title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 17/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 17/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ โฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ่ประกอบกับข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,001
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 18/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 18/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณา กิจการของบริษัทหลักทรัพย์ ---------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการโฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ในการโฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจหรือบริการ โดยอนุโลม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,002
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 28/2556 เรื่อง การขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 28/2556 เรื่อง การขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้รับรอง ความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่ข้อ 149(1) ของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 กําหนดให้บุคคลที่ทําหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต้องได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อจากสํานักงาน ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้รับรองมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สํานักงานจึงกําหนดแนวทางการพิจารณาและการดําเนินการไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล “ผู้รับรองมูลค่า” หมายความว่า บุคคลที่ทําการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่า (1) ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ทุกราย (2) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่สํานักงานเห็นว่ามีความพร้อมในด้านระบบงานดังต่อไปนี้ (ก) ระบบในการควบคุมดูแลการกําหนดมูลค่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนเพื่อให้เป็นไปตามหลักยุติธรรมและความสม่ําเสมอ (fairness and consistency)ตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด และ (ข) ระบบในการตรวจสอบและการรับรองความถูกต้องของการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๓ ผู้รับฝากทรัพย์สินรายใดที่ประสงค์จะให้สํานักงานขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นผู้รับรองมูลค่า ให้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๔ ผู้รับรองมูลค่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามข้อ 2(1) หากถูกเพิกถอนหรือขอถอนออกจากทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้การขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่าเป็นอันสิ้นสุดลงทันทีในวันที่ถูกเพิกถอนหรือขอถอนออกจากทะเบียนรายชื่อนั้น ข้อ ๕ ผู้รับรองมูลค่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยมีคุณสมบัติตามข้อ 2(2) ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้ระบบงานเป็นไปตามข้อ 2(2) (2) ในกรณีที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระบบงานให้แตกต่างจากที่สํานักงานได้เคยพิจารณาไว้อย่างมีนัยสําคัญ ผู้รับรองมูลค่าต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้งให้ผู้รับรองมูลค่าดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้ ข้อ ๖ ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่าต้องปฏิบัติงานการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบให้มีการกําหนดมูลค่าทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นไปตามหลักยุติธรรมและความสม่ําเสมอ (fairness and consistency) ตลอดจนการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด (2) รับรองข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของวันคํานวณจํานวนหน่วยและของวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับรองแล้วให้แก่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลภายในสองวันทําการนับแต่วันคํานวณจํานวนหน่วย หรือวันสุดท้ายของเดือน แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้รับรองมูลค่าอาจขอผ่อนผันระยะเวลาการจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานได้ (3) ในกรณีที่ผู้รับรองมูลค่ามีการมอบหมายให้แก่ผู้รับรองมูลค่ารายอื่นปฏิบัติงานการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแทนตนเอง ผู้รับรองมูลค่าต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตาม (1) และ (2) ด้วย ในกรณีที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้ผู้รับรองมูลค่าดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) ของแต่ละนโยบายการลงทุนแทน ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 5 หรือข้อ 6 สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับรองมูลค่าตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (2) เพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่า ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาสําหรับการยื่นหนังสือขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่าในครั้งต่อไปได้ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมูลค่าตามประกาศนี้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,003
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 33/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบหนังสือชี้ชวนเสนอขาย หน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2546 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ------------------------------------ (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,004
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 34/2556 เรื่อง การจัดระบบงานในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2556 เรื่อง การจัดระบบงานในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ . อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 และข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 6 ข้อ 8 วรรคหนึ่งและข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สมาคมบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (proprietary trading) จัดให้มีระบบบริหารจัดการและระบบบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์กําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและจัดเก็บเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งรวมถึงรายงานการปฏิบัติงานภายในของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว ไว้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ได้ทําการลงทุน โดยการจัดเก็บเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าวต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,005
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 44/2556 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.44 /2556 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการประกอบธุรกิจและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนในการประชุมครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีมติอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวประกอบธุรกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ และมีมติอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวสามารถให้บริการงานสนับสนุนเพิ่มเติมได้ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข “อันดับที่สามารถลงทุนได้” (investment grade) หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือ ที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์อาจประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการให้คําปรึกษา หรือให้บริการงานสนับสนุนแก่บริษัทอื่นได้ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาต และได้จัดให้มีมาตรการควบคุมความเสี่ยงและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์อาจประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่เป็นคู่สัญญาต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทย (2) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบัน การทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 (3) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามที่กําหนดในข้อ 5 และการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 ข้อ ๔ ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับผู้ลงทุนสถาบันในหลักทรัพย์ประเภทหุ้น บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดเงื่อนไขในข้อสัญญาเพื่อห้ามนําหุ้นที่ได้มาจากการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืนไปขายต่อ เว้นแต่เป็นการขายต่อในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการขายต่อตามสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอื่น (2) เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนดังกล่าว ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการโอนหรือเรียกให้โอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายรวมถึงระบบการบริหารจัดการเพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืน ให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา (2) จัดให้มีระบบการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพคล่องและผลกระทบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจในภาพรวม (3) จัดให้มีการประมวลผลและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงระดับความเสี่ยงในการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (4) จัดให้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอย่างสม่ําเสมอ ข้อ ๖ ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําสัญญาเป็นหนังสือซึ่งกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนในหลักทรัพย์เฉพาะประเภทตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ หรือหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (2) กําหนดระยะเวลาการรับชําระหนี้ตามสัญญาต้องไม่เกินหนึ่งปี (3) กรณีเป็นการทําสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ ต้องกําหนดหน้าที่เกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ให้แก่ผู้ซื้อ (ข) ต้องจัดให้มีการดํารงอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้อยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อย (ค) ต้องจัดให้มีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ทําหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ติดตามการเปลี่ยนแปลงมูลค่ตามราคาตลาดของหลักทรัพย์รวมทั้งเรียกหรือคืนเงินสดหรือหลักทรัพย์จากคู่สัญญา เพื่อรักษา อัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้เป็นไปตามที่กําหนด ตลอดจนดูแลการส่งมอบผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์นั้นให้แก่คู่สัญญา (4) กําหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญา ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าหุ้นกู้ที่ทําการซื้อขายตามวรรคหนึ่ง (1) นั้น ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจนอยู่ในอันดับที่ไม่สามารถลงทุนได้ สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือเป็นสัญญามาตรฐานที่สํานักงานยอมรับ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้งมติคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,006
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 45/2556 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.45 /2556 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการประกอบธุรกิจและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนในการประชุมครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีมติอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข “อันดับที่สามารถลงทุนได้” (investment grade) หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์อาจประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่เป็นคู่สัญญาต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทย (2) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบัน การทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 (3) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้ดําเนินการได้เฉพาะบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามที่กําหนดในข้อ 4 และการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับผู้ลงทุนสถาบันในหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ต้องกําหนดเงื่อนไขในข้อสัญญาเพื่อห้ามนําหุ้นที่ได้มาจากการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืนไปขายต่อ เว้นแต่เป็นการขายต่อในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการขายต่อตามสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอื่น (2) เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนดังกล่าว ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการโอนหรือเรียกให้โอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายรวมถึงระบบการบริหารจัดการเพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืน ให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา (2) จัดให้มีระบบการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพคล่องและผลกระทบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจในภาพรวม (3) จัดให้มีการประมวลผลและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงระดับความเสี่ยงในการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (4) จัดให้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอย่างสม่ําเสมอ ข้อ ๕ ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําสัญญาเป็นหนังสือซึ่งกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนในหลักทรัพย์เฉพาะประเภทตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ หรือหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (2) กําหนดระยะเวลาการรับชําระหนี้ตามสัญญาต้องไม่เกินหนึ่งปี (3) กรณีเป็นการทําสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ ต้องกําหนดหน้าที่เกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ให้แก่ผู้ซื้อ (ข) ต้องจัดให้มีการดํารงอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้อยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อย (ค) ต้องจัดให้มีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ทําหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ติดตามการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์รวมทั้งเรียกหรือคืนเงินสดหรือหลักทรัพย์จากคู่สัญญา เพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้เป็นไปตามที่กําหนด ตลอดจนดูแลการส่งมอบผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์นั้นให้แก่คู่สัญญา (4) กําหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญา ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าหุ้นกู้ที่ทําการซื้อขายตามวรรคหนึ่ง (1) นั้น ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจนอยู่ในอันดับที่ไม่สามารถลงทุนได้สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือเป็นสัญญามาตรฐานที่สํานักงานยอมรับ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้งมติคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,007
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สอ. 47/2556 เรื่อง การนำเงินสะสมและเงินสมทบสำหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภท
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 47/2556 เรื่อง การนําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละราย ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปลงทุนหรือมีไว้ ซึ่งทรัพย์สินบางประเภท เพื่อให้มีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนในการนําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทที่มีความเสี่ยงมากกว่าทรัพย์สินประเภทอื่น ตามข้อ 75/1 และข้อ 75/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานจึงวางแนวทางเพื่อเป็นหลักปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ทรัพย์สินบางประเภท” หมายความว่า (1) หน่วยลงทุน (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า “หน่วยลงทุน” หมายความว่า (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมทองคํา ที่มีลักษณะตามส่วนที่ 4 ของหมวด 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หรือ (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ ที่มีลักษณะตามส่วนที่ 5 ของหมวด 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 75/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการถือหลักปฏิบัติตามประกาศนี้ได้อย่างครบถ้วนแล้ว บริษัทจัดการจะไม่นําทรัพย์สินบางประเภทที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ ไปรวมคํานวณเป็นทรัพย์สินที่บริษัทจัดการต้องพิจารณาเป็นอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 75/1 หรือข้อ 75/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 แล้วแต่กรณี ก็ได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้เป็นหลักปฏิบัติสําหรับบริษัทจัดการที่จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนและกําหนดสัดส่วนการนําเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามนโยบายลงทุนที่สมาชิกกําหนดได้ (2) ข้อบังคับหรือหนังสือแสดงเจตนาของสมาชิกมีการระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสัดส่วนการนําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทได้ไม่เกินอัตราที่ระบุในข้อ 4 และ (3) ข้อบังคับหรือหนังสือแสดงเจตนาของสมาชิกที่ระบุอย่างชัดเจนว่า หากการนําเงินสะสมหรือเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทจะทําให้เกินกว่าอัตราที่ข้อบังคับหรือหนังสือแสดงเจตนาตาม (2) ระบุไว้ บริษัทจัดการจะนําเงินดังกล่าวไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามนโยบายการลงทุนอื่น ทั้งนี้ ตามที่ข้อบังคับหรือหนังสือแสดงเจตนาระบุ ข้อ ๔ อัตราการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทของสมาชิกแต่ละรายที่บริษัทจัดการจะถือปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุน รวมกันไม่เกินกว่าร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก (2) ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมกันไม่เกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก “มูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า มูลค่าของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ ของสมาชิกแต่ละราย ข้อ ๕ ในการคํานวณอัตราการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทตามข้อ 4 ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ประกอบกับแนวทางที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าสมาชิกรายใดมีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทเกินกว่าอัตราที่ระบุในข้อ 4 เพราะเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานจะยังคงพิจารณาว่าบริษัทจัดการได้ถือหลักปฏิบัติตามประกาศนี้ได้อย่างครบถ้วนแล้ว แต่ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องไม่นําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกรายนั้นไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทเพิ่มเติมจนกว่าการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทจะไม่เกินกว่าอัตราที่ระบุในข้อ 4 (1) สมาชิกมีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทเกินกว่าอัตราที่ระบุอยู่ก่อนวันที่ลงนามในประกาศนี้ (2) สมาชิกมีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทโดยชอบแล้ว แต่ต่อมาภายหลังมูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิกที่ลงทุนในทรัพย์สินบางประเภทนั้นเกินกว่าอัตราที่ระบุโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่มเติม ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการรับโอนทรัพย์สินที่เป็นส่วนได้เสียทั้งหมดของสมาชิกทุกรายของนายจ้างรายใดรายหนึ่งจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่น และปรากฏว่าสมาชิกบางรายมีอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินบางประเภทเกินกว่าอัตราที่ระบุที่ในข้อ 4 ก่อนการรับโอนทรัพย์สินนั้น สํานักงานจะยังคงพิจารณาว่าบริษัทจัดการได้ถือหลักปฏิบัติตามประกาศนี้ได้อย่างครบถ้วนแล้ว แต่ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องไม่นําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกรายนั้นไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทเพิ่มเติมจนกว่าการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินบางประเภทจะไม่เกินกว่าอัตราที่ระบุในข้อ 4 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,008
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 7/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดให้มีกรรมการอิสระของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.7 /2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดให้มีกรรมการอิสระ ของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อ 12(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9 /2557 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในเรื่องการจัดให้มีกรรมการอิสระตามข้อ 12(2) ของประกาศดังกล่าวให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกรรมการอิสระที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน อย่างน้อยหนึ่งในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมดของบริษัท ในการแต่งตั้งกรรมการอิสระตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้หยุดการประกอบธุรกิจทุกประเภท ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจัดให้มีกรรมการอิสระให้เป็นไปตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๔ ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง ที่ได้จัดให้มีกรรมการอิสระอยู่แล้วตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้จัดให้มีกรรมการอิสระตามประกาศนี้แล้ว แต่ทั้งนี้ กรรมการอิสระของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่กรรมการอิสระตาย ลาออก หรือพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีกรรมการอิสระรายใหม่เพื่อทําหน้าที่แทนกรรมการอิสระรายนั้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,009
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดการกองทุนผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดการกองทุน ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และผู้จัดการ ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 82(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,010
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 13/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนและข้อกำหนดกรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 13 /2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน และข้อกําหนดกรณีผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน มาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 19 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4 /2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (3) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย “กองทุนรวม” หมายความว่า (1) กองทุนรวมที่จัดตั้งและจัดการตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หมวด ๑ สินทรัพย์ที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุน ส่วน ๑ สินทรัพย์สภาพคล่อง ข้อ ๓ สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถใช้ในการดํารงเงินกองทุน ได้แก่ สินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้ (1) เงินสด (2) เงินฝากหรือบัตรเงินฝากของสถาบันการเงินที่สามารถขอไถ่ถอนได้โดยไม่มีข้อจํากัดเรื่องกําหนดเวลาการไถ่ถอน (3) ตราสารหนี้ภาครัฐไทยดังต่อไปนี้ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล (ค) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ง) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน ในกรณีตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่งมีอายุคงเหลือเกินกว่าสิบปี ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุกสองสัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือ (turnover) ย้อนหลังสามเดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละหกจุดสองห้าของยอดคงค้าง ตามรายชื่อที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยประกาศล่าสุด (4) ตราสารหนี้ต่างประเทศที่เป็นประเภทและมีลักษณะทํานองเดียวกับตราสารหนี้ภาครัฐไทยตาม (3) ซึ่งมีรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือ ผู้ค้ําประกัน (5) ตราสารหนี้ประเภท ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร หุ้นกู้แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์และหุ้นกู้ที่ผู้ถือมีภาระผูกพัน ซึ่งมีรัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชนเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน ในกรณีตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่งมีอายุคงเหลือเกินกว่าสามเดือน ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุกสองสัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือ (turnover) ย้อนหลังสามเดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละหกจุดสองห้าของยอดคงค้าง ตามรายชื่อที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยประกาศล่าสุด (6) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่อในการคํานวณดัชนี SET100 (7) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไว้ไม่เกินเก้าสิบวัน และมีนโยบายการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ก) มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องตาม (1) ถึง (7) ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องตาม (2) (4) และ (5) สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 ด้วย (ข) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (ก) ในกรณีที่ระยะเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (8) เกินกว่าหกสิบวัน ให้ใช้มูลค่าของหน่วยลงทุนในการคํานวณการดํารงเงินกองทุนได้เพียงกึ่งหนึ่งของมูลค่าของหน่วยลงทุน ข้อ ๔ การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 3 ต้องไม่มีลักษณะเป็นการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อ หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างของราคา ข้อ ๕ สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 3(3) (4) และ (5) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) เป็นตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (2) มีการจ่ายผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (3) ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตราสารหนี้ ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 3(2) (4) และ (5) ต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวไม่มีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร ให้พิจารณาเลือกใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้แทน โดยให้เลือกใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทนั้น ๆ ได้ (1) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหรือสถาบันการเงินผู้รับเงินฝาก ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหรือสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support rating) ด้วย (2) อันดับความน่าเชื่อของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ของตราสาร ผลการจัดอันดับตามวรรคหนึ่งต้องมีผลการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้และได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วน ๒ กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ ๗ กรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถใช้ในการดํารงเงินกองทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ (professional indemnity insurance) ที่ครอบคลุมความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้กระทําไปในนามของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยได้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องดํารงเงินกองทุนตามอัตราหรือมูลค่าสูงสุดที่เกิดจากวิธีการคํานวณจากรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนได้เฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือมูลค่าที่เกิดจากวิธีการคํานวณจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเท่านั้น (3) ให้คํานวณมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนได้เพียงกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัย เว้นแต่ในกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยครอบคลุมความเสียหายนับแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ ให้คํานวณมูลค่าของกรมธรรม์ประกันภัยได้เต็มจํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัย หมวด ๒ การคํานวณและรายงานการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณอัตราหรือมูลค่าของเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามประกาศการดํารงเงินกองทุนปีละสองครั้ง โดยให้คํานวณทุกวันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวในวันทําการสุดท้ายของแต่ละไตรมาส เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ดังกล่าวใหม่ตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ในวันทําการที่เกิดเหตุการณ์นั้น (2) เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอน หรือไถ่ถอนสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ในวันทําการนั้น (3) เมื่อมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทหุ้น ให้คํานวณมูลค่าทรัพย์สินที่ใช้ดํารงเป็นเงินกองทุนทุกสิ้นวันทําการ (4) เมื่อมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนในหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ให้คํานวณมูลค่าทรัพย์สินที่ใช้ดํารงเป็นเงินกองทุนทุกสิ้นวันทําการที่มีการเปิดเผยมูลค่าของหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อสํานักงาน ตามแบบ ท.ป. 4 แบบ ท.ป. 5 หรือแบบ ท.ป. 6 และคําอธิบายประกอบการรายงาน แล้วแต่กรณี ที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) กรณีการดํารงเงินกองทุนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนของแต่ละปี ให้ยื่นรายงานภายในวันที่ 7 กรกฎาคมของปีนั้น (2) กรณีการดํารงเงินกองทุนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี ให้ยื่นรายงานภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและจัดเก็บเอกสารการดํารงเงินกองทุนไว้ ณ ที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่พร้อมเรียกดูหรือจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ หมวด ๓ ข้อกําหนดกรณีผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ ๑๒ ในหมวดนี้ “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุนปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน พร้อมด้วยสาเหตุ โดยยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงานภายในสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถแก้ไขเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศการดํารงเงินกองทุนได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ (3) ดําเนินการตามแนวทางการแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสํานักงานตาม (2) เพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่ประกาศการดํารงเงินกองทุนกําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร (4) มีหนังสือแจ้งผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสองวันทําการนับแต่วันที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามแผนหรือแนวทางการแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสํานักงานตาม (2) ข้อ ๑๔ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุนหรืออยู่ในระหว่างดําเนินการตามข้อ 13(3) ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (1) ให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (2) ขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิมของผู้ประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนหรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) กระทําการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดําเนินงาน หรือการปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตามข้อ 13(3) หรือมีเงินกองทุนเป็นศูนย์ติดต่อกันเกินกว่าห้าวันทําการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ (2) กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง ให้ปฏิบัติดังนี้ (ก) ดําเนินการให้ลูกค้าแต่ละรายเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโดยตรง (ข) โอนบัญชีการซื้อขายหน่วยลงทุนของลูกค้าแต่ละรายไปยังบริษัทหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นผู้ให้บริการแทน ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ 1. บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ๆ 2. บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่สามารถให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนได้ (ค) ดําเนินการตาม (ก) และ (ข) ให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตามข้อ 13(3) หรือนับแต่วันที่มีเงินกองทุนเป็นศูนย์ติดต่อกันเกินกว่าห้าวันทําการ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น (3) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการระงับการประกอบธุรกิจตาม (1) หรือการดําเนินการตาม (2) โดยไม่ชักช้า (4) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,011
