title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2559 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2559 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และตามมติที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นกระทรวงการคลัง “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ข้อ ๓ ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อความที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 4 (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 5 (5) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ซึ่งเป็นไปตามข้อ 6 (6) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 7 (7) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 8 (8) รายการผลบังคับของมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 9 (9) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 10 (10) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 11 (11) รายการอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๔ รายการอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันแล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทจัดการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการรายใหม่เข้าทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่บริษัทจัดการรายใหม่ ข้อ ๕ รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการไม่ครบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๖ รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนบริษัทจัดการจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนดเท่านั้น ข้อ ๗ รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนหน่วยลงทุนถูกต้องและการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการสามารถปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ ๘ รายการการแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่หากมีการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ ข้อ ๙ รายการผลบังคับของมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ ๑๐ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยที่แสดงว่าการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อ ๑๑ รายการการชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ต้องมีสาระสําคัญที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งบทบัญญัติดังกล่าว ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,701
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 54/2560 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 54/2560 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวม” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2559 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 9/2559 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 “ข้อ 2/1 ข้อผูกพันต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นกระทรวงการคลัง ข้อผูกพันให้เป็นไปตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 (2) ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) ข้อผูกพันให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,702
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2559 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2559 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการ ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการ “กองทุนรวม”[1](#fn1) หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ข้อ 2/11 ข้อผูกพันต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นกระทรวงการคลัง ข้อผูกพัน ให้เป็นไปตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 (2) ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) ข้อผูกพันให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม ข้อ 3 ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อความที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 4 (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 5 (5) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ซึ่งเป็นไปตามข้อ 6 (6) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอน หน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 7 (7) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 8 (8) รายการผลบังคับของมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 9 (9) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 10 (10) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 11 (11) รายการอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ 4 รายการอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการ จัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันแล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทจัดการ บริษัทจัดการต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการรายใหม่เข้าทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่บริษัทจัดการรายใหม่ ข้อ 5 รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการไม่ครบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย ข้อ 6 รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนบริษัทจัดการจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนดเท่านั้น ข้อ 7 รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนหน่วยลงทุนถูกต้องและการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการสามารถปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ 8 รายการการแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่หากมีการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ ข้อ 9 รายการผลบังคับของมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ 10 รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยที่แสดงว่าการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อ 11 รายการการชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ต้องมีสาระสําคัญที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งบทบัญญัติดังกล่าว ข้อ 12 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน --- 1.
1,703
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ชั่วคราวในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ชั่วคราวในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขาย หุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) เพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ระยะเวลาการใช้บังคับชั่วคราวจะไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒ เพื่อให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกสามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ซึ่งเป็นผู้ลงทุนที่จะสนับสนุนให้เกิดความเป็นไปได้ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนดังกล่าวจนครบตามจํานวนที่ประสงค์จะเสนอขาย และในขณะเดียวกันเพื่อป้องกันมิให้มีการเสนอขายหุ้นให้กับผู้ลงทุนเฉพาะรายโดยมีวัตถุประสงค์เป็นประการอื่นที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุน จึงให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฉบับนี้ ข้อ ๓ บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกต่อสํานักงานแล้ว บริษัทมหาชนจํากัดดังกล่าวไม่สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดภายใต้ภาค 3 ของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้อีก จนกว่าหุ้นของบริษัทได้เข้าซื้อขายเป็นวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัดประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ในระหว่างช่วงเวลาที่กําหนดในข้อ 3 หากบริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนดังกล่าว (1) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่อนุมัติให้คณะกรรมการของบริษัทเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ได้ โดยการกันหุ้นบางส่วนที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออกหุ้นเพิ่มทุนเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกไว้แล้ว มาเสนอขายและจัดสรรให้ผู้ลงทุนดังกล่าว (2) เสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ข) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทมหาชนจํากัดตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (ค) ไม่เป็นผู้มีอุปการคุณของบริษัทมหาชนจํากัดตามที่กําหนดไว้ในประกาศตาม (ข) (3) มีมูลค่าการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกตามที่ยื่นคขออนุญาตต่อสํานักงาน เมื่อรวมกับมูลค่าการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) และมูลค่าการเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายในคราวเดียวกัน (ถ้ามี) ไม่ต่ํากว่า 5,000 ล้านบาท (4) จัดให้มีข้อตกลงกับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) โดยให้ผู้ลงทุนดังกล่าวชําระราคาค่าหุ้นที่ซื้อในราคาเดียวกับราคาหุ้นที่บริษัทจะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก บริษัทมหาชนจํากัดต้องดําเนินการให้มีการระบุรายชื่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ที่ตกลงซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่งและจํานวนหุ้นที่แต่ละรายตกลงซื้อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นต่อสํานักงาน ก่อนที่แบบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัดได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก รวมทั้งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว หากบริษัทจะเสนอขายหุ้นบางส่วนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ก่อนที่จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป บริษัทจะดําเนินการดังกล่าวได้ต่อเมื่อ (1) ระบุการดําเนินการนั้นไว้อย่างชัดเจนในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นต่อสํานักงาน (2) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4(2) และ (4) (3) มีมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามจํานวนที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีผลใช้บังคับแล้ว ไม่ต่ํากว่า 5,000 ล้านบาท ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัดไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจสั่งระงับการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าบริษัทจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจะสั่งเพิกถอนการอนุญาตไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ในกรณีที่ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ตกลงซื้อหุ้นจากบริษัทมหาชนจํากัดแล้ว ให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีผลใช้บังคับแล้วนั้นเพื่อให้ปรากฏชื่อผู้ลงทุนดังกล่าว และจํานวนหุ้นที่ตกลงซื้อ ก่อนที่จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ หากบริษัทไม่แก้ไขเพิ่มเติมตามที่กําหนดนี้ สํานักงานอาจพิจารณาใช้อํานาจสั่งการตามมาตรา 76 ตามควรแก่กรณี ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,704
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 55/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ชั่วคราวในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 55/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ชั่วคราวในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขาย หุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ชั่วคราวในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) เพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้เป็นการเฉพาะ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,705
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน ข้อ ๒ ให้กองทรัสต์มีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ต่อสํานักงาน ข้อ ๓ เว้นแต่ข้อกําหนดในประกาศนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนที่ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหุ้นมาใช้บังคับกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกองทรัสต์ โดยอนุโลม ข้อ ๔ การจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีของกองทรัสต์ ให้ใช้แบบ 56-REIT ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดสําหรับการทําธุรกรรมในแต่ละลักษณะ ข้อ ๖ รายงานประจําปีของกองทรัสต์ ให้มีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อกองทรัสต์ อายุกองทรัสต์ และทุนชําระแล้วของกองทรัสต์ (2) ชื่อ และที่อยู่ของทรัสตี (3) แผนภาพแสดงโครงสร้างกองทรัสต์ (4) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ และที่อยู่ (ข) ความเป็นมาของบริษัท และลักษณะการประกอบธุรกิจ (ค) โครงสร้างการถือหุ้น (ง) กรรมการบริษัท และผู้บริหาร ตลอดจนวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารดังกล่าว รวมทั้งขอบเขตอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด (จ) ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการทําหน้าที่ผู้จัดการกองทรัสต์ (ฉ) นโยบายหรือกลยุทธ์ในการดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตี (ช) ระบบการควบคุมภายใน และกระบวนการทํางาน เพื่อป้องกันหรือจัดการกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (5) นโยบายการลงทุนของกองทรัสต์ (6) เหตุการณ์สําคัญเกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทรัสต์ในรอบปีบัญชีนั้น (7) รายละเอียดทรัพย์สินที่ลงทุน (ก) รายละเอียดทรัพย์สินโดยแยกตามประเภททรัพย์สิน พร้อมทั้ง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาดหรือราคายุติธรรม อัตราส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์ และมูลค่าหน่วยทรัสต์ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น (ข) รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนทุกรายการ โดยแยกตามรายทรัพย์สินซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน ขนาดพื้นที่ อายุการเช่า ลักษณะการจัดหาผลประโยชน์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินมูลค่าหรือสอบทานการประเมินมูลค่าครั้งล่าสุด รายได้ในรอบปีบัญชีนั้น และภาระผูกพันต่าง ๆ (8) รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนหรือจําหน่ายในรอบปีบัญชีนั้น (ก) รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. วันที่ ราคา เหตุผลที่ลงทุน และผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี 2. รายละเอียดการประเมินมูลค่าก่อนการลงทุนโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เช่น วันที่ทําการประเมินมูลค่า ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินมูลค่า วิธีที่ใช้ในการประเมินมูลค่า และชื่อบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เป็นต้น 3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. วันที่ ราคา เหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี 2. รายละเอียดการประเมินมูลค่าก่อนการจําหน่ายโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เช่น วันที่ทําการประเมินมูลค่า ราคาที่ได้รับจากการรายงานการประเมินมูลค่า วิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่า และชื่อบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เป็นต้น 3. กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่าย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจําหน่าย 4. ราคาที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จําหน่ายไปนั้น (9) นโยบายการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี) และข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระยะเวลาการกู้ยืมเงิน วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการกู้ยืมเงิน (ข) จํานวนเงินกู้ยืม ณ วันทําสัญญา จํานวนเงินกู้ยืมคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น และสัดส่วนการกู้ยืมเงิน (ค) หลักประกันการชําระหนี้ในการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี) (10) รายงานของผู้จัดการกองทรัสต์ที่แสดงถึงภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนและแนวโน้มของธุรกิจดังกล่าว (11) ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้ประกันรายได้ (12) ข้อจํากัดในการจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด และผู้ลงทุนต่างด้าว ตลอดจนข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราที่กฎหมายและสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนด (13) นโยบายการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ข้อจํากัดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน และการดําเนินการสําหรับเงินที่ไม่สามารถจ่ายได้ รวมทั้งข้อมูลการจ่ายผลประโยชน์ ตอบแทนในรอบปีบัญชีนั้น (14) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทรัสต์ สําหรับรอบปีบัญชีนั้น ซึ่งมีรายละเอียดตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (15) ความเห็นของทรัสตีเกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทรัสต์ในรอบปีบัญชีนั้น (16) ข้อมูลการทําธุรกรรมระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ (ถ้ามี) และความเห็นของผู้จัดการกองทรัสต์ว่าการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวมีสาระเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (17) งบดุลและงบกําไรขาดทุนที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี (18) สรุปการแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในรอบปีบัญชีนั้น (ถ้ามี) ข้อ ๗ ให้กองทรัสต์จัดทําและส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานด้วย (1) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์และมูลค่าหน่วยทรัสต์ตามข้อ 8 และข้อ 9 (2) รายงานการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ตามข้อ 10 และในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ให้กองทรัสต์จัดทําและส่งรายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 11 ด้วย ข้อ ๘ ให้กองทรัสต์จัดทําและส่งรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์และมูลค่าหน่วยทรัสต์ ณ วันทําการสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ซึ่งผ่านการรับรองจากทรัสตีแล้ว ต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาสนั้น การคํานวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์และมูลค่าหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้ใช้ราคาดังต่อไปนี้ ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินที่กองทรัสต์ลงทุน (ก) ราคาที่ได้จากการประเมินมูลค่าหรือสอบทานการประเมินมูลค่าครั้งล่าสุด แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการคํานวณมูลค่าในช่วงเวลาตั้งแต่การลงทุนในทรัพย์สินหลักจนถึงวันก่อนวันสอบทานการประเมินมูลค่าครั้งแรก ให้ใช้ราคาที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักในการคํานวณ การประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย (ข) ราคาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินอื่นนอกจาก (ก) (2) ให้ใช้ตัวเลขทศนิยมดังต่อไปนี้ (ก) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทศนิยมสองตําแหน่งและปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (ข) คํานวณมูลค่าหน่วยทรัสต์เป็นตัวเลขทศนิยมห้าตําแหน่งและปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทศนิยมสี่ตําแหน่งและตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง ในกรณีที่มีเศษเหลือจากการปัดเศษตามวรรคหนึ่ง ให้นําเศษนั้นรวมคํานวณเข้าเป็นทรัพย์สินในกองทรัสต์ ข้อ ๙ ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลดเงินทุนชําระแล้ว ให้กองทรัสต์รายงานมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยทรัสต์ภายหลังจากการลดทุนชําระแล้ว ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ดําเนินการลดทุนแล้วเสร็จ ข้อ ๑๐ ให้กองทรัสต์จัดทําและส่งรายงานการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ประเภทการใช้งาน ขนาดพื้นที่ และภาระผูกพันต่าง ๆ (2) วันที่และราคาที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งชื่อผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (3) วันที่และราคาที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ รวมทั้งชื่อผู้ซื้อ ผู้เช่า หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ (4) วันที่ ราคา และวิธีการประเมินมูลค่าที่ได้จากรายงานการประเมินมูลค่าของผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน รวมทั้งชื่อผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (5) ในกรณีที่เป็นการจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หากราคาที่จําหน่ายต่ํากว่าราคาประเมินสูงสุดที่ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินได้จัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปีเกินกว่าร้อยละห้า ให้แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลของการจําหน่ายในราคาดังกล่าวไว้ด้วย (6) ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หากราคาที่ได้มาสูงกว่าราคาประเมินต่ําสุดที่ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินได้จัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปีเกินกว่าร้อยละห้า ให้แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลของการได้มาในราคาดังกล่าวไว้ด้วย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ให้กองทรัสต์จัดทํารายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างทุกรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีการลงทุนในทรัพย์สินนั้น และส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนั้น รายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลความคืบหน้าของการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ (2) ในกรณีที่การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ให้ระบุแนวทางแก้ไขและผลกระทบที่กองทรัสต์ได้รับหรืออาจได้รับไว้ด้วย เมื่ออสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมจะนําไปจัดหาผลประโยชน์ ให้กองทรัสต์จัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่งโดยระบุข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการก่อสร้างที่แล้วเสร็จ เช่น วันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นต้น และส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมจะนําไปจัดหาผลประโยชน์ ข้อ ๑๒ การส่งรายงานตามข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 ให้กองทรัสต์ส่งต่อสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และให้ส่งรายงานดังกล่าวในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูล ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดด้วย ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,706
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 56-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้แบบ 56-REIT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,707
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 56-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557และให้ใช้ความตามส่วนที่ 2 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,708
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 86/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 86/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหัวข้อ 1.5 การกู้ยืมเงิน (ถ้ามี) ของรายการที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ในส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ของแบบ 56-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “1.5 ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงิน ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (1) วิธีการกู้ยืมเงิน เช่น การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการออกหุ้นกู้ เป็นต้น โดยต้องสรุปสาระสําคัญของสัญญากู้ยืมเงิน หรือข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรายละเอียดการวางหลักประกันการกู้ยืม (ถ้ามี) (2) สถานะของการกู้ยืมเงิน ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี เช่น จํานวนเงินกู้ และสัดส่วนการกู้ยืมเงินเมื่อเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ เป็นต้น และการปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงิน หรือข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ที่ผ่านมา (ถ้ามี) (3) ในกรณีที่มีการกันเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ ให้ระบุจํานวนเงินที่จะกันสํารองไว้ในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น จํานวนเงินที่ได้กันสํารองในรอบปีบัญชีล่าสุด และยอดรวมของเงินที่ได้มีการกันสํารองจนถึงรอบปีบัญชีล่าสุด (4) ในกรณีที่กองทรัสต์กู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ให้ระบุมูลค่าและสัดส่วนการถือหุ้นกู้ของผู้ที่จําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี) ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทย่อยของผู้ที่จําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยจํานวนและสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ของผู้จัดการกองทรัสต์ และมูลค่าและสัดส่วนการถือหุ้นกู้ของผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,709
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “อสังหาริมทรัพย์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “หน่วยทรัสต์” และคําว่า “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ““อสังหาริมทรัพย์” ให้หมายความรวมถึงอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคสองในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินที่กองทรัสต์ลงทุน ให้เป็นไปตามวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เว้นแต่เป็นการคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจนถึงวันก่อนวันสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ครั้งแรก ให้คํานวณตามราคาที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นแทน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 (รพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,710
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 2/2561 เรื่อง การอนุญาตตั้งตัวแทนในการอำนวยความสะดวกการรับส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2561 เรื่อง การอนุญาตตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวก การรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 100 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน สํานักงานจึงกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการกองทุนรวม ตั้งบุคคลอื่นเพื่อเป็นตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศการตั้งตัวแทน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการกองทุนรวมซึ่งประสงค์จะตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากการตั้งตัวแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศการตั้งตัวแทนแล้ว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,711
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 4/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 4/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขาย หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/25612เรื่อง ข้อกําหนด เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2554 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศและการขอจัดสรรวงเงินสําหรับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 62/2559 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ประกาศนี้เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศและการยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ตามหมวด 1 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน ตามหมวด 2 (3) การรายงานผลการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย ตามหมวด 3 หมวด ๑ แบบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ และการยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 (2) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนทั่วไปให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 (3) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปคให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 (4) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรหรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามประกาศนี้บางรายการ ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอาจขอผ่อนผันการจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าวได้ ในการพิจารณาผ่อนผันตามวรรคสอง สํานักงานจะคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผัน หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ ๔ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ตามแบบ 35 – NRI CIS ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) เอกสารซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนที่จะเสนอขายหน่วย โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นมานั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ผู้ขออนุญาตยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว (3) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (4) หนังสือแต่งตั้งบริษัทนายหน้าเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนในประเทศไทย และหนังสือแต่งตั้งตัวแทน (local representative) ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่กําหนดหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (5) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 14(5) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (6) เอกสารเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 ข้อ ๕ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ตามแบบ 35 – retail ASEAN CIS ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) เอกสารตามข้อ 4(2) (3) และ (4) ข้อ ๖ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค ตามแบบ 35 – ARFP CIS ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) เอกสารซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปคที่จะเสนอขายหน่วย โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นมานั้นเป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ผู้ขออนุญาตยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว (3) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปคได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (4) หนังสือแต่งตั้งบริษัทนายหน้าเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค ในประเทศไทย และหนังสือแต่งตั้งตัวแทน (local representative) ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่กําหนดหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๗ การเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ตามแบบ 35 – foreign ETF ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) เอกสารซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับอีทีเอฟต่างประเทศที่จะเสนอขายหน่วย โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นมานั้นเป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ผู้ขออนุญาตยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว (3) เอกสารการจัดตั้งอีทีเอฟต่างประเทศดังนี้ (ก) กรณีที่อีทีเอฟต่างประเทศเป็นบริษัท ให้ยื่นหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท หรือเอกสารการจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายของประเทศที่อีทีเอฟต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น (ข) กรณีที่อีทีเอฟต่างประเทศเป็นทรัสต์ ให้ยื่นสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (4) หนังสือแต่งตั้งตัวแทน (local representative) ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่กําหนดหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หมวด ๒ ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หมวด ๓ การรายงานผลการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ให้ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศรายงานผลการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยต่อสํานักงานภายใน 45 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละปีปฏิทินที่มีการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๐ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศไม่สามารถรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามข้อ 9 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้นอาจขอผ่อนผันการรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาแล้วเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,712
