title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 14/2552
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2551 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ผู้ออกหลักทรัพย์แสดงหลักฐานต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวในประเทศไทยได้ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง โดยให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวปฏิบัติดังนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายพันธบัตร ก่อนการเสนอขายในแต่ละครั้งให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้กระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว แต่ผู้ออกหลักทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้
(ก) ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง
1. ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9)
2. แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(ข) เสนอขายหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ออกหลักทรัพย์ที่จะลงทะเบียนการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ตรวจสอบความถูกต้องของการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้
หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน ผู้ออกหลักทรัพย์ต้องไม่ลงทะเบียนการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์จัดให้มีนายทะเบียนหลักทรัพย์ ผู้ออกหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๕ ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ตามประกาศนี้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานจํานวนสามชุด โดย
แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 6
(1) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(2) มีข้อความดังต่อไปนี้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหน้าแรกของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
“ข้อมูลที่เปิดเผยตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนเป็นข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยตามที่เห็นว่าเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยตามหัวข้อที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย โดยในกรณีที่ข้อมูลที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนมีข้อความหรือรายการที่เป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ผู้ถือหลักทรัพย์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมิได้เป็นการแสดงว่ากระทรวงการคลัง คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับรองฐานะของผู้ออกหลักทรัพย์ หรือความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และในหนังสือชี้ชวนดังกล่าว และมิได้แสดงว่ากระทรวงการคลัง คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ประกันราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น”
(3) มีข้อมูลที่แสดงถึงฐานะทางการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) งบการเงินซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principles (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ ในกรณีที่งบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกันของมาตรฐานการบัญชีตามที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยไม่ด้อยกว่ามาตรฐานการบัญชีที่สํานักงานยอมรับ
(ข) ข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ (เฉพาะกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นรัฐบาลต่างประเทศ) ห้าปีล่าสุด ก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปี เริ่มในปีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการออกเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยตามประกาศนี้ ต้องมีข้อมูลตามวรรคหนึ่งของบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของ
ผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญด้วย
(4) มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือของผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันการชําระหนี้เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนหนี้
(5) มีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทําการของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ออกหลักทรัพย์
ให้เป็นตัวแทนของผู้ออกหลักทรัพย์ในประเทศไทยในการรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในประเทศไทย
(6) มีลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหลักทรัพย์เพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับตั้งแต่ investment grade ขึ้นไป และผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 5 แล้ว การเสนอขายครั้งต่อไปที่กระทําภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้ออกหลักทรัพย์นั้นยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวต่อสํานักงาน ผู้ออกหลักทรัพย์อาจยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งแสดงเฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 5 ที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานก็ได้
ข้อ ๗ นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งคําแปล (ถ้ามี) ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๘ ภายใต้บังคับมาตรา 75 เมื่อผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 5 มีผลใช้บังคับดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน สําหรับกรณีทั่วไป
(2) เมื่อพ้นกําหนดเวลาสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน สําหรับกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์มีสถานะเป็นรัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือกรณีเป็นการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว
ข้อ ๙ ภายหลังการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายพันธบัตร ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56
ข้อ ๑๐ ผู้ออกหลักทรัพย์อาจเลือกจัดทําเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมคําแปลภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องของคําแปลไว้ด้วย เว้นแต่กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ไม่ต้องแปลเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานเป็นภาษาไทย
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป
ข้อ ๑๒ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้บังคับประกาศนี้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 32/2550 เรื่อง รายชื่อผู้ออกพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_**
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งนี้ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่เสนอขายในวงจํากัดด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,412 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 18/2552
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2)
-------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(2) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“(ค) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ง) จัดให้มีข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้โดยมีสาระไม่ต่างจากฉบับร่างที่ยื่นต่อสํานักงานตาม (ก) และในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ให้กระทําตามที่ระบุไว้ในข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว โดยผู้ออกหุ้นกู้ต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
(จ) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ผู้ออกหุ้นกู้ต้องดําเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
2. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้แบบเต็มจํานวน โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(ฉ) จัดให้มีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ออกหุ้นกู้ให้เป็นตัวแทนของผู้ออกหุ้นกู้ในประเทศไทยในการติดต่อกับหน่วยราชการหรือสํานักงาน รับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศตลอดอายุของหุ้นกู้ต่างประเทศ”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 6 ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานจํานวนสามชุด
และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยแบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีรายละเอียดของรายการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ใช้แบบ 69-S ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2552 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยอนุโลม
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป ให้ใช้แบบ 69-FD ท้ายประกาศนี้ และมีข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในการดําเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ออกหลักทรัพย์ที่อยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดี
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการออกเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยตามประกาศนี้ แบบ 69-FD ต้องมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญในแต่ละรายการข้อมูลของแบบดังกล่าวด้วย
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์ตามวรรคสองเป็นรัฐบาลต่างประเทศ แบบ 69-FD ต้องมีข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ ห้าปีล่าสุด ก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปี เริ่มในปีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อนี้ต้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าประสงค์จะใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษในการจัดทํางบการเงินและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 5/1 ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) หรือมาตรา 70(9) ได้ หากผู้เสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 5 แล้ว ก่อนการเสนอขายครั้งต่อไปที่กระทําภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้ออกหลักทรัพย์นั้นยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวต่อสํานักงานผู้ออกหลักทรัพย์อาจยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งแสดงเฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 5 ที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานก็ได้”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ภายใต้บังคับมาตรา 75 เมื่อผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 5 มีผลใช้บังคับดังต่อไปนี้
(1) ในวันทําการถัดจากวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 5(1) ครบถ้วน
(2) เมื่อพ้นกําหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 5(2) ครบถ้วน เว้นแต่ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนมีเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะของพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศ อันดับความน่าเชื่อถือ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของตราสารดังกล่าว ให้สํานักงานเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่มิให้แบบดังกล่าวและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับจนกว่าจะพ้นวันที่ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศจนครบถ้วนแล้ว”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ผู้ออกหลักทรัพย์อาจจัดทําเอกสารหลักฐานที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้เป็นภาษาอังกฤษก็ได้”
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_**
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลตราสารหนี้ของอาเซียน รวมทั้งกําหนดเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้สอดคล้องกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,413 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2554 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่3) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 35 /2554
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือ
หุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 5/2 ให้ผู้ออกหลักทรัพย์จัดให้มีข้อมูลหัวข้อ “สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)” โดยให้เปิดเผยไว้ก่อนหน้าสารบัญในแบบ 69-FD
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารดังกล่าวด้วยก็ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,414 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2555 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 32/2555
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 4 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) เสนอขายหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,415 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2556 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 19 /2556
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 5 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (จ) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552
“ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(1) มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ
(2) ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม (1) เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 3/1 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้แก่ผู้ลงทุน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(2) จัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 6(1) หรือประชาชนทั่วไปตามข้อ 6(2) กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) กรณีผู้ออกหลักทรัพย์มีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนั้นที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้ด้วย
(ข) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยตามข้อ 6(1)
1. มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ
2. ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม 1. เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 และข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนพร้อมเอกสารหลักฐาน และคําแปล (ถ้ามี) ตามที่กําหนดในข้อ 3 ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลจํานวนหนึ่งชุด
(2) ส่งข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่งทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ 5/1 ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2554 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/2 ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) ถึง (3) ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 6
(1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 18/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 5/2 ต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ
(2) กรณีการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ69-FD ท้ายประกาศนี้ และมีข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในการดําเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ออกหลักทรัพย์ที่อยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดี
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการออกเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยตามประกาศนี้ แบบ 69-FD ต้องมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญในแต่ละรายการข้อมูลของแบบดังกล่าวด้วย
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์ตามวรรคสองเป็นหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ แบบ 69-FD ต้องมีข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศห้าปีล่าสุด ก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปี เริ่มในปีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อนี้ ต้องระบุอย่างชัดเจน ว่าประสงค์จะใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในการจัดทํางบการเงินและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศนี้ หากผู้ออกหลักทรัพย์แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลหรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/1 ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้ออกหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ออกหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ในการกําหนดให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ออกหลักทรัพย์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้ออกหลักทรัพย์ ผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 18/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว
(1) ผู้ออกหลักทรัพย์ได้แสดงหลักฐานต่อสํานักงานว่าได้ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
(2) ผู้ออกหลักทรัพย์ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
(3) เมื่อพ้นหนึ่งวันทําการ หรือสิบวันทําการ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) ตามเงื่อนไขที่กําหนดในตารางท้ายประกาศ
(4) ผู้ออกหลักทรัพย์ได้ระบุข้อมูลตามรายการครบถ้วน
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้”หมายความถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) อัตราผลประโยชน์ตอบแทน
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(5) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ถ้ามี)
(6) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) (4) และ (5)
ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดภายหลังเวลา 10.00 น. ของวันทําการใด ให้ถือว่าสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวในวันทําการถัดไป”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกแบบ 69-FD ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2554 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้แบบ 69-FD ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 10 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,416 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2557 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 32/2557
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2556 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(จ) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป หรือเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดประเภทหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
2. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกัน
เต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2556 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เสนอขายหุ้นกู้ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ได้ เว้นแต่การเสนอขายหุ้นกู้ที่ประกาศฉบับนี้ไม่กําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้
ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3(2) (จ) โดยอนุโลม”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,417 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2557 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 49/2557
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2556 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 5/2 ต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ
(2) กรณีการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลแบบใดแบบหนึ่งดังนี้ โดยแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในการดําเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ออกหลักทรัพย์ที่อยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีด้วย
(ก) แบบ 69-FD ท้ายประกาศนี้
(ข) แบบ 69-DEBT-PO ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการออกเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในประเทศไทยตามประกาศนี้ แบบ 69-FD หรือแบบ 69-DEBT-PO ต้องมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญในแต่ละรายการข้อมูลของแบบดังกล่าวด้วย
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์ตามวรรคสองเป็นหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ แบบ 69-FD หรือแบบ 69-DEBT-PO ต้องมีข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศห้าปีล่าสุด ก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปี เริ่มในปีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อนี้ ต้องระบุอย่างชัดเจนว่าประสงค์จะใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในการจัดทํางบการเงินและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 6/1 งบการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูล ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 6(1) ให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลในต่างประเทศ
(2) กรณีการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปตามข้อ 6(2) ให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย
(ข) International Financial Reporting Standards (IFRS)
(ค) Financial Accounting Standards (FAS)
(ง) United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP)
(จ) มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่หน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) หรือกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น ยอมรับหรือกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ได้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (Reconciled IFRS) ไว้ด้วย
(ฉ) มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่สํานักงานยอมรับ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,418 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 30/2558
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้
ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2556 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/1 ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,419 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 68/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 68/2558
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้
ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 69 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2557 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้กิจการตามกฎหมายต่างประเทศที่ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามมาตรา 56 สามารถเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เป็นสกุลเงินบาทในประเทศไทยโดยให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน หากผู้ออกหลักทรัพย์แสดงหลักฐานต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวได้ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(2) ยื่นร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง และจัดให้มีข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้โดยมีสาระไม่ต่างจากฉบับร่างที่ยื่นต่อสํานักงาน และในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ให้กระทําตามที่ระบุไว้ใน ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว โดยผู้ออกหุ้นกู้ต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นพร้อมทั้งส่งสําเนา
เอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อกําหนดสิทธิดังกล่าวมาใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรด้วย โดยอนุโลม
(3) ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนทั่วไป หรือเสนอขายหุ้นกู้ ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันพันธบัตรหรือหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวน และไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของพันธบัตรหรือหุ้นกู้
(4) เสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
(5) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(6) จัดให้มีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ออกหลักทรัพย์ให้เป็นตัวแทนของผู้ออกหลักทรัพย์ในประเทศไทยในการติดต่อกับหน่วยราชการหรือสํานักงาน รับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตลอดอายุของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าว
ข้อ 3/1 ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้แก่ผู้ลงทุน เว้นแต่
เป็นการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(2) จัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในพันธบัตรหรือ หุ้นกู้ ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) เป็นการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) เป็นการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1. เป็นการเสนอขายที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
2. เป็นการเสนอขายที่ประกาศฉบับนี้ไม่กําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ผู้ออกหลักทรัพย์จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ตาม หลักเกณฑ์ในข้อ 3 วรรคสอง (3) โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ
ตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2557 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
“ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในนามของรัฐบาลต่างประเทศ หากผู้ออกหลักทรัพย์ได้จัดทําข้อมูลทางการเงินที่แสดงฐานะการเงินและการคลังของประเทศตามที่กําหนดในข้อ 6(2) วรรคสาม ให้ถือว่าเป็นการจัดทํางบการเงินแล้ว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ภายหลังการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,420 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสำนักงานสาขา | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 31 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาต
ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 46/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสํานักงานสาขา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการมีสํานักงานสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าประเภทใด แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ซึ่งการจัดตั้งสํานักงานสาขาของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายอื่นนั้น
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักงานสาขา” หมายความว่า สํานักงานสาขาของผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะให้บริการแก่ลูกค้าในประเภทที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียน แล้วแต่กรณี ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบใด ซึ่งได้แก่สํานักงานสาขาดังต่อไปนี้
(1) สํานักงานสาขาในประเทศ
(2) สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
(3) สํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ
“สาขาเฉพาะออนไลน์” หมายความว่า สาขาของผู้ประกอบธุรกิจที่จัดให้มีเฉพาะคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาอื่น ซึ่งลูกค้าสามารถทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจได้โดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จัดไว้ให้เท่านั้น
“สํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ” หมายความว่า สาขาของผู้ประกอบธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศเพื่อให้บริการด้านข้อมูลหรือเพื่อการประสานงานตามขอบเขตที่ประกาศนี้กําหนด
“ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจอาจมีสํานักงานสาขาได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศ โดยจะเปิดทําการได้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1
(2) สํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ โดยจะเปิดทําการได้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 ในการดําเนินงานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง
ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณีด้วย
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๖ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
หมวด ๑ หลักเกณฑ์การมีสํานักงานสาขาในประเทศหรือ
สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ส่วน ๑ การอนุญาต
ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีเงินกองทุนหรือส่วนของผู้ถือหุ้นดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเรื่องดังกล่าว แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้ว ไม่ต่ํากว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทจัดการ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ และข้อกําหนดสําหรับบริษัทจัดการในการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน
(ค) ในกรณีของผู้ประกอบธุรกิจประเภทอื่นนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้วที่มีสถานะเป็นบวก ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการเพิ่มทุนภายหลังจากวันที่ในงบการเงินฉบับล่าสุด ผู้ประกอบธุรกิจอาจนําข้อมูลการเพิ่มทุนดังกล่าวมาคํานวณรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมได้
(2) มีระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าเพื่อระงับข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าและมีการเข้าร่วมโครงการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานเพื่อระงับข้อพิพาท เป็นต้น
(3) มีแผนงานเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจและมีความพร้อมของระบบงานเพื่อรองรับการมีสํานักงานสาขา ซึ่งต้องมีระบบการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องมีความพร้อมด้านบุคลากร
(4) มีผลการประเมินจากการตรวจสอบโดยสํานักงานในคราวล่าสุดในเรื่องการจัดการความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (operational risk) และการจัดการความเสี่ยงด้านลูกค้าสัมพันธ์ (customer relationship risk) ไม่เกินกว่าระดับปานกลางหรือระดับที่ยอมรับได้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(5) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด แต่ไม่เกินสามปีย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการสํานักงานสาขา หรือก่อนวันยื่นคําขออนุญาต แล้วแต่กรณี หรือหากอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษ หรือถูกดําเนินคดี หรือมีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าว แต่ได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว
(6) ในช่วงระยะเวลาสิบสองเดือนย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ หรือก่อนวันยื่นคําขออนุญาต แล้วแต่กรณี ไม่ปรากฏว่ามีความผิดในลักษณะที่เป็นการจงใจอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของผู้ประกอบธุรกิจ หรือหากปรากฏความผิดดังกล่าวแต่ได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว
(7) ไม่อยู่ระหว่างถูกคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานสั่งห้าม ระงับ หรือจํากัดการประกอบธุรกิจ หรืออยู่ระหว่างแก้ไขฐานะการเงินหรือการดําเนินงาน ตามคําสั่งของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงาน
(8) ไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องของระบบควบคุมภายใน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน หรือการจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและไม่อยู่ระหว่างการดําเนินการแก้ไขตามคําสั่งดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๘ ในการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของสํานักงานสาขาในประเทศ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานหากผู้ประกอบธุรกิจมีลักษณะครบถ้วนตามข้อ 7 ในวันเริ่มเปิดดําเนินการ และได้แจ้งรายละเอียดการมีสํานักงานสาขาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) ในกรณีของสํานักงานสาขาในต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมทั้งแสดงเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๙ ในการพิจารณาคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขาในต่างประเทศตามข้อ 8(2) ให้สํานักงานพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาคําขอให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปอีกได้ แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอได้ทราบถึงเหตุแห่งความจําเป็นดังกล่าวก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วนด้วย
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะขยายขอบเขตการให้บริการที่มากกว่าสาขาเฉพาะออนไลน์ที่เปิดดําเนินการอยู่แล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายละเอียดการขยายขอบเขตดังกล่าวให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันที่จะเปิดให้บริการ ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ส่วน ๒ การดําเนินงานของสํานักงานสาขาในประเทศหรือ
สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการเกี่ยวกับสํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใช้ถ้อยคําประกอบกับชื่อที่แสดงว่าเป็นสํานักงานสาขา และในกรณีที่เป็นสาขาเฉพาะออนไลน์ให้ระบุว่าเป็นการให้บริการเฉพาะออนไลน์ให้ชัดเจนด้วย
(2) จัดให้สํานักงานสาขามีความพร้อมในการเปิดดําเนินการ โดยจัดให้มีบุคลากรและทรัพยากรให้เพียงพอกับการดําเนินงาน ตลอดจนจัดให้มีการบริหารจัดการและระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) จัดให้มีการเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูและตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า
(4) รายงานให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่สํานักงานสาขาในต่างประเทศถูกหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายของประเทศที่สํานักงานสาขาในต่างประเทศตั้งอยู่ สั่งลงโทษหรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการดําเนินงานของสํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีผู้จัดการสํานักงานสาขา หรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีสํานักงานสาขาในประเทศหรือสาขาเฉพาะออนไลน์ ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา
(2) ในกรณีสํานักงานสาขาในต่างประเทศ ต้องจัดให้มีผู้จัดการสํานักงานสาขาเพื่อปฏิบัติงานประจําให้สํานักงานสาขาแห่งนั้นเพียงแห่งเดียว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ในกรณีที่ไม่มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาในประเทศหรือสาขาเฉพาะออนไลน์ในประเทศ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาดังกล่าว
ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการสํานักงานสาขาในต่างประเทศ หรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาเฉพาะออนไลน์ในต่างประเทศ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการสํานักงานสาขารายใหม่ หรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานรายใหม่ แล้วแต่กรณี ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ไม่มีบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยในช่วงระยะเวลานั้นผู้ประกอบธุรกิจต้องแต่งตั้งบุคลากรอื่นเป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานแทนเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๑๓ ผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา ผู้จัดการสํานักงานสาขาในต่างประเทศ หรือบุคลากรอื่นที่เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานแทนตามข้อ 12 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลตามวรรคหนึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบรายใหม่ซึ่งไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เป็นการให้บริการของสาขาเฉพาะออนไลน์ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดให้มีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการดําเนินงานเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้เท่านั้น
(1) การรับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อส่งให้สํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาอื่นพิจารณาอนุมัติ
(2) การให้ข้อมูลตามหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องเปิดเผยกับผู้ลงทุน
(3) การจัดให้มีช่องทางที่ลูกค้าสามารถขอคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากผู้ทําหน้าที่แนะนําการลงทุนที่สํานักงานใหญ่หรือที่สํานักงานสาขาอื่น
(4) การส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าต้องดําเนินการด้วยตนเอง
(5) การรับหรือส่งมอบเงิน
(6) การอื่นใดที่จําเป็นหรือเกี่ยวเนื่องตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในการดําเนินงานของสาขาเฉพาะออนไลน์ตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจอาจจัดให้มีบุคลากรเฉพาะเพื่อทําหน้าที่ในการประสานงานหรืออํานวยความสะดวกในการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่งก็ได้
ส่วน ๓ การควบคุมและการปิดทําการสํานักงานสาขาในประเทศ
หรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๑๕ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงานว่าสํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือเพิกถอนการอนุญาตการมีสํานักงานสาขาแห่งนั้นได้
(1) มีการดําเนินงานในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า
(2) มีการดําเนินงานในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของประเทศไทย หรืออาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีสํานักงานสาขาในต่างประเทศ
(3) ไม่สามารถดํารงลักษณะได้ตามข้อ 7
(4) ไม่มีการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน หรือระบบการจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ
(5) ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะปิดสํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศแห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้แจ้งวันปิดทําการต่อสํานักงานอย่างน้อยสามสิบวันก่อนดําเนินการปิดสํานักงานสาขา
ข้อ ๑๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ปิดสํานักงานสาขาในประเทศหรือสํานักงานสาขาในต่างประเทศ ปิดประกาศแจ้งให้ลูกค้าทราบตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศการปิดสํานักงานสาขาไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของสํานักงานสาขาแห่งนั้นเพื่อให้ทราบเป็นการทั่วไปล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการปิดประกาศจากสํานักงาน
(2) ประกาศตาม (1) ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางการติดต่อไปยังสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาแห่งอื่นด้วย
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การมีสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ
ข้อ ๑๘ สํานักงานผู้แทนในต่างประเทศที่ผู้ประกอบธุรกิจจะจัดตั้งขึ้นให้ดําเนินการได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ทําการศึกษา วิจัย และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการเงินในต่างประเทศ
(2) ทําหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน (Liaison Office) ระหว่างลูกค้าและสถาบันในต่างประเทศกับสํานักงานใหญ่ โดยไม่มีการให้บริการแก่ลูกค้าในลักษณะเดียวกับสํานักงานสาขาตามหมวด 1
(3) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลหรือประสานงานอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพิ่มเติม
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะมีสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ จะต้องมี ความพร้อมในการดําเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) มีแผนงานเพื่อรองรับการมีสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ
(2) มีความพร้อมของระบบงาน โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการจัดการด้านการปฏิบัติงาน ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องมีความพร้อมด้านบุคลากร
ในการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน หากผู้ประกอบธุรกิจมีลักษณะตามวรรคหนึ่งในวันเริ่มเปิดดําเนินการ และได้แจ้งรายละเอียดการมีสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจถูกหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายของประเทศที่สํานักงานผู้แทนในต่างประเทศตั้งอยู่ สั่งลงโทษหรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการดําเนินงานของสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๒๑ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงานว่าสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจมีการประกอบกิจการอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในข้อ 18 หรือดําเนินการอื่นใดอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของประเทศไทย หรืออาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่สํานักงานผู้แทนในต่างประเทศดังกล่าวตั้งอยู่ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตการมีสํานักงานผู้แทนแห่งนั้นได้
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีความประสงค์จะปิดสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศแห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้แจ้งวันปิดทําการต่อสํานักงานอย่างน้อยสามสิบวันก่อนดําเนินการปิดสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ และสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่มีการจัดตั้งและดําเนินการได้โดยชอบอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นสํานักงานสาขาของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,421 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสำนักงานสาขา (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 11 /2557
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาต
ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน เพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการสํานักงานสาขาหรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีสํานักงานสาขาในประเทศ ต้องจัดให้มีผู้จัดการสํานักงานสาขาหรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา
(2) ในกรณีสํานักงานสาขาในต่างประเทศ ต้องจัดให้มีผู้จัดการสํานักงานสาขาเพื่อปฏิบัติงานประจําให้สํานักงานสาขาแห่งนั้นเพียงแห่งเดียว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) ในกรณีสาขาเฉพาะออนไลน์ ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา
ข้อ 13 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการสํานักงานสาขาหรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา มีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 12 พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งดังกล่าวได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีสํานักงานสาขาในประเทศหรือสาขาเฉพาะออนไลน์ในประเทศ ให้แต่งตั้งผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาดังกล่าวแทนเป็นการชั่วคราว
(2) กรณีสํานักงานสาขาในต่างประเทศหรือสาขาเฉพาะออนไลน์ในต่างประเทศ ให้แต่งตั้งบุคลากรดังต่อไปนี้เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาดังกล่าวแทนเป็นการชั่วคราว
(ก) ผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจ
(ข) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ดํารงตําแหน่งในระดับควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจอยู่แล้วตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(3) ดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการสํานักงานสาขารายใหม่ หรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานรายใหม่ แล้วแต่กรณี ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือวันที่พ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันระยะเวลาดังกล่าวจากสํานักงาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,422 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสำนักงานสาขา (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 43/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้
ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ในการพิจารณาคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขาในต่างประเทศตามข้อ 8(2) ให้สํานักงานพิจารณาคําขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,423 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 21/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บทนิยามดังต่อไปนี้ ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้มีความหมายดังนี้
(1) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า บุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการตามมาตรา 89/1
2. (2) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลตามมาตรา 258 (1) ถึง (7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม
(3) “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และให้รวมถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 89/1 ซึ่งหมายถึง
(ก) กรรมการของนิติบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท
(ข) คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการตาม (ก)
(ค) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (ก) หรือ (ข) มีอํานาจควบคุมกิจการ
(ง) บุคคลใดที่กระทําการด้วยความเข้าใจหรือความตกลงว่า หากบริษัททําธุรกรรมที่ให้ประโยชน์ทางการเงินแก่บุคคลดังกล่าว บุคคลดังต่อไปนี้ จะได้รับประโยชน์ทางการเงินด้วย ทั้งนี้ เฉพาะการทําธุรกรรมดังกล่าว
1. กรรมการของบริษัท
2. ผู้บริหารของบริษัท
3. บุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท
4. กรรมการของบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท
5. คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตาม 1. 2. 3. หรือ 4.
