title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 23/2559
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 33/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ดําเนินการจัดสรรใบแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยให้ผู้ถือหุ้นสามารถโอนสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้บุคคลอื่นต่อไปได้ และต้องขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิภายในอายุของใบแสดงสิทธิ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 33/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิภายใต้ประกาศนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัยในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขาย หรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว
(1) บริษัทจดทะเบียนหรือการเสนอขายหุ้นมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
(2) การเสนอขายหุ้นอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหุ้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายหุ้นอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวมของบริษัทจดทะเบียน
(5) ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจออกเสียงในวาระที่บริษัทจดทะเบียนขอมติออกหุ้นใหม่ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้
(6) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(7) เหตุเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งอนุมัติให้ออกหุ้นเสนอขายตามประกาศนี้ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น หรือเป็นการจํากัดสิทธิในการเข้าประชุมหรือใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญ
(8) บริษัทจดทะเบียนมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตได้”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 33/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,901 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2552 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 32/2552
เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 67 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ผู้ออกใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทอื่นซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน
(2) “ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(3) “หลักทรัพย์อ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนและใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิ
(4) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(6) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
(ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ
ของบริษัทนั้นได้
(ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท
(ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น
(7) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียน กับผู้ถือใบแสดงสิทธิ
(8) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ออกใบแสดงสิทธิจะยื่นคําขออนุญาตออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิตามประกาศนี้ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากบริษัทจดทะเบียนที่เป็นผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น
การสนับสนุนของบริษัทจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการร่วมดําเนินการและรับผิดชอบในการยื่นคําขออนุญาตออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน และการดําเนินการใด ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความผูกพันที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิจนกว่าจะมีการไถ่ถอนใบแสดงสิทธิที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ข้อ ๔ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายใบแสดงสิทธิตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
หมวด ๑ การขออนุญาตออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิ
และการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ให้เป็นดังนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัดดังต่อไปนี้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 8 และ ข้อ 9 หรือข้อ 10 ให้ถือว่ากระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
(ก) ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น เว้นแต่การกําหนดราคาเสนอขายหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น จะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ข) ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร
(2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทที่ประสงค์จะเป็นผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงร่วมกันยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมิได้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวไม่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป
ข้อ ๖ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขออนุญาตตามข้อ 5(2) ภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน กรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด
(2) ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน กรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1)
ข้อ ๗ การเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด
(1) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(2) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นกู้ ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(3) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ
(4) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายพันธบัตรที่ออกใหม่ซึ่งได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
ข้อ ๘ ผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายใบแสดงสิทธิที่ออกใหม่ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกใบแสดงสิทธิต้องมีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ข) มีวัตถุประสงค์จํากัดเฉพาะการออกใบแสดงสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศนี้
(ค) มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(ง) แสดงได้ว่ามีกลไกในการดูแลรักษาและดํารงหลักทรัพย์อ้างอิงให้มีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน โดยกลไกดังกล่าวจะต้องสามารถป้องกันมิให้มีการนําหลักทรัพย์อ้างอิงไปใช้เพื่อการอื่นได้
(2) บริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงต้องมีลักษณะดังนี้
(ก) มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทนั้น ไม่ว่าหลักทรัพย์อ้างอิงที่ผู้ออกใบแสดงสิทธิใช้รองรับใบแสดงสิทธิจะเป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือหลักทรัพย์ที่จําหน่ายได้แล้วของบริษัทจดทะเบียน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัด ในลักษณะจํากัด หรือในกรณีที่ได้รับยกเว้น
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะอื่นนอกจาก 1. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือในลักษณะทั่วไป
(ข) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนได้รับข้อมูลว่าบริษัทจดทะเบียนจะนําหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติไปใช้เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิ ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนตกลงผูกพันที่จะรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองใบแสดงสิทธิที่ขออนุญาต โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 59 โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่ง (ข) มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด
(3) ใบแสดงสิทธิที่จะเสนอขายต้องมีลักษณะดังนี้
(ก) อ้างอิงหลักทรัพย์อ้างอิงเพียงหนึ่งประเภทที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนเพียงหนึ่งแห่ง และอัตราการอ้างอิงของหนึ่งหน่วยใบแสดงสิทธิต้องเท่ากับหนึ่งหลักทรัพย์อ้างอิง ทั้งนี้ หลักทรัพย์อ้างอิงต้องเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
1. หุ้น
2. พันธบัตร หรือหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์
3. ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ข) มีอายุที่แน่นอน หากเป็นการอ้างอิงหลักทรัพย์ที่มีกําหนดอายุ และในกรณีเช่นว่านี้ อายุของใบแสดงสิทธิต้องครบกําหนดก่อนอายุของหลักทรัพย์อ้างอิง ทั้งนี้ การกําหนดอายุของใบแสดงสิทธิต้องคํานึงถึงการมีระยะเวลาที่เพียงพอให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิที่ได้รับหลักทรัพย์อ้างอิงที่มีกําหนดอายุนั้นสามารถใช้สิทธิหรือได้รับประโยชน์ตามหลักทรัพย์ดังกล่าวได้
(ค) กําหนดให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะเดียวกับที่ผู้ถือหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับจากบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการจัดการของผู้ออกใบแสดงสิทธิแล้ว (เฉพาะกรณีที่ข้อกําหนดสิทธิยินยอมให้กระทําได้)
(ง) มีข้อจํากัดการโอนใบแสดงสิทธิซึ่งได้จดไว้กับสํานักงาน ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด เพื่อให้การโอนใบแสดงสิทธิในทอดต่อ ๆ ไป ยังคงลักษณะเป็นไปตามข้อ 7
(จ) มีข้อกําหนดสิทธิประกอบใบแสดงสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 9 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ ข้อกําหนดสิทธิของใบแสดงสิทธิต้องไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง และประทับตราสําคัญของผู้ออกใบแสดงสิทธิและบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง (ถ้ามี) ทั้งนี้ ข้อกําหนดสิทธิต้องมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. สิทธิของผู้ถือใบแสดงสิทธิ
(ก) สิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งต้องเป็นลักษณะเดียวกับที่ผู้ถือหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับจากบริษัทจดทะเบียน โดยต้องระบุลักษณะและวิธีการจ่ายผลตอบแทนนั้นไว้อย่างชัดเจน
(ข) สิทธิในการออกเสียงลงคะแนน ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น และผู้ออกใบแสดงสิทธิผูกพันยินยอมให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจดทะเบียนผ่านผู้ออกใบแสดงสิทธิได้ ข้อกําหนดสิทธิต้องกําหนดให้ชัดเจนถึงเรื่องดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่ผู้ถือใบแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน
2. วิธีการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน
3. เหตุแห่งข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือสิทธิในการใช้ดุลพินิจของผู้ออกใบแสดงสิทธิในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน (ถ้ามี)
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการใช้สิทธิออกเสียง ผู้ออกใบแสดงสิทธิต้องไม่ใช้
สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจดทะเบียนในลักษณะที่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(ค) สิทธิได้รับข้อมูลเช่นเดียวกับที่ผู้ถือหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับ เช่น หนังสือนัดประชุม งบการเงิน และรายงานประจําปีของบริษัทจดทะเบียน หรือคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ เป็นต้น ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาอันสมควร
(ง) สิทธิอื่นใด (ถ้ามี) ของผู้ถือใบแสดงสิทธินอกเหนือจากที่กล่าวใน (ก) (ข) หรือ (ค) ทั้งนี้ ในกรณีที่สิทธิอื่นใดดังกล่าวเป็นนิติสัมพันธ์ที่จะมีผลผูกพันบุคคลอื่นนอกจากผู้ออกใบแสดงสิทธิหรือบริษัทจดทะเบียน ต้องระบุสถานภาพและความผูกพันของบุคคลดังกล่าวให้ชัดเจน
(2) ภาระค่าใช้จ่ายของผู้ถือใบแสดงสิทธิ (ถ้ามี) ซึ่งกําหนดได้ตามที่จําเป็นและในอัตราที่สมควร ทั้งนี้ ต้องกําหนดจํานวนหรือวิธีการคํานวณค่าใช้จ่ายและวิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ให้ชัดเจน
(3) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ ซึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดให้
(ก) การแก้ไขเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับสิทธิในการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือใบแสดงสิทธิ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือใบแสดงสิทธิไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน
(ข) การแก้ไขเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจดทะเบียน ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือใบแสดงสิทธิไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน และต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย
(4) วิธีการดูแลรักษาหลักทรัพย์อ้างอิง
(5) การจัดให้มีทะเบียนผู้ถือใบแสดงสิทธิ และข้อกําหนดให้การออกใบแสดงสิทธิต้องเป็นชนิดระบุชื่อเท่านั้น
(6) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการลงทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิ ซึ่งต้องกําหนดให้การโอนใบแสดงสิทธิจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้มีชื่อในใบแสดงสิทธิหรือผู้รับโอนคนสุดท้ายได้ส่งมอบใบแสดงสิทธิดังกล่าวต่อผู้รับโอน โดยลงลายมือชื่อสลักหลังแสดงการโอนตามมาตรา 53 และตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(7) ข้อกําหนดและเงื่อนไขในการไถ่ถอนใบแสดงสิทธิ ซึ่งต้องกําหนดให้การไถ่ถอนต้องกระทําโดยการส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงให้แก่ผู้ถือใบแสดงสิทธิเท่านั้น
(8) คํารับรองของผู้ออกใบแสดงสิทธิว่าจะไม่มีการโอนหลักทรัพย์อ้างอิงให้แก่บุคคลใด ๆ เว้นแต่จะเป็นการโอนให้แก่บุคคลที่รับฝากหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือใบแสดงสิทธิ รวมทั้งจะไม่มีการก่อให้เกิดภาระผูกพันไม่ว่าในลักษณะใด ๆ ในหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว
(9) คํารับรองของบริษัทจดทะเบียนว่าจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหรือการจํานําหลักทรัพย์อ้างอิงที่ถืออยู่โดยผู้ออกใบแสดงสิทธิ เว้นแต่จะเป็นการโอนหลักทรัพย์อ้างอิงเพื่อไถ่ถอนใบแสดงสิทธิ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทจดทะเบียนจะเป็นนายทะเบียนของหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นนายทะเบียนก็ตาม
(10) สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ถือใบแสดงสิทธิอันเนื่องมาจากการที่ผู้ออกใบแสดงสิทธิหรือบริษัทจดทะเบียนกระทําการหรือไม่กระทําการที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดสิทธิ
(11) ตัวอย่างใบแสดงสิทธิ
ข้อ ๑๐ ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ข้อกําหนดสิทธิ
ของใบแสดงสิทธิต้องมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9(1) (5) (6) (7) (8) (9) และ (11)
ส่วน ๒ การอนุญาต และเงื่อนไขการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ เว้นแต่กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ เสมือนการเสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกใหม่ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายใบแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการ หรือภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หรือภายในกําหนดระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต ทั้งนี้ ในการพิจารณาผ่อนผันสํานักงานอาจเรียกให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมได้
ข้อ ๑๓ ผู้ออกใบแสดงสิทธิจะออกใบแสดงสิทธิเกินจํานวนหลักทรัพย์อ้างอิงที่มีเพื่อรองรับการออกใบแสดงสิทธินั้นไม่ได้ และเมื่อได้ออกใบแสดงสิทธิแล้ว ผู้ออกใบแสดงสิทธิต้องดํารงหลักทรัพย์อ้างอิงให้มีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน
ข้อ ๑๔ ใบแสดงสิทธิต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ออกใบแสดงสิทธิ
(2) ชื่อเฉพาะและลักษณะสําคัญของใบแสดงสิทธิ
(3) ชื่อของหลักทรัพย์อ้างอิง
(4) ชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง
(5) จํานวนหน่วยของใบแสดงสิทธิ
(6) ชื่อผู้ถือใบแสดงสิทธิ
(7) เลขที่อ้างอิงของผู้ถือใบแสดงสิทธิตามทะเบียนผู้ถือใบแสดงสิทธิ
(8) วันเดือนปีที่ออกใบแสดงสิทธิ และวันเดือนปีที่สิ้นสุดของใบแสดงสิทธิ
(9) ข้อกําหนดและวิธีการไถ่ถอนใบแสดงสิทธิ
(10) ข้อความที่ระบุว่าสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือใบแสดงสิทธิ
ผู้ออกใบแสดงสิทธิ และบริษัทจดทะเบียน ให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อกําหนดสิทธิ
(11) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกใบแสดงสิทธิหรือนายทะเบียนใบแสดงสิทธิ
(12) ข้อจํากัดการโอนแสดงว่าผู้ออกใบแสดงสิทธิจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนที่จดไว้กับสํานักงาน
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ เมื่อสํานักงานได้อนุญาตให้เสนอขายใบแสดงสิทธิแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานได้อนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนออกและเสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกใหม่นั้น พร้อมทั้งหุ้นรองรับหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกใหม่ (ถ้ามี) ด้วย
ข้อ ๑๖ ในกรณีเป็นการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายใบแสดงสิทธิต่อบุคคลเป็นการทั่วไป และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับใบแสดงสิทธิที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายไปให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น เพื่อให้การเสนอขายหุ้นดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 7 เท่านั้น
(2) ในกรณีที่มีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มี
ข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดไว้กับสํานักงาน
(3) ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนใบแสดงสิทธิ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนใบแสดงสิทธิ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนใบแสดงสิทธิ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนใบแสดงสิทธิปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๑๗ ภายหลังการเสนอขายใบแสดงสิทธิ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาข้อกําหนดสิทธิต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิภายหลังจากที่ได้ออกใบแสดงสิทธิแล้ว ให้กระทําได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาข้อกําหนดสิทธิที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
ในกรณีเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิที่กําหนดให้ต้องขอความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนดําเนินการ การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้กระทําได้ก็ต่อเมื่อสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบสําหรับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงที่รองรับใบแสดงสิทธิเป็นหุ้น และภายหลังจากที่ได้ออกใบแสดงสิทธิแล้ว บริษัทจดทะเบียนได้เพิ่มทุนจดทะเบียนและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนนั้นต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน หากผู้ถือใบแสดงสิทธิแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว และผู้ออกใบแสดงสิทธิได้ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว ให้ผู้ออกใบแสดงสิทธิสามารถออกใบแสดงสิทธิเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือใบแสดงสิทธิรายนั้นได้ โดยถือว่าใบแสดงสิทธิที่ออกให้เพิ่มเติมในกรณีนี้ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
หมวด ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙ ก่อนการเสนอขายใบแสดงสิทธิในแต่ละครั้งหรือแต่ละโครงการ ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานจํานวนสองชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทํา
แบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกใบแสดงสิทธิ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับใบแสดงสิทธิที่จะเสนอขาย และข้อกําหนดสิทธิของใบแสดงสิทธิ รวมทั้งเอกสารแสดงข้อผูกพันตามใบแสดงสิทธิ ที่มีบุคคลอื่นนอกจากผู้ออกใบแสดงสิทธิหรือบริษัทจดทะเบียนเป็นคู่สัญญา (ถ้ามี)
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทอ้างอิง และหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งต้องมีข้อมูลอย่างเดียวกับที่ต้องเปิดเผยตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิง
(4) การรับรองความถูกต้องของข้อมูลตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
การรับรองความถูกต้องของข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้ออกใบแสดงสิทธิรับรองข้อมูลตาม (1) และ (2)
(ข) บริษัทจดทะเบียนรับรองข้อมูลตาม (2) และ (3)
(ค) เจ้าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่ร่วมให้การสนับสนุนการออกใบแสดงสิทธิ (ถ้ามี) รับรองข้อมูลตาม (3)
(ง) ที่ปรึกษาทางการเงินรับรองข้อมูลตาม (1) (2) และ (3)
ข้อ ๒๐ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๒๑ นอกจากที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 19 และข้อ 20 ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิรายงานผลการไถ่ถอนใบแสดงสิทธิต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัด ให้รายงานต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของการไถ่ถอนแต่ละครั้ง โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ไถ่ถอนใบแสดงสิทธิ
(ข) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของใบแสดงสิทธิ (ถ้ามี)
(ค) จํานวนใบแสดงสิทธิที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบแสดงสิทธิทั้งหมดที่มีการไถ่ถอน
(ง) ราคาของใบแสดงสิทธิที่มีการไถ่ถอน ในกรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณ แหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย
(จ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ถือใบแสดงสิทธิที่ได้รับการไถ่ถอน
(ฉ) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการไถ่ถอน
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้รายงานต่อสํานักงาน โดยใช้การรายงานผลการขายหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน มาใช้บังคับโดยอนุโลม พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบแสดงสิทธินั้นด้วย
ข้อ ๒๓ ให้บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 ตามระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดหรือเมื่อได้รับการสั่งการของสํานักงาน ทั้งนี้ รายงานที่จัดทําขึ้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,902 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2559 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 24/2559
เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2552 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น เว้นแต่การกําหนดราคาเสนอขายหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น จะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2552 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การเสนอขายใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,903 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 54/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 54/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ
ตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้
(1) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 3 หรือ
(2) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4 หรือ
(3) เป็นการตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศเป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ โดยบุคคลดังกล่าวต้องสามารถประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และจะจําหน่ายหลักทรัพย์ในประเทศมิได้ ไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน
การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะคราวโดยกําหนดห้ามมิให้ตัวแทนดังกล่าวตั้งตัวแทนช่วง และบริษัทหลักทรัพย์ที่ตั้งตัวแทนนั้นต้องจัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนแยกต่างหากจากสัญญาอื่น โดยต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดให้ตัวแทนดังกล่าวต้อง
ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และประกาศนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลให้ตัวแทนนั้นปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศต้องเป็นบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงาน
(2) เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(ข) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่มีจํานวนหุ้นที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหุ้น หรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
(ค) การจัดจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดไว้ใน (ก) หรือ (ข) ซึ่งมีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นดังต่อไปนี้ควบกับการเสนอขายหุ้นดังกล่าวด้วย
1. ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
2. ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
3. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือ
4. ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น
(3) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการดังนี้
(ก) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จําหน่าย
(ข) แจกจ่ายหรือรับใบจองซื้อหลักทรัพย์
(ค) รับชําระเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์
(ง) ยืนยันการจองซื้อหลักทรัพย์
(จ) ส่งมอบหลักทรัพย์ให้ผู้จองซื้อที่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์
(ฉ) คืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นต้องเป็นบุคคลที่สํานักงานได้รับขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศตามข้อ 7
(2) เป็นการจัดจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นที่มีจํานวนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหน่วย หรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ตามข้อ 3(3)
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) แจ้งรายชื่อบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบ
(2) ดูแลให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีระบบงานที่สามารถรองรับการรับจองซื้อหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ในกรณีที่มีการตั้งตัวแทนเพื่อจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๖ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงานต้องเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(2) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(3) เคยต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (1) หรือ (2)
ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานพิจารณาหนังสือแจ้งขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศของบุคคลใดแล้วเห็นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ 6 ให้สํานักงานดําเนินการขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้น
ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) ให้สํานักงานพิจารณาประวัติการต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับของบุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาสองปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนเท่านั้น และถ้าพฤติกรรมอันเป็นเหตุที่ต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับของบุคคลนั้นไม่ร้ายแรง และไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการให้บุคคลนั้นเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประชาชนหรือจะทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ ให้สํานักงานสามารถรับขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นโดยจะกําหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๘ ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดดังนี้
(1) ต้องปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 3(3)
(2) ต้องนําเงินค่าจองซื้อหุ้นเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหุ้นของนิติบุคคลที่ออกหุ้น หรือแยกบัญชีเพื่อการจองซื้อหุ้นออกจากบัญชีทรัพย์สินของตน
(3) ต้องไม่ยืนยันการจองซื้อหุ้นแก่บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหุ้นให้ตามรายชื่อที่บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ทราบในข้อ 5(1)
(4) ต้องไม่กระทําการใด ๆ อันมีผลทําให้การจัดจําหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
(5) มีระบบควบคุมการปฏิบัติงานที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้ผู้บริหารหรือพนักงานอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงานเบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อตัวแทนจําหน่ายหุ้น หรือเพื่อบุคคลอื่น
(6) มีระบบการรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทําหน้าที่ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ โดยกําหนดขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนและการดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งนี้ การรับข้อร้องเรียนและดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนอย่างน้อยต้องมีขั้นตอนดังนี้
(ก) รับข้อร้องเรียนของผู้จองซื้อหุ้น หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจาให้บันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้จองซื้อหุ้นลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนจําหน่ายหุ้นจะดําเนินการแก้ไขปัญหา
(ข) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว
(ค) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทหลักทรัพย์ที่แต่งตั้งตนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
(ง) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น
(จ) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น
(7) ต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่แสดงถึงขั้นตอนและวิธีการในการรับจองซื้อหุ้นไว้อย่างชัดเจนและเป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน รวมทั้งต้องควบคุมดูแลให้พนักงานของตนปฏิบัติตามคู่มือดังกล่าวด้วย
(8) ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นไว้ให้ครบถ้วนอย่างน้อยสองปีนับแต่วันที่สิ้นสุดการรับจองซื้อหุ้นนั้น
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนเพื่อจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 3(2) (ค) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 4 ให้ตัวแทนดังกล่าวมีหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๙ ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กําชับ
(2) ภาคทัณฑ์
(3) สั่งพักการปฏิบัติงาน
ในการกําหนดระยะเวลาสั่งพักการปฏิบัติงานในกรณีตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประโยชน์ของประชาชนหรือทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ โดยระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พ้นโทษตามคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับ หรือนับแต่วันที่สํานักงานมีคําสั่งพักการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณี สําหรับกรณีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(1) หรือข้อ 6(2) ให้สํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานจนกว่าการดําเนินคดีกับตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นจะถึงที่สุด
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ได้มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศรายใดก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่งพักการปฏิบัติงานตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้น หากการปฏิบัติงานของตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นยังไม่แล้วเสร็จและตัวแทนจําหน่ายหุ้นประสงค์จะปฏิบัติงานต่อไป ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อขอปฏิบัติงานต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ในการพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้สั่งพักการปฏิบัติงานตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นและผลกระทบต่อการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับอนุญาตและการอนุญาตตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,904 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 25/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ
ตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) และ (ง) ของ (6) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 54/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทหลักทรัพย์ที่แต่งตั้งตนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
(ง) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบหรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,905 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 54/2552 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 54/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ข้อ 2 บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้
(1) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 3 หรือ
(2) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4 หรือ
(3) เป็นการตั้งสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลในต่างประเทศเป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ โดยบุคคลดังกล่าวต้องสามารถประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และจะจําหน่ายหลักทรัพย์ในประเทศมิได้ ไม่ว่าจะกระทําโดยตรงหรือผ่านสํานักงานผู้แทน
การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะคราวโดยกําหนดห้ามมิให้ตัวแทนดังกล่าวตั้งตัวแทนช่วง และบริษัทหลักทรัพย์ที่ตั้งตัวแทนนั้นต้องจัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนแยกต่างหากจากสัญญาอื่น โดยต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดให้ตัวแทนดังกล่าวต้อง
ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และประกาศนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลให้ตัวแทนนั้นปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วย
ข้อ 3 บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศต้องเป็นบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงาน
(2) เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(ข) การจัดจําหน่ายหุ้นของนิติบุคคลที่มีจํานวนหุ้นที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหุ้น หรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
(ค) การจัดจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดไว้ใน (ก) หรือ (ข) ซึ่งมีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นดังต่อไปนี้ควบกับการเสนอขายหุ้นดังกล่าวด้วย
1. ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
2. ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
3. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือ
4. ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น
(3) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการดังนี้
(ก) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จําหน่าย
(ข) แจกจ่ายหรือรับใบจองซื้อหลักทรัพย์
(ค) รับชําระเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์
(ง) ยืนยันการจองซื้อหลักทรัพย์
(จ) ส่งมอบหลักทรัพย์ให้ผู้จองซื้อที่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์
(ฉ) คืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์
ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นต้องเป็นบุคคลที่สํานักงานได้รับขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศตามข้อ 7
(2) เป็นการจัดจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นที่มีจํานวนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขายตั้งแต่ 100 ล้านหน่วย หรือมีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นการตั้งตัวแทนจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นเพื่อทําหน้าที่เฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ตามข้อ 3(3)
ข้อ 5 ในกรณีที่มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) แจ้งรายชื่อบุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบ
(2) ดูแลให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีระบบงานที่สามารถรองรับการรับจองซื้อหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ในกรณีที่มีการตั้งตัวแทนเพื่อจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยในประเทศที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
ข้อ 6 บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศกับสํานักงานต้องเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้นทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(2) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(3) เคยต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (1) หรือ (2)
ข้อ 7 เมื่อสํานักงานพิจารณาหนังสือแจ้งขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศของบุคคลใดแล้วเห็นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ 6 ให้สํานักงานดําเนินการขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้น
ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) ให้สํานักงานพิจารณาประวัติการต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับของบุคคลที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาสองปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนเท่านั้น และถ้าพฤติกรรมอันเป็นเหตุที่ต้องคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับของบุคคลนั้นไม่ร้ายแรง และไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการให้
บุคคลนั้นเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประชาชนหรือจะทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ ให้สํานักงานสามารถรับขึ้นทะเบียนบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นโดยจะกําหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ 8 ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดดังนี้
(1) ต้องปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 3(3)
(2) ต้องนําเงินค่าจองซื้อหุ้นเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหุ้นของนิติบุคคลที่ออกหุ้นหรือแยกบัญชีเพื่อการจองซื้อหุ้นออกจากบัญชีทรัพย์สินของตน
(3) ต้องไม่ยืนยันการจองซื้อหุ้นแก่บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหุ้นให้
ตามรายชื่อที่บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ทราบในข้อ 5(1)
(4) ต้องไม่กระทําการใด ๆ อันมีผลทําให้การจัดจําหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
(5) มีระบบควบคุมการปฏิบัติงานที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้ผู้บริหารหรือพนักงานอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงานเบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อตัวแทนจําหน่ายหุ้น หรือเพื่อบุคคลอื่น
(6) มีระบบการรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทําหน้าที่ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศโดยกําหนดขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนและการดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้ การรับข้อร้องเรียนและดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนอย่างน้อยต้องมีขั้นตอนดังนี้
(ก) รับข้อร้องเรียนของผู้จองซื้อหุ้น หากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจาให้บันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้จองซื้อหุ้นลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนจําหน่ายหุ้นจะดําเนินการแก้ไขปัญหา
(ข) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว
(ค)[1](#fn1) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทหลักทรัพย์ที่แต่งตั้งตนเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (ง)1 เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบหรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้จองซื้อหุ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น
(จ) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น
(7) ต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่แสดงถึงขั้นตอนและวิธีการในการรับจองซื้อหุ้นไว้อย่างชัดเจนและเป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน รวมทั้งต้องควบคุมดูแลให้พนักงานของตนปฏิบัติตามคู่มือดังกล่าวด้วย
(8) ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นไว้ให้ครบถ้วนอย่างน้อยสองปีนับแต่วันที่สิ้นสุดการรับจองซื้อหุ้นนั้น
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนเพื่อจําหน่ายหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 3(2) (ค) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 4 ให้ตัวแทนดังกล่าวมีหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ข้อ 9 ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กําชับ
(2) ภาคทัณฑ์
(3) สั่งพักการปฏิบัติงาน
ในการกําหนดระยะเวลาสั่งพักการปฏิบัติงานในกรณีตัวแทนจําหน่ายหุ้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(3) หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประโยชน์ของประชาชนหรือทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ โดยระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พ้นโทษตามคําพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับ หรือนับแต่วันที่สํานักงานมีคําสั่งพักการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณีสําหรับกรณีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(1) หรือข้อ 6(2) ให้สํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานจนกว่าการดําเนินคดีกับตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นจะถึงที่สุด
ข้อ 10 ในกรณีที่ได้มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศรายใดก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่งพักการปฏิบัติงานตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้น หากการปฏิบัติงานของตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นยังไม่แล้วเสร็จและตัวแทนจําหน่ายหุ้นประสงค์จะปฏิบัติงานต่อไป ให้ตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อขอปฏิบัติงานต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ในการพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรม
ที่เป็นเหตุให้สั่งพักการปฏิบัติงานตัวแทนจําหน่ายหุ้นรายนั้นและผลกระทบต่อการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ของบริษัทหลักทรัพย์ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ 11 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์
ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออก
หรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 12 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
*หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับอนุญาตและการอนุญาตตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 25/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
---
1. | 1,906 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 72/2552 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 72/2552
เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้น
(2) “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนที่เกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่ายเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
(3) “จัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หรือ “การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า การจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย โดยการจัดสรรหุ้นเกินจํานวนดังกล่าวกระทําไปพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่จัดจําหน่าย
(4) “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์
(5) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จะจัดสรรหุ้นส่วนเกินได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) การจัดสรรหุ้นส่วนเกินกระทําพร้อมกับการจัดจําหน่ายหุ้นดังต่อไปนี้
(ก) หุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทมหาชนจํากัด ไม่ว่าจะมีผู้ถือหุ้นของบริษัทร่วมเสนอขายในคราวเดียวกันด้วยหรือไม่ หรือ
(ข) หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้น
(2) ผู้เสนอขายหุ้นตาม (1) (ก) หรือ (ข) ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(3) ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้รับสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือจากผู้ถือหุ้นในจํานวนที่เท่ากับจํานวนสูงสุดที่จะมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน ทั้งนี้ การให้สิทธิดังกล่าวต้องจัดทําเป็นหนังสือ โดย
(ก) ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่เพิ่มเติมจากบริษัทมหาชนจํากัด สิทธิที่ได้รับจากบริษัทมหาชนจํากัดดังกล่าวต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นภายหลังการจัดจําหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
(ข) ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้สิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้น ต้องมีการจัดให้ผู้ถือหุ้นนั้นฝากหุ้นจํานวนดังกล่าวไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นสามารถ
ส่งมอบหุ้นให้ตามที่ได้ผูกพันไว้
(4) หุ้นส่วนเกินต้องมีจํานวนที่แน่นอนซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน
(5) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องมีเพียงรายเดียว โดยผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินดังกล่าวต้องเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
(6) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้รับสิทธิที่จะซื้อหุ้นจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นภายหลังการจัดจําหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
(7) การจัดสรรหุ้นส่วนเกินจะกระทําได้เมื่อปรากฏว่า ณ วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน มีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจํานวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายดังกล่าว
ในกรณีที่การจัดสรรหุ้นส่วนเกินตามวรรคหนึ่งเข้าข่ายเป็นการขายหุ้นโดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์สามารถกระทําเช่นนั้นได้ โดยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 98(5) และไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
ข้อ ๓ ให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินด้วยวิธีการดังนี้
(1) ยืมหุ้นทั้งจํานวนจากบุคคลอื่น
(2) ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน(3) ใช้สิทธิซื้อหุ้นจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้ถือหุ้น
การจัดหาหุ้นโดยใช้วิธีการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้กระทําได้เพียงครั้งเดียวและเมื่อใช้วิธีการดังกล่าวแล้ว ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะใช้วิธีการตามวรรคหนึ่ง (2) อีกไม่ได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินโดยใช้วิธีการตามข้อ 3(1) ให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า และให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรร
หุ้นส่วนเกินภายในระยะเวลาเดียวกับที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรจากหุ้นที่จัดจําหน่าย
ข้อ ๕ ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน โดยใช้วิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) ได้ก็ต่อเมื่อผู้จองซื้อยินยอมที่จะรับมอบหุ้นหลังจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรจากหุ้นที่จัดจําหน่าย
ในการดําเนินการจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับจัดสรรหุ้นส่วนเกินโดยใช้วิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) ให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินเริ่มจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ในวันถัดจากวันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน และต้องดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่หุ้นของบริษัทดังกล่าวจะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นครั้งแรก ให้ดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันแรกที่หุ้นนั้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
(2) กรณีที่หุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนอยู่แล้ว ให้ดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน
ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการส่งมอบหุ้นส่วนเกินให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินซึ่งจัดหาโดยใช้วิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบถ้วน
ข้อ ๖ ในการดําเนินการจัดหาหุ้นเพื่อส่งคืนหุ้นที่ยืมจากบุคคลอื่นตามข้อ 3(1) ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องจัดหาหุ้นเพื่อส่งคืนด้วยวิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) เท่านั้น ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3 วรรคสอง และข้อ 5 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าว โดยอนุโลม
ข้อ ๗ ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้
(1) จัดทําบัญชีหุ้นส่วนเกินแยกต่างหากจากบัญชีหลักทรัพย์ของผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน
(2) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ให้แล้วเสร็จภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันที่จัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ได้ครบถ้วน แล้วแต่กรณี โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) รายงานโดยละเอียดซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับวันที่มีการตั้งราคาหุ้น จํานวนหุ้นที่จัดหา ช่วงของราคาซื้อหุ้นดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์ โดยระบุราคาซื้อสูงสุดและต่ําสุด (ถ้ามี) และให้จัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ ณ สํานักงานใหญ่ของผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันที่จัดทํารายงานดังกล่าว
(ข) รายงานโดยสรุปซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ให้สิทธิซื้อหุ้น จํานวนหุ้นที่ให้สิทธิ จํานวนหุ้นที่ได้ใช้สิทธิ และจํานวนหุ้นโดยรวมที่จัดหาโดยการซื้อในตลาดหลักทรัพย์ และให้จัดส่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ได้ครบถ้วน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 60/2547 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 60/2547 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์และการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และห้ามบริษัทหลักทรัพย์ขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดให้กระทําได้ จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 60/2547 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,907 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2555 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 45/2555
เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 72/2552 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้สิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้น ต้องมีการจัดให้ผู้ถือหุ้นนั้นฝากหุ้นจํานวนดังกล่าวไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นสามารถส่งมอบหุ้นให้ตามที่ได้ผูกพันไว้ เว้นแต่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้รับการส่งมอบหุ้นตามสัญญายืมหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายดังกล่าวเพื่อนําไปส่งมอบให้กับผู้จองซื้อตามข้อ 3(1)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,908 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2559 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 26/2559
เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 72/2552 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ให้แล้วเสร็จภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่จัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ได้ครบถ้วน แล้วแต่กรณี โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) รายงานโดยละเอียดซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับวันที่มีการตั้งราคาหุ้น จํานวนหุ้นที่จัดหา ช่วงของราคาซื้อหุ้นดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์ โดยระบุราคาซื้อสูงสุดและต่ําสุด (ถ้ามี) และให้จัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ ณ สํานักงานใหญ่ของผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันที่จัดทํารายงานดังกล่าว
(ข) รายงานโดยสรุปซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ให้สิทธิซื้อหุ้น จํานวนหุ้นที่ให้สิทธิ จํานวนหุ้นที่ได้ใช้สิทธิ และจํานวนหุ้นโดยรวมที่จัดหาโดยการซื้อในตลาดหลักทรัพย์ และให้จัดส่งต่อสํานักงานภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่จัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ได้ครบถ้วน แล้วแต่กรณี”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,909 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 72/2552 การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 72/2552
เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60
แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
(1) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้น
(2) “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนที่เกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่ายเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
(3) “จัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หรือ “การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่าการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย โดยการจัดสรรหุ้นเกินจํานวนดังกล่าวกระทําไปพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่จัดจําหน่าย
(4) “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์
(5) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ 2 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จะจัดสรรหุ้นส่วนเกินได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) การจัดสรรหุ้นส่วนเกินกระทําพร้อมกับการจัดจําหน่ายหุ้นดังต่อไปนี้
(ก) หุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทมหาชนจํากัด ไม่ว่าจะมีผู้ถือหุ้นของบริษัทร่วมเสนอขายในคราวเดียวกันด้วยหรือไม่ หรือ
(ข) หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้น
(2) ผู้เสนอขายหุ้นตาม (1) (ก) หรือ (ข) ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(3) ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้รับสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือจากผู้ถือหุ้นในจํานวนที่เท่ากับจํานวนสูงสุดที่จะมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน ทั้งนี้ การให้สิทธิดังกล่าวต้องจัดทําเป็นหนังสือ โดย
(ก) ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่เพิ่มเติมจากบริษัทมหาชนจํากัด สิทธิที่ได้รับจากบริษัทมหาชนจํากัดดังกล่าวต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นภายหลังการจัดจําหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
(ข)[1](#fn1) ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้สิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้น ต้องมีการจัดให้ผู้ถือหุ้นนั้นฝากหุ้นจํานวนดังกล่าวไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นสามารถส่งมอบหุ้นให้ตามที่ได้ผูกพันไว้ เว้นแต่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้รับการส่งมอบหุ้นตามสัญญายืมหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายดังกล่าวเพื่อนําไปส่งมอบให้กับผู้จองซื้อตามข้อ 3(1)
(4) หุ้นส่วนเกินต้องมีจํานวนที่แน่นอนซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน
(5) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องมีเพียงรายเดียวโดยผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินดังกล่าวต้องเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
(6) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินได้รับสิทธิที่จะซื้อหุ้นจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นภายหลังการจัดจําหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
(7) การจัดสรรหุ้นส่วนเกินจะกระทําได้เมื่อปรากฏว่า ณ วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจํานวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายดังกล่าว
ในกรณีที่การจัดสรรหุ้นส่วนเกินตามวรรคหนึ่งเข้าข่ายเป็นการขายหุ้นโดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์สามารถกระทําเช่นนั้นได้ โดยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 98(5) และไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
ข้อ 3 ให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินด้วยวิธีการดังนี้
(1) ยืมหุ้นทั้งจํานวนจากบุคคลอื่น
(2) ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน
(3) ใช้สิทธิซื้อหุ้นจากบริษัทมหาชนจํากัดหรือผู้ถือหุ้น
การจัดหาหุ้นโดยใช้วิธีการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้กระทําได้เพียงครั้งเดียวและเมื่อใช้วิธีการดังกล่าวแล้ว ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะใช้วิธีการตามวรรคหนึ่ง (2) อีกไม่ได้
ข้อ 4 ในกรณีที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินโดยใช้วิธีการตามข้อ 3(1) ให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า และให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินภายในระยะเวลาเดียวกับที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรจากหุ้นที่จัดจําหน่าย
ข้อ 5 ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน โดยใช้วิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) ได้ก็ต่อเมื่อผู้จองซื้อยินยอมที่จะรับมอบหุ้นหลังจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรจากหุ้นที่จัดจําหน่าย
ในการดําเนินการจัดหาหุ้นเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับจัดสรรหุ้นส่วนเกินโดยใช้วิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) ให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินเริ่มจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ในวันถัดจากวันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน และต้องดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่หุ้นของบริษัทดังกล่าวจะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นครั้งแรก ให้ดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันแรกที่หุ้นนั้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
(2) กรณีที่หุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนอยู่แล้ว ให้ดําเนินการจัดหาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน
ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการส่งมอบหุ้นส่วนเกินให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินซึ่งจัดหาโดยใช้วิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบถ้วน
ข้อ 6 ในการดําเนินการจัดหาหุ้นเพื่อส่งคืนหุ้นที่ยืมจากบุคคลอื่นตามข้อ 3(1)ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องจัดหาหุ้นเพื่อส่งคืนด้วยวิธีการตามข้อ 3(2) หรือ (3) เท่านั้น ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3 วรรคสอง และข้อ 5 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าว โดยอนุโลม
ข้อ 7 ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้
(1) จัดทําบัญชีหุ้นส่วนเกินแยกต่างหากจากบัญชีหลักทรัพย์ของผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน
(2)[2](#fn2) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ให้แล้วเสร็จภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่จัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ได้ครบถ้วน แล้วแต่กรณี โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) รายงานโดยละเอียดซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับวันที่มีการตั้งราคาหุ้น
จํานวนหุ้นที่จัดหา ช่วงของราคาซื้อหุ้นดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์ โดยระบุราคาซื้อสูงสุดและต่ําสุด
(ถ้ามี) และให้จัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ ณ สํานักงานใหญ่ของผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินเป็นเวลาอย่างน้อย
หนึ่งปีนับแต่วันที่จัดทํารายงานดังกล่าว
(ข) รายงานโดยสรุปซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ให้สิทธิซื้อหุ้น จํานวนหุ้นที่ให้สิทธิ จํานวนหุ้นที่ได้ใช้สิทธิ และจํานวนหุ้นโดยรวมที่จัดหาโดยการซื้อในตลาดหลักทรัพย์ และให้จัดส่งต่อสํานักงานภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่จัดหาหุ้นตามข้อ 3 หรือข้อ 6 ได้ครบถ้วน แล้วแต่กรณี
ข้อ 8 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 60/2547 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่ายลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน
ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 9 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 60/2547 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
*หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
และการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และห้ามบริษัทหลักทรัพย์
ขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดให้กระทําได้ จึงเห็นควรออกประกาศ
เพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 60/2547 เรื่อง การจัดสรร
หุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2555 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2555)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2559 เรื่อง การจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2559)
---
1.