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 20/2557 เรื่อง แบบคำขอในการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2557 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็น เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และการยื่นเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2557 เรื่อง การเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ยื่นเอกสารหรือหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน (1) คําขออนุญาตตามแบบ 35-2-1 (BASEL III) ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหรือ หลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบดังกล่าว จํานวน 2 ชุด และชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขออนุญาต (2) ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารตามแบบ 35-2-2 (BASEL III) ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๒ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกตราสารด้อยสิทธิ เพื่อนับเป็นเงินกองทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตส่งเอกสารหรือหลักฐานตามวิธีการที่จัดไว้ ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,012
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 27/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 27/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําที่เป็นการขัดแย้งกับ ประโยชน์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ ในกองทรัสต์ ข้อ ๒ การเปิดเผยข้อมูลในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือผู้ลงทุน ก่อนการเข้าทําธุรกรรมที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์ (1) เป็นการเปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อบังคับของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หรือช่องทางอื่นใดที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถเข้าถึงข้อมูลการจะเข้าทําธุรกรรมได้อย่างทั่วถึง (2) มีระยะเวลาในการเปิดเผยข้อมูลที่สมเหตุสมผล ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน (3) มีการเปิดเผยช่องทาง วิธีการ และระยะเวลาในการแสดงการคัดค้านที่ชัดเจน โดยระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน เว้นแต่ในกรณีที่มีการขอมติผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อเข้า ทําธุรกรรมดังกล่าว ให้การคัดค้านกระทําในการขอมติผู้ถือหน่วยทรัสต์นั้น ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์แสดงการคัดค้านอย่างชัดเจนตามวิธีการที่มีการเปิดเผยตามข้อ 2(3) ในจํานวนเกินกว่าหนึ่งในสี่ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทรัสตีจะกระทําหรือยินยอมให้มีการทําธุรกรรมที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์ไม่ได้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,013
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 28/2557 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2557 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและ ร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ “ผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ที่สนใจจะลงทุนในหน่วยทรัสต์ “ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ “การโฆษณาผ่านสื่อ” หมายความว่า การโฆษณาการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทางหนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสื่อสารออนไลน์ “การสื่อสารออนไลน์” หมายความว่า การสื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีสายหรือไร้สาย เช่น สายโทรศัพท์ หรือดาวเทียม เป็นต้น ข้อ ๓ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ให้กระทําได้หลังจากสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนแล้ว โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในประกาศนี้ ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) หยุดการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (2) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ (3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ทําให้สําคัญผิด (4) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด ข้อ ๕ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้กระทําได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน (2) การแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 9 (3) การจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8 และข้อ 9 (4) การโฆษณาผ่านสื่อ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 10 ข้อ ๖ การแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนโดยตรง ให้กระทําได้ในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดดังต่อไปนี้ (1) ร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ซึ่งมีข้อมูลอย่างเดียวกับที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน และมีข้อความดังต่อไปนี้อยู่บนปกหน้าด้านนอกของเอกสาร (ก) คําว่า “ร่างหนังสือชี้ชวน” เป็นตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ข) ข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” มีขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ค) วันที่นําข้อมูลนี้ออกเผยแพร่ (ง) ข้อความดังนี้ “เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่หนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหน่วยทรัสต์แต่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีระยะเวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทรัสต์ดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไม่แตกต่างจากข้อมูลที่ปรากฏในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ดังนั้น ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้จึงอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ การเสนอขายหน่วยทรัสต์จะกระทําได้ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ และได้จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนแล้ว” (2) ร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ซึ่งต้องมีข้อมูลอย่างเดียวกับร่างหนังสือชี้ชวนตาม (1) และมีข้อความตาม (1) (ก) ถึง (ง) อยู่ในหน้าแรกของข้อความในแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) (3) ข้อมูลที่มีสาระตรงตามสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยทรัสต์ (fact sheet) ที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์เลือกแจกจ่ายข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) แก่ผู้ลงทุน ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องแจกจ่ายร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ผู้ลงทุนด้วยหากผู้ลงทุนร้องขอ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารที่มีลักษณะตามข้อ 6 การแจกจ่ายเอกสารอื่นใดดังกล่าวต้องกระทําควบคู่ไปกับการแจกจ่ายเอกสารตามข้อ 6 ด้วย และสาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในเอกสารอื่นใดนั้น ต้องไมนอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ข้อ ๘ การจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้เข้าประชุม โดยข้อมูลที่แจกจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 7 โดยอนุโลม (2) ในกรณีที่มีการเชิญผู้ลงทุนเข้าร่วมประชุมดังกล่าวตั้งแต่สิบรายขึ้นไป ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์แจ้งกําหนดวันที่จะจัดให้มีการประชุมต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันทําการ และผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยินยอมให้บุคคลที่สํานักงานมอบหมายเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าวด้วย ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานภายหลังจากการแจกจ่ายข้อมูลตามข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ส่งข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวไปแล้วด้วย เว้นแต่ข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย หรือการจอง การจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย ข้อ ๑๐ การโฆษณาผ่านสื่อต้องมีข้อความที่เป็นคําเตือนดังนี้ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจลงทุน” แสดงในโฆษณาอย่างชัดเจนด้วย ในการแสดงข้อความตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) หากเป็นการโฆษณาผ่านสื่อที่ใช้ข้อความหรือภาพ ตัวอักษรของคําเตือนต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการโฆษณา และในกรณีที่โฆษณาดังกล่าวมิใช่ข้อความหรือภาพนิ่ง ต้องจัดให้มีการแสดงคําเตือน (display) ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบวินาที (2) หากเป็นการโฆษณาผ่านสื่อที่มีเฉพาะการใช้เสียง ต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงคําเตือน โดยมีระดับเสียงและความเร็วไม่แตกต่างจากการอ่านออกเสียงถ้อยคําทั่วไปที่ใช้ในการโฆษณานั้น ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,014
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 18/2558 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขาย หุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย หุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 4/2542 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุน ในต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตในวันที่ยื่นคําขอ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,015
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 53/2558 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 53/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขาย หุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย หุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,016
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 20/2558 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2558 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศต้องรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามแบบ และหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,017
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 22/2558 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสำหรับการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขาย ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2557 เรื่อง การเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2557 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ดําเนินการดังต่อไปนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) การยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหรือหลักฐาน (2) การยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสาร (3) การรายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกตราสาร ข้อ ๓ ให้ธนาคารพาณิชย์ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 2(1) ในวันที่ยื่นคําขอ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,018
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 54/2558 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสำหรับการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขาย ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.16/2557 เรื่อง การเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ธนาคารพาณิชย์ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 2(1) ต่อสํานักงาน เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,019
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 26/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 26/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และเพื่อเป็นการกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบให้เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒ นอกจากที่ได้กําหนดไว้ในประกาศนี้ การดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยอนุโลม (1) การขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ (2) การสิ้นสุดของการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ (3) หลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ (4) อํานาจของสํานักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (1) (2) หรือ (3) ข้อ ๓ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ และมีบุคลากรอีกไม่น้อยกว่าสองราย ซึ่งมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) มีความรู้และประสบการณ์ด้านบริหารจัดการลงทุนหรือการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานรวมกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีภายในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ (ข) มีความรู้ความสามารถในการวัดมูลค่า (valuation) ของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างน่าเชื่อถือ (2) ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เป็นธุรกิจหลัก ต้องมีกรรมการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) มีกรรมการที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้อยสองคน โดยอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นกรรมการอิสระตาม (ข) (ข) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดของผู้ขอความเห็นชอบ โดยกรรมการอิสระดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม ข้อ ๔ ในการดูแลจัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนอย่างน้อยหนึ่งคณะ เพื่อทําหน้าที่ให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการจัดการทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์ลงทุน คณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้แทนจากผู้จัดการกองทรัสต์ โดยผู้แทนอย่างน้อยหนึ่งรายต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตาม (ก) และ (ข) ของข้อ 3(1) (2) ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีประสบการณ์ในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทโดยอนุโลม ข้อ ๕ ในการขอคําปรึกษาหรือคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้กรรมการที่ปรึกษาการลงทุนแจ้งการมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา (2) ห้ามมิให้กรรมการที่ปรึกษาการลงทุนผู้ที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น ข้อ ๖ ในการดูแลจัดการทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการหรือดูแลให้มีการดําเนินการตามกลไกที่ผู้จัดการกองทรัสต์ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อกํากับดูแลการลงทุนและตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของผลตอบแทน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงให้กลไกดังกล่าวมีความเหมาะสมอยู่เสมอ (2) จัดให้มีมาตรการเพื่อให้ผู้เช่า ผู้รับสิทธิ หรือผู้รับดําเนินการในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน รายงานข้อเท็จจริงพร้อมทั้งเหตุผลต่อผู้จัดการกองทรัสต์โดยไม่ชักช้า เมื่อมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อันอาจมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (3) ในกรณีที่พบความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานหรือผลตอบแทนที่กองทรัสต์ได้รับหรือพึงได้รับ ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องดังกล่าวโดยไม่ชักช้า ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 3 หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ให้บทบังคับกรณีดังกล่าวเป็นไปตามบทบังคับที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยอนุโลม ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,020
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 27/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 มาตรา 77 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12 /2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ ข้อ ๒ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน (3) การรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชน ข้อ ๓ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-IFT ท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันขออนุญาต ข้อ ๔ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ (1) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรกและยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ หรือสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่มีการจัดตั้งกองทรัสต์แล้ว (2) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรกและยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ หรือสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ในส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่มีการจัดตั้งกองทรัสต์แล้ว (ถ้ามี) (3) แบบแสดงรายการข้อมูล หรือเอกสารที่แสดงสาระสําคัญตามแบบแสดงรายการข้อมูล (4) รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุน ซึ่งจัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (5) เอกสารแสดงความเห็นของผู้ขออนุญาตและที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของรายงานการประเมินมูลค่าตาม (4) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือที่ปรึกษาทางการเงินมีการจัดทําประมาณการทางการเงินของกิจการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งแสดงการวิเคราะห์ในกรณีพื้นฐาน (base case) และการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) ให้ผู้ขออนุญาตหรือที่ปรึกษาทางการเงินอธิบายความแตกต่างระหว่างรายงานการประเมินมูลค่าตาม (4) กับประมาณการทางการเงินดังกล่าว (ถ้ามี) ด้วย (6) ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้กับกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (technological feasibility) เฉพาะในกรณีที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยใช้ในประเทศไทยมาก่อน หรือเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่จําเป็นต้องใช้ความชํานาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ โดยต้องระบุรายละเอียด ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีดังกล่าว ตลอดจนตัวอย่างของโครงการอื่นที่ใช้เทคโนโลยีนั้น (ถ้ามี) (7) เอกสารแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดําเนินกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) ข้อมูลที่แสดงว่ากิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าทําธุรกรรมกับกองทรัสต์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ (ข) ในกรณีที่กิจการโครงสร้างพื้นฐานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ให้ยื่นข้อมูลที่แสดงถึงการดําเนินการตามกฎหมายดังกล่าว พร้อมทั้งหนังสือรับรองจากกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าทําธุรกรรมกับกองทรัสต์ หรือจากหน่วยงานที่กํากับดูแลกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้น ซึ่งแสดงว่าได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นแล้ว (8) หนังสือรับรองจากทรัสตีหรือผู้ที่จะเข้าเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ยังมิได้จัดตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์นั้น (ข) กรณีที่กองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวรับรองว่ากระบวนการเพิ่มทุนของกองทรัสต์เป็นไปโดยชอบตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ตลอดจนเป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว (9) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (10) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๕ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ (1) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรกและยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ หรือสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่มีการจัดตั้งกองทรัสต์แล้ว (2) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรกและยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ หรือสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ในส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่มีการจัดตั้งกองทรัสต์แล้ว (ถ้ามี) (3) แบบแสดงรายการข้อมูล หรือเอกสารที่แสดงสาระสําคัญตามแบบแสดงรายการข้อมูล (4) รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุน ซึ่งจัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (5) หนังสือรับรองจากทรัสตีหรือผู้ที่จะเข้าเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ยังมิได้จัดตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์นั้น (ข) กรณีที่กองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวรับรองว่ากระบวนการเพิ่มทุนของกองทรัสต์เป็นไปโดยชอบตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ตลอดจนเป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว (6) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (7) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๖ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ โดยอนุโลม ข้อ ๗ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการ แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 7 ข้อ ๙ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์รายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายตามแบบ 81-IFT ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่สามารถยื่นรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นอาจขอผ่อนผันการยื่นรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งรายงานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,021
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 55/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 55/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-IFT ท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 4หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “(11) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “(8) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,022
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 28/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขาย ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ ๒ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน (3) การรายงานผลการขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศต่อประชาชน ข้อ ๓ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิ การฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารประกอบคําขออนุญาตต่อสํานักงานโดยให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขอในวันที่ยื่นคําขอดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน คําขออนุญาตเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยคําขอดังต่อไปนี้ (1) คําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) คําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ ๔ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ ๕ ให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศรายงาน ผลการขายต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้รายงานผล การขายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรับตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ ของสํานักงาน (2) กรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว หากผู้เสนอขายตราสารได้รายงานจํานวนตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จําหน่ายเพิ่มเติมในการขายครั้งนั้นตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือว่าผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศได้รายงานผลการขายต่อสํานักงานแล้ว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,023
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 56/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขาย ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารประกอบคําขออนุญาตต่อสํานักงานทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,024
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 31/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีระบบงานสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มี ระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2552 เรื่อง การจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,025
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 58/2558 เรื่อง การยื่นคำขอจัดตั้งสำนักงานผู้แทนของกิจการต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 58/2558 เรื่อง การยื่นคําขอจัดตั้งสํานักงานผู้แทนของกิจการต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กิจการต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ “สํานักงานผู้แทน” หมายความว่า สํานักงานติดต่อกับบุคลทั่วไปโดยบุคคลผู้กระทําการแทนกิจการ ข้อ ๒ กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะจัดตั้งสํานักงานผู้แทนต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน โดยมีรายการดังต่อไปนี้ (1) แบบหนังสือขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานผู้แทน (แบบ 93) ที่แนบท้ายประกาศนี้ (2) ชื่อและที่อยู่ของสํานักงานใหญ่ของกิจการต่างประเทศ (3) สําเนาหนังสือแสดงการจัดตั้งและลักษณะการประกอบธุรกิจของกิจการต่างประเทศ (4) งบการเงินประจําปีสําหรับระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมาของกิจการต่างประเทศ (5) หลักฐานการได้รับความเห็นชอบในการจัดตั้งสํานักงานผู้แทนจากหน่วยงาน กํากับดูแลกิจการต่างประเทศในกรณีที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานดังกล่าว หรือในกรณีที่กิจการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบ ให้ระบุกรณีดังกล่าวให้ชัดเจน (6) ขอบเขตการปฏิบัติงานของสํานักงานผู้แทน (7) ปริมาณธุรกรรมทางด้านธุรกิจหลักทรัพย์ (รวมทั้งของกิจการในเครือข่ายซึ่งถือหุ้นระหว่างกันโดยตรงตั้งแต่ร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียน) ที่ติดต่อผ่านบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยและปริมาณธุรกรรมของธุรกิจหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ในรอบสองปีที่ผ่านมา รวมถึงการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ (8) ชื่อและที่ตั้งของสํานักงานผู้แทน (9) ชื่อ ประวัติการทํางาน และคุณสมบัติของบุคคลที่จะกระทําการแทนกิจการต่างประเทศในประเทศไทย (10) ตําแหน่งและจํานวนพนักงานในสํานักงานผู้แทน ตลอดจนอํานาจหน้าที่ของพนักงานระดับบริหาร ข้อ ๓ สํานักงานจะพิจารณาคําขอจัดตั้งสํานักงานผู้แทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอจัดตั้งสํานักงานผู้แทน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,026
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 59/2558 เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 59/2558 เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 กําหนดให้บุคคลใดจะถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงกระบวนการและระยะเวลาในการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงาน ก.ล.ต. จึงกําหนดหลักเกณฑ์ในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ข้อ ๓ ในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้ (1) กรณีอื่นนอกจากที่กําหนดใน (2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในกําหนดเวลาดังนี้ (ก) กรณีที่การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบุคคลดังกล่าวจะเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจสัญญามีการเพิ่มทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นคําขอรับความเห็นชอบก่อนวันที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจะขายหุ้นเพิ่มทุนอันเป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นคําขอรับความเห็นชอบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญารู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่ามีบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่โดยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. (2) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นอยู่แล้วก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตรวจสอบลักษณะของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคล โดยให้ดําเนินการดังกล่าวภายในกําหนดเวลาที่กําหนดใน (1)(ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี หากบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ข้อ ๔ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามข้อ 3(1) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอรับความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาใดมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล ที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง หรือตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญานั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,027
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. ๒๗/๒๕๖๖ เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ๒)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๒๗/๒๕๖๖ เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ๒) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ กําหนดให้บุคคลใดจะถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระยะเวลาในการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบดังกล่าวของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น สํานักงาน ก.ล.ต. จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๕๙/๒๕๕๘ เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามข้อ ๓ (๑) ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอรับความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๒ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๕๙/๒๕๕๘ เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้ระยะเวลาการพิจารณาคําขอดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ ๔ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๕๙/๒๕๕๘ เรื่อง การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,028