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกำหนดกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของ ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการ จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็น ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนด กรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 19 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ 7(1) ประกอบกับข้อ 5(2) และ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” “บริษัทจัดการ” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” และ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการดํารงเงินกองทุน “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า บริษัทจัดการที่มีการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (1) การจัดการกองทุนรวมดังนี้ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ค) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ง) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (จ) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) การเป็นทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์ สําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน “บริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า บริษัทจัดการอื่นที่ไม่ใช่บริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน “ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวที่มีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (1) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (2) มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลูกค้าผ่านสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว “กรมธรรม์ประกันภัย” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ (professional indemnity insurance) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๔ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติในเรื่องการดํารงเงินกองทุน การรายงานการดํารงเงินกองทุน และการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นบริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐานและผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามภาค 1 (2) กรณีเป็นบริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน ให้เป็นไปตามภาค 2 อื่นๆ ๑ หลักเกณฑ์สําหรับบริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์ และกองโครงสร้างพื้นฐาน และผู้ประกอบธุรกิจ ตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน ข้อ ๕ ความในภาคนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจจากสํานักงานและอยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตนั้น ข้อ ๖ ในภาคนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า บริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน และผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน “เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก” หมายความว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เงินฝาก บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือตราสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับเงินฝาก (2) ข้อตกลงที่เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์ (Shariah) และมีลักษณะที่เทียบเคียงได้กับเงินฝาก โดยคู่สัญญาที่เทียบเคียงได้กับผู้ฝากสามารถเรียกคืนเงินต้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียได้กับผู้รับฝากได้เต็มจํานวน ณ เวลาใด ๆ (3) สลากออมทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (4) สลากออมสินพิเศษที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (3) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย “ผู้มีภาระผูกพัน” หมายความว่า ผู้ที่มีภาระผูกพันในการชําระหนี้ตามตราสารทางการเงินในฐานะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี “หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงโครงการจัดการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) หรือในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต้องจัดตั้งโดยได้รับอนุญาต จดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) ดังต่อไปนี้ ที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศหรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามโครงการดังกล่าว (1) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศกลุ่มอาเซียนที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Understanding Concerning Cooperation and Exchange of Information on Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors หรือ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (2) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศในภูมิภาคเอเชียภายใต้กรอบเอเปค (Asia Pacific Economic Cooperation : APEC) ที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญา ข้อ ๗ ในการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณและการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ให้เป็นไปตามหมวด 1 ของภาคนี้ (2) การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้เป็นไปตามหมวด 2 ของภาคนี้ หมวด ๑ การคํานวณและการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๘ ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่น ส่วน ๑ สินทรัพย์สภาพคล่องและกรมธรรม์ประกันภัย ที่ใช้ในการคํานวณเงินกองทุน ข้อ ๙ สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถใช้ในการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่อง ได้แก่ สินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้ และต้องไม่มีลักษณะเป็นการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อหรือแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างของราคา (1) เงินสด (2) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากของสถาบันการเงินที่สามารถขอไถ่ถอนได้โดยไม่มีข้อจํากัดเรื่องกําหนดเวลาการไถ่ถอน (3) ลูกหนี้ค่าธรรมเนียมค้างรับที่มีอายุครบกําหนดชําระหนี้คงเหลือไม่เกิน 90 วัน (4) ตราสารหนี้ภาครัฐไทยดังนี้ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล (ค) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ง) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้มีภาระผูกพัน ในกรณีที่ตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (4) วรรคหนึ่ง มีอายุคงเหลือเกินกว่า 10 ปี ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุก 2 สัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือ (turnover) ย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6.25 ของยอดคงค้าง (5) ตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับตราสารหนี้ภาครัฐไทยตามวรรคหนึ่ง (4) ซึ่งมีรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้มีภาระผูกพัน (6) ตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรและหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงตราสารหนี้ที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ตราสารหนี้ด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้ที่ผู้ถือมีภาระผูกพัน ในกรณีที่ตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (6) วรรคหนึ่ง มีอายุคงเหลือเกินกว่า 3 เดือน ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุก 2 สัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6.25 ของยอดคงค้าง (7) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่อในการคํานวณดัชนี SET100 (8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (9) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไว้ไม่เกิน 90 วัน และมีนโยบายการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ก) มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง (2) (5) หรือ (6) สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11 ด้วย (ข) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (9) (ก) (10) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับสินทรัพย์ในวรรคหนึ่ง (8) หรือ (9) ในกรณีที่ระยะเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (9) หรือหน่วยตามวรรคหนึ่ง (10) ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนดังกล่าวเกินกว่า 60 วัน ให้นํามูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวมาคํานวณการดํารงเงินกองทุนได้เพียงร้อยละ 50 ของมูลค่าของทรัพย์สินนั้น ข้อ ๑๐ สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง (4) (5) และ (6) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) ต้องเป็นตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (2) ในกรณีที่มีการจ่ายผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว ผลตอบแทนนั้นต้องอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (3) ในกรณีเป็นตราสารหนี้ที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตราสาร ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง (2) (5) และ (6) ต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (investment grade) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวไม่มีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร ให้พิจารณาเลือกใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้มีภาระผูกพัน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้มีภาระผูกพันดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น การพิจารณาใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการพิจารณาใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการสําหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานและจัดส่งให้สํานักงานภายใน 5 วันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน (2) จัดทํารายงานมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากการปฏิบัติงาน (operational risk loss) รายปีปฏิทิน ตามแบบรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดจาก operational risk และคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ส่วน ๒ การคํานวณเงินกองทุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการสําหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานและจัดส่งให้สํานักงานภายใน 5 วันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน (2) จัดทํารายงานมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากการปฏิบัติงาน (operational risk loss) รายปีปฏิทิน ตามแบบรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดจาก operational risk และคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๔ การคํานวณมูลค่าของเงินกองทุนสภาพคล่อง ให้เป็นไปตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าของเงินกองทุนสภาพคล่องที่ดํารงได้หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนในวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวใหม่ตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัย ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันที่เกิดเหตุการณ์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการ ให้คํานวณมูลค่าในวันทําการถัดไป (2) เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอน หรือไถ่ถอนสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันใด ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันนั้น (3) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหุ้น ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์ทุกสิ้นวันทําการ (4) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อมีการเปิดเผยมูลค่าของหน่วยลงทุนหรือหน่วยดังกล่าวแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์นั้นทุกวันทําการ ส่วน ๓ การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน และการจัดเก็บข้อมูล ข้อ ๑๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการสําหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานและจัดส่งให้สํานักงานภายใน 5 วันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน (2) จัดทํารายงานมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากการปฏิบัติงาน (operational risk loss) รายปีปฏิทิน ตามแบบรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดจาก operational risk และคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้มีเอกสารเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนย้อนหลังไม่น้อยกว่า 5 ปี ไว้ ณ ที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่พร้อมเรียกดูหรือจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ หมวด ๒ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ ๑๘ ในหมวดนี้ “เงินกองทุนขั้นต้น” หมายความว่า เงินกองทุนขั้นต้นตามเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน แนบท้ายประกาศการดํารงเงินกองทุน “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ” หมายความว่า เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจตามเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน แนบท้ายประกาศการดํารงเงินกองทุน “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน” หมายความว่า เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน แนบท้ายประกาศการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนพร้อมด้วยสาเหตุ โดยยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถแก้ไขเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศดํารงเงินกองทุนได้ ให้จัดส่งรายงานการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถแก้ไขเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศการดํารงเงินกองทุนได้แทนการจัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขนั้น ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ประกอบธุรกิจอาจขอผ่อนผันระยะเวลาในการจัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงานได้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (3) ดําเนินการตามแผนหรือแนวทางดังกล่าวเพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่ประกาศการดํารงเงินกองทุนกําหนดโดยเร็ว และต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนหรือแนวทางนั้นซึ่งต้องไม่เกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (4) มีหนังสือแจ้งผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ (5) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตาม (3) ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามข้อ 21 โดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานหรืออยู่ในระหว่างดําเนินการตามข้อ 19(3) ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (1) ห้ามให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (2) ห้ามลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินดังนี้ (ก) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่ไม่มีการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ โดยต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น (ค) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (3) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ห้ามเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ยังมิได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (4) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามรับจัดการเงินทุนของลูกค้าเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นกรณีการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (5) ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน ห้ามเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนเว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่มีการเสนอขายอยู่แล้วในวันก่อนวันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจหรือเงินกองทุนขั้นต้น หรือไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กําหนดในแผนหรือแนวทาง หรือระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 19(3) หรือไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ต้องระงับการประกอบธุรกิจ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุนหรือดํารงฐานะได้ตามกฎหมายอื่นที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว แล้วแต่กรณี และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นกรณีดังนี้ (ก) การดําเนินการตามความจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการได้รับความเสียหาย หรือการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวม ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน หรือเพื่อเปลี่ยนตราสารที่ครบกําหนดไถ่ถอนกับผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) การบริหารเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วในขณะนั้น หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพ (2) แจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหรือฐานะทางการเงิน พร้อมด้วยสาเหตุและการระงับการประกอบธุรกิจตาม (1) เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (3) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ แล้วแต่กรณี (ก) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้ดําเนินการตามข้อ 22 (ข) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ดําเนินการตามข้อ 23 (ค) ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนที่มีการ เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ให้ดําเนินการตามข้อ 24 (4) แจ้งการดําเนินการตาม (3) เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า (5) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 21 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนภายใน 30 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ในการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นตาม (1) วรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญและต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมแต่ละกองด้วย และในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว (2) ในระหว่างดําเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการตาม (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมสามารถจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการได้เพียงเพื่อการดูแลรักษาประโยชน์หรือการใช้สิทธิประโยชน์เพื่อมิให้กองทุนรวมได้รับความเสียหายเท่านั้น (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมและมีความประสงค์จะขายคืนหน่วยลงทุน โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างน้อย 30 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมเว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) ซึ่งมิได้มีช่วงเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลา 30 วันดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นนั้นรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมสําหรับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในช่วงที่จะมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในครั้งถัดไป ทั้งนี้ เฉพาะการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกเท่านั้น ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 21 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีเป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมติดต่อลูกค้าโดยเร็วเพื่อสอบถามความประสงค์ของลูกค้าว่าจะให้จัดการทรัพย์สินของลูกค้าอย่างไร ระหว่างวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเพื่อให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นโดยตรง (ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมดําเนินการเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) วรรคหนึ่ง (ก) ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมดําเนินการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าตามวิธีการในวรรคหนึ่ง (1) วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามข้อ 21 (2) ในกรณีเป็นการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมติดต่อคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยเร็ว และดําเนินการเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามข้อ 21 ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อ ๒๔ ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 21 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (1) ดําเนินการให้ลูกค้าเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหลักทรัพย์โดยตรง (2) โอนบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าแต่ละรายไปยังผู้ประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดดังนี้เป็นผู้ให้บริการแทน ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนรายอื่น (ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ๆ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอผ่อนผันระยะเวลาในการดําเนินการตามข้อ 19(3) ข้อ 22(1) วรรคหนึ่ง ข้อ 23 วรรคหนึ่ง (1) วรรคสาม หรือวรรคหนึ่ง (2) ได้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชนโดยต้องยื่นคําขอต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงเหตุจําเป็นและสมควร อื่นๆ ๒ หลักเกณฑ์สําหรับบริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์ หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 27 (1) มีการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสุดท้ายของเดือนใด ๆ ไม่ถึง 30 ล้านบาท แต่ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท (2) มีการจัดการเฉพาะกองทุนส่วนบุคคลที่ไม่รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสุดท้ายของเดือนใด ๆ ไม่ถึง 15 ล้านบาท แต่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับบริษัทจัดการที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่น ข้อ ๒๗ ให้บริษัทจัดการที่มีหน้าที่ตามข้อ 26 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รายงานส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการรู้หรือควรรู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าจํานวนดังนี้ แล้วแต่กรณี (ก) 30 ล้านบาท ในกรณีเป็นบริษัทจัดการที่มีการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ข) 15 ล้านบาท ในกรณีเป็นบริษัทจัดการที่มีการจัดการเฉพาะกองทุนส่วนบุคคลที่ไม่รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) จัดทําแผนการปรับปรุงเพื่อให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าจํานวนตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี และให้ยื่นต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการรู้หรือควรรู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าจํานวนดังกล่าว เว้นแต่ก่อนพ้นกําหนดเวลาบริษัทจัดการสามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามจํานวนดังกล่าวได้ (3) ดําเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปรับปรุงที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (2) และรายงานความคืบหน้าในการดําเนินการตามแผนดังกล่าว ตลอดจนรายงานส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 7 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ จนกว่าบริษัทจัดการจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าจํานวนตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการแจ้งต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการนั้นสามารถดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้โดยมีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐานไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ให้บริษัทจัดการดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รายงานต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการรู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนดังกล่าว (2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ แล้วแต่กรณี (ก) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้ดําเนินการตามข้อ 29 (ข) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ดําเนินการตามข้อ 30 (3) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๒๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 28 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวม ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 31 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการรายเดิมรู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนดังกล่าว เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปได้ ทั้งนี้ การคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นนั้นต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมไม่สามารถดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนดตาม (1) วรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการเลิกกองทุนรวม (2) ระงับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการได้รับความเสียหาย เพื่อใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน หรือเพื่อเปลี่ยนตราสารที่ครบกําหนดไถ่ถอนกับผู้ออกตราสารดังกล่าว ข้อ ๓๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 28 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) รายงานให้ลูกค้าทราบถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนดังกล่าว (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับลูกค้ารายใหม่ หรือยอมให้ลูกค้าเพิ่มเงินทุนของกองทุนส่วนบุคคล หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในสัญญากับลูกค้ารายเดิมอันอาจส่งผลกระทบต่อความเพียงพอของเงินกองทุน แต่ไม่รวมถึง (ก) การบริหารเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วในขณะนั้น (ข) การจ่ายเงินให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพ (3) หากบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับแจ้งจากลูกค้าว่าประสงค์จะเปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเป็นผู้รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนส่วนบุคคลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อ ๓๑ ในการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมตามข้อ 29(1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิม ดําเนินการด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (2) ขอรับความเห็นชอบจากสํานักงาน อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐานหรือผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทําประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพเพื่อการดํารงเงินกองทุนไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการสามารถใช้วงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเพื่อทดแทนเงินกองทุนสภาพคล่องสําหรับการดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามประกาศการดํารงเงินกองทุนได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 ทั้งนี้ เมื่อครบระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับแล้ว หากบริษัทจัดการประสงค์จะใช้วงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเพื่อทดแทนเงินกองทุนสภาพคล่องต่อไป การใช้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 ด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,713
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 13/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนของที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกำหนดกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 13/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของ ที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 19 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม 2561 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 13/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนและข้อกําหนดกรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (3) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย “ผู้มีภาระผูกพัน” หมายความว่า ผู้ที่มีภาระผูกพันในการชําระหนี้ตามตราสารทางการเงินในฐานะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี “หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงโครงการจัดการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) หรือในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต้องจัดตั้งโดยได้รับอนุญาต จดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) ของประเทศกลุ่มอาเซียนที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Understanding Concerning Cooperation and Exchange of Information on Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors หรือ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศหรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามโครงการดังกล่าว “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญา “กรมธรรม์ประกันภัย” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ (professional indemnity insurance) หมวด ๑ การคํานวณและการรายงานการดํารงเงินกองทุน ส่วน ๑ สินทรัพย์สภาพคล่องและกรมธรรม์ประกันภัย ที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๔ สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถใช้ในการดํารงเงินกองทุน ได้แก่ สินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้ และต้องไม่มีลักษณะเป็นการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อหรือแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างของราคา (1) เงินสด (2) เงินฝากหรือบัตรเงินฝากของสถาบันการเงินที่สามารถขอไถ่ถอนได้โดยไม่มีข้อจํากัดเรื่องกําหนดเวลาการไถ่ถอน (3) ตราสารหนี้ภาครัฐไทยดังนี้ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล (ค) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ง) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้มีภาระผูกพัน ในกรณีที่ตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (3) วรรคหนึ่ง มีอายุคงเหลือเกินกว่า 10 ปี ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุก 2 สัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือ (turnover) ย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6.25 ของยอดคงค้าง (4) ตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับตราสารหนี้ภาครัฐไทยตามวรรคหนึ่ง (3) ซึ่งมีรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้มีภาระผูกพัน (5) ตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรและหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงตราสารหนี้ที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และหุ้นกู้ที่ผู้ถือมีภาระผูกพัน ในกรณีที่ตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (5) วรรคหนึ่ง มีอายุคงเหลือเกินกว่า 3 เดือน ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุก 2 สัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6.25 ของยอดคงค้าง (6) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่อในการคํานวณดัชนี SET100 (7) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไว้ไม่เกิน 90 วัน และมีนโยบายการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ก) มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (7) ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง (2) (4) หรือ (5) สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 6 ด้วย (ข) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (8) (ก) (9) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับสินทรัพย์ในวรรคหนึ่ง (7) หรือ (8) ในกรณีที่ระยะเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (8) หรือหน่วยตามวรรคหนึ่ง (9) ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนดังกล่าวเกินกว่า 60 วัน ให้นํามูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวมาคํานวณการดํารงเงินกองทุนได้เพียงร้อยละ 50 ของมูลค่าของทรัพย์สินนั้น ข้อ ๕ สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (3) (4) และ (5) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) เป็นตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (2) ในกรณีที่มีการจ่ายผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว ผลตอบแทนนั้นต้องอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (3) ในกรณีเป็นตราสารหนี้ที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตราสาร ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (2) (4) และ (5) ต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (investment grade) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวไม่มีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร ให้พิจารณาเลือกใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้มีภาระผูกพัน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้มีภาระผูกพันดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น ข้อ ๗ การใช้กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการดํารงเงินกองทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้กระทําไปในนามของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยได้เฉพาะรายการการดํารงเงินกองทุนตาม ข้อ 4 วรรคหนึ่ง (3) ของประกาศการดํารงเงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่ารายการตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (2) ของประกาศดังกล่าว (3) ในกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมิได้ครอบคลุมความเสียหายย้อนหลังนับแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ ให้คํานวณมูลค่าของกรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนได้เพียงร้อยละ 50 ของจํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัย ส่วน ๒ การคํานวณเงินกองทุน ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณอัตราหรือมูลค่าของเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามประกาศการดํารงเงินกองทุนปีละ 2 ครั้ง โดยให้คํานวณทุกวันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนในวันทําการสุดท้ายของแต่ละไตรมาส เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ดังกล่าวใหม่ตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัย ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ดังกล่าวในวันทําการที่เกิดเหตุการณ์นั้น (2) เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอน หรือไถ่ถอนสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัย ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ดังกล่าวในวันทําการนั้น (3) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหุ้น ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์ทุกสิ้นวันทําการ (4) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อมีการเปิดเผยมูลค่าของหน่วยลงทุนหรือหน่วยดังกล่าวแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์นั้นทุกวันทําการ ส่วน ๓ การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน และการจัดเก็บข้อมูล ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อสํานักงานตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) กรณีการดํารงเงินกองทุนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนของแต่ละปี ให้ยื่นรายงานภายในวันที่ 7 กรกฎาคมของปีนั้น (2) กรณีการดํารงเงินกองทุนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี ให้ยื่นรายงานภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้มีเอกสารเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนไว้ ณ ที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่พร้อมเรียกดูหรือจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ หมวด ๒ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนพร้อมด้วยสาเหตุ โดยยื่นต่อสํานักงานภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงานภายใน 10 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถแก้ไขเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศดํารงเงินกองทุนได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ (3) ดําเนินการตามแผนหรือแนวทางการแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสํานักงานตาม (2) เพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่ประกาศการดํารงเงินกองทุนกําหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (4) มีหนังสือแจ้งผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามแผนหรือแนวทางแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสํานักงานตาม (2) ข้อ ๑๓ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุนหรืออยู่ในระหว่างดําเนินการตามข้อ 12(3) ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (1) ให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (2) ขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิมของผู้ประกอบธุรกิจ (3) กระทําการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดําเนินงานหรือการปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตามข้อ 12(3) หรือไม่มีเงินกองทุนติดต่อกันเกินกว่า 5 วันทําการ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการระงับการประกอบธุรกิจตาม (1) โดยไม่ชักช้า (3) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,714
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 21/2561 เรื่อง การรายงานเหตุการณ์สำคัญของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2561 เรื่อง การรายงานเหตุการณ์สําคัญของกองทุนรวมและทรัสต์ ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 12(9) และ (10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 90/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 86 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2555 เรื่อง การรายงานเหตุการณ์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังจากการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “ทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓ ให้กองทุนรวมหรือทรัสต์รายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น (1) กองทุนรวมหรือทรัสต์ประสบความเสียหายอย่างร้ายแรง (2) กองทุนรวมหรือทรัสต์ไม่สามารถจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือทรัสต์ แล้วแต่กรณี ทั้งหมดหรือบางส่วน (3) กองทุนรวมหรือทรัสต์เปลี่ยนวัตถุประสงค์ หรือนโยบายการลงทุน (4) เหตุการณ์ที่ทําให้หรืออาจทําให้ต้องเลิกกองทุนรวมหรือทรัสต์ ข้อ ๔ การรายงานตามข้อ 3 ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมหรือทรัสต์ ดังนี้ (ก) กรณีกองทุนรวม ได้แก่ ชื่อ อายุ วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ชื่อบริษัทจัดการ และชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) กรณีทรัสต์ ได้แก่ ชื่อ อายุ วันที่ก่อตั้งทรัสต์ และจํานวนเงินทุนของทรัสต์ ชื่อผู้จัดการกองทรัสต์ และชื่อทรัสตี (2) รายละเอียดของเหตุการณ์ตามข้อ 3 เช่น วันที่เกิดเหตุการณ์ และสาเหตุที่ทําให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นต้น (3) แผนการแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนรวมหรือทรัสต์ ในกรณีเป็นเหตุการณ์ตามข้อ 3(1) และ (2) (4) ข้อมูลอื่นใดที่จําเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน (ถ้ามี) ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,715