2. | 1,910 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 39/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 39/2549
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 18/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(2) ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(3) ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(4) ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 20/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(5) ข้อ 2(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(6) ข้อ 3(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 การขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ โดยในกรณีการขอความเห็นชอบโดยใช้คุณสมบัติของการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ขอความเห็นชอบโดยบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ยื่นคําขอ
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน โดยในการให้ความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ยื่นคําขอปฏิบัติด้วยก็ได้ และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
“ข้อ 7/1 การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้มีอายุสองปี โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1 การต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ข้อ 8/1 ข้อ 8/2 และข้อ 8/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
หมวด ๑/๑ การต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๘/๑ การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนยื่นคําขอต่ออายุล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุอย่างน้อยหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสี่เดือน โดยให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ โดยในกรณีการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบโดยใช้คุณสมบัติของการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ขอต่ออายุโดยบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ยื่นคําขอ
ให้นําความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 7 มาใช้บังคับกับการขอต่ออายุ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยอนุโลม
ข้อ ๘/๒ การต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ได้รับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๘/๓ ในการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาความรู้ความสามารถสําหรับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามแนวทางปฏิบัติในการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็น ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ให้การเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานสิ้นสุดลง ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไม่กระทําการหรือมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) พ้นจากการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยคุณสมบัติดังกล่าว
(2) พ้นจากการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ หรือไม่ได้ปฏิบัติงานให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนโดยคุณสมบัติดังกล่าว”
ข้อ ๖ ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนอยู่ก่อนวันที่ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ มีอายุการได้รับความเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ โดยที่การกํากับดูแลผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจําเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ และความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับบริการที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน สมควรกําหนด ให้มีอายุและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน เพื่อการตรวจสอบดังกล่าว ตลอดจนกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบโดยให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน มีทางเลือกเพิ่มขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,911 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 35/2551 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 35/2551
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความใน (1) ข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 10/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(2) ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 13/2551เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(3) ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(4) ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 20/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(5) ข้อ 2(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(6) ข้อ 3(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 12/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
“ข้อ 7/2 ในกรณีผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนด้วย ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก โดยใช้คุณสมบัติตามข้อ 5 วรรคสอง (2) และให้มีอายุการได้รับความเห็นชอบเท่ากับรอบระยะเวลาที่เหลืออยู่ของอายุการได้ความเห็นชอบเดิมที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ทําหน้าที่ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 39/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8/1 การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนยื่นคําขอต่ออายุล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุอย่างน้อยหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสี่เดือน โดยผู้ขอความเห็นชอบต้องจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่างๆ
การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบโดยใช้คุณสมบัติของการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ขอต่ออายุโดยบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ยื่นคําขอ
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน โดยจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาและเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุประสงค์จะได้รับหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการพิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามวรรคสาม ให้ยื่นคําขอและชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/4 ของหมวด 1/1 การต่ออายุการให้ความเห็นชอบ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
“ข้อ 8/4 ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบโดยใช้คุณสมบัติผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 5 วรรคสอง (1) หากต่อมาบุคคลดังกล่าวพ้นจากการเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ให้บุคคลนั้นยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประเภทที่ได้รับความเห็นชอบก่อนการใช้คุณสมบัติผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ได้ต่อไปจนครบอายุการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่การพ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในปีปฏิทินที่ครบอายุการให้ความเห็นชอบ ให้ถือว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนรายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบการต่ออายุตามประเภทที่ได้รับความเห็นชอบก่อนการใช้คุณสมบัติผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อีกหนึ่งรอบระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ใช้คุณสมบัติผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้จัดการกองทุนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนสําหรับการแจ้งผลการพิจารณาการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,912 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 55/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 55 /2553
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(2) ข้อ 4(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์
และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(3) ข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์
ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(4) ข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(5) ข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(6) ข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 3/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/1 ในกรณีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง เนื่องจากพ้นจากการดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ หากบุคคลดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากการดํารงตําแหน่งดังกล่าว สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลนั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประเภทที่เคยได้รับความเห็นชอบก่อนการใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ”
ข้อ ๒ ในกรณีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เนื่องจากพ้นจากการดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์หากบุคคลดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลนั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประเภทที่เคยได้รับความเห็นชอบก่อนการใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนสําหรับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก ที่การได้รับความเห็นชอบสิ้นสุดเนื่องจากพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,913 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 37/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 37/2553
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(2) ข้อ 4(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 55/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(3) ข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 3/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“(9/1) “กองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟทองคําที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบประสงค์จะเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือมีคุณสมบัติตามที่กําหนดดังต่อไปนี้
(1) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี
(2) ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ หรือในกรณีที่ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้นั้นมาเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรความรู้ดังกล่าวของสถาบันฝึกอบรม หรือหลักสูตรอื่นที่สํานักงานยอมรับ ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ
(3) ผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน หรือหลักสูตรอบรมเฉพาะสําหรับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเฉพาะกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา จากสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ
(4) มีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคํา หรือสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ
ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือข้อ 4/1 แล้วแต่กรณี แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและ
มีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการซื้อขายทองคําสามารถเข้ามาทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,914 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 5/2550 เรื่อง การมีสำนักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทำการของบริษัทจัดการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 5/2550
เรื่อง การมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่
และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ
โดยที่มาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงาน โดยในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประกอบกับตามมาตรา 98(6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์รับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากลูกค้านอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นอย่างอื่น อีกทั้งมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนั้นได้กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องเปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เปิดทําการหรือหยุดทําการในเวลาหรือวันอื่น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาอนุญาตให้มีสํานักงานสาขา ตลอดจนการให้บริการของบริษัทจัดการแก่ลูกค้านอกสถานที่และเวลาทําการ สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ อน. 26/2544 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทจัดการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจากลูกค้านอกสถานที่ทําการของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
“สํานักงานสาขาออนไลน์” หมายความว่า สํานักงานสาขาประเภทที่ให้บริการแก่ลูกค้าโดยลูกค้าต้องทําธุรกรรมกับบริษัทจัดการด้วยตนเองโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จัดไว้ให้เท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานใหญ่
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอยู่ด้วย หากบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ตั้งสาขาเต็มรูปแบบสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นนั้นแล้ว ให้ถือว่าบริษัทนั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้มีสํานักงานสาขาในการให้บริการลูกค้าสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วยแล้ว
ข้อ ๔ การยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขา ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ในการพิจารณาว่าบริษัทจัดการมีฐานะการเงินที่เหมาะสม ไม่มีพฤติกรรมและประวัติที่ไม่เหมาะสมต่อการขยายธุรกิจด้วยการมีสํานักงานสาขา ตลอดจนไม่มีพฤติกรรมและประวัติที่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน รวมทั้งมีการจัดเตรียมระบบงานสําหรับสํานักงานสาขาที่ขออนุญาตอย่างเหมาะสมต่อการให้บริการลูกค้า ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 สํานักงานจะใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ในการพิจารณาอนุญาต
(1) บริษัทจัดการต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน และการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ
(2) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด แต่ไม่เกินสามปีย้อนหลังก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการ
(3) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดแต่ไม่เกินสามปีย้อนหลังก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการ
(4) ในช่วงระยะเวลาสิบสองเดือนย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ ต้องไม่ปรากฏว่าบริษัทจัดการมีความผิดในลักษณะที่เป็นการจงใจอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจัดการ
(5) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งห้ามขยายหรือระงับการประกอบธุรกิจหรืออยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งการตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(6) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกสํานักงานสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของระบบงานในลักษณะที่ร้ายแรง หรืออยู่ในระหว่างถูกสํานักงานสั่งห้ามการมีสาขาเพิ่มเติม
(7) บริษัทจัดการต้องแสดงให้เห็นได้ว่าบริษัทจัดการได้จัดเตรียมระบบงานสําหรับสํานักงานสาขาที่ขออนุญาต ดังนี้
(ก) ระบบควบคุมภายในที่แสดงถึงการประสานงานระหว่างสํานักงานสาขาและสํานักงานใหญ่
(ข) ระบบงานที่แสดงถึงมาตรการป้องกันการใช้ธุรกรรมหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(ค) ระบบงานด้านการปฏิบัติการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลของสํานักงานสาขาที่จะทําให้บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขาออนไลน์ จะต้องแสดงให้เห็นด้วยว่า
1. บริษัทจัดการมีบุคลากรที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมีระบบที่จะทําให้ผู้ลงทุนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในขณะใช้บริการที่สํานักงานสาขาออนไลน์ได้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะให้สํานักงานสาขาออนไลน์เป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํา หรือในการชักชวนลูกค้าโดยมีการวางแผน
การลงทุนให้ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2. บริษัทจัดการมีระบบงานในการตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ลงทุนว่าเป็นบุคคลที่เข้าทํารายการซื้อขายหน่วยลงทุนจริง
(ง) ระบบงานรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสําคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติการของสํานักงานสาขา
ในกรณีที่บริษัทจัดการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกําหนดตาม (2) ถึง (4) บริษัทจัดการจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้บริษัทจัดการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวออกจากบริษัทจัดการและไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการอีกต่อไป
ข้อ ๖ สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตตามข้อ 4 ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดการทราบว่าได้รับเอกสารหลักฐานประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ในกรณีที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทจัดการไม่ปฏิบัติหรือไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบริษัทจัดการไม่ประสงค์จะขออนุญาตตามข้อ 4 อีกต่อไป
ข้อ ๗ บริษัทจัดการที่ได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาต้องใช้ชื่อของสํานักงานสาขาซึ่งมีคําว่า “สํานักงานสาขา” นําหน้าและชื่อของบริษัทจัดการต่อท้าย
ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงานสาขาใช้สถานที่ตั้งร่วมกับบุคคลอื่น ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ให้บริการและจัดเก็บเอกสารของสํานักงานสาขาแยกเฉพาะส่วนจากพื้นที่ที่ใช้เป็นที่ให้บริการหรือจัดเก็บเอกสารของบุคคลอื่นที่ใช้สถานที่ร่วมกันนั้น
(2) จัดให้มีป้ายข้อความที่แสดงถึงลักษณะของธุรกิจที่ให้บริการแสดงไว้ในบริเวณพื้นที่ตาม (1) ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๙ สํานักงานสาขาที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ให้ทําหน้าที่ได้ตามขอบเขตการให้บริการที่บริษัทจัดการได้รับอนุญาต ทั้งนี้ สํานักงานสาขาแต่ละสาขาไม่จําเป็นต้องทําหน้าที่ดังกล่าวครบทุกด้าน และหากบริษัทจัดการประสงค์จะขยายขอบเขตหรือเปลี่ยนลักษณะการให้บริการของสํานักงานสาขาซึ่งต่างไปจากที่สํานักงานอนุญาตไว้ บริษัทจัดการต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการขยายขอบเขตหรือเปลี่ยนลักษณะการให้บริการนั้น
ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาที่ไม่ใช่สํานักงานสาขาออนไลน์ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้จัดการสํานักงานสาขาซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสํานักงานใหญ่ เพื่อบริหารการดําเนินงานและบุคลากรของสํานักงานสาขาตามขอบเขตการให้บริการที่สํานักงานสาขาได้รับอนุญาต
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานสาขาออนไลน์ทําหน้าที่ได้เฉพาะกิจการดังต่อไปนี้
(1) การรับคําขอของลูกค้าในการเปิดบัญชีซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อส่งให้สํานักงานสาขาอื่นหรือสํานักงานใหญ่พิจารณาอนุมัติ
(2) การรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ตลอดจนการรับชําระราคาค่าจองซื้อหรือค่าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดว่าด้วยการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
(3) ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนหรือการจัดการกองทุนโดยผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
(4) การแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยต่อผู้ลงทุน
(5) การดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นเกี่ยวเนื่องตามที่สํานักงานกําหนด
บริษัทจัดการต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดูแลและรักษาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดไว้สําหรับการให้บริการตามวรรคหนึ่ง โดยผู้รับผิดชอบดังกล่าวอาจเป็นเจ้าหน้าที่สํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาอื่นก็ได้
ข้อ ๑๑ บริษัทจัดการที่ประสงค์จะปิดสํานักงานสาขาแห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้ถือว่าวันที่บริษัทจัดการปิดสํานักงานสาขาแห่งนั้นเป็นวันที่การอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง และให้บริษัทจัดการแจ้งวันปิดทําการของสํานักงานสาขาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการปิดสํานักงานสาขาดังกล่าว และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของสํานักงานสาขาแห่งนั้นไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งปิดสํานักงานสาขาแห่งนั้นชั่วคราวหรือถาวร หรือสั่งห้ามมิให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขาเพิ่ม
(1) ปรากฏพฤติการณ์ว่าสํานักงานสาขาบริหารงานด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริตและไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุน
(2) สํานักงานสาขามีความบกพร่องของระบบงานในลักษณะที่ร้ายแรง
3. (3) บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5
ข้อ ๑๓ บริษัทจัดการอาจเปิดทําการนอกเหนือจากเวลาทําการตามที่สํานักงานประกาศกําหนดไว้ได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการได้ประกาศเวลาการเปิดให้บริการแก่ลูกค้านอกเวลาทําการของบริษัทจัดการให้ทราบเป็นการทั่วไป
บริษัทจัดการอาจรับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์นอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาเป็นการชั่วคราวได้
ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานที่แสดงรายละเอียดการเปิดให้บริการแก่ลูกค้านอกเวลาทําการและนอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาในแต่ละกรณี ภายในรอบปีปฏิทินใด ๆ โดยจัดเก็บไว้ที่สํานักงานใหญ่เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่มีการเปิดให้บริการแก่ลูกค้านอกเวลาทําการและนอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา ทั้งนี้ เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องในระบบเชื่อมโยงด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสํานักงานสาขาออนไลน์และสํานักงานใหญ่จนไม่อาจดําเนินการต่อไปได้ สํานักงานสาขาออนไลน์สามารถหยุดการให้บริการเป็นการชั่วคราวได้ในทันทีจนกว่าเหตุดังกล่าวจะยุติลง
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การพิจารณาอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขาตลอดจนหลักเกณฑ์ในการให้บริการของสํานักงานสาขานอกสถานที่ทําการและนอกเวลาทําการ จึงต้องออกประกาศฉบับนี้ | 1,915 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 46/2553 เรื่อง การมีสำนักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทำการของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 46 /2553
เรื่อง การมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่
และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(6) และมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2550 เรื่อง การมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 บริษัทจัดการอาจรับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์นอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาเป็นการชั่วคราวได้”
ข้อ ๒ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดทําการนอกเหนือจากเวลาทําการปกติของบริษัทจัดการ โดยให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเวลาทําการและวันหยุด
ทําการของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งหลักเกณฑ์ตามประกาศครอบคลุมถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,916 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 5/2550 การมีสำนักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทำการของบริษัทจัดการ (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 5/2550
เรื่อง การมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ
โดยที่มาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงาน โดยในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประกอบกับตามมาตรา 98(6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์รับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากลูกค้านอกสถานที่ทําการ
ของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นอย่างอื่น อีกทั้งมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนั้นได้กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องเปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เปิดทําการหรือหยุดทําการในเวลาหรือวันอื่น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาอนุญาตให้มีสํานักงานสาขา ตลอดจนการให้บริการของบริษัทจัดการแก่ลูกค้านอกสถานที่และเวลาทําการ สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ อน. 26/2544 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทจัดการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจากลูกค้านอกสถานที่ทําการของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
“สํานักงานสาขาออนไลน์” หมายความว่า สํานักงานสาขาประเภทที่ให้บริการแก่ลูกค้าโดยลูกค้าต้องทําธุรกรรมกับบริษัทจัดการด้วยตนเองโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จัดไว้ให้เท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานใหญ่
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 3 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอยู่ด้วย หากบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ตั้งสาขาเต็มรูปแบบสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นนั้นแล้ว ให้ถือว่าบริษัทนั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้มีสํานักงานสาขาในการให้บริการลูกค้าสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วยแล้ว
ข้อ 4 การยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขา ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 5 ในการพิจารณาว่าบริษัทจัดการมีฐานะการเงินที่เหมาะสม ไม่มีพฤติกรรมและประวัติที่ไม่เหมาะสมต่อการขยายธุรกิจด้วยการมีสํานักงานสาขา ตลอดจนไม่มีพฤติกรรมและประวัติที่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน รวมทั้งมีการจัดเตรียมระบบงานสําหรับสํานักงานสาขาที่ขออนุญาตอย่างเหมาะสมต่อการให้บริการลูกค้า ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 สํานักงานจะใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ในการพิจารณาอนุญาต
(1) บริษัทจัดการต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน และการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ
(2) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลา
ที่สํานักงานกําหนด แต่ไม่เกินสามปีย้อนหลังก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการ
(3) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดแต่ไม่เกินสามปีย้อนหลังก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการ
(4) ในช่วงระยะเวลาสิบสองเดือนย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ ต้องไม่ปรากฏว่าบริษัทจัดการมีความผิดในลักษณะที่เป็นการจงใจอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจัดการ
(5) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งห้ามขยายหรือระงับการประกอบธุรกิจหรืออยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งการตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(6) บริษัทจัดการต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกสํานักงานสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของระบบงานในลักษณะที่ร้ายแรง หรืออยู่ในระหว่างถูกสํานักงานสั่งห้ามการมีสาขาเพิ่มเติม
(7) บริษัทจัดการต้องแสดงให้เห็นได้ว่าบริษัทจัดการได้จัดเตรียมระบบงานสําหรับสํานักงานสาขาที่ขออนุญาต ดังนี้
(ก) ระบบควบคุมภายในที่แสดงถึงการประสานงานระหว่างสํานักงานสาขาและสํานักงานใหญ่
(ข) ระบบงานที่แสดงถึงมาตรการป้องกันการใช้ธุรกรรมหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(ค) ระบบงานด้านการปฏิบัติการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลของสํานักงานสาขาที่จะทําให้บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุญาตมีสํานักงานสาขาออนไลน์ จะต้องแสดงให้เห็นด้วยว่า
1. บริษัทจัดการมีบุคลากรที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมีระบบที่จะทําให้ผู้ลงทุนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในขณะใช้บริการที่สํานักงานสาขาออนไลน์ได้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะให้สํานักงานสาขาออนไลน์เป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุนหรือให้คําแนะนํา หรือในการชักชวนลูกค้าโดยมีการวางแผนการลงทุนให้ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2. บริษัทจัดการมีระบบงานในการตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ลงทุนว่าเป็นบุคคลที่เข้าทํารายการซื้อขายหน่วยลงทุนจริง
(ง) ระบบงานรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสําคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติการของสํานักงานสาขา
ในกรณีที่บริษัทจัดการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกําหนดตาม (2) ถึง (4) บริษัทจัดการจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้บริษัทจัดการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวออกจากบริษัทจัดการและไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการอีกต่อไป
ข้อ 6 สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตตามข้อ 4 ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดการทราบว่าได้รับเอกสารหลักฐานประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ในกรณีที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทจัดการไม่ปฏิบัติหรือไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าบริษัทจัดการไม่ประสงค์จะขออนุญาตตามข้อ 4 อีกต่อไป
ข้อ 7 บริษัทจัดการที่ได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาต้องใช้ชื่อของสํานักงานสาขาซึ่งมีคําว่า “สํานักงานสาขา” นําหน้าและชื่อของบริษัทจัดการต่อท้าย
ข้อ 8 ในกรณีที่สํานักงานสาขาใช้สถานที่ตั้งร่วมกับบุคคลอื่น ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ให้บริการและจัดเก็บเอกสารของสํานักงานสาขาแยกเฉพาะส่วนจากพื้นที่ที่ใช้เป็นที่ให้บริการหรือจัดเก็บเอกสารของบุคคลอื่นที่ใช้สถานที่ร่วมกันนั้น
(2) จัดให้มีป้ายข้อความที่แสดงถึงลักษณะของธุรกิจที่ให้บริการแสดงไว้ในบริเวณพื้นที่ตาม (1) ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ 9 สํานักงานสาขาที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ให้ทําหน้าที่ได้ตามขอบเขตการให้บริการที่บริษัทจัดการได้รับอนุญาต ทั้งนี้ สํานักงานสาขาแต่ละสาขาไม่จําเป็นต้องทําหน้าที่ดังกล่าวครบทุกด้าน และหากบริษัทจัดการประสงค์จะขยายขอบเขตหรือเปลี่ยนลักษณะการให้บริการของสํานักงานสาขาซึ่งต่างไปจากที่สํานักงานอนุญาตไว้ บริษัทจัดการต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการขยายขอบเขตหรือเปลี่ยนลักษณะการให้บริการนั้น
ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาที่ไม่ใช่สํานักงานสาขาออนไลน์ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้จัดการสํานักงานสาขาซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสํานักงานใหญ่ เพื่อบริหารการดําเนินงานและบุคลากรของสํานักงานสาขาตามขอบเขตการให้บริการที่สํานักงานสาขาได้รับอนุญาต
ข้อ 10 ให้สํานักงานสาขาออนไลน์ทําหน้าที่ได้เฉพาะกิจการดังต่อไปนี้
(1) การรับคําขอของลูกค้าในการเปิดบัญชีซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อส่งให้สํานักงานสาขาอื่นหรือสํานักงานใหญ่พิจารณาอนุมัติ
(2) การรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ตลอดจนการรับชําระราคาค่าจองซื้อหรือค่าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดว่าด้วยการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
(3) ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนหรือการจัดการกองทุนโดยผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
(4) การแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยต่อผู้ลงทุน
(5) การดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นเกี่ยวเนื่องตามที่สํานักงานกําหนด
บริษัทจัดการต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดูแลและรักษาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดไว้สําหรับการให้บริการตามวรรคหนึ่ง โดยผู้รับผิดชอบดังกล่าวอาจเป็นเจ้าหน้าที่สํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาอื่นก็ได้
ข้อ 11 บริษัทจัดการที่ประสงค์จะปิดสํานักงานสาขาแห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้ถือว่าวันที่บริษัทจัดการปิดสํานักงานสาขาแห่งนั้นเป็นวันที่การอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง และให้บริษัทจัดการแจ้งวันปิดทําการของสํานักงานสาขาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการปิดสํานักงานสาขาดังกล่าว และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของสํานักงานสาขาแห่งนั้นไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข้อ 12 ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งปิดสํานักงานสาขาแห่งนั้นชั่วคราวหรือถาวร หรือสั่งห้ามมิให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขาเพิ่ม
(1) ปรากฏพฤติการณ์ว่าสํานักงานสาขาบริหารงานด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริตและไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุน
(2) สํานักงานสาขามีความบกพร่องของระบบงานในลักษณะที่ร้ายแรง
(3) บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5
ข้อ 13[1](#fn1) บริษัทจัดการอาจรับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์นอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาเป็นการชั่วคราวได้
ข้อ 14 ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องในระบบเชื่อมโยงด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสํานักงานสาขาออนไลน์และสํานักงานใหญ่จนไม่อาจดําเนินการต่อไปได้ สํานักงานสาขาออนไลน์สามารถหยุดการให้บริการเป็นการชั่วคราวได้ในทันทีจนกว่าเหตุดังกล่าวจะยุติลง
ข้อ 15 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 5/2550 เรื่อง การมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 29/05/2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 46/2553 เรื่อง การมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 04/11/2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
---
1. | 1,917 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 12/2550
เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 15/2540 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่23 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 43/2540 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่11 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า กลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนดังกล่าว
“กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้มาจากการลงทุนไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
“กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้มาจากการลงทุนไว้ในโครงการ
“การประเมินค่า” หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
“การสอบทานการประเมินค่า” หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ไม่เกินวงเงินดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ในโครงการ
“เช่า” หมายความว่า เช่า ไม่ว่าการเช่านั้นจะเป็นการเช่าโดยตรง หรือเป็นการรับโอน สิทธิการเช่า หรือเป็นการเช่าช่วงก็ตาม
“ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุน
“บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน
“บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
“บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
“ผู้จองซื้อพิเศษ” หมายความว่า ผู้จองซื้อพิเศษตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่ในการบริหารหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุน
“ผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“รายงานการประเมินค่า” หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงรายละเอียดโครงการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(2) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ
3. จํานวนเงินทุนโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวน ประเภทและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา
4. นโยบายในการลงทุน และข้อจํากัดการลงทุนของกองทุนรวม
5. ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ให้ระบุสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินและเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์
(ข) ผู้สอบบัญชี
(ค) นายทะเบียนหน่วยลงทุน
(ง) บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
(จ) ผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(ฉ) บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(ช) ที่ปรึกษา (ถ้ามี)
(ซ) ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(6) วิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุน การรับชําระและการเก็บรักษาเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน วิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน และการคืนเงินค่าจองซื้อพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนหรือแก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนของโครงการที่ต้องยุติโครงการ
(7) ข้อจํากัดในการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(8) รายชื่อหรือลักษณะของผู้จองซื้อพิเศษ เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า และผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน และกลุ่มบุคคลเดียวกัน รวมทั้งจํานวนและสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่บุคคลดังกล่าวแต่ละรายจะได้รับการจัดสรร (ถ้ามี)
(9) การออกและการส่งมอบหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน เงื่อนไขและวิธีการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน
(10) สิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน และข้อจํากัดสิทธิดังกล่าวในกรณีที่มีการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(11) รายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อ เช่า รับโอนสิทธิการเช่า หรือรับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่า หากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
3. รายชื่อเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน ในกรณีที่ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์มิใช่บุคคลเดียวกับบุคคลที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุรายละเอียดของสิทธิของบุคคลดังกล่าวที่มีสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
4. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อ เช่า รับโอนสิทธิการเช่า หรือรับโอนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนลักษณะของความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี)
5. การรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือของบุคคลผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมิได้เป็นคู่สัญญากับกองทุนรวม (ถ้ามี)
6. รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวมจากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน โดยให้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาพรวมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน โครงสร้างรายได้ที่จะได้รับจากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน และนโยบายการบริหารอสังหาริมทรัพย์
7. สรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาซื้อขาย เช่า รับโอนสิทธิการเช่า หรือรับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน
8. สรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาที่เกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนในกรณีที่เป็นการให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการอื่นเพียงรายเดียวเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ (ถ้ามี)
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน พร้อมทั้งแนวทางในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(12) ทรัพย์สินอื่นที่กองทุนรวมจะลงทุน
(13) การประกันภัยของกองทุนรวม
(14) ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการ หากมีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น
(15) การประเมินค่าและการสอบทานการประเมินค่า
(16) วิธีคํานวณ กําหนดเวลาในการคํานวณ และการประกาศมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(17) รอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวมและวันสิ้นสุดระยะเวลาบัญชีประจําปีแรก
(18) วิธีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม
(19) นโยบายการจ่ายเงินปันผล ตลอดจนกําหนดเวลาและวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(20) การจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
(21) การจัดทํารายงานแสดงฐานะและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม
(22) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
(23) การแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน (ถ้ามี)
(24) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวม
(ข) ผู้ดูแลผลประโยชน์
(ค) บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
(ง) คณะกรรมการการลงทุน (ถ้ามี)
(จ) ที่ปรึกษา (ถ้ามี)
(ฉ) ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะซื้อหรือเช่า หรือผู้โอนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
25. อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใด ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม
26. (26) อัตราและวิธีการจ่ายค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สอบบัญชี นายทะเบียนหน่วยลงทุน บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน คณะกรรมการการลงทุน ที่ปรึกษา และผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) จะได้รับจากกองทุนรวม
(27) การเลิกโครงการ
(28) วิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมเมื่อเลิกโครงการ และวิธีการเฉลี่ยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(29) รายละเอียดอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป และให้ประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลใช้บังคับ เมื่อสํานักงานได้จัดให้มีระบบ Mutual Fund Approval System (MFAS) เพื่อการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แล้วเสร็จ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เพื่อให้รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้รายการที่ต้องกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงขึ้นใหม่ จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ | 1,918 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 54/2552 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 54/2552
เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44
และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) ข้อจํากัดในการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ข้อจํากัดในการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดที่ได้รับยกเว้นให้ถือได้เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และข้อจํากัดในการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ถ้ามี)”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (10) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(10) สิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน และข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่มีการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราตามข้อ 3(7)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
“(11/1) ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม (ถ้ามี) ไม่เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้แสดงข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงิน
ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือบุคคลอื่นใดที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ประมาณการรายได้ค่าเช่าดังกล่าวต้องได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินด้วย”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
“(12/1) นโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม และความเสี่ยงของกองทุนรวมจาก
การกู้ยืมเงิน (ถ้ามี)”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้รายการที่ต้องกําหนดในโครงการจัดการ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อจํากัดในการถือหน่วยลงทุน และการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมประเภทดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,919 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 48/2553 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 48 /2553
เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การประกันรายได้” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง” และคําว่า “การประเมินค่า” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
““การประกันรายได้” หมายความว่า การจัดให้มีบุคคลอื่นเข้ารับประกันรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่ประกันไว้”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้รับประกันรายได้” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์” และคําว่า “ผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
““ผู้รับประกันรายได้” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่ากองทุนรวมจะได้รับรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่รับประกันไว้”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
“(13/1) การประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ซึ่งต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อและที่อยู่ของผู้รับประกันรายได้
(ข) ข้อมูลสรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาประกันรายได้”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงรายการในรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,920 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 3/2541
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
-------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2335 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคมพ.ศ. 2535
"ข้อ 1/1 ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ให้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ จัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามแบบและระยะเวลาดังนี้
(1) รายงานฐานะการเงิน ให้ขัดทําเป็นรายเดือน ตามแบบ บ.ง. 3 ที่แนบท้ายหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. งว. (ว) 608/2537 เรื่อง การกําหนดให้ยื่นแบบรายงานลับต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 31 มีนาคม 2537 และให้ชื่นภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
(2) รายงานรายได้และค่าใช้ง่าย ให้จัดทําเป็นรายเดือน ตามตาราง บ.ง. 3/3 ที่แนบท้ายหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. งพ. (ว) 1909/2534 เรื่อง แบบรายงานลับที่กําหนดให้ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และให้ยื่นภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
(3) รายงานฐานะการเงิน (จุดแยกธุรกิจ) และรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายชุดแยกธุรกิจ) ให้จัดทําเป็นรายไตรมาส ตามแบบ บ.ง.3 ชุดแยกธุรกิจ และตาราง บ.ง. 3/3 ชุดแยกธุรกิจ ที่แนบท้ายหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. งว. (ว) 2960/2540 เรื่อง การกําหนดให้อื่นแบบรายงานลับต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2540 และให้ยื่นภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ต้องรายงาน
(4) รายงานธุรกิจหลักทรัพย์ ให้จัดทําเป็นรายเดือน ตามแบบ บ.ล. 3 และตาราง บ.ล. 3/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้ยื่นภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน"
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 2 ให้ใช้บังคับสําหรับรายงานตั้งแต่เดือน มกรากม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,921 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 6/2541
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
"ข้อ 1/2 ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ จัดทํารายงานบัญชีมาร์จิ้นเป็นรายเดือนตามแบบ บ.ล. 5 ที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,922 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 27/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
========================================================
ที่ สธ. 27/2541
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
“ข้อ 1/6 ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ใช้บังคับ จัดทํารายงานลูกหนี้จัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ทุกสิ้นไตรมาส และให้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ต้องรายงาน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
บริษัท...........................
รายงานลูกหนี้จัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น
ณ วันที่ .....................................
1. ลูกหนี้ที่มีปัญหาในการชําระดอกเบี้ยหรือต้นเงิน\*
หน่วย : บาท
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| ประเภทลูกหนี้ | จํานวนราย | เงินต้น | ดอกเบี้ยค้างรับ | มูลหนี้รวม | %ของเงินให้กู้ยืมรวมแต่ละประเภท |
| ลูกหนี้ธุรกิจเงินทุน | | | | | |
| ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ | | | | | |
2. การจัดชั้นลูกหนี้และการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น\*
หน่วย : บาท
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทลูกหนี้ | มูลหนี้ | เงินที่ต้องสํารองตามการจัดชั้นลูกหนี้ |
| สูญ | สงสัย | ต่ํากว่ามาตรฐาน | กล่าวถึงเป็นพิเศษ | ปกติ |
| ลูกหนี้ธุรกิจเงินทุน | | | | | | |
| ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ | | | | | | |
จํานวนเงินที่ต้องกันสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น....................................บาท
จํานวนเงินที่กันสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้นไว้แล้ว ................................บาท
สํารองส่วนเกิน(ขาด) .................................................................. บาท
สาเหตุที่ยังกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้นไม่ครบ
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| | ไดัรับการผ่อนผันตามประกาศ ธปท. | | ไดัรับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษ | | อื่นๆ(ระบุ)........... |
3. แผนในการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น\*
ช่วงระยะเวลาที่จะกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น เพิ่ม(จนครบ) จํานวน (บาท)
.................................... .....................
.................................... .....................
##### หมายเหตุ \* ให้ใช้เกณฑ์ขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
##### ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้องครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
......................................(เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจลงนาม)
(.....................................)
ตําแหน่ง............................
วันที่ ................................
ผู้จัดทํา ..............................
