title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีการค้า สำหรับสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่กระทำกิจการในประเทศไทย | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีการค้า สําหรับสํานักงานผู้แทนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่กระทํากิจการในประเทศไทย
--------------------------------------------------------------------
ด้วยสํานักงานผู้แทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่เข้ามากระทํากิจการในประเทศไทยบางรายยังไม่ทราบเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสํานักงานผู้แทนดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคําสั่งของสํานักงานใหญ่ของสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทย ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้นเว้นแต่กรณีตามข้อ 2 ทั้งนี้ ตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่สํานักงานใหญ่ของสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทย ถ้าสํานักงานใหญ่ของสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทยก็ไม่ถือว่าสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในประเทศไทย สํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ”
(แก้โดยประกาศลงวันที่ 24 ตุลาคม 2531)
ข้อ ๓ การที่สํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทย ให้บริการต่าง ๆ แก่สํานักงานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สํานักงานใหญ่สั่งซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสํานักงานใหญ่รวมทั้งการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้แก่สํานักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลย และสํานักงานผู้แทนดังกล่าวได้รับเงินอุดหนุนจากสํานักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยเท่านั้น รายรับหรือเงินได้ที่สํานักงานผู้แทนดังกล่าวที่กระทํากิจการในประเทศไทยได้รับจากสํานักงานใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่ประการใด
ข้อ ๔ ถ้าสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยตามข้อ 3 ได้ให้บริการแก่ผู้อื่น ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสํานักงานผู้แทนดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องนํารายได้หรือรายรับที่ได้รับจากการให้บริการทุกประเภทมารวมคํานวณกําไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ การประกอบกิจการของสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยตามข้อ 4 จะต้องยื่นคําขอจดทะเบียนการค้า ณ อําเภอท้องที่หรือสํานักงานสรรพากร ที่สํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยมีสถานการค้าตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการตามข้อ 4 หากไม่จดทะเบียนการค้าภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องเสียภาษีการค้าและเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินค่าภาษีการค้าตลอดระยะเวลาที่ไม่จดทะเบียนการค้าหรือ 200 บาทต่อเดือนแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทั้งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีการค้าที่ต้องชําระ และอาจจะต้องถูกดําเนินคดีอาญาอีกส่วนหนึ่งด้วย
ข้อ ๖ การประกอบกิจการตามข้อ 1 และข้อ 2 ของสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทย หากสินค้าที่ส่งออกอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีการค้า สํานักงานผู้แทนดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 1. การขายของแห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ากับจะต้องเสียภาษีส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีการค้าที่ต้องชําระด้วย
ข้อ ๗ คนต่างด้าวที่ทํางานในสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทํางานในประเทศไทย และสํานักงานผู้แทนที่กระทํากิจการในประเทศไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนําส่งภาษีใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินได้ ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2529
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,209 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
-----------------------------------------------
เพื่อให้การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสอดคล้องกับการคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเพื่อทราบโดยทั่วกันดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ รายได้ที่จะนําไปคํานวณกําไรสุทธิจากการประกอบกิจการซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น หมายความถึงรายได้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 รายได้จากการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ผลิตผล หรือการให้บริการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมไม่เกินปริมาณการผลิตต่อปี หรือไม่เกินขนาดของกิจการที่ให้บริการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม
2.2 รายได้จากการจําหน่ายผลพลอยได้และสินค้ากึ่งสําเร็จรูปตามชนิดและปริมาณตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม
2.3 รายได้จากการจําหน่ายเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้และทรัพย์สิน บรรดาที่ใช้ในการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมและหมดสภาพหรือไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไป ทั้งนี้ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากร
กรณีเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้ใช้ในกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ให้เฉลี่ยรายได้ตามวรรคหนึ่งตามส่วนของรายได้จากกิจการ ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.4 รายได้ประเภทดอกเบี้ยหรือรายได้อย่างอื่นที่เกิดจากการใด อันเป็นปกติธุระในการประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากร
กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมประกอบกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ให้เฉลี่ยรายได้ตามวรรคหนึ่งตามส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๓ ในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นํากําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการ ทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมารวมเข้าด้วยกัน และให้ถือปฏิบัติดังนี้
3.1 กรณีที่ผลการดําเนินงานรวมมีกําไรสุทธิ
(ก) ถ้ามีกําไรสุทธิทั้งสองกิจการ ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับกําไรสุทธิจากกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ข) ถ้ามีกําไรสุทธิจากกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจํานวนมากกว่าผลขาดทุนสุทธิจากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคํานวณจากจํานวนกําไรสุทธิรวม
(ค) ถ้ามีกําไรสุทธิจากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจํานวนมากกว่าผลขาดทุนสุทธิจากกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้ได้รับส่งเสริมไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเต็มจํานวนกําไรสุทธิรวม
3.2 กรณีที่ผลการดําเนินงานรวมไม่มีกําไรสุทธิ
ผู้ได้รับการส่งเสริมไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ถึงแม้ว่ากิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีกําไรสุทธิก็ตาม
ข้อ ๔ การนําผลขาดทุนประจําปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกําไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
4.1 ในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมประกอบกิจการ เฉพาะที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธินําผลขาดทุนประจําปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกําไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกําหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกําหนดเวลานั้นผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวจะต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิในส่วนที่เกินกําไรสุทธิของกิจการดังกล่าว ที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ข) การนําผลขาดทุนประจําปีไปหักออกจากกําไรสุทธิตาม (ก) ผู้ได้รับการส่งเสริมจะเลือกหักออกจากกําไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้
4.2 ในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีผลขาดทุนประจําปีและกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกําไรสุทธิ ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธินําผลขาดทุนประจําปีของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกําไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีผลขาดทุนประจําปี และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกําไรสุทธิและมีผลขาดทุนประจําปีสะสมยกมาจากปีก่อน ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องนําผลขาดทุนประจําปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกําไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน ถ้ากิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกําไรสุทธิเหลืออยู่จึงมีสิทธินําผลขาดทุนประจําปีของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออก จากกําไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรได้
(ค) ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธินําผลขาดทุนประจําปีคงเหลือตาม (ก)หรือ (ข) ของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะส่วนที่เกินกําไรสุทธิของกิจการดังกล่าวที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลา ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกําไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีกําหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกําหนดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีสิทธิเลือกถือปฏิบัติตาม 4.1 (ข)
ข้อ ๕ เงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น จะต้องเป็นเงินปันผลที่ผู้ได้รับการส่งเสริมจ่ายและผู้รับเงินปันผลได้รับในระหว่างระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริม ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๖ เงินปันผลที่ผู้รับอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น
ข้อ ๗ กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมจะจ่ายเงินปันผลจากกําไรสุทธิที่เกิดจากกิจการใดเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ผู้ได้รับเงินปันผลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น
กรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมจ่ายเงินปันผลโดยมิได้ระบุว่าเงินปันผลดังกล่าวจ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการใด ให้เฉลี่ยเงินปันผลดังกล่าวตามส่วนของกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกับกําไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,210 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 331/2564 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 331/2564
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการกํานันตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,211 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การสั่งให้ผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าบางกรณีหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การสั่งให้ผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าบางกรณีหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
----------------------------------------------------
อนุสนธิคําสั่งกรมสรรพากรให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกซึ่งจ่ายเงินซื้อสินค้ายางพารา มันสําปะหลัง ปอ ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟผลปาล์มน้ํามัน และข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง และปลายข้าวนึ่ง มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินซื้อสินค้าดังกล่าวในอัตราร้อยละ 0.75 บาท ดังรายละเอียดแจ้งอยู่ในคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 นั้น
โดยที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษบางราย เช่น องค์การของรัฐบาล สมาคมหอการค้า สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร เมื่อจ่ายเงินซื้อสินค้าดังกล่าว ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะตามคําสั่งที่กล่าวข้างต้นกําหนดให้มีการหักภาษีเฉพาะกรณีที่ผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเฉพาะที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกเท่านั้น และเมื่อบุคคลดังกล่าวข้างต้นขายสินค้าดังกล่าวต่อไปให้แก่ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่จ่ายเงินซื้อสินค้าดังกล่าว ก็ไม่อาจหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ เพราะนิติบุคคลดังกล่าวนั้นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
ดังนั้น กรมสรรพากรจึงเห็นเป็นการสมควรที่จะกําหนดให้นิติบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี เมื่อจ่ายเงินซื้อสินค้าดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้โดยทั่วไป และป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้ในส่วนนี้ จึงได้ออกคําสั่งที่ ท.ป.18/2530 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2530 กําหนดให้นิติบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2530 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2530
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,212 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 โดยมีผลใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 เป็นต้นไป ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.18/2530 ฯ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2530 กําหนดให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่1 กันยายน 2530 เป็นต้นไป นั้น
บัดนี้ ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 175 (พ.ศ.2530) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้เพื่อขยายขอบเขตการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อันจะมีส่วนขยายฐานภาษีออกไป และสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้มีเงินได้ด้วยกัน ตลอดจนผ่อนคลายภาระในการชําระภาษีจํานวนมากในตอนสิ้นปี และการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงจําเป็นต้องแก้ไขคําสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว โดยกรมสรรพากรได้ออกคําสั่ง ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2530
กรมสรรพากรจึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกันว่า สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภทดังต่อไปนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 เป็นต้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ คือ
ข้อ ๑ กรณีจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ถ้าผู้จ่ายเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ได้จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 เหมือนเดิม แต่ถ้าจ่ายให้กับมูลนิธิ หรือสมาคมที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดเดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 ได้กําหนดอัตราใหม่เป็นให้หักในอัตราร้อยละ 10.0
ข้อ ๒ กรณีจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แต่ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า) ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกองทุนรวมสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณชิยกรรม หรืออุตสาหกรรม จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย หรือจ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้กําหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10.0 แต่ถ้าผู้รับ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อ ๓ กรณีจ่ายค่าเช่า หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินแต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้ ได้กําหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ คือ
(1) ผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้หักในอัตราร้อยละ 5.0
(2) ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้หักในอัตราร้อยละ 5.0
(3) ผู้รับเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดให้หักภาษีในอัตราร้อยละ 10.0
ข้อ ๔ กรณีจ่ายเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม เดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 2.0 ได้กําหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษีในอัตราร้อยละ 3.0
ข้อ ๕ กรณีจ่ายค่าจ้างทําของ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ได้กําหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 สําหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทําของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสําคัญ นอกจากเครื่องมือ หรือค่าจ้างทําของอย่างอื่นที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม สําหรับค่าจ้างทําของทุกอย่าง
(3) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย สําหรับค่าจ้างทําของทุกอย่าง
ส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างทําของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้มีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิมตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 ฯ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2528
ข้อ ๖ กรณีจ่ายรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิม
ข้อ ๗ กรณีจ่ายเงินได้ให้แก่นักแสดงสาธารณะ คือ นักแสดงละคร ภาพยนตร์วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ เดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ได้กําหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5.0
ข้อ ๘ กรณีจ่ายค่าโฆษณา ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 2.0 เหมือนเดิม
ข้อ ๙ กรณีจ่ายค่าซื้อสัตว์น้ํา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์น้ํา ไม่ว่าจะสดหรือแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อรักษาไว้มิให้เปื่อยเน่าในระหว่างการขนส่ง ถ้าผู้จ่ายเป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเฉพาะกรณีที่ผู้จ่ายเป็นผู้ส่งออก หรือผู้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากสัตว์น้ํา และผู้ผลิตอยู่ในบังคับต้องขออนุญาตตั้งโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้กําหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0
ข้อ ๑๐ การจ่ายเงินทุกกรณีดังกล่าว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องนําส่งภาษีที่ต้องหักด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 สําหรับกรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือแบบ ภ.ง.ด.53 สําหรับกรณีที่ผู้หักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่ว่าการอําเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายไม่ว่าจะได้หักภาษีดังกล่าวไว้แล้วหรือไม่ สําหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และเมื่อได้หักภาษีไว้แล้วผู้หักภาษีจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจํานวน 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันให้แก่ผู้ถูกหักภาษีด้วย
ในกรณีมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่กองกฎหมายและระเบียบ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร สํานักงานสรรพากรเขต สํานักงานสรรพากรเขตพื้นที่ สํานักงานสรรพากรจังหวัด สํานักงานสรรพากรอําเภอหรือเขต แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2530
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,213 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารราชการในต่างประเทศ พ.ศ. 2552 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบริหารราชการในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๕๒
-------------------------------
เพื่อให้การบริหารราชการในต่างประเทศมีความเหมาะสมกับลักษณะ การปฏิบัติหน้าที่และสามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ โดยมีหัวหน้า คณะผู้แทนเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๕๐/๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารราชการในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจําการในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๐
(๒) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจําการในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
-----------------------
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“ข้าราชการประจําการในต่างประเทศ” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายทหารและข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประจําการในต่างประเทศ
“ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร” หมายความว่า ผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ และผู้แทนกองทัพอากาศ ซึ่งกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งให้มีตําแหน่งประจําสถานเอกอัครราชทูต ตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม
“ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษ” หมายความว่า ผู้แทนส่วนราชการฝ่ายพลเรือนอื่น นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีตําแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการนั้น ๆ ประจําสถานเอกอัครราชทูตหรือคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ
“ตําแหน่งประจําคณะผู้แทน” หมายความว่า ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร รองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษ และรองผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษ และตําแหน่งอื่นที่กระทรวงการต่างประเทศประกาศกําหนด
“หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานของแต่ละส่วนราชการประจําสถานทําการ
“สถานทําการ” หมายความว่า สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล และส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ รวมตลอดทั้งสํานักงานของคณะผู้แทนถาวร หรือคณะผู้แทนไทย
ข้อ ๖ ส่วนราชการใดประสงค์จะจัดตั้งหรือรวมหน่วยงานในต่างประเทศ ให้กระทําได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการแล้ว ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบดังกล่าวให้ร่วมพิจารณากับผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้แทนสํานักงบประมาณ และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ
การสั่งยุบเลิกหน่วยงานในต่างประเทศ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและกระทรวงการต่างประเทศทราบ
หมวด ๒ ตําแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการประจําการในต่างประเทศ
--------------------------------
ข้อ ๗ ตําแหน่งข้าราชการประจําการในต่างประเทศของส่วนราชการฝ่าย พลเรือนให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กําหนด
ชื่อหัวหน้าหน่วยงาน ชื่อตําแหน่งทางการทูตและกงสุล และชื่อตําแหน่งอื่นของข้าราชการประจําการในต่างประเทศฝ่ายพลเรือนประจําคณะผู้แทนนอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ ๑๒ แล้ว อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้ตามที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด
ในกรณีที่ส่วนราชการใดจัดตั้งหน่วยงานใดขึ้นในต่างประเทศหรือในเมืองที่ ไม่มีส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศตั้งอยู่ การกําหนดชื่อหัวหน้าหน่วยงานและชื่อตําแหน่งอื่นประจําหน่วยงานตามวรรคสองให้เป็นอํานาจของส่วนราชการนั้น และ เมื่อกําหนดแล้วให้แจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ
ข้อ ๘ การแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการประจําการในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกําหนด
ข้อ ๙ การแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมและข้าราชการในสังกัดส่วนราชการฝ่ายพลเรือนอื่นนอกจากกระทรวงการต่างประเทศให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการประจําการในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกําหนด หรือระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงของแต่ละส่วนราชการนั้นกําหนด แล้วแต่กรณี
การให้ข้าราชการตามวรรคหนึ่งดํารงตําแหน่งประจําคณะผู้แทนจะกระทําได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ และปฏิบัติตามระเบียบพิธีการทูตหรือระเบียบพิธีการกงสุลแล้วแต่กรณี แล้ว
ข้อ ๑๐ ข้าราชการของส่วนราชการที่จะไปดํารงตําแหน่งประจําการในต่างประเทศ รวมตลอดทั้งคู่สมรส ต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศกําหนด
หมวด ๓ ลําดับอาวุโส
-------------------------
ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบพิธีการทูตหรือระเบียบพิธีการกงสุล ให้จัดทําบัญชีรายชื่อคณะผู้แทน โดยแยกประเภทตามสังกัดและเรียงลําดับดังต่อไปนี้
(๑) ข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
(๒) ข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหม
(ก) กองบัญชาการกองทัพไทย
(ข) กองทัพบก
(ค) กองทัพเรือ
(ง) กองทัพอากาศ
(๓) ข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดส่วนราชการอื่น
ลําดับอาวุโสของข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกําหนด
ลําดับอาวุโสของข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามข้อบังคับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกําหนด
ลําดับอาวุโสของข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดส่วนราชการอื่น และในคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศซึ่งมิได้สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบของส่วนราชการเจ้าสังกัด
ในกรณีที่ระเบียบปฏิบัติของประเทศที่สถานทําการตั้งอยู่ กําหนดวิธีการจัดทําบัญชีรายชื่อข้าราชการผู้มีตําแหน่งทางการทูตรวมกันโดยไม่แยกประเภทตามสังกัด ให้เรียงลําดับตามหลักการจัดลําดับอาวุโสตามข้อ ๑๒
ข้อ ๑๒ ลําดับอาวุโสของผู้มีตําแหน่งทางการทูตหรือกงสุลประจําคณะผู้แทน มีดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าคณะผู้แทน
(๒) อัครราชทูต อัครราชทูตที่ปรึกษา หรือรองกงสุลใหญ่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าคณะผู้แทน
(๓) ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร
(๔) ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษที่เทียบเท่าอัครราชทูต โดยให้ถือตามวันที่ เข้ารับตําแหน่ง
(๕) อัครราชทูตที่ปรึกษาซึ่งไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าคณะผู้แทน
(๖) ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษนอกจาก (๔) โดยให้ถือตามวันที่เข้ารับตําแหน่ง
(๗) ที่ปรึกษา
(๘) เลขานุการเอก
(๙) เลขานุการโท
(๑๐) เลขานุการตรี
(๑๑) ผู้ช่วยเลขานุการหรือนายเวร
ข้าราชการประจําการในต่างประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสังกัดส่วนราชการอื่นนอกจากที่กล่าวตามวรรคหนึ่ง หากเทียบได้กับตําแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศตําแหน่งใด ให้มีอาวุโสถัดจากตําแหน่งนั้น
ข้อ ๔ การบริหารราชการในต่างประเทศ
--------------------------
ข้อ ๑๓ เพื่อให้การบริหารราชการในต่างประเทศเป็นไปอย่างมีเอกภาพ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศ” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ
ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นกรรมการและเลขานุการ และ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีจําเป็นและเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเชิญปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรเข้าร่วมเป็นกรรมการเพื่อพิจารณาในเรื่องนั้นก็ได้
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นศูนย์กลางในการประสานนโยบายและยุทธศาสตร์ในการบริหารราชการในต่างประเทศของส่วนราชการต่าง ๆ ให้มีความเป็นเอกภาพ
(๒) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการบริหารราชการในต่างประเทศ
(๓) อํานวยการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งเสนอแนะและพิจารณาแก้ไขปัญหาในการบริหารราชการในต่างประเทศให้แก่ส่วนราชการหรือคณะผู้แทน
(๔) ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศในการวางระเบียบหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารราชการในต่างประเทศ
(๕) เชิญบุคคลจากส่วนราชการและองค์การเอกชนมาชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นหรือข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการตามระเบียบนี้
(๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กําหนดในระเบียบนี้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๑๕ เพื่อให้การบริหารราชการในต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับการบริหารราชการแบบบูรณาการ ให้หัวหน้าคณะผู้แทนและหัวหน้าหน่วยงานหารือร่วมกันในการจัดทําแผนงานหรือโครงการของแต่ละหน่วยงาน
ในกรณีที่แผนงานหรือโครงการใดที่ส่วนราชการอาจดําเนินการร่วมกันได้ ให้ทําความตกลงกันเพื่อกําหนดให้ส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว โดยให้ส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องให้ การสนับสนุน และในกรณีจําเป็นหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณจะมอบอํานาจการบริหารงบประมาณให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทน เพื่อดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการนั้นได้ โดยให้ทําเป็นหนังสือมอบอํานาจและส่งสําเนาหนังสือให้สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบ
ข้อ ๑๖ อํานาจและหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนตามมาตรา ๕๐/๔ ให้รวมถึงอํานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ให้คําแนะนําหรือว่ากล่าวตักเตือนข้าราชการประจําการในต่างประเทศ ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
(๒) ส่งตัวกลับ ในกรณีข้าราชการประจําการในต่างประเทศหรือบุคคล ในครอบครัว หรือ
ผู้ติดตามของข้าราชการประจําการในต่างประเทศกระทําละเมิดกฎหมายท้องถิ่น หรือกฎหมายระหว่างประเทศ หรือมีความประพฤติที่อาจกระทบถึงชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของคณะผู้แทน
(๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดําเนินการทางวินัยกับข้าราชการประจําการ ในต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้นตามที่ได้รับมอบอํานาจจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
(๔) ในกรณีข้าราชการประจําการในต่างประเทศผู้ใดกระทําผิดวินัย ซึ่งเป็นกรณีที่เกินขอบอํานาจที่ได้รับมอบตาม (๓) ให้รายงานการกระทําผิดวินัยของข้าราชการผู้นั้นให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดทราบเพื่อดําเนินการต่อไป เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดดําเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้แจ้งกระทรวงการต่างประเทศทราบ
(๕) สั่งให้ข้าราชการประจําการในต่างประเทศซึ่งปฏิบัติราชการอยู่ใน คณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่ภายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของสถานทําการหรือในประเทศที่อยู่ในเขตอาณาของสถานทําการ การสั่งการดังกล่าวสําหรับผู้ซึ่งมิได้สังกัดกระทรวง การต่างประเทศให้สั่งได้เฉพาะเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอาณาของหน่วยงานของ ส่วนราชการนั้น
ข้อ ๑๗ ในการปฏิบัติราชการที่เป็นเรื่องสําคัญของหัวหน้าหน่วยงาน ให้เสนอต่อหัวหน้าคณะผู้แทนในฐานะผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบหรือพิจารณาสั่งการ
การเดินทางมาราชการในประเทศไทย หรือไปราชการในเขตอาณา หรือ ไปราชการในประเทศอื่นนอกเขตอาณาของข้าราชการประจําการในต่างประเทศของแต่ละส่วนราชการประจําสถานทําการ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระเบียบภายในของแต่ละส่วนราชการนั้น แต่ต้องแจ้งให้หัวหน้าคณะผู้แทนทราบทุกครั้ง
ในการพิจารณาเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือนหรือเลื่อนขั้นของหัวหน้าหน่วยงานและข้าราชการประจําการในต่างประเทศของแต่ละส่วนราชการประจํา สถานทําการ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดรับฟังการประเมินผลของหัวหน้าคณะผู้แทนประกอบด้วย
ข้อ ๑๘ หัวหน้าหน่วยงานต้องเข้าร่วมประชุมตามที่หัวหน้าคณะผู้แทน เรียกประชุมเพื่อรายงานผลการปฏิบัติราชการ ปรึกษาในเรื่องการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน ประสานงาน แก้ไขปัญหา และหารือข้อราชการทั่วไป และให้หัวหน้าคณะผู้แทนรายงานผลการประชุมและความคืบหน้าเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการไปยังกระทรวง การต่างประเทศ
ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานผู้ใดไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้ ให้รายงานเหตุผลความจําเป็นให้หัวหน้าคณะผู้แทนทราบ
ข้อ ๑๙ หัวหน้าหน่วยงานต้องควบคุมดูแลให้ข้าราชการในหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของรัฐผู้รับ กฎหมายระหว่างประเทศ และธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติทางการทูตและกงสุล
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการตามที่ได้รับมอบอํานาจจากหัวหน้าคณะผู้แทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้หัวหน้าคณะผู้แทนรายงานข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการเจ้าสังกัดของหัวหน้าหน่วยงานผู้นั้นพิจารณาโดยไม่ชักช้า เพื่อดําเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมหรือดําเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ข้าราชการประจําการในต่างประเทศประสงค์จะลาภายในประเทศที่ประจําอยู่ หรือลาไปนอกประเทศที่ประจําอยู่นอกจากลาเข้าประเทศไทย ให้เป็นไปตามกําหนดวันลาตามตารางท้ายระเบียบนี้ และให้เป็นอํานาจของหัวหน้า คณะผู้แทนเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการลา เว้นแต่การลานั้นมีกําหนดระยะเวลาติดต่อกัน เกินสิบวันหรือเป็นการลาบวชหรือการลาเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์ ให้หัวหน้าคณะผู้แทนแจ้งการอนุมัติการลาให้ผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการเจ้าสังกัดทราบด้วย
ในกรณีที่ข้าราชการประจําการในต่างประเทศประสงค์จะลาเข้าประเทศไทย ให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงหัวหน้าคณะผู้แทน และให้หัวหน้าคณะผู้แทน เสนอใบลาพร้อมความเห็นไปยังผู้มีอํานาจอนุญาตในประเทศไทยของข้าราชการผู้ขอลา เพื่อพิจารณาอนุมัติ
การปฏิบัติเกี่ยวกับการลา และการลาประเภทอื่น ๆ นอกจากที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการสําหรับข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน หรือระเบียบ หรือข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมสําหรับข้าราชการฝ่ายทหาร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ในการใช้เอกสิทธิ์ในเรื่องใด ๆ ของข้าราชการประจําการในต่างประเทศ ต้องคํานึงถึงความเหมาะสมและได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะผู้แทน ในการนี้ให้หัวหน้าคณะผู้แทนวางระเบียบ โดยคํานึงถึงเกียรติภูมิของประเทศและความจําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของคณะผู้แทน
การใช้เอกสิทธิ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าอันมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
ข้อ ๒๓ ข้าราชการประจําการในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประจําในคณะผู้แทนจะดําเนินคดีหรือให้การเป็นพยานในศาลหรือในสถาบันตุลาการ ในประเทศที่เป็นเขตอาณามิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะผู้แทน
การสละความคุ้มกันจากอํานาจศาลและอํานาจฝ่ายปกครอง จะกระทําได้ก็แต่โดยหัวหน้าคณะผู้แทน เมื่อได้รับอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว
ข้อ ๒๔ การทํานิติกรรมหรือสัญญาหรือการใด ๆ ที่ทําในนามของ สถานเอกอัครราชทูต หรือที่มีเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันทางทูตหรือทางกงสุล ให้เป็นอํานาจของหัวหน้าคณะผู้แทนในการลงนามเพื่อให้มีผลผูกพัน
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง การทํานิติกรรมหรือสัญญาหรือการใด ๆ ที่ทําในนามของส่วนราชการใด เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนได้รับมอบอํานาจจากหัวหน้าส่วนราชการแล้ว ให้มีอํานาจมอบให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนหรือหัวหน้าหน่วยงานของส่วนราชการนั้นเป็นผู้มีอํานาจลงนามแทนได้
ในการมอบอํานาจตามวรรคสอง ให้คํานึงถึงความสะดวกรวดเร็ว และสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบของรัฐผู้รับด้วย
หมวด ๕ การรายงานผลการดําเนินการ
----------------------
ข้อ ๒๕ การรายงานข้อมูล ข้อเท็จจริง ตลอดจนผลการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ของส่วนราชการที่ประจําในต่างประเทศ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอรายงานไปยังหัวหน้าคณะผู้แทนและผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการเจ้าสังกัด และเมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนได้รับรายงานแล้ว ให้หัวหน้าคณะผู้แทนรายงานไปยังปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
(๒) เมื่อปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานตาม (๑) ให้จัดทํา สรุปรายงานทั้งปวงนําเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และส่วนราชการอื่นที่ร้องขอ
บทเฉพาะกาล - --------------------
ข้อ ๒๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่ออกตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจําการในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามระเบียบนี้ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี | 2,214 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 330/2564 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 330/2564
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 - 8 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,215 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำกิจการในประเทศไทย | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับสํานักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทํากิจการในประเทศไทย
---------------------------------------------------------
ด้วยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอตั้งสํานักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอและการพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสํานักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ และการทํางานในสํานักงานดังกล่าว กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสํานักงานภูมิภาค และผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานในสํานักงานดังกล่าว เพื่อทราบโดยทั่วกันดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การที่สํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยให้บริการต่าง ๆ แก่สํานักงานใหญ่ เพื่อทําหน้าที่ติดต่อประสานงานและกํากับการดําเนินงานของสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสํานักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสํานักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุดหนุนจากสํานักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยเท่านั้น เงินได้ที่สํานักงานภูมิภาคดังกล่าวที่กระทํากิจการในประเทศได้รับจากสํานักงานใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประการใด แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแม้ว่าสํานักงานภูมิภาคจะไม่มีรายได้ที่ต้องนํามาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ตาม
คําว่า “สํานักงานภูมิภาค” หมายความว่า สํานักงานภูมิภาคที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสํานักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อทําหน้าที่ติดต่อประสานงานและกํากับการดําเนินงานของสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสํานักงานใหญ่ โดยไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ไม่มีอํานาจรับคําสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทําธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง และใช้เงินค่าใช้จ่ายในสํานักงานภูมิภาคที่ได้รับจากสํานักงานใหญ่เท่านั้น
คําว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
(2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
(3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
(4) บุคคลเกินกว่ากึ่งจํานวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอํานาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอํานาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
ข้อ ๒ ถ้าสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยตามข้อ 1 ได้ให้บริการแก่ผู้อื่นหรือบริษัทในเครือ ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสํานักงานภูมิภาคดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องนํารายได้ที่ได้รับจากการให้บริการทุกประเภทมารวมคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและกรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร สํานักงานภูมิภาคจะต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่หรือสํานักงานสรรพากรเขตพื้นที่ที่สํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการหรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกิน 600,000 บาทต่อปีอย่างไรก็ตามหากการบริการของสํานักงานภูมิภาคดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ภายใต้บังคับข้อ 4 การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคําสั่งของสํานักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทย ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๔ การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศเฉพาะให้แก่สํานักงานใหญ่ของสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทย ถ้าสํานักงานใหญ่ของสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทยก็ไม่ถือว่าสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในประเทศไทย สํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ
ข้อ ๕ คนต่างด้าวที่ทํางานในสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทยโดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทํางานในประเทศไทย และสํานักงานภูมิภาคที่กระทํากิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนําส่งภายใน 7วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2535
นายโกวิทย์ โปษยานนท์
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,216 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลายื่นรายการเพื่อชำระหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลายื่นรายการเพื่อชําระหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด
----------------------------------------------
ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลายื่นรายการเพื่อชําระหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2540 เพื่อขยายกําหนดเวลายื่นรายการ (แบบ ค.10) เพื่อปรับปรุงการเสียภาษีตามแบบแสดงรายการของนิติบุคคลอาคารชุด ที่เข้าลักษณะตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 33/2540 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 ซึ่งได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้โดยให้สามารถขอคืนภาษีขายที่ได้ยื่นชําระไว้แล้วได้ แม้จะเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี ตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมกับชําระภาษีซื้อในส่วนที่ได้รับคืนหรือได้ใช้เครดิตในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วให้แก่กรมสรรพากร โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่มและไม่ต้องรับผิดทางอาญา นั้น
เนื่องจากยังมีนิติบุคคลอาคารชุดอีกเป็นจํานวนมาก ไม่สามารถใช้สิทธิได้ทันภายในกําหนดเวลาตามประกาศกรมสรรพากรดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชําระไว้แล้วเป็นเวลาเกินกว่า 3 ปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐวรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายกําหนดเวลายื่นรายการ (แบบ ค.10) เพื่อปฏิบัติการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแสดงรายการ โดยชําระภาษีซื้อและคืนภาษีขายของนิติบุคคลอาคารชุดออกไปอีกครั้งหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นิติบุคคลอาคารชุดต้องเข้าลักษณะตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 33/2540 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 นั่นคือ เป็นนิติบุคคลอาคารชุดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งกระทํากิจการเฉพาะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังต่อไปนี้ ทําให้ไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนําเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า น้ําประปา โทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) นิติบุคคลอาคารชุดต้องกระทํากิจการเฉพาะเพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางหรือกระทําการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกําหนดไว้
(2) นิติบุคคลอาคารชุดต้องไม่กระทํากิจการใดนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกําหนดไว้
(3) นิติบุคคลอาคารชุดต้องไม่ขายสินค้าหรือให้บริการใดกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่เจ้าของห้องชุดนั้น และ
(4) กิจการตามวัตถุประสงค์ตาม (1) ต้องเป็นกิจการซึ่งตามปกติวิสัยในการจัดการดูแลรักษาอาคารชุดเป็นกิจการที่จําเป็นและสมควร
ข้อ ๒ นิติบุคคลอาคารชุดที่เข้าลักษณะตามข้อ 1 และได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ซึ่งมีความประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชําระไว้ในขณะยื่นแบบแสดงรายการก่อนที่จะได้มีคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรดังกล่าว ไม่ว่านิติบุคคลอาคารชุดนั้นจะได้รับแจ้งการประเมินหรือคําสั่งให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว หรืออยู่ระหว่างถูกเรียกตรวจสอบไต่สวน หรืออยู่ระหว่างการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ให้ยื่นรายการ(แบบ ค.10) พร้อมรายการแสดงรายละเอียดของภาษีขายและภาษีซื้อ พร้อมทั้งภาษีที่ชําระหรือขอคืนเป็นรายเดือนภาษีตามแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้เดิมพร้อมกับชําระหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในระยะเวลาตามที่กําหนดในข้อ 4 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รวมทั้งไม่ต้องรับผิดทางอาญาสําหรับภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีดังกล่าว
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาล นิติบุคคลอาคารชุดต้องทําคําร้องเป็นหนังสือขอถอนอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือถอนฟ้องต่อศาลในกรณีที่เป็นโจทก์ หรือทําคําร้องเป็นหนังสือขอให้กรมสรรพากรถอนฟ้องต่อศาลกรณีที่เป็นจําเลย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาลได้อนุมัติหรืออนุญาตแล้ว
ข้อ ๔ นิติบุคคลอาคารชุดที่ประสงค์จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประกาศนี้ให้ยื่นรายการ(แบบ ค.10)ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2543
การยื่นรายการ(แบบ ค.10) ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอําเภอ หรือเขตท้องที่ ที่ได้ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
ข้อ ๕ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และสถานที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อปฏิบัติการตามประกาศนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,217 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 329/2563 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 329/2563
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 65 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3.1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 155/2549 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 และใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“3.1 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยการคํานวณรายได้และรายจ่ายสําหรับดอกเบี้ยต้องคํานวณตามวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Method) ตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,218 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลายื่นรายการเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของห้องชุด | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลายื่นรายการเพื่อชําระภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของห้องชุด
-----------------------------------------------------------------
ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลายื่นรายการเพื่อชําระหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2540 เพื่อขยายกําหนดเวลายื่นรายการ (แบบ ค.10) เพื่อปรับปรุงการเสียภาษีตามแบบแสดงรายการของนิติบุคคลอาคารชุด ที่เข้าลักษณะตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 33/2540 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 ซึ่งได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้โดยให้สามารถขอคืนภาษีขายที่ได้ยื่นชําระไว้แล้วได้ แม้จะเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี ตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมกับชําระภาษีซื้อในส่วนที่ได้รับคืนหรือได้ใช้เครดิตในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วให้แก่กรมสรรพากร โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่มและไม่ต้องรับผิดทางอาญา นั้น
เนื่องจากยังมีนิติบุคคลอาคารชุดอีกเป็นจํานวนมาก ไม่สามารถใช้สิทธิได้ทันภายในกําหนดเวลาตามประกาศกรมสรรพากรดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชําระไว้แล้วเป็นเวลาเกินกว่า 3 ปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐวรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายกําหนดเวลายื่นรายการ (แบบ ค.10) เพื่อปฏิบัติการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแสดงรายการ โดยชําระภาษีซื้อและคืนภาษีขายของนิติบุคคลอาคารชุดออกไปอีกครั้งหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นิติบุคคลอาคารชุดต้องเข้าลักษณะตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 33/2540 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 นั่นคือ เป็นนิติบุคคลอาคารชุดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งกระทํากิจการเฉพาะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังต่อไปนี้ ทําให้ไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนําเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า น้ําประปา โทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดมารวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) นิติบุคคลอาคารชุดต้องกระทํากิจการเฉพาะเพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางหรือกระทําการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกําหนดไว้
(2) นิติบุคคลอาคารชุดต้องไม่กระทํากิจการใดนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกําหนดไว้
(3) นิติบุคคลอาคารชุดต้องไม่ขายสินค้าหรือให้บริการใดกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่เจ้าของห้องชุดนั้น และ
(4) กิจการตามวัตถุประสงค์ตาม (1) ต้องเป็นกิจการซึ่งตามปกติวิสัยในการจัดการดูแลรักษาอาคารชุดเป็นกิจการที่จําเป็นและสมควร
ข้อ ๒ นิติบุคคลอาคารชุดที่เข้าลักษณะตามข้อ 1 และได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ซึ่งมีความประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชําระไว้ในขณะยื่นแบบแสดงรายการก่อนที่จะได้มีคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรดังกล่าว ไม่ว่านิติบุคคลอาคารชุดนั้นจะได้รับแจ้งการประเมินหรือคําสั่งให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว หรืออยู่ระหว่างถูกเรียกตรวจสอบไต่สวน หรืออยู่ระหว่างการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ให้ยื่นรายการ(แบบ ค.10) พร้อมรายการแสดงรายละเอียดของภาษีขายและภาษีซื้อ พร้อมทั้งภาษีที่ชําระหรือขอคืนเป็นรายเดือนภาษีตามแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้เดิมพร้อมกับชําระหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในระยะเวลาตามที่กําหนดในข้อ 4 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รวมทั้งไม่ต้องรับผิดทางอาญาสําหรับภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีดังกล่าว
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาล นิติบุคคลอาคารชุดต้องทําคําร้องเป็นหนังสือขอถอนอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือถอนฟ้องต่อศาลในกรณีที่เป็นโจทก์ หรือทําคําร้องเป็นหนังสือขอให้กรมสรรพากรถอนฟ้องต่อศาลกรณีที่เป็นจําเลย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาลได้อนุมัติหรืออนุญาตแล้ว
ข้อ ๔ นิติบุคคลอาคารชุดที่ประสงค์จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประกาศนี้ให้ยื่นรายการ(แบบ ค.10)ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2543
การยื่นรายการ(แบบ ค.10) ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอําเภอ หรือเขตท้องที่ ที่ได้ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
ข้อ ๕ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และสถานที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อปฏิบัติการตามประกาศนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,219 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2555 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕
----------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๗๑/๑ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
“กรรมการสรรหา” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการประกอบด้วย
(๑) ประธาน ก.พ.ร. เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธาน ก.พ.ร. แต่งตั้ง เป็นกรรมการ
จํานวนสามคน
(๓) ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดํารงตําแหน่ง เป็นกรรมการ
ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าที่ประธาน ก.พ.ร. แต่งตั้ง
จํานวนสองคน
(๔) เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรณีที่กรรมการสรรหาตาม (๒) และ (๓) เหลือไม่ครบตามจํานวนที่กําหนดให้คณะกรรมการสรรหาที่เหลืออยู่ทําหน้าที่และมีอํานาจดําเนินการสรรหาต่อไปได้
ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการสรรหามีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบนี้
(๒) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการสรรหาตามระเบียบนี้ และให้คําวินิจฉัย เป็นที่สุด
ข้อ ๗ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้กรรมการสรรหาเสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗๑/๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่จะดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ ด้านบริหารรัฐกิจ ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการเงินการคลัง ด้านจิตวิทยาองค์การ และด้านสังคมวิทยา ทั้งนี้ ห้ามมิให้เสนอรายชื่อกรรมการสรรหาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการคัดเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอรายชื่อตาม (๑) เพื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ อย่างน้อยด้านละหนึ่งคนแต่รวมกันไม่เกินสิบคน
(๓) ในกรณีมีความจําเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล คณะกรรมการสรรหาอาจเสนอรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาตาม (๒) จํานวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน เพื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทํางานเต็มเวลาก็ได้
ข้อ ๘ การประชุมของคณะกรรมการสรรหา ให้นําบทบัญญัติหมวด ๕ คณะกรรมการที่มีอํานาจดําเนินการพิจารณาทางปกครอง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตามข้อ ๗ (๒) และ (๓) เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้ง
ข้อ ๑๐ เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบตามจํานวนที่กําหนดตามมาตรา ๗๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้คณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง
ข้อ ๑๑ เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ หรือเมื่อกรณีประธาน ก.พ.ร. เห็นสมควรให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพิ่มเติม ให้นําความในระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี | 2,220 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
----------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 87) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษี เงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น ตาม ข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้นตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินนั้น กรมสรรพากรจึงกําหนดหลักฐานที่จะใช้ในการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529
ข้อ ๒ หลักฐานที่ผู้มีเงินได้จะต้องใช้ในการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบ ล.ย.02 หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
“การลงชื่อของผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้ในหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามวรรคหนึ่งจะใช้วิธีประทับลายมือชื่อของผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2545 ใช้บังคับสําหรับการออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2545 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ 2 ต้องทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2545 ใช้บังคับสําหรับการออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2545 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ ผู้ให้กู้ยืมที่ประสงค์จะทําหนังสือรับรองเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ใน ข้อ 2 และข้อ 3 ต้องยื่นคําขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะปฏิบัติตามนั้นได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,221 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
----------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 93) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วย ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2544 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กรมสรรพากรจึงกําหนดหลักฐานที่จะใช้ในการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังนี้
ข้อ ๑ หลักฐานที่ผู้มีเงินได้ที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ต้องใช้ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้แก่ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งมีข้อความ อย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ในกรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ต้องมีหลักฐานแสดงการโอน ได้แก่ หนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งมีข้อความอย่างน้อย ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ แนบพร้อมหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพด้วย
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในหนังสือ รับรองตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าว หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ข้อ ๒ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และหนังสือ รับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 1 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หรือถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,222 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักฐานการหักลงหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักฐานการหักลงหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543
-------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 87) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น ตามข้อ 2(52) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สําหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจํานองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้นตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับการกู้ยืมเงินนั้น กรมสรรพากรจึงกําหนดหลักฐานที่จะใช้ในการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543
“การลงชื่อของผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้ในหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามวรรคหนึ่งจะใช้วิธีประทับลายมือชื่อของผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมหรือเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ 2 ต้องทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับสําหรับการออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตั้งแต่ วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,223 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การนำส่งเอกสารประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การนําส่งเอกสารประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544