(4) “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทย่อยตามมาตรา 89/1
ข้อ ๓ ในการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ของบริษัทตามมาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 ให้บริษัทปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
ในกรณีที่การทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง เป็นรายการที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือเป็นไปตามหลักการที่คณะกรรมการอนุมัติไว้แล้วตามมาตรา 89/12 (1)
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้คําว่า“สํานักงาน” แทนคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 3 บทนิยามคําว่า “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” ข้อ 6 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 18 ข้อ 20 และข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทย่อย
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,424 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 20/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องของบริษัท ตามมาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 ให้บริษัทปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมตามข้อ 3/1 หรือเป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 3/2”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 3/2 ในกรณีที่บริษัทเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หากบริษัทจะทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยประสงค์จะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้กระทําได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. (1) เป็นธุรกรรมที่อยู่ในแผนการควบ โอน หรือรับโอนกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
2. (2) การทําธุรกรรมจะเกิดขึ้นภายหลังบริษัทได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เพิกถอนหุ้นของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วยความสมัครใจตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และในการขอมติเพิกถอนหุ้นดังกล่าว บริษัทได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ก่อนแล้ว โดยระบุไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
3. (ก) แผนการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทและผู้ถือหุ้นรายใหญ่
4. (ข) การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นในการอนุมัติให้เข้าทําธุรกรรม ซึ่งจะไม่ห้ามการออกเสียงลงคะแนนของผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (ข) คําว่า “ส่วนได้เสีย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
1. (ค) คําเตือนผู้ถือหุ้นที่แสดงว่า ผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วยกับการทําธุรกรรม ต้องใช้สิทธิออกเสียงคัดค้านตั้งแต่การพิจารณาวาระการเพิกถอนหุ้นของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
2. (3) การทําธุรกรรมได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับ
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการควบ โอน หรือรับโอนกิจการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้การควบ โอน หรือรับโอนกิจการของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบ ที่มีการทําธุรกรรมที่เป็นการทํารายการที่เกี่ยวโยงกันเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการควบ โอน หรือรับโอนกิจการดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้ โดยยังมีมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนตามสมควร จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,425 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 79/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 79/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
“(5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชี หรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า และให้หมายความรวมถึงกรรมการตามมาตรา 89/1 ด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,426 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการเกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 2) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 8/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/12(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) และ (1/2) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
“(1/1) “กิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ” หมายความว่า
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีหน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนนั้น
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือนิติบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนนั้น
(1/2) “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า
(ก) ส่วนราชการ
(ข) องค์กรของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องของบริษัท ตามมาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 ให้บริษัทปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมตามข้อ 3/1”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 3/1 ในกรณีที่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันเป็นหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ หากเป็นธุรกรรมที่ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้ต้องขออนุมัติการตกลงเข้าทํารายการที่เกี่ยวโยงกันจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้บริษัทได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุมัติการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น หากธุรกรรมดังกล่าวได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทแล้ว”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในมาตรา 89/12 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้กับการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อย กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ ซึ่งโดยบทบาทและหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเป็นกิจการที่ให้บริการสาธารณะ การทําธุรกรรมเช่นนั้นจึงมิได้ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ของบริษัทหรือบริษัทย่อยไปยังกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัทกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,427 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 11/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 117 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4)ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํา กับผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หรือทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจการจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย และบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนหรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด**”**
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
หมายเหตุ - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,428 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 27/ 2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 98(5) มาตรา 100 มาตรา 109 มาตรา 117 มาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล
(2) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(4) “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(5) “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่บริษัทจัดการมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนให้แก่กองทุน
(6) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุน
(7) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
(8) “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(9) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๓ เพื่อให้บริษัทจัดการประกอบกิจการสมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุนในฐานะผู้มีวิชาชีพ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกและดูแลให้บุคลากรมีคุณสมบัติเป็นไปตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร มาตรการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํากับผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หรือทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่สํานักงานประกาศกําหนดให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจการจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย และบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนหรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) กํากับดูแลและตรวจสอบให้บุคลากรปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานกําหนดหรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(4) ต้องไม่ปฏิบัติฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ
ข้อ ๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ถึงนโยบายการลงทุน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือสัญญาที่กองทุนรวมมุ่งหมายจะลงทุน สภาพคล่องของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ชนิดของหน่วยลงทุน วิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการของตนได้
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการ และภายในระยะเวลา รวมทั้งได้แนบเอกสารหลักฐานประกอบจนครบถ้วน ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในการพิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติให้เหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนแต่ละประเภทได้
ข้อ ๕ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการใดแล้ว หากปรากฏเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมของสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) มูลค่าของหน่วยลงทุนที่ขายได้มีจํานวนไม่มากพอที่จะทําให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการลงทุนต่อไป
(2) ลักษณะการขายหน่วยลงทุน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุน หรือลักษณะของผู้ลงทุน ไม่ได้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
เมื่อการอนุมัติสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้ออย่างเป็นธรรมและภายในระยะเวลาอันสมควร
ข้อ ๖ ในการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม และต้องมีรายการที่เพียงพออันแสดงถึงลักษณะบ่งเฉพาะของแต่ละกองทุนรวม และมูลค่าของกองทรัพย์สิน โดยในกรณีที่ข้อมูลซึ่งจดทะเบียนไว้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในทะเบียน เพื่อทําให้ข้อมูลที่ปรากฏในทะเบียนเป็นปัจจุบัน
ข้อ ๗ เพื่อให้สอดคล้องกับการดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายด้านตลาดทุนในแต่ละช่วงเวลา หรือเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความชัดเจนในการเลือกใช้เครื่องมือในการลงทุนได้อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดประเภทหรือรายละเอียดของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการจะขออนุมัติจัดตั้ง หรือประเภทและลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับบริษัทจัดการได้
ข้อ ๘ ในการติดต่อชักชวนเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาของกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องพิจารณานโยบายการลงทุนของผู้ลงทุน และนําเสนอการลงทุนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ลงทุน โดยบริษัทจัดการต้องขอข้อมูลดังกล่าวจากผู้ลงทุนเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๙ ในการขายหน่วยลงทุนหรือการติดต่อชักชวนให้ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องเปิดเผยหรือดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนหรือเข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับบริษัทจัดการ อย่างเพียงพอ และภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และมีสาระไม่ต่างจากข้อมูลที่ได้ยื่นไว้กับสํานักงาน
ข้อ ๑๐ เพื่อให้การจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของลูกค้า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีกรอบหรือนโยบายการลงทุน ข้อห้ามการลงทุน และสิทธิของลูกค้าในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ การกําหนดข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าด้วย
ข้อ ๑๑ บริษัทจัดการในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจให้จัดการกองทุน ต้องบริหารและจัดการกองทุนโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง
ข้อ ๑๒ เพื่อให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เพื่อกองทุนจากหลักทรัพย์สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น การขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง หรือการหาดอกผลหรือแสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีอื่น แล้วแต่กรณี อย่างรัดกุมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์ของกองทุน ลักษณะของผู้ลงทุน รวมทั้งอยู่บนหลักของการกระจายความเสี่ยง ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดประเภทหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น การขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง หรือการหาดอกผลหรือแสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีอื่น แล้วแต่กรณี ที่กองทุนแต่ละประเภทจะลงทุนหรือมีไว้ได้ รวมทั้งกําหนดอัตราส่วนการลงทุนและเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติได้
ข้อ ๑๓ เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถบริหารการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ของกองทุนส่วนบุคคล ตลอดจนลักษณะของลูกค้า รวมทั้งมิได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะของกองทุนส่วนบุคคลอย่างไม่เหมาะสม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจก่อภาระผูกพันใด ๆ ในนามของกองทุนส่วนบุคคลได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดการวัดผลการดําเนินงาน และการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนด
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทจัดการปฏิบัติต่างจากหรือเพิ่มเติมจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดตามวรรคสอง
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการจะมอบหมายการจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้บุคคลอื่นกระทําแทน การมอบหมายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่ได้รับมอบหมายการจัดการดังกล่าวต้องเป็นบุคคลที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเป็นการจัดการลงทุนในต่างประเทศ บุคคลที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) และบุคคลดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสํานักงาน และ
(2) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือเมื่อได้ระบุไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นกองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
ในการมอบหมายการจัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง หรือการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุนบริษัทจัดการต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายอีกต่อไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการยกเลิกการมอบหมายหรือเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับมอบหมายโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๖ เพื่อให้กองทุนรวมเปิดมีทรัพย์สินสภาพคล่องเพียงพอต่อการรองรับการขายคืนหน่วยลงทุน และเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อมีการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้กองทุนรวมเปิดดํารงสภาพคล่อง และรายงานเกี่ยวกับการดํารงสภาพคล่อง ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๗ ในการจัดการกองทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อให้มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของกองทุนหรือลูกค้า เช่น กองทุนรวมมีประกัน กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ลูกค้าที่มีลักษณะการลงทุนเป็นแบบเดียวกัน เป็นต้น
ข้อ ๑๘ ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศของสํานักงานว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
ข้อ ๑๙ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติได้
(1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตลอดจนเมื่อเกิดการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าผิด
(2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน
(3) การควบหรือรวมกองทุนรวม
(4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุน
(5) วิธีปฏิบัติในกรณีที่กองทุนรวมเปิดมีสภาพคล่องไม่เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
(6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน
ข้อ ๒๐ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๒๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๒๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อรองรับการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,429 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 91/ 2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 เพื่อให้บริษัทจัดการประกอบกิจการสมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุนในฐานะผู้มีวิชาชีพ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกและดูแลให้บุคลากรมีคุณสมบัติเป็นไปตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร มาตรการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํากับผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หรือทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่สํานักงานประกาศกําหนดให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจการจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย และบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนหรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) กํากับดูแลและตรวจสอบให้บุคลากรปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานกําหนดหรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(4) ต้องไม่ปฏิบัติฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ
ข้อ 4 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) โครงการจัดการกองทุนรวม ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ถึงนโยบายการลงทุน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือสัญญาที่กองทุนรวมมุ่งหมายจะลงทุน สภาพคล่องของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ชนิดของหน่วยลงทุน วิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการของตนได้
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการ และภายในระยะเวลา รวมทั้งได้แนบเอกสารหลักฐานประกอบจนครบถ้วนตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ ในการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนได้
ในการพิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติให้เหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนแต่ละประเภทได้
ข้อ 5 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการใดแล้ว หากปรากฏว่าลักษณะการขายหน่วยลงทุน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุน หรือลักษณะของผู้ลงทุนไม่ได้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมของสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
เมื่อการอนุมัติสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้ออย่างเป็นธรรมและภายในระยะเวลาอันสมควร”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
การวัดผลการดําเนินงาน และการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพิ่มเติมจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดตามวรรคสอง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศของสํานักงานว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
(2) กรณีที่เป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีของกองทุนรวมที่มีการเลิกกองทุนภายในสิบห้าเดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือเป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีสุดท้ายของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีดังกล่าว ณ วันเลิกกองทุนเพียงครั้งเดียวได้ โดยมีระยะเวลาเกินสิบสองเดือนแต่ไม่เกินสิบห้าเดือน”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลที่ใช้ในการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม กระบวนการอนุมัติและการสิ้นสุดของการอนุมัติ ให้มีความเหมาะสมและชัดเจนมากขึ้นในทางปฏิบัติ (2) ปรับปรุงให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อกําหนดของสมาคมที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานในทุกกรณี (3) เพิ่มเติมข้อยกเว้นของการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของกองทุนรวมและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,430 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 48 /2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ในการติดต่อชักชวนเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาของกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณานโยบายการลงทุนของผู้ลงทุนและนําเสนอการลงทุนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ลงทุน โดยบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องขอข้อมูลดังกล่าวจากผู้ลงทุนเพื่อประกอบการพิจารณา
(2) ดําเนินการในลักษณะที่มิได้เป็นการรบกวนความเป็นส่วนตัว ก่อความรําคาญ หรือเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่อมิให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลติดต่อชักชวนให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาของกองทุนส่วนบุคคลในลักษณะที่เป็นการรบกวนความเป็นส่วนตัว ก่อความรําคาญ หรือเร่งรัดให้มีการตัดสินใจ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,431 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 2/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามคําขอได้
(1) กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุมัติตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดตั้งกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
(3) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 20/1 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด
(1) ข้อเท็จจริงตามข้อ 4/1(1) (2) (3) หรือ (4)
(2) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
(2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง
(3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ | 2,432 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 4/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 4 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 5 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจการจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย และต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,433 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 26 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,434 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 37/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 37/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 4/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดที่ถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในเรื่องเดียวกันตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ แนวทาง คําสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
ข้อ 5 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงข้อกําหนดที่ถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงข้อกําหนดในเรื่องเดียวกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,435 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 47/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 47/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 4/2 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้
(1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(2) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
(4) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมถูกสํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้วแต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินดังกล่าว (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน โดยในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินค่าจองซื้อและผลประโยชน์ (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้น จนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินจํานวนดังกล่าวได้ครบถ้วน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมถูกสํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมภายหลังจากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้ดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,436 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 13/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 134 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 37/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
“ข้อ 3 ในการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจจัดการกองทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,437 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 20/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์
หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ แต่ไม่รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ BASEL III”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,438 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 56/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือ
รับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาด
กองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และในกรณีที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้หมายถึงบุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(2) “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
(4) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(5) “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(6) “การชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
ข้อ ๒ บริษัทจัดการอาจตั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นตัวแทนของบริษัทจัดการได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทน บริษัทจัดการต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(2) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทน ให้ตั้งได้เฉพาะตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศ
การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง (2) บริษัทจัดการต้องตั้งนิติบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง (2) บริษัทจัดการต้องตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศ ซึ่งสามารถประกอบธุรกิจการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นตัวแทนขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศไทย ไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน
ข้อ ๓ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการจากตัวแทนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ รวมทั้งได้รับข้อมูลอย่าง เหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับบริษัทจัดการ ในการตั้งตัวแทนตามข้อ 2 บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําสัญญาตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ โดยกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และมีข้อสัญญากําหนดให้ตัวแทนปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(2) มีข้อสัญญากําหนดห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง
(3) ดูแลให้ตัวแทนปฏิบัติตามข้อสัญญาและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(4) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือข้อร้องเรียนจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้า ที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนหรือพนักงานของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลนั้นเช่นเดียวกับการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่เกิดจากการกระทําของพนักงานของตน
ข้อ ๔ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการนั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น หรือสั่งพักการอนุญาตการตั้งตัวแทนตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตการตั้งตัวแทนได้
ข้อ ๖ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,439 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 35/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืน
หน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และในกรณีที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้หมายถึงบุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(2) “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
(4) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(5) “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(6) “กองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟทองคําที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(7) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคล
(8) “การชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการตั้งตัวแทนของบริษัทจัดการในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) การตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
หมวด ๑ การตั้งตัวแทน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อ ๕ การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะกรณีตามข้อ 6 และข้อ 8
ข้อ ๖ การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา บริษัทจัดการต้องตั้งนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคํามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีติดต่อกันและเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงานยอมรับ
(2) กรรมการ ผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
(3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย
(4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทจัดการกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว
(5) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพที่ครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(6) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุน
ข้อ ๗ ในกรณีการตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้บริษัทจัดการทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
ข้อ ๘ การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศบริษัทจัดการต้องตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งสามารถประกอบธุรกิจการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นตัวแทนขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศไทยไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน
ข้อ ๙ การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศ ให้ทําได้เฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้
(1) การรับคําขอเปิดบัญชีและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้บริษัทจัดการพิจารณาอนุมัติ
(2) การเปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุนให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของบริษัทจัดการและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(3) การรับคําสั่งขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อส่งให้บริษัทจัดการทํารายการให้แก่ลูกค้า
(4) การให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือความเหมาะสมในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ส่วน ๒ การตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องตั้งนิติบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ส่วน ๓ สัญญาตั้งตัวแทน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ สัญญาตั้งตัวแทนต้องทําเป็นหนังสือและมีข้อสัญญาดังต่อไปนี้
(1) กําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(2) กําหนดให้ตัวแทนปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(3) กําหนดห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง
หมวด ๒ การดําเนินการของบริษัทจัดการ
เกี่ยวกับตัวแทน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒ บริษัทจัดการต้องดูแลให้ตัวแทนให้บริการแก่ผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับบริษัทจัดการ ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ตัวแทนปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 6 ข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ตลอดเวลา
ในกรณีที่ตัวแทนไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการยกเลิกการตั้งหรือเปลี่ยนแปลงตัวแทนโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๓ บริษัทจัดการต้องดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนหรือพนักงานของตัวแทน เช่นเดียวกับการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่เกิดจากการกระทําของตนหรือพนักงานของตน
ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการต้องกําหนดให้ตัวแทนจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ลงทุนไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทจัดการเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทจัดการต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานตลอดจนเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่ของตัวแทนในส่วนที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําการแทนได้
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงานในการสั่งการหรือออกกฎ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการหรือตัวแทนรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการนั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตการตั้งตัวแทนตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตการตั้งตัวแทนได้
หมวด ๔ บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๒๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทจัดการสามารถตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําได้ อันเป็นการสอดคล้องกับการอนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา (selling agent) ที่เป็นผู้ค้าทองคําซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,440 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 24/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืน
หน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
“(9) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) สถาบันการเงินอื่นใดนอกจาก (ก) และ (ข) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6
(2) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศ ในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ และเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงช่องทางการลงทุนในหน่วยลงทุนได้มากขึ้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6/1
(3) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (4) (5) และ (6) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) มีความพร้อมในการให้บริการอย่างเพียงพอที่จะทําให้การให้บริการแก่ผู้ลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทจัดการกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(5) มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําดังต่อไปนี้ที่มีประสิทธิภาพ
(ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(ข) ระบบการควบคุมภายใน
(ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ลงทุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ง) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(จ) ระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(6) มีบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุน แล้วแต่กรณี ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 6/1 การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศตามข้อ 5(2) บริษัทจัดการต้องตั้งนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในรูปของบริษัท รัฐวิสาหกิจดังกล่าวต้องมีกระทรวงการคลังถือหุ้นโดยตรงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) สามารถรับฝากเงิน รับถอนเงิน โอนเงิน หรือรับชําระเงิน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) มีเครือข่ายและช่องทางการให้บริการหรือติดต่อสื่อสารอย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้ลงทุนในวงกว้างได้
(4) มีความพร้อมด้านฐานะทางการเงิน โดยไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
(5) มีแผนการดําเนินงานที่ชัดเจนซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในระยะยาว
(6) มีความพร้อมในการให้บริการอย่างเพียงพอที่จะทําให้การให้บริการแก่ผู้ลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนรวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทจัดการกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (7) มีระบบงานที่เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ที่มีประสิทธิภาพ
(ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(ข) ระบบการควบคุมภายใน
(ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ลงทุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ง) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(จ) ระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย (8) มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ในกรณีบริษัทจัดการจะให้นิติบุคคลดังกล่าวให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับหน่วยลงทุนด้วย นิติบุคคลนั้นต้องมีบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุน แล้วแต่กรณี ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ในกรณีที่การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศตามข้อ 6 และข้อ 6/1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้บริษัทจัดการทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
“(4) กําหนดให้ตัวแทนให้ความร่วมมือกับสํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานตลอดจนเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่ของตัวแทนในส่วนที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการ”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 6 ข้อ 6/1 ข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณีตลอดเวลา”
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลโดยชอบอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และการดําเนินการดังกล่าวของบริษัทจัดการไม่เป็นไปตามระบบงานหรือสัญญาตั้งตัวแทนที่แก้ไขเพิ่มเติมในข้อ 4 และข้อ 8 ของประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขระบบงานและสัญญาตั้งตัวแทนดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อกําหนด ในประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผล ใช้บังคับ
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,441 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทข. 35/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล(ประมวล)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และในกรณีที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้หมายถึงบุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(2) “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(4) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(5) “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(6) “กองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟทองคําที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(7) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคล
(8) “การชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
(9)[1](#fn1) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) สถาบันการเงินอื่นใดนอกจาก (ก) และ (ข) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการตั้งตัวแทนของบริษัทจัดการในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) การตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
**หมวด 1**
**การตั้งตัวแทน**
**ส่วนที่ 1**
**การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน**
ข้อ 4[2](#fn2) การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ 5[3](#fn3) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6
(2) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศ ในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ และเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงช่องทางการลงทุนในหน่วยลงทุนได้มากขึ้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6/1
(3) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8
ข้อ 6 การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา บริษัทจัดการต้องตั้งนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคํามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีติดต่อกันและเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงานยอมรับ
(2) กรรมการ ผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
(3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย
(4)[4](#fn4) มีความพร้อมในการให้บริการอย่างเพียงพอที่จะทําให้การให้บริการแก่ผู้ลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนรวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทจัดการกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(5)[5](#fn5) มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําดังต่อไปนี้ที่มีประสิทธิภาพ
(ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(ข) ระบบการควบคุมภายใน
(ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ลงทุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ง) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(จ) ระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(6)[6](#fn6) มีบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุน แล้วแต่กรณี ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ 6/1[7](#fn7) การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศตามข้อ 5(2) บริษัทจัดการต้องตั้งนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงิน ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในรูปของบริษัท รัฐวิสาหกิจดังกล่าวต้องมีกระทรวงการคลังถือหุ้นโดยตรงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) สามารถรับฝากเงิน รับถอนเงิน โอนเงิน หรือรับชําระเงิน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) มีเครือข่ายและช่องทางการให้บริการหรือติดต่อสื่อสารอย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้ลงทุนในวงกว้างได้
(4) มีความพร้อมด้านฐานะทางการเงิน โดยไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
(5) มีแผนการดําเนินงานที่ชัดเจนซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในระยะยาว
(6) มีความพร้อมในการให้บริการอย่างเพียงพอที่จะทําให้การให้บริการแก่ผู้ลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทจัดการกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(7) มีระบบงานที่เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ที่มีประสิทธิภาพ
(ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(ข) ระบบการควบคุมภายใน
(ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ลงทุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ง) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(จ) ระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(8) มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการ ทั้งนี้ในกรณีบริษัทจัดการจะให้นิติบุคคลดังกล่าวให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับหน่วยลงทุนด้วยนิติบุคคลนั้นต้องมีบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุน แล้วแต่กรณี ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ 7[8](#fn8) ในกรณีที่การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศตามข้อ 6 และข้อ 6/1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้บริษัทจัดการทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
ข้อ 8 การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในต่างประเทศบริษัทจัดการต้องตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งสามารถประกอบธุรกิจการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นตัวแทนขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศไทยไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน
ข้อ 9 การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศ ให้ทําได้เฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้
(1) การรับคําขอเปิดบัญชีและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชีเพื่อส่งให้บริษัทจัดการพิจารณาอนุมัติ
(2) การเปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุนให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของบริษัทจัดการและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(3) การรับคําสั่งขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อส่งให้บริษัทจัดการทํารายการให้แก่ลูกค้า
(4) การให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือความเหมาะสมในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
**ส่วนที่ 2**
**การตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล**
ข้อ 10[9](#fn9) การตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องตั้งบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องตั้งนิติบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
**ส่วนที่ 3**
**สัญญาตั้งตัวแทน**
ข้อ 11 สัญญาตั้งตัวแทนต้องทําเป็นหนังสือและมีข้อสัญญาดังต่อไปนี้
(1) กําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(2) กําหนดให้ตัวแทนปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(3) กําหนดห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง
(4)[10](#fn10) กําหนดให้ตัวแทนให้ความร่วมมือกับสํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานตลอดจนเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่ของตัวแทนในส่วนที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการ
**หมวด 2**
**การดําเนินการของบริษัทจัดการ**
**เกี่ยวกับตัวแทน**
ข้อ 12 บริษัทจัดการต้องดูแลให้ตัวแทนให้บริการแก่ผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับบริษัทจัดการ ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ตัวแทนปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการชักชวนลูกค้า
(2)[11](#fn11) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 6 ข้อ 6/1 ข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณีตลอดเวลา
ในกรณีที่ตัวแทนไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการยกเลิกการตั้งหรือเปลี่ยนแปลงตัวแทนโดยไม่ชักช้า