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 60/2558 เรื่อง การขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 60/2558 เรื่อง การขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็น ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม โดยที่ข้อ 3(1) ของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544 กําหนดคุณสมบัติประการหนึ่งของผู้ดูแลผลประโยชน์ว่า ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงกระบวนการและระยะเวลาในการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานจึงกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาและการดําเนินการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมทองคํา” หมายความว่า กองทุนรวมทองคําที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์จากสํานักงาน “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต และจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนตั้งให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓ ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่ประสงค์จะขอให้สํานักงานขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของบุคคลดังกล่าว และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่เสื่อมลงอย่างมีนัยสําคัญในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันที่สํานักงานพิจารณาคุณสมบัติเพื่อการขึ้นทะเบียน รายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นคําขอจนถึงวันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่มีประวัติการกระทําความผิดตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของประเทศไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (3) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นคําขอจนถึงวันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่มีประวัติการดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ (4) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (ก) ระบบการแยกทรัพย์สินของกองทุนรวมออกจากทรัพย์สินของผู้ดูแลผลประโยชน์และระบบการดูแล รวมทั้งการเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดจนการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการนําทรัพย์สินของกองทุนรวมไปใช้โดยทุจริต (ข) ระบบการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมตลอดจนข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระบบการควบคุมการรับจ่ายทรัพย์สินของกองทุนรวม (ค) ระบบการตรวจสอบและตรวจนับทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อความถูกต้องครบถ้วน (ง) ระบบการจัดทําบัญชีทรัพย์สินเพื่อแสดงรายการและจํานวนทรัพย์สินของกองทุนรวม ตลอดจนการบันทึกรายการรับหรือจ่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม (จ) ระบบการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉ) ระบบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการเก็บรักษาความลับของกองทุนรวม (ช) ระบบในการควบคุมดูแลการกําหนดมูลค่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่กองทุนรวมลงทุนให้เป็นไปตามหลักความยุติธรรมและความสม่ําเสมอ (fairness and consistency) สําหรับทุกกองทุนรวมที่ตนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ซ) ระบบในการควบคุมดูแลการเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนและการยกเลิกจํานวน หน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมทั้งระบบในการตรวจสอบและการรับรองความถูกต้องของการคํานวณ และการประกาศมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม และตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานประกาศกําหนด (ฌ) ระบบในการควบคุมดูแลการลงทุนและอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวม และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานประกาศกําหนด (ญ) ระบบในการรับและดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ถือหน่วยลงทุน (ฎ) ในกรณีที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนประสงค์จะตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนเก็บรักษา ทรัพย์สิน ผู้ขอขึ้นทะเบียนดังกล่าวต้องแสดงได้ว่ามีระบบดังต่อไปนี้ 1. ระบบการพิจารณาคัดเลือกตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินมีระบบงานเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์สินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล 2. ระบบการติดต่อประสานงานกับตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินเพื่อให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนสามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 3. ระบบการดูแลให้ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ 4. บุคคลที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนจะตั้งให้เป็นตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ 4.1 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงาน 4.2 เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน 4.3 เป็นผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กองทุนรวมได้ลงทุนไว้ หรือเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ (ฏ) ในกรณีที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนประสงค์จะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทองคํา ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องแสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 1. ระบบงานเกี่ยวกับการเก็บรักษาทองคําแท่งที่ปลอดภัย โดยอย่างน้อยต้องมีการจัดสถานที่เก็บรักษาและระบบป้องกันภัยที่เพียงพอและเหมาะสม 2. ในกรณีที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนประสงค์จะตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินที่เป็นทองคําแท่ง ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องมีระบบงานในการพิจารณาคัดเลือกตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินที่เป็นทองคําแท่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าวมีระบบงานตาม 1. ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นบุคคลตาม (ฎ) 4. หรือบุคคลอื่นก็ได้ (5) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปในการประกอบวิชาชีพ กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต แล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นคําขอรับการขึ้นทะเบียนรายชื่อ ผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้จัดการสาขา และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศตามวรรคสามต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับบุคคลตามวรรคสอง ข้อ ๔ ในการขอให้สํานักงานพิจารณาคุณสมบัติเพื่อการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ 121-1 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ยื่นพร้อมด้วยสําเนาคําขอและสําเนาเอกสารหลักฐานประกอบคําขอจํานวนอย่างละสองชุด ข้อ ๕ สํานักงานจะพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอขึ้นทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนดําเนินการตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ โดยอนุโลม ข้อ ๗ ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนต้องไม่ยินยอมให้ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินตั้งตัวแทนช่วง เว้นแต่ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศและตัวแทนช่วงสามารถเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศดังกล่าว ข้อ ๘ ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนต้องดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 หากไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวได้ ให้ผู้นั้นแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลที่ทําให้ตน ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวได้ภายในวันทําการถัดจากวันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัตินั้น และเมื่อสามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวได้แล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันดังกล่าว ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการรับฝากทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 6 สํานักงานอาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรืออาจสั่งการเป็นอย่างอื่นก็ได้ ในกรณีที่บุคคลใดไม่ดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง หรือข้อ 6 สํานักงานอาจเพิกถอนการรับขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของบุคคลดังกล่าว หากผู้ถูกเพิกถอนการรับขึ้นทะเบียนตามวรรคสองยังมีภาระหน้าที่ในการเป็นผู้ดูแล ผลประโยชน์ของกองทุนรวมใด ให้ผู้ถูกเพิกถอนการรับขึ้นทะเบียนรายนั้นส่งมอบทรัพย์สินและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่ที่บริษัทจัดการจัดให้มีโดยพลัน เมื่อสํานักงานแจ้งการดําเนินการหรือคําสั่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งการดําเนินการหรือคําสั่งนั้นให้บริษัทจัดการที่ตั้งให้ตนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทําการถัดจาก วันที่บุคคลนั้นได้รับแจ้งการดําเนินการหรือคําสั่งนั้นจากสํานักงาน ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนรายใดประสงค์จะเลิกการประกอบธุรกิจเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้ผู้นั้นแจ้งให้สํานักงานทราบก่อนวันเลิกประกอบธุรกิจเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ และให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการตามข้อ 9 วรรคสาม ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,029
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 68/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดให้มีกรรมการอิสระของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 68/2558 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจัดให้มีกรรมการอิสระของ ผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อ 12(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 62/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 7/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดให้มีกรรมการอิสระของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,030
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 73/2558 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสำหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของหน่วยงานภาครัฐไทย และรายงานที่เกี่ยวข้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 73/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับ การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของหน่วยงาน ภาครัฐไทย และรายงานที่เกี่ยวข้อง 1. \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 14 ข้อ 28 ข้อ 31 ข้อ 34 ข้อ 45 และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 64/2558 เรื่อง การเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้หน่วยงานภาครัฐไทยดําเนินการดังต่อไปนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) การยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (2) การยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปและในวงจํากัด (3) การรายงานการไถ่ถอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก่อนครบกําหนดอายุ โดยให้รายงานการไถ่ถอนดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการไถ่ถอน (4) การรายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงินก่อนครบกําหนดอายุ โดยให้รายงานการชําระหนี้ดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการชําระหนี้ (5) การรายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ข้อ ๒ ให้หน่วยงานภาครัฐไทยชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 1(1) ต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,031
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ โดยที่มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้กําหนดสาระสําคัญขั้นต่ําของข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ (ข้อกําหนดสิทธิ”) ไว้ และให้คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจประกาศกําหนดรายการอื่นเพิ่มเติมได้ ประกอบกับข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 กําหนดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้ทั่วไป ต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิซึ่งมีสาระสําคัญและรายการเป็นไปตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สํานักงาน”) ประกาศกําหนด เพื่อความสะดวกของผู้ออกหุ้นกู้ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว สํานักงานจึงออกประกาศกําหนดรายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิฉบับนี้ โดยครอบคลุมทั้งรายการและสาระสําคัญที่เป็นไปตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น และรายการที่กําหนดเพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อกําหนดสิทธิที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ต้องยื่นต่อสํานักงานเพื่อให้เป็นไปตามความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ต้องมีความชัดเจน เป็นธรรม และประกอบด้วยรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะสําคัญของหุ้นกู้ ซึ่งต้องระบุถึงสิทธิ เงื่อนไข และผลประโยชน์ตอบแทนตามหุ้นกู้ (2) ทรัพย์สินที่เป็นประกันหรือหลักประกันอื่น (ถ้าเป็นหุ้นกู้มีประกัน) ซึ่งต้องระบุถึงคํารับรองของผู้ออกหุ้นกู้มีประกันที่จะจํานอง จํานํา หรือให้หลักประกันอย่างอื่นให้กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเป็นประกันหุ้นกู้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 44 (3) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้าเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ) (4) หน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้ (5) การไถ่ถอนหุ้นกู้และการซื้อคืนหุ้นกู้ (6) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ (7) ผลของการผิดข้อกําหนดหรือเงื่อนไขในข้อกําหนดสิทธิ (8) การประชุมผู้ถือหุ้นกู้ (9) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (10) การแต่งตั้งและการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องระบุถึงคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ที่จะให้ผู้ออกหุ้นกู้แต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (11) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดสิทธิ (12) การโอนหุ้นกู้ (13) ตัวอย่างใบหุ้นกู้แนบท้ายข้อกําหนดสิทธิ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545 นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศข้างต้น สํานักงานได้จัดทําตัวอย่างข้อกําหนดสิทธิขึ้น โดยผู้ออกหุ้นกู้สามารถเลือกใช้ตัวอย่างดังกล่าวเป็นแนวทางในการจัดทําข้อกําหนดสิทธิของตนได้ และสามารถกําหนดลักษณะเฉพาะของหุ้นกู้เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมในการออกหุ้นกู้นั้น ๆ ทั้งนี้ หากผู้ออกหุ้นกู้ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญของร่างข้อกําหนดสิทธิให้แตกต่างจากตัวอย่างข้างต้นในเรื่องที่อาจกระทบต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ (ไม่รวมเรื่องที่เป็นลักษณะเฉพาะ (commercial terms) ของหุ้นกู้นั้น) ในการยื่นร่างข้อกําหนดสิทธิต่อสํานักงานตามข้อ 12(1) แห่งประกาศ กจ. 32/2544 ผู้ขออนุญาตควรจะขีดเส้นใต้ส่วนที่แตกต่างไว้ และอาจอธิบายเหตุผลประกอบไว้ด้วย และหากผู้ออกหุ้นกู้ไม่ประสงค์จะใช้ตัวอย่างข้อกําหนดสิทธินี้เป็นแนวทางในการจัดทําร่างข้อกําหนดสิทธิของตน ผู้ออกหุ้นกู้ควรตรวจสอบให้รายการและสาระสําคัญของร่างข้อกําหนดสิทธินั้นเป็นไปตามประกาศนี้ด้วย อนึ่ง ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถดูตัวอย่างข้อกําหนดสิทธิได้ที่ [http://www.sec.or.th ภายใต้หัวข้อ “กฎเกณฑ์และเอกสารเผยแพร่ เรื่อง ประกาศคณะกรรมการ/สํานักงาน”](file:///C:/Users/PKMCG02/Downloads/off3545s.doc)
2,032
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 40/2552 เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 40/2552 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อกําหนดสิทธิที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ต้องยื่นต่อสํานักงานเพื่อให้เป็นไปตามความในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ต้องมีความชัดเจน เป็นธรรม และประกอบด้วยรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะสําคัญของหุ้นกู้ ซึ่งต้องระบุถึงสิทธิ เงื่อนไข และผลประโยชน์ตอบแทนตามหุ้นกู้ (2) ทรัพย์สินที่เป็นประกันหรือหลักประกันอื่น (ถ้าเป็นหุ้นกู้มีประกัน) ซึ่งต้องระบุถึงคํารับรองของผู้ออกหุ้นกู้มีประกันที่จะจํานอง จํานํา หรือให้หลักประกันอย่างอื่นให้กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเป็นประกันหุ้นกู้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 44 (3) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้าเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ) (4) หน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้ (5) การไถ่ถอนหุ้นกู้และการซื้อคืนหุ้นกู้ (6) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ (7) ผลของการผิดข้อกําหนดหรือเงื่อนไขในข้อกําหนดสิทธิ (8) การประชุมผู้ถือหุ้นกู้ (9) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (10) การแต่งตั้งและการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องระบุถึงคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ที่จะให้ผู้ออกหุ้นกู้แต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (11) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดสิทธิ (12) การโอนหุ้นกู้ (13) ตัวอย่างใบหุ้นกู้แนบท้ายข้อกําหนดสิทธิ ข้อ ๒ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ บทเฉพาะกาล ๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้มีอํานาจลงนาม - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
2,033
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 77/2558 เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 77/2558 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 16 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 64/2558 เรื่อง การเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 40/2552 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ข้อกําหนดสิทธิที่ผู้ออกหุ้นกู้ต้องยื่นต่อสํานักงานตามประกาศดังต่อไปนี้ต้องมีความชัดเจน เป็นธรรม และประกอบด้วยรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 3 (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ข้อ ๓ ข้อกําหนดสิทธิต้องประกอบด้วยรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะสําคัญของหุ้นกู้ ซึ่งต้องระบุถึงสิทธิ เงื่อนไข และผลประโยชน์ตอบแทนตามหุ้นกู้ (2) ทรัพย์สินที่เป็นประกันหรือหลักประกันอื่น (ถ้าเป็นหุ้นกู้มีประกัน) ซึ่งต้องระบุถึงคํารับรองของผู้ออกหุ้นกู้มีประกันที่จะจํานอง จํานํา หรือให้หลักประกันอย่างอื่นให้กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเป็นประกันหุ้นกู้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 44 (3) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้าเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ) (4) หน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้ (5) การไถ่ถอนหุ้นกู้และการซื้อคืนหุ้นกู้ (6) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ (7) ผลของการผิดข้อกําหนดหรือเงื่อนไขในข้อกําหนดสิทธิ (8) การประชุมผู้ถือหุ้นกู้ (9) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (10) การแต่งตั้งและการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องระบุถึงคํายินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ที่จะให้ผู้ออกหุ้นกู้แต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (11) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดสิทธิ (12) การโอนหุ้นกู้ (13) ตัวอย่างใบหุ้นกู้แนบท้ายข้อกําหนดสิทธิ ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 40/2552 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 40/2552 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,034
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 81/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมสำหรับบริษัทหลักทรัพย์บางประเภท
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 81/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติม สําหรับบริษัทหลักทรัพย์บางประเภท โดยที่มาตรา 106 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนตามแบบที่สํานักงานกําหนด โดยงบดุลนั้นต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานจึงออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมสําหรับบริษัทหลักทรัพย์บางประเภทไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ อธ/น. 7/2541 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ อน. 10/2545 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเพียงประเภทเดียวและบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทเฉพาะที่กําหนดดังต่อไปนี้ อาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 3 เป็นผู้สอบบัญชี นอกเหนือจากการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีได้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นหน่วยลงทุน ซึ่งไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (2) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (3) การจัดการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๓ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เมื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั้นไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่ง (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (ข) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีในช่วงสามปีก่อนวันที่บริษัทหลักทรัพย์ทําการแต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชีหรือเคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,035
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 83/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 83/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ ในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเกี่ยวกับงานดังต่อไปนี้ ในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญา (1) ติดต่อหรือชักชวนลูกค้าเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) รับคําสั่งซื้อหรือขาย หรือให้คําแนะนําการลงทุน ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลูกค้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือผู้รับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ให้บริการ “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” หมายความว่า ผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้กําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับอนุญาตหรือเคยได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 สามารถเป็นผู้ให้บริการเพื่อทําหน้าที่ ในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ตามที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจแต่งตั้งบริษัทที่มีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้ให้บริการในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญา เฉพาะในกิจการตามข้อ 4 ได้ (1) เป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (2) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายที่ถือหุ้นมากที่สุดอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในจํานวนที่ลดลงจนต่ํากว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เว้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากการได้มาโดยทางมรดก (3) กรรมการหรือผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (4) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ให้บริการ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม (5) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายสัญญา ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว (6) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย (7) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ ๔ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการได้เฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) การติดต่อหรือชักชวนให้ลูกค้ายื่นคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ (2) การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า (3) การรับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า (4) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามข้อ 4 แจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันทําการก่อนการใช้บริการ และให้แจ้งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ให้บริการดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการยกเลิกการแต่งตั้ง ข้อ ๖ ในกรณีที่การแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่า ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งระงับมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการรายดังกล่าวได้ ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 3(5) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 3(6) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นมากที่สุดในลักษณะที่กําหนดตามข้อ 3(2) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบก่อนทําการเปลี่ยนแปลง (3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 4 (4) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงาน ก.ล.ต. ในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา (5) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง (6) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (7) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดูแลผู้ให้บริการ ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ผู้ให้บริการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 3(5) (2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการยกเลิกการใช้บริการโดยไม่ชักช้า ข้อ ๙ เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ และพนักงาน ของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวอย่างน้อยต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ และพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว มีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ และพนักงาน แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชี รวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรของตนเอง รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่ได้รับให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการทราบตามหลักเกณฑ์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกับลูกค้า เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร เป็นต้น ไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต.ตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควร ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ หรือผู้ให้บริการขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 4 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ หรือสั่งระงับมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการรายดังกล่าว ตอน ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,036
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 84/2558 เรื่อง ข้อกำหนดสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่สามารถดำรงฐานะทางการเงินได้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 84/2558 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่สามารถ ดํารงฐานะทางการเงินได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีหน้าที่ดํารงฐานะทางการเงินตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน “ประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในสามสิบวันนับแต่วันแรกที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงินไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน (2) ดําเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตาม (1) เพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน ภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนดังกล่าวซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันแรกที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจขอผ่อนผันระยะเวลาดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้ยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวันทําการก่อนครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๓ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงินและได้รับแจ้งจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นหนังสือให้ประกอบธุรกิจได้ตามปกติ (1) การเพิ่มวงเงินซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า (2) การให้บริการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่มีการวางหลักประกันขั้นต้น (initial margin) เต็มจํานวนก่อนส่งคําสั่งซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า (3) การให้บริการหรือการเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้ารายใหม่ (4) การเพิ่มเงินลงทุนของบริษัท (portfolio) เว้นแต่เป็นการลงทุนดังนี้ (ก) การลงทุนในเงินฝาก หรือหน่วยลงทุนกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (ข) การลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินลงทุนหรือภาระผูกพันของบริษัทที่มีอยู่ก่อนหรือในวันแรกที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน (ค) การลงทุนเนื่องจากมีภาระผูกพันในฐานะเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ทําการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนดังกล่าวไว้แล้วอย่างเต็มจํานวน (ง) การลงทุนเนื่องจากเกิดความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า (error port) (5) การสลักหลัง รับอาวัล หรือให้การรับรองตั๋วเงิน หรือการเป็นผู้ค้ําประกันในนิติกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องในการประกอบธุรกิจของตัวแทนซื้อขายสัญญาให้แก่ลูกค้า เว้นแต่ลูกค้าได้วางเงินสดเป็นหลักประกันเต็มจํานวนไว้กับตัวแทนซื้อขายสัญญา (6) การกระทําอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดําเนินงาน หรือการปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 5 (1) ไม่สามารถยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 2(1) หรือข้อ 2 วรรคสอง แล้วแต่กรณี (2) ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามแผนและระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 2(2) หรือข้อ 2 วรรคสอง แล้วแต่กรณี (3) มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่ํากว่าศูนย์ติดต่อกันเกินห้าวันทําการ (4) มีการผิดนัดชําระหนี้ต่อสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือต่อลูกค้า ข้อ ๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 4 ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการดําเนินธุรกิจจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงินและได้รับแจ้งจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นหนังสือให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของบริษัทหรือการดําเนินการตามภาระผูกพันที่ค้างอยู่ (2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีไว้เพื่อตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินลงทุนหรือภาระผูกพันของตัวแทนซื้อขายสัญญา (ข) การมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญามีภาระผูกพันหรือก่อหนี้เพิ่มเติมในภายหลัง (3) โอนทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไปยังตัวแทนซื้อขายสัญญารายอื่นตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ ให้แล้วเสร็จภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 4 เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงาน ก.ล.ต. เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น (4) มีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (1) หรือ (3) แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า (5) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามประกาศการดํารงฐานะทางการเงิน ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,037
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 90/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสำหรับสมาชิกแต่ละราย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 90/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มี การควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับ สมาชิกแต่ละราย อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม” หมายความว่า กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมตามประกาศการลงทุน “กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก” หมายความว่า กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกตามประกาศการลงทุน “ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “นโยบายการลงทุน” หมายความว่า นโยบายการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “มูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก” หมายความว่า มูลค่าของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละราย หมวด ๑ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุน ในลักษณะเดียวกับกองทุนรวม หมวดอุตสาหกรรม ข้อ ๓ บริษัทจัดการจะรับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการให้การลงทุนของสมาชิกทุกรายที่เลือกนโยบายการลงทุนดังกล่าวมีอัตราส่วนของเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายเมื่อรวมกันทุกนโยบายการลงทุนนั้นไม่ว่าจะเป็นหมวดอุตสาหกรรมใด ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการนําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายที่เลือกนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ไปลงทุนไม่เกินกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 3 แต่ต่อมาการลงทุนของสมาชิกเกินกว่าอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการสามารถคงไว้ซึ่งการลงทุนตามนโยบายการลงทุนดังกล่าวอยู่ต่อไปได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะรับโอนทรัพย์สินที่เป็นส่วนได้เสียทั้งหมดของสมาชิกทุกรายของนายจ้างรายใดรายหนึ่งจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่น และปรากฏว่าการลงทุนของสมาชิกบางรายซึ่งเลือกนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมเกินกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 3 โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่มก่อนการรับโอนทรัพย์สินนั้น บริษัทจัดการสามารถรับโอนทรัพย์สินโดยคงไว้ซึ่งการลงทุนดังกล่าวอยู่ต่อไปได้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องไม่นําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกรายนั้นที่ส่งเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพในงวดถัดมาไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนดังกล่าวเพิ่มเติมอีกจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 หมวด ๒ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับ กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก หรือมีการลงทุน ผ่อนคลายกว่ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั่วไป ข้อ ๖ ในหมวดนี้ “ทรัพย์สินทางเลือก” หมายความว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ค) กองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (ง) กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกหรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก ซึ่งมุ่งเน้นลงทุนในทรัพย์สินตาม (1) (ก) (ข) หรือ (ค) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ (ก) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ค) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม (2) (ก) หรือ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตาม (2) (ข) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (ง) กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกหรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่มที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก ซึ่งมุ่งเน้นลงทุนในทรัพย์สินตาม (2) (ก) (ข) หรือ (ค) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (3) หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับทองคํา ซึ่งได้แก่ (ก) กองทุนรวมทองคําที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ข) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่มและมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมตาม (3) (ก) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (4) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นทองคํา น้ํามันดิบ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาภายใต้บังคับตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ (5) หน่วยของกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกหรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่มที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด แต่ไม่รวมถึงหน่วยของกองทรัพย์สินตาม (1) (ง) และ (2) (ง) “ทรัพย์สินประเภท SIP” หมายความว่า ทรัพย์สินที่จัดอยู่ในประเภท Specific Investment Product (total SIP) ตามข้อ 4 ในส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ของภาคผนวก 4-PVD แห่งประกาศการลงทุน ข้อ ๗ บริษัทจัดการจะรับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก หรือนโยบายการลงทุนอื่นใดที่ทําให้มีการลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกหรือทรัพย์สินประเภท SIP โดยมีอัตราส่วนการลงทุนผ่อนคลายกว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ตามข้อ 4 ในส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ของภาคผนวก 4-PVD แห่งประกาศการลงทุน ได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้การนําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายไปลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกหรือทรัพย์สินประเภท SIP ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องไม่เกินกว่าอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินทางเลือกเฉพาะตามข้อ 6(3) (4) และ (5) และทรัพย์สินประเภท SIP รวมกัน ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก (2) ทรัพย์สินทางเลือกและทรัพย์สินประเภท SIP รวมกัน ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 30ของมูลค่าทรัพย์สินรายสมาชิก ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 5 แห่งประกาศการลงทุน โดยอนุโลม ประกอบกับแนวทางที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการนําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกแต่ละรายไปลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกหรือทรัพย์สินประเภท SIP ไม่เกินกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 7 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี แต่ต่อมาการลงทุนของสมาชิกเกินกว่าอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการสามารถคงไว้ซึ่งการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ต่อไปได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะรับโอนทรัพย์สินที่เป็นส่วนได้เสียทั้งหมดของสมาชิกทุกรายของนายจ้างรายใดรายหนึ่งจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่น และปรากฏว่าการลงทุนของสมาชิกบางรายมีการลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกหรือทรัพย์สินประเภท SIP เกินกว่าอัตราส่วนการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 7 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่มก่อนการรับโอนทรัพย์สินนั้น บริษัทจัดการสามารถรับโอนทรัพย์สินโดยคงไว้ซึ่งการลงทุนดังกล่าวอยู่ต่อไปได้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องไม่นําเงินสะสมและเงินสมทบสําหรับสมาชิกรายนั้นที่ส่งเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพในงวดถัดมาไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนดังกล่าวเพิ่มเติมอีกจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 7 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,038
