title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On
----------------------------------------------
เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคาร้อง คําขอ แบบแสดงรายการ หรือการดําเนินการใดๆ ตามกฎหมายในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ กับ 3 กรมภาษี ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยให้สามารถใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เดียวกัน สําหรับการเข้าใช้ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร หากกระทําผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หน่วยงานของรัฐต้องกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กําหนดในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 ออกตามความมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กระทรวงการคลังจึงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่ได้ลงทะเบียนขอใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบบริการ Tax Single Sign On
“ระบบบริการ Tax Single Sign On” หมายความว่า ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านภาษีของ 3 กรมภาษี โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ชุดเดียวในการเข้าสู่ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของ 3 กรมภาษี
“3 กรมภาษี” หมายความว่า กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
ข้อ ๒ ผู้ใช้บริการที่มีความประสงค์จะใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ต้องลงทะเบียนโดยยื่นคําขอใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงทุกประการ
ข้อ ๓ ผู้ใช้บริการหรือผู้รับมอบอํานาจต้องมาแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่มีภูมิลําเนาหรือสานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพสามิต ณ กรมสรรพสามิต ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคําขอตามข้อ 2 พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) คําขอใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ที่ยื่นไว้ตามข้อ 2 พร้อมลงลายมือชื่อของผู้ใช้บริการ
(2) ข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On พร้อมลงลายมือชื่อของผู้ใช้บริการ
(3) หนังสือมอบอํานาจ และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง สําหรับกรณีผู้ใช้บริการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาส่งเอกสารหลักฐานแทน
ข้อ ๔ เมื่อผู้ใช้บริการได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On แล้ว ผู้ใช้บริการจะได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) ผ่านที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email Address) ของผู้ใช้บริการที่ระบุไว้ในคําขอใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On และให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้กําหนดรหัสผ่าน (Password) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th เพื่อเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On สําหรับเข้าใช้ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของ 3 กรมภาษี
ข้อ ๕ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เป็นหลักฐานแสดงการลงลายมือชื่อของผู้ใช้บริการในการใช้ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของ 3 กรมภาษี ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th ผู้ใช้บริการต้องเก็บรักษาชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไว้เป็นความลับ การระบุชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ถือเป็นการยืนยันตัวผู้ใช้บริการและรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๖ กรณีผู้ใช้บริการมีความประสงค์จะแก้ไขข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้เพื่อใช้ในการอ้างอิงหรือยืนยันตัวผู้ใช้บริการ เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email Address) หมายเลขโทรศัพท์ หรือยกเลิกการใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ผู้ใช้บริการจะต้องยื่นคําขอแก้ไขข้อมูลผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On
การติดต่อผู้ใช้บริการไปยังที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email Address) ที่ผู้ให้บริการได้รับแจ้งไว้ ถือว่าเป็นการติดต่อโดยชอบจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๗ ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบและผูกพันตามเนื้อหาหรือข้อมูลที่เกิดจากการใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไม่ว่าจะเป็นการกระทําโดยผู้ใช้บริการเอง หรืออนุญาตให้ผู้อื่นนําชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไปใช้ หรือมีผู้อื่นแอบอ้างนาชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไปใช้อันเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ใช้บริการ ให้ถือว่าการใช้งานระบบบริการ Tax Single Sign On เป็นการกระทําของผู้ใช้บริการด้วยตนเอง
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
(นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,312 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลาการชำระภาษีอากรสำหรับการยื่นแบบแสดง ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายเวลาการชําระภาษีอากรสําหรับการยื่นแบบแสดง ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่อเป็นการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษีและบรรเทาภาระในการเสียภาษี ตลอดจนเพื่อรณรงค์ให้ผู้เสียภาษีรายใหม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมากยิ่งขึ้น จึงสมควรขยายเวลาการชําระภาษีเป็นการทั่วไปให้แก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีภาษีต้องเสียน้อยกว่า 3,000 บาท ได้มีโอกาสยื่นรายการและชําระภาษีอากรโดยสามารถผ่อนชําระเป็นงวด งวดละเท่าๆ กันไม่เกิน 6 งวด ให้เป็นการถูกต้องต่อไป โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และไม่ต้องรับผิดทางอาญารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายเวลาการชําระภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่สามารถผ่อนชําระเป็นงวด งวดละเท่าๆ กันไม่เกิน 6 งวด ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้ต้องเสียภาษีของปีภาษี 2548 เฉพาะกรณีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2549
ข้อ ๒ กรณีผู้ต้องเสียภาษีไม่สามารถชําระภาษีได้ภายในกําหนดเวลาพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 โดยมีภาษีอากรที่ต้องชําระรวมกันทุกประเภทเงินได้พึงประเมินและจากการคํานวณภาษีทุกกรณี เป็นจํานวนเงินน้อยกว่า 3,000 บาท ให้มีสิทธิยื่นคําร้องขอผ่อนชําระภาษีเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กันไม่เกิน 6 งวด โดยงวดแรกต้องชําระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2549 และงวดสุดท้ายให้ชําระภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2549
ภาษีอากรที่ขอผ่อนชําระตามวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ชําระภายในกําหนดเวลา ให้หมดสิทธิได้รับประโยชน์ตามประกาศนี้เฉพาะภาษีอากรสําหรับงวดที่มิได้ชําระตามกําหนดเวลา รวมทั้งงวดที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระทั้งหมดด้วย และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่มิได้ชําระและงวดต่อๆ ไปด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่มีผลต่อภาษีอากร เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่ได้เสียไปแล้วก่อนหรือในวันที่ที่ลงในประกาศนี้
ข้อ ๔ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และสถานที่ชําระภาษีอากร ได้ตามที่เห็นสมควร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
นายไชยยศ สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(ร.จ. ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 22 ง วันที่ 7 มีนาคม 2549) | 2,313 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การกําหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เข้าศึกษาหรือฝึกอบรม
-----------------------------------------------
ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจที่จะประกาศกําหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 จึงเห็นควรกําหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ขอบเขต และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจํานวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมนั้น ต้องส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9
ข้อ ๓ สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่จะให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมต้องเป็นสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานเฉพาะที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ
ข้อ ๔ การให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมต้องเป็นการศึกษาหรือฝึกอบรมในประเทศไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ฝีมือของลูกจ้างให้สูงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง
ข้อ ๕ หลักสูตรที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามข้อ 3 ใช้ในการ ให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องมีลักษณะ ดังนี้
(1) กรณีสถานศึกษา
(ก) ต้องจัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการสําหรับการศึกษาในระดับที่ต่ํากว่าอุดมศึกษา หรือ
(ข) ต้องจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการสําหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือ
(ค) ต้องจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการสําหรับโรงเรียนนอกระบบ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ
(ง) ต้องจัดการฝึกอบรมให้แก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป (Public Training) หรือให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันตามหลักสูตรที่สถานศึกษานั้น ๆ ได้จัดขึ้น
(2) กรณีสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานต้องจัดการฝึกอบรมให้แก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป (Public Training) หรือให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจเป็นเครือข่ายกัน เช่น ตัวแทนจําหน่ายสินค้า ศูนย์บริการซ่อมสินค้า เป็นต้น
ข้อ ๖ ค่าใช้จ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายให้สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามข้อ 3 เพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม ประกอบด้วย
(1) ค่าใช้จ่ายการศึกษาที่เป็นค่าเล่าเรียน ค่าลงทะเบียนหรือค่าบํารุง
(2) ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมที่เป็นค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน
ค่าใช้จ่ายการศึกษาหรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางเพื่อเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในการดูงานในประเทศหรือต่างประเทศตามที่กําหนดในหลักสูตร (ถ้ามี) ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามข้อ 3 เรียกเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย
ข้อ ๗ ค่าใช้จ่ายตามข้อ 6 ต้องมีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามข้อ 3 ที่ออกให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการศึกษาหรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
กรณีใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายการศึกษาตามวรรคหนึ่งที่ได้ออกให้ลูกจ้างซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นส่งเข้ารับการศึกษา ก็ให้ใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้ด้วย
ข้อ ๘ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทํารายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามข้อ 6 โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบรายละเอียดและกําหนดการฝึกอบรมในหลักสูตรนั้นเก็บไว้ ณ สถานประกอบการเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นแสดงต่อเจ้าพนักงาน
ข้อ ๙ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมต้องมีการกําหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างกลับเข้าทํางานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น หลังจากสําเร็จการศึกษาหรือผ่านการฝึกอบรมแล้ว
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป เฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีเงินได้ที่ค้างอยู่หรือพึงชําระก่อนวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ไชยยศ สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(ร.จ. ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 122 ตอนที่ 125 ง วันที่ 29 ธันวาคม 2548) | 2,314 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อปฏิบัติการตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย
(1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน
(2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจําวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน
การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้ว ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้
ข้อ ๓ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามข้อ 2 ในการปฏิบัติการตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การหักภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การหักภาษีจากการจําหน่ายเงินกําไร ตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(4) การออกใบกํากับภาษี (TAX INVOICE) สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่สามารถคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(5) การนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(6) กรณีอื่นที่มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายไว้โดยเฉพาะ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ส่วนอัตรา แลกเปลี่ยนตามประกาศฉบับก่อนให้คงใช้ได้ในการคํานวณสําหรับภาษีอากรตามระยะเวลานั้น ๆ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,315 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การนําส่งภาษีเงินได้การนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ
-----------------------------------------------------------
ด้วยมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร กําหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องนําเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กําหนดให้ผู้มีหน้าที่ นําส่งภาษีจากการจําหน่ายเงินกําไรนําส่งภาษี ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่จําหน่ายเงินกําไร มาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กําหนดให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้กับผู้ประกอบการบางประเภท ต้องนําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องนําส่งไปส่ง ณ ที่ว่าการอําเภอภายในเจ็ดวัน และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร กําหนดให้ผู้รับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ต้องนําส่งเงินภาษี มูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องเสียภายในสามสิบวัน นับแต่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น โดยที่การจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภท การจําหน่ายเงินกําไร การขายทอดตลาด การจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือค่าบริการ และการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว ในเดือนหนึ่ง ๆ อาจมีหลายคราว ย่อมเป็นภาระและไม่สะดวกแก่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และผู้มี หน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หรือนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงสมควรขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนําส่งภาษีเงินได้หรือการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการสําหรับกรณีดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2535
(2) บรรดาประกาศ คําสั่ง หรือระเบียบอื่นใดในส่วนที่กําหนดหรือขัดแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้ขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการยื่น รายการตามมาตรา 52 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นําส่งและยื่นรายการภายใน เจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน สําหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหักตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50(1)(2)(3) และ (4) และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ให้ขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษีเงินได้และการยื่นรายการตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นําส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จําหน่ายเงินกําไร
ข้อ ๔ ให้ขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นําส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ให้ขยายกําหนดเวลาการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นําส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกําหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินหรือจําหน่ายเงินกําไรตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,316 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลาการชำระภาษีอากรสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายเวลาการชําระภาษีอากรสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 67 ทวิ
แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจอย่างรุนแรงซึ่งกระทรวงการคลังได้ดําเนินการออกมาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนส่งผลให้วิกฤติการณ์ดังกล่าวได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังคงมีความจําเป็นต้องดําเนินมาตรการแก้ไขปัญหาต่อไป กระทรวงการคลังจึงเห็นควรนํามาตรการทางภาษีมาช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องในภาคธุรกิจต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายเวลาการชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีดังกล่าวภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้ชําระภาษีภายในกําหนดระยะเวลาแปดเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ทั้งนี้ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เพียงรอบระยะเวลาบัญชีเดียว โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใด ๆ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงภาษีอากรที่ได้เสียหรือชําระไปแล้วก่อนวันที่ที่ลงในประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,317 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากร ตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากร ตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจอย่างรุนแรงซึ่งกระทรวงการคลังได้ดําเนินการออกมาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนส่งผลให้วิกฤติการณ์ดังกล่าวได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังคงมีความจําเป็นต้องดําเนินมาตรการแก้ไขปัญหาต่อไป กระทรวงการคลังจึงเห็นควรนํามาตรการทางภาษีมาช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องในภาคธุรกิจต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการจําหน่ายเงินกําไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกําไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกําไรออกจากประเทศไทย ตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถึงกําหนดต้องยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีก่อนวันที่ที่ลงในประกาศนี้ โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีภายในกําหนดระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใด ๆ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงภาษีอากรที่ได้เสียหรือชําระไปแล้วก่อนวันที่ที่ลงในประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,318 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดสถานศึกษา ซึ่งการให้บริการของสถานศึกษาดังกล่าว จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง กําหนดสถานศึกษา ซึ่งการให้บริการของสถานศึกษาดังกล่าว จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
-------------------------------------------------------
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจที่จะประกาศกําหนดสถานศึกษา ซึ่งการให้บริการของสถานศึกษาดังกล่าว จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 4(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมุลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 จึงเห็นควรกําหนดสถานศึกษา ขอบเขตและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กําหนดสถานศึกษาดังต่อไปนี้ เป็นสถานศึกษาตามมาตรา 4(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
(1) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
(2) เนติบัณฑิตยสภา
ข้อ ๒ การให้บริการของสถานศึกษาตามข้อ 1 ต้องมีลักษณะทํานองเดียวกับการให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนหรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