ข้อ 13 บริษัทจัดการต้องดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนหรือพนักงานของตัวแทน เช่นเดียวกับการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่เกิดจากการกระทําของตนหรือพนักงานของตน
ข้อ 14 บริษัทจัดการต้องกําหนดให้ตัวแทนจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ลงทุนไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทจัดการเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 15 ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทจัดการต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานตลอดจนเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่ของตัวแทนในส่วนที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําการแทนได้
**หมวด 3**
**อํานาจของสํานักงานในการสั่งการหรือออกกฎ**
ข้อ 16 นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ 17 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการหรือตัวแทนรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการนั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตการตั้งตัวแทนตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตการตั้งตัวแทนได้
**หมวด 4**
**บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ**
ข้อ 18 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 19 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทข. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ 20 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ:
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14/09/2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30/09/2553 เล่ม 127 ตอนพิเศษ 114 ง
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21/07/2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 01/08/2557 เล่ม 131 ตอนพิเศษ 148 ง
---
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11. | 2,442 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 13/2552
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “หุ้นกู้ระยะสั้น” “หุ้นกู้อนุพันธ์” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ“ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “โครงการ” หมายความว่า โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(4) “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะได้กระทําภายใต้พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือไม่ก็ตาม
(5) “ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ” (originator) หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์ให้สินทรัพย์ของตนเป็นสินทรัพย์ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(6) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(7) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(8) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(9) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(10) “หุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทใด ๆ ที่ไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นกู้อนุพันธ์
(11) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(12) “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
(13) “ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้” (servicer) หมายความว่า ผู้ที่ให้บริการเรียกเก็บและรับชําระหนี้ที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง และดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์
ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในกรณีทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 1 และหมวด 2
(2) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในวงจํากัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 1 และหมวด 3
(3) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้นต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 1 และหมวด 4
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในแต่ละครั้งต่อสํานักงานตามข้อ 7 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการนั้น
ข้อ ๕ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้นิติบุคคลเฉพาะกิจมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่านิติบุคคลเฉพาะกิจไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการนั้นอีกต่อไป
ข้อ ๖ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการ จะต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์จํากัดเฉพาะการประกอบธุรกิจเฉพาะเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจไม่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการอื่น เว้นแต่สิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้ดังกล่าวจะระงับไปทั้งหมดแล้ว
(2) โครงการสําหรับหุ้นกู้ที่ขออนุญาตเป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว
(3) มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหุ้นกู้ไปชําระให้แก่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการโอนสินทรัพย์ตามโครงการ
ข้อ ๗ เอกสารหรือหลักฐานที่นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่ประกาศนี้กําหนด ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในกรณีทั่วไป
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๘ นิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการตามหมวดนี้ได้ จะต้องมีลักษณะเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้นหรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(4) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(5) ไม่เคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และไม่เคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการได้รับอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๙ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏว่านิติบุคคลเฉพาะกิจมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 8(4) หรือ (5)
ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตต่อนิติบุคคลเฉพาะกิจ เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีกในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้นิติบุคคลเฉพาะกิจมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 8(4) หรือ (5) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้วสํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๑ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้นิติบุคคลเฉพาะกิจทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของนิติบุคคลเฉพาะกิจในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) นิติบุคคลเฉพาะกิจมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน นิติบุคคลเฉพาะกิจอาจเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหุ้นกู้รุ่นหนึ่งหรือหลายรุ่นในคราวเดียว
(2) เสนอขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้รุ่นเดิมภายใต้วงเงินที่ระบุไว้ตามโครงการ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิมนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) มีกําหนดระยะเวลาการไถ่ถอนไว้ไม่เกินอายุโครงการ
(ข) เป็นหุ้นกู้ที่เสนอขายภายใต้ข้อกําหนดสิทธิหลักฉบับเดียวกันหรือที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ไม่ด้อยไปกว่าผู้ถือหุ้นกู้รุ่นเดิมที่จะไถ่ถอน ทั้งนี้ หุ้นกู้แต่ละรุ่นอาจมีข้อกําหนดในเชิงพาณิชย์ (commercial terms) ที่แตกต่างกันได้ เช่น อัตราดอกเบี้ย อายุ วันที่ออก วันที่ครบกําหนดไถ่ถอน เป็นต้น
สํานักงานอาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งได้ หากนิติบุคคลเฉพาะกิจแสดงได้ว่าการออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่ขออนุญาตจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นกู้ที่นิติบุคคลเฉพาะกิจเคยออกและเสนอขายไปแล้ว
ข้อ ๑๓ ในการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการจัดให้หุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายตามโครงการมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ตามโครงการ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ตามโครงการ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้ตามโครงการนั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๑๔ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้งตามโครงการ หรือ
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ตามโครงการ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ตามโครงการ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ตามโครงการนั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ส่วน ๒ เงื่อนไขการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายตามโครงการเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าว
นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ตามโครงการที่เป็นไปตามข้อ 14 อย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้ตามโครงการจะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ตามโครงการ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๑๖ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องมีหนังสือถึงสํานักงานเพื่อรับรองว่าได้จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการที่มีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลเฉพาะกิจและประทับตราสําคัญของนิติบุคคลเฉพาะกิจ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
นอกจากรายการตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) รายการทั่วไปของโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุถึงชื่อและที่อยู่ของผู้มีสิทธิเสนอโครงการ รวมทั้งประเภท ลักษณะและมูลค่าของสินทรัพย์ที่นิติบุคคลเฉพาะกิจรับโอนมาจากผู้มีสิทธิเสนอโครงการ
(2) ข้อกําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อพิจารณาดําเนินการอันจําเป็นตามควรโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือบุคคลอื่นใดที่เป็นคู่สัญญาที่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามโครงการ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาในสาระสําคัญ
(3) ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ และผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งข้อกําหนดให้การแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายใหม่ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนการแต่งตั้ง
(4) ข้อกําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องรายงานให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทราบถึง
การซื้อสินทรัพย์ รับโอน หรือโอนคืนสินทรัพย์ให้กับผู้มีสิทธิเสนอโครงการภายในกําหนดระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการทํารายการดังกล่าว
ข้อ ๑๗ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1. ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
2. วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
3. อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้นิติบุคคลเฉพาะกิจและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
4. อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) ข้อกําหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องติดตามให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้และผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) หรือบุคคลอื่นใดที่เป็นคู่สัญญาที่มี
ภาระผูกพันตามสัญญาที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ดําเนินการตามสัญญา
ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
(6) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๑๘ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ตามโครงการ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจส่งเอกสารต่อสํานักงานตามข้อ 7 เมื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้นิติบุคคลเฉพาะกิจส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการนั้น
ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้ตามโครงการนั้นเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๒๐ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้ตามโครงการนั้น จะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการหรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลังหลักประกันของหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ตามโครงการ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วยและต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้ตามโครงการนั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจจัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๒๑ ในกรณีการออกหุ้นกู้ตามโครงการมีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย นิติบุคคลเฉพาะกิจจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๒๒ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ตามโครงการภายหลังการออกหุ้นกู้ตามโครงการนั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของหมวดนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการ
ข้อ ๒๓ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามโครงการ โดยต้องรับโอนสินทรัพย์ตามจํานวนขั้นต่ําที่ระบุไว้ในโครงการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานอนุมัติโครงการ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(2) ต้องเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้รุ่นเดิมตามข้อ 12(2)
(3) จัดให้มีผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ โดยอาจจัดให้มีผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารองด้วยก็ได้
ในกรณีที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้หรือผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ ผู้ให้บริการดังกล่าวต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(ค) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางการ หรือ
(ง) นิติบุคคลที่มีลักษณะตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสามารถในการให้บริการหรือการจัดให้มีระบบเพื่อรองรับการเรียกเก็บหนี้
(4) ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
(5) รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกําหนดไถ่ถอนต่อสํานักงานตามข้อ 7 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการไถ่ถอน
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ที่ออกภายใต้โครงการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ต้องระบุไว้ให้ชัดเจนในคําเรียกชื่อหุ้นกู้ด้วยว่าเป็นหุ้นกู้ที่ออกภายใต้โครงการที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายดังกล่าว และเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
(2) เมื่อสถานะนิติบุคคลเฉพาะกิจสิ้นสุดลง ให้โอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือทั้งหมดกลับคืนให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการภายในสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นสุดสถานะดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร และให้รายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์ดังกล่าวต่อสํานักงานตามข้อ 7 ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ
ข้อ ๒๕ สัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ดังต่อไปนี้
(1) การจัดให้มีระบบบัญชีสําหรับการปฏิบัติหน้าที่และจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องแยกต่างหากจากส่วนงานอื่นของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้
(2) หน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายเดิมในการดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ โดยต้องกําหนดเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ไว้ให้ชัดเจน
(3) การโอนเงินที่เรียกเก็บได้จากสินทรัพย์เข้าบัญชีของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งต้องกระทําโดยเร็วที่สุด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่เรียกเก็บเงินได้ดังกล่าว โดยต้องกําหนดข้อห้ามนําเงินซึ่งได้รับมาเพื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจไปใช้เพื่อการอื่นใด ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจมีข้อตกลงที่จะหักกลบลบหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์กับผู้มีสิทธิเสนอโครงการซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ด้วย ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้มีสิทธิหักค่าซื้อ
สินทรัพย์จากเงินที่เรียกเก็บได้แต่ต้องโอนเงินส่วนที่เหลือเข้าบัญชีของนิติบุคคลเฉพาะกิจภายในระยะเวลาเดียวกัน
(4) การจัดทําและนําส่งรายงานเป็นรายไตรมาส ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการเรียกเก็บเงินจากสินทรัพย์ และยอดสินทรัพย์คงเหลือของโครงการต่อนิติบุคคลเฉพาะกิจและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง สัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารองต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารองตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
หมวด ๓ การเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ลักษณะการขายในวงจํากัดและการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๖ การเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในวงจํากัดต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตาม (2)
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้ตามโครงการแทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้ตามโครงการนั้น
(3) เสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(4) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยนิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตต่อเมื่อแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๒๗ ในกรณีเป็นการขอผ่อนผันเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 26(4) นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จะขอผ่อนผันต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ และสํานักงานอาจผ่อนผันให้นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับกับการ
เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าวก็ได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในวงจํากัดตามข้อ 26 เมื่อโครงการได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว หากนิติบุคคลเฉพาะกิจได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายตามโครงการกับสํานักงานตามความในวรรคสอง และยื่นเอกสารตามวรรคสาม ให้ถือว่านิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นแล้ว
การจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามโครงการกับสํานักงานตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่านิติบุคคลเฉพาะกิจจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการในครั้งนั้น ไม่สามารถคงลักษณะตามข้อ 26(1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจเสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนด้วย
ส่วน ๒ เงื่อนไขการอนุญาต
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้งตามโครงการ หรือ
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ตามโครงการ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ตามโครงการ
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 14 วรรคสองและข้อ 15 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๓๐ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการให้ออกหุ้นกู้ตามโครงการได้ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการนั้น เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัด ต้องได้รับมติให้ออกหุ้นกู้ตามโครงการที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด
ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) จัดให้หุ้นกู้ที่จะออกและเสนอขายตามโครงการมีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการ แสดงว่านิติบุคคลเฉพาะกิจจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ตามโครงการไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามโครงการตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 12 และข้อ 13(1) (2) และ (3)
(ค) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 19 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิตามโครงการ
(ง) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) ต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42(1) ถึง (9) และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง
(3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในวงจํากัดตามข้อ 26(2) (3) หรือ (4) ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 26(2) (3) หรือ (4) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
(4) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (2)(ก) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
(5) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23(1) (2) วรรคหนึ่งของ (3) (4) และ (5)
(6) ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 24 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกภายใต้โครงการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
(7) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการยื่นคําขอต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 15 วรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ตามโครงการ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ตามโครงการ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
หมวด ๔ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับโครงการ
ที่จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ข้อ ๓๒ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ข้อ ๓๓ นิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สามารถแสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ยื่นขออนุญาตจะกระทําต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(2) สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขาย หรือการโอนหุ้นกู้ที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ
ข้อ ๓๔ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 12
(2) ต้องมีคําเรียกชื่อหุ้นกู้ตามโครงการ อัตราดอกเบี้ย และมูลค่าไถ่ถอนที่เป็นไปตามข้อ 13(1) (2) และ (3)
(3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23(1) (2) วรรคหนึ่งของ (3) (4) และ (5)
(4) ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 24 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกภายใต้โครงการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีการจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบต่อเมื่อสามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายแห่งประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้นหรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
(2) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้น หรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อแสดงได้ว่ากฎหมายของประเทศดังกล่าวมีข้อห้ามการจัดตั้งทรัสต์การให้ความเห็นชอบผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศอื่นที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกตามมาตรา 41(3) และมาตรา 46
ข้อ ๓๖ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศภายในสามวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แนบเอกสารประกอบการเสนอขายไปพร้อมกับการแจ้งดังกล่าวด้วย
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้ประกาศนี้จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 45/2549 เรื่อง การจัดสรรกระแสรายรับตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และการรายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือของนิติบุคคลเฉพาะกิจ ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และเพื่อให้ตลาดตราสารหนี้ไทยมีการพัฒนาและขยายตัวมากขึ้น จึงได้ทําการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าวด้วย อันจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถออกหุ้นกู้ในลักษณะดังกล่าวได้สะดวกขึ้น รวมทั้งจัดกลุ่มประเภทผู้ลงทุนในวงจํากัดขึ้นใหม่ โดยให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มตามมาตรฐานสากล จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,443 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 38/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 38 /2555
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 10/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการนั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหุ้นกู้ตามโครงการหรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้ตามโครงการนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,444 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ.14 /2556
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(7) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการดังนี้
(ก) ยื่นคําขอต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง
(ข) เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนในการทําความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทน ของหุ้นกู้ตามโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้ตามโครงการกระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 36/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2554 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 36/2 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางในการควบคุมการใช้เงินตราต่างประเทศสําหรับผู้ลงทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมิได้อนุมัติให้ลงทุนในเงินตราต่างประเทศได้โดยตรง หรือผู้ลงทุนในหุ้นกู้ตามโครงการไม่ได้เป็นผู้ลงทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศและอนุพันธ์ นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้การเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการกระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,445 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34/2557
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 4/2554 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
“(6) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยนิติบุคคลเฉพาะกิจแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ตามโครงการ เฉพาะกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบอายุของหุ้นกู้ตามโครงการ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 28 ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในวงจํากัดตามข้อ 26 เมื่อโครงการได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้วและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่านิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นแล้ว
(1) ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายตามโครงการกับสํานักงาน ตามความในวรรคสอง และยื่นเอกสารตามวรรคสามแล้ว
(2) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยนิติบุคคลเฉพาะกิจแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้งตามโครงการ
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ตามโครงการ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ตามโครงการ
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 14 วรรคสองและการจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตามข้อ 15 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 14/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการยื่นคําขอต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 15 วรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 14/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
“(8) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ตามโครงการได้”
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,446 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 47/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 47/2557
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ของหมวด 1 บททั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/1 ในการจําหน่ายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการในกรณีทั่วไปตามหมวด 2 นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการในการชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ตามโครงการได้ และนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
“(9) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 26(1) นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนดังกล่าวก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,447 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 26 /2555
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์
หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) มาตรา 56 มาตรา 67มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “หุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือหุ้นกู้ตามปกติ เช่น ผู้ถือหุ้นกู้ผูกพันที่จะยอมขยายหรือย่นระยะเวลาการไถ่ถอนหุ้นกู้ หรือผู้ถือหุ้นกู้ผูกพันที่จะต้องซื้อหุ้นกู้จากผู้ออกหุ้นกู้เพิ่มเติม เป็นต้น
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
“ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้ และผู้ถือหุ้นกู้
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
คําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ สถาบันการเงินสามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อ
(1) มีการดําเนินการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3
ในกรณีที่หุ้นกู้ตามวรรคหนึ่งมีลักษณะเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพรวมอยู่ด้วย ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในวงจํากัดด้วย
ข้อ ๕ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศนี้ สามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายภายใต้การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว ทั้งนี้ การเสนอขายต้องกระทําภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลนั้นมีผลใช้บังคับ
ข้อ ๖ ในการเสนอขายหุ้นกู้แต่ละครั้งตามประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ด้วย
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้สถาบันการเงินจัดให้มีสัญญาหรือข้อกําหนดสิทธิกับผู้ถือหุ้นกู้ประกอบการเสนอขายหุ้นกู้นั้นด้วย
ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งมิให้การอนุญาตตามข้อ 4 มีผลหรือสั่งระงับการเสนอขายหุ้นกู้ได้
(1) สถาบันการเงินที่จะออกหรือเสนอขายหุ้นกู้อยู่ระหว่างถูกจํากัดหรือพักการประกอบธุรกิจโดยทางการหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินที่จะออกหรือเสนอขายหุ้นกู้มีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิด
ความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
(3) สถาบันการเงินที่จะออกหรือเสนอขายหุ้นกู้มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
(4) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือ
หุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ เมื่อมีการดําเนินการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้สถาบันการเงินได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
(1) สถาบันการเงินมีมติโดยชัดแจ้งให้ออกหุ้นกู้ ทั้งนี้ มติดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายที่จัดตั้งหรือกํากับดูแลสถาบันการเงินที่เสนอขายหุ้นกู้นั้น แล้วแต่กรณี
(2) ในกรณีเป็นการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันด้วยหรือไม่ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้
(3) ในกรณีเป็นการอนุญาตให้เสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ สถาบันการเงินที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ต้องมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ซึ่งมีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาทองคํา ดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สถาบันการเงินดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําธุรกรรมเกี่ยวกับอนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาหรือดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณีด้วย
(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะตามข้อ 10
(3) เป็นการเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนตามข้อ 11
(4) มีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน ซึ่งแสดงข้อความว่าสถาบันการเงินจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้นั้นไม่ว่าทอดใด ๆ แก่ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนตามข้อ 11 เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับหนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวของสถาบันการเงินนั้นแล้ว
(5) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น สถาบันการเงินต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 และให้ถือว่าวันที่สํานักงานแจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิงเป็นวันอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว
ข้อ ๑๐ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ต่ํากว่าฉบับละสิบล้านบาท
(2) มีปัจจัยอ้างอิงใดปัจจัยอ้างอิงหนึ่งดังนี้
(ก) ราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ไทย กลุ่มหลักทรัพย์ไทย หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ไทย
(ข) ราคาหรือผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ค) กระแสรายรับหรือรายจ่าย
(ง) ราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้า
(จ) ราคาทองคําหรือดัชนีราคาทองคํา
(ฉ) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ช) อัตราดอกเบี้ย
(ซ) อันดับความน่าเชื่อถือ หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารหนี้ พันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้อื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรืออันดับความน่าเชื่อถือ หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของผู้ออกตราสารดังกล่าวหรือของลูกหนี้ของผู้ขออนุญาต
(ฌ) เครดิตอนุพันธ์ (credit derivatives) อื่นนอกเหนือจาก (ซ) ทั้งนี้ ตามประเภทหรือลักษณะที่สํานักงานประกาศกําหนด
(ญ) ปัจจัยอ้างอิงอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนของหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของเงินต้นที่ได้รับมา เว้นแต่หุ้นกู้อนุพันธ์นั้นมีข้อกําหนดสิทธิให้ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์โดยได้รับชําระคืนเงินต้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็น
(ก) หลักทรัพย์
(ข) สิทธิในการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยอ้างอิงดังนี้
1. เงินตราต่างประเทศ
2. เครดิตอนุพันธ์ตาม (2) (ฌ)
3. ปัจจัยอ้างอิงอื่นที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ข้อ ๑๑ ให้สถาบันการเงินเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ได้เฉพาะกับผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ลงทุนสถาบัน ได้แก่
1. ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน
2. ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
3. บริษัทหลักทรัพย์
4. ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
5. บริษัทประกันวินาศภัย หรือบริษัทประกันชีวิต
6. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์หรือการดําเนินงานเกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการบริหารจัดการลงทุนในทํานองเดียวกัน
7. กองทุนรวม
8. กองทุนส่วนบุคคล
9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
10. ธนาคารแห่งประเทศไทย
11. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
12. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
13. สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
14. นิติบุคคลที่บุคคลตาม (ก) ถึง (ฐ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
15. ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ)
(2) ผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้แก่
(ก) ผู้ลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1. มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป
2. มีรายได้ต่อปีเมื่อรวมรายได้ของคู่สมรสตั้งแต่สี่ล้านบาทขึ้นไป
3. มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
(ข) ผู้ลงทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1. มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
2. มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป
ข้อ ๑๒ ให้สถาบันการเงินยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิงเพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยอนุโลม
ให้สถาบันการเงินชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในวันที่ยื่นคําขอ
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้
ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ สถาบันการเงินที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน ต้องมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(2) ต้องกําหนดมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันที่จะเสนอขายไม่ต่ํากว่าฉบับละสิบล้านบาท
(3) ต้องกําหนดมูลค่าไถ่ถอนหุ้นกู้ตามจํานวนเงินต้นที่ได้รับมา เว้นแต่มีข้อตกลงให้สถาบันการเงินไม่ต้องชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนตามที่ได้รับมา เมื่อผู้ถือหุ้นกู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ผูกพันผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าว แต่ต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของเงินต้นที่ได้รับมา
(4) เป็นการเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนตามข้อ 11
(5) มีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน ซึ่งแสดงข้อความว่าสถาบันการเงินจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้นั้นไม่ว่าทอดใด ๆ แก่ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนตามข้อ 11 เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับหนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวของสถาบันการเงินนั้นแล้ว
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศนี้ต้องดําเนินการจัดให้หุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อดังกล่าวต้องแสดงถึงประเภทของหุ้นกู้รวมทั้งปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้นั้น (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ
(3) มีข้อความในใบหุ้นกู้ที่แสดงถึงข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ซึ่งได้จดข้อจํากัดนั้นไว้กับสํานักงาน
(4) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) หรือหุ้นกู้มีประกัน ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 แล้วแต่กรณีด้วย
(5) ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกัน หรือเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๑๕ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายมีลักษณะเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกกิจการของสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๖ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายมีลักษณะเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอน เมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการ
(2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๑๗ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายมีลักษณะเป็นหุ้นกู้มีประกัน ไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้นั้นจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้ หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๑๘ ในการลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ให้เป็นไปตามข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน โดยหากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนดังกล่าว สถาบันการเงินต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ในกรณีที่การขอลงทะเบียนโอนหุ้นกู้กระทําผ่านบริษัทหลักทรัพย์ สถาบันการเงินสามารถใช้ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบจากบริษัทหลักทรัพย์แล้วว่า ผู้รับโอนหุ้นกู้เป็นผู้ลงทุนตามข้อ 11 เป็นหลักฐานในการลงทะเบียนการโอนก็ได้
ในกรณีที่สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องไม่เป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงนั้น
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นธรรมและระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะของหุ้นที่จะนํามาใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้นได้
สํานักงานสามารถผ่อนผันข้อกําหนดตามวรรคหนึ่งได้ เมื่อไม่มีเหตุให้สงสัยว่าการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อนุญาตจะมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตมีข้อกําหนดให้มีการชําระหนี้ทั้งหมดโดยการส่งมอบเป็นหุ้นอ้างอิงหรือชําระเป็นเงินเท่านั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่จะชําระเป็นเงิน มูลค่าที่ชําระต้องไม่อ้างอิงกับหุ้นอ้างอิงดังกล่าว
(2) สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตแสดงได้ว่ามีหุ้นอ้างอิงในจํานวนที่เพียงพอสําหรับส่งมอบเพื่อชําระหนี้ตามหุ้นกู้อนุพันธ์ และมีกลไกในการดูแลรักษาหุ้นอ้างอิงดังกล่าว โดยกลไกนั้นจะต้องสามารถป้องกันมิให้มีการนําหุ้นอ้างอิงไปใช้เพื่อการอื่นได้
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เข้าลักษณะยกเว้นตามข้อ 10(3) ห้ามมิให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนตามข้อ 11(2) เว้นแต่สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ลงทุนดังกล่าวมีภาระสอดคล้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ภาระสอดคล้อง” หมายความว่า การมีความเสี่ยงที่เกิดจากข้อตกลงหรือการประกอบธุรกิจ ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์และสามารถบริหารความเสี่ยงนั้นได้ด้วยการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์
ข้อ ๒๑ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการแจกเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของหุ้นกู้ (fact sheet) ไปพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้ด้วย
สรุปข้อมูลสําคัญของหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของหุ้นกู้ รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของหุ้นกู้ โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของหุ้นกู้ดังกล่าวด้วยก็ได้
ข้อ ๒๒ สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้ ต้องกระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแต่ลักษณะของการเสนอขาย โดยต้องจัดให้มีข้อตกลงให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยอนุโลมด้วย
สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจะไม่จัดให้การเสนอขายหุ้นกู้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งก็ได้ หากสถาบันการเงินมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทที่กําหนดในวรรคหนึ่งอยู่แล้ว และให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม แต่มิให้นําข้อห้ามเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน สําหรับการซื้อขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น
ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 8/1 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 ของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศนี้ โดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายหุ้นกู้นั้นจะกระทําผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม
หมวด ๓ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ วิธีการยื่น และค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๓ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน ให้สถาบันการเงินยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-SP ที่แนบท้ายประกาศนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน โดยให้สถาบันการเงินดําเนินการดังนี้
(1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลจํานวนหนึ่งชุด
(2) ส่งข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อมูลที่สถาบันการเงินยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๒๔ งบการเงินของสถาบันการเงินที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามมาตรา 56 โดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ให้สถาบันการเงินชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
ส่วน ๒ การรับรองข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๖ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือกรรมการที่มีตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของสถาบันการเงินลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
ในกรณีที่สถาบันการเงินเป็นธนาคารต่างประเทศซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือสถาบันการเงินดังกล่าวลงลายมือชื่อ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามตามที่กําหนดในข้อ 26 ไม่สามารถลงลายมือชื่อรับรองได้ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต สถาบันการเงินไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้สถาบันการเงินจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 28
ส่วน ๓ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๘ ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับในวันทําการที่สองถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดและมีข้อมูลตามรายการครบถ้วน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว
ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งภายหลังเวลา 10.00 น. ของวันทําการใด ให้ถือว่าสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในวันทําการถัดไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,448 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 36/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 36/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์
หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
“(3) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยสถาบันการเงินแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 22 ในการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 11(2) สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ได้ โดยต้องจัดให้มีข้อตกลงให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยอนุโลมด้วย
สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจะไม่จัดให้การเสนอขายหุ้นกู้กระทําผ่านบริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งก็ได้ หากสถาบันการเงินมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้อยู่แล้ว โดยให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ โดยอนุโลม แต่มิให้นําข้อห้ามเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินดังกล่าวสําหรับการซื้อขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,449 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 46/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์
หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 36/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 22 ในการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 11(2) สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้การเสนอขายหุ้นกู้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการในการชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ได้ เว้นแต่สถาบันการเงินมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการดังกล่าวตามประเภทของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม
(2) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,450 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 23/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ค้าสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
หมวด ๑ การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน
และการควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๒ ในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ค้าสัญญาต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีการประกอบกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ และปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเพื่อดํารงไว้ซึ่งความมั่นคงของตลาดทุนและระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
ข้อ ๓ ในการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ตามข้อ 2 ผู้ค้าสัญญาต้องมีการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ การจัดการด้านการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และการควบคุมภายใน อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๔ ให้ผู้ค้าสัญญาจัดให้มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน รวมทั้งสามารถนําไปใช้งานและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว
ให้ผู้ค้าสัญญาจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในระบบ โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบข้อมูลนั้นได้โดยเร็ว
ข้อ ๕ ผู้ค้าสัญญามีหน้าที่ตรวจสอบ ดูแล และรับผิดชอบให้พนักงานและผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ค้าสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
หมวด ๒ ข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจ
ข้อ ๖ ในการให้บริการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ค้าสัญญาเข้าเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน
หมวด ๓ มาตรฐานในการประกอบธุรกิจ
ข้อ ๗ ข้อกําหนดในหมวดนี้เป็นการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติงานของผู้ค้าสัญญา เพื่อให้ผู้ค้าสัญญาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า
ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ค้าสัญญาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
ข้อ ๙ ในการทําธุรกรรมกับลูกค้า ผู้ค้าสัญญาต้องมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าทุกรายอย่างเพียงพอ และมั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็น ผู้ลงทุนสถาบัน รวมทั้งผู้ค้าสัญญาต้องมีระบบในการจัดเก็บ ตรวจสอบ และทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ตลอดช่วงระยะเวลาที่ลูกค้ามีการทําธุรกรรมกับผู้ค้าสัญญา
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ค้าสัญญาจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญามอบหมายงานให้ผู้อื่นทําหน้าที่ในการติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า ให้ผู้ค้าสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย
ข้อ ๑๒ ผู้ค้าสัญญาต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการเสนอสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องมีการจัดกลุ่มลูกค้าและประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามระดับความเสี่ยง และต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ในการลงทุนและกําหนดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายอย่างเหมาะสมด้วย
ข้อ ๑๓ ผู้ค้าสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เว้นแต่ลูกค้าจะแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ความน่าเชื่อถือ และการประกอบธุรกิจของผู้ค้าสัญญา
(2) รายละเอียดและเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ผลกระทบในกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปลี่ยนแปลงไป
(4) ผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ
(5) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ค้าสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๔ อํานาจสั่งการและผลของการฝ่าฝืนประกาศ
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ค้าสัญญารายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ค้าสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นผู้ค้าสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๕ การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ผู้ค้าสัญญาได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 111 ประกอบกับมาตรา 114
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้สามารถกํากับดูแลการประกอบธุรกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,451 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 25/2554
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ในการให้บริการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ค้าสัญญาเข้าเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะกับลูกค้าดังต่อไปนี้
(1) ผู้ลงทุนสถาบัน
(2) นิติบุคคลอื่นที่ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่นิติบุคคลดังกล่าวมีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้อันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 และข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ในการทําธุรกรรมกับลูกค้า ผู้ค้าสัญญาต้องมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเพียงพอ และมั่นใจว่าได้เข้าเป็นคู่สัญญาเฉพาะกับลูกค้าตามที่กําหนดในข้อ 6 รวมทั้งต้องมีระบบในการจัดเก็บ ตรวจสอบ และทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ตลอดช่วงระยะเวลาที่ลูกค้ามีการทําธุรกรรมกับผู้ค้าสัญญา
ข้อ 10 ให้ผู้ค้าสัญญาจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ภายใต้บังคับข้อ 12/1 ผู้ค้าสัญญาต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการเสนอสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องมีการจัดกลุ่มลูกค้าและประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามระดับความเสี่ยง และต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ในการลงทุนและกําหนดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายอย่างเหมาะสมด้วย”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 12/1 ในการให้บริการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 6(2) ให้ผู้ค้าสัญญาเข้าเป็นคู่สัญญากับลูกค้าได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐานซึ่งมีความเสี่ยง (risk profile) ในทางตรงกันข้ามกับความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญา หรือเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถลดหรือจํากัดความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญาอย่างมีนัยสําคัญ และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติมยกเว้นความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเอง และก่อนเข้าเป็นคู่สัญญากับลูกค้า ผู้ค้าสัญญาต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ได้รับมอบอํานาจของลูกค้าได้ให้ความเห็นชอบในการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ค้าสัญญาแล้ว
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐานตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่สามารถแยกเป็นองค์ประกอบย่อยได้ หรือไม่มีการเพิ่มโครงสร้าง หรือเงื่อนไขใด ๆ เข้าไปในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ผู้ค้าสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบและเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ความน่าเชื่อถือ และการประกอบธุรกิจของผู้ค้าสัญญา
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ โครงสร้าง สินค้าหรือตัวแปร และเงื่อนไข ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กําไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งรายละเอียดวิธีการคํานวณกําไร ขาดทุน ประโยชน์หรือผลตอบแทนดังกล่าว
(4) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายในสถานการณ์ที่เป็นผลลบกับลูกค้ามากที่สุด
(5) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ค้าสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับลูกค้าดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายต่างประเทศ
(2) ลูกค้าอื่นที่มิใช่กรณีตาม (1) ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ค้าสัญญาว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น”
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,452 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 1 / 2556
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3)
### อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/1 ในการให้บริการเป็นผู้ค้าสัญญากับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 6(2) ให้ผู้ค้าสัญญาเข้าเป็นคู่สัญญากับลูกค้าได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของลูกค้า โดยต้องมีความเสี่ยง (risk profile) ในทางตรงกันข้ามกับความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญา หรือเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถลดหรือจํากัดความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญาอย่างมีนัยสําคัญและต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติมยกเว้นความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเอง
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้าสัญญาต้องตรวจสอบจนมั่นใจว่าผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ได้รับมอบอํานาจของลูกค้าได้ให้ความเห็นชอบในการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ค้าสัญญาก่อนเข้าทําสัญญาแล้ว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,453 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คำแนะนำการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 47 /2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการ
เกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 112 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 36/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(3) “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้สนใจจะลงทุนในหน่วยลงทุน หรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
(4) “ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนและบริษัทหลักทรัพย์ได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจ
(5) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(6) “ขาย” ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย
(7) “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน และหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์
(8) “หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ขายควบคู่ไปกับการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน
(9) “กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” หมายความว่า กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทําสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีการตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชําระค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทประกันชีวิตสําหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิต
(10) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และ
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ในกรณีที่มีข้อกําหนดเป็นการเฉพาะสําหรับธุรกรรมประเภทใด บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเพิ่มเติม เมื่อให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนในธุรกรรมประเภทนั้น
ข้อ ๔ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว
หมวด ๒ หลักในการดําเนินธุรกิจ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพที่ได้รับความไว้วางใจให้ทําหน้าที่ให้คําแนะนําการลงทุน และให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวัง รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานของผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันนั้น พึงกระทํา
(2) ดําเนินธุรกิจโดยคํานึง และดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาดโดยรวม (3) มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
(4) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
(5) ปฏิบัติต่อผู้ลงทุนอย่างเป็นธรรม และคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(6) มีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้ทราบตัวตนที่แท้จริงและความต้องการของผู้ลงทุน
(7) ให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด
(8) ใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้มั่นใจถึงความเหมาะสมของข้อมูลการลงทุนและคําแนะนําที่ให้แก่ผู้ลงทุน ตลอดจนการตัดสินใจดําเนินการใด ๆ เพื่อผู้ลงทุน
(9) ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าบริษัทหลักทรัพย์กับผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ลงทุนด้านธุรกิจหลักทรัพย์กับผู้ลงทุนในธุรกิจด้านอื่นของบริษัทหลักทรัพย์
(10) มีมาตรการอย่างเพียงพอในการคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ลงทุน
(11) ดําเนินธุรกิจและควบคุมดูแลพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการดําเนินธุรกิจ
(12) ให้ความร่วมมือกับสํานักงานอย่างเต็มที่ โดยต้องแจ้งหรือเปิดเผยข้อเท็จจริงทุกประการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบดูแลของบริษัทหลักทรัพย์อันเป็นประโยชน์หรือจําเป็นต่อการกํากับดูแลบริษัทหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม
หมวด ๓ ระบบงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีการจัดโครงสร้างและระบบงานของบริษัทหลักทรัพย์ให้สามารถรองรับงานในการรับผิดชอบตามประเภทธุรกิจได้อย่างมีคุณภาพและสามารถควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามหลักในการดําเนินธุรกิจในหมวด 2 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจึงวางแนวทางในการจัดให้มีโครงสร้างและระบบงานของบริษัทไว้ดังต่อไปนี้
(1) โครงสร้างการบริหารงาน
(ก) การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบภายในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ข) บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง
(ค) การคัดเลือกและดูแลบุคลากรให้เหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
(2) การให้คําแนะนําและให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ก) การเปิดบัญชีและการให้คําแนะนํา
(ข) การติดต่อชักชวนและการให้คําแนะนํา
(ค) การรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุน
(ง) การปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน
(จ) การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(ฉ) การจัดการเรื่องร้องเรียน
(3) การดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้ลงทุน
(ก) การแยกทรัพย์สินของผู้ลงทุนออกจากทรัพย์สินส่วนตัวของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) การเก็บรักษา ตรวจสอบ ดูแล เบิกจ่าย และการจัดทําบัญชีทรัพย์สินผู้ลงทุนรวมทั้งการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สิน
(4) การบริหารความเสี่ยง
(5) การกํากับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
(6) การควบคุมภายใน
(7) การจัดการและจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
หมวด ๔ การดําเนินการเกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและ
การให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหมวด 2 และหมวด 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเปิดบัญชีและการรู้จักกับผู้ลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2
(2) การให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 3
ข้อ ๘ ข้อมูลหรือคําแนะนําที่ผู้ลงทุนได้รับจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับลักษณะความเสี่ยงและความเหมาะสมในการลงทุนในหน่วยลงทุนต้องครบถ้วน
(2) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่เหมาะสมกับข้อมูลผู้ลงทุนที่มีความถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(3) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง
(4) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่ได้ลงทุนในหน่วยลงทุนนั้นแล้ว
ส่วน ๒ การเปิดบัญชีและการรู้จักกับผู้ลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ก่อนการเปิดบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งสิทธิต่าง ๆ ที่ควรทราบแก่ผู้ลงทุน รวมทั้งตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ลงทุน และดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายด้วย
ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําข้อมูลผู้ลงทุน โดยต้องขอข้อมูลจากผู้ลงทุนเพื่อประกอบการดําเนินการดังกล่าวด้วย
ข้อมูลผู้ลงทุนที่ใช้ในการประมวลผลตามข้อ 11 ต้องจัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนไม่เกินกว่าสองปี
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบในการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากผู้ลงทุนแต่ละรายในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบการให้คําแนะนําที่สอดรับกับระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(1) วัตถุประสงค์ในการลงทุน
(2) ประสบการณ์ในการลงทุน
(3) ฐานะการเงิน
(4) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน
(5) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
(6) ปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ลงทุนที่จําเป็นต่อการให้คําแนะนําที่สอดรับกับระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ลงทุนรายใดปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ตามที่กําหนดในข้อ 11 บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิเสธไม่ให้คําแนะนําการลงทุนและไม่ขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนรายดังกล่าว
ข้อ ๑๓ การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีนโยบายการลงทุนในประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์จะไม่ดําเนินการตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12 ก็ได้
ข้อ ๑๔ สัญญาที่ทํากับผู้ลงทุนต้องครอบคลุมถึงขอบเขตการให้บริการ สิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทหลักทรัพย์ และต้องไม่มีข้อความที่ปฏิเสธความรับผิดชอบของบริษัทหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนจากการกระทําหรือละเว้นการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทหลักทรัพย์หรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์
ส่วน ๓ การให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการ
ซื้อขายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕ ก่อนการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการให้คําแนะนําที่เหมาะสมถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ลงทุน โดยพิจารณาจากผลของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากผู้ลงทุน
(2) จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ลงทุน
การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีนโยบายการลงทุนในประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์จะไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) ก็ได้
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่ประสงค์จะลงทุนในหน่วยลงทุนตามคําแนะนํา
ของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ผู้ลงทุนประสงค์จะลงทุนในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีระดับความเสี่ยงที่สูงกว่าระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้
(2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้สามารถยืนยันได้ว่าผู้ลงทุนได้รับทราบถึงระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมตาม (1) แล้ว
ข้อ ๑๗ ในการจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนโดยผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศว่ามีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถดําเนินการให้คําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น
(2) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศทราบ
(3) แจ้งชื่อและที่อยู่ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการให้คําแนะนําได้ และ
(4) ในกรณีที่มีการแปลบทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลให้การแปลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ
ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO)
ข้อ ๑๘ การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด ในจํานวนที่เพียงพอเพื่อเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํากับผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน หรือวิเคราะห์การลงทุนในหน่วยลงทุน
(2) ควบคุมดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนอย่างเหมาะสม
(3) จัดให้มีช่องทางอย่างเพียงพอและเหมาะสมที่ทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุนได้
(4) จัดให้มีระบบการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการขายหน่วยลงทุนดังกล่าวมิได้รบกวนความเป็นส่วนตัว ก่อความรําคาญ หรือเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจ
(5) ในการขายหน่วยลงทุนที่มีการส่งเสริมการขายหรือบริการเสริม บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการด้วยความยุติธรรมและไม่โน้มน้าวจูงใจให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิด หรือเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนโดยมิได้คํานึงถึงความเสี่ยงหรือความเหมาะสมในการลงทุน
(6) ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนดังต่อไปนี้
(ก) การจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใด และ
(ข) การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตน
(7) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบอย่างครบถ้วนและชัดเจนกรณีที่มีการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนที่แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๑๙ การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีวิธีดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับข้อมูลและคําแนะนําครบถ้วน
ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งวันเริ่มให้บริการและรายละเอียดของการให้บริการ พร้อมทั้งนําส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานทราบก่อนวันเริ่มให้บริการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๐ การขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ต่อประชาชนครั้งแรก ให้นําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในสามวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาจองซื้อ
(2) ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้นําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์นั้น
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เป็นครั้งแรกสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแต่ละกรมธรรม์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนในการยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน โดยในกรณีที่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนยกเลิกคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ บริษัทหลักทรัพย์จะเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมิได้
หมวด ๕ การเก็บเอกสารหลักฐาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคําขอเปิดบัญชี ข้อมูลผู้ลงทุน และผลของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากผู้ลงทุนทั้งหมด โดยให้จัดเก็บตลอดระยะเวลาที่ผู้ลงทุนเป็นลูกค้า และจัดเก็บต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชี ทั้งนี้ การจัดเก็บดังกล่าวต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า
(2) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งรวมถึงเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 15 และข้อ 16 โดยให้จัดเก็บไว้ให้
ครบถ้วนอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ซื้อขาย ทั้งนี้ การจัดเก็บในระยะเวลาหนึ่งปีแรกต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า
(3) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้คําแนะนํา ซึ่งรวมถึงบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใด โดยให้จัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา
ในกรณีที่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการซื้อขายหน่วยลงทุน หากการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนไว้ต่อไป จนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
หมวด ๖ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการประกอบธุรกิจการเป็น
นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์
และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ที่เป็นหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ บริษัทหลักทรัพย์จะซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในตลาดรองได้ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) โครงการจัดการกองทุนรวม และข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องไม่มีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์จะให้บริการซื้อขาย
(2) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนตรงกับวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องซื้อขายหน่วยลงทุนในราคาเดียวกับราคาขายหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
(3) การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (2) บริษัทหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศล่าสุด ตลอดจนข้อมูลอื่นที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งสามารถทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงความแตกต่างระหว่าง
การซื้อขายหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์กับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้
ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ
ส่วน ๒ การเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๓ ในการทําหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของผู้ลงทุนในการซื้อขายหน่วยลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว โดยอนุโลม
ส่วน ๓ การเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน
แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(Omnibus Account)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบในการปฏิบัติงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับการปฏิบัติอย่างสุจริตและเป็นธรรมในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ลงทุน
(ข) การแยกทรัพย์สินของผู้ลงทุนออกจากทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์
(ค) การดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้ลงทุน
(ง) การจัดทํารายงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน และ
(จ) การจัดส่งรายงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม
ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งระบบงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าก่อนดําเนินการ
(2) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะปฏิบัติต่อผู้ลงทุนในเรื่องใดซึ่งมีผลทําให้ผู้ลงทุนได้รับเงื่อนไขหรือสิทธิประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกับการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบเปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีหลักฐานที่แสดงว่าผู้ลงทุนทราบและยอมรับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกันนั้นแล้ว ทั้งนี้ การปฏิบัติดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งและไม่น้อยกว่าหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการจัดสรรและการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของบัญชีดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าอัตราที่กําหนด
(2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าอัตราที่กําหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นให้ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ต้องระบุด้วยว่าเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามกรณีใด
(3) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ เมื่อบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าอัตราที่กําหนด มีการลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนจนเป็นไปตามอัตราที่กําหนดแล้ว
(4) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่ต้องห้ามมิให้นับรวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว
การพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่ได้รับเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่ออกให้โดยบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่ผู้ลงทุนสามารถใช้แสดงสิทธิในความเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ และในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ลงทุน ให้ระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นในหลักฐานดังกล่าวด้วย
ส่วน ๔ การค้าหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๗ ในการค้าหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) แจ้งราคาเสนอซื้อขายและกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผลให้ผู้ลงทุนทราบ โดยกรณีที่การเสนอซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข บริษัทหลักทรัพย์ต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ผู้ลงทุนทราบโดยชัดเจนด้วย
(2) รับซื้อหรือขายตามราคาเสนอซื้อขาย โดยบริษัทหลักทรัพย์จะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ผู้ลงทุนได้อย่างชัดเจนด้วย
(3) ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด หากโครงการจัดการกองทุนรวมนั้นมีการกําหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลสภาพคล่องไว้ ผู้ค้าหน่วยลงทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวด้วย
ส่วน ๕ การจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๘ ในการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ในกรณีที่ในหนังสือชี้ชวนไม่กําหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนไว้ ให้ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนกําหนดรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจองซื้อ และเงื่อนไขในการจัดสรรหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบโดยเปิดเผยก่อนการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้นั้นด้วย
(2) นําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหน่วยลงทุนของผู้เสนอขาย หน่วยลงทุน หรือแยกเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนเรียกเก็บเงินจากผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ
(3) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรภายในสิบสี่วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย หากไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น
หมวด ๗ บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 แล้วแต่กรณี ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๓๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําของบริษัทหลักทรัพย์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งจะทําให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถให้บริการแก่ผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจ และเกิดความเชื่อมั่นในภาพรวมของธุรกิจหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,454 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คำแนะนำการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 11 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและ
การให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47 /2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47 /2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) จัดให้มีผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้คําแนะนํากับผู้ลงทุน หรือวิเคราะห์การลงทุนในหน่วยลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในจํานวนที่เพียงพอ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,455 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คำแนะนำการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 2 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการ
เกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ก่อนการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการให้คําแนะนําที่เหมาะสมถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ลงทุน โดยพิจารณาจากผลของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากผู้ลงทุน
การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีนโยบายการลงทุนในประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์จะไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
“ข้อ 15/1 ในการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องจัดส่งหรือแจกจ่ายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนทุกรายพร้อมใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน หรือดําเนินการโดยวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนทุกรายได้รับข้อมูลในหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน
(2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้จัดส่งหรือแจกจ่าย ณ จุดขายด้วยวิธีการใด ๆ ที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้รับหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวอย่างทั่วถึง
หนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่งหรือแจกจ่ายตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการและข้อมูลตรงกับรายการและข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งรวมถึงเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 15 ข้อ 15/1 และข้อ 16 โดยให้จัดเก็บไว้ให้ครบถ้วนอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ซื้อขาย ทั้งนี้ การจัดเก็บในระยะเวลาหนึ่งปีแรกต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,456 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทลธ. 3/2555
เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุน
และแนะนําการลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจในการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(4) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(5) การจัดการกองทุนรวม
(6) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(7) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(8) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(9) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจในธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม
“ผู้รับผิดชอบในการดําเนินงาน” หมายความว่า บุคคลที่ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม
“ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
“ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
“กองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟทองคําที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) แพลทินัม หรือทรัพย์สินอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการแต่งตั้งและให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้งบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุนตามหมวด 1
(2) การให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุนตามหมวด 2
(3) หน้าที่ภายหลังได้รับความเห็นชอบตามหมวด 3
(4) มาตรการบังคับตามหมวด 4
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีการจัดตั้งสมาคมที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับความเห็นชอบให้ทําหน้าที่กํากับดูแลบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจกําหนด
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบ การขอและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบบุคลากร รวมทั้งมาตรการบังคับ ตามประกาศนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดก็ได้
ข้อ ๖ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว
หมวด ๑ การแต่งตั้งบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและ
แนะนําการลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจจะแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) วิเคราะห์การลงทุน ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) แนะนําการลงทุน ซึ่งได้แก่ การติดต่อ การชักชวน การให้คําแนะนํา หรือการวางแผนการลงทุนให้ผู้ลงทุน เพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๘ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามข้อ 7
(1) การปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) การแนะนําการลงทุนด้านตราสารหนี้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประเภทการค้าหลักทรัพย์ได้แต่งตั้งผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้กับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในการปฏิบัติหน้าที่แนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ ๙ เมื่อผู้ประกอบธุรกิจมีการแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 7 แล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) รายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) กํากับดูแลและตรวจสอบให้บุคคลที่ตนแต่งตั้งปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนมาตรฐานการปฏิบัติงานที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุนหรือสมาคมกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่ใช้บังคับกับบุคคลนั้นเองหรือส่วนที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจ
หมวด ๒ การให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุน
และแนะนําการลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ประเภทและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามที่กําหนดในตารางประเภทธุรกรรมที่ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้แนะนําการลงทุนสามารถทําได้ แนบท้ายประกาศนี้
ส่วน ๑ การยื่นคําขอความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ การยื่นคําขอความเห็นชอบตามส่วนนี้ ให้กระทําได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12
(2) กรณีการขอความเห็นชอบภายหลังการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 และข้อ 13
(3) กรณีการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 และข้อ 14
ข้อ ๑๒ ให้บุคคลที่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนยื่นคําขอความเห็นชอบผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว (ถ้ามี)
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บุคคลที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตที่เคยได้รับความเห็นชอบ โดยใช้คุณสมบัติการเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมความรู้ (full course) หรือหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้แนะนําการลงทุน แนบท้ายประกาศนี้ แทนการผ่านการทดสอบหลักสูตรความรู้ที่เกี่ยวข้อง ให้บุคคลนั้นยื่นคําขอและชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) หกสิบวันนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุดสิ้นสุดลง ในกรณีที่การให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุดนั้นใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งเป็นผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) ห้าปีนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุดสิ้นสุดลง ในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (1)
การเข้ารับการอบรมหลักสูตรตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการอบรมหลักสูตรที่กําหนดโดยสํานักงานหรือโดยหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขอเพื่อต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้บุคคลที่ประสงค์จะต่ออายุดังกล่าวยื่นคําขอและชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 ได้ตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงวันที่ 15 ธันวาคมของปีที่การให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลง
ข้อ ๑๕ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งให้บุคคลที่ขอความเห็นชอบชี้แจง ดําเนินการ หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ในกรณีที่บุคคลที่ขอความเห็นชอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบอีกต่อไป
ข้อ ๑๖ ให้สํานักงานเปิดเผยผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งบุคคลที่ขอความเห็นชอบเป็นหนังสือโดยระบุถึงเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
ข้อ ๑๗ บุคคลที่ประสงค์จะได้รับหลักฐานการได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือ ให้ยื่นคําขอผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ บุคคลที่จะได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์ทํางาน และทดสอบผ่านหลักสูตรของสํานักงานหรือของหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติผู้ขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้แนะนําการลงทุน หรือตารางคุณสมบัติของบุคคลที่ขอความเห็นชอบในการต่ออายุเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้แนะนําการลงทุน แล้วแต่กรณี แนบท้ายประกาศนี้
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (2) และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบ
ข้อ ๑๙ การให้ความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุน ให้มีอายุสองปีปฏิทิน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ในกรณีที่วันเริ่มมีผลของการให้ความเห็นชอบไม่ตรงกับวันเริ่มต้นแห่งปีปฏิทิน มิให้นับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของปีที่ได้รับความเห็นชอบรวมในระยะเวลาสองปีปฏิทิน ทั้งนี้ มิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
(2) ในกรณีเป็นการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนประเภทอื่นมาก่อนแล้ว และอายุการให้ความเห็นชอบประเภทอื่นนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่เหนือกว่าประเภทที่ให้ความเห็นชอบครั้งก่อน ให้อายุการให้ความเห็นชอบครั้งก่อนสิ้นสุดลงในวันที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีผล
(ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้อายุการให้ความเห็นชอบทุกประเภทสิ้นสุดลงพร้อมกับอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด
(3) ในกรณีที่เป็นการให้ความเห็นชอบบุคคลใดให้ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนโดยใช้คุณสมบัติดังต่อไปนี้ ให้อายุการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าว
(ก) การเป็นผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน
(ข) การเป็นผู้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนหรือผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๓ หน้าที่ภายหลังได้รับความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๐ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
(2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(3) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา วางแผน หรือการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่ใช้บังคับกับตนเอง หรือผู้ประกอบธุรกิจ
(4) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุนที่สํานักงานยอมรับ
(5) ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
หมวด ๔ มาตรการบังคับ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้สํานักงานดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 20 ให้สํานักงานดําเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผลบังคับของการมีลักษณะต้องห้ามและการพิจารณาลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ในกรณีบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบรายใดเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นตัวแทนของสมาชิกในการซื้อขายด้วยระบบการซื้อขาย หากบุคคลดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนด และการกระทําดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกันในประกาศนี้ และตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้ดําเนินการลงโทษกับบุคคลดังกล่าวตามกฎเกณฑ์ของตนแล้ว สํานักงานจะไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 21 กับบุคคลนั้นอีกก็ได้ หากเห็นว่าบุคคลดังกล่าวได้รับโทษอย่างเหมาะสมแล้ว
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงโทษด้วยการปรับเป็นเงิน
“สมาชิก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๓ ในหมวดนี้
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ตามประกาศที่ สข. 49/2552
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามประกาศที่ สข. 50/2552
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ตามประกาศที่ สข. 49/2552
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ตามประกาศที่ สข. 50/2552
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่จํากัดการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่จํากัดการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา ตามประกาศที่ สข. 49/2552
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่จํากัดการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่จํากัดการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ตามประกาศที่ สข. 50/2552
“ประกาศที่ สข. 49/2552” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ประกาศที่ สข. 50/2552” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒๔ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ในกรณีที่อายุการให้ความเห็นชอบดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคสอง
(1) การวิเคราะห์การลงทุนด้านตลาดทุน ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบให้เป็นทั้งผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก
(2) การวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก
(3) การวิเคราะห์การลงทุนด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก
บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่อายุการให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศที่ สข. 49/2552 หรือประกาศที่ สข. 50/2552 แล้วแต่กรณี แล้ว
การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้สิ้นสุดลงตามอายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่เหลืออยู่ และให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๒๕ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่แนะนําการลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ในกรณีที่อายุการให้ความเห็นชอบดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคสอง
(1) การแนะนําการลงทุนด้านตลาดทุน ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบให้เป็นทั้งผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข
(2) การแนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
(3) การแนะนําการลงทุนด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภท ข
บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งที่อายุการให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศที่ สข. 49/2552 หรือประกาศที่ สข. 50/2552 แล้วแต่กรณี แล้ว
การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้สิ้นสุดลงตามอายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่เหลืออยู่ และให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๒๖ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า อยู่ก่อนแล้ววันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่แนะนําการลงทุนด้านโลหะมีค่า เว้นแต่เป็นกรณีที่อายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ณ วันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคสอง
ในกรณีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งที่การให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง ต่อเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศที่ สข. 49/2552 หรือประกาศที่ สข. 50/2552 แล้วแต่กรณี แล้ว
ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเข้ารับการอบรมหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับความรู้และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยหกชั่วโมงภายในสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่เข้ารับการอบรม ให้การให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านโลหะมีค่าเป็นอันสิ้นสุดลง
การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้สิ้นสุดลงตามอายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่เหลืออยู่ และให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๒๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับยกเว้นการจัดให้มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้รับยกเว้นการจัดให้มีบุคลากรดังกล่าวสําหรับการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 7 (2) ต่อไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ข้อ ๒๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก วางแนวปฏิบัติ ตามประกาศที่ สข. 49/2552 และประกาศที่ สข. 50/2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงถึงผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงดังต่อไปนี้
(1) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่วิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้หมายความถึงบุคคลที่สามารถวิเคราะห์การลงทุนตามประกาศนี้
(2) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือลงทุนได้ ให้หมายความถึงบุคคลที่สามารถแนะนําการลงทุนตามประกาศนี้
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,457 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 15/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทลธ. 15 /2555
เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุน
และแนะนําการลงทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” “กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้” และ “กองทุนรวมตลาดเงิน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุน” และคําว่า “ผู้จัดการ” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
““หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
“กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้” หมายความว่า กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมตลาดเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามข้อ 7
(1) การปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศของสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) การแนะนําการลงทุนในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน
(ก) ตราสารหนี้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และหุ้นกู้อื่นใดที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ดังกล่าว
(ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้หรือกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมอย่างชัดเจนว่าไม่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และหุ้นกู้อื่นใดที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ดังกล่าว
(3) กรณีผู้ประกอบธุรกิจประเภทการค้าหลักทรัพย์ที่มีการแนะนําการลงทุนในตราสารหนี้แก่ผู้ลงทุนสถาบันโดยใช้ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้กับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
“ข้อ 8/1 ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 8(2) และ (3) ให้หมายความถึงผู้ลงทุนสถาบันประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน
(2) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) บริษัทหลักทรัพย์ ไม่ว่าเพื่อตนเอง หรือเพื่อกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล
(4) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดขอบเขตการประกอบธุรกิจไว้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า
(5) บริษัทประกันวินาศภัย หรือบริษัทประกันชีวิต
(6) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์หรือการดําเนินงานเกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการบริหารจัดการลงทุนในทํานองเดียวกัน
(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(10) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(11) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (1) ถึง (10) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(12) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตาม (1) ถึง (11)”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,458 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 6/2556 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทลธ. 6 /2556
เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่
วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 15/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
1. มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ
2. ไม่มีเงื่อนไขที่กระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม 1. เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทลธ. 15/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8/1 ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 8(2) และ (3) ให้หมายความถึงผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,459 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 52/2556 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน (ฉบับที่ 4 ) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทลธ. 52/2556
เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและ
แนะนําการลงทุน
(ฉบับที่ 4 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน” และ “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุน” และคําว่า “หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
““การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน” หมายความว่า การวิเคราะห์เพื่อมุ่งหามูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์ โดยใช้การพิจารณาจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการดําเนินงานในอนาคต อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แนวทางการบริหารงานของผู้ออกหลักทรัพย์ รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจ เป็นต้น มีการนําข้อมูลการดําเนินงานในอดีตและปัจจุบันมาร่วมคาดการณ์แนวโน้มผลการดําเนินงานในอนาคต
“การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค” หมายความว่า การวิเคราะห์โดยศึกษาพฤติกรรมของราคาและปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือพฤติกรรมของตลาดในอดีต โดยมีการจัดทําเป็นกราฟและใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ทางเทคนิค ประกอบกับผลการทดสอบวิจัยมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคต”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจจะแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) วิเคราะห์การลงทุน ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค
(2) แนะนําการลงทุน ซึ่งได้แก่ การติดต่อ การชักชวน การให้คําแนะนํา หรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเพื่อการให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation)”
ข้อ 3 ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สามารถปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานหรือวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคได้ตามอายุการให้ความเห็นชอบ
ข้อ 4 ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนตามข้อ 3 ประสงค์จะต่ออายุการให้ความเห็นชอบ หากบุคคลดังกล่าวได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้แนะนําการลงทุน ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 แล้ว ให้บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนด้วยการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานได้
ข้อ 5 ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนตามข้อ 3 ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนด้วยการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคด้วย ให้ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนที่สามารถวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคต่อสํานักงานตามตารางคุณสมบัติที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
ข้อ 6 ในกรณีที่บุคคลใดประสงค์จะเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนด้วยการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค หากบุคคลดังกล่าวมีประสบการณ์ในการช่วยงานด้านการวิเคราะห์การลงทุนด้วยการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคมาก่อน อาจยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานโดยใช้คุณสมบัติตามตารางคุณสมบัติสําหรับบุคคลตามข้อ 5 ได้โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ ต้องยื่นคําขอความเห็นชอบภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ข้อ 7 ให้ยกเลิกตารางดังต่อไปนี้ ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ตารางที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
(1) ตารางประเภทธุรกรรมที่ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้แนะนําการลงทุนสามารถทําได้
(2) ตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้แนะนําการลงทุน
(3) ตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้แนะนําการลงทุน
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
#### ประธานกรรมการ
#### คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,460 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 28/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
1. “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
2. “หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
3. “วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงานเป็นผู้จัดสรรวงเงิน
(4) “ผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้อยู่แล้ว
ข้อ ๒ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปซึ่งต้องใช้วงเงินจัดสรร ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ
ข้อ ๓ ในการรับจัดจําหน่ายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการได้เฉพาะหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ อยู่ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (investment grade)
ข้อ ๔ ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้า หรือการทําธุรกรรมกับลูกค้าเป็นครั้งแรกในกรณีที่ไม่มีการเปิดบัญชี สําหรับหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้
(1) จัดให้มีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชีหรือทําธุรกรรม รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงและผู้มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมด้านหลักทรัพย์ของลูกค้า
(2) จัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชี การทําธุรกรรมและการให้คําแนะนํากับลูกค้า
ในกรณีที่ลูกค้าตามวรรคหนึ่งเป็นลูกค้าที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีกาในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศอยู่ก่อนแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่งสําหรับลูกค้ารายนั้น
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์จะให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ โดยใช้วงเงินจัดสรรกับลูกค้าแต่ละรายได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรวงเงินจากสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ในการให้บริการตามวรรคหนึ่งทุกครั้ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ตรวจสอบวงเงินที่ลูกค้ารายนั้นยังคงใช้ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของลูกค้ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรร
ข้อ ๖ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้
(1) ควบคุมดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์
เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในกรณีที่มีการให้คําแนะนํากับลูกค้า
(2) จัดให้มีกระบวนการที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงข้อจํากัดและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังกล่าวตามแนวทางของเอกสารการเปิดเผยข้อมูลที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(3) จัดให้ลูกค้าทําการซื้อขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศผ่านบัญชีเงินสด ในกรณีที่ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้า
(4) รายงานข้อมูลการใช้วงเงินจัดสรรของลูกค้าแต่ละราย ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
(5) ปฏิบัติตามขั้นตอน ระเบียบ และวิธีปฏิบัติอื่นตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
หมวด ๒ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,461 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 7 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) และ (6) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
“(5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
(6) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในการจําหน่ายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการได้เฉพาะหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศทั้งจํานวนต่อลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,462 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 3/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 3/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(1)การให้บริการแก่ลูกค้าสถาบันซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้บุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่ดังกล่าว
(2)การให้บริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายหรือตัวแทนรับซื้อพันธบัตรดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) จัดให้มีการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของพันธบัตรที่จะลงทุน โดยอาจดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน ดังนี้
1. จัดให้มีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าประจําอยู่ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ติดต่อกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าว
2. จัดให้มีระบบที่ทําให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าได้ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ
3. จัดให้มีศูนย์บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน (call center) เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องให้บริการตลอดเวลาทําการของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) ดําเนินการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (ก)
(ค) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงราคารับซื้อคืน
(ง) ตรวจสอบดูแลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,463 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 16/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 16/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) ไม่ชักชวนหรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามประเภทและภายในช่วงระยะเวลาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลมิให้เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าติดต่อ ชักชวน หรือแนะนําให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียหรือมีโอกาสที่จะมีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่จะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงส่วนได้เสียดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้าต้องดําเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,464 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 19/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 19/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่ติดต่อลูกค้า” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้บทนิยามต่อไปนี้แทน
““ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผนการลงทุน ให้กับผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ได้ด้วย และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์”ระหว่างบทนิยามคําว่า “คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน” และ “คําแนะนําทั่วไป” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
““การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” หมายความว่า การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อใช้สําหรับการให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกชื่อของหมวด 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด 3
การติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้า”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา ให้กับผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือประเภท ข แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
การติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือในการ วิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์อาจจัดให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเป็นผู้ดําเนินการก็ได้
(1) การให้บริการแก่ลูกค้าสถาบันซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้บุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่ดังกล่าว
(2) การให้บริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายหรือตัวแทนรับซื้อพันธบัตรดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของพันธบัตรที่จะลงทุน โดยอาจดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน ดังนี้
1. จัดให้มีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าประจําอยู่ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ติดต่อกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าว
2. จัดให้มีระบบที่ทําให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าได้ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ
3. จัดให้มีศูนย์บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน (call center) เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องให้บริการตลอดเวลาทําการของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) ดําเนินการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (ก)
(ค) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงราคารับซื้อคืน
(ง) ตรวจสอบดูแลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
1. การให้บริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งมีสถาบันการเงินเป็นผู้สลักหลังแบบมีสิทธิไล่เบี้ย หรือรับอาวัลผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วทั้งจํานวน หรือให้การรับรองตลอดไป ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่งของ (3) คําว่า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
1. ธนาคารพาณิชย์ สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
2. บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 16/1 บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความรู้จักลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีเอกสารที่แสดงถึงความมีตัวตนของลูกค้าหรือผู้ที่มีอํานาจในการตัดสินใจซื้อขายในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคล
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้กับคู่ค้าที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศด้วย”
ข้อ 6 ให้ยกเลิก
(1) ข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 16/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(2) ข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19/1 ในการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวลูกค้าได้รับคําแนะนําทั่วไป คําแนะนําเฉพาะเจาะจง หรือไม่ได้รับคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน”
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,465 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 56/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 56/2548
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 10)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 7/1 บริษัทหลักทรัพย์ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหยุดทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งหยุดประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมต่อสํานักงานแล้ว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 บริษัทหลักทรัพย์ต้องรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 บริษัทหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,466 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 26/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 26/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 11)
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 19/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16/1 ในการพิจารณาทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์กับลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการทําความรู้จักลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องพิจารณาและจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า และสําหรับกรณีลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของลูกค้ารายย่อยนั้นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์และการให้คําแนะนํากับลูกค้าด้วย
บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนความสามารถในการชําระหนี้และวงเงินซื้อขายของลูกค้าแต่ละราย(Total Exposure) เป็นประจํา
บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการเลิกสัญญากับลูกค้า
ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้กับคู่ค้าที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศด้วย”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 20/1 นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้”
ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในส่วนของลูกค้ารายเดิมทุกรายที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่เคยมีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
เว้นแต่ข้อ 2 และข้อ 4 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,467 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 13/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 13/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 19/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ กับลูกค้ารายย่อยหรือผู้ลงทุนที่มิได้มีลักษณะเดียวกับลูกค้าสถาบัน หรือในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือประเภท ข แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายหรือตัวแทนรับซื้อพันธบัตรดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจจัดให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเป็นผู้ดําเนินการก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของพันธบัตรที่จะลงทุน โดยอาจดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน ดังนี้
(ก) จัดให้มีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าประจําอยู่ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ติดต่อกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าว
(ข) จัดให้มีระบบที่ทําให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานของ บริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าได้ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ
(ค) จัดให้มีศูนย์บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน (call center) เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องให้บริการตลอดเวลาทําการของบริษัทหลักทรัพย์
(2) ดําเนินการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (1)
(3) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงราคารับซื้อคืน
(4) ตรวจสอบดูแลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,468 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 67/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 13/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(2) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์
(3) “คู่ค้า” หมายความว่า บุคคลที่ซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์
(4) “ลูกค้า” หมายความว่า คู่ค้าที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ
(5) “ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า ลูกค้าดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลตาม (ซ)
(ช) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ซ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) กองทุนรวม
(ฐ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฑ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฐ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ฒ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฑ) โดยอนุโลม
(6) “ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าสถาบัน
(7) “ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนและบริษัทหลักทรัพย์ได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจ
(8) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผนการลงทุน ให้กับผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ได้ด้วย และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์
(9) “คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน” หมายความว่า คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ
(10) “การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” หมายความว่า การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อใช้สําหรับการให้คําแนะนําหรือเผยแพร่ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น
(11) “คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนที่ให้แก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น
(12) “คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น
หมวด ๑ การควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยงและระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพ และกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ โดยอย่างน้อยต้องกําหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสทราบข้อมูลภายในเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์กับหน่วยงานและบุคลากรที่มีโอกาสใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในดังกล่าว
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้าออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์ (front office) ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติงานหลังการซื้อขาย (back office) และต้องกําหนดให้บุคลากรที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์รายงานผลการค้าหลักทรัพย์แก่หน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลังการซื้อขายภายในระยะเวลาอันควร เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับทราบและสามารถรายงานผลการค้าหลักทรัพย์ได้ตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้หน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลังการซื้อขายสามารถยืนยันการซื้อหรือขายหลักทรัพย์กับคู่ค้าได้โดยเร็ว
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหยุดทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งหยุดประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมต่อสํานักงานแล้ว
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที
หมวด ๒ การซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้คู่ค้าทราบว่าราคาเสนอซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่แน่นอน (firm quotation) หรือเป็นราคาที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ (indicative quotation)
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เสนอราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่แน่นอน บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รับซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าว โดยต้องทําความเข้าใจกับคู่ค้าให้ชัดเจนเกี่ยวกับกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผล
(2) กรณีที่ราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข บริษัทหลักทรัพย์ต้องชี้แจงเงื่อนไขให้คู่ค้าทราบอย่างชัดเจน และบริษัทหลักทรัพย์จะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ลูกค้าได้อย่างชัดเจนด้วย
ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ทําให้คู่ค้าเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการซื้อขาย หลักทรัพย์ด้วยการละเว้นการเปิดเผยข้อมูล บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่คู่ค้า
ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอกหรือเปิดเผยข้อมูลภายในนั้นให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์
ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์กับคู่ค้าเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาอันควรหลังจากที่ได้ตกลงซื้อขายหลักทรัพย์กับคู่ค้า
ข้อ ๑๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
หมวด ๓ การติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
ข้อ ๑๗ ในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ กับลูกค้ารายย่อยหรือผู้ลงทุนที่มิได้มีลักษณะเดียวกับลูกค้าสถาบัน หรือในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือประเภท ข แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้ดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด และต้องดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย
ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายหรือตัวแทนรับซื้อพันธบัตรดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจจัดให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเป็นผู้ดําเนินการก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของพันธบัตรที่จะลงทุน โดยอาจดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน ดังนี้
(ก) จัดให้มีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าประจําอยู่ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ติดต่อกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าว
(ข) จัดให้มีระบบที่ทําให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าได้ ณ สถานที่ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ
(ค) จัดให้มีศูนย์บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องให้บริการตลอดเวลาทําการของบริษัทหลักทรัพย์
(2) ดําเนินการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (1)
(3) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงราคารับซื้อคืน
(4) ตรวจสอบดูแลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ข้อ ๑๘ ในการพิจารณาทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์กับลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการทําความรู้จักลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องพิจารณาและจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า และสําหรับกรณีลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์
เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของลูกค้ารายย่อยนั้นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาทําธุรกรรมการค้าหลักทรัพย์และการให้คําแนะนํากับลูกค้าด้วย
บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนความสามารถในการชําระหนี้และวงเงินซื้อขายของลูกค้าแต่ละรายเป็นประจํา
บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้อจัดเก็บเอกสารดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการเลิกสัญญากับลูกค้า
ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้กับคู่ค้าที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศด้วย
ข้อ ๑๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์กับลูกค้า ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนําหรือวันที่เจรจาตกลง ทั้งนี้ หากกรณีที่ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการเจรจาตกลงและการดําเนินการกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนําหรือเจรจาตกลงได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําหรือเจรจาตกลงดังกล่าวไว้โดยเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒๐ ในการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้ารายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ในการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวลูกค้าได้รับคําแนะนําทั่วไป คําแนะนําเฉพาะเจาะจง หรือไม่ได้รับคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุน
ข้อ ๒๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๒๒ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการค้าหลักทรัพย์ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในส่วนของลูกค้ารายเดิมทุกรายที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่เคยมีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒๕ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,469 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 9 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,470 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 21/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 21/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 12/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์รับซื้อหลักทรัพย์จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพื่อนําไปจําหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจกหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลอื่นเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ รวมทั้งส่งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้เป็นไปตามหน้าที่ซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ด้วย ทั้งนี้ ในการส่งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร บริษัทหลักทรัพย์ต้องส่งให้ลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะยืนยันการทําธุรกรรม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 บริษัทหลักทรัพย์ต้องรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,471 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 8 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) และ (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) “ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(6) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“(6/1) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,472 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 71/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(2) “ประกาศ ที่ ทธ. 63/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(3) “ประกาศ ที่ ทด. 67/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 17 ข้อ 29ข้อ 30 และข้อ 31 ของประกาศ ที่ ทธ. 63/2552 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน โดยอนุโลม
ข้อ ๓ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 13 ข้อ 17 ข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 23 ของประกาศ ที่ ทด. 67/2552 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,473 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 12/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 12 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 17 ข้อ 29ข้อ 30 และข้อ 31 ของประกาศ ที่ ทธ. 63/2552 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,474 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 28/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“(4) “ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้ารายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 3/1 ก่อนบริษัทหลักทรัพย์รับใบจองซื้อหลักทรัพย์ที่มิใช่หน่วยลงทุนจากลูกค้ารายย่อย ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะการเงิน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของลูกค้ารายย่อย ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ารายย่อย
บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันปิดการเสนอขาย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,475 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 9 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) “ลูกค้ารายย่อย” หมายความว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) และ (6) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
“(5) “ ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
(6) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,476 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 33/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 33 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
“ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหากลูกค้ารายย่อยเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่ทําการจอง หรือในวันที่ได้รับสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น บริษัทหลักทรัพย์จะไม่ดําเนินการตามความในวรรคหนึ่งก็ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,477 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 12/2546 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 12/2546
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 43/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 50/2545 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้รับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนไปจัดจําหน่าย และหากเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นจะต้องไม่เป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะไม่จัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก็ได้
(1) เมื่อเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในส่วนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อบุคคลดังต่อไปนี้ (placement) และได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่แบ่งสรรไว้เพื่อการดังกล่าว
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้ถือหุ้นเดิม
(ค) กรรมการและพนักงาน
(ง) บุคคลอื่นใดซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงได้ต่อสํานักงานว่าสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทได้ด้วยตนเอง
(1) เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นมิใช่หุ้น และ
(ข) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศดังต่อไปนี้ด้วย โดยอนุโลม
1. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
2. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ แต่มิให้นําข้อห้ามเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อ้างอิง มาใช้บังคับกับการซื้อขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น
ข้อ 7 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหนังสือชี้ชวนไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการแห่งใหญ่ของบริษัท และสถานที่ที่ใช้ในการรับใบจองซื้อหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์หรือผู้ที่สนใจสามารถตรวจดูได้ตลอดเวลาทําการ
ในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ เว้นแต่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์แสดงเจตนาโดยสมัครใจที่จะไม่รับหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะแจกจ่ายแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ที่บันทึกข้อมูลตรงกับหนังสือชี้ชวน ให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ด้วยก็ได้
หนังสือชี้ชวนที่แจกจ่ายให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ต้องมีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ต่อสํานักงาน”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 7/1 ใบจองซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยต้องมีรายการเกี่ยวกับผู้จองซื้อหลักทรัพย์ในเรื่อง ชื่อ ที่อยู่ เลขที่บัตรประจําตัวตามบัตรประชาชนหรือตามทะเบียนบ้าน เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี) จํานวนหลักทรัพย์ที่จองซื้อ และข้อความที่ให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์แสดงว่าได้รับหรือไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน โดยในกรณีที่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้รับหนังสือชี้ชวน ให้ระบุรูปแบบของหนังสือชี้ชวนที่ได้รับ ทั้งนี้ ใบจองซื้อจะต้องมีข้อความโดยชัดเจนเตือนให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทราบว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ย่อมมีความเสี่ยง และก่อนตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์ ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ควรอ่านหนังสือชี้ชวนอย่างรอบคอบด้วย”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,478 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 41/2546 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 41/2546เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 43/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่จะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งจํานวนให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(ค) เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
(ง) ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่เดิม
(จ) ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิม
(ฉ) บุคคลอื่นใดที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายได้ด้วยตนเอง และการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลดังกล่าวไม่จําต้องนําหลักการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกันมาใช้บังคับ (fair allocation)
(2) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะที่มีการแบ่งแยกจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลตาม (1)(ข) (ค) (ง) หรือ (จ) ออกจากหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(3) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้ออื่นทั้งหมด”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,479 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 23/2547 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 23/2547
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2546 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้การแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน กระทําไปพร้อมกับการแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาโดยสมัครใจที่จะไม่รับข้อมูลนั้น
(1) หนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์
1. หนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ซึ่งต้องมีข้อมูลอย่างเดียวกับหนังสือชี้ชวนตาม (1)
2. สรุปหนังสือชี้ชวน ซึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์
(ข) มีข้อมูลอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดในแบบ 77-1 ท้ายประกาศสํานักงาน
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขาหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
(ค) เป็นการแสดงข้อมูลที่คัดลอกหรือสรุปย่อจากข้อมูลรายการเดียวกันนั้นที่ได้แสดงไว้แล้วในหนังสือชี้ชวน และไม่มีการนําเสนอในลักษณะที่อาจทําให้สําคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสําคัญอื่น
การแจกจ่ายสรุปหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งให้กระทําได้เมื่อพ้นสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับสรุปหนังสือชี้ชวนจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และสํานักงานมิได้แจ้งความเห็นเป็นอื่นภายในระยะเวลานั้น โดยสํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แจกจ่ายเอกสารดังกล่าวก่อนพ้นระยะเวลาที่กําหนดก็ได้ แต่ในกรณีที่สรุปหนังสือชี้ชวนที่จะแจกจ่ายมีข้อมูลอย่างเดียวกับเอกสารชุดที่ได้ผ่านการพิจารณาของสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่จําต้องดําเนินการตามวรรคนี้อีก
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เลือกแจกจ่ายข้อมูลตาม (2) หรือ (3) แก่ผู้ลงทุน ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนตาม (1) ให้ผู้ลงทุนด้วย หากผู้ลงทุนร้องขอ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 10/1 ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดทํารายชื่อผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปจากส่วนที่แบ่งไว้สําหรับผู้มีอุปการคุณตามแบบ 35-IPO-1M และรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งแรกหลังจากวันที่รายงานผลการขายหุ้นดังกล่าวต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ คําว่า “ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของการช่วยเหลือเกื้อกูลกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ พนักงานของบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อย หรือกิจการที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจ เป็นต้น”
ข้อ 3 ให้เพิ่มแบบ 35-IPO-1M ท้ายประกาศนี้เป็นแบบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,480 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 52/2547 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 52/2547
###### เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 41/2546 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
“(4) การจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าว เป็นไปตามมติที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้ส่งเพื่อการประชุมในครั้งที่มีมติดังกล่าวต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รายชื่อของบุคคลที่จะได้รับการจัดสรรจากส่วนที่แบ่งแยกไว้เป็นการเฉพาะสําหรับผู้จองซื้อที่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