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 91/2558 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 91/2558 เรื่อง การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ใด ๆ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,039
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 93/2558 เรื่อง การพิจารณาใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 93/2558 เรื่อง การพิจารณาใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญา ข้อ ๒ ในการใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้บริษัทจัดการพิจารณาโดยยึดหลักความรับผิดชอบและความระมัดระวัง (fiduciary duties) และต้องไม่เลือกปฏิบัติโดยใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เอื้อประโยชน์แก่กองทุนอย่างไม่เหมาะสม (cherry picking) โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการต้องใช้อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือสัญญา (issue rating) หากไม่มีบริษัทจัดการสามารถใช้อันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้แทนได้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา (issuer rating) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ กรณีเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงของตราสารเป็นการเฉพาะ เช่น หุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitized bond) หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (subordinated bond) เป็นต้น ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือสัญญา (issue rating) เท่านั้น เว้นแต่ตราสารนั้นได้รับการค้ําประกันโดยผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการสามารถใช้อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันได้ (2) บริษัทจัดการต้องใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุน (3) บริษัทจัดการต้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอันดับความน่าเชื่อถือที่เลือกใช้อย่างสม่ําเสมอ โดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายอื่นมีการปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือแต่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายที่บริษัทจัดการเลือกใช้ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือ (4) บริษัทจัดการต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ของทรัพย์สิน ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ประเมินโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดเก็บคําอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้อันดับความน่าเชื่อถือเพื่อให้สํานักงาน ผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี สามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,040
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 43/2543 เรื่อง แบบร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43 /2543 เรื่อง แบบร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ประกาศ กจ. 35/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2543 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 7 กันยายนพ.ศ. 2543 “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามประกาศ กจ. 35/2543 ให้นําบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศ กจ. 35/2543 มาใช้บังคับกับประกาศนี้ด้วยโดยอนุโลม ส่วน ๑ หน้าที่ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ร่างหนังสือชี้ชวนที่บริษัทต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้ประกอบด้วยข้อมูลที่มีสาระสําคัญไม่แตกต่างจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่บริษัทได้ยื่นต่อสํานักงาน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในเอกสารและข้อความของร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ส่วน ๒ หน้าที่ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ให้บริษัทรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทย แยกตามหลักทรัพย์จดทะเบียนที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แสดงจํานวนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยคงค้าง ณ สิ้นวันที่นายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงได้ปิดสมุดทะเบียนเพื่อการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (2) ยื่นรายงานผลการขายตาม (1) ต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่นายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงได้ปิดสมุดทะเบียนเพื่อการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งยื่นสําเนารายงานผลการขายดังกล่าวต่อนายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงภายในกําหนดเวลาดังกล่าวด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,041
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 2/2551 เรื่อง แบบร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2551 เรื่อง แบบร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2543 เรื่อง แบบร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้บริษัทรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้รายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย แยกตามหลักทรัพย์จดทะเบียนที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง บนเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่นายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงได้ปิดสมุดทะเบียนเพื่อการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (2) การรายงานผลการขายตาม (1) ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วันที่นายทะเบียนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงได้ปิดสมุดทะเบียนเพื่อการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (ข) ชื่อของหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขาย (ค) จํานวนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ขายได้ทั้งหมด (ง) สัดส่วนของหลักทรัพย์อ้างอิงเมื่อเปรียบเทียบกับหลักทรัพย์อ้างอิงที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด นอกจากแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ภายในวันที่มีการแสดงข้อมูลนั้นบนเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย” ข้อ ๒ ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,042
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 4/2549 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข./น. 4 /2549 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องจัดให้มี ระบบงานที่มีองค์ประกอบอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) โครงสร้างของบริษัท (2) ความพร้อมด้านบุคลากร (3) ระบบงานด้านการปฏิบัติการจัดการกองทุน (4) ระบบการควบคุมภายใน ข้อ ๒ การจัดโครงสร้างของบริษัทให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดโครงสร้างของบริษัทตามภาระหน้าที่อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อ (ก) ป้องกันการทุจริตของเจ้าหน้าที่ (ข) ป้องกันมิให้บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจของบริษัท และ (ค) ให้การประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการเป็นไปตามหลักความไว้วางใจ (2) กําหนดภารกิจ กลยุทธ์ นโยบายและแผนการดําเนินงานในระดับบริษัทและหน่วยงานย่อยของบริษัทอย่างชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยกําหนดแนวปฏิบัติสําหรับการทบทวนเพื่อปรับภารกิจ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนการดําเนินงานในระยะเวลาหรือในสถานการณ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ การกําหนดภารกิจ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนการดําเนินงานดังกล่าวต้องสอดคล้องต่อหลักความไว้วางใจ และหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี ข้อ ๓ การมีความพร้อมด้านบุคลากรต้องเป็นดังนี้ (1) มีบุคลากรในปริมาณที่เพียงพอต่อการรองรับงานทุกลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (2) มีระบบคัดเลือกและตรวจสอบบุคลากรก่อนการรับเข้าปฏิบัติงานโดยระบบดังกล่าวทําให้บริษัทจัดการสามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงานที่จะมอบหมาย และต้องไม่มีประวัติการทํางานตลอดจนความประพฤติที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ในทางลบของบริษัท (3) มีคู่มือหรือแนวทางที่จะทําให้บุคลากรทราบถึง (ก) โครงสร้างของบริษัท (ข) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในขอบเขตของตําแหน่งงานของแต่ละบุคคล (ค) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหน่วยงานย่อยที่บุคลากรสังกัดอยู่ (ง) วิธีปฏิบัติงานในรายละเอียดของบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่บุคลากรสังกัดอยู่ รวมทั้งวิธีปฏิบัติในการประสานงานกับหน่วยงานย่อยอื่นเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงานโดยรวมของบริษัทจัดการ 4. (4) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับงานที่มอบหมายอยู่ตลอดเวลา 5. (5) มีวิธีการติดตามและควบคุมการปฏิบัติงานและความประพฤติของบุคลากร เพื่อตรวจสอบและป้องกันการปฏิบัติงานและความประพฤติที่อาจส่งผลต่อ 6. (ก) ภาพลักษณ์ในทางลบของบริษัทจัดการ (ข) การทําให้บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจของบริษัท ข้อ ๔ ระบบงานด้านการปฏิบัติการจัดการกองทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ระบบการรับลูกค้าและการให้บริการลูกค้า (ก) มีขั้นตอนและวิธีการในการทําความรู้จักและเข้าใจความต้องการลงทุนรวมทั้งข้อจํากัดการลงทุนของลูกค้า เพื่อตรวจสอบความมีตัวตนของลูกค้าและเพื่อให้มีข้อมูลในการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้า (ข) มีบุคลากรที่รับผิดชอบในการติดต่อกับลูกค้าและจัดให้มีบุคลากรหรือบุคคลที่บริษัทจัดการมอบหมายในการให้คําแนะนําหรือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุน (ค) มีขั้นตอนและวิธีการรับคําสั่งซื้อขายที่เป็นระบบระเบียบซึ่งสามารถตรวจสอบความแน่นอนและถูกต้องของคําสั่งได้ รวมทั้งสามารถตรวจสอบว่าได้มีการรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดในหนังสือชี้ชวน (ง) มีระบบรับข้อร้องเรียนของลูกค้าที่สามารถรองรับการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า (2) ระบบการจัดการลงทุน ที่มีขั้นตอนและวิธีการดําเนินการก่อนการลงทุน และภายหลังการลงทุนอย่างชัดเจนเพื่อให้การจัดการลงทุนเป็นไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเหมาะสม ทั้งนี้ (ก) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าหรือผู้ลงทุน (ข) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนและตามหลักเกณฑ์การลงทุนที่กฎหมายกําหนด (ค) เพื่อให้มีการป้องกัน แก้ไขหรือจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน 3. (3) ระบบการปฏิบัติงานด้านงานสนับสนุนที่มี (ก) บุคลากรหรือหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานสนับสนุนการจัดตั้งและจัดการกองทุนในทุกด้านอย่างชัดเจน โดยมีการกําหนดขั้นตอนและวิธีการทํางานในแต่ละเรื่องที่เป็นงานสนับสนุนอย่างเป็นระบบระเบียบและทําให้บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อตกลงที่ผูกพันไว้กับลูกค้าหรือผู้ลงทุน (ข) แผนรองรับกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน (contingency plan) ที่มีผลกระทบต่อบริษัทจัดการอย่างมีนัยสําคัญหรือที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าหรือผู้ลงทุน โดยต้องมีการทดสอบการปฏิบัติตามแผน รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงแผนดังกล่าวให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ 3. (4) ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน โดย 4. (ก) จัดให้มีบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่ทําหน้าที่สนับสนุนและตรวจสอบให้การจัดการลงทุนและงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามกฎหมาย จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ บุคลากรและหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานดังกล่าวต้องแยกเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่น 5. (ข) กําหนดแผนการตรวจสอบประจําปีที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบ และขั้นตอน วิธีการและระยะเวลาในการทํางานที่ชัดเจนเพื่อให้บุคลากรและหน่วยงานย่อยสามารถทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานตาม(ก) ได้ 6. (ค) กําหนดขั้นตอนและวิธีการรายงาน หากบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตรวจพบว่ามีการดําเนินงานที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพต่อคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งวิธีการในการป้องกันข้อผิดพลาดจากการดําเนินงานด้วย 7. (5) ระบบการจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ที่มี (ก) การจัดทําเอกสารหรือหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรประกอบการปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการกองทุนโดยตรงอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนี้ เพื่อให้มีเอกสารยืนยันการปฏิบัติงานหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรนั้นได้ 2. (ข) วิธีการและสถานที่จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่จะจัดทําขึ้นหรือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติการจัดการกองทุน ที่เป็นระบบระเบียบและสะดวกต่อการสืบค้น 3. (ค) ระยะเวลาการจัดเก็บเอกสารหลักฐานต้องไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีการทํารายการหรือธุรกรรมให้ลูกค้า เว้นแต่ข้อมูลหรือหลักฐานที่ใช้ในการแสดงความมีตัวตนของลูกค้าให้จัดเก็บไว้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นลูกค้า ข้อ ๕ ระบบการควบคุมภายในต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในที่สอดคล้องต่อเป้าหมายและภารกิจของบริษัท 2. มีระบบการควบคุมภายในที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูง โดยระบบดังกล่าวต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ 3. (ก) สร้างสภาพแวดล้อมการควบคุม (control environment) ให้เกิดบรรยากาศการควบคุมที่ดี 4. (ข) ประเมินความเสี่ยง (risk assessment) โดยบริหารและจัดการความเสี่ยงให้สามารถควบคุมความเสี่ยงทุกประเภทที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน 5. (ค) กําหนดกิจกรรมควบคุม (control activities) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยอย่างน้อยต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างบุคลากรหรือหน่วยงานอย่างเหมาะสม 6. (ง) จัดให้มีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communication) ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกบริษัทในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา 7. (จ) มีการติดตามประเมินผล (monitoring) และรายงานการประเมินผลดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัท ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนเป็นการจัดการที่ต้องได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ลงทุน การมีระบบงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนที่มีความพร้อมและมีความชัดเจนจะทําให้การจัดการกองทุนมีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุน สํานักงานจึงออกข้อกําหนดเกี่ยวกับระบบงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนที่บริษัทจัดการต้องจัดให้มีในการจัดการกองทุน
2,043
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 10/2551 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10 /2551 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (ข) ใน (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข./น. 4/2549 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,044
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สข/น. 4/2549 ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข./น. 4/2549 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานที่มีองค์ประกอบอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) โครงสร้างของบริษัท (2) ความพร้อมด้านบุคลากร (3) ระบบงานด้านการปฏิบัติการจัดการกองทุน (4) ระบบการควบคุมภายใน ข้อ 2 การจัดโครงสร้างของบริษัทให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดโครงสร้างของบริษัทตามภาระหน้าที่อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อ (ก) ป้องกันการทุจริตของเจ้าหน้าที่ (ข) ป้องกันมิให้บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจของบริษัท และ (ค) ให้การประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการเป็นไปตามหลักความไว้วางใจ (2) กําหนดภารกิจ กลยุทธ์ นโยบายและแผนการดําเนินงานในระดับบริษัทและหน่วยงาน ย่อยของบริษัทอย่างชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยกําหนดแนวปฏิบัติสําหรับการทบทวนเพื่อปรับภารกิจกลยุทธ์ นโยบาย และแผนการดําเนินงานในระยะเวลาหรือในสถานการณ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ การกําหนดภารกิจ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนการดําเนินงานดังกล่าวต้องสอดคล้องต่อหลักความไว้วางใจ และหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี ข้อ 3 การมีความพร้อมด้านบุคลากรต้องเป็นดังนี้ (1) มีบุคลากรในปริมาณที่เพียงพอต่อการรองรับงานทุกลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (2) มีระบบคัดเลือกและตรวจสอบบุคลากรก่อนการรับเข้าปฏิบัติงานโดยระบบ ดังกล่าวทําให้บริษัทจัดการสามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงานที่จะมอบหมาย และต้องไม่มีประวัติการทํางานตลอดจนความประพฤติที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ในทางลบของบริษัท (3) มีคู่มือหรือแนวทางที่จะทําให้บุคลากรทราบถึง (ก) โครงสร้างของบริษัท (ข) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในขอบเขตของตําแหน่งงานของแต่ละบุคคล (ค) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหน่วยงานย่อยที่บุคลากรสังกัดอยู่ (ง) วิธีปฏิบัติงานในรายละเอียดของบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่บุคลากรสังกัดอยู่ รวมทั้งวิธีปฏิบัติในการประสานงานกับหน่วยงานย่อยอื่นเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน โดยรวมของบริษัทจัดการ (4) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับงานที่มอบหมายอยู่ตลอดเวลา (5) มีวิธีการติดตามและควบคุมการปฏิบัติงานและความประพฤติของบุคลากร เพื่อตรวจสอบและป้องกันการปฏิบัติงานและความประพฤติที่อาจส่งผลต่อ (ก) ภาพลักษณ์ในทางลบของบริษัทจัดการ (ข) การทําให้บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจของบริษัท ข้อ 4 ระบบงานด้านการปฏิบัติการจัดการกองทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ระบบการรับลูกค้าและการให้บริการลูกค้า (ก) มีขั้นตอนและวิธีการในการทําความรู้จักและเข้าใจความต้องการลงทุนรวมทั้งข้อจํากัดการลงทุนของลูกค้า เพื่อตรวจสอบความมีตัวตนของลูกค้าและเพื่อให้มีข้อมูลในการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้า (ข) มีบุคลากรที่รับผิดชอบในการติดต่อกับลูกค้าและจัดให้มีบุคลากรหรือบุคคลที่บริษัทจัดการมอบหมายในการให้คําแนะนําหรือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุน (ค) มีขั้นตอนและวิธีการรับคําสั่งซื้อขายที่เป็นระบบระเบียบซึ่งสามารถตรวจสอบความแน่นอนและถูกต้องของคําสั่งได้ รวมทั้งสามารถตรวจสอบว่าได้มีการรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดในหนังสือชี้ชวน (ง) มีระบบรับข้อร้องเรียนของลูกค้าที่สามารถรองรับการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการ เกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า (2) ระบบการจัดการลงทุน ที่มีขั้นตอนและวิธีการดําเนินการก่อนการลงทุน และ ภายหลังการลงทุนอย่างชัดเจนเพื่อให้การจัดการลงทุนเป็นไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและเหมาะสม ทั้งนี้ (ก) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าหรือผู้ลงทุน (ข) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนและตามหลักเกณฑ์การลงทุนที่กฎหมายกําหนด (ค) เพื่อให้มีการป้องกัน แก้ไขหรือจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน (3) ระบบการปฏิบัติงานด้านงานสนับสนุนที่มี (ก) บุคลากรหรือหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานสนับสนุนการจัดตั้งและจัดการกองทุนในทุกด้านอย่างชัดเจน โดยมีการกําหนดขั้นตอนและวิธีการทํางานในแต่ละเรื่องที่เป็นงานสนับสนุนอย่างเป็นระบบระเบียบและทําให้บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อตกลงที่ผูกพันไว้กับลูกค้าหรือผู้ลงทุน (ข)( ยกเลิก (4) ระบบการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน โดย (ก) จัดให้มีบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่ทําหน้าที่สนับสนุนและตรวจสอบให้ การจัดการลงทุนและงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามกฎหมาย จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ บุคลากรและหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานดังกล่าวต้องแยกเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่น (ข) กําหนดแผนการตรวจสอบประจําปีที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบ และขั้นตอน วิธีการและระยะเวลาในการทํางานที่ชัดเจนเพื่อให้บุคลากรและหน่วยงานย่อยสามารถทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานตาม(ก) ได้ (ค) กําหนดขั้นตอนและวิธีการรายงาน หากบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตรวจพบว่ามีการดําเนินงานที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย จรรยาบรรณและ มาตรฐานการประกอบวิชาชีพต่อคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งวิธีการในการป้องกันข้อผิดพลาดจากการดําเนินงานด้วย (5) ระบบการจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ที่มี (ก) การจัดทําเอกสารหรือหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรประกอบการปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการกองทุนโดยตรงอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนี้ เพื่อให้มีเอกสารยืนยัน การปฏิบัติงานหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรนั้นได้ (ข) วิธีการและสถานที่จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่จะจัดทําขึ้นหรือที่ใช้ประกอบใน การปฏิบัติการจัดการกองทุน ที่เป็นระบบระเบียบและสะดวกต่อการสืบค้น (ค) ระยะเวลาการจัดเก็บเอกสารหลักฐานต้องไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มี การทํารายการหรือธุรกรรมให้ลูกค้า เว้นแต่ข้อมูลหรือหลักฐานที่ใช้ในการแสดงความมีตัวตนของลูกค้าให้จัดเก็บไว้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นลูกค้า ข้อ 5 ระบบการควบคุมภายในต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในที่สอดคล้องต่อเป้าหมายและภารกิจของบริษัท (2) มีระบบการควบคุมภายในที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูง โดยระบบ ดังกล่าวต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) สร้างสภาพแวดล้อมการควบคุม (control environment) ให้เกิดบรรยากาศการควบคุมที่ดี (ข) ประเมินความเสี่ยง (risk assessment) โดยบริหารและจัดการความเสี่ยงให้สามารถควบคุมความเสี่ยงทุกประเภทที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน (ค) กําหนดกิจกรรมควบคุม (control activities) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยอย่างน้อยต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างบุคลากรหรือหน่วยงานอย่างเหมาะสม (ง) จัดให้มีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communication) ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกบริษัทในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา (จ) มีการติดตามประเมินผล (monitoring) และรายงานการประเมินผล ดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัท ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,045
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 9/2549 เรื่อง การจัดทำและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 9/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ “ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับตัวแทนซื้อขายสัญญากับสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรวมทั้งรายงานทรัพย์สินของลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและภายในกําหนดเวลาที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานทรัพย์สินของลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่งแม้ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานตามข้อ 2 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๔ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานตามข้อ 2 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หากตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมายดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ด้วยแล้ว ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,046
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 27/2549 เรื่อง การจัดทำและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 9/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 3/1 ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาดังต่อไปนี้ (1) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่หยุดประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือที่ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพักหรือระงับการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับหนังสือแจ้งจากตัวแทนซื้อขายสัญญาแล้ว หรือคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. มีผลบังคับแล้ว โดยให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภท ตั้งแต่รายงานของเดือนที่หยุด ถูกพักหรือระงับการประกอบธุรกิจดังกล่าว และตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นเริ่มประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาที่ถูกพักการประกอบธุรกิจนั้น แล้วแต่กรณี (2) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ยังไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบความพร้อมในการประกอบธุรกิจโดยสํานักงาน ก.ล.ต. ตามเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภท ตั้งแต่รายงานของเดือนที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสิ้นสุดลงเมื่อตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เริ่มประกอบธุรกิจดังกล่าว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2549 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,047
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 17/2551 เรื่อง การจัดทำและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สธ. 17/2551 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 9/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน รายงานการทําธุรกรรม รวมทั้งรายงานทรัพย์สินของลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและภายในกําหนดเวลาที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานการทําธุรกรรมและรายงานทรัพย์สินของลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่งแม้ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ ###### สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,048
