (2) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามอัตราส่วนของงานที่ทําเสร็จในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีมารวมคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือ (3) ให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามงวดที่ถึงกําหนดชําระโดยให้ใช้วิธีการคํานวณตามอัตรากําไรขั้นต้น การคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายตาม (2) และ (3) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดตาม (2) หรือ (3) เพื่อคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดแล้ว ให้ใช้วิธีนั้นตลอดไปสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกิจการที่มี ส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities) ตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้คํานวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป คําว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า การขายที่ดิน การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง การขายสิ่งปลูกสร้าง และการขายอาคารชุด” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมี รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,569
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 227/2557 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร (ยกเลิกโดย ท.ป.233/2557)
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 227/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร (ยกเลิกโดย ท.ป.233/2557) ------------------------------------ เพื่อให้การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 8(1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(8) การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการได้ประกอบกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังต่อไปนี้ ก่อนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก (ก) ผู้ประกอบการประกอบกิจการโดยสําคัญผิดว่าได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (ข) ผู้ประกอบการออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ในการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง และจัดทําในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (ค) ผู้ประกอบการจัดทํารายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย (ง) ผู้ประกอบการได้ยื่นแบบแสดงรายการ และชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน กําหนดเวลาตามกฎหมาย ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยวิธีภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้ประกอบการได้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อพ้นกําหนดเวลาตามกฎหมายโดยตนเอง ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน (จ) ในขณะที่มีการยื่นคําร้องขออนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการยังประกอบกิจการอยู่จนถึงในปัจจุบัน และ (ฉ) ผู้ประกอบการขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้มีสิทธิออกใบกํากับภาษีและนําส่งภาษีขายให้ถูกต้อง มิได้มีเจตนาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด ทั้งนี้ โดยพิจารณาในปีนั้นว่ามีภาษีขายที่ต้องชําระมากกว่าภาษีซื้อ ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,570
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 226/2557เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 226/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2557 และวันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ประสงค์ พูนธเนศ (นายประสงค์ พูนธเนศ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,571
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2555 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยการทำธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2555 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(8) มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2552 เรื่อง การทําธุรกรรมในตั๋วเงินโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,572
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กฎเกณฑ์” หมายความว่า กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) ที่บังคับใช้กับธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ “คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย” หมายความว่า คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีความเป็นอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดมอบหมายด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (7) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งเพื่อป้องกันการกระทําใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจที่อาจเป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และต้องสนับสนุนให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ไดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) มีโครงสร้างการดําเนินงานที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถรายงานการปฏิบัติงานโดยตรงต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (3) มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้ว ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อ 5 (4) จัดให้บุคลากรของหน่วยงานดังกล่าวมีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในจํานวนที่เพียงพอกับลักษณะของธุรกิจ (business model) และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และไม่เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 และสามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา (ค) ดําเนินการให้บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าวได้รับการอบรมเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างสม่ําเสมอ และต้องจัดให้ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานนั้นได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงานตามหลักสูตรที่สํานักงานเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยทุกสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งครั้งแรก (ง) มีการมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลและบุคลากรที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานได้ ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้และคําแนะนําแก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) และการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจด้วย (2) ติดตามกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไข และรายงานให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจทราบ (3) ระบุความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการพัฒนาหรือทําธุรกรรมใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ (4) ติดตามดูแลให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ (5) ระบุและประเมินปัจจัยที่อาจมีผลทําให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้ ทั้งนี้ ตามความจําเป็นและเหมาะสม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้วย (6) ตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ และรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานทั่วไป (day to day operation) อาจรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจก่อนการรายงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายก็ได้ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายได้กําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงประโยชน์ในการแก้ไขข้อบกพร่องและผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ตลอดจนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (7) จัดทําแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (compliance plan) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตและระยะเวลาการตรวจสอบหรือสอบทานหน่วยงานของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ แผนการตรวจสอบหรือสอบทานดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (8) จัดทํารายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report) เสนอต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจ และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงานภายในสองเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน โดยรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) แผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ข) ผลการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ค) การกระทําความผิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไข (ง) การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสํานักงาน หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่น (จ) การทบทวนนโยบายด้านกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (9) เป็นผู้ประสานงานและรายงานให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่พบการปฏิบัติที่เข้าข่ายหรืออาจเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ ๖ ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน เช่น กฎหมาย บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ เป็นต้น และมีประสบการณ์ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาเจ็ดปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าว 2. ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสี่ปีในช่วงระยะเวลาเจ็ดปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าว (ข) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาอื่นใด และมีประสบการณ์ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสี่ปีในช่วงระยะเวลาเจ็ดปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าว 2. ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าเจ็ดปีในช่วงระยะเวลาสิบปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าว (2) ผ่านการอบรมความรู้ตามหลักสูตรที่สํานักงานเห็นชอบมาแล้วไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง (3) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจไม่เคยผ่านการอบรมความรู้ตามหลักสูตรที่สํานักงานเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (2) มาก่อน ผู้ประกอบธุรกิจอาจตั้งบุคคลดังกล่าวให้เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานได้ แต่ต้องจัดให้บุคคลนั้นเข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรที่สํานักงานเห็นชอบภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าว ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และสํานักงาน โดยการรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานให้ดําเนินการภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือวันสิ้นสุดการแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการรายงานการสิ้นสุดการแต่งตั้ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุเหตุแห่งการสิ้นสุดนั้นด้วย ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแการปฏิบัติงานขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(4) (ข) หรือได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แต่งตั้งบุคลากรรายใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือวันที่พ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน (2) แต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบแทนชั่วคราวในระหว่างที่ยังดําเนินการตาม (1)ไม่แล้วเสร็จ โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ได้ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,573