โทร............ | 1,923 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 15/2542 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 15/2542
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่องแบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2541
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2541 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
"บริษัท" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ แต่ไม่รวมถึงนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย
"บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ แต่มิได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามแบบและระยะเวลาดังนี้
(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบที่กําหนดต่อไปนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน โดย
(ก) กรณีบริษัทหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้
(ข) กรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ บ.ง. 3 และตาราง บ.ง. 3/3ที่แนบท้ายหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. งว.(ว) 608/2537 เรื่อง การกําหนดให้ยื่นแบบรายงานลับต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 31 มีนาคม 2537
(2) รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัท ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 3 และตาราง บ.ล. 3/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
(3) รายงานบัญชีมาร์จิ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 5 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
(4) รายงานการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และ
สถาบันการเงิน เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 6 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่
เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
(5) รายงานรายละเอียดเงินกู้ยืมของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 7 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
(6) รายงานลูกหนี้จัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ 109-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายไตรมาส และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ต้องรายงาน
ข้อ ๔ ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่บริษัทดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท หรือบริษัทที่ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท เมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทแล้ว หรือคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภทตั้งแต่รายงานของเดือนหรือไตรมาสถัดจากเดือนหรือไตรมาสที่หยุดประกอบธุรกิจหรือถูกระงับการประกอบธุรกิจ และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทนั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน
(2) บริษัทที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือหยุดทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน หรือบริษัทที่ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใด หรือระงับการทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงานเมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทแล้ว หรือคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่แจ้งหยุดหรือถูกระงับนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนหรือไตรมาสถัดจากเดือนหรือไตรมาสที่หยุดประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม หรือถูกระงับการประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทนั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน หรือเริ่มทําธุรกรรมขึ้นใหม
(3) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งสั่งโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้บริษัทได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภท ตั้งแต่วันที่บริษัทดังกล่าวถูกระงับการดําเนินกิจการ และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทนั้นเริ่มดําเนินกิจการได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,924 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 5/2544 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 5/2544
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2542 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคมพ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทจัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามแบบและระยะเวลาดังนี้
(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป
(2) รายงานบัญชีมาร์จิ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 5 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือนและให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
(3) รายงานการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 6 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายปี และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สามสิบเอ็ดมกราคมของปีถัดไป
ทั้งนี้ ให้บริษัทที่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานตาม (2) หรือ (3) ยื่นรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานสําหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย”
ข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัท รายงานบัญชีมาร์จิ้น รายงานการให้ยืมหลักทรัพย์ รายงาน
รายละเอียดเงินกู้ยืมของบริษัทหลักทรัพย์ และรายงานลูกหนี้จัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้จัดชั้น ต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2542 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานดังกล่าวสําหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานตามประกาศฉบับดังกล่าวด้วย
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,925 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 57/2544 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 57/2544
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2542 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลัก ทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 5/2544 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลัก ทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ แต่ไม่รวมถึงนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามแบบและระยะเวลาดังนี้
(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้าย ประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป
(2) รายงานบัญชีมาร์จิ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อ ขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ จัดทํารายงาน ตามแบบ บ.ล. 5/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
(3) รายงานการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 6 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายปี และให้ยื่นต่อ สํานักงานภายในวันที่สามสิบเอ็ดมกราคมของปีถัดไป
(4) รายงานทรัพย์สินของลูกค้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าไม่ว่าเพื่อประโยชน์ด้านการเก็บรักษา หรือเพื่อการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อเป็นประกันการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือ เพื่อประโยชน์อื่นใดตามประกาศว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 8 ที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
ทั้งนี้ ให้บริษัทที่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานตาม (2) (3) หรือ (4) ยื่นรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานสําหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่บริษัทดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท หรือบริษัทที่ถูกคณะกรรมการก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท เมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทแล้ว หรือคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือ สํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภทตั้งแต่รายงานของเดือนหรือปีที่หยุดประกอบธุรกิจหรือ ถูกระงับการประกอบธุรกิจ และบริษัทไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทนั้นเริ่มประกอบธุรกิจ ได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน
(2) บริษัทที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือหยุดทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน เมื่อสํานักงานได้ รับหนังสือแจ้งจากบริษัทแล้ว ให้บริษัทได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่แจ้ง หยุดนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนหรือปีที่หยุดประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทนั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน หรือเริ่มทํา ธุรกรรมขึ้นใหม่
(3) บริษัทที่ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือสั่งระงับการทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน เมื่อคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่ถูกระงับนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนหรือปีที่ถูกระงับการประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทนั้นเริ่มประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,926 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 55/2546
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 57/2544 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามแบบและระยะเวลาดังนี้
(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป
(2) รายงานบัญชีมาร์จิ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 5/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
(3) รายงานทรัพย์สินของลูกค้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าไม่ว่าเพื่อประโยชน์ด้านการเก็บรักษา หรือเพื่อการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อเป็นประกันการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 8 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานตาม (2) หรือ (3) ยื่นรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานสําหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท หรือที่ถูกคณะกรรมการก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท เมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์แล้ว หรือคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภท ตั้งแต่รายงานของเดือนที่หยุดประกอบธุรกิจหรือถูกระงับการประกอบธุรกิจ และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือหยุดทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน เมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่แจ้งหยุดนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนที่หยุดประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน หรือเริ่มทําธุรกรรมขึ้นใหม่
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือสั่งระงับการทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน เมื่อคําสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่ถูกระงับนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนที่ถูกระงับการประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเริ่มประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน
ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน รายงานบัญชีมาร์จิ้น และรายงานทรัพย์สินของลูกค้า ต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.57/2544 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานดังกล่าวสําหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานตามประกาศฉบับดังกล่าวด้วย
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,927 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 20/2547 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 20/2547
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และ “ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์กับสํานักงาน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
=====================================================================================================================================================================================
“ข้อ 3/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะยื่นรายงานตามข้อ 3 ต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานดังกล่าวผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป
==================================================================
ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
=====================================
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
==========
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,928 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 8 /2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 8/2549
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามแบบและระยะเวลาดังนี้
(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดไป
(2) รายงานบัญชีมาร์จิ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 5/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
(3) รายงานทรัพย์สินของลูกค้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้า ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ด้านการเก็บรักษา หรือเพื่อการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อเป็นประกันการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 8 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานตาม (2) หรือ (3) ยื่นรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานสําหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,929 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 16/2551 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 16/2551
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) รายงานการทําธุรกรรม ให้บริษัทหลักทรัพย์ เฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ จัดทํารายงานตามแบบบ.ล. 9 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดไป”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท หรือที่ถูก คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภทเมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์แล้ว หรือคําสั่งของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นรายงานทุกประเภท ตั้งแต่รายงานของเดือนที่หยุดประกอบธุรกิจหรือถูกระงับการประกอบธุรกิจ และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงาน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือหยุดทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน เมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่แจ้งหยุดนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนที่หยุดประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเริ่มประกอบธุรกิจได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงาน หรือเริ่มทําธุรกรรมขึ้นใหม่
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานสั่งระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดหรือสั่งระงับการทําธุรกรรมประเภทที่ต้องรายงาน เมื่อคําสั่งของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานมีผลบังคับแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกรรมประเภทที่ถูกระงับนั้น ตั้งแต่รายงานของเดือนที่ถูกระงับการประกอบธุรกิจหรือธุรกรรม และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงาน และสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเริ่มประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ใหม่โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงาน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
เว้นแต่ข้อ 1 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,930 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 28/2552 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 28/2552
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดไป”
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) รายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายเดือน และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่สิบสี่ของเดือนถัดไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์มีหน้าที่ในการจัดทํารายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทเช่นเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์ประเภทอื่น เพื่อประโยชน์ในการติดตามฐานะการเงินที่เป็นปัจจุบันของบริษัทดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,931 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 54/2553 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 54 /2553
เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้แบบ บ.ล. 2 และตาราง บ.ล. 2/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงแบบรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ ให้สอดคล้องกับการจัดทํางบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ที่มีการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,932 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 25/2556
เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับ
การประกอบธุรกิจ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 16 วรรคหนึ่ง (6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนหรือการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจด้วยการมีอํานาจควบคุมระหว่างกัน
(3) บริษัทที่มีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ
“อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ที่กําหนดในมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
“ธุรกิจทางการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบริษัทประกันชีวิต ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถให้บุคคลอื่น เช่น ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น สถาบันการเงิน หรือบริษัทในเครือที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งมีความพร้อมในด้านบุคลากรและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะรับดําเนินการ เป็นผู้รับดําเนินการภายใต้ขอบเขตของงานและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๔ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
ข้อ ๕ ในการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ให้ปฏิบัติตามหมวด 1
(2) การให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกัการประกอบธุรกิจ ให้ปฏิบัติตามหมวด 2
(3) การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานอื่นนอกเหนือจาก (1) หรือ (2) และมิได้มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้สามารถทําได้ตามความจําเป็นของผู้ประกอบธุรกิจ
(ก) เป็นการตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือ
(ข) เป็นการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในเรื่องที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่นอยู่แล้ว
หมวด ๑ การให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ การให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกระทําได้เท่าที่จําเป็นเพื่อช่วยให้การประกอบธุรกิจมีประสิทธิภาพและต้องไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
(2) มีมาตรการรองรับให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้
(3) งานที่จะให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นดําเนินการได้ ต้องไม่ใช่งานที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือเป็นเรื่องที่ตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการเองหรือต้องไม่ใช่งานที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่น
(4) ในกรณีที่การให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นเป็นผู้รับดําเนินการเป็นงานเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับดําเนินการ โดยต้องระบุรายละเอียดของการดําเนินการดังกล่าวอย่างชัดเจนไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือที่เป็นกองทุนส่วนบุคคลอื่นเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แล้วแต่กรณี
(ข) จัดให้มีการรายงานการควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นไว้ในรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report)
หมวด ๒ การให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจอาจให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ประเภทของงานและลักษณะของบุคคลที่จะเป็นผู้รับดําเนินการต้องเป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 1
(2) ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดําเนินการได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาต
(3) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในส่วนที่ 3
ส่วน ๑ ประเภทของงานและลักษณะของบุคคลที่จะเป็นผู้รับดําเนินการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ งานที่ผู้ประกอบธุรกิจอาจให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามหมวดนี้ ได้แก่งานดังต่อไปนี้
(1) งานจัดการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของลูกค้า
(2) งานบริหารความเสี่ยง
(3) งานตรวจสอบและควบคุมภายใน
(4) งานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน
(5) งานจัดระบบและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(6) งานที่มีลักษณะในการรวบรวม เรียบเรียง หรือแยกแยะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
(7) งานจัดทําทะเบียนของลูกค้า
(8) งานปฏิบัติการภายหลังการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(9) งานปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการลงทุนของกองทุน
(10) งานการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน
(11) งานอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานตาม (1) ถึง (9)
ข้อ ๙ งานตามข้อ 8 ที่ต้องให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นตามที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะเป็นผู้รับดําเนินการ ได้แก่งานดังต่อไปนี้
(1) งานบริหารความเสี่ยงและงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ต้องให้บริษัทในเครือเป็นผู้รับดําเนินการ
(2) งานตรวจสอบและควบคุมภายใน ต้องให้บริษัทในเครือหรือสํานักงานสอบบัญชีเป็นผู้รับดําเนินการ
(3) งานปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการลงทุนของกองทุน ต้องให้บริษัทในเครือหรือสถาบันการเงินเป็นผู้รับดําเนินการ
(4) งานที่มีลักษณะตามข้อ 8(6) ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและการเงินของลูกค้าต้องให้บริษัทในเครือหรือสํานักงานสอบบัญชีเป็นผู้รับดําเนินการ
(5) งานการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน ต้องให้บุคคลที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 11 เป็นผู้รับดําเนินการ ทั้งนี้ การให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับดําเนินการต้องกระทําเท่าที่จําเป็นเพื่อช่วยให้การประกอบธุรกิจมีประสิทธิภาพและต้องไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ระบุรายละเอียดของการดําเนินการดังกล่าวอย่างชัดเจนไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือที่เป็นกองทุนส่วนบุคคลอื่นเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แล้วแต่กรณี
(ข) มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
(ค) มีการรายงานการควบคุมดูแลบุคคลอื่นที่เป็นผู้รับดําเนินการไว้ในรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report)
ส่วน ๒ การอนุญาตให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
ในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นผู้รับดําเนินการได้โดยไม่ต้องยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 12
(1) สถาบันการเงิน หรือบริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) สํานักงานหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) หรือหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือกับสํานักงานในระดับไม่น้อยกว่าความช่วยเหลือที่กําหนดตาม MMOU และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวตั้งอยู่ต้องไม่ด้อยกว่าหลักเกณฑ์ของสํานักงาน
(ค) ธนาคารกลางที่เป็นสมาชิกของ Bank for International Settlement (BIS)
(2) สํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีในสังกัดเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ทั้งนี้ เฉพาะการเป็นผู้รับดําเนินการในงานการตรวจสอบและควบคุมภายใน หรืองานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและการเงินของลูกค้า
(3) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
(4) นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอื่นนอกเหนือจาก (1) (2) หรือ (3) ที่มีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปีในงานที่จะรับดําเนินการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การนับประสบการณ์ในการทํางานของผู้รับดําเนินการดังกล่าว อาจนับประสบการณ์การทํางานต่อเนื่องจากประสบการณ์ของกิจการอื่นได้ หากนิติบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับกิจการอื่นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการและผู้บริหารของกิจการอื่น
(ข) นิติบุคคลดังกล่าวเกิดจากการควบเข้ากันของกิจการอื่นหรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจของกิจการอื่น
(ค) นิติบุคคลดังกล่าวได้รวมเอาธุรกิจของกิจการอื่นมาเป็นธุรกิจของนิติบุคคลนั้น
(ง) นิติบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับกิจการอื่นในลักษณะที่สามารถนําประสบการณ์ของกิจการอื่นมาใช้ในการประกอบธุรกิจของตนได้
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บุคคลต่างประเทศทําการลงทุนในต่างประเทศเพื่อกองทุนภายใต้การจัดการของผู้ประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 12 หากบุคคลนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สามารถประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บุคคลต่างประเทศนั้นประกอบธุรกิจอยู่
(2) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลตามข้อ 10(1)(ข)
(3) เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
ข้อ ๑๒ นอกเหนือจากกรณีตามข้อ 10 และข้อ 11 ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามข้อ 8(1) ถึง (9) และ (11) ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการมอบหมายให้ดําเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้สํานักงานพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาคําขอดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 12 จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อผู้รับดําเนินการมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีความพร้อมในด้านบุคลากรและระบบงานในการดําเนินงานอย่างเพียงพอที่จะทําให้งานของผู้ประกอบธุรกิจยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยต้องมีระบบที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง
(ข) ระบบการควบคุมภายใน
(ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ล่วงรู้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมทั้งเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(ง) ระบบการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน
(2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
(3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตงานที่ให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นตามข้อ 10 รับดําเนินการต่อสํานักงาน โดยต้องแจ้งล่วงหน้าภายในสิบห้าวัน ก่อนวันเริ่มการดําเนินงานดังกล่าว
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติและดูแลให้บุคลากรของตนปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติดังกล่าวด้วย
(1) มีการกําหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 18
(2) มีมาตรการรองรับที่ทําให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินงานต่อไปได้
(3) มีมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
(4) มีการพิจารณาด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการคัดเลือกผู้รับดําเนินการ
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับดําเนินการ
(2) ให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้
(3) เหตุ เงื่อนไข และวิธีการ ในการเลิกสัญญาหรือระงับการดําเนินการ
(4) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บ
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่สัญญาตามข้อ 16 เป็นสัญญาที่บริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญากับผู้รับดําเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมั่นใจได้ว่าสัญญาดังกล่าวจะรองรับ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ผู้รับดําเนินการมีต่อผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญาด้วยตนเอง และผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการให้บริษัทในเครือมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายซึ่งผู้ประกอบธุรกิจกําหนดไว้ตามข้อ 18(2)
(2) ดําเนินการให้บริษัทในเครือกําหนดสาระสําคัญในสัญญาให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 16 และเพิ่มเติมข้อสัญญาที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ไว้ในสัญญาด้วย
(ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับประโยชน์ในงานที่บุคคลอื่นจะดําเนินการให้
(ข) ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจากผู้รับดําเนินการได้
(ค) ให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(3) ตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาให้เป็นไปตาม (2) และจัดเก็บสําเนาสัญญาดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อ 19(3)
ข้อ ๑๘ นโยบายการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 15(1) ต้องระบุรายละเอียดและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตและลักษณะงานที่จะให้ดําเนินการ
(2) หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับดําเนินการซึ่งมีรายละเอียดของแนวทางการพิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ฐานะทางการเงิน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
(ข) ความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีระบบงานในการดําเนินการที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
(ค) ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และชื่อเสียงในทางธุรกิจ
(ง) ความพร้อมของผู้รับดําเนินการในกรณีที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจหลายราย
(จ) ประวัติการถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องดําเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่จะให้ดําเนินการ
(ฉ) ความเกี่ยวข้องกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจ
(3) หลักเกณฑ์การทบทวนและการเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ
(4) แนวทางการพิจารณาในกรณีที่ผู้รับดําเนินการจะให้บุคคลอื่นรับดําเนินการช่วงซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) กําหนดให้บุคคลอื่นที่รับดําเนินการช่วงต้องเป็นบุคคลตามข้อ 10 หรือข้อ 11หรือบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 12
(ข) มีขั้นตอนการขออนุมัติจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจก่อนดําเนินการ
(5) แนวทางการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมตามระดับความสําคัญของงานที่ให้ดําเนินการ
(6) ระบบรักษาความปลอดภัยของผู้รับดําเนินการในการดูแลรักษาข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้า
(7) มาตรการตรวจสอบดูแลให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยมาตรการดังกล่าวต้องสามารถควบคุมให้ผู้รับดําเนินการไม่มีลักษณะที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกํากับดูแลการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการติดตามและทบทวนความเหมาะสมของนโยบายและการดําเนินการของผู้รับดําเนินการเป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องทบทวนทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้รับดําเนินการ หรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ และต้องเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการทันทีหากบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการอีกต่อไป
(2) จัดทําสรุปการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เสนอต่อผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบในการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ
(3) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า
(4) จัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการได้ เมื่อสํานักงานร้องขอ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ หรือบุคคลที่ประกอบกิจการอื่นซึ่งเป็นผู้รับดําเนินการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศนี้ หรือบุคคลดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการ ให้สํานักงานแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือสั่งระงับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ ให้ถือว่าการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกับที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้ดําเนินการโดยชอบอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นการให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่กระทําได้โดยชอบตามประกาศนี้
ในกรณีที่นโยบายหรือสัญญาให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการยังไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายหรือข้อสัญญาดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,933 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
============================
ที่ ทธ. 41/2556
เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
ในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
“(5) ในกรณีที่การให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นเป็นผู้รับดําเนินการเป็นงานเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้รับดําเนินการ และต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าที่มอบหมายให้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก่อน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,934 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2558 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 42/2558
เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง (6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 นอกเหนือจากกรณีตามข้อ 10 และข้อ 11 ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามข้อ 8(1) ถึง (9) และ (11) ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการมอบหมายให้ดําเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,935 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 45/2559
เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง
กับการประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง (6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการ โดยต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับดําเนินการ
(ข) มาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องของผู้รับดําเนินการ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงงานที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจ
(ค) การกําหนดให้ผู้รับดําเนินการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่ได้รับดําเนินการรวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(2) ให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้
(3) เหตุ เงื่อนไข และวิธีการ ในการเลิกสัญญาหรือระงับการดําเนินการ
(4) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บ
ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วง ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้ผู้รับดําเนินการจัดให้มีข้อสัญญาซึ่งมีรายละเอียดตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) ด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (ค) ใน (2) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,936 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 56/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 56/2559
เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับ
การประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้ให้บริการระบบสนับสนุน” “ระบบสนับสนุน” และ “ประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน” ท้ายบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
““ผู้ให้บริการระบบสนับสนุน” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบสนับสนุนตามที่กําหนดในประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน
“ระบบสนับสนุน” หมายความว่า ระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและการจัดการกองทุนตามที่กําหนดในประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน
“ประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและการจัดการกองทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 งานที่ผู้ประกอบธุรกิจอาจให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามหมวดนี้ ได้แก่งานดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
(1) งานจัดการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของลูกค้า
(2) งานบริหารความเสี่ยง เฉพาะกรณีที่ผู้รับดําเนินการเป็นบริษัทในเครือ
(3) งานตรวจสอบและควบคุมภายใน เฉพาะกรณีที่ผู้รับดําเนินการเป็นบริษัทในเครือหรือสํานักงานสอบบัญชี
(4) งานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เฉพาะกรณีที่ผู้รับดําเนินการเป็นบริษัทในเครือ
(5) งานจัดระบบและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(6) งานที่มีลักษณะในการรวบรวม เรียบเรียง หรือแยกแยะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่งานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบัญชีและการเงินของลูกค้า ต้องให้บริษัทในเครือหรือสํานักงานสอบบัญชีเป็นผู้รับดําเนินการ
(7) งานจัดทําทะเบียนของลูกค้า
(8) งานปฏิบัติการภายหลังการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(9) งานปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการลงทุนของกองทุน เฉพาะกรณีที่ผู้รับดําเนินการเป็นบริษัทในเครือหรือสถาบันการเงิน
(10) งานการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน เฉพาะเท่าที่จําเป็นเพื่อช่วยให้การประกอบธุรกิจมีประสิทธิภาพและต้องไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ โดยผู้รับดําเนินการเป็นบุคคลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 และต้องปฏิบัติดังนี้
(ก) ระบุรายละเอียดของการดําเนินการดังกล่าวอย่างชัดเจนไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าที่เป็นกองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้ว แล้วแต่กรณี
(ข) มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
(ค) มีการรายงานการควบคุมดูแลบุคคลอื่นที่เป็นผู้รับดําเนินการไว้ในรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report)
(11) งานอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานตาม (1) ถึง (9)
ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้ผู้ให้บริการระบบสนับสนุนเป็นผู้รับดําเนินการในงานตามวรรคหนึ่งได้ทั้งหมด ทั้งนี้ เฉพาะงานในส่วนที่ผู้ให้บริการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบตามประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นผู้รับดําเนินการในงานตามข้อ 8 ได้โดยไม่ต้องยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 12
(1) สถาบันการเงิน หรือบริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังนี้
(ก) สํานักงานหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) หรือหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือกับสํานักงานในระดับไม่น้อยกว่าความช่วยเหลือที่กําหนดตามMMOU และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวตั้งอยู่ต้องไม่ด้อยกว่าหลักเกณฑ์ของสํานักงาน
(ค) ธนาคารกลางที่เป็นสมาชิกของ Bank for International Settlement (BIS)
(2) สํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีในสังกัดเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ทั้งนี้ เฉพาะงานตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (6)
(3) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
(4) ผู้ให้บริการระบบสนับสนุน ทั้งนี้ เฉพาะงานในส่วนที่ผู้ให้บริการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบตามประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน
(5) นิติบุคคลอื่นนอกเหนือจาก (1) (2) (3) หรือ (4) ที่มีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปีในงานที่จะรับดําเนินการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การนับประสบการณ์ในการทํางานของผู้รับดําเนินการดังกล่าว อาจนับประสบการณ์การทํางานต่อเนื่องจากประสบการณ์ของกิจการอื่นได้ หากนิติบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับกิจการอื่นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) กรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการและผู้บริหารของกิจการอื่น
(ข) นิติบุคคลดังกล่าวเกิดจากการควบเข้ากันของกิจการอื่นหรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจของกิจการอื่น
(ค) นิติบุคคลดังกล่าวได้รวมเอาธุรกิจของกิจการอื่นมาเป็นธุรกิจของนิติบุคคลนั้น
(ง) นิติบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับกิจการอื่นในลักษณะที่สามารถนําประสบการณ์ของกิจการอื่นมาใช้ในการประกอบธุรกิจของตนได้”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2558 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 นอกเหนือจากกรณีตามข้อ 10 และข้อ 11 ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (9) และ (11) ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการมอบหมายให้ดําเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
“ข้อ 19/1 มิให้นําความในข้อ 18(7) และข้อ 19 มาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่ให้ผู้ให้บริการระบบสนับสนุนเป็นผู้รับดําเนินการ ทั้งนี้ เฉพาะงานในส่วนที่ผู้ให้บริการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบตามประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน”
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,937 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 84/2552
เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า
(1) ทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับมาหรือมีไว้เพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้านั้นได้ซื้อขายไว้
(2) กําไรหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของลูกค้าอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(3) ใบรับของคลังสินค้า ใบตราส่งหรือตราสารอื่นที่แสดงสิทธิในทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาถือไว้เพื่อลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการส่งมอบหรือเนื่องมาจากการรับมอบสินค้าตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้น
(4) เงิน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับจากลูกค้าเพื่อชําระราคาสินค้าที่จะรับมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้นหรือที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับไว้เพื่อลูกค้าอันเนื่องมาจากการส่งมอบสินค้าตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้น
(5) เงินที่เหลือจากการขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่โอนไว้ในชื่อของตัวแทนซื้อขายสัญญาเนื่องจากลูกค้าผิดนัดชําระหนี้อันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
สัญญาหรือข้อตกลงที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาสามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าจากการกระทําหรือการละเลยการทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนซื้อขายสัญญาหรือพนักงานหรือลูกจ้างของตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ ๓ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
ข้อ ๔ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่ทําให้มั่นใจได้ว่าทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ในความดูแลของตนมีความปลอดภัยและครบถ้วน มีการจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย และมีการจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละรายแยกจากบัญชีทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญาให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ตลอดจนมีการรายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้ลูกค้าทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญากระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งหรือความยินยอมที่เป็นลายลักษณ์อักษรของลูกค้าหรือบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรให้สั่งการแทน
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษาของตัวแทนซื้อขายสัญญาจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นได้ภายในเวลาอันสมควร
ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าโดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจนําเงินของลูกค้าไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือลงทุนในลักษณะอื่นตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต.ประกาศกําหนด โดยให้ระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
ในกรณีที่เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินตามวรรคหนึ่ง เป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๐ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 68/2547 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 68/2547 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ หลักเกณฑ์การจัดเก็บทรัพย์สินและการจัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า และหลักเกณฑ์ในการนําทรัพย์สินของลูกค้าไปแสวงหาประโยชน์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 68/2547 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,938 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2553 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 41/2553
เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจนําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยในกรณีที่เป็นเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
(2) ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร
(3) ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร
(4) ลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินหรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน หรือลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ โดยในกรณีที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือตั๋วแลกเงิน เป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือตั๋วแลกเงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
(5) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (money market fund)
ที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ (daily redemption fund)
(6) ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม (2) หรือ (3) ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(ข) ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(ค) ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน
(ง) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น
(จ) มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1+อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ)
(ฉ) ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินจํานวนที่แยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของตัวแทนซื้อขายสัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าก่อนดําเนินการ
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“บริษัทร่วม” ตามวรรคสาม ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535”
ข้อ 2 ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการนําเงินของลูกค้าไปลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาคงเงินลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้เพียงเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ของตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการผ่อนคลายและเพิ่มทางเลือกให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถนําเงินของลูกค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาไปฝากหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารตามที่กําหนดเพิ่มเติมได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,939 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 14/2555 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 14 /2555
เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“สัญญาหรือข้อตกลงที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อกําหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจํากัดความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของลูกค้า และกรณีทรัพย์สินของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายสัญญา ต้องมีข้อกําหนดให้ตัวแทนซื้อขายสัญญารับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้าอย่างเต็มจํานวน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2553 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจนําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในบัตรเงินฝากของธนาคารดังกล่าวที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือมีรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวน
ในกรณีที่ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้อันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งหมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีที่จําเป็นด้วย
(ข) กรณีที่เป็นเงินฝากหรือบัตรเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือบัตรเงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
(2) ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย
(3) ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย
(4) ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม (2) หรือ (3) ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(ข) ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(ค) ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน
(ง) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น
(จ) มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1+ อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ)
(ฉ) ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินจํานวนที่แยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของตัวแทนซื้อขายสัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าก่อนดําเนินการ
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“บริษัทร่วม” ตามวรรคสาม ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/1 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาคํานวณมูลค่าของตราสารหรือหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนตามข้อ 7 อย่างน้อยทุกวันทําการ โดยให้ใช้ราคาที่สามารถสะท้อนมูลค่าตลาดในปัจจุบันของตราสารหรือหลักทรัพย์แต่ละประเภท”
ข้อ 4 ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะคงไว้ซึ่งการฝากเงินหรือการลงทุนดังกล่าวต่อไปเท่าระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ก็ได้ เว้นแต่เป็นการฝากเงินหรือการลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ประเภทไม่มีกําหนดระยะเวลา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ความในข้อ 1 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,940 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 48/2559 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 48/2559
เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 14/2555 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจนําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในบัตรเงินฝากของธนาคารดังกล่าวที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากมีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 7/2 วรรคสองหรือมีรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวน
(ข) กรณีที่เป็นเงินฝากหรือบัตรเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือบัตรเงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
(2) ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย
(3) ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย
(4) ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินเก้าสิบวัน ไม่มีเงื่อนไขการห้ามขาย โอน หรือไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร และมีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 7/2
(5) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่มีนโยบายการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ
(6) ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม (2) หรือ (3) ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(ข) ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(ค) ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน
(ง) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น
(จ) มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1+ อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ)
(ฉ) ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการฝากเงินหรือลงทุนในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (4) แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือจนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7/2 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในโอกาสแรกที่ทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าว
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินจํานวนที่แยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของตัวแทนซื้อขายสัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าก่อนดําเนินการ
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“บริษัทร่วม” ตามวรรคสี่ ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 และข้อ 7/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/2 ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะลงทุนตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง (4) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) อยู่ในอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น หรืออยู่ในสามอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว
ในกรณีที่ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินตามวรรคหนึ่งไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือในกรณีการฝากเงินหรือลงทุนในบัตรเงินฝากตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง (1) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงิน (issuer rating) แล้วแต่กรณี โดยต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงินตามวรรคสอง เป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้อันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคสองหมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็นด้วย
ข้อ 7/3 ในการพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 7/2 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลโดยยึดหลักความรับผิดชอบและความระมัดระวัง (fiduciary duties) และไม่เลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จะส่งผลให้ทรัพย์สินของลูกค้ามีสภาพคล่องต่ําและมีความเสี่ยงสูง (cherry picking)
(2) ต้องใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน รวมทั้งต้องใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุนด้วย
(3) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ของผู้รับฝากเงิน ผู้ออกบัตรเงินฝาก ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ประเมินโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย
(4) ต้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอันดับความน่าเชื่อถือที่เลือกใช้อย่างสม่ําเสมอโดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายอื่นมีการปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือ
ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและจัดเก็บคําอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้อันดับความน่าเชื่อถือเพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบได้”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,941 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 84/2552
เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41
มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า
(1) ทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับมาหรือมีไว้เพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้านั้นได้ซื้อขายไว้
(2) กําไรหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของลูกค้าอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(3) ใบรับของคลังสินค้า ใบตราส่งหรือตราสารอื่นที่แสดงสิทธิในทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาถือไว้เพื่อลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการส่งมอบหรือเนื่องมาจากการรับมอบสินค้าตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้น
(4) เงิน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับจากลูกค้าเพื่อชําระราคาสินค้าที่จะรับมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้นหรือที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับไว้เพื่อลูกค้าอันเนื่องมาจากการส่งมอบสินค้าตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้น
(5) เงินที่เหลือจากการขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่โอนไว้ในชื่อของตัวแทนซื้อขายสัญญาเนื่องจากลูกค้าผิดนัดชําระหนี้อันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ 2 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญา
ทั้งสองฝ่าย และอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
[1](#fn1)สัญญาหรือข้อตกลงที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํากับลูกค้าตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อกําหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจํากัดความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของลูกค้า และกรณีทรัพย์สินของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายสัญญา ต้องมีข้อกําหนดให้ตัวแทนซื้อขายสัญญารับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้าอย่างเต็มจํานวน
ข้อ 3 ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
ข้อ 4 ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่ทําให้มั่นใจได้ว่าทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ในความดูแลของตนมีความปลอดภัยและครบถ้วน มีการจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจาก
เหตุสงสัย และมีการจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละรายแยกจากบัญชีทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญาให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ตลอดจนมีการรายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้ลูกค้าทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ข้อ 5 ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญากระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งหรือความยินยอม
ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของลูกค้าหรือบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้สั่งการแทน
ข้อ 6 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษาของตัวแทนซื้อขายสัญญาจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นได้ภายในเวลาอันสมควร
ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าโดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ 73 ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจนําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
หรือลงทุนในบัตรเงินฝากของธนาคารดังกล่าวที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากมีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 7/2 วรรคสองหรือมีรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวน
(ข) กรณีที่เป็นเงินฝากหรือบัตรเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือบัตรเงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด
(2) ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อน
ครบกําหนดอายุของตราสารด้วย
(3) ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย
(4) ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินเก้าสิบวัน ไม่มีเงื่อนไขการห้ามขาย โอน หรือไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร และ
มีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 7/2
(5) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่มีนโยบายการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ
(6) ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม (2) หรือ (3)ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(ข) ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(ค) ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
ไม่เกินเก้าสิบวัน
(ง) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น
(จ) มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1+ อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ)
(ฉ) ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการฝากเงินหรือลงทุนในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง(1) หรือ (4) แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือจนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7/2 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในโอกาสแรกที่ทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าว
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินจํานวนที่แยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของตัวแทนซื้อขายสัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าก่อนดําเนินการ
คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“บริษัทร่วม” ตามวรรคสี่ ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ 7/12 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาคํานวณมูลค่าของตราสารหรือหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนตามข้อ 7 อย่างน้อยทุกวันทําการ โดยให้ใช้ราคาที่สามารถสะท้อนมูลค่าตลาดในปัจจุบันของตราสารหรือหลักทรัพย์แต่ละประเภท
ข้อ 7/23 ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะลงทุนตามข้อ 7วรรคหนึ่ง (4) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) อยู่ในอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น หรืออยู่ในสามอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว
ในกรณีที่ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินตามวรรคหนึ่งไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือในกรณีการฝากเงินหรือลงทุนในบัตรเงินฝากตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง (1) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงิน (issuer rating) แล้วแต่กรณี โดยต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงินตามวรรคสอง เป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้อันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคสองหมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน(support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็นด้วย
ข้อ 7/33 ในการพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 7/2ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลโดยยึดหลักความรับผิดชอบและความระมัดระวัง (fiduciary duties) และไม่เลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จะส่งผลให้ทรัพย์สินของลูกค้ามีสภาพคล่องต่ําและมีความเสี่ยงสูง (cherry picking)
(2) ต้องใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน รวมทั้งต้องใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุนด้วย (3) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ของผู้รับฝากเงิน ผู้ออกบัตรเงินฝากผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ประเมินโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย
(4) ต้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอันดับความน่าเชื่อถือที่เลือกใช้อย่างสม่ําเสมอโดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายอื่นมีการปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือ
ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและจัดเก็บคําอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้อันดับความน่าเชื่อถือเพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบได้
ข้อ 8 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ 9 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดฝ่าฝืนหรือ
ไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา
สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ
เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ 10 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 68/2547 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 11 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 68/2547 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ 12 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
---
1. | 1,942 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2552 เรื่อง การกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 6/2552
เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ
ในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 247 และมาตรา 250/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) “บริษัทย่อย” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่กิจการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) บริษัทที่กิจการตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(จ) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น
(4) “บริษัทร่วม” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกิน
ร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ข) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
ข้อ ๒ การกระทําของกิจการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาตามข้อ 5 เข้าลักษณะเป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ
(1) การส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียน หรือเพื่อขออนุมัติการออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ โดยมิได้เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับการทําคําเสนอซื้อเท่าที่กิจการทราบ
(ข) ผลกระทบของการเพิ่มทุนจดทะเบียนหรือการออกหลักทรัพย์แปลงสภาพต่อการทําคําเสนอซื้อและต่อผู้ถือหุ้นของกิจการจากการดําเนินการดังกล่าว
(2) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญต่อการดําเนินธุรกิจของกิจการ ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาหรือเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิต ที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละสิบซึ่งคํานวณตามมูลค่าสูงสุดในแต่ละวิธีตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
(3) การก่อหนี้หรือการเข้าทํา แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกสัญญาที่มีนัยสําคัญ โดยมิได้มีลักษณะเป็นการดําเนินการปกติในทางธุรกิจของกิจการ
(4) การซื้อหุ้นคืนของกิจการ (treasury stock) หรือการก่อให้หรือสนับสนุนให้บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมซื้อหุ้นของกิจการ
(5) การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในลักษณะที่มิใช่การดําเนินการปกติของกิจการ
ข้อ ๓ ในการนําเรื่องเข้าขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการตามมาตรา 250/1 ก่อนทํารายการตามข้อ 2(2) ให้กิจการจัดทําความเห็นในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างชัดเจนในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
(1) ความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของการทํารายการต่อกิจการ
(2) ความเป็นธรรมของราคาและเงื่อนไขของการทํารายการ
(3) ความเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการทํารายการพร้อมระบุเหตุผลประกอบ
(4) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนของกิจการในกรณีที่กิจการตกลงเข้าทํารายการ
ในกรณีที่การทํารายการตามข้อ 2(2) มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไปซึ่งคํานวณตามมูลค่าสูงสุดในแต่ละวิธีตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน กิจการต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินอิสระแสดงความเห็นเกี่ยวกับการทํารายการดังกล่าวในเรื่องที่กําหนดตามวรรคหนึ่งแทนกิจการ
ข้อ ๔ การกระทําของกิจการตามข้อ 2 หากเป็นการดําเนินการภายใต้ความยินยอมหรือการผ่อนผันดังต่อไปนี้ ไม่เป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อ
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ทําคําเสนอซื้อ ให้กระทําการเช่นนั้นได้
(2) ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่กิจการแสดงได้ว่ามีข้อจํากัดในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ และการกระทํานั้นมิได้มีเจตนาเพื่อก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทําคําเสนอซื้อ โดยต้องยื่นขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่กิจการจะกระทําการดังกล่าว และในกรณีที่เห็นสมควร สํานักงานอาจเสนอให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพิจารณาคําขอผ่อนผันดังกล่าวได้
ข้อ ๕ ให้การกระทําของกิจการตามข้อ 2 ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่มีการประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือวันที่ยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือวันที่เริ่มต้นทําคําเสนอซื้อแล้วแต่วันใดจะเกิดก่อน จนถึงวันที่ยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อ หรือวันที่ส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกคําเสนอซื้อพร้อมเหตุผลต่อสํานักงานและสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงการยกเลิกดังกล่าว หรือวันที่พ้นกําหนดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 แล้วแต่กรณี เป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อ
ข้อ ๖ ในกรณีที่กิจการกระทําการตามข้อ 2 โดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ผู้ทําคําเสนอซื้อจะใช้สิทธิยกเลิกคําเสนอซื้อหรือลดราคาเสนอซื้อได้ ต่อเมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
เมื่อเกิดเหตุที่ผู้ทําคําเสนอซื้อจะใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบก่อนการใช้สิทธิ และหากสํานักงานมิได้ทักท้วงเป็นประการใดภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้ถือว่าผู้ทําคําเสนอซื้อได้รับความเห็นชอบให้ใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อ บุคคลที่กระทําการร่วมกันตามมาตรา 247 หรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลเหล่านั้นได้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบด้วยกับการกระทําการตามข้อ 2 ผู้ทําคําเสนอซื้อจะใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งมิได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดลักษณะการกระทําของกิจการที่น่าจะมีผลกระทบต่อการทําคําเสนอซื้อ ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น การกระทําเช่นนั้นจึงจะมีผลผูกพันกิจการ และกําหนดให้ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจยกเลิกคําเสนอซื้อได้เมื่อมีการกระทําของกิจการในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,943 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2554 เรื่อง การกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 14 /2554
เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผล
ต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 247 และมาตรา 250/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกัการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2552 เรื่อง การกระทําการ
หรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“หุ้นเพิ่มทุน” หมายความว่า หุ้นที่ออกใหม่โดยกิจการ ไม่ว่าเป็นการออกเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงการออกหุ้นเพื่อรองรับการปรับสิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ได้ออกอยู่ก่อนแล้ว
“หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ
“บริษัทย่อย” หมายความว่า
(1) บริษัทที่กิจการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) บริษัทที่บริษัทตาม (1) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(3) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (2) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(4) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทตาม (1) (2) หรือ (3) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(5) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทตาม (1) (2) (3) หรือ (4) มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น
“บริษัทร่วม” หมายความว่า
(1) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(2) บริษัทที่กิจการหรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ การกระทําของกิจการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาตามข้อ 4 เข้าลักษณะเป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ เว้นแต่เป็นการกระทําที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5 หรือเป็นการกระทําภายใต้ความยินยอมหรือได้รับการผ่อนผันตามข้อ 6
(1) การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(2) การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญต่อการดําเนินธุรกิจของกิจการ ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาหรือเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิต ที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละสิบซึ่งคํานวณตามมูลค่าสูงสุดในแต่ละวิธีตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
(3) การก่อหนี้หรือการเข้าทํา แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกสัญญาที่มีนัยสําคัญ โดยมิได้มีลักษณะเป็นการดําเนินการปกติในทางธุรกิจของกิจการ
(4) การซื้อหุ้นคืนของกิจการ (treasury stock) หรือการก่อให้หรือสนับสนุนให้บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมซื้อหุ้นของกิจการ
(5) การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในลักษณะที่มิใช่การดําเนินการปกติของกิจการ
ข้อ ๔ ช่วงเวลาที่กิจการกระทําการตามข้อ 3 ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อ ให้เป็นดังนี้
(1) วันเริ่มต้นของช่วงเวลา ได้แก่ วันที่มีการประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือวันที่ยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน แล้วแต่วันใดจะเกิดก่อน
(2) วันสุดท้ายของช่วงเวลา ได้แก่ วันดังต่อไปนี้ แล้วแต่วันใดจะเกิดหลังสุด
(ก) วันที่ยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อ
(ข) วันที่ส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกคําเสนอซื้อพร้อมเหตุผลต่อสํานักงานและสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงการยกเลิกดังกล่าว
(ค) วันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ เว้นแต่ในกรณีที่ภายหลังการทําคําเสนอซื้อ ผู้ทําคําเสนอซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ให้วันประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกหลังจากสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ เป็นวันสุดท้ายของช่วงเวลาดังกล่าว
ข้อ ๕ ในกรณีที่การกระทําของกิจการตามที่กําหนดในข้อ 3 เป็นการดําเนินการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการหรือมติคณะกรรมการของกิจการ ที่ได้อนุมัติไว้ก่อนแล้ว และเป็นไปตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อ
(1) เป็นมติที่ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ก่อนวันที่มีการประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือวันที่ยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน แล้วแต่วันใดจะเกิดก่อน
(2) มีการระบุรายละเอียดของการกระทําตามข้อ 3 ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพตามข้อ 3(1) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในกรณีดังกล่าวต้องมิใช่การเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไป (General Mandate) และในมตินั้นต้องมีการระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) วัตถุประสงค์ในการใช้เงินเพิ่มทุน รวมทั้งเหตุผลและความจําเป็นในการใช้เงินเพิ่มทุนตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
(ข) ลักษณะการเสนอขาย ซึ่งต้องเป็นการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น หรือการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป หรือการเสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัด โดยในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงที่จะมีส่วนร่วมในการบริหาร (strategic partner) ต้องระบุชื่อผู้ลงทุนดังกล่าวอย่างชัดเจน
(ค) จํานวนหุ้นที่จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุน
(3) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อกรรมการหรือคณะกรรมการของกิจการในเรื่องความสนใจของผู้ทําคําเสนอซื้อที่จะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการในขณะที่มีมติดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (2) คําว่า “การเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไป(General Mandate)” หมายความว่า การเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนโดยการขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไว้ล่วงหน้าและให้อํานาจคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนกําหนดวัตถุประสงค์ การออกและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน เช่น การกําหนดราคา วันและเวลาที่จะเสนอขาย หรือเงื่อนไขในการเสนอขายหุ้น ในแต่ละคราวตามความเหมาะสม
ข้อ ๖ การกระทําของกิจการที่เข้าลักษณะเป็นการกระทําในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อตามที่กําหนดในข้อ 3 หากเป็นการดําเนินการภายใต้ความยินยอมหรือการผ่อนผันดังต่อไปนี้ กิจการไม่จําต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้กระทําการดังกล่าว
(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ทําคําเสนอซื้อ ให้กระทําการเช่นนั้นได้
(2) ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่กิจการแสดงได้ว่ามีข้อจํากัดในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ และการกระทํานั้นมิได้มีเจตนาเพื่อก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทําคําเสนอซื้อ โดยต้องยื่นขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่กิจการจะกระทําการดังกล่าว และในกรณีที่เห็นสมควร
สํานักงานอาจเสนอให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพิจารณาคําขอผ่อนผันดังกล่าวได้
ข้อ ๗ ในกรณีที่กิจการต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 3 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติดังกล่าว ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างชัดแจ้ง
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับการทําคําเสนอซื้อเท่าที่คณะกรรมการของกิจการทราบ
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพตามข้อ 3(1) ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพต่อการทําคําเสนอซื้อและต่อผู้ถือหุ้นของกิจการด้วย
(3) ในกรณีเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 3(2) ต้องมีความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่จะเป็นการเข้าทํารายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป ให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในเรื่องดังกล่าวด้วย
(ก) ความเป็นธรรมของราคาและเงื่อนไขของการทํารายการ
(ข) ความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนของกิจการในกรณีที่กิจการตกลงเข้าทํารายการ
(ค) ความเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการทํารายการ พร้อมระบุเหตุผลประกอบ
(4) ความเห็นของคณะกรรมการของกิจการเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของการทํารายการตามที่กําหนดในข้อ 3 ต่อกิจการ พร้อมระบุเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ ในกรณีที่จะเป็นการเข้าทํารายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป ให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในเรื่องดังกล่าวด้วย
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระตามวรรคหนึ่ง (3) และ (4) และการเปิดเผยความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ ๘ ในกรณีที่กิจการกระทําการตามข้อ 3 โดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ผู้ทําคําเสนอซื้อจะใช้สิทธิยกเลิกคําเสนอซื้อหรือลดราคาเสนอซื้อได้ต่อเมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
เมื่อเกิดเหตุที่ผู้ทําคําเสนอซื้อจะใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบก่อนการใช้สิทธิ และหากสํานักงานมิได้ทักท้วงเป็นประการใดภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้ถือว่าผู้ทําคําเสนอซื้อได้รับความเห็นชอบให้ใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อ บุคคลที่กระทําการร่วมกันตามมาตรา 247 หรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลเหล่านั้นได้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบด้วยกับการกระทําการตามข้อ 3 ผู้ทําคําเสนอซื้อจะใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งมิได้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,944 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2555 เรื่อง การกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 31 /2555
เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผล
ต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 250/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2554 เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) บริษัทที่กิจการมีอํานาจควบคุมบริษัท
(ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) มีอํานาจควบคุมบริษัท
(ค) บริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมของบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมของบริษัทตาม (ข)
“บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่กิจการหรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอํานาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
ในกรณีที่กิจการหรือบริษัทย่อยถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากิจการหรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมบริษัท” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทร่วม” และคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2554 เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
““อํานาจควบคุมบริษัท” หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด
(ค) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,945 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทก. 51/2559 เรื่อง การกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทก. 51/2559
เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผล
ต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 247 และมาตรา 250/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “กิจการ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14 /2554 เรื่อง การกระทําการหรืองดเว้นกระทําการในประการที่น่าจะมีผลต่อการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) บริษัทที่เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปครั้งแรก (initial public offering) เพื่อการจดทะเบียนหุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทดังกล่าวไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เป็นครั้งแรกในหลายประเทศ ให้หมายความถึงเฉพาะบริษัทที่แสดงเจตนาผูกพันว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์หรือสํานักงานเป็นหลัก
(ข) บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,946 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับ
การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 247 และมาตรา 250 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 248 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ นอกจากบทนิยามที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อนี้ ให้ใช้บทนิยามตาม
ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ เป็นบทนิยามของคําเดียวกันในประกาศนี้และในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้
(1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หลักทรัพย์แปลงสภาพ และหมายความรวมถึงหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย
(2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(3) “บริษัทลงทุน” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักของตนเอง แต่กําหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นการลงทุนในกิจการอื่น
(4) “ผู้ขออนุญาต” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และในขณะเดียวกันจะทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน
(5) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นกิจการที่จะถูกครอบงํากิจการจากการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยผู้ขออนุญาต
(6) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(7) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน โดยผู้ขออนุญาตจะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าวแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน พร้อมกับทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนนั้นเพื่อถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน โดยประกาศนี้เป็นข้อกําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันของบริษัทจดทะเบียน
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตาม (1)
(3) การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(4) การทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตาม (3) โดยบริษัทจดทะเบียน
ข้อ ๔ มิให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศนี้
หมวด ๑ การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต และให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียม
คําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อแบบคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์หลายประเภทหรือหลายรุ่น ผู้ขออนุญาตอาจรวมการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภทและทุกรุ่นไว้ในคําขอเดียวกันก็ได้
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งประสงค์จะเข้าเป็นลูกหนี้แทนที่บริษัทจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกหุ้นกู้ ผู้ขออนุญาตอาจขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่มาในคําขอเดียวกันกับคําขออนุญาตตามวรรคสองก็ได้ และในกรณีนี้ให้คําว่า “หลักทรัพย์” ตามที่ปรากฏในหมวดนี้หมายความรวมถึงหุ้นกู้ด้วย
ข้อ ๖ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตเป็น
(ก) บริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ดําเนินการให้มีการจัดตั้งเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทในครั้งนี้ หรือ
(ข) บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้นตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์
(2) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตนั้น และในกรณีตาม (1) (ก) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่เป็นผู้ดําเนินการจัดตั้งมีลักษณะครบถ้วนตามข้อกําหนดในประกาศดังกล่าวด้วย และกรณีตาม (1) (ข) ผู้ขออนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (4) (6) และ (7) ด้วย โดยอนุโลม
(3) แสดงได้ว่าหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตมีลักษณะดังนี้
(ก) หลักทรัพย์ที่ขออนุญาตมีลักษณะสอดคล้องกับหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทจดทะเบียนที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอซื้อ และสิทธิที่ผู้ถือหลักทรัพย์จะได้รับไม่ด้อยไปกว่าสิทธิที่ผู้ถือหลักทรัพย์นั้นเคยได้รับอยู่เดิม
(ข) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตนั้น เว้นแต่กรณีเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ มิให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องจํานวนหุ้นที่รองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพมาใช้บังคับ
(4) แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนได้รับแจ้งผลการอนุญาตเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับ
(ก) แผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว
(ข) หลักทรัพย์ที่ยื่นขออนุญาตในครั้งนี้จะจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว
(5) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือบริษัทจดทะเบียนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่มีข้อกําหนดให้การปรับโครงสร้างการถือหุ้นต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กํากับดูแล ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตหรือบริษัทจดทะเบียนนั้นได้รับความเห็นชอบเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นจากหน่วยงานที่กํากับดูแลดังกล่าวแล้ว
(6) แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องมีรายละเอียดของข้อมูลตามรายการที่สํานักงานประกาศกําหนด และที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการในหนังสือนัดประชุม ได้เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่ออธิบายและให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นด้วย
(7) แสดงได้ว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนมีมติเห็นชอบในเรื่องดังต่อไปนี้ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหุ้นทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
(ก) แผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทจดทะเบียน
(ข) แผนการอื่นใดในขั้นตอนการปรับโครงสร้างที่จําเป็นต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น แผนการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน แผนการนําหลักทรัพย์ที่ยื่นขออนุญาตในครั้งนี้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว แผนการขายสินทรัพย์ที่บริษัทจดทะเบียนมีอยู่ให้แก่ผู้ขออนุญาต เป็นต้น
ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัทชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสาร หลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์ที่จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนโดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๘ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันทีสํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับอนุญาตขายหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว เพื่อขอขยายระยะเวลาการเสนอขาย โดยต้องชี้แจงเหตุผลพร้อมแจ้งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับผู้ได้รับอนุญาตด้วย
ในการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาการเสนอขาย
ให้อีกได้ตามที่เห็นสมควร แต่ระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต
และในการผ่อนผันดังกล่าว สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการอื่นใดได้เพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนก็ได้
หากผู้ได้รับอนุญาตไม่ดําเนินการขายหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดเมื่อครบกําหนดเวลาดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายนั้น
หมวด ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ เว้นแต่ความในหมวดนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหมวดนี้ โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
ข้อ ๑๒ ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นพร้อมกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามแบบ 69/247-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานและผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในหมวดนี้ด้วย
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทลงทุนตามข้อ 6(1) (ก) ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําแบบ 69/247-1 ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับบริษัทจดทะเบียนในลักษณะเดียวกับข้อกําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ที่เกี่ยวกับการไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียของที่ปรึกษาทางการเงินกับลูกค้าหรือที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินด้วย
ข้อ ๑๔ ให้แบบ 69/247-1 และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันที่รับซื้อหลักทรัพย์ วิธีการแสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ วิธีการส่งมอบหลักทรัพย์ และผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกรายของผู้ได้รับอนุญาตได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบ 69/247-1 แล้ว
ข้อ ๑๕ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน
ข้อ ๑๖ นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 17 ถึงข้อ 20 ให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ในเรื่องดังต่อไปนี้มาบังคับใช้กับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ โดยอนุโลม
(1) การส่งคําเสนอซื้อให้ผู้ถือหลักทรัพย์และการโฆษณาการทําคําเสนอซื้อภายหลังการยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน
(2) การยินยอมให้ผู้ถือหลักทรัพย์ยกเลิกการแสดงเจตนาขาย
(3) การกําหนดระยะเวลาการรับซื้อของผู้ทําคําเสนอซื้อ และการขยายระยะเวลารับซื้อ
(4) การรายงานจํานวนหลักทรัพย์ที่มีผู้แสดงเจตนาขายระหว่างการทําคําเสนอซื้อ และเมื่อครบกําหนดระยะเวลารับซื้อ
(5) การดําเนินการในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาการรับซื้อ การแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อ การประกาศข้อเสนอซื้อสุดท้ายหรือประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย และการแก้ไขรายละเอียดอื่น ๆ ในคําเสนอซื้อด้วย
(6) การดําเนินการต่าง ๆ เมื่อมีการยกเลิกคําเสนอซื้อ
(7) ข้อบังคับหลังการทําคําเสนอซื้อ
(8) หลักเกณฑ์อื่นใดตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ซึ่งสํานักงานได้ประกาศกําหนดเพิ่มเติมให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติ
ข้อ ๑๗ ข้อมูลในแบบ 69/247-1 ต้องถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ไม่มีการปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ และไม่มีข้อความที่อาจทําให้ผู้ถือหลักทรัพย์หลงผิด (misleading) ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๑๘ เมื่อแบบ 69/247-1 มีผลใช้บังคับแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการรับซื้อหลักทรัพย์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แบบดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
ข้อ ๑๙ การแก้ไขข้อเสนอในการทําคําเสนอซื้อที่มีผลกระทบต่ออัตราส่วนหรือราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอให้มีการแลกเปลี่ยน จะกระทําได้เฉพาะกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 6(1) (ข) และการแก้ไขดังกล่าวได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตแล้ว
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตอาจยกเลิกการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องระบุเหตุแห่งการยกเลิกไว้ในแบบ 69/247-1 ด้วย
(1) มีเหตุการณ์หรือการกระทําใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากสํานักงานรับแบบ 69/247-1 และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียน โดยเหตุการณ์หรือการกระทําดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําของผู้ได้รับอนุญาตหรือการกระทําที่ผู้ได้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบ
(2) บริษัทจดทะเบียนกระทําการใด ๆ ภายหลังจากสํานักงานรับแบบ 69/247-1 และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ อันเป็นผลให้มูลค่าของหุ้นลดลงอย่างมีนัยสําคัญ
(3) เมื่อครบระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในแบบ 69/247-1 แล้ว ปรากฏว่าจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายรวมกับจํานวนหุ้นที่ผู้ได้รับอนุญาตถืออยู่เดิมก่อนการทําคําเสนอซื้อ มีจํานวนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดในการแจ้งอนุญาตเบื้องต้นตามข้อ 6(4)
ข้อ ๒๑ ในกรณีจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 16 หรือเหตุตามข้อ 20 ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การปรับโครงสร้างการถือหุ้นสามารถดําเนินการต่อไปได้
หมวด ๓ การทําความเห็นของกิจการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ ให้บริษัทจดทะเบียนจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยแบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อเป็นบริษัทตามข้อ 6(1) (ก) ให้ถือว่ารายการความเห็นที่เกี่ยวกับความเหมาะสมของแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในแบบ 69/247-1 ของคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนและของที่ปรึกษาทางการเงินเป็นรายการความเห็นของกิจการตามมาตรา 250 แล้ว
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,947 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 33/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับ
การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต และให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อแบบคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 และข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัทชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการ ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสาร หลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์ที่จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนโดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 8 ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,948 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทก. 53/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทก. 53/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับ
การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 247 และมาตรา 250 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 248 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ซึ่งจะถูกครอบงํากิจการจากการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยผู้ขออนุญาต”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,949 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 30/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 30/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขาย
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 55 และมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป
ส่วน ๑ วัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๒ โดยที่ระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาเป็นระบบพื้นฐานที่สําคัญและมีความเชื่อมโยงกับระบบชําระหนี้ของสํานักหักบัญชีสัญญาและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นระบบที่มีความจําเป็นต่อการดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ดังนั้น การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับดูแลศูนย์ซื้อขายสัญญาและการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว (IT Governance) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการและผู้บริหาร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้นและนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จึงมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้จึงกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการ เพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงของระบบการเงินโดยรวม ตลอดจนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและภาพลักษณ์ที่ดีของตลาดทุนไทย
ส่วน ๒ สาระสําคัญของข้อกําหนด
ข้อ ๓ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในการกํากับดูแลศูนย์ซื้อขายสัญญาในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2
(2) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3
(3) การเก็บรักษาข้อมูลและเอกสาร โดยมีรายละเอียดตามหมวด 4
ส่วน ๓ อํานาจสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางดังต่อไปนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาจะสามารถปฏิบัติได้ในแนวทางเดียวกัน
(2) กําหนดแนวทางการปฏิบัติ (guideline) ในรายละเอียดของข้อกําหนด เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ โดยหากศูนย์ซื้อขายสัญญาปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าศูนย์ซื้อขายสัญญามีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
(3) เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญายื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดโดยต้องไม่เป็นภาระต่อศูนย์ซื้อขายสัญญาจนเกินสมควร
ส่วน ๔ บทนิยาม
ข้อ ๕ ในประกาศนี้
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้า” หมายความว่า
(1) ผู้รับประโยชน์หรือร่วมรับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(2) ผู้มีอํานาจควบคุมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หรือ
(3) ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือการชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
การรับประโยชน์ การควบคุม หรือการสนับสนุนทางการเงินตามวรรคหนึ่งอาจเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่งหรือโดยประการอื่นก็ได้
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของศูนย์ซื้อขายสัญญา
หมวด ๒ หลักเกณฑ์ทั่วไปในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๖ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับการประกอบการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบธุรกิจ โดยแหล่งเงินทุนส่วนที่มีไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงต้องสามารถนําไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
ข้อ ๗ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยสํานักหักบัญชีสัญญาที่ดําเนินการโดยศูนย์ซื้อขายสัญญาเองหรือโดยบุคคลอื่น ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องรับประกันการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทันทีที่เกิดการซื้อขายขึ้นและจะสิ้นความผูกพันต่อเมื่อสํานักหักบัญชีสัญญาได้เข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วในการนี้ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่สํานักหักบัญชีสัญญาโดยเร็วภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายขึ้น
ข้อ ๘ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอเพื่อส่งเสริมและรักษามาตรฐานในเรื่องความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ ตลอดจนความโปร่งใสและเป็นธรรมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังต่อไปนี้
(1) มีระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถขยายให้รองรับการซื้อขายที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ โดยต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย
(2) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยเฉพาะข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย (post-trade information) ทั้งนี้ เพื่อติดตามและตรวจสอบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภายหลัง (audit trail)
(3) มีระบบติดตามและตรวจสอบสภาพการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องกําหนดในเรื่องดังนี้
(ก) การบันทึกข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริง (unique identification) ของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้าให้ตรงตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบันตามที่ได้รับข้อมูลจากสมาชิก โดยอาจบันทึกเป็นหมายเลขประจําตัวประชาชน เลขทะเบียนนิติบุคคล หรือเลขหมายอื่นใดที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(ข) ระบบประมวลฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าแต่ละรายเพื่อติดตามฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบุคคลดังกล่าว
(ค) ระบบติดตามและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถึงระดับที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด (large trader) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบุคคลดังกล่าว
(ง) ระบบติดตามและตรวจสอบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นปัจจุบัน (real time)
ข้อ ๙ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสม โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) มีกฎเกณฑ์ที่ให้อํานาจศูนย์ซื้อขายสัญญาในการดําเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่สมาชิกกระทําเพื่อตนเองและเพื่อลูกค้า
(ก) สั่งงดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ข) สั่งล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ค) สั่งจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ง) สั่งจํากัดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) มีข้อกําหนดให้สมาชิกต้องจัดให้มีหนังสือแสดงความยินยอมของลูกค้าที่แต่งตั้งให้สมาชิกเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยลูกค้าตกลงที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาของลูกค้าให้แก่สมาชิก รวมทั้งยินยอมให้สมาชิกจัดส่งข้อมูลดังกล่าวแก่ศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักงาน ก.ล.ต. ตลอดจนยินยอมให้สมาชิกงดให้บริการในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จํากัดฐานะหรือปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของศูนย์ซื้อขายสัญญา
(3) มีกฎเกณฑ์ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาสามารถเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญากับสํานักหักบัญชีสัญญาสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และองค์กรอื่นที่ติดตามตรวจสอบสินค้าหรือตัวแปร ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาให้เช่าพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์ (server) แก่สมาชิกเพื่อการรับส่งข้อมูลหรือคําสั่งซื้อขายที่รวดเร็ว (co-location) หรือให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขาย (market data feed) ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการและโอกาสในการใช้บริการแก่สมาชิกทุกรายอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
ข้อ ๑๑ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีระบบบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอราคาและการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นการทั่วไปโดยแยกตามประเภทของสินค้าและตัวแปร
(1) การเสนอราคาและปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้มีการซื้อขายกัน
(3) ปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ยังคงค้างอยู่ (open interest)
ข้อ ๑๒ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเกิดจากการใช้บริการที่จัดโดยศูนย์ซื้อขายสัญญาที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท โดยการกําหนดระเบียบปฏิบัติดังกล่าวต้องคํานึงถึงการคุ้มครองผู้ร้องเรียนด้วย
(2) จัดให้มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท
(3) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบและแจ้งผลการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทให้
ผู้ร้องเรียนหรือคู่พิพาททราบ
(4) จัดส่งรายงานสรุปข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุก 6 เดือนทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าวต้องมีบทสรุปสาระสําคัญ และผลการพิจารณาหรือการดําเนินการของศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๑๓ การใดที่มิได้มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการด้วยตนเอง หากการนั้นเป็นการกระทําด้วยความจําเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกได้ โดยต้องมั่นใจว่าผู้ให้บริการภายนอกสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการใช้บริการนั้นไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ
ในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบาย ขอบเขต หรือลักษณะงานที่จะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องได้รับความเห็นชอบเป็นการทั่วไปหรือเป็นรายกรณีจากคณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญา หรือคณะทํางานที่คณะกรรมการดังกล่าวมอบหมาย
(2) มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(3) มาตรการตรวจสอบการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้ให้บริการภายนอกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ซื้อขายสัญญา
ความในวรรคสองมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เป็นตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
ข้อ ๑๔ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ความพร้อม ความสามารถและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจของผู้ที่จะเป็นสมาชิกเป็นสําคัญ
ข้อ ๑๕ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก มีมาตรการกํากับดูแลสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายสัญญาซึ่งได้ปฏิบัติงานให้กับสมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีมาตรการดําเนินการต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณ ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องประเมินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าวในช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วจัดทํารายงานผลการประเมินและการดําเนินการต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ
ข้อ ๑๖ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องเผยแพร่กฎเกณฑ์และข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้แก่สมาชิกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายสัญญาทราบ
ข้อ ๑๗ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องมีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่ศูนย์ซื้อขายสัญญา แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ และมีมาตรการที่เพียงพอในการรักษาความลับของสมาชิกและลูกค้า
ข้อ ๑๘ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนและเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซึ่งเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ลงทุนหรือการทําธุรกรรมกับสมาชิก
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทําในลักษณะที่ทันต่อเหตุการณ์ มีข้อมูลเพียงพอ และประชาชนมีโอกาสได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ประเภทของข้อมูล วิธีการและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุน
หมวด ๓ การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๑๙ ในหมวดนี้
"ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา" หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8(1) และ (2) ซึ่งหากไม่สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายสัญญา
ข้อ ๒๐ หมวดนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 1
(2) การทบทวน ติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 2
(3) การรายงานการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา(material systems change report) โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 3
(4) การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย (incident management) โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 4
(5) การกําหนดนโยบาย การติดตามและการวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 5
ส่วน ๑ การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ
ข้อ ๒๑ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้มีความพร้อมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอย่างน้อยต้องกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นลายลักษณ์อักษร
(1) นโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือคณะทํางานตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้น การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายังสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง หรือสามารถแก้ไขให้กลับมาดําเนินการต่อได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นตาม (1) โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ข้อ ๒๒ แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 21(2) ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยต้องกําหนดขอบเขตของกรณีฉุกเฉินให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งขั้นตอนการดําเนินการ และผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวในแต่ละกรณี
ให้ชัดเจน
(2) รายชื่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา
(3) การประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผลกระทบที่อาจมีต่อการดําเนินธุรกิจ (business impact analysis: BIA)
(4) ระยะเวลากู้คืนระบบงาน (recovery time objective)
(5) ข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้ (recovery point objective)
(6) รายละเอียดของระบบงานสํารองและศูนย์สํารองที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๒๓ ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมติดตามและสื่อสารกับสมาชิกเพื่อให้ปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ และแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๒๔ เพื่อให้การกํากับดูแลการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(1) ทดสอบแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินผลการทดสอบแผนตาม (1) โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระจากผู้จัดทําหรือผู้บริหารแผนนั้น
(3) รายงานผลการทดสอบตาม (2) ต่อคณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ดําเนินการทดสอบเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาทบทวนและปรับปรุงแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยไม่ชักช้า
ส่วน ๒ การทบทวน ติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา
ข้อ ๒๖ เพื่อให้การกํากับดูแลเกี่ยวกับขั้นตอนหรือกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทบทวน ติดตามและตรวจสอบขั้นตอนหรือกระบวนการปฏิบัติงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา และระบบการติดตามและตรวจสอบการซื้อขาย (surveillance) ตามแผนการตรวจสอบซึ่งจัดทําตามระดับความเสี่ยงของศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระ เช่น ผู้ตรวจสอบภายในหรือภายนอก (internal or external auditor) เป็นต้น ทั้งนี้ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาจัดส่งรายงานผลการทบทวน ติดตามและตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งแผนการตรวจสอบซึ่งจัดทําตามระดับความเสี่ยงของศูนย์ซื้อขายสัญญาต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้เสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว
(2) ทดสอบการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา (penetration test) ให้ครบถ้วนทุกระบบงานทุก 3 ปี โดยเรียงลําดับความสําคัญตามผลการประเมินความเสี่ยง และรายงานผลการทดสอบดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในไตรมาสแรกของปีถัดจากปีที่มีการทดสอบแต่ละระบบ
ส่วน ๓ การรายงานการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา
(material systems change report)
ข้อ ๒๗ เพื่อให้การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยรวมของศูนย์ซื้อขายสัญญาดําเนินการไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญารายงานการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสําคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา หรือระบบติดตามตรวจสอบสภาพการซื้อขาย (market surveillance) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
ส่วน ๔ การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบ
ต่อความมั่นคงปลอดภัย
(incident management)
ข้อ ๒๘ ในส่วนนี้
“เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย” หมายความว่า
(1) เหตุการณ์ที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาไม่สามารถดําเนินการได้ตามปกติ (system disruption and system degrade)
(2) เหตุการณ์ที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาไม่สามารถดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน ก.ล.ต. หรือศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด (system non-compliance)
(3) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาอันเกิดจากการบุกรุก (system intrusion)
ข้อ ๒๙ เมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยเกิดขึ้น ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญารวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พร้อมทั้งกําหนดแนวทางการแก้ไข และรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อผู้บริหาร รวมทั้งจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้
ข้อ ๓๐ เพื่อให้เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดและดําเนินการตามแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยที่ได้กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(2) จัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อทําหน้าที่รับแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าว(point of contact) และรายงานต่อผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายสัญญาเพื่อดําเนินการต่อไป(escalation procedure)
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรง นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 29 และข้อ 30 แล้ว ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญารายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) รายงานโดยทางวาจาหรือทางจดหมายเล็กทรอนิกส์ทันทีเมื่อทราบเหตุการณ์
(2) รายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร (investigation report)เมื่อเหตุการณ์นั้นได้รับการแก้ไขแล้วภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าวได้รับรายงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์นั้น
รายงานผลการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องประกอบด้วยคําอธิบายรายละเอียดของเหตุการณ์ ผลกระทบต่อการดําเนินงานของศูนย์ซื้อขายสัญญาและสมาชิก รวมทั้งสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (root cause) ขั้นตอนการดําเนินการแก้ไขปัญหาและมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนั้นอีก