2. จํานวนหลักทรัพย์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าว และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้ระบุสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวทั้งก่อนและหลังการจัดสรร
3. เหตุผลและความจําเป็นในการจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าว
1. จํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลดังกล่าวได้ถูกแบ่งแยกออกจากจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปอย่างชัดเจน และบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว โดยในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องระบุสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวทั้งก่อนและหลังการจัดสรรไว้ด้วย
2. ราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อบุคคลดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ต่อบุคคลดังกล่าวพร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากบุคคลนั้น บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอซื้อด้วย และ
3. บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร และจะไม่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั่วไป”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,481 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 71/2547 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 71/2547
##### เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
==========================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 52/2547 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ข้อ 5 ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
1. กองทุนรวมซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลตาม (1) ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ข้อ 5/1 ข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ตามข้อ 5 มิให้ใช้บังคับกับกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
1. การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งจํานวนให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(ค) เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
(ง) ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่เดิม
(จ) ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิม
(ฉ) บุคคลอื่นใดที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายได้ด้วยตนเอง และการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลดังกล่าวไม่จําต้องนําหลักการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกันมาใช้บังคับ
(2) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะที่มีการแบ่งแยกจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลตาม (1)(ข) (ค) (ง) หรือ (จ) ออกจากหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว
1. การจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกองทุนรวมที่ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ตามข้อ 5(2) ตามที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
2. การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าว เป็นไปตามมติที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้ส่งเพื่อการประชุมในครั้งที่มีมติดังกล่าวต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รายชื่อของบุคคลที่จะได้รับการจัดสรรจากส่วนที่แบ่งแยกไว้เป็นการเฉพาะสําหรับผู้จองซื้อที่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกองทุนรวมดังกล่าว แล้วแต่กรณี
2. จํานวนหลักทรัพย์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าว และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้ระบุสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวทั้งก่อนและหลังการจัดสรร
3. เหตุผลและความจําเป็นในการจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าว
1. จํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลดังกล่าวได้ถูกแบ่งแยกออกจากจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปอย่างชัดเจน และบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว โดยในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนต้องระบุสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวทั้งก่อนและหลังการจัดสรรไว้ด้วย
2. ราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อบุคคลดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อบุคคลดังกล่าวพร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากบุคคลนั้น บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอซื้อด้วย และ
3. บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร และจะไม่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั่วไป
4. การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้ออื่นทั้งหมด”
###### ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,482 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 48/2548 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 48/2548
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2546 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
“นอกจากรายการและข้อความตามวรรคหนึ่ง ใบจองซื้อหุ้นกู้ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ผู้จองซื้อหุ้นกู้ยินยอมแต่งตั้ง (ชื่อบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
1. ผู้จองซื้อหุ้นกู้ยินยอมผูกพันตามข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ สําหรับหุ้นกู้ (ชื่อเฉพาะของหุ้นกู้ที่ใช้ในการอ้างอิง) ทุกประการ หากผู้จองซื้อได้รับการจัดสรรหุ้นกู้
2. ผู้จองซื้อหุ้นกู้อาจตรวจดูข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานแห่งใหญ่ของผู้ออกหุ้นกู้ และสํานักงานของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 37/2544 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 8/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ หากบริษัทที่ออกหุ้นกู้ไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้หรือไม่อาจจัดให้มีหลักประกันการออกหุ้นกู้ตามข้อกําหนดสิทธิ (ถ้ามี) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องคืนเงินค่าจองซื้อหุ้นกู้พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากบัญชีจองซื้อหุ้นกู้ให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยมีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหุ้นกู้ต้องมีข้อตกลงให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการส่งคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้ตามระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,483 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2553 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 12/2553
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร”“ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“(7) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เว้นแต่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ โดยระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนว่าจะเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (direct listing) ไม่ว่าจะมีการเสนอขายให้ผู้ดูแลสภาพคล่องก่อนหรือไม่ก็ตาม
บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ว่าจะมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือไม่ ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น จัดสรรหุ้นที่เสนอขายให้แก่บริษัทย่อย”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“(6) การจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายให้แก่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (market maker) ของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายในครั้งนั้น”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 9/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันเต็มจํานวนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วน หากบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ไม่ดําเนินการโอนหลักทรัพย์อ้างอิงให้แก่ทรัสตีเพื่อให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้รับการส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงอย่างครบถ้วนตามจํานวนที่ระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เมื่อมีการใช้สิทธิ ภายในระยะเวลาที่กําหนดในข้อกําหนดสิทธิ ให้บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์คืนเงินค่าจองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากบัญชีจองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้แก่ผู้จองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าว
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยมีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต้องมีข้อตกลงให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้คืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจอง การจัดสรร และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ สําหรับกรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ซึ่งเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (direct listing) โดยการยกเว้นให้ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าว ไม่ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และกําหนดหลักเกณฑ์การคืนเงินค่าจองซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้แก่ผู้จองซื้อในกรณีที่ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,484 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2553 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 44/2553
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 8/1 ในการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจองซื้อหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ให้สิทธิผู้ลงทุนที่จะยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่กําหนดเมื่อมีเหตุที่ทําให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องระงับหรือหยุดการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่เสนอขายได้
(2) ในกรณีที่ผู้ลงทุนยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ตาม (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์คืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนที่ยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลายกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์
(3) หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ส่งคืนเงินให้ผู้ลงทุนตามที่กําหนดไว้ใน (2) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะต้องชําระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ระบุสิทธิยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์และการคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งไว้ในหนังสือชี้ชวน
ให้นําความในวรรคสองของข้อ 8 มาใช้บังคับกับการคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนตามข้อนี้โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองผู้ลงทุนในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องระงับหรือหยุดการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่เสนอขายได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,485 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2554 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 18 /2554
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ก) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว
(ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าวซึ่งหมายถึง
1. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว
2. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม 1. เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
3. บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่งให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย
(ค) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง
1. บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
2. บริษัทที่บริษัทตาม 1. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
3. บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2.ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,486 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2554 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 21 /2554
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 7/1 ในกรณีที่มีข้อกําหนดให้การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดต้องมีสรุปข้อมูลสําคัญของหลักทรัพย์ (fact sheet) ในแบบแสดงรายการข้อมูล บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องแจกข้อมูลดังกล่าวซึ่งมีสาระตรงตามสรุปข้อมูลสําคัญของหลักทรัพย์ที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผ่นบันทึกข้อมูลไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,487 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2554 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 39 /2554
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7/1 ในกรณีที่มีข้อกําหนดให้การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดต้องมีสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ในแบบแสดงรายการข้อมูล บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องแจกข้อมูลดังกล่าว ซึ่งมีสาระตรงตามสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผ่นบันทึกข้อมูลไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,488 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) | ฟ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 23 /2555
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (1) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(จ) ผู้ถือหุ้นกู้หรือตั๋วเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้หรือตั๋วเงินเดิม”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหลักทรัพย์ต้องกระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแต่ลักษณะของการเสนอขาย และภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5/1 ข้อ 5/2 หรือข้อ 5/3 แล้วแต่กรณี”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ข้อ 5/2 และข้อ 5/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหลักทรัพย์ต้องกระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องไม่เป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย
ข้อ 5/2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องมีข้อตกลงให้บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 5 ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้โดยอนุโลม เพื่อให้การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้
ข้อ 5/3 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะไม่จัดให้การเสนอขายหลักทรัพย์กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 5 ก็ได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในส่วนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อบุคคลดังต่อไปนี้ (placement) และได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่แบ่งสรรไว้เพื่อการดังกล่าว
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้ถือหุ้นเดิม
(ค) กรรมการและพนักงาน
(ง) บุคคลอื่นใดซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทได้ด้วยตนเอง
(2) เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นมิใช่หุ้น และ
(ข) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม แต่มิให้นําข้อห้ามเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อ้างอิง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน สําหรับการซื้อขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น
(3) เมื่อเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าวแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทอื่น พร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์นั้น”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ 7 ให้ยกเลิกวรรคสามของข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2553 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 8 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ 9 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2553 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อ 10 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สามารถเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่โดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ต่อไปตราบเท่าที่แบบแสดงรายการข้อมูลนั้นยังมีผลใช้บังคับ
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,489 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2556 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ.16 /2556
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไป บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหลักทรัพย์กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามแต่ลักษณะของการเสนอขาย และภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5/1 ข้อ 5/2 หรือข้อ 5/3 แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหลักทรัพย์กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทดังกล่าวต้องไม่เป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เมื่อเป็นการเสนอขายหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อบุคคลดังต่อไปนี้ (placement) และได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่แบ่งสรรไว้เพื่อการดังกล่าว
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้ถือหุ้นเดิม
(ค) กรรมการและพนักงาน
(ง) บุคคลอื่นใดซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทได้ด้วยตนเอง”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 5/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
“(1/1) เมื่อเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้แบ่งสรรไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนถึงจํานวนหลักทรัพย์ที่แบ่งสรรไว้เพื่อการดังกล่าว
(ก) มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ
(ข) ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม (ก) เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 5/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือค้าหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม แต่มิให้นําข้อห้ามเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สําหรับการซื้อขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น”
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,490 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2556 เรื่อง การจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 54/2556
เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 9)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ข้อ 7/2 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องแจกข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) ที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของแบบแสดงรายการข้อมูล ไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,491 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 99/2552
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 มาตรา 89/13 มาตรา 89/14 มาตรา 89/29 มาตรา 89/31 มาตรา 246 มาตรา 247 และมาตรา 250/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ขอบเขตการใช้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑ ในกรณีที่ประกาศนี้ไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลักในต่างประเทศที่กําหนดสําหรับเรื่องนั้น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย
(ก) การเสนอขายหุ้นเพื่อการจดทะเบียนหุ้นของบริษัทต่างประเทศเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําโดยบริษัทต่างประเทศนั้นหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามหมวด 2 และหมวด 4
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทย ของบริษัทต่างประเทศ
ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว เฉพาะหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยให้ปฏิบัติตามหมวด 3 และหมวด 4
(2) การเปิดเผยเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศ
ตามมาตรา 56 ทั้งนี้ ตามหมวด 5
(3) การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 47
(4) การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 47
ส่วน ๒ บทนิยาม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ เว้นแต่ในประกาศนี้จะกําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น
(1) “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
(2) “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (Home Regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับ ดูแลตลาดทุนของประเทศที่หุ้นของบริษัทต่างประเทศ มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศนั้นอยู่แล้ว และในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ มากกว่าหนึ่งประเทศ ให้หมายถึง หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของตลาดหลักทรัพย์หลัก
(3) “ตลาดหลักทรัพย์หลัก” (Home Exchange) หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หุ้นของบริษัทต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ที่บริษัทต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก
(4) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็น
การออกด้วยวัตถุประสงค์ใด
(ก) หุ้น
(ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ค) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(5) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ
(6) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ส่วน ๓ ข้อกําหนดทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ภาษาที่ใช้สําหรับเอกสารหลักฐานที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ ให้เป็นดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเอกสารเปิดเผยข้อมูลที่บริษัทต่างประเทศยื่นต่อหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลัก จัดทําเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ให้บริษัทต่างประเทศที่มีหน้าที่ตามประกาศนี้สามารถยื่นข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นต่อสํานักงานได้
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทต่างประเทศที่มีหน้าที่ตามประกาศนี้ ยื่นข้อมูลหรือเอกสารที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ หากข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าว แปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่น ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
(ข) ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ต้องรับรองว่า สาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
ข้อ ๕ เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
หมวด ๒ การขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศเพื่อนําหุ้นดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ส่วน ๑ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ให้บริษัทต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๘ ให้บริษัทต่างประเทศชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานในวันยื่นแบบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ข้อ ๙ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบวันทําการ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน
ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทต่างประเทศหรือตัวแทนของบริษัทต่างประเทศมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศหรือตัวแทนของบริษัทต่างประเทศไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าบริษัทต่างประเทศไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามข้อ 7 จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ตลาดหลักทรัพย์หลักของบริษัทต่างประเทศนั้น เป็นสมาชิกของ World Federationof Exchanges (WFE) และหุ้นของบริษัทต่างประเทศดังกล่าวจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้วในตลาดหลักทรัพย์หลักดังกล่าวในส่วนที่เป็นกระดานหลัก (main board)
(2) หน่วยงานกํากับดูแลหลักสามารถให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือแก่สํานักงาน ในการตรวจสอบการกระทําฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของไทยได้ โดยหน่วยงานกํากับดูแลนั้นเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) หรือ
(ข) มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือกับสํานักงานในระดับไม่น้อยกว่าความช่วยเหลือที่กําหนดตาม MMOU ตาม (ก) และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น
(3) บริษัทต่างประเทศนั้นมีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้
(4) มูลค่าของหุ้นที่ขออนุญาตเสนอขายนั้น ยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศที่สํานักงานจะจัดสรรให้ได้
(5) เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในประเทศไทย บริษัทต่างประเทศต้องแสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศนั้น
(ข) ปรากฏข้อเท็จจริงในขณะนั้นว่าหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักมีการให้ความเห็นชอบในการขายหุ้นที่ออกใหม่ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายในประเทศที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลักหรือในประเทศอื่นใด
ส่วน ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ บริษัทต่างประเทศต้องจัดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้นที่เสนอขายนั้น
มิให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหมวดนี้
ข้อ ๑๒ บริษัทต่างประเทศต้องดําเนินการขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๑๓ ในการโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหุ้น นอกจากจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 80 แล้ว บริษัทต่างประเทศจะต้องจัดให้เอกสารหรือการโฆษณานั้น มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงตามที่กําหนดในข้อ 29(1) ด้วย
ส่วน ๔ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัย ดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหลักทรัพย์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามที่กําหนดในหมวดนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อกําหนดตามหมวดนี้
(2) การเสนอขายอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การเสนอขายอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ ประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้น ซึ่งหากข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นนั้น อาจทําให้การพิจารณาของสํานักงานเปลี่ยนแปลงไป ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้บริษัทต่างประเทศ กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และให้บริษัทต่างประเทศระงับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อน จนกว่าจะได้ชี้แจง หรือแก้ไขให้ถูกต้อง
(2) สั่งให้บริษัทต่างประเทศหยุดการเสนอขายหุ้นในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือ ยังไม่มีผู้จองซื้อ และให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลงโดยไม่มีผลกระทบต่อการเสนอขายหุ้นในส่วนที่ได้เสนอขายหรือมีผู้จองซื้อแล้ว
หมวด ๓ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศ
ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ผู้ที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับหมวด 3
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1) หุ้นเพิ่มทุน
(2) หลักทรัพย์ประเภทอื่นที่ไม่ใช่หุ้นเพิ่มทุน
ส่วน ๒ การยื่นคําขออนุญาตและหลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ให้นําความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศนี้ มาใช้กับการขออนุญาตตามส่วนนี้ด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามข้อ 16 จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ในระหว่างเป็นบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ปรากฏพฤติกรรมที่อาจแสดงถึงความไม่เหมาะสมในการเป็นบริษัทจดทะเบียนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น การฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในสาระสําคัญ หรือการเพิกเฉย ละเลย หรือจงใจไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางของสํานักงานที่ได้เผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป เป็นต้น
(2) หน่วยงานกํากับดูแลหลัก ตลาดหลักทรัพย์หลัก และบริษัทต่างประเทศ ยังคงเป็นไปตามลักษณะที่จะได้รับอนุญาตตามข้อ 10
(3) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตนั้น ยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศที่สํานักงานจะจัดสรรให้ได้ และ
(4) เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงาน กํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย บริษัทต่างประเทศต้องแสดงได้ว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้ โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศนั้น
(ข) ปรากฏข้อเท็จจริงในขณะนั้นว่าหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักมีการให้ความเห็นชอบในการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายในประเทศที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลักหรือในประเทศอื่นใด
ส่วน ๓ ข้อกําหนดอื่น
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙ ให้นําความในส่วนที่ 3 เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต และส่วนที่ 4 อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต ตามหมวด 2 มาใช้บังคับกับการอนุญาตตามหมวดนี้ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในหมวดนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามที่กําหนดในหมวดนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยสํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยก็ได้
(1) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(2) ผู้ขอผ่อนผันมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ตลอดจนมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
หมวด ๔ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ความสัมพันธ์กับประกาศอื่น
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้บังคับของหมวดนี้
ส่วน ๒ ขอบเขตการใช้บังคับของหมวด 4
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ ให้ใช้กับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งหุ้นดังกล่าวได้รับอนุญาตตามหมวด 2
(2) การเสนอขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ประเภทอื่นโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งหุ้นหรือหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตตามหมวด 3
(3) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศ ซึ่งหุ้นดังกล่าวเสนอขายพร้อมกับการเสนอขายหุ้นตาม (1)
(4) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศเพื่อให้มีการจดทะเบียนหุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งหุ้นที่จะเสนอขายดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะอยู่ในข่ายที่จะได้รับอนุญาตตามหมวด 2
(ข) มีการออกหนังสือโดยบริษัทต่างประเทศตาม (ก) เพื่อรับทราบการเสนอขายหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าว และรับรองว่าบริษัทต่างประเทศจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนข้อกําหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(6) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นนอกจากหุ้นโดยผู้ถือหลักทรัพย์ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นเป็นประเภทและชนิดเดียวกับที่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามหมวด 3
การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศกรณีอื่นใดนอกจากที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่ใช้บังคับกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ข้อ ๒๓ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
ส่วน ๓ วิธีการยื่น และค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๕ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในส่วนที่ 4 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน โดยวิธีการยื่นให้เป็นดังนี้
(1) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ จํานวนห้าชุด
(2) ข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๒๖ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
ส่วน ๔ แบบและข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๗ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือที่อาจทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
(2) มีรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทต่างประเทศไม่น้อยกว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่าสุดที่บริษัทต่างประเทศจัดทําและเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์หลักหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก
(3) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย ต้องมีรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าที่เปิดเผยในประเทศอื่น
(4) มีข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กําหนดในข้อ 29 และข้อ 31 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 70 และมาตรา 71 ให้ระบุข้อมูลตามมาตรา 70(1) ถึง (8) และมาตรา 71(1) ถึง (4) ด้วย
ข้อ ๒๘ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ให้เป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์เฉพาะในประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวสามารถเป็นไปตามแบบใด ๆ ที่มีรายละเอียดของรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดในหมวดนี้
(2) ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์นั้น มีการเสนอขายในประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสนอขายหลักทรัพย์อาจยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตาม (1) หรือยื่นแบบ 69-FE ท้ายประกาศนี้ก็ได้
ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-FE ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําข้อมูลในแบบดังกล่าว
ข้อ ๒๙ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นตามหมวดนี้ ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) สิทธิและความคุ้มครองที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีที่ผู้ลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศเองโดยตรง ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่บริษัทต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น และประเทศที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงในหน้าปกของแบบแสดงรายการข้อมูลด้วยตัวอักษรที่เน้นและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
(ข) การดําเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทต่างประเทศ หรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์ เนื่องจากมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้ระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อบริษัทต่างประเทศด้วย
(ค) ผลกระทบที่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศอาจได้รับ ในกรณีที่กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศนั้นมีข้อจํากัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ (ถ้ามี)
(ง) ข้อจํากัดในการซื้อหุ้นของบริษัทต่างประเทศ ในกรณีที่หุ้นดังกล่าวที่จะจัดสรรให้ผู้ลงทุนในประเทศไทย มีมูลค่าเกินกว่าวงเงินคงเหลือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศที่สํานักงานจะจัดสรรให้ได้
(จ) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้สิทธิหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ข้อจํากัดในการมอบฉันทะในการใช้สิทธิออกเสียง ข้อจํากัดที่จะไม่ได้รับใบหุ้นเนื่องจากหุ้นของบริษัทต่างประเทศอยู่ในระบบไร้ใบหุ้น เป็นต้น
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทต่างประเทศให้เป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศในประเทศไทย โดยระบุอํานาจหน้าที่ของตัวแทนดังกล่าวอย่างชัดเจน
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของเลขานุการบริษัท
(4) ข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับภาษาที่จะใช้ในการจัดทําหนังสือชี้ชวน งบการเงิน รายงานประจําปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี เอกสารประกอบการประชุมผู้ถือหุ้น และการให้ข้อมูลอื่นหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการที่บริษัทจัดทําเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
(5) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นเพื่อนําไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก ต้องมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า บริษัทต่างประเทศผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการรับหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว
ข้อ ๓๐ งบการเงินของบริษัทต่างประเทศที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ดังต่อไปนี้
(1) มาตรฐานการบัญชีไทย
(2) International Financial Reporting Standards (IFRS)
(3) มาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือตลาดหลักทรัพย์หลักยอมรับหรือกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ได้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (Reconciled IFRS) ไว้ด้วย หรือ
(4) มาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
ข้อ ๓๑ ก่อนสิ้นสุดการเสนอขายหลักทรัพย์ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะราย เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุน หรือการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน
ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลยังไม่มีผลใช้บังคับ ต้องเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลนั้น
ส่วน ๕ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์แสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลที่ขอผ่อนผันดังกล่าว ต้องมิใช่ข้อมูลที่กําหนดตามมาตรา 69(1) ถึง (10) มาตรา 70(1) ถึง (8) หรือมาตรา 71(1) ถึง (4) และรายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๓๓ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) เปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนเพิ่มเติม
(2) แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(3) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระในการทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ส่วน ๖ การรับรองข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๔ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล อย่างน้อยโดยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ ต้องลงลายมือชื่อโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ ต้องลงลายมือชื่อโดย
(ก) ผู้ถือหลักทรัพย์ที่เป็นผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้น และในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(ข) ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของบริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์นั้น พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราบริษัทด้วย (ถ้ามี)
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 34 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 36
ส่วน ๗ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๖ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นระยะเวลา
ดังต่อไปนี้ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงกําหนดหลัง ทั้งนี้ กําหนดเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ครบถ้วน
(1) สิบสี่วัน นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ครบถ้วน
(2) วันที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ระบุข้อมูลที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งได้แก่ จํานวนและราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ระยะเวลาการเสนอขาย รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย การจัดสรร และข้อมูลอื่นในทํานองเดียวกัน รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว ครบถ้วนในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลซึ่งมีรายการข้อมูลในส่วนอื่นครบถ้วน จนถึงวันที่ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
(3) วันที่ครบกําหนดเวลาที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังชี้ชวนมีผลใช้บังคับในต่างประเทศ สําหรับกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์เดียวกันนั้นพร้อมกันในประเทศอื่นด้วย
หมวด ๕ การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและ
ผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ บริษัทต่างประเทศที่มีหน้าที่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ ให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 และหมวด 3 มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามหมวดนี้
ส่วน ๒ วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดหน้าที่เปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๘ ให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 และหมวด 3 เริ่มมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลตามส่วนนี้เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามหมวด 4 มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓๙ ให้บริษัทต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่เปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเมื่อบริษัทต่างประเทศไม่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกต่อไป
ข้อ ๔๐ ให้บริษัทต่างประเทศแจ้งเหตุที่ทําให้หน้าที่เปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องสิ้นสุดลงตามข้อ 39 ต่อสํานักงานก่อนถึงกําหนดเวลาส่งข้อมูลตามข้อ 45
ส่วน ๓ ประเภทและรายละเอียดข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๑ ให้บริษัทต่างประเทศจัดทําและเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(1) งบการเงิน
(2) รายงานประจําปี
(3) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี โดยมีข้อมูลตามที่ระบุไว้ในเว็บไซด์ของสํานักงาน
ข้อ ๔๒ ข้อมูลตามข้อ 41 ต้องมีรายละเอียดไม่น้อยกว่าข้อมูลล่าสุดในเรื่องเดียวกันที่บริษัทต่างประเทศจัดทําและเปิดเผยต่อหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลัก โดยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นเป็นเท็จหรือทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ข้อ ๔๓ งบการเงินตามข้อ 41(1) ต้องจัดทําและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีตามข้อ 30
ส่วน ๔ วิธีการ และระยะเวลาส่งข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๔ การส่งข้อมูลตามข้อ 41 ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยส่งผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด
ข้อ ๔๕ ให้บริษัทต่างประเทศส่งข้อมูลที่กําหนดในข้อ 41 ตามระยะเวลาเดียวกับที่บริษัทมีหน้าที่ส่งต่อตลาดหลักทรัพย์หลัก
หมวด ๖ ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินกิจการของ
บริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ บทนิยามเพิ่มเติม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๖ ในหมวดนี้
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์หลักหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี กําหนดให้อยู่ในความหมายของคําว่า “ผู้บริหาร” ด้วย
“บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องตาม (1) (2) และ (3) ของบทนิยามคําว่า “บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง” ตามมาตรา 89/1
ส่วน ๒ การมีหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศ
ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๗ บริษัทต่างประเทศหรือบุคคลใดที่กระทําการซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องดังต่อไปนี้ ให้มีหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก
(1) การทํารายการที่เกี่ยวโยงกันตามมาตรา 89/12
(2) การรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 89/14
(3) การทําธุรกรรมที่มีนัยสําคัญต่อบริษัทตามมาตรา 89/29
(4) การกระทําการใด ๆ ที่เป็นการชักชวนให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศมอบฉันทะในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 89/31
(5) การรายงานการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการตามมาตรา 246 (6) การกระทําที่เป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามมาตรา 247
(7) การกระทําของบริษัทต่างประเทศที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าวตามมาตรา 250/1
หมวด ๗ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการเพิ่มบทบาทตลาดทุนไทยโดยเปิดให้บริษัทต่างประเทศสามารถออกและเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนในประเทศและนําหุ้นดังกล่าวเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาดทุนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยให้พร้อมรับกับกระแสการแข่งขันตลาดทุนโลก จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,492 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2556 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 18 /2556
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ฉบับที่ 2 )
-------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 28(1) ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) สิทธิและความคุ้มครองที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีที่ผู้ลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศเองโดยตรงดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่บริษัทต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น และประเทศที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลัก ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงในหน้าปกของแบบแสดงรายการข้อมูลด้วยตัวอักษรที่เน้นและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
(ข) การดําเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทต่างประเทศ หรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์ เนื่องจากมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้ระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อบริษัทต่างประเทศด้วย
(ค) ผลกระทบที่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศอาจได้รับ ในกรณีที่กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศนั้นมีข้อจํากัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ (ถ้ามี)
(ง) ข้อจํากัดในการซื้อหุ้นของบริษัทต่างประเทศ ในกรณีที่หุ้นดังกล่าวที่จะจัดสรรให้ผู้ลงทุนในประเทศไทย มีมูลค่าเกินกว่าวงเงินคงเหลือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศที่สํานักงานจะจัดสรรให้ได้
(จ) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้สิทธิหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ข้อจํากัดในการมอบฉันทะในการใช้สิทธิออกเสียง ข้อจํากัดที่จะไม่ได้รับใบหุ้นเนื่องจากหุ้นของบริษัทต่างประเทศอยู่ในระบบไร้ใบหุ้น เป็นต้น
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทต่างประเทศให้เป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศในประเทศไทย โดยระบุอํานาจหน้าที่ของตัวแทนดังกล่าวอย่างชัดเจน