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2557 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 10 /2557 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (4) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานต้องเป็นบุคคลที่สามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4(4) (ข) หรือได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แต่งตั้งบุคลากรรายใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือวันที่พ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน (2) แต่งตั้งบุคลากรอื่นที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้โดยชอบตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน เพื่อให้รับผิดชอบแทนชั่วคราวในระหว่างที่ยังดําเนินการตาม (1) ไม่แล้วเสร็จ โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ได้ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,574
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 การจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ(ประมวล) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กฎเกณฑ์” หมายความว่า กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) ที่บังคับใช้กับธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ “คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย” หมายความว่า คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีความเป็นอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดมอบหมายด้วย ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (7) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 3 สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งเพื่อป้องกันการกระทําใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจที่อาจเป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และต้องสนับสนุนให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) มีโครงสร้างการดําเนินงานที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถรายงานการปฏิบัติงานโดยตรงต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (3) มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้ว ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อ 5 (4) จัดให้บุคลากรของหน่วยงานดังกล่าวมีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในจํานวนที่เพียงพอกับลักษณะของธุรกิจ(business model) และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และไม่เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (ข)[1](#fn1) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานต้องเป็นบุคคลที่สามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ค) ดําเนินการให้บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าวได้รับการอบรมเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างสม่ําเสมอ และต้องจัดให้ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานนั้นได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงานตามหลักสูตรที่สํานักงานเห็นชอบ (refresher course) อย่างน้อยทุกสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งครั้งแรก (ง) มีการมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลและบุคลากรที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานได้ ข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้และคําแนะนําแก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) และการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจด้วย (2) ติดตามกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไข และรายงานให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจทราบ (3) ระบุความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการพัฒนาหรือทําธุรกรรมใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ (4) ติดตามดูแลให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ (5) ระบุและประเมินปัจจัยที่อาจมีผลทําให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้ ทั้งนี้ ตามความจําเป็นและเหมาะสม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้วย (6) ตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ และรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานทั่วไป (day to day operation) อาจรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจก่อนการรายงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายก็ได้ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายได้กําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงประโยชน์ในการแก้ไขข้อบกพร่องและผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ตลอดจนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (7) จัดทําแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (compliance plan) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตและระยะเวลาการตรวจสอบหรือสอบทานหน่วยงานของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ แผนการตรวจสอบหรือสอบทานดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (8) จัดทํารายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report) เสนอต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจ และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงานภายในสองเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินโดยรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) แผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ข) ผลการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ค) การกระทําความผิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไข (ง) การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสํานักงาน หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่น (จ) การทบทวนนโยบายด้านกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (9) เป็นผู้ประสานงานและรายงานให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่พบการปฏิบัติที่เข้าข่ายหรืออาจเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ 6[2](#fn2) ยกเลิกทั้งข้อ 6 ข้อ 7[3](#fn3) ยกเลิกทั้งข้อ 7 ข้อ 8[4](#fn4) ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4(4) (ข) หรือได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตั้งให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แต่งตั้งบุคลากรรายใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือวันที่พ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน (2) แต่งตั้งบุคลากรอื่นที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้โดยชอบตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน เพื่อให้รับผิดชอบแทนชั่วคราวในระหว่างที่ยังดําเนินการตาม (1) ไม่แล้วเสร็จ โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ได้ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ: ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2555 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 14/08/2555 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 07/09/2555เล่ม 129 ตอนพิเศษ 138 ง ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2557 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 03/06/2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 20/06/2557 เล่ม 131 ตอนพิเศษ 116 ง --- 1. 2. 3. 4.
2,575
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 42 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมคาร์บอน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 มาตรา 109 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมคาร์บอน “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “คาร์บอนเครดิต” หมายความว่า หน่วยที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกลด ดูดซับ หรือกักเก็บโดยโครงการหรือกิจกรรม ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ออกมาตรฐานที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ “โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” หมายความว่า โครงการหรือกิจกรรมที่ทําให้ผู้ดําเนินโครงการหรือกิจกรรมนั้นได้รับคาร์บอนเครดิต และให้หมายความรวมถึงโครงการหรือกิจกรรมที่ผู้ประสงค์จะดําเนินโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวอยู่ระหว่างแสดงความจํานงที่จะพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมนั้นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “สัญญาซื้อขายคาร์บอนเครดิต” หมายความว่า สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบคาร์บอนเครดิตให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชําระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจํานวนและราคาตามที่กําหนดไว้ในสัญญา “กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการลงทุน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอนในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การขออนุมัติและการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 1 (2) หลักเกณฑ์การบริหารและจัดการกองทุนรวมที่กําหนดในภาค 2 (3) อํานาจสั่งการของสํานักงานเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3 นอกจากข้อกําหนดตามประกาศนี้แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศอื่น ๆ ที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือการบริหารจัดการกองทุนรวม เป็นการทั่วไปด้วย ข้อ ๔ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว อื่นๆ ๑ การขออนุมัติและการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้กระทําได้เฉพาะที่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยเท่านั้น โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในภาคนี้ หมวด ๑ การยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ต้องยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) โครงการจัดการกองทุนรวม (2) ร่างข้อผูกพัน (3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ (4) ร่างหนังสือชี้ชวน การยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ต้องมีกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลด้วย ข้อ ๗ ให้บุคคลที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว ข้อ ๘ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วน หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ กองทุนรวมที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูล ข้อกําหนด หรือข้อสัญญา ในคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว และต้องไม่มีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์นั้น (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งระงับการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมตามประกาศนี้หรือไม่ เป็นการชั่วคราว ส่วน ๑ ลักษณะของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ กองทุนรวมที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งต้องมีข้อกําหนดในเอกสารของกองทุนรวมที่แสดงลักษณะของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และมีข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่าการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความอยู่รอดของกองทุนรวม (3) ชื่อของกองทุนรวมซึ่งแสดงถึงลักษณะของการเป็นกองทุนรวมคาร์บอน (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีมูลค่าที่ตราไว้เป็นมูลค่าเท่ากัน โดยในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (5) เป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กองคาร์บอนทั่วไป ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิต หรือตราสารที่มีผู้ออกหรือสัญญาที่มีคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นหลัก โดยจะชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน เฉลี่ยคืนทุน และจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดหรือเทียบเท่า (ข) กองคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตเป็นหลัก โดยจะชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน เฉลี่ยคืนทุน และจ่ายเงินปันผลเป็นคาร์บอนเครดิต เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องชําระบางส่วนเป็นเงินสดหรือเทียบเท่าเนื่องจากมีคาร์บอนเครดิตไม่เพียงพอ หรือเพื่อให้ครบถ้วนตามมูลค่าหน่วยลงทุน (6) ในกรณีของกองคาร์บอนเครดิตที่จะเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีการแบ่งชําระหนี้ตามสัญญาเป็นงวด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าความอยู่รอดของกองทุนรวมจะไม่ได้รับผลกระทบหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชําระหนี้ตามสัญญา (7) มีข้อกําหนดเพื่อรองรับการลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ (8) มีข้อกําหนดเพื่อรองรับการดําเนินการของกองทุนรวมภายหลังการจัดตั้ง ซึ่งเป็นไปตามส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมคาร์บอน ตลอดจนประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (9) มีข้อกําหนดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ปฏิบัติหน้าที่อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) หน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศนี้ (ข) หน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนชนิดเดียวกันต้องมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่เท่าเทียมกัน (2) หน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่แตกต่างกันได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน (ค) ระยะเวลาการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ง) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการขอรับความเห็นชอบจากสํานักงาน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้จริง และได้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดอาจได้รับ ส่วน ๒ ข้อกําหนดเพื่อรองรับการลงทุนของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินหลักที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ได้ โดยในกรณีของกองคาร์บอนทั่วไป ให้เป็นไปตามข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 16 และในกรณีของกองคาร์บอนเครดิตให้เป็นไปตามข้อ 15 และข้อ 16 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินอื่นที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ได้ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 17 (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ก่อนการลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีบริษัทที่ดําเนินโครงการลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญา บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการตรวจสอบและสอบทาน (ทํา due diligence) โครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่โครงการนั้นยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับการรับรองแล้วแต่ยังไม่ได้รับคาร์บอนเครดิต ข้อ ๑๓ ในกรณีของกองคาร์บอนทั่วไป โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีข้อกําหนดให้กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหลัก ซึ่งเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) คาร์บอนเครดิต (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นคาร์บอนเครดิต (3) สัญญาซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (4) หลักทรัพย์หรือตราสารดังต่อไปนี้ ที่มีผู้ออกหรือผู้สั่งจ่ายเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ก) หุ้น (ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ค) ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (ง) ตั๋วแลกเงิน (จ) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (ฉ) หุ้นกู้ (ช) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้โครงการจัดการกองทุนรวมมีข้อกําหนดให้กองทุนรวมสามารถส่งบุคลากรเข้าร่วมบริหารในกิจการของนิติบุคคลที่กองทุนรวมถือหุ้น เว้นแต่เป็นโครงการจัดการกองทุนรวมของกองคาร์บอนทั่วไปที่มีการลงทุนระยะยาวในหุ้นของบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อ ๑๕ ในกรณีของกองคาร์บอนเครดิต โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีข้อกําหนดให้กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหลัก ซึ่งเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) คาร์บอนเครดิต (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นคาร์บอนเครดิต (3) สัญญาซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อ ๑๖ การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้โครงการจัดการกองทุนรวมมีข้อกําหนดที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหลักโดยเฉลี่ยในแต่ละปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุนรวม เว้นแต่ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ กองทุนรวมจะไม่ดํารงมูลค่าการลงทุนดังกล่าวก็ได้ (ก) รอบปีบัญชีแรกของกองทุนรวม (ข) รอบปีบัญชีสุดท้ายที่กองทุนรวมสิ้นอายุโครงการ (ค) รอบปีบัญชีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน เมื่อมีเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ไม่สามารถดํารงอัตราส่วนดังกล่าวได้ (2) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่ออกหรือสั่งจ่ายโดยบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบธุรกิจในส่วนอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (ก) ร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เมื่อคํานวณรวมทุกหลักทรัพย์และตราสาร (ข) ร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เมื่อคํานวณเฉพาะหลักทรัพย์และตราสารที่ออกโดยผู้ออกหรือผู้สั่งจ่ายรายใดรายหนึ่ง (3) ในกรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากโครงการดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ระบุอัตราขั้นสูงที่กองทุนรวมจะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน (4) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นตามข้อ 17 หากเป็นการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับแผนการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้นับมูลค่าการลงทุนดังกล่าวรวมคํานวณเป็นมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินหลักได้ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่กองทุนรวมจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่น ต้องกําหนดขอบเขตของทรัพย์สินอื่นที่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยจะกําหนดได้เฉพาะทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) พันธบัตรรัฐบาล (2) ตั๋วเงินคลัง (3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออก และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข (4) เงินฝากในธนาคาร หรือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (5) บัตรเงินฝากที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ทั้งนี้ หากเป็นบัตรเงินฝากที่เข้าลักษณะของตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการลงทุน (6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ หากเป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่เข้าลักษณะของตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการลงทุน (7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้หรือเงินฝาก (8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอนอื่น (9) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของInternational Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) (ข) กองทุนรวมในต่างประเทศนั้นมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินประเภทและชนิดเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ (10) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งการเข้าทําสัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงของกองทุนรวม ส่วน ๓ ข้อกําหนดเพื่อรองรับการดําเนินการของ กองทุนรวมภายหลังการจัดตั้ง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ โครงการจัดการกองทุนรวมหรือข้อผูกพันต้องมีข้อกําหนดเพื่อรองรับการดําเนินการของกองทุนรวมภายหลังการจัดตั้ง ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 19 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมปิด ซึ่งเป็นไปตามข้อ 20 (3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน เฉลี่ยคืนทุน และจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นไปตามข้อ 21 และข้อ 22 (4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 23 (5) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเลิกกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 24 (6) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการออกใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 25 ข้อ ๑๙ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้โครงการจัดการกองทุนรวมมีข้อกําหนดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการของกองทุนรวมต้องไม่ขัดหรือแย้งกับโครงการจัดการกองทุนรวม หรือพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมดังต่อไปนี้ 1. กองทุนรวมเปิด 2. กองทุนรวมปิดที่ระบุการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ข) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มต้องไม่เกินกว่าจํานวนเงินทุนโครงการของกองทุนรวม โดยในกรณีที่เงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มจะเกินกว่าเงินทุนโครงการต้องปรากฏว่า สํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการเพื่อรองรับการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนนั้นแล้ว (3) การเพิ่มเงินทุนโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกระทําได้โดยการยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการต่อสํานักงาน ข้อ ๒๐ การลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้โครงการจัดการกองทุนรวมมีข้อกําหนดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การลดเงินทุนจดทะเบียนจะกระทําได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) มีการกําหนดไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ที่มีมติผู้ถือหน่วยลงทุนให้ลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม เช่น กรณีกองทุนรวมมีสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลืออยู่ภายหลังจากการจําหน่ายทรัพย์สินหลัก และกองทุนรวมไม่มีกําไรสะสมเหลืออยู่ (2) เป็นการลดจํานวนหน่วยลงทุนหรือลดมูลค่าที่ตราไว้ และเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน โดยจะเฉลี่ยคืนให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 21 ข้อ ๒๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้โครงการจัดการกองทุนรวมมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน เฉลี่ยคืนทุน และจ่ายเงินปันผลตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(5) และตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) การจ่ายเงินปันผล ให้จ่ายได้จากกําไรสะสมเท่านั้น (2) ในกรณีของกองคาร์บอนเครดิต บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่แสดงถึงข้อจํากัดของการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน เฉลี่ยคืนทุน และจ่ายเงินปันผลเป็นคาร์บอนเครดิต และขั้นตอนการดําเนินการดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน ข้อ ๒๒ ข้อผูกพันต้องระบุข้อห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๒๓ โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่าย จากกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนไว้อย่างชัดเจน โดยค่าใช้จ่ายที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะหักจากเงินของกองทุนรวมจะเป็นค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควรซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนรวมโดยตรงเท่านั้น ข้อ ๒๔ การเลิกกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้โครงการจัดการกองทุนรวมมีข้อกําหนดที่แสดงว่า เมื่อปรากฏเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวม (1) เมื่อจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) เมื่อมีการจําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการเพื่อให้ทรัพย์สินของกองทุนรวมมีมูลค่ารวมกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในข้อ 16 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่จําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว (3) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ข้อ ๒๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้ข้อผูกพันมีข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอให้บริษัทจัดการกองทุนรวมออกใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะออกใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่เป็นปัจจุบัน และมีข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้อย่างชัดเจน ส่วน ๔ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมาชี้แจง แก้ไข หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนด ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมอีกต่อไปเว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแสดงให้เห็นได้ว่า การที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามคําขอได้ (1) กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุมัติตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดตั้งกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 หรือประกาศนี้ (2) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุน (3) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๒๘ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณากับคําขอ หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการขอจัดตั้งกองทุนรวม (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่า เอกสารหรือข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทจัดการกองทุนรวมมีข้อมูลไม่ครบถ้วน มีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือกรณีอื่นใดที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน สํานักงานอาจสั่งการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมได้ตามที่เห็นสมควร หมวด ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และหนังสือชี้ชวนที่มีสาระไม่ต่างจากฉบับร่างที่ยื่นต่อสํานักงาน และที่แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด (2) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําหนังสือชี้ชวนที่มีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง เพียงพอ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงาน โดยดําเนินการผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม ก่อนเริ่มการเสนอขายหน่วยลงทุน (ข) จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนแก่ผู้ลงทุนที่สนใจจะลงทุนในหน่วยลงทุน โดยต้องมีระยะเวลาที่พอสมควรแก่การที่ผู้ลงทุนจะศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุน (ค) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในหนังสือชี้ชวน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้หนังสือชี้ชวนมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและจัดส่งให้สํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ มีการแก้ไขข้อมูลในหนังสือชี้ชวน (3) ดูแลให้ข้อผูกพันและโครงการจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยในกรณีที่ข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า (4) การแก้ไขข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมต้องไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ทั้งนี้ ในกรณีประกาศนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ข้อผูกพันและโครงการจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามประกาศนี้ที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย หมวด ๔ การสิ้นสุดการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๓๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะยกเลิกการจัดตั้งกองทุนรวมที่อยู่ระหว่างการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก และได้ระบุกรณีดังกล่าวไว้ในหนังสือชี้ชวนแล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจยุติการขายหน่วยลงทุนได้ โดยต้องรายงานให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ยุติการขายหน่วยลงทุนนั้น ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลงในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานให้สํานักงานทราบตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามวรรคสอง และหากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้ เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องรับผิดชอบ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน ข้อ ๓๓ เมื่อสิ้นสุดการเสนอขายหน่วยลงทุน แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทุนรวม หากปรากฏว่ามีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไม่ถึงสิบราย อันเป็นเหตุให้สํานักงานไม่รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมเป็นอันสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนนั้นตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลานั้นได้ เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องรับผิดชอบ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ข้อ ๓๔ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมได้ หากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือข้อผูกพันที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ (2) มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่ได้กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นกรณีที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการดําเนินการของกองทุนรวม หรือขัดต่อเจตนารมณ์ในการจัดตั้งกองทุนรวม (3) มีการดําเนินการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาค 1 (4) มีการบริหารจัดการกองทุนรวมโดยฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในภาค 2 ข้อ ๓๕ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 34 ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) พฤติกรรมของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (2) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมเดียวกันนั้นซ้ําอีก (3) พฤติกรรมอื่นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (4) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ไม่เหมาะสม ข้อ ๓๖ เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในข้อ 33 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที อื่นๆ ๒ หลักเกณฑ์การบริหารและจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๗ ในการบริหารและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพัน และที่กําหนดเพิ่มเติมในภาคนี้ ข้อ ๓๘ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการของกองทุนรวม และการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ข้อ ๓๙ ในการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม นอกจากการปฏิบัติตามข้อ 38 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับการลดเงินทุนจดทะเบียนทุกครั้งของกองทุนรวมไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมและรายงานประจําปีของกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เหตุแห่งการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม (2) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนต่อหน่วยลงทุนที่ลดในแต่ละครั้ง (3) วันปิดสมุดทะเบียน และวันที่ดําเนินการชําระคืนคาร์บอนเครดิต หรือชําระคืนเงินแล้วแต่กรณี คืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๔๐ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ ซึ่งรวมถึงความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในเรื่องที่ขอมติ และผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติในเรื่องดังกล่าว การแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงไว้ในหนังสือนัดประชุม หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติ ข้อ ๔๑ การจ่ายเงินปันผลของกองคาร์บอนทั่วไป บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผลและข้อมูลการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผล (2) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๔๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สะท้อนราคาที่เป็นธรรม สามารถนํามาใช้เปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนรวมได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งคาร์บอนเครดิต สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นคาร์บอนเครดิต และสัญญาซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ใช้ราคาอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและมีการประกาศอย่างแพร่หลาย (2) กรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารที่มีผู้ออกหรือผู้สั่งจ่ายเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือทรัพย์สินอื่น ให้ใช้ราคาตามประกาศสมาคมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยอนุโลม ข้อ ๔๓ ในกรณีของกองคาร์บอนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังต่อไปนี้ และเปิดเผยมูลค่าดังกล่าวภายในวันทําการถัดไป (ก) วันทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล (ค) วันทําการก่อนวันขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (ง) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการลดเงินทุนจดทะเบียน (2) คํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีของกองทุนรวม และเปิดเผยมูลค่าดังกล่าวพร้อมการจัดส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนที่เปิดเผยตามวรรคหนึ่งต้องได้รับการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว ข้อ ๔๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม รายงานประจําปีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อมูลของกองทุนรวมตามที่กําหนดในประกาศนี้ และตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํารายงานรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวมในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยอนุโลม ข้อ ๔๕ การจัดทํางบการเงินของกองทุนรวม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดสําหรับการทําธุรกรรมในแต่ละลักษณะ (2) ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ข้อ ๔๖ ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากโครงการหรือกิจกรรมที่จะทําให้บริษัทนั้นได้รับคาร์บอนเครดิตยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับการรับรองแล้วแต่ยังไม่ได้รับคาร์บอนเครดิต ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานความคืบหน้าของโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานพร้อมกับรายงานประจําปีของกองทุนรวม รายงานความคืบหน้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเปรียบเทียบความคืบหน้าของโครงการหรือกิจกรรมกับแผนงานของโครงการหรือกิจกรรม (2) ในกรณีที่ความคืบหน้าของโครงการหรือกิจกรรมไม่เป็นไปตามแผนงาน ให้ระบุแนวทางแก้ไขและผลกระทบที่กองทุนรวมได้รับหรืออาจได้รับไว้ด้วย ข้อ ๔๗ เมื่อปรากฏเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อันอาจมีผลกระทบต่อมูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้อย่างมีนัยสําคัญ หรือตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพร้อมด้วยเหตุผลต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า ข้อ ๔๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวม (2) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเพื่อทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุน ข้อ ๔๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกํากับดูแลและตรวจสอบให้บุคลากรของตนปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๕๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมอบหมายให้ผู้อื่นบริหารจัดการกองทุนรวมในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมและการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุนได้ โดยต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง โดยผู้ได้รับมอบหมายต้องเป็นบุคคลที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี และหากเป็นการจัดการลงทุนในต่างประเทศ บุคคลที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (2) กํากับและตรวจสอบการดําเนินการของผู้รับมอบหมายอย่างเพียงพอ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานประกาศกําหนด หรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๕๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องอํานวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลผลประโยชน์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๕๒ เมื่อเกิดกรณีตามข้อ 24 หรือกรณีอื่นใดที่อาจทําให้ต้องเลิกกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์โดยไม่ชักช้า ข้อ ๕๓ การเลิกกองทุนรวมเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งเป็นหนังสือ ให้สํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบเป็นหนังสือก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ (2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น อื่นๆ ๓ อํานาจสั่งการของสํานักงานเกี่ยวกับการดําเนินงานของ บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๔ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น หรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด (1) ข้อเท็จจริงตามข้อ 27(1) (2) (3) หรือ (4) (2) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม (2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง (3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อ ๕๕ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดประเภทหรือลักษณะของค่าใช้จ่ายที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถจ่ายจากเงินของกองทุนรวมได้ ข้อ ๕๖ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ได้ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร (1) การดํารงมูลค่าการลงทุนของกองทุนรวมตามที่กําหนดในข้อ 16 (2) การเลิกกองทุนรวมเพราะเหตุที่มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าสิบรายตามข้อ 24(1) ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,576
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 43/2555 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 43 /2555 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอน กับบริษัทจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “ข้อผูกพัน” “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ผู้ดูแลผลประโยชน์” “คาร์บอนเครดิต” และ “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน ข้อ ๓ ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวม (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน (5) ข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) (6) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น (7) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (8) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (9) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ (10) การเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ (11) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน (12) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ (13) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน (14) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ข้อ ๔ รายการอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันและโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ ๕ รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในข้อผูกพันซึ่งลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมโดยชอบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๖ รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการชําระหนี้ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนดเท่านั้น ข้อ ๗ รายการการออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนจัดให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ โดยให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจําเป็นต้องใช้ใบหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําใบหน่วยลงทุนมอบให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๘ รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนหน่วยลงทุนถูกต้อง และการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ข้อ ๙ รายการการแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการ งดเว้นกระทําการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจใช้สิทธิตามมาตรา 132 ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่กระทําการอันเป็นการขัดหรือแย้งกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ดูแลผลประโยชน์เองหรือประโยชน์ของผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือเป็นการดําเนินการในลักษณะที่เป็นธรรมและได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวมิได้แสดงการคัดค้าน (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการอันเป็นการขัดหรือแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่เข้าข้อยกเว้นให้กระทําได้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญและไม่สามารถแก้ไขให้หมดไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีอํานาจบอกเลิกสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนหากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ ข้อ ๑๐ รายการการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าโดยคําสั่งของสํานักงาน หรือโดยเหตุอื่นใดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่เข้าทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่ ข้อ ๑๑ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า เรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ตาม (2) ให้รวมถึง (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน การเฉลี่ยคืนทุน และการจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ข) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (ค) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ข้อ ๑๒ รายการหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติซึ่งกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) วิธีการขอมติ เช่น การขอมติจะกระทําโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการขอมติ (ค) องค์ประชุม (ถ้ามี) ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (ง) ข้อจํากัดสิทธิในการออกเสียงลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (จ) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติ และวิธีการนับมติ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การดําเนินการใดที่โครงการจัดการกองทุนรวม หรือกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับมาโดยชอบแล้ว ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงเห็นชอบให้ดําเนินการดังกล่าวและมีผลผูกพันตามมติ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,577