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรง” หมายความว่า
(1) เหตุการณ์ที่ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาไม่สามารถดําเนินการได้ตามปกติในลักษณะที่ทําให้การให้บริการต้องหยุดชะงักลง
(2) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาอันเกิดจากการบุกรุก ซึ่งอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของศูนย์ซื้อขายสัญญาอย่างร้ายแรง
ส่วน ๕ การกําหนดนโยบาย การติดตามและการวิเคราะห์
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๓๒ เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของศูนย์ซื้อขายสัญญามีประสิทธิภาพ สามารถรักษาไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความพร้อมใช้งาน ตลอดจนการติดตามวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาได้อย่างเหมาะสม ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายและมาตรการควบคุมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับได้ หรือมาตรฐานอื่นที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและเป็นที่ยอมรับได้ในอุตสาหกรรม ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือเทียบเท่าโดยต้องมีการทบทวนและปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
(2) ติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาโดยบันทึกและจัดเก็บหลักฐานการใช้งาน รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (log)
หมวด ๔ การเก็บรักษาข้อมูลและเอกสาร
ข้อ ๓๓ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารให้เป็นไปตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งรวมทั้งข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขายและข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขายตามข้อ 8(2) ให้เก็บรักษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันที่มีการบันทึกข้อมูล
(2) ข้อมูลที่เกี่ยวกับการดําเนินการตามข้อ 8(3)(ข) (ค) และ (ง) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว
(3) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท และผลการพิจารณาตามข้อ 12(4) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทนั้น
(4) หลักฐานการตรวจสอบการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอกตามข้อ 13 วรรคสอง (3) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันที่มีการดําเนินการนั้น
(5) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 21(2) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการจัดทําแผนดังกล่าว
(6) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่มีการแก้ไขตามข้อ 25 ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการแก้ไขแผนดังกล่าว
(7) หลักฐานการใช้งานรวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อ 32(2) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามที่กฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กําหนด
ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจสั่งการเป็นประการอื่นได้ตามที่เห็นสมควร
การจัดเก็บข้อมูล เอกสารและหลักฐานตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาจัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีประกาศอื่นอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,950 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 1/2556 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามโครงการของสำนักงาน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กม. 1/2556
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ตามโครงการของสํานักงาน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนที่สํานักงานจัดให้มีขึ้นตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นโครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการหรือต่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ
(ข) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงบริษัทที่เป็นผลจากการแปรสภาพหรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการด้วย
(2) ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557
(3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการตาม (1) วรรคสอง ผู้ขออนุญาตต้องยื่นหนังสือรับรองจากที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ มาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตตาม (2) ด้วย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,951 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กม. 1/2557 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามโครงการของสำนักงาน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กม. 1/2557
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ตามโครงการของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนที่สํานักงานจัดให้มีขึ้นภายในปี พ.ศ. 2558 และเป็นโครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการหรือต่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ
(ข) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงบริษัทที่เป็นผลจากการแปรสภาพหรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการด้วย
(2) ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558
(3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการตาม (1) วรรคสอง ผู้ขออนุญาตต้องยื่นหนังสือรับรองจากที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ มาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตตาม (2) ด้วย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,952 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 1/2558 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามโครงการของสำนักงาน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กม. 1/2558
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ตามโครงการของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วม
โครงการส่งเสริมการระดมทุนที่สํานักงานจัดให้มีขึ้นภายในปี พ.ศ. 2559 หรือ พ.ศ. 2560 และเป็นโครงการที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้
(ก) เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ
(ข) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงบริษัทที่เป็นผลจากการแปรสภาพหรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการด้วย
(2) ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ พ.ศ. 2560 แล้วแต่กรณี โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้สําหรับแต่ละโครงการ
(3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการตาม (1) วรรคสอง ผู้ขออนุญาตต้องยื่นหนังสือรับรองจากที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ มาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตตาม (2) ด้วย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,953 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 3/2558
เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์” “ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์” “หลักทรัพย์” “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” และ “ผู้ลงทุนรายบุคคล” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
(2) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว
ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) คําว่า “กิจการเงินร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับกิจการเงินร่วมลงทุนตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้
(4) คําว่า “นิติบุคคลร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน
(5) คําว่า “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนรายบุคคล ซึ่งมีมูลค่าไม่เกินยี่สิบล้านบาทในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก โดยให้เสนอขายได้ไม่เกินมูลค่าสี่สิบล้านบาทนับแต่วันที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก และให้เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายบุคคลแต่ละรายได้ไม่เกินห้าหมื่นบาท โดยคํานวณจากมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทที่ผู้ลงทุนรายบุคคลแต่ละรายได้ลงทุนไว้
การคํานวณมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหลักทรัพย์นั้น
เป็นเกณฑ์ และมิให้นับมูลค่าที่เสนอขายตาม (2)
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งจํานวน หรือที่แบ่งแยกหลักทรัพย์ส่วนการเสนอขายออกจากส่วนที่เสนอขายตาม (1) ไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๓ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 2 ในทอดต่อ ๆ ไปได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน หากเป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ 2(1) หรือ (2) โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อ 2(1) โดยอนุโลม ให้ถือปฏิบัติว่าในกรณีที่มีผู้ถือหลักทรัพย์หลายรายร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกัน หรือเสนอขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้นับรวมการเสนอขายของผู้ถือหลักทรัพย์ทุกราย เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์เพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายเสนอขายหลักทรัพย์ในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
(ข) ผู้ถือหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
(ค) เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน
ข้อ ๔ การนับมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ มิให้นับรวมมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศฉบับอื่น
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์ในทอดต่อ ๆ ไปจาก (1)
ข้อ ๕ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 3 ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป
(2) ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น
ข้อ ๖ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศนี้ รายงานผลการขายหลักทรัพยในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) วันที่เสนอขาย ครั้งที่เสนอขาย
(2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์
(3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด
(4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(5) ชื่อ สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ และเว็บไซต์ของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ทําการเสนอขาย
(6) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ซื้อแต่ละรายได้รับ
(7) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,954 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 6/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กร. 6/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสต์
ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 12(3) มาตรา 13 มาตรา 30 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 55 วรรคหนึ่ง (3) มาตรา 56 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุโลม
(1) คุณสมบัติของนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
(2) สัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
(3) หลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
(4) อํานาจของสํานักงาน ก.ล.ต. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (1) (2) หรือ (3)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,955 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 31/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 76 มาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 83 วรรคสองประกอบกับมาตรา 34(2) และมาตรา 89 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป
ส่วน ๑ วัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๒ โดยที่ระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นระบบพื้นฐานที่สําคัญและมีความเชื่อมโยงกับระบบการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาและระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นระบบที่มีความจําเป็นต่อองค์กรในการดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ดังนั้น การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีสัญญาและการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว (IT Governance) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการและผู้บริหารให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้นและนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จึงมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้จึงกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานที่สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการเพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงของระบบการเงินโดยรวม ตลอดจนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและภาพลักษณ์ที่ดีของตลาดทุนไทย
ส่วน ๒ หลักการสําคัญในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สํานักหักบัญชีสัญญาซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (financial market infrastructures) ที่สําคัญ มีระบบงานรวมถึงระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งให้บริการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยมีการดําเนินงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้น สํานักหักบัญชีสัญญาต้องประกอบการภายใต้หลักการที่สําคัญดังต่อไปนี้
(1) การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีความชัดเจนและโปร่งใส
(2) การบริหารจัดการความเสี่ยง (risk management) ที่ดีเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านกฎหมาย (legal) ด้านเครดิต (credit) ด้านสภาพคล่อง (liquidity) ด้านการดําเนินการ (operation) และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ โดยมีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และจัดการความเสี่ยงในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการดังกล่าวสามารถรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(3) การมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ มีระบบและกฎเกณฑ์ในการรับและกํากับดูแลสมาชิกที่เหมาะสม และรองรับวิธีปฏิบัติที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถชําระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องมีกระบวนการในการจัดการกรณีที่มีการผิดนัดชําระหนี้ด้วย
(4) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ (business continuity management) โดยมีมาตรการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันเป็นการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความพร้อมในการใช้งานของระบบงานที่สําคัญของสํานักหักบัญชีสัญญาให้สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
(5) การเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน โปร่งใสและเพียงพอเพื่อให้สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น ๆ สามารถเข้าใจผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ส่วน ๓ สาระสําคัญของข้อกําหนด
ข้อ ๔ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีสัญญาในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กร โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2
(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3
(3) การบริหารจัดการความเสี่ยง โดยมีรายละเอียดตามหมวด 4
(4) การบริหารจัดการกรณีที่มีการเชื่อมโยงการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องของสํานักหักบัญชีสัญญา โดยมีรายละเอียดตามหมวด 5
(5) การจัดการและการเปิดเผยข้อมูล โดยมีรายละเอียดตามหมวด 6
(6) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยมีรายละเอียดตามหมวด 7
(7) การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก โดยมีรายละเอียดตามหมวด 8
(8) การจัดการเรื่องร้องเรียน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 9
(9) การเก็บรักษาข้อมูลและเอกสาร โดยมีรายละเอียดตามหมวด 10
ส่วน ๔ อํานาจสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดให้มีความชัดเจนเพียงพอที่สํานักหักบัญชีสัญญาจะสามารถปฏิบัติได้ในแนวทางเดียวกัน
(2) กําหนดแนวทางการปฏิบัติ (guideline) ในรายละเอียดของข้อกําหนดเพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ โดยหากสํานักหักบัญชีสัญญาปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสํานักหักบัญชีสัญญามีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
(3) เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้สํานักหักบัญชีสัญญายื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด โดยต้องไม่เป็นภาระต่อสํานักหักบัญชีสัญญาจนเกินสมควร
ส่วน ๕ บทนิยาม
ข้อ ๖ ในประกาศนี้
“สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของสํานักหักบัญชีสัญญา
“กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน” หมายความว่า กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงานตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทในเครือตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของสํานักหักบัญชีสัญญา
“อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก” หมายความว่า
(1) ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาได้รับมาจากสมาชิกทั้งที่เป็นของสมาชิกและของลูกค้าเพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาได้รับมาเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งของสมาชิกและของลูกค้า
(3) ทรัพย์สินที่สมาชิกนํามาวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๒ การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กร
ข้อ ๗ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารกิจการที่ดีที่มีความชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ
ข้อกําหนดตามวรรคหนึ่งจะต้องเป็นการส่งเสริมความมั่นคงและประสิทธิภาพของสํานักหักบัญชีสัญญา รวมทั้งคํานึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและผู้ใช้บริการโดยต้องระบุอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) มาตรการที่เพียงพอในการป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่สํานักหักบัญชีสัญญาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ และมีมาตรการที่เพียงพอในการรักษาความลับของสมาชิกและลูกค้า
ให้สํานักหักบัญชีสัญญาเปิดเผยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารกิจการที่ดีต่อประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการทั่วไปภายหลังจากข้อกําหนดดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว
ข้อ ๘ เพื่อให้การดําเนินการของสํานักหักบัญชีสัญญาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และส่งเสริมความมีเสถียรภาพของตลาดทุน รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารกิจการที่ดีซึ่งได้กําหนดขึ้นตามข้อ 7 สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน และกรรมการอิสระที่แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับตลาดทุนหรือที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการของสํานักหักบัญชีสัญญา
เพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนของคณะกรรมการและผู้บริหาร
(2) ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหาร
ข้อ ๙ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการจัดโครงสร้างองค์กรอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กรรมการอิสระตามข้อ 8 วรรคหนึ่งในจํานวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการทั้งหมดและต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน
(2) ระบบการควบคุมกิจการภายในที่มีประสิทธิภาพ และระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ
(3) จัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทําหน้าที่กําหนดนโยบายในการบริหารจัดการความเสี่ยงและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว โดยแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารความเสี่ยง หรือการบริหารงานสํานักหักบัญชีสัญญา ทั้งนี้ ประธาน และกรรมการจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดต้องไม่เป็นผู้บริหาร พนักงานหรือลูกจ้างของสํานักหักบัญชีสัญญาและบริษัทในเครือของสํานักหักบัญชีสัญญา
(4) จัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงตามกรอบนโยบายความเสี่ยงทั้งนี้ การจ่ายผลตอบแทนให้กับหน่วยงานดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ข้อ ๑๐ กรรมการอิสระตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ที่มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นกลาง และมีความเป็นธรรม ตลอดจนคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ความมั่นคงปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบตลาดทุนเป็นสําคัญ
กรรมการอิสระของสํานักหักบัญชีสัญญาต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลที่มีตําแหน่งอื่นใดที่เทียบเท่าตําแหน่งข้างต้นของสํานักหักบัญชีสัญญาและบริษัทในเครือของสํานักหักบัญชีสัญญา เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่รับตําแหน่ง
(2) เป็นกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลที่มีตําแหน่งอื่นใดที่เทียบเท่าตําแหน่งข้างต้น รวมทั้งบุคคลที่มีส่วนร่วมบริหารงานของสมาชิก
(3) เป็นผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมกิจการของสํานักหักบัญชีสัญญา
(4) เป็นบุคคลอื่นใดที่ไม่สามารถให้ความเห็นได้โดยอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักหักบัญชีสัญญา
หมวด ๓ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
ข้อ ๑๑ ในการให้บริการระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระบบที่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสํานักหักบัญชีสัญญาต้องเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในทันทีที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายให้แก่สํานักหักบัญชีสัญญาภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญา และสํานักหักบัญชีสัญญาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะยกเลิก แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายการมิได้ เว้นแต่ระเบียบหรือข้อบังคับซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๒ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องกําหนดระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการชําระหนี้ที่ชัดเจน เพื่อให้การชําระหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ประมวลผลการซื้อขายสัญญาเพื่อแจ้งยอดสุทธิของการชําระหนี้ให้แก่สมาชิก
(2) กําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการชําระหนี้รวมทั้งกําหนดจุดเวลาเพื่อการชําระหนี้ที่ให้ถือว่าเป็นที่สุด (finality of settlement) ในข้อบังคับอย่างชัดเจน
(3) กําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการเมื่อสมาชิกมีการผิดนัดชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถจัดการเมื่อเกิดเหตุผิดนัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โดยมีการเปิดเผยขั้นตอนและวิธีการดําเนินการดังกล่าวเป็นการทั่วไป รวมทั้งทดสอบร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง และทบทวนขั้นตอนและวิธีดําเนินการกรณีสมาชิกผิดนัด (default procedure) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(4) ในกรณีที่มีการชําระราคาผ่านธนาคารพาณิชย์ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องกําหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ธนาคารพาณิชย์ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ข้อ ๑๓ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระบบกํากับตรวจสอบฐานะทางการเงินและความเสี่ยงโดยรวมของสมาชิก โดยอย่างน้อยต้องมีการประเมินและติดตามฐานะทางการเงิน ความมั่นคงทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกอย่างสม่ําเสมอ และมีมาตรการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าฐานะทางการเงินและระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกเป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีข้อบังคับหรือข้อตกลงที่มีความชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดของสํานักหักบัญชีสัญญากับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) กระบวนการรองรับการผิดนัดชําระหนี้ หรือส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาลงทุนหรือฝากทรัพย์สินไว้กับธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศมีกระบวนการเก็บรักษาทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถชําระหนี้เมื่อทวงถาม และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การลงทุนและฝากทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่กระจุกตัวในธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งมากเกินควร
ข้อ ๑๖ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแยกจากของสํานักหักบัญชีสัญญา โดยให้ดําเนินการแยกเป็นบัญชีของสมาชิกแต่ละราย รวมทั้งจัดทําและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(2) จัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกให้มีความปลอดภัย มั่นคง และมีรายการและจํานวนตรงตามที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินตาม (1)
(3) จัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแยกจากทรัพย์สินของสํานักหักบัญชีสัญญาในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกโดยปราศจากเหตุสงสัย
(4) รายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินดังกล่าวให้สมาชิกทราบภายในระยะเวลาที่เหมาะสมให้สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดกฎเกณฑ์สําหรับการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๗ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก สํานักหักบัญชีสัญญาจะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกมิได้
ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกและให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินตามข้อ 16(3)
(1) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทเงิน ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) จัดเก็บโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนตามกรอบหรือนโยบายการลงทุนที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดขึ้น โดยในการกําหนดกรอบหรือนโยบายการลงทุนดังกล่าวต้องคํานึงถึงสภาพคล่อง ความเสี่ยงในการลงทุน และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพของระบบการซื้อขายและชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญา
(ข) ในกรณีที่เป็นการลงทุน ให้รายงานกรอบหรือนโยบายการลงทุนที่กําหนดตาม (ก) รวมทั้งในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ชักช้า พร้อมทั้งเปิดเผยให้สมาชิกทราบด้วย
(ค) ระบุวัตถุประสงค์การจัดเก็บอย่างชัดเจน พร้อมทั้งแสดงว่าการฝากหรือลงทุนดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา 82 และมาตรา 83
(2) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ ให้จัดเก็บโดยฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุวัตถุประสงค์การจัดเก็บอย่างชัดเจน พร้อมทั้งแสดงว่าการฝากหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา 82 และมาตรา 83
(3) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินอื่น ให้เก็บโดยมีเอกสารหลักฐานที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของสมาชิก หรือลูกค้าของสมาชิกโดยปราศจากเหตุสงสัย
ข้อ ๑๘ ในการดําเนินการตามข้อ 16 และข้อ 17 สํานักหักบัญชีสัญญาต้องตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งสํานักหักบัญชีสัญญากําหนดขึ้นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ หากปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าสํานักหักบัญชีสัญญาแห่งใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือกฎเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดขึ้น หรือดําเนินการที่ไม่เหมาะสมในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้สํานักหักบัญชีสัญญาแห่งนั้นดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศและกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือดําเนินการใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๑๙ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของผู้สมัครเป็นสมาชิกเป็นสําคัญ
ข้อ ๒๐ เพื่อให้การดําเนินงานของสมาชิกเป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระเบียบหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับกับสมาชิก
(2) จัดให้มีมาตรการในการกํากับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับ
(3) จัดให้มีมาตรการดําเนินการกับสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับ
(4) ประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของสมาชิกในช่วงเวลาที่เหมาะสม
(5) จัดทํารายงานการประเมินผลและการดําเนินการต่อสมาชิกที่ฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับ แล้วจัดส่งให้สํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อทราบ
หมวด ๔ การบริหารจัดการความเสี่ยง
ข้อ ๒๑ ให้สํานักหักบัญชีสัญญาบริหารจัดการความเสี่ยงโดยดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีกรอบนโยบายบริหารความเสี่ยงที่เป็นลายลักษณ์อักษรและครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้าน โดยกรอบนโยบายดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว
(2) กําหนดมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเพียงพอที่จะป้องกันและจัดการความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ทบทวนความเหมาะสมของกรอบนโยบายและมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นประจํา
ข้อ ๒๒ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับการประกอบการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจรวม 6 เดือน และคํานวณจากงบบัญชีล่าสุดโดยต้องอยู่ในรูปของทรัพย์สินที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องเพียงพอ
สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีแผนดําเนินการเพิ่มเติมแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน สําหรับกรณีที่เงินทุนไม่เพียงพอรองรับการประกอบการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๓ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีแผนเพื่อการกอบกู้หรือการเลิกประกอบกิจการ (plan for recovery or orderly wind-down) ซึ่งแผนดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการและต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) เหตุการณ์และช่วงเวลาที่อาจทําให้สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการตามแผนเพื่อการกอบกู้หรือการเลิกประกอบกิจการ
(2) งานสําคัญที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทําให้สํานักหักบัญชีสัญญาสามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้
(3) แนวทางหรือวิธีการที่ใช้เพื่อการกอบกู้กิจการ
(4) แนวทางหรือวิธีการในการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินของสํานักหักบัญชีสัญญา สมาชิก และลูกค้าในกรณีที่การกอบกู้กิจการไม่บรรลุผล
หมวด ๕ การบริหารจัดการกรณีที่มีการเชื่อมโยงการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ของสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาให้บริการเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่สมาชิกที่มีลูกค้าเป็นนิติบุคคลซึ่งให้บริการกับลูกค้าอีกทอดหนึ่ง (tiered participant) สํานักหักบัญชีสัญญาต้องควบคุมดูแลและติดตามความเสี่ยงของสมาชิกรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นด้วย
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาจะทําการเชื่อมโยงการให้บริการกับสํานักหักบัญชีสัญญาอื่น สํานักหักบัญชีสัญญาต้องกําหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงก่อนดําเนินการดังกล่าวอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายหรือกฎเกณฑ์รองรับการเชื่อมโยงการให้บริการและคุ้มครองการทําธุรกรรมของสํานักหักบัญชีสัญญาที่แตกต่างกัน
(2) ขั้นตอนและวิธีการจัดการในกรณีที่มีการผิดนัดชําระหนี้ (default management) ที่สามารถบังคับใช้กับสํานักหักบัญชีสัญญาอื่นที่เชื่อมโยงการให้บริการระหว่างกันได้
(3) ประสิทธิภาพในการเรียกหรือบังคับหลักประกันได้ทันต่อเหตุการณ์
(4) ความเพียงพอของแหล่งเงินทุนรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากการเชื่อมโยง
การให้บริการ
หมวด ๖ การจัดการและการเปิดเผยข้อมูล
ข้อ ๒๖ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องเปิดเผยหรือเผยแพร่ระเบียบ ข้อบังคับ ข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาอย่างเพียงพอ เพื่อให้สมาชิก ลูกค้าของสมาชิก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจความเสี่ยงจากการใช้บริการ และต้องทบทวนข้อมูลที่เปิดเผยหรือเผยแพร่เป็นประจําหรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นปัจจุบัน
ข้อ ๒๗ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ รัดกุม และครบถ้วน โดยต้องสามารถรวบรวม ประมวลผลและเรียกดูข้อมูลดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาอันสมควร
ในกรณีที่ระบบงานตามวรรคหนึ่งไม่สามารถใช้การได้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการให้มีระบบสํารองเพื่อให้การจัดการและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสามารถดําเนินการต่อไปได้ตามปกติ
ข้อ ๒๘ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีระเบียบหรือข้อบังคับที่กําหนดให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิก รวมถึงข้อมูลอื่นใด
ที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญากับตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญา สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกํากับตรวจสอบฐานะทางการเงินและความเสี่ยงของสมาชิก
ข้อ ๒๙ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนหรือคุ้มครองผู้ลงทุน ให้สํานักหักบัญชีสัญญาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา ซึ่งเป็นสาระสําคัญต่อการทําธุรกรรมกับสมาชิก
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทําในลักษณะที่ทันต่อเหตุการณ์ มีข้อมูลเพียงพอ และประชาชนมีโอกาสได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ประเภทของข้อมูล วิธีการและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมวด ๗ การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคง
ปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๐ ในหมวดนี้
“ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้” หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งหากไม่สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสํานักหักบัญชีสัญญาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสํานักหักบัญชีสัญญา
ข้อ ๓๑ หมวดนี้มีข้อกําหนดในการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 1
(2) การทบทวน ติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 2
(3) การรายงานการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ (material systems change report) โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 3
(4) การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย (incident management) โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 4
(5) การกําหนดนโยบาย การติดตามและการวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 5
ส่วน ๑ การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ
ข้อ ๓๒ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการให้มีความพร้อมในการให้บริการ โดยอย่างน้อยต้องกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นลายลักษณ์อักษร
(1) นโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้น การชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายังสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือสามารถแก้ไขให้กลับมาดําเนินการต่อได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นตาม (1)โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ข้อ ๓๓ แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 32(2) ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการให้บริการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา โดยต้องกําหนดขอบเขตของกรณีฉุกเฉินให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งขั้นตอนการดําเนินการ และผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวในแต่ละกรณีให้ชัดเจน
(2) รายชื่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้
(3) การประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผลกระทบที่อาจมีต่อการดําเนินธุรกิจ (business impact analysis: BIA)
(4) ระยะเวลากู้คืนระบบงาน (recovery time objective)
(5) ข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้ (recovery point objective)
(6) รายละเอียดของระบบงานสํารองและศูนย์สํารองที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๓๔ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมติดตามและสื่อสารกับสมาชิก เพื่อให้ปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ และแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๓๕ เพื่อให้การกํากับดูแลการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สํานักหักบัญชีสัญญาดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(1) ทดสอบแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินผลการทดสอบแผนตาม (1) โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเป็นอิสระจากผู้จัดทําหรือผู้บริหารแผนนั้น
(3) รายงานผลการทดสอบตาม (2) ต่อคณะกรรมการและสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ดําเนินการทดสอบเสร็จสิ้น
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของสํานักหักบัญชีสัญญา ให้สํานักหักบัญชีสัญญาทบทวนและปรับปรุงแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยไม่ชักช้า
ส่วน ๒ การทบทวน ติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้
ข้อ ๓๗ เพื่อให้การกํากับดูแลเกี่ยวกับขั้นตอนหรือกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สํานักหักบัญชีสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทบทวน ติดตามและตรวจสอบขั้นตอนหรือกระบวนการปฏิบัติงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ ตามแผนการตรวจสอบซึ่งจัดทําตามระดับความเสี่ยงขององค์กร โดยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเป็นอิสระ เช่น ผู้ตรวจสอบภายในหรือภายนอก (internal or external auditor) เป็นต้น ทั้งนี้ ให้สํานักหักบัญชีสัญญาจัดส่งรายงานผลการทบทวน ติดตามและตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งแผนการตรวจสอบซึ่งจัดทําตามระดับความเสี่ยงขององค์กรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้เสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว
(2) ทดสอบการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ (penetration test) ให้ครบถ้วนทุกระบบงานทุก 3 ปี โดยเรียงลําดับความสําคัญตามผลการประเมินความเสี่ยง และรายงานผลการทดสอบดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในไตรมาสแรกของปีถัดจากปีที่มีการทดสอบแต่ละระบบ
ส่วน ๓ การรายงานการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับ
การชําระหนี้ (material systems change report)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๘ เพื่อให้การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยรวมของสํานักหักบัญชีสัญญาดําเนินการไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ ให้สํานักหักบัญชีสัญญารายงานการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสําคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
ส่วน ๔ การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่ง
ผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย
(incident management)
ข้อ ๓๙ ในส่วนนี้
“เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย” หมายความว่า
(1) เหตุการณ์ที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ไม่สามารถดําเนินการได้ตามปกติ (system disruption and system degrade)
(2) เหตุการณ์ที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ไม่สามารถดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน ก.ล.ต. สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (system non-compliance)
(3) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้อันเกิดจากการบุกรุก (system intrusion)
ข้อ ๔๐ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยเกิดขึ้น ให้สํานักหักบัญชีสัญญารวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พร้อมทั้งกําหนดแนวทางการแก้ไข และรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อผู้บริหาร รวมทั้งจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้
ข้อ ๔๑ เพื่อให้เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสม สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดและดําเนินการตามแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยที่กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(2) จัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อทําหน้าที่รับแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าว(point of contact) และรายงานต่อผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อดําเนินการต่อไป (escalation procedure)
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรง นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 40 และข้อ 41 แล้ว ให้สํานักหักบัญชีสัญญารายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) รายงานโดยทางวาจาหรือทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทันทีเมื่อทราบเหตุการณ์
(2) รายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร (investigation report) เมื่อเหตุการณ์นั้นได้รับการแก้ไขแล้วภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าวได้รับรายงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์นั้น
รายงานผลการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องประกอบด้วยคําอธิบายรายละเอียดของเหตุการณ์ ผลกระทบต่อการดําเนินงานของสํานักหักบัญชีสัญญาและสมาชิก รวมทั้งสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา(root cause) ขั้นตอนการดําเนินการแก้ไขปัญหาและมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนั้นอีก
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรง” หมายความว่า
(1) เหตุการณ์ที่ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ไม่สามารถดําเนินการได้ตามปกติในลักษณะที่ทําให้การให้บริการต้องหยุดชะงักลง
(2) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้อันเกิดจากการบุกรุก ซึ่งอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสํานักหักบัญชีสัญญาอย่างร้ายแรง
ส่วน ๕ การกําหนดนโยบาย การติดตามและการวิเคราะห์
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๔๓ เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสํานักหักบัญชีสัญญามีประสิทธิภาพ สามารถรักษาไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความพร้อมใช้งาน ตลอดจนการติดตามวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้ได้อย่างเหมาะสม ให้สํานักหักบัญชีสัญญาดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายและมาตรการควบคุมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับได้ หรือมาตรฐานอื่นที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและเป็นที่ยอมรับได้ในอุตสาหกรรม ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยต้องมีการทบทวนและปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
(2) ติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระหนี้โดยบันทึกและจัดเก็บหลักฐานการใช้งาน รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (log)
หมวด ๘ การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก
ข้อ ๔๔ การใดที่มิได้มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะให้สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการด้วยตนเอง หากการนั้นเป็นการกระทําด้วยความจําเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ ให้สํานักหักบัญชีสัญญาสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกได้โดยต้องมั่นใจว่าผู้ให้บริการภายนอกสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการใช้บริการนั้นไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ
ในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก สํานักหักบัญชีสัญญาต้องกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบาย ขอบเขต หรือลักษณะงานที่จะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องได้รับความเห็นชอบเป็นการทั่วไปหรือเป็นรายกรณีจากคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่คณะกรรมการดังกล่าวมอบหมาย
(2) มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(3) มาตรการตรวจสอบบริการของผู้ให้บริการภายนอกที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้ให้บริการภายนอกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสํานักหักบัญชีสัญญา
ความในวรรคสองมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาเป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เป็นตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
หมวด ๙ การจัดการเรื่องร้องเรียน
ข้อ ๔๕ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการชําระหนี้ หรือเกิดขึ้นจากการใช้บริการของสํานักหักบัญชีสัญญา ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน
หรือข้อพิพาท โดยการกําหนดระเบียบปฏิบัติดังกล่าวต้องคํานึงถึงการคุ้มครองผู้ร้องเรียนด้วย
(2) จัดให้มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท
(3) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบและแจ้งผลการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทให้ผู้ร้องเรียนหรือคู่พิพาททราบ
(4) จัดทํารายงานสรุปข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุก 6 เดือนทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าวต้องมีบทสรุปสาระสําคัญและผลการพิจารณาหรือการดําเนินการของสํานักหักบัญชีสัญญาด้วย
หมวด ๑๐ การเก็บรักษาข้อมูลและเอกสาร
ข้อ ๔๖ ให้สํานักหักบัญชีสัญญาเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารให้เป็นไปตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามที่ระบุไว้ในข้อ 27 ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ได้มาหรือวันที่มีการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลนั้น
(2) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 32 (2) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการจัดทําแผนดังกล่าว
(3) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่ได้รับการแก้ไขตามข้อ 36 ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการแก้ไขแผนดังกล่าว
(4) หลักฐานการใช้งานรวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อ 43(2) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กําหนด
(5) หลักฐานการตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกตามข้อ 44 วรรคสอง(3) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการนั้น
(6) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท และผลการพิจารณาตามข้อ 45(4) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทนั้น
ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจสั่งการเป็นประการอื่นได้ตามที่เห็นสมควร
การจัดเก็บข้อมูล เอกสารและหลักฐานตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง ให้สํานักหักบัญชีสัญญาจัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดู หรือตรวจสอบได้
หมวด ๑๑ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 98/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 98/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,956 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 18/2558 เรื่อง การกำหนดให้พันธบัตรเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับตามมาตรา 33 | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 18/2558
เรื่อง การกําหนดให้พันธบัตรเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่
ภายใต้บังคับตามมาตรา 33
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พันธบัตรเป็นหลักทรัพย์ที่ห้ามมิให้เสนอขายตามมาตรา 33 เว้นแต่จะเป็นไปตามกรณีที่กําหนดไว้ในมาตราดังกล่าว
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,957 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 1/2559 เรื่อง แนวทางการพิจารณาลักษณะของการให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 1/2559
เรื่อง แนวทางการพิจารณาลักษณะของการให้คําแนะนํา
แก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
โดยที่บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ได้จัดทําขึ้นในตลาดทุนมีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ลงทุน จึงเป็นการสมควรที่จะส่งเสริมการจัดทําบทวิเคราะห์หลักทรัพย์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น อย่างไรก็ดีการดําเนินการดังกล่าวเป็นปัญหาที่อาจถูกพิจารณาว่าเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเป็นทางค้าปกติหรือไม่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการดําเนินการดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(4/1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกแนวทางการพิจารณาไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “สมาคม” หมายความว่า
(ก) สมาคมที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ข) สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) สมาคมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น
(2) “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า
(ก) ส่วนราชการ
(ข) องค์กรของรัฐบาล
(ค) หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
(3) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและให้หมายความรวมถึงบริษัทจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น และถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น
(4) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
ข้อ ๒ การจัดทําบทวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อันมิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไร เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปและมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ จึงพิจารณาว่าการดําเนินการในลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเป็นทางค้าปกติ
(1) การจัดทําบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ซึ่งเน้นบทวิเคราะห์ที่ยังไม่เคยมีการจัดทํามาก่อนหรือมีแต่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานกําหนด
(2) การจัดทําบทวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่อาจได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบัน หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลการประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป
(3) การจัดทําบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(4) การจัดทําบทวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้นักวิเคราะห์การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,958 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 33/2559 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเกี่ยวกับการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 33/2559
เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับ
การประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝาก
หลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 223/3 และมาตรา 228 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 55 มาตรา 73 มาตรา 76 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 83 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 34(2) และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 94/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 96/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 30/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 97/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 98/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,959 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 5/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในการแปลงสภาพเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 5/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินและ
การก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์ในการแปลงสภาพเป็นทรัสต์
เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการเงินลงทุนจากรูปแบบกองทุนรวมเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“การแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๓ ในการแปลงสภาพ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวม เพื่อใช้ในการชําระค่าหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่คัดค้านการแปลงสภาพและได้รับสิทธิในการขายคืนหน่วยลงทุนให้กองทุนรวมตามแผนการแปลงสภาพ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติอนุมัติให้ดําเนินการแปลงสภาพอย่างชัดเจน โดยมติดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(2) การกู้ยืมเงินของกองทุนรวมเมื่อรวมกับการกู้ยืมเงินในครั้งอื่น (ถ้ามี) ต้องไม่เกินร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้จัดทํารายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือแบบเบื้องต้น (preliminary rating) ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพ อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ให้กองทุนรวมสามารถกู้ยืมเงินได้เกินกว่าร้อยละ 35 แต่ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุนรวม
ข้อ ๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนําทรัพย์สินของกองทุนรวมไปเป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่กองทุนรวมเข้าทําสัญญาตามประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,960 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2556 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 50/2556
เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 117 และมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และประกาศนี้
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“การแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์
“ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
“ทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวม” หมายความว่า ทรัพย์สิน หนี้สินและความรับผิดของกองทุนรวม โดยไม่รวมถึงรายการที่กันไว้ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินหรือเงินที่กันไว้เพื่อการชําระหนี้
(2) เงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนจากการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่มารับเงินนั้น หรือไม่ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คที่ได้รับจากการดําเนินการดังกล่าว
(3) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชีของกองทุนรวม
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการแปลงสภาพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ การแปลงกองทุนรวมให้เป็นกองทรัสต์ ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่เป็นการแปลงกองทุนรวมหนึ่งกองให้เป็นกองทรัสต์หนึ่งกอง โดยกําหนดอัตราการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกับหน่วยทรัสต์ในอัตราหนึ่งหน่วยลงทุนต่อหนึ่งหน่วยทรัสต์เท่านั้น และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2
(2) บุคคลที่ประสงค์จะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในหมวด 3
(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องดําเนินการตามแผนการแปลงสภาพ เลิกกองทุนรวมและชําระบัญชีของกองทุนรวม ที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนดในหมวด 4
(4) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องดําเนินการเพื่อให้หน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวมเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวโดยไม่ชักช้า
หมวด ๒ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุม
ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ในการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขออนุมัติการแปลงสภาพ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม
(2) หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวม มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมทั้งจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวม ซึ่งจัดทําขึ้นล่าสุดแต่ต้องไม่เกินหกสิบวันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) ข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับสัญญาต่าง ๆ ที่กองทุนรวมเข้าทํากับบุคคลอื่นและยังมีผลใช้บังคับอยู่ ณ ขณะนั้น และสถานะการดําเนินการให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตกลงหรือยินยอมให้เปลี่ยนคู่สัญญาจากกองทุนรวมเป็นกองทรัสต์
(ค) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมและกองทรัสต์ และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการแปลงสภาพแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. ประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวมและกองทรัสต์
2. นโยบายการลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี)
3. นโยบายการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม และประโยชน์ตอบแทนของกองทรัสต์
4. การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
5. บุคคลที่เกี่ยวข้องในการแปลงสภาพ ซึ่งรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมและกองทรัสต์ ตลอดจนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของบุคคลดังกล่าว
ในการแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแนบสรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ประกอบด้วย
(ง) ผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการแปลงสภาพ โดยให้ระบุผลกระทบด้านภาระภาษีด้วย
(จ) แผนการแปลงสภาพ การเลิกกองทุนรวมและการชําระบัญชี โดยต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับขั้นตอนการแปลงสภาพ สาระสําคัญ เงื่อนไข (ถ้ามี) การเลิกกองทุนรวม การชําระบัญชี และกําหนดเวลาโดยประมาณของการดําเนินการแต่ละขั้นตอน
การแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
1. การปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อกําหนดสิทธิในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกับหน่วยทรัสต์
2. การขึ้นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นการชั่วคราว
3. การโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกับหน่วยทรัสต์ การเลิกกองทุนรวม และการชําระบัญชีของกองทุนรวม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในหมวด 4
4. การเวนคืนใบหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
5. การดําเนินการในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนใช้หน่วยลงทุนเป็นหลักประกันการชําระหนี้ (ถ้ามี)
6. การเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ฉ) ค่าใช้จ่ายในการแปลงสภาพ การเลิกกองทุนรวมและการชําระบัญชี ที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทรัสต์ (ถ้ามี)