พนัส สิมะเสถียร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,319 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
ด้วยมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลยื่นรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร และให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในเดือนมกราคมทุก ๆ ปี โดยที่เป็นการสมควรขยายกําหนดการยื่นรายการสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินหรือเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินบางประเภท ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี เฉพาะกรณี
(1) การยื่นรายการตามาตรา 58(1) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะรายการการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การยื่นรายการตามมาตรา 58(2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
สมหมาย ฮุนตระกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,320 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 298/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 298/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกาแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ไม่ว่าจะมีภูมิลาเนาในอาเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตามประมวลรัษฎากร ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,321 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 297/2561 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 297/2561
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พิจารณาคําขอของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขออนุมัติเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีตามมาตรา 4 (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 ตามคําร้องขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม. 1) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 320) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่ออนุมัติหรือไม่อนุมัติตามคําขอดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคําขอก่อนหรือตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้
ข้อ ๒ ลงนามในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 1
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,322 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 296/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 296/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวล รัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่งนอกจาก สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนา อยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันที่ 22 มีนาคม 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,323 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 295/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 295/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ห้องประชุมภายในกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดําเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 1 สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,324 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 294/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 294/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐสภา 2 ชั้น 1 สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,325 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 292/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 292/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการกํานันตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม -
สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,326 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 291/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 291/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,327 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 290/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 290/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกาแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน)(สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษกแขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) เฉพาะวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) เฉพาะวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,328 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 289/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 289/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตาบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตาบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,329 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 248/2558 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 248/2558
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับช าระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,330 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 249/2558 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 249/2558
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงูที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงูจังหวัดสตูล
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ถึงวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559ถึงวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,331 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 250/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 250/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเทบภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สําหรับ ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ซึ่งมืสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลนํ้าผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ซี่งมีสถานประกอบการ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอละงู จังหวัดสตูล
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือซื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ถึงวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,332 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 251/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 251/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่ง ประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิสําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่ออรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ค. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,333 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 252/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 252 /2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ศูนย์การค้า เจ.เจ. มอลล์ ถนนกําแพงเพฃร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิขย์ จํากัด (มหาขน) (สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ศาลอาญา ถนนรัขดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชพระเงินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) เฉพาะวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2459 (2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) เฉพาะวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2449 และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2449
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) เฉพาะวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2449 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันที่ 10 มีนาคม 2449 (4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันที่ 17 มีนาคม 2449
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2449
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,334 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 253/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 253/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนาเลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.94) ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,335 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 254/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 254/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า MBK CENTER ชั้น 5 (บริเวณโซน C) เลขที่ 444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 สําหรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,336 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 255/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 255/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,337 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 256/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 256/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 (ฝั่งลานจอดรถ) ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอ หรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,338 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 258/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 258/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ชั้น 1 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,339 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 259/2559 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 259/2559
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 6 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 176/2552 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,340 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 260/2559 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 260/2559
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พิจารณาคําขอของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขออนุมัติเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรา 4 (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ. 2559 ตามคําร้องขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start - up) (ร.ม.1) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 265) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เพื่ออนุมัติหรือไม่อนุมัติตามคําขอดังกล่าว
ข้อ ๒ ลงนามในหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,341 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 313/2562 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 313/2562
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
----------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (15) (16) และ (17) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 117/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“(15) การอนุมัติให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
(16) การอนุมัติให้สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ตามมาตรา 10 (4) และมาตรา 11/6 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
(17) การอนุมัติให้สํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,342 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 261/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.261/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวล รัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไค้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักรสําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินไค้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ไม่ว่าจะมีภูมิสําเนาในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน สามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อไต้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ไต้ลงลายมือซื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ในวันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 และวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,343 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 312/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 312/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนาจังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร วันทําการปกติตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,344 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 262/2559 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 262/2559
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของข้อ 3.7 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 228/2557 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทย่อยตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์และต้องจัดทํางบการเงินรวมกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคสี่ ให้บริษัทย่อยดังกล่าวใช้วิธีการคํานวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคสี่ ทั้งนี้ ไม่ให้ใช้บังคับสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทย่อยได้เลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดตาม (2) หรือ (3) เพื่อคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้แล้ว ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคหกของข้อ 3.7 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 228/2557 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557 “คําว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า การขายที่ดิน การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง การขายสิ่งปลูกสร้าง และการขายอาคารชุด”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,345 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 263/2559 เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 263/2559
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ การตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ, 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบ และรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนด คุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออก ใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การอบรม
เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้ว ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเข้ารับการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรูอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงต่อปีจากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานทีอธิบดี ให้ความเห็นชอบ,,
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการอบรมที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,346 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 264/2559 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 264/2559
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากร และให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 208/2556 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ให้ส่วนบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ณ ท่าอากาศยานดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้เสียภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจากการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไนแต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายอัญมณีดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีผู้นําเข้าหรือผู้ขายซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับการนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ซึ่งผู้นําเขาอัญมณีมาเพื่อขายหรือการขายอัญมณีดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(2) ท่าอากาศยานดอนเมือง
(3) ท่าอากาศยานเชียงใหม่
(4) ท่าอากาศยานภูเก็ต
(5) ท่าอากาศยานกระบี่
(6) ท่าอากาศยานสมุย
(7) ท่าอากาศยานหาดใหญ่
(8) ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
(9) ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
(10) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,347 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 311/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 311/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางซื่อ ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารสุขประพฤติ ชั้น 1 ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางซื่อ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,348 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 265/2559 เรื่อง มอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 265/2559
เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ค. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราซบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 และมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 234/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้รักษาราชการแทนรองอธิบดีสั่งและปฏิบัติราซการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้ นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต รองอธิบดีกรมสรรพากร มีอํานาจสั่ง และปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับผู้เสียภาษีที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การออกคําสั่งยึด หรืออายัด และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมทั้ง การถอนการยึด หรืออายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชําระภาษีอากรค้าง และบุคคลใด ๆ ที่มี เหตุสมควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาให้ถ้อยคํา การสั่งบุคคลดังกล่าวให้นําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันจําเป็นแก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาตรวจสอบ และการออกหมายเรียกเอกสารหรือ หลักฐานเกี่ยวกับการมีสิทธิเรียกร้องหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร
ข้อ ๓ คําสั่งที่ขัด หรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559
( นายประสงค์ พูนธเนศ )
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,349 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 310/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 310/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เลขที่ 295 ซอยนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานครเป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่งนอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,350 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 266/2559 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 266/2559
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2422) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 320 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากร สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม หมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12/6 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.181/2553 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/6 ให้บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียม วัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ สําหรับการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า ไปเพื่อการบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อ
ทั้งนี้ สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2559 เป็นต้นไป”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อนี้เป็นข้อ 12/7 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2518 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
“ข้อ 12/7 การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องมีจํานวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจํานวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,351 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 309/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 309/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า MBK CENTER เลขที่ 444 ชั้น 5 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ส าหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิล าเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 17.00 น.