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29 /2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(7)(ข) มาตรา 126(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 2(1) ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2542 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2543 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2543 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2543 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 32/2544 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมพิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการลงทุน หรือการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุนรวม ในทุกลักษณะ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (1) บุคคลผู้รับผิดชอบสายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งแต่ตําแหน่งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลขึ้นไปจนถึงตําแหน่งผู้จัดการ ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 2(6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) บุคคลผู้รับผิดชอบโดยตรงในงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการ หรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ หรือนายจ้างนั้น หรือ (2) บริษัทที่บริษัทจัดการหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่บริษัทจัดการมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนให้แก่กองทุน “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปรวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวด้วย “ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่ในการบริหารหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมซื้อหรือเช่า “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของบริษัทจัดการ และให้หมายความรวมถึงกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย “ราคาตลาด” หมายความว่า ราคาตราสารแห่งทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือราคาตราสารแห่งหนี้ที่เสนอโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย แล้วแต่กรณี “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และหน่วยงานอื่นตามที่สํานักงานกําหนด “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จํากัด ทั้งนี้ ข้อกําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ให้ใช้บังคับเฉพาะกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 2(6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด ๑ การกระทําอันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ และการดําเนินการของบริษัทจัดการ ในเรื่องที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทําดังกล่าว ข้อ ๕ ให้การกระทําของบริษัทจัดการดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําอันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือลูกค้า ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 126(1) และมาตรา 139(5) แล้วแต่กรณี (1) การที่บริษัทจัดการรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบุคคลใด ๆ เพื่อบริษัทจัดการนั้นเอง อันเนื่องมาจากการใช้บริการของบุคคลดังกล่าวในการจัดการกองทุน (2) การที่บริษัทจัดการซื้อขายทรัพย์สินหรือเข้าทําสัญญาเพื่อกองทุนใดที่มิใช่กองทุนรวมพิเศษ โดยมีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง และการทําธุรกรรมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบกองทุนหรือทําให้กองทุนเสียประโยชน์ที่ดีที่สุดไป เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 13 (3) การที่บริษัทจัดการกระทําการใด ๆ อันเป็นผลให้บริษัทได้ซื้อขายทรัพย์สินหรือเข้าเป็นคู่สัญญาได้ก่อนกองทุน ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องบริหารจัดการกิจการของตนเองในเรื่องที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่กองทุน ดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (proprietary trading) ตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 (2) การทําธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (affiliated transaction) ตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 (3) การรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการที่กองทุนใช้บริการบุคคลอื่น (soft commission) ตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 (4) การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน (staff dealing) ตามที่กําหนดในส่วนที่ 4 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีระบบงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําตามวรรคหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่กองทุนได้ ทั้งนี้ ในกรณีของ (1) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7 และกรณีของ (4) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23(1) ด้วย ส่วน ๑ การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (proprietary trading) ข้อ ๗ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้ลงทุน หากบริษัทจัดการมีการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทจัดการเอง (proprietary trading) บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันมิให้การลงทุนหรือเข้าทําสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกองทุน เว้นแต่บริษัทจัดการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้บริหารการลงทุนอย่างเป็นอิสระโดยบริษัทจัดการไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าการลงทุนหรือเข้าทําสัญญานั้นจะดําเนินการโดยบริษัทจัดการเอง หรือโดยบุคคลอื่นที่บริษัทจัดการมอบหมาย การดําเนินการนั้นให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ 8 ถึงข้อ 12 ด้วย ในกรณีที่บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานตามวรรคหนึ่ง ระบบงานดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนบริษัทจัดการเริ่มลงทุนหรือลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทจัดการเอง (proprietary trading) ข้อ ๘ บริษัทจัดการจะลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทจัดการเอง (proprietary trading) ได้ ต่อเมื่อการลงทุนดังกล่าว มีลักษณะเป็นเงินทุนระยะยาวเกินกว่าหนึ่งปี เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากเพื่อบริหารสภาพคล่องของบริษัทจัดการ (2) เป็นการลงทุนในตราสารที่มีอายุคงเหลือต่ํากว่าหนึ่งปี โดยบริษัทจัดการมีเจตนาที่จะถือตราสารดังกล่าวจนครบอายุของตราสารนั้น (3) เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้นเอง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทไม่สามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม อันเนื่องมาจากการไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล หรือเมื่อมีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะจําหน่ายทรัพย์สินหรือเลิกสัญญาที่มีลักษณะเป็นเงินลงทุนระยะยาวตามวรรคหนึ่ง ก่อนครบกําหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุนหรือได้มาซึ่งทรัพย์สิน หรือวันที่สัญญามีผลใช้บังคับได้ เฉพาะในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องรายงานกรณีดังกล่าวต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่จําหน่ายทรัพย์สินหรือเลิกสัญญานั้น แล้วแต่กรณี ตามแบบที่สํานักงานแจ้งให้ทราบล่วงหน้ากําหนด ข้อ ๙ ในการซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 8(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกระทําด้วยความระมัดระวังและเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ได้มาตามข้อ 8(3) ในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ให้บริษัทรายงานการจําหน่ายหน่วยลงทุนต่อสํานักงาน ภายในวันทําการถัดจากวันที่จําหน่ายหน่วยลงทุนนั้นตามแบบที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๐ ในการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ หากบริษัทได้ปฏิบัติตามข้อ 7 แล้ว ให้ถือว่าบริษัทได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 98(7)(ข) ข้อ ๑๑ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งข้อมูลการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทต่อสํานักงาน โดยให้ส่งข้อมูลดังกล่าวไปพร้อมกับข้อมูลอื่นที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องส่งผ่านระบบรับส่งรายงานธุรกิจจัดการกองทุนรวม (Investment Management Reporting System) หรือระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund and Provident Fund Reporting System) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ให้บริษัทจัดการเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือผู้ที่สนใจจะลงทุน แล้วแต่กรณี ทราบว่าการตรวจสอบข้อมูลตามวรรคหนึ่งอาจตรวจสอบได้ที่บริษัทจัดการ ตัวแทนของบริษัทจัดการ (ถ้ามี) และสํานักงาน ทั้งนี้ หากผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือผู้ที่สนใจจะลงทุน แล้วแต่กรณี ร้องขอ บริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทต่อบุคคลดังกล่าวโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัทเอง บริษัทต้องจัดให้มีข้อความในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่แสดงว่า บริษัทอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเช่นเดียวกับที่ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อกองทุนส่วนบุคคล ส่วน ๒ การทําธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (affiliated transaction) ข้อ ๑๓ บริษัทจัดการจะทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเมื่อเป็นกรณีตามข้อ 14 หรือระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน หรือได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อเป็นกรณีตามข้อ 15 หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์หรือความยินยอมจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เมื่อเป็นกรณีตามข้อ 16 หรือข้อ 17 ทั้งนี้ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรณีตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 หรือกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตามข้อดังกล่าว ธุรกรรมเหล่านั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่เป็นประโยชน์ที่ดีที่สุดสําหรับกองทุนในสถานการณ์ขณะนั้น (best execution) (2) เป็นธุรกรรมที่มีความจําเป็นและเป็นประโยชน์กับกองทุน (3) เป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรมกับคู่ค้าทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transactions) และ (4) ในกรณีที่เป็นธุรกรรมระหว่างกองทุนด้วยกันเองซึ่งกองทุนเหล่านั้นอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน (cross trade) ธุรกรรมที่จะทํานั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเป็นกองทุนรวม ธุรกรรมดังกล่าวต้องมีความเหมาะสมต่อลักษณะ นโยบายการลงทุน และความจําเป็นในการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว (ข) ธุรกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่การซื้อขายหน่วยลงทุนระหว่างกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 126(3) การทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดให้มีเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการทําธุรกรรมดังกล่าวได้ ข้อ ๑๔ การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทนั้น บริษัทจะกระทําได้ต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่กองทุนรวมจะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 126(2) ข้อ ๑๕ การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนว่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนนั้นเป็นของบุคคลดังกล่าว หรือเมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ข้อ ๑๖ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยธุรกรรมนั้นไม่มีราคาตลาดหรือใช้ราคาอื่นที่ไม่เป็นไปตามราคาตลาด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการทําธุรกรรมในแต่ละครั้ง ข้อ ๑๗ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนส่วนบุคคลกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีดังต่อไปนี้ ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี โดยความยินยอมดังกล่าวอาจกําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลก็ได้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องอธิบายให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ก่อนขอรับความยินยอมด้วย (1) การลงทุนในตราสารที่บุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อ 20(1)(ก) ถึง (ง) หรือตามข้อ 20(2)(ง) เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน หรือการฝากเงินไว้กับบุคคลดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการฝากเงินในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงาน (2) การลงทุนในตราสารที่บุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อ 20(2)(ก) ถึง (ค) เป็นผู้ออกตราสารนั้น (3) การทําธุรกรรมกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) การทําธุรกรรมกับกองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน (5) การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหรือการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์กับบริษัทในเครือของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างรายเดียว (single fund) กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกกรณี ในกรณีที่ธุรกรรมตาม (1) ถึง (6) เป็นธุรกรรมที่ไม่มีราคาตลาด หรือที่ใช้ราคาอื่นที่ไม่เป็นไปตามราคาตลาด บริษัทจัดการต้องอธิบายเหตุของการไม่มีราคาตลาดหรือการใช้ราคาอื่นที่ไม่เป็นไปตามราคาตลาด แล้วแต่กรณี ตลอดจนที่มาของราคาที่บริษัทจัดการจะใช้ในการทําธุรกรรมดังกล่าว ต่อลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก่อนขอรับความยินยอม ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความยินยอมโดยการกําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย ข้อ ๑๘ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําข้อมูลเป็นรายเดือนตามแบบและเปิดเผยด้วยวิธีการตลอดจนระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (non-retail fund) และกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (1) ธุรกรรมที่ทําโดยตรงกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยให้รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นผ่านบริษัทนายหน้าซึ่งอยู่ในวิสัยที่บริษัทจัดการสามารถทราบได้ว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสถาบันการเงิน เป็นผู้ออกหรือคู่สัญญาเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนนั้น (2) การทําธุรกรรมในตลาดรอง (organized market) ผ่านบุคคลที่เกี่ยวข้องที่เป็นบริษัทนายหน้า (3) การซื้อหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าว (4) การซื้อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดการโครงการประมูลหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น (arranger) (5) การซื้อตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (6) การซื้อขายหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผู้บริหารจัดการ ข้อ ๑๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายงานข้อมูลการทําธุรกรรมตามข้อ 18(1) ถึง (6) เป็นลายลักษณ์อักษรต่อลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยรายงานดังกล่าวต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับวันที่ทําธุรกรรม ลักษณะของธุรกรรม มูลค่าของธุรกรรม ราคาต่อหน่วย (ถ้ามี) และอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล โดยระบุว่าธุรกรรมดังกล่าวเข้าลักษณะใดในข้อ 18(1) ถึง (6) เว้นแต่ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้รายงานข้อมูลการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นประการอื่น ข้อ ๒๐ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เข้าลักษณะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดในประกาศนี้ (1) ในกรณีทั่วไป (ก) บริษัทจัดการที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุน (ข) บุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐซึ่งถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. บุคคลที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ 2. บุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของบุคคลตาม 1. เกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่บุคคลตาม 1. เป็นบริษัทที่จัดตั้งในต่างประเทศ (ค) นิติบุคคลที่บริษัทจัดการถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วน (ง) นิติบุคคลที่มีบุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจัดการเกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการด้วย (จ) ผู้บริหารของบริษัทจัดการ (ฉ) ผู้จัดการกองทุนของกองทุนนั้น (ช) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (จ) หรือ (ฉ) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้น (ซ) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินร้อยละสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนรวม (ฌ) บุคคลที่เป็นที่ปรึกษา (ญ) กองทุนอื่นที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ (2) ในกรณีการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนส่วนบุคคล นอกจากที่กําหนดไว้ตาม (1) ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย (ก) บริษัทที่บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นกรรมการหรือถือหุ้นเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ให้นับหุ้นที่คู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นของบุคคลนั้นด้วย (ข) บริษัทที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน (ค) บริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อ โดยในการเสนอซื้อดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น (ง) นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้าง ในกรณีที่กองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรณีตาม (ข) และ (ค) ให้บุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่ของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามข้อดังกล่าวเท่านั้น (3) ในกรณีการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ นอกจากที่กําหนดไว้ตาม (1) ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องเฉพาะในการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้ประเมินค่าทรัพย์สินในการจัดการลงทุนของกองทุนรวมนั้น (ค) ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ง) บุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐซึ่งถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. บุคคลที่ถือหุ้นของที่ปรึกษาตาม (1)(ฌ) หรือของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตาม (ก) หรือของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตาม (ข) หรือของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตาม (ค) เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของที่ปรึกษา ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แล้วแต่กรณี 2. บุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของบุคคลตาม 1. เกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่บุคคลตาม 1. เป็นบริษัทที่จัดตั้งในต่างประเทศ (จ) นิติบุคคลที่ที่ปรึกษาตาม (1)(ฌ) หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตาม (ก)หรือบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตาม (ข) หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตาม (ค) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วน ที่ปรึกษาตาม (ง) และ (จ) หมายความว่า ที่ปรึกษาซึ่งให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ (4) บุคคลที่มีอํานาจควบคุมบุคคลตาม (1) ถึง (3) หรือบุคคลตาม (1) ถึง (3) ที่มีอํานาจควบคุมบุคคลอื่นตามที่สํานักงานกําหนด ส่วน ๓ การรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการที่กองทุน ใช้บริการบุคคลอื่น (soft commission) ข้อ ๒๑ บริษัทจัดการอาจรับผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อกองทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ให้บริการ อันเนื่องมาจากการใช้บริการของบุคคลดังกล่าวในการจัดการกองทุนได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผลประโยชน์ตอบแทนที่รับไว้นั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าในทางเศรษฐกิจและต้องเกี่ยวกับบทบาทโดยตรงของความเป็นกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ (2) ต้องไม่มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทจัดการใช้บริการของบุคคลนั้นบ่อยครั้งเกินความจําเป็นเพื่อให้กองทุนได้รับประโยชน์จากบุคคลดังกล่าว (churning) ในการจัดสรรผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้แก่กองทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการ บริษัทต้องกระทําด้วยความเป็นธรรมและคํานึงถึงลักษณะและประเภทหลักทรัพย์ที่อาจมีไว้ได้ของกองทุนนั้นด้วย ให้บริษัทจัดการระบุเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การรับผลประโยชน์ตอบแทนตามวรรคหนึ่งไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม หรือในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อกองทุนตามข้อ 21 ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์ดังกล่าวตามวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี (2) ในกรณีของกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรอบปีบัญชี และในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรอบระยะเวลาหกเดือนด้วย (3) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคล ให้แจ้งข้อมูลดังกล่าวพร้อมรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี โดยให้แจ้งไปพร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ส่วน ๔ การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน (staff dealing) ข้อ ๒๓ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้พนักงานของบริษัทจัดการอาศัยโอกาสจากการที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารและจัดการกองทุน แสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกองทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดเกี่ยวกับการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานในบริษัทจัดการ (2) กํากับดูแลและตรวจสอบให้พนักงานของบริษัทจัดการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตาม (1) และ (3) กําหนดมาตรการทางวินัยในการดําเนินการกับพนักงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตาม (1) ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อบริษัทจัดการว่าพนักงานของบริษัทฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามข้อ 23(1) และการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัตินั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน บริษัทจัดการต้องจัดการให้มีการเยียวยาความเสียหายดังกล่าวโดยไม่ชักช้า หมวด ๒ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๕ ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ หรือในกรณีที่ข้อสัญญาในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมปิดและกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมต่อสํานักงาน หรือดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ (2) ในกรณีของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว แต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนในครั้งแรก (2) ในกรณีที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีระบบงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับไม่เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการปรับปรุงระบบงานเพื่อให้เป็นตามข้อกําหนดดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลเป็นการให้บริการในการบริหารและจัดการเงินทุนของผู้ลงทุน จึงเป็นธุรกิจที่ผู้ให้บริการจําเป็นต้องมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ว่าจะบริหารและจัดการเงินทุนนั้นด้วยความรู้ความสามารถ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ซึ่งการหลีกเลี่ยงการทําธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกองทุนกับบริษัทจัดการ รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการบริหารจัดการเงินทุนที่เป็นไปตามหลักการข้างต้น ดังนั้น สํานักงานจึงเห็นสมควรกําหนดประกาศนี้ เพื่อห้ามการกระทําที่มีลักษณะอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และกําหนดระบบงานในการป้องกันมิให้เกิดการกระทําเช่นนั้น รวมทั้งมาตรการในการทําธุรกรรมต่าง ๆ ของบริษัทจัดการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างเป็นธรรม
2,049
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2551 เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21 /2551 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับ ข้อ 10 ข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดการต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนเป็นสําคัญ และบริษัทจัดการจะทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเมื่อเป็นกรณีตามข้อ 14 หรือได้ ดําเนินการตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 15 หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์หรือ ความยินยอมจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เมื่อเป็นกรณีตามข้อ 16 หรือข้อ 17 ทั้งนี้ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรณีตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 หรือกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตามข้อดังกล่าว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่ดีที่สุดสําหรับกองทุน หรือจําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อกองทุนในสถานการณ์ขณะนั้น (2) เป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรม กับคู่ค้าทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transaction) และ (3) ในกรณีที่เป็นธุรกรรมระหว่างกองทุนด้วยกันเองซึ่งกองทุนเหล่านั้นอยู่ภายใต้ การจัดการของบริษัทเดียวกัน (cross trade) ธุรกรรมที่จะทํานั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นธุรกรรมที่มีความเหมาะสมต่อลักษณะ นโยบายการลงทุน และความจําเป็น ในการลงทุนของกองทุนดังกล่าว (ข) ธุรกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่การซื้อขายหน่วยลงทุนระหว่างกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 126(3) การทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดทําข้อตกลงในการเข้าทําธุรกรรม เป็นลายลักษณ์อักษร และจัดทําบันทึกข้อเท็จจริงที่นําไปสู่การพิจารณาของบริษัทจัดการว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการทําธุรกรรมดังกล่าวได้ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่ง มิให้หมายความรวมถึง การที่บุคคลที่เกี่ยวข้องซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร และได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการทําธุรกรรมนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่กองทุนรวมจะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 126(2)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 ในการทําธุรกรรมภายหลังจากการลงทุนครั้งแรก หากบริษัทจัดการ กองทุนรวมจะลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อ ได้ดําเนินการตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 15/1 และข้อ 15/2 แล้ว” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 และข้อ 15/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 15/1 การลงทุนในหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายหลังจากการลงทุนครั้งแรก หากมูลค่าของธุรกรรมดังกล่าวที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทํากับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันภายในรอบระยะเวลาหกเดือนใดมีมูลค่ารวมกันตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาท หรือตั้งแต่ ร้อยละสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมขึ้นไป แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า บริษัทจัดการ กองทุนรวมต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ก่อนทําธุรกรรมดังกล่าว (1) ในกรณีที่การขอมติกระทําโดยการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของ โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว (2) ในกรณีที่การขอมติกระทําโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องได้รับ มติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมและ มีสิทธิออกเสียง โดยในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติดังกล่าว ต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุน มาประชุมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนหรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมดังกล่าวต้องมีหน่วยลงทุนนับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว จึงจะเป็น องค์ประชุม การนับมติตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนับจํานวนหน่วยลงทุน ของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รวมในมติดังกล่าว ในกรณีที่บุคคลที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลตามข้อ 20(1)(ก)(ข)(ค)(ง)(จ) (ฉ)(ช) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแนบเอกสารการตรวจสอบและรับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ ของกองทุนรวมตามข้อ 15/2 ไปพร้อมกับหนังสือขอมติหรือหนังสือนัดประชุมตามวรรคหนึ่งด้วย การพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและ การเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ 15/2 การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ภายหลังจากการลงทุนครั้งแรกกับบุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อ 20(1)(ก)(ข)(ค)(ง)(จ)(ฉ)(ช) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ตรวจสอบและรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรม กับลูกค้าทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transactions) ตามข้อ 13(2)” ข้อ 5 ให้ยกเลิก (ข) ใน (3) ของข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดลักษณะของธุรกรรมที่กองทุนสามารถทํากับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวมให้มีความเหมาะสม
2,050
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 27/2546 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2546 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22 /2546 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ “รายงานการคํานวณเงินกองทุน” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุน ตามแบบและคําอธิบายประกอบแบบที่กําหนดตามข้อ 2 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนตามแบบ บ.ล.ล. 1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนตามแบบ บ.ล.ล. 1 ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนเป็นรายวันให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป (3) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนของทุกวันพร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เพื่อพร้อมที่จะให้สํานักงานตรวจสอบได้หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,051
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 29/2551 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29 /2551 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2546 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหน้า 6 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนตามแบบ บ.ล.ล. 1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2546 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความในหน้า 6 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,052
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในการเสนอขายตราสารหนี้ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2549 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และข้อ 4(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายพันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัทใหญ่” และ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ให้หมายความเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อ ๓ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเฉพาะในการเสนอขายตราสารหนี้ของนิติบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 4 (1) Standard & Poor (2) Moody’s (3) Fitch (4) Rating and Investment Information, Inc. ข้อ ๔ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้นิติบุคคลดังต่อไปนี้สามารถใช้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 3 ได้ (1) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) มีบริษัทใหญ่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ข) ออกและเสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทยและต่างประเทศในคราวเดียวกัน (2) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๕ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,053
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 6/2550 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 6/2550 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2549 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และข้อ 4(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเฉพาะในกรณีตามข้อ 4 (1) Standard & Poor (2) Moody’s (3) Fitch (4) Rating and Investment Information, Inc. ข้อ 4 การจัดอันดับความน่าเชื่อถือในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ดําเนินการได้โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 3 (1) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. มีบริษัทใหญ่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ 2. ออกและเสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทยและต่างประเทศในคราวเดียวกัน (2) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (3) การเสนอขายตราสารหนี้ที่มีผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัล เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลดังกล่าว” ###### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ###### ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,054
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 42/2549 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการรายงานต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 42/2549 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการรายงานต่าง ๆ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ข้อ 13 ข้อ 28 ข้อ 32 และข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้ “ประกาศที่ กย. 31/2549” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศที่ กย. 31/2549 ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ 1. ในกรณีที่มิใช่การขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ให้บริษัทปฏิบัติดังนี้ (ก) ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอจํานวนสองชุด และชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ (ข) ภายหลังได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นแบบ 35-2-2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดในแบบดังกล่าวต่อสํานักงานเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์ ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน เว้นแต่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้น ผู้ได้รับอนุญาตไม่ต้องยื่นแบบ 35-2-2 และเอกสารหลักฐานดังกล่าวก่อนการเสนอขาย 1. ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ให้บุคคลที่จะเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากสํานักงานและบริษัทที่จะเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ยื่นคําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่มาพร้อมกันตามแบบ 35-2-3 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอ จํานวนสองชุด พร้อมชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ ทั้งนี้ ให้ผู้ยื่นคําขอ ยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงาน ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ข้อ ๓ ให้บริษัทที่ออกตั๋วเงินระยะสั้นตามหมวด 2 แห่งประกาศที่ กย. 31/2549 รายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงินต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการชําระหนี้ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวให้แสดงข้อมูลที่ได้ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันจากรายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงินและที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานพร้อมกับคําขออนุญาต ให้บริษัทส่งรายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงินที่ยังมิได้มีการชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือตามวรรคหนึ่ง ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,055
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 21/2550 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการรายงานต่าง ๆ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 21/2550 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการรายงานต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน 1.2 ของ 1. ลักษณะการขออนุญาต ในส่วนที่ 2 การขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีจํากัด หรือการขออนุญาตเสนอขายเฉพาะตั๋วเงินระยะสั้น และ/หรือ หุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ ของแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 42/2549 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการรายงานต่าง ๆ ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “❑ 1.2 เสนอขายเฉพาะตั๋วเงินระยะสั้น และ/หรือ หุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ ในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ❑ ประสงค์จะจํากัดมูลค่าการเสนอขาย ระบุมูลค่าตามคําขออนุญาต (มูลค่าที่จะได้รับอนุญาตต้องเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 20/2550 เรื่อง การกําหนดมูลค่าและระยะเวลาการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ) ❑ ไม่ประสงค์จะจํากัดมูลค่าการเสนอขาย” ###### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ###### ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,056