----------------------------------------------------------
ตามที่มาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ได้กําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ยื่นรายการ ซึ่งจําเป็นต้องใช้ในการคํานวณภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมด้วย บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย ที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรอง ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบ ระยะเวลาบัญชี นั้น
โดยที่ได้มีประกาศกรมทะเบียนการค้าเรื่อง ขยายระยะเวลายื่นงบการเงินให้ผู้มีหน้าที่จัด ทําบัญชีที่ไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองงบการเงิน พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ให้มีการขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงิน สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ซึ่งต้องยื่นงบการเงินอย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2545 แต่ยังไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงินได้ ออกไปเป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกรมทะเบียนการค้าดังกล่าว กรมสรรพากรจึงกําหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม2544 มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมด้วยงบการเงิน ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคํานวณภาษีให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับการประกอบกิจการ
ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อทําการตรวจสอบและรับรองงบการเงินได้ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 กรมสรรพากรจะผ่อนผันให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมแนบเอกสารซึ่งยังมิได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ดังต่อไปนี้
(1) แบบแจ้งข้อความของกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ จํานวน 1 ฉบับ
(2) งบการเงิน (ไม่ต้องแนบรายงานการสอบบัญชี) จํานวน 1 ชุด
เอกสารตาม (1) และ (2) ต้องมีผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคลได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการ ของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอํานาจของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ผู้จัดการหรือผู้รับ ผิดชอบในการดําเนินการของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) โดยยื่น ณ สํานักงานสรรพากรเขต สํานักงานสรรพากรเขต (สาขา) สํานักงานสรรพากรอําเภอ สํานักงานสรรพากรอําเภอ (สาขา) หรือสํานักงาน สรรพากรกิ่งอําเภอ ในท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2545
ข้อ ๓ เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเอกสารตามข้อ 2 แล้ว กรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินให้ตามปกติ แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลยังคงมีหน้าที่ต้องนําส่งเอกสารที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองให้ถูกต้องครบถ้วน ณ หน่วยงานสรรพากรตามข้อ 2 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ดังนี้
(1) แบบแจ้งข้อความของกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ ที่ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตลงลายมือชื่อรับรองแล้ว จํานวน 1 ชุด
(2) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จํานวน 1 ชุด
ข้อ ๔ กรณีงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองตามข้อ 3 มีรายการแตกต่างจากรายการตามงบการเงิน ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นไว้ตามข้อ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ -บุคคลต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกหนึ่งฉบับ พร้อมกับการยื่นเอกสารที่มีผู้สอบบัญชี รับอนุญาตตรวจสอบและรับรองตามข้อ 3 ให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ไม่ว่ารายการที่แตกต่างกันดังกล่าวจะทํา ให้การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลคลาดเคลื่อนจากเดิมหรือไม่ก็ตาม และในกรณีที่มีภาษีต้องชําระเพิ่มเติมบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังคงต้องรับผิดชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลส่วนที่ขาด พร้อมเงินเพิ่มตามที่กฎหมาย กําหนด
อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องครบถ้วนในคราว เดียวกัน กรมสรรพากรจึงขอให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบความ ถูกต้องของการจัดทําบัญชีและลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน และแบบแจ้งข้อความของกรรมการ หรือผู้เป็น หุ้นส่วน หรือผู้จัดการ ให้ทันภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,224 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
พ.ศ. ๒๕๖๐
--------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกอบกับมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ภาค” หมายความว่า พื้นที่ซึ่งกําหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบูรณาการงบประมาณหรือปฏิบัติภารกิจที่เชื่อมโยงกันโดยครอบคลุมกลุ่มจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ตั้งแต่หนึ่งกลุ่มจังหวัดขึ้นไป
“ก.บ.ภ.” หมายความว่า คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
“ก.น.จ.” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
“ก.บ.จ.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
“ก.บ.ก.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
“แผนพัฒนาภาค” หมายความว่า แผนที่กําหนดทิศทางการพัฒนาภาคที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาล มีมิติการพัฒนาเชิงกายภาพและพื้นที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นเครื่องมือบูรณาการแผนของส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและประเด็นการพัฒนาภาคสู่การปฏิบัติ
ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองนายกรัฐมนตรีทุกคน เป็นกรรมการ
(๓) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
มอบหมายให้กํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
(๕) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
(๖) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เป็นกรรมการ
(๗) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการ
(๘) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(๙) ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๑๐) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๑๑) ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๑๒) ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ
(๑๓) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(๑๔) ผู้แทนภาคประชาสังคมหรือประชารัฐที่นายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
แต่งตั้งไม่เกินสองคน
(๑๕) ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ
(๑๖) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เป็นกรรมการ
และสังคมแห่งชาติ และเลขานุการ
ให้ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยผู้แทนสํานักงบประมาณ และผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
องค์ประชุมและการประชุมของ ก.บ.ภ. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กรรมการตาม (๑๔) และ (๑๕) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
ข้อ ๕ ให้ ก.บ.ภ. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานภาค กลุ่มจังหวัดและจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อให้สามารถบริหารงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(๒) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดแผนพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดการจัดทําและบริหารงบประมาณจังหวัด งบประมาณกลุ่มจังหวัด และงบประมาณของส่วนราชการที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาค
(๓) บูรณาการแผนของส่วนราชการและแผนพัฒนาระดับพื้นที่ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนในพื้นที่ของกระทรวง กรม สอดคล้องกับศักยภาพหรือประเด็นปัญหาในพื้นที่และเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล
(๔) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาคแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด คําของบประมาณของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และงบประมาณของส่วนราชการที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาคตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
(๕) กํากับดูแลการดําเนินการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(๖) เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งกลุ่มจังหวัด และกําหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
คณะอนุกรรมการตาม (๗) อย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคของแต่ละภาค และให้มีหน้าที่และอํานาจเป็นคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้วย
นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.บ.ภ. และ ก.น.จ. อาจมีคําสั่งให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง ก.บ.ภ. และ ก.น.จ. เพื่อพิจารณาเรื่องที่เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละฝ่ายได้
ข้อ ๖ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทําหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.บ.ภ. และหน้าที่อื่นตามที่ ก.บ.ภ. กําหนด
ข้อ ๗ ให้แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาภาคมีระยะเวลาห้าปี
ข้อ ๘ เมื่อ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. จัดทําแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด แล้วเสร็จให้ส่งคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคของแต่ละภาคตามข้อ ๕ วรรคสอง พิจารณากลั่นกรอง แล้วเสนอ ก.น.จ. เพื่อพิจารณานําเสนอ ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบต่อไป
ข้อ ๙ เมื่อ ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดตามที่ ก.น.จ.เสนอและคณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ให้ ก.บ.ภ. ส่งให้สํานักงบประมาณเพื่อใช้จัดสรรงบประมาณตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ ก.บ.ภ. เห็นว่ามีเหตุผลและความจําเป็นที่ต้องพัฒนาพื้นที่ใดหรือดําเนินการตามข้อ ๕ (๓) เป็นการเร่งด่วน ให้ ก.บ.ภ. เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณต่อไป
ข้อ ๑๑ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับการดําเนินการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๑๒ ในครั้งแรกให้ปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ ก.บ.ภ. กําหนด และให้แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดมีห้วงระยะเวลาสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ -พ.ศ. ๒๕๖๔) ให้จัดทําแผนพัฒนาภาคและให้กลุ่มจังหวัดที่ไม่มีแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด โดยมีห้วงระยะเวลาสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - พ.ศ. ๒๕๖๔)
ข้อ ๑๓ เพื่อให้การบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พ.ศ. ๒๕๖๑ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้คงกลุ่มจังหวัดไว้ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกําหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกําหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
การบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.บ.ภ. มีอํานาจในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด ตามที่ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. เสนอ แล้วแต่กรณีทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.บ.ภ. กําหนด
ข้อ ๑๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.น.จ. | 2,225 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 328/2563
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/2) ของข้อ 3/1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(1/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/2) ของข้อ 3/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(1/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/2) ของข้อ 7 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากที่ระบุใน (2) เฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทย หรือประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่กรณี หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/2) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทําของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/2) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(2/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/2) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(3/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/2) ของข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/2) ของข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(2/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/2) ของข้อ 12/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/2) ของข้อ 12/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
“(2/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,226 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสำนักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหรือดำเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีหรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
-----------------------------------------------------
โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอํานาจหน้าที่และการ ควบคุมของ กรมสรรพากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมและกํากับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมสรรพากร จึงให้สํานักงานบัญชีตัวแทนซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนดสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนาม ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ ซึ่งสํานักงานบัญชีตัวแทนดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(1) คําว่า "สํานักงานบัญชีตัวแทน" หมายความว่า บุคคลซึ่งทําหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
บุคคลตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดา ตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล
(2) คําว่า "ผู้มีหน้าที่เสียภาษี" หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทุกประเภทภาษี ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษี และผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้ว่าจ้างให้สํานักงานบัญชีตัวแทนเป็นผู้ทําบัญชีและแต่งตั้งให้สํานักงานบัญชีตัวแทนดังกล่าวเป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
(3) คําว่า "แบบแสดงรายการภาษี" หมายความรวมถึง แบบนําส่งภาษีและแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ข้อ ๒ สํานักงานบัญชีที่ประสงค์จะเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
2.1 กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนเป็นบุคคลธรรมดา
(1) เป็นผู้ทําบัญชีตามคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชีตามมาตรา 7(6) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และผ่านการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรตามหลักสูตรที่อธิบดี กรมสรรพากรกําหนด
(2) มีประสบการณ์ในด้านการทําบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีและเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนของผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่น้อยกว่า 50 ราย ณ วันที่ขออนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
(3) ต้องทําบัญชีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภาษีในนามของ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยมิได้ดําเนินการตรวจสอบและรับรองบัญชีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในขณะที่ดําเนินการเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
(4) ไม่เป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือ ถูกเพิกถอน
(5) มีประวัติการเสียภาษีที่ดี มีการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของ กิจการ และไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนเป็น คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชน ที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคลด้วย
2.2 กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(1) เป็นผู้ทําบัญชีตามคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชีตามมาตรา 7(6) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และผ่านการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรตามหลักสูตรที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
(2) มีประสบการณ์ในด้านการทําบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีและเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนของผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่น้อยกว่า 50 ราย ณ วันที่ขออนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
(3) ต้องทําบัญชีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยมิได้ดําเนินการตรวจสอบและรับรองบัญชีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในขณะที่ดําเนินการเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
(4) มีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายก่อนยื่นคําขอเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
(5) ไม่เป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอน
(6) มีประวัติการเสียภาษีที่ดี มีการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของกิจการ และไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล
ข้อ ๓ การยื่นคําขออนุญาตและการออกใบอนุญาต
3.1 ให้ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 2 ซึ่งมีความประสงค์จะเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนจัดให้มีสัญญาการตั้งตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และมอบอํานาจให้กระทําการแทนเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างสํานักงานบัญชีตัวแทนและผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องทําข้อตกลงกับกรมสรรพากรในการขอแต่งตั้งสํานักงานบัญชีตัวแทนเป็นตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ละรายมีสิทธิทําสัญญาแต่งตั้งและมอบอํานาจให้สํานักงานบัญชีตัวแทนรายหนึ่งรายใดเท่านั้นเป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของ กรมสรรพากร www.rd.go.th โดยสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอํานาจให้กระทําการแทนนั้นจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าสํานักงานบัญชีตัวแทนมีสิทธิยื่นแบบแสดงรายการภาษีประเภทใดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
3.2 ผู้มีความประสงค์จะเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนตาม 3.1 ให้ยื่นคําขอเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้เป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ผู้ยื่นคําขอจะได้รับใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนตามวรรคหนึ่งเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
ข้อ ๔ สํานักงานบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th จะต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
4.1 จัดทําแบบแสดงรายการภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือจัดทําแบบแสดงรายการภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชําระภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้หมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) ของสํานักงานบัญชีตัวแทน เพื่อทําการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
สํานักงานบัญชีตัวแทนมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามประเภทภาษีที่ได้ตกลงกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีของสํานักงานบัญชีตัวแทนมีจํานวนลดลงจากจํานวนที่สํานักงานบัญชีตัวแทนแจ้งไว้เมื่อขออนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน สํานักงานบัญชีตัวแทนยังคงสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ ถ้าหากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีดังกล่าวขาดไปไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนผู้มีหน้าที่เสียภาษี
แบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91)
4.2 ชําระภาษีหรือนําส่งภาษีเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร
(1) กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นผู้ชําระภาษีด้วยตนเอง ให้กระทําได้โดย
(ก) โอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร หรือ
(ข) โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post)
(2) กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ให้กระทําได้โดย
(ก) โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีเงินฝากของสํานักงานบัญชีตัวแทนพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือ
(ข) โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีเงินฝากของสํานักงานบัญชีตัวแทน หรือโอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) ภายหลังการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
4.3 แจ้งรายชื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีของสํานักงานบัญชีตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีขอใช้บริการของสํานักงานบัญชีตัวแทนหรือเลิกใช้บริการของสํานักงานบัญชีตัวแทน ทั้งนี้ ต้องแจ้งรายชื่อก่อนถึงกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีในเดือนภาษีหรือปีภาษีถัดไป
4.4 สํานักงานบัญชีตัวแทนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนตามที่ได้แจ้งไว้ต่อกรมสรรพากร ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง เช่น การย้ายที่ตั้งสํานักงานบัญชีตัวแทน การเปิดสํานักงานบัญชีตัวแทนเพิ่มเติม การปิดสํานักงานบัญชีตัวแทนบางแห่ง การเลิกสํานักงานบัญชีตัวแทน การเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจํากัด การเปลี่ยนแปลงเงินทุนที่ชําระแล้ว การเพิ่มทุนหรือการลดทุน และการเปลี่ยนแปลงอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกัน
4.5 จัดส่งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตาม 2.1 หรือ 2.2 เข้ารับการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรตามหลักสูตรที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๕ การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
5.1 กรณีใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนตาม 3.2 สิ้นสุดลง สํานักงานบัญชีตัวแทนมีสิทธิยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้ ทั้งนี้ สํานักงานบัญชีตัวแทนต้องมีผู้มีหน้าที่เสียภาษีของสํานักงานบัญชีตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ไม่น้อยกว่า 50 ราย ณ วันที่ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนสํานักงานบัญชีตัวแทนต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายในสองเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนไม่สามารถยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง สํานักงานบัญชีตัวแทนจะต้องยื่นคําขอขยายเวลาออกไปต่ออธิบดีกรมสรรพากร เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้วสํานักงานบัญชีตัวแทนจะต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนภายในเวลาไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ หากมิได้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าสํานักงานบัญชีตัวแทนสิ้นสภาพการเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนที่ได้รับการต่ออายุแล้ว ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนสิ้นสุดลง
5.2 กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนทําใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ ให้สํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นคําขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนให้มีรายการเช่นเดียวกับใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน โดยให้มีข้อความระบุในที่ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน และให้มีอายุเช่นเดียวกับใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนฉบับจริงที่สูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้นั้น
ข้อ ๖ การยื่นคําขออนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน การแจ้งรายชื่อของผู้มีหน้าที่เสียภาษี การแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน การยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ให้สํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรโดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
ข้อ ๗ สํานักงานบัญชีตัวแทนที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามประกาศนี้ อธิบดีอาจพิจารณาสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนเสียก็ได้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,227 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสำนักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหรือดำเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th แก้ไขประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 22 เมษายน 2546 | ประกาศกรมสรรพากร
กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุ ใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th แก้ไขประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 22 เมษายน 2546
--------------------------------------------------------------
โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอํานาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมและกํากับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมสรรพากร จึงให้สํานักงานบัญชีตัวแทนซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนดสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนาม ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ ซึ่งสํานักงานบัญชีตัวแทนดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของ 2.1 ของข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทน ใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เป็นผู้ทําบัญชีตามคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และผ่านการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรตามหลักสูตรที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของ 2.2 ของข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เป็นผู้ทําบัญชีตามคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และผ่านการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรตามหลักสูตรที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,228 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสำนักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหรือดำเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศกรมสรรพากร
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีหรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552
-------------------------------------------------------------
โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอํานาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมและกํากับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมสรรพากรจึงให้สํานักงานบัญชีตัวแทนซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนดสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ได้ ซึ่งสํานักงานบัญชีตัวแทนดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของ 2.1 ของข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีประสบการณ์ในด้านการทําบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีและเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนของผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่น้อยกว่า 30 ราย ณ วันที่ขออนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของ 2.2 ของข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีประสบการณ์ในด้านการทําบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีและเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนของผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่น้อยกว่า 30 ราย ณ วันที่ขออนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน 5.1 ของข้อ 5 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์
(Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“5.1 กรณีใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนตาม 3.2 สิ้นสุดลง สํานักงานบัญชีตัวแทนมีสิทธิยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้ ทั้งนี้ สํานักงานบัญชีตัวแทนต้องมีผู้มีหน้าที่เสียภาษีของสํานักงานบัญชีตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ไม่น้อยกว่า 30 ราย ณ วันที่ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน
สํานักงานบัญชีตัวแทนต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายในสองเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
กรณีสํานักงานบัญชีตัวแทนไม่สามารถยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง สํานักงานบัญชีตัวแทนจะต้องยื่นคําขอขยายเวลาออกไปต่ออธิบดีกรมสรรพากร เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้วสํานักงานบัญชีตัวแทนจะต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนภายในเวลาไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ
หากมิได้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าสํานักงานบัญชีตัวแทนสิ้นสภาพการเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนที่ได้รับการต่ออายุแล้ว ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนสิ้นสุดลง”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,229 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสำนักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหรือดำเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตและการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์(Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th (ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------------------------
โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอํานาจหน้าที่และการควบคุม ของกรมสรรพากร ตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมและกํากับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมสรรพากรจึงให้สํานักงานบัญชีตัวแทน ซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนดสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ได้ ซึ่งสํานักงานบัญชีตัวแทนดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทน ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน 5.1 วรรคสองของข้อ 5 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี หรือดําเนินการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดในนามของผู้มีหน้าที่เสียภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“สํานักงานบัญชีตัวแทนต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นสํานักงานบัญชีตัวแทนต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ภายในระยะเวลาสี่เดือนแต่ไม่น้อยกว่าสองเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,230 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 327/2563 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 327/2563
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (18) (19) (20) และ (21) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“(18) การรับแจ้งเพื่อใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(19) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(20) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(21) การอนุมัติให้ใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้คํานวณไว้ ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,231 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีผ่านระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต
-------------------------------------------------------------------
ด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี หรือการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ชําระภาษี หรือนําส่งภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับภาษีแต่ละประเภท แต่เนื่องจากในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี หรือการนําส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอาจมีเหตุขัดข้องหรือข้อผิดพลาดของระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นผลให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี หรือการนําส่งภาษีดังกล่าวเกินกําหนดเวลาตามกฎหมาย โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษีแต่อย่างใด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี หรือการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีกเจ็ดวันทําการ นับแต่วันสุดท้ายของกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี หรือการนําส่งภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วแต่กรณี หากมีเหตุการณ์ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงินเพื่อชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ระบบการโอนเงินของหน่วยรับชําระภาษีขัดข้องโดยผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้โอนเงินชําระภาษีแล้ว
ข้อ ๒ กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาและสามารถสั่งโอนเงินเพื่อชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในวันถัดจากวันครบกําหนดเวลาแล้ว แต่ธนาคารไม่ปิดระบบการโอนเงิน เป็นเหตุให้ผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว
ข้อ ๓ กรณีระบบการรับแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงิน
ข้อ ๔ กรณีระบบเครือข่ายของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและสั่งโอนเงิน
ข้อ ๕ กรณีมีเหตุอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับข้อ 1 ถึงข้อ 4 โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษี
ทั้งนี้ สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี หรือการนําส่งภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป โดยผู้เสียภาษีที่ประสงค์จะขอขยายกําหนดเวลาตามประกาศนี้ให้ยื่นคําร้องขอขยายกําหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้ขยายกําหนดเวลาโดยไม่ต้องมีคําร้องก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,232 |
พระราชกฤษฎีกา การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทำงานเต็มเวลา ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2546 | พระราชกฤษฎีกา
การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทํางานเต็มเวลา
ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
---------------------------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดการปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทํางานเต็มเวลาในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๗๑/๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทํางานเต็มเวลาในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทํางานเต็มเวลาในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
มาตรา ๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
ให้นําระเบียบว่าด้วยการลาที่ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับแก่การลาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม โดยให้ประธานกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติในทุกกรณี
มาตรา ๕ การปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมอบหมายแล้ว ให้เป็นไปตามที่จะได้หารือร่วมกันระหว่างประธานกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความร่วมมือและการช่วยเหลือคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้เกิดความสําเร็จในภารกิจของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นสําคัญ
มาตรา ๖ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในอัตราเดือนละแปดหมื่นบาท
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับได้รับค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี | 2,233 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 326/2563 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 326/2563
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
------------------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) (12) (13) และ (14) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
“(11) การรับแจ้งเพื่อใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(12) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(13) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(14) การอนุมัติให้ใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้คํานวณไว้ ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,234 |
พระราชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 | พระราชกฤษฎีกา
โอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
พ.ศ. ๒๕๔๕
----------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมวด ๑ การโอนกิจการบริหาร
------------------------
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาเป็นของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ตามที่บัญญัติในหมวดนี้
ส่วน ๑ สํานักนายกรัฐมนตรี
-------------------------------
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีดังต่อไปนี้มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในสํานักนายกรัฐมนตรี
(๑) สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยกเว้น
(ก) กองกฎหมายและระเบียบ
(ข) ศูนย์บริการประชาชน
(ค) สํานักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
(ง) สํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
(๒) สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(๓) สํานักข่าวกรองแห่งชาติ
(๔) สํานักงบประมาณ ยกเว้นงานที่เกี่ยวกับการกําหนดตําแหน่งลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราว
(๕) สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(๖) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๗) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(๘) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยกเว้นสํานักงานคณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย
(๙) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ยกเว้น
(ก) สํานักงานกลางช่วยเหลือเกษตรกรและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน ของรัฐ
(ข) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
(ค) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ
(ง) สํานักกฎหมายและระเบียบกลาง เฉพาะที่เกี่ยวกับงานระเบียบพัสดุ
(จ) สํานักนโยบายและแผน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานประสานนโยบายและแผนงานโรคเอดส์
(๑๐) กรมประชาสัมพันธ์ ยกเว้นงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในสํานักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์
(๑๑) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา ๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้มาเป็นของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(๑) กองกฎหมายและระเบียบ
(๒) ศูนย์บริการประชาชน
(๓) สํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
กรณีตาม (๑) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๗ ให้โอนกิจการและอํานาจหน้าที่ของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงบประมาณ เฉพาะงานที่เกี่ยวกับการกําหนดตําแหน่งลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวมาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
หมวด ๒ กระทรวงการคลัง
---------------------------
มาตรา ๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงการคลังดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงการคลัง
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้นงบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง เฉพาะที่ใช้ปฏิบัติงานของสํานักบริหารหนี้สาธารณะที่โอนไปเป็นของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และสํานักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ ที่โอนไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
(๒) กรมธนารักษ์
(๓) กรมบัญชีกลาง ยกเว้น
(ก) สํานักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ
(ข) สํานักการเงินการคลัง เฉพาะ
๑. กลุ่มวิเคราะห์หนี้สาธารณะและเงินคงคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับงานเงินกู้ในประเทศและหนี้เงินกู้ต่างประเทศ
๒. ส่วนหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับงานเงินกู้ในประเทศและหนี้เงินกู้ต่างประเทศ
(๔) กรมศุลกากร
(๕) กรมสรรพสามิต
(๖) กรมสรรพากร
(๗) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ยกเว้น
(ก) กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานนโยบายป้องปรามอาชญากรรมเศรษฐกิจการเงิน
(ข) กองนโยบายเงินกู้
(ค) ศูนย์ข้อมูลและประมวลผล
มาตรา ๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการคลัง ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการคลัง ในส่วนของสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง การคลัง
(๑) กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานนโยบายป้องปรามอาชญากรรมเศรษฐกิจการเงิน
(๒) ศูนย์ข้อมูลและประมวลผล
มาตรา ๑๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมที่ดิน เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักประเมินราคาทรัพย์สิน มาเป็นของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับงานระเบียบพัสดุ ในสํานักกฎหมายและระเบียบกลางมาเป็นของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๓ ให้โอนงบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการคลัง ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เฉพาะที่ใช้ปฏิบัติงานของสํานักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการคลัง ในส่วนของกรมบัญชีกลาง เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๕ ๑๕ ให้โอนงบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการคลัง ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เฉพาะที่ใช้ปฏิบัติงานของสํานักบริหารหนี้สาธารณะ มาเป็นของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๖ ๑๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
(๑) กรมบัญชีกลาง ในส่วนของสํานักการเงินการคลัง เฉพาะ
(ก) กลุ่มวิเคราะห์หนี้สาธารณะและเงินคงคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับงานเงินกู้ในประเทศและหนี้เงินกู้ต่างประเทศ
(ข) ส่วนหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับงานเงินกู้ในประเทศและหนี้เงินกู้ต่างประเทศ
(๒) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในส่วนของกองนโยบายเงินกู้
ส่วน ๓ กระทรวงการต่างประเทศ
--------------------
มาตรา ๑๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวง การต่างประเทศ
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๒) กรมการกงสุล
(๓) กรมพิธีการทูต
(๔) กรมยุโรป
(๕) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
(๖) กรมสารนิเทศ
(๗) กรมองค์การระหว่างประเทศ
(๘) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
(๙) กรมอาเซียน
(๑๐) กรมเอเชียตะวันออก
(๑๑) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
มาตรา ๑๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ
มาตรา ๑๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของกรมวิเทศสหการ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
(๑) งานตรวจสอบภายใน
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม เฉพาะ
(ก) ฝ่ายนิติการ
(ข) ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
(ค) ฝ่ายการเงินและบัญชี
(ง) ฝ่ายพัสดุและยานพาหนะ
(๓) กองทดสอบและฝึกอบรม
(๔) กองแผนงาน เฉพาะ
(ก) ฝ่ายนโยบายและแผน
(ข) ฝ่ายข้อมูล
(ค) งานธุรการ
มาตรา ๒๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของกรมวิเทศสหการ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มาเป็นของกรมวิเทศสหการ กระทรวงการต่างประเทศ
มาตรา ๒๑ ๒๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนของกรมเศรษฐกิจ มาเป็นของกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ส่วน ๔ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-----------------------
มาตรา ๒๒ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา
(๑) กองสารวัตรนักเรียน
(๒) สํานักการกีฬา
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๒๓ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๑) หน่วยตรวจสอบภายใน
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองคลัง
(๔) กองแผนงาน
(๕) กองสารวัตรนักเรียน
(๖) สํานักการกีฬา
(๗) สํานักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ
กรณีตาม (๒) ถึง (๗) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๒๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๑) โรงเรียนกีฬา
(๒) วิทยาลัยพลศึกษา
มาตรา ๒๕ ๒๕ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองคลัง
(๔) กองแผนงาน
(๕) กองสารวัตรนักเรียน
(๖) สํานักการกีฬา
(๗) สํานักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๒๖ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองคลัง
(๔) กองแผนงาน
(๕) กองสารวัตรนักเรียน
(๖) สํานักการกีฬา
(๗) สํานักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๒๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในสํานักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ มาเป็นของสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยวกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา
มาตรา ๒๘ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๑) การกีฬาแห่งประเทศไทย
(๒) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
มาตรา ๒๙ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้ โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๑) พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒) พระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
ส่วน ๕ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-------------------------
มาตรา ๓๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมประชาสงเคราะห์ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) สํานักงานเลขานุการกรม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานช่วยอํานวยการและเลขานุการนักบริหาร
(๒) กองความมั่นคงแห่งสังคม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานธุรการ
(๓) สถาบันวิจัยชาวเขา เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายบริหารทั่วไป
มาตรา ๓๑ ๓๑ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เฉพาะที่เกี่ยวกับ ส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการส่วนกลาง
(๒) กรมประชาสงเคราะห์ เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) หน่วยตรวจสอบภายใน
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๓๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ เฉพาะ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม เฉพาะ
๑. ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
๒. ฝ่ายคลัง
(ข) กองนโยบายและแผนงานเยาวชน เฉพาะ
๑. ฝ่ายนโยบายและแผน
๒. ศูนย์ข้อมูลและสถิติ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานระบบคอมพิวเตอร์
(ค) กองประสานงานเยาวชน เฉพาะ
๑. ฝ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
๒. ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
(ง) กองส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานโสตทัศนศึกษา
(๒) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมประชาสงเคราะห์ เฉพาะ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ข) กองการเจ้าหน้าที่
(ค) กองคลัง
(ง) กองนิคมสร้างตนเอง เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายสินเชื่อ
(จ) กองแบบแผนและสํารวจ เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายวิศวกรรมโยธา
(ฉ) กองวิชาการและแผนงาน
(ช) กองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
(ซ) กองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
(ฌ) สถาบันวิจัยชาวเขา ยกเว้นฝ่ายบริหารทั่วไป
(ญ) สํานักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด
กรณีตาม (๑) (ก) และ (๒) (ข) และ (ค) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เฉพาะที่เกี่ยวกับกองส่งเสริมอาชีพและรายได้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(๒) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมประชาสงเคราะห์ เฉพาะ
(ก) กองการเจ้าหน้าที่ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ข) กองคลัง ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ค) กองนิคมสร้างตนเอง เฉพาะ
๑. ฝ่ายทะเบียนและหนังสือสําคัญ
๒. ฝ่ายบริหารและจัดทรัพยากรนิคม
(ง) กองบริการชุมชน เฉพาะที่เกี่ยวกับศูนย์รับบริจาคเพื่อการสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน
(จ) กองแบบแผนและสํารวจ เฉพาะ
๑. ฝ่ายควบคุมการก่อสร้าง
๒. ฝ่ายวิศวกรรมเครื่องกล
๓. ฝ่ายสํารวจและรังวัด
(ฉ) กองสงเคราะห์ชาวเขา เฉพาะ
๑. ฝ่ายชาวเขาสัมพันธ์
๒. ฝ่ายบริหารทั่วไป
๓. ฝ่ายแผนงานและโครงการ
๔. ฝ่ายพัฒนาชาวเขา
๕. สํานักงานส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนที่สูง
(ช) กองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น เฉพาะ
๑. ฝ่ายการสงเคราะห์
๒. ฝ่ายแผนงานและโครงการ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานสถิติและทะเบียนประวัติเด็ก
๓. ศูนย์อํานวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(ซ) กองสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายสังคมสงเคราะห์และฟื้นฟู
(ฌ) กองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ เฉพาะ
๑. ฝ่ายบริหารทั่วไป
๒. ฝ่ายแผนงานและโครงการ
๓. ฝ่ายสวัสดิการสตรี ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๔. ฝ่ายส่งเสริมอาชีพ
๕. สถานฝึกอบรมวิชาชีพตัดผม กรมประชาสงเคราะห์
๖. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ
(ญ) ศูนย์ปฏิบัติงานช่างภาค
(ฎ) ศูนย์พัฒนานิคมภาค
(ฏ) ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา
(ฐ) นิคมสร้างตนเอง
(ฑ) สถานสงเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์
กรณีตาม (๒) (ฉ) ๑. และ ๒. (ฌ) ๒. และ ๔. ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๓๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของสํานักงานธนานุเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ มาเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๓๕ ๓๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ
(๒) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชน เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายพัฒนาสตรีในกองพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน
(๓) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมประชาสงเคราะห์ เฉพาะ
(ก) กองความมั่นคงแห่งสังคม ยกเว้นงานธุรการ
(ข) กองนิคมสร้างตนเอง เฉพาะ
๑. ฝ่ายแผนงานและโครงการ
๒. ฝ่ายส่งเสริมอาชีพ
๓. ฝ่ายพัฒนาสังคม
(ค) กองบริการชุมชน เฉพาะ
๑. ฝ่ายบริหารทั่วไป
๒. ฝ่ายพัฒนาและสงเคราะห์ชุมชน
๓. ฝ่ายสงเคราะห์ครอบครัว
(ง) กองสงเคราะห์ชาวเขา ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(จ) กองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ เฉพาะ
๑. ฝ่ายสวัสดิการสตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับงานแนะแนวปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี
๒. ฝ่ายแผนงานและโครงการ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๓. ฝ่ายส่งเสริมอาชีพ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๓๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ข) กองนโยบายและแผนงานเยาวชน ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ค) กองประสานงานเยาวชน ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ง) กองส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๒) กระทรวงมหาดไทย
(ก) กรมการพัฒนาชุมชน ในส่วนของกองพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชนเฉพาะ
๑. ฝ่ายพัฒนาเด็ก
๒. ฝ่ายพัฒนาเยาวชน
(ข) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท ในส่วนของกองเยาวชนชนบท ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(๓) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมประชาสงเคราะห์เฉพาะ
(ก) กองบริการชุมชน เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายหอพัก
(ข) กองแบบแผนและสํารวจ เฉพาะ
๑. ฝ่ายบริหารทั่วไป
๒. ฝ่ายแผนงาน
๓. ฝ่ายสถาปัตยกรรม
(ค) กองสวัสดิการสงเคราะห์
(ง) กองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น เฉพาะ
๑. ฝ่ายบริหารทั่วไป
๒. ฝ่ายคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
๓. ฝ่ายแผนงานและโครงการ ยกเว้นงานสถิติและทะเบียนประวัติเด็ก
๔. ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาเด็ก
(จ) สํานักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
มาตรา ๓๗ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) การเคหะแห่งชาติ
(๒) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
มาตรา ๓๘ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๑) พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔) พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช ๒๔๘๔
(๕) พระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจําพวก พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๖) พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑
(๗) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙
(๘) พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐
(๙) พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๑
(๑๐) พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๐๗
(๑๑) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๔ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ส่วน ๖ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
------------------------------
มาตรา ๓๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) สํานักงานจัดรูปที่ดินกลาง
(ข) สํานักงานพัฒนาสถาบันเกษตรกร เฉพาะ
๑. งานจดทะเบียนสหกรณ์
๒. งานพัฒนาสถาบันเกษตรกร
(๒) กรมชลประทาน ยกเว้น
(ก) โรงพยาบาลชลประทาน
(ข) สํานักชลประทานที่ ๑-๑๒ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานแนะนํากลุ่มผู้ใช้น้ําของฝ่ายส่งเสริมการใช้น้ําบางส่วน ที่โอนไปเป็นของกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ค) สํานักแผนงานและโครงการ เฉพาะ
๑. กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานจัดทํานโยบายและทิศทางการพัฒนาแหล่งน้ําบางส่วนที่โอนไปเป็นของกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒. กลุ่มงานสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานศึกษาผลกระทบของการก่อสร้างแหล่งน้ําบางส่วน ที่โอนไปเป็นของกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. กลุ่มงานประเมินผล เฉพาะที่เกี่ยวกับงานติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาแหล่งน้ําบางส่วน ที่โอนไปเป็นของกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(๔) กรมประมง ยกเว้น
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม
(ข) กองคลัง
(ค) กองประมงนอกน่านน้ําไทย
(ง) กองประมงน้ําจืด
(จ) กองประมงทะเล เฉพาะ
๑. ศูนย์พัฒนาประมงทะเลทั้ง ๕ ศูนย์ เฉพาะ
๑.๑ กลุ่มประเมินสภาวะทรัพยากรและการประมง
๑.๒ กลุ่มสํารวจทรัพยากร
๒. ศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยทั้ง ๔ ศูนย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับ กลุ่มสิ่งแวดล้อมทางการประมง
๓. ศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก เฉพาะที่เกี่ยวกับสถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
(ฉ) กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง
(ช) กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เฉพาะ
๑. ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง เฉพาะ
๑.๑ กิจการและอํานาจหน้าที่ของงานบริหารทรัพยากร
๑.๒ กิจการและอํานาจหน้าที่ของงานสงวนและคุ้มครองสัตว์น้ํา
๒. ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเล
(ซ) สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง
(ฌ) สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล
(ญ) สถาบันวิจัยประมงน้ําจืด
(ฎ) สํานักงานประมงจังหวัด
(ฏ) สํานักงานประมงอําเภอ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการประมงน้ําจืดระดับพื้นฐาน
(๕) กรมปศุสัตว์ ยกเว้นงานส่งเสริมการปศุสัตว์ระดับพื้นฐานของสํานักงานปศุสัตว์อําเภอ
(๖) กรมป่าไม้ ยกเว้นบางส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๗) กรมพัฒนาที่ดิน ยกเว้น
(ก) กองวางแผนการใช้ที่ดิน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานวางแผนการใช้ที่ดินชายทะเลของกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน
(ข) กองอนุรักษ์ดินและน้ํา เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มอุทกวิทยาลุ่มน้ํา
(๘) กรมวิชาการเกษตร
(๙) กรมส่งเสริมการเกษตร ยกเว้นกองพัฒนาการบริหารงานเกษตร เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล
(๑๐) กรมส่งเสริมสหกรณ์
(๑๑) สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ยกเว้นกองจัดการปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกร
(๑๒) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กรณีตาม (๔) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ๑.๑ ๑.๒ และ ๒. (ฉ) (ช) ๒. (ซ) (ญ) และ (ฎ)
เฉพาะที่โอนไปเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๔๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๔๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับงานช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในสํานักงานกลางช่วยเหลือเกษตรกรและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๔๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานจัดรูปที่ดินกลาง
(๒) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เฉพาะ
(ก) สํานักงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานภูมิภาคที่ ๑-๔ เฉพาะ
๑. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ําด้วยไฟฟ้า
๒. งานพัฒนาแหล่งน้ําการเกษตร
(ข) สํานักปฏิบัติการและบํารุงรักษา เฉพาะที่เกี่ยวกับงานจัดตั้งสถานี สูบน้ําด้วยไฟฟ้า
(ค) โครงการโขง ชี มูล ทั้งนี้เฉพาะในส่วนที่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตกลงร่วมกันกับกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
มาตรา ๔๓ ให้โอนกิจการและอํานาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ใน ส่วนของกรมการปกครอง เฉพาะที่เกี่ยวกับงานโรงฆ่าสัตว์ มาเป็นของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๔๔ ให้โอนกิจการและอํานาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑) กรมประมง ในส่วนของสํานักงานประมงอําเภอ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการประมงน้ําจืดระดับพื้นฐาน
(๒) กรมปศุสัตว์ ในส่วนของสํานักงานปศุสัตว์อําเภอ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการปศุสัตว์ระดับพื้นฐาน
(๓) สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในส่วนของกองจัดการปฏิรูปที่ดิน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกร
มาตรา ๔๕ ให้โอนกิจการและอํานาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของสํานักงานพัฒนาสถาบันเกษตรกร เฉพาะ
(ก) งานจดทะเบียนสหกรณ์
(ข) งานพัฒนาสถาบันเกษตรกร
(๒) กรมส่งเสริมการเกษตร ในส่วนของกองพัฒนาการบริหารงานเกษตร เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล
มาตรา ๔๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ มาเป็นของสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ การโอนข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๔๗ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะ
(ก) กรมวิชาการเกษตร
(ข) กรมประมง