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company) หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหรือขึ้นทะเบียน หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (CIS operator) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งให้บริการแก่ผู้ลงทุนในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๓ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นหน่วยที่อยู่ในรายชื่อซึ่งเปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงานซึ่งผ่านการตรวจสอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (2) เป็นหน่วยที่มีการเสนอขายทั้งหมดต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๕ ในการให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อขายในวันและเวลาทําการที่กําหนดไว้ในเอกสารการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้แจกจ่ายในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ เว้นแต่วันและเวลาที่กําหนดในเอกสารดังกล่าวเป็นวันและเวลาปิดทําการของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์อาจไม่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในวันปิดทําการดังกล่าวก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบการไม่รับคําสั่งซื้อขายในวันและเวลาดังกล่าวล่วงหน้าในระยะเวลาที่เหมาะสม (2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่ในประกาศนี้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ ๖ ก่อนการตกลงรับเป็นตัวแทนขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจัดส่งข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องส่งข้อมูลนั้นต่อผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ พร้อมทั้งต้องรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเดียวกับที่ได้ส่งให้แก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี (2) ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจัดส่งข้อมูลตาม (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาเดียวกันกับที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีหน้าที่ต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ก่อนการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทุน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สามารถซื้อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8 (2) จัดส่งหรือแจกจ่ายเอกสารดังต่อไปนี้ ที่มีสาระสําคัญไม่แตกต่างจากร่างที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้แก่ผู้ลงทุน 1. สรุปข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) (ข) เอกสารเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 (3) จัดให้มีข้อมูลประกอบการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งได้จัดทําและแจกจ่ายในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ โดยข้อมูลดังกล่าวให้เก็บไว้ ณ ที่ทําการหรือบนเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ และจัดส่งให้แก่ผู้ลงทุนเมื่อผู้ลงทุนร้องขอ ข้อ ๘ ก่อนการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทุนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การจัดให้ผู้ลงทุนแสดงตน (2) การขอข้อมูลและเอกสารหลักฐานอ้างอิงประกอบการแสดงตน และการขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องทบทวนข้อมูลของผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งเป็นประจําทุกสองปี เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่มีการให้บริการอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาสองปี ให้ทบทวนข้อมูลของผู้ลงทุนก่อนให้บริการซื้อขายในครั้งถัดไป ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทํากับบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 6 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอีกต่อไป ข้อ ๑๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งข้อมูลและหนังสือรับรองที่ได้รับจากผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อตกลงในข้อ 6 ให้แก่สํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลและหนังสือรับรองดังกล่าว ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้ และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้น ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นการกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,578
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 225/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 225/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร -------------------------------------- ตามที่ได้มีการชุมนุมทางการเมือง และมีการปิดสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลายพื้นที่ทําให้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีในท้องที่ที่มีหน้าที่รับชําระภาษีได้ตามปกติได้ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและเพื่อให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ บ้านพักสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 เลขที่ 24 ถนนหน้าเมือง ตําบลตลาด อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทุกกรณีตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่งนอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งภาษีที่มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ตามข้อ 4 ซึ่งอยู่ในท้องที่ความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีตามประมวลรัษฎากร ในระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ในวัน และในท้องที่ความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ดังนี้ 1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสุราษฎร์ธานี (1) วันที่ 13, 17, 20, 26 และ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (2) วันที่ 5, 6 และ 14 ถึง 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 (เว้นวันหยุดราชการ) 2. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพุนพิน (1) วันที่ 7, 13, 17 และ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (2) วันที่ 14 ถึง 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 (เว้นวันหยุดราชการ) 3. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขากาญจนดิษฐ์ (1) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (2) วันที่ 3, 4 และ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557 4. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท่าชนะ วันที่ 17 และ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 5. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท่าฉาง วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 6. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเคียนซา (1) วันที่ 13, 24 และ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (2) วันที่ 5 และ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 7. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระแสง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 8. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาคีรีรัฐนิค (1) วันที่ 13, 21 และ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (2) วันที่ 3 และ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,579
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 224/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 224/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 และภ.ง.ด. 91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ระหว่างวันที่ 2 มกราคมถึงวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่การรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับปีภาษี พ.ศ. 2556 ที่จะต้องยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป และในกรณีที่วันที่ 31 มีนาคมตรงกับวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,580
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 223/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 223/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร --------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 219/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 219/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 219/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 219/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557” ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,581
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 222/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 222/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ตอน ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 และวันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,582
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 221/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 221/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวล รัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงคิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน สามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่ รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 และวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังฃมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,583
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 220/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 220/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นสาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้ามาบุญครองชั้น 5 (โซนร้านค้าขายเฟอร์นิเจอร์) เลขที่ 444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1) (2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ตอน ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ไม่เว้นวันหยุดราชการ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 และตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,584
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 219/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 219/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการกํานันตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองระนอง ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะพยาม หมู่ที่ 1 ตําบลเกาะพยาม อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองกระบี่ ที่ตั้งอยู่ ณ บริษัท พีพีมารีนแทรเวล จํากัด (โรงแรมพีพี ไอส์แลนด์ คาบาน่า) สาขา 0001 เลขที่ 58 หมู่ที่ 7 ตําบลอ่าวนาง อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) (3) สรรพากรพื้นที่ระนอง สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (3) (4) สรรพากรพื้นที่กระบี่ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2557 ถึงวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2557 เว้นวันหยุดราชการ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2557 ถึงวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,585
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.218/2447 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภารอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.218/2447 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภารอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------- เพี่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนี่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพี้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินไดั บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 40 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภารอากรของสํานักงานสรรพากรพี้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)(สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (3) หน่วยบริการรับชําระภารอากรของสํานักงานสรรพากรพี้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (4) หน่วยบริการรับชําระภารอากรของสํานักงานสรรพากรพี้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (5) หน่วยบริการรับชําระภารอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาล ภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง ‘‘เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือขอรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภารเงินไค้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) เฉพาะวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) เฉพาะวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) เฉพาะวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2447 และวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ 2447 /(4)... (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2547 (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 นายวีระวุฒิ วิทยกุล รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