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 22/2561 เรื่อง การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2561 เรื่อง การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 90/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศเกี่ยวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทําธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น ข้อ ๓ ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังนี้ (ก) การส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) การประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 และข้อ 5 (2) การขอมติและมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) การขอมติและมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีอื่นนอกจาก (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การออกเสียงลงคะแนน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคะแนนเสียงเท่าจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ โดยให้ 1 หน่วยลงทุนมี 1 เสียง (ข) การขอมติโดยการส่งหนังสือไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ถือมติตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียงโดยไม่นับจํานวนหน่วยลงทุนตาม (ง) (ค) การขอมติโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ถือมติตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง เว้นแต่การขอมติในเรื่องดังนี้ ให้ถือมติตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด มิให้นับจํานวนหน่วยลงทุนตาม (ง) 1. การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวม 2. การทําธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3. การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนหรือการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม (ง) การนับจํานวนหน่วยลงทุนในการขอมติตาม (ข) และ (ค) บริษัทจัดการต้องไม่นับหน่วยลงทุนที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. หน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในเรื่องที่ขอมตินั้น 2. หน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ มิให้นับหน่วยลงทุนเฉพาะในส่วนที่ถือเกินกว่าอัตราดังกล่าว ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นการประชุมสามัญประจําปีภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของกองทุนรวม เพื่อรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนรับทราบในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) การจัดการกองทุนรวมในเรื่องที่สําคัญ และแนวทางการจัดการกองทุนรวมในอนาคต (2) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา โดยอย่างน้อยต้องมีการนําเสนองบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีแล้ว (3) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของกองทุนรวม และค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชี ข้อ ๕ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นการประชุมวิสามัญ (1) เมื่อบริษัทจัดการเห็นสมควรให้มีการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม (2) เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม เข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้บริษัทจัดการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน โดยระบุเหตุผลในการขอให้เรียกประชุมไว้อย่างชัดเจน ในกรณีที่ปรากฏเหตุตามวรรคหนึ่ง (2) บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๖ การประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4 และข้อ 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทจัดการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดทําหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการประชุมและการออกเสียงลงมติ ตลอดจนระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของบริษัทจัดการในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้รวมถึงความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติในเรื่องนั้น ๆ ด้วย (ข) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันประชุมตามระยะเวลาดังนี้ 1. 14 วัน ในกรณีที่เป็นการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีวาระที่ต้องได้มติผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง 2. 7 วัน ในกรณีอื่นนอกจาก 1. (ค) ประกาศการนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันประชุม (2) ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีองค์ประชุมที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) องค์ประชุมต้องประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 25 คนหรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด และต้องมีหน่วยลงทุนนับรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม (ข) ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึง 1 ชั่วโมงจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กําหนดไว้ใน (ก) หากว่าการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) การประชุมนั้นเป็นอันระงับไป หากการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) ให้นัดประชุมใหม่ และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม โดยในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม (3) การดําเนินการประชุม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การดําเนินการประชุม ให้เป็นไปตามลําดับระเบียบวาระที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุม เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติให้เปลี่ยนลําดับระเบียบวาระด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมาประชุม (ข) เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จตาม (ก) แล้ว ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีหน่วยลงทุนนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ทั้งหมด จะขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุมอีกก็ได้ (ค) ในกรณีที่ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามลําดับระเบียบวาระไม่เสร็จตาม (ก) หรือพิจารณาเรื่องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนเสนอไม่เสร็จตาม (ข) แล้วแต่กรณี และจําเป็นต้องเลื่อนการพิจารณา ให้ที่ประชุมกําหนดสถานที่ วัน และเวลาที่จะประชุมครั้งต่อไป และให้บริษัทจัดการส่งหนังสือนัดประชุมระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม ทั้งนี้ ให้โฆษณาคําบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันประชุมด้วย การจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการจัดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย โดยให้จัดส่งหนังสือนัดประชุมตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) ไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์พร้อมกับการจัดส่งไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๗ การจัดการกองทุนรวมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนด หากเป็นกรณีที่เข้าลักษณะตามบทเฉพาะกาลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งยังคงใช้บังคับตามความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 90/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลดังกล่าวได้ต่อไป ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,716
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 27/2561 เรื่อง การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2561 เรื่อง การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 90/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2561 เรื่อง การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 “การจัดประชุมสามัญประจําปีตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มดําเนินการเป็นครั้งแรกสําหรับรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 แต่ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยบริษัทจัดการต้องจัดประชุมภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีดังกล่าว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,717
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 30/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้ามาใช้ในการประกอบธุรกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการนําเทคโนโลยี เพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้ามาใช้ ในการประกอบธุรกิจ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 12(2) (3) (3/1) (5) (6) และ (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า” หมายความว่า เทคโนโลยีที่เกิดจากการใช้อัลกอริทึม (algorithm) หรือวิธีการอื่นใดในทํานองเดียวกัน เพื่อการวิเคราะห์ แนะนํา หรือตัดสินใจในการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน “อัลกอริทึม” (algorithm) หมายความว่า ขั้นตอนและวิธีการในการประมวลผลเพื่อหาผลลัพธ์ที่ชัดเจนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือวิธีการอื่นใดในทํานองเดียวกัน “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 คําว่า “ผู้จัดการกองทุน” และ “นักวิเคราะห์การลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคคลในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่นําเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นการส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานและคุณภาพในการประกอบธุรกิจที่คํานึงถึงประโยชน์สุงสุดของลูกค้าเป็นสําคัญ ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติเพิ่มเติมตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) โครงสร้างองค์กร บทบาท อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ชัดเจน (2) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (3) ระบบงานในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า (4) ระบบตรวจสอบและควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ (5) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในรายละเอียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีบุคคลที่รับผิดชอบในการนําเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้ามาใช้ในการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) คณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงตามข้อ 6 (2) บุคคลที่รับผิดชอบในการจัดการและดูแลเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า (designated person) ตามข้อ 7 (3) บุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 8 ข้อ ๖ คณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงต้องมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ตระหนักรู้และอนุมัตินโยบายในการนําเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้ามาใช้ (2) กําหนดบุคคลและเทคโนโลยีที่เหมาะสม (3) ติดตามตรวจสอบการจัดการเทคโนโลยี (4) ประเมินภาพรวมและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ตามในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ข้อ ๗ บุคคลที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดการและดูแลเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในอัลกอริทึมที่นํามาใช้โดยอย่างน้อยต้องเข้าใจถึงความสมเหตุสมผล (rationale) ความเสี่ยงและการทํางานพื้นฐาน (rules) ของอัลกอริทึม และมีจํานวนที่เพียงพอและสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องมีหน้าที่อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการนําอัลกอริทึมมาใช้ และดําเนินการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวได้โดยไม่ชักช้า (2) ประเมินความเหมาะสมในการนําอัลกอริทึมมาใช้ ข้อ ๘ บุคคลที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า หรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการในงานเฉพาะทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว ต้องเป็นผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือบุคคลอื่นที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับบุคคลดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการออกแบบการลงทุนซึ่งไม่มีการรับบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้า และจัดให้มีบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการกําหนดกระบวนการและปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการลงทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนและการติดตามและปรับปรุงการลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการออกแบบการลงทุน (2) กรณีที่มีการกําหนดหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับอื่นใดไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ ๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใจในรายละเอียดได้โดยผ่านช่องทางในการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (1) ขอบเขตและข้อจํากัดของการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าอย่างสมเหตุสมผล (2) สมมติฐานของอัลกอริทึมอย่างสมเหตุสมผล (3) การเปลี่ยนแปลงข้อมูลตาม (1) และ (2) อย่างมีนัยสําคัญ (4) การดําเนินการในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติอย่างมีนัยสําคัญจนทําให้เทคโนโลยีทางการเงินเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าต้องหยุดชะงักลง ข้อ ๑๐ เพื่อให้มั่นใจว่าการให้บริการผ่านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบควบคุมและสอบทานการทํางานของเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ โดยต้องดําเนินการทดสอบ ทบทวนและปรับปรุงการทํางานของอัลกอริทึมหรือวิธีการอื่นใดในทํานองเดียวกัน ข้อ ๑๑ ในการนําเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้ามาใช้ในการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการนําเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,718
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 31/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการออกแบบการลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับ การให้บริการออกแบบการลงทุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7 ข้อ 13 ข้อ 28 ข้อ 30 และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 12 และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” และ “ผู้วางแผนการลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน คําว่า “ผู้จัดการกองทุน” และ “นักวิเคราะห์การลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับความเห็นชอบการเป็นบุคลากรดังกล่าวด้วยคุณสมบัติการดํารงตําแหน่งผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน หรือสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน แล้วแต่กรณี “การให้บริการออกแบบการลงทุน” หมายความว่า การให้คําแนะนําและกําหนดแผนการลงทุน ไม่ว่าจะมีการรับบริหารจัดการทรัพย์สิน (portfolio management) หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ภายในขอบเขตของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทของใบอนุญาตที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ “ระบบอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการวิเคราะห์และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อประกอบการให้บริการออกแบบการลงทุน ข้อ ๒ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงานและบุคลากร การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า และการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ในเรื่องการให้บริการออกแบบการลงทุน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะแสดงให้เห็นว่ามีการให้บริการออกแบบการลงทุนภายใต้ระบบงานตามข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบระบบงานในการให้บริการออกแบบการลงทุน ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ ระบบงานในการให้บริการออกแบบการลงทุนที่จะได้รับความเห็นชอบ ต้องมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าในเรื่องดังนี้ (ก) การสํารวจและทําความเข้าใจลูกค้า (explore & understand) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า (ข) การกําหนดโครงสร้างการลงทุน (portfolio construction) โดยจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (asset allocation) และสอดคล้องกับผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า (ค) การดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการลงทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน (portfolio implementation) ซึ่งมีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ง) การดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการติดตามและปรับปรุงการลงทุน (monitoring & rebalancing) ให้สอดคล้องกับผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (จ) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า (consolidated reporting) โดยจัดทําและจัดส่งรายงานการลงทุนให้กับลูกค้าอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลที่เพียงพอต่อการติดตามผลการดําเนินงาน รวมถึงการทบทวนและประเมินคุณภาพของการให้บริการ (2) มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการดําเนินการตาม (1) (ค) และ (ง) ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีบุคลากรเพื่อมีส่วนร่วมในการกําหนดกระบวนการและปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของระบบดังกล่าว ดังนี้ (ก) ในกรณีที่มีการรับบริหารจัดการทรัพย์สินให้กับลูกค้าต้องจัดให้มีผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับบุคคลดังกล่าวที่สํานักงานยอมรับ (ข) ในกรณีที่ไม่มีการรับบริหารจัดการทรัพย์สินให้กับลูกค้าต้องจัดให้มีผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับผู้จัดการกองทุนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนที่สํานักงานยอมรับ (3) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการซื้อ ขาย หรือเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุน ภายในขอบเขตของการประกอบธุรกิจตามประเภทของใบอนุญาตที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนให้บริการดังกล่าวทุกครั้ง เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) การให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ข) การให้บริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลับไปอยู่ในสัดส่วนการลงทุน (asset allocation) ตามแผนจัดสรรการลงทุนของลูกค้าที่กําหนดไว้ล่วงหน้า (4) มีการแบ่งแยกหน่วยงานที่ให้บริการซื้อขาย (distribution) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการกําหนดกระบวนการและปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจน (5) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะ ขอบเขต หรือเงื่อนไขในการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งลูกค้าเพื่อทบทวนหรือปรับปรุงข้อตกลงในการให้บริการกับลูกค้าทันที (6) มีการจัดส่งรายงานข้อมูลในการให้บริการต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระบบงานตามข้อ 5(1) หรือ (2) ไปจากที่เคยแสดงไว้ต่อสํานักงานอย่างมีนัยสําคัญ ต้องยื่นขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่จะมีการเปลี่ยนแปลง และหากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบตั้งแต่วันครบกําหนดระยะเวลานั้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบการให้บริการออกแบบการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และต่อมาได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้รับความเห็นชอบระบบงานในการให้บริการออกแบบการลงทุนตามประกาศนี้ นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว ข้อ ๘ สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) การให้บริการไม่เป็นไปตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในข้อ 5 (2) ผู้ประกอบธุรกิจไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 6 (3) การให้บริการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,719
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และ มาตรา 141(2) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ 18(2) และ (6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 การถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป แห่งภาค 2 การจัดการกองทุนรวม ข้อ 11/1 ข้อ 11/2 ข้อ 11/3 ข้อ 11/4 ข้อ 11/5 ข้อ 11/6 และข้อ 11/7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ส่วน ๑/๑ การถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม ข้อ ๑๑/๑ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมวายุภักษ์ ข้อ ๑๑/๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าวไม่ว่าจากการที่บริษัทตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบหรือได้รับการแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 11/3 ให้บริษัทปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14(2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ (3) ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นให้มีจํานวนไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้นภายในสองเดือนนับแต่วันที่ปรากฏกรณีดังกล่าว หรือดําเนินการเลิกกองทุนรวมนั้นทันที เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ14(2) และข้อ 21/1(1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตาม (2) และ (3)ไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ข้อ ๑๑/๓ ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2. แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 3. ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมใด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว ข้อ ๑๑/๔ มิให้นําความในข้อ 11/2 และข้อ 11/3 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 แต่ให้กองทุนรวมดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับข้อ 11/5 ข้อ ๑๑/๕ ในกรณีที่กองทุนรวมใดที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากกองทุนรวมดังกล่าวมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) รายงานให้สํานักงานทราบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยให้ระบุชื่อกองทุนรวม รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว และจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นถือไว้ และ 1. ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ 14 มีนาคม พ. ศ. 2549 (ก) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม หรือควบกองทุนรวมหรือรวมกองทุนรวมดังกล่าว เพื่อให้อัตราการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (ข) เลิกกองทุนรวมนั้น (ค) ดําเนินการอื่นใดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตาม (2) ภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถลดอัตราการถือหน่วยลงทุนให้ต่ํากว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดได้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทเลิกกองทุนรวม ข้อ ๑๑/๖ กรณีที่กองทุนรวมใดที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคมพ.ศ. 2549 มีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14(2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล เท่านั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 11/5 (2) ความในข้อ 11/5 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมซึ่งจดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นกองทุนรวมปิดที่กําหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนโดยไม่มีการแก้ไขอายุโครงการหรือมีการแปลงสภาพเป็นกองทุนรวมเปิด (2) เป็นกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก 1. เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๑๑/๗ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน (1) บิดา มารดาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 1. คู่สมรส (3) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี (4) นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี (5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1)(2)(3) หรือ (4)” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ของข้อ 76 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 97 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “มิให้นําความในข้อ 82(1) และ (3) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 108/1 ในหมวด 8 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ข้อ 108/1 มิให้นําความในข้อ 11/2 ข้อ 11/3 และข้อ 11/5 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันเพียงรายใดรายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่กองทุนรวมและ ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับ ดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนรายย่อยอย่างแท้จริง โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้มีวิชาชีพในการจัดการลงทุนเพื่อประโยชน์โดยรวมของผู้ลงทุนรายย่อยเหล่านั้น นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขหลักการเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการและเหตุในการเลิกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,720
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 25/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 25/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18(1) และ (6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 27/1 หรือข้อ 28ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 24 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีตามข้อ 27/1 หรือข้อ 28 หรือกรณีอื่นใดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ข้อ 27/1 ในกรณีที่วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดตรงกับวันที่สํานักงานได้ประกาศกําหนดให้เป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นกรณีพิเศษให้บริษัทหยุดรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับวันดังกล่าว และต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการหยุดรับคําสั่งในกรณีดังกล่าวไม่น้อยกว่าห้าวันทําการก่อนถึงวันหยุดทําการกรณีพิเศษนั้น โดยการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี)” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 81 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ความใน (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่จะครบกําหนดอายุโครงการก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 82 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ความใน (4)(ก) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก ซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกับกองทุนรวมเปิดที่จะครบกําหนดอายุโครงการก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 99 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “มิให้นําความในข้อ 81(2) และข้อ 82(4)(ข) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวม กองทุนบําเหน็จบํานาญ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเท่านั้น” ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เนื่องจากได้มีการกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นกรณีพิเศษเนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งการกําหนดวันหยุดทําการเพิ่มเติมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อวันทําการขายและรับซื้อคืน หน่วยลงทุนที่กําหนดไว้แล้วในโครงการจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของ กองทุนรวม จึงจําเป็นต้องให้บริษัทจัดการสามารถหยุดรับคําสั่งขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และไม่ต้องทําการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมในวันดังกล่าว รวมทั้งในวันที่สํานักงานมีการกําหนดให้เป็นวันหยุดด้วย (2) ยกเว้นไม่นําหลักเกณฑ์ใหม่ที่กําหนดให้กองทุนรวมต้องมีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ํากว่าสามสิบห้ารายมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่หลักเกณฑ์ใหม่นั้นมีผลใช้บังคับ รวมทั้งกองทุนรวมที่ใกล้จะสิ้นสุดอายุโครงการในไม่ช้านี้ โดยคงให้กองทุนรวมดังกล่าวมีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนต่ํากว่าสามสิบห้ารายได้โดยไม่ถือเป็นเหตุในการเลิกกองทุนรวม และ (3) ให้กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศที่มีลักษณะตามที่กําหนด สามารถดําเนินการต่อไปได้แม้จะมีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนคงเหลือต่ํากว่าสิบราย สมควรปรับปรุงประกาศให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,721
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1 /2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 129 และมาตรา 140 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ 2 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 ข้อ 18(1)(2)(3)(4) และ(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 13 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 2. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 36/2547 เรื่อง มาตรฐานทะเบียนสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 1/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยบริษัทจัดการในนามกองทุนและการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สข. 40/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สข. 41/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคํานวณจํานวนหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 42/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ประกาศ ที่ กน. 30/2547” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อื่นๆ ๑ ข้อกําหนดที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หมวด ๑ ผู้จัดการกองทุน ข้อ ๔ ในหมวดนี้ “พนักงานที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พนักงานของบริษัทจัดการที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนให้แก่กองทุน พร้อมทั้งประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนดังต่อไปนี้ ให้สํานักงาน (1) รายงานวันเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนของแต่ละกองทุน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนนั้นเริ่มหรือหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตามแบบที่สํานักงานกําหนด (2) รายชื่อผู้จัดการกองทุนของแต่ละกองทุน ณ วันสิ้นปีปฏิทิน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนั้นตามแบบที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๗ บริษัทจัดการต้องให้ความรู้หรือจัดอบรมแก่ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (1) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (2) มาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานกําหนดหรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (3) จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนด (4) นโยบายและกฎระเบียบภายในของบริษัทจัดการ ในกรณีที่มีการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการโดยวิธีการใดๆ เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลดังกล่าวด้วยทุกครั้ง หมวด ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง หมวด ๓ การมอบหมายการจัดการ ข้อ ๙ ในการมอบหมายการจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้บุคคลอื่นกระทําแทน หากบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามข้อ 13 แห่งประกาศ ที่ กน. 30/2547 ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว อื่นๆ ๒ การจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๐ ในภาคนี้ “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม “มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น “วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดไว้ในโครงการ หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป ส่วน ๑ ผู้ดูแลผลประโยชน์ ข้อ ๑๑ การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในภายหลัง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัททราบเหตุดังกล่าว และแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ส่วน ๒ การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน ข้อ ๑๒ ในการจัดการกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 15 หรือได้รับยกเว้นตามข้อ 16 (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ (2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ภายในวันทําการถัดไป เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมปิดที่ไม่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทําการถัดไป (3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทําการถัดไป มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 14 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย ในกรณีที่การประกาศตาม (2) และ (3) ได้กระทําผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุนที่จัดขึ้นโดยสมาคม (NAV Center) หรือช่องทางอื่นที่สํานักงานยอมรับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนภายในสองวันทําการถัดไปก็ได้ การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้ ข้อ ๑๓ ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 15 หรือได้รับยกเว้นตามข้อ 16 (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ และคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลา (interval fund) ที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไป ให้บริษัทประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทําการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทําการถัดไป (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้บริษัทประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด ภายในวันทําการถัดไป (3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทําการถัดไป ให้นําความในข้อ 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล สําหรับมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนให้ปัดเศษทศนิยมตําแหน่งที่สี่ขึ้น ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง (ค) ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2)(ข) เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง และประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2)(ข) (ง) คํานวณจํานวนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมเพียงสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคํานวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ข้อ ๑๕ กองทุนรวมใดที่มีการลงทุนบางส่วนในต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันระยะเวลาการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 12 และข้อ 13 ต่อสํานักงานได้ ข้อ ๑๖ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 12 และข้อ 13 (1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 28 ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (2) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 81 และข้อ 82 ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) การคํานวณมูลค่าและราคาตามข้อ 12(1) และข้อ 13(1) ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (ข) การประกาศมูลค่าและราคาตามข้อ 12 วรรคสี่ และข้อ 13 วรรคสอง ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่วน ๓ การดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุน หรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ข้อ ๑๗ ในส่วนนี้ “การชดเชยราคา” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนที่มีราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง แทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุน “ราคาหน่วยลงทุน” หมายความว่า ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหนึ่งสตางค์ หรือคิดเป็นอัตราไม่ถึงร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําและส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบถึงความไม่ถูกต้องภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง โดยรายงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง (ข) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (ค) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (ง) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องมิได้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ (2) ในกรณีที่สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีผลต่อเนื่องถึงการคํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนครั้งต่อไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องตั้งแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาไม่ถูกต้อง ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจนถึงวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนถูกต้อง (2) ดําเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว (ก) จัดทํารายงานการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ รายงานตามวรรคหนึ่งให้มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 18(1) โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีของรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังของกองทุนรวมเปิด ให้ระบุการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องไว้แทนข้อมูลตามข้อ 18(1)(ง) (ข) แก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องภายในวันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตาม (ก) (ค) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถรับทราบชื่อกองทุนรวมที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน และวัน เดือน ปีที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตาม (ก) ความใน (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และได้ประกาศการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตามระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แล้ว ข้อ ๒๐ นอกจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 19 แล้ว ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว (1) จัดทํารายงานการชดเชยราคาไว้ในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนตามข้อ 19(2)(ก) ด้วย โดยให้อยู่ในส่วนของการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (2) ชดเชยราคาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 21 ให้แล้วเสร็จ และดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องทราบถึงการแก้ไขราคาตามข้อ 19(2)(ข) และการชดเชยราคา ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา (3) จัดทํามาตรการป้องกันเพื่อมิให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนารายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตามข้อ 19(2)(ก) ให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนาเอกสารที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้มาพร้อมสําเนารายงานดังกล่าวแทน ข้อ ๒๑ ในการชดเชยราคาตามข้อ 20(2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่ํากว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (understate) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าผู้ซื้อหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว (ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน แต่หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ ให้บริษัทจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน (2) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องสูงกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (overstate)ให้บริษัทปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุน (ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชดเชยราคาเป็นเงินให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนรายใดมีมูลค่าไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท บริษัทอาจนําเงินชดเชยราคาไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่มีการจ่ายเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทชดเชยราคาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา การจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1)(ข) หรือผู้ซื้อหน่วยลงทุนตาม (2)(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจ่ายเงินของบริษัทเองแทนกองทุนเปิดก็ได้ ข้อ ๒๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีสําเนารายงานตามข้อ 18(1) และข้อ 19(2)(ก) ไว้ ณ ที่ทําการของบริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหน่วยลงทุน หรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจากกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ส่วน ๔ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด ข้อ ๒๔ ในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีตามข้อ 28 หรือกรณีอื่นใดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ (2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนในวันทําการถัดจากวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 28 (3) ชําระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน จากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทชําระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันคํานวณมูลค่าและราคาดังกล่าวตามที่ได้รับการผ่อนผัน (ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 25 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีคําเตือนที่แสดงว่าผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้ ในใบคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๒๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล (2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 19 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ข้อ ๒๖ ในการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 25 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไม่เกินสิบวันทําการนับแต่วันที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 25(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงานได้ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน (3) แจ้งการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน และจัดทํารายงานในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและหลักฐานการได้รับความเห็นชอบตามข้อ 25(1) หรือการรับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคาตามข้อ 25(2) จากผู้ดูแลผลประโยชน์ให้สํานักงานทราบโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการดังกล่าวแทนก็ได้ (4) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่สั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันนั้น ๆ ต่อไป ข้อ ๒๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามข้อ 19 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ทั้งนี้ ให้บริษัทดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเกี่ยวกับการหยุดการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน ข้อ ๒๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เมื่อปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ และบริษัทได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในโครงการแล้ว (1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่า (ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล หรือ (ข) ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรือ (ค) มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินหนึ่งวันทําการ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน และการกําหนดอัตราส่วนการ ลงทุน เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือ (ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ ข้อ ๒๙ เมื่อปรากฏเหตุตามข้อ 28 และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน (2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุด รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 28 เกินหนึ่งวันทําการ ให้บริษัทดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ข) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน ข้อ ๓๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่สํานักงานประกาศซึ่งไม่เกินยี่สิบวันทําการติดต่อกัน ข้อ ๓๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทได้กําหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ โดยขั้นตอนที่กําหนดดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดนั้นทุกราย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงื่อนไขมีได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเปิดกําหนดวิธีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้สามารถชําระเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินไว้เป็นการทั่วไป (2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ 3. บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเงิน (4) ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงรับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ ส่วน ๕ การจัดทํารายงานของกองทุนรวม ข้อ ๓๒ ในส่วนนี้ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๓ ในการจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน หรือหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี เฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบปีบัญชี พร้อมทั้งแสดงเหตุผล และส่งให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว เพื่อให้สํานักงานเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ หรือหมวดอื่น แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงาน (2) กองทุนรวมที่มีการกําหนดอายุโครงการ ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ ข้อ ๓๔ ในการจัดการกองทุนรวมผสมที่กําหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในโครงการในวันทําการใด ให้บริษัทจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนทุกสิ้นวันทําการนั้น และรายงานให้สํานักงานทราบเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ให้นําความในข้อ 33 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๓๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมทุกรอบปีบัญชีซึ่งมีสาระตามที่กําหนดไว้ในข้อ 37 วรรคหนึ่ง และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนรวมเปิด หากบริษัทเลือกจัดทําและส่งรายงานตามข้อ 36 ตามปีปฏิทิน ให้ระยะเวลาการส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมของรอบปีบัญชีขยายเป็นภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี การส่งรายงานรอบปีบัญชีให้แก่สํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 81 และข้อ 82 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว ข้อ ๓๖ นอกจากการจัดทํารายงานทุกรอบปีบัญชีตามข้อ 35 แล้ว ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมเปิดทุกรอบระยะเวลาหกเดือนของปีบัญชีหรือของปีปฏิทิน ซึ่งมีสาระตามที่กําหนดไว้ในข้อ 37 วรรคสองด้วย และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและ สํานักงานภายในสองเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่งตามรอบปีบัญชี ให้บริษัทได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทําและส่งรายงานดังกล่าวในรอบระยะเวลาหกเดือนหลังสําหรับปีบัญชีนั้น ให้นําความในข้อ 35 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๓๗ การจัดทํารายงานรอบปีบัญชีตามข้อ 35 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) งบดุล งบกําไรขาดทุน และงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว (2) รายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมที่ต้องแสดงการจัดกลุ่มให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามคําอธิบายแนบท้ายประกาศนี้ (3) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด (4) ค่านายหน้าทั้งหมดจากการที่บริษัทสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนรวม รายชื่อบริษัทนายหน้าที่ได้รับค่านายหน้าในจํานวนสูงสุดสิบอันดับแรก อัตราส่วนของจํานวนค่านายหน้าที่บริษัทนายหน้าแต่ละรายดังกล่าวได้รับต่อจํานวนค่านายหน้าทั้งหมด และอัตราส่วนของจํานวนค่านายหน้าส่วนที่เหลือต่อจํานวนค่านายหน้าทั้งหมด (5) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางแนบท้าย ประกาศนี้ (6) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในรอบปีบัญชีนั้น ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบปีบัญชีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับรอบปีบัญชีก่อนหน้า (7) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมของบริษัท (8) ในกรณีที่บริษัทลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาที่กําหนด ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผล (9) ข้อมูลการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (10) ข้อมูลการบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นศูนย์ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ (ถ้ามี) (11) ข้อมูลการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น (ถ้ามี) (12) ข้อมูลการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมของรอบปีปฏิทินล่าสุด การจัดทํารายงานรอบระยะเวลาหกเดือนตามข้อ 36 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยตาม (1) ถึง (8) โดยอนุโลม เว้นแต่งบการเงินตาม (1) ไม่จําต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ข้อ ๓๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายงานตามข้อ 35 และข้อ 36 ของรอบระยะเวลาล่าสุด ไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท และสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ ข้อ ๓๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบรับส่งรายงานธุรกิจจัดการกองทุนรวม (Investment Management Reporting System) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานจัดการกองทุนรวมตามที่สํานักงานแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมล่วงหน้า การจัดทําและส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมล่วงหน้า ทั้งนี้ ในกรณีของข้อมูลตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําในรูปแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสํารองของข้อมูลตาม (1) ไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ส่วน ๖ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ ข้อ ๔๐ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานกําหนด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอรับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการดังกล่าวจากสํานักงานได้ โดยการยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งรายละเอียดของโครงการที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วและคํารับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้ ข้อ ๔๑ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่เกินร้อยละหกสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น มติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ ข้อ ๔๒ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 11 แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวได้ ข้อ ๔๓ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิด ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 77 วรรคสอง ส่วน ๗ การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจาก กองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ข้อ ๔๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือ (2) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก้ไขโครงการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ข้อ ๔๕ ในการดําเนินการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมดังกล่าว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชําระค่าหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว โดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการก่อนวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (ข) การชําระค่าหน่วยลงทุนตาม (ก) ให้กระทําภายในห้าวันทําการนับแต่วันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิด โดยให้นับวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นวันแรกของระยะเวลาดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด ซึ่งมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิดโดยการเปลี่ยนสภาพ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามข้อ 55 แทน (2) ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานตามแบบที่สํานักงานกําหนด พร้อมข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และสัญญาแต่งตั้งดูแลผลประโยชน์ที่มีการลงนามแล้ว (ถ้ามีการแก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวม)รวมทั้งรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ในวันทําการที่สามล่วงหน้าก่อนวันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด (ก) การแก้ไขรายการทางทะเบียนแสดงสภาพของกองทุนรวม 2. การจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือเงินทุนโครงการของกองทุนรวม (ถ้ามี) (3) จัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิด และจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชน โดยการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนต้องแนบข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมนั้น (ข) งบการเงินประจํางวดการบัญชีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว (ค) รายงานฐานะการลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน ราคาที่ได้มา มูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น และอัตราส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมโดยแยกเป็นแต่ละรายการ และตามประเภทธุรกิจหลักที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด ข้อ ๔๖ ให้ถือว่าวันที่สํานักงานรับจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนตามข้อ 45(2)(ก) เป็นวันเริ่มต้นมีผลเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด ส่วน ๘ การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ข้อ ๔๗ ในส่วนนี้ “ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม “รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน “ควบรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี “กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม “กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน ข้อ ๔๘ การควบรวมกองทุนรวมต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน โดยบริษัทต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม และการควบรวมกองทุนรวมแต่ละครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย ข้อ ๔๙ กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว (2) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการแต่ไม่ได้มติโดยเสียงข้างมากด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะควบรวมกองทุนรวมต่อไป ให้ดําเนินการขอมติครั้งใหม่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรกหรือวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการขอมติครั้งแรก และได้รับมติในครั้งหลังนี้เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งออกเสียงลงมติของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตาม (2) ให้บริษัทแจ้งผลการนับมติครั้งแรกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไปในคราวเดียวกันด้วย ในการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดด้วย และหากได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ใน (1) ให้ถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมตามข้อ 44(2) แล้ว ข้อ ๕๐ การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 49 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันประชุม หรือส่งหนังสือขอมติล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรทราบเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ให้ชัดเจนไว้ในหนังสือนัดประชุม หรือหนังสือขอมติดังกล่าว (1) สถานะการลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนที่เป็นปัจจุบันก่อนการขอมติควบรวมกองทุนรวม ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น โดยระบุประเภท ชื่อ จํานวน อัตราผลตอบแทน (ถ้ามี) มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุด และผลการดําเนินงานล่าสุดของกองทุนรวม (2) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการควบรวมกองทุนรวมแล้ว โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการ นโยบายการลงทุน และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนและจากกองทุนรวม เป็นอย่างน้อย (3) ขั้นตอน สาระสําคัญของการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน และกําหนดเวลาในการควบรวมกองทุนรวม (4) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม (5) รายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ประมาณการฐานะการเงินของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน (6) การดําเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) ก่อนการควบรวมกองทุน และนโยบายการจ่ายเงินปันผลภายหลังการควบรวมกองทุนรวม (ถ้ามี) (7) ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกองทุนที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวม (ถ้ามี) เช่น ค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชี เป็นต้น (8) ข้อดีและข้อเสียหลังจากมีการควบรวมกองทุน เช่น ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะที่เกินความจริง เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารดังกล่าวไปยังสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ ข้อ ๕๑ ในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อควบรวมกองทุนถึงวันที่มีการควบรวมกองทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ โดยการปิดประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท และจัดให้มีการประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละสัปดาห์ของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ ข้อ ๕๒ เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้มีการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 49 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่กับบริษัท ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมใหม่ และร่างหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน รวมทั้งร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนกับบริษัท และร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่รับโอน ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผูกพันและสัญญาดังกล่าว (3) หนังสือรับรองการได้มติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม (4) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน สถานะการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงาน สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ข้อ ๕๓ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําการควบรวมกองทุนรวมแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ควบรวมกองทุนดังกล่าว และให้บริษัทควบรวมกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทกําหนดวันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นวันเดียวกันกับวันที่ควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๕๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมบอกกล่าวการควบรวมกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (ถ้ามี) ตลอดจนสิทธิและกําหนดเวลาในการใช้สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอน ตามวิธีการดังต่อไปนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนทราบเป็นหนังสือพร้อมสรุปสาระสําคัญของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน วันที่จะควบรวมกองทุน วันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยระบุวัน เดือน ปี อย่างชัดแจ้ง และสถานที่ติดต่อเพื่อสอบถามหรือรับข้อมูลเพิ่มเติม (2) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจําหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองฉบับเป็นเวลาสองวันติดต่อกัน ในกรณีที่เป็นการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด นอกจากการแจ้งและประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทแจ้งและประกาศการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 49 วรรคสี่ด้วย ข้อ ๕๕ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้มีหนังสือแจ้งและประกาศการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 54 แล้ว ให้บริษัทดําเนินการตามโครงการจัดการกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนในการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน แล้วแต่กรณี สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้าการควบรวมกองทุนรวม ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย ข้อ ๕๖ ในกรณีของการควบกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่มาเป็นของกองทุนรวมใหม่ ส่วนในกรณีของการรวมกองทุนรวม ให้บริษัทเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอน และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน มาเป็นของกองทุนรวมที่รับโอน ทั้งนี้ สําหรับการซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างการฟ้องคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการนั้น ในกรณีที่กองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้หลักประกันนั้นตกเป็นหลักประกันแก่กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนด้วย ข้อ ๕๗ ในการขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการควบรวมกองทุนรวม ถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 50 เกี่ยวกับการดําเนินการควบรวมกองทุนต่อผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมหากมีการควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทต้องดําเนินการให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวด้วย ข้อ ๕๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลโครงการที่เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยระบุวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม รวมทั้งประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนไว้ด้วย และให้บริษัทจัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้ประชาชน ข้อ ๕๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือแจ้งสถานะการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน ไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ ส่วน ๙ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้ หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ข้อ ๖๐ ในส่วนนี้ “เงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้” หมายความว่า เงินได้จากการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น รายได้ที่เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ตลอดจนดอกผลที่ได้จากทรัพย์สินดังกล่าว และเงินสํารอง (ถ้ามี) หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการได้มา การมีไว้ หรือการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น “เงินสํารอง” หมายความว่า จํานวนเงินที่ตั้งสํารองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ข้อ ๖๑ ในการจัดการกองทุนรวม หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๖๒ กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ เว้นแต่บริษัทได้ดําเนินการตามข้อ 63 ก่อนแล้ว ข้อ ๖๓ ในกรณีที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ก็ได้ ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว บริษัทไม่ต้องนําตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๖๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 62 หรือข้อ 63 ให้บริษัทแจ้งประเภท จํานวน ชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องและเงินสํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งวันที่บริษัทบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือวันที่บริษัททราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี ไปยังสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือนับแต่วันที่บริษัททราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 62 ให้บริษัทจัดให้มีรายละเอียดตามวรรคแรกไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัท ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทได้แจ้งสํานักงานเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวันด้วย ข้อ ๖๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ดําเนินการตามข้อ 62 หรือข้อ 63 แล้วแต่กรณี บริษัทจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในโครงการ และ (2) ก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการนั้น หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ข้อ ๖๖ ในการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 65 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น หรือ (2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํา ซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ข้อ ๖๗ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม ให้บริษัทดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องวันที่บริษัทได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา (2) จัดให้มีรายละเอียดตาม (1) ไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทได้แจ้งสํานักงานตาม (1) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน กรณีเป็นกองทุนรวมปิด นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุไว้ในการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนในครั้งถัดจากวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาว่า กองทุนรวมได้รับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นซึ่งผู้ลงทุนสามารถขอดูรายละเอียดได้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัท ทั้งนี้ ให้ระบุไว้ในการประกาศดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามครั้งติดต่อกัน ข้อ ๖๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๖๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 62 หรือข้อ 63 บริษัทไม่ต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๗๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 62 หรือข้อ 63 ให้บริษัทจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ตกลงรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวแทนเงิน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในโครงการและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในระหว่างที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น บริษัทอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ (2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้บริษัทดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมก็ได้ (ข) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และในระหว่างที่บริษัทยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้บริษัทจ่ายจากเงินสํารอง รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินนั้น ข้อ ๗๑ เมื่อมีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ในแต่ละครั้ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเฉลี่ยเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดตามข้อ 62 หรือข้อ 63 แล้วแต่กรณี ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ และให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเฉลี่ยเงินคืนไปยังสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้เฉลี่ยเงินคืน เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันระยะเวลาการเฉลี่ยเงินคืนเป็นอย่างอื่น ในการเฉลี่ยเงินคืนในแต่ละครั้งตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่การเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะคุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายก็ได้ ทั้งนี้ หากได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วนแล้ว และปรากฏว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้นไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืน บริษัทอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมก็ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์ตามวรรคสองไว้ในโครงการแล้ว ข้อ ๗๒ กองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หากต่อมาปรากฏว่าบริษัทได้รับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นเงิน ให้บริษัทปฏิบัติตามความในข้อ 71 โดยอนุโลม ส่วน ๑๐ การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม ผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม ข้อ ๗๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) เปิดเผยแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ ส่วน ๑๑ การจ่ายเงินปันผล ข้อ ๗๔ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้จ่ายได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมหรือมีกําไรสุทธิในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล (3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่ต่างกันสําหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันได้ ต่อเมื่อได้กําหนดกรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนดําเนินการจ่ายเงินปันผลในแต่ละครั้งแล้ว ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๗๕ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยออกเป็นหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ส่วน ๑๒ ค่าธรรมเนียม ข้อ ๗๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม (2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เรียกเก็บตามอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee) ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้ง (front-end fee or back-end fee) จากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปี (annual selling fee) จากกองทุนรวม ข้อ ๗๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะมีการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายให้แตกต่างไปจากโครงการ ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน ข้อ ๗๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม ให้บริษัทแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันตามวิธีการดังต่อไปนี้ ก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มดังกล่าว (1) ประกาศกรณีดังกล่าวในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน และ (2) ติดประกาศกรณีดังกล่าวไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มแทนการประกาศตาม (1) และ (2) ก็ได้ ข้อ ๗๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 77 และข้อ 78 ให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ข้อ ๘๐ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติมโดยมีจํานวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาหนึ่งปีไม่อาจทําได้ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วน ๑๓ การเลิกกองทุนรวม ข้อ ๘๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมปิด เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม ข้อ ๘๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 83 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทเป็นเวลาห้าวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน (2) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทในวันทําการใด และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเลิกกองทุนรวม (3) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบล้านบาทในวันทําการใด หรือ (4) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจํานวนดังต่อไปนี้ ในวันทําการใด (ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม ข้อ ๘๓ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2) (3) หรือ (4) (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2)(3) หรือ (4) (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนเปิดดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2)(3) หรือ (4) เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือวันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2) (3) หรือ (4) และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น เมื่อได้ดําเนินการตาม (1) ถึง (4) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม ข้อ ๘๔ เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้น ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ และ (ข) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ และ (ข) ดําเนินการตาม (1)(ก) และดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น (3) จําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม ส่วน ๑๔ การผ่อนผัน ข้อ ๘๕ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานได้ (1) การเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 11 วรรคสาม (2) การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 12 วรรคสี่ และข้อ 13 วรรคสอง (3) ระยะเวลาการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 28(2) (4) การจัดทําและส่งรายงานรอบปีบัญชีตามข้อ 35 และรายงานรอบระยะเวลาหกเดือนตามข้อ 36 และข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวตามข้อ 37 (5) การประกาศการจ่ายเงินปันผลตามข้อ 74 วรรคสอง (1) (6) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 83(4) หรือข้อ 84 หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน ข้อ ๘๖ ในหมวดนี้ “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้ “มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ ข้อ ๘๗ เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้ต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิมหรือตามที่กําหนดไว้ในโครงการ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนให้จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เป็นอย่างอื่น หรือ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวบริษัทจะเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน โดยถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสําคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกันหรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ข้อ ๘๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่จะมีผลทําให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันสําหรับงวดการประกันล่าสุด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ดังกล่าวได้ ต่อเมื่อบริษัทได้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวโดยต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน เว้นแต่บริษัทได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการตามข้อ 87(2) ข้อ ๘๙ ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 90 (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 87(1) หรือข้อ 88 หรือ (2) ค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่สูงกว่าผลประโยชน์ที่กองทุนรวมมีประกันจะได้รับ หรือ (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ข้อ ๙๐ เมื่อปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 89 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. เลิกกองทุนรวมมีประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือ (2) ยกเลิกการประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนและจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไป โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน และห้ามบริษัทโฆษณาหรือเปิดเผยว่าเป็นกองทุนรวมมีประกันอีกต่อไป การดําเนินการตามวรรคหนึ่งไม่เป็นผลให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหลุดพ้นจากความรับผิดตามข้อ 87 วรรคสาม และบริษัทยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนรวมมีประกันและผู้ถือหน่วยลงทุนจนถึงวันที่บริษัทได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ด้วย หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๙๑ มิให้นําความในข้อ 24(2) มาใช้บังคับ และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 28 ข้อ ๙๒ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เป็นประการอื่นได้ (1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 (2) ระยะเวลาการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 12 และข้อ 13 (3) การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 14 หมวด ๔ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมวายุภักษ์ ข้อ ๙๓ ในการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กําหนดนโยบายการลงทุนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย ข้อ ๙๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดเฉพาะในข้อ 12(1) และข้อ 14 และให้นําความตามข้อ 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด หมายถึง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ข้อ ๙๕ มิให้นําความในข้อ 74 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมจนถึงงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกําไรสุทธิในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจ่ายได้จากสํารองการจ่ายเงินปันผล ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล (3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ข้อ ๙๖ ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๙๗ มิให้นําความในข้อ 74 มาใช้บังคับ และห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๙๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๖ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของ กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๙๙ มิให้นําความในข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 74 วรรคสอง ข้อ 82(1)(2) และ (3) และข้อ 84 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ หมวด ๗ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ ๑๐๐ ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบดังต่อไปนี้ (1) ระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐๑ ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายในห้าวันทําการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 103 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐๒ มิให้นําความในข้อ 74 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม (2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของกําไรสะสมดังกล่าว หรือกําไรสุทธิในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ข้อ ๑๐๓ มิให้นําความในข้อ 82 และข้อ 83 มาใช้บังคับ และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 