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,352 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 308/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 308/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิล าเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกใหญ่ ที่ตั้งอยู่ ณ กรมการเงินทหารเรือ พระราชวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,353 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 307/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 307/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 2 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กองบัญชาการกองทัพบก เลขที่ 113 ถนนราชด าเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนครกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,354 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 306/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 306/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน ที่ตั้งอยู่ ณ ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) ริมถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับช าระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,355 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 305/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 305/2562
เรื่องกําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกนอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ตอน ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,356 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 304/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 304/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการกํานันตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,357 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 267/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 267/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวล รัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,358 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 268/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 268/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวล รัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่ง ประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากร ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอ หรือเขตท้องที่ใด
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตําบลนี้าผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ใน อําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ไข้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2460
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2460 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2460
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2460
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดกรมสรรพากร | 2,359 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 269/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 269/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองกระบี่ ที่ตั้งอยู่ ณ บริษัท พีพี มารีน แทรเวล จํากัด (โรงแรมพีพี ไอส์แลนด์ คาบาน่า) สาขา 0001 เลขที่ 58 หมู่ที่ 7 ตําบลอ่าวนาง อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองระนอง ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะพยาม หมู่ที่ 1 ตําบลเกาะพยาม อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กระบี่ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1)
(2) สรรพากรพื้นที่ระนอง สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,360 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 303/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 303/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,361 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 270/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 270/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) (สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) เฉพาะวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) เฉพาะวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 และวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) เฉพาะวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) เฉพาะวันที่ 10 มีนาคม 2560
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันที่ 17 มีนาคม 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,362 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 271/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 271/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช่บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2560
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,363 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 302/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 302/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร”เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,364 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 272/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 272/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการกํานันตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยาในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงรายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,365 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 273/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 273/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า MBK CENTER เลขที่ 444 ชั้น 5 บริเวณโซน Open Well ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยาในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงรายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,366 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 274/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร และหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 274/2560
เรื่อง มอบอํานาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร และหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
เพื่อให้การออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร และหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2550 มาตรา 2 และมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําลั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 238/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้ออกหมายเรียกเอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้รองอธิบดี ที่กํากับดูแลและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเรื่องราชการของสํานักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี เป็นผู้มีอํานาจออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร และหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แทนอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ในกรณีที่รองอธิบดีตามข้อ 2 ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือพ้นจากตําแหน่งที่อดํารงอยู่ มอบอํานาจให้รองอธิบดีตามลําดับที่กําหนดไว้ในคําสั่งกรมสรรพากร เรื่อง การมอบอํานาจหน้าที่ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น เป็นผู้มีอํานาจออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร และหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แทนอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,367 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 275/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 275/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิตที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ชั้น 1 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผูมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,368 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 301/2561 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 301/2561
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศสั่งและปฏิบัติราชการแทน ดังนี้
ข้อ ๑ พิจารณาให้รับข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพที่ได้แจ้ง และส่งมาเมื่อพ้นกําหนดเวลาในข้อ 4 วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เฉพาะการแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพที่ได้ส่งให้กรมสรรพากรภายในกําหนดเวลาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวเท่านั้น
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,369 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 300/2561 เรื่อง มอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 300/2561
เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 และมาตรา 12 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 286/2560 เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ให้รองอธิบดีที่กํากับดูแลและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเรื่องราชการของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ มีอํานาจสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับผู้เสียภาษีที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การออกคําสั่งยึด หรืออายัด และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมทั้งการถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชําระภาษีอากรค้าง และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาให้ถ้อยคํา การสั่งบุคคลดังกล่าวให้นําบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่น อันจําเป็นแก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาตรวจสอบ ตามมาตรา 12 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรแต่ไม่รวมถึงการออกหมายเรียกดังต่อไปนี้
(ก) หมายเรียกเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร
(ข) หมายเรียกหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรแบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ ในกรณีที่รองอธิบดีตามข้อ 2 ไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ มอบอํานาจให้รองอธิบดีตามลําดับที่กําหนดไว้ในคําสั่งกรมสรรพากร เรื่อง การมอบอํานาจหน้าที่ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น เป็นผู้มีอํานาจสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 2
ข้อ ๔ บรรดาคําสั่งอื่นใดที่ขัด หรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,370 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 276/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 276/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็ฐภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตาบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด้
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม -
สั่ง ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,371 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 299/2561 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 299/2561
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3.4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 155/2549 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“3.4 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํารายได้ค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคํานวณเป็นรายได้และรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการให้เช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนํารายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคํานวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองได้เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อคํานวณรายได้และรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้แล้วให้ใช้วิธีนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,372 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 277/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.277/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1)หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กองทัพบก เลขที่ 113 ถนนราชดําเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(2)หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 2 ที่ตั้งอยู่ ณ กระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพระนคร 2 ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1)หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560
(2)หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560
(3)หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,373 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 278/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 278/2560
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 38 แห่งพระราขบัญญัติระเบียบบริหารราซการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราฃการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้ สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พิจารณาคําร้องขอหนังสือตรวจสอบการเบีนผู้จดแจ้งตามมาตรการบัญชีชุดเดียว และแจ้งผล การพิจารณาตามคําร้องดังกล่าว
ข้อ ๒ ลงนามในคําร้องแจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ยื่นคําร้องตามข้อ 1
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นด้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,374 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 279/2560 เรื่อง การใซ้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายจองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 279/2560
เรื่อง การใซ้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายจองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3.12 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 262/3559 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
“3.12 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ทําสัญญาสัมปทานการร่วมลงทุนกับรัฐบาลเพื่อดําเนินโครงการหรือดําเนินงานร่วมกับรัฐบาล โดยได้รับเงินสนับสหนฺนจากรัฐบาลตามสัญญานั้น ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้นํารายได้เงินสนับสหนฺนจากรัฐบาลมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งระยะเวลานับตั้งแต่วันที่เริ่มหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในสัมปทานนั้นตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จนถึงวันที่ครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญาหรือวันสิ้นสุดสัญญา และนํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาที่เฉลี่ยนั้น
คําว่า “รัฐบาล” ตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานใดๆ ของรัฐบาล”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,375 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 280/2560 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 280/2560
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 328 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ชึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 56/2538 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และให้ใข้ความต่อไปนี้แทน
"(8) สินค้าตาม (1) ถึง (7) เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์"
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 56/2538 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“ข้อ 3/3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวและเป็นผู้ส่งออก ให้แก่ ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.5
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.5
คําว่า "ข้าว" หมายความว่า ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวกล้อง ปลายข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง และปลายขาวนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว"
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรบการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
สั่ง ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,376 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 281/2560 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 281/2560
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 328 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 ก้นยายน พ.ศ. 2528 ฃี่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 280/2560 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นแต่ไม่รวมถึง กลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ฃี่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริบัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.75 เฉพาะผู้จ่ายเงิน และสําหรับการซื้อสินค้าในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ยางแผ่นหรือยางชนิดอื่นอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยางพาราเฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปจากยางดังกล่าว ไม่ว่าจะใช้ยางนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่
(2) มันสําปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นหัวหรือจัดทําเป็นผง แป้ง เส้น ก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทําในลักษณะอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก
(3) ปอ เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตกระสอบป่าน ผ้ากระสอบป่าน ด้ายทอกระสอบป่าน หรือทอผ้ากระสอบปาน เฃือกหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ผลิตจากปอ ไม่ว่าจะใช้ปอนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่
(4) ข้าวโพด เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตนํ้ามันพืชหรืออาหารสัตว์ทุกชนิด
(5) อ้อย เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตนํ้าตาลทุกชนิด
(6) เมล็ดกาแฟ ไม่ว่าจะคั่วแล้วหรือไม่ เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่สําเร็จรูปจากกาแฟ
(7) ผลปาล์มน้ํามัน ไม่ว่าเป็นส่วนใดของผล เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตน้ํามันปาล์ม หรือผู้ผลิตน้ํามันพืช