2,586
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 217/2557 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 217/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร --------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรพื้นที่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.170/2552 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดสําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,587
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 216/2557 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 216/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบันที่ 7) พ.ศ.2550 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดสําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,588
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 215/2557 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 215/2557 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร -------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 เรื่องมอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดสําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพาก
2,589
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 214/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 214/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริการการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94) ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด และสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94) ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด และสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอละงู จังหวัดสตูล ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูลออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2557 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีตามข้อ 1(2) ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี)
2,590
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 213/2557 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 213/2557 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลผลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฏากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 สุทธิชัย สังขมณี (นายสุทธิชัย สังขมณี) อธิบดีกรมสรรพากร
2,591
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company) หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน “ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” (CIS Operator) หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหรือขึ้นทะเบียนหรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานดังกล่าว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งให้บริการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๔ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ได้เฉพาะหน่วยที่อยู่ในรายชื่อซึ่งเปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงานซึ่งผ่านการตรวจสอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๖ ในการให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อขายในวันและเวลาทําการที่กําหนดไว้ในการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้เผยแพร่ในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ เว้นแต่วันและเวลาที่กําหนดในเอกสารดังกล่าวเป็นวันและเวลาปิดทําการของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์อาจไม่รับคําสั่งซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในวันปิดทําการดังกล่าวก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบการไม่รับคําสั่งซื้อขายในวันและเวลาดังกล่าวล่วงหน้าในระยะเวลาที่เหมาะสม (2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่ในประกาศนี้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ ๗ ก่อนการตกลงรับเป็นตัวแทนขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องส่งข้อมูลนั้นต่อผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ พร้อมทั้งต้องรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเดียวกับที่ได้ส่งให้แก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี (2) ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศต่อผู้ลงทุนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์โดยไม่ชักช้า (3) ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลตาม (1) และ (2) ให้บริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาเดียวกันกับที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการมีหน้าที่ต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ก่อนการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหรือแจกจ่ายข้อมูลดังต่อไปนี้ ที่มีสาระสําคัญไม่แตกต่างจากร่างที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้แก่ผู้ลงทุน (ก) สรุปข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) และรายงานประจําปี (ถ้ามี) (ข) ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (2) จัดให้มีข้อมูลประกอบการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งได้จัดทําและแจกจ่ายในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ โดยข้อมูลดังกล่าวให้เก็บไว้ ณ ที่ทําการหรือบนเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ และจัดส่งให้แก่ผู้ลงทุนเมื่อผู้ลงทุนร้องขอ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทํากับบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 7 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอีกต่อไป ข้อ ๑๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งข้อมูลและหนังสือรับรองที่ได้รับจากผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามข้อตกลงในข้อ 7 ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นข้อมูลตามข้อ 7(1) ให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลดังกล่าวแก่สํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลและหนังสือรับรองดังกล่าว (2) ในกรณีที่เป็นข้อมูลตามข้อ 7(2) ให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลดังกล่าวแก่สํานักงานโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้ และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้น ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นการกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,592
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 14/2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับ กรรมการ ผู้จัดการ และบุคลากรอื่นของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 14 /2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับ กรรมการ ผู้จัดการ และบุคลากรอื่น ของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) และ (10) มาตรา 109 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 15 มาตรา 18 มาตรา 23(3) และ (5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 5/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 38/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 6/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 39/2553 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 23/2554 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 15/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 (11) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 6/2556 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (12) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทลธ. 52/2556 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน(ฉบับที่ 4 ) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2,593
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 212/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 212/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 และวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,594
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 211/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 211/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น G โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) และข้อ 1(3) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 เว้นวันหยุดราชการ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีตามข้อ 1(2) ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีตามข้อ 1(3) ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,595
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 210/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 210/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,596
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 209/2556 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 209/2556 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 296 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 12/5 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.181/2553 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ทั้งนี้ สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,597
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 208/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 208/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียอากร และให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ส่วนบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ณ ท่าอากาศยาน ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้เสียภาษีอากรที่เป็น บุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจากการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอลนิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายอัญมณีดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีผู้นําเข้าหรือผู้ขายซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับการนําเข้ามา เพื่อขายหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุกและอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทําขึ้นใหม่ ซึ่งผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือการขายอัญมณีดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2) ท่าอากาศยานดอนเมือง (3) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (4) ท่าอากาศยานภูเก็ต (5) ท่าอากาศยานกระบี่ (6) ท่าอากาศยานสมุย (7) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (8) ท่าอากาศยานอู่ตะเภา (9) ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี (10) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 264/2559 ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559) ข้อ ๒ ให้หัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว กรมสรรพากรออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,598