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของเลขานุการบริษัท
(4) ข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับภาษาที่จะใช้ในการจัดทําหนังสือชี้ชวน งบการเงิน รายงานประจําปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี เอกสารประกอบการประชุมผู้ถือหุ้นและการให้ข้อมูลอื่นหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการที่บริษัทจัดทําเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
(5) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นเพื่อนําไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก ต้องมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า บริษัทต่างประเทศผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการรับหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 41 ข้อ 42 และข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 41 ให้บริษัทต่างประเทศจัดทําและส่งข้อมูลดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานเช่นเดียวกับที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่จัดทําและเปิดเผยต่อหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลัก
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการจัดทําและเปิดเผยรายงานประจําปีหรือรายงานอื่นใดที่มีข้อมูลในทํานองเดียวกับรายงานประจําปี ให้ใช้รายงานประจําปีหรือรายงานดังกล่าวเป็นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี
ข้อ 42 ข้อมูลที่ส่งต่อสํานักงานตามข้อ 41 ต้องไม่เป็นเท็จหรือทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ข้อ 43 ในกรณีที่ข้อมูลตามข้อ 41 เป็นงบการเงิน งบการเงินดังกล่าวต้องจัดทําและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีตามข้อ 30”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 69-FE ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้แบบ 69-FE ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,493 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2556 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
============================
ที่ ทจ. 49/2556
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกส่วนที่ 1 ผู้ที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับหมวด 3 ข้อ 16 ในหมวด 3 การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16 และข้อ 16/1 ในหมวด 3 การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
“ข้อ 16 ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทนั้นเอง
ข้อ 16/1 การเสนอขายหลักทรัพย์อื่นใดนอกจากกรณีตามส่วนที่ 1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การยื่นคําขออนุญาตและหลักเกณฑ์การอนุญาตตามส่วนที่ 2 และข้อกําหนดอื่นตามส่วนที่ 3”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1 การอนุญาตเป็นการทั่วไป ข้อ 16/2 และข้อ 16/3 ในหมวด 3 การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
“ส่วนที่ 1
การอนุญาตเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 16/2 การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 16/3
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นที่อยู่ในประเทศไทยตามสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นในประเทศไทยมีสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น หรือขายหรือโอนสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นของตนได้
(2) หุ้นที่ออกเพื่อรองรับหลักทรัพย์ตาม (1) ที่ให้สิทธิที่จะซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นได้
(3) หุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ซึ่งเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น
(4) หุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ข้อ 16/3 การอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามข้อ 16/2 อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งได้รับอนุญาตตามข้อ 16/2 และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศที่สํานักงานจะจัดสรรให้ได้ และ
(2) บริษัทต่างประเทศสามารถเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศนั้น”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,494 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 65/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
(3) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(4) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(5) “สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า สมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๓ ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้บริการได้เฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นําความในข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับกับการให้บริการดังกล่าว
ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น
ข้อ ๔ มิให้นําความในข้อ 12 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีบุคลากรในการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 25 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการทบทวนความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้า มาใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน
หมวด ๒ การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดโครงสร้างองค์กร ตลอดจนกําหนดนโยบายขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งแสดงได้ว่ามีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ระบบการบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติงาน และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน(compliance unit) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานเพื่อทําหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านฐานะทางการเงินและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
ในการบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์
ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีผู้ทําหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานประจําวัน (responsible officer) อย่างน้อยสองคน เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญากําหนดในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพหรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ
ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานประจําวันตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้จัดการหนึ่งคน และกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทอีกหนึ่งคน
ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เพียงพอที่จะรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้
ข้อ ๑๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องจัดเก็บรายงานหรือบทความการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
หมวด ๓ การปฏิบัติงาน
ส่วน ๑ การติดต่อ ชักชวน หรือการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและ
การปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีบุคลากรซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า
ข้อ ๑๓ ในการทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม
(3) รักษาความลับของลูกค้าและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่
(4) ไม่รับรองว่าจะมีกําไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน หรือรับรองว่าจะไม่มี
ผลขาดทุนในอัตราที่กําหนดไว้โดยแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คํารับรองตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(5) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าในฐานะที่ตนเป็นคู่สัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งถึงฐานะดังกล่าวให้ลูกค้าทราบและลูกค้าได้
แสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในการเข้าเป็นคู่สัญญาดังกล่าว
ข้อ ๑๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๑๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องไม่ทําการโฆษณาข้อความใดที่อาจทําให้ประชาชนเข้าใจผิดในฐานะ การดําเนินงาน หรือการให้บริการของตัวแทนซื้อขายสัญญา
การโฆษณาที่อ้างถึงตัวเลข ข้อมูล หรือรายงานสถิติ จะต้องระบุถึงแหล่งที่มาของตัวเลข ข้อมูล หรือรายงานสถิตินั้นด้วย
ส่วน ๒ การเปิดบัญชีและการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๖ ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องทําสัญญาเป็นหนังสือกับลูกค้าที่มอบหมายให้ทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสัญญาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาสามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนซื้อขายสัญญาหรือพนักงานหรือลูกจ้างของตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสม (trading abuse) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดเงื่อนไขตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้ในสัญญาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าตามข้อ 16
ข้อ ๑๘ ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า แหล่งที่มาของทรัพย์สินที่จะใช้ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
ข้อ ๑๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงิน ความสามารถในการชําระหนี้ วัตถุประสงค์ในการลงทุน และระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
ข้อ ๒๐ ก่อนการเปิดบัญชีให้กับลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้าสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้าอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ในการพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกระทําด้วยความรอบคอบและรัดกุม โดยต้องตรวจสอบฐานะการเงิน แหล่งที่มาของรายได้และทรัพย์สินที่จะนํามาวางเป็นหลักประกันหรือชําระหนี้ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
ข้อ ๒๑ ก่อนการเปิดบัญชีให้ลูกค้าหรือก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (risk disclosure statement) ซึ่งมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามแนวทางของเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ในการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาลงนามในเอกสารเปิดเผยความเสี่ยงเพื่อรับรองว่าได้มีการอธิบายถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้ารับทราบแล้ว พร้อมทั้งดําเนินการให้ลูกค้าลงนามในเอกสารดังกล่าวเพื่อรับรองว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้อธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วด้วย
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความเสี่ยงเฉพาะซึ่งแตกต่างจากที่ได้เปิดเผยไว้ในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงตามข้อ 21 และตัวแทนซื้อขายสัญญายังไม่เคยเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะดังกล่าวมาก่อน ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะดังกล่าวพร้อมข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้ารายนั้นทราบก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าด้วย
ให้นําความในข้อ 21 วรรคสองมาใช้บังคับกับการเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะตามข้อนี้ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องมีระบบตรวจสอบที่เชื่อถือได้ว่าบุคคลที่ส่งคําสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการกับทรัพย์สินในบัญชีของลูกค้าเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบัญชีที่แท้จริง
ข้อ ๒๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย ตลอดจนปรับปรุงบัญชีดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ บัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีข้อมูลอย่างน้อยตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๒๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันและทบทวนความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้าแต่ละรายตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๒๖ ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญ
ข้อ ๒๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าการรายงานข้อร้องเรียนของลูกค้าและผลการพิจารณาข้อร้องเรียนของตัวแทนซื้อขายสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
หมวด ๔ อื่น ๆ
ข้อ ๒๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา สํานักงานก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ละตลาดหลักทรัพย์ | 2,495 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 13/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) และ (7) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“(6) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า
(7) “งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า งานบัญชีและการเงิน งานเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้า งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของตัวแทนซื้อขายสัญญา (compliance) หรืองานสนับสนุนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 มิให้นําความในข้อ 12 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 25 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการทบทวนความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้า มาใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้กับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดโครงสร้างองค์กร ตลอดจนกําหนดนโยบาย ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งแสดงได้ว่ามีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติงาน และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของจํานวนกรรมการของบริษัท”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีผู้มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไว้ให้เพียงพอที่จะปฏิบัติงานเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขาล่วงหน้าและเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องทําสัญญาเป็นหนังสือกับลูกค้าที่มอบหมายให้ทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสัญญาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาสามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนซื้อขายสัญญาหรือพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 27/1 ในการประกอบการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะมอบหมายให้ผู้อื่นดําเนินการแทนตนมิได้ เว้นแต่เป็นการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและด้านงานสนับสนุนตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 28 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานและผู้ปฏิบัติงานให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้”
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป เว้นแต่ความในข้อ 4 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,496 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 25/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 25/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 มิให้นําความในข้อ 12 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 19 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน และระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ข้อ 21 และข้อ 22 มาใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
“ในกรณีที่กรรมการอิสระของตัวแทนซื้อขายสัญญาตาย ลาออกหรือถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาอยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (Financial Conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้น การตรวจสอบการบริหารงานภายในกลุ่ม และการกํากับดูแลโดยหน่วยงานทางการอื่น ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจผ่อนผันให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระเป็นการชั่วคราวหรือถาวรตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ในการนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดเงื่อนไขให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติด้วยก็ได้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 25 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายของลูกค้าให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนความสามารถในการชําระหนี้และวงเงินซื้อขายของลูกค้าแต่ละราย (Total Exposure) เป็นประจํา”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 25/1 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามข้อ 18 ข้อ 19 และข้อ 25 ไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีของลูกค้า”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 28/1 นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและเพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้”
ข้อ 7 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ตลอดจนฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในส่วนของลูกค้ารายเดิมทุกรายที่ตัวแทนซื้อขายสัญญายังไม่เคยมีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป เว้นแต่ความในข้อ 6 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,497 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 6/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 16/1 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.”
ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดําเนินการให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดเมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวให้กระทําในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อการอํานวยความยุติธรรม | 2,498 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 80/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
(3) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(4) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(5) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า
(6) “งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า งานบัญชีและการเงิน งานเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้า งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของตัวแทนซื้อขายสัญญา (compliance) หรืองานสนับสนุนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๔ ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาให้บริการได้เฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นําความในข้อ 17 และข้อ 19 มาใช้บังคับกับการให้บริการดังกล่าว
ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น
ข้อ ๕ มิให้นําความในข้อ 13 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 21 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ข้อ 23 และข้อ 24 มาใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน
หมวด ๒ การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดโครงสร้างองค์กร ตลอดจนกําหนดนโยบาย ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งแสดงได้ว่ามีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติงาน และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้
ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน(compliance unit) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานเพื่อทําหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงด้านฐานะทางการเงินและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
ในการบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของจํานวนกรรมการของบริษัท
ในกรณีที่กรรมการอิสระของตัวแทนซื้อขายสัญญาตาย ลาออกหรือถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาอยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (financial conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้น การตรวจสอบการบริหารงานภายในกลุ่ม และการกํากับดูแลโดยหน่วยงานทางการอื่น ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจผ่อนผันให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระเป็นการชั่วคราวหรือถาวรตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ในการนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดเงื่อนไขให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีผู้มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไว้ให้เพียงพอที่จะปฏิบัติงานเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๑๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้
ข้อ ๑๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องจัดเก็บรายงานหรือบทความการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
หมวด ๓ การปฏิบัติงาน
ส่วน ๑ การติดต่อ ชักชวน หรือการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและ
การปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า
ข้อ ๑๔ ในการทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม
(3) รักษาความลับของลูกค้าและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่
(4) ไม่รับรองว่าจะมีกําไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน หรือรับรองว่าจะไม่มีผลขาดทุนในอัตราที่กําหนดไว้โดยแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คํารับรองตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(5) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าในฐานะที่ตนเป็นคู่สัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งถึงฐานะดังกล่าวให้ลูกค้าทราบและลูกค้าได้แสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในการเข้าเป็นคู่สัญญาดังกล่าว
(6) ในกรณีที่มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับลูกค้าและเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ตลอดจนตรวจสอบดูแลให้การเตรียมคําแนะนําและการให้คําแนะนํากระทําโดยอาศัยหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และมีเอกสารหลักฐานที่อ้างอิงได้ รวมทั้งต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฐานะการเงิน และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้ารายนั้น
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๑๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๑๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องไม่ทําการโฆษณาข้อความใดที่อาจทําให้ประชาชนเข้าใจผิดในฐานะ การดําเนินงาน หรือการให้บริการของตัวแทนซื้อขายสัญญา
การโฆษณาที่อ้างถึงตัวเลข ข้อมูล หรือรายงานสถิติ จะต้องระบุถึงแหล่งที่มาของตัวเลข ข้อมูล หรือรายงานสถิตินั้นด้วย
ส่วน ๒ การเปิดบัญชีและการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๗ ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องทําสัญญาเป็นหนังสือกับลูกค้าที่มอบหมายให้ทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสัญญาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาสามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนซื้อขายสัญญาหรือพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๘ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสม (trading abuse) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดเงื่อนไขตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้ในสัญญาที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าตามข้อ 17
ข้อ ๒๐ ในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
ข้อ ๒๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงิน ความสามารถในการชําระหนี้ วัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
ข้อ ๒๒ ก่อนการเปิดบัญชีให้กับลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้าสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้าอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ในการพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกันและการชําระหนี้ของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกระทําด้วยความรอบคอบและรัดกุม โดยต้องตรวจสอบฐานะการเงิน แหล่งที่มาของรายได้และทรัพย์สินที่จะนํามาวางเป็นหลักประกันหรือชําระหนี้ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
ข้อ ๒๓ ก่อนการเปิดบัญชีให้กับลูกค้าหรือก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (risk disclosure statement) ซึ่งมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามแนวทางของเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ในการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาลงนามในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเพื่อรับรองว่าได้มีการอธิบายถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้ารับทราบแล้ว พร้อมทั้งดําเนินการให้ลูกค้าลงนามในเอกสารดังกล่าวเพื่อรับรองว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้อธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วด้วย
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความเสี่ยงเฉพาะซึ่งแตกต่างจากที่ได้เปิดเผยไว้ในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงตามข้อ 23 และตัวแทนซื้อขายสัญญายังไม่เคยเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะดังกล่าวมาก่อน ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะดังกล่าวพร้อมข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้ารายนั้นทราบก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับลูกค้าด้วย
ให้นําความในข้อ 23 วรรคสอง มาใช้บังคับกับการเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะตามข้อนี้ด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องมีระบบตรวจสอบที่เชื่อถือได้ว่าบุคคลที่ส่งคําสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการกับทรัพย์สินในบัญชีของลูกค้าเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงหรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบัญชีที่แท้จริง
ข้อ ๒๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย ตลอดจนปรับปรุงบัญชีดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ บัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีข้อมูลอย่างน้อยตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๒๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนความสามารถในการชําระหนี้และวงเงินซื้อขายของลูกค้าแต่ละรายเป็นประจํา
ข้อ ๒๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามข้อ 20 ข้อ 21 และข้อ 27 ไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีของลูกค้า
ข้อ ๒๙ ในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญ
ข้อ ๓๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าการรายงานข้อร้องเรียนของลูกค้าและผลการพิจารณาข้อร้องเรียนของตัวแทนซื้อขายสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๓๑ ในการประกอบการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะมอบหมายให้ผู้อื่นดําเนินการแทนตนมิได้ เว้นแต่เป็นการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและด้านงานสนับสนุนตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
หมวด ๔ อื่น ๆ
ข้อ ๓๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องตรวจสอบดูแลให้พนักงานและผู้ปฏิบัติงานให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๓๓ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและเพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต.อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ ๓๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ตลอดจนฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ในส่วนของลูกค้ารายเดิมที่ตัวแทนซื้อขายสัญญายังไม่เคยมีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๓๖ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,499 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 2/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“(4/1) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO)”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ใน (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผน เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 13/1 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศว่ามีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถดําเนินการให้คําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น
(2) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศทราบ
(3) แจ้งชื่อและที่อยู่ของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการให้คําแนะนําได้ และ
(4) ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดแนวปฏิบัติในการที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศไทย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
\_\_\_\_\_ | 2,500 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 10 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 10 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 มิให้นําความในข้อ 21 เฉพาะข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ข้อ 23 และข้อ 24 มาใช้บังคับกับการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,501 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 53/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 53 / 2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขาย
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 6/1 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของพนักงาน เพื่อป้องกันมิให้พนักงานนําข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ และเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน ทั้งนี้ นโยบายและระเบียบปฏิบัติดังกล่าวต้องกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของตัวแทนซื้อขายสัญญา และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ ๒ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของพนักงานที่ยังไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดในข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมนโยบาย และระเบียบปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,502 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 24 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,503 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6 ) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 27 / 2556
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทน
ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 6 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และ
มาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 31 ในการติดต่อ ชักชวน หรือการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจใช้บริการจากบุคคลอื่นให้ทําหน้าที่วิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด”
ข้อ 3 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้และยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,504 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 21/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_**
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
1. “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
2. “เช่า” หมายความว่า การที่กองทุนรวมเช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงการที่กองทุนรวมได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
3. “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย
4. “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
5. “หน่วยลงทุน” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายชนิด โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน
(6) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ)
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
(7) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
(8) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(9) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(10) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
(11) “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ
(ข) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นตาม (ก) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(12) “อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกินหนึ่งพันตารางเมตร หรือโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
(13) “บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(14) “รายงานการประเมินมูลค่า” หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินมูลค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
(15) “การประเมินมูลค่า” หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
(16) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
(17) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๓ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมดํารงลักษณะดังต่อไปนี้ ตลอดอายุโครงการ
(1) มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดํารงลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้น
(2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนสิ้นอายุโครงการ
(3) มีลักษณะอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 11
(2) สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี)
(3) รายละเอียดของโครงการ โดยจัดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และให้จัดทําสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสองให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖ ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
(3) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้น
(4) สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
(5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(6) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
(7) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของสิทธิการเช่านั้น หรือ
(8) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) และ (3)
ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวทุกราย ถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า หรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่ง และวรรคสอง แยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินลงทุนตามแผนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาท จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(ข) ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2609 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
การคํานวณวงเงินลงทุนและเงินลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับมูลค่าที่ดินรวมในวงเงินลงทุนและเงินลงทุนดังกล่าว
(2) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจจะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578
ในกรณีที่กองทุนรวมใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินทั้งหมดของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามข้อ 23 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมตามข้อ 7 ยื่นคําขอและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 7(1) ให้ยื่นแผนการพัฒนาที่ดินที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นโครงการที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในทําเลเดียวกันตั้งแต่หนึ่งร้อยไร่ขึ้นไป
เพื่อรองรับการก่อสร้างหลายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ และ
(ข) เป็นโครงการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. โครงการที่พัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอ โดยมีการพัฒนาที่ดินและระบบสาธารณูปโภคในระดับที่ทําให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อที่ดินและพื้นที่โดยรอบ และนําความเจริญสู่ชุมชนในลักษณะที่ทําให้เศรษฐกิจของชุมชนดังกล่าวเจริญขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งมีการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนสร้างฐานภาษีให้แก่หน่วยงานกลางและท้องถิ่นในอนาคต
2. โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า (logistic) ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม
3. โครงการอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวมตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด
(2) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 7(2) ให้ยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพร้อมทั้งข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าที่ดินดังกล่าวใช้สําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ
(3) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สิน
ที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม
การขอผ่อนผันอายุโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) (ก)
(2) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) (ข)
ข้อ ๙ ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) หากต่อมาบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 7(1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 7(1) (ก) หรือ (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(2) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 7(1) (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แต่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงาน
(1) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท
(2) ในกรณีที่การรายงานตาม (1) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท
(3) ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) (ข) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงานด้วย
(ก) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท
(ข) ในกรณีที่การรายงานตาม (ก) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท
ข้อ ๑๑ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดหรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 3(1)
(2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท และอายุโครงการ (ถ้ามี)
(2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม
(3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ
(5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน
(6) ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11
(7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ
(8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์
(9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการหรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ห้ามบริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมได้
ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 11
ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 11 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๕ ในการจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีระบบและควบคุมดูแลให้ผู้จัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามกฎหมาย และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม
ผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบและปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุโลม
ในการขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแสดงขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนรวมไว้ให้ชัดเจนด้วย
ข้อ ๑๖ ในการจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และที่มิใช่สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน เพื่อเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนดังกล่าว
ผู้บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องที่บริษัทจัดการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบและปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ต้องมีลักษณะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วต้องเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(3) อาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
(ก) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจน
(ข) ได้จํานองหรือวางเป็นหลักประกันการชําระหนี้ไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(ค) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ได้มาอันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้หรือการบังคับคดีในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(ง) เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งนี้ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประกันหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(จ) เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
การซื้อหรือเช่าที่ดินตาม (ข) (ค) หรือ (ง) ต้องซื้อหรือเช่าภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(4) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(5) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ให้กระทําได้ภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 หากมีการระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม และเป็นกรณีซื้อหรือเช่าอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร หรือกรณีซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่มิใช่อาคารขนาดใหญ่ทั้งโครงการก่อสร้าง โดยอาคารขนาดใหญ่ หรืออาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และได้มีการก่อสร้างไปแล้วก่อนการซื้อหรือเช่าไม่น้อยกว่าอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่เป็นการซื้อหรือเช่าอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(ข) กรณีที่เป็นการซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้างต้องปรากฏว่ามูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือเช่าโครงการก่อสร้างดังกล่าวโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
การคํานวณตาม (ข) มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้ว
(6) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงิน องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ
(ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 19
(ค) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้ตาม (3) (ข) (ค) หรือ (ง)
(7) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันเพิ่มเติม ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าว เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ข้อ ๑๘ ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันจะต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจากหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น
สิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๑๙ บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด
ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
(1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 6 หรือ
(2) มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 17
ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่มีหรือเคยมีใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าวในขณะที่ซื้อหรือได้มาซึ่งที่ดินนั้น
(2) ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้วหรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออกเป็นต้น
ข้อ ๒๒ ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ และในกรณีที่เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการอาจให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ตามข้อ 7(1)
(ข) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจตามข้อ 7(2) หรือ
(ค) เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23
(2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกับ (1) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ที่มิใช่กรณีตามข้อ 7(1)และ (2) บริษัทจัดการต้องยื่นขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายว่า หากบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้พัฒนาได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจากกองทุนรวม
ข้อ ๒๔ ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 17 ข้อ 18 และข้อ 19 ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
(2) ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินมูลค่าล่าสุด (ถ้ามี)
ข้อ ๒๕ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้นกู้
(6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(7) ตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(8) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อทําการประเมินมูลค่าทุกสองปีนับแต่วันที่ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์
บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ
ข้อ ๒๗ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งมูลค่าที่คํานวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่คํานวณ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถคํานวณมูลค่าดังกล่าวให้เสร็จสิ้นได้ ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม เช่น กรณีที่เป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันซึ่งมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนมาก และจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการประเมินมูลค่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าว สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ได้
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 27 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ข้อ ๒๙ ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 27 ให้บริษัทจัดการคํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๓๐ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกปีสิ้นสุดเดือนธันวาคม และส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ตราสารแห่งหนี้ และเงินฝากพร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี
(2) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม และสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(3) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายหรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจําหน่ายสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(4) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี
(5) การเปรียบเทียบงบดุลและงบกําไรขาดทุนของปีปัจจุบันและปีก่อน
(6) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
ข้อ ๓๑ การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว
ข้อ ๓๒ ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการลดเงินทุนและเหตุในการลดเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และได้มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุจํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลด วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนและวันคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-ล2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓๓ บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
ข้อ ๓๔ ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามข้อ 33 หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบันเพื่อเพิ่มเงินทุน