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการชักชวนลูกค้าให้เข้าทำสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 18(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 3(1) และ (8) ข้อ 4(6) และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ขาย” ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน และหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ “หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ขายควบคู่ไปกับการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน “กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” หมายความว่า กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทําสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีการตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชําระค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทประกันชีวิตสําหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิต “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นผู้ดําเนินการเกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เกี่ยวกับหน่วยลงทุน และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) หมายความว่า การขายหรือชักชวน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้นมาก่อน หรือโดยบริษัทหลักทรัพย์กับบุคคลที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของตนมาก่อน แล้วแต่กรณี เพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบริษัทหลักทรัพย์ตั้งใจเข้าพบผู้ลงทุนโดยตรงหรือติดต่อผู้ลงทุนทางโทรศัพท์โดยผู้ลงทุนมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) โดยอนุโลม (17) นิติบุคคลตามที่สํานักงานอนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งนิติบุคคลนั้นต้องประกอบธุรกิจหลักสอดคล้องกับธุรกิจหลักที่กองทุนรวมต้องการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในนโยบายการลงทุน “คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การบริการธุรกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine) บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (telebanking) อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน “การชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทต้องดําเนินการตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ลงทุน และต้องดําเนินการเปิดเผยข้อมูลและคําเตือนที่สําคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุนและข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ข้อ ๔ บริษัทต้องให้ผู้ลงทุนมีเวลาที่เพียงพอในการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุนโดยอิสระ และต้องเสนอขายหน่วยลงทุนในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความรําคาญแก่ผู้ลงทุน รวมทั้งต้องดําเนินการให้ผู้ลงทุนได้รับทราบผลการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยไม่ชักช้า และหากเป็นการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอต้องให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันในการยกเลิกคําสั่งซื้อหรือในการขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๕ ในการขายหน่วยลงทุนที่มีการส่งเสริมการขายหรือบริการเสริม บริษัทต้องดําเนินการด้วยความยุติธรรม และไม่โน้มน้าวจูงใจให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิด หรือเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนโดยมิได้คํานึงถึงความเสี่ยงหรือความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ข้อ ๖ ในการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน บริษัทต้องทําความรู้จักกับผู้ลงทุน และให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน ข้อ ๗ ในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทต้องชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควร ส่วน ๑ การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทแจ้งวันเริ่มให้บริการและรายละเอียดของการให้บริการ พร้อมทั้งนําส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานทราบก่อนวันเริ่มให้บริการดังกล่าว และบริษัทต้องมีวิธีดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่า (1) ผู้ลงทุนเป็นผู้เข้าทํารายการซื้อขายหน่วยลงทุนจริง (2) ผู้ลงทุนได้รับทราบคําเตือนและข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและกองทุนรวมผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะเอื้ออํานวยต่อการเผยแพร่ข้อมูลนั้น หรืออาจแจ้งให้ทราบถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวแทนการเผยแพร่ก็ได้ (3) ข้อมูลการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนได้รับการเก็บรักษาและดูแลอย่างปลอดภัย ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ บริษัทต้องให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงกับผู้ลงทุนทุกครั้ง โดยต้องทําความรู้จักกับผู้ลงทุนและให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน ในกรณีที่ผู้ลงทุนประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการลงทุนในหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันไว้ บริษัทต้องปรับปรุงข้อมูลของผู้ลงทุนให้เป็นปัจจุบันก่อนที่จะให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เป็นครั้งแรกสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแต่ละกรมธรรม์ จากการขายทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ บริษัทต้องให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนในการยกเลิกคําสั่งซื้อหรือในการขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่ต้องชําระ ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ดังกล่าว ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ของผู้ลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ของผู้ลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์อยู่ระหว่างการขายต่อประชาชนครั้งแรก ให้นําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในสามวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาจองซื้อ (2) ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้นําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์นั้น ส่วน ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์จะแสดงตนโดยเปิดเผยว่าพร้อมจะซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลา (interval fund) ในระหว่างเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้เปิดทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ต่อเมื่อได้มีการกําหนดไว้ในรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม และในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ซื้อขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาก่อนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการกองทุนรวมนั้นขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน (2) เปิดเผยข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งสามารถทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงความแตกต่างของการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมมีการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกวัน บริษัทหลักทรัพย์จะต้องขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามราคาขายหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่ได้รับเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่ออกให้โดยบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหลักฐานที่ผู้ลงทุนสามารถใช้แสดงสิทธิใน ความเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ และในกรณีที่มี ข้อจํากัดสิทธิของผู้ลงทุน ให้ระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นในหลักฐานดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําข้อมูลเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของ กองทุนรวมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ ให้ดําเนินการด้วยความสุจริต เป็นธรรม และไม่ทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในสาระสําคัญ หมวด ๒ การชักชวนลูกค้าของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ในการชักชวนลูกค้า บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องทําความรู้จักกับลูกค้า และเสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้า ข้อ ๑๗ ในการชักชวนลูกค้า บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 โดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,057
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 34/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการชักชวนลูกค้าให้เข้าทำสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 34 /2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(8) ข้อ 7(1) และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund)” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “การชักชวนลูกค้า” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ดังต่อไปนี้ ““กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund)” หมายความว่า กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อยหนึ่งรายที่พร้อมจะซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 บริษัทหลักทรัพย์จะแสดงตนโดยเปิดเผยว่าพร้อมจะซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิด กองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลา (interval fund) ในระหว่างเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้เปิดทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการกําหนดไว้ในรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทหลักทรัพย์รับซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ (2) เปิดเผยมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศล่าสุด และข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งสามารถทําให้ผู้ลงทุนทราบถึงความแตกต่างของการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดหรือกองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลา (interval fund) ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ ในช่วงระยะเวลาก่อนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการกองทุนรวมขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 12/1 ในการค้าหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งราคาเสนอซื้อขายและกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผลให้ผู้ลงทุนทราบ โดยกรณีที่การเสนอซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข บริษัทหลักทรัพย์ต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ผู้ลงทุนทราบโดยชัดเจนด้วย (2) รับซื้อหรือขายตามราคาเสนอซื้อขาย โดยบริษัทหลักทรัพย์จะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ผู้ลงทุนได้อย่างชัดเจนด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมมีการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกวัน บริษัทหลักทรัพย์จะต้องขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามราคาขายหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการค้าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund)” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,058
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 30/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการชักชวนลูกค้าให้เข้าทำสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 30/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมวายุภักษ์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund)” และคําว่า “การชักชวนลูกค้า” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 34/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ดังต่อไปนี้ ““กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 และข้อ 13/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 43/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชักชวนลูกค้าให้เข้าทําสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 13/1 ในกรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ในบัญชีบริษัทนายหน้าแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทนายหน้าที่เป็นเจ้าของบัญชีต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลตามข้อ 14 (2)(ข) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 บริษัทนายหน้าต้องระบุด้วยว่าเป็นบุคคลตามข้อดังกล่าว (3) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเมื่อบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด มีการลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนลงจนต่ํากว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (4) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมใด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งในวันดังกล่าวกองทุนรวมนั้นมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น และอยู่ระหว่างการดําเนินการตามข้อ 11/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 การพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ข้อ 13/2 มิให้นําความในข้อ 13/1 มาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ (2) กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,059
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น/ย. 59/2546 เรื่อง กำหนดรายได้จากการประกอบกิจการและระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น/ย. 59/2546 เรื่อง กําหนดรายได้จากการประกอบกิจการและระยะเวลา ในการชําระค่าธรรมเนียมและการยกเว้น ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ อาศัยอํานาจตามข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายในรอบปีปฏิทินนั้นสําหรับการประกอบกิจการแต่ละประเภทดังต่อไปนี้ (1) รายได้สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ให้หมายความถึงค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) รายได้สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ ให้หมายความถึงกําไรสุทธิ (net capital gain) ที่เกิดจากการค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งหนี้และหน่วยลงทุน (3) รายได้สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้หมายความถึงค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) รายได้สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้หมายความถึงค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (5) รายได้สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้หมายความถึงค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดการกองทุนรวม ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนเอง และค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่ค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จ่ายให้ตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือยอมให้บุคคลดังกล่าวหักไว้ได้ (6) รายได้สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้หมายความถึงค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมการจัดการและการเป็นนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใต้การจัดการของตนเองด้วย (7) รายได้สําหรับการประกอบกิจการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้หมายความถึงค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณจากรายได้ตามข้อ 1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการต่อสํานักงานเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยให้แบ่งชําระค่าธรรมเนียมเป็นสองงวด งวดแรกให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําจํานวนสองแสนบาทภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น และงวดที่สองให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินสองแสนบาทภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่ในปีแรกของการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ แต่ในกรณีที่เป็นการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ในการชําระค่าธรรมเนียมในงวดที่สองตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดการคํานวณเงินรายได้ที่ต้องชําระต่อสํานักงานตามแบบ 14-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต้องชําระค่าธรรมเนียมคงที่เป็นรายปี ให้ชําระต่อสํานักงานภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ได้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ไว้แล้วสําหรับระยะเวลาการประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2547 บางส่วน ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นชําระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ของปี พ.ศ. 2547 ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดยให้คํานวณค่าธรรมเนียมเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ในปี พ.ศ. 2547 ตามอัตราที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการทุกประเภทตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 หรือตั้งแต่ปีที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับภายหลังปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป จนถึงปีที่สํานักงานไม่สามารถนําค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ชําระไว้มาหักทอนด้วยอัตราสูงสุดของค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่กําหนดไว้ในขณะนั้นได้อีก ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,060
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น/ย/ข. 38/2549 เรื่อง กำหนดรายได้จากการประกอบกิจการและระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น/ย/ข. 38/2549 เรื่อง กําหนดรายได้จากการประกอบกิจการและระยะเวลาในการชําระ ค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ (ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น/ย. 59/2546 เรื่อง กําหนดรายได้จากการประกอบกิจการและระยะเวลาในการชําระค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณจากรายได้ตามข้อ 1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการต่อสํานักงานเป็นรายปีตามปีปฏิทินโดยให้แบ่งชําระค่าธรรมเนียมเป็นสองงวด งวดแรกให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําจํานวนห้าแสนบาทภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น และงวดที่สองให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินห้าแสนบาทภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่ในปีแรกของการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ แต่ในกรณีที่เป็นการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ในการชําระค่าธรรมเนียมในงวดที่สองตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดการคํานวณเงินรายได้ที่ต้องชําระต่อสํานักงานตามแบบ 14-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
2,061
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 44/2549 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 44/2549 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2542 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ให้ยื่นรายงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบรายงานผลการขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (แบบ F81-1) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2542 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ข้อ ๓ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จัดทํารายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2542 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,062
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 47/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทํา และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และข้อ 7 และข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 “ข้อ 5/1 ในกรณีที่หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์เป็นหุ้นที่จัดอยู่ในดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประเภทดัชนีเซท 50 (SET 50 INDEX) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบหุ้นอ้างอิงตามประกาศนี้” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 35-sn/dw ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้แบบ 35-sn/dw ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,063
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหาร ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบท้ายประกาศนี้ “ประกาศที่ กจ. 5/2548” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ในการแจ้งข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้บริษัทแจ้งต่อ สํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และยื่นข้อมูลผู้บริหารของบริษัทตามแบบ 35-E1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทาง (2) เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (สําหรับทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนชื่อ หรือชื่อสกุล ตั้งแต่ผู้บริหารบรรลุนิติภาวะ) ข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน ข้อ ๓ ให้บริษัทที่แจ้งข้อมูลผู้บริหารของบริษัทต่อสํานักงาน จัดให้มีบุคคลที่จะทําหน้าที่ในการประสานงานกับสํานักงานในเรื่องข้อมูลของผู้บริหารของบริษัท และการดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ข้อ ๔ เมื่อบริษัทได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 ต่อสํานักงานแล้ว สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน (1) แสดงรายชื่อผู้บริหารในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศที่ กจ. 5/2548 (2) แจ้งผลการปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ บริษัทหรือบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร อาจขอตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ขอตรวจสอบ ให้บริษัทขอตรวจสอบต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และต้องยื่นหนังสือยินยอม ให้เปิดเผยข้อมูลต่อสํานักงานตามแบบ 35-E2 ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีที่บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารเป็นผู้ขอตรวจสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นหนังสือขอตรวจสอบคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารต่อสํานักงานตามแบบ 35-E3 ท้ายประกาศนี้ สํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับหนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลจากบุคคลที่ขอตรวจสอบคุณสมบัติ หรือหนังสือขอตรวจสอบคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหาร แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ในกรณีเป็นการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารที่สํานักงานได้แสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ให้บริษัทปฏิบัติดังนี้ (1) กรณีเป็นการแจ้งข้อมูลของผู้บริหารรายใหม่ ให้บริษัทปฏิบัติตามความในข้อ 2 โดยอนุโลม โดยให้แจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ผู้บริหารบริษัทรายนั้นได้รับการแต่งตั้ง (2) กรณีเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้บริหารของบริษัทที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารแล้ว หรือเป็นการแจ้งขอยกเลิกการแสดงชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ให้บริษัทแจ้งต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด โดยในกรณีที่เป็นข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้บริษัทแจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (ก) การเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (ให้แนบเอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ หรือชื่อสกุลมาด้วย) (ข) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่ง (ค) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องในระดับปริญญาตรีขึ้นไป กรณีที่เป็นกรรมการตรวจสอบ (ง) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนที่ประสงค์จะแจ้งข้อมูลผู้บริหารของบริษัทต่อสํานักงานเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ได้ดําเนินการโดยถูกต้องและครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 2 และข้อ 3 ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ให้ถือว่าผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวมีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตั้งแต่วันที่ประกาศที่ กจ. 5/2548 มีผลใช้บังคับ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไปเว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป (1) ระยะเวลาการแสดงรายชื่อหรือการปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารในระบบข้อมูลผู้บริหารตามข้อ 4 โดยในกรณีที่บริษัทแจ้งข้อมูลผู้บริหารต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 มิถุนายนพ.ศ. 2548 ให้สํานักงานแสดงรายชื่อหรือแจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารของบริษัทนั้นในระบบข้อมูลผู้บริหาร ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน (2) ระยะเวลาการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารที่สํานักงานได้แสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารตามข้อ 6 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,064
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 51/2549 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 51/2549 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหาร ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 เมื่อบริษัทได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 ต่อสํานักงานแล้ว สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้กับรายชื่อผู้บริหารแต่ละราย ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน (1) แสดงรายชื่อผู้บริหารในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศที่ กจ. 5/2548 2. แจ้งผลการปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร 3. แจ้งให้รอผลการพิจารณาของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้กับบุคคลดังกล่าว ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี 1. แจ้งการสามารถแสดงชื่อในระบบข้อมูล 2. แจ้งการอยู่ในข่ายที่สํานักงานไม่สามารถแสดงชื่อในระบบข้อมูล 3. แจ้งการต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม หากมีบริษัทขอแสดงชื่อบุคคลดังกล่าวในระบบข้อมูล” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนประสงค์จะแจ้งข้อมูลผู้บริหารของบริษัทต่อสํานักงานตามนัยของข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศที่ กจ. 5/2548 ให้บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 2 และข้อ 3 โดยอนุโลม และสํานักงานจะดําเนินการกับรายชื่อผู้บริหารแต่ละรายตามข้อ 4 (1) หรือแจ้งตามข้อ 4 (2) หรือ (3) ไปยังบริษัทจดทะเบียนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,065
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 483) พ.ศ. 2552 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หมายความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดและให้รวมถึงหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสํารองครบร้อยละร้อย และตัดออกจากบัญชีแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชีและได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าบัญชีลูกหนี้จะได้รับการจัดชั้นดังกล่าวก่อนปี พ.ศ. 2552 หรือภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป) ข้อ ๒ กรณีตามข้อ 1 เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งดังนี้ (1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน (2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 วินัย วิทวัสการเวช (นายวินัย วิทวัสการเวช) อธิบดีกรมสรรพากร
2,066
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกำหนดองค์กรภาคประชาสังคมอื่นและการกำหนดจำนวน หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา ซึ่งผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและ คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกําหนดองค์กรภาคประชาสังคมอื่นและการกําหนดจํานวน หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา ซึ่งผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและ คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ----------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรกําหนดจํานวน หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓ มาตรา ๑๐ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๑๒ วรรคสี่และวรรคห้า แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) จึงให้ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกําหนดองค์กรภาคประชาสังคมอื่นและการกําหนดจํานวน หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กลุ่มที่หน่วยงานของรัฐสนับสนุนหรือกลุ่มที่ประชาชนจัดตั้งขึ้น และมีวัตถุประสงค์การดําเนินงานในการพัฒนา ส่งเสริม หรืออนุรักษ์ฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมในจังหวัดนั้น รวมทั้งได้ดําเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และมิใช่สภาองค์กรชุมชน ตําบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชนเป็นองค์กรภาคประชาสังคมอื่นตามมาตรา ๓ ข้อ ๒ จํานวนกรรมการ ก.บ.จ. ตามมาตรา ๑๐ (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๓) ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่มีสํานักงานอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง จํานวนอย่างน้อยสี่คน แต่ไม่เกินสิบสองคน (๒) กรรมการผู้แทนรัฐวิสาหกิจที่ดําเนินกิจการอยู่ในจังหวัด จํานวนไม่เกินสี่คน (๓) กรรมการผู้แทนหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสํานักงานอยู่ในจังหวัดจํานวนไม่เกินสี่คน (๔) กรรมการผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวนอย่างน้อยสี่คน แต่ไม่กินแปดคน (๕) กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคม จํานวนอย่างน้อยสี่คน แต่ไม่เกินสิบสองคน ข้อ ๓ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดจํานวนกรรมการตามข้อ ๒ โดยคํานึงถึงขนาดพื้นที่และจํานวนประชากรของจังหวัด รวมทั้งจํานวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ข้อ ๔ กรรมการตามข้อ ๒ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งตามจํานวนที่กําหนด การแต่งตั่งกรรมการผู้แทนภาคประชาสังคม ตามข้อ ๒ (๕) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคํานึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน ข้อ ๕ ให้กรรมการผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ ๒ (๔) ประกอบด้วย (๑) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (๒) นายกเทศมนตรีเทศบาลซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด (๓) นายกเทศมนตรีเทศบาลนครทุกคน (ถ้ามี) (๔) ผู้แทนนายกเทศมนตรีเทศบาลอื่นนอกจาก (๒) และ (๓) (๕) ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อ ๖ กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมตามข้อ ๒ (๕) จะต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตําบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน หรือองค์กรภาคประชาสังคมอื่นตามข้อ ๑ (๒) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ ข้อ ๗ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดในกลุ่มจังหวัดจัดประชุมกรรมการ ก.บ.จ. เฉพาะที่เป็นผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เลือกกันเอง ให้ได้นายกเทศมนตรีคนหนึ่งและนายกองค์การบริหารส่วนตําบลอีกคนหนึ่ง เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.บ.ก. ตามมาตรา ๑๒ (๕) และ (๖) ข้อ ๘ จํานวนกรรมการ ก.บ.ก. ตามมาตรา ๑๒ (๒) และ (๘) ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนภาคประชาสังคมจังหวัดละสองคน (๒) กรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน จํานวนสองคน ข้อ ๙ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดในกลุ่มจังหวัดจัดประชุมกรรมการ ก.บ.จ. เฉพาะที่เป็นผู้แทนภาคประชาสังคม เพื่อให้เลือกกันเองให้ได้หญิงหนึ่งและชายหนึ่งคนเป็นกรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมของจังหวัดนั้นใน ก.บ.ก. ข้อ ๑๐ ให้กรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามข้อ ๘ (๒) ประกอบด้วยประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดและประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัด เว้นแต่กรณีที่ไม่มีประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดหรือประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัด ในกรณีที่กลุ่มจังหวัดใดไม่มีประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดหรือประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัด ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดจัดประชุมประธานหอการค้าจังหวัดหรือ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดในกลุ่มจังหวัดนั้น เพื่อให้เลือกกันเองให้ได้กรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนใน ก.บ.ก. ตามจํานวนที่กําหนดไว้ตาม ข้อ ๘ (๒) ข้อ ๑๑ การประชุมเพื่อเลือกกันเองตามประกาศนี้ ให้ผู้เข้าประชุมคนหนึ่งมีสิทธิ ลงคะแนนเลือกผู้เข้าร่วมประชุมได้ไม่เกินสองชื่อ ให้ผู้ซึ่งได้คะแนนมากที่สุดเรียงตามลําดับลงมา เป็นผู้ได้รับการสรรหาตามจํานวนที่กําหนด ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลําดับผู้ได้รับการสรรหาได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอําเภอ แล้วแต่กรณี จัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันจับสลาก เพื่อให้ได้ผู้ได้รับการสรรหาครบตามจํานวนที่กําหนด ข้อ ๑๒ กรรมการ ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. ที่เป็นผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดํารงตําแหน่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่กรรมการตามวาระ ในกรณีที่กรรมการ ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. ที่เป็นผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้แทนภาคประชาสังคมพ้นจากตําแหน่งก่อนครบกําหนดตามวาระ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาว่าจะต้องมีการสรรหากรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างลงหรือไม่ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ค.ศ.2009 กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ.