(ช) ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการแปลงสภาพ โดยให้ระบุผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติในเรื่องนั้น ๆ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียของการแปลงสภาพ
(ซ) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับการแปลงสภาพในหนังสือนัดประชุมตาม (2) (ช) ได้เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่ออธิบายและให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๖ ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติที่ชัดแจ้งในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การแปลงสภาพและแผนการแปลงสภาพ
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันและโครงการจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี)
(3) การเลิกกองทุนรวม
(4) การเปลี่ยนให้บุคคลอื่นเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์แทนบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือให้บุคคลอื่นเข้าเป็นทรัสตีแทนผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ถ้ามี)มติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีตาม (1) (2) และ (3) ต้องได้รับมติด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และในกรณีตาม (4) ต้องได้รับมติด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ ต้องไม่นับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องที่ลงมติ
หมวด ๓ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่
ของกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในหมวดนี้ โดยบุคคลที่จะยื่นคําขออนุญาตตามประกาศนี้ได้จะต้องเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้ว
ส่วน ๑ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ ในการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้
(1) รายงานการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีมติตามข้อ 6
(2) หนังสือรับรองจากผู้ยื่นคําขออนุญาตและบริษัทจัดการกองทุนรวมที่แสดงว่าการเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2
(3) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์
(4) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์
(5) แบบแสดงรายการข้อมูล หรือเอกสารที่แสดงสาระสําคัญตามแบบแสดงรายการข้อมูล
(6) หนังสือรับรองจากผู้ที่จะเข้ามาเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์นั้น
(7) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
คําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องมีกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขออนุญาตลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตดังกล่าว
ข้อ ๙ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่มาชี้แจงหรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นอีกต่อไป
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2
(2) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการแปลงสภาพจะไม่สามารถกระทําได้ตามแผนการแปลงสภาพที่กําหนดในหมวด 4
(3) แสดงให้เห็นได้ว่ากองทุนรวมไม่มีข้อพิพาททางศาลซึ่งอยู่ระหว่างการดําเนินกระบวนพิจารณาหรือการบังคับคดี หรืออยู่ระหว่างการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการหรือการบังคับตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ส่วน ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ดําเนินการตามเงื่อนไขภายหลังการเสนอขายที่ใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และเงื่อนไขเพิ่มเติมในหมวดนี้
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตในฐานะผู้ก่อตั้งทรัสต์ต้องดําเนินการก่อตั้งกองทรัสต์ ด้วยการก่อสิทธิในทางทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
การก่อสิทธิในทางทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําผ่านการเข้าทําสัญญาที่มีข้อผูกพันว่าผู้ได้รับอนุญาตจะดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมที่แปลงสภาพ โดยแลกเปลี่ยนกับการที่กองทรัสต์จะจําหน่ายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ทั้งหมดให้แก่กองทุนรวมนั้น
ข้อ ๑๓ เมื่อก่อตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการตามแผนการแปลงสภาพ เลิกกองทุนรวม และชําระบัญชีของกองทุนรวม ตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนดในหมวด 4
ส่วน ๔ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเอกสารหรือข้อมูลที่ได้รับจากผู้ขออนุญาตมีข้อมูลไม่ครบถ้วน มีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือกรณีอื่นใดที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน สํานักงานอาจสั่งการให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปลงสภาพหรือกองทรัสต์เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบ
(2) จัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุนใหม่
(3) จัดให้มีการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) หรือการให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน
(4) จัดให้มีความเห็นทางกฎหมายในประเด็นข้อกฎหมายที่สําคัญหรือที่ไม่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพหรือกองทรัสต์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นอีกต่อไป
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงที่ทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ไม่ถูกต้องหรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังนี้
(1) สั่งให้ผู้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหน่วยทรัสต์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะเปลี่ยนเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์เมื่อเสร็จสิ้นการแปลงสภาพ
หมวด ๔ แผนการแปลงสภาพ การเลิกกองทุนรวม
และการชําระบัญชีของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ในการแปลงสภาพ การเลิกกองทุนรวม และการชําระบัญชีของกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 3 และผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม ปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามหมวด 2 และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําดังต่อไปนี้
(1) การโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามข้อ 18
(2) การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ การเลิกกองทุนรวม และการชําระบัญชีของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามข้อ 19 ถึงข้อ 20
ข้อ ๑๘ การโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้จัดการกองทรัสต์ดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่กองทรัสต์ได้ก่อตั้งขึ้นตามข้อ 12
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมตกได้แก่กองทรัสต์ โดยแลกเปลี่ยนกับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์นั้น
(2) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องส่งมอบหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ทั้งหมดของกองทรัสต์ให้แก่กองทุนรวม เพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวม
ในการส่งมอบทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมให้แก่กองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ทรัสตีของกองทรัสต์มีสิทธิหน้าที่โดยสมบูรณ์ และส่งมอบเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีสามารถทําหน้าที่ต่อไปได้ ทั้งนี้ ในการส่งมอบดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งหนังสือรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบด้วย
ข้อ ๑๙ การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ การเลิกกองทุนรวม และการชําระบัญชีของกองทุนรวมตามแผนการแปลงสภาพ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเลิกกองทุนรวมภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์ตามข้อ 18
ก่อนการเลิกกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเลิกกองทุนรวมต่อผู้ลงทุน ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสํานักงานล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการตามวิธีการดังต่อไปนี้
(ก) การแจ้งต่อผู้ลงทุน ให้กระทําผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
(ข) การแจ้งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสํานักงาน ให้ทําเป็นหนังสือ
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้ทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมด้วยตนเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งมอบเอกสารหลักฐานที่มีข้อมูลที่จําเป็นต่อการชําระบัญชีให้แก่ผู้ชําระบัญชีโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ผู้ชําระบัญชีสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
(3) ให้ผู้ชําระบัญชีดําเนินการชําระบัญชีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันเลิกกองทุนรวม เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ก) ชําระหนี้หรือดําเนินการเพื่อชําระหนี้ที่ถึงกําหนดชําระแล้วของกองทุนรวม ค่าธรรมเนียม ค่าภาระติดพัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องเสียในการชําระบัญชี ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 20 ด้วย
(ข) แบ่งหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่กําหนดสิทธิในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกับหน่วยทรัสต์ ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า โดยต้องดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมีชื่อเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ตามอัตราการสับเปลี่ยนที่ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
(ค) ยื่นคําขอจดทะเบียนเลิกกองทุนรวมต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งรายงานผลการชําระบัญชีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่แบ่งหน่วยทรัสต์ตาม (ข) แล้วเสร็จ และดําเนินการโอนทรัพย์สินคงค้างให้แก่สํานักงาน (ถ้ามี)
(ง) นอกจากการดําเนินการตาม (ก) ถึง (ค) ให้ผู้ชําระบัญชีมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการอย่างอื่นเท่าที่จําเป็นเพื่อให้การชําระบัญชีเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่กองทุนรวมมีหนี้ที่ถึงกําหนดชําระแล้วและเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชําระหนี้หรือไม่สามารถรับชําระหนี้ได้ หรือมีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนจากการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่มารับเงินนั้น หรือไม่ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คที่ได้รับจากการนั้น ให้ผู้ชําระบัญชีกันทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้หรือเงินดังกล่าวออกจากทรัพย์สินของกองทุนรวมและดําเนินการวางทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมโดยอนุโลม หรือดําเนินการอื่นใดเพื่อให้มีการชําระหนี้ได้เมื่อเจ้าหนี้เรียกให้ชําระหนี้
หมวด ๕ การผ่อนผันหลักเกณฑ์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ เพื่อประโยชน์ในการแปลงสภาพ ให้การดําเนินการตามประกาศนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับระยะเวลาขั้นต่ําในการถืออสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม และการจัดให้มีรายงานการประเมินค่าล่วงหน้าก่อนวันจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่การปฏิบัติตามหมวด 4 ส่งผลให้กองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น ๆ ได้
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับ
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันไม่มีนัยสําคัญ และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้มีข้อจํากัดตามกฎหมายอันทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้มีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันนี้
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน และมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้อยู่ใต้บังคับของประกาศนี้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,961 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2559 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34/2559
เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 117 และมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2556 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“การแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
“หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์
“อสังหาริมทรัพย์ใหม่” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่กองทุนรวมที่แปลงสภาพและกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพได้ลงทุนไว้โดยชอบ ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวิธีการใด
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวม” หมายความว่า ทรัพย์สิน หนี้สินและความรับผิดของกองทุนรวม โดยไม่รวมถึงรายการที่กันไว้ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินหรือเงินที่กันไว้เพื่อการชําระหนี้
(2) เงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนจากการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมซึ่งยังมิได้ชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือบุคคลที่มีสิทธิได้รับเงินนั้น
(3) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชีของกองทุนรวม
“ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ
อื่นๆ ๑ ขอบเขตการใช้ประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้เป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลงกองทุนรวมให้เป็นกองทรัสต์ ซึ่งรองรับการแปลงกองทุนรวม 1 กองหรือหลายกองให้เป็นกองทรัสต์ 1 กอง โดยจะเป็นกองทรัสต์
ที่จัดตั้งขึ้นและมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว หรือเป็นกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อประโยชน์ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่หรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๖ การแปลงสภาพตามข้อ 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การดําเนินการโดยบริษัทจัดการ
(ก) ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทุกกองที่จะแปลงสภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ในภาค 2
(ข) ดําเนินการแปลงสภาพและเลิกกองทุนรวม ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนและตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 3 ของภาค 2
(2) การดําเนินการโดยผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม ให้ดําเนินการชําระบัญชีตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน และตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 3 ของภาค 2
(3) การดําเนินการโดยผู้จัดการกองทรัสต์
(ก) กรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นและมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2 ของหมวด 1 ในภาค 2
(ข) เสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการแปลงสภาพและเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตที่กําหนดในหมวด 2 ของภาค 2
(ค) ดําเนินการตามแผนการแปลงสภาพตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน และที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 3 ของภาค 2
อื่นๆ ๒ การแปลงสภาพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุม
เพื่อรองรับการแปลงสภาพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ การดําเนินการเกี่ยวกับการประชุมและมติที่ประชุม
ของผู้ถือหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ การเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขออนุมัติการแปลงสภาพ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการต้องจัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามข้อ 8
(2) องค์ประชุมต้องประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 25 คน หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด และต้องมีหน่วยลงทุนนับรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(3) จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแปลงสภาพในหนังสือนัดประชุมตามข้อ 8 ได้เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่ออธิบายและให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๘ หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7(1) ต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน และรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ที่มาและเหตุผลของการแปลงสภาพ
(2) อัตราสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี) (swap ratio) พร้อมทั้งคําอธิบายวิธีการคํานวณอัตราสับเปลี่ยนดังกล่าว
(3) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวม มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมทั้งจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวม ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทําขึ้นล่าสุดแต่ต้องไม่เกินกว่า 60 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) ข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับสัญญาต่าง ๆ ที่กองทุนรวมเข้าทํากับบุคคลอื่นและยังมีผลใช้บังคับอยู่ ณ ขณะนั้น และความคืบหน้าในการดําเนินการให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตกลงหรือยินยอมให้เปลี่ยนคู่สัญญาจากกองทุนรวมเป็นกองทรัสต์
(5) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมและกองทรัสต์ และลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการแปลงสภาพแล้ว ซึ่งรวมถึง
(ก) ประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวมและกองทรัสต์
(ข) นโยบายการลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดจการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี)
(ค) โครงสร้างเงินทุนของกองทุนรวมและกองทรัสต์
(ง) นโยบายการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม และประโยชน์ตอบแทนของกองทรัสต์
(จ) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
(ฉ) บุคคลที่เกี่ยวข้องในการแปลงสภาพ ซึ่งรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมและกองทรัสต์ ตลอดจนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของบุคคลดังกล่าว
ในการแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการแนบสรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ประกอบด้วย
(6) ผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการแปลงสภาพ โดยให้ระบุผลกระทบด้านภาระภาษีทั้งในระดับกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน
(7) แผนการแปลงสภาพ การเลิกกองทุนรวมและการชําระบัญชี โดยต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับขั้นตอนการแปลงสภาพ สาระสําคัญ เงื่อนไข (ถ้ามี) การเลิกกองทุนรวม การชําระบัญชี และกําหนดเวลาโดยประมาณของการดําเนินการแต่ละขั้นตอน
การแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับดําเนินการดังนี้ด้วย
(ก) การปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อกําหนดสิทธิในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกับหน่วยทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)
(ข) การขึ้นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว
(ค) การโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์
(ง) การเวนคืนใบหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(จ) การดําเนินการในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนใช้หน่วยลงทุนเป็นหลักประกันการชําระหนี้ (ถ้ามี)
(ฉ) การเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(ช) ในกรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แผนการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อประโยชน์ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น (รวมถึงการให้สิทธิแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนในการได้รับการจัดสรร (ถ้ามี)) ด้วย และผลกระทบของการไม่เป็นไปตามแผนดังกล่าว
(8) การรับซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมและคัดค้านการแปลงสภาพ (ถ้ามี) ซึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
(ก) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่จะเข้ามารับซื้อหน่วยลงทุน (โดยให้ระบุด้วยว่าเป็นการรับซื้อคืนโดยกองทุนรวม หรือรับซื้อโดยบุคคลใด)
(ข) รายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการรับซื้อหน่วยลงทุน เช่น จํานวนหน่วยลงทุนและราคาที่รับซื้อ ตลอดจนวิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขในการรับซื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการจํากัดจํานวนหน่วยลงทุนที่จะรับซื้อ ต้องกําหนดวิธีการรับซื้อตามสัดส่วน (pro rata) เท่านั้น
(ค) ผลกระทบจากการรับซื้อหน่วยลงทุน
(9) รายละเอียดการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการแปลงสภาพ การเลิกกองทุนรวม และการชําระบัญชี แล้วแต่กรณี
(10) ความเห็นของผู้จัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของการแปลงสภาพและอัตราสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)
(11) ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
(ก) ความสมเหตุสมผลของการแปลงสภาพและอัตราสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)
(ข) ผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น ๆ อาจได้รับจากการแปลงสภาพ และข้อดีข้อเสียของการดําเนินการดังกล่าว
(12) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่กองทุนรวมที่แปลงสภาพมีหลายกอง หนังสือนัดประชุมตามวรรคหนึ่งต้องระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) (3) (4) (5) และ (11) (ก) ของกองทุนรวมทุกกองด้วย
ข้อ ๙ ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนต้องมีมติที่ชัดแจ้งอนุมัติให้ดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การแปลงสภาพและแผนการแปลงสภาพ ซึ่งต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุม
ในกรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพจะมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ นอกจากมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนที่อนุมัติแผนการดังกล่าว ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันและโครงการจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี) และการเลิกกองทุนรวม ซึ่งต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยคะแนนเสียงตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดสําหรับการมีมติในกรณีดังกล่าว
(3) การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทจัดการเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ (ถ้ามี) ซึ่งต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
(4) การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์เข้าเป็นทรัสตี (ถ้ามี) ซึ่งต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
ส่วน ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับการประชุมและมติที่ประชุม
ผู้ถือหน่วยทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับในกรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นและมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว
ข้อ ๑๑ การประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อขออนุมัติการเพิ่มทุนเพื่อรองรับการแปลงสภาพ และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ (ถ้ามี) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และตามข้อกําหนดในส่วนนี้
ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับการแปลงสภาพในหนังสือนัดประชุมตามข้อ 12 เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่ออธิบายและให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์
ข้อ ๑๒ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อเรียกประชุมตามข้อ 11 ต้องจัดส่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม โดยต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ที่มาและเหตุผลของการแปลงสภาพ
(2) ข้อมูลของกองทุนรวม ตามข้อ 8(2) (3) และ (4)
(3) ผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์จะได้รับจากการแปลงสภาพ
(4) แผนการแปลงสภาพ โดยต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับขั้นตอนการแปลงสภาพ สาระสําคัญ และเงื่อนไข (ถ้ามี) และกําหนดเวลาของการดําเนินการแต่ละขั้นตอน
(5) ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่กองทรัสต์จะลงทุน (ถ้ามี) โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว พร้อมแผนการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินนั้นและผลกระทบของการไม่เป็นไปตามแผนดังกล่าวด้วย
(6) รายละเอียดการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการแปลงสภาพ
(7) ความเห็นของผู้จัดการกองทรัสต์เกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของการแปลงสภาพและอัตราสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)
(8) ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
(ก) ความสมเหตุสมผลของการแปลงสภาพและอัตราสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)
(ข) ผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ อาจได้รับจากการแปลงสภาพ และข้อดีข้อเสียของการดําเนินการดังกล่าว
ข้อ ๑๓ ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีมติที่ชัดแจ้งอนุมัติการเพิ่มทุนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การรองรับการแปลงสภาพ ซึ่งต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุม
(2) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ (ถ้ามี) ซึ่งต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
หมวด ๒ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์
ที่ออกใหม่เพื่อรองรับการแปลงสภาพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ การอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) ได้รับมติโดยชัดแจ้งดังนี้
(ก) มติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนที่อนุมัติการดําเนินการ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9
(ข) ในกรณีกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นและ
มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 ด้วย
(2) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการแปลงสภาพจะไม่สามารถดําเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 2
(3) แสดงให้เห็นได้ว่ากองทุนรวมไม่มีข้อพิพาทที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลต่อการดําเนินการของกองทรัสต์ในอนาคต หรือข้อพิพาทที่สําคัญเกี่ยวกับการดําเนินงานที่มีการเปิดเผยต่อผู้ลงทุนผ่านรายงานของกองทุนรวม ระบบเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ หรือช่องทางอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลหรือการบังคับคดี หรืออยู่ระหว่างการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการหรือการบังคับตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ส่วน ๒ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในหมวดนี้ โดยบุคคลที่จะยื่นคําขออนุญาตตามประกาศนี้จะต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพยังมิได้ก่อตั้งขึ้น ให้ผู้ก่อตั้งทรัสต์ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งทรัสต์แล้ว เป็นผู้ยื่นคําขออนุญาต
(2) ในกรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพก่อตั้งขึ้นและมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ เป็นผู้ยื่นคําขออนุญาต
ผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย
ข้อ ๑๖ ในการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้
(1) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน เอกสารการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน และรายงานการประชุมที่แสดงมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่แปลงสภาพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9
(2) หนังสือรับรองจากบริษัทจัดการที่บริหารจัดการกองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม หรือที่ปรึกษาทางการเงิน ที่แสดงว่าการเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9
(3) ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นและมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ให้ยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมดังนี้
(ก) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ เอกสารการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ และรายงานการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แสดงมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13
(ข) หนังสือรับรองจากผู้ยื่นคําขออนุญาตที่แสดงว่าการเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13
(4) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ หรือร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
(5) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ หรือร่างสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
(6) แบบแสดงรายการข้อมูล หรือเอกสารที่แสดงสาระสําคัญตามแบบแสดงรายการข้อมูล
(7) รายงานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่กองทรัสต์จะลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายงานการประเมินดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลม
(8) หนังสือรับรองจากทรัสตีหรือผู้ที่จะเข้าเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ที่แสดงสาระสําคัญ ดังนี้
(ก) กรณีที่ยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์นั้น
(ข) กรณีที่กองทรัสต์ก่อตั้งขึ้นและมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวรับรองว่ากระบวนการเพิ่มทุนของกองทรัสต์เป็นไปโดยชอบตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ตลอดจนเป็นไปตามประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว
ข้อ ๑๗ คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคําขออนุญาต เว้นแต่การแปลงสภาพที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตก็ได้
(1) เป็นการแปลงกองทุนรวม 1 กอง ให้เป็นกองทรัสต์ 1 กอง
(2) ไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อประโยชน์ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่
ข้อ ๑๘ คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 16 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้ลงนามรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วย
(1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขออนุญาต
(2) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทําคําขออนุญาต
ข้อ ๑๙ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ ๒๐ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 45 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง
ส่วน ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการเสนอขายที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุโลม รวมทั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมในส่วนนี้ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแปลงสภาพในหมวด 3 ของภาค 2
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) การขายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมที่แปลงสภาพ และแก่บุคคลอื่นในกรณีที่กองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพจะมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ในช่วงเวลาเดียวกับการแปลงสภาพ (ถ้ามี) ให้เป็นไปตามระยะเวลาในข้อ 24
(2) การขายหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลอื่นตาม (1) ซึ่งเป็นกรณีที่มีเหตุทําให้ไม่สามารถเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังกล่าวในช่วงเวลาเดียวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมที่แปลงสภาพ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดําเนินการตามกําหนดเวลาในวรรคหนึ่ง ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๒๓ กรณีกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพยังมิได้ก่อตั้งขึ้น ให้ผู้ได้รับอนุญาตในฐานะผู้ก่อตั้งทรัสต์ดําเนินการก่อตั้งทรัสต์ด้วยการก่อสิทธิในทางทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีโดยไม่ชักช้า
การก่อสิทธิในทางทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําผ่านการเข้าทําสัญญาที่มีข้อผูกพันว่าผู้ได้รับอนุญาตจะดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมที่แปลงสภาพ โดยแลกเปลี่ยนกับการที่กองทุนรวมดังกล่าวจะได้รับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)
หมวด ๓ การดําเนินการแปลงสภาพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ การดําเนินการแปลงสภาพ ให้บริษัทจัดการ ผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ในภาค 2 และผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม ปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนและมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ถ้ามี) ที่เป็นไปตามหมวด 1 ในภาค 2 และดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่
(1) โอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์ โดยแลกเปลี่ยนกับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่และเงินสด (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 25
(2) เลิกกองทุนรวมและสับเปลี่ยนหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่กองทุนรวมถืออยู่และเงินสด (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 26
(3) ดําเนินการให้หน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 27
ในการชําระบัญชีของกองทุนรวมที่แปลงสภาพ นอกจากดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ชําระบัญชีดําเนินการตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในข้อ 28 และข้อ 29 ด้วย
ข้อ ๒๕ การโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมตกได้แก่กองทรัสต์ โดยแลกเปลี่ยนกับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์นั้นและเงินสด (ถ้ามี)
(2) ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ส่งมอบหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์
และเงินสด (ถ้ามี) ให้แก่กองทุนรวม เพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวม
ในการส่งมอบทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมให้แก่กองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ทรัสตีของกองทรัสต์มีสิทธิหน้าที่โดยสมบูรณ์ และส่งมอบเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีสามารถทําหน้าที่ต่อไปได้ ทั้งนี้ ในการส่งมอบดังกล่าว ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งหนังสือรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบด้วย
ข้อ ๒๖ การเลิกกองทุนรวมและสับเปลี่ยนหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่กองทุนรวมถืออยู่และเงินสด (ถ้ามี) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการโอนทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมไปยังกองทรัสต์ตามข้อ 25
ก่อนการเลิกกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเลิกกองทุนรวมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์ และสํานักงานล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 วันทําการตามวิธีการดังต่อไปนี้
(ก) การแจ้งต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ให้กระทําผ่านช่องทางที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
(ข) การแจ้งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์ และสํานักงาน ให้ทําเป็นหนังสือ
(2) เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชําระบัญชี ให้ผู้ชําระบัญชีดําเนินการดังนี้
(ก) แบ่งหน่วยทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่กําหนดสิทธิในการสับเปลี่ยน ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า
ทั้งนี้ ตามอัตราการสับเปลี่ยนที่ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน และที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ถ้ามี) โดยให้ดําเนินการได้เมื่อผู้ชําระบัญชีได้ชําระหนี้หรือกันเงินไว้เพื่อการชําระหนี้ทั้งหมดของกองทุนรวม (ถ้ามี) แล้ว
(ข) ในการดําเนินการตาม (ก) ให้ผู้ชําระบัญชีจัดส่งเอกสารดังนี้ ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย
1. เอกสารที่แสดงถึงจํานวนหน่วยทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี) ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ
2. หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพหรือเอกสารซึ่งมีข้อมูลที่มีสาระตรงตามสรุปข้อมูลสําคัญของกองทรัสต์ (fact sheet) ที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ยื่นต่อสํานักงาน
(3) ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดส่งหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารตาม (2) (ข) 2. ให้แก่ผู้ชําระบัญชี เพื่อให้ผู้ชําระบัญชีสามารถดําเนินการจัดส่งหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ได้ทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมด้วยตนเอง ให้บริษัทจัดการส่งมอบเอกสารหลักฐานที่มีข้อมูลที่จําเป็นต่อการชําระบัญชีให้แก่ผู้ชําระบัญชีโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ผู้ชําระบัญชีสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ข้อ ๒๗ เมื่อได้ดําเนินการตามข้อ 25 และข้อ 26 แล้วเสร็จ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ดําเนินการให้ตลาดหลักทรัพย์รับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศนี้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทั้งนี้ ภายในกําหนดเวลาตามข้อ 24
ข้อ ๒๘ นอกจากการดําเนินการตามข้อ 26(2) ให้ผู้ชําระบัญชีดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร
(1) ชําระหนี้ หรือดําเนินการเพื่อให้มีการชําระหนี้ของกองทุนรวม ตลอดจนการชําระค่าธรรมเนียม ค่าภาระติดพัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องเสียในการชําระบัญชีของกองทุนรวม ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันเลิกกองทุนรวม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ชําระบัญชีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 29 ด้วย
(2) ยื่นคําขอจดทะเบียนเลิกกองทุนรวมต่อสํานักงานพร้อมทั้งจัดส่งรายงานผลการชําระบัญชีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ดําเนินการตาม (1) แล้วเสร็จ และดําเนินการโอนทรัพย์สินคงค้างให้แก่สํานักงาน (ถ้ามี)
(3) นอกจากการดําเนินการตาม (1) และ (2) ให้ผู้ชําระบัญชีมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการอย่างอื่นเท่าที่จําเป็นเพื่อให้การชําระบัญชีเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่กองทุนรวมมีหนี้ที่ถึงกําหนดชําระแล้ว และเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชําระหนี้หรือไม่สามารถรับชําระหนี้ได้ หรือในกรณีที่กองทุนรวมมีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนจาก
การลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมซึ่งยังมิได้ชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือผู้ที่มีสิทธิได้รับชําระเงินนั้น ให้ผู้ชําระบัญชีดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการวางทรัพย์ต่อสํานักงานวางทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมโดยอนุโลม
(2) ดําเนินการอย่างใด ๆ เพื่อให้มีการชําระหนี้เมื่อเจ้าหนี้ของกองทุนรวมได้เรียกให้ชําระหนี้
อื่นๆ ๓ การผ่อนผันหลักเกณฑ์และอํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๐ ให้การดําเนินการตามประกาศนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในการใช้สิทธิออกเสียงในส่วนที่เกินกว่าอัตราที่กําหนด โดยบริษัทจัดการสามารถระบุในโครงการจัดการกองทุนรวมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ใช้สิทธิออกเสียงเฉพาะในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนที่จัดขึ้นเพื่อขออนุมัติการแปลงสภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้อย่างครบถ้วน
1. บริษัทจัดการร่วมกับผู้ถือหน่วยลงทุนประกาศต่อสาธารณชนอย่างชัดเจนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทําการก่อนการได้มาเพิ่มเติมซึ่งหน่วยลงทุนว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวประสงค์จะเข้าถือหน่วยลงทุนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุม
ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลที่ประกาศต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 8 และข้อ 31
ให้บริษัทจัดการรายงานผลการซื้อหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ในข้อ 32 ด้วย
2. บริษัทจัดการจัดให้มีสัญญากับผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะเข้าถือหน่วยลงทุนตาม 1. ซึ่งกําหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอที่จะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่จําหน่ายหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนการใช้สิทธิออกเสียงตาม 1.
(ข) เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนด อันเป็นผลมาจากการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามข้อ 33
(2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของกองทุนรวมที่ต้องเป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน และหลักเกณฑ์การลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม โดยบริษัทจัดการอาจรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและลดเงินทุนจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 33 ได้
(3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่การปฏิบัติตามหมวด 3 ของภาค 2 ส่งผลให้กองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น ๆ ได้
(4) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาขั้นต่ําในการถืออสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(5) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม และการจัดให้มีรายงานการประเมินมูลค่าล่วงหน้าก่อนวันจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
ข้อ ๓๑ การประกาศต่อสาธารณชนตามข้อ 30(1) (ก) ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการซื้อหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ระบุจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะซื้อและระยะเวลาที่จะเข้าซื้อในตลาดหลักทรัพย์
(2) ในกรณีที่เป็นการซื้อหน่วยลงทุนโดยวิธีอื่นนอกจาก (1) ให้ระบุข้อมูลดังนี้
(ก) จํานวนและราคาหน่วยลงทุนที่รับซื้อ
(ข) วัน เวลา สถานที่ และวิธีการแสดงเจตนาขายหน่วยลงทุน รวมทั้งการส่งมอบใบหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(ค) วิธีการรับซื้อหน่วยลงทุนในกรณีที่มีผู้เสนอขายหน่วยลงทุนมากกว่าจํานวนที่ประสงค์จะรับซื้อ
(ง) วัน เวลา สถานที่ และวิธีการชําระค่าหน่วยลงทุน
ข้อ ๓๒ ให้บริษัทจัดการรายงานผลการซื้อหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 30(1) (ก) ต่อสํานักงานและตลาดหลักทรัพย์ภายใน 5 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการซื้อหน่วยลงทุนตามที่ได้ประกาศต่อสาธารณชน
การรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการผ่านระบบเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓๓ บริษัทจัดการอาจรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมและทําการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมด้วยการลดจํานวนหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมและคัดค้านการแปลงสภาพ ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในหนังสือนัดประชุมตามข้อ 8(8)
(2) ดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่รับซื้อคืนตาม (1) และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนภายในระยะเวลาที่ได้ระบุไว้ในหนังสือนัดประชุมตามข้อ 8(8)
ค่าขายคืนหน่วยลงทุนที่คืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) อาจมาจากการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในการแปลงสภาพเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ก็ได้
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการดําเนินการตามข้อ 33 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(2) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมในครั้งนั้น ๆ ต่อตลาดหลักทรัพย์ และจัดให้มีข้อมูลดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) เหตุแห่งการลดเงินทุนจดทะเบียน
(ข) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ลดลง
การเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับ
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันไม่มีนัยสําคัญ และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้มีข้อจํากัดตามกฎหมายอันทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้มีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันนี้
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน และมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้อยู่ใต้บังคับของประกาศนี้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ตามคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพตามหมวด 2 ของภาค 2 ได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงที่ทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพตามหมวด 2 ของภาค 2 ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ไม่ถูกต้องหรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหน่วยทรัสต์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะเปลี่ยนเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์เมื่อเสร็จสิ้นการแปลงสภาพ
(3) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยทรัสต์นั้น
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมมีรายละเอียดที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 30 บริษัทจัดการอาจยื่นคําขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมต่อสํานักงานเพื่อให้เป็นไปตามที่ได้รับการผ่อนผันนั้นก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,962 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 4/2551 เรื่อง จำนวนทุนทรัพย์สำหรับข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ข. 4/2551
เรื่อง จํานวนทุนทรัพย์สําหรับข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 47 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะเสนอให้อนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาจะต้องเป็นข้อพิพาทที่มีจํานวนทุนทรัพย์ที่ลูกค้าแต่ละรายเรียกร้องค่าเสียหายไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เป็นการกําหนดวงเงินขั้นสูงสุดเพื่อให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาทสําหรับผู้ลงทุนรายย่อยตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 | 1,963 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 6/2559 เรื่อง จำนวนทุนทรัพย์สำหรับข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กค. 6/2559
เรื่อง จํานวนทุนทรัพย์สําหรับข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 47 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 4/2551 เรื่อง จํานวนทุนทรัพย์สําหรับข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะเสนอให้อนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาจะต้องเป็นข้อพิพาทที่มีจํานวนทุนทรัพย์ที่ลูกค้าแต่ละรายเรียกร้องค่าเสียหายไม่เกิน 5 ล้านบาท
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,964 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 8/2559 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กม. 8/2559
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่
ในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่อประชาชน ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่
(2) มีการยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตอย่างช้าภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,965 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2559 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติมและหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทำนองเดียวกับหน่วยลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 9/2559
เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติมและหลักทรัพย์
ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับ
หน่วยลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 14 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 และข้อ 3 วรรคสองแห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 16/2555 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น
ข้อ ๓ ให้ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ไม่ใช่หุ้นหรือใบทรัสต์เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ให้หลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ห้ามมิให้เสนอขายตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เว้นแต่จะเป็นไปตามกรณีที่กําหนดไว้ในมาตราดังกล่าว
ข้อ ๔ ให้หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศประเภทหุ้น และตราสารหรือหลักฐานตามข้อ 3 เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทดังกล่าวได้
(1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่อไปได้ตามข้อ 24 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,966 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 11/2553 เรื่อง การยกเลิกประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 11/2553
เรื่อง การยกเลิกประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของ
บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ
อนุพันธ์ที่ออกใหม่เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการหรือ
ปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 60/2543 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ไม่ได้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่ออก
หุ้นอ้างอิง จึงไม่ต้องมีข้อกําหนดในการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในกรณีดังกล่าวอีกต่อไป จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,967 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 13/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟโดยการยืมหรือซื้อหน่วยลงทุนนั้นมาเพื่อส่งมอบ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 13/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ
โดยการยืมหรือซื้อหน่วยลงทุนนั้นมาเพื่อส่งมอบ
----------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 49/2552 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟตามคําสั่งของลูกค้าโดยการยืมหน่วยลงทุนนั้นมาส่งมอบ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
ที่กําหนดไว้สําหรับการขายชอร์ตตามคําสั่งของลูกค้า โดยอนุโลม
ข้อ ๒ ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟโดยการซื้อ
หน่วยลงทุนนั้นจากบริษัทจัดการกองทุนรวมมาเพื่อส่งมอบ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตในนามของบริษัทหลักทรัพย์เอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องมี
หลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือทรัพย์สินอื่น ตามประเภทที่กองทุนรวมอีทีเอฟใช้เป็นปัจจัยอ้างอิง
ตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวอยู่ในความครอบครองในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต
โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องมั่นใจว่าตนเองสามารถส่งมอบหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟตามรายการ
ที่ขายชอร์ตภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีกําหนด หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
ตกลงกัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ด้วยการนําหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือทรัพย์สินอื่นนั้น ไปชําระเป็น
ค่าซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องส่งมอบ
(2) ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตตามคําสั่งของลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของกองทุนรวม
อีทีเอฟ บริษัทหลักทรัพย์ต้องให้ลูกค้าดังกล่าวแสดงว่ามีหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือทรัพย์สินอื่น
ตามประเภทที่กองทุนรวมอีทีเอฟใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวอยู่ในความครอบครองในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องมั่นใจว่าลูกค้าสามารถส่งมอบหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟตามรายการที่ขายชอร์ตภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีกําหนด
หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ตกลงกัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ด้วยการนําหลักทรัพย์
ตราสารทางการเงิน หรือทรัพย์สินอื่นนั้น ไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องส่งมอบ
ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขาย
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ใน
โครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน
เป็นรายกรณี
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ
ให้สอดคล้องกับการเพิ่มเติมปัจจัยอ้างอิงของกองทุนรวมอีทีเอฟที่กําหนดครอบคลุมถึงหลักทรัพย์
ตราสารทางการเงินและทรัพย์สินอื่น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการขายชอร์ต
หน่วยลงทุนอีทีเอฟโดยการยืมหรือซื้อหน่วยลงทุนนั้นมาเพื่อส่งมอบ ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550
จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,968 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2552 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังงหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 18/2552
เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหา
ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
และสิทธิเรียกร้อง
อาศัยอํานาจตามความในประกาศดังต่อไปนี้
(1) ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(2) ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(3) ข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศที่ ทน. 21/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(2) “ประกาศที่ ทน. 22/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(3) “ประกาศที่ ทน. 23/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(4) “ผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 21/2552 ข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 22/2552 และข้อ 7 แห่งประกาศที่ ทน. 23/2552
(5) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 21/2552 ข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 22/2552 และข้อ 7 แห่งประกาศที่ ทน. 23/2552 ซึ่งต้องนับการถือหน่วยลงทุน หรือการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือการเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลดังกล่าว เข้ากับการถือหน่วยลงทุน หรือการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือการเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของผู้ถือหน่วยลงทุน
(1) บุคคลที่ถือหรือมีหุ้นในผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนนั้น
(2) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนถือหรือมีหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(3) คู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือของบุคคลตาม (1)
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการถือหรือมีหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2) หากบริษัทจัดการจัดส่งโครงสร้างการถือหุ้นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าในชั้นใด ๆ กับผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่จะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนให้สํานักงานพิจารณาแล้วและสํานักงานมิได้แจ้งเป็นประการอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการถือหรือมีหุ้นของบุคคลตามโครงสร้างการถือหุ้นที่ส่งมานั้นไม่เป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2)
ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจัดการจะถือเอาประโยชน์ตามวรรคหนึ่งต่อไปไม่ได้
ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2544 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2544 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
: เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2544 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,969 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2553 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังงหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2553
เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 6 วรรคสี่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(2) ข้อ 6 วรรคสี่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(3) ข้อ 7 วรรคสี่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2552 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศที่ ทน. 21/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(2) “ประกาศที่ ทน. 22/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(3) “ประกาศที่ ทน. 23/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(4) “ผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 21/2552 ข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 22/2552 และข้อ 7 แห่งประกาศที่ ทน. 23/2552
แล้วแต่กรณี
(5) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศที่ ทน. 21/2552 กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศที่ ทน. 22/2552 และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามประกาศที่ ทน. 23/2552 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณจํานวนหน่วยลงทุนเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ในข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 21/2552 ข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 22/2552 และข้อ 7 แห่งประกาศที่ ทน. 23/2552 ให้กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนับการถือหน่วยลงทุนของกลุ่มบุคคลดังกล่าวรวมกัน
(1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2)
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า
อสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 21/2552 ข้อ 6 แห่งประกาศที่ ทน. 22/2552 และข้อ 7 แห่งประกาศที่ ทน. 23/2552 หากบุคคลใดในกลุ่มบุคคล
ที่มีความสัมพันธ์กันตามข้อ 3 เป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ให้นับมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า
อสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ให้เช่า หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง แล้วแต่กรณี ซึ่งกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้รวมกัน
ข้อ ๕ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับ
อยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2552 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไข
ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็น
บุคคลที่เกี่ยวข้องของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อประโยชน์ในการคํานวณจํานวนหน่วยลงทุน รวมทั้งมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,970 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2553 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 30/2553
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่ง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 38(1) และข้อ 41(1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สิน
ของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้
(1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน
(2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของบริษัทจัดการที่ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน โดยใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการลดความเสี่ยง โดยสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวไม่ใช่ตัวเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 2