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 207/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 207/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร -------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเทศบาลเกาะเต่า หมู่ที่ 3 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยนนครศรีธรรมราช ชั้น 2 เลขที่ 89/201 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตําบลคลัง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 ถึงวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,599
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 206/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 206/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,600
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 205/2556 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 205/2556 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 106/2545 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจําหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจําหน่ายครั้งแรกในราคา ต่ํากว่าราคาไถ่ถอน เงินได้ที่ได้รับจากการถือศุกูก ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 (ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร (ร.จ. ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 130 ตอนพิเศษ 32 ง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)
2,601
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 204/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 204/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร --------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ (หน่วยจัดเก็บย่อยพนา) ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล ข้อ ๒ 2 ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่สตูล สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) (3) สรรพากรพื้นที่สตูล สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ตอน ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556 และวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556 ถึงวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ไม่เว้นวันหยุดราชการ (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ถึงวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,602
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 203/2556 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 203/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้ามาบุญครอง ชั้น 5 (โซนร้านค้าขายเฟอร์นิเจอร์) ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) เลขที่ 89 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) (สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) (3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (3) (4) (5) และ (6) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2556 ถึงวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ไม่เว้นวันหยุดราชการ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 ถึงวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2556 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 ถึงวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2556 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 และวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 (6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (6) เฉพาะวันอังคารที่ 19 มีนาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร (ร.จ. ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 130 ตอนพิเศษ 32 ง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)
2,603
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 202/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 202/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,604
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 201/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 201/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร --------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สํานักงานสรรพากรพื้นที่อุทัยธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบแสดงรายการนําส่งภาษีหรือแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองอุทัยธานี ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อุทัยธานี ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,605
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 200/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 200/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2555 และวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,606
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 198/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 198/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร -------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองอุดรธานี ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง ตําบลหมากแข้ง อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองอุดรธานี สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อุดรธานี ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,607
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 197/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 197/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ------------------------------------------ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน เลขที่ 89/201 ชั้น 2 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตําบลคลัง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะเต่า เลขที่ 21/2 หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่สตูล สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่สตูล สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) (3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (3) (4) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (4) (5) สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (5) (6) สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (6) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2555 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2555 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 ถึงวันอังคารที่ 20 มีนาคม 2555 (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2555 ถึงวันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2555 ไม่เว้นวันหยุดราชการ (6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (6) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 ถึงวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,608
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 196/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 196/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร --------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เว้นวันหยุดราชการ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,609
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 195/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 195/2555 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ---------------------------------------- เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้ามาบุญครอง ชั้น 5 (โซนร้านค้าขายเฟอร์นิเจอร์) ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) เลขที่ 89 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) (สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (7) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (8) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (9) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ (หน่วยจัดเก็บย่อยพนา) ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1) (2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) (3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (3) (4) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (4) (5) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (5) (6) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (6) (7) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (7) (8) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (8) (9) สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (9) ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2555 ถึงวันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2555 ไม่เว้นวันหยุดราชการ (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 ถึงวันอังคารที่ 20 มีนาคม 2555 (3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) เฉพาะวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 และวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 และวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 (5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 (6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (6) เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2555 (7) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (7) เฉพาะวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2555 (8) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (8) เฉพาะวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2555 (9) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (9) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2555 ถึงวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2555 และวันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,610
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 194/2555 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 194/2555 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับ การตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ ให้ใช้แบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีท้ายคําสั่งนี้เป็นแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 แทน ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,611