(ค) กรมปศุสัตว์
(ง) กรมส่งเสริมการเกษตร
(๒) กระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับศูนย์ทดสอบ
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๔๘ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งที่อื่นแล้ว ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ส่วน ๗ กระทรวงคมนาคม
---------------------
มาตรา ๔๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงคมนาคมดังต่อไปนี้มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงคมนาคม
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) ราชการส่วนกลางบางส่วนที่โอนไปเป็นของกรมทางหลวงชนบทกระทรวงคมนาคม และสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ข) กองกิจการระหว่างประเทศ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านการสื่อสารและการอุตุนิยมวิทยา
(ค) สํานักนโยบายและแผนการขนส่งและสื่อสาร ยกเว้นศูนย์สารสนเทศ
(๒) กรมการขนส่งทางบก
(๓) กรมทางหลวง
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงคมนาคม ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม
มาตรา ๕๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรมการบินพาณิชย์ มาเป็นของกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม
มาตรา ๕๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงคมนาคม เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม
(๑) กรมเจ้าท่า
(๒) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) กองนิติการและการต่างประเทศ
(ค) กองเศรษฐกิจการขนส่งทางทะเล
(ง) ศูนย์ประสานงานการพาณิชยนาวี
กรณีตาม (๒) (ก) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๕๓ ๕๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
(๒) กระทรวงคมนาคม เฉพาะ
(ก) สํานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในส่วนของสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและสื่อสาร ยกเว้น
๑. ส่วนกิจการอวกาศ
๒. งานด้านการสื่อสารและการอุตุนิยมวิทยา
(ข) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี เฉพาะ
๑. ราชการส่วนกลาง ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม
๒. สํานักงานเลขานุการกรม
๓. กองวิจัยและวางแผน
มาตรา ๕๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม
(๑) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเงินและบัญชี
(ง) กองการเจ้าหน้าที่
(จ) กองการพัสดุและจัดซื้อ
(ฉ) กองก่อสร้างทางและโครงสร้าง
(ช) กองควบคุมเครื่องจักรกล
(ซ) กองบูรณะและซ่อมบํารุง
(ฌ) กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
(ญ) กองแผนงานและโครงการ
(ฎ) กองฝึกอบรม
(ฏ) กองพัฒนาแหล่งน้ํา
(ฐ) กองวิจัยและประเมินผล
(ฑ) กองโรงงานเครื่องจักรกล
(ฒ) กองสํารวจและออกแบบ
(ณ) ศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบท
(ด) สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกระทรวงมหาดไทย
(๒) กรมโยธาธิการ เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเงินและบัญชี
(ง) กองการเจ้าหน้าที่
(จ) กองการพัสดุ
(ฉ) กองควบคุมการก่อสร้าง
(ช) กองนิติการ
(ซ) กองพัฒนาน้ําสะอาด
(ฌ) กองแผนงาน
(ญ) กองพัฒนาบ่อบาดาล
(ฎ) กองวิเคราะห์และวิจัย
(ฏ) กองวิศวกรรมสะพาน
(ฐ) กองวิศวกรรมสุขาภิบาล
(ฑ) กองสาธารณสถานและทางหลวงท้องถิ่น
(ฒ) สํานักงานโยธาธิการจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน หรือกระทรวงมหาดไทย
กรณีตาม (๑) และ (๒) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๕๕ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๑) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
(๒) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
มาตรา ๕๖ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๑) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
(๒) พระราชบัญญัติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๑
(๓) พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนพ.ศ. ๒๕๔๐
(๔) พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓
ส่วน ๘ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
----------------------
มาตรา ๕๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับงานแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐในสํานักงานกลางช่วยเหลือเกษตรกร และแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
(๒) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมป่าไม้ เฉพาะที่เกี่ยวกับ ฝ่ายสื่อสารในสํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลางของสํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(ข) สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เฉพาะ
๑. กองสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ
๒. สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑-๑๒
(๔) กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมอนามัย เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต ๑-๑๒ ยกเว้น
๑. กลุ่มงานสุขาภิบาลอาหาร
๒. กลุ่มงานอาชีวอนามัย
๓. กลุ่มงานจัดหาน้ําสะอาด
(๕) กระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ําบาดาลของฝ่ายทรัพยากรธรณี ในสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
กรณีตาม (๓) (ก) (๔) (ก) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๕๘ ให้โอนงบประมาณและอัตรากําลังของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมชลประทาน เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักแผนงานและโครงการ เฉพาะ
(ก) กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานจัดทํานโยบายและทิศทางการพัฒนาแหล่งน้ํา
(ข) กลุ่มงานสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานศึกษาผลกระทบของการก่อสร้างแหล่งน้ํา
(ค) กลุ่มงานประเมินผล เฉพาะที่เกี่ยวกับงานติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาแหล่งน้ํา
(๒) สํานักชลประทานที่ ๑-๑๒ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานแนะนํากลุ่มผู้ใช้น้ําของฝ่ายส่งเสริมการใช้น้ํา
มาตรา ๕๙ ๕๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของ กรมควบคุมมลพิษ
(๒) กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมอนามัย เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม เฉพาะ
(ก) ส่วนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
(ข) ส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(ค) ส่วนวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรณีตาม (๒) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานคณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย
(๒) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ก) กรมประมง เฉพาะ
๑. สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล
๒. กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เฉพาะ
๒.๑ ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง เฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการและอํานาจหน้าที่ของงานบริหารทรัพยากรและงานสงวนและคุ้มครองสัตว์น้ํา
๒.๒ ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเล
๓. กองประมงทะเล เฉพาะ
๓.๑ กลุ่มประเมินสภาวะทรัพยากรและการประมง ในศูนย์พัฒนาประมงทะเลทั้ง ๕ ศูนย์ ยกเว้นงบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังบางส่วน
๓.๒ กลุ่มสิ่งแวดล้อมทางการประมง ในศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยทั้ง ๔ ศูนย์ ยกเว้นงบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังบางส่วน
๓.๓ กลุ่มสํารวจทรัพยากร ในศูนย์พัฒนาประมงทะเลทั้ง ๕ ศูนย์
๓.๔ สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ในศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
(ข) กรมป่าไม้ เฉพาะ
๑. สํานักวิชาการป่าไม้ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานป่าชายเลน และสถานีวิจัยป่าชายเลน จังหวัดระนอง ของกลุ่มพัฒนาป่าชายเลนและป่าพรุ ในส่วนวิจัยเศรษฐกิจและพัฒนาการจัดการป่าไม้
๒. สํานักงานป่าไม้เขต เฉพาะ
๒.๑ ฝ่ายจัดการป่าชายเลน
๒.๒ ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานจัดการ ป่าชายเลน
๓. สํานักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เฉพาะที่เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
(ค) กรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานวางแผนการใช้ที่ดินชายทะเลของกลุ่มงานวางแผนการใช้ที่ดิน ในกองวางแผนการใช้ที่ดิน
กรณีตาม (๒) (ก) ๒.๒, ๓.๑, ๓.๒ และ ๓.๓ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๑ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมประมง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) สํานักงานเลขานุการกรม
(๒) กองคลัง
(๓) กองประมงนอกน่านน้ําไทย
(๔) กองประมงน้ําจืด
(๕) กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง
(๖) สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง
(๗) สถาบันวิจัยประมงน้ําจืด
(๘) สํานักงานประมงจังหวัด
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๒ ๖๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) กองคลัง
(๕) กองช่าง
(๖) กองธรณีวิทยา
(๗) กองวิเคราะห์
(๘) กองวิชาการและวางแผน
(๙) กองเศรษฐธรณีวิทยา
(๑๐) สํานักงานทรัพยากรธรณีเขต ๒
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
(๒) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ก) กรมชลประทาน เฉพาะ
๑. สํานักแผนงานและโครงการ เฉพาะ
๑.๑ กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานจัดทํานโยบายและทิศทางการพัฒนาแหล่งน้ํา
๑.๒ กลุ่มงานสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานศึกษาผลกระทบของการก่อสร้างแหล่งน้ํา
๑.๓ กลุ่มงานประเมินผล เฉพาะที่เกี่ยวกับงานติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาแหล่งน้ํา
๒. สํานักชลประทานที่ ๑-๑๒ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานแนะนํากลุ่มผู้ใช้น้ําของฝ่ายส่งเสริมการใช้น้ํา
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ข) กรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มอุทกวิทยาลุ่มน้ํา ในกองอนุรักษ์ดินและน้ํา
(๓) กระทรวงมหาดไทย
(ก) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เฉพาะ
๑. ราชการส่วนกลาง
๒. สํานักงานเลขานุการกรม
๓. กองการเงินและบัญชี
๔. กองการเจ้าหน้าที่
๕. กองก่อสร้างทางและโครงสร้าง
๖. กองควบคุมเครื่องจักรกล
๗. กองแผนงานและโครงการ
๘. กองฝึกอบรม
๙. กองพัฒนาแหล่งน้ํา
๑๐. กองโรงงานเครื่องจักรกล
๑๑. กองสํารวจและออกแบบ
๑๒. ศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบท เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ํา
๑๓. สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ํา
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการอื่นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ข) กรมโยธาธิการ เฉพาะ
๑. ราชการส่วนกลาง
๒. สํานักงานเลขานุการกรม
๓. กองการเงินและบัญชี
๔. กองการเจ้าหน้าที่
๕. กองการพัสดุ
๖. กองนิติการ
๗. กองแผนงาน
๘. กองพัฒนาน้ําสะอาด
๙. กองวิเคราะห์และวิจัย
๑๐. กองวิศวกรรมสุขาภิบาล
๑๑. สํานักงานโยธาธิการจังหวัด เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ํา
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงานกระทรวงมหาดไทย หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงทรัพยากรธรณีและสิ่งแวดล้อม
(๔) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เฉพาะ
(ก) กองออกแบบ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ํา
(ข) สํานักศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงาน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ําและธรณีวิทยา
(ค) สํานักงานประสานความร่วมมือด้านพลังงาน เฉพาะที่เกี่ยวกับ กลุ่มงานพัฒนาลุ่มแม่น้ําโขง
(ง) สํานักงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานภูมิภาคที่ ๑-๔ เฉพาะที่เกี่ยวกับศูนย์สํารวจอุทกวิทยา
(จ) โครงการโขงชีมูล
(๕) กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมอนามัย เฉพาะ
(ก) กองประปาชนบท
(ข) สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มงานจัดหาน้ําสะอาดในศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต ๑-๑๒
กรณีตาม (๒) (ก) (๓) (๔) และ (๕) (ก) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๔ ๖๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมทรัพยากรน้ําบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) กระทรวงมหาดไทย
(ก) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เฉพาะ
๑. กองพัฒนาแหล่งน้ํา
๒. กองสํารวจและออกแบบ
๓. ศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบท
๔. สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ข) กรมโยธาธิการ เฉพาะ
๑. ราชการส่วนกลาง
๒. กองพัฒนาบ่อบาดาล
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงานกระทรวงมหาดไทย หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๒) กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมอนามัย เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านน้ําบาดาลในกองประปาชนบท
(๓) กระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเจ้าหน้าที่
(ง) กองคลัง
(จ) กองช่าง
(ฉ) กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ
(ช) กองน้ําบาดาล
(ซ) กองป้องกันและปราบปราม
(ฌ) กองรังวัด
(ญ) กองวิเคราะห์
(ฎ) กองเศรษฐธรณีวิทยา
(ฏ) กองสัมปทาน
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรณีตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาเป็นของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๖๖ ๖๖ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมอนามัย เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการในสํานักอนามัยสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
(๒) ส่วนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
(๓) ส่วนแผนงานและประเมินผล
(๔) ส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๕) ส่วนวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๖) ส่วนสนับสนุนศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม
(๗) ส่วนอบรมและเผยแพร่
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณหนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนของกรมป่าไม้ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) กองการอนุญาต
(๕) กองคลัง
(๖) กองนิติการ
(๗) กองแผนงาน
(๘) กองฝึกอบรม
(๙) สํานักป้องกันและปราบปราม
(๑๐) สํานักวิชาการป่าไม้ เฉพาะ
(ก) ฝ่ายบริหารทั่วไป
(ข) ส่วนงานวัฒนวิจัย
(ค) ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้
(ง) ส่วนวิจัยสัตว์ป่า
(จ) ส่วนวิจัยเศรษฐกิจและพัฒนาการจัดการป่าไม้ เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มพัฒนาการจัดการป่าไม้และป่าสาธิต
(ฉ) ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้
(ช) ส่วนวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้
(๑๑) สํานักส่งเสริมการปลูกป่า เฉพาะ
(ก) ส่วนปลูกป่าภาครัฐ
(ข) ส่วนเพาะชํากล้าไม้
(ค) ศูนย์เพาะชํากล้าไม้ที่ ๓ (จังหวัดยโสธร)
(ง) ศูนย์เพาะชํากล้าไม้ที่ ๔ (จังหวัดนครราชสีมา)
(จ) ศูนย์เพาะชํากล้าไม้ที่ ๖ (จังหวัดพัทลุง)
(ฉ) ศูนย์เพาะชํากล้าไม้ที่ ๘ (จังหวัดเพชรบุรี)
(ช) ศูนย์เพาะชํากล้าไม้ที่ ๙ (จังหวัดเชียงใหม่)
(ซ) ศูนย์เพาะชํากล้าไม้ที่ ๑๐ (กรุงเทพมหานคร)
(๑๒) สํานักสารนิเทศ
(๑๓) สํานักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
(๑๔) สํานักงานป่าไม้เขต เฉพาะ
(ก) ฝ่ายบริหารทั่วไป
(ข) ฝ่ายจัดการที่ดินป่าไม้
(ค) ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
(ง) ฝ่ายส่งเสริมการปลูกและบํารุงป่า เฉพาะที่เกี่ยวกับงานปลูกป่าภาครัฐ
(จ) ฝ่ายเพาะชํากล้าไม้
(ฉ) กลุ่มวิชาการป่าไม้
(๑๕) สํานักงานป่าไม้จังหวัด เฉพาะ
(ก) งานธุรการ
(ข) ฝ่ายป้องกันรักษาป่า
(๑๖) สํานักงานป่าไม้อําเภอ
กรณีตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๑๐) (ก) (๑๒) และ (๑๕) (ก) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๖๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมที่ดิน เฉพาะที่เกี่ยวกับกองงานเลขาธิการคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
(๒) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ยกเว้น
(ก) กองสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ
(ข) สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑-๑๒
มาตรา ๖๙ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) องค์การจัดการน้ําเสีย
(๒) องค์การสวนพฤกษศาสตร์
(๓) องค์การสวนสัตว์
มาตรา ๗๐ ๗๐ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) พระราชบัญญัติน้ําบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐
(๒) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗
(๓) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
(๔) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
ส่วน ๙ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-----------------------------
มาตรา ๗๑ ให้โอนงบประมาณ และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานสถิติแห่งชาติ เฉพาะ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม
(ข) กองจัดเก็บข้อมูลสถิติ
(ค) กองนโยบายและประสานสถิติ
(ง) กองปฏิบัติการประมวลผลข้อมูล
(จ) กองวิชาการประมวลผลข้อมูล
(ฉ) กองวิชาการสถิติ
(ช) สํานักงานสถิติจังหวัด
(๒) กระทรวงคมนาคม
(ก) สํานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านไปรษณีย์
(ข) กรมอุตุนิยมวิทยา เฉพาะ
๑. กองการศึกษาและวิจัย
๒. กองการสื่อสาร
๓. กองช่างเครื่องมือ
๔. กองตรวจอากาศ
๕. กองอุตุนิยมวิทยาอุทก
๖. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
๗. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๗๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงคมนาคม ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) กองกิจการระหว่างประเทศ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านการสื่อสารและการอุตุนิยมวิทยา
(๓) สํานักนโยบายและแผนการขนส่งและสื่อสาร เฉพาะที่เกี่ยวกับงานด้านการสื่อสารและการอุตุนิยมวิทยา
(๔) สํานักนโยบายและแผนการขนส่งและสื่อสาร เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนกิจการอวกาศ
กรณีตาม (๑) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๗๓ ให้โอนกิจการและอํานาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรมไปรษณีย์โทรเลข เฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๗๔ ๗๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรมไปรษณีย์โทรเลข ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๗๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานสถิติแห่งชาติ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๗๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยา ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นของกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๗๗ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๗๘ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๑) พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
(๒) พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘
ส่วน ๑๐ กระทรวงพลังงาน
-------------------------------------
มาตรา ๗๙ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมโยธาธิการ เฉพาะที่เกี่ยวกับกองควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงและก๊าซ
(๒) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักปฏิบัติการและบํารุงรักษา
(๓) กระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะที่เกี่ยวกับกองคลัง
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๘๐ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมโยธาธิการ เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเงินและบัญชี
(ง) กองการเจ้าหน้าที่
(จ) กองการพัสดุ
(ฉ) กองควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงและก๊าซ
(ช) กองนิติการ
(ซ) กองแผนงาน
(ฌ) สํานักงานโยธาธิการจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงพลังงาน
(๒) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองคลัง
(ง) กองแผนงาน
(จ) กองฝึกอบรม
(ฉ) กองออกแบบ
(ช) สํานักกํากับและอนุรักษ์พลังงาน
(ซ) สํานักปฏิบัติการและบํารุงรักษา
(ฌ) สํานักศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาพลังงาน
(ญ) สํานักงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานภูมิภาคที่ ๑-๔
(ฎ) โครงการโขงชีมูล
(๓) กระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเจ้าหน้าที่
(ง) กองคลัง
(จ) กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ
(ฉ) กองสัมปทาน
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงพลังงาน
กรณีตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมตี
มาตรา ๘๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้างและอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
(๑) กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ
(๒) กองวิเคราะห์ เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายวิเคราะห์เชื้อเพลิงธรรมชาติ
กรณีตาม (๑) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๘๒ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
(๑) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เฉพาะ
(ก) สํานักศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาพลังงาน
(ข) สํานักปฏิบัติการและบํารุงรักษา
(๒) กระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเจ้าหน้าที่
(ง) กองคลัง
(จ) กองช่าง
(ฉ) กองป้องกันและปราบปราม
(ช) กองรังวัด
(ซ) กองเศรษฐธรณีวิทยา
(ฌ) กองสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรณี
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงพลังงาน
กรณีตาม (๑) และ (๒) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๘๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ และภาระผูกพันของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมโยธาธิการ เฉพาะที่เกี่ยวกับ กองควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงและก๊าซ
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายตรวจสอบและควบคุม ในกองอุตสาหกรรมน้ํามัน
มาตรา ๘๔ ให้โอนกิจการและอํานาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมโยธาธิการ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานกิจการไฟฟ้าสัมปทานในกองนิติการและกองวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกล มาเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
มาตรา ๘๕ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมโยธาธิการ เฉพาะ
(ก) กองควบคุมการก่อสร้าง
(ข) กองควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงและก๊าซ
(ค) กองพัฒนาน้ําสะอาด
(ง) กองพัฒนาบ่อบาดาล
(จ) กองวิเคราะห์และวิจัย
(ฉ) กองวิศวกรรมโครงสร้าง
(ช) กองวิศวกรรมสะพาน
(ซ) กองวิศวกรรมสุขาภิบาล
(ฌ) กองสถาปัตยกรรม
(ญ) กองสาธารณสถานและทางหลวงท้องถิ่น
(ฎ) สํานักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร
(ฏ) สํานักงานโยธาธิการจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงพลังงาน
(๒) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เฉพาะ
(ก) สํานักศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาพลังงาน
(ข) สํานักปฏิบัติการและบํารุงรักษา
(๓) สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายตรวจสอบและควบคุม ในกองอุตสาหกรรมน้ํามัน
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๘๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของกรมทะเบียนการค้า เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักน้ํามันเชื้อเพลิง มาเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
มาตรา ๘๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมโยธาธิการเฉพาะที่เกี่ยวกับกองวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกล มาเป็นของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๘๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน สํานักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน มาเป็นของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
มาตรา ๘๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาเป็นของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
มาตรา ๙๐ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(๒) บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
มาตรา ๙๑ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้ โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(๑) พระราชบัญญัติการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒) พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑
(๔) พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๖) พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๗) พระราชบัญญัติปันส่วนน้ํามันเชื้อเพลิง พุทธศักราช ๒๔๘๓
(๘) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล พ.ศ. ๒๕๓๐
(๙) พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการไฟฟ้า พุทธศักราช ๒๔๘๔
(๑๐) พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓
(๑๑) ประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ ๒๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๑๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๑ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ส่วน ๑๑ กระทรวงพาณิชย์
--------------------------
มาตรา ๙๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์ดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงพาณิชย์
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๒) กรมการค้าต่างประเทศ
(๓) กรมการค้าภายใน ยกเว้น
(ก) สํานักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
(ข) สํานักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ยกเว้นงานส่งเสริมและกํากับดูแลกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
(๔) กรมการประกันภัย
(๕) กรมทรัพย์สินทางปัญญา
(๖) กรมส่งเสริมการส่งออก
มาตรา ๙๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์
มาตรา ๙๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงพาณิชย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
(๑) กรมการค้าภายใน ในส่วนของสํานักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
(๒) กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉพาะ
(ก) ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า
(ข) สํานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(ค) สํานักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ
มาตรา ๙๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของกรมทะเบียนการค้า เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักชั่งตวงวัด มาเป็นของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
มาตรา ๙๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มาเป็นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยกเว้น
(๑) ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า
(๒) สํานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(๓) สํานักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ
มาตรา ๙๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงพาณิชย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
(๑) กรมการค้าภายใน ในส่วนของสํานักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ยกเว้นงานส่งเสริมและกํากับดูแลกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
(๒) กรมทะเบียนการค้า ยกเว้น
(ก) สํานักชั่งตวงวัด
(ข) สํานักน้ํามันเชื้อเพลิง
ส่วน ๑๒ กระทรวงมหาดไทย
---------------------------
มาตรา ๙๘ ๙๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทยดังต่อไปนี้ มาเป็นส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงมหาดไทย
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) กองการข่าว เฉพาะที่เกี่ยวกับงานปฏิบัติการด้านการข่าว งานชนกลุ่มน้อย และงานสัญชาติ
(ข) กองการต่างประเทศ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานความมั่นคงชายแดน
(ค) สํานักงานจังหวัด เฉพาะที่เกี่ยวกับงานปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการผู้อพยพ
(๒) กรมการปกครอง ยกเว้น
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเจ้าหน้าที่
(ง) กองคลัง
(จ) กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
(ฉ) วิทยาลัยการปกครอง
(ช) สํานักบริหารการทะเบียน
(ซ) สํานักบริหารการปกครองท้องที่
(ฌ) สํานักบริหารการศึกษาท้องถิ่น
(ญ) สํานักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
(ฎ) ที่ทําการปกครองจังหวัด ที่ทําการปกครองอําเภอ และที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๓) กรมการพัฒนาชุมชน ยกเว้น
(ก) กองพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน
(ข) ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ ๑-๙ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานบริการด้านการช่างพื้นฐาน
(๔) กรมที่ดิน ยกเว้น
(ก) กองงานเลขาธิการคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
(ข) สํานักประเมินราคาทรัพย์สิน
กรณีตาม (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฎ) เฉพาะที่โอนเป็นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มาตรา ๙๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๐๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
(๑) กองการข่าว เฉพาะ
(ก) งานปฏิบัติการด้านการข่าว
(ข) งานชนกลุ่มน้อย
(ค) งานสัญชาติ
(๒) กองการต่างประเทศ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานความมั่นคงชายแดน
(๓) สํานักงานจังหวัด เฉพาะที่เกี่ยวกับงานปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการผู้อพยพ
มาตรา ๑๐๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
(๒) กระทรวงมหาดไทย เฉพาะ
(ก) กรมการปกครอง ในส่วนของกองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
(ข) กรมการพัฒนาชุมชน ในส่วนของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ ๑-๙ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานบริการด้านการช่างพื้นฐาน
(ค) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เฉพาะ
๑. ราชการส่วนกลาง
๒. สํานักงานเลขานุการกรม
๓. กองการเงินและบัญชี
๔. กองการเจ้าหน้าที่
๕. กองก่อสร้างทางและโครงสร้าง
๖. กองการพัสดุและจัดซื้อ
๗. กองควบคุมเครื่องจักรกล
๘. กองบูรณะและซ่อมบํารุง
๙. กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
๑๐. กองแผนงานและโครงการ
๑๑. กองฝึกอบรม
๑๒. กองพัฒนาแหล่งน้ํา
๑๓. กองเยาวชนชนบท
๑๔. กองโรงงานเครื่องจักรกล
๑๕. กองวิจัยและประเมินผล
๑๖. กองส่งเสริมอาชีพและรายได้
๑๗. กองสํารวจและออกแบบ
๑๘. ศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบท
๑๙. สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม หรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมประชาสงเคราะห์ เฉพาะที่เกี่ยวกับกองสงเคราะห์ผู้ประสบภัย ยกเว้นฝ่ายสังคมสงเคราะห์และฟื้นฟู
กรณีตาม (๒) (ค) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๐๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทยดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
(๑) กรมการผังเมือง
(๒) กรมโยธาธิการ เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองการเงินและบัญชี
(ง) กองการเจ้าหน้าที่
(จ) กองการพัสดุ
(ฉ) กองควบคุมการก่อสร้าง
(ช) กองนิติการ
(ซ) กองแผนงาน
(ฌ) กองวิเคราะห์และวิจัย
(ญ) กองวิศวกรรมโครงสร้าง
(ฎ) กองวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกล
(ฏ) กองวิศวกรรมสุขาภิบาล
(ฐ) กองสถาปัตยกรรม
(ฑ) สํานักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร
(ฒ) สํานักงานโยธาธิการจังหวัด
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกระทรวงพลังงาน
กรณีตาม (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฏ) และ (ฒ) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๐๓ ๑๐๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการปกครอง เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
(๑) สํานักบริหารการศึกษาท้องถิ่น
(๒) สํานักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๑๐๔ ให้โอนงบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการปกครอง เฉพาะที่เกี่ยวกับ ส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) กองคลัง
(๕) วิทยาลัยการปกครอง
(๖) สํานักบริหารการทะเบียน
(๗) สํานักบริหารการปกครองท้องที่
(๘) ที่ทําการปกครองจังหวัด ที่ทําการปกครองอําเภอ และที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
ส่วน ๑๓ กระทรวงยุติธรรม
------------------------------
มาตรา ๑๐๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงยุติธรรมดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงยุติธรรม
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
(ข) สํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา
(๒) กรมคุมประพฤติ
(๓) กรมบังคับคดี
มาตรา ๑๐๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงยุติธรรม ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑๐๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
(๑) กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมราชทัณฑ์ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานการคุมประพฤติในสํานักคุมประพฤติ
(๒) กระทรวงยุติธรรม ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานการคุมประพฤติเด็กและเยาวชนตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ใน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
มาตรา ๑๐๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงยุติธรรม ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา มาเป็นของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑๐๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงยุติธรรม ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ยกเว้นที่โอนไปเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม มาเป็นของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑๑๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมราชทัณฑ์ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมมาเป็นของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑๑๑ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน และอัตรากําลังของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เฉพาะที่เกี่ยวกับกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ มาเป็นของกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๑๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑๑๓ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(๑) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
(๒) พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๔) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๑๐
(๕) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ. ๒๕๐๖
(๖) พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๘๒
ส่วน ๑๔ กระทรวงแรงงาน
-------------------------
มาตรา ๑๑๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงแรงงาน
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) ราชการส่วนกลางบางส่วน เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ข) กองกฎหมายและข้อพิพาทแรงงาน เฉพาะที่เกี่ยวกับงานสํานักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และงานสํานักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
(๒) กรมการจัดหางาน
(๓) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(๔) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยกเว้นงานของกองทุนผู้รับงานไปทําที่บ้าน
(๕) สํานักงานประกันสังคม
มาตรา ๑๑๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน
มาตรา ๑๑๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เฉพาะที่เกี่ยวกับงานสํานักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และงานสํานักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานในกองกฎหมายและข้อพิพาทแรงงาน มาเป็นของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
มาตรา ๑๑๗ ให้โอนกิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิและภาระผูกพันของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เฉพาะที่เกี่ยวกับกองทุนผู้รับงานไปทําที่บ้าน มาเป็นของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
มาตรา ๑๑๘ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
(๑) พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
(๓) พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
(๔) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒
(๕) พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
(๖) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
(๗) พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
(๘) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
(๙) พระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. ๒๔๙๙
(๑๐) พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. ๒๕๓๗
ส่วน ๑๕ กระทรวงวัฒนธรรม
---------------------------
มาตรา ๑๑๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม
(๑) กรมการศาสนา เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานพุทธมณฑล
(๒) กรมศิลปากร เฉพาะ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม
(ข) สํานักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
(๓) สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เฉพาะที่เกี่ยวกับกองเอกชนสัมพันธ์
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๒๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง เฉพาะ
(ก) กองนิติการ
(ข) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในส่วนของสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดเฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายส่งเสริมการศาสนาและวัฒนธรรม และสํานักงานศึกษาธิการอําเภอ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(๒) กรมการศาสนา เฉพาะ
(ก) หน่วยตรวจสอบภายใน
(ข) สํานักงานเลขานุการกรม
(ค) กองแผนงาน
(ง) กองศาสนศึกษา
(๓) กรมศิลปากร เฉพาะ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม
(ข) กองคลัง
(ค) กองการเจ้าหน้าที่
(ง) กองแผนงาน
(จ) สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์
(ฉ) สถาบันศิลปกรรม
(ช) หอสมุดแห่งชาติ
(๔) สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เฉพาะ
(ก) กองกลาง
(ข) กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
(ค) กองนโยบายและแผนวัฒนธรรม
(ง) กองวัฒนธรรมสัมพันธ์ต่างประเทศ
(จ) กองเอกชนสัมพันธ์
(ฉ) สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
กรณีตาม (๑) (ก) และ (๒) ถึง (๔) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
หมวด ๑๒๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมการศาสนา ยกเว้นที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มาเป็นของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๒๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมศิลปากร ยกเว้นที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม และสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มาเป็นของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
มาตรา ๑๒๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ยกเว้นที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
มาตรา ๑๒๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เฉพาะสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มาเป็นของสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๒๕ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
มาตรา ๑๒๖ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(๑) พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑
(๒) พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐
(๓) พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
(๔) พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕
(๕) พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔
(๖) พระราชบัญญัติสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๒
ส่วน ๑๖ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
----------------------------
มาตรา ๑๒๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้นราชการส่วนกลางบางส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๒) กรมวิทยาศาสตร์บริการ
มาตรา ๑๒๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรา ๑๒๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ มาเป็นของสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรา ๑๓๐ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๑) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
(๒) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(๓) สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
(๔) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(๕) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
มาตรา ๑๓๑ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๐๔ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วน ๑๗ กระทรวงศึกษาธิการ
-------------------------------
มาตรา ๑๓๒ ๑๓๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๑) กองการลูกเสือ
(๒) กองยุวกาชาด
(๓) กองสารวัตรนักเรียน ยกเว้นในส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ส่วน ๑๘ กระทรวงสาธารณสุข
------------------------------------------
มาตรา ๑๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงสาธารณสุขดังต่อไปนี้ มาเป็นของส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงสาธารณสุข
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) กองการประกอบโรคศิลปะ
(ข) กองการพยาบาล
(ค) กองช่างบํารุง
(ง) กองแบบแผน
(จ) กองระบาดวิทยา
(ฉ) กองโรงพยาบาลภูมิภาค
(ช) กองสาธารณสุขภูมิภาค
(ซ) กองสุขศึกษา
(ฌ) สถาบันการแพทย์แผนไทย
(ญ) สํานักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน
(๒) กรมการแพทย์ ยกเว้น
(ก) กองประสานการปฏิบัติการบําบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มงานพัฒนางานควบคุมการสูบบุหรี่
(ข) สํานักพัฒนาวิชาการแพทย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานพฤติกรรมและสังคม
(ค) สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย
(ง) สถาบันประสาทวิทยา เฉพาะที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลประสาทสงขลา
(จ) ศูนย์ความร่วมมือการแพทย์ไทย-จีน
(๓) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๔) กรมสุขภาพจิต
(๕) กรมอนามัย ยกเว้น
(ก) กองประปาชนบท
(ข) กองอาชีวอนามัย
(ค) สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม เฉพาะ
๑. ส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๒. ส่วนวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
๓. ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต ๑-๑๒ ยกเว้นกลุ่มงานสุขาภิบาลอาหาร
๔. บางส่วนของส่วนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
(๖) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
มาตรา ๑๓๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๑๓๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๓๖ ให้โอนงบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับงานประสานนโยบายและแผนงานโรคเอดส์ของสํานักนโยบายและแผน มาเป็นของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๑๓๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมควบคุมโรคติดต่อ มาเป็นของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๑๓๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมควบคุมโรคติดต่อ เฉพาะที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลโรคติดต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับกองการพยาบาล
(๒) กรมควบคุมโรคติดต่อ เฉพาะที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลโรคทรวงอก
มาตรา ๑๔๐ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับกองระบาดวิทยา
(๒) กรมการแพทย์ เฉพาะ
(ก) กองประสานการปฏิบัติการบําบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดเฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มงานพัฒนางานควบคุมการสูบบุหรี่
(ข) สํานักพัฒนาวิชาการแพทย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานพฤติกรรมและสังคม
(ค) สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย
(๓) กรมอนามัย เฉพาะ
(ก) กองอาชีวอนามัย
(ข) สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่เกี่ยวกับกลุ่มงานอาชีวอนามัยของศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต ๑-๑๒
มาตรา ๑๔๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับสถาบันการแพทย์แผนไทย
(๒) กรมการแพทย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับศูนย์ความร่วมมือการแพทย์ไทย-จีน
มาตรา ๑๔๒ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมควบคุมโรคติดต่อ เฉพาะที่เกี่ยวกับงานห้องปฏิบัติการโรคเรื้อน ในกองโรคเรื้อน มาเป็นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๑๔๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
(๑) กองการประกอบโรคศิลปะ
(๒) กองช่างบํารุง
(๓) กองแบบแผน
(๔) กองโรงพยาบาลภูมิภาค
(๕) กองสาธารณสุขภูมิภาค
(๖) กองสุขศึกษา
(๗) สํานักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน
มาตรา ๑๔๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของกรมการแพทย์ เฉพาะที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลประสาทสงขลาในสถาบันประสาทวิทยา มาเป็นของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ส่วน ๑๙ กระทรวงอุตสาหกรรม
------------------------------
มาตรา ๑๔๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้ มาเป็นส่วนราชการที่มีชื่ออย่างเดียวกันในกระทรวงอุตสาหกรรม
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง ยกเว้น
(ก) ราชการส่วนกลาง เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
(ข) กองกลาง เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
(ค) กองวิเทศสัมพันธ์ เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย และส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(ง) กองอุตสาหกรรมน้ํามัน เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย และส่วนที่โอนไปเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(จ) สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
(๒) กรมโรงงานอุตสาหกรรม
(๓) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยกเว้น
(ก) สํานักบริหารงานส่งเสริมอุตสาหกรรม เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(ข) สํานักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(ค) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ ๓ เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(๔) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยกเว้น
(ก) ราชการส่วนกลาง เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(ข) ศูนย์ทดสอบ เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ค) สํานักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ง) สํานักบริหารมาตรฐาน ๑-๔ เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(๕) สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ยกเว้น
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และส่วนที่โอนไปเป็นของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(ข) ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม เฉพาะส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรา ๑๔๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรา ๑๔๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักบริหารมาตรฐาน ๔ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๔๘ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง ของกระทรวงอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(๑) กรมทรัพยากรธรณี เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) กองการเจ้าหน้าที่
(ค) กองการเหมืองแร่
(ง) กองช่าง
(จ) กองน้ําบาดาล
(ฉ) กองรังวัด
(ช) กองโลหกรรม
(ซ) กองวิชาการและวางแผน
(ฌ) กองสัมปทาน
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงอุตสาหกรรม
(๒) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เฉพาะ
(ก) สํานักบริหารงานส่งเสริมอุตสาหกรรม
(ข) สํานักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม
(ค) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๓
(๓) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) ศูนย์ทดสอบ
(ค) สํานักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
(ง) สํานักบริหารมาตรฐาน ๑-๓
(๔) สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เฉพาะ
(ก) สํานักงานเลขานุการกรม
(ข) ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม
กรณีตาม (๑)-(๔) ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๔๙ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานเลขานุการกรม มาเป็นของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๐ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการส่วนกลาง มาเป็นของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๑ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
(๑) สํานักงานทรัพยากรธรณีเขต ๑
(๒) สํานักงานทรัพยากรธรณีเขต ๓
มาตรา ๑๕๒ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
(๑) ราชการส่วนกลาง
(๒) สํานักงานเลขานุการกรม
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) กองคลัง
(๕) กองการเหมืองแร่
(๖) กองช่าง
(๗) กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ
(๘) กองธรณีวิทยา
(๙) กองป้องกันและปราบปราม
(๑๐) กองรังวัด
(๑๑) กองโลหกรรม
(๑๒) กองวิเคราะห์
(๑๓) กองวิชาการและวางแผน
(๑๔) กองเศรษฐธรณีวิทยา
(๑๕) กองสัมปทาน
(๑๖) กองสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรณี
(๑๗) สํานักงานทรัพยากรธรณีเขต ๒
ทั้งนี้ ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงพลังงาน หรือส่วนราชการอื่นในกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๓ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเฉพาะที่เกี่ยวกับสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๔ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง ของกระทรวงอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) กองกลาง
(ค) กองวิเทศสัมพันธ์
(ง) กองอุตสาหกรรมน้ํามัน
(๒) กรมทรัพยากรธรณี เฉพาะ
(ก) ราชการส่วนกลาง
(ข) กองป้องกันและปราบปราม
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๕ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเฉพาะที่เกี่ยวกับกองวิเทศสัมพันธ์ มาเป็นของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๖ ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลัง ของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี เฉพาะที่เกี่ยวกับ ส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
(๑) กองช่าง
(๒) กองวิชาการและวางแผน
ทั้งนี้ ให้โอนบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา ๑๕๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มาเป็นของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม
หมวด ๑๕๘ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ส่วน ๒๐ สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
-------------------------
มาตรา ๑๕๙ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมการศาสนา เฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนราชการดังต่อไปนี้ มาเป็นของสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(๑) ราชการส่วนกลาง ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
(๒) หน่วยตรวจสอบภายใน ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
(๓) สํานักงานเลขานุการกรม ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
(๔) กองแผนงาน ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
(๕) กองพุทธศาสนสถาน
(๖) กองศาสนศึกษา ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
(๗) สํานักงานพุทธมณฑล ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม
(๘) สํานักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม
(๙) สํานักงานศาสนสมบัติ
มาตรา ๑๖๐ นอกจากการโอนอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของนายกรัฐมนตรี
(๑) พระราชบัญญัติกําหนดวิทยฐานะผู้สําเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒) พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
(๓) (ยกเลิก)
(๔) (ยกเลิก)
หมวด ๒ ผลและเงื่อนไขการโอนอํานาจหน้าที่
-----------------------
มาตรา ๑๖๑ บรรดาอํานาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคําสั่งใดของส่วนราชการหรือของส่วนหนึ่งส่วนใดของส่วนราชการที่โอนมา หรือของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของส่วนราชการที่โอนมาดังกล่าว ให้โอนมาเป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการที่รับโอน หรือของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และผู้ดํารงตําแหน่งหรือ ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่รับโอนดังกล่าว แล้วแต่กรณี
บรรดาบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของส่วนราชการที่โอนมา หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของ ส่วนราชการที่โอนมาดังกล่าว ให้ถือว่าอ้างถึงส่วนราชการที่รับโอน หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่รับโอนดังกล่าว แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๖๒ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการที่รับโอนอาจมีหนังสือกําหนดเงื่อนไขให้รัฐมนตรี และผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่ถูกโอนอํานาจหน้าที่ไป ยังคงใช้อํานาจหน้าที่เดิมต่อไปได้ หรือปลัดกระทรวงหรืออธิบดีของส่วนราชการที่รับโอน อาจมีหนังสือกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่ถูกโอนอํานาจหน้าที่ไป ยังคงใช้อํานาจหน้าที่เดิมต่อไป
มาตรา ๑๖๓ ให้เรียกหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมว่า ผู้อํานวยการ เว้นแต่ที่มีกฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ๑ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ยุบเลิกกระทรวง ทบวง กรมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเดิมทั้งหมด แล้วจัดตั้งขึ้นใหม่ และมีการโอนภารกิจจากกระทรวง ทบวง กรมเดิมไปอยู่ในกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมทั้งมีการกําหนดภารกิจของกระทรวงตามกฎหมายใหม่ นอกจากนี้ได้มีการกําหนดชื่อหน่วยงานขึ้นใหม่ตามภารกิจใหม่สําหรับภารกิจที่รับโอนมาอีกด้วย ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ได้กําหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นเพื่อกําหนดรายละเอียดการโอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการในกระทรวง ทบวง กรมเดิมที่ถูกยุบเลิกไปเป็นของกระทรวง ทบวง กรมใหม่และพระราชบัญญัติดังกล่าวยังบัญญัติให้มีการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้มีอํานาจหน้าที่เดิมสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ เพื่อให้งานต่อเนื่องมิให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อกําหนดการดังกล่าวให้เป็นไปตามความประสงค์ของกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๔ บทบัญญัติมาตรา ๓ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป และบรรดาความตกลงร่วมกันระหว่างกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงานในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการโขง ชี มูล ที่ได้จัดทําไปแล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้เป็นอันสมบูรณ์
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีเจตนารมณ์ที่จะให้โอนภารกิจโครงการโขง ชี มูล ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เฉพาะส่วนที่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตกลงร่วมกันกับกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงานมาเป็นของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กําหนดไว้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดิน สมควรกําหนดให้ โอนภารกิจเกี่ยวกับโครงการโขง ชี มูล ให้แก่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๔ บรรดาอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่โอนไปเป็นของนายกรัฐมนตรีตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เป็นอันสิ้นสุดลง และให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ก่อนวันที่ พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ใช้บังคับ คงมีต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
ความในวรรคหนึ่งไม่กระทบการใดที่นายกรัฐมนตรีได้กระทําไปตามอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖๐ (๓) และ (๔) แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้โอนอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในการดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัยและกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัยไปเป็นของนายกรัฐมนตรี อันเป็นการคลาดเคลื่อนและก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติอย่างมาก สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ | 2,235 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 325/2563 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคและผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 325/2563
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคและผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-----------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 บางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคและกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ดังต่อไปนี้
(1) การอนุมัติให้ใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
(2) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) การอนุมัติให้ใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
(2) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ๔ สั่ง ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,236 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14มกราคม พ.ศ.2548 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา กรมสรรพากรจึงกําหนดหลักฐานที่ใช้สําหรับการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ หลักฐานที่ผู้มีเงินได้ต้องใช้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบ ล.ย.03 หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ข้อ ๒ หนังสือรับรองตามข้อ 1 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทย หรือถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย
ข้อ ๓ ผู้เป็นบิดามารดาที่ประสงค์จะทําหนังสือรับรองเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ต้องยื่นคําขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะปฏิบัติตามนั้นได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,237 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ | ประกาศกรมสรรพากร
กําหนดกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัด
สวัสดิการภายในส่วนราชการ
--------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 424) พ.ศ.2547 และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้น พ.ศ.2547 และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 อธิบดีกรมสรรพากร จึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการดังต่อไปนี้เป็นกองทุนสวสดิการภายในส่วนราชการที่ผู้บริจาคมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 424) พ.ศ.2547 และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2547
(1) กองทุนสวัสดิการสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(2) กองทุนสวัสดิการกรมชลประทาน
(3) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(4) กองทุนสวัสดิการกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
(5) กองทุนสวัสดิการกรมการพัฒนาชุมชน"
(6) กองทุนสวัสดิการกรมราชทัณฑ์
(7) กองทุนสวัสดิการกรมทรัพย์สินทางปัญญา
(8) กองทุนสวัสดิการภายในกรมสุขภาพจิต
(9) กองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยทักษิณ"
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป)
(10) กองทุนสวัสดิการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(11) กองทุนสวัสดิการของสํานักงาน กปร.
(12) กองทุนสวัสดิการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
(13) กองทุนสวัสดิการกรมโรงงานอุตสาหกรรม
(14) กองทุน 36 ปี สํานักงบประมาณ
(15) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(16) กองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
(17) กองทุนสวัสดิการสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
(18) สวัสดิการกรมพัฒนาที่ดิน
(19) กองทุนสวัสดิการสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(20) กองทุนสวัสดิการกรมอุตุนิยมวิทยา
(21) กองทุนสวัสดิการกรมธุรกิจพลังงาน
(22) กองทุนสวัสดิการกรมทรัพยากรน้ํา
(23) กองทุนสวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างกระทรวงการต่างประเทศ
(24) กองทุนสวัสดิการกรมการขนส่งทางบก
(25) กองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(26) กองทุนสวัสดิการกรมธนารักษ์
(27) กองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมสหกรณ์
(28) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
(29) กองทุนสวัสดิการกรมวิทยาศาสตร์บริการ
(30) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
(31) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(32) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(33) กองทุนสวัสดิการกรมประมง
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) ใช้บังคับ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป )
(34) กองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมการเกษตร
(35) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้ยกเลิกความใน (35) ของข้อ 1 ของประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กําหนดกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2547 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2547 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 134) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับ
การบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 ใช้บังคับ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป)
(36) กองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(37) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(38) กองทุนสวัสดิการสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(39) กองทุนสวัสดิการสํานักงานอัยการสูงสุด
(40) กองทุนสวัสดิการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
(41) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
(42) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(43) กองทุนสวัสดิการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(44) กองทุนสวัสดิการกรมสรรพากร
(45) กองทุนสวัสดิการกรมปศุสัตว์
(46) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(47) กองทุนสวัสดิการกรมราชองครักษ์
(48) กองทุนสวัสดิการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 4) ใช้บังคับ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป )
(49) กองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยมหิดล
(50) กองทุนสวัสดิการกรมที่ดิน
(51) กองทุนสวัสดิการกรมประชาสัมพันธ์
(52) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 5) ใช้บังคับ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป)
(53) กองทุนสวัสดิการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
(54) กองทุนสวัสดิการสํานักงาน ก.พ.ร.
(55) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
(56) กองทุนสวัสดิการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(57) สวัสดิกรกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
(58) กองทุนสวัสดิการสํานักงานประกันสังคม
(แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 8 กันยายน ใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป
(59) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ
(60) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(61) กองทุนสวัสดิการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(62) เงินสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(63) กองทุนสวัสดิการกรมการค้าต่างประเทศ
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2548 ใช้บังคับ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป )
(64) กองทุนสวัสดิการเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(65) กองทุนสวัสดิการกรมการจัดหางาน
(66) สวัสดิการกรมทรัพยากรธรณี
(67) กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2549 ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)
(68) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(69) กองทุนสวัสดิการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ
(70) กองทุนสวัสดิการสํานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)
(71) กองทุนสวัสดิการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(72) กองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(73) กองทุนสวัสดิการสํานักงานอาหารและยา
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 11) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)
(74) สวัสดิการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
(75) สวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(76) กองทุนสวัสดิการกรมคุมประพฤติ
(77) กองทุนสวัสดิการกรมทางหลวงชนบท"
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 12) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)
(78) กองทุนสวัสดิการ สศช.
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 13) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)
(79) กองทุนสวัสดิการสํานักงานกิจการยุติธรรม
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 14) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)
(80) กองทุนสวัสดิการ สํานักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 15) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(81) กองทุนสวัสดิการกรมการแพทย์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(82) กองทุนสวัสดิการกรมทรัพยากรน้ําบาดาล
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 17) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(83) กองทุนสวัสดิการกรมวิชาการเกษตร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 18) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(84) กองทุนสวัสดิการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 19) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(85) กองทุนสวัสดิการสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 20) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(86) กองทุนสวัสดิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 21) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(87) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 22) ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป)
(88) กองทุนสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 23)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 เป็นต้นไป
(89) กองทุนสวัสดิการ สมอ.
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 24)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 เป็นต้นไป
(90) กองทุนสวัสดิการกรมการปกครอง
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 25)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป
“(๙๑) กองทุนสวัสดิการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๖)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
“(๙๒) กองทุนสวัสดิการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๗)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
“(๙๓) กองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๘)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
“(๙๔) กองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมการส่งออก”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๙)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
“(๙๕) กองทุนสวัสดิการสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๓๐)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
“(๙๖) กองทุนสวัสดิการสํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๓๑)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
“(๙๗) กองทุนสวัสดิการภายในกรมหม่อนไหม”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๓๒)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
“(๙๘) กองทุนสวัสดิการสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๓๓)
ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการที่ได้รับการประกาศตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,238 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 324/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 324/2563
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 3/1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“(1/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 3/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่องสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“(1/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 7 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากที่ระบุใน (2) เฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทย หรือประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่กรณี หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทําของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากรหักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(3/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544
“(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544
“(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 12/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 12/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
“(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”
ข้อ ๑๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,239 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นภาษี เงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นภาษี เงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้
จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
---------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว กรมสรรพากรจึงกําหนดหนังสือรับรองที่จะใช้ในการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ในกรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอีกกองทุนหนึ่ง ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
การลงลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวด้วยตรายางหรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ข้อ ๒ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามข้อ 1 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,240 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 323/2563 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 323/2563
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร วันทําการปกติ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,242 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
--------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171 ) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคมพ.ศ. 2551 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กรมสรรพากรจึงกําหนดหลักฐานที่จะใช้ในการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังนี้
ข้อ ๑ หลักฐานที่ผู้มีเงินได้ที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ต้องใช้เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้แก่ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ในกรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนหนึ่งไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนอื่น ต้องมีหลักฐานแสดงการโอน ได้แก่ หนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ แนบพร้อมหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพด้วยการลงชื่อของผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวด้วยตรายางหรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ข้อ ๒ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 1 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิค
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,243 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม หุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม หุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169 ) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กําหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว กรมสรรพากรจึงกําหนดหนังสือรับรองที่จะใช้ในการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ดังนี้
ข้อ ๑ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ในกรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวกองทุนหนึ่งไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวกองทุนอื่น ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
การลงลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ข้อ ๒ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามข้อ 1 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,244 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขายกับลูกค้า ซึ่งเป็นอัตราซื้อถัวเฉลี่ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศและเผยแพร่เมื่อสิ้นวันทําการของแต่ละวันในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อคํานวณภาษีการรับมรดกสําหรับมรดกที่มีมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งได้รับในวันถัดไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,245 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 322/2563 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 322/2563
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางซื่อ ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางซื่อ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,246 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22 /2539 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 22/2539
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกาหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง และจัดการโดยบริษัทจัดการเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องจัดให้มี สมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือของผู้รับฝากทรัพย์สินซึ่งถือ หน่วยลงทุนไว้แทนลูกค้าของตน
(2) จํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย หรือจํานวนหน่วยลงทุน ที่ผู้รับฝากทรัพย์สินแต่ละรายถือไว้แทนลูกค้าของตน
(3) วัน เดือน ปีที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ระบุชื่อผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแทนลูกค้าของตนในสมุดทะเบียน ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดังกล่าวจัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่ง เป็นเจ้าของหน่วยลงทุนไว้ โดยให้มีรายการตามที่กําหนดไว้ใน (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ 15 ตุลาคมพ.ศ. 2539
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,247 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 30/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง
และจัดการโดยบริษัทจัดการ เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ
ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือของผู้รับฝากทรัพย์สินซึ่งถือหน่วยลงทุนไว้แทนลูกค้าของตน
(2) จํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย หรือจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้รับฝากทรัพย์สินแต่ละรายถือไว้แทนลูกค้าของตน
(3) วัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ระบุชื่อผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแทนลูกค้าของตนในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดังกล่าวจัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนไว้ โดยให้มีรายการตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม
ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นอํานาจของสํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,248 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
-------------------------------------------------
เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกแก่หน่วยรับบริจาคในการบันทึกข้อมูลการรับบริจาคโดยไม่ต้องออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาคให้ผู้บริจาค และผู้บริจาคสามารถนําเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรหรือหักเป็นรายจ่ายของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากรหรือยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากรหรือกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานการบริจาคให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กรมสรรพากรจึงออกประกาศเกี่ยวกับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หน่วยรับบริจาค” หมายความว่า หน่วยรับบริจาคที่ผู้บริจาคได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
“ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)” หมายความว่า ระบบที่ใช้สร้างและเก็บรักษาข้อมูลการบริจาคในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งได้ทําบันทึกข้อตกลงการรับส่งข้อมูลการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) กับกรมสรรพากร
ข้อ ๒ ให้หน่วยรับบริจาคมีและใช้เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค สําหรับการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรับบริจาค การลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือการเชื่อมโยงระบบการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ดังนี้
(1) หน่วยรับบริจาคที่มีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรนั้นเป็นเลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค
(2) หน่วยรับบริจาคที่เป็นหน่วยงานในสังกัดของทางราชการ องค์การของรัฐบาล สภากาชาดไทย หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีและใช้เลขประจําผู้เสียภาษีอากรหมายเลขเดียวกับหน่วยงานต้นสังกัด ให้หน่วยรับบริจาคดังกล่าวยื่นคําขอมีและใช้เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่หน่วยรับบริจาคตั้งอยู่
(3) หน่วยรับบริจาคอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) และ (2) ให้ยื่นคําขอมีและใช้เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่หน่วยรับบริจาคตั้งอยู่เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาคตาม (2) และ (3) มิใช่เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) ฉบับที่ 2 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ หน่วยรับบริจาคที่รับบริจาคผ่านธนาคารโดย QR Code หรือ Bar Code ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโดยผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยรับบริจาคและใช้ชื่อบัญชีหน่วยรับบริจาคเพื่อรับบริจาคโดย QR Code หรือ Bar Code
(2) ทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งตัวแทนและมอบอํานาจให้ธนาคารส่งข้อมูลการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคให้กรมสรรพากร โดยกําหนดให้ธนาคารส่งข้อมูลการรับบริจาคให้กรมสรรพากรภายในสองวันทําการนับแต่วันที่หน่วยรับบริจาคได้รับบริจาค ตามรูปแบบและวิธีการส่งข้อมูลการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ที่ธนาคารได้ทําไว้กับกรมสรรพากร
ข้อ ๔ หน่วยรับบริจาคที่รับบริจาคโดยวิธีอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ 3 ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง
(2) หน่วยรับบริจาคโดยผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยรับบริจาคหรือผู้รับมอบอํานาจต้องมาแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่หน่วยรับบริจาคตั้งอยู่ พร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
(ก) ใบลงทะเบียนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตาม (1) พร้อมลงลายมือชื่อของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยรับบริจาค
(ข) สําเนาหนังสือรับรองการจัดตั้งหน่วยรับบริจาค พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง
(ค) สําเนาหนังสือการแต่งตั้งผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยรับบริจาคพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง
(ง) หนังสือมอบอํานาจ และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยรับบริจาคพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง กรณีมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาแสดงตัวและยื่นเอกสารหลักฐานแทน
(3) เมื่อหน่วยรับบริจาคได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) แล้ว หน่วยรับบริจาคจะได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) ผ่านที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email Address) ของหน่วยรับบริจาคที่ระบุไว้ในใบลงทะเบียนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) และให้หน่วยรับบริจาคเป็นผู้กําหนดรหัสผ่าน (Password) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th เพื่อเข้าใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
(4) ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เป็นหลักฐานแสดงการลงลายมือชื่อของหน่วยรับบริจาคในการใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์(Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หน่วยรับบริจาคต้องเก็บรักษาชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไว้เป็นความลับ การระบุชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เข้าใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ถือเป็นการยืนยันหน่วยรับบริจาคและรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(5) กรณีหน่วยรับบริจาคต้องการแก้ไขข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้เพื่อใช้ในการอ้างอิงหรือยืนยันหน่วยรับบริจาค เช่น ชื่อ-นามสกุล และเลขประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยรับบริจาค ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email Address) หมายเลขโทรศัพท์ ให้หน่วยรับบริจาคทําการแก้ไขข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร
การติดต่อหน่วยรับบริจาคไปยังที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email Address) ที่กรมสรรพากรได้รับแจ้งไว้ ถือว่าเป็นการติดต่อโดยชอบจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ตามวรรคหนึ่ง
(6) ให้หน่วยรับบริจาคทําการบันทึกและส่งข้อมูลการรับบริจาค ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ในวันที่รับบริจาคหรือภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โดยไม่ต้องออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาคให้ผู้บริจาค เว้นแต่ผู้บริจาคจะร้องขอให้ออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาค
(7) กรณีหน่วยรับบริจาคที่ได้ยื่นคําขอและได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้เชื่อมโยงระบบการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เพื่อนําส่งข้อมูลการรับบริจาคให้แก่กรมสรรพากร หน่วยรับบริจาคจะไม่ดําเนินการตาม (1) ถึง (6) ก็ได้โดยหน่วยรับบริจาคจะต้องทําการบันทึกและส่งข้อมูลการรับบริจาคตามรูปแบบและวิธีการส่งข้อมูลการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ที่หน่วยรับบริจาคนั้นได้ตกลงไว้กับกรมสรรพากร ในวันที่รับบริจาคหรือภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โดยไม่ต้องออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาคให้ผู้รับบริจาค เว้นแต่ผู้บริจาคจะร้องขอให้ออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาค
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) ฉบับที่ 2 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ ผู้บริจาคที่มีความประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้ปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีบริจาคให้หน่วยรับบริจาคที่รับบริจาคผ่านธนาคารโดย QR Code หรือ Bar Code ตามข้อ 3 ให้ผู้บริจาคทําการสแกน QR Code หรือ Bar Code ผ่าน Mobile Banking ซึ่งจะต้องปรากฏข้อความว่า “e-Donation ชื่อและเลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค” และระบุจํานวนเงินบริจาค พร้อมแจ้งความประสงค์ให้ธนาคารส่งข้อมูลการบริจาคให้กรมสรรพากร
(2) กรณีบริจาคให้หน่วยรับบริจาคที่รับบริจาคโดยวิธีอื่นตามข้อ 4 ให้ผู้บริจาคแจ้งหน่วยรับบริจาคทําการบันทึก ชื่อ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร จํานวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค และวันเดือนปีที่บริจาค บนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือบนระบบการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคที่ได้เชื่อมโยงกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) ฉบับที่ 2 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป)
(3) ตรวจสอบรายชื่อหน่วยรับบริจาคและข้อมูลการบริจาคของตน ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
ข้อ ๖ ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ถือเป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรของผู้บริจาค โดยไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคนั้นต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,249 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------
เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกแก่หน่วยรับบริจาคในการบันทึกข้อมูลการรับบริจาคโดยไม่ต้องออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาคให้ผู้บริจาค และผู้บริจาคสามารถนําเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือหักเป็นรายจ่ายของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร หรือยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานการบริจาคให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กรมสรรพากรจึงออกประกาศเกี่ยวกับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้หน่วยรับบริจาคมีและใช้เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค สําหรับการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรับบริจาค การลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือการเชื่อมโยงระบบการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ดังนี้
(1) หน่วยรับบริจาคที่มีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรนั้นเป็นเลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค
(2) หน่วยรับบริจาคที่เป็นหน่วยงานในสังกัดของทางราชการ องค์การของรัฐบาล สภากาชาดไทย หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีและใช้เลขประจําผู้เสียภาษีอากรหมายเลขเดียวกับหน่วยงานต้นสังกัด ให้หน่วยรับบริจาคดังกล่าวยื่นคําขอมีและใช้เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่หน่วยรับบริจาคตั้งอยู่
(3) หน่วยรับบริจาคอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) และ (2) ให้ยื่นคําขอมีและใช้เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาค ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่หน่วยรับบริจาคตั้งอยู่
เลขประจําตัวหน่วยรับบริจาคตาม (2) และ (3) มิใช่เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 4 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
“(7) กรณีหน่วยรับบริจาคที่ได้ยื่นคําขอและได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้เชื่อมโยงระบบการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เพื่อนําส่งข้อมูลการรับบริจาคให้แก่กรมสรรพากร หน่วยรับบริจาคจะไม่ดําเนินการตาม (1) ถึง (6) ก็ได้โดยหน่วยรับบริจาคจะต้องทําการบันทึกและส่งข้อมูลการรับบริจาคตามรูปแบบและวิธีการส่งข้อมูลการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ที่หน่วยรับบริจาคนั้นได้ตกลงไว้กับกรมสรรพากร ในวันที่รับบริจาคหรือภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โดยไม่ต้องออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาคให้ผู้รับบริจาค เว้นแต่ผู้บริจาคจะร้องขอให้ออกเอกสารหลักฐานการรับบริจาค”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) กรณีบริจาคให้หน่วยรับบริจาคที่รับบริจาคโดยวิธีอื่นตามข้อ 4 ให้ผู้บริจาคแจ้งหน่วยรับบริจาคทําการบันทึก ชื่อ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร จํานวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค และวันเดือนปีที่บริจาค บนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือบนระบบการรับบริจาคของหน่วยรับบริจาคที่ได้เชื่อมโยงกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศฉบับนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,250 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 321/2563 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป 321/2563
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เลขที่ 295 ซอยนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2) (3) (4) และ (5)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,252 |
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 | พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการมอบอํานาจ
พ.ศ. ๒๕๕๐
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมอบอํานาจ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ มาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“มอบอํานาจ” หมายความว่า การที่ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีอํานาจหน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติ หรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด เมื่อเวลา เว้นแต่การอนุญาตตามมาตรา ๓๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มอบอํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดําเนินการอื่นใดตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น ให้แก่ผู้ดํารง ตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
“ผู้มอบอํานาจ” หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีอํานาจหน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติหรือ ดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดําเนินการอื่นใด
“ผู้รับมอบอํานาจ” หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นที่ได้รับมอบอํานาจจากผู้ดํารง ตําแหน่งที่มีอํานาจหน้าที่ดังกล่าว
“ศูนย์บริการร่วม” หมายความว่า หน่วยงานที่รวมงานบริการของส่วนราชการเดียวกันหรือต่างส่วนราชการมาปฏิบัติราชการร่วมกันในการให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการและประชาชน
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมวด ๑ บททั่วไป
-----------------------
มาตรา ๕ การมอบอํานาจต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
(๒) ความคุ้มค่า ความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
(๓) การกระจายอํานาจการตัดสินใจและความรับผิดชอบที่เหมาะสม
(๔) ไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอนหรือระยะเวลาในการใช้อํานาจ และไม่ต้องผ่านการพิจารณาของผู้ดํารงตําแหน่งต่างๆ มากเกินความจําเป็น
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ผู้มอบอํานาจอาจวางแนวทางหรือกําหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติราชการเพิ่มเติมในเรื่องการมอบอํานาจโดยไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจหรือลักษณะของงานที่ต้องมีการใช้อํานาจที่มอบอํานาจไปนั่นก็ได้
มาตรา ๖ ในการมอบอํานาจ ผู้มอบอํานาจอาจมอบอํานาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในอํานาจหน้าที่การปฏิบัติราชการของผู้มอบอํานาจ เพื่อให้ผู้รับมอบอํานาจปฏิบัติราชการแทนในเรื่องนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจตามมาตรา ๕ และคํานึงถึงขีดความสามารถ ความรับผิดชอบ และความเหมาะสมตามสภาพของตําแหน่ง อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้รับมอบอํานาจและผู้มอบอํานาจ เว้นแต่เป็นเรื่องใดตามกรณี ดังต่อไปนี้ ผู้มอบอํานาจอาจไม่มอบอํานาจในเรื่องดังกล่าวก็ได้
(๑) เป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอํานาจเฉพาะหรือเป็นเรื่องที่โดยสภาพไม่อาจมอบอํานาจได้
(๒) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสําคัญ
(๓) เป็นเรื่องที่มีความจําเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
(๔) เป็นเรื่องที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนได้
การมอบอํานาจตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการมอบอํานาจในการทํานิติกรรมสัญญาฟ้องคดีและดําเนินคดีด้วย
ในกรณีที่การดําเนินการในเรื่องใดที่พระราชกฤษฎีกานี้กําหนดให้ต้องมีการมอบอํานาจให้ดําเนินการมอบอํานาจตามนั้น โดยจะยกความในมาตรานี้ขึ้นอ้างเพื่อไม่มอบอํานาจไม่ได้
มาตรา ๗ ในการมอบอํานาจ ให้ผู้มอบอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) วางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้อํานาจของผู้รับมอบอํานาจ
(๒) จัดให้มีระบบการตรวจสอบและการรายงานผลการใช้อํานาจของผู้รับมอบอํานาจ
(๓) กํากับดูแล และแนะนําการใช้อํานาจของผู้รับมอบอํานาจ
(๔) จัดทําบัญชีการมอบอํานาจเสนอผู้บังคับบัญชา
เมื่อมีการมอบอํานาจแล้ว หากผู้มอบอํานาจเห็นว่าผู้รับมอบอํานาจใช้อํานาจที่รับมอบโดยไม่ถูกต้องหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้มอบอํานาจอาจมีคําสั่งแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจหรือให้ผู้รับมอบอํานาจหยุดการปฏิบัติราชการไว้ก่อน และผู้มอบอํานาจเป็นผู้ใช้อํานาจนั้นโดยตรงก็ได้
มาตรา ๘ การมอบอํานาจให้ทําเป็นหนังสือ โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการมอบอํานาจให้ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อหรือตําแหน่งของผู้มอบอํานาจ
(๒) ชื่อหรือตําแหน่งของผู้รับมอบอํานาจ
(๓) อํานาจหมอบ รวมทั้งอาจกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้อํานาจด้วยก็ได้
มาตรา ๙ การมอบอํานาจย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น
มาตรา ๑๐ ในการปฏิบัติราชการแทน ผู้รับมอบอํานาจอาจดําเนินการใดๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจนั้นตามที่เห็นสมควร แต่ต้องใช้อํานาจที่รับมอบให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีการมอบอํานาจหรือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้อํานาจในเรื่องนั้น รวมทั้งต้องจัดทํารายงานผลการใช้อํานาจดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ผู้มอบอํานาจกําหนด
มาตรา ๑๑ ๑๑ ให้ ก.พ.ร. มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลและติดตามตรวจสอบการมอบอํานาจของผู้ดํารงตําแหน่งใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) แนะนําให้ผู้มอบอํานาจดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขการมอบอํานาจให้ถูกต้อง
(๒) กําหนดให้ส่วนราชการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการมอบอํานาจให้ทราบตามที่เห็นสมควร
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ ก.พ.ร. เป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยคําวินิจฉัยของ ก.พ.ร. ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติราชการเรื่องใดที่ไม่อาจใช้หลักเกณฑ์การมอบอํานาจตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้ ก.พ.ร. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมอบอํานาจการปฏิบัติราชการในเรื่องนั้นไว้เป็นการเฉพาะ
หมวด ๒ การมอบอํานาจในกระทรวงเดียวกัน
---------------------------
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการในกระทรวงให้ปลัดกระทรวงมี อํานาจกําหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการมอบอํานาจของส่วนราชการในสังกัด ทั้งในกรณีการมอบอํานาจในส่วนราชการเดียวกันหรือการมอบอํานาจให้กับส่วนราชการอื่นที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงเดียวกันได้
ในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติกําหนดหลักเกณฑ์ ทั่วไปเกี่ยวกับการมอบอํานาจของกระทรวง เพื่อให้ทุกกระทรวงปฏิบัติก็ได้
มาตรา ๑๓ ในกระทรวงที่มีการแบ่งกลุ่มภารกิจซึ่งหัวหน้ากลุ่มภารกิจมีอํานาจ เช่นเดียวกับปลัดกระทรวงตามมาตรา ๒๑ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจดําเนินการมอบอํานาจตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นปลัดกระทรวงของส่วนราชการในกลุ่มภารกิจนั้น
มาตรา ๑๔ ให้อธิบดีจัดให้มีการมอบอํานาจภายในกรมของตน เพื่อให้การปฏิบัติราชการมีการกระจายความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมกับภารกิจของรัฐแต่ละด้านหรือเพื่อประโยชน์ ในการให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน
ในการกําหนดเรื่องการมอบอํานาจภายในกรมตามวรรคหนึ่ง ให้มีการกําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการต้องมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการเรื่องนั้นโดยตรง เว้นแต่ในกรณีมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ หรือมีเหตุเร่งด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หัวหน้าส่วนราชการอาจจัดให้มีการมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นที่เห็นสมควรเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนก็ได้
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการและผู้มอบอํานาจเห็นสมควรมอบอํานาจการปฏิบัติราชการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งและปฏิบัติราชการอยู่ในส่วนราชการอื่น ให้ผู้มอบอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่เป็นส่วนราชการในกรมเดียวกัน ให้ทําความตกลงระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้วแจ้งการมอบอํานาจนั้นให้อธิบดีทราบพร้อมด้วยเหตุผล
(๒) กรณีที่เป็นส่วนราชการที่มิได้สังกัดกรมเดียวกัน ให้ทําความตกลงระหว่างอธิบดีของกรมที่ผู้มอบอํานาจสังกัดกับอธิบดีของกรมที่ผู้รับมอบอํานาจสังกัด แล้วแจ้งให้ปลัดกระทรวงทราบพร้อมด้วยเหตุผล
หมวด ๑๖ ให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับกันส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรมที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม
หมวด ๓ การมอบอํานาจให้แก่ส่วนราชการต่างกระทรวง
-----------------------------
มาตรา ๑๗ ในการมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในส่วนราชการต่างกระทรวง เว้นแต่กรณีการมอบอํานาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามหมวด ๕ ให้กระทําได้เมื่อมีการทําบันทึกความตกลงระหว่างส่วนราชการที่มอบอํานาจและ รับมอบอํานาจแล้ว และการมอบอํานาจนั้นต้องทําเป็นหนังสือ
บันทึกความตกลงตามวรรคหนึ่งต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการใช้อํานาจซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้
(๑) ขอบเขตอํานาจที่ได้มอบ
(๒) แนวทาง นโยบาย และข้อสงวนของการใช้อํานาจ
(๓) ชื่อและตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อได้ในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการใช้อํานาจ
ให้ปลัดกระทรวงของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการมอบอํานาจเป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง ในกรณีที่เป็นการมอบอํานาจระหว่างกรมของแต่ละกระทรวง ให้อธิบดีของกรมที่เกี่ยวข้องกับการมอบอํานาจเป็นผู้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงด้วย
การมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งสําเนาบันทึกความตกลงและหนังสือมอบอํานาจดังกล่าวให้แก่ ก.พ.ร. ด้วย
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีหรือ ก.พ.ร. มีมติให้มีการมอบอํานาจในเรื่องใดระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่มอบอํานาจให้เป็นไปตามนั้น โดยมิให้นําความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับ แต่ทั้งนี้ถ้าคณะรัฐมนตรีหรือ ก.พ.ร. กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมอบอํานาจและการปฏิบัติราชการไว้อย่างใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์นั้นด้วย
มาตรา ๑๙ ให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับกับส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรมที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม
หมวด ๔ การมอบอํานาจให้แกศูนย์บริการร่วม
---------------------------------
มาตรา ๒๐ ๒๐ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วม ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่เกี่ยวข้องมอบอํานาจทั้งปวงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของศูนย์บริการร่วมนั้น ให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติในศูนย์บริการร่วม
อํานาจที่จะมอบและระยะเวลาในการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีหรือ ก.พ.ร. กําหนด โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหมวด ๒ และหมวด ๓
มาตรา ๒๑ ให้ศูนย์บริการร่วมจัดทํารายงานแสดงการมอบอํานาจตามมาตรา ๒๐ และปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบอํานาจให้ ก.พ.ร. ทราบ ภายในเวลาที่ ก.พ.ร. กําหนด
หมวด ๕ การมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนในเขตพื้นที่จังหวัด
---------------------------------
มาตรา ๒๒ ๒๒ อํานาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดําเนินการอื่นที่ส่วนราชการใดจะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือ คําสั่งใดหรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดในเขตพื้นที่จังหวัด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งนั้นหรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กําหนดเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่นหรือ มิได้ห้ามเรื่องการมอบอํานาจไว้ให้หัวหน้าส่วนราชการดําเนินการมอบอํานาจการปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่จังหวัดให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่มีการมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่อํานาจนั้นเกี่ยวกับราชการของส่วนราชการใด และส่วนราชการนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอบอํานาจให้แก่หัวหน้าส่วนราชการนั้น
(๒) นอกจากกรณีตาม (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ในกรณีที่การปฏิบัติราชการในเรื่องใดภายในจังหวัดมีความจําเป็นต้องมีการมอบอํานาจเป็นอย่างอื่นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติราชการของจังหวัด ให้ ก.พ.ร. มีอํานาจกําหนดการมอบอํานาจสําหรับการปฏิบัติราชการที่แตกต่างจากวรรคหนึ่ง (๑) หรือ (๒) ได้
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งและ วรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานผู้มอบอํานาจเพื่อทราบด้วย
มาตรา ๒๓/๑ อํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือ การดําเนินการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะพึงปฏิบัติ หรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือ คําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น มิได้กําหนดเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือ มิได้ห้ามเรื่องการมอบอํานาจไว้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจภายในจังหวัดได้
ในการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารง ตําแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการเรื่องนั้นโดยตรง เว้นแต่ในกรณีมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ หรือมีเหตุเร่งด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นที่เห็นสมควรเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนก็ได้
มาตรา ๒๓/๒ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภายในเขตพื้นที่จังหวัด และเป็นกรณีมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ หรือมีเหตุเร่งด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจให้แก่ผู้ซึ่งได้รับคําสั่งให้มาปฏิบัติราชการในจังหวัดแต่มิได้ดํารงตําแหน่งอยู่ในจังหวัดนั้นเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนเป็นการชั่วคราวก็ได้
มาตรา ๒๔ ให้นายอําเภอ ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ และหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดดําเนินการมอบอํานาจให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๒๕ การใช้อํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้รับมอบอํานาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดและของผู้ดํารงตําแหน่งใดในจังหวัด ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ไม่อาจมอบอํานาจตามมาตรา ๒๓ ได้ เนื่องจากเป็นกรณีตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจไม่มอบอํานาจนั้นก็ได้
เมื่อมีการมอบอํานาจตามมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๓/๒ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับมอบอํานาจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจนั้น ในกรณีที่เห็นว่าผู้รับมอบอํานาจได้ใช้อํานาจปฏิบัติราชการแทนโดยไม่ถูกต้อง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือปรากฏเหตุขึ้นภายหลังว่าเป็นกรณีตามมาตรา ๖ (๒) (๓) และ (๔) ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมีคําสั่งให้ผู้รับมอบอํานาจแก้ไขการปฏิบัติราชการหรือหยุดการปฏิบัติราชการดังกล่าวไว้ก่อน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ใช้อํานาจในเรื่องนั้นก็ได้
การใช้อํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนก็ได้
การดําเนินการของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งการดําเนินการพร้อมทั้งเหตุผลให้ส่วนราชการหรือผู้มอบอํานาจทราบด้วย ทั้งนี้ หากส่วนราชการหรือผู้มอบอํานาจมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้นําข้อขัดแย้งนั้นเสนอ ก.พ.ร. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ให้นําความในมาตรา มาใช้บังคับกับการมอบอํานาจตามมาตรา ๒๔ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๖/๑ ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการมอบอํานาจให้แก่ข้าราชการส่วนกลางที่อยู่ในจังหวัด และมิใช่กรณีที่ต้องดําเนินการตามมาตรา ๒๒ ให้ผู้รับมอบอํานาจดังกล่าวรายงานการใช้อํานาจในการปฏิบัติราชการแทนในเขตพื้นที่จังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบด้วย และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าผู้รับมอบอํานาจปฏิบัติราชการโดยไม่ถูกต้องหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจในการแนะนําหรือยับยั้งการกระทําใด ๆ ของ ผู้รับมอบอํานาจไว้ชั่วคราว แล้วรายงานส่วนราชการหรือผู้มอบอํานาจเพื่อพิจารณาดําเนินการ รวมทั้งอาจสายงานเรื่องดังกล่าวต่อ ก.พ.ร. ด้วยก็ได้
หมวด ๖ การมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนในต่างประเทศ
--------------------------------
มาตรา ๒๗ ส่วนราชการใดมีภารกิจที่ต้องดําเนินการในต่างประเทศ ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นมอบอํานาจทั้งปวงที่จะต้องดําเนินการในต่างประเทศนั้นให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนและให้หัวหน้าคณะผู้แทนมอบอํานาจให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลในคณะผู้แทน
หมวด ๗ เบ็ดเตล็ด
----------------------------------------
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกในการบริการประชาชน ให้ ส่วนราชการซึ่งกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางระเบียบการมอบอํานาจให้เหมาะสมกับภารกิจการบริการประชาชน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสะดวกรวดเร็วประสิทธิภาพ และประหยัด ในการบริการประชาชน ตามแนวทางตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๒๙ เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกในการบริการประชาชนคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนดําเนินการให้มีระเบียบว่าด้วยการมอบอํานาจให้สอดคล้องกับแนวทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยจะกําหนดให้ระเบียบดังกล่าว อย่างน้อยต้องกําหนดให้การใช้อํานาจของผู้รับมอบอํานาจในเขตจังหวัดใดต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาจังหวัดนั้นด้วยก็ได้
บทเฉพาะกาล - -------------------------
มาตรา ๓๐ การใดที่เกี่ยวกับการมอบอํานาจที่เคยดําเนินการตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. ๒๕๔๖ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการมอบอํานาจที่ชอบตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี | 2,254 |
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 | พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ. ๒๕๕๑
--------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักการการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๓/๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๒ วรรคสาม มาตรา ๕๓/๑ วรรคสาม และมาตรา ๕๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“จังหวัด” หมายความว่า จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่รวมถึงกรุงเทพมหานคร
“กลุ่มจังหวัด” หมายความว่า กลุ่มจังหวัดที่จัดตั้งตามมาตรา ๒๖
“ก.น.จ.” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
“ก.บ.จ.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
“ก.บ.ก.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
“แผนพัฒนาจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของจังหวัดที่จําเป็นต้องจัดทําเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัดในอนาคต
“แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของกลุ่มจังหวัดที่จําเป็นต้องจัดทําเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดในอนาคต
“แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนาจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุถึงโครงการต่าง ๆ ที่จําเป็นต้องดําเนินการในจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดําเนินการโดยจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน
“แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุถึงโครงการต่าง ๆ ที่จําเป็นต้องดําเนินการในกลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดําเนินการโดยจังหวัด กลุ่มจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน
“งบประมาณจังหวัด” หมายความว่า รายการงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่จังหวัดยื่นคําขอจัดตั้งต่อสํานักงบประมาณเพื่อดําเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
“งบประมาณกลุ่มจังหวัด” หมายความว่า รายการงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่กลุ่มจังหวัดยื่นคําขอจัดตั้งต่อสํานักงบประมาณเพื่อดําเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
“ภาคประชาสังคม” หมายความว่า สภาองค์กรชุมชนตําบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมอื่นที่ ก.น.จ. กําหนด
“พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี” หมายความรวมถึงพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายด้วย
มาตรา ๔ การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดยังไม่สมควรที่ส่วนราชการจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดใดจะปฏิบัติ หรือปฏิบัติอย่างมีเงื่อนไขอย่างใด ให้ ก.น.จ. มีอํานาจกําหนดได้
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ คณะรัฐมนตรีอาจมีมติตามข้อเสนอแนะของ ก.น.จ. ยกเว้นให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของทางราชการที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปในเรื่องใดก็ได้
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมวด ๑ การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
------------------------------
มาตรา ๖ การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการให้คํานึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
(๑) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แล้วแต่กรณี
(๒) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๓) การกระจายอํานาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ
(๖) การบริหารงบประมาณจังหวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ ก.น.จ. กําหนดตามข้อเสนอแนะของสํานักงบประมาณ
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองนายรัฐมนตรีทุกคน รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีอบหมายให้กํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(๓) นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสันนิบาต เทศบาลแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๔) ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๕) ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการซึ่งประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกําหนดไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(๖) ผู้แทนภาคประชาสังคมที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกําหนด และข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่งที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยกําหนด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการตาม (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
องค์ประชุมและการประชุมของ ก.น.จ. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา ๘ ก.น.จ. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถบริหารงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ในเขตจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(๒) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด การจัดทําและบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด
(๓) พิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด และคําของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และนําเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๔) กํากับดูแลการดําเนินการตาม (๑) และ (๒) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
คณะอนุกรรมการตาม (๕) อย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการด้านแผนและด้านงบประมาณ
มาตรา ๙ ให้สํานักงาน ก.พ.ร. ทําหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.น.จ. และหน้าที่อื่นตามที่ ก.น.จ. กําหนด
มาตรา ๑๐ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการคณะหนึ่งประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน เป็นกรรมการ
(๓) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่มีสํานักงานอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง เป็นกรรมการ
(๔) ผู้แทนรัฐวิสาหกิจที่ดําเนินกิจการอยู่ในจังหวัด เป็นกรรมการ
(๕) ผู้แทนหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสํานักงานอยู่ในจังหวัด เป็นกรรมการ
(๖) ผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ
(๗) ผู้แทนภาคประชาสังคม เป็นกรรมการ
(๘) ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นกรรมการ
ให้หัวหน้าสํานักงานจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการตาม (๓) (๔) และ (๕) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งตามจํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.น.จ. กําหนด
จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม (๖) และผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (๗) ให้เป็นไปตามที่ ก.น.จ. กําหนดโดยให้คํานึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
กรรมการตาม (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
องค์ประชุมและการประชุมของ ก.บ.จ. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา ๑๑ ๑๑ ก.บ.จ. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแนวทางปฏิบัติและอํานวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดเป็นไปตามหลักการ นโยบาย และระบบตามที่ ก.น.จ. กําหนด
(๒) จัดทําแผนพัฒนาจังหวัดเสนอต่อที่ประชุมตามมาตรา ๑๙ เพื่อรับฟังความคิดเห็น
(๓) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุนและชักชวนภาคธุรกิจเอกชนมาลงทุนในจังหวัด และให้มีการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน
(๔) จัดทําบันทึกความเข้าใจกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
(๕) วิเคราะห์ บูรณาการ และจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดและคําของบประมาณจังหวัด ก่อนนําเสนอต่อ ก.น.จ.
(๖) กํากับ ให้คําแนะนํา ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และรายงาน ก.น.จ.