(ข) การเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่เพื่อการลดความเสี่ยง ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 3
ข้อ ๒ การเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สินค้าหรือตัวแปรไม่ใช่ตัวเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง จะถือเป็นการเข้าทําสัญญาเพื่อการลดความเสี่ยงตามข้อ 38(1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ต่อเมื่อค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (absolute correlation coefficient) ระหว่างผลตอบแทนของสินค้า หรือตัวแปรกับผลตอบแทนของทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยงต้องไม่น้อยกว่า 0.7 และมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง
ค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวรรคหนึ่ง ต้องคํานวณตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ข้อมูลที่มีความเหมาะสมเพื่อให้สามารถสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สินที่นํามาคํานวณได้อย่างสมเหตุผล
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการที่เข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในนามของกองทุนเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่เพื่อการลดความเสี่ยง กันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนตามที่กําหนดไว้ในวรรคสองในจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าสุทธิที่กองทุนอาจมีภาระต้องชําระหนี้หรือชําระค่าสินค้าเมื่อสิ้นสุดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น
ทรัพย์สินของกองทุนที่จะถูกกันหรือแยกตามวรรคหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) เงินฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือธนาคารต่างประเทศ
(3) หลักประกันในระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ตราสารภาครัฐไทยหรือตราสารภาครัฐต่างประเทศ ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกินสามปี ทั้งนี้ ตราสารภาครัฐต่างประเทศดังกล่าวต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้
(5) ตั๋วแลกเงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก
(6) ตราสารแห่งหนี้ที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายตราสารแห่งหนี้ หรือที่มีข้อมูลราคาที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ ซึ่งมีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสี่อันดับแรก ในกรณีที่เป็นตราสารแห่งหนี้ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งเดือน
(ข) อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสามอันดับแรก ในกรณีที่เป็นตราสารแห่งหนี้
ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี
(7) ตราสารแห่งหนี้ซึ่งมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้นในราคาดังกล่าวตลอดอายุของตราสารแห่งหนี้นั้น
(8) หุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างดําเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป
(9) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกวันทําการ และกําหนดวันชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน
(10) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนที่มีอายุคงเหลือไม่เกินเจ็ดวัน
(11) รายการค้างรับหักด้วยรายการค้างจ่าย ทั้งนี้ เฉพาะรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุน มีไว้ หรือจําหน่ายไป ซึ่งทรัพย์สินของกองทุน และรายการดังกล่าวจะครบกําหนดภายในเจ็ดวัน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อกําหนดค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมในกรณีที่กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการลดความเสี่ยง โดยสินค้าหรือตัวแปรไม่ใช่ตัวเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง (2) เพื่อกําหนดทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่อง ที่บริษัทจัดการต้องกันหรือแยกไว้เพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ในกรณีที่กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่เพื่อการลดความเสี่ยง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,971 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 18/2551 เรื่อง เวลาทำการและวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 18 /2551
เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์
----------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 และมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 69/2543 เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับสํานักงานสาขาในต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเปิดทําการเพื่อให้ประชาชนติดต่อใช้บริการ ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดทําการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึงเวลา 17.00 น. และหยุดทําการในวันหยุดประจําสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณีตามที่สํานักงานจะออกประกาศกําหนดเป็นปี ๆ ไป
(2) กรณีการเปิดทําการในลักษณะที่ให้ประชาชนสามารถติดต่อใช้บริการด้วยเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีการเปิดสถานที่ทําการ บริษัทหลักทรัพย์อาจเปิดทําการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อ ๔ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 6 บริษัทหลักทรัพย์อาจเปิดทําการในเวลาและวันอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 3(1) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการให้บริการด้านการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การให้บริการของสํานักงานสาขาออนไลน์ หรือการให้บริการในกิจการที่สํานักงานสาขาออนไลน์สามารถให้บริการได้ บริษัทหลักทรัพย์อาจขยายเวลาเปิดทําการได้ แต่ต้องไม่ก่อนเวลา 7.00 น. และไม่เกินเวลา 21.00 น. และอาจเปิดทําการในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้ โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้า
2. นอกจากกรณีตาม (1) บริษัทหลักทรัพย์อาจขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขอขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดตามข้อ 4(2) ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตการให้บริการในช่วงเวลาและวันเปิดทําการที่ขออนุญาต
(2) แผนการกํากับดูแลการปฏิบัติงานในช่วงเวลาและวันเปิดทําการที่ขออนุญาต
สํานักงานจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสองแล้ว หากสํานักงานไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดไปยังบริษัทหลักทรัพย์ ให้ถือว่าสํานักงานอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดตามที่ขอได้
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์อาจขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดได้สําหรับการให้บริการด้านการจัดการกองทุนรวม การให้บริการด้านการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการให้บริการสํานักงานสาขาออนไลน์เฉพาะในส่วนของการทําธุรกรรมด้านการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการ
ข้อ ๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศเวลาเปิดทําการและวันหยุดทําการให้ทราบเป็นการทั่วไป
ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เปิดทําการในเวลาหรือวันอื่นนอกจากเวลาทําการหรือวันทําการตามข้อ 3(1) อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงสามารถเปิดทําการตามเวลาหรือวันดังกล่าวต่อไปได้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปรับตัวรองรับการแข่งขันในช่วงก่อนเปิดให้ใบอนุญาตเสรีโดยให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถใช้ดุลยพินิจในการกําหนดวันและเวลาเปิดทําการได้อย่างเหมาะสมกับการให้บริการของบริษัท จึงจําเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวันและเวลาในการเปิดให้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ | 1,972 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 44/2553 เรื่อง เวลาทำการและวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 44 /2553
เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 และมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 18/2551 เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
หมวด ๑ เวลาทําการและวันหยุดทําการสําหรับ
สถานที่ทําการในประเทศ
-----------------------------------------
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันดังต่อไปนี้ โดยประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
(1) กรณีการเปิดสถานที่ทําการเพื่อให้ประชาชนติดต่อใช้บริการ ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดทําการอย่างน้อยในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ถึงเวลา 17.00 น. และหยุดทําการในวันหยุดประจําสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณีตามที่สํานักงานจะออกประกาศกําหนดเป็นปี ๆ ไป
(2) กรณีการเปิดทําการในลักษณะที่ให้ประชาชนสามารถติดต่อใช้บริการด้วยเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีการเปิดสถานที่ทําการ บริษัทหลักทรัพย์อาจเปิดทําการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์อาจเปิดปิดทําการในเวลาและวันอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 3(1) ได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.กรณีขยายเวลาเปิดปิดทําการ หรือเปิดทําการในวันหยุด
2.กรณีเปิดทําการภายหลังหรือปิดทําการก่อนเวลาทําการตามข้อ 3(1) อันเนื่องมาจากข้อจํากัดในเรื่องสถานที่ เช่น สาขาในธนาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
3.กรณีเปิดทําการภายหลังหรือปิดทําการก่อนเวลาทําการตามข้อ 3(1) โดยมิได้เกิดจากข้อจํากัดในเรื่องสถานที่ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งเหตุผลและความจําเป็นให้สํานักงานทราบก่อนดําเนินการ หากสํานักงานไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์สามารถดําเนินการเปิดหรือปิดทําการในเวลาดังกล่าวได้
ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศเวลาเปิดปิดทําการและวันหยุดทําการตามวรรคหนึ่งให้ทราบเป็นการทั่วไปล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการ
ข้อ ๕ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุฉุกเฉินซึ่งมีผลกระทบทําให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ บริษัทหลักทรัพย์สามารถหยุดทําการได้จนกว่าเหตุดังกล่าวจะยุติลง พร้อมทั้งแจ้งให้สํานักงานทราบในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ทั้งนี้ หากเป็นการหยุดทําการ อย่างต่อเนื่อง ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไปว่าสามารถติดต่อใช้บริการหรือ ทําการซื้อขายโดยผ่านช่องทางใดของบริษัทหลักทรัพย์
หมวด ๒ เวลาทําการและวันหยุดทําการสําหรับ
สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๖ ให้สํานักงานสาขาในต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์เปิดปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันที่หน่วยงานซึ่งทําหน้าที่กํากับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศนั้นกําหนด
หมวด ๓ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ ๑ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเวลาทําการและวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถบริหารจัดการองค์กรได้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถวางแผนการให้บริการได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถรองรับการแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,973 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 18/2549 เรื่อง เวลาทำการและวันหยุดทำการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 18/2549
เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9 /2549 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเปิดทําการเพื่อให้ประชาชนติดต่อใช้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดทําการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 17.00 น. โดยอาจขยายเวลาทําการดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ก่อนเวลา 8.00 น. และไม่เกินเวลา 17.30 น. และต้องแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบเป็นการล่วงหน้า และหยุดทําการในวันหยุดประจําสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะออกประกาศกําหนดเป็นปี ๆ ไป
(2) กรณีการเปิดทําการในลักษณะที่ให้ประชาชนสามารถติดต่อใช้บริการด้วยเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีการเปิดสถานที่ทําการ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจเปิดทําการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,974 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 19/2551 เรื่อง เวลาทำการและวันหยุดทำการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 19/2551
เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 9/2549 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 18/2549 เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเปิดทําการเพื่อให้ประชาชนติดต่อใช้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดทําการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 17.00 น. และหยุดทําการในวันหยุดประจําสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะออกประกาศกําหนดเป็นปี ๆ ไป
(2) กรณีการเปิดทําการในลักษณะที่ให้ประชาชนสามารถติดต่อใช้บริการด้วยเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีการเปิดสถานที่ทําการ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจเปิดทําการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อ ๓ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจเปิดทําการในเวลาและวันอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 2(1) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการให้บริการของสํานักงานสาขาออนไลน์หรือการให้บริการในกิจการที่สํานักงานสาขาออนไลน์สามารถให้บริการได้ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจขยายเวลาเปิดทําการได้ แต่ต้องไม่ก่อนเวลา 7.00 น. และไม่เกินเวลา 21.00 น. และอาจเปิดทําการในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้ โดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้า
(2) นอกจากกรณีตาม (1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ประสงค์จะขอขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดตามข้อ 3(2) ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตการให้บริการในช่วงเวลาและวันเปิดทําการที่ขออนุญาต
(2) แผนการกํากับดูแลการปฏิบัติงานในช่วงเวลาและวันเปิดทําการที่ขออนุญาต
สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขาล่วงหน้าทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงาน ก.ล.ต. ได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสองแล้ว หากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดไปยังผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดตามที่ขอได้
ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดได้ สําหรับการให้บริการด้านการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการให้บริการสํานักงานสาขาออนไลน์เฉพาะในส่วนของการทําธุรกรรมด้านการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ให้นําประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการมีสํานักงานสาขา และการให้บริการนอกสถานที่และนอกเวลาทําการของบริษัทจัดการซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับกับการขยายเวลาเปิดทําการหรือเปิดทําการในวันหยุดดังกล่าว โดยอนุโลม
ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกาศเวลาเปิดทําการและวันหยุดทําการให้ทราบเป็นการทั่วไป
ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เปิดทําการในเวลาหรือวันอื่นนอกจากเวลาทําการหรือวันทําการตามข้อ 2(1) อยู่แล้วก่อนวันที่
ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวยังคงสามารถเปิดทําการตามเวลาหรือวันดังกล่าวต่อไปได้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - :- เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันในการประกอบธุรกิจ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถใช้ดุลยพินิจในการกําหนดวันและเวลาเปิดทําการได้อย่างเหมาะสมกับการให้บริการของบริษัท จึงจําเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวันและเวลาในการเปิดให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | 1,975 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 45/2553 เรื่อง เวลาทำการและวันหยุดทำการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 45 /2553
เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 19/2551 เรื่อง เวลาทําการและวันหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
หมวด ๑ เวลาทําการและวันหยุดทําการสําหรับ
สถานที่ทําการในประเทศ
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันดังต่อไปนี้ โดยประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
(1) กรณีการเปิดสถานที่ทําการเพื่อให้ประชาชนติดต่อใช้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดทําการอย่างน้อยในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ถึงเวลา 17.00 น. และหยุดทําการในวันหยุดประจําสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณีตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะออกประกาศกําหนดเป็นปี ๆ ไป
(2) กรณีการเปิดทําการในลักษณะที่ให้ประชาชนสามารถติดต่อใช้บริการด้วยเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีการเปิดสถานที่ทําการ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจเปิดทําการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจเปิดปิดทําการในเวลาและวันอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 2(1) ได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. กรณีขยายเวลาเปิดปิดทําการ หรือเปิดทําการในวันหยุด
2. กรณีเปิดทําการภายหลังหรือปิดทําการก่อนเวลาทําการตามข้อ 2(1)อันเนื่องมาจากข้อจํากัดในเรื่องสถานที่ เช่น สาขาในธนาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
3. กรณีเปิดทําการภายหลังหรือปิดทําการก่อนเวลาทําการตามข้อ 2(1) โดยมิได้ เกิดจากข้อจํากัดในเรื่องสถานที่ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแจ้งเหตุผลและความจําเป็นให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบก่อนดําเนินการ หากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับแจ้ง ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถดําเนินการเปิดหรือปิดทําการในเวลาดังกล่าวได้
ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกาศเวลาเปิดปิดทําการและวันหยุดทําการตามวรรคหนึ่ง ให้ทราบเป็นการทั่วไปล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการ
ข้อ ๔ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุฉุกเฉินซึ่งมีผลกระทบทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถหยุดทําการได้จนกว่าเหตุดังกล่าวจะยุติลง พร้อมทั้งแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ทั้งนี้ หากเป็นการหยุดทําการอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไปว่าสามารถติดต่อใช้บริการหรือทําการซื้อขายโดยผ่านช่องทางใดของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๒ เวลาทําการและวันหยุดทําการสําหรับ
สํานักงานสาขาในต่างประเทศ
ข้อ ๕ ให้สํานักงานสาขาในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันที่หน่วยงานซึ่งทําหน้าที่กํากับดูแลธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศนั้นกําหนด
หมวด ๓ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเวลาทําการและวันหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถบริหารจัดการองค์กรได้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถวางแผนการให้บริการได้อย่างเหมาะสม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,976 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 1/2554 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศและการขอจัดสรรวงเงินสำหรับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 1 /2554
เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
และการขอจัดสรรวงเงินสําหรับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และโดยที่ข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2553 เรื่อง การไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 กําหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะนําหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย อาจขอให้สํานักงานตรวจสอบหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศว่าเข้าลักษณตามประกาศดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ และเพื่อเป็นการควบคุมวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“อีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment
scheme) แบบ exchange-traded fund ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
“ตลาดหลักทรัพย์หลัก” (home exchange) หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึงตลาดหลักทรัพย์ที่อีทีเอฟต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก
หมวด ๑ การขอตรวจสอบหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ การยื่นคําขอตรวจสอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ยื่นคําขอตรวจสอบต่อสํานักงานเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) เอกสารการจัดตั้งอีทีเอฟต่างประเทศดังต่อไปนี้
(ก) กรณีอีทีเอฟต่างประเทศที่เป็นบริษัท ให้ยื่นหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท หรือเอกสารการจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายของประเทศที่อีทีเอฟต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น
(ข) กรณีอีทีเอฟต่างประเทศที่เป็นทรัสต์ ให้ยื่นสัญญาก่อตั้งทรัสต์
(2) เอกสารที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศตาม (4) ตั้งอยู่
(3) หลักฐานที่แสดงว่า หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการซื้อขายใน
ตลาดหลักทรัพย์หลักที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE)
(4) หลักฐานที่แสดงว่า อีทีเอฟต่างประเทศและผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศ อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของInternational Organization of Securities Commissions (IOSCO)
(5) หนังสือรับรองว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งจํากัดการประกอบธุรกิจ พักการประกอบธุรกิจ หรือเพิกถอนการอนุญาตหรือการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศ ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น
(6) หนังสือแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของอีทีเอฟต่างประเทศ
ให้ผู้ที่ยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ คําขอละ 50,000 บาท ต่อสํานักงานในวันที่ยื่นคําขอตรวจสอบด้วย
ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานที่ผู้ยื่นคําขอยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 3 ให้จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ทั้งนี้ หากข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็น ภาษาอื่นต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่าสาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ และ
(2) ผู้ยื่นคําขอต้องรับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรกให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ส่วน ๒ การแจ้งผลการตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อ
หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ สํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนแล้ว
ในการตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ หากผู้ยื่นคําขอดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนดสํานักงานจะถือว่าผู้ยื่นคําขอนั้นไม่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศกับสํานักงานอีกต่อไป
ข้อ ๖ สํานักงานจะเปิดเผยรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบจากสํานักงานว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซด์ของสํานักงาน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๗ ผลการตรวจสอบหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่สํานักงานแจ้งตามข้อ 5 และเปิดเผยรายชื่อตามข้อ 6 เป็นการพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏตามคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ผู้ยื่นคําขอได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานเท่านั้น และมิได้เป็นการรับรองว่าอีทีเอฟต่างประเทศดังกล่าวจะมีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศตลอดเวลาที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่เปิดเผยนั้น
ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่า หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ มีลักษณะไม่เข้าข่ายตามประกาศดังกล่าวอีกต่อไป สํานักงานจะถอดรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศดังกล่าวออกจากรายชื่อที่สํานักงานเปิดเผยไว้ตามข้อ 6
หมวด ๒ การขอวงเงิน และจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศสําหรับ
หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่เสนอขายในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอวงเงินลงทุนในต่างประเทศเป็นหนังสือต่อสํานักงาน
(1) ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย หรือ
(2) ผู้ที่จะนําหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง ผู้ยื่นคําขอจะยื่นพร้อมกับคําขอตรวจสอบลักษณะ
หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศตามข้อ 3 ก็ได้
ข้อ ๑๐ สํานักงานจะจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศสําหรับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่ยื่นคําขอตามข้อ 9 เมื่อมูลค่าหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่จะเสนอขายยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ และสํานักงานได้ตรวจสอบแล้วว่า หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขอจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศสําหรับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่มีการเปิดเผยรายชื่อตามข้อ 6 แล้ว สํานักงานจะแจ้งผลการจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ แต่ในกรณีเป็นคําขอที่ ยื่นมาพร้อมกับคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ สํานักงานจะแจ้งผลการจัดสรรวงเงินพร้อมกับผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่า หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่ได้รับจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศจากสํานักงานแล้ว ไม่สามารถเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ภายในระยะเวลา 2 เดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการจัดสรรวงเงินดังกล่าวจากสํานักงาน ให้ถือว่าการได้รับจัดสรรวงเงินดังกล่าวสิ้นสุดลง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์รองรับการขอตรวจสอบและค่าธรรมเนียมคําขอ การตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศที่เข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วย การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ รวมทั้งการขอจัดสรรวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,977 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 3/2554 เรื่อง รายการเพิ่มเติมในสัญญาก่อตั้งทรัสต์สำหรับการตั้งบัญชีเงินสำรองหรือเงินทุนทยอยชำระ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 3 /2554
เรื่อง รายการเพิ่มเติมในสัญญาก่อตั้งทรัสต์สําหรับการตั้งบัญชีเงินสํารอง
หรือเงินทุนทยอยชําระ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการตั้งบัญชีเงินสํารอง (Reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (Sinking fund) ในรูปทรัสต์เพื่อการชําระหนี้ในการออกหุ้นกู้ รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ นอกจากจะต้องเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์แล้ว จะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีการกําหนดให้ทรัสตีชําระเงินให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในนามของผู้ออกหุ้นกู้ เมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์นั้น
(2) มีการกําหนดให้ทรัสตีมีหน้าที่โอนดอกผลอันเกิดจากเงินในบัญชีเงินสํารองหรือเงินทุนทยอยชําระให้แก่ผู้ก่อตั้งทรัสต์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กองทรัสต์ได้รับดอกผลดังกล่าว
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเพิ่มเติมรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ สําหรับ
การใช้ทรัสต์ในการทําธุรกรรมการตั้งบัญชีเงินสํารอง (Reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (Sinking fund) ให้ชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของทรัสตีในการชําระเงินให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้และให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางด้านภาษี จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,978 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์สำหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนใน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 111/2554
เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนใน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา
“ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลูกค้าของตัวแทนซื้อขายสัญญา
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ให้บริการ
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสี่
“โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม
ข้อ ๓ นอกเหนือจากการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ว่าด้วยหลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
หมวด ๑ ผู้ให้บริการและขอบเขตการให้บริการ
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าจากผู้ให้บริการใด ผู้ให้บริการนั้นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป
(2) กรรมการ ผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของผู้ให้บริการ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย
(4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว
(5) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(6) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้ดําเนินการติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า
ข้อ ๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้เฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้
(1) การรับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ
(2) การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(3) การรับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า
(4) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๒ การอนุญาต
ข้อ ๖ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าจากผู้ให้บริการตามข้อ 4 แจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันทําการก่อนการใช้บริการ หากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว
ข้อ ๗ ในกรณีการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าจากผู้ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจไม่อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้บริการจากผู้ให้บริการดังกล่าว ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. ต้องแจ้งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการใช้บริการและการยกเลิกการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการใช้บริการหรือยกเลิกการใช้บริการ แล้วแต่กรณี
หมวด ๓ สัญญาให้บริการ
ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 4(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 4(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ
(2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 5
(3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงาน ก.ล.ต. ในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา
(4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง
(5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
หมวด ๔ การดําเนินการของตัวแทนซื้อขายสัญญา
เกี่ยวกับผู้ให้บริการ
ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดูแลให้ผู้ให้บริการ ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ผู้ให้บริการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 4(4)
(2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4
ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการยกเลิกการใช้บริการโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ลงทุน เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า เป็นต้น ไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต.ตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๑๒ เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงานของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากกการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใดๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวอย่างน้อยต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
และแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป
ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว มีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชีรวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของตนเอง รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่ได้รับให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการทราบตามหลักเกณฑ์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควร ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้
หมวด ๕ อํานาจสั่งการของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ หรือผู้ให้บริการขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 หรือกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 5 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตให้ใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ในสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้
หมวด ๖ บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๑๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซึ่งใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําจากผู้ให้บริการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําจากผู้ให้บริการนั้นต่อไปได้ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศที่ถูกยกเลิกดังกล่าว
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสงค์จะขยายขอบเขตการใช้บริการจากผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่งเพื่อให้ครอบคลุมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่านอกเหนือจากทองคํา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจ
ซื้อขายโลหะมีค่าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความพร้อมได้มีส่วนร่วมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า โดยเป็นผู้ให้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,979 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 18/2554 เรื่อง การรายงานเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ตามวงเงินจัดสรร | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 18 /2554
เรื่อง การรายงานเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์
ตามวงเงินจัดสรร
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 8/2551 เรื่อง การรายงานการลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(4) การจัดการกองทุนรวม
(5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและส่งรายงานเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศตามวงเงินที่สํานักงานจัดสรร โดยให้จัดทําและส่งข้อมูลดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,980 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 19/2554 เรื่อง การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามวงเงินจัดสรร | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 19/2554
เรื่อง การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ตามวงเงินจัดสรร
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2552 เรื่อง การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องไว้กับศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อทําหน้าที่สร้างสภาพคล่องในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว
ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องและมีการเคลื่อนย้ายเงินออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศตามวงเงินที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดสรร จัดทําและส่งรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศเพื่อบัญชีของบริษัท โดยให้จัดทําและส่งรายงานดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,981 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2554 เรื่อง แก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับเอกสารของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 30 /2554
เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดเกี่ยวกับเอกสารของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้แก้ไขคําว่า “โครงการ” หรือ “โครงการจัดการกองทุนรวม” ในข้อ 12 วรรคสอง ข้อ 16(2) ข้อ 64 ข้อ 65 และข้อ 66 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นคําว่า “โครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม”
ข้อ ๒ ให้แก้ไขคําว่า “โครงการ” หรือ “โครงการของกองทุนรวม” ในข้อ 37 ข้อ 51 ข้อ 75(1) ข้อ 80(1) ข้อ 81 วรรคสาม และข้อ 98 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นคําว่า “ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,982 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 31/2554
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้ง
และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการของ
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 82(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้งบุคลากรของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานดังต่อไปนี้
(ก) ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นบุคคลที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(ข) ผู้จัดการกองทุน ซึ่งเป็นบุคคลที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน
(2) การให้ความเห็นชอบและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตาม (1)
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีหมายความเช่นเดียวกับบทนิยามคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์
“ผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และผู้จัดการกองทุน
“กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม
“ทะเบียนผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
“ทะเบียนผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
หมวด ๑ การแต่งตั้งผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ในการแต่งตั้งผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทจัดการต้อง แต่งตั้งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 โดยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นพนักงานของบริษัทจัดการ ต้องดํารงตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน หรือดํารงตําแหน่งกรรมการ หรือผู้จัดการของบริษัทจัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน
(2) ต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่นที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่บริษัทจัดการแสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(1) รายงานการแต่งตั้งผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้จัดส่งล่วงหน้าก่อนการแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
(2) รายงานการสิ้นสุดการแต่งตั้งผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้จัดส่งภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่สิ้นสุดการแต่งตั้ง
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยรายชื่อผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแต่ละกองทุนให้แก่ผู้ลงทุนทราบตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยไว้ในรายงานหรือเอกสารที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(2) เปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้บริษัทจัดการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
หมวด ๒ การให้ความเห็นชอบ และปฏิบัติหน้าที่ของ
ผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ให้ถือว่าบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(1) เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้จัดการกองทุน เว้นแต่ในกรณีของผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จะมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ แต่ต้องใช้คุณสมบัติในการเป็นผู้ทดสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ในการขอความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนนั้น
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ ๗ ในกรณีที่บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน หรือทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ถูกถอดรายชื่อออกจากทะเบียนดังกล่าว ให้การให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสิ้นสุดลง
ข้อ ๘ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์โดยอนุโลม
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานโดยอนุโลม
ข้อ ๙ ในกรณีที่บุคคลได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 8 สํานักงานจะดําเนินการต่อบุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,983 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 1/2546 เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 1/2546
เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 58/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บุคคลที่มีหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวจัดทํารายงานตามแบบ 246-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,984 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 7/2550 เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 7/2550
เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 58/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 1/2546 เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บุคคลที่มีหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวจัดทํารายงานตามแบบ 246-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,985 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 23/2551 เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 23/2551
เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 58/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 24/2551 เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2550 เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ข้อ ๒ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บุคคลที่มีหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวจัดทํารายงานตามแบบ 246-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,986 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 37/2554 เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 37 /2554
เรื่อง แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2554 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บุคคลที่มีหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวจัดทํารายงานตามแบบ 246-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,987 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 38/2554 เรื่อง การขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน กรณีพิเศษ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 38 /2554
เรื่อง การขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน กรณีพิเศษ
----------------------------
โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน
เป็นบุคคลที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน แต่เนื่องจากวิกฤตการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอาจก่อให้
เกิดอุปสรรคและความไม่สะดวกแก่ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการยื่นขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน สํานักงานจึงออกคําสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีใน
ตลาดทุน และที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต
การดําเนินงาน ซึ่งระยะเวลาการให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลงก่อนหรือภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
เป็นผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ที่สํานักงานให้ความเห็นชอบต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,988 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 39/2554 เรื่อง การขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบและการยื่นคำขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน กรณีพิเศษ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 39 /2554
เรื่อง การขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบและ
การยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน กรณีพิเศษ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่มาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน และที่เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน กําหนดให้ผู้จัดการกองทุน ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการลงทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นบุคคลที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน แต่เนื่องจากวิกฤตการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดอุปสรรคและความไม่สะดวกแก่บุคคลดังกล่าวในการยื่นขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” หมายความว่า
(1) ผู้จัดการกองทุน
(2) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(3) ผู้จัดการลงทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
(5) ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ให้ขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบแก่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มีอายุการให้ความเห็นชอบจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่ง ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบต่อสํานักงานภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ การให้ความเห็นชอบดังกล่าวให้มีอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๓ ความในข้อ 2 มิให้นํามาใช้บังคับกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้บริหาร ที่มิใช่ตําแหน่งผู้จัดการ และมีอายุการให้ความเห็นชอบจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,989 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 37/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 37/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์
ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม
เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบการ” หมายความว่า ผู้ประกอบการตามข้อ 3
“โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox)
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย ทั้งนี้ เฉพาะในหน่วยหรือส่วนงานที่ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบการดังต่อไปนี้
(1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน
(2) ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ประกอบการตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ในการดําเนินการตามโครงการทดสอบ ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ โดยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่นที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งแนวทางที่ออกตามประกาศดังกล่าว
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบการจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกําหนดตามประเภทของผู้ประกอบการหรือประเภทผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนก็ได้
(2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
(3) เพื่อให้สํานักงานสามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้ผู้ประกอบการยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวต่อสํานักงาน ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีการดําเนินการที่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบการในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รวบรวมและประเมินข้อมูลของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับรูปแบบการประกอบการ โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวกับการประกอบการ
(2) มีกระบวนการดําเนินงานและระบบควบคุมภายในที่ครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
(ก) การจัดการ รวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่มีความมั่นคงปลอดภัย ถูกต้องครบถ้วน โดยพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษาหรือสื่อสารข้อมูล โดยต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสามารถระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งและผู้รับข้อมูลได้
(ข) การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอ แก่ผู้ใช้บริการ
(ค) การรักษาความลับของผู้ใช้บริการ
(ง) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ
(จ) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ที่เพียงพอ โดยต้องให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญ (confidentiality) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability)
(ฉ) การป้องกันผู้ประกอบการ ผู้บริหารและพนักงานของผู้ประกอบการ จากการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
(3) กรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบการต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ
(4) มีการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าการประกอบการนี้เป็นการประกอบการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการประกอบการของผู้ประกอบการในลักษณะเดียวกันที่มิได้เข้าร่วมโครงการทดสอบ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อนด้วย
(5) มีข้อตกลงกับผู้ใช้บริการทุกรายซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้
(ก) การกําหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการประกอบการอย่างชัดเจน และต้องไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการจํากัด ขัดขวางหรือลิดรอนสิทธิของผู้ใช้บริการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(ข) ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการประกอบการ
(ค) แนวทางหรือวิธีการในการจัดการทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบการ (ถ้ามี)
(ง) แนวทางหรือวิธีการในการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการยุติการประกอบการและช่องทางการติดต่อกับผู้ประกอบการ
(6) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการประกอบการต่อสํานักงานตามแผนการรายงานที่ได้แสดงไว้
ข้อ ๗ ผู้ประกอบการต้องดําเนินการตามแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ตามที่ได้แสดงไว้ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ใช้บริการและผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวมเป็นสําคัญ
หมวด ๒ ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับการประกอบการเป็น
สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบงานดังต่อไปนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) ระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แบบ delivery versus payment (DVP) โดยต้องกําหนดจุดเวลาเพื่อการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่ให้ถือว่าเป็นที่สุด (finality of settlement) ด้วย
(2) ระบบการจัดการ รวบรวม ประมวลผล เก็บรักษา และเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่มีความรัดกุม
ข้อ ๙ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบงานดังต่อไปนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) ระบบงานด้านการรับฝาก ถอน และโอนหลักทรัพย์ เพื่อให้การดําเนินการดังกล่าวมีความถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง มีความรัดกุมและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งสามารถนําหลักทรัพย์ไปใช้งานภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2) ระบบการจัดการ รวบรวม ประมวลผล เก็บรักษา และเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรับฝาก ถอน และโอนหลักทรัพย์ และข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับการประกอบการในงานของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(3) ระบบตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลที่สั่งให้ดําเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์
ในบัญชีของผู้ใช้บริการเป็นผู้ใช้บริการเองหรือบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากผู้ใช้บริการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการคณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,990 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 53/2560 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชนและการจัดการกองทุนรวม | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 53/2560
เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชน
และการจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559
“กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“ประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการลงทุน
คําว่า “ที่ปรึกษาทางการเงิน” “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” และ “บุคคลที่เกี่ยวข้อง”ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) การจัดการกองทุนรวมภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) อํานาจของสํานักงาน ให้เป็นไปตามหมวด 3
หมวด ๑ การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้บริษัทจัดการกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงาน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ทั้งหมดต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนโดยได้รับชําระราคาเต็มมูลค่าที่เสนอขายจากผู้ถือหน่วยลงทุน
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุมัติ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ บริษัทจัดการจะได้รับอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่อประชาชนเมื่อแสดงได้ว่า
(1) กองทุนรวมมีลักษณะเป็นไปตามข้อกําหนดที่ใช้ในการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับชื่อของกองทุนรวม
(2) โครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการมีรายละเอียดและรายการที่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยและประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในส่วนนี้และในหมวด 2
(3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ต้องแสดงได้ว่าการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนเป็นครั้งแรกได้อย่างแน่นอนแล้ว
ส่วน ๒ การยื่นคําขออนุมัติ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ยื่นคําขออนุมัติต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ให้บริษัทจัดการชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุมัติพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติที่ถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
ข้อ ๗ การยื่นคําขออนุมัติตามข้อ 6 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุมัติ โดยที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวต้องสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเป็นอิสระจากบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทุนรวม
(ข) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (ก)
(2) คําขออนุมัติและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(ก) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการ
(ข) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงิน
(ค) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทที่เป็นผู้จัดทํารายงานการประเมินค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน
(ง) ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทุนรวม
ข้อ ๘ เมื่อบริษัทจัดการได้ยื่นคําขออนุมัติพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติตามข้อ 6 แล้ว ให้บริษัทจัดการเผยแพร่ข้อมูลที่มีสาระตรงตามโครงการจัดการกองทุนรวมและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดต่อผู้ลงทุนผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๙ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนโดยการโฆษณาต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่มีลักษณะที่ทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศที่ใช้บังคับกับการโฆษณาเพื่อสนับสนุนการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุมัติภายใน 165 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วน
หมวด ๒ การจัดการกองทุนรวมภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เสนอขาย
หน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ เมื่อกองทุนรวมซึ่งได้รับอนุมัติตามส่วนที่ 2 ในหมวด 1 ได้ปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกแล้ว มิให้นําบทบัญญัติในหมวด 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 มาใช้บังคับ
ข้อ ๑๒ เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้ การจัดการกองทุนรวมภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ให้เป็นไปตามประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่กําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม
(1) หน้าที่ของบริษัทจัดการในการบริหารจัดการกองทุนรวมด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(2) ระบบงานสําหรับการบริหารและจัดการกองทุนรวม
(3) การดําเนินการเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม
(4) ข้อกําหนดเพื่อรองรับการดําเนินการของกองทุนรวมภายหลังการจัดตั้ง
(5) หลักเกณฑ์การบริหารและจัดการกองทุนรวม
(6) อํานาจสั่งการของสํานักงานเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัทจัดการหรือกองทุนรวม
ข้อ ๑๓ บริษัทจัดการต้องเริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้ดําเนินการดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งให้การอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๑๔ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวน บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๕ บริษัทจัดการต้องนําเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนตามข้อ 5(3) ไปลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุนรวมภายใน 6 เดือนนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งชําระราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทจัดการอาจนําเงินที่กันไว้สําหรับการชําระราคาในคราวถัด ๆ ไป มารวมคํานวณเป็นมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 15 ได้