2,070
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง วิธีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง วิธีการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด -------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรกําหนดวิธีการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัดเพื่อให้ทราบถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘ วรรคสี่ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ บริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.จ.จ.) จึงให้ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง วิธีการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) อาจดําเนินการด้วยวิธีการใดหรือหลายวิธีเพื่อให้ทราบถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ (๑) มอบให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือบุคคลอื่นใดทําการศึกษาสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด (๒) มอบให้ฝ่ายเลขานุการ ก.บ.จ. ดําเนินการหรือร่วมกับหน่วยงานอื่น ทําการศึกษาสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการของ ก.บ.จ. ขึ้นคณะหนึ่ง ทําหน้าที่ประสานงานเพื่อให้ได้ข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด (๔) ดําเนินการอื่นตามที่ ก.บ.จ. เห็นสมควร ข้อ ๒ ก.บ.จ. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับอําเภอในแต่ละอําเภอ เพื่อดําเนินการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในตําบล หมู่บ้านก็ได้ คณะอนุกรรมการระดับอําเภอตามวรรคหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) นายอําเภอ เป็นประธานกรรมการ (๒) ปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอที่นายอําเภอแต่งตั้งตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ (๓) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอําเภอที่นายอําเภอแต่งตั้งตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ (๔) ผู้แทนภาคประชาสังคม ที่นายอําเภอแต่งตั้งตามที่เห็นสมควร เป็นกรรมการ (๕) ปลัดอําเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการอําเภอคนหนึ่งที่นายอําเภอแต่งตั้งตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๓ ให้ อ.ก.อ. มีอํานาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ของอําเภอ เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการ ศักยภาพ และความคิดเห็นของประชาชน (๒) ร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ จัดให้มีการสํารวจและประมวลความต้องการของประชาชนโดยใช้ข้อมูลจากแผนชุมชน หรือกระบวนการประชาคมของแต่ละชุมชน (๓) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลตาม (๑) และ (๒) และจัดทําข้อเสนอความต้องการ และศักยภาพของประชาชน รวมทั้งโครงการหรือแนวทางแก้ปัญหาส่ง ก.บ.จ. (๔) หน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากประธาน ก.บ.จ. ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ.
2,071
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณจังหวัด และงบประมาณกลุ่มจังหวัด
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณจังหวัด และงบประมาณกลุ่มจังหวัด ----------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ จังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การบริหารงบประมาณกลุ่มจังหวัดเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่ม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ (๖) มาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออกประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่ม จังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณจังหวัด และงบประมาณกลุ่มจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การบริหารงบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ ๒ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของกลุ่มจังหวัดให้ดําเนินการ ดังนี้ (๑) โครงการที่ดําเนินการในเขตพื้นที่จังหวัดใด ให้กลุ่มจังหวัดเจ้าของงบประมาณ มอบหมายให้จังหวัดนั้นในฐานะที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้เบิก (๒) โครงการที่ดําเนินการในเขตพื้นที่คาบเกี่ยวกันตั้งแต่สองจังหวัดขึ้นไปให้กลุ่ม จังหวัดเจ้าของงบประมาณมอบหมายให้จังหวัดซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดในฐานะที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนั้นเป็นผู้เบิกเงินในนามกลุ่มจังหวัดซึ่งเป็นส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ การดําเนินการตามวรรคหนึ่งให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกําหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ.
2,072
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัสดุและจัดทำนิติกรรมสัญญาของกลุ่มจังหวัด
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัสดุและจัดทํานิติกรรมสัญญาของกลุ่มจังหวัด ------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัสดุและจัดทํานิติกรรมสัญญาของกลุ่มจังหวัดเพื่อให้การบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลและเป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการนโยบาย การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) โดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีจึงประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัสดุและจัดทํานิติกรรมสัญญาของกลุ่มจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การพัสดุของกลุ่มจังหวัดให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) โครงการที่ดําเนินการในเขตพื้นที่จังหวัดใด ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดเจ้าของ งบประมาณมอบอํานาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นดําเนินการแทนกลุ่มจังหวัดได้ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (๒) โครงการที่ดําเนินการในเขตพื้นที่คาบเกี่ยวกันตั้งแต่สองจังหวัดขึ้นไป ให้ หัวหน้ากลุ่มจังหวัดเจ้าของงบประมาณมอบอํานาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดดําเนินการแทนกลุ่มจังหวัดได้ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒ ในการจัดทํานิติกรรมสัญญา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบอํานาจ ตามข้อ ๑ เป็นผู้ลงนามในนิติกรรมสัญญาในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2,073
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 11/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 11/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนการตลาด ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 วรรคสอง และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ชักชวน” หมายความว่า ชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีการวางแผนการลงทุนให้ด้วย “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม ข้อ ๒ นิติบุคคลที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่านิติบุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็น ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๓ นิติบุคคลที่จะขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องเป็น (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (5) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ (7) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ข้อ ๔ นิติบุคคลที่ขอความเห็นชอบตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการรับลูกค้า (ข) ระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้า (ค) ระบบการรับเงินทุนที่ลูกค้ามอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการเงินทุน (ง) ระบบการรับเรื่องร้องเรียน (2) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีพนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (3) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุน ข้อ ๕ นิติบุคคลที่ขอความเห็นชอบตามข้อ 3 นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แล้วต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) อยู่ระหว่างถูกสํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ (2) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (3) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบหรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ (5) ถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนจากการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาประวัติการมีลักษณต้องห้ามตาม (2) ถึง (5) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง สํานักงาน ก.ล.ต. อาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าผู้ขอความเห็นชอบได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่งในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุน ข้อ ๖ ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบตามประกาศนี้ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 ข้อ ๗ การขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุน ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๘ สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบนิติบุคคลใด สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย สํานักงาน ก.ล.ต. อาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากผู้ขอความเห็นชอบมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงาน ก.ล.ต. จะถือว่าผู้ขอความเห็นชอบดังกล่าวไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๙ ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบแล้ว (2) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบได้ หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับการ ร้องขอ (3) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมตามข้อ 4(1) และ (2) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาให้ความเห็นชอบ การเปลี่ยนแปลงระบบงานตาม (1) ให้ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าก่อนดําเนินการ ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. เคยให้ความเห็นชอบไปแล้ว ข้อ ๑๐ ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องดูแลให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๑ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) กรณีที่รับมอบทรัพย์สินที่ลูกค้ามอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการ ต้องมอบหลักฐานการรับมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้ลูกค้าด้วย (3) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (4) จัดทํารายงาน ชี้แจง หรือจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๑๒ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน (2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้านอกเหนือจากที่ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชําระต่อผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนที่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น ข้อ ๑๓ ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนหรือพนักงานของตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนนั้น และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ต้องบันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนดังกล่าวจะดําเนินการแก้ไขปัญหา (2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว (3) แจ้งข้อร้องเรียนให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต้องแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น (5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนการตลาดของ ผู้จัดการเงินทุนรายใดขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตาม (3) สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. จะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,074
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 12/2549 เรื่อง การรายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 12/2549 เรื่อง การรายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาด ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องรายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุน แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,075
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 29/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายพันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในการเสนอขายพันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 4(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2547 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ไว้ในการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว เฉพาะการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์ ผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลหลักทรัพย์ดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ 1. Standard & Poor 2. Moody’s 3. Fitch ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,076
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 13/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายพันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในการเสนอขายพันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 42/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 41/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2549 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 และข้อ 4(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายพันธบัตร หุ้นกู้ และตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เฉพาะการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์ ผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลหลักทรัพย์ดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ (1) Standard & Poor (2) Moody’s 3. Fitch 4. Rating and Investment Information, Inc. ข้อ ๓ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,077
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 14/2549 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2549 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ ในประเทศไทยและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2 /2549 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2 /2549 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-CB ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอ 1. สําเนาหนังสือสําคัญในการจัดตั้งบริษัทซึ่งรับรองโดย Notary Public 2. สําเนาเอกสารหลักฐานแสดงการอนุมัติให้ออกหุ้นกู้ที่ขออนุญาต เช่น สําเนามติคณะกรรมการบริษัท หรือสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นกู้ เป็นต้น 3. หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ 4. ร่างข้อกําหนดสิทธิ 5. หนังสือรับรองจากบริษัทแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกัน ให้บริษัทยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จํานวนสองชุด เพิ่มเติมด้วย 1. ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ 2. หนังสือขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมคํารับรองการไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ 3. หนังสือแสดงการยอมรับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของบุคคลที่จะขอความเห็นชอบเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,078
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 19/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการมอบหมายให้ผู้อื่นทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในนามของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการมอบหมายให้ผู้อื่นทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อ กับผู้ลงทุนในนามของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 22/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในนามของบริษัทหลักทรัพย์ (3) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์จะมอบหมายให้ผู้ให้บริการใดทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในนามของบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์ผู้มอบหมายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น (ข) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ผู้มอบหมายไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้ว ทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นด้วย (2) มีความมั่นคงทางด้านการเงินรวมทั้งความสามารถและความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานกําหนด และระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (3) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําให้แก่ผู้ลงทุนหรือลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือเป็นผู้ดําเนินการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะมอบหมายให้ผู้ให้บริการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตในการมอบหมายให้ทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (2) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ให้บริการที่จะรับมอบหมายมีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 2 สํานักงานจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบระบบหรือพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้ ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อบริษัทหลักทรัพย์และลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (3) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๕ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีแผนงานหรือมาตรการรองรับในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ให้บริการบอกเลิกสัญญาระหว่างกันหรือผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการแก่บริษัทหลักทรัพย์ต่อไปได้ ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ลงทุน เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานและผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่บริษัทหลักทรัพย์ได้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานในภายหลังว่าบริษัทหลักทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือผู้ให้บริการไม่มีลักษณะหรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 2 สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการมอบหมายให้ผู้อื่นทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในนามของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป หมวด ๑ ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,079
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 20/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์สำหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้ บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 27/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือด้านงานสนับสนุนแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หมวด ๑ หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ใช้บริการด้านผู้ติดต่อ กับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากผู้ให้บริการใด ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น (ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นด้วย (2) มีความมั่นคงทางด้านการเงินรวมทั้งความสามารถและความพร้อมในการให้บริการ และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (3) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า ข้อ ๔ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากผู้ให้บริการ ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากผู้ให้บริการ (2) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ให้บริการมีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบระบบหรือพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงาน ก.ล.ต. ได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้ หมวด ๒ หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ใช้บริการด้านงานสนับสนุน ข้อ ๕ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 7 ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการใด ผู้ให้บริการนั้นต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3(2) ข้อ ๖ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการตามข้อ 5 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตการใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ (2) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ให้บริการมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3(2) สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบระบบหรือพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงาน ก.ล.ต. ได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสองแล้ว หากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดไปยังตัวแทนซื้อขายสัญญา ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการตามที่ขอได้ ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาสามารถใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการดังต่อไปนี้ได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว (1) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ (2) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน ตามมาตรา 153(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่ง แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตการใช้บริการด้านงานสนับสนุนให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบก่อนวันเริ่มใช้บริการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน หมวด ๓ เงื่อนไขในการใช้บริการ ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (3) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๙ เพื่อให้มั่นใจว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีแผนงานหรือมาตรการรองรับในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาหรือผู้ให้บริการบอกเลิกสัญญาระหว่างกันหรือผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต่อไปได้ ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ลงทุน เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ตลอดจนเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านงานสนับสนุน ไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควร ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในภายหลังว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือผู้ให้บริการไม่มีลักษณะหรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือข้อ 5 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,080
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 21/2549 เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2549 เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ (1) ไม่กระทําการโดยทุจริต หลอกลวง ยักยอก หรือฉ้อโกงทรัพย์สินของลูกค้า (2) ไม่เบียดบังและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากลูกค้าโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น (3) ดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เป็นไปตามคําสั่งของลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชีหรือผู้ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร (4) ดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามคําสั่งของลูกค้า โดยให้ลูกค้าได้รับเงื่อนไขการซื้อขายที่ดีที่สุดตามสภาพตลาดในขณะที่คําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ายังคงมีผลอยู่ (duty of best execution) (5) ไม่ดําเนินการใด ๆ ในลักษณะที่อาจทําให้คําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่ได้รับการแข่งขันหรือจับคู่ซื้อขายตามกลไกตลาด (non competitive trade) เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. (6) ไม่ซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนที่จะซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเดียวกันนั้นเพื่อลูกค้า ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบลูกค้า (front running) (7) ไม่ใช้บัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ตนเองหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี (8) ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวลือหรือข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสินค้า หรือการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวโดยเร็ว และในกรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องเตือนให้ลูกค้าใช้ความระมัดระวังด้วย (9) ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการสนับสนุนหรือร่วมมือกับลูกค้าในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสมกับฐานะทางการเงิน ความสามารถในการชําระหนี้ หรือข้อจํากัดการลงทุนของลูกค้า ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม ซึ่งรวมถึงการดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าตามลําดับก่อนหลัง เว้นแต่ลูกค้าได้กําหนดเงื่อนไขการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจนเป็นอย่างอื่น ข้อ ๔ ในการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องให้คําแนะนําที่เหมาะสมและเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ (1) ไม่ให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงลูกค้าหรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า ตัวแปร หรือการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ไม่ให้คําแนะนําในลักษณะที่เป็นการยุยงหรือสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบ่อยครั้ง (churning) หรือเร่งรัดการตัดสินใจของลูกค้า (3) ไม่ให้คําแนะนําโดยอ้างอิงกับข่าวลือหรือข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,081
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 22/2549 เรื่อง การกำหนดอัตราหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 22/2549 เรื่อง การกําหนดอัตราหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1(9) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2549 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549และข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของตัวแทนซื้อขายสัญญา ให้จํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ เป็นไปตามอัตราหรือมูลค่าขั้นต่ําที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด ข้อ ๓ ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเริ่มต้น (initial margin) ในอัตราหรือมูลค่าไม่ต่ํากว่าที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,082
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 32/2549 เรื่อง แก้ไขข้อกำหนดลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2549 เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับบุคลากร ในธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ข้อ 2(2) และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้แก้ไขข้อความว่า “เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ในประกาศและแบบท้ายประกาศดังต่อไปนี้ เป็นข้อความว่า “เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน” 1. ข้อ 2.1(1) ข้อมูลจนถึงปัจจุบันในข้อ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการกระทําความผิดของแบบรับรองประวัติการปฏิบัติตามกฎหมายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2547 เรื่อง แบบคําขอ เอกสารหลักฐานประกอบคําขอ และแบบใบอนุญาต การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่29 มกราคม พ.ศ. 2547 2. ข้อ 4(7) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 27/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 3. ข้อ 3.7 ในส่วนที่ 3 ลักษณะต้องห้าม ของแบบคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุน (แบบ กน. 20-1) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ การให้ความเห็นชอบผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,083
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 34/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนเพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๒ ในการพิจารณาการขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม แล้วแต่กรณี นอกจากหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบตามประกาศดังกล่าวแล้ว สํานักงานจะพิจารณาลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับความเห็นชอบตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์เพิ่มเติมด้วย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,084
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 45/2549 เรื่อง การจัดสรรกระแสรายรับตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และการรายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือของนิติบุคคลเฉพาะกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 45/2549 เรื่อง การจัดสรรกระแสรายรับตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ และการรายงานการโอนสินทรัพย์และ ผลประโยชน์คงเหลือของนิติบุคคลเฉพาะกิจ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 70(3) และข้อ 72 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป ข้อ ๒ 1. ในประกาศนี้ 2. “การจัดสรรกระแสรายรับ” หมายความว่า การจัดสรรรายได้ของนิติบุคคลเฉพาะกิจที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง เพื่อการชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3. “รายได้” หมายความว่า รายได้ตามงบกําไรขาดทุน ซึ่งรวมถึง รายได้จากเงินลงทุนในลูกหนี้ ดอกเบี้ยจากเงินลงทุนในสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ หรือค่าเช่ารับ 4. “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายตามงบกําไรขาดทุน ซึ่งรวมถึง ดอกเบี้ยจ่าย ค่าเช่าจ่าย ต้นทุนในการดําเนินงาน หรือเงินสํารองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญตามที่กฎหมายกําหนด หมวด ๑ การจัดสรรกระแสรายรับตามโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ห้นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล รายงานการจัดสรรกระแสรายรับ ต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ข้อ ๔ การจัดสรรกระแสรายรับของนิติบุคคลเฉพาะกิจ จะต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดสิบของรายได้เฉลี่ยตลอดอายุโครงการ และต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละหกสิบของรายได้ในแต่ละปีบัญชี ข้อ ๕ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้นิติบุคคลฉพาะกิจ ไม่สามารถจัดสรรกระแสรายรับในแต่ละปีบัญชี ให้เป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อ ๔ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจนั้น ยื่นขอผ่อนผันอัตรา การจัดสรรกระแสรารับต่อสํานักงานก่อนวันครบกําหนดเวลาที่ต้องรายงานการจัดสรรกระแสรายรับตามข้อ 3 โดยต้องแสดงเหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผัน และในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันอัตราการจัดสรรกระแสรายรับงกล่าว โดยอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ด้รับการผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ หมวด ๒ รายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือ ภายหลังการสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ ข้อ ๖ ภายหลังการสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้บุคคลดังกล่าวรายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. (1) วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ 2. (2) วันที่โอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการ 3. (3) รายละเอียดของสินทรัพย์และผลประโยชน์ที่โอน โดยระบุมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ จํานวนลูกหนี้ และมูลค่าทางบัญชีของผลประโยชน์ ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งไม่อาจโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้เพิ่มรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในรายงานด้วย (1) รายละเอียดของสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือที่ยังมิได้โอน โดยระบุมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ จํานวนลูกหนี้ และมูลค่าทางบัญชีของผลประโยชน์ (2) เหตุผลและความจําเป็นที่ทําให้ไม่สามารถโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้เสนอโครงการได้ (3) แผนการดําเนินการกับสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือที่ยังมิได้โอนให้แก่ผู้เสนอโครงการ และระยะเวลาที่คาดว่าจะโอนได้ทั้งหมด รายงานตามข้อนี้ ให้ยื่นต่อกรมสรรพากรภายในกําหนดเวลาเดียวกันด้วย ข้อ ๗ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้บุคคลตามข้อ 6 ไม่สามารถโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือให้แก่ผู้เสนอโครงการภายในกําหนดเวลา ให้บุคคลนั้นยื่นคําขอผ่อนผันกําหนดเวลาการโอนดังกล่าวต่อสํานักงานก่อนวันครบกําหนด โดยต้องแสดงให้ชัดเจนถึงเหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผัน แผนการดําเนินการกับสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือที่ยังมิได้โอนให้แก่ผู้เสนอโครงการ รวมทั้งระยะเวลาที่คาดว่าจะโอนได้ทั้งหมด และในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุอันจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดเวลาการโอนดังกล่าวโดยอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับการผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,085
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 49/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 49/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระ ของบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความใน (1) ข้อ 4/1 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (2) ข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (3) ข้อ 2 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (2) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถประกอบการธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานซึ่งมีแนวทางในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจในทํานองเดียวกับสํานักงาน (4) “ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง (ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่กําหนดใน (ก) หรือธุรกิจวาณิชธนกิจ (investment banking) ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานซึ่งมีแนวทางในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจในทํานองเดียวกับสํานักงาน (5) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภายหลัง (ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานซึ่งมีแนวทางในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจในทํานองเดียวกับสํานักงาน (6) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด (7) “บริษัทโฮลดิ้ง” หมายความว่า บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการมีอํานาจควบคุมในบริษัทอื่นมากกว่าเพื่อการลงทุนหาผลตอบแทนทั่วไป (8) “บริษัทลูก” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา หรือบริษัทโฮลดิ้งถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (9) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในกรณีที่กรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์ตาย ลาออกหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว และให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระจากสํานักงานภายในกําหนดระยะเวลานั้น ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (financial conglomerate) ซึ่งมีโครงสร้างการถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ สามารถยื่นขอผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระต่อสํานักงานได้ (1) มีธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น (2) มีบริษัทโฮลดิ้งถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญา และบริษัทโฮลดิ้งดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย การถือหุ้นโดยธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตาม (1) และบริษัทโฮลดิ้งตาม (2) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยบริษัทลูกทุกทอดของนิติบุคคลดังกล่าวซึ่งประกอบธุรกิจการลงทุนในกิจการอื่นหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือสนับสนุนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ที่จะได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แสดงได้ว่าจะมีการกํากับดูแลการบริหารงานในระดับนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์อย่างน้อยในเรื่องที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในและการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้ทําหน้าที่กํากับดูแลการบริหารงานดังกล่าวต้องมิใช่บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระจากสํานักงานอยู่แล้ว (2) แสดงได้ว่าผู้ทําหน้าที่กํากับดูแลมีระบบการกํากับดูแลและระบบการติดตามการบริหารงานในระดับนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์ในเรื่องที่กําหนดตาม (1) อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ในการทําหน้าที่กํากับดูแลการบริหารงานในระดับนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ผู้ทําหน้าที่กํากับดูแลอาจมอบหมายให้บริษัทอื่นทําหน้าที่ดังกล่าวแทนได้ หากบริษัทหลักทรัพย์สามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวสามารถทําหน้าที่ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขอผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระยื่นหนังสือขอผ่อนผันต่อสํานักงานโดยระบุชื่อธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซึ่งทําหน้าที่กํากับดูแลการบริหารงานในระดับนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งชื่อบริษัทที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว พร้อมเอกสารที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) เอกสารที่แสดงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (2) เอกสารที่แสดงถึงแนวทางการบริหารบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ขอผ่อนผัน เช่น คู่มือนโยบายบริหาร (policy manual) คู่มือการปฏิบัติงาน (procedure manual) คู่มือการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance manual) เป็นต้น (3) หนังสือจากธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซึ่งรับทราบหลักเกณฑ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในและการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และหน้าที่ในการกํากับดูแลการบริหารงานในระดับนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์ที่ขอผ่อนผันในเรื่องดังกล่าว สํานักงานจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอผ่อนผันและเอกสารถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าโครงสร้างการถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 3 หรือผู้ทําหน้าที่กํากับดูแลการบริหารงานในระดับนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ได้รับมอบหมายมิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า ในการนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีกรรมการอิสระหรือดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดได้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถจัดให้มีกรรมการอิสระหรือไม่สามารถดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระตามข้อ 5 พร้อมเอกสารถูกต้องครบถ้วนต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สํานักงานจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่สํานักงานพิจารณาผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาไม่ผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของสํานักงานโดยให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 จนถึงวันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้มีกรรมการอิสระภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,086