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม โดยยื่นคําขอต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-พ2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓๕ เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่าคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนตามข้อ 34(4) มีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง และบริษัทจัดการได้ชําระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามอัตราที่สํานักงานกําหนดแล้ว ให้สํานักงานรับจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนพร้อมออกหลักฐานการรับจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่บริษัทจัดการ
ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สูญหายหรือถูกทําลาย ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สํานักงานกําหนด
ผู้ใดประสงค์จะตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๓๖ ให้นําความในข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม โดยไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการ หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ข้อ ๓๗ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓๘ ให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอยู่ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สามารถถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นต่อไปได้
ข้อ ๓๙ บริษัทจัดการที่ได้ยื่นคําขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. และได้รับการผ่อนผันอายุโครงการจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมตามที่ได้รับการผ่อนผัน ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในคําสั่งผ่อนผันของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าว
ข้อ ๔๐ ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน อยู่แล้วก่อนวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548หากการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 6 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหากสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนหรือการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 6
ข้อ ๔๑ ภายใต้บังคับข้อ 40 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๔๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๔๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อเป็นการบรรเทาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่มีการลงทุนในที่ดินโดยมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่และมีจํานวนเงินลงทุนอย่างมีนัยสําคัญภายใต้กรอบเวลาที่กําหนด อันจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนภายในประเทศซึ่งจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น และ (2) เนื่องจาพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,505 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 9/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 32 การลดเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจะชําระคืนเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 32/1 และข้อ 32/2 แล้วแต่กรณี”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 32/1 และข้อ 32/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
“ข้อ 32/1 การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นเงินทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจัดส่งเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการลดเงินทุน ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
ในกรณีที่โครงการมีข้อกําหนดให้การลดเงินทุนของกองทุนรวมต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
(ก) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
(ข) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน
(ค) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน
(2) ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม
ข้อ 32/2 การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเมื่อได้รับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายแล้วโดยบริษัทจัดการต้องลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนและโอนทรัพย์สินหรือจัดส่งเงิน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับมติ
ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการ
มอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อมูลอย่างน้อยตามที่ระบุดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน
(1) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
(2) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน
(3) ทรัพย์สินที่จะชําระคืน ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับทรัพย์สินแต่ละชิ้น และราคาของทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มา ราคาตามรายงานการประเมินมูลค่าซึ่งจัดทําขึ้นไม่เกินหกเดือนก่อนวันลดเงินทุน และราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) จํานวนเงินที่จะชําระคืน และชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับเงิน (ถ้ามี)
(5) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 42 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 42 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 117-ล2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 21/ 2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อ 5 กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้ จนกว่าการลดเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับส่วนที่ลดทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินได้ และเพื่อขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,506 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 31/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 31/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 33 บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
(2) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมสามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,507 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 28/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 4)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 21 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น
ในการจําหน่ายที่ดินของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมได้รับอนุญาตหรือได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินได้เฉพาะกรณีที่ที่ดินที่กองทุนรวมลงทุนหรือได้มาเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าว
อยู่แล้ว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,508 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 21/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
(1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(2) “เช่า” หมายความว่า การที่กองทุนรวมเช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงการที่กองทุนรวมได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย
(4) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(5) “หน่วยลงทุน” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายชนิด โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน
(6) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ)
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
(7) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
(8) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(9) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(10) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
(11) “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ
(ข) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นตาม (ก) ตัดสินใจซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(12) “อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกินหนึ่งพันตารางเมตรหรือโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
(13) “บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(14) “รายงานการประเมินมูลค่า” หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินมูลค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
(15) “การประเมินมูลค่า” หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
(16) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
(17) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ 3 บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมดํารงลักษณะดังต่อไปนี้ ตลอดอายุโครงการ
(1) มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบราย
เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดํารงลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้น
(2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนสิ้นอายุโครงการ
(3) มีลักษณะอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 11
(2) สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี)
(3) รายละเอียดของโครงการ โดยจัดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และให้จัดทําสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม
ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสองให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
ข้อ 6 ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุน
ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
(3) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้น
(4) สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
(5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(6) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
(7) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของสิทธิการเช่านั้น หรือ
(8) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม (2) และ (3)
ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวทุกราย ถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า หรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่ง และวรรคสอง แยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน
ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินลงทุนตามแผนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาท จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(ข) ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2609 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
การคํานวณวงเงินลงทุนและเงินลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับมูลค่าที่ดินรวมในวงเงินลงทุนและเงินลงทุนดังกล่าว
(2) กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจ จะผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578
ในกรณีที่กองทุนรวมใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินทั้งหมดของกองทุนรวมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามข้อ 23 ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 8 ให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมตามข้อ 7 ยื่นคําขอและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 7(1) ให้ยื่นแผนการพัฒนาที่ดินที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นโครงการที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในทําเลเดียวกันตั้งแต่หนึ่งร้อยไร่ขึ้นไปเพื่อรองรับการก่อสร้างหลายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ และ
(ข) เป็นโครงการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. โครงการที่พัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอ
โดยมีการพัฒนาที่ดินและระบบสาธารณูปโภคในระดับที่ทําให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อที่ดินและพื้นที่โดยรอบ
และนําความเจริญสู่ชุมชนในลักษณะที่ทําให้เศรษฐกิจของชุมชนดังกล่าวเจริญขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งมีการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนสร้างฐานภาษีให้แก่หน่วยงานกลางและท้องถิ่นในอนาคต
2. โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า (logistic) ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม
3. โครงการอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวมตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนด
(2) ในกรณีของกองทุนรวมตามข้อ 7(2) ให้ยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพร้อมทั้งข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าที่ดินดังกล่าวใช้สําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ
(3) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายในการรับโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากกองทุนรวมเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม
การขอผ่อนผันอายุโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) (ก)
(2) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สําหรับการขอเพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) (ข)
ข้อ 9 ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) หากต่อมาบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 7(1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 7(1) (ก) หรือ (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(2) กองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 7(1) (ข) หากบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แต่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกเมื่อรวมกับเงินลงทุนในช่วงระยะเวลาแรกแล้วเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้ถือว่ากองทุนรวมดังกล่าวเลิกไปในวันทําการแรกถัดจากวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2578
ข้อ 10 ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงาน
(1) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท
(2) ในกรณีที่การรายงานตาม (1) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบหนึ่งพันล้านบาท
(3) ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการตามข้อ 7(1) (ข) ให้บริษัทจัดการรายงานและจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงานด้วย
(ก) รายงานการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทก่อนวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้รายงานสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท
(ข) ในกรณีที่การรายงานตาม (ก) แจ้งว่าผู้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาทภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เงินลงทุนของผู้เช่าหรือเช่าช่วงดังกล่าวซึ่งรับรองโดยผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากกองทุนรวมมีการใช้เงินลงทุนตามแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เป็นจํานวนครบห้าร้อยล้านบาท
ข้อ 11 ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดหรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 3(1)
(2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ 12 ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท และอายุโครงการ (ถ้ามี)
(2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม
(3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ
(5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน
(6) ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11
(7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ
(8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์
(9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการหรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ 13 ห้ามบริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมได้
ข้อ 14 บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 11
ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 11 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ 15 ในการจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีระบบและควบคุมดูแลให้ผู้จัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามกฎหมาย และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม
ผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบและปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุโลม
ในการขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแสดงขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนรวมไว้ให้ชัดเจนด้วย
ข้อ 16 ในการจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และที่มิใช่สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน เพื่อเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนดังกล่าว
ผู้บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องที่บริษัทจัดการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบและปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนโดยอนุโลม
ข้อ 17 การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ต้องมีลักษณะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้ว
ต้องเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(3) อาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
(ก) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเปิดดําเนินการได้ เนื่องจากผู้มีสิทธิหรือผู้เป็นเจ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจน
(ข) ได้จํานองหรือวางเป็นหลักประกันการชําระหนี้ไว้กับสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(ค) เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วหรือที่ดิน ที่ซื้อหรือเช่า หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ได้มาอันเนื่องมาจากการรับชําระหนี้หรือการบังคับคดีในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(ง) เป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาลหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่สถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ขอให้ศาลบังคับคดีหรือบังคับจํานองหรือขอให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งนี้ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประกันหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
(จ) เป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างจนเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
การซื้อหรือเช่าที่ดินตาม (ข) (ค) หรือ (ง) ต้องซื้อหรือเช่าภายในวันที่27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(4) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(5) การซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จให้กระทําได้ภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 หากมีการระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม และเป็นกรณีซื้อหรือเช่าอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร หรือกรณีซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่มิใช่อาคารขนาดใหญ่ทั้งโครงการก่อสร้าง โดยอาคารขนาดใหญ่ หรืออาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างก่อนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และได้มีการก่อสร้างไปแล้วก่อนการซื้อหรือเช่าไม่น้อยกว่าอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่เป็นการซื้อหรือเช่าอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(ข) กรณีที่เป็นการซื้อหรือเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้างต้องปรากฏว่ามูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือเช่าโครงการก่อสร้างดังกล่าวโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
การคํานวณตาม (ข) มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้ว
(6) ต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมรับโอนมาเพื่อการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่มีการโอนมาจากสถาบันการเงิน องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ
(ข) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งบริษัทจัดการได้มาจากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาดตามข้อ 19
(ค) อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นที่ดินที่ได้มาหรือมีไว้ตาม (3) (ข) (ค) หรือ (ง)
(7) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันเพิ่มเติม ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังกล่าว เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ข้อ 18 ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันจะต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจากหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น
สิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ข้อ 19 บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด
ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
(1) มีการถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง โดยบุคคลใดซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุน อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 6 หรือ
(2) มีการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามข้อ 17
ข้อ 21[1](#fn1) ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือปกปักรักษาที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น
[2](#fn2) ในการจําหน่ายที่ดินของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมได้รับอนุญาตหรือได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินได้เฉพาะกรณีที่ที่ดินที่กองทุนรวมลงทุนหรือได้มาเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว
ข้อ 22 ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ และในกรณีที่เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการอาจให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ตามข้อ 7(1)
(ข) เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในที่ดินเพื่อให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงปลูกพืชเศรษฐกิจตามข้อ 7(2) หรือ
(ค) เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23
(2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกับ (1) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า
ข้อ 23 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีความประสงค์ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์ที่มิใช่กรณีตามข้อ 7(1) และ (2) บริษัทจัดการต้องยื่นขอความเห็นชอบและขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายว่า หากบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้พัฒนาได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคมพ.ศ. 2558 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจากกองทุนรวม
ข้อ 24 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 17 ข้อ 18 และข้อ 19 ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือ
สรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
(2) ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินมูลค่าล่าสุด (ถ้ามี)
ข้อ 25 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้นกู้
(6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้
(7) ตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(8) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ 26 ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อทําการประเมินมูลค่าทุกสองปีนับแต่วันที่ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์
บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ
ข้อ 27 ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งมูลค่าที่คํานวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่คํานวณ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถคํานวณมูลค่าดังกล่าวให้เสร็จสิ้นได้ ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม เช่น กรณีที่เป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันซึ่งมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนมาก และจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการประเมินมูลค่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าว สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ได้
ข้อ 28 ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 27 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ข้อ 29 ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 27 ให้บริษัทจัดการคํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
ข้อ 30 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกปีสิ้นสุดเดือนธันวาคม และส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ตราสารแห่งหนี้ และเงินฝากพร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี
(2) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม และสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(3) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายหรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจําหน่ายสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(4) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี
(5) การเปรียบเทียบงบดุลและงบกําไรขาดทุนของปีปัจจุบันและปีก่อน
(6) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
ข้อ 31 การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว
ข้อ 32[3](#fn3) การลดเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจะชําระคืนเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 32/1 และข้อ 32/2 แล้วแต่กรณี
ข้อ 32/1[4](#fn4) การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นเงินทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจัดส่งเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการลดเงินทุน ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
[5](#fn5) ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
[6](#fn6) ในกรณีที่โครงการมีข้อกําหนดให้การลดเงินทุนของกองทุนรวมต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1)[7](#fn7) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
(ก)[8](#fn8) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
(ข)[9](#fn9) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน
(ค)[10](#fn10) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน
(2)[11](#fn11) ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม
ข้อ 32/2[12](#fn12) การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเมื่อได้รับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายแล้วโดยบริษัทจัดการต้องลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนและโอนทรัพย์สินหรือจัดส่งเงิน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับมติ
[13](#fn13) ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
[14](#fn14) ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อมูลอย่างน้อยตามที่ระบุดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน
(1)[15](#fn15) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
(2)[16](#fn16) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน
(3)[17](#fn17) ทรัพย์สินที่จะชําระคืน ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับทรัพย์สินแต่ละชิ้น และราคาของทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มา ราคาตามรายงานการประเมินมูลค่าซึ่งจัดทําขึ้นไม่เกินหกเดือนก่อนวันลดเงินทุน และราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(4)[18](#fn18) จํานวนเงินที่จะชําระคืน และชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับเงิน (ถ้ามี)
(5)[19](#fn19) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน
ข้อ 33[20](#fn20) บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ หากการเพิ่มเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1)[21](#fn21) เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า ให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
(2)[22](#fn22) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท
ข้อ 34 ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามข้อ 33 หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จํานวนเงินทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบันเพื่อเพิ่มเงินทุน
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม โดยยื่นคําขอต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-พ2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ 35 เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่าคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนตามข้อ 34(4) มีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง และบริษัทจัดการได้ชําระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามอัตราที่สํานักงานกําหนดแล้ว ให้สํานักงานรับจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนพร้อมออกหลักฐานการรับจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่บริษัทจัดการ
ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สูญหายหรือถูกทําลาย ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สํานักงานกําหนด
ผู้ใดประสงค์จะตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ 36 ให้นําความในข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม โดยไม่เกินจํานวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ตามที่ได้กําหนดไว้ในโครงการ หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ข้อ 37 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ 38 ให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอยู่ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สามารถถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นต่อไปได้
ข้อ 39 บริษัทจัดการที่ได้ยื่นคําขอผ่อนผันอายุโครงการของกองทุนรวมต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. และได้รับการผ่อนผันอายุโครงการจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมตามที่ได้รับการผ่อนผัน ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในคําสั่งผ่อนผันของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าว
ข้อ 40 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน อยู่แล้วก่อนวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 หากการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 6 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ผู้ให้เช่า เจ้าของสิทธิการเช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหากสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนหรือการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 6
ข้อ 41 ภายใต้บังคับข้อ 40 ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปก็ได้
ข้อ 42[23](#fn23) ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 43 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 44 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ 45 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
*หมายเหตุ* 1. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อเป็นการบรรเทาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การผ่อนผันระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่มีการลงทุนในที่ดินโดยมีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่และมีจํานวนเงินลงทุนอย่างมีนัยสําคัญภายใต้กรอบเวลาที่กําหนด อันจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนภายในประเทศซึ่งจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น และ (2) เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ
วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับส่วนที่ลดทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินได้
และเพื่อขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549
จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
ประกาศนี้ และมีบทเฉพาะกาลดังนี้
ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 117-ล2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/ 2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อ 5 กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้ จนกว่าการลดเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
3. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 31/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ
วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยาย พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมสามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในการดําเนินคดีพิพาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
4. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556
-----------------------ประกาศฉบับประมวล
-----------------------ประกาศฉบับประมวล
---
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
22.
23. | 2,509 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 22/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกปิดกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วย
(3) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(4) “หน่วยลงทุน” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายชนิด โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน
(5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฒ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ)
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
(6) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
(7) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(8) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(9) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตามเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
(10) “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น การหาดอกผลโดยวิธีอื่น หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการ
(11) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
(12) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2541 ซึ่งได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๓ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมดํารงลักษณะดังต่อไปนี้ ตลอดอายุโครงการ
(1) มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจํานวนไม่น้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดํารงลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้น
(2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนสิ้นอายุโครงการ
(3) มีลักษณะอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามที่กําหนดในข้อ 8
(2) สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี)
(3) รายละเอียดของโครงการ โดยจัดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และให้จัดทําสําเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใดบริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสํานักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
ข้อ 6 ในกรณีที่บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถืออยู่ทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าวหรือดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา ให้นับจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มาตามสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนและทรัพย์สิน
ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดถือกรรมสิทธิ์ในหน่วยลงทุนหรือสิทธิเรียกร้องโดยมีเจตนาเพื่อให้ดอกผล สิทธิ หรือประโยชน์ในหน่วยลงทุนหรือสิทธิเรียกร้อง ตกได้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสี่ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการกําหนดอายุโครงการซึ่งต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าจํานวนที่กําหนดหรือน้อยกว่าจํานวนที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 3(1)
(2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท และอายุโครงการ (ถ้ามี)
(2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม
(3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) เลขที่หน่วยลงทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ
(5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน
(6) ข้อความที่เป็นข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8
(7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ
(8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์
(9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการหรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมก็ได้
ข้อ ๑๑ บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8
ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการลงทุนของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน โดยอนุโลม
ข้อ ๑๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
(1) พันธบัตร
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก
(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
(5) หุ้น
(6) หุ้นกู้
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(8) หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน
(9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๔ ในการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินจะต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจากหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น
ข้อ ๑๕ บริษัทจัดการอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในการขายทอดตลาด
ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งที่ดินตามข้อ 15 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
(2) ดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินดังกล่าวในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดินหรือเพื่อประโยชน์ในการจําหน่ายที่ดินนั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น
ข้อ ๑๗ การลงทุนในสิทธิเรียกร้องตามข้อ 14 หรือในทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(ข) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจําหน่ายหรือโอนสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าว
การนับอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 15 รวมในอัตราส่วนดังกล่าวได้
(2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ในกรณีที่บริษัทจัดการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
ข้อ ๑๘ ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 15 ให้บริษัทจัดการดําเนินการได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าหรือให้เช่าช่วงพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ เว้นแต่ในกรณีการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงที่ดิน บริษัทจัดการต้องไม่ให้ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงดําเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานในระบบอสังหาริมทรัพย์
(2) ดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ (1) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่การจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นการให้เช่าหรือให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราค่าเช่าที่กองทุนรวมเรียกเก็บในอัตราที่สมเหตุสมผลตามสภาพทรัพย์สินที่กองทุนรวมให้เช่า
ข้อ ๑๙ ให้บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องตามข้อ 14 ทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาตามข้อ 15 และทรัพย์สินอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ให้จัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลอย่างน้อยต้องมีข้อมูลซึ่งระบุราคาที่กองทุนรวมได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
(2) รายงานที่แสดงอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 17(1) ของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี ให้จัดส่งให้สํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีนั้น โดยรายงานดังกล่าวให้จําแนกตามประเภททรัพย์สิน
ข้อ ๒๐ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งมูลค่าที่คํานวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่คํานวณ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถคํานวณมูลค่าดังกล่าวให้เสร็จสิ้นได้ ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและของเดือนธันวาคม เช่น กรณีที่เป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินซึ่งมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนมากและจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการประเมินมูลค่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าว สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ได้
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 20 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ข้อ ๒๒ ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 20 ให้บริษัทจัดการคํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในระหว่างที่สมาคมยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๓ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกปีสิ้นสุดเดือนธันวาคมและส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นเดือนธันวาคม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องจากการได้รับชําระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของปี
(2) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
(3) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี (4) การเปรียบเทียบงบดุลและงบกําไรขาดทุนของปีปัจจุบันและปีก่อน
(5) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
ข้อ ๒๔ การจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิจากการขายหรือจําหน่ายสิทธิเรียกร้องตามข้อ 14 ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว
ข้อ ๒๕ ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กําหนดเรื่องการลดเงินทุนและเหตุในการลดเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และได้มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุจํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลด วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนและวันคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบ 117-ล3 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒๖ ห้ามมิให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมภายหลังจากการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
(2) เพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๒๗ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจแก้ไขกองทุนรวมนั้นเป็นกองทุนเปิดได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๒๘ ให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอยู่ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สามารถถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมนั้นต่อไปได้
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทใดที่มิใช่หุ้นของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ อยู่แล้วก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ให้กองทุนรวมดังกล่าวสามารถมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้นต่อไปได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหุ้นดังกล่าวไปเท่าใด ให้กองทุนรวมมีไว้ซึ่งหุ้นเพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๓๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๓๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,510 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 25 การลดเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจะชําระคืนเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 25/1 และข้อ 25/2 แล้วแต่กรณี”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 และข้อ 25/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
“ข้อ 25/1 การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นเงินทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการลดจํานวนหน่วยลงทุน และจัดส่งเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการลดเงินทุน ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
ในกรณีที่โครงการมีข้อกําหนดให้การลดเงินทุนของกองทุนรวมต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
(ก) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
(ข) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน
(ค) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน
(2) ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม
ข้อ 25/2 การลดเงินทุนโดยชําระคืนเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการดําเนินการเมื่อได้รับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายแล้วโดยบริษัทจัดการต้องลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนและโอนทรัพย์สินหรือจัดส่งเงิน (ถ้ามี)ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ได้รับมติ
ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วเสร็จตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานทั้งนี้ คําขอดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้ลงนามต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อมูลอย่างน้อยตามที่ระบุดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน
(1) จํานวนเงินทุนและจํานวนหน่วยลงทุนที่จะลดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย
(2) แผนการลดเงินทุน ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการลดเงินทุน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายหลังการลดเงินทุน
(3) ทรัพย์สินที่จะชําระคืน ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับทรัพย์สินแต่ละชิ้น และราคาของทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มา ราคาตามรายงานการประเมินมูลค่าที่จัดทําขึ้นโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งจัดทําขึ้นไม่เกินหกเดือนก่อนวันลดเงินทุน และราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) จํานวนเงินที่จะชําระคืน และชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับเงิน (ถ้ามี)
(5) วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อลดจํานวนหน่วยลงทุน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 30 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 117-ล3 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อ 5 กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้ จนกว่าการลดเงินทุนจดทะเบียนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับส่วนที่ลดทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินได้ และเพื่อขยายระยะเวลาในการจําหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้มาก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น จากการเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด หรือจากการซื้อในการขายทอดตลาด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,511 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.