ทั้งนี้ สําหรับการซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่งที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป"
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3/3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินใด้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 280/2560 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3/3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นแต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวและเป็นผู้ส่งออกให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.5 สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.5 สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
คําว่า “ข้าว” หมายความว่า ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวกล้อง ปลายข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง และปลายข้าวนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,377 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท ป. 282/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท ป. 282/2560
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัย อํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พิจารณาคําขอของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขออนุมัติเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 627) พ.ศ. 2560 ตามคําร้องขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 284) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เพื่ออนุมัติหรือไม่อนุมัติตามคําขอดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคําขอก่อนหรือตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้
ข้อ ๒ ลงนามในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 1
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,378 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 288/2561 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 288/2561
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวล รัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,379 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 287/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 287/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตาบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สําหรับ ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากร ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือ เขตท้องที่ใด
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้าตกวังสายทอง หมู่ที่ 10 ตาบลน้าผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูลสําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนา อยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,380 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 286/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 286/2560
เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 และมาตรา 12 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 265/2559 เรื่อง มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากร สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้ นางศิริวัลย์ แก้วมูลเนียม รองอธิบดีกรมสรรพากร มีอํานาจสั่ง และปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับผู้เสียภาษีที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การออกคําสั่งยึด หรืออายัด และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมทั้งการถอนการยึด หรืออายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชําระภาษีอากรค้าง และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาให้ถ้อยคา การสั่งบุคคลดังกล่าวให้นําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันจาเป็นแก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาตรวจสอบ และการออกหมายเรียกเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการมีสิทธิเรียกร้องหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรแต่ไม่รวมถึงการออกหมายเรียกเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร
ข้อ ๓ คําสั่งที่ขัด หรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,381 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 285/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 285/2560
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พิจารณาคําขอของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621)พ.ศ. 2559 หรือที่ประสงค์จะเลิกกิจการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามคําขออนุมัติ/ยกเลิกเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (แบบ ว.ส.1) ที่ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 291) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของวิสาหกิจเพื่อสังคม ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ลงนามในหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,382 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 284/2560 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 284/2560
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพขร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ไม่ว่าจะมีภูมีสําเนาอยู่ในอําเภอ หรือเขตห้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราขการพลเรือน สามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,383 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 283/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 283/2560
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-------------------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราซบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พิจารณาคําขอของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขออนุมัติเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรา 4(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 637) พ.ศ. 2560 ตามคําร้องขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 302) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธ๊การ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เพื่ออนุมัติหรือไม่อนุมัติตามคําขอดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาคําขอก่อนหรือตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้
ข้อ ๒ ลงนามในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 1
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,384 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งจัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 17/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุน
ของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 มาตรา 109 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
คําว่า “ตราสารแห่งหนี้” “อันดับความน่าเชื่อถือ” และ “อันดับที่สามารถลงทุนได้” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
“ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ผู้มีเงินลงทุนสูง” หมายความว่า ผู้ที่จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในครั้งแรกตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป (initial minimum subscription)
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะกําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะผ่อนคลายกว่าข้อกําหนดตามประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ทั้งนี้ ในเรื่องการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) โดยจะเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
2) ผู้มีเงินลงทุนสูง
ข้อ ๔ ในการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม และประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม โดยอนุโลม เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้
ข้อ ๕ กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งตามประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้
(1) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
(2) กองทุนรวมวายุภักษ์
(3) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(4) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
(5) กองทุนรวมสึนามิ
(6) กองทุนรวมอีทีเอฟ
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีปัญหาอันเนื่องมาจากการอนุโลมใช้ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม หรือประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว
หมวด ๒ ข้อกําหนดเพิ่มเติม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ในการจัดทําร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 แล้ว ร่างข้อผูกพันดังกล่าวต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่กําหนดให้บริษัทจัดการหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหน่วยลงทุนดังกล่าวจะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช่ผู้ลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 3(1) หรือ (2) ตามที่ขออนุมัติในโครงการ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ข้อ ๘ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามประกาศนี้ มิให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ํา การประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุน และข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน มาใช้บังคับ
ข้อ ๙ กองทุนรวมที่จัดตั้งตามประกาศนี้ ต้องมีนโยบายการลงทุนที่มีข้อจํากัดอย่างน้อยตามประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่ส่วนที่กําหนดไว้ตามตารางท้ายประกาศนี้
หมวด ๓ อํานาจสั่งการของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามคําขอได้
(1) กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุมัติตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดตั้งกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
(3) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การจัดตั้งกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๑ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด
(1) ข้อเท็จจริงตามข้อ 10(1) (2) (3) หรือ (4)
(2) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
(2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง
(3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,385 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งจัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 22 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุน
ของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(ฉบับที่2 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,386 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 5/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งจัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 5/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุน
ของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556และให้ใช้ตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,387 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งจัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 21/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุน
ของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 5/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557และให้ใช้ตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,388 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งจัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 5) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 11/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุน
ของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ตารางอัตราส่วนการลงทุนท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,389 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2551 เรื่อง การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 35/2551
เรื่อง การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
วินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 16/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้มีคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการคณะหนึ่ง ประกอบด้วยอนุกรรมการจํานวนห้าคนซึ่งเลขาธิการเลือกจากรายชื่ออนุกรรมการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้ความเห็นชอบ เพื่อทําหน้าที่พิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในการเลือกนั้นให้คํานึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของอนุกรรมการที่ประกอบกันเป็นองค์คณะให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะพิจารณา และให้การเลือกเป็นดังนี้
(1) หนึ่งคนจากรายชื่ออนุกรรมการในกลุ่มที่ 1 เป็นประธานอนุกรรมการ
(2) สามคนจากรายชื่ออนุกรรมการในกลุ่มที่ 2
และ/หรือกลุ่มที่ 3 เป็นอนุกรรมการ
(3) หนึ่งคนจากรายชื่ออนุกรรมการในกลุ่มที่ 4 เป็นอนุกรรมการ
และเลขานุการ
ให้เลขาธิการประกาศหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกตามวรรคหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๒ อนุกรรมการที่จะเป็นองค์คณะในการพิจารณาเรื่องใดต้องไม่มีส่วนได้เสียพิเศษในเรื่องที่พิจารณานั้น ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงปรากฏในภายหลังที่แสดงว่าอนุกรรมการคนใดคนหนึ่งอาจมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ให้เลขาธิการแจ้งให้อนุกรรมการคนดังกล่าวหรือองค์คณะพิจารณาทราบ แล้วแต่กรณี ในการนี้ ให้เลขาธิการเลือกอนุกรรมการคนใหม่เพื่อทําหน้าที่แทนอนุกรรมการคนดังกล่าว ทั้งนี้ การดําเนินการของคณะอนุกรรมการที่ได้กระทําไปแล้วให้มีผลสมบูรณ์ แม้ภายหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอนุกรรมการเนื่องจากเหตุดังกล่าว
บุคคลที่จะได้รับผลโดยตรงในเรื่องที่พิจารณาของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ อาจยื่นคําคัดค้านอนุกรรมการคนหนึ่งคนใดเนื่องจากการมีส่วนได้เสียพิเศษในเรื่องที่พิจารณาได้ แต่คําคัดค้านต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้คัดค้าน โดยแสดงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานประกอบคําคัดค้าน และยื่นต่อเลขาธิการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงานให้พิจารณาการมีส่วนได้เสียนั้น
ข้อ ๓ ให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ มีอํานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาสั่งการเกี่ยวกับการขอผ่อนผันหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ สั่งการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ หรือสั่งการอื่นใดตามประกาศเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการที่กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(2) พิจารณาสั่งการเกี่ยวกับการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการใดในประการที่น่าจะมีผลกระทบต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศที่ออกตามความในมาตรา 250/1
(3) เสนอความเห็นหรือให้คําแนะนําต่อคณะกรรมการกํากับตลาดทุนและสํานักงานในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทําการร่วมกับบุคคลอื่นตามมาตรา 246 หรือมาตรา 247 และเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(4) ขอให้บุคคลใด ๆ มาให้ข้อเท็จจริง คําอธิบาย คําแนะนํา และความเห็น หรือส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาตามความจําเป็น
ข้อ ๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานที่ออกโดยอาศัยอํานาจหรือเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.54/2545 เรื่อง การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับภายใต้ประกาศนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้จนกว่าจะมีประกาศสํานักงานที่ออกตามประกาศนี้ออกใช้บังคับ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ และอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,390 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทก. 26/2558 เรื่อง การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทก. 26/2558
เรื่อง การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
วินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 16/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2551 เรื่อง การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“ในกรณีที่มีการยื่นคําขอผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกําหนดที่อยู่ภายใต้อํานาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,391 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 4/2546
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 43(3) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัทย่อย” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มูลค่าผลตอบแทนที่ชําระขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย
(ข) มูลค่าต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนที่ไถ่ถอนขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า หรือ
(ค) ให้สิทธิผู้ออกในการไถ่ถอนต้นเงินหรือจ่ายผลตอบแทน หรือให้สิทธิผู้ถือในการได้รับชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หุ้นที่ออกใหม่โดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์หรือทรัพย์สินอื่น
(4) “การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน และมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ให้จํากัดอยู่เฉพาะผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าว
(5) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์และผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์
(6) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในฐานะที่อาจมีโอกาสล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงอันเนื่องมาจากการมีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการร่วมกับบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
(ข) มีบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเป็นผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ค) มีผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ง) มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการที่มีอํานาจลนามผูกพันหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