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.น.จ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่ ก.บ.จ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดตาม (๒) คณะอนุกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้แทนตามมาตรา ๑๐ (๖) ไม่น้อยกว่าสามคนและผู้แทนตามมาตรา ๑๐ (๗) ไม่น้อยกว่าสองคน
มาตรา ๑๒ ในกลุ่มจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) หัวหน้ากลุ่มจังหวัดตามมาตรา ๒๖ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดในกลุ่มจังหวัดจังหวัดละไม่เกินสองคนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
(๔) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด เป็นกรรมการ
(๕) นายกเทศมนตรีในกลุ่มจังหวัดจังหวัดละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(๖) นายกองค์การบริหารส่วนตําบลในกลุ่มจังหวัดจังหวัดละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(๗) ผู้แทนภาคประชาสังคม เป็นกรรมการ
(๘) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นกรรมการ
จังหวัดใดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย
ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่ง เป็นกรรมการและเลขานุการ และหัวหน้าสํานักงานจังหวัดของทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.จ. กําหนด
จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (๗) และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตาม (๘) ให้เป็นไปตามที่ ก.น.จ. กําหนด โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
กรรมการตาม (๓) และ (๗) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
องค์ประชุมและการประชุมของ ก.บ.ก. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา ๑๓ ก.บ.ก. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแนวทางปฏิบัติและอํานวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในกลุ่มจังหวัดเป็นไปตามหลัการ นโยบาย และระบบตามที่ ก.น.จ. กําหนด
(๒) จัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเสนอต่อที่ประชุมตามมาตรา ๑๙ เพื่อรับฟังความคิดเห็น
(๓) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มจังหวัดและระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดอย่างยั่งยืน
(๔) วิเคราะห์ บูรณาการ และให้ความเห็นชอบรายละเอียดการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดและคําของบประมาณกลุ่มจังหวัด ก่อนนําเสนอต่อ ก.น.จ.
(๕) กํากับ ให้คําแนะนํา ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด และรายงาน ก.น.จ.
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.น.จ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่ ก.บ.ก. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตาม (๒) คณะอนุกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้แทนตามมาตรา ๑๒ (๔) ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน ผู้แทนตามมาตรา ๑๒ (๕) ไม่น้อยกว่าสองคน ผู้แทนตามมาตรา ๑๒ (๖) ไม่น้อยกว่าสามน และผู้แทนตามมาตรา ๑๒ (๗) ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน
มาตรา ๑๔ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามหลักการตามที่กําหนดในมาตรา ๖ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารงานจังหวัดโดยคํานึงถึงความสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด
(๒) ประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน เพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้เหมาะสมกับโอกาสและศักยภาพของจังหวัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
(๓) บูรณาการการบริหารงบประมาณ และแสวงหาความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกฝ่ายเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาท้องถิ่นและให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชน
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคประชาสังคมให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
(๖) เสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้จังหวัดมีขีดสมรรถนะรองรับกระแสโลกาภิวัตน์
(๗) กระทําตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้ปฏิบัติงานและส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะเหตุที่ส่วนราชการมิได้มอบอํานาจให้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจหรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานต่อ ก.น.จ. โดยเร็ว และให้ ก.น.จ. เสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติสั่งการต่อไป
มาตรา ๑๖ ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ประสาน เร่งรัด และติดตามการดําเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
หมวด ๒ การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด
-------------------------------
มาตรา ๑๗ ๑๗ ให้ ก.น.จ. กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทําแผพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและ .บ.จ. รับไปดําเนินการ
มาตรา ๑๘ ให้ ก.บ.จ. ดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด โดยคํานึงถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนและยุทธศาสตร์ระดับชาติ
แผนพัฒนาจังหวัดอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์
ให้แผนพัฒนาจังหวัดมีระยะเวลาสี่ปี
เพื่อให้ทราบถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.บ.จ. สํารวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัดตามวิธีการที่ ก.น.จ. กําหนด แต่ ก.บ.จ.อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับอําเภอดําเนินการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ของอําเภอเพื่อให้ได้ความคิดเห็นของประชาชนเสนอเป็นข้อมูลต่อ ก.บ.จ. แทนการสํารวจความคิดเห็นก็ได้
มาตรา ๑๙ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลดังต่อไปนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดที่ ก.บ.จ. จัดทําตามมาตรา ๑๘
(๑) หัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทําการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอํานาจหน้าที่ในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง
(๒) หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสถานที่ตั้งทําการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอํานาจหน้าที่ในจังหวัด
(๓) ผู้บริหารองค์กรปครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด
(๔) ผู้แทนภาคประชาสังคม
(๕) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ก.บ.จ. นําผลการประชุมปรึกษาหารือ และความคิดเห็นของที่ประชุมมาปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดให้สมบูรณ์ แล้วส่ง ก.น.จ. เพื่อพิจารณานําเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่งสําเนาให้ ก.บ.ก. ทราบด้วย
เมื่อแผนพัฒนาจังหวัดได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศใช้แล้ว การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดําเนินกิจการของจังหวัดและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว
มาตรา ๒๐ ในกรณีมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดใหม่ก่อนสิ้นอายุของแผน ให้ดําเนินการตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙
มาตรา ๒๑ ผู้แทนภาคประชาสังคมตามมาตรา ๑๙ (๔) ให้ประกอบด้วยบุคคลที่ได้รับการสรรหาจากแต่ละอําเภอในเขตจังหวัด อําเภอละไม่เกินหกคน
ให้นายกเทศมนตรีและประธานสภาองค์กรชุมชนตําบลในเขตอําเภอคัดเลือกบุคคลซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล และให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และประธานสภาองค์กรชุมชนตําบลคัดเลือกบุคคลซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล แล้วเสนอให้นายอําเภอจัดประชุม เพื่อสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคมจากบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกข้างต้นเพื่อให้ได้จํานวนตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
หลักเกณฑ์การประชุมเพื่อสรรหาและการแจ้งรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกําหนด
มาตรา ๒๒ ผู้แทนภาคประชาสังคมตามมาตรา ๑๙ (๔) ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันสรรหา
(๓) มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล หรือนอกเขตเทศบาล แล้วแต่กรณี ของแต่ละอําเภอที่มีการสรรหา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสรรหา
(๔) มีฐานะเป็นผู้นําชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน
มาตรา ๒๓ ผู้แทนภาคประชาสังคมตามมาตรา ๑๙ (๔) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ ที่ปรึกษาหรือผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๒) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา
มาตรา ๒๔ ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามมาตรา ๑๙ (๕) ให้ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) สมาชิกหอการค้าจังหวัดซึ่งคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดคัดเลือก จํานวนไม่เกินสิบคน
(๒) สมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดซึ่งคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดคัดเลือกจํานวนไม่เกินสิบคน
(๓) ผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัดซึ่งมิได้เป็นสมาชิกตาม (๑) และ (๒) จํานวนไม่เกินสิบคน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือก
มาตรา ๒๕ ๒๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ให้ ก.บ.จ. จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของโครงการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะต้องใช้ดําเนินการและต้องระบุให้ชัดเจนว่าโครงการหรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสํานักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.จ. กําหนด
เมื่อจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดส่งให้ ก.บ.ก. เพื่อประกอบการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
หมวด ๓ การจัดกลุ่มจังหวัดและการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
---------------------------------
มาตรา ๒๖ ให้ ก.น.จ. พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกําหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกําหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดทําหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด เว้นแต่ ก.น.จ. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒๗ ให้นําความในมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.จ. กําหนด
หมวด ๔ งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
---------------------------------
มาตรา ๒๘ ๒๘ เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดตามที่ ก.น.จ. เสนอแล้ว ให้ ก.น.จ. ส่งให้สํานักงบประมาณ เพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ โดยสํานักงบประมาณต้องดําเนินการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้เพียงพอต่อการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
การส่งแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าจังหวัดได้ยื่นคําของบประมาณต่อสํานักงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณแล้วเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณของจังหวัด
มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ส่วนราชการใดมีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องใดและได้รับงบประมาณรายจ่ายประจําปีสําหรับดําเนินการในเรื่องนั้นตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด ให้ส่วนราชการนั้นแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณในเรื่องดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีมีผลใช้บังคับ
ให้สํานักงบประมาณแจ้งการจัดสรรงบประมาณจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงบประมาณได้รับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งการจัดสรรงบประมาณงบเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๓๐ ส่วนราชการใดมีความจําเป็นต้องโอนงบประมาณที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดใดกลับส่วนราชการนั้นหรือโอนไปจังหวัดอื่น ให้กระทําได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นแล้ว
มาตรา ๓๑ ให้จังหวัดรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงถึงผลสําเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดเสนอ ก.น.จ. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และให้จัดส่งสําเนาให้สํานักงบประมาณทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
ในกรณีที่สํานักงบประมาณกําหนดให้จังหวัดจัดทํารายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแบบที่ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณกําหนด เมื่อจังหวัดได้จัดส่งสําเนาให้สํานักงบประมาณตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าจังหวัดได้จัดทํารายงานดังกล่าวแล้ว
มาตรา ๓๒ ให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับกับการจัดทําและบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม ในกรณีใดที่ไม่อาจปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้หรือมิได้กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ การดําเนินการในกรณีนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.น.จ. กําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๓ ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดบูรณาการการบริหารงบประมาณกลุ่มจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
หมวด ๕ การกํากับและติดตาม
--------------------------------------
มาตรา ๓๔ เพื่อให้การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการสัมฤทธิ์ผล ให้ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มีอํานาจหน้าที่เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด
ให้ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยรายงานผลการติดตามและประเมินผลตามวรรคหนึ่งต่อ ก.น.จ. อย่างน้อยปีละสองครั้ง
มาตรา ๓๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทําคํารับองการปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ให้จังหวัด ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสํานักงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดและได้รับเงินงบประมาณเป็นการเฉพาะเพื่อดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด มีหน้าที่ต้องจัดทําบันทึกความร่วมมือการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กําหนด
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครใจให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดด้วย
ให้นําความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับกับการดําเนินการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล - ----------------------------------------
มาตรา ๓๖ การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในครั้งแรกตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ ก.บ.จ. จัดทําแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และให้ ก.บ.ก. จัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดเสนอ ก.น.จ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบไปในคราวเดียวกัน
มาตรา ๓๗ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับกับการดําเนินการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักการการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ และเนื่องจากมาตรา ๕๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ กําหนดให้จังหวัดจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมาตรา ๕๓/๒ กําหนดให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวมาใช้บังคับกับการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม ประกอบกับมาตรา ๕๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันกําหนดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคําขอจัดตั้งงบประมาณได้และให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ | 2,255 |
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 | พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
พ.ศ. ๒๕๖๕
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักการการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๒ วรรคสาม มาตรา ๕๓/๑ วรรคสาม และมาตรา ๕๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงาน
เชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“จังหวัด” หมายความว่า จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่รวมถึงกรุงเทพมหานคร
“กลุ่มจังหวัด” หมายความว่า จังหวัดหลายจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่มจังหวัด
ตามมาตรา ๓๓
“ภาค” หมายความว่า พื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นภาคตามมาตรา ๓๖
“แผนพัฒนาจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อกําหนดเป้าหมายการพัฒนา ประเด็นการพัฒนา แนวทางการพัฒนา แผนงาน และโครงการสําคัญของจังหวัด ที่จําเป็นต้องจัดทําเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปี
“แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อกําหนดเป้าหมายการพัฒนา ประเด็นการพัฒนา แนวทางการพัฒนา แผนงาน และโครงการสําคัญของกลุ่มจังหวัด ที่จําเป็นต้องจัดทําเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนา
ของกลุ่มจังหวัดในอนาคต
“เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับ
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกําหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคที่สอดคล้องเชื่อมโยง
กับแผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาล มีการพัฒนาเชิงพื้นที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นเครื่องมือบูรณาการ
แผนของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับชาติ นโยบายของรัฐบาล และประเด็นการพัฒนาภาค
สู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่
“แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนาจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุโครงการต่าง ๆ ที่จําเป็นต้องดําเนินการในจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีและแนวทางการพัฒนาจังหวัด
“แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุโครงการต่าง ๆ ที่จําเป็นต้องดําเนินการในกลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดและแนวทาง
การพัฒนากลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงการดําเนินงานและความร่วมมือกับกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเอกชน
“โครงการสําคัญ” หมายความว่า โครงการที่จําเป็นต้องจัดทําเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปี หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนา
ของกลุ่มจังหวัดในอนาคต แล้วแต่กรณี ทั้งที่เป็นโครงการของจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“งบประมาณจังหวัด” หมายความว่า รายการงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ที่จังหวัดได้รับจัดสรรเพื่อดําเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
“งบประมาณกลุ่มจังหวัด” หมายความว่า รายการงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ที่กลุ่มจังหวัดได้รับจัดสรรเพื่อดําเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และหน่วยงานอื่นในบังคับบัญชาหรือกํากับดูแลของฝ่ายบริหาร
แต่ไม่รวมถึงองค์กรอิสระ ศาล และองค์กรอัยการ
“ผู้แทนภาคประชาสังคม” หมายความว่า ผู้แทนซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุม
ระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตําบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน และองค์กร
ภาคประชาสังคมอื่นที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการกําหนด
“พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี” หมายความรวมถึงพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายด้วย
“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป
มาตรา ๕ การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดยังไม่สมควรที่ส่วนราชการ จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานใดของรัฐจะปฏิบัติ หรือปฏิบัติ
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยข้อเสนอ
ของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารงานจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ คณะรัฐมนตรีอาจกําหนดตามข้อเสนอ
ของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ยกเว้นให้ส่วนราชการ จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคําสั่งของทางราชการที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปในเรื่องใดก็ได้
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมวด ๑
การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
มาตรา ๗ การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ต้องเป็นไปตามหลักการ
พัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อความผาสุกของประชาชนในพื้นที่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การอํานวย
ความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้
(๑) การพัฒนาแบบองค์รวมซึ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การรักษาความสงบเรียบร้อยและการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในทุกมิติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
(๒) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
และเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค
(๓) การบริหารแผนงาน โครงการ กิจกรรมในโครงการ งบประมาณ และบุคลากร
ในจังหวัด เพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการร่วมกันโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นหลัก
(๔) การส่งเสริมและดําเนินการให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงใจระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด
(๕) การกระจายอํานาจการตัดสินใจไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
และความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
(๖) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ
ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่ง ในการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์แห่งการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการตามหลักการ
ในมาตรา ๗ นายกรัฐมนตรีมีอํานาจออกแนวปฏิบัติในการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้
โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ประกาศ หลักเกณฑ์ หรือมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงาน
เชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
เรียกโดยย่อว่า “ก.น.บ.” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองนายกรัฐมนตรีทุกคน รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กํากับ
และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อํานวยการ
สํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(๓) นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งประเทศไทย
เป็นกรรมการ
(๔) ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(๕) ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดและออกจากราชการไปแล้ว จํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(๖) ผู้แทนภาคประชาสังคมซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการ
และเลขานุการ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งเลขาธิการ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย และผู้แทน
สํานักงบประมาณ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจของ ก.น.บ. ประธานกรรมการอาจให้เชิญผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่และอํานาจโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา
ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญ
และมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสําหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
กรรมการตาม (๕) และ (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
การประชุมของ ก.น.บ. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่มาประชุม ให้รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายทําหน้าที่ประธานในที่ประชุม
มาตรา ๑๐ ก.น.บ. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) วางระบบในการบริหารงานแบบบูรณาการ และบูรณาการแผนของหน่วยงานของรัฐ และแผนพัฒนาระดับพื้นที่ในจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาคเพื่อให้สามารถบริหารงาน
แก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(๒) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด และการจัดทําและบริหารงบประมาณจังหวัด
หรืองบประมาณกลุ่มจังหวัด
(๓) พิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัด เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีของจังหวัด
และการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีของกลุ่มจังหวัด แล้วเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
(๔) กํากับดูแลการจัดทําแผนปฏิบัติราชการห้าปีของส่วนราชการ แผนปฏิบัติราชการประจําปีของส่วนราชการ และแผนการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ในพื้นที่จังหวัด
กลุ่มจังหวัด และภาค ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และเป้าหมาย
และแนวทางการพัฒนาภาค
(๕) ขับเคลื่อนการปฏิบัติตามแผนในพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐ ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค โดยคํานึงถึงศักยภาพหรือประเด็นปัญหาในพื้นที่
(๖) ควบคุมดูแลและวินิจฉัยสั่งการ ให้การบริหารแผนงาน โครงการ กิจกรรม
ในโครงการ งบประมาณและบุคลากรในจังหวัดมีการปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างแท้จริง รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมืออย่างแท้จริงระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม
และภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด เพื่อร่วมกันดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค
(๗) พิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ หรือคําสั่งของราชการส่วนกลางหรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาจังหวัด
ตามที่ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. เสนอ เพื่อมีมติให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ ก.น.บ. กําหนด
(๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลเพื่อทําการแทนหรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่
ก.น.บ. มอบหมาย
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ก.น.บ. ต้องคํานึงถึงข้อเสนอแนะของ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. ด้วย
มาตรา ๑๑ ให้ ก.น.บ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจําภาคประกอบด้วย
(๑) รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีซึ่ง ก.น.บ. มอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ
(๒) ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสํานักงบประมาณ และผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นอนุกรรมการ
(๓) ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีที่มีเขตตรวจราชการอยู่ในพื้นที่ภาค
เป็นอนุกรรมการ
(๔) ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาค เป็นอนุกรรมการ
(๕) ผู้แทนสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนกระทรวงมหาดไทย เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะอนุกรรมการประจําภาคอาจมีมติให้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม
เพื่อให้ความเห็นได้
คณะอนุกรรมการประจําภาคมีหน้าที่และอํานาจทําการแทน ก.น.บ. ในพื้นที่ภาคและรายงานให้ ก.น.บ. ทราบ
ให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการประจําภาคสองเดือนต่อหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย เว้นแต่ไม่มีเรื่องพิจารณา
ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนไม่อาจเรียกประชุมคณะอนุกรรมการประจําภาคได้ทัน ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการประจําภาคโดยข้อเสนอของเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาดําเนินการแทนคณะอนุกรรมการประจําภาค
ไปพลางก่อนได้ แล้วแจ้งให้คณะอนุกรรมการประจําภาคทราบ
มาตรา ๑๒ ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับผิดชอบ
งานเลขานุการของ ก.น.บ. และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.น.บ. มอบหมาย
มาตรา ๑๓ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.บ.จ.” ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน เป็นกรรมการ
(๓) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่มีสํานักงานอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง เป็นกรรมการ
(๔) ผู้แทนรัฐวิสาหกิจที่ดําเนินกิจการอยู่ในจังหวัด เป็นกรรมการ
(๕) ผู้แทนหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งมิใช่รัฐวิสาหกิจที่มีสํานักงานอยู่ในจังหวัด เป็นกรรมการ
(๖) ผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่น เป็นกรรมการ
(๗) ผู้แทนภาคประชาสังคม เป็นกรรมการ
(๘) ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
เป็นกรรมการ
จังหวัดใดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
เป็นการเฉพาะ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่นนั้นด้วย
จังหวัดใดที่มีความจําเป็นต้องกําหนดให้มีกรรมการซึ่งมาจากผู้แทนหน่วยงานปฏิบัติการด้านความมั่นคง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นเป็นผู้พิจารณากําหนดองค์ประกอบเพิ่มเติมได้
ให้หัวหน้าสํานักงานจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการและผู้ว่าราชการจังหวัด
จะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการจํานวนไม่เกินสองคนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจของ ก.บ.จ. ประธานกรรมการอาจให้เชิญผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่และอํานาจโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะ
เป็นกรรมการสําหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
กรรมการตาม (๓) (๔) และ (๕) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งตามจํานวนหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด
จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่นตาม (๖) และผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (๗) ให้เป็นไปตามที่ ก.น.บ. กําหนด โดยให้คํานึงถึงสัดส่วนของหญิงและชาย
ที่ใกล้เคียงกัน
กรรมการตาม (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
การประชุมของ ก.บ.จ. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา ๑๔ ก.บ.จ. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแนวทางปฏิบัติและอํานวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการ
ในจังหวัดเป็นไปตามหลักการตามมาตรา ๗ นโยบาย และระบบที่ ก.น.บ. กําหนด
(๒) จัดทําแผนพัฒนาจังหวัดเสนอต่อที่ประชุมตามมาตรา ๒๔ เพื่อรับฟังความคิดเห็น
(๓) กํากับดูแลให้แผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตจังหวัด และการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแผนดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค
(๔) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัด
อย่างยั่งยืนระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน
เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด
(๕) จัดทําบันทึกความร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ ที่สนับสนุนการดําเนินการ
ตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
(๖) วิเคราะห์ บูรณาการ และจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
และคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีของจังหวัด เพื่อนําเสนอต่อ ก.น.บ.
(๗) กํากับ ให้คําแนะนํา ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด เพื่อรายงานให้ ก.น.บ. ทราบ
(๘) เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ หรือคําสั่งของราชการส่วนกลางหรือของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งปัญหาอื่นที่เป็นอุปสรรค
ต่อการพัฒนาจังหวัด ต่อ ก.น.บ. เพื่อพิจารณา
(๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการแทนหรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.บ.จ.มอบหมาย
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่ ก.น.บ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่ ก.บ.จ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดตาม (๒) คณะอนุกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้แทนตามมาตรา ๑๓ (๖) ไม่น้อยกว่าสามคน และผู้แทนตามมาตรา ๑๓ (๗) ไม่น้อยกว่าสองคน
มาตรา ๑๕ ในกลุ่มจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัด
แบบบูรณาการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.บ.ก.” ประกอบด้วย
(๑) หัวหน้ากลุ่มจังหวัดตามมาตรา ๓๓ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) ผู้แทนสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(๔) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด เป็นกรรมการ
(๕) ผู้แทนภาคประชาสังคม เป็นกรรมการ
(๖) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นกรรมการ
ให้ผู้แทนสํานักงบประมาณซึ่งผู้อํานวยการสํานักงบประมาณมอบหมายเข้าร่วมประชุม ก.บ.ก. ในฐานะที่ปรึกษา ก.บ.ก.
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจของ ก.บ.ก. ประธานกรรมการอาจให้เชิญผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่และอํานาจโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะ
เป็นกรรมการสําหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
กลุ่มจังหวัดใดที่มีความจําเป็นต้องกําหนดให้มีกรรมการซึ่งมาจากผู้แทนหน่วยงานปฏิบัติการด้านความมั่นคง ก.บ.ก. กลุ่มจังหวัดนั้นอาจแต่งตั้งผู้แทนดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์
ที่ ก.น.บ. กําหนด
ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่ง เป็นกรรมการและเลขานุการ และหัวหน้าสํานักงานจังหวัดในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (๕) และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตาม (๖) ให้เป็นไปตามที่ ก.น.บ. ประกาศกําหนด โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
กรรมการตาม (๕) และ (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปี
การประชุมของ ก.บ.ก. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา ๑๖ ก.บ.ก. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแนวทางปฏิบัติและอํานวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการ
ในกลุ่มจังหวัดเป็นไปตามหลักการตามมาตรา ๗ นโยบาย และระบบที่ ก.น.บ. กําหนด
(๒) จัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเสนอต่อที่ประชุมตามมาตรา ๒๔ เพื่อรับฟัง
ความคิดเห็น
(๓) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัดอย่างยั่งยืนระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มจังหวัด
(๔) วิเคราะห์ บูรณาการ และจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
และคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีของกลุ่มจังหวัด เพื่อนําเสนอต่อ ก.น.บ.
(๕) กํากับ ให้คําแนะนํา ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด เพื่อรายงาน ให้ ก.น.บ. ทราบ
(๖) เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ หรือคําสั่งของราชการส่วนกลางหรือของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งปัญหาอื่นที่เป็นอุปสรรค
ต่อการพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อ ก.น.บ. เพื่อพิจารณา
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการแทนหรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.บ.ก. มอบหมาย
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่ ก.น.บ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่ ก.บ.ก. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตาม (๒) คณะอนุกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้แทนตามมาตรา ๑๕ (๔) ไม่น้อยกว่าสองคน และผู้แทนตามมาตรา ๑๕ (๕) และ (๖) ด้านละสองคน
มาตรา ๑๗ เพื่อให้การบริหารงานในจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเกิดการบูรณาการ
อย่างแท้จริง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารงานจังหวัดให้เป็นไปตามหลักการตามมาตรา ๗
(๒) ประสาน เชื่อมโยง และกํากับให้ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน ดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปี
ของกลุ่มจังหวัดให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
(๓) บริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด และควบคุมดูแล
การบริหารงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตจังหวัด ให้เกิดการบูรณาการในการดําเนินการ
ตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
(๔) กํากับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทําคําของบประมาณและบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคประชาสังคมให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหาร
จัดการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่ ก.น.บ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจบริหารงานจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติ
หรือไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด หรือแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด หรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานต่อคณะอนุกรรมการประจําภาคหรือคณะอนุกรรมการที่ ก.น.บ. มอบหมายโดยเร็ว และให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวพิจารณาและมีมติสั่งการต่อไป
ให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๙ ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดมีหน้าที่และอํานาจประสาน เร่งรัด และติดตามการดําเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งมีหน้าที่และอํานาจดําเนินการอื่นตามที่ ก.น.บ. มอบหมาย
หมวด ๒
การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด
**มาตรา ๒๐ ให้ ก.บ.จ. กําหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดครั้งละยี่สิบปี
ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และต้องคํานึงถึงเป้าหมาย
และแนวทางการพัฒนาภาค ความต้องการและศักยภาพของประชาชนในจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อนําเสนอ ก.น.บ. พิจารณาให้ความเห็นชอบ**
**เพื่อให้ทราบถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้ ก.บ.จ. สํารวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด**
**ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันตามมาตรา ๒๔
เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีตามวรรคหนึ่ง**
มาตรา ๒๑ ให้ ก.บ.จ. จัดทําแผนพัฒนาจังหวัด โดยคํานึงถึงความต้องการ
และศักยภาพของประชาชนในจังหวัด ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายและแนวทาง
การพัฒนาภาค และนโยบายของรัฐบาล รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐ ภาคประชาสังคม
และภาคธุรกิจเอกชน
แผนพัฒนาจังหวัดอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของเป้าหมายการพัฒนา
ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีตามมาตรา ๒๐ ประเด็นการพัฒนา เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แนวทางการพัฒนา แผนงาน โครงการสําคัญและกิจกรรมในโครงการ งบประมาณที่ต้องใช้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดําเนินโครงการซึ่งสอดรับกันระหว่างการดําเนินการของทุกหน่วยงาน และเรื่องอื่นที่ ก.น.บ. กําหนด
แผนพัฒนาจังหวัดให้มีระยะเวลาห้าปี
ให้นําความในมาตรา ๒๐ วรรคสองมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ เมื่อส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการห้าปี หรือรัฐวิสาหกิจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ จัดทําแผนยุทธศาสตร์
หรือแผนที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีระยะเวลายาวกว่าหนึ่งปีและในแผนดังกล่าวมีโครงการที่จะดําเนินงานในพื้นที่จังหวัด ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวแจ้งโครงการและประมาณการงบประมาณนั้นให้จังหวัดทราบ เพื่อประกอบการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด
มาตรา ๒๓ ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ปัจจัยที่นําไปสู่ความสําเร็จในการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ หรือคําสั่งของราชการส่วนกลางหรือหน่วยงานของรัฐ และปัญหาอื่นที่เป็นอุปสรรค และจัดทําข้อเสนอแนะแนวทาง
ในการดําเนินการเพื่อให้แผนพัฒนาจังหวัดเกิดผลสําเร็จและแนวทางในการจัดให้มีกฎขึ้นใหม่ ปรับปรุง ยกเลิก หรือยกเว้นกฎที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด
และให้ ก.บ.จ. เสนอ ก.น.บ. ไปพร้อมกับแผนดังกล่าว
ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการดําเนินการและกฎตามวรรคหนึ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ ก.น.บ. กําหนด
มาตรา ๒๔ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลดังต่อไปนี้ เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีตามมาตรา ๒๐ และแผนพัฒนาจังหวัดที่ ก.บ.จ. จัดทําตามมาตรา ๒๑
(๑) หัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทําการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอํานาจหน้าที่
ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง
(๒) หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐบรรดาที่มีสถานที่ตั้งทําการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอํานาจหน้าที่ในจังหวัด
(๓) ผู้บริหารท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด
(๔) ผู้แทนภาคประชาสังคม
(๕) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (๔) และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตาม (๕) ให้เป็นไปตามที่ ก.น.บ. ประกาศกําหนด
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ก.บ.จ. นําผลการประชุมปรึกษาหารือ
และความคิดเห็นของที่ประชุมมาปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดให้สมบูรณ์ แล้วเสนอ ก.น.บ.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่งสําเนาให้ ก.บ.ก.
ทราบด้วย
มาตรา ๒๕ เมื่อแผนพัฒนาจังหวัดประกาศใช้แล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งแผนพัฒนาจังหวัดต่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน
และหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในจังหวัด หรือที่มีโครงการที่จะดําเนินงานในพื้นที่จังหวัด เพื่อให้ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของส่วนราชการหรือแผนปฏิบัติงานประจําปีของหน่วยงานดังกล่าว แล้วแต่กรณี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด
การจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของส่วนราชการ หรือแผนปฏิบัติงานประจําปีของหน่วยงานของรัฐในส่วนที่ดําเนินการในพื้นที่จังหวัด แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และการดําเนินกิจการของจังหวัดและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งแผนพัฒนาจังหวัดให้องค์กรอิสระ ศาล และองค์กรอัยการ ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดทราบ
มาตรา ๒๖ ในกรณีมีความจําเป็นอย่างยิ่งตามที่ ก.น.บ. กําหนด ก.บ.จ. อาจปรับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีตามมาตรา ๒๐ ได้ โดยให้ดําเนินการตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง
และมาตรา ๒๔ ด้วยโดยอนุโลม และต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.น.บ.
มาตรา ๒๗ ในกรณีมีความจําเป็นอย่างยิ่งตามที่ ก.น.บ. กําหนด ก.บ.จ. อาจปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดใหม่ก่อนสิ้นอายุของแผน โดยให้ดําเนินการตามมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๔
ด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ การปรับปรุงดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๖ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการประจําภาค
ตามมาตรา ๑๑
มาตรา ๒๘ ให้ ก.บ.จ. จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปีตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๖ และแผนพัฒนาจังหวัด โดยคํานึงถึงการดําเนินงานและความร่วมมือกับกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเอกชน ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของโครงการสําคัญและโครงการอื่นที่จําเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาของจังหวัด เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะต้องใช้ดําเนินการและต้องระบุให้ชัดเจนว่าโครงการ
หรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสํานักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด
เมื่อจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดส่งแผนดังกล่าวให้ ก.บ.ก. เพื่อประกอบการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี
ของกลุ่มจังหวัด
มาตรา ๒๙ เมื่อจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดเสร็จ หากหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรมในแผนจําเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐ หรือผู้มีอํานาจหรือคณะกรรมการตามที่มีกฎหมายหรือกฎกําหนดไว้
ให้หน่วยงานนั้นยื่นคําขอเพื่อให้ผู้มีอํานาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบพิจารณาแล้วแจ้ง
ผลการพิจารณาให้หน่วยงานของรัฐที่ยื่นคําขอทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ ผู้มีอํานาจหรือคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งไม่เห็นชอบหรือไม่แจ้งผลการพิจารณาให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรมในแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดทราบภายในสามสิบวัน ให้ ก.น.บ. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
โดยอาจเสนอไปพร้อมกับแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐ ผู้มีอํานาจหรือคณะกรรมการตามกฎหมายหรือกฎที่มีอํานาจอนุญาต อนุมัติ
หรือให้ความเห็นชอบนั้น ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ ผู้มีอํานาจหรือคณะกรรมการที่มีอํานาจอนุญาต อนุมัติ
หรือให้ความเห็นชอบมิได้ดําเนินการให้แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่ง หรือไม่ให้ความร่วมมือ
ตามมติคณะรัฐมนตรีตามวรรคสอง หากเกิดความเสียหายใดขึ้น ให้ถือว่าบุคคลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติหน้าที่
แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการไม่ให้ความร่วมมือหรือความล่าช้านั้นมิได้เกิดจากความผิดของตน
มาตรา ๓๐ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งโครงการในแผนปฏิบัติราชการประจําปี
ของจังหวัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานของรัฐหน่วยใดหน่วยหนึ่ง
หรือหลายหน่วยให้หน่วยงานของรัฐหน่วยนั้นทราบเพื่อประสานการดําเนินการให้สอดคล้อง
กับแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
มาตรา ๓๑ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแจ้งแผนปฏิบัติราชการประจําปี หรือแผนปฏิบัติงานประจําปีของหน่วยงานของรัฐในส่วนที่ดําเนินการในพื้นที่จังหวัด พร้อมทั้งระบุเวลาที่จะเริ่มดําเนินโครงการตามแผนนั้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับแผนปฏิบัติราชการประจําปี
หรือแผนปฏิบัติงานประจําปีของหน่วยงานของรัฐ หรือระยะเวลาที่จะเริ่มดําเนินโครงการตามแผน
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเพื่อปรับแผนหรือระยะเวลาให้เหมาะสมต่อไป
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เกี่ยวกับแผนปฏิบัติราชการประจําปีหรือแผนปฏิบัติงานประจําปีของหน่วยงานของรัฐ ที่กําหนดโครงการซึ่งต้องดําเนินการโดยผ่านพื้นที่ของหลายจังหวัด เช่น ทางหลวง อ่างเก็บน้ํา คลองส่งน้ํา หรือครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
เช่น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เป็นไปตามที่ ก.น.บ. กําหนด
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจําปี
ของจังหวัดและงบประมาณจังหวัดก่อนสิ้นอายุของแผน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนําเสนอ ก.บ.จ. พิจารณาแล้วให้ขอความเห็นชอบ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงการที่มิใช่โครงการสําคัญ เมื่อ ก.บ.จ. ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้รายงานให้คณะอนุกรรมการประจําภาคทราบ
(๒) กรณีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงการที่มิใช่โครงการสําคัญ โดยการเพิ่ม
โครงการใหม่ที่มิได้อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจําปี ให้ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทน
สํานักงบประมาณ และผู้แทนสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบ และรายงานให้คณะอนุกรรมการประจําภาคทราบ
(๓) กรณีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงการสําคัญ ให้ขอความเห็นชอบ
จากคณะอนุกรรมการประจําภาค
การขอและให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่ ก.น.บ. กําหนด สําหรับวิธีการงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
หมวด ๓
การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
มาตรา ๓๓ ให้ ก.น.บ. พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดเพื่อร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่
ในการพัฒนา การปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณในโครงการที่กลุ่มจังหวัดจะได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือเพื่อใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกําหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการ
ของกลุ่มจังหวัด แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและให้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
ทําหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด เว้นแต่ ก.น.บ. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๓๔ ให้ ก.บ.ก. ดําเนินการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตที่ ก.น.บ. กําหนด โดยคํานึงถึงความต้องการ
ของประชาชนในกลุ่มจังหวัดที่ไม่ซ้ําซ้อนกับความต้องการของประชาชนในแต่ละจังหวัด
ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ต้องให้ความสําคัญกับโครงการขนาดใหญ่
ที่จังหวัดในกลุ่มจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน เช่น โรงไฟฟ้าขยะ ระบบชลประทาน ระบบขนส่ง
ระบบเตือนภัยพิบัติ โดยต้องระบุแผนงานของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่จะดําเนินการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดไว้ด้วย
เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของประชาชนในกลุ่มจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.บ.ก. สํารวจความคิดเห็นของประชาชนในกลุ่มจังหวัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด
ให้นําความในมาตรา ๒๑ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓
มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑
และมาตรา ๓๒ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๓๕ การเสนอโครงการในการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี
ของกลุ่มจังหวัดและการเสนอคําขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีของกลุ่มจังหวัดสําหรับโครงการดังกล่าว ต้องเป็นโครงการที่กลุ่มจังหวัดจะได้ประโยชน์ร่วมกันหรือเชื่อมโยงกัน เพื่อใช้งบประมาณ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการบูรณาการการดําเนินโครงการร่วมกันของจังหวัดในกลุ่มจังหวัด
ทั้งนี้ ตามที่ ก.น.บ. กําหนด
หมวด ๔
ภาคและเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค
มาตรา ๓๖ ให้ ก.น.บ. พิจารณาจัดตั้งภาคเพื่อให้ราชการส่วนกลาง จังหวัด
กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ ร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่
ในการพัฒนา การปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗ ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทําเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคซึ่งมีระยะเวลาห้าปี ทั้งนี้ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด แล้วเสนอ ก.น.บ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
ทั้งนี้ ให้ส่งสําเนาให้สํานักงบประมาณ ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. เพื่อประกอบการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย
ในการพิจารณาคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีของกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จะดําเนินโครงการหรือกิจกรรมในภาค
ให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้โครงการหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
และแนวทางการพัฒนาภาคเป็นลําดับแรก
มาตรา ๓๘ การประสานแผนและการประสานการดําเนินโครงการหรือกิจกรรม
ที่กลุ่มจังหวัดหรือจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดต้องร่วมดําเนินการกับกลุ่มจังหวัดอื่นหรือจังหวัดอื่น
ที่อยู่นอกกลุ่มจังหวัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด
หมวด ๕
งบประมาณและการบริหารงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
มาตรา ๓๙ เมื่อ ก.น.บ. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ให้ ก.น.บ. ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งแผนพัฒนาจังหวัดและงบประมาณที่ต้องใช้ในแผนให้ผู้อํานวยการ
สํานักงบประมาณทราบ
(๒) เสนอแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดพร้อมงบประมาณรายจ่ายประจําปีของจังหวัดต่อผู้อํานวยการสํานักงบประมาณเพื่อขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีของจังหวัด
ก.น.บ. อาจมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะรัฐมนตรี
เจ้าสังกัดของจังหวัดเป็นผู้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ถือว่าจังหวัดที่ทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดซึ่งได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งได้ยื่นคําขอตั้งงบประมาณดังกล่าว
ต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และให้ถือว่าการเสนอแผนปฏิบัติราชการประจําปีพร้อมงบประมาณรายจ่ายประจําปีตาม (๒) เป็นการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเห็นชอบ
และนําเสนอต่อผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
สํานักงบประมาณต้องดําเนินการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้เพียงพอ
ต่อการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดมีโครงการที่ต้องจัดซื้อหรือจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบป้องกันภัย ระบบทะเบียน หรือระบบอื่นในทํานองเดียวกัน โดยจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดจะไม่ปกครอง ดูแล บํารุงรักษา
หรือใช้ประโยชน์ในสิ่งดังกล่าว แต่จะโอนสิ่งนั้นให้หน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งมีความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นผู้ปกครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์ จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดต้องระบุไว้ในคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีที่เสนอต่อสํานักงบประมาณ
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่หน่วยงานใดของรัฐมีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องใด
และได้รับงบประมาณรายจ่ายประจําปีสําหรับดําเนินการในเรื่องนั้นตามแผนพัฒนาจังหวัด
และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด ให้หน่วยงานของรัฐนั้นแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณในเรื่องดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีมีผลใช้บังคับ
ให้สํานักงบประมาณแจ้งการจัดสรรงบประมาณจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
และ ก.น.บ. ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
มีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งการจัดสรร
งบประมาณนั้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีมีผลใช้บังคับ แต่ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีโดยตรงในฐานะหน่วยรับงบประมาณ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้แจ้งการจัดสรรงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด
และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามกําหนดเวลาดังกล่าว
มาตรา ๔๒ เพื่อความคล่องตัวและลดขั้นตอนในการบริหารงบประมาณจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจหรือมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลาง หัวหน้า
ส่วนราชการส่วนภูมิภาค หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่น หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาซึ่งมีที่ตั้งหรือรับผิดชอบงานในจังหวัด เป็นผู้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารงบประมาณจังหวัดได้
โดยมิให้ถือว่าเป็นการมอบอํานาจให้หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นเป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งสําเนาหลักฐาน
การมอบอํานาจให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
หรือกลุ่มจังหวัด มีความจําเป็นต้องตั้งงบประมาณเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบป้องกันภัย ระบบทะเบียน หรือระบบอื่นในทํานองเดียวกัน
ให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
โดยมีหน่วยงานของรัฐซึ่งมีบุคลากรในจังหวัดที่จะปกครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์
และได้ทําความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะดําเนินการดังกล่าวกับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐส่วนกลางประสงค์จะให้มีสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์
หรือระบบตามวรรคหนึ่งในพื้นที่จังหวัด ให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงาน
ที่มีบุคลากรในจังหวัดซึ่งสามารถปกครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์สิ่งดังกล่าวนั้นได้
การจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานของรัฐซึ่งไม่อาจหรือไม่สามารถปกครอง
ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์ หรือระบบตามวรรคหนึ่ง จะกระทํามิได้
ให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสําหรับการบํารุงรักษาสิ่งซึ่งได้จัดซื้อจัดจ้างตามมาตรานี้
มาตรา ๔๔ หน่วยงานของรัฐซึ่งทําความตกลงกับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
ตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง และหน่วยงานของรัฐส่วนกลางตามมาตรา ๔๓ วรรคสอง มีหน้าที่ปกครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์ หรือระบบที่จัดซื้อจัดจ้างมา
ตามมาตรา ๔๓
การโอนสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์ หรือระบบที่จัดซื้อจัดจ้างมาตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง
ให้หน่วยงานอื่นของรัฐเป็นผู้ปกครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว จะกระทําได้เมื่อหน่วยงานอื่นซึ่งรับโอนนั้น มีบุคลากรในการปกครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือใช้ประโยชน์ และได้มีความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้กับหน่วยงานผู้โอน รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจาก ก.บ.จ.