ข้อ ๑๗ การคํานวณมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 1(3) (ก) (ข) (ค) และ (ง) แห่งประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้คํานวณตามราคาที่ได้จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินครั้งล่าสุด ซึ่งปรับปรุงด้วยการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) และการตัดจําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) ที่เกิดขึ้นภายหลังการประเมินมูลค่าทรัพย์สินล่าสุดนั้น ทั้งนี้ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือความรู้ความเชี่ยวชาญในการประเมินค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน
(2) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหุ้นตามข้อ 1(3) (จ) แห่งประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หากหุ้นดังกล่าวมิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนให้ใช้วิธีการคํานวณราคาตาม (1) กับทรัพย์สินของบริษัทที่กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้นโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงภาระภาษีของบริษัทดังกล่าว และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทที่กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้น
(3) กรณีที่เป็นการลงทุนในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้คํานวณตามราคาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) หลักเกณฑ์ของสมาคมที่กําหนดเกี่ยวกับการกําหนดราคาทรัพย์สิน
(ข) ในกรณีที่หลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดราคาของทรัพย์สินใด ให้ใช้ราคาที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะเข้าทํารายการในเรื่องที่มีประกาศกําหนดให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการขอบริษัทจัดการแล้ว ให้บุคคลที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ สามารถเข้าร่วมพิจารณาอนุมัติการเข้าทํารายการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณาอนุมัติการเข้าทํารายการดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อได้มีการเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ในข้อ 19 แล้ว
(1) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าลักษณะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลดังนี้
(ก) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่เป็นเจ้าของ ผู้มีอํานาจกํากับดูแลตามกฎหมาย หรือผู้มีความรับผิดชอบโดยตรงในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการทํารายการดังกล่าว
(ข) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (ก)
(2) กรรมการของบริษัทจัดการที่เป็นผู้แทนจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1)
ข้อ ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ 18 ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิพิจารณาอนุมัติการเข้าทํารายการตามข้อ 18 โดยให้แสดงไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน
(2) ในกรณีที่การเข้าทํารายการตามข้อ 18 ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุน ให้จัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งระบุเหตุผล ข้อสมมติฐานที่สําคัญ และปัจจัยที่นํามาประกอบการพิจารณาในการแสดงความเห็นนั้น โดยให้แสดงความเห็นดังกล่าวไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือหนังสือที่จัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขออนุมัติการเข้าทํารายการแล้วแต่กรณี
(ก) ความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของรายการต่อกองทุนรวม
(ข) ความเป็นธรรมของราคา และเงื่อนไขของรายการ
(ค) ผู้ถือหน่วยลงทุนควรลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรายการ พร้อมระบุเหตุผลประกอบ
ข้อ ๒๐ ให้กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนที่เป็นผู้แทนจากบุคคลที่เข้าลักษณะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น สามารถให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนและการจัดการทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทุนรวมได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 19(1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่บุคคลดังนี้
(1) เจ้าของ ผู้มีอํานาจกํากับดูแลตามกฎหมาย หรือผู้มีความรับผิดชอบโดยตรงในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําดังกล่าว
(2) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (1)
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอํานาจสํานักงานเกี่ยวกับการอนุมัติในส่วนที่ 3 ของหมวด 1 ในภาค 1 แห่งประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มาใช้บังคับกับการพิจารณาอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนตามหมวด 1 โดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะใดขณะหนึ่ง ในกรณีที่การดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติหรือที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด
อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงอํานาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) ให้บริษัทจัดการแก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 และ 2 ภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว
(3) เพิกถอนการอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๒๓ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,991 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ ขส. 8/2555 เรื่อง โครงสร้างองค์กร และอำนาจหน้าที่ขององค์กร | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ ขส. 8 /2555
เรื่อง โครงสร้างองค์กร และอํานาจหน้าที่ขององค์กร
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ตามที่สํานักงานได้มีประกาศที่ ขส. 3/2550 เรื่อง โครงสร้างองค์กร และอํานาจหน้าที่ขององค์กร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ล.ต. อํานาจหน้าที่ของสํานักงาน โครงสร้างการแบ่งส่วนงานภายในสํานักงาน หน้าที่ของแต่ละส่วนงาน และสถานที่ติดต่อของสํานักงาน มาเพื่อทราบโดยทั่วกันแล้ว นั้น
โดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจต่าง ๆ ของสํานักงาน โดยเพิ่มส่วนงานจากเดิม 17 ฝ่าย เป็น 21 ฝ่าย 2 ศูนย์ และปรับปรุงอํานาจหน้าที่ของส่วนงานต่าง ๆ ของสํานักงาน เพื่อให้การบริหารจัดการสํานักงานเป็นไปโดยสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสํานักงาน
สํานักงานจึงขอแจ้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนงานขององค์กรและอํานาจหน้าที่ของส่วนงานภายในสํานักงานมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน โดยขอยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ขส. 3/2550 เรื่อง โครงสร้างองค์กรและอํานาจหน้าที่ขององค์กร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ประกาศนี้แทน ดังนี้
ข้อ ๑ โดยที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สํานักงาน”) และกําหนดให้มีคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“คณะกรรมการ ก.ล.ต.”) เพื่อทําหน้าที่กํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ และต่อมาพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้มีคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเพิ่มเติม
ข้อ ๒ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคําแนะนําของรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จํานวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินหกคนเป็นกรรมการ โดยในจํานวนนี้อย่างน้อย ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านบัญชี และด้านการเงินด้านละหนึ่งคน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อํานาจดังกล่าวรวมถึง
(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับคําขออนุญาต คําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาตหรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(3) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
(4) ออกระเบียบ คําสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน ระบบพนักงานสัมพันธ์การบรรจุแต่งตั้งถอดถอน และวินัยพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน การกําหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ
(5) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังมีอํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดนิติบุคคล
เฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ดังต่อไปนี้
อํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
(1) กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(2) กํากับดูแลให้นิติบุคคลเฉพาะกิจปฏิบัติตามพระราชกําหนดดังกล่าว
(3) กําหนดประเภทของสินทรัพย์และหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ทําการแปลงสินทรัพย์
เป็นหลักทรัพย์
(4) ออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกําหนดดังกล่าว
(5) กําหนดค่าธรรมเนียมในการดําเนินการต่าง ๆ ตามพระราชกําหนดดังกล่าว
(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มอบหมาย
(7) วางระเบียบเกี่ยวกับการประชุมและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
(8) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกําหนดดังกล่าว
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาตลอดจนกํากับดูแลในเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อํานาจหน้าที่ดังกล่าวรวมถึง
(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
(2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับการขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอความเห็นชอบ การออกใบอนุญาต การรับจดทะเบียน การให้ความเห็นชอบ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ที่ได้จดทะเบียน หรือที่ได้รับความเห็นชอบ
(3) กําหนดขอบเขตและวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
(4) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับดูแลทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
(2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับการขออนุญาต การอนุญาต หรือการประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
(3) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว
ข้อ ๓ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกอบด้วยเลขาธิการเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายหนึ่งคน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลังหรือรองผู้อํานวยการที่ได้รับมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อีกไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสองคนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์
ให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่น โดยต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้รวมถึง
(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี นายทะเบียนหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(2) รายงานผลการดําเนินงานเป็นระยะต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
(3) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๔ สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินกิจการทั้งปวงของสํานักงาน ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวเลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และปฏิบัติงานอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือตามกฎหมายอื่น
อํานาจและหน้าที่ของสํานักงานดังกล่าวรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของสํานักงาน
(1) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จําหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจํานํา รับจํานอง แลกเปลี่ยนโอน รับโอน หรือ
ดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(2) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินและลงทุนหาผลประโยชน์
(3) กําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่น
คําขอต่าง ๆ
(4) รับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรือตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงานกําหนด
และโดยที่สํานักงานได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 ให้เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา สํานักงานจึงมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย
ข้อ ๕ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป โครงสร้างการดําเนินงานของสํานักงานโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แบ่งออกเป็นส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้
(1) ฝ่ายกฎหมายและพัฒนา
(2) ฝ่ายกํากับตลาด
(3) ฝ่ายกํากับบัญชีตลาดทุน
(4) ฝ่ายกํากับและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์
(5) ฝ่ายคดี
(6) ฝ่ายงานเลขาธิการ
(7) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ – ตราสารทุน
(8) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้และตราสารอื่น
(9) ฝ่ายบริหารทั่วไป
(10) ฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์
(11) ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์
(12) ฝ่ายพัฒนาบริษัท
(13) ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน
(14) ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน
(15) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
(16) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(17) ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ
(18) ฝ่ายวิเคราะห์และตรวจสอบธุรกิจหลักทรัพย์
(19) ฝ่ายวิจัยและบริหารความเสี่ยงตลาดทุน
(20) ฝ่ายส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน
(21) ฝ่ายส่งเสริมความสัมพันธ์องค์กร
(22) ศูนย์คดีปกครอง
(23) ศูนย์ส่งเสริมบรรษัทภิบาล
ข้อ ๖ ฝ่ายกฎหมายและพัฒนา มีหน้าที่
(1) ศึกษา พัฒนา ยกร่าง และแก้ไขกฎหมาย
(2) เสนอข้อเท็จจริงและปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ
(ก) คณะอนุกรรมการกฎหมาย
(ข) อนุญาโตตุลาการ
(3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อกฎหมาย รวมทั้งยกร่างคําสั่งและสัญญาต่าง ๆ ทั้งที่ใช้กับงานภายในของสํานักงาน กรรมการ และพนักงานของสํานักงาน
(4) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๗ ฝ่ายกํากับตลาด มีหน้าที่
(1) พัฒนาและกํากับดูแลองค์กรต่าง ๆ ในตลาดทุนให้ได้มาตรฐานและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ระบบการซื้อขายทางเลือก (alternative trading system) สํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating agency) เป็นต้น ซึ่งรวมถึงการให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการตรวจสอบ
(2) ติดตามสภาพการซื้อขายในตลาดต่าง ๆ ในภาพรวม
(3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๘ ฝ่ายกํากับบัญชีตลาดทุน มีหน้าที่
(1) พัฒนาด้านการบัญชีที่เกี่ยวกับตลาดทุน
(2) ให้ความเห็นชอบและกํากับดูแลผู้สอบบัญชี ตั้งแต่การวางกฎเกณฑ์กํากับดูแล การติดตาม การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง
(3) ตรวจทานการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในกรณีต่าง ๆ เช่น การพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ การสุ่มตรวจทานงบการเงินรายไตรมาสและรายปี การพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับงบการเงิน เป็นต้น
(4) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการบัญชีและการสอบบัญชี
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๙ ฝ่ายกํากับและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์มีหน้าที่
(1) พัฒนาและกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท ซึ่งรวมถึงธุรกิจจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ธุรกิจค้าและจัดจําหน่ายตราสารหนี้ ธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน (LBDU) และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้รับฝากหลักทรัพย์ บริษัทจัดอันดับกองทุนรวม นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) เป็นต้น) รวมถึงประสานงานและกํากับดูแลการทําหน้าที่ของสมาคมหรือองค์กรกํากับดูแลตนเอง
(2) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๐ ฝ่ายคดี มีหน้าที่
(1) พิจารณาการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับนิติบุคคลและผู้ประกอบวิชาชีพที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับเรื่องมาจากส่วนงานต้นเรื่อง
(2) เสนอข้อเท็จจริงและปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ
(ก) คณะกรรมการเปรียบเทียบ
(ข) คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550
(3) ประสานงานและติดตามคดีที่อยู่ในกระบวนการดําเนินคดีอาญา
(4) เป็นผู้แทนหรือให้คําปรึกษาด้านกฎหมายและคดีในกรณีที่มีผู้ยื่นฟ้องคดีแพ่งหรืออาญาต่อสํานักงาน กรรมการ และพนักงานของสํานักงาน ในคดีที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑ ฝ่ายงานเลขาธิการ มีหน้าที่
(1) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการและธุรการของคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน และผู้บริหารระดับสูง
(2) กลั่นกรองงานที่เสนอผู้บริหารระดับสูง
(3) กําหนดท่าทีในการสื่อสารประเด็นที่เป็นข่าว รวมทั้งงานสื่อมวลชนสัมพันธ์
(4) ดําเนินการด้านสื่อสารองค์กรผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น Quarterly Bulletin และรายงานประจําปี เป็นต้น
(5) ศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนและประชาชนทั่วไป
(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ – ตราสารทุน มีหน้าที่
(1) ส่งเสริมและพัฒนาการระดมทุนแบบมีกลยุทธ์ รวมถึงการส่งเสริมกลุ่มธุรกิจ
ที่มีศักยภาพเชิงยุทธศาสตร์ และนิติบุคคลร่วมลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น private equity และ venture capital fund เป็นต้น
(2) วางหลักเกณฑ์และพิจารณาคําขออนุญาตเกี่ยวกับ
(ก) ตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และตราสารกึ่งทุน
(ข) ตราสารการเงินเพื่อการลงทุนใน real assets เช่น property fund/REITs และกองทุนรวมสาธารณูปโภค (infrastructure fund) เป็นต้น
(3) ให้ความเห็นชอบ วางหลักเกณฑ์ในการทําหน้าที่ พิจารณาเรื่องร้องเรียน รวบรวมข้อมูลกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําหน้าที่บกพร่องของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
(4) ขึ้นทะเบียนรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้และตราสารอื่น มีหน้าที่
(1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกตราสารประเภทใหม่ ๆ ในเชิงรุก
(2) วางหลักเกณฑ์และพิจารณาคําขออนุญาตเกี่ยวกับ
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้และตราสารที่มีอนุพันธ์แฝง
(ข) การอนุมัติจัดตั้งและแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการในการจัดตั้งกองทุน รวมทั้งข้อกําหนดเกี่ยวกับการลงทุน
(ค) การออกตราสารประเภทอื่น ๆ เช่น structured products เป็นต้น
(3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔ ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่
(1) บริหารงานพัสดุและธุรการทั่วไป
(2) รับผิดชอบงานการลงทุน การเงิน การบัญชี และการงบประมาณของสํานักงาน
(3) รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูล ข่าวสาร และทรัพย์สินของสํานักงาน รวมถึงการตรวจสอบประวัติบุคลากร
(4) รับผิดชอบงานดูแลรักษาอาคารสถานที่ทํางาน
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๕ ฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ มีหน้าที่
(1) ให้ใบอนุญาต/รับขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งหมด เช่น นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นบริษัทในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน เป็นต้น รวมถึงพิจารณาอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจ
(2) ให้ความเห็นชอบบุคลากรที่ปฏิบัติงานในธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท เช่น ผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้บริหาร ผู้ขายตราสาร ผู้จัดการกองทุน เป็นต้น
(3) พิจารณาเรื่องร้องเรียนและรวบรวมข้อมูลกรณีที่สงสัยว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนมีการกระทําความผิด รวมถึงการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต
(4) ดําเนินการในฐานะนายทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 รวมทั้งการตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง การเผยแพร่ความรู้ในเรื่องบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และการให้สมาชิกกองทุนตระหนักถึงการรักษาและปกป้องสิทธิประโยชน์
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๖ ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ มีหน้าที่
(1) ยกร่างและปรับปรุงประกาศและข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการกํากับดูแล สอดคล้องกับหลักกฎหมายและข้อกําหนดอื่น ๆ และเกื้อหนุนต่อการพัฒนาของภาคธุรกิจ
(2) ส่งเสริมให้ประกาศและข้อบังคับอ่านเข้าใจได้ง่าย เช่น การจัดทําคู่มือฉบับประชาชน เป็นต้น
(3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประกาศและข้อบังคับ
(4) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๗ ฝ่ายพัฒนาบริษัท มีหน้าที่
(1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่น การควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้าง การซื้อกิจการโดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ (leverage buy out) เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียน และบริษัทที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียน
(2) กํากับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ซึ่งรวมถึง การวางหลักเกณฑ์กํากับดูแล การพิจารณาคําขอ การผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล รวมทั้งการกํากับดูแลการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาการเงินที่เกี่ยวข้อง
(3) ติดตามการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(4) พัฒนาระบบและสอบทานการเปิดเผยข้อมูล ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หลังการเสนอขายหลักทรัพย์
(5) พิจารณาเรื่องร้องเรียนและกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิด ที่เกี่ยวข้องกับ (2) – (4) รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของที่ปรึกษาการเงิน และผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังกล่าว
(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๘ ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายในมีหน้าที่
(1) ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้แน่ใจว่าการดําเนินงานภายใน
(ก) เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่กําหนด
(ข) มีระบบการควบคุมภายในที่รัดกุม
(ค) ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ของสํานักงาน
(ง) เป็นไปตามแนวทางการเสริมสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี
(2) เสนอข้อเท็จจริงและปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ
ฃ(3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในที่ดี
(4) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุนมีหน้าที่
(1) ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทําที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายและการกระทําความผิดในมาตราที่สําคัญอื่น
(2) ติดตามข่าวสารและพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรม
ในการซื้อขาย
(3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ
(4) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่
(1) ศึกษาและติดตามเทคนิคการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินงานด้านพนักงานใหม่ ๆ เพื่อนํามาปรับใช้ในงานสํานักงาน
(2) รับผิดชอบงานด้านบริหารบุคคลของสํานักงาน ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้างองค์กร จัดทําแผนอัตรากําลัง การสรรหาพนักงาน การประเมินผล และการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ
(3) รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาพนักงาน รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นําสําหรับผู้บริหาร การฝึกอบรม การพัฒนาสายงานอาชีพ การพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพและการจัดทําแผนสืบทอดตําแหน่ง รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้
(4) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานรวมถึงการสื่อสารและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทํางานให้เป็นองค์กรน่าทํางาน
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๑ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่
(1) ติดตามและนําเสนอการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกนํามาใช้ในงานด้านต่าง ๆ ของสํานักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารการจัดการเครือข่ายข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
(3) วิเคราะห์ จัดหา และออกแบบระบบงานเพื่อการใช้งานภายใน
(4) บริหารจัดการระบบสารสนเทศกลาง
(5) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๒ ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ มีหน้าที่
(1) ศึกษา กําหนดท่าที นโยบาย และยุทธศาสตร์ของตลาดทุนไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมถึงการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมและสินค้าใหม่ ๆ ในตลาดทุน และการมีพัฒนาการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็น
(2) กําหนดท่าที นโยบาย และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ในการกํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุน
(3) ผลักดันและบริหารให้มีการดําเนินการตามท่าที นโยบาย และยุทธศาสตร์ที่กําหนดตาม (1) และ (2)
(4) สร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศในเชิงรุก และส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาด
(5) ผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานตลาดทุนไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล
(6) เป็นศูนย์กลางในการติดต่อและประสานงานกับต่างประเทศ
(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๓ ฝ่ายวิเคราะห์และตรวจสอบธุรกิจหลักทรัพย์ มีหน้าที่
(1) ติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นบริษัทในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) เป็นต้น
(2) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และรวบรวมข้อมูลกรณีที่สงสัยว่าบริษัทผู้ประกอบธุรกิจผู้บริหาร และผู้จัดการกองทุนปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง
(3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๔ ฝ่ายวิจัยและบริหารความเสี่ยงตลาดทุน มีหน้าที่
(1) เป็นศูนย์ข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อตลาดทุนทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ รวมทั้งโครงสร้างตลาดทุนในเชิงจุลภาค (micro structure of market) และพิจารณาผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการกํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุน
(2) เป็นศูนย์กลางในการจัดการ systemic risk และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว
(3) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่รองรับการบริหารจัดการในตลาดทุน
(4) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๕ ฝ่ายส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน มีหน้าที่
(1) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการเงิน การลงทุน และตลาดทุนให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป
(2) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๖ ฝ่ายส่งเสริมความสัมพันธ์องค์กร มีหน้าที่
(1) เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในเชิงรุก ผ่านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศ
(2) ดําเนินการด้านสื่อสารองค์กรผ่านสื่อและกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เว็บไซต์ กิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
(3) ดําเนินการสื่อสารภายในองค์กร
(4) พัฒนาและดําเนินการให้องค์กรทําหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)
(5) ดําเนินการเกี่ยวกับห้องสมุดของสํานักงาน
(6) ทําหน้าที่เป็น “ศูนย์ระดมทุน” ประสานงานเชิงรุกกับองค์กรและภาคธุรกิจต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการระดมทุนตามแผนกลยุทธ์
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กร สมาคม และภาคธุรกิจต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจมีบทบาทในการพัฒนาตลาดทุนและการกํากับดูแลตนเองมากขึ้น เช่น โครงการ Institute of Independent Investment Advisor (IIA) เพื่อส่งเสริมให้มีจํานวนผู้วิเคราะห์ในตลาดทุนมากขึ้น และจัดให้มีตัวชี้วัดอุตสาหกรรม (industry indicator) ที่น่าเชื่อถือ โครงการ Central Suitability Bureau เพื่อให้มีส่วนงานกลาง ทําหน้าที่ประเมินความเหมาะสมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การลงทุน ฐานะการเงิน และระดับความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้ของลูกค้า เป็นต้น
(8) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๗ ศูนย์คดีปกครอง มีหน้าที่
(1) เสนอแนะและให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางปกครองของสํานักงาน
(2) พิจารณาการอุทธรณ์ในคดีปกครอง
(3) ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการที่ทําหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์
(4) เป็นผู้แทนเพื่อแก้ต่างให้สํานักงาน กรรมการ ก.ล.ต. และพนักงานของสํานักงาน ในกรณีที่ถูกฟ้องร้องต่อศาลปกครองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่
(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘ ศูนย์ส่งเสริมบรรษัทภิบาล มีหน้าที่
(1) กําหนดแนวทางการเสริมสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี การดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) สําหรับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการต่อต้านการทุจริตและคอรัปชั่น
(2) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๙ ที่ทําการของสํานักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 10 และชั้น 13-16 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ เลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2695–9999 และ 0–2263–6499 โทรสาร 0–2256-7711
การติดต่อสํานักงาน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถกระทําผ่านสํานักงานได้ตามสถานที่ทําการข้างต้น หรือทาง email: [email protected]
นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ [www.sec.or.th](http://www.sec.or.th)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,992 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 9/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 9/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ขึ้นทะเบียน
กับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 21/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนแก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลา 9.00 - 15.30 น. ให้รายงานภายใน 30 นาที
นับแต่เวลาที่มีการซื้อขาย (trade time)
(2) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นภายหลังเวลา 15.30 น. ให้รายงานภายในเวลา 9.30 น.
ของวันทําการถัดไป
ข้อ ๓ รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนต้องเป็นไปตามแบบและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,993 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ.14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำสรุปข้อมูลสำคัญของหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 14 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของ
หุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน
ซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของหุ้นกู้ ให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตระบุข้อมูลสาระสําคัญของหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของหุ้นกู้ดังกล่าว ตามรายละเอียดที่กําหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,994 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 19/2555 เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามโครงการ "หุ้นกู้ SMEs" | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สม. 19/2555
เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย
หุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามโครงการ “หุ้นกู้ SMEs”
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้รับการลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่งของอัตราค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่งหรือค้าปลีก แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) มีสินทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วไม่เกินสองพันล้านบาท
(ค) ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “หุ้นกู้ SMEs”
(ง) ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(2) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556
(3) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่เคยได้รับการลดอัตราค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศนี้
ข้อ ๒ มิให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําและวิธีการชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ มาใช้บังคับกับการคํานวณและการชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,995 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2555 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมคาร์บอน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21 /2555
เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
คําว่า “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” และ “ข้อผูกพัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
ข้อ ๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม
(2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
(3) มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม
(4) การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(5) ข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน
(6) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน
(7) การปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม
(8) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม
(9) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม
(10) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
(11) การเลิกกองทุนรวม
ข้อ ๔ รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้
(1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีคําว่า “กองทุนรวมคาร์บอน” นําหน้า
(2) ชื่อบริษัทจัดการกองทุนรวม
(3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม
(5) ลักษณะของกองทุนรวม เป็นกองทุนรวมที่เสนอขายเฉพาะกับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(6) จํานวนเงินทุนโครงการ นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และขั้นตอนการดําเนินการ (ถ้ามี)
(7) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน
(8) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย
(ข) สิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน
ข้อ ๕ รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับรายละเอียดของทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนหรือมีไว้ และอัตราส่วนการลงทุน
ข้อ ๖ รายการมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับวิธีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
ข้อ ๗ รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน มูลค่าขั้นต่ําในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุน การหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่ได้รับไว้แล้ว และการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน
ข้อ ๘ รายการข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดว่าผู้ถือหน่วยลงทุนต้องเป็นผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยเท่านั้น
(2) ข้อกําหนดว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
ข้อ ๙ รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(2) ข้อกําหนดว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๑๐ รายการการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) การมอบหมายงานในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม ให้แก่บุคคลอื่น (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องระบุขอบเขตของการมอบหมาย และชื่อผู้รับมอบหมายด้วย
(2) การแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของกองทุนรวม เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย หรือผู้สอบบัญชี เป็นต้น
ข้อ ๑๑ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพัน และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าวหากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้นให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว
(2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพัน ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง
(3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพัน
ข้อ ๑๒ รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า เมื่อปรากฏเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวม
(1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมลดลงต่ํากว่าอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการเพื่อให้ทรัพย์สินของกองทุนรวมมีมูลค่ารวมกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
(3) สํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(4) สํานักงานมีคําสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
ข้อ ๑๓ การระบุข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมได้ โดยถือว่าได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หรือข้อกําหนดอื่นในทํานองเดียวกัน ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,996 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22/2555 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 22/2555
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 4 และข้อ 30(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 42 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอน
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
คําว่า “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ข้อผูกพัน” “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย”
“เงินทุนโครงการ” “ผู้ดูแลผลประโยชน์” และ “โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคาร์บอน
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
(2) ไม่แสดงข้อความที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนรวมจะใช้วิธีการสื่อความหมายโดยแผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนการสื่อความหมายโดยข้อความก็ได้
ข้อ ๔ หนังสือชี้ชวนให้จัดทําขึ้นโดยแบ่งออกเป็นสามส่วนดังต่อไปนี้
(1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
(2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้โครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นข้อมูลสําหรับส่วนนี้
(3) ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําขึ้นใหม่เพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม ต้องมีรายการและข้อมูลตามวรรคหนึ่งที่ปรับปรุงเป็นปัจจุบัน และมีรายการและข้อมูลตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในข้อ 15
ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าหนังสือชี้ชวนจัดทําขึ้นโดยมีข้อความหรือรายการที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบถ้วน สํานักงานอาจมีคําสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลหรือรายการเพิ่มเติมได้
ข้อ ๖ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน โดยต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ลงทุนจะเข้าใจได้ ซึ่งประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและชื่อย่อของกองทุนรวม
(2) ชื่อบริษัทจัดการกองทุนรวม
(3) ประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
(4) ประเภทของผู้ลงทุนซึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยเท่านั้น
(5) แผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม
(6) ปัจจัยความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกองทุนรวม
(7) ผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินลงทุน และปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเงินลงทุนและผลตอบแทนของกองทุนรวม
(8) คําเตือนที่สําคัญ โดยให้แสดงคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนที่มีนัยสําคัญและผู้ลงทุนควรให้ความสําคัญเป็นพิเศษ
(9) ลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม
(10) การซื้อขายและโอนหน่วยลงทุน
(11) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม
(12) ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
และผู้ถือหน่วยลงทุน
(13) คําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน
(14) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุน
(15) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๗ รายการแผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงในตําแหน่งความเสี่ยงระดับสูงสุด
ข้อ ๘ รายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแบ่งชนิด ตลอดจนสิทธิประโยชน์และความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย
(2) จํานวนเงินทุนโครงการ และนโยบายการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม (ถ้ามี)
(3) สรุปอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
(4) อายุของกองทุนรวม
(5) วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม
(6) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนในกองทุนรวม
(7) รอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวม
ข้อ ๙ รายการการซื้อขายและโอนหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบายการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) การสงวนสิทธิไม่ขายหน่วยลงทุนกองทุนรวม การเลื่อนกําหนดเวลาชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว และการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน
(3) วิธีการโอนหน่วยลงทุน เงื่อนไข และข้อจํากัดการโอน
(4) การออกและส่งมอบหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๐ รายการบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวมให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และนายทะเบียนหน่วยลงทุน
(2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องจัดให้มีข้อความว่า นอกจากหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้ดูแลผลประโยชน์ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย
ข้อ ๑๑ รายการค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน กรณีกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนโดยมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ให้แสดงรายการค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน แยกตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด
ข้อ ๑๒ รายการคําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คําเตือนที่แสดงว่า “กองทุนรวมคาร์บอน เป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะพิเศษและมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมอื่น จึงเป็นกองทุนรวมที่เสนอขายเฉพาะกับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนทั่วไปเท่านั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุนโดยคํานึงถึงวัตถุประสงค์การลงทุนและฐานะการเงินของผู้ลงทุนเอง”
(2) คําเตือนที่แสดงว่า “กองทุนรวมนี้มีนโยบายการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิต ซึ่งอาจไม่มีสภาพคล่องในตลาด มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวจึงอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านสภาพคล่อง รวมทั้งอาจมีนโยบายการลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (กรณีกองคาร์บอนทั่วไป) มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวจึงอาจใช้การประมาณมูลค่ายุติธรรมตามวิธีการ สมมติฐาน และปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมาณมูลค่าเงินลงทุนนั้น”
(3) คําเตือนว่า “การพิจารณาร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ มิได้เป็นการแสดงว่าสํานักงานได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่เสนอขายนั้น”
(4) คําเตือนในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว
(5) คําแนะนําว่า ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมนี้จากช่องทางใด
คําเตือนตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้แสดงไว้ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ และคําเตือนและคําแนะนําตามวรรคหนึ่ง (3) (4) และ (5) ให้แสดงไว้ในส่วนท้ายของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
การพิมพ์คําเตือนและคําแนะนําต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติของหนังสือชี้ชวนนั้น
ข้อ ๑๓ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ให้อยู่ส่วนท้ายของหนังสือชี้ชวน โดยต้องมีข้อความที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สอบทานข้อมูลในหนังสือชี้ชวนฉบับนี้แล้ว ด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด และไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ข้อ ๑๔ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วนต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(2) ผู้รับมอบอํานาจจากบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๑๕ ในกรณีหนังสือชี้ชวนที่จัดทําขึ้นใหม่เพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม ให้แสดงรายการต่อไปนี้เพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
(1) เงินทุนโครงการ และวันที่กองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้เพิ่มเงินทุนโครงการ (ถ้ามี)
(2) รายการการลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม โดยให้อยู่ในส่วนถัดจากรายการค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) รายละเอียดการลงทุน โดยแสดงจํานวนและสัดส่วนการลงทุน และจัดกลุ่มตามประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
(ข) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวม รวมถึงความคืบหน้าของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กองทุนรวมลงทุน
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,997 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 28/2555 เรื่อง การรายงานเหตุการณ์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังจากการเสนอขายหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 28/2555
เรื่อง การรายงานเหตุการณ์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ภายหลังจากการเสนอขายหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน
ในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๒ ให้กองทรัสต์รายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(1) เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบให้ต้องเลิกกองทรัสต์
(2) เหตุการณ์ที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นเหตุแห่งการเลิกกองทรัสต์ หรือเหตุการณ์อื่นที่ทําให้ทราบกําหนดการเลิกกองทรัสต์ล่วงหน้า
ข้อ ๓ รายงานตามข้อ 2 ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ได้แก่ ชื่อ อายุ วันที่ก่อตั้งกองทรัสต์ และจํานวนเงินทุนของกองทรัสต์ ชื่อผู้จัดการกองทรัสต์ และชื่อทรัสตี
(2) รายละเอียดของเหตุการณ์ตามข้อ 2 เช่น วันที่เกิดเหตุการณ์ และสาเหตุที่ทําให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นต้น
(3) แผนการแก้ไขผลกระทบอาจเกิดขึ้นกับกองทรัสต์ ในกรณีที่เป็นเหตุการณ์ตามข้อ 2(1)
(4) ข้อมูลอื่นใดที่จําเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,998 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 11/2556 เรื่อง การระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นการชั่วคราว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 11/2556
เรื่อง การระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย
หุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นการชั่วคราว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 76(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว และแบบแสดงรายการข้อมูลนั้นมีผลใช้บังคับแล้ว หากบุคคลดังกล่าวไม่ปรับปรุงข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นให้เป็นปัจจุบันด้วยการยื่นข้อมูลที่ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมีหน้าที่จัดทําและส่งตามมาตรา 56 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวระงับเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๒ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ถูกสั่งระงับการมีผลใช้บังคับตามข้อ 1 เริ่มมีผลใช้บังคับอีกครั้ง หากผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นได้ปรับปรุงข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งข้อมูลในหนังสือชี้ชวนที่ใช้ในการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นด้วยการยื่นข้อมูลที่มีหน้าที่จัดทําและส่งตามมาตรา 56 แล้ว ทั้งนี้ การมีผลใช้บังคับอีกครั้งของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวจะมีผลให้ผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นสามารถเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีผลใช้บังคับครั้งแรกตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,999 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 16/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดสำหรับการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับกองทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 16 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดสําหรับ
การโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับกองทุน
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” หมายความว่า กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมมีประกันตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมที่ระบุอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนไว้อย่างชัดเจนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ ๒ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ ในการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(1) ผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน
(2) อันดับหรือรางวัลที่กองทุนได้รับ
(3) การส่งเสริมการขายกองทุนรวม
(4) การประมาณการผลตอบแทนในอนาคต
(5) การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนมีประกัน
ข้อ ๓ การโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาที่มีการระบุผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานที่เป็นตัวเลขในอดีตให้กระทําผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ทั้งนี้ การแสดงข้อมูลดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น
(2) ข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ได้จัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าว และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
(3) ต้องจัดให้มีคําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีตของ (ให้ระบุว่าเป็นกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล) มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต”
(4) การโฆษณาที่แสดงการเปรียบเทียบหรือแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนกับการลงทุนโดยวิธีอื่น ต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน
ข้อ ๔ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่กองทุนได้รับ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) การโฆษณาอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) อันดับหรือรางวัล ต้องเป็นข้อมูลที่มาจากการจัดอันดับหรือผู้ให้รางวัลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้จัดอันดับหรือให้รางวัลโดยใช้วิธีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
(ข) มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ในหน้าเดียวกัน
1. อันดับ ชื่อรางวัล หรือประเภทรางวัลที่ได้รับ
2. เวลาหรือช่วงเวลาที่ได้รับรางวัล
3. ชื่อสถาบันที่เป็นผู้ให้รางวัลหรือเป็นผู้จัดอันดับรางวัล
4. คําเตือนตามข้อ 3(3)
(2) การโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลอื่นใดนอกเหนือจาก (1) ให้แสดงข้อมูลเฉพาะตาม (1) (ข) 1. ถึง 3.
ข้อ ๕ การโฆษณากองทุน ต้องมีข้อความหรือคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อความที่ระบุช่องทางในการขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน
(2) คําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
(3) การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาวและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาคู่มือภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี
(4) ในกรณีที่เป็นการโฆษณากองทุนรวมที่กําหนดว่าจะเลิกโครงการก่อนครบอายุโครงการหากหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามอัตราที่กําหนดไว้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อความอธิบายประกอบอัตราที่กําหนดไว้ว่า “ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงการกําหนดเป้าหมายที่เป็นเหตุให้เลิกโครงการเท่านั้น ไม่ใช่การประมาณการหรือการรับประกันผลตอบแทน”
(5) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่ากองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ................... เมื่อวันที่ .......................... มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในการเสนอขาย และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของกองทุนรวม”
ข้อ ๖ การโฆษณาการส่งเสริมการขายกองทุนรวม ต้องมีข้อมูลสําคัญของกองทุนรวม อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อกองทุนรวม
(2) ประเภทของกองทุนรวม
(3) นโยบายการลงทุน
(4) ความเสี่ยงที่สําคัญของกองทุนรวม
(5) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวม (ถ้ามี)
ในกรณีที่การโฆษณาการส่งเสริมการขายกลุ่มกองทุนรวมที่ไม่ใช่เพื่อกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งเป็นการเฉพาะ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่งของทุกกองทุนรวมได้อย่างครบถ้วน ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุถึงข้อมูลของกองทุนรวมแต่ละกองโดยสังเขป และมีคําเตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดําเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากบุคคลที่ขายหน่วยลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ คําเตือนดังกล่าวต้องชัดเจนและเด่นชัดเพื่อให้ผู้ลงทุนเห็นได้ง่ายด้วย
ข้อ ๗ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมจะกระทําได้เมื่อเป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมมีประกัน
(2) กองทุนรวมที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมหรือตลอดรอบการลงทุนในแต่ละรอบ
(3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง
(4) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ ๘ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมตามข้อ 7(2) (3) หรือ (4) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาดังกล่าว ให้กระทําผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
(2) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น
(3) มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 7(2) โดยมีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่ปรากฏในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน
(ก) ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน
(ข) อัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินที่จะลงทุนแต่ละชนิด
(ค) สัดส่วนการลงทุน
(ง) ระยะเวลาการลงทุน
(จ) อายุของกองทุนรวม
(ฉ) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม
(4) ในกรณีที่เป็นการโฆษณากองทุนรวมตามข้อ 7(3) หรือ (4) ต้องมีการแสดงและเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(ก) ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมซึ่งมีการระบุข้อมูลในลักษณะดังนี้
1. มีการระบุสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตและความเสี่ยงที่อาจทําให้ผลตอบแทนหรือผลการดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ และ
2. มีการระบุประมาณการรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ที่ได้รับการรับรองจากผู้ประเมินค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งจัดทํารายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่กองทุนใช้อ้างอิงในการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานหรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดังกล่าวมีการเปิดเผยสมมติฐานที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
(5) ในกรณีที่เป็นการนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมตามข้อ 7(3) หรือ (4) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) แสดงในรูปอัตราเงินปันผล โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทําอัตราเงินปันผลดังกล่าว ต้องมาจากประมาณการงบการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานว่าสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่กองทุนรวมต้องปฏิบัติ
(ข) ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการต้องเป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างรอบปีบัญชีที่มีการโฆษณาประมาณการดังกล่าว โดยอาจใช้ข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งรอบปีบัญชี
(ค) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือสิทธิอื่นใดในทํานองเดียวกัน ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการไม่รวมส่วนที่เป็นเงินคืนทุน
(6) ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ อธิบายประกอบตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต
(ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 7(2) ให้มีข้อความประกอบว่า “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้”
(ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 7(3) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ ..................บาท และจากอัตราการให้เช่าพื้นที่ ที่ .....................% ซึ่งเป็นเพียงการแสดงการประมาณการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่......................................................และไม่อาจรับรองผลได้”
(ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 7(4) ให้มีข้อความประกอบว่า ว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ .............. บาท และจากสมมติฐานว่า ..................(ให้ระบุสมมติฐานหลักที่ทําให้เกิดที่มาของรายได้ที่กองทุนรวมจะได้รับ เช่น อัตราการใช้กําลังการผลิต หรือสัดส่วนรายได้ที่กองทุนได้รับ หรืออัตราการให้บริการของกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้น) ซึ่งเป็นเพียงการแสดงประมาณการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่ .............................................................. และไม่อาจรับรองผลได้”
ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (3) และข้อความตามวรรคหนึ่ง (6) ต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) และขนาดตัวอักษรของข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (3) และข้อความตามวรรคหนึ่ง (6) ต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา
ข้อ ๙ การโฆษณากองทุนรวมมีประกัน ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการประกันหรือผู้ประกันของกองทุนรวมดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,000 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.