(จ) มีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการในลักษณะอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ที่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตมีอํานาจควบคุมบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง หรือมีบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเป็นผู้มีอํานาจควบคุม หรือมีผู้มีอํานาจควบคุมเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
การนับรวมจํานวนหุ้นตาม (ก) (ข) (ค) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวด้วย และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคล ให้นับรวมการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ของนิติบุคคลดังกล่าวด้วย
(7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๓ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานที่สํานักงานประกาศกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตในอัตราคําขอละ 10,000 บาท
กรณีการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการขอตรวจสอบหุ้นที่จะนํามาใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงในแต่ละครั้งในวันที่ยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงในอัตราคําขอละ 10,000 บาท
ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๔ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 2
ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ขออนุญาตจะยื่นคําขอและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 3 ก็ได้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อนับรวมกับผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ขออนุญาตมีจํานวนไม่เกินสิบราย
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้อนุพันธ์แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น
(2) เป็นกรณีที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๕ ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศนี้ ปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ไทย หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ไทย
(2) ราคาสินค้าหรือกระแสรายรับหรือรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของผู้ขออนุญาต เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(3) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือราคาทองคํา เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์และได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ใช้ปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวในหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะขออนุญาตแล้ว
(4) อันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ (credit events) ของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้ หรือของลูกหนี้ของผู้ขออนุญาต
(5) ปัจจัยอ้างอิงอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นธรรมและระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะของหุ้นที่จะนํามาใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้นได้
ข้อ ๖ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
ข้อ ๗ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
หมวด ๒ การขออนุญาตและการอนุญาต
เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในกรณีทั่วไป
ข้อ ๘ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย
(2) แสดงได้ว่าสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามที่ขออนุญาตได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(3) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(4) มีผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยขออนุญาตและการอนุญาตให้
เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย ผู้ขออนุญาตต้องมีผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
(5) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ และต้องไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป หรือการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประเภทของหลักทรัพย์นั้น อย่างมีนัยสําคัญ
ส่วน ๑ การขออนุญาต การอนุญาต และเงื่อนไข
ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์
ข้อ ๙ ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๑๐ ผู้ขออนุญาตตามหมวดนี้อาจเลือกยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ขออนุญาตเป็นโครงการ ซึ่งเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นภายในอายุโครงการซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินสามปี โดยต้องระบุปัจจัยอ้างอิงใดปัจจัยอ้างอิงหนึ่งและมูลค่าของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาต
(2) ขออนุญาตเป็นรายบริษัท ซึ่งเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์หลายครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปี โดยต้องระบุประเภทของปัจจัยอ้างอิงและมูลค่าของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาต
(3) ขออนุญาตเป็นรายครั้ง ซึ่งเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในรุ่นที่ขออนุญาต โดยต้องระบุปัจจัยอ้างอิงใดปัจจัยอ้างอิงหนึ่งและมูลค่าของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาต
ข้อ ๑๑ ในการพิจารณาคําขออนุญาตตามหมวดนี้ สํานักงานอาจพิจารณาอนุญาตตามคําขอเพียงบางส่วนโดยจํากัดประเภทของปัจจัยอ้างอิง มูลค่าของหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือระยะเวลาการเสนอขายก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสามารถในการบริหารความเสี่ยงในหุ้นกู้อนุพันธ์ของผู้ขออนุญาตเป็นสําคัญ
ในกรณีเป็นการขออนุญาตออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ลักษณะดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 12 หรือข้อ 13 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ลักษณะดังกล่าวในแต่ละครั้งแล้ว
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ผู้ขออนุญาตต้องไม่เป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงนั้น
ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ผู้ขออนุญาตต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงต่อสํานักงาน โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด พร้อมคํารับรองว่าตนมิใช่บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง ทั้งนี้ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในครั้งนั้นให้มีผลสมบูรณ์
ณ วันที่สํานักงานได้แจ้งยืนยันการใช้หุ้นดังกล่าว และในกรณีเช่นว่านี้ การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวต้องเริ่มดําเนินการภายในระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยหากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผลการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิงในครั้งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๑๓ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์โดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตเป็นรายบริษัท หากผู้ได้รับอนุญาตได้ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขายตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ครั้งนั้นมีผลสมบูรณ์ และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) จากสํานักงานแล้ว ณ วันที่มีการยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อ 12 ด้วย การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ครั้งดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อสํานักงานได้แจ้งยืนยันการใช้หุ้นดังกล่าวด้วยแล้ว
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ดําเนินการภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตเป็นโครงการ ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามโครงการที่ได้รับอนุญาตซึ่งต้องไม่เกินสามปี ทั้งนี้ ต้องเสนอขายครั้งแรกภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตเป็นรายบริษัท ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
(3) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตเป็นรายครั้ง ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
(1) ลักษณะและข้อกําหนดเกี่ยวกับหุ้นกู้อนุพันธ์
การเสนอขายและการรายงานผลการขาย
ข้อ ๑๕ ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการจัดให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกและเสนอขายมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน ปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์ รวมทั้งข้อกําหนดด้อยสิทธิ (ในกรณีเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ด้อยสิทธิ) ไว้โดยชัดเจน
(2) เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 17
(3) เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีมูลค่าไถ่ถอนรวมของหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือได้รับการผ่อนผันเป็นการเฉพาะจากสํานักงาน
(4) เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นตามข้อ 18 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน และหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นมิใช่หุ้นกู้มีประกัน
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้อนุพันธ์จะระงับลง
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้งหรือในแต่ละโครงการ
สํานักงานอาจผ่อนผันหรือยกเว้นให้ผู้ได้รับอนุญาตไม่ต้องทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้ ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือผู้ได้รับอนุญาตได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์
(2) ผ่อนผันให้ไม่ต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยอาจกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
(3) ยกเว้นให้ไม่ต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๑๗ ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ข้อกําหนดสิทธิต้องมีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามมาตรา 42 และให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาข้อกําหนดสิทธิต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขาย
ข้อ ๑๘ ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ขออนุญาตและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขาย
ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกัน ไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้อนุพันธ์ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใดๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๒๐ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายต้องเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความในใบหุ้นกู้อนุพันธ์ที่แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะทําให้ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์เป็นบุคคลอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบัน เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้อนุพันธ์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองด้วย
ข้อ ๒๑ ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ทําหน้าที่จัดจําหน่ายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น โดยต้องกําหนดให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) เก็บรักษาเงินค่าจองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ไว้ในบัญชีที่เปิดไว้เฉพาะเพื่อการจองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์
(2) ส่งมอบเงินค่าจองซื้อจากบัญชีจองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่กําหนดตาม (3)
(3) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์หรือไม่อาจจัดให้มีหลักประกันการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ตามข้อกําหนดสิทธิ (ถ้ามี) ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์คืนเงินค่าจองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากบัญชีจองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ตาม (1) ให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
(4) กําหนดให้ใบจองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
(ก) ผู้จองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ยินยอมแต่งตั้ง (ชื่อบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(ข) ผู้จองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ยินยอมผูกพันตามข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์และผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ สําหรับหุ้นกู้อนุพันธ์ (ชื่อเฉพาะของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้ในการอ้างอิง) ทุกประการ หากผู้จองซื้อได้รับการจัดสรรหุ้นกู้อนุพันธ์
(ค) ผู้จองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์อาจตรวจดูข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์และผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานแห่งใหญ่ของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ และสํานักงานของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ได้โดยไม่ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้นําความในวรรคหนึ่งในส่วนที่กําหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาต โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ แต่ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ในกรณีการออกหุ้นกู้อนุพันธ์มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๒๓ ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) การเปลี่ยนแปลงของข้อเท็จจริง
ข้อ ๒๔ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ส่งเอกสารต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์เปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๒๕ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้อนุพันธ์ภายหลังการออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์
ข้อ ๒๖ ระหว่างระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ หากผู้ได้รับอนุญาตมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 8 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง หรือไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดตามส่วนนี้ได้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งเหตุดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุนั้น
เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ไม่สามารถแก้ไขเหตุตามข้อ 8 หรือข้อ 12 วรรคหนึ่งได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งเหตุดังกล่าวต่อสํานักงาน หรือเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนนี้อย่างมีนัยสําคัญ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งยกเลิกสิทธิของผู้ได้รับอนุญาตในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์สําหรับระยะเวลาที่เหลืออยู่ ในกรณีที่ได้รับอนุญาต เป็นโครงการหรือเป็นรายบริษัท หรือสําหรับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตเป็นรายครั้ง
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคสองไม่กระทบต่อการบังคับตามกฎหมายระหว่างคู่สัญญาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้ออกไปก่อนหรือหลังวันที่คําสั่งของสํานักงานมีผลบังคับ
หมวด ๓ การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
ในกรณีจํากัด
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๒๗ ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามหมวดนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๒๘ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะและได้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) ได้จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขาย ซึ่งแสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะตามข้อ 4 วรรคสอง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(4) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามข้อ 4 วรรคสอง (2) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ
ข้อ ๒๙ ให้นําความในข้อ 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้นตามหมวดนี้
ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ต้องดําเนินการขายหุ้นกู้อนุพันธ์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน นับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
ข้อ ๓๑ ให้นําความในข้อ 15(1) ข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 26 มาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อความในใบหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายแต่ละครั้ง แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(2) จัดให้เอกสารที่โฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ด้อยสิทธิ ให้ระบุสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ด้อยสิทธิไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อบุคคลเป็นการทั่วไป และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายไปให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 4 วรรคสอง (1) หรือ (2) เท่านั้น
ข้อ ๓๔ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายตามหมวดนี้ต้องเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ชนิดระบุชื่อผู้ถือ
ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้อนุพันธ์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,392 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 22/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 22/2547
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“สํานักงานสามารถผ่อนผันข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามข้อนี้ได้ เมื่อไม่มีเหตุให้สงสัยว่าการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาตจะมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาตมีข้อกําหนดให้มีการชําระหนี้ทั้งหมดโดยการส่งมอบเป็นหุ้นอ้างอิงหรือชําระเป็นเงินเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่จะชําระเป็นเงิน มูลค่าที่ต้องชําระต้องไม่อ้างอิงกับหุ้นอ้างอิงดังกล่าว และ
2. ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีหุ้นอ้างอิงในจํานวนที่เพียงพอสําหรับส่งมอบเพื่อชําระหนี้ตามหุ้นกู้อนุพันธ์ และมีกลไกในการดูแลรักษาหุ้นอ้างอิงดังกล่าว โดยกลไกนั้นจะต้องสามารถป้องกันมิให้มีการนําหุ้นอ้างอิงไปใช้เพื่อการอื่นได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,393 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 8/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย
(2) แสดงได้ว่าสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามที่ขออนุญาตได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(3) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(4) มีผู้บริหารที่เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย ผู้ขออนุญาตต้องมีผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง
(5) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยอนุโลม
(6) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ และต้องไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป หรือการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประเภทของหลักทรัพย์นั้น อย่างมีนัยสําคัญ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“ข้อ 12/1 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 8(5) หรือ (6) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ยื่นคําขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 8(5) หรือ (6) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้วสํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดคุณลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,394 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 27/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 27/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่มีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ข) ธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยธนาคารต่างประเทศดังกล่าว
1. มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่มีหน่วยงานที่กํากับดูแลการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) และ
2. มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของธนาคารต่อสาธารณชนตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานหรือองค์การตาม 1. อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
(2) แสดงได้ว่าสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามที่ขออนุญาตได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(3) มีงบการเงินและงบการเงินรวม ประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตาม (1)(ข) งบการเงินและงบการเงินรวม ประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องถูกต้องน่าเชื่อถือ และการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(4) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(5) มีผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศ ผู้ขออนุญาตต้องมีผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
(6) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ และต้องไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป หรือการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประเภทของหลักทรัพย์นั้น อย่างมีนัยสําคัญ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจํากัดที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย การปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินและงบการเงินรวมตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด ให้เริ่มตั้งแต่งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2548 และงบการเงินรายไตรมาสของปีบัญชี
ดังกล่าวเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,395 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 42/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 42/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้งหรือในแต่ละโครงการ
2. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้อนุพันธ์ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้อนุพันธ์
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
1. หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายมีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
2. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(3) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์จะต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้อนุพันธ์จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,396 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 59/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 59/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) และ (6/2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“(6/1) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(6/2) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“(5) เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 22/1”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“ข้อ 22/1 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้อนุพันธ์”
ข้อ 4 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามหมวด 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ไม่จําต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้อนุพันธ์รุ่นที่เสนอขายก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549เป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ การปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการกํากับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้มีสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทําหน้าที่ติดตามตรวจสอบภาวะตลาด (Market Surveillance) ที่มีประสิทธิภาพ ทําหน้าที่เป็น Bond Pricing Agency และเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดตราสารหนี้ (Information Center)ในตลาดแรกและตลาดรองที่ครบถ้วนเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลใช้ในการตัดสินใจลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ | 2,397 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 12/2552
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) และมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” และ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและ
เสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “หุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น
(4) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์และผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์
(5) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(6) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(7) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีประกาศใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ซึ่งรวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
ข้อ ๔ ผู้ใดประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 1
(2) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 2
การขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพรวมอยู่ด้วย ให้การขออนุญาตและการอนุญาตอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ด้วย
ข้อ ๕ บริษัทที่มีสถานะดังต่อไปนี้จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ ก็ต่อเมื่อบริษัทดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(1) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ
(2) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยธนาคารต่างประเทศดังกล่าวมีความรับผิดต่อเจ้าหนี้ในการชําระหนี้อย่างเต็มจํานวนจากทรัพย์สินของตน
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาทองคํา ดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริษัทดังกล่าวต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําธุรกรรมเกี่ยวกับอนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาหรือดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามหมวด 1 และหมวด 2 ต้องมีปัจจัยอ้างอิงใดปัจจัยอ้างอิงหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ไทย กลุ่มหลักทรัพย์ไทย หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ไทย
(2) ราคาหรือผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าว เฉพาะกรณี
เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) กระแสรายรับหรือรายจ่าย
(4) ราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้า
(5) ราคาทองคําหรือดัชนีราคาทองคํา
(6) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(7) อันดับความน่าเชื่อถือ หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารหนี้ พันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้อื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรืออันดับความน่าเชื่อถือ หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของผู้ออกตราสารดังกล่าวหรือของลูกหนี้ของผู้ขออนุญาต
(8) ปัจจัยอ้างอิงอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ข้อ ๗ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์มีลักษณะหรือรูปแบบ
เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
ข้อ ๘ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่ประกาศนี้กําหนด ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
หมวด ๑ การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในกรณีทั่วไป
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๙ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามข้อ 8 และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทผู้ยื่นคําขอเป็นธนาคารต่างประเทศ ให้สํานักงานสาขาเป็นผู้ดําเนินการยื่นคําขอได้
ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น บริษัทดังกล่าวต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงต่อสํานักงานตามข้อ 8 และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในวันที่ยื่นคําขอ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดลักษณะของหุ้นอ้างอิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคําขอตรวจสอบดังกล่าวต่อสํานักงานไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๑ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
ข้อ ๑๒ ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ
ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม
หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่า ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้นหรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) ผู้ขออนุญาตต้องมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง
(4) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(5) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับตามแต่กรณี
(6) เป็นผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แต่ถ้าผู้ขออนุญาตมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตหรือมิใช่ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ผู้ขออนุญาตจะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) มีกระแสรายรับหรือรายจ่ายเกิดจากธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์
(ข) มีธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้าซึ่งจะเป็นปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์
(ค) ยื่นหนังสือต่อสํานักงานเพื่อยืนยันว่าก่อนดําเนินการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ขออนุญาตจะมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546 เพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 12 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 12(4) หรือ (5) ในการแจ้งผลการขาดลักษณะดังกล่าวของผู้ขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็น
ลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 12(4) หรือ (5) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๕ ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้ที่มีลักษณะตามข้อ 12 ผู้ขออนุญาตดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายต่อเมื่อ
(1) กรณีทั่วไป ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในแต่ละครั้ง เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 8 ที่แสดงถึงลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขาย รวมทั้งที่แสดงถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์สําหรับครั้งนั้นในวันที่มีการยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น หากผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นนั้น และให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 8
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ต้องมีการตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงด้วย นอกจากการปฏิบัติตาม (1) แล้ว ผู้ขออนุญาตต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามข้อ 9 วรรคสอง และให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้แจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง
ในกรณีที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าได้ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในวันที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวด้วย
ความในข้อนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่ผู้ขออนุญาตแสดงความประสงค์ที่จะจํากัดมูลค่าการเสนอขายตามข้อ 16
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตแสดงความประสงค์ไว้ตั้งแต่วันที่ยื่นคําขอว่าจะทําการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นในลักษณะที่จํากัดมูลค่าการเสนอขายโดยเมื่อรวมกับมูลค่าหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว ไม่เกินระยะเวลาและมูลค่าตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หากผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นนั้น และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 8กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่ต้องมีการตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงด้วย นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามข้อ 9 วรรคสอง และให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้แจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง
ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลอนุญาตว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้ที่มีลักษณะตามข้อ 12
ข้อ ๑๗ ระหว่างระยะเวลาตามข้อ 15 หรือข้อ 16 หากปรากฏต่อมาในภายหลังว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 12 ผู้ขออนุญาตจะดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 16 วรรคสาม ไม่ได้ และให้ผู้ขออนุญาตแจ้งกรณีเช่นนั้นต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้แก้ไขกรณีนั้นได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 15 หรือข้อ 16 ให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 16 วรรคสามต่อไปได้
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 12 ต่อสํานักงาน ผู้ขออนุญาตไม่สามารถที่จะดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 16 วรรคสามได้อีกต่อไป แม้จะได้แก้ไขกรณีนั้นได้ก่อสิ้นระยะเวลาตามข้อ 15 หรือข้อ 16 แล้วก็ตาม
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาตเพิ่มเติม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการจัดให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกและเสนอขายมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้อนุพันธ์ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น
ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท หรือ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๒๐ ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท
(2) ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว
ก่อนมีการเลิกบริษัทตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๑ ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น จะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกัน
ของหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้อนุพันธ์ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่เป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงนั้น
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นธรรมและระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะของหุ้นที่จะนํามาใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้นได้
สํานักงานสามารถผ่อนผันข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามข้อนี้ได้ เมื่อไม่มีเหตุให้สงสัยว่าการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาตจะมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาตมีข้อกําหนดให้มีการชําระหนี้ทั้งหมดโดยการส่งมอบเป็นหุ้นอ้างอิงหรือชําระเป็นเงินเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่จะชําระเป็นเงิน มูลค่าที่ต้องชําระต้องไม่อ้างอิงกับหุ้นอ้างอิงดังกล่าว และ
(2) ผู้ได้รับอนุญาตแสดงได้ว่ามีหุ้นอ้างอิงในจํานวนที่เพียงพอสําหรับส่งมอบเพื่อชําระหนี้ตามหุ้นกู้อนุพันธ์ และมีกลไกในการดูแลรักษาหุ้นอ้างอิงดังกล่าว โดยกลไกนั้นจะต้องสามารถป้องกันมิให้มีการนําหุ้นอ้างอิงไปใช้เพื่อการอื่นได้
ข้อ ๒๓ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายต้องมีมูลค่าไถ่ถอนรวมของหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันเป็นการเฉพาะจากสํานักงาน
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
2. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้อนุพันธ์ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือ
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต เฉพาะในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ส่วน ๓ เงื่อนไขการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เป็นไปตามข้อ 24 อย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้อนุพันธ์จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว
ข้อ ๒๗ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมีหนังสือถึงสํานักงาน เพื่อรับรองว่าได้จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนด
ที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๘ ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1. ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
2. วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
3. อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ได้รับอนุญาตและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
4. อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๒๙ ในกรณีการออกหุ้นกู้อนุพันธ์มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๓๐ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งเอกสารต่อสํานักงานตามข้อ 8
เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๓๑ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้อนุพันธ์ภายหลังการออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของหมวดนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์
หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในวงจํากัด
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๓๒ การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในวงจํากัดต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตาม (2)
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้อนุพันธ์แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุน
ตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น
(3) เสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(4) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า
1. มีเหตุจําเป็นและสมควร
2. การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
3. มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๓๓ ในกรณีเป็นการขอผ่อนผันเพื่อเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามข้อ 32(4) ผู้ที่จะขอผ่อนผันต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ และสํานักงานอาจผ่อนผันมิให้นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวก็ได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
ข้อ ๓๔ ให้บริษัทตามข้อ 5 สามารถเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือรับรองโดยกฎหมายต่างประเทศ หรือเป็นการเสนอขายตามข้อ 32(2)(3) หรือ (4) ได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่นั้นเมื่อได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ด้วย ทั้งนี้ ให้บริษัทดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นต่อสํานักงานตามข้อ 8
(1) จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขายกับสํานักงานซึ่งแสดงข้อความว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือรับรองโดยกฎหมายต่างประเทศ หรือการเสนอขายตามข้อ 32(2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
1. ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บริษัทเสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนตาม (1)
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ต้องมีการตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ให้นําความในวรรคสองของข้อ 9 มาใช้บังคับ และให้ถือว่าวันที่สํานักงานแจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิงเป็นวันอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่บริษัทตามข้อ 5 ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) บริษัทนั้นต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามข้อ 8 และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และให้นําความในวรรคสองของข้อ 9 มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ทั้งนี้ บริษัทจะได้รับอนุญาตต่อเมื่อ
(1) มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(6) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22 ด้วย
(2) จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน ซึ่งแสดงข้อความว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายไว้ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาขอจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เมื่อสํานักงานได้อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันเดียวกันด้วย
ข้อ ๓๖ ในการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามข้อ 35 ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๓๗ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตที่ยื่นตามข้อ 35 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๓๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่ยื่นคําขอตามข้อ 35 รายงานลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น ต่อสํานักงานตามข้อ 8 และมีสิทธิเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น ให้เสนอขายได้โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอนุญาต
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์อื่นที่มิใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น ให้เสนอขายในแต่ละครั้งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอนุญาต
ส่วน ๒ เงื่อนไขการอนุญาต
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือรับรองโดยกฎหมายต่างประเทศ หรือเป็นการเสนอขายตามข้อ 32(2) (3) หรือ (4) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัด ต้องได้รับมติให้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 22
(3) ในกรณีหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกัน หรือเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๔๐ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้อนุพันธ์ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือ
(3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะของหุ้นกู้ด้อยสิทธิรวมอยู่ด้วย ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนด
ในวรรคสองของข้อ 24 และการจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตามข้อ 25 มาใช้บังคับ
กับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 18(1)
(ค) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 19 และข้อ 20 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) แล้วแต่กรณี
(ง) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42(1) ถึง (9) และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 31 วรรคหนึ่ง
(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในวงจํากัดตามข้อ 32(2) (3) หรือ (4) ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 32(2) (3) หรือ (4) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
(3) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1)(ก) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุ
การด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
(4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการยื่นคําขอต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 26 ด้วย
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๓ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๔๔ ให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๔๕ ให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๔๖ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้ประกาศนี้จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
1. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545
2. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๔๗ การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นตามข้อ 16 ให้มีระยะเวลาและมูลค่าการเสนอขายตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 20/2550 เรื่อง การกําหนดมูลค่าและระยะเวลาการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อ 16 จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ และเพื่อให้ตลาดตราสารหนี้ไทยมีการพัฒนาและขยายตัวมากขึ้น จึงได้ทําการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวด้วย อันจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถออกหุ้นกู้ในลักษณะดังกล่าวได้สะดวกขึ้น รวมทั้งจัดกลุ่มประเภทผู้ลงทุนในวงจํากัดขึ้นใหม่ โดยให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มตามมาตรฐานสากล จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,398 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 17/2555
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) “บริษัท” หมายความว่า
(ก) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(ข) สถาบันการเงิน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“(8) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จะต้องมีสถานะดังต่อไปนี้ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้
(1) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) สถาบันการเงิน ทั้งนี้ กรณีเป็นธนาคารต่างประเทศซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวต้องมีความรับผิดต่อเจ้าหนี้ในการชําระหนี้อย่างเต็มจํานวนจากทรัพย์สินของตน
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาทองคํา ดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริษัทดังกล่าวต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําธุรกรรมเกี่ยวกับอนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาหรือดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) และ (6/2) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“(6/1) อัตราดอกเบี้ย
(6/2) เครดิตอนุพันธ์ (credit derivatives) ทั้งนี้ ตามประเภทหรือลักษณะที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด เว้นแต่
1. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และแสดงความประสงค์ว่าจะเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นเท่านั้น รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงยอมรับ
2. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 26 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น”
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,399 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ทจ. 37 /2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 37 /2555
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 และข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น
ข้อ 7/2 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,400 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 15 /2556
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังนี้
(ก) ยื่นคําขอต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามข้อ 26
(ข) จัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้อนุพันธ์กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทที่กําหนดอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจดังกล่าวที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้อนุพันธ์”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,401 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 35/2557
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแสดงความประสงค์ว่าจะเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นเท่านั้น รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงยอมรับ
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชําระหนี้ของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยของผู้ขออนุญาตที่เป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) และโอกาสในการได้รับชําระหนี้จากผู้ขออนุญาตดังกล่าว ในกรณีที่สาขาธนาคารต่างประเทศในไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงาน งบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ให้หมายถึง งบการเงินของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยของผู้ขออนุญาตนั้น
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้นหรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ผู้ขออนุญาตต้องมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง
(4) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม
(5) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับตามแต่กรณี
(6) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว
(7) เป็นผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แต่ถ้าผู้ขออนุญาตมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตหรือมิใช่ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ผู้ขออนุญาตจะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) มีกระแสรายรับหรือรายจ่ายเกิดจากธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์
(ข) มีธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้าซึ่งจะเป็นปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์
(ค) ยื่นหนังสือต่อสํานักงานเพื่อยืนยันว่าก่อนดําเนินการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ขออนุญาตจะมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 เพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้นที่มิใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้อนุพันธ์ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้อนุพันธ์
(ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต สาขาธนาคารต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามวิธีการคํานวณดังนี้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์อื่นนอกจาก (1) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (1) (ก) หรือ (ข)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 25/1 ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารต่างประเทศตามข้อ 24(1) (ค) ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคารต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบห้าของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้อนุพันธ์จะสิ้นสุดลง”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“(1/1) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมกากํากับตลาดทุนที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
“(3) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 40 ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตไม่ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัทต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้อนุพันธ์ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้อนุพันธ์
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 24 วรรคสองและการจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตามข้อ 25 มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 15/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการยื่นคําขอต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 26 ด้วย”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
“(5) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ด้วย”
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,402 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 45/2557/2557
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยให้อยู่ในลําดับก่อนหมวด 1 การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในกรณีทั่วไป
“ข้อ 8/1 ในการจําหน่ายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปตามหมวด 1 ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 35/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังนี้
(ก) จัดให้การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการในการชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการดังกล่าวตามประเภทของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม
(ข) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 35/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
“(6) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนดังกล่าวก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,403 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 28/2558
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 และข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามข้อ 8 และให้บริษัทดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทผู้ยื่นคําขอเป็นธนาคารต่างประเทศ ให้สํานักงานสาขาเป็นผู้ดําเนินการยื่นคําขอได้
ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น บริษัทดังกล่าวต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงต่อสํานักงานตามข้อ 8 และให้บริษัทดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขอต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว โดยอัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนด ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดลักษณะของหุ้นอ้างอิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคําขอตรวจสอบดังกล่าวต่อสํานักงานไว้ด้วยก็ได้
ข้อ 10 ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและ
ค่ายานพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการที่เกิดขึ้นจริงและเป็นไปตามสมควร โดยสํานักงานอาจกําหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 12 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
“ข้อ 35 ในกรณีที่บริษัทตามข้อ 5 ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) บริษัทนั้นต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามข้อ 8 และให้บริษัทดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว โดยอัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และให้นําความในข้อ 9 วรรคสอง มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ทั้งนี้ บริษัทจะได้รับอนุญาตต่อเมื่อ
(1) มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12(7) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22 ด้วย
(2) จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน ซึ่งแสดงข้อความว่าผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้อนุพันธ์ ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายไว้ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาขอจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
(3) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เมื่อสํานักงานได้อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ตามวรรคหนึ่งแล้วให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันเดียวกันด้วย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 36 และข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 36 ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่ายานพาหนะ เดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการที่เกิดขึ้นจริงและเป็นไปตามสมควร โดยสํานักงานอาจกําหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล
ข้อ 37 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตตามข้อ 35 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,404 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 25/2547 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 25/2547
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 64(3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2546 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการ
เสนอขายหลักทรัพย์
(2) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ผู้ออกหลักทรัพย์แสดงหลักฐานต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวในประเทศไทยดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔ ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ตามประกาศนี้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนสองชุด
(1) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(2) มีข้อมูลที่แสดงถึงฐานะทางการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) งบการเงินซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Accounting Standards (IAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(ข) ข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ (เฉพาะกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นรัฐบาลต่างประเทศ) ห้าปีล่าสุด ก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปี เริ่มในปีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(3) มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือของผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนหนี้
(4) มีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทําการของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ออกหลักทรัพย์ให้เป็นตัวแทนของผู้ออกหลักทรัพย์ในประเทศไทยในการรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในประเทศไทย
(5) มีลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหลักทรัพย์เพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์มีสถานะเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 4 จะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ต้องมีคําแปลภาษาไทยของเอกสารดังกล่าวที่มีการรับรองความถูกต้องของคําแปล เว้นแต่การเสนอขายในลักษณะดังต่อไปนี้ สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์จะไม่จัดทําคําแปลภาษาไทยของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนก็ได้
(1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีมูลค่ารวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย
ข้อ ๖ นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งคําแปล (ถ้ามี) ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๗ ให้ถือว่าผู้ให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor, Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือผู้ที่ออกหลักทรัพย์ภายใต้บังคับประกาศฉบับนี้ หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขายภายใต้บังคับประกาศฉบับนี้
ข้อ ๘ ภายใต้บังคับมาตรา 75 เมื่อผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 4 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๙ เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ และการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนได้ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์รายงานผลการขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รายงานผลการขายตามวรรคหนึ่งจะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้
ข้อ ๑๐ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ได้มีการเสนอขายครั้งแรกโดยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานโดยชอบแล้วตามประกาศนี้ ให้ขายในทอดต่อ ๆ ไปได้โดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,405 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 43/2548 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 43/2548
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2547 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหลักทรัพย์ โอกาสและความเสี่ยงของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนหนี้ และผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ ผู้ออกหลักทรัพย์ หรือผู้ค้ําประกันการชําระหนี้เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2547 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,406 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 4/2549
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 56มาตรา 64(3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2547 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 43/2548 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ผู้ออกหลักทรัพย์แสดงหลักฐานต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวในประเทศไทยดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ให้กระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว แต่ผู้ออกหลักทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง
(ก) ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9) และจัดทําเป็นภาษาไทย
(ข) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้
(2) เสนอขายหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔ ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ตามประกาศนี้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานจํานวนสองชุด โดยแบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(2) มีข้อความดังต่อไปนี้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหน้าแรกของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน “ข้อมูลที่เปิดเผยตามแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนเป็นข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยตามที่เห็นว่าเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยตามหัวข้อที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย โดยในกรณีที่ข้อมูลที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนมีข้อความหรือรายการที่เป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ผู้ถือหลักทรัพย์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535”
(3) มีข้อมูลที่แสดงถึงฐานะทางการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) งบการเงินซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principles (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(ข) ข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ (เฉพาะกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นรัฐบาลต่างประเทศ) ห้าปีล่าสุด ก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปี เริ่มในปีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(4) มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือของผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันการชําระหนี้เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนหนี้
(5) มีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทําการของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ออกหลักทรัพย์ให้เป็นตัวแทนของผู้ออกหลักทรัพย์ในประเทศไทยในการรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในประเทศไทย
(6) มีลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหลักทรัพย์เพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๕ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 4 ให้จัดทําเป็นภาษาไทย เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศอาจจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ และหากมิใช่การเสนอขายที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ออกหลักทรัพย์ต้องจัดทําคําแปลภาษาไทยของเอกสารดังกล่าวที่มีการรับรองความถูกต้องของคําแปลไว้ด้วย
(ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีมูลค่ารวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(ข) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย
(2) เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานโดยคํานึงถึงความเหมาะสมและ เพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน ซึ่งสํานักงานอาจผ่อนผันให้จัดทําข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษได้ทั้งหมดหรือบางส่วน และอาจกําหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ได้รับการผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๖ นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งคําแปล (ถ้ามี) ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๗ ภายใต้บังคับมาตรา 75 เมื่อผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 4 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) สามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน สําหรับกรณีทั่วไป
(2) สามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน สําหรับกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ออกหลักทรัพย์มีสถานะเป็นรัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
(ข) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ ๘ เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ และการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ได้ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์รายงานผลการขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รายงานผลการขายตามวรรคหนึ่งอาจเลือกจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้
ข้อ ๙ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ได้มีการเสนอขายครั้งแรกโดยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานโดยชอบแล้วตามประกาศนี้ ให้ขายในทอดต่อ ๆ ไปได้โดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๐ ภายหลังการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยจัดทําเป็นข้อมูลสรุปซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4 ทั้งนี้ งบการเงินที่ต้องส่งต่อสํานักงานอาจเลือกจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้
(2) ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ไม่เข้าลักษณะตาม (1) ให้ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้นิติบุคคลต่างประเทศที่มีสถานะเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศสามารถออกและเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยได้ อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market Development) และในระยะต่อมา ได้มีการขยายประเภทนิติบุคคลให้รวมถึงบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation) สามารถออกและเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ด้วย จึงเป็นการสมควรให้ปรับปรุงข้อกําหนดเดิมให้สามารถรองรับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสถานะเป็นบริษัทข้ามชาติไว้ตามประกาศฉบับนี้ | 2,407 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 20/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 20/2549
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 64(3) มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ให้กระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว แต่ผู้ออกหลักทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง
(ก) ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9)
(ข) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 3/1
(2) เสนอขายหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 และข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
“ข้อ 3/1 ให้การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
1. การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีมูลค่าการเสนอขายรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบันทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
2. การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย โดยมีการจดข้อจํากัดการโอน
3. การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนในทอดต่อ ๆ ไปโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนตาม (1) หรือ (2)
4. การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป หากผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานโดยชอบแล้วในการเสนอขายทอดแรก ตามประกาศนี้
ข้อ 3/2 ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ออกหลักทรัพย์ที่จะลงทะเบียน
การโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ตรวจสอบความถูกต้องของการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน ผู้ออกหลักทรัพย์ต้องไม่ลงทะเบียนการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์จัดให้มีนายทะเบียนหลักทรัพย์ ผู้ออกหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) งบการเงินซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principles (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ ในกรณีที่งบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ให้ผู้ออกหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกันของมาตรฐานการบัญชี ตามที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยไม่ด้อยกว่ามาตรฐานการบัญชีที่สํานักงานยอมรับ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
ข้อ 5 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ในกรณีผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยจัดทําเป็นข้อมูลสรุปซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
“ข้อ 10/1 ผู้ออกหลักทรัพย์อาจเลือกจัดทําเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมคําแปลภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องของคําแปลไว้ด้วย
ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ออกหลักทรัพย์ไม่ต้องแปลเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานเป็นภาษาไทย
1. กรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์จัดทํารายงานผลการขายหลักทรัพย์เป็นภาษาอังกฤษ
2. กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,408 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 39/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 39/2549
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 64(3) มาตรา 69(1) และมาตรา 70(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีข้อความดังต่อไปนี้แสดงไว้อย่างชัดเจนในหน้าแรกของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
“ข้อมูลที่เปิดเผยตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนเป็นข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยตามที่เห็นว่าเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยตามหัวข้อที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย โดยในกรณีที่ข้อมูลที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนมีข้อความหรือรายการที่เป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ผู้ถือหลักทรัพย์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมิได้เป็นการแสดงว่ากระทรวงการคลัง คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับรองฐานะของผู้ออกหลักทรัพย์ หรือความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวและมิได้แสดงว่ากระทรวงการคลัง คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ประกันราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น” ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือ
หุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
“ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการออกเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยตามประกาศนี้ ต้องมีข้อมูลตามวรรคหนึ่งของบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญด้วย”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549
“ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับไม่ต่ํากว่า investment grade และผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 4 แล้ว ก่อนการเสนอขายครั้งต่อไปที่กระทําภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ผู้ออกหลักทรัพย์นั้นยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวต่อสํานักงาน ผู้ออกหลักทรัพย์อาจยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งแสดงเฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 4 ที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานก็ได้”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนต่อสํานักงาน เพื่อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10/1 ผู้ออกหลักทรัพย์อาจเลือกจัดทําเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมคําแปลภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องของคําแปลไว้ด้วย
ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ออกหลักทรัพย์ไม่ต้องแปลเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานเป็นภาษาไทย
(1) รายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่จัดทําเป็นภาษาอังกฤษ
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีการจดข้อจํากัดการโอนต่อสํานักงาน เพื่อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว”
ข้อ 7 ให้พันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,409 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2550 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 11/2550
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ในข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549
“(2/1) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง ตามรายชื่อที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,410 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2551 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 19/2551
เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 35 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ผู้ออกหลักทรัพย์แสดงหลักฐานต่อสํานักงานได้ว่าการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวในประเทศไทยได้ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง โดยให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวปฏิบัติดังนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายพันธบัตร ก่อนการเสนอขายในแต่ละครั้งให้ผู้ออกหลักทรัพย์ ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะ ตามข้อ 3/1
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้กระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว แต่ผู้ออกหลักทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้
(ก) ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง
1. ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9)
2. แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 3/1
(ข) เสนอขายหุ้นกู้ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ภายหลังการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายพันธบัตร ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติตามข้อผูกพัน ที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยจัดทําเป็นข้อมูลสรุปซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,411 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.