หรือ ก.บ.ก. โดยมิให้นําระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับ และแจ้งการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กรมธนารักษ์ทราบด้วย
มาตรา ๔๕ การให้หน่วยงานวิสาหกิจเพื่อสังคม ภาคประชาสังคม หรือภาคธุรกิจเอกชนเป็นผู้ปกครอง ดูแล บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์ หรือระบบ
ตามมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยข้อเสนอของ ก.น.บ.
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ
จากการบํารุงรักษาและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นมากกว่าผลตอบแทนที่หน่วยงานของรัฐจะได้รับจากหน่วยงานวิสาหกิจเพื่อสังคม ภาคประชาสังคม
หรือภาคธุรกิจเอกชน
มาตรา ๔๖ หน่วยงานใดของรัฐได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ซึ่งมิใช่การดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด
เพื่อนําไปใช้ในจังหวัด ให้หน่วยงานของรัฐนั้นแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีมีผลใช้บังคับ
หากหน่วยงานของรัฐมีความจําเป็นต้องโอนงบประมาณตามวรรคหนึ่ง
กลับหน่วยงานของรัฐหรือโอนไปจังหวัดอื่น ให้กระทําได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นแล้ว
มาตรา ๔๗ ให้จังหวัดรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงถึงผลสําเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการดําเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด เสนอ ก.น.บ. และให้จัดส่งสําเนาให้สํานักงบประมาณทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
ในกรณีที่สํานักงบประมาณกําหนดให้จังหวัดจัดทํารายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแบบที่ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณกําหนด ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายงานตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๔๘ ให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับแก่การจัดทําและบริหารงบประมาณกลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม กรณีใดที่มิได้กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ การดําเนินการในกรณีนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.น.บ. กําหนด
มาตรา ๔๙ การแบ่งงบประมาณกลุ่มจังหวัดเป็นสัดส่วนตามจํานวนจังหวัด
จะกระทํามิได้
มาตรา ๕๐ ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดบูรณาการการบริหารงบประมาณกลุ่มจังหวัด
ให้เป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่งให้มีประสิทธิผล หัวหน้ากลุ่มจังหวัดอาจมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจ
ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.บ. กําหนด
หมวด ๖
การบริหารงานบุคคลแบบบูรณาการ
มาตรา ๕๑ ในการพิจารณาจัดตั้งและยุบเลิกราชการส่วนภูมิภาคของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนกลางในภูมิภาค ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดใด และการพิจารณาอัตรากําลัง
ของส่วนราชการดังกล่าว ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือคณะอนุกรรมการสามัญประจํากระทรวง แล้วแต่กรณี ขอความเห็นจากผู้ว่าราชการจังหวัด
อันเป็นที่ตั้งของส่วนราชการนั้นประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีจะมอบอํานาจการปฏิบัติราชการ
ในเขตพื้นที่จังหวัด ให้ดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอาจกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาดําเนินการหรือเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้หัวหน้า
ส่วนราชการประจําจังหวัดผู้รับมอบอํานาจดําเนินการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด หรือแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดปฏิบัติราชการใดเพิ่มเติมจากหน้าที่และอํานาจของหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด ซึ่งมิใช่การมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มอบหมายแจ้งการมอบหมายดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบด้วย
มาตรา ๕๓ ให้ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีมอบอํานาจในการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ การเลื่อนเงินเดือน การให้บําเหน็จความชอบ และการดําเนินการทางวินัยข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการและตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอํานาจแล้ว
ห้ามมิให้มอบอํานาจนั้นให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่น
ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ การเลื่อนเงินเดือน และการให้บําเหน็จความชอบข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องนําผลการปฏิบัติราชการ
ตามมาตรา ๕๒ มาพิจารณาด้วย
มาตรา ๕๔ เพื่อให้การดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัดเป็นไปอย่างมีเอกภาพและเกิดประสิทธิผล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่และอํานาจ
สั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่ดําเนินการในพื้นที่จังหวัดปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด หรือแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจสั่งยับยั้งหรือสั่งให้ยุติการดําเนินการใด ๆ
ของข้าราชการ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด หรือแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
ให้ผู้ได้รับคําสั่งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองปฏิบัติตามคําสั่งนั้นโดยพลัน
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดทราบด้วย และให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด
ให้ความร่วมมือดําเนินการในหน้าที่และอํานาจให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งโดยเร็ว
หมวด ๗
การกํากับและติดตาม
มาตรา ๕๕ เพื่อให้การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการสัมฤทธิผล
ให้คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี
และผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่และอํานาจร่วมกันเร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป้าหมาย
และแนวทางการพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด เพื่อรายงาน
ผลการเร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อ ก.น.บ. อย่างน้อย
ปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่กรณีมีความจําเป็นเร่งด่วนอาจเสนอให้ ก.น.บ. พิจารณารายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พร้อมข้อเสนอแนะก่อนการรายงานผลประจําปีก็ได้
มาตรา ๕๖ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด
และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด ให้จัดทําบันทึกความร่วมมือระหว่างจังหวัด
กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยอย่างน้อย
ต้องระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตลอดจนงบประมาณที่ใช้ การแบ่งงาน
และการเชื่อมประสานงาน เพื่อให้การดําเนินงานตามแผนบรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดจนการดูแลบํารุงรักษาสิ่งสาธารณูปโภคหรือสิ่งก่อสร้างหรือระบบอื่นที่เกิดขึ้น
เมื่อบันทึกความร่วมมือตามวรรคหนึ่งได้รับอนุมัติจาก ก.น.บ. แล้ว ให้ใช้บังคับได้ และให้หน่วยงานของรัฐนั้น เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๕๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการตามแผนพัฒนาจังหวัด
และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
มาตรา ๕๘ ให้นําความในมาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๗ มาใช้บังคับ
แก่การดําเนินการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัดด้วย
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๙ บรรดาประกาศ หลักเกณฑ์ แนวทาง มติ หรือคําสั่ง ซึ่งได้ออก
โดยอาศัยอํานาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งมีผลอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่
ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้ จนกว่าจะมีการออกประกาศ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ แนวทาง มติ หรือคําสั่ง ตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้
มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๖๐ ให้แผนพัฒนาภาค ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย
การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค
ตามพระราชกฤษฎีกานี้ และยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะครบระยะเวลา
ให้งบประมาณของส่วนราชการที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาคตามวรรคหนึ่ง เป็นงบประมาณตามเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๖๑ ให้แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด และการดําเนินการอื่นทั้งปวง
ที่เกี่ยวกับแผนดังกล่าว รวมทั้งงบประมาณจังหวัด งบประมาณกลุ่มจังหวัด และงบประมาณ
ของหน่วยงานของรัฐที่จะดําเนินการตามแผนดังกล่าว ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด
และการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวกับแผนดังกล่าว รวมทั้งงบประมาณจังหวัด งบประมาณกลุ่มจังหวัด และงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๖๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสํารวจและทํารายงานสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
และระบบอื่นในจังหวัด ซึ่งไม่มีการดูแล บํารุงรักษา ไม่มีการใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์
ไม่ได้ รวมทั้งที่ชํารุดทรุดโทรมจนไม่อาจใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่จัดซื้อจัดจ้างมา
โดยแยกเป็นประเภท และระบุหน่วยงานผู้จัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานผู้ปกครอง ดูแล บํารุงรักษา
หรือใช้ประโยชน์ และสาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา
แล้วแจ้งให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และผู้อํานวยการสํานักงบประมาณทราบ เพื่อดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ได้มีการดําเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการส่วนภูมิภาค
ในจังหวัดซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการหรือตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญผู้ใด
อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ และการดําเนินการทางวินัยนั้นยังไม่แล้วเสร็จ
ให้ผู้มีอํานาจเดิมดําเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- โดยที่เป็นการสมควรรวมการบริหารงานจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาคเข้าด้วยกัน
เพื่อให้มีการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการอย่างแท้จริงและให้มีความเป็นเอกภาพสอดรับกัน
จึงสมควรตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ขึ้นใช้บังคับแทนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่
แบบบูรณาการเป็นองค์กรหลักแต่เพียงองค์กรเดียว และให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติรับผิดชอบงานเลขานุการแทนสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รวมทั้งปรับปรุงระบบการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ตลอดจนการกํากับและติดตามการดําเนินการตามแผนดังกล่าว
กับทั้งกําหนดให้จัดทําเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคแทนแผนพัฒนาภาคเดิม และเพิ่มเติม
การจัดทํางบประมาณและการบริหารงานบุคคลของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดขึ้นใหม่ เพื่อให้
การบริหารงานจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค เกิดการบูรณาการการทํางานร่วมกันอย่างแท้จริง
มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ และอํานวยความสะดวกและตอบสนอง
ความต้องการที่แท้จริงของประชาชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ | 2,256 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 40/2546 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 40/2546
เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
เพื่อประโยชน์ในการสั่งการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังนี้ แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(4) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัทต้องกําหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการลงทุน และต้องจัดให้มีระบบในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์
(1) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(2) ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(3) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์(Chinese wall)
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,257 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 31/2552 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 31/2552
เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์
เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
----------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2546 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังนี้ แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(4) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์ที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัทต้องกําหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการลงทุน และต้องจัดให้มีระบบในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์
(1) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(2) ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(3) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของ
บริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2546 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2546 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการหรือไม่กระทําการเป็นอํานาจของสํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2546 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,258 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 34/2547 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ./น. 34/2547
เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัย
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างแพร่หลาย ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์หลายประการ โดยความเสี่ยงที่สํานักงานให้ความสําคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์โดยบุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือการที่บุคคลที่มีอํานาจหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ หรือความไม่ถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและการทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ หรือการที่ไม่สามารถใช้ข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องหรือในเวลาที่ต้องการ ตลอดจนการที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้จัดให้มีการบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์ และบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมและเพียงพอแก่การสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ซึ่งความเสี่ยงตามที่กล่าวมาข้างต้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์และลูกค้าได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ และเพื่อประโยชน์ในการสั่งการของสํานักงาน อาศัยอํานาจตามมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการจัดการกองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยหน่วยงานภายในบริษัทหลักทรัพย์เองหรือโดยผู้ตรวจสอบที่เป็นบุคคลภายนอก เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การตรวจสอบดังกล่าวดําเนินการโดยหน่วยงานภายในของบริษัทหลักทรัพย์ หน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระจากฝ่ายงานคอมพิวเตอร์ของบริษัทด้วย
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการพัฒนาระบบงาน (development) ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการบริหารระบบ (system administration) ออกจากกัน และต้องจัดให้มีระบบการสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องไม่มอบหมายให้บุคลากรคนหนึ่งคนใดรับผิดชอบการปฏิบัติงานตลอดกระบวนการในลักษณะที่อาจเป็นช่องทางให้มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือการทํางานของระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สําคัญซึ่งจัดเก็บอยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ และต้องจัดให้มีระบบป้องกันความเสียหายจากสภาวะแวดล้อมหรือภัยพิบัติต่างๆ ให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สําคัญภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ด้วย
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึง ล่วงรู้ ใช้ประโยชน์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือระบบดังกล่าวได้
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมที่เพียงพอเพื่อให้ระบบงานคอมพิวเตอร์ (application software) ที่ได้รับการพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงมีการประมวลผลที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน รวมทั้งต้องสื่อสารการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทั่วถึงเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการสํารองข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการในการควบคุมการปฏิบัติงานประจําด้านคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูลสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใช้บริการงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลภายนอก บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและพิจารณาความเหมาะสมของผู้ให้บริการ รวมทั้งต้องควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการอย่างเข้มงวด เพื่อให้
มั่นใจว่าผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติงานตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๑ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานในระดับเดียวกัน ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ตามที่สํานักงานกําหนด (guideline)
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการในแนวทางปฏิบัติอื่นที่แตกต่างจากแนวทางที่สํานักงานกําหนด สํานักงานจะพิจารณาว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ต่อเมื่อบริษัทหลักทรัพย์สามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่าแนวทางอื่นนั้นสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ได้และมีประสิทธิภาพเพียงพอ ตลอดจนอยู่ในมาตรฐานที่ยอมรับได้สําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,259 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 32/2552 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 32/2552
เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัย
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ./น. 34/2547 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการจัดการกองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยหน่วยงานภายในบริษัทหลักทรัพย์เองหรือโดยผู้ตรวจสอบที่เป็นบุคคลภายนอกเพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การตรวจสอบดังกล่าวดําเนินการโดยหน่วยงานภายในของบริษัทหลักทรัพย์ หน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระจากฝ่ายงานคอมพิวเตอร์ของบริษัทด้วย
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการพัฒนาระบบงานออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการบริหารระบบ (system administration) และต้องจัดให้มีระบบการสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องไม่มอบหมายให้บุคลากรคนหนึ่งคนใดรับผิดชอบการปฏิบัติงานตลอดกระบวนการในลักษณะที่อาจเป็นช่องทางให้มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือการทํางานของระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สําคัญซึ่งจัดเก็บอยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ และต้องจัดให้มีระบบป้องกันความเสียหายจากสภาวะแวดล้อมหรือภัยพิบัติต่างๆ ให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สําคัญภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ด้วย
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึง ล่วงรู้ ใช้ประโยชน์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือระบบดังกล่าวได้
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมที่เพียงพอเพื่อให้ระบบงานคอมพิวเตอร์ (application software) ที่ได้รับการพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงมีการประมวลผลที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน รวมทั้งต้องสื่อสารการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทั่วถึงเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการสํารองข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการในการควบคุมการปฏิบัติงานประจําด้านคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูลสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใช้บริการงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลภายนอก บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและพิจารณาความเหมาะสมของผู้ให้บริการ รวมทั้งต้องควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติงานตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๒ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานในระดับเดียวกัน ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ตามที่สํานักงานกําหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการในแนวทางปฏิบัติอื่นที่แตกต่างจากแนวทางที่สํานักงานกําหนด สํานักงานจะพิจารณาว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ต่อเมื่อบริษัทหลักทรัพย์สามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่าแนวทางอื่นนั้นสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ได้และมีประสิทธิภาพเพียงพอ ตลอดจนอยู่ในมาตรฐานที่ยอมรับได้สําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๑๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ./น. 34/2547 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ./น. 34/2547 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการหรือไม่กระทําการเป็นอํานาจของสํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ./น. 34/2547 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,260 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 34/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันต่างประเทศเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 34/2552
เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันต่างประเทศเป็นสถาบัน
จัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้เฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(1) Standard & Poor
(2) Moody’s
(3) Fitch
(4) Rating and Investment Information, Inc.
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้สถาบันต่างประเทศสามารถเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทยได้เฉพาะกรณีที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,261 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 36/2552 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 36/2552
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบตามประกาศนี้
“ประกาศที่ ทจ. 30/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-dw-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี จํานวนห้าชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขออนุญาต
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อบุคคลในวงจํากัด ประกอบด้วย
(1) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายตามหมวด 1 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
(ก) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้
(ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้ โดยในการมีมตินั้น ผู้ถือหุ้นได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และนโยบายในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว (เฉพาะกรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและ
ผลการดําเนินงานตามความในมาตรา 56 หรือเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และผู้ขออนุญาตไม่เคยเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือไม่มีใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ออกคงค้างอยู่ในระยะเวลาสองปีก่อนยื่นคําขออนุญาต)
(ค) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 16 และส่วนที่ 3 ของหมวด 1 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
(ง) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PP ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(2) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามส่วนที่ 1 ของหมวด 4 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
(ก) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PP ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(ข) ดัชนีหัวข้อที่เป็นสาระสําคัญแห่งร่างข้อกําหนดสิทธิตามข้อ 67(2) แห่ง
ประกาศที่ ทจ. 30/2552 ตามแบบตรวจสอบรายการในข้อกําหนดสิทธิ dw-PP ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(ค) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 68 วรรคสอง แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการดําเนินธุรกิจเพื่อการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยเฉพาะ ให้ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ประกอบคําขออนุญาตด้วย
(1) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(2) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(3) สําเนาข้อบังคับที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน ประกอบด้วย
(1) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
(ก) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในลักษณะเดียวกับรายละเอียดที่แสดงในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69-dw แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หัวข้อ “บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์”
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้ยื่นนั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตาม (ก) แล้ว
(ข) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(ค) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(ง) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(จ) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้
(ฉ) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตในครั้งนี้ โดยในการมีมตินั้น ผู้ถือหุ้นได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และนโยบายในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว (เฉพาะกรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามความในมาตรา 56 หรือเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และผู้ขออนุญาตไม่เคยเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือไม่มีใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ออกคงค้างอยู่ในระยะเวลาสองปีก่อนยื่นคําขออนุญาต)
(ช) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(ซ) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 ของหมวด 2 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
(ฌ) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 56 มาตรา 57 และมาตรา 81
(ญ) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน
(ฎ) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PO ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(2) กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามส่วนที่ 2 ของหมวด 4 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552
(ก) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในลักษณะเดียวกับรายละเอียดที่แสดงในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69-dw แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หัวข้อ “บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์”
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้ยื่นนั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตาม (ก) แล้ว
(ข) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(ค) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(ง) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(จ) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(ฉ) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบการปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 72 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552 และหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 56 มาตรา 57 และมาตรา 81
(ช) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน
(ซ) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบรายการเอกสารประกอบคําขอ dw-PO ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(ฌ) ดัชนีหัวข้อที่เป็นสาระสําคัญแห่งร่างข้อกําหนดสิทธิตามข้อ 69(3) แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552 ตามแบบตรวจสอบรายการในข้อกําหนดสิทธิ dw-PO ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๕ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 59/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เฉพาะที่เกี่ยวกับแบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 59/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 59/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่และแบบคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,262 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทำ และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 30/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ
และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทํา
และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 ข้อ 56 และข้อ 60 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 12 ข้อ 23 ข้อ 29 และข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศที่ กจ. 24/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(2) “ประกาศที่ กจ. 4/2546” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
(3) “หลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น และหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น
(4) “หุ้นอ้างอิง” (underlying shares) หมายความว่า
(ก) หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นมีสิทธิที่จะซื้อจากบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(ข) หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นกําหนดให้ใช้ราคาหุ้นนั้นเป็นฐานในการคํานวณส่วนต่างของราคาหุ้นเพื่อประโยชน์ในการกําหนดจํานวนเงินที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวมีสิทธิจะได้รับ
(ค) หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิส่งมอบหรือที่ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิได้รับมอบ เพื่อการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามหุ้นกู้อนุพันธ์
(5) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์
(6) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บริษัทที่ประสงค์จะออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามแบบ 35-sn/dw-4 ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตรวจสอบหุ้นอ้างอิงภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
ข้อ ๓ บริษัทที่ยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงจะได้รับแจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิงก็ต่อเมื่อสํานักงานพิจารณาเห็นว่าการใช้หุ้นอ้างอิงในกรณีดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงวิธีในการบริหารความเสี่ยงในหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงของบริษัทที่ยื่นคําขอประกอบด้วย
ในการแจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง สํานักงานอาจกําหนดมูลค่าหรือจํานวนหุ้นอ้างอิงสูงสุด หรือระยะเวลาในการใช้หุ้นอ้างอิงนั้นไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจประกาศระงับการนําหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาใช้เป็นหุ้นอ้างอิง ภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาที่กําหนด (ถ้ามี) แต่การประกาศดังกล่าวไม่กระทบต่อหุ้นอ้างอิงที่บริษัทได้รับการยืนยันและได้ใช้ในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงแล้วก่อนวันที่ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับ
ข้อ ๕ ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง บริษัทต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) แจ้งจํานวนหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงที่ขายได้ พร้อมทั้งจํานวนรวมของหุ้นอ้างอิงในหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าว ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันปิดการเสนอขาย
(2) แจ้งจํานวนรวมของหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงที่ได้มีการใช้สิทธิหรือไถ่ถอนแล้ว พร้อมทั้งจํานวนรวมของหุ้นอ้างอิงในหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าว ให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันใช้สิทธิหรือไถ่ถอนตามหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง
ในกรณีที่การเสนอขาย การใช้สิทธิ หรือการไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงกระทําอย่างต่อเนื่อง ให้บริษัทแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการเสนอขาย การใช้สิทธิ หรือการไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงนั้น
ในการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บริษัทจะดําเนินการตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ก็ได้
(1) แจ้งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ซึ่งในกรณีนี้บริษัทจะใช้แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ (แบบ 81-1) หรือแบบรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการส่งมอบหลักทรัพย์ หรือการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (แบบ 81-sn/dw) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนก็ได้
(2) แจ้งข้อมูลผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,263 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 37/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทำ และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 37/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ
และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทํา
และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 และข้อ 9 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 5 ข้อ 60 และข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศที่ ทจ. 12/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(2) “ประกาศที่ ทจ. 30/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(3) “หลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น
(4) “หุ้นอ้างอิง” (underlying shares) หมายความว่า
(ก) หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นมีสิทธิที่จะซื้อจากบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(ข) หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นกําหนดให้ใช้ราคาหุ้นนั้นเป็นฐานในการคํานวณส่วนต่างของราคาหุ้นเพื่อประโยชน์ในการกําหนดจํานวนเงินที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวมีสิทธิจะได้รับ
(ค) หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิส่งมอบหรือที่ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิได้รับมอบ เพื่อการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามหุ้นกู้อนุพันธ์
(5) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา
หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ บริษัทที่ประสงค์จะออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามแบบ 35-sn/dw ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
ในกรณีที่เป็นการขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงเพื่อการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ ทจ. 30/2552 ให้บริษัทยื่นหนังสือรับรองว่าในระยะเวลาสองสัปดาห์ก่อนการยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง บริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และผู้ที่เกี่ยวข้องของบริษัท ไม่มีการจัดทําบทวิเคราะห์เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปเกี่ยวกับความเหมาะสมในการลงทุนหรือราคาของหุ้นอ้างอิง โดยหนังสือรับรองนั้นให้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
ข้อ ๓ บริษัทที่ยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงจะได้รับแจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิงก็ต่อเมื่อสํานักงานพิจารณาเห็นว่าการใช้หุ้นอ้างอิงในกรณีดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงวิธีในการบริหารความเสี่ยงในหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงของบริษัทที่ยื่นคําขอประกอบด้วย
ในการแจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง สํานักงานอาจกําหนดมูลค่าหรือจํานวนหุ้นอ้างอิงสูงสุด หรือระยะเวลาในการใช้หุ้นอ้างอิงนั้นไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจประกาศระงับการนําหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาใช้เป็นหุ้นอ้างอิง ภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาที่กําหนด (ถ้ามี) แต่การประกาศดังกล่าวไม่กระทบต่อหุ้นอ้างอิงที่บริษัทได้รับการยืนยันและได้ใช้ในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงแล้วก่อนวันที่ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับ
ข้อ ๕ ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง บริษัทต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) แจ้งจํานวนหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงที่ขายได้ พร้อมทั้งจํานวนรวมของหุ้นอ้างอิงในหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าว ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันปิดการเสนอขาย
(2) แจ้งจํานวนรวมของหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงที่ได้มีการใช้สิทธิหรือไถ่ถอนแล้ว พร้อมทั้งจํานวนรวมของหุ้นอ้างอิงในหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าว ให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันใช้สิทธิหรือไถ่ถอนตามหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง
ในกรณีที่การเสนอขาย การใช้สิทธิ หรือการไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงกระทําอย่างต่อเนื่อง ให้บริษัทแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการเสนอขาย การใช้สิทธิ หรือการไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงนั้น
ในการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บริษัทจะดําเนินการตามวิธีการใด
วิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ก็ได้
(1) แจ้งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ซึ่งในกรณีนี้บริษัทจะใช้แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ (แบบ 81-1) หรือแบบรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการส่งมอบหลักทรัพย์ หรือการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (แบบ 81-sn/dw) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนก็ได้
(2) แจ้งข้อมูลผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๖ ในกรณีที่หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์เป็นหุ้นที่จัดอยู่ในดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประเภทดัชนีเซท 50 (SET 50 INDEX) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบหุ้นอ้างอิงตามประกาศนี้
ข้อ ๗ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิงลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่และหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ โดยจัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,264 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 42/2546 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 42/2546
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐาน
ประกอบคําขออนุญาต
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการขออนุญาตออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ให้บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงยื่นแบบคําขออนุญาตตามแบบ 35-DR ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุด
(1) เอกสารหลักฐานของบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิ ซึ่งประกอบด้วย
(ก) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับใบแสดงสิทธิ
(ข) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10)
(ค) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท ซึ่งแสดงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุลให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) เลขประจําตัวประชาชน และการเป็นผู้บริหารในบริษัทอื่น
(ง) เอกสารแสดงว่าบริษัทมีกลไกในการดูแลรักษาและดํารงหลักทรัพย์อ้างอิง และมีระบบการดูแลการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ลงทุนในใบแสดงสิทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(จ) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ออกให้โดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกินสามเดือนนับถึงวันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน
(ฉ) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(ช) สําเนามติคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกใบแสดงสิทธิ
(ซ) หนังสือรับรองจากผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59
(ฌ) ร่างข้อกําหนดสิทธิของใบแสดงสิทธิ
(ญ) เอกสารแสดงข้อผูกพันตามใบแสดงสิทธิที่มีบุคคลอื่น (นอกจากบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิหรือบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง) เป็นคู่สัญญา
ในกรณีที่บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลมาพร้อมกับแบบคําขออนุญาต ให้ถือว่าบริษัทได้ยื่นเอกสารตาม (ก) ถึง (ค) ต่อสํานักงานแล้ว
(2) เอกสารหลักฐานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย
(ก) หนังสือรับรองจากผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการรับทราบหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือใบแสดงสิทธิที่ขออนุญาตตามมาตรา 59 โดยอนุโลม
(ข) กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้แนบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม
(ค) กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ ให้แนบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้สําหรับการขออนุญาตและการแสดงข้อมูลหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในกรณีทั่วไป ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต โดยอนุโลม
(ง) กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร ให้แนบเอกสารหลักฐานที่มีข้อมูลอย่างเดียวกับแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายพันธบัตรที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,265 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 19/2548 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 19/2548
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐาน
ประกอบคําขออนุญาต
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2548 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เอกสารหลักฐานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย
1. กรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะทั่วไป ให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
1. หนังสือรับรองจากผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการรับทราบหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือใบแสดงสิทธิที่ขออนุญาตตามมาตรา 59 โดยอนุโลม
2. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้แนบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม
3. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ ให้แนบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้สําหรับการขออนุญาตและการแสดงข้อมูลหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในกรณีทั่วไป ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต โดยอนุโลม
4. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้แนบเอกสารหลักฐานสําหรับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน ตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต โดยอนุโลม
5. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร ให้แนบเอกสารหลักฐานที่มีข้อมูลอย่างเดียวกับแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายพันธบัตรที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
1. กรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ให้ยื่นเอกสาร ดังต่อไปนี้
1. หนังสือรับรองจากผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการรับทราบหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือใบแสดงสิทธิที่ขออนุญาตตามมาตรา 59 โดยอนุโลม
2. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธิซึ่งกําหนดราคาเสนอขายเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ให้แนบสําเนาหนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม
3. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ที่รองรับใบแสดงสิทธิซึ่งเสนอขายในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้แนบเอกสารหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะเดียวกัน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต โดยอนุโลม
4. กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้แนบเอกสารหลักฐานสําหรับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,266 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 38/2552 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 38/2552
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐาน
ประกอบคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2552 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการขออนุญาตออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ให้บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงยื่นแบบคําขออนุญาตตามแบบ 35-DR ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขออนุญาต
(1) เอกสารหลักฐานของบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิ ซึ่งประกอบด้วย
(ก) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับใบแสดงสิทธิ
(ข) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10)
(ค) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท ซึ่งแสดงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุลให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย)เลขประจําตัวประชาชน และการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น
(ง) เอกสารแสดงว่าบริษัทมีกลไกในการดูแลรักษาและดํารงหลักทรัพย์อ้างอิง และมีระบบการดูแลการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ลงทุนในใบแสดงสิทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(จ) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ออกให้โดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกินสามเดือนนับถึงวันที่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน
(ฉ) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(ช) สําเนามติคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกใบแสดงสิทธิ
(ซ) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59
(ฌ) ร่างข้อกําหนดสิทธิของใบแสดงสิทธิ
(ญ) เอกสารแสดงข้อผูกพันตามใบแสดงสิทธิที่มีบุคคลอื่น (นอกจากบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิหรือบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง) เป็นคู่สัญญา
ในกรณีที่บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลมาพร้อมกับ
แบบคําขออนุญาต ให้ถือว่าบริษัทได้ยื่นเอกสารตาม (ก) ถึง (ค) ต่อสํานักงานแล้ว
(2) เอกสารหลักฐานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย
(ก) หนังสือรับรองจากกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการรับทราบหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือใบแสดงสิทธิที่ขออนุญาตตามมาตรา 59 โดยอนุโลม
(ข) กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้แนบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม
(ค) กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ ให้แนบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้สําหรับการขออนุญาตและการแสดงข้อมูลหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในกรณีทั่วไป ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง โดยอนุโลม
(ง) กรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร ให้แนบเอกสารหลักฐานที่มีข้อมูล
อย่างเดียวกับแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายพันธบัตรที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๒ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,267 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 320/2563 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป 320/2563
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกใหญ่ ที่ตั้งอยู่ ณ กรมการเงินทหารเรือ พระราชวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาธนบุรี 1 ที่ตั้งอยู่ ณ กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,268 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 39/2552 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 39/2552
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์
ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2552 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2552 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-CB ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ
(1) สําเนาหนังสือสําคัญในการจัดตั้งบริษัทซึ่งรับรองโดย Notary Public
(2) สําเนาเอกสารหลักฐานแสดงการอนุมัติให้ออกหุ้นกู้ที่ขออนุญาต เช่น สําเนามติคณะกรรมการบริษัท หรือสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นกู้ เป็นต้น
(3) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้
(4) ร่างข้อกําหนดสิทธิ
(5) หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์
ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกัน ให้บริษัทยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
จํานวนสองชุด เพิ่มเติมด้วย
(1) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) หนังสือขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมคํารับรองการไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) หนังสือแสดงการยอมรับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของบุคคลที่จะขอความเห็นชอบเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๒ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2549 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2549 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 255
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2549 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,269 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 319/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 319/2563
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 353 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1) ในข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 205/2556 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556
“(4) บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 15.0
ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจําหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการออกจําหน่ายในครั้งแรกของตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงินหรือผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ให้แก่กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นผู้ทรงคนแรกของตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากกองทุนรวมดังกล่าวในอัตราที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 58/2539 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมตราสารหนี้และกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไร หรือประโยชน์อื่นใดตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้อัตราร้อยละ 10.0 กรณีจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึง
(1) บริษัทจดทะเบียน เฉพาะกรณีที่ผู้จ่ายมิใช่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) บริษัทจํากัด นอกจาก (1) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจํากัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจํากัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
กองทุนรวมตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุนในตราสารหนี้ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,270 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 44/2552 เรื่อง เหตุจำเป็นในการยืมหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 44/2552
เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์
--------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 47/2552 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีเหตุจําเป็นต้องยืมหลักทรัพย์หรือจัดให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์จากหรือผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี เพื่อนํามาส่งมอบในการขายที่มิได้แสดงว่าเป็นการขายชอร์ตตามนัยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งต่อศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวถึงสาเหตุที่ตนหรือลูกค้าไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ขายได้ภายในเวลาที่สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขายได้ส่งหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่หลักทรัพย์นั้นไม่สามารถมาถึงบริษัทหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กําหนดเนื่องจากความผิดพลาดในกระบวนการจัดส่งหรือเนื่องจากเหตุการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบ
(2) ผู้ขายได้ซื้อหรือได้ใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์เดียวกันนั้นก่อนที่ผู้ขายจะได้ตกลงขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง และผู้ขายมีเหตุอันควรเชื่อว่าตนจะสามารถนําหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้ในครั้งก่อนมาส่งมอบในการขายครั้งหลังได้ทันเวลาที่กําหนด แต่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบ ทําให้ผู้ขายไม่สามารถได้รับหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบในทอดต่อไป
(3) บริษัทหลักทรัพย์ส่งคําสั่งขายหลักทรัพย์โดยผิดพลาดและได้พยายามแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวในเวลาอันสมควรแล้วแต่ไม่อาจแก้ไขได้ทัน
(4) ผู้ขายหรือบุคคลที่รับฝากหลักทรัพย์จากผู้ขายถูกศาลหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือสั่งห้ามมิให้จําหน่าย จ่าย หรือโอนทรัพย์สิน โดยผู้ขายได้ตกลงขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไปก่อนที่จะรู้ถึงคําสั่งศาลหรือคําสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้น
คําว่า “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2551 เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2551 เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2551 เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,271 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 45/2552 เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 45/2552
เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็น
ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ไม่กระทําการโดยทุจริต หลอกลวง ยักยอก หรือฉ้อโกงทรัพย์สินของลูกค้า
(2) ไม่เบียดบังและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากลูกค้าโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น
(3) ดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เป็นไปตามคําสั่งของลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชีหรือผู้ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) ดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามคําสั่งของลูกค้า โดยให้ลูกค้าได้รับเงื่อนไขการซื้อขายที่ดีที่สุดตามสภาพตลาดในขณะที่คําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ายังคงมีผลอยู่ (duty of best execution)
(5) ไม่ดําเนินการใด ๆ ในลักษณะที่อาจทําให้คําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่ได้รับการแข่งขันหรือจับคู่ซื้อขายตามกลไกตลาด (non competitive trade) เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
(6) ไม่ซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนที่จะซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเดียวกันนั้นเพื่อลูกค้า ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบลูกค้า (front running)
(7) ไม่ใช้บัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ตนเองหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี
(8) ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวลือหรือข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสินค้า หรือการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวโดยเร็ว และในกรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องเตือนให้ลูกค้าใช้ความระมัดระวังด้วย
(9) ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการสนับสนุนหรือร่วมมือกับลูกค้าในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสมกับฐานะทางการเงิน ความสามารถในการชําระหนี้ หรือข้อจํากัดการลงทุนของลูกค้า
ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม ซึ่งรวมถึงการดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าตามลําดับก่อนหลัง เว้นแต่ลูกค้าได้กําหนดเงื่อนไขการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจนเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๔ ในการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องให้คําแนะนําที่เหมาะสมและเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ไม่ให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงลูกค้าหรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า ตัวแปร หรือการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ไม่ให้คําแนะนําในลักษณะที่เป็นการยุยงหรือสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบ่อยครั้ง (churning) หรือเร่งรัดการตัดสินใจของลูกค้า
(3) ไม่ให้คําแนะนําโดยอ้างอิงกับข่าวลือหรือข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๕ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2549 เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2549 เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2549 เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,272 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 11/2548 เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 11/2548
เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบ
กฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 กําหนดให้การขอความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64 และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญาแล้วแต่กรณี
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ ในการเสนอกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบดังต่อไปนี้
(1) หนังสือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ เหตุผล และความจําเป็นในการออกกฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบ รวมทั้งประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎเกณฑ์ตลอดจนแนวทางในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว
(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากฎเกณฑ์ ที่ขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา เช่น กฎเกณฑ์ของต่างประเทศในเรื่องทํานองเดียวกัน เป็นต้น และในกรณีที่ความเห็นของคณะกรรมการต่อกฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบไม่เป็นเอกฉันท์ ให้ระบุจํานวนกรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวรวมทั้งสรุปความเห็นของกรรมการที่ไม่เห็นด้วย
(3) บันทึกความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบ ในกรณีที่มีการเสนอกฎเกณฑ์ดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็น
(4) รายงานการรับฟังความคิดเห็นและเอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา พร้อมความเห็นของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา ในกรณีที่กฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,273 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 46/2552 เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 46/2552
เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบ
กฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64 และมาตรา 89 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2548 เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา แล้วแต่กรณี
(4) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ในการเสนอกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบดังต่อไปนี้
(1) หนังสือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ เหตุผล และความจําเป็นในการออกกฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบ รวมทั้งประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎเกณฑ์ตลอดจนแนวทางในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว
(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากฎเกณฑ์ ที่ขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา เช่น กฎเกณฑ์ของต่างประเทศในเรื่องทํานองเดียวกัน เป็นต้น และในกรณีที่ความเห็นของคณะกรรมการต่อกฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบไม่เป็นเอกฉันท์ ให้ระบุจํานวนกรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวรวมทั้งสรุปความเห็นของกรรมการที่ไม่เห็นด้วย
(3) บันทึกความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบ ในกรณีที่มีการเสนอกฎเกณฑ์ดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็น
(4) รายงานการรับฟังความคิดเห็นและเอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา พร้อมความเห็นของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือสํานักหักบัญชีสัญญา ในกรณีที่กฎเกณฑ์ที่ขอความเห็นชอบอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2548 เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2548 เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรปรับปรุงถ้อยคําในประกาศนี้ให้สอดคล้องกับอํานาจดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,274 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 15/2548
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หลายประเภท แต่ในการติดต่อกับผู้ลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์แต่ละประเภทนั้น ต้องใช้บุคลากรแยกกันตามประเภทของธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นเหตุให้เกิดความไม่คล่องตัวในการให้บริการแก่ผู้ลงทุน รวมทั้ง
มีความซ้ําซ้อนกันเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบและมาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวตามประกาศต่าง ๆ หลายฉบับ สมควรให้บุคคลเพียงคนเดียวสามารถทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์หลายประเภทได้ โดยอยู่ภายใต้ประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบและมาตรฐานการปฏิบัติงานเพียงฉบับเดียว
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 18/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(2) ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(3) ข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(4) ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 20/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(5) ข้อ 2(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(6) ข้อ 3(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2544
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2545
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 กันยายนพ.ศ. 2545
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 11/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 10 พฤศจิกายนพ.ศ. 2547
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 2/2545 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545
(8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 24/2545 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 1/2547 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
(10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 44/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผนการลงทุน ให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ได้ด้วย
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์
“ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ด้วย
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็กรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับความ เห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานยอมรับ
“กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” หมายความว่า กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทําสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีการตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชําระค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่บริษัทประกันชีวิตสําหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิต
“ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา
“ประกาศที่ อน. 2/2545” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 2/2545 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545
“นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
“ประกาศที่ สข. 25/2547” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“เจ้าหน้าที่การตลาด” หมายความว่า ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด
“ประกาศที่ สธ. 67/2543” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543
“ประกาศที่ สข. 44/2547” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 44/2547 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547
“เจ้าหน้าที่รับอนุญาต” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ด้วยระบบการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดให้มีขึ้น
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ การขอความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ บุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้มีสองประเภท คือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
ข้อ ๕ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ต้องมีวุฒิการศึกษา และหรือประสบการณ์การทํางาน ความรู้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่แนบท้ายประกาศนี้
ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งจํากัดบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งเพียงหนึ่งราย หรือ
(2) เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๖ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 5 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน สํานักงานจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๗ การขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคําขอและในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ข้อ ๘ ผู้ที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงานยอมรับ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่การเข้าอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้าอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ถือว่าการเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นการเข้าอบรมตามวรรคหนึ่ง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบโดยคุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยคุณสมบัติของการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเฉพาะในต่างประเทศ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
ข้อ ๑๐ ในการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา วางแผนการลงทุน หรือทําการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ให้กับผู้ลงทุน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องไม่ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนตน
ข้อ ๑๑ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
(2) ปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(3) เปิดเผยหรือให้ข้อมูลที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
(4) รักษาความลับของผู้ลงทุน
(5) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และเหมาะสม
(6) ไม่สนับสนุน สั่งการ หรือให้ความร่วมมือแก่บุคคลใดในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตาม วรรคหนึ่ง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เป็นลักษณะ ต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ สํานักงานจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว
หมวด ๓ มาตรการบังคับ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนรายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 5 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตาม (3) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก
ข้อ ๑๓ ให้การเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานสิ้นสุดลง
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไม่กระทําการหรือมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามข้อ 9
(2) พ้นจากการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยคุณสมบัติดังกล่าว
(3) พ้นจากการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยคุณสมบัติดังกล่าว
(4) พ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เนื่องจากไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี และไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้คําแนะนําตามประกาศ ที่ อน. 2/2545 หรือนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามประกาศที่ สข. 25/2547 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความเห็นชอบเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศที่ สธ. 67/2543 หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศที่ สข. 44/2547 โดยคุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ให้ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับความเห็นชอบเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศที่ สธ. 67/2543 หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศที่ สข. 44/2547 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 15(2)(ค)แห่งประกาศที่ สข. 25/2547 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานมีกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องจากระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศที่ สข. 25/2547
ข้อ ๑๕ ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติและยื่นคําขอความเห็นชอบภายในเวลาที่กําหนดดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามข้อ 5
(1) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนจากสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุนมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือหากเกินสองปีต้องเคยเข้าอบรมตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือหลักสูตรที่สํานักงานยอมรับไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ และยื่นคําขอภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ สําหรับผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก
(2) เป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืน หน่วยลงทุนระดับหนึ่งหรือระดับสอง หรือหลักสูตรเจ้าหน้าที่การตลาด ที่จัดโดยสถาบันฝึกอบรมหรือ หลักสูตรอื่นที่สํานักงานยอมรับ โดยผ่านการทดสอบมาแล้วไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ หรือหากเกิน
สองปีต้องเคยเข้าอบรมตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือหลักสูตรที่สํานักงานยอมรับไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ และยื่นคําขอภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ สําหรับผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
(3) เป็นเจ้าหน้าที่รับอนุญาตอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้เข้ารับการอบรมความรู้ตามหลักสูตรสําหรับเจ้าหน้าที่รับอนุญาตเพื่อเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข จากสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และยื่นคําขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ สําหรับผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาต ได้รับความเห็นชอบ หรือได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ให้คําแนะนําตามประกาศที่ อน. 2/2545 นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามประกาศที่ สข. 25/2547 เจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศที่ สธ. 67/2543 หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศที่ สข. 44/2547 อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ การนับระยะเวลาการเข้าอบรมตามข้อ 9 ให้นับระยะเวลาต่อเนื่องจากระยะเวลาที่เคยเข้าอบรมตามประกาศที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากบุคคลดังกล่าวได้รับอนุญาต ได้รับความเห็นชอบ หรือได้รับการขึ้นทะเบียนมากกว่าหนึ่งประเภท ให้นับระยะเวลาการเข้าอบรมต่อเนื่องจากระยะเวลาที่เคยเข้าอบรมในประเภทที่ครบกําหนดการเข้าอบรมก่อน
ข้อ ๑๗ บรรดาคําขออนุญาต คําขอความเห็นชอบ หรือคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้คําแนะนําตามประกาศที่ อน. 2/2545 นักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามประกาศ ที่ สข. 25/2547 เจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศที่ สธ. 67/2543 หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศ ที่ สข. 44/2547 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงาน ให้ถือว่าเป็นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศนี้