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 50/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของ ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 25/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้นําประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับกับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของตัวแทนซื้อขายสัญญาโดยอนุโลม ข้อ ๓ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีกรรมการอิสระตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หากตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระตามประกาศนี้ด้วยแล้ว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป หมวด - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2,087
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 547 ) พ.ศ. 2555 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ จํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับ เงินได้ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสําหรับการกระทําตราสาร อันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จํานวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และต้องเป็นจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้ (1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน (2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สาธิต รังคสิริ (นายสาธิต รังคสิริ) อธิบดีกรมสรรพากร
2,088
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากรลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 (3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร เว้นแต่ “(1) คนต่างด้าวผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากรที่ค้างชําระหรือที่จะต้องชําระตาม การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินอยู่ก่อนหรือในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ใช้บังคับ 1 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นไป) (2) คนต่างด้าวผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้แทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย “(3) คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการเป็นนักแสดงสาธารณะในประเทศไทยไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ “(4) คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร ใช้บังคับ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป) คําว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ และโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับ 1 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไป) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 บัณฑิต บุณยะปานะ อธิบดีกรมสรรพากร
2,089
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่า ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 (ฉบับที่ 2)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 317) พ.ศ.2541 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(ค) เอกสารหลักฐานตาม (ก) และ (ข) ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) อธิบดีกรมสรรพากร
2,091
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่า ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่า ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ------------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 423) พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดเอกสารหลักฐานการขอยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธินําค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ไปหักออกจากกําไรสุทธิหรือรายได้ก่อนเสียภาษี ได้แก่ (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ที่เสียภาษีจากกําไรสุทธิ (ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี ข้อ ๒ พื้นที่ที่จะปลูกป่า จะต้องเป็นพื้นที่ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ข้อ ๓ ค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 ให้มีสิทธินําไปหักออกจากกําไรสุทธิหรือรายได้ก่อนเสียภาษีได้ไม่เกินอัตราไร่ละ 3,000 บาท เป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกันนับตั้งแต่ปีที่เริ่มปลูก ดังนี้ ปีที่ 1หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 2,000 บาทต่อไร่ ปีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 500 บาทต่อไร่ ปีที่ 3 หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 500 บาทต่อไร่ รวม 3 ปีหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อไร่ ค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าดังกล่าวที่จะนํามาหักค่าใช้จ่ายได้ตามวรรคหนึ่ง จะต้องเป็นป่าที่เริ่มปลูกในปี พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตามข้อ 3 จะต้องมีเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) เอกสารหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกป่าจริงในพื้นที่เป้าหมาย ปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 (ข) เอกสารหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าตาม (ก) ไปจริง (ค) เอกสารหลักฐานตาม (ก) และ (ข) ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2547 นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร
2,092
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนทรัพย์สินตามโครงการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการโอนทรัพย์สินตามโครงการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความใน (8) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 333) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการโอนทรัพย์สิน ตามโครงการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การโอนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และการโอนทรัพย์สินของนิติบุคคลเฉพาะกิจ กลับคืนให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใต้โครงการการแปลงทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งเป็นที่รับรองทั่วไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542 จักรี รัตยันตรกร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
2,094
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมด ให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมด ให้แก่กันของบริษัทมหาชน จํากัด หรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ----------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 โสฬส มาตรา 5 สัตตรส และมาตรา 6 (31) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 341) พ.ศ. 2541 และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 357) พ.ศ. 2542 และข้อ 2(50) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 215 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงดังกล่าว ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชน จํากัด หรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ การควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชน จํากัดหรือบริษัทจํากัด จะต้องมีลักษณะและหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัท มหาชน จํากัด และบริษัทจํากัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย "(2) ให้บริษัทมหาชน จํากัด หรือบริษัทจํากัด อันได้ตั้งขึ้นใหม่ด้วย ควบเข้ากันนั้น และบริษัทมหาชน จํากัด หรือบริษัทจํากัดผู้รับโอน แจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้น จํานวนหุ้น และมูลค่าหุ้น ตามทะเบียนหุ้นทั้งของต่างบริษัทที่ควบเข้ากัน บริษัทที่ตั้งใหม่ บริษัทผู้โอน และบริษัทผู้รับโอน ต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่ กรณีควบ หรือนับแต่วันจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรณีโอน ตามแบบที่อธิบดีกําหนด ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทมหาชน จํากัด หรือบริษัทจํากัด อันได้ตั้งขึ้นใหม่ด้วย ควบเข้ากัน และบริษัทมหาชน จํากัด หรือบริษัทจํากัด ผู้รับโอน แล้วแต่กรณี" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) (3) บริษัทที่ควบเข้ากัน และบริษัทผู้โอนหรือผู้รับโอนจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากร ณ วันที่ควบหรือวันที่โอน เว้นแต่ได้จัดให้มีธนาคารหรือหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้างและค่าใช้จ่ายในการบังคับหนี้ดังกล่าวแล้ว (4) กรณีการโอนกิจการให้แก่กัน บริษัทผู้โอนกิจการต้องจดทะเบียนเลิกและมีการชําระบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนกิจการนั้น (5) ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร ให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ (1) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สําหรับการยกเว้นรัษฎากรตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541 (2) ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สําหรับการยกเว้นรัษฎากรตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 215 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (3) ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สําหรับการยกเว้นรัษฎากรตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 341) พ.ศ. 2541 (4) ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 สําหรับการยกเว้นรัษฎากรตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 357) พ.ศ. 2542 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
2,095
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมด ให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 2)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมด ให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 2) --------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 โสฬส มาตรา 5 สัตตรส และมาตรา 6(31) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 341) พ.ศ. 2541 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 357) พ.ศ. 2542 และข้อ 2(50) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 215 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และข้อ 2(2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากรลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบสําหรับการยื่นรายการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้แบบต่อไปนี้เป็นแบบสําหรับการแจ้งรายการกรณีการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (1) แบบ ค.อ.1 แบบแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นและแจ้งการเป็นลูกหนี้ค่าภาษีอากรสําหรับการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (2) แบบ ค.อ.2 แบบแจ้งรายชื่อบริษัทที่ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (3) แบบ ค.อ.3 แบบแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นสําหรับการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (4) แบบ ค.อ.4 แบบแจ้งการเป็นลูกหนี้ค่าภาษีอากรสําหรับการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด ข้อ ๑ กําหนดให้แบบต่อไปนี้เป็นแบบสําหรับการแจ้งรายการกรณีการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (1) แบบ ค.อ.1 แบบแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นและแจ้งการเป็นลูกหนี้ค่าภาษีอากรสําหรับการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (2) แบบ ค.อ.2 แบบแจ้งรายชื่อบริษัทที่ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (3) แบบ ค.อ.3 แบบแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นสําหรับการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (4) แบบ ค.อ.4 แบบแจ้งการเป็นลูกหนี้ค่าภาษีอากรสําหรับการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
2,096
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ สำหรับรายรับ ตามมาตรา 91/5(1)(ก) มาตรา 91/5(2)(ก) และมาตรา 91/5(5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ สําหรับรายรับ ตามมาตรา 91/5(1)(ก) มาตรา 91/5(2)(ก) และมาตรา 91/5(5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3(14)(ค) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 361) พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ สําหรับรายรับ ตามมาตรา 91/5(1)(ก) มาตรา 91/5(2)(ก) และมาตรา 91/5(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การถือหุ้นของสถาบันการเงินในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือในกรณีที่สถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง จะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ต้องเป็นการถือหุ้นก่อนสถาบันการเงินนั้นให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อ (1) รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือ (2) ใช้ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสี ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ อธิบดีกรมสรรพากร
2,097
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินเป็นสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมสรรพากร
2,098
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการนำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณ หรือของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการนําเข้าหรือการขายทองคํา เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณ หรือของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการนําเข้าหรือการขายทองคํา เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีความประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการ นําเข้าหรือการขายทองคํา เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณต้องแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคําต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคําตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แจ้งการประกอบกิจการค้าทองคําเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ ไม่ว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีรวมกันหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่แจ้งความประสงค์ตามข้อ 1 จะต้องเป็นผู้นําเข้าหรือขายทองคําเฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณโดยทองคําดังกล่าวต้องมีน้ําหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่แจ้งความประสงค์ตามข้อ 1 และมีการนําเข้าหรือขายทองคําตามข้อ 2 จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานดังนี้ (1) กรณีเป็นผู้นําเข้า จะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการนําเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ในเวลายื่นใบขนสินค้าเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และ จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ขายในต่างประเทศว่า ผู้นําเข้าเป็นผู้ซื้อทองคําดังกล่าวจากผู้ขายในต่างประเทศ (2) กรณีเป็นผู้ขายทองคํา จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้าทองคําหรืออัญมณี สมาคมใดสมาคมหนึ่ง เอกสารหรือหลักฐานตาม (1) และ (2) จะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่แจ้งความประสงค์ตามข้อ 1 จะต้องจัดทํารายงานค้าทองคําตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
2,099
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการขายทองรูปพรรณ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่า ของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคำนวณ มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการขายทองรูปพรรณ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่า ของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณ มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และข้อ 2(14) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการขายทองรูปพรรณ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องแจ้งการประกอบกิจการขายทองรูปพรรณต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งการ ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แจ้งการประกอบกิจการขายทองรูปพรรณเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีรวมกันหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ใบรับตามวรรคหนึ่ง ให้ทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค และต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ชื่อย่อ หรือยี่ห้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งออกใบรับ (2) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งออกใบรับ (3) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (4) หมายเลขลําดับของใบรับ (5) วันเดือนปี และเวลาที่ออกใบรับ เว้นแต่เครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพต่ําและได้มาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 ซึ่งไม่สามารถบันทึกเวลาที่ออกใบรับได้ (6) ชื่อ ชนิด ประเภท และจํานวนของทองรูปพรรณที่จําหน่าย (7) ราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (8) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ (9) ผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตาม (7) กับราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศตาม (8) (10) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจาก (9) (11) จํานวนเงินที่รับสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มชื่อ ชนิด หรือประเภทของทองรูปพรรณที่จําหน่ายตามวรรคสอง (6) จะบันทึกเป็นรหัสสินค้าก็ได้ แต่ต้องมีรหัสพร้อมคําแปลเก็บไว้ ณ สถานประกอบการที่ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าว ข้อ ๓ เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามข้อ 2 จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดไฟฟ้า หรือชนิดคอมพิวเตอร์ก็ได้ แต่ไม่รวมถึงเครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดไฟฟ้าที่มีหัวพิมพ์ระบบ Drum Matrix (2) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องใช้กระดาษออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อสินค้า และจะใช้กระดาษขนาดเดียวกันเป็นสําเนาซ้อนกับใบรับตัวจริงก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องเพื่อบันทึกรายการประจําวันไว้ ซึ่งจะใช้เป็นสําเนาใบรับแทนกระดาษซ้อนใบรับก็ได้ (3) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถออกใบรับ และสําเนาใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามข้อ 2 เว้นแต่การบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และการบันทึกรายการวันเดือนปีไว้ในสําเนาใบรับ โดยอย่างน้อยต้องสามารถบันทึกเลขรหัสประจําเครื่องและวันเดือนปีไว้ในตอนต้นและตอนท้ายของกระดาษเป็นม้วนต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันของแต่ละวัน โดยสําเนาใบรับจะไม่มีชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียน และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรก็ได้ (4) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถออกใบรับที่แสดงหมายเลขลําดับของใบรับ โดยเรียงตามลําดับตัวเลขจนหมดทุกหลักก่อน จึงจะย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ เว้นแต่กรณีที่จะทําให้ยอดขายสะสมเกินความสามารถของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและทําให้ข้อมูลสูญหาย ก็ให้ออกรายงานการล้างยอดขายสะสมและเริ่มเลขลําดับใหม่ได้ โดยให้หมายเหตุไว้ในม้วนกระดาษต่อเนื่องซึ่งบันทึกรายการประจําวันด้วย (5) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถออกรายงานสรุปรายละเอียดการขายสินค้าประจําวันได้ (6) เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องสามารถออกรายงานการล้างยอดขายสินค้าที่ออกจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินทุกสิ้นวัน ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบรับต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบรับและใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากรสําหรับกิจการขายทองรูปพรรณตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบรับเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีรวมกันหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปติดเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องบนเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ณ สถานประกอบการ ข้อ ๕ กรณีเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินตามข้อ 4 ถูกเคลื่อนย้าย ถูกทําลาย สูญหาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ให้ระงับการใช้เครื่อง บันทึกการเก็บเงินดังกล่าว และให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินจากอธิบดีกรมสรรพากรทันที ข้อ ๖ กรณีเครื่องบันทึกการเก็บเงินขัดข้องใช้การไม่ได้ เช่น เครื่องเสียหรือเครื่องขัดข้องชั่วคราว ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบรับ ตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ด้วยการเขียน โดยจะต้องประทับตราคําว่า “เครื่องขัดข้อง” ไว้ในใบรับที่ออกด้วยการเขียนด้วย ข้อ ๗ กรณีเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ได้รับอนุมัติให้ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร สามารถออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรได้ด้วย ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าวเพื่อการออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว กรณีเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ได้รับอนุมัติให้ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่สามารถออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์จะใช้เครื่อง บันทึกการเก็บเงินดังกล่าวเพื่อออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๘ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี โดยต้องระบุข้อความอื่นไว้ในใบกํากับภาษี ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4(8) และมาตรา 86/6(7) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๙ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทํารายงานตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทําตารางราคาซื้อขายทองรูปพรรณตามประกาศของสมาคมค้าทองคํา โดยมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 ต้องจัดทําป้ายแสดงข้อความว่า “ให้ขอใบกํากับภาษีทุกครั้ง” และวางไว้บนตู้สําหรับขายทองรูปพรรณ ณ สถานประกอบการ ในบริเวณที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีกรมสรรพากร
2,100
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ ของสถาบันการเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ ของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําไปชําระหนี้ที่ค้างชําระแก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด -------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ จํานวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จํานวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และต้องเป็นจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด "ในการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ ที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อ นําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความตามที่แนบท้ายประกาศนี้" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้ (1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน "(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าว ผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการ ตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่" ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543 สมเกียรติ เจริญกุล รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
2,101
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ (1)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ --------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 6 จัตวา (6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 225 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินเป็นสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
2,102
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดคุณสมบัติและระเบียบปฏิบัติสําหรับบุคคลที่ทําการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2533 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย “การตรวจสอบและรับรองบัญชี” หมายความว่า การตรวจสอบและรับรองงบการเงินที่จัดทําขึ้นตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ข้อ ๓ การตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องจัดทํา และยื่นพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ให้กระทําได้โดยบุคคลซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี” ข้อ ๔ “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี” ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ 4.1 “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” ตามกฎหมายเกี่ยวกับการสอบบัญชี ซึ่งตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีสําหรับบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 4.2 “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” ที่ขอขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี ให้เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตามกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ ๕ “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี“ ต้องปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ดังนี้ 5.1 “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต“ ต้องปฏิบัติงานการตรวจสอบและ รับรองบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ตามกฎหมายเกี่ยวกับการสอบบัญชี หรือประกาศขององค์กรวิชาชีพบัญชีที่กฎหมายกําหนด กรณีการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตามกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดเช่นเดียวกับ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเรื่องการปฏิบัติงาน และการรายงาน ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งหมดสิทธิไม่ว่าด้วยประการใดในการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ถือว่าเป็นผู้หมดสิทธิในการเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามประกาศนี้ 5.2 “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร“ ต้องปฏิบัติงานการตรวจสอบและ รับรองบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ 5.2.1 คุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร 5.2.2 การปฏิบัติงาน และการรายงาน“ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป ) ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร การอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรของผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 ) ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 ) (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป) (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป) (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดแบบคําขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นแบบคําขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับ การตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป) (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป) ข้อ ๖ “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี” ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกําหนด“ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๗ “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี” ต้องสอดส่องใช้ความรู้และความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไปต้องปฏิบัติ ในกรณีที่พบว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเจ้าของบัญชีได้มีการกระทําหรืองดเว้นการกระทําเอกสารประกอบการลงบัญชี และหรือลงบัญชีโดยที่เห็นว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง อันอาจเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น มิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่ควรเสียอันเป็นสาระสําคัญ ให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงที่พบในแบบแจ้งข้อความที่อธิบดีกําหนด ในกรณีที่กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามแบบแจ้งข้อความที่อธิบดีกําหนดในวรรคก่อนเพื่อยื่นพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการนั้น ให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีทําการทดสอบรายการดังกล่าวด้วย ข้อ ๘ “ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี“ ต้องเสียภาษีอากรของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน กรณีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจงใจหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ให้ถือว่าปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบที่อธิบดีกําหนดในประกาศนี้“ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับ 19 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๙ ”ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี“ ที่ฝ่าฝืนระเบียบที่อธิบดีกําหนดในประกาศนี้ อธิบดีอาจพิจารณาสั่งถอนใบอนุญาตการเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเสียก็ได้“ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป ) ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรสําหรับการตรวจสอบและ รับรองบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป สําหรับกรณีตามข้อ 8 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป“ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับ 19 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป ) ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
2,103
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ------------------------------------------------------------- เนื่องจากได้มีการขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 และตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 และการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทําภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 และตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2542 โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ แต่ต้องชําระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระเบี้ยปรับ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งได้รับแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีดังกล่าวแล้ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้รับแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ยังมิได้ชําระภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน หรือชําระภาษีบางส่วน และมิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ไปจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ และเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระหรือนําส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ธุรกิจเฉพาะจะได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับเบี้ยปรับเช่นเดียวกับการขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่มีผลต่อภาษีอากรที่ได้เสียหรือชําระไปแล้วก่อนวันที่ที่ลงในประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
2,104
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร -------------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 384) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ต้องเป็นการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันจะต้องเป็นอยู่ต่อไปไม่น้อยกว่าหกเดือนนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบริษัทผู้โอนกิจการถือหุ้นในบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอนกิจการอีกทอดหนึ่งต่อเนื่องกัน โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวมีจํานวนร้อยละร้อยของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น เว้นแต่การถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอนกิจการได้มีการเปลี่ยนแปลงจํานวนที่ถูกถือหุ้นภายหลังการโอนกิจการ โดยการถือหุ้นยังคงมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทผู้รับโอนกิจการ ทั้งนี้ บริษัทผู้รับโอนกิจการจะต้องมีทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนและชําระแล้วไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินสุทธิที่โอน ข้อ ๒ บริษัทผู้โอนกิจการและบริษัทผู้รับโอนกิจการจะต้องโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 โดยบริษัทผู้โอนกิจการและบริษัทผู้รับโอนกิจการจะต้องร่วมกันทําหนังสือแจ้งการโอนกิจการและส่งแผนปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมกับแสดงรายการทรัพย์สินที่โอนต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสํานักงานใหญ่ของบริษัทผู้โอนกิจการ ก่อนที่จะมีการโอนกิจการ ตอน ๓ ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับประเภทของกิจการที่โอนนั้น ซึ่งมิใช่เป็นการขายอันเป็นปกติธุระและบริษัทผู้รับโอนกิจการต้องนําไปดําเนินกิจการในลักษณะเดียวกันหรือ กิจการที่เกี่ยวเนื่องต่อไป ข้อ ๔ กรณีบริษัทผู้โอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทผู้รับโอนกิจการจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคํานวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทผู้รับโอนกิจการจะต้องนําสินค้าหรือทรัพย์สินที่โอนนั้นไปใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทโดยตรง ข้อ ๕ บริษัทผู้รับโอนกิจการต้องไม่นําผลขาดทุนสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรของตนเอง ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่รับโอนกิจการมาถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปีที่โอนกิจการเป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้ผู้สอบบัญชีหมายเหตุการไม่นําผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายตามวรรคหนึ่งประกอบงบการเงินทุกรอบระยะเวลาบัญชีที่ไม่ได้นํามาถือเป็นรายจ่ายด้วย ข้อ ๖ บริษัทผู้โอนกิจการและบริษัทผู้รับโอนกิจการจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากร ณ วันที่โอนกิจการ เว้นแต่จะได้มีการค้ําประกันหนี้ภาษีอากรตามระเบียบที่กรมสรรพากรกําหนดแล้ว ข้อ ๗ ผู้สอบบัญชีของบริษัทผู้โอนกิจการและบริษัทผู้รับโอนกิจการต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 3(1)(2) และ (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และเป็นผู้รับรองผลการประกอบกิจการและการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันตามข้อ 1 ข้อ ๘ กําหนดให้แบบต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร (1) แบบ อ.บ.1 หนังสือแจ้งการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน (2) แบบ อ.บ.2 แบบแจ้งรายการทรัพย์สินที่โอน (3) แบบ อ.บ.3 แบบแจ้งการเป็นลูกหนี้ค่าภาษีอากรสําหรับการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด (4) แบบ อ.บ.4 แบบหนังสือรับรองการเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ข้อ ๙ กรณีมีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร ให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
2,105