104 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทเป็นเวลาห้าวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมเป็นต้นไป (2) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทในวันทําการใด และบริษัทประสงค์จะเลิกกองทุนรวม เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมเป็นต้นไป (3) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบล้านบาทในวันทําการใด เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมเป็นต้นไป (4) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้ารายในวันทําการใด ๆ ข้อ ๑๐๔ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 103 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่าบริษัทจะดําเนินการการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 101 และดําเนินการตามข้อ 104 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือภายในวันถัดจากวันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม หมวด ๘ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ ๑๐๕ ในหมวดนี้ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ข้อ ๑๐๖ การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน นอกจากจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 31 แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้เมื่อบริษัทได้กําหนดกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ข้อ ๑๐๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนทั่วไปได้เมื่อปรากฏเหตุแห่งเงื่อนไขในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการ ข้อ ๑๐๘ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Bank (EMEAP) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกําหนดปริมาณหรือมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจะรับซื้อคืนจากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๐๙ มิให้นําความในข้อ 82(4) และข้อ 83 มาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 110 เมื่อปรากฏว่าจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนมีไม่ถึงสามสิบห้ารายภายหลังจากวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง (organized market) ข้อ ๑๑๐ เมื่อปรากฏกรณีตามวรรคสองของข้อ 109 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่บริษัททราบเหตุตามวรรคสองของข้อ 109 (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในวันถัดจากวันที่บริษัททราบเหตุตามวรรคสองของข้อ 109 (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในวันถัดจากวันที่บริษัททราบเหตุตามวรรคสองของข้อ 109 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้ และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่บริษัททราบเหตุตามวรรคสองของข้อ 109 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม หมวด ๙ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๑๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมใดได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ให้ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมตามข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 65 ข้อ 66 ข้อ 67 ข้อ 68 ข้อ 69 ข้อ 70 ข้อ 71 และข้อ 72 และให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ แทน (1) กรณีกองทุนรวมปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันเลิกโครงการจัดการกองทุนรวมปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ (2) กรณีกองทุนรวมเปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือวันที่บริษัทได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ (3) กรณีที่กองทุนรวมได้รับทรัพย์สินจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นมาในขณะที่เป็นกองทุนรวมปิด แต่ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด โดยมิได้จําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวก่อนการเปลี่ยนสภาพ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันครบกําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมปิดเดิม เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนประเภทโครงการดังกล่าวก่อนครบกําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมปิดเดิม ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในสองวันก่อนวันที่บริษัทยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนต่อสํานักงานเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ ข้อ ๑๑๒ ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดของโครงการขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และหากบริษัทจัดการมิได้ดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้เลิกกองทุนรวมนั้นได้ ข้อ ๑๑๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้วแต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน หรือยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงาน ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีรายละเอียดของโครงการขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนในครั้งแรก และหากบริษัทจัดการมิได้ดําเนินการดังกล่าวก่อนเสนอขายหน่วยลงทุน สํานักงานอาจสั่งให้ยุติโครงการได้ อื่นๆ ๓ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หมวด ๑ บททั่วไป ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป ข้อ ๑๑๔ เมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ลูกค้าที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพปฏิเสธการรับทราบข้อมูล (1) การประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล (ก) วิธีการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลนั้น โดยอาจเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ให้ระบุสมมติฐานและข้อจํากัดในการประเมินผลการดําเนินงานดังกล่าวด้วย (ข) ช่วงเวลาสําหรับการประเมินผลการดําเนินงานซึ่งต้องกําหนดให้มีการประเมินผลทุกเดือน (2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับฝากทรัพย์สิน (3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล (4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ (5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน และการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ (6) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าตามที่สํานักงานกําหนด การเปิดเผยข้อมูลตาม (3) (4) และ (6) ให้แก่ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับ (1) การจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (2) การจัดการกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ข้อ ๑๑๕ เมื่อสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับฝากทรัพย์สินแล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่บริษัทและลูกค้าได้ตกลงกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินโดยเร็วที่สุด ข้อ ๑๑๖ ให้นําความในข้อ 76 มาใช้บังคับกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม ส่วน ๒ การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของลูกค้า ข้อ ๑๑๗ ในส่วนนี้ “รายงานรายปี” หมายความว่า รายงานรายปีตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้กับลูกค้า ข้อ ๑๑๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หากลูกค้าได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติตามข้อ 73(1) และ (2) โดยอนุโลม และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายงานการได้ใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบเมื่อได้ดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงแล้วด้วย (2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติตามข้อ 73โดยอนุโลม และให้แจ้งให้ลูกค้าทราบไว้ในรายงานรายปีว่า ลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงได้โดยวิธีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลไว้ ข้อ ๑๑๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล และลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบก็ได้ (2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบ หรือขอรับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อไปใช้สิทธิออกเสียงแทน ส่วน ๓ การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงาน ข้อ ๑๒๐ ในส่วนนี้ “งานทะเบียนสมาชิกกองทุน” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนข้อมูลสมาชิกกองทุน และจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบนายจ้างพร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้างแต่ละราย “แฟ้มข้อความ” หมายความว่า การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic file) “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนดให้ใช้สําหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสํานักงานกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ระบบ Private Fund and Provident Fund Reporting System) ข้อ ๑๒๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานข้อมูลการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทต้องดําเนินการให้เป็นตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๒๒ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานข้อมูลดังต่อไปนี้ในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยให้บริษัทส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทต้องดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกกองทุน (2) ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้าง (3) ข้อมูลรายละเอียดการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การจัดทําแฟ้มข้อความตาม (1) และ (2) ให้จัดทําเป็นรายเดือน โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไปสําหรับแฟ้มข้อความตาม (3) ให้จัดทําเป็นรายไตรมาสโดยใช้ข้อมูล ณ วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาสและจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนแรกถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ข้อ ๑๒๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งสําเนางบดุลและรายงานการสอบบัญชีที่จัดทําขึ้นตามข้อ 127 ให้สํานักงานภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และแสดงไว้ที่ทําการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตรวจดูได้ด้วย ข้อ ๑๒๔ ในการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประเมินผลการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ การรายงานผลครั้งแรก ให้บริษัทส่งระบบงานทะเบียนสมาชิกกองทุนของบริษัทไปพร้อมกับรายงานดังกล่าวด้วย หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒๕ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อให้เผยแพร่ต่อสมาชิกสําหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับสมาชิก ทั้งนี้ เมื่อ คณะกรรมการกองทุนแจ้งว่าจะเสนอนโยบายการลงทุนต่อสมาชิก บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้สมาชิกมีสิทธิเปลี่ยนนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๒๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบให้สมาชิกแต่ละรายทราบอย่างน้อยทุกงวดหกเดือนของปีปฏิทินโดยให้ส่งรายงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดหกเดือน และหากสมาชิกขอทราบรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือน ให้บริษัทส่งรายงานดังกล่าวให้สมาชิกทราบในเวลาอันควรด้วย ข้อ ๑๒๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํางบดุลโดยมีผู้สอบบัญชีตามข้อ 128 เป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบดุลนั้น และให้บริษัทจัดการเสนองบดุลพร้อมรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อทําการรับรองงบดุลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเก็บรักษางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รายงานการสอบบัญชี และเอกสารแสดงจํานวนสมาชิกและมูลค่าเงินกองทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ณ วันสิ้นเดือน ก่อนวันแต่งตั้งผู้สอบบัญชีไว้ที่บริษัทด้วย ข้อ ๑๒๘ ผู้สอบบัญชีที่จะเป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบดุลตามข้อ 127 ได้จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกสภาวิชาชีพบัญชีสั่งพักใบอนุญาตการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้สอบบัญชี และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้สอบบัญชีนั้นอาจเป็นเพียงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีได้ (1) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีจํานวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีไม่เกินหนึ่งร้อยราย (2) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งที่ประชุมสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้ความเห็นชอบโดยคณะกรรมการกองทุนได้แจ้งให้ที่ประชุมสมาชิกทราบแล้วว่า ผู้สอบบัญชีดังกล่าวไม่ใช่ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ส่วน ๒ การคํานวณมูลค่าต่อหน่วยและจํานวนหน่วย และการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ข้อ ๑๒๙ ในส่วนนี้ “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกที่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย “จํานวนหน่วย” หมายความว่า จํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ผู้รับรองมูลค่า” หมายความว่า บุคคลที่ทําการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งคํานวณโดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น “วันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date)” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๑๓๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เงินที่มิได้เกิดจากผลการดําเนินงาน ให้นํามาคํานวณเป็นจํานวนหน่วย แต่ในกรณีที่เป็นจํานวนที่ไม่มีนัยสําคัญ ให้นํามาคํานวณเป็นมูลค่าต่อหน่วยได้ ข้อ ๑๓๑ มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ต้องมีมูลค่าสิบบาท เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกครั้งแรกในวันที่บริษัทได้รับเงินสะสมและเงินสมทบครั้งแรกเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งเป็นมูลค่าในการคํานวณ ข้อ ๑๓๒ ในการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าต่อหน่วย การปรับปรุงรายการ การแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยและการชดเชยมูลค่า ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบรรดาสมาชิกกองทุนเป็นสําคัญ และบริษัทต้องดําเนินการดังกล่าวต่อสมาชิกกองทุนแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่โดยผลของกฎหมายทําให้บริษัทไม่สามารถปฏิบัติต่อสมาชิกแต่ละรายได้อย่างเท่าเทียมกัน หรือโดยเงื่อนไขและปัจจัยของสมาชิกแต่ละรายแตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้บริษัทไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ หรือบริษัทได้ดําเนินการตามแนวทาง (guideline) ที่สํานักงานกําหนดไว้ ข้อ ๑๓๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน และในการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุด โดยให้เพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายในสองวันทําการถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วย ข้อ ๑๓๔ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ได้ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ (1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) มีประกาศสํานักงานให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน (3) เมื่อมีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๑๓๕ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และหากมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องและตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป ให้บริษัทจัดส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยหรือการชดเชยมูลค่าเสร็จสิ้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง (2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง (4) การดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ในระหว่างที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วย บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดทํามาตรการป้องกันและอาจหยุดการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยได้ไม่เกินเจ็ดวันทําการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ข้อ ๑๓๖ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (2) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล ข้อ ๑๓๗ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้มีผู้รับรองมูลค่าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานให้เป็นผู้รับรองมูลค่า และ (2) ไม่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสําคัญกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจนทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนทราบและได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนแล้ว ข้อ ๑๓๘ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีการรับรองมูลค่าเมื่อมีการทําหรือต่อสัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินฉบับใหม่ และในกรณีที่สัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินมิได้กําหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ ให้บริษัทดําเนินการภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ส่วน ๓ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้ หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ข้อ ๑๓๙ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๔๐ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อบังคับกองทุน หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน และก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน โดยคณะกรรมการกองทุนจะต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ในการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น หรือ (2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้จะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ข้อ ๑๔๑ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง วันที่บริษัทได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังคณะกรรมการกองทุนภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา ข้อ ๑๔๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๔๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ (2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้รับทรัพย์สินนั้นมาเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว บริษัทอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ส่วน ๔ การจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๑๔๔ ในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกําหนดราคาทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้เพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๔๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก็ได้ (2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาหรือภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาที่ผู้อุทิศให้ระบุห้ามมิให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์ให้บริษัทจัดการประกอบกิจการสมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุน ซึ่งต้องจัดการลงทุนโดยได้ใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างเต็มที่ และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ภายใต้กรอบของกฎหมายที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐาน เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดการกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
1,722
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบกับข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 11/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11/1 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ (2) กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (3) กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินหกเดือน ซึ่งมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 11/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11/4 ในกรณีของกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากในวันดังกล่าวกองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 11/2 และข้อ 11/3 สําหรับการถือหน่วยลงทุนที่เกินอัตราส่วนในกรณีนั้น แต่ให้ดําเนินการตามข้อ 11/5 แทน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 11/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11/5 ในกรณีที่กองทุนรวมใดที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากในวันดังกล่าวกองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการสําหรับการถือหน่วยลงทุนที่เกินอัตราส่วนในกรณีดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รายงานให้สํานักงานทราบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยให้ระบุชื่อกองทุนรวม รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว และจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นถือไว้ และ (2) ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ 14 มีนาคม พ. ศ. 2549 (ก) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม หรือควบกองทุนรวมหรือรวมกองทุนรวมดังกล่าว เพื่อให้อัตราการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (ข) เลิกกองทุนรวมนั้น (ค) ดําเนินการอื่นใดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 11/6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11/6 การดําเนินการตามข้อ 11/5 มิให้นํามาใช้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) การดําเนินการตามข้อ 11/5(2) มิให้นํามาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กําหนดในข้อ 11/5 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14(2)(ก) หรือ (ข) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) การดําเนินการตามข้อ 11/5(2) มิให้นํามาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กําหนดในข้อ 11/5 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14(2)(ค) หรือ (ง) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมกากํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และโครงการของกองทุนรวมมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนับคะแนนเสียงในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ (3) การดําเนินการตามข้อ 11/5 ทั้งกรณีตาม (1) และ (2) มิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกองทุนรวมปิดที่กําหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนโดยไม่มีการแก้ไขอายุโครงการหรือมีการแปลงสภาพเป็นกองทุนรวมเปิด (ข) เป็นกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก (ค) เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของวรรคหนึ่งของข้อ 82 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “(5) มีการขายคืนหน่วยลงทุนโดยบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลตามข้อยกเว้นตามข้อ 14(2)(ข)(ค) และ (ง) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีการขายคืนหน่วยลงทุนรวมกันเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใด” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 83 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 83 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2)(3)(4) หรือ (5) (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2)(3)(4) หรือ (5) (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนเปิดดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2) (3)(4) หรือ (5) เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(1) หรือวันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82(2)(3)(4) หรือ (5) และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น เมื่อได้ดําเนินการตาม (1) ถึง (4) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 104 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 104 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 103 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่าบริษัทจะดําเนินการการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 101 และดําเนินการตามข้อ 104 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ห้าที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(1) หรือภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103(2)(3) หรือ (4) และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็น การเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม” ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเพิ่มเติมประเภทกองทุนรวมที่ได้รับยกเว้นไม่นําหลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 1 ของหมวด 2 เรื่องการถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสาม มาใช้บังคับ และปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในเรื่องการถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามสําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 ตลอดจนเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อยของกองทุนรวมเปิดได้รับความเป็นธรรมเมื่อมีการขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนรายที่ถือหน่วยลงทุนเกินว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการเลิกกองทุนรวมเพื่อให้ชัดเจนและปฏิบัติได้
1,723
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 15/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 15/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 105 และข้อ 106 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 105 ในหมวดนี้ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง (organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี ข้อ 106 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ทําการขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้เมื่อบริษัทได้กําหนดกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 108/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ ข้อ 108/2 ในกรณีที่มูลค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ตามข้อ 13(1) จะทําให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ใช้ชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการใช้มูลค่าในการคํานวณราคาขายและราคารับซื้อคืนให้แตกต่างจากมูลค่าที่กําหนดไว้ในข้อ 13(1) ต่อสํานักงานได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อรองรับให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟอย่างชัดเจน และ (2) ให้บริษัทจัดการขอผ่อนผันการใช้มูลค่าอื่นนอกเหนือจากมูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้
1,724
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 17/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 17/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 41 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่เกินร้อยละหกสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อคํานวณเฉพาะจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจํานวนไม่เกินร้อยละหกสิบของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 6/1 กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม ข้อ 43/1 ข้อ 43/2 ข้อ 43/3 และข้อ 43/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ส่วนที่ 6/1 กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ข้อ 43/1 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากชนิดหนึ่งเป็นหน่วยลงทุนอีกชนิดหนึ่งได้โดยต้องระบุวิธีการสับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ในโครงการให้ชัดเจน ข้อ 43/2 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือ หน่วยลงทุนเพื่อการใดๆ ต้องระบุให้ชัดเจนไว้ในโครงการโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด เช่น การเลิกกองทุนรวม เป็นต้น ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น 2. ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น การคิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นต้น ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น (3) ในกรณีที่ข้อกําหนดอื่นในประกาศนี้กําหนดให้ต้องมีการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน หากการขอมติในเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติเฉพาะจากผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น ข้อ 43/3 ในกรณีที่การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนในกรณีใดซึ่งต้องมีการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม ข้อ 43/4 ในกรณีที่หน่วยลงทุนชนิดใดของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ไม่มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนเหลืออยู่แล้วสําหรับหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าว บริษัทจัดการอาจคงชนิดของหน่วยลงทุนนั้นไว้ต่อไปก็ได้ และหากจะมีการขายหน่วยลงทุนชนิดนั้นเพิ่มเติม ให้บริษัทคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (Asset Value) หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (Net Asset Value) แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสมของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นเกณฑ์ในการคํานวณ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 125 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้สมาชิกมีสิทธิเปลี่ยนนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่สมาชิกมีมติกําหนดเวลาในการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนไว้เป็นอย่างอื่น” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เนื่องจากสํานักงานได้อนุญาตให้จัดตั้งกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนได้ จึงต้องปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมให้สอดคล้องกับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังกล่าว (2) เพื่อให้การจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยให้สมาชิกอาจกําหนดเวลาในการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิของสมาชิกได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,725
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 30/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 30/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 ข้อ 16 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ ข้อ 6 ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ของข้อ 92 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เนื่องจากมีการออกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ซึ่งประกาศดังกล่าวได้กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนไว้ในรายละเอียดแล้ว ดังนั้น จึงจําเป็นต้องแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนเพื่อให้สอดคล้องและไม่ซ้ําซ้อนกับประกาศฉบับดังกล่าว (2) เนื่องจากกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศสามารถมอบหมายการจัดการลงทุนในต่างประเทศได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องขอผ่อนผันหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนจากสํานักงานอีก จึงไม่มีความจําเป็นต้องกําหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันดังกล่าว อีกต่อไป
1,726
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 4/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 4/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 140 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 12 ข้อ 18(1) (2) และ (4) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” และ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” ก่อนบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบาย โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 116 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 116 ให้นําความในข้อ 76(2) มาใช้บังคับกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 130 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 130 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยเงินที่มิได้เกิดจากผลการดําเนินงาน ให้นํามาคํานวณเป็นจํานวนหน่วย” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 131 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ในกรณีที่ปรากฏว่ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพใดหรือนโยบายการลงทุนใดของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ไม่มีสมาชิกเหลืออยู่จนเป็นเหตุให้ไม่มีมูลค่าต่อหน่วยที่สามารถนํามาคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกใหม่ที่สมัครเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือนโยบายการลงทุนได้ ให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับการคํานวณจํานวนหน่วยให้กับสมาชิก” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 133 และข้อ 134 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 133 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วยของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน และในการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุดที่ผ่านการรับรองจากผู้รับรองมูลค่าแล้ว โดยเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายในสามวันทําการนับแต่วันคํานวณจํานวนหน่วย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ บริษัทอาจขอผ่อนผันระยะเวลาการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยจากสํานักงานได้ ข้อ 134 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ได้ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ (1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) มีประกาศสํานักงานให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน (3) เมื่อมีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือ (ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรีและทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 137 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 137 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้มีการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยผู้รับรองมูลค่าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานให้เป็นผู้รับรองมูลค่า และ (2) ไม่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสําคัญกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจนทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนทราบและได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนแล้ว” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ส่วนที่ 5 หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ในหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ของภาค 3 การจัดการกองทุนส่วนบุคคลแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ส่วนที่ 5 หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่มีหลายนโยบายการลงทุน ข้อ 146 ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนแทน การดําเนินการในส่วนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั้งกองทุน (1) การคํานวณมูลค่าต่อหน่วยตามข้อ 130 และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 136 (3) การรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตามข้อ 137 ข้อ 147 ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนที่บริษัทรับจัดการเพิ่มเติมด้วย (1) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้วตามข้อ 114 (2) การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงานตามข้อ 122(3) (3) การส่งรายงานตามข้อ 126 (4) การจัดทํางบดุลและการเก็บรักษาตามข้อ 127 (5) การดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามข้อ 143 (6) การดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 145” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีบทบัญญัติที่รองรับการจัดการกองทุน สํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 และเพื่อให้ระยะเวลาการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกของบริษัทจัดการและการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสอดคล้องกันและสามารถปฏิบัติได้ จึงมีความจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,727
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 9/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 9/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9 ) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 85 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 12 และข้อ 13” ข้อ 3 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 92 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 122/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ข้อ 122/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลการลงทุนหรือการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินของกองทุนส่วนบุคคลออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศ โดยให้จัดทําและส่งข้อมูลดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามรูปแบบอื่นใดที่สํานักงานจะแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็น กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าได้ยื่นคําขอเพื่อนําเงินไปลงทุนในต่างประเทศต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง และกองทุนส่วนบุคคลที่มีลูกค้าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติต่างด้าวเท่านั้น” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อสามารถติดตามและควบคุมปริมาณการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในต่างประเทศ และปรับปรุงหลักเกณฑ์การผ่อนผันการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