ในกรณีที่คําขอตามวรรคหนึ่งเป็นคําขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ยื่นคําขอเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ให้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์หรือวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และผ่านการอบรมความรู้ตามโครงการสร้างนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ใหม่ที่มีคุณภาพที่จัดขึ้นโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามข้อ 15(2)(ค) แห่งประกาศที่ สข. 25/2547 การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศนี้มีกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,275 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 49/2552
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(2) ข้อ 4(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(3) ข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(4) ข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(5) ข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 68/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(6) ข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
(2) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผน เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
(3) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้
(4) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ได้
(5) “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ด้วย
(6) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(7) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม
(8) “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
(9) “สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ
(10) “กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” หมายความว่า กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทําสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีการตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชําระค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่บริษัทประกันชีวิตสําหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิต
(11) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
หมวด ๑ การขอความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ บุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้มีสองประเภท คือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
ข้อ ๔ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ต้องมีวุฒิการศึกษา และหรือประสบการณ์การทํางาน ความรู้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่แนบท้ายประกาศนี้
ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน โดยจํากัดบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งเพียงหนึ่งราย หรือ
(2) เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน
ข้อ ๕ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๖ การขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
สํานักงานจะเปิดเผยผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องและในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งผู้ขอความเห็นชอบเป็นหนังสือโดยระบุถึงเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ข้อ ๗ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้มีอายุสองปี โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป
ข้อ ๘ ในกรณีผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนด้วย ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก โดยใช้คุณสมบัติตามข้อ 4 วรรคสอง (2) และให้มีอายุการได้รับความเห็นชอบเท่ากับรอบระยะเวลาที่เหลืออยู่ของอายุการได้ความเห็นชอบเดิมที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
ข้อ ๙ ผู้ที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
หมวด ๒ การต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ขอความเห็นชอบปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผ่านการอบรม ร่วมกิจกรรม หรือศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสิบห้าชั่วโมง ในทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ จรรยาบรรณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสามชั่วโมง และในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้รับเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย การอบรม ร่วมกิจกรรมหรือศึกษาเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมอยู่ด้วยอย่างน้อยหกชั่วโมง
(2) ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุอย่างน้อยหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสี่เดือน ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และต้องจัดส่งหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงการเข้ารับการอบรมตาม (1) ต่อสํานักงาน
(3) ชําระค่าธรรมเนียมคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่างๆ
สํานักงานจะเปิดเผยรายชื่อผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบการต่ออายุกับผู้ขอความเห็นชอบรายใดสํานักงานจะแจ้งผู้ขอความเห็นชอบรายนั้นเป็นหนังสือโดยระบุถึงเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุประสงค์จะได้รับหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการพิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้ยื่นคําขอตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานและชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีรอบระยะเวลาการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบไม่ตรงกันให้บุคคลนั้นยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามรอบระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบครั้งหลังสุด และให้ถือว่าอายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนหรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี เป็นไปตามรอบระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบครั้งหลังสุดด้วย
ข้อ ๑๒ การต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ได้รับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ในการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา วางแผนการลงทุน หรือทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องไม่ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนตน
ข้อ ๑๔ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
(2) ปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(3) เปิดเผยหรือให้ข้อมูลที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
(4) รักษาความลับของผู้ลงทุน
(5) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และเหมาะสม
(6) ไม่สนับสนุน สั่งการ หรือให้ความร่วมมือแก่บุคคลใดในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(7) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา วางแผนหรือทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ ที่ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ พร้อมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ โดยอนุโลมด้วย
หมวด ๔ มาตรการบังคับ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานจะดําเนินการต่อผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๑๖ ให้การเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานสิ้นสุดลง ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) พ้นจากการเป็นผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยใช้คุณสมบัติดังกล่าว
(2) พ้นจากการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยใช้คุณสมบัติดังกล่าว
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก
โดยใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ที่มิใช่ตําแหน่งผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๑๘ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศนี้ และเพื่อประโยชน์ในการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้ถือว่าวันที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบ เป็นวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้
ข้อ ๑๙ ให้บรรดาประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติการขอความเห็นชอบของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนทั้งด้านวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้อง และการให้ความสําคัญกับการผ่านการทดสอบหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (2) เพื่อปรับปรุงการใช้คุณสมบัติผู้บริหารในการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (3) เพื่อกําหนดรอบระยะเวลาการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ตรงกัน (4) เพื่อกําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานเพิ่มเติมโดยผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการติดต่อชักชวนที่ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
อื่นๆ - #### คุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก
**ตามข้อ 4 วรรคหนึ่งแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552**
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| **กรณี****ที่** | **คุณสมบัติอื่น ๆ****วุฒิการศึกษา** | **ประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง1** | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบ****ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก****จากสํานักงานหรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ****ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก จากสํานักงานหรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** |
| 1 | ปริญญาตรีขึ้นไป | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 2 ปี ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ก่อนวันยื่นคําขอ | ü | - |
| 2 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับหนึ่ง | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศ เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ปี ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันยื่นคําขอ | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับหนึ่ง |
| 3 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับสองขึ้นไป หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับสองหรือหลักสูตร CFP(Certified Financial Planner) หรือหลักสูตร FRM (Financial Risk Manager) | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ปี ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันยื่นคําขอ | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับสองขึ้นไป |
| 4 | นอกเหนือจากกรณีที่มีวุฒิการศึกษาตาม 1-3 โดยเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก จากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ | - | - | ü |
[1] ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนี้
กรณีขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ประเภท ก เช่น การวิเคราะห์ (รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค) การลงทุน การบริหารความเสี่ยง เป็นต้น
\*ความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต้องทดสอบผ่านมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หรือหากเกินสองปีต้องเคยเข้าอบรมตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ
ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
#### คุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข
**ตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552**
| **กรณี****ที่** | **คุณสมบัติอื่น ๆ****วุฒิการศึกษา** | **ประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง**[**[1]**](#_ftn1) | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบ****ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข****จากสํานักงานหรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข จากสํานักงานหรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| 1 | ต่ํากว่าปริญญาตรี | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 4 ปี ในช่วงระยะเวลา 7 ปีก่อนวันยื่นคําขอ | ü | - |
| 2 | ปริญญาตรีขึ้นไป | - | ü | - |
| 3 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับหนึ่ง | - | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับหนึ่ง |
| 4 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับสองขึ้นไป หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับสองหรือหลักสูตร CFP(Certified Financial Planner) หรือหลักสูตร FRM (Financial Risk Manager) | - | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับสองขึ้นไป |
| 5 | นอกเหนือจากกรณีที่มีวุฒิการศึกษาตาม 1-4 โดยเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข จากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ | - | - | ü |
[[1]](#_ftnref1) ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนี้
กรณีขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ประเภท ข เช่น การวิเคราะห์ (รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค) การลงทุน การบริหารความเสี่ยง การให้คําแนะนําลงทุน dealer การวางแผนทางการเงิน (Financial Planner) การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
\*ความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต้องทดสอบผ่านมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หรือหากเกินสองปีต้องเคยเข้าอบรมตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ
ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ | 2,276 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 318/2563 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 318/2563
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 65 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3.13 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528
“3.13 การคํานวณรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้นํามารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระ
ในกรณีรายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจําหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการออกจําหน่ายในครั้งแรกของตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น ให้นํารายได้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,277 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 317/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 317/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร วันทําการปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,278 |
พระราชกฤษฎีกา แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 | พระราชกฤษฎีกา
แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
พ.ศ. ๒๕๔๕
---------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และ พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่และเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติในพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๔ ในประมวลกฎหมายที่ดิน
(๑) ในมาตรา ๑๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “อธิบดี กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคําว่า “อธิบดีกรมที่ดิน” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
(๒) ในมาตรา ๑๐๕ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมธนารักษ์หรือผู้แทน” และคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองหรือผู้แทน”
(๓) ในมาตรา ๑๐๕ ฉ ให้แก้ไขคําว่า “เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด” เป็น “ธนารักษ์จังหวัด”
มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๖ ในพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคําว่า “ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงแรงงาน”
มาตรา ๗ ในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” คําว่า “อธิบดีกรมพลศึกษาหรือผู้แทน” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการหรือผู้แทน” และคําว่า “ผู้แทนกรมพลศึกษา” เป็น ”ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน” และคําว่า “ผู้อํานวยการสํานักนโยบายและแผนมหาดไทย” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร”
มาตรา ๙ ในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “กรมโยธาธิการ” เป็น “กรมโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง” และคําว่า “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนสํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
มาตรา ๑๐ ในพระราชบัญญัติการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คําว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมธุรกิจพลังงาน” และคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน”
มาตรา ๑๑ ในพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้แก้ไข คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย” เป็น “ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”
มาตรา ๑๒ ๑๒ ในพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้แก้ไขคําว่า ”กระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “กระทรวงวัฒนธรรม” และคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม”
มาตรา ๑๓ ในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไข คําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และคําว่า “ผังเมืองจังหวัด” เป็น “โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด”
มาตรา ๑๔ ในพระราชบัญญัติการจํานองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้แก้ไขคําว่า “กรมเจ้าท่า” เป็น “กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี”
มาตรา ๑๕ ในพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว”
มาตรา ๑๖ ในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ให้แก้ไขคําว่า “กรมเจ้าท่า” เป็น “กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี” และคําว่า “อธิบดีกรมเจ้าท่า” เป็น “อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี
มาตรา ๑๗ ในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์” เป็น “อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ”
มาตรา ๑๘ ในพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
มาตรา ๑๙ ในพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้แก้ไขคําว่า “ผู้แทนกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคําว่า “ผู้แทนกรมทะเบียนการค้า” เป็น “ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๒๐ ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม”
มาตรา ๒๑ ๒๑ ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” และคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๒๒ ในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคําว่า “ประชาสงเคราะห์จังหวัด” เป็น “ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
(๒) ให้เพิ่ม “อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเพิ่ม “ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับการวางแผนการใช้ที่ดินชายทะเล มาเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
มาตรา ๒๓ ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” คําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า” คําว่า “ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงแรงงาน” และคําว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๒๔ ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข” ในมาตรา ๑๕ (๑) และมาตรา ๑๖ (๒) เป็น “กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก”
มาตรา ๒๕ ในพระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๒๖ ๒๖ ในพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๒๗ ๒๗ ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้แก้ไขคําว่า “สํานักผังเมือง” เป็น “กรมโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า “ผู้อํานวยการสํานักผังเมือง” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง” และคําว่า “โยธาธิการจังหวัด” เป็น “โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด”
มาตรา ๒๘ ในพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คําว่า “กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน” เป็น “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” และคําว่า “อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
มาตรา ๒๙ ในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถนภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงมหาดไทย” เป็น “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ” คําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ” คําว่า “ที่ทําการประชาสงเคราะห์จังหวัด” เป็น “สํานักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด” และคําว่า “ประชาสงเคราะห์จังหวัด” เป็น “พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด”
มาตรา ๓๐ ในพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๓๑ ในพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม” คําว่า “ผู้แทนกรมการผังเมือง” เป็น “ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า “ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก” เป็น “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” และคําว่า “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
มาตรา ๓๒ ในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
มาตรา ๓๓ ๓๓ ในพระราชบัญญัติการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “กระทรวงพลังงาน” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน” เป็น “ปลัดกระทรวงพลังงาน” คําว่า “อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” คําว่า “อธิบดีกรมโยธิการ” เป็น “อธิบดีการโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า ”เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน” และคําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”
มาตรา ๓๔ ในพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมเศรษฐกิจ” เป็น “อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ”
มาตรา ๓๕ ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ” เป็น “อธิบดีกรมควบคุมโรค”
มาตรา ๓๖ ในพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๙ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
มาตรา ๓๗ ในพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมการปกครอง” เป็น “อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น”
มาตรา ๓๘ ในพระราชบัญญัติกําหนดวิทยฐานะผู้สําเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “นายกรัฐมนตรี” คําว่า “อธิบดีกรมการศาสนา” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” และคําว่า “กรมการศาสนา” เป็น “สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ”
มาตรา ๓๙ ในพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” คําว่า “ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงแรงงาน” และคําว่า “ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
มาตรา ๔๐ ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๑
(๑) ในมาตรา ๑๑ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม”
(๒) ให้แก้ไขคําว่า “สํานักนายกรัฐมนตรี” เป็น “กระทรวงคมนาคม” คําว่า “สํานักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก” เป็น “สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” และคําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการจัดระบบการจราจร ทางบก” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร”
มาตรา ๔๑ ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “สํานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ” เป็น “สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คําว่า “อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” คําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน” คําว่า “รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ” เป็น “รองผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน” และคําว่า “ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ” เป็น “ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน”
มาตรา ๔๒ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงศึกษาธิการ” และ “กรมศาสนา” เป็น “สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “นายกรัฐมนตรี” และ คําว่า “อธิบดีกรมการศาสนา” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ”
มาตรา ๔๓ ในพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช ๒๔๘๔ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงมหาดไทย” เป็น “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”
มาตรา ๔๔ ในพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงมหาดไทย” เป็น “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” คําว่า “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” เป็น “ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” และคําว่า “อธิบดีกรมการปกครอง” เป็น “อธิบดีกรมปศุสัตว์”
มาตรา ๔๕ ๔๕ ในพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้แก้ไขคําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” คําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” และคําว่า “ทรัพยากรธรณีประจําท้องที่” เป็น “เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจําท้องที่”
มาตรา ๔๖ ในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คําว่า “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” เป็น “ปลัดกระทรวงพลังงาน” คําว่า “กรมโยธาธิการ” เป็น “กรมธุรกิจพลังงาน” คําว่า “อธิบดีกรมเจ้าท่า” เป็น “อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี” คําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดี กรมธุรกิจพลังงาน” คําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน” และคําว่า “ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ” เป็น “อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย”
มาตรา ๔๗ ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “กรมโยธาธิการ” เป็น “กรมโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง” และคําว่า “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนสํานักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และคําว่า “โยธาธิการจังหวัด” เป็น “โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด”
(๒) ให้ตัดคําว่า “ผู้อํานวยการสํานักผังเมือง” ออก เพื่อให้สอดคล้องกับการยุบเลิกกรมการผังเมือง
มาตรา ๔๘ ๔๘ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “ผู้แทนกรมการปกครอง” เป็น ”ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย”
มาตรา ๔๙ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “กระทรวงแรงงาน” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” คําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน” คําว่า “ผู้แทนกรมอนามัย” เป็น “ผู้แทนกรมควบคุมโรค” และคําว่า “ผู้แทนกรมโยธาธิการ” เป็น “ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๕๐ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “สถาบันการแพทย์แผนไทย” และคําว่า “สํานักงานปลัดกระทรวง” เป็น “กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก” และคําว่า “ผู้อํานวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก”
มาตรา ๕๑ ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๓๑ ให้แก้ไข คําว่า “อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมควบคุมโรคหรือผู้แทน” และคําว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๕๒ ในพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ” เป็น “อธิบดีกรมควบคุมโรค”
มาตรา ๕๓ ในพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้แก้ไขคําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน”
มาตรา ๕๔ ในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น ”กระทรวงแรงงาน” และคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน”
มาตรา ๕๕ ๕๕ ในพระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจําพวก พุทธศักราช ๒๔๗๙ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคําว่า “อธิบดี กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๕๖ ในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๕๗ ๕๗ ในพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๗
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
(๒) ให้เพิ่ม “อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” เป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการวางแผนการใช้ที่ดินชายทะเล มาเป็นของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
มาตรา ๕๘ ในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “กระทรวงแรงงาน” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” และคําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน”
มาตรา ๕๙ ในพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ให้แก้ไข คําว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๖๐ ในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “กรมโยธาธิการ” และ “สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท” เป็น “กรมทางหลวงชนบท” และคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” และ “เลขาธิการสํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบท”
มาตรา ๖๑ ในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้แก้ไขคําว่า “ผู้อํานวยการสํานักผังเมือง” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๖๒ ในพระราชบัญญัติทุนวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๖๓ ในพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๙๖ ให้แก้ไขคําว่า “กรมมหาดไทย” เป็น “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” และคําว่า “อธิบดีกรมโยธาเทศบาล” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๖๔ ในพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนําข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมเศรษฐกิจ” เป็น “อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ”
มาตรา ๖๕ ในพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” คําว่า “อธิบดีกรมเศรษฐกิจหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือผู้แทน” และคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้าหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือผู้แทน”
มาตรา ๖๖ ในพระราชบัญญัติน้ําบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมทรัพยากรน้ําบาดาล” คําว่า ”กรมโยธาธิการ” เป็น “กรมโยธาธิการและผังเมือง” คําว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และคําว่า “ผู้อํานวยการกองน้ําบาดาล” เป็น “ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ําบาดาล”
มาตรา ๖๗ ในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๖๘ ๖๘ ในพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๐๐ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมการปกครอง” เป็น “อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” และคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๖๙ ๖๙ ในพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม”
มาตรา ๗๐ ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้แก้ไขคําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน”
มาตรา ๗๑ ในพระราชกําหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์หรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการหรือผู้แทน”
มาตรา ๗๒ ในพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมการปกครอง” เป็น “อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย” และคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๗๓ ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” คําว่า “อธิบดี กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” คําว่า “เลขาธิการคณะการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ” และคําว่า “ประชาสงเคราะห์จังหวัด” เป็น “พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด”
มาตรา ๗๔ ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ในมาตรา ๑๘ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”
มาตรา ๗๕ ในพระราชบัญญัติปันส่วนน้ํามันเชื้อเพลิง พุทธศักราช ๒๔๘๓ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๗๖ ในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้แก้ไข คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “กรมป่าไม้” เป็น “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” และคําว่า “อธิบดีกรมป่าไม้” เป็น “อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช”
มาตรา ๗๗ ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คําว่า “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “ปลัดกระทรวงพลังงาน” คําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” และคําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”
มาตรา ๗๘ ในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๗๙ ในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๐๔
(๑) ในมาตรา ๒๔ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
(๒) ให้แก้ไขคําว่า “สํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ” เป็น “สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ” และคําว่า “เลขาธิการสํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ” เป็น “เลขาธิการสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ”
มาตรา ๘๐ ๘๐ ในพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
(๒) ให้เพิ่ม “อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” เป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการวางแผนการใช้ที่ดินชายทะเล มาเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
มาตรา ๘๑ ในพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” คําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และคําว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๘๒ ในพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และคําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๘๓ ในพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. ๒๕๐๙ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่”
มาตรา ๘๔ ในพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้แก้ไขคําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”
มาตรา ๘๕ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมการศาสนา” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ”
มาตรา ๘๖ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมการศาสนา” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ”
มาตรา ๘๗ ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”
มาตรา ๘๘ ในพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”
มาตรา ๘๙ ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไข คําว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมการค้าภายใน” และคําว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมการค้าภายใน”
มาตรา ๙๐ ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม” และคําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๙๑ ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม” และคําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๙๒ ในพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ให้แก้ไขคําว่า “กรมเจ้าท่า” เป็น “กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี” และคําว่า “อธิบดีกรมเจ้าท่า” เป็น “อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี”
มาตรา ๙๓ ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” คําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” คําว่า “ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “ผู้แทน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” และคําว่า “ทรัพยากรธรณีประจําท้องที่” เป็น “เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจําท้องที่”
(๒) ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๖ ทวิ และมาตรา ๖ จัตวา เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
(๓) ให้แก้ไขคําว่า “กรมทรัพยากรธรณี” ในมาตรา ๖ ตรี เป็นคําว่า “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่”
(๔) ให้เพิ่ม “อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” เป็นกรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๑๘ เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี ในส่วนที่เกี่ยวกับแร่มาเป็นของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
มาตรา ๙๔ ในพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” คําว่า“ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน” และคําว่า “อธิบดีกรมบัญชีกลาง” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ”
มาตรา ๙๕ ในพระราชบัญญัติโรงรับจํานํา พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๙๖ ในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมและการประสานงานเยาวชนแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ”
(๒) ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมพลศึกษา” ในมาตรา ๑๑ วรรคสอง และมาตรา ๑๗ วรรคสอง เป็น “ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ”
(๓) ให้ตัดคําว่า “อธิบดีกรมพลศึกษา” ในมาตรา ๓๗ ออก เพื่อให้สอดคล้องกับการยุบเลิกกรมพลศึกษา
มาตรา ๙๗ ในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
มาตรา ๙๘ ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
(๑) ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน” และคําว่า “ผู้แทนกรมโยธาธิการ” เป็น “ผู้แทนกรมธุรกิจพลังงาน”
(๒) ให้เพิ่ม “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” เป็นผู้รักษาการ เฉพาะที่เกี่ยวกับวัตถุที่อยู่ในขอบอํานาจหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน
มาตรา ๙๙ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม”
มาตรา ๑๐๐ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม”
มาตรา ๑๐๑ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” และคําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็นอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
มาตรา ๑๐๒ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
มาตรา ๑๐๓ ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”
มาตรา ๑๐๔ ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”
มาตรา ๑๐๕ ในพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๘๒ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”
มาตรา ๑๐๖ ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “กรมป่าไม้” เป็น “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และคําว่า “ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็น “ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
มาตรา ๑๐๗ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “กระทรวงแรงงาน” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” คําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน” และคําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ”
มาตรา ๑๐๘ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้แก้ไขคําว่า “สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี” เป็น “กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี” และคําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี” เป็น “อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี”น “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”
มาตรา ๑๐๙ ในมาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม”
มาตรา ๑๑๐ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการไฟฟ้า พุทธศักราช ๒๔๘๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” และคําว่า “อธิบดีกรมโยธาเทศบาล” เป็น “อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน”
มาตรา ๑๑๑ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม” คําว่า “ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม” และคําว่า “กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”
มาตรา ๑๑๒ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ”
มาตรา ๑๑๓ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ปลัดกระทรวงแรงงาน” และคําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๑๑๔ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม” เป็น “สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” และคําว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการ” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง”
มาตรา ๑๑๕ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมเศรษฐกิจ” เป็น “อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ” และ คําว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่”
มาตรา ๑๑๖ ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้แก้ไข คําว่า “อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ” เป็น “อธิบดีกรมควบคุมโรค” และคําว่า “สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข” เป็น “กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ”
มาตรา ๑๑๗ ในพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๑๑๘ ในพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๑๑๙ ในพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
มาตรา ๑๒๐ ในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
มาตรา ๑๒๑ ในพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ให้แก้ไข คําว่า “กรมการค้าภายใน” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” และคําว่า “อธิบดีกรมการค้าภายใน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
มาตรา ๑๒๒ ในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แก้ไขคําว่า “ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็น “อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์” และคําว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็น “กรมส่งเสริมสหกรณ์”
มาตรา ๑๒๓ ในพระราชบัญญัติสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “กระทรวงวัฒนธรรม” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม” คําว่า “ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม” และคําว่า “เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ”
มาตรา ๑๒๔ ในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ให้แก้ไขคําว่า “กรมการค้าภายใน” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” และคําว่า “อธิบดีกรมการค้าภายใน” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
หมวด ๑๒๕ ในพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ”
มาตรา ๑๒๖ ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” และคําว่า “ผู้แทนกระทรวงคมนาคม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
มาตรา ๑๒๗ ในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๑๒๘ ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคําว่า “อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ” เป็น “อธิบดีกรมควบคุมโรค”
มาตรา ๑๒๙ ในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ให้แก้ไข คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “ปลัดกระทรวงเกษตร” เป็น “ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คําว่า “อธิบดีกรมป่าไม้” เป็น “อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช”
มาตรา ๑๓๐ ในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๑๓๑ ในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงมหาดไทย” เป็น “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการประปา
มาตรา ๑๓๒ ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม”
มาตรา ๑๓๓ ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๔ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้แก้ไขคําว่า “กระทรวงมหาดไทย” เป็น “กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” คําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และคําว่า “อธิบดี กรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
มาตรา ๑๓๔ ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๑ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๑๓๕ ในพระราชกฤษฎีกากําหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๑๓๖ ในพระราชกฤษฎีกากําหนดอํานาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน”
มาตรา ๑๓๗ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน” พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม”
มาตรา ๑๓๘ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “ผู้แทนกรมการบินพาณิชย์” เป็น “ผู้แทนกรมการขนส่งทางอากาศ”
มาตรา ๑๓๙ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”
มาตรา ๑๔๐ ในพระราชกฤษฎีจัดตั้งสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และคําว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๑๔๑ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ําเสีย พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
มาตรา ๑๔๒ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และ คําว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
มาตรา ๑๔๓ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
มาตรา ๑๔๔ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่วนสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้แก้ไขคําว่า “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ๑ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอํานาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอํานาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอํานาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๔ บทบัญญัติมาตรา ๘๕ และมาตรา ๘๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ไม่กระทบการใดที่นายกรัฐมนตรีได้กระทําไปตามอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๕ และมาตรา ๘๖แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้แก้ไขคําว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “นายกรัฐมนตรี” ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นการคลาดเคลื่อนและก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติอย่างมาก สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้โอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของสํานักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง และโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ มิได้แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๙ และมาตรา ๙๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ | 2,279 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 52/2552 เรื่อง การรายงานการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของลูกค้าโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 52/2552
เรื่อง การรายงานการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ
ของลูกค้าโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญารายงานการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของลูกค้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศให้แก่ลูกค้าทั่วไปได้ จึงควรกําหนดให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีหน้าที่รายงานการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้สามารถติดตามและควบคุมปริมาณการทําธุรกรรมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,280 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 316/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 316/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาควนกาหลง ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอมะนัง หมู่ 1 ตําบลปาล์มพัฒนา อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาละงู ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง บริเวณหน้าน้ําตกวังสายทอง หมู่ 10 ตําบลน้ําผุด อําเภอละงู จังหวัดสตูล
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สตูล ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2563
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,281 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 57/2552 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 57 /2552
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศ
ที่เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน มาตรา 61 มาตรา 72 มาตรา 81 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และอาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ขอบเขตของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑ ประกาศนี้
(1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ
ข้อ ๒ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และขั้นตอนการพิจารณาคําขอ ตามหมวด 2
(2) ผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ ตามหมวด 3
(3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน ตามหมวด 4
(4) การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยเป็นการทั่วไปตามหมวด 5
(5) การรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหารอื่น และผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ ตามหมวด 6
หมวด ๒ แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของ
บริษัทต่างประเทศ และขั้นตอนการพิจารณาคําขอ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ แบบคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นแบบคําขออนุญาตดังนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 4 จํานวนห้าชุด
(1) ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก ให้ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-FE-1 ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) ให้ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-FE-2 ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ให้มีดังนี้
(1) หนังสือรับรองจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่รับรองว่าบริษัทต่างประเทศได้ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นในการรับหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) เอกสารซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทต่างประเทศที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่บริษัทยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว
(3) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(4) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ออกหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(5) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี)
(6) สําเนาสัญญาแต่งตั้งให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(7) หนังสือแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยของบริษัทต่างประเทศ
(8) สําเนาหนังสือรับรองการรับทราบภาระหน้าที่ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(9) สําเนาหนังสือ ดังต่อไปนี้
(ก) หนังสือที่แสดงได้ว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศนั้น หากเป็นกรณีที่บริษัทต่างประเทศนั้น ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย หรือ
(ข) หนังสือที่แสดงว่าหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักมีการให้ความเห็นชอบในการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในขณะที่ยื่นคําขออนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายในประเทศที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์หลักหรือในประเทศอื่นใด
(10) แบบตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
ส่วน ๒ ขั้นตอนการพิจารณาคําขอ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ เมื่อบริษัทต่างประเทศได้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานตามข้อ 3 และข้อ 4 พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตแล้ว สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ตรวจพิจารณาความครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารหลักฐาน ทั้งนี้ ในกรณีที่คําขออนุญาตที่ยื่นยังมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน ให้บริษัทต่างประเทศแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลตามที่สํานักงานแจ้งให้ทราบให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทต่างประเทศรายใดไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่สํานักงานแจ้งให้ทราบภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบริษัทต่างประเทศไม่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป
(2) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศรายใดขอผ่อนผันไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานบางรายการ สํานักงานอาจผ่อนผันให้บริษัทต่างประเทศนั้นไม่ต้องจัดส่งข้อมูล หรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือบริษัทต่างประเทศมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ สํานักงานอาจพิจารณาถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าวหรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันประกอบด้วย
(3) สํานักงานจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสิบวันทําการนับจากวันที่สํานักงานได้รับข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนหรือที่ได้แก้ไขจนครบถ้วนแล้ว
หมวด ๓ ผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ให้ผู้สอบบัญชีที่สามารถทําการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลัก เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศในการแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทดังกล่าว ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินที่เผยแพร่ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวน
(2) งบการเงินที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่จัดทําและส่งต่อสํานักงานตามมาตรา 56
หมวด ๔ ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ รูปแบบของร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้อนุโลมตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๘ ร่างหนังสือชี้ชวนต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก
“บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารนิเทศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 15 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ เลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของทุกวันทําการของสํานักงาน หรือทาง ”
ข้อ ๙ ในกรณีใดที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย
ข้อ ๑๐ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 7 ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้สิทธิผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้เลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการก็ได้ แต่แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแผ่นบันทึกข้อมูลต่อสํานักงานอย่างช้าภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเริ่มมีผลใช้บังคับ
ส่วน ๒ การลงลายมือชื่อในร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลเป็นผู้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัทด้วย (ถ้ามี) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัทด้วย (ถ้ามี)
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามข้อ 11 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวบุคคลใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่จําเป็นต้องให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลรายดังกล่าวลงลายมือชื่อในร่างหนังสือชี้ชวน
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวบุคคลใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนด้วย
หมวด ๕ การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุน
ในประเทศไทยเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ผู้เสนอขายมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1-FE ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๑๕ กรณีเป็นผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ นอกจากต้องรายงานตามข้อ 14 แล้ว ให้ยื่นรายงานผลการใช้สิทธิตามแบบ 81-1-FE ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน สําหรับรายงานผลการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าว ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในแต่ละครั้ง
(2) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ในกรณีที่มีการใช้สิทธิในลักษณะต่อเนื่องตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ
ข้อ ๑๖ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่สามารถยื่นแบบรายงานตามข้อ 14 หรือข้อ 15 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นอาจขอผ่อนผันการส่งแบบรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งแบบรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุอันจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้
หมวด ๖ การรายงานการถือหลักทรัพย์ของ
กรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหารอื่น และผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ให้กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักกําหนด และผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ของตน ของคู่สมรส และของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในบริษัทที่ตนเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งบริหาร หรือผู้สอบบัญชีนั้นตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลักกําหนด รายงานตามวรรคหนึ่งให้เปิดเผยต่อสํานักงานตามระยะเวลาเดียวกับที่บุคคลตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ส่งต่อหน่วยงานกํากับดูแลหลักหรือตลาดหลักทรัพย์หลัก โดยจัดทําในรูปแบบดังนี้
(1) ข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ จํานวนหนึ่งชุด
(2) ข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดข้อมูลที่เปิดเผยต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
หมวด ๗ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ก่อนหรือหลังการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นแล้ว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,282 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 8/2551 เรื่อง การรายงานการลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 8/2551
เรื่อง การรายงานการลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์
-----------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน การจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและส่งรายงานการลงทุนหรือจําหน่ายทรัพย์สินซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินของบริษัทหลักทรัพย์ออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศ โดยให้จัดทําและส่งข้อมูลดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามรูปแบบอื่นใดที่สํานักงานจะแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบล่วงหน้า
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์สามารถนําเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ ซึ่งการลงทุนในกรณีดังกล่าวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการลงทุนภายในประเทศ เช่น ความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ความเสี่ยงในด้านเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่ไปลงทุน รวมทั้งความเสี่ยงในเชิงภูมิภาคที่เป็นที่ตั้งของประเทศนั้นด้วย เป็นต้น อันส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทได้ ดังนั้น เพื่อให้สามารถติดตามและควบคุมปริมาณการลงทุนของบริษัทในต่างประเทศได้ จึงต้องออกประกาศฉบับนี้ | 2,283 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น/ด/ข. 11/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น/ด/ข. 11 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหาร
ความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทหลักทรัพย์
------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน(1) ข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(2) ข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 26/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(3) ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(4) ข้อ 2(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(5) ข้อ 4(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(6) ข้อ 2 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้อ
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
“งานที่สําคัญ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการให้บริการ การทําธุรกรรม หรืองานอื่น ๆ ของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งหากมีการหยุดชะงักอาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า การดําเนินงาน
ธุรกิจ ชื่อเสียง ฐานะและผลการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในนามของบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บริษัทหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและสถาบันการเงินนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง หากหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติให้สถาบันการเงินนั้นปฏิบัติในลักษณะเดียวกับหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศนี้
ข้อ ๓ เพื่อให้มั่นใจว่างานสําคัญของบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือกลับมาดําเนินการในเวลาที่เหมาะสมเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทําให้การปฏิบัติงานตามปกติของบริษัทหลักทรัพย์ต้องหยุดชะงัก บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการในการควบคุมและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนดไว้ในข้อ 3 และจัดสรรทรัพยากรเพื่อรองรับการดําเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างเพียงพอ
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการระบุงานที่สําคัญ ตลอดจนประเมินความเสี่ยงที่อาจทําให้งานที่สําคัญหยุดชะงัก วิเคราะห์ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของงานที่สําคัญ เพื่อให้สามารถกําหนดลําดับความสําคัญของการดําเนินการและทรัพยากรที่จะใช้ในการเรียกคืนการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) ซึ่งครอบคลุมงานที่สําคัญของบริษัทหลักทรัพย์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องระบุถึงรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ขั้นตอนการดําเนินการเพื่อรองรับหรือเรียกคืนการดําเนินงานให้กลับสู่สภาวะปกติที่มีรายละเอียดเพียงพอที่บุคลากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิบัติได้
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานในกรณีที่มีการหยุดชะงักของงานที่สําคัญ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว
(3) การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดวิธีการและช่องทางการติดต่อสื่อสาร และข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบการติดต่อสื่อสาร
แผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตามความในวรรคสองด้วย
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามข้อ 6(2) และข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบการติดต่อสื่อสารตามข้อ 6(3) ให้เป็นปัจจุบัน
ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใช้บริการงานที่สําคัญจากผู้ให้บริการ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้แผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 6 ครอบคลุมถึงกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซึ่งอาจทําให้การปฏิบัติงานตามปกติของผู้ให้บริการต้องหยุดชะงัก เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์มีการดําเนินการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการจะสามารถให้บริการงานที่สําคัญได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(1) การทดสอบและทบทวนแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 6
(2) การประเมินผลการทดสอบตาม (1) และการจัดทํารายงานผลการประเมินโดยผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระ
(3) การรายงานผลการทดสอบ ทบทวน และประเมินตาม (1) และ (2) ต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร ระบบงานหรือปัจจัยอื่น ที่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการดําเนินการตาม (1) โดยเร็ว
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักของงานที่สําคัญของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งเหตุที่ทําให้งานที่สําคัญหยุดชะงักพร้อมรายละเอียดให้สํานักงานทราบในโอกาสแรกที่ทําได้โดยต้องไม่เกินวันทําการถัดจากวันที่เกิดการหยุดชะงักของงานที่สําคัญดังกล่าว และเมื่อการหยุดชะงักของงานที่สําคัญสิ้นสุดลงแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้สํานักงานทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามข้อ 9 และข้อ 10 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่จัดทําเอกสารหลักฐานนั้น โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้โดยเร็วเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,284 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 12/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 12 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง
เพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความใน (1) ข้อ 7 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และข้อ 28/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 25/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(2) ข้อ 2(1) และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น/ด/ข. 11 /2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,285 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 315/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 315/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ห้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร วันทําการปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,286 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 25/2551 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบงาน สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์และหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 25/2551
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับระบบงาน สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์และหลักประกัน
ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 6(2) และ (5) ข้อ 7(2) และ (3) และข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 39/2540 เรื่อง ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2542 เรื่อง ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2542 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2543 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 70/2543 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 72/2543 เรื่อง ระยะเวลาในการยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543
8. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2544 เรื่อง การกําหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดําเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
9. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 39/2546 เรื่อง การกําหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดําเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) "ผู้ประกอบกิจการ" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(2) “หลักประกันเริ่มต้น” หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ผู้ยืมต้องวางเป็นประกันก่อนที่จะยืมหลักทรัพย์รายการใดรายการหนึ่ง
(3) คําว่า “เงินกองทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
หมวด ๑ ระบบงานและการควบคุมการปฏิบัติงาน
ข้อ ๔ ในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบการวางหรือเรียกหลักประกันที่สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา
(2) จัดให้มีการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืมหรือเป็นหลักประกันอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพคล่องและผลกระทบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจในภาพรวม
3. จัดให้มีการประมวลผลและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงระดับความเสี่ยงในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และ
4. จัดให้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์อย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการมียอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันรายใดรายหนึ่ง เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุนของผู้ประกอบกิจการ และห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการมียอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันทุกรายรวมกันภายหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆเกินกว่าห้าเท่าของเงินกองทุนของผู้ประกอบกิจการ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใดตามนัยมาตรา 258 ให้นับรวมเป็นการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณยอดหนี้คงค้างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ให้ผู้ประกอบกิจการนับรวมยอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นยอดหนี้คงค้างตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งหรือทุกรายรวมกันสูงกว่าอัตราที่กําหนดเนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้
(1) หลักทรัพย์ที่ยืมมีมูลค่าสูงขึ้น
(2) การเรียกเก็บดอกเบี้ยตามข้อ 5(6) ของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
(3) การซื้อหลักทรัพย์เพื่อนํามาคืนการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(4) เงินกองทุนของผู้ประกอบกิจการลดลง
ในกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันรายใดรายหนึ่งหรือทุกรายรวมกันสูงเกินกว่าอัตราที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าการนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุใด ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกจนกว่ายอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายนั้นจะเป็นไปตามอัตราที่กําหนด และห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายใดเพิ่มเติมอีกจนกว่ายอดหนี้คงค้างของลูกค้าทุกรายรวมกันภายหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะเป็นไปตามอัตราที่กําหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ไม่กระทําการโดยทุจริต หลอกลวง ยักยอก หรือฉ้อโกงทรัพย์สินของลูกค้า
(2) ไม่เบียดบังและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากลูกค้าโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงานไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น
(3) ไม่แสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งอันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืม
หลักทรัพย์และการวางหรือการคืนหลักประกัน และจัดส่งให้แก่ลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดธุรกรรม
เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ประเภทของการทําธุรกรรม
(2) วันที่เกิดธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการวางหรือการคืนหลักประกัน แล้วแต่กรณี
(3) หลักทรัพย์ที่ยืมและให้ยืม และหลักประกันที่วางหรือคืน แล้วแต่กรณี
(4) ประเภท จํานวน และมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ยืมและให้ยืม และของหลักประกัน แล้วแต่กรณี และ
(5) อัตราค่าธรรมเนียมในการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
หมวด ๒ ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๘ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ข้อ 9 สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ใช้ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องทําเป็นหนังสือโดยต้องมีลักษณะและสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
1. หลักทรัพย์ที่ให้ยืมและหลักประกันในการยืมหลักทรัพย์ สัญญาต้องมีข้อกําหนด
ให้ผู้ให้ยืมต้องโอนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ยืมโดยปลอดจากบุริมสิทธิหรือภาระผูกพันใด ๆ โดยผู้ยืมต้องส่งมอบหลักประกันให้แก่ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ และผู้ให้ยืมจะส่งมอบหลักประกันคืนให้แก่ผู้ยืม เมื่อผู้ยืมคืนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ให้ยืม
การคืนหลักทรัพย์ที่ยืมและการคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่เป็นหลักประกันให้ใช้หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกัน ประเภทและชนิดเดียวกัน และจํานวนเท่ากันแทนกันได้
ในกรณีที่วางหลักประกันเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ การคืนหลักประกันให้กระทําโดยการยกเลิกหรือลดวงเงินของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกันที่นํามาวางไว้ แล้วแต่กรณี
1. การปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืน สัญญาต้องมีข้อกําหนดที่ชัดเจนในการปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืนเมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่ครบกําหนดคืนอันจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมเมื่อมีการโอนหลักทรัพย์หรือหลักประกันคืน
(ก) การให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่มีอยู่ก่อนแล้ว
(ข) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง
(ค) การไถ่ถอนหลักทรัพย์
(ง) การรวมกิจการ การควบกิจการ หรือการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(จ) การจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น
(ฉ) การแปลงสภาพหลักทรัพย์ หรือ
(ช) กรณีอื่นใดในทํานองเดียวกัน
(3) การชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่คู่สัญญา สัญญาต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชดเชยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์หรือผู้ยืมหลักทรัพย์พึงได้รับ หากยังถือหลักทรัพย์หรือหลักประกันไว้ แล้วแต่กรณี โดยต้องกําหนดให้การจ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารจ่ายให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์หรือตราสารนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงเป็นประการอื่น