1,728
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 32/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 32/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ใน (3) ของข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “(ค) ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศนั้นหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน หรือไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 76/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 “ข้อ 76/1 ในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเท่านั้น ในกรณีที่มูลค่าของกองทุนรวมในขณะจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท หากต่อมากองทุนรวมดังกล่าวมีมูลค่าลดลงน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นอัตราร้อยละที่ไม่สูงกว่าอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมเดิมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บในช่วงเวลาที่กองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาทโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (2) ในกรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในอัตราที่แสดงได้ว่าเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน มูลค่าของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 82 และข้อ 83 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 83 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจํานวนดังต่อไปนี้ ในวันทําการใด (ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม (2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนโดยบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลตามข้อยกเว้นตามข้อ 14(2)(ข)(ค) และ (ง) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีการขายคืนหน่วยลงทุนรวมกันเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใด ความในวรรคหนึ่ง (1)(ก) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก ซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 83 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82 (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82 (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนเปิดดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 82 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม” ข้อ 4 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 97 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 99 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 25/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 99 มิให้นําความในข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 74 วรรคสอง และข้อ 84 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ มิให้นําความในข้อ 81(2) และข้อ 82(1)(ข) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวม กองทุนบําเหน็จบํานาญ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเท่านั้น” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 103 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และข้อ 104 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 103 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 104 เมื่อปรากฏว่ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้ารายในวันทําการใด ๆ และมิให้นําความในข้อ 82 และข้อ 83 มาใช้บังคับ ข้อ 104 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 103 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103 (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่าบริษัทจะดําเนินการการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 101 และดําเนินการตามข้อ 104 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103 (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 109 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 109 มิให้นําความในข้อ 82(1) และข้อ 83 มาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) กําหนดเหตุเพิ่มเติมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถไม่ขาย ไม่รับซื้อคืน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศได้ (2) เพื่อให้บริษัทจัดการได้ใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสมเมื่อเทียบกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าควรบริหารจัดการกองทุนรวมที่มีมูลค่าน้อยอยู่ต่อไปหรือไม่ และ (3) เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวมให้เป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนสําหรับกรณีการจัดการกองทุนรวมที่มีมูลค่าน้อย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,729
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความดังต่อไปนี้ (1) มาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง มาตรา 118(1) มาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (2) ข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (3) ข้อ 3 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 ข้อ 18 ข้อ 19(1) (2) (3) (4) และ (6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) “วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ (3) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบาย โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้ (5) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว (6) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย ภาค ๑ ข้อกําหนดที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ ผู้จัดการกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ในหมวดนี้ “พนักงานที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พนักงานของบริษัทจัดการที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องให้ความรู้หรือจัดอบรมแก่ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (1) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (2) มาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานกําหนดหรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (3) จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนด (4) นโยบายและกฎระเบียบภายในของบริษัทจัดการ ในกรณีที่มีการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลดังกล่าวด้วยทุกครั้ง หมวด ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง หมวด ๓ การมอบหมายการจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ในการมอบหมายการจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้บุคคลอื่นกระทําแทน หากบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ภาค ๒ การจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในภาคนี้ (1) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม (3) “มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น (4) “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม (5) “วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดไว้ในโครงการ หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ ผู้ดูแลผลประโยชน์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในภายหลัง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุดังกล่าว และแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ส่วน ๒ การถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปแต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ (2) กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (3) กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินหกเดือน ซึ่งมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบหรือได้รับการแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 13 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ (3) ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นให้มีจํานวนไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้นภายในสองเดือนนับแต่วันที่ปรากฏกรณีดังกล่าว หรือดําเนินการเลิกกองทุนรวมนั้นทันที เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) และข้อ 29 วรรคหนึ่ง (1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (3) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมใด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว ข้อ ๑๔ ในกรณีของกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากในวันดังกล่าวกองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 12 และข้อ 13 สําหรับการถือหน่วยลงทุนที่เกินอัตราส่วนในกรณีนั้น แต่ให้ดําเนินการตามข้อ 15 แทน ข้อ ๑๕ ในกรณีที่กองทุนรวมใดที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากในวันดังกล่าวกองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการสําหรับการถือหน่วยลงทุนที่เกินอัตราส่วนในกรณีดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รายงานให้สํานักงานทราบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยให้ระบุชื่อกองทุนรวม รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว และจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นถือไว้ และ (2) ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 (ก) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม หรือควบกองทุนรวมหรือรวมกองทุนรวมดังกล่าว เพื่อให้อัตราการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (ข) เลิกกองทุนรวมนั้น (ค) ดําเนินการอื่นใดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) ภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถลดอัตราการถือหน่วยลงทุนให้ต่ํากว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดได้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทเลิกกองทุนรวม ข้อ ๑๖ การดําเนินการตามข้อ 15 มิให้นํามาใช้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) การดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กําหนดในข้อ 15 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ก) หรือ (ข) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) การดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กําหนดในข้อ 15 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ค) หรือ (ง) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และโครงการของกองทุนรวมมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนับคะแนนเสียงในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ (3) การดําเนินการตามข้อ 15 ทั้งกรณีตาม (1) และ (2) มิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกองทุนรวมปิดที่กําหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนโดยไม่มีการแก้ไขอายุโครงการหรือมีการแปลงสภาพเป็นกองทุนรวมเปิด (ข) เป็นกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก (ค) เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน (1) บิดา มารดาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) คู่สมรส (3) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี (4) นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี (5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ส่วน ๓ การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ ในการจัดการกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 21 (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ (2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ภายในวันทําการถัดไป เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมปิดที่ไม่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทําการถัดไป (3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทําการถัดไป มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย ในกรณีที่การประกาศตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ได้กระทําผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุนที่จัดขึ้นโดยสมาคม (NAV Center) หรือช่องทางอื่นที่สํานักงานยอมรับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนภายในสองวันทําการถัดไปก็ได้ การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ กองทุนรวม รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้ ข้อ ๑๙ ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 21 (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ และคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลาที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทําการสุดท้ายของเดือนภายในวันทําการถัดไป (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด ภายในวันทําการถัดไป (3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทําการถัดไป ให้นําความในข้อ 18 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดโดยอนุโลม ข้อ ๒๐ การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล สําหรับมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนให้ปัดเศษทศนิยมตําแหน่งที่สี่ขึ้น ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง (ค) ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2) (ข) เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง และประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2) (ข) (ง) คํานวณจํานวนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมเพียงสี่ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคํานวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ข้อ ๒๑ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 18 และข้อ 19 (1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 33 หรือข้อ 34 ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (2) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 92 และข้อ 93 ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) การคํานวณมูลค่าและราคาตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (ข) การประกาศมูลค่าและราคาตามข้อ 18 วรรคสี่ และข้อ 19 วรรคสอง ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่วน ๔ การดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุน หรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง –––––––––––––––––– ข้อ ๒๒ ในส่วนนี้ “การชดเชยราคา” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนที่มีราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง แทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุน “ราคาหน่วยลงทุน” หมายความว่า ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหนึ่งสตางค์ หรือคิดเป็นอัตราไม่ถึงร้อยละศูนย์จุดห้าของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําและส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบถึงความไม่ถูกต้องภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง โดยรายงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง (ข) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (ค) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (ง) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องมิได้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ (2) ในกรณีที่สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีผลต่อเนื่องถึงการคํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนครั้งต่อไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องตั้งแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาไม่ถูกต้อง ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละศูนย์จุดห้า ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจนถึงวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนถูกต้อง (2) ดําเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว (ก) จัดทํารายงานการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ รายงานตามวรรคหนึ่งให้มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 23(1) โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีของรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังของกองทุนรวมเปิด ให้ระบุการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องไว้แทนข้อมูลตามข้อ 23(1) (ง) (ข) แก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องภายในวันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตาม (ก) (ค) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถรับทราบชื่อกองทุนรวมที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน และวัน เดือน ปีที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตาม (ก) ความในวรรคหนึ่ง (2) (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และได้ประกาศการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตามระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แล้ว ข้อ ๒๕ นอกจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 24 แล้ว ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละศูนย์จุดห้าของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว (1) จัดทํารายงานการชดเชยราคาไว้ในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ด้วย โดยให้อยู่ในส่วนของการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (2) ชดเชยราคาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 26 ให้แล้วเสร็จ และดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องทราบถึงการแก้ไขราคาตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ข) และการชดเชยราคา ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา (3) จัดทํามาตรการป้องกันเพื่อมิให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนารายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนาเอกสารที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้มาพร้อมสําเนารายงานดังกล่าวแทน ข้อ ๒๖ ในการชดเชยราคาตามข้อ 25(2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่ํากว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าผู้ซื้อหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง เป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว (ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน แต่หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน (2) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องสูงกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุน (ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชดเชยราคาเป็นเงินให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนรายใดมีมูลค่าไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนําเงินชดเชยราคาไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่มีการจ่ายเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชดเชยราคาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา การจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือผู้ซื้อหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองแทนกองทุนรวมเปิดก็ได้ ข้อ ๒๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีสําเนารายงานตามข้อ 23(1) และข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวม เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๒๘ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจากกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ส่วน ๕ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ ในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีตามข้อ 33 หรือข้อ 34 หรือกรณีอื่นใดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ (2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนในวันทําการถัดจากวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 34 (3) ชําระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน จากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันคํานวณมูลค่าและราคาดังกล่าวตามที่ได้รับการผ่อนผัน (ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตามข้อ 30 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีคําเตือนที่แสดงว่าผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้ ในใบคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๓๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล (2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 24 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ข้อ ๓๑ ในการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 30 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไม่เกินสิบวันทําการนับแต่วันที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 30(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงานได้ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน (3) แจ้งการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน และจัดทํารายงานในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและหลักฐานการได้รับความเห็นชอบตามข้อ 30(1) หรือการรับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคาตามข้อ 30(2) จากผู้ดูแลผลประโยชน์ให้สํานักงานทราบโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการดังกล่าวแทนก็ได้ (4) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่สั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันนั้น ๆ ต่อไป ข้อ ๓๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามข้อ 24 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเกี่ยวกับการหยุดการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน ข้อ ๓๓ ในกรณีที่วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดตรงกับวันที่สํานักงานได้ประกาศกําหนดให้เป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นกรณีพิเศษ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับวันดังกล่าว และต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการหยุดรับคําสั่งในกรณีดังกล่าวไม่น้อยกว่าห้าวันทําการก่อนถึงวันหยุดทําการกรณีพิเศษนั้น โดยการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ข้อ ๓๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เมื่อปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในโครงการแล้ว (1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่า (ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล หรือ (ข) ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรือ (ค) มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินหนึ่งวันทําการ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน หากมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือ (ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ หรือ (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศนั้นหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน หรือไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว ข้อ ๓๕ เมื่อปรากฏเหตุตามข้อ 34 และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน (2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 34 เกินหนึ่งวันทําการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ข) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน ข้อ ๓๖ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่สํานักงานประกาศซึ่งไม่เกินยี่สิบวันทําการติดต่อกัน ข้อ ๓๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กําหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ โดยขั้นตอนที่กําหนดดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดนั้นทุกราย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงื่อนไขมีได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเปิดกําหนดวิธีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้สามารถชําระเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินไว้เป็นการทั่วไป (2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเงิน (4) ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงรับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ ส่วน ๖ การจัดทํารายงานของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๘ ในส่วนนี้ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๙ ในการจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน หรือหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี เฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบระยะเวลาบัญชี พร้อมทั้งแสดงเหตุผล และส่งให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว เพื่อให้สํานักงานเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ หรือหมวดอื่น แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงาน (2) กองทุนรวมที่มีการกําหนดอายุโครงการ ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ ข้อ ๔๐ ในการจัดการกองทุนรวมผสมที่กําหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในโครงการในวันทําการใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนทุกสิ้นวันทําการนั้น และรายงานให้สํานักงานทราบเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ให้นําความในข้อ 39 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมทุกรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งมีสาระตามที่กําหนดไว้ในข้อ 43 วรรคหนึ่ง และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนรวมเปิด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทําและส่งรายงานตามข้อ 42 ตามปีปฏิทิน ให้ระยะเวลาการส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมของรอบระยะเวลาบัญชีขยายเป็นภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี การส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีให้แก่สํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 92 และข้อ 93 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว ข้อ ๔๒ นอกจากการจัดทํารายงานทุกรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 41 แล้ว ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมเปิดทุกรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทิน ซึ่งมีสาระตามที่กําหนดไว้ในข้อ 43 วรรคสองด้วย และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสองเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่งตามรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทําและส่งรายงานดังกล่าวในรอบระยะเวลาหกเดือนหลังสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้นําความในข้อ 41 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔๓ การจัดทํารายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 41 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) งบดุล งบกําไรขาดทุน และงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว (2) รายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมที่ต้องแสดงการจัดกลุ่มให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามคําอธิบายที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน (3) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด (4) ค่านายหน้าทั้งหมดจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนรวม รายชื่อบริษัทนายหน้าที่ได้รับค่านายหน้าในจํานวนสูงสุดสิบอันดับแรก อัตราส่วนของจํานวนค่านายหน้าที่บริษัทนายหน้าแต่ละรายดังกล่าวได้รับต่อจํานวนค่านายหน้าทั้งหมด และอัตราส่วนของจํานวนค่านายหน้าส่วนที่เหลือต่อจํานวนค่านายหน้าทั้งหมด (5) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน (6) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้า (7) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการกองทุนรวม (8) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาที่กําหนด ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผล (9) ข้อมูลการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (10) ข้อมูลการบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นศูนย์ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ (ถ้ามี) (11) ข้อมูลการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น (ถ้ามี) (12) ข้อมูลการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมของรอบปีปฏิทินล่าสุด การจัดทํารายงานรอบระยะเวลาหกเดือนตามข้อ 42 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (8) โดยอนุโลม เว้นแต่งบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ไม่จําต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ข้อ ๔๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายงานตามข้อ 41 และข้อ 42 ของรอบระยะเวลาล่าสุดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ ข้อ ๔๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบรับส่งรายงานธุรกิจจัดการกองทุนรวม (Investment Management Reporting System) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานจัดการกองทุนรวมตามที่สํานักงานแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมล่วงหน้า การจัดทําและส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมล่วงหน้า ทั้งนี้ ในกรณีของข้อมูลตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําในรูปแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสํารองของข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) ไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ส่วน ๗ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๖ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานกําหนด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอรับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการดังกล่าวจากสํานักงานได้ โดยการยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งรายละเอียดของโครงการที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วและคํารับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้ ข้อ ๔๗ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่เกินร้อยละหกสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อคํานวณเฉพาะจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจํานวนไม่เกินร้อยละหกสิบของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น ข้อ ๔๘ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 10 แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวได้ ข้อ ๔๙ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิด ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 88 วรรคสอง ส่วน ๘ กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๐ ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากชนิดหนึ่งเป็นหน่วยลงทุนอีกชนิดหนึ่งได้โดยต้องระบุวิธีการสับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ในโครงการให้ชัดเจน ข้อ ๕๑ ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการใดๆ ต้องระบุให้ชัดเจนไว้ในโครงการโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด เช่น การเลิกกองทุนรวม เป็นต้น ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น (2) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น การคิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นต้น ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น (3) ในกรณีที่ข้อกําหนดอื่นในประกาศนี้กําหนดให้ต้องมีการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน หากการขอมติในเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติเฉพาะจากผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น ข้อ ๕๒ ในกรณีที่การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนในกรณีใดซึ่งต้องมีการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 3 การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม ข้อ ๕๓ ในกรณีที่หน่วยลงทุนชนิดใดของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนไม่มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนเหลืออยู่แล้วสําหรับหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจคงชนิดของหน่วยลงทุนนั้นไว้ต่อไปก็ได้ และหากจะมีการขายหน่วยลงทุนชนิดนั้นเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี ตามความเหมาะสมของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ส่วน ๙ การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจาก กองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือ (2) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก้ไขโครงการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ข้อ ๕๕ ในการดําเนินการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมดังกล่าว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชําระค่าหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว โดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการก่อนวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (ข) การชําระค่าหน่วยลงทุนตาม (ก) ให้กระทําภายในห้าวันทําการนับแต่วันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิด โดยให้นับวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นวันแรกของระยะเวลาดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด ซึ่งมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิดโดยการเปลี่ยนสภาพ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามข้อ 65 แทน (2) ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และสัญญาแต่งตั้งดูแลผลประโยชน์ที่มีการลงนามแล้วในกรณีที่มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวม รวมทั้งรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ในวันทําการที่สามล่วงหน้าก่อนวันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด (ก) การแก้ไขรายการทางทะเบียนแสดงสภาพของกองทุนรวม (ข) การจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือเงินทุนโครงการของกองทุนรวม (ถ้ามี) (3) จัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิด และจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชน โดยการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนต้องแนบข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมนั้น (ข) งบการเงินประจํารอบระยะเวลาบัญชีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว (ค) รายงานฐานะการลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน ราคาที่ได้มา มูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น และอัตราส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมโดยแยกเป็นแต่ละรายการ และตามประเภทธุรกิจหลักที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด ข้อ ๕๖ ให้ถือว่าวันที่สํานักงานรับจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนตามข้อ 55(2) (ก) เป็นวันเริ่มต้นมีผลเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด ส่วน ๑๐ การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๗ ในส่วนนี้ (1) “ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม (2) “รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน (3) “ควบรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี (4) “กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม (5) “กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน ข้อ ๕๘ การควบรวมกองทุนรวมต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม และการควบรวมกองทุนรวมแต่ละครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย ข้อ ๕๙ กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว (2) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการแต่ไม่ได้มติโดยเสียงข้างมากด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะควบรวมกองทุนรวมต่อไป ให้ดําเนินการขอมติครั้งใหม่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรกหรือวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการขอมติครั้งแรก และได้รับมติในครั้งหลังนี้เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งออกเสียงลงมติของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งผลการนับมติครั้งแรกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไปในคราวเดียวกันด้วย ในการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดด้วย และหากได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง (1) ให้ถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมตามข้อ 54(2) แล้ว ข้อ ๖๐ การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 59 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันประชุม หรือส่งหนังสือขอมติล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรทราบเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ให้ชัดเจนไว้ในหนังสือนัดประชุม หรือหนังสือขอมติดังกล่าว (1) สถานะการลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนที่เป็นปัจจุบันก่อนการขอมติควบรวมกองทุนรวม ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น โดยระบุประเภท ชื่อ จํานวน อัตราผลตอบแทน (ถ้ามี) มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุด และผลการดําเนินงานล่าสุดของกองทุนรวม (2) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการควบรวมกองทุนรวมแล้ว โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการ นโยบายการลงทุน และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนและจากกองทุนรวม เป็นอย่างน้อย (3) ขั้นตอน สาระสําคัญของการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน และกําหนดเวลาในการควบรวมกองทุนรวม (4) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม (5) รายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมประมาณการฐานะการเงินของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน (6) การดําเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) ก่อนการควบรวมกองทุนรวมและนโยบายการจ่ายเงินปันผลภายหลังการควบรวมกองทุนรวม (ถ้ามี) (7) ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกองทุนรวมที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวม (ถ้ามี) เช่น ค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชี เป็นต้น (8) ข้อดีและข้อเสียหลังจากมีการควบรวมกองทุนรวม เช่น ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะที่เกินความจริง เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารดังกล่าวไปยังสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ ข้อ ๖๑ ในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อควบรวมกองทุนรวมถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมที่ได้รับไว้แล้วหรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ โดยการปิดประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และจัดให้มีการประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละสัปดาห์ของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ ข้อ ๖๒ เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้มีการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 59 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่กับบริษัทจัดการกองทุนรวม ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมใหม่ และร่างหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน รวมทั้งร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่รับโอน ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผูกพันและสัญญาดังกล่าว (3) หนังสือรับรองการได้มติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม (4) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน สถานการณ์ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงาน สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ข้อ ๖๓ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําการควบรวมกองทุนรวมแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ควบรวมกองทุนดังกล่าว และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมควบรวมกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นวันเดียวกันกับวันที่ควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๖๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมบอกกล่าวการควบรวมกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (ถ้ามี) ตลอดจนสิทธิและกําหนดเวลาในการใช้สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอน ตามวิธีการดังต่อไปนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนทราบเป็นหนังสือพร้อมสรุปสาระสําคัญของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน วันที่จะควบรวมกองทุน วันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยระบุวัน เดือน ปี อย่างชัดแจ้ง และสถานที่ติดต่อเพื่อสอบถามหรือรับข้อมูลเพิ่มเติม (2) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจําหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองฉบับเป็นเวลาสองวันติดต่อกัน ในกรณีที่เป็นการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด นอกจากการแจ้งและประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งและประกาศการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 59 วรรคสี่ด้วย ข้อ ๖๕ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้มีหนังสือแจ้งและประกาศการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 64 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามโครงการจัดการกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนในการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน แล้วแต่กรณี สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้าการควบรวมกองทุนรวม ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย ข้อ ๖๖ ในกรณีของการควบกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่มาเป็นของกองทุนรวมใหม่ ส่วนในกรณีของการรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอน และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน มาเป็นของกองทุนรวมที่รับโอน ทั้งนี้ สําหรับการซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างการฟ้องคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการนั้น ในกรณีที่กองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้หลักประกันนั้นตกเป็นหลักประกันแก่กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนด้วย ข้อ ๖๗ ในการขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการควบรวมกองทุนรวม ถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 60 เกี่ยวกับการดําเนินการควบรวมกองทุนต่อผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมหากมีการควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวด้วย ข้อ ๖๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลโครงการที่เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยระบุวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม รวมทั้งประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนไว้ด้วย และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้ประชาชน ข้อ ๖๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือแจ้งสถานะการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน ไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ ส่วน ๑๑ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้ หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗๐ ในส่วนนี้ (1) “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (2) “เงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้” หมายความว่า เงินได้จากการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น รายได้ที่เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ตลอดจนดอกผลที่ได้จากทรัพย์สินดังกล่าว และเงินสํารอง (ถ้ามี) หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการได้มา การมีไว้ หรือการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น (3) “เงินสํารอง” หมายความว่า จํานวนเงินที่ตั้งสํารองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ข้อ ๗๑ ในการจัดการกองทุนรวม หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๗๒ กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้ หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 73 ก่อนแล้ว ข้อ ๗๓ ในกรณีที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ก็ได้ ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนําตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๗๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งประเภท จํานวน ชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องและเงินสํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี ไปยังสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 72 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายละเอียดตามวรรคแรกไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งสํานักงานเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวันด้วย ข้อ ๗๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ดําเนินการตามข้อ 72 หรือข้อ 73 แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในโครงการ และ (2) ก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้งบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการนั้น หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ข้อ ๗๖ ในการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 75 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น หรือ (2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ข้อ ๗๗ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา (2) จัดให้มีรายละเอียดตาม (1) ไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งสํานักงานตาม (1) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน กรณีเป็นกองทุนรวมปิด นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุไว้ในการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนในครั้งถัดจากวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาว่า กองทุนรวมได้รับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นซึ่งผู้ลงทุนสามารถขอดูรายละเอียดได้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้ระบุไว้ในการประกาศดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามครั้งติดต่อกัน ข้อ ๗๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๗๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 72 หรือข้อ 73 บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๘๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ตกลงรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวแทนเงิน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในโครงการและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในระหว่างที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ (2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมก็ได้ (ข) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และในระหว่างที่บริษัทยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากเงินสํารอง รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินนั้น ข้อ ๘๑ เมื่อมีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ในแต่ละครั้ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเฉลี่ยเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามข้อ 72 หรือข้อ 73 แล้วแต่กรณี ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ และให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเฉลี่ยเงินคืนไปยังสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้เฉลี่ยเงินคืน เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันระยะเวลาการเฉลี่ยเงินคืนเป็นอย่างอื่น ในการเฉลี่ยเงินคืนในแต่ละครั้งตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่การเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะคุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายก็ได้ ทั้งนี้ หากได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วนแล้ว และปรากฏว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้นไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืน บริษัทอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมก็ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์ตามวรรคสองไว้ในโครงการแล้ว ข้อ ๘๒ กองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หากต่อมาปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามความในข้อ 81 โดยอนุโลม ส่วน ๑๒ การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม ผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) เปิดเผยแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ ส่วน ๑๓ การจ่ายเงินปันผล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๔ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้จ่ายได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล (3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่ต่างกันสําหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันได้ ต่อเมื่อได้กําหนดกรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนดําเนินการจ่ายเงินปันผลในแต่ละครั้งแล้ว ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๘๕ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยออกเป็นหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ส่วน ๑๔ ค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม (2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปีจากกองทุนรวม ข้อ ๘๗ ในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเท่านั้น ในกรณีที่มูลค่าของกองทุนรวมในขณะจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท หากต่อมากองทุนรวมดังกล่าวมีมูลค่าลดลงน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นอัตราร้อยละที่ไม่สูงกว่าอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมเดิมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บในช่วงเวลาที่กองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาทโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (2) ในกรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในอัตราที่แสดงได้ว่าเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน มูลค่าของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ข้อ ๘๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะมีการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายให้แตกต่างไปจากโครงการ ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน ข้อ ๘๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันตามวิธีการดังต่อไปนี้ ก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มดังกล่าว (1) ประกาศกรณีดังกล่าวในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน และ (2) ติดประกาศกรณีดังกล่าวไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มแทนการประกาศตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ก็ได้ ข้อ ๙๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 88 และข้อ 89 ให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ข้อ ๙๑ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติมโดยมีจํานวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาหนึ่งปีไม่อาจทําได้ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วน ๑๕ การเลิกกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมปิด เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม ความในวรรคหนึ่ง (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่จะครบกําหนดอายุโครงการก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ข้อ ๙๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในข้อ 94 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจํานวนดังต่อไปนี้ ในวันทําการใด (ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุน ลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม (2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนโดยบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลตามข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ข) (ค) และ (ง) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีการขายคืนหน่วยลงทุนรวมกันเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใด ความในวรรคหนึ่ง (1) (ก) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก ซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ ๙๔ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 93 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏกรณี ตามข้อ 93 (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93 (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม ข้อ ๙๕ เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้น ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ และ (ข) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ และ (ข) ดําเนินการตาม (1) (ก) และดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น (3) จําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม ส่วน ๑๖ การผ่อนผัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๖ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานได้ (1) การเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 10 วรรคสาม (2) การคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 18 และข้อ 19 (3) ระยะเวลาการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 34(2) (4) การจัดทําและส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 41 และรายงานรอบระยะเวลาหกเดือนตามข้อ 42 และข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวตามข้อ 43 (5) การประกาศการจ่ายเงินปันผลตามข้อ 84 วรรคสอง (1) (6) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 94 วรรคหนึ่ง (4) หรือข้อ 95 หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๗ ในหมวดนี้ “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้ “มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ ข้อ ๙๘ เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้ต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิมหรือตามที่กําหนดไว้ในโครงการ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนให้จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เป็นอย่างอื่น หรือ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน โดยถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสําคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกันหรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ข้อ ๙๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่จะมีผลทําให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันสําหรับงวดการประกันล่าสุด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ดังกล่าวได้ ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวโดยต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการตามข้อ 98 วรรคหนึ่ง (2) ข้อ ๑๐๐ ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 101 (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 98 วรรคหนึ่ง (1) หรือข้อ 99 หรือ (2) ค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่สูงกว่าผลประโยชน์ที่กองทุนรวมมีประกันจะได้รับ หรือ (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ข้อ ๑๐๑ เมื่อปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 100 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เลิกกองทุนรวมมีประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือ (2) ยกเลิกการประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนและจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไป โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน และห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมโฆษณาหรือเปิดเผยว่าเป็นกองทุนรวมมีประกันอีกต่อไป การดําเนินการตามวรรคหนึ่งไม่เป็นผลให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหลุดพ้นจากความรับผิดตามข้อ 98 วรรคสาม และบริษัทจัดการกองทุนรวมยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนรวมมีประกันและผู้ถือหน่วยลงทุนจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ด้วย หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๒ มิให้นําความในข้อ 29 วรรคหนึ่ง (2) มาใช้บังคับ และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 34 ข้อ ๑๐๓ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 20 เป็นประการอื่นได้ หมวด ๔ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมวายุภักษ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๔ ในการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กําหนดนโยบายการลงทุนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย ข้อ ๑๐๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดเฉพาะในข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 20 และให้นําความตามข้อ 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด หมายถึง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ข้อ ๑๐๖ มิให้นําความในข้อ 84 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจ่ายได้จากสํารองการจ่ายเงินปันผล ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล (3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๗ ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐๘ มิให้นําความในข้อ 84 มาใช้บังคับ และห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๖ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของ กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑๐ มิให้นําความในข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 84 วรรคสอง และข้อ 95 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ มิให้นําความในข้อ 92 วรรคหนึ่ง (2) และข้อ 93 วรรคหนึ่ง (1) (ข) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวม กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเท่านั้น หมวด ๗ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑๑ ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบดังต่อไปนี้ (1) ระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑๒ ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายในห้าวันทําการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 114 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑๓ มิให้นําความในข้อ 84 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม (2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของกําไรสะสมดังกล่าว หรือกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ข้อ ๑๑๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 115 เมื่อปรากฏว่ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้ารายในวันทําการใด ๆ และมิให้นําความในข้อ 93 และข้อ 94 มาใช้บังคับ ข้อ ๑๑๕ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 114 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114 (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 112 และดําเนินการตามข้อ 115 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114 (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม หมวด ๘ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑๖ ในหมวดนี้ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง (organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหรือกลุ่มหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี ข้อ ๑๑๗ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ทําการขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กําหนดกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ข้อ ๑๑๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนทั่วไปได้เมื่อปรากฏเหตุแห่งเงื่อนไขในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการ ข้อ ๑๑๙ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives' Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกําหนดปริมาณหรือมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนจากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๒๐ มิให้นําความในข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 15 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด ข้อ ๑๒๑ ในกรณีที่มูลค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) จะทําให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ใช้ชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการใช้มูลค่าในการคํานวณราคาขายและราคารับซื้อคืนให้แตกต่างจากมูลค่าที่กําหนดไว้ในข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) ต่อสํานักงานได้ ข้อ ๑๒๒ มิให้นําความในข้อ 93 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 94 มาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 123 เมื่อปรากฏว่าจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนมีไม่ถึงสามสิบห้ารายภายหลังจากวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง ข้อ ๑๒๓ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 122 วรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในวันถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง (3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในวันถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้ และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม หมวด ๙ บทเฉพาะกาลสําหรับการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมใดได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ให้ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมตามข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 75 ข้อ 76 ข้อ 77 ข้อ 78 ข้อ 79 ข้อ 80 ข้อ 81 และข้อ 82 และให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ แทน (1) กรณีกองทุนรวมปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันเลิกโครงการจัดการกองทุนรวมปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ (2) กรณีกองทุนรวมเปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ (3) กรณีที่กองทุนรวมได้รับทรัพย์สินจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นมาในขณะที่เป็นกองทุนรวมปิด แต่ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด โดยมิได้จําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวก่อนการเปลี่ยนสภาพ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันครบกําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมปิดเดิม เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนประเภทโครงการดังกล่าวก่อนครบกําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมปิดเดิม ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในสองวันก่อนวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนต่อสํานักงานเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ อื่นๆ ๓ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒๕ เมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ลูกค้าที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพปฏิเสธการรับทราบข้อมูล (1) การประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล (ก) วิธีการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลนั้น โดยอาจเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ให้ระบุสมมติฐานและข้อจํากัดในการประเมินผลการดําเนินงานดังกล่าวด้วย (ข) ช่วงเวลาสําหรับการประเมินผลการดําเนินงานซึ่งต้องกําหนดให้มีการประเมินผลทุกเดือน (2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับฝากทรัพย์สิน (3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล (4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ (5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน และการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ (6) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าตามที่สํานักงานกําหนด การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (3) (4) และ (6) ให้แก่ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับ (1) การจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (2) การจัดการกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ข้อ ๑๒๖ เมื่อสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับฝากทรัพย์สินแล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและลูกค้าได้ตกลงกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินโดยเร็วที่สุด ข้อ ๑๒๗ ให้นําความในข้อ 86(2) มาใช้บังคับกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม ส่วน ๒ การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒๘ ในส่วนนี้ “รายงานรายปี” หมายความว่า รายงานรายปีตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้กับลูกค้า ข้อ ๑๒๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หากลูกค้าได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติตามข้อ 83 โดยอนุโลม และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายงานการได้ใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบเมื่อได้ดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงแล้วด้วย (2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติตามข้อ 83 โดยอนุโลม และให้แจ้งให้ลูกค้าทราบไว้ในรายงานรายปีว่า ลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงได้โดยวิธีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลไว้ ข้อ ๑๓๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล และลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบก็ได้ (2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบ หรือขอรับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อไปใช้สิทธิออกเสียงแทน ส่วน ๓ การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงาน **––––––––––––––––––** ข้อ ๑๓๑ ในส่วนนี้ (1) “แฟ้มข้อความ” หมายความว่า การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (2) “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนดให้ใช้สําหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสํานักงานกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ระบบ Private Fund and Provident Fund Reporting System) (3) “งานทะเบียนสมาชิกกองทุน” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนข้อมูลสมาชิกกองทุน และจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบนายจ้างพร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้างแต่ละราย ข้อ ๑๓๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานข้อมูลการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการให้เป็นตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๓๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานข้อมูลดังต่อไปนี้ในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สํานักงานจัดส่งให้ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในการจัดทําและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทุกกองทุน (2) ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้าง (3) ข้อมูลรายละเอียดการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การจัดทําแฟ้มข้อความตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้จัดทําเป็นรายเดือน โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไปสําหรับแฟ้มข้อความตามวรรคหนึ่ง (3) ให้จัดทําเป็นรายไตรมาสโดยใช้ข้อมูล ณ วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาสและจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนแรกถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ข้อ ๑๓๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลการลงทุนหรือการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินของกองทุนส่วนบุคคลออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศ โดยให้จัดทําและส่งข้อมูลดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน หรือตามรูปแบบอื่นใดที่สํานักงานจะแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าได้ยื่นคําขอเพื่อนําเงินไปลงทุนในต่างประเทศต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง และกองทุนส่วนบุคคลที่มีลูกค้าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติต่างด้าวเท่านั้น ข้อ ๑๓๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งสําเนางบดุลและรายงานการสอบบัญชีที่จัดทําขึ้นตามข้อ 139 ให้สํานักงานภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และแสดงไว้ที่ทําการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตรวจดูได้ด้วย ข้อ 136 ในการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประเมินผลการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ การรายงานผลครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งระบบงานทะเบียนสมาชิกกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไปพร้อมกับรายงานดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๓๖ ในการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประเมินผลการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ การรายงานผลครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งระบบงานทะเบียนสมาชิกกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไปพร้อมกับรายงานดังกล่าวด้วย หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓๗ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อให้เผยแพร่ต่อสมาชิกสําหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับสมาชิก ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการกองทุนแจ้งว่าจะเสนอนโยบายการลงทุนต่อสมาชิก บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้สมาชิกมีสิทธิเปลี่ยนนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่สมาชิกมีมติกําหนดเวลาในการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๓๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบให้สมาชิกแต่ละรายทราบอย่างน้อยทุกงวดหกเดือนของปีปฏิทินโดยให้ส่งรายงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดหกเดือน และหากสมาชิกขอทราบรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานดังกล่าวให้สมาชิกทราบในเวลาอันควรด้วย ข้อ ๑๓๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํางบดุลโดยมีผู้สอบบัญชีตามข้อ 140 เป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบดุลนั้น และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเสนองบดุลพร้อมรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อทําการรับรองงบดุลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเก็บรักษางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รายงานการสอบบัญชี และเอกสารแสดงจํานวนสมาชิกและมูลค่าเงินกองทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันแต่งตั้งผู้สอบบัญชีไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย ข้อ ๑๔๐ ผู้สอบบัญชีที่จะเป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบดุลตามข้อ 139 ได้จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกสภาวิชาชีพบัญชีสั่งพักใบอนุญาตการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้สอบบัญชี และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้สอบบัญชีนั้นอาจเป็นเพียงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีได้ (1) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีจํานวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ไม่เกินหนึ่งร้อยราย (2) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งที่ประชุมสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้ความเห็นชอบโดยคณะกรรมการกองทุนได้แจ้งให้ที่ประชุมสมาชิกทราบแล้วว่า ผู้สอบบัญชีดังกล่าวไม่ใช่ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ส่วน ๒ การคํานวณมูลค่าต่อหน่วยและจํานวนหน่วย และการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔๑ ในส่วนนี้ (1) “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งคํานวณโดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น (2) “จํานวนหน่วย” หมายความว่า จํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกที่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย (5) “วันคํานวณจํานวนหน่วย” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) “ผู้รับรองมูลค่า” หมายความว่า บุคคลที่ทําการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๑๔๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยเงินที่มิได้เกิดจากผลการดําเนินงานให้นํามาคํานวณเป็นจํานวนหน่วย ข้อ ๑๔๓ มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ต้องมีมูลค่าสิบบาท เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกครั้งแรกในวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับเงินสะสมและเงินสมทบครั้งแรกเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งเป็นมูลค่าในการคํานวณ ในกรณีที่ปรากฏว่ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพใดหรือนโยบายการลงทุนใดของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ไม่มีสมาชิกเหลืออยู่จนเป็นเหตุให้ไม่มีมูลค่าต่อหน่วยที่สามารถนํามาคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกใหม่ที่สมัครเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือนโยบายการลงทุนได้ ให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับการคํานวณจํานวนหน่วยให้กับสมาชิก ข้อ ๑๔๔ ในการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าต่อหน่วย การปรับปรุงรายการ การแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยและการชดเชยมูลค่า ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบรรดาสมาชิกกองทุนเป็นสําคัญ และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังกล่าวต่อสมาชิกกองทุนแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่โดยผลของกฎหมายทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถปฏิบัติต่อสมาชิกแต่ละรายได้อย่างเท่าเทียมกัน หรือโดยเงื่อนไขและปัจจัยของสมาชิกแต่ละรายแตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ดําเนินการตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้ ข้อ ๑๔๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วยของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน และในการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุดที่ผ่านการรับรองจากผู้รับรองมูลค่าแล้ว โดยเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายในสามวันทําการนับแต่วันคํานวณจํานวนหน่วย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจขอผ่อนผันระยะเวลาการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยจากสํานักงานได้ ข้อ ๑๔๖ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วยได้ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ (1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) มีประกาศสํานักงานให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วยออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน (3) เมื่อมีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือ (ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรีและทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ ข้อ ๑๔๗ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล แก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และหากมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่ร้อยละศูนย์จุดห้าของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องและตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยหรือการชดเชยมูลค่าเสร็จสิ้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง (2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง (4) การดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ในระหว่างที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วย บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดทํามาตรการป้องกันและอาจหยุดการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยได้ไม่เกินเจ็ดวันทําการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ข้อ ๑๔๘ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (2) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล ข้อ ๑๔๙ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้มีการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยผู้รับรองมูลค่าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานให้เป็นผู้รับรองมูลค่า และ (2) ไม่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสําคัญกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจนทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนทราบและได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนแล้ว ข้อ ๑๕๐ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีการรับรองมูลค่าเมื่อมีการทําหรือต่อสัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินฉบับใหม่ ส่วน ๓ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้ หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕๑ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๕๒ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อบังคับกองทุน หรือได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการกองทุน และก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน โดยคณะกรรมการกองทุนจะต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่า ในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ในการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะได้จากการรับชําระหนี้ ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น หรือ (2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้จะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ข้อ ๑๕๓ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง วันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังคณะกรรมการกองทุนภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา ข้อ ๑๕๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๕๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ (2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้รับทรัพย์สินนั้นมา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ส่วน ๔ การจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕๖ ในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกําหนดราคาทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้เพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๕๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก็ได้ (2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาหรือภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาที่ผู้อุทิศให้ระบุห้ามมิให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ส่วน ๕ หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่มีหลายนโยบายการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕๘ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้ แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนแทนการดําเนินการในส่วนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั้งกองทุน (1) การคํานวณมูลค่าต่อหน่วยตามข้อ 142 และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 148 (3) การรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 149 ข้อ ๑๕๙ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรับจัดการเพิ่มเติมด้วย (1) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้วตามข้อ 125 (2) การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงานตามข้อ 133 วรรคหนึ่ง (3) (3) การส่งรายงานตามข้อ 138 (4) การจัดทํางบดุลและการเก็บรักษาตามข้อ 139 (5) การดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามข้อ 155 (6) การดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 157 อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖๐ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๖๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - –––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––– ุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,730
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” ในข้อ 116 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรองสะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมดังกล่าวได้อย่างใกล้เคียงกัน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 120 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 120 มิให้นําข้อกําหนดดังต่อไปนี้มาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ (1) ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 15 มิให้นํามาใช้บังคับในช่วงก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขาย หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย ระยะที่สอง ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด (2) ข้อ 12 และข้อ 13 มิให้นํามาใช้บังคับกับการถือหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ในช่วงเวลาระหว่างวันที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นจัดตั้งขึ้น จนถึงวันที่ครบกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟดังกล่าวในตลาดรอง” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 121/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 121/1 ในระหว่างที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถ ใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ เว้นแต่จะได้รับ การผ่อนผันจากสํานักงาน (1) ข้อมูลความเคลื่อนไหวของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมอีทีเอฟ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เปิดเผยไม่ต้องได้รับการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ และไม่ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 20 (ข) ความถี่ในการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต้องสอดคล้องกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าหรือราคาของปัจจัยอ้างอิงของกองทุนรวมอีทีเอฟ (2) ข้อมูลความคลาดเคลื่อน (tracking errors) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมอีทีเอฟจากมูลค่าของปัจจัยอ้างอิงสุดท้าย (ultimate underlying) โดยให้เปิดเผยก่อนการเปิดซื้อขายหลักทรัพย์รอบแรกของตลาดหลักทรัพย์” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงบทนิยามคําว่า “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” ให้สอดคล้องกับประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และกําหนดให้บริษัทจัดการ กองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลความเคลื่อนไหวมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและข้อมูลความคลาดเคลื่อนของมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมอีทีเอฟ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,731
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 20/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 20 /2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2)” ข้อ ๒ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับ อยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ ข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็น กลุ่มบุคคลเดียวกันของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,732
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 15/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 15/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 45/1 ในส่วนที่ 7 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 45/1 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน นอกเหนือจาก ข้อ 48 และ ข้อ 49 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งรายละเอียดของโครงการ ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว และให้บริษัทจัดการชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เว้นแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามข้อ 46 ไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบภายในสามสิบวัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บจากกองทุนรวม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 46 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานกําหนด นอกจากการยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งรายละเอียดของโครงการที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคํารับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 46 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานกําหนด นอกจากการยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งรายละเอียดของโครงการที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคํารับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) กําหนดขั้นตอนการขอและการพิจารณา ให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจากสํานักงานให้มีความชัดเจน และ (2) เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชําระค่าธรรมเนียม การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้มี ความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,733
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 50/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 50 /2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6 ) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 44/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด (1) รายงานรายละเอียดของหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ทุกกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้เป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (2) รายงานสถานะและการลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (3) รายงานการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเปิดเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (4) รายงานการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเปิดเป็นรายวัน ทั้งนี้ เฉพาะกองทุนรวมเปิดที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ตามที่สํานักงานกําหนด โดยให้จัดส่งภายในวันทําการถัดไป การจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 45 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 45 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานกํากับดูแลธุรกิจกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ เมื่อสํานักงานร้องขอ โดยข้อมูลที่จัดส่งให้เป็นไปตามรูปแบบ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบล่วงหน้า (1) รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ของทุกกองทุนรวม (2) รายงานอื่นใดที่เกี่ยวกับการดําเนินงานจัดการกองทุนรวม การจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “แฟ้มข้อความ” ใน (1) และคําว่า “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล” ใน (2) ของข้อ 131 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “แฟ้มข้อความ” ใน (1) และคําว่า “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล” ใน (2) ของข้อ 131 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 132 และข้อ 133 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 132 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งรายงานสถานะและการลงทุนของทุกกองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน ต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป โดยให้จัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ และดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 133 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังต่อไปนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด (1) รายงานรายละเอียดของหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ทุกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนหรือมีไว้เป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (2) รายงานสถานะและการลงทุนของแต่ละกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (3) รายงานรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้างของทุกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (4) รายงานรายละเอียดของแต่ละกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายไตรมาส โดยให้จัดส่งภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส การจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกระทําผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 133/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 133/1 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานกํากับดูแลธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามที่สํานักงานร้องขอ โดยข้อมูลที่จัดส่งให้เป็นไปตามรูปแบบ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 159 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงานตามข้อ 133 วรรคหนึ่ง (2) และ (4)” ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงรูปแบบและวิธีการเกี่ยวกับการจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,734
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 58/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 58/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) (2) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 และข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ในการจัดการกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ (2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังต่อไปนี้ (ก) วันทําการสุดท้ายของเดือน โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมปิดที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ประกาศ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการล่าสุด โดยให้เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ ภายในวันทําการถัดไป (ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป (ค) วันทําการก่อนวันขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน โดยให้ประกาศภายในวันขายหน่วยลงทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกาศตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว เว้นแต่ได้กําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น และภายในเวลาที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้ ข้อ 19 ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ (2) คํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาดังกล่าว (3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังต่อไปนี้ (ก) วันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด (ข) วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป (ค) วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมกําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันยาวกว่าหนึ่งเดือน (ง) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ความใน (ก) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่ซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (4) ประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป การประกาศมูลค่าและราคาตามวรรคหนึ่ง (3) และ (4) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว (2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น และภายในเวลา ที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้ และ (3) จัดให้มีข้อมูลดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และสถานที่ทุกแห่งที่ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนใช้ซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อมูลดังกล่าวด้วยหรือไม่ก็ได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 18 และข้อ 19 เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับ คําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน โดยให้ได้รับยกเว้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (2) เมื่อมีเหตุที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเลิกกองทุนรวม โดยให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 ข้อ 29/1 และข้อ 29/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 32/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 29 เว้นแต่จะมีประกาศกําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่นได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่มีการสงวนสิทธิในการรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่รับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนตามกรณีที่สงวนสิทธิไว้ก็ได้ (2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนและเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืน ในวันทําการถัดจากวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว (3) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และต้องไม่ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นกรณีที่กําหนดไว้ตามข้อ 29/1 (4) จัดให้มีข้อความในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนรับทราบและยินยอมเข้าผูกพันตามรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานและที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนข้อผูกพันระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุนที่จัดทําขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามประกาศนี้หรือประกาศอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนที่รับซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง (2) ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีหน้าที่คํานวณเมื่อสิ้นสุดการผ่อนผัน และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) ภายในห้าวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการผ่อนผัน หรือภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดไว้ในคําสั่งผ่อนผัน ข้อ 29/1 ในกรณีของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ นอกจากหลักเกณฑ์ตามข้อ 29 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อกําหนดในโครงการที่มีผลให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน ที่ประสงค์จะได้รับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งไม่ว่าการส่งคําสั่งนั้นจะอยู่ในเวลา รับซื้อคืนปกติหรือไม่ ให้ได้รับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันดังกล่าวก็ได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนต้องอยู่ภายในวงเงินรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการ โดยการจัดสรรวงเงินดังกล่าวเป็นไปตามลําดับก่อนหลัง (first come first serve basis) (2) การคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งในเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติ ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (ข) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งหลังเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติจนถึงเวลาเริ่มต้นของเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไป ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไปนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละคน ขายคืนหน่วยลงทุนได้ ต้องไม่เกินวงเงินดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า (ก) สองหมื่นบาท โดยให้คํานวณจากคําสั่งทั้งหมดที่ส่งโดยใช้ฐานของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเดียวกัน หรือ (ข) ร้อยละแปดสิบของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุด โดยให้นับรวมคําสั่งขายคืนทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักออกจากมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุดนั้น ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีข้อกําหนดในโครงการตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดให้มีมาตรการในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมตลาดเงินอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตลอดจนเปิดเผยหลักเกณฑ์การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ข้อ 29/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่กระทําการใด หรือรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่นในการกระทําการใด ที่ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับประโยชน์เสมือนหนึ่งว่าได้รับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่เป็นไปตามกําหนดเวลาในข้อ 29 วรรคหนึ่ง (3)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 30 ข้อ 31 และข้อ 32 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 30 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไว้แล้วได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีที่เข้าเหตุดังต่อไปนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว (ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่ายโอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล หรือ (ข) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่ บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่า ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 24 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงาน การชดเชยราคา ข้อ 31 การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 30 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนได้ไม่เกินสิบวันทําการนับแต่วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเลื่อนกําหนดการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบเรื่องดังกล่าวด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน (3) แจ้งการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน พร้อมทั้งจัดส่งรายงานที่แสดงเหตุผลของการเลื่อน และหลักฐานการได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 30(1) หรือการรับรองข้อมูลของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 30(2) ต่อสํานักงานโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการแทนก็ได้ (4) ในระหว่างการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน หากมีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชําระค่าขายคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามลําดับวันที่ส่งคําสั่งขายคืนก่อนหลัง ข้อ 32 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทพบว่าราคาขายหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามข้อ 24 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการหยุดขายหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 34 และข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 34 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้ (1) ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีดังต่อไปนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว (ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล (ข) ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรือ (ค) มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ให้กระทําได้ไม่เกินหนึ่งวันทําการ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (3) กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ และมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ (ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แห่งนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ หรือ (ค) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่เหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นชอบด้วยแล้ว (4) เป็นการไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว หรือเป็นการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน แก่ผู้ลงทุนเฉพาะราย เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ลงทุนรายนั้น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําดังต่อไปนี้ 1. การกระทําที่เป็นความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ 2. การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือ 3. การกระทําที่เป็นการปฏิบัติตามคําสั่งเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน โดยบุคคลผู้มีอํานาจตามกฎหมาย (ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการรู้จักลูกค้า และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้ในสาระสําคัญ ข้อ 35 เมื่อปรากฏเหตุตามข้อ 34 และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน และหากเป็นเหตุตามข้อ 34(1) (2) หรือ (3) ให้เปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลันด้วย (2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 34(1) (2) และ (3) เกินหนึ่งวันทําการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ ก่อนการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการ กองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 38 ในส่วนนี้ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ (2) บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ฐานะการลงทุน” (exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาอื่น อันเป็นผลให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 40/1 และข้อ 40/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 40/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของแต่ละกองทุนรวมทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม เป็นรายเดือนดังต่อไปนี้ (1) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมที่จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด และ (2) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมโดยมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งทุน ให้เปิดเผยชื่อหลักทรัพย์และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดห้าอันดับแรก ตลอดจนน้ําหนักการลงทุนในหลักทรัพย์และกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น (ข) กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้เปิดเผยชื่อตราสารหนี้ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดห้าอันดับแรก ตลอดจนอันดับความน่าเชื่อถือและน้ําหนักการลงทุนในตราสารแห่งหนี้นั้น (ค) กรณีกองทุนรวมผสม ให้เปิดเผยชื่อหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดห้าอันดับแรก และน้ําหนักการลงทุนในหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้เปิดเผยอันดับความน่าเชื่อถือด้วย (ง) กรณีกองทุนรวมที่มีฐานะการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่ง เกินกว่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศนั้น เท่าที่กองทุนรวมต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเข้าถึงได้ การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้กระทําภายในสิบห้าวันนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน เว้นแต่กรณีตามวรรคหนึ่ง (2) (ง) ให้กระทําภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กองทุนรวมต่างประเทศนั้นเปิดเผยข้อมูลการลงทุนเป็นวันแรก ข้อ 40/2 บริษัทจัดการจะไม่จัดทําและเปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมเป็นรายเดือนตามข้อ 40/1 ก็ได้ หากเป็นกรณีที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมดังกล่าวมีกลยุทธ์การลงทุนเพียงครั้งเดียว (buy-and-hold fund) โดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุของทรัพย์สินที่ลงทุน ครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม และ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แสดงข้อมูลการลงทุนตามข้อ 40/1 วรรคหนึ่ง (2) ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตลอดจนได้เปิดเผยให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลการลงทุนได้เองแล้ว” ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 44/2 ในกรณีที่กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่ง เกินกว่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําข้อมูลของกองทุนรวม ทุกรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทิน และทุกรอบระยะเวลาบัญชี โดยมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนรวมต่างประเทศ และ (2) ความผันผวนของผลการดําเนินงานของกองทุนรวมต่างประเทศ การจัดทําข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมต่างประเทศ เท่าที่กองทุนรวมต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการสามารถเข้าถึงได้” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 45 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 50/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ข้อมูลตามรายการที่สํานักงานกําหนด โดยให้ส่งผ่านระบบจัดส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 86 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 86 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม และเรียกเก็บได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว (2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee) ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปีจากกองทุนรวม ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ซึ่งเรียกเก็บจากกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของยอดรวมค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ ที่ระบุไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 91 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 91 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติมในจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมภายใน ระยะเวลาหนึ่งปีมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด” ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 95 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 95 เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการ หรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้นดังต่อไปนี้ (1) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ ตลาดหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ (2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น และ (3) จําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภท กระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืน เมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม” ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 121 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 121 ในกรณีที่มูลค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) จะทําให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ใช้ชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการใช้มูลค่าในการคํานวณราคาขายและราคารับซื้อคืนให้แตกต่างจากมูลค่าที่กําหนดไว้ในข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ต่อสํานักงานได้” ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ (1) การประกาศมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (2) การขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงกําหนดเวลาการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (3) การเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขาย ไม่รับซื้อคืน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อ หรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (4) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน ผลการดําเนินงาน และความเสี่ยงของกองทุนรวมที่มีฐานะการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต่อผู้ลงทุน (5) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวม และ (6) การเลิกกองทุนรวมเพราะเหตุครบอายุโครงการหรือเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,735
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 29/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 29 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 59 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 59 กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว (2) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ไม่ได้มติโดยเสียงข้างมากด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะควบรวมกองทุนรวมต่อไป ให้ดําเนินการขอมติครั้งใหม่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรกหรือวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการขอมติครั้งแรก และได้รับมติในครั้งหลังนี้เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งออกเสียงลงมติของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งผลการนับมติครั้งแรกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไปในคราวเดียวกันด้วย ในการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดด้วย และหากได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง (1) ให้ถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมตามข้อ 54(2) แล้ว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,736
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 4/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่า มีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของ จํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใด ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบหรือได้รับการแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 13 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวม รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ (3) ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นให้มีจํานวนไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้นภายในสองเดือนนับแต่วันที่ปรากฏกรณีดังกล่าว หรือดําเนินการเลิกกองทุนรวมนั้นทันที เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 และข้อ 29 วรรคหนึ่ง (1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กําหนดในข้อ 15 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) การดําเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้ หากการถือหน่วยลงทุน เกินอัตราตามกรณีที่กําหนดในข้อ 15 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และโครงการของกองทุนรวมมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนับคะแนนเสียงในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนโดยบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลตามข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (4) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีการขายคืนหน่วยลงทุนรวมกันเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใด” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,737
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(2) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 8/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 123/1 ข้อ 123/2 ข้อ 123/3 และข้อ 123/4 ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หมวด ๘/๑ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒๓/๑ ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ข้อ ๑๒๓/๒ ในกรณีที่กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกันจากการลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินดังกล่าวจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม อย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบปีบัญชีที่ได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 123/3 และข้อ 123/4 (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (3) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หรือหน่วยทรัสต์ตาม (2) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หน่วยทรัสต์ตาม (2) หรือตราสารตาม (3) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น ข้อ ๑๒๓/๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ที่คํานวณจากประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับหักด้วยค่าใช้จ่ายทุกประเภทในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมมีกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผล แต่รายการกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมทั้งสองรายการดังกล่าวมียอดเงินน้อยกว่าจํานวนเงินปันผลที่คํานวณได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลเท่ากับยอดกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า (2) กรณีที่เงินปันผลที่จะจ่ายเมื่อคํานวณแล้วเป