(4) ข้อกําหนดในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน สัญญาต้องมีข้อกําหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาตลอดจนมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน
ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นลูกค้าสถาบัน ผู้ให้ยืมและผู้ยืมอาจตกลงกําหนดลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันไว้เป็นประการอื่นก็ได้
ข้อ ๙ สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตผ่านบัญชีมาร์จิ้นให้เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน
หมวด ๓ ประเภทของหลักประกัน การรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์และหลักประกัน
ข้อ ๑๐ ให้ทรัพย์สิน ตราสารทางการเงิน และหนังสือสัญญาดังต่อไปนี้ สามารถนําไปใช้เป็นหลักประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ที่ผู้ประกอบกิจการอาจดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันได้
(1) เงินสด
(2) หลักทรัพย์จดทะเบียน
(3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ (daily redemption fund)
(4) ตั๋วเงินคลัง
(5) พันธบัตรรัฐบาลไทย
(6) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(7) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออกหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(8) ตราสารแห่งหนี้ที่ตัวตราสารนั้นเอง หรือผู้ออกตราสาร ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(9) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก หรือ
(10) หนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการยืมหลักทรัพย์ของผู้ยืม โดยสถาบันการเงินนั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือนั้นจะออกเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกัน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ผู้ยืมที่มิใช่ลูกค้าสถาบัน ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการเรียกหลักประกันและรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบกิจการต้องเรียกให้ผู้ยืมวางหลักประกันเริ่มต้นไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม เว้นแต่เป็นกรณีที่กําหนดในวรรคสอง
ผู้ประกอบกิจการอาจดําเนินการเรียกหลักประกันเริ่มต้นต่ํากว่าอัตราที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้ประกอบกิจการทําหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของผู้ยืมในการขายหลักทรัพย์ที่ยืมดังกล่าว และสามารถขายหลักทรัพย์นั้นได้ภายในวันที่ยืมหลักทรัพย์ และ
(ข) ผู้ยืมมีข้อตกลงยินยอมให้ผู้ประกอบกิจการนําเงินค่าขายหลักทรัพย์ที่ผู้ยืมจะได้รับจากการขายตาม (ก) มาเป็นหลักประกัน โดยเงินค่าขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเมื่อรวมกับหลักประกันเริ่มต้นต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(2) เมื่อมูลค่าหลักประกันอยู่ในระดับต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ผู้ประกอบกิจการต้องเรียกให้ผู้ยืมวางหลักประกันเพิ่มเพื่อให้สัดส่วนมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(3) ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการให้ผู้ยืมวางหลักประกันเพิ่มตาม (2) ให้แล้วเสร็จก่อนเวลาปิดทําการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ยืมไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงในวันทําการถัดจากวันที่ได้เรียกให้ผู้ยืมวางหลักประกันเพิ่ม
(4) ในกรณีที่ผู้ยืมไม่สามารถวางหลักประกันเพิ่มตาม (3) ได้ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ผู้ยืมรายนั้นเพิ่มอีกจนกว่าจะได้ดําเนินการให้เป็นไปตาม (2) แล้ว
ข้อ ๑๒ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 13 ผู้ประกอบกิจการที่กระทําการในฐานะดังต่อไปนี้ ต้องดําเนินการให้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง การดํารงมูลค่าหลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับอยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(1) ตัวแทนของผู้ให้ยืม
(2) ผู้ยืมหรือตัวแทนของผู้ยืม ในกรณีที่ผู้ให้ยืมมิได้เป็นผู้ประกอบกิจการหรือมิได้มีการแต่งตั้งผู้ประกอบกิจการเป็นตัวแทนในการให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เป็นการยืมหลักทรัพย์ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบกิจการที่กระทําการในฐานะเดียวกับที่กําหนดในข้อ 12 ต้องดําเนินการให้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง การดํารงมูลค่าหลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับอยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าราคาใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์ตามสิทธิที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ได้รับจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือจากผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทดังกล่าวคูณด้วยจํานวนหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(1) ผู้ยืมเป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซึ่งยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินในกรณีที่มีการจองซื้อหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย และได้ดําเนินการดังนี้
(ก) ผู้ยืมได้วางเงินสดไว้แก่ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นหลักประกันการยืมหลักทรัพย์
(ข) ผู้ยืมได้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงต่อผู้ให้ยืมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมซึ่งอาจทําให้หลักประกันที่ผู้ให้ยืมได้รับไว้ไม่เพียงพอที่จะไปซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวคืนในกรณีที่ผู้ยืมไม่สามารถคืนหลักทรัพย์แก่ผู้ให้ยืมได้ รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ให้ยืมรับทราบความเสี่ยงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี และ
(ค) ผู้ยืมได้ดําเนินการแยกหลักทรัพย์ที่ได้ซื้อมาเพื่อการส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมไว้ต่างหากจากทรัพย์สินของผู้ยืมและได้จัดทําบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวแยกออกจากบัญชีทรัพย์สินของตนในระหว่างที่ผู้ยืมทําการทยอยซื้อหลักทรัพย์คืนแก่ผู้ให้ยืม โดยผู้ยืมจะไม่นําหลักทรัพย์ที่แยกไว้เพื่อการส่งคืนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่น หรือ
(2) ผู้ยืมที่มิได้เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซึ่งทําการยืมหลักทรัพย์เพื่อนํามาให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินยืมต่ออีกทอดหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินในกรณีที่มีการจองซื้อหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย โดยผู้ยืมและผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินดังกล่าวได้ดําเนินการตามเงื่อนไขใน (1)(ก) และ (ข) และผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินนั้นได้ดําเนินการตามเงื่อนไขใน (1)(ค) ด้วยแล้ว
ข้อ ๑๔ ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงิน ที่เป็นสกุลเงินบาท ให้ผู้ประกอบกิจการคํานวณตามวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือราคาอ้างอิง ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย Reuters Bloomberg หรือผู้ประกอบธุรกิจให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ หรือ
(2) ให้ใช้ราคาที่เห็นว่าสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบันของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการควบคุมการปฏิบัติงาน ลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ประเภทของหลักประกัน การรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์และหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้. | 2,287 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 314/2562 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 314/2562
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,288 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 27/2551 เรื่อง เหตุจำเป็นในการยืมหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 27/2551
เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2551 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 38/2540 เรื่อง เหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีเหตุจําเป็นต้องยืมหลักทรัพย์หรือจัดให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์จากหรือผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี เพื่อนํามาส่งมอบในการขายที่มิได้แสดงว่าเป็นการขายชอร์ตตามนัยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งต่อศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวถึงสาเหตุที่ตนหรือลูกค้าไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ขายได้ภายในเวลาที่สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขายได้ส่งหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่หลักทรัพย์นั้นไม่สามารถมาถึงบริษัทหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กําหนดเนื่องจากความผิดพลาดในกระบวนการจัดส่งหรือเนื่องจากเหตุการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบ
(2) ผู้ขายได้ซื้อหรือได้ใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์เดียวกันนั้นก่อนที่ผู้ขายจะได้ตกลงขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง และผู้ขายมีเหตุอันควรเชื่อว่าตนจะสามารถนําหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้ในครั้งก่อนมาส่งมอบในการขายครั้งหลังได้ทันเวลาที่กําหนด แต่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบ ทําให้ผู้ขายไม่สามารถได้รับหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบในทอดต่อไป
(3) บริษัทหลักทรัพย์ส่งคําสั่งขายหลักทรัพย์โดยผิดพลาดและได้พยายามแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวในเวลาอันสมควรแล้วแต่ไม่อาจแก้ไขได้ทัน
(4) ผู้ขายหรือบุคคลที่รับฝากหลักทรัพย์จากผู้ขายถูกศาลหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือสั่งห้ามมิให้จําหน่าย จ่าย หรือโอนทรัพย์สิน โดยผู้ขายได้ตกลงขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไปก่อนที่จะรู้ถึงคําสั่งศาลหรือคําสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้น
คําว่า “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีเหตุจําเป็นในการยืมหลักทรัพย์ต้องแจ้งสาเหตุในการยืมกับผู้ประกอบกิจการเช่นเดียวกับกรณีที่มีเหตุจําเป็นที่ยืมหลักทรัพย์กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,289 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 38/2551 เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัท | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 38/2551
เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์
ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัท
โดยที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงเป็นการสมควรให้มีการยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องด้วย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน มาตรา 61 มาตรา 72 มาตรา 81และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ และการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารและผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรืพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อจ. 23 /2543 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม หรือบริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวนและการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,290 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 39/2551 เรื่อง การคำนวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกำหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 39/2551
เรื่อง การคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาด
เพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ
ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในกรณีใดมีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ให้การคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ให้คํานวณดังนี้
1. กรณีเป็นการเสนอขายหุ้น ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อผู้ลงทุน
2. กรณีเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหารด้วยอัตราแปลงสภาพ
3. กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นรวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้น
4. กรณีเสนอขายหุ้นควบคู่ไปกับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้คํานวณดังนี้
((Ps) (Qs)) + ((Pw)(Qw)) + ((Ep)( Qx))
Qs + Qx
ทั้งนี้ โดยที่
Ps = ราคาเสนอขายหุ้น
Qs = จํานวนหุ้นที่เสนอขายควบคู่ไปกับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
Pw = ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
Qw = จํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขายควบคู่ไปกับหุ้น
Ep = ราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
Qx = จํานวนหุ้นที่จะได้รับจากการใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตาม Qw
(2) ราคาตลาดให้ใช้ราคาใดราคาหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยย้อนหลังไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน แต่ไม่เกินสิบห้าวันทําการติดต่อกัน ก่อนวันกําหนดราคาเสนอขาย โดยราคาที่นํามาถัวเฉลี่ยดังกล่าวอาจใช้ราคาปิดหรือราคาเฉลี่ยของการซื้อขายหุ้นนั้นในแต่ละวันก็ได้ ทั้งนี้ วันกําหนดราคาเสนอขายให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นวันใดวันหนึ่งดังนี้
1. วันที่คณะกรรมการมีมติให้เสนอวาระต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
2. วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
3. วันแรกที่เสนอขายต่อผู้ลงทุน
4. วันที่ผู้ลงทุนมีสิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือมีสิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ข) ราคาที่กําหนดโดยผ่านการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความต้องการซื้อและความต้องการขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัท เช่น การสํารวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (book building) เป็นต้น
(ค) ราคายุติธรรมที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา จึงได้กําหนดวิธีการที่แน่นอนในการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่จะนํามาเปรียบเทียบกับราคาตลาดราคาใดราคาหนึ่งตามที่กําหนด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,291 |
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 | พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. ๒๕๔๖
-----------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชการปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหบักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๓/๑ และมาตรา ๗๑/๑๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะ ปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกํากับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
“ข้าราชการ” หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมวด ๑ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-------------------------------
มาตรา ๖ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(๑) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(๒) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(๓) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(๔) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น
(๕) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(๖) ประชาชนได้รับการอ่านวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(๗) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ําเสมอ
หมวด ๒ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
------------------------------
มาตรา ๗ การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติความสงบและ ราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา ๘ ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) การกําหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา ๗ และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(๒) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(๓) ก่อนเริ่มดําเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กําหนดขั้นตอนการดําเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีทีภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้
(๔) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มี การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
(๕) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดําเนินการ ให้ส่วนราชการดําเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือ ระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อ ดําเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกําหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกําหนดแนวทางการดําเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
หมวด ๓ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
---------------------------
มาตรา ๙ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ก่อนจะนําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(๒) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ
(๓) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กําหนด
(๔) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดําเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกําหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิด การบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ หัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถใช้อํานาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจําเป็นและบริหาร ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๑๑ ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ใน ด้านต่าง ๆ เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกําหนดมาตรการกํากับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทําความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๑๓ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๖ ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทําเป็นแผนห้าปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี โดยให้ระบุสาระสําคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดตามวรรคสองแล้ว ให้สํานักงบประมาณดําเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสําเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใดหรือภารกิจใดไม่ได้ รบความเห็นชอบจากรัฐมนตรี มีให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสําหรับภารกิจนั้น
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทํารายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจําปีเสนอต่อคุณรัฐมนตรี
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกําหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ ให้สํานักงบประมาณและ ก.พ.ร. ร่วมกันกําหนดแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการตามมาตรา ๑๖. ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการที่ต้องจัดทําตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทําแผนจนเกินสมควร
มาตรา ๑๘ เมื่อมีการกําหนดงบประมาณรายจ่ายประจําปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กําหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดําเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผลทําให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนําไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กําหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกันแล้ว
การปรับแผนปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่งจะกระทําได้เฉพาะในกรณีที่งานหรือ ภารกิจใดไม่อาจนําเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจําเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือ หากนําเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจําเป็น หรือมีความจําเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ
(ยกเลิก)
มาตรา ๑๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่ สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากําหนดนโยบายการบริหารราชการ แผ่นดินต่อไป
หมวด ๔ การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
-------------------------------
มาตรา ๒๐ เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ส่วนราชการกําหนดเป้าหมาย แผนการทํางาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
มาตรา ๒๑ ให้ส่วนราชการจัดทําบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด
ให้ส่วนราชการคํานวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกําหนด และรายงานให้สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ
ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทําแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในสิบห้าวันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
มาตรา ๒๒ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดําเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสําหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดําเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดําเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้ และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดําเนินการด้วย
ความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม และประโยชน์หรือผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคํานวณเป็นตัวเงินได้ด้วย
มาตรา ๒๓ ๒๓ ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดําเนินการโดยเปิดเผยและ เที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ในกรณีทีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคํานึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสําคัญ ให้สามารถกระทําได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ําสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจําเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ มติคณะรัฐมนตรีกําหนด ให้ส่วนราชการที่มีอํานาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคําขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติไว้ และขั้นตอนการปฏิบัตินั้นต้องใช้ระยะเวลาเกินสิบห้าวัน ให้ส่วนราชการที่มีอํานาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นขอบ ประกาศกําหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วน ราชการอื่นทราบ
ส่วนราชการใดที่มีอํานาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ มิได้ดําเนินการให้แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากเกิดความเสียหายใดขึ้น ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน
มาตรา ๒๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบในปัญหานั้น ๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ให้ดําเนินการได้เท่าที่จําเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ โดยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้นผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม ถ้ามีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
ความผูกพันที่กําหนดไว้ในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
มาตรา ๒๖ การสั่งราชการโดยปกติให้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีทีผู้บังคับบัญชามีความจําเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้แต่ให้ผู้รับคําสั่งนั้นบันทึกคําสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคําสั่งดังกล่าวแล้ว ให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคําสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
หมวด ๕ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
------------------------------
มาตรา ๒๗ ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอํานาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดําเนินการอื่นใดของผู้ดํารงตําแหน่งใดให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ในการกระจายอํานาจการตัดสินใจดังกล่าวต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
เมื่อได้มีการกระจายอํานาจการตัดสินใจตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ส่วนราชการกําหนดหลักเกณฑ์การควบคุม ติดตาม และกํากับดูแลการใช้อํานาจและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอํานาจ และผู้มอบอํานาจไว้ด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือการกลั่นกรองงานที่ไม่จําเป็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในการนี้ หากสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมแล้วจะเป็นการลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งไม่เกิดผลเสียหายแก่ราชการ ให้ส่วนราชการดําเนินการให้ข้าราชการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสม และกําลังเงินงบประมาณ
เมื่อส่วนราชการใดได้มีการกระจายอํานาจการตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง หรือได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามวรรคสองแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการกระจายอํานาจการตัดสินใจตามมาตรา ๒๗ ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอํานาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทําแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลา การดําเนินการ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการของส่วนราชการและในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ต้องกระทําโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กําหนดด้วย
มาตรา ๓๐ ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
มาตรา ๓๑ ในศูนย์บริการร่วมตามมาตรา ๓๐ ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่าง ๆ และดําเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคําขอต่าง ๆ ไว้ให้ พร้อมที่จะบริการประชาชนได้ ณ ศูนย์บริการร่วม
ให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียดของเอกสารหลักฐานที่ประชาชนจะต้องจัดหามาในการขออนุมัติหรือขออนุญาตในแต่ละเรื่องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร่วม และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จําเป็นดังกล่าวนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ดําเนินการในเรื่องนั้น
ในการยื่นคําร้องหรือคําขอต่อศูนย์บริการร่วมตามมาตรา ๓๐ ให้ถือว่าเป็นการยื่นต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือกฎแล้ว
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎหมายหรือกฎในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบ เพื่อดําเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตาม กฎหมายหรือกฎนั้นต่อไป
มาตรา ๓๒ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอําเภอ และปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํา กิ่งอําเภอ จัดให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดําเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือ ต่อเนื่องกันในจังหวัด อําเภอ หรือกิ่งอําเภอนั้น ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอําเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอําเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ และให้นําความในมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
หมวด ๖ การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
----------------------------
มาตรา ๓๓ ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจําเป็น หรือสมควรที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดําเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคํานึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกําลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจ และสถานการณ์อื่นประกอบกัน
กําหนดเวลาในการจัดให้มีการทบทวนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.พ.ร. กําหนด
ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วนราชการดําเนินการปรับปรุงอํานาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากําลัง ของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดําเนินการต่อไป
ในกรณีที่ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบดําเนินการอยู่สมควรเปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติม ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นดําเนินการปรับปรุงภารกิจ อํานาจหน้าที่โครงสร้างและอัตรากําลังของส่วนราชการนั้นให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือ บางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออํานาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือ เศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร.
มาตรา ๓๕ ส่วนราชการมีหน้าที่สํารวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดําเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มี กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ หรือสอดคล้องกับความจําเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนเป็นสําคัญ
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการนําความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ของประชาชนมาประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือ เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่เอ๋อ อ่านวยต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดํารงชีวิตของประชาชน หรือก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากต่อประชาชนเกินสมควร ให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนะต่อส่วนราชการนั้นเพื่อดําเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคําเสนอแนะของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
หมวด ๓๗ ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด และ ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการได้กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ แต่ ก.พ.ร. เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกําหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้ว เสร็จตามกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๘ เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอานาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคําถามหรือแจ้งการดําเนินการให้ทราบภายในสิบห้าวันหรือภายในกําหนดเวลาที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๓๗
มาตรา ๓๙ ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ระบบเครือข่ายสารสนเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําในระบบเดียวกับที่กระทรวงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีขึ้นตามมาตรา ๔๐
มาตรา ๔๐ เพื่ออํานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่าย สารสนเทศกลางขึ้น
ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ อาจร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดําเนินการจัดทําระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการดังกล่าวก็ได้ ในการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะขอให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการดําเนินการก็ได้
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับคําร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการ อุปสรรค ความยุ่งยาก หรือปัญหาอื่นใดจากบุคคลใด โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควร ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องพิจารณาดําเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้น ให้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบผลการดําเนินการด้วย ทั้งนี้ อาจแจ้งให้ทราบผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการด้วยก็ได้
ในกรณีการแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ มิให้เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ของผู้ร้องเรียน เสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา ๔๒ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความสะดวกรวดเร็ว ให้ส่วนราชการที่มีอํานาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อใช้บังคับกับส่วนราชการอื่น มีหน้าที่ตรวจสอบว่ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้น เป็นอุปสรรคหรือ ก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ําซ้อน หรือความล่าช้า ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการอื่นหรือไม่ เพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือส่วนราชการอื่นในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที และในกรณีที่เห็นว่าการร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดหรือความไม่เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียนหรือเสนอแนะทราบภายในสิบห้าวัน
การร้องเรียนหรือเสนอแนะตามวรรคสอง จะแจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดมีลักษณะตามวรรคหนึ่งให้ ก.พ.ร. แจ้งให้ส่วนราชการที่ออก ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นทราบเพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิก ต่อไปโดยเร็ว
มาตรา ๔๓ การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีมีความจําเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงให้กําหนดเป็นความลับได้เท่าที่จําเป็น
หมวด ๔๔ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดําเนินการในปีงบประมาณนั้น และสัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทําการของส่วนราชการ และระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือ จัดจ้าง
ในการจัดทําสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับ กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการ หรือในส่วนที่เป็น ความลับทางการค้า
หมวด ๘ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
------------------------------
มาตรา ๔๕ นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา ๙ (๓) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดําเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าใน ภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร.กําหนด
มาตรา ๔๖ ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องกระทําเป็นความลับและ เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
มาตรา ๔๗ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคํานึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้น ในตําแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการ ปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ส่วนราชการใดดําเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไป ตามเป้าหมายที่กําหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงิน เพิ่มพิเศษเป็นบําเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของ ส่วนราชการนั้น เพื่อนําไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนดโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี
มาตรา ๔๙ เมื่อส่วนราชการใดได้ดําเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐหรือสามารถดําเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กําหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น เพื่อนําไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
หมวด ๙ บทเบ็ดเตล็ด
---------------------------
มาตรา ๕๐ เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเชิง ภารกิจของรัฐ ก.พ.ร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจกําหนดให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้งกําหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมจากที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ ก็ได้
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่พระราชกฤษฎีการกําหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทําแผนงาน ในเรื่องใดและมีกฎหมายฉบับอื่นกําหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทําแผนงานในเรื่องเดียวกันหรือบางส่วน เมื่อส่วนราชการได้จัดทําแผนงานตามกฎหมาย
มาตรา ๕๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด ๕ และหมวด ๗
ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการจัดทําหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๕๓ ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตาม วรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลองค์การ มหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดําเนินการให้ ถูกต้องต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจําเป็น และประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ําเสมอ และเนื่องจาก มาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้การกําหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจําเป็นต้อง ตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นแผนห้าปีตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ให้จัดทําเป็นแผนสามปีโดยมีห้วงระยะเวลาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
มาตรา ๑๐ ในวาระเริ่มแรก ให้สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดให้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส่วนราชการใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
ให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการที่จะต้องดําเนินการให้การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน โดยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่พ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีส่วนราชการใดมีเหตุผลความจําเป็นที่ไม่สามารถดําเนินการใช้แพลตฟอร์ม ดิจิทัลกลางได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดในวรรคสอง ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นเสนอ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวได้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ กําหนดให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนนิติบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความชัดเจน แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กําหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอน การดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กําหนดให้มีการจัดทํากรอบในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนไว้ในรูปยุทธศาสตร์ชาติซึ่งทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตามประกอบกับได้มีการจัดทําแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อเป็นกลไก วิธีการ และขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ขึ้นแล้ว จึงไม่มีความจําเป็นที่จะต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินและ แผนนิติบัญญัติให้ซ้ําซ้อนกันอีกสมควรยกเลิกการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินและ แผนนิติบัญญัติ และปรับปรุงการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสมควรกําหนดให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกันต้อง กระทําโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและการบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ | 2,292 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ
-------------------------------------
โดยที่มาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 กําหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการอื่น ๆ จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับแบบ P.P.30.9 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,293 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
------------------------------------------------
โดยที่มาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 กําหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเริ่มมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีกันยายน 2564 เป็นเดือนภาษีแรก ซึ่งผู้ประกอบการดังกล่าวยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับวิธีการและกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายภาษี ตลอดจนระยะเวลาในการโอนเงินจากต่างประเทศมายังกรมสรรพากร ส่งผลให้ไม่อาจชําระภาษีได้ภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับแบบ P.P.30.9 ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอกนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับเดือนภาษีกันยายน 2564 ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับเดือนภาษีตุลาคม 2564 ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ข้อ 3 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับเดือนภาษีพฤศจิกายน 2564 ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,294 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรสำหรับการดำเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกันของสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากร
สําหรับการดําเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน
ของสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
--------------------------------------------------------------------------------------
เพื่อรองรับการดําเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกันของสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศอย่างสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรขยายกําหนดเวลาการยื่นคําร้อง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากรตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรตามผลของการดําเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน กรณีที่พ้นกําหนดเวลาการยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากร ออกไปอีกเป็นเวลา 60 วันนับแต่วันที่ผู้นั้นได้รับหนังสือแจ้งผลการดําเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกันจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศไทย ทั้งนี้ สําหรับกรณีที่สัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนได้กําหนดให้ใช้บังคับผลการดําเนินการนั้นโดยไม่คํานึงถึงอายุความตามประมวลรัษฎากร
“ข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน” หมายความว่า ข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน (Mutual Agreement Procedure) ของสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ
“เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจตามสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นคําขอของผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจดําเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการดําเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน (Mutual Agreement Procedure) ของสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทําไว้กับสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,295 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-------------------------------------------------
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษียื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีตามที่กฎหมายกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 ดังนี้
1.1 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป
(2) ภ.ง.ด.94 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี
1.2 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ (1) ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.52 และ ภ.ง.ด.55 และบัญชีงบดุล บัญชีทําการและบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 158 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
(2) ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นภายใน 2 เดือน 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
(3) ภ.ง.ด.54 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย ให้ขยายกําหนดเวลาออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย
1.3 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
1.4 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
(1) ภ.พ.30 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
(2) ภ.พ.36 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ (กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้น ในราชอาณาจักร) ของเดือนที่ขายทอดตลาด (กรณีผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือของเดือนที่ครบกําหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร) ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการของเดือนที่ขายทอดตลาด หรือของเดือนที่ครบกําหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แล้วแต่กรณี
1.5 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ภ.ธ.40 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีที่จะได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ 1 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติและฉบับเพิ่มเติมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้นหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติในรูปแบบของกระดาษ แม้ต่อมาจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งในรูปแบบของกระดาษ จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเช่นกัน และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้รับสิทธิผ่อนชําระ 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้
- งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
- งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง
- งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง
หากไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรสําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่พ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปนั้นจนถึงวันชําระ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,296 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ฉบับที่ 2)
---------------------------------------------------
โดยที่รัฐบาลได้รณรงค์ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการทั้งทางตรงและทางอ้อม ทําให้ผู้ประกอบการไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีได้ตามกําหนดเวลา ประกอบกับกรมสรรพากรมีช่องทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการให้บริการยื่นแบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีอากร ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการรณรงค์ของรัฐบาล และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรออกไปตามความจําเป็นแก่กรณีให้แก่ผู้ประกอบการ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล การนําส่งหรือการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล การนําส่งหรือการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ข้อ 3 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ข้อ 4 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ข้อ 5 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 6 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 7 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 8 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 9 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ข้อ 10 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 จากภายในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ข้อ 11 แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษี มีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด. 53 ภ.ง.ด. 54
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 30 และ ภ.พ. 36
(3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ. 40
ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
(นายอุตตม สาวนายน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,297 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ฉบับที่ 3)
-------------------------------------------------------
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นและสอดคล้องกับนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี และแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี และแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 ดังนี้
1.1 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.95 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป
(2) ภ.ง.ด.94 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี
1.2 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.52 และ ภ.ง.ด.55 และบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 158 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
(2) ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นภายใน 2 เดือน 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
(3) ภ.ง.ด.54 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน หรือจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย ให้ขยายกําหนดเวลาออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย
1.3 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
1.4 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ก ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 มีนาคมของปีถัดไป
1.5 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.2 ก ภ.ง.ด.3 ก ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ของปีถัดไป
1.6 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
(1) ภ.พ.30 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
(2) ภ.พ.36 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ (กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร) ของเดือนที่ขายทอดตลาด (กรณีผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือของเดือนที่ครบกําหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร) ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการของเดือนที่ขายทอดตลาด หรือของเดือนที่ครบกําหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แล้วแต่กรณี
1.7 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ภ.ธ.40 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
1.8 แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 158 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีที่จะได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ 1 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติและฉบับเพิ่มเติมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติในรูปแบบของกระดาษ แม้ต่อมาจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งในรูปแบบของกระดาษ จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเช่นกัน และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้รับสิทธิผ่อนชําระ 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้
- งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
- งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง
- งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง
หากไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่พ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปนั้นจนถึงวันชําระ
ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,298 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 4) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ฉบับที่ 4)
-----------------------------------------------
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อบรรเทาและเยียวยาผู้ประกอบการที่ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีได้ตามกําหนดเวลาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และส่งเสริมการคงระยะห่างทางสังคม โดยการสนับสนุนให้ประชาชนทําธุรกรรมที่บ้าน TAX from Home รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่ง และการชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ออกไปตามความจําเป็นแก่กรณีให้แก่ผู้ประกอบการ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564
ข้อ 3 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564
ข้อ 4 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ข้อ 5 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ข้อ 6 แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษี มีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.54
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36
ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,299 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 5) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ฉบับที่ 5)
---------------------------------------------------
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีความรุนแรงและกระจายครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าวและส่งเสริมการคงระยะห่างทางสังคม โดยการสนับสนุนให้ประชาชนทําธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน TAX from Home รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่ง หรือการชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ออกไปตามความจําเป็นแก่กรณีให้แก่ผู้ประกอบการ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 จากภายในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ข้อ 3 แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษี มีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.54
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36
ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,300 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 6) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 6)
-------------------------------------------------------------------------
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่ในการรับชําระภาษีหรือเงินอื่นใดที่บุคคลต้องชําระ พิจารณาขยายระยะเวลาการชําระภาษีหรือเงินอื่นใดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่ง หรือการชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีการยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 และตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สําหรับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 และตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สําหรับเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 และตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สําหรับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 4 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 และตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการ การนําส่งภาษี และการชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สําหรับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ซึ่งจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 หรือภายในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลา มีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.54
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36
(3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ.40
ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,301 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2564 | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2564
----------------------------------------------------------------------------
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่ในการรับชําระภาษีหรือเงินอื่นใดที่บุคคลต้องชําระ พิจารณาขยายระยะเวลาการชําระภาษีหรือเงินอื่นใดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีการยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94 สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2564 สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ภายในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ กรณีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 และได้รับสิทธิผ่อนชําระเป็น 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้
(1) งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นรายการภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
(2) งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง
(3) งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง
การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง หากไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการ ที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปตามประกาศนี้จนถึงวันชําระ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,302 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การชำระภาษี การนำส่งภาษี หรือการยื่นรายการ บัญชีหรือรายงานประมวลรัษฎากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี การชําระภาษี
การนําส่งภาษี หรือการยื่นรายการ บัญชีหรือรายงานประมวลรัษฎากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
-------------------------------------------------
ด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี การนําส่งภาษี หรือการยื่นรายการ บัญชีหรือรายงานตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องดําเนินการภายในกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับภาษีแต่ละประเภทหรือตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากอาจมีเหตุขัดข้องหรือผิดพลาดของระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ทําให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี การนําส่งภาษี หรือการยื่นรายการ บัญชีหรือรายงานตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นเกินกําหนดเวลา โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการหรือชําระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ออกไปอีกเจ็ดวันทําการนับแต่วันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดหรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“รายการ” หมายความว่า แบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนําส่งภาษีหรือรายการ บัญชีหรือรายงาน ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 67 มาตรา 67 ทวิ มาตรา 68 มาตรา 69 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร
“ชําระภาษี” หมายความว่า การชําระภาษี การนําส่งภาษีและการยื่นขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 67 มาตรา 67 ทวิ มาตรา 69 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 มาตรา 91/10 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
“ผู้เสียภาษี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการหรือชําระภาษี หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนของผู้มีหน้าที่ยื่นรายการหรือชําระภาษี ในการยื่นรายการหรือชําระภาษี
“หน่วยรับชําระภาษี” หมายความว่า ธนาคารหรือหน่วยงานอื่นที่ได้ทําข้อตกลงกับกรมสรรพากรว่า จะโอนเงินค่าภาษีที่ได้รับจากผู้เสียภาษีเข้าบัญชีเงินฝากของกรมสรรพากร
ข้อ ๒ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการหรือชําระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หากมีเหตุการณ์ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(1) กรณีผู้เสียภาษียื่นรายการภายในกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดหรือตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งโอนเงินเพื่อชําระภาษีแต่ระบบการโอนเงินของหน่วยรับชําระภาษีขัดข้องโดยผู้เสียภาษีเข้าใจว่า ได้โอนเงินชําระภาษีแล้ว
(2) กรณีผู้เสียภาษียื่นรายการภายในกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดหรือตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่การสั่งโอนเงินเพื่อชําระภาษีสําเร็จเมื่อพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เนื่องจากหน่วยรับชําระภาษีไม่ปิดระบบการโอนเงิน เป็นเหตุให้ผู้เสียภาษีเข้าใจว่า ได้ยื่นรายการหรือชําระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
(3) กรณีระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรขัดข้องในระหว่างที่ผู้เสียภาษียื่นรายการหรือชําระภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดหรือตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
(4) กรณีมีเหตุขัดข้องหรือผิดพลาดอื่นที่เกิดขึ้นจากระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทําให้ผู็เสียภาษีไม่สามารถยื่นรายการหรือชําระภาษีภายในกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนดหรือตามที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โดยมิใช่ความผิดของผู้เสียภาษี
ทั้งนี้ สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป โดยผู้เสียภาษีที่ประสงค์จะขอขยายกําหนดเวลาตามประกาศนี้ให้ยื่นคําร้องขอขยายกําหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือผ่านเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบการยื่นรายการหรือชําระภาษีของกรมสรรพากรหรือกรณีที่มีเหตุอันสมควร อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาให้การยื่นรายการหรือชําระภาษีที่มีเหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งให้ได้รับการขยายกําหนดเวลาตามประกาศนี้โดยไม่ต้องมีคําร้องก็ได้
ข้อ ๓ ให้การขยายกําหนดเวลาตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป เว้นแต่บรรดาคําร้องที่ได้ยื่นก่อนหรือในวันที่ที่ลงในประกาศนี้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,303 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ
(Country-by-Country Report)
--------------------------------------------
เพื่อให้การกําหนดหน้าที่แจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลเกี่ยวกับแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการแจ้งข้อความดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ตามมาตรา 17 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 408) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
(1) สําหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตามข้อ 2 (1) และตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวที่ต้องแจ้งข้อความพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ออกไปเป็นภายในสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
(2) สําหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทํากิจการในประเทศไทยตามข้อ 2 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวที่ต้องแจ้งข้อความพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ออกไปเป็นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความให้แจ้งข้อความจากเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,304 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2563 | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2563
-----------------------------------------------
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อบรรเทาและเยียวยาผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และส่งเสริมการคงระยะห่างทางสังคมโดยการสนับสนุนให้ประชาชนทําธุรกรรมภาษีที่บ้าน TAX from Home รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 56 และมาตรา 57 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ กรณีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 และได้รับสิทธิผ่อนชําระเป็น 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้
(1) งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นรายการภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
(2) งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง
(3) งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง
การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง หากไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปตามประกาศนี้จนถึงวันชําระ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,305 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
------------------------------------------------------
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลายื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามที่กฎหมายกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ออกไปเป็นภายใน 158 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ สําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ 1 จะต้องยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีฉบับปกติและฉบับเพิ่มเติมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากเป็นการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีฉบับปกติ ในรูปแบบของกระดาษ แม้ต่อมาจะได้ยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวอีกครั้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะไม่ได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ 1 หรือหากเป็นการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีฉบับปกติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้ยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวอีกครั้งในรูปแบบของกระดาษ จะไม่ได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ 1 เช่นกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
(นายอุตตม สาวนายน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,306 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
(ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------
ด้วยมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นในลักษณะของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะมีอยู่ตลอดรอบระยะเวลาบัญชีหรือมีธุรกรรมระหว่างกันในรอบระยะเวลาบัญชีหรือไม่ จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับรายการภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้นได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นรายงานข้อมูลดังกล่าวซึ่งทาให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่สามารถที่จะจัดประชุมผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นปกติและไม่สามารถรวบรวมข้อมูลผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการจัดทําแบบรายงานนั้นสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีวันครบกําหนดการยื่นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ให้ยังคงได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาการยื่นรายงานข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีก 8 วัน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,307 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการ การนำส่งหรือการชำระภาษีอากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลการนำส่งหรือการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลการนําส่งหรือการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ
และการเสียอากรแสตมป์
------------------------------------------------------
เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษี ให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล นําส่งหรือชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ และเสียอากรแสตมป์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรออกไปตามความจําเป็นแก่กรณีให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องปิดสถานประกอบการตามคําสั่งของทางราชการ หรือผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่ที่ทางราชการมีคําสั่งให้ปิดพื้นที่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีสําหรับเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๒ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีสําหรับเดือนเมษายน 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๓ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและชําระภาษีสําหรับเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๔ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและชําระภาษีสําหรับเดือนเมษายน 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๕ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นชําระตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๖ กรณีที่ผู้ประกอบการมีสํานักงานหลายแห่ง ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่ง หรือเสียภาษีเฉพาะสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขา ซึ่งต้องปิดสถานประกอบการตามคําสั่งของทางราชการ หรือที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่ที่ทางราชการมีคําสั่งให้ปิดพื้นที่ เท่านั้น
ข้อ ๗ แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลาการยื่นรายกาและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษี มีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด. 53 ภ.ง.ด. 54
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 30 และ ภ.พ. 36
(3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ. 40
(4) อากรแสตมป์ ตามแบบ อ.ส. 4 อ.ส. 4ก และ อ.ส. 4ข
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
(นายอุตตม สาวนายน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,308 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการ การนำส่งหรือการชำระภาษีอากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลการนำส่งหรือการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากร ให้แก่
ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล
การนําส่งหรือการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 2)
------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล การนําส่งหรือการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งต้องปิดสถานประกอบการตามคําสั่งของทางราชการ หรือผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่ที่ทางราชการมีคําสั่งให้ปิดพื้นที่ไปแล้ว นั้น
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นต่อผู้ประกอบการโดยรวมทั้งทางตรงและทางอ้อม และรัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนออกนอกบ้านเฉพาะที่จําเป็นและให้ผู้ประกอบการพิจารณาให้ลูกจ้างทํางานที่บ้านตามคําจํากัดความที่ว่า “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการ การนําส่งหรือการชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรออกไปตามความจําเป็นแก่กรณีให้แก่ผู้ประกอบการเป็นการทั่วไป ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีสําหรับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและการนําส่งภาษีตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 52 มาตรา 59 มาตรา 65 จัตวา มาตรา 69 ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70 ทวิ มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีสําหรับเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 3 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและชําระภาษีสําหรับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 4 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นรายการและชําระภาษีสําหรับเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 หรือที่ได้รับการขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 5 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่ต้องยื่นชําระตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 6 แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษีมีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด. 53 ภ.ง.ด. 54
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 30 และ ภ.พ. 36
(3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ. 40
(4) อากรแสตมป์ตามแบบ อ.ส. 4 อ.ส. 4ก และ อ.ส. 4ข
ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
(นายอุตตม สาวนายน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,309 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2562 | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562
------------------------------------------------
เพื่อช่วยเหลือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อาจส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 56 และมาตรา 57 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือภายในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณีออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ข้อ 2 กรณีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 และได้รับสิทธิผ่อนชําระเป็น 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้
(1) งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นรายการภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
(2) งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง
(3) งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง
การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง หากไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปตามประกาศนี้จนถึงวันชําระ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
(นายอุตตม สาวนายน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,310 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการเเละชําระภาษีให้เเก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อบรรเทาและเยียวยาผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ข้อ 2 ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 56 และมาตรา 57 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ตามแบบ ภ.ง.ด.60 แบบ ภ.ง.ด.91 และแบบ ภ.ง.ด.95 สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือภายในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563 สําหรับการยื่นรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 3 กรณีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 และได้รับสิทธิผ่อนชําระเป็น 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้
(1) งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นรายการภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
(2) งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง
(3) งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง
การชําระภาษีตามวรรคหนึ่ง หายไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นรายการที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปตามประกาศนี้จนถึงวันชําระ
ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
(นายอุตตม สาวนายน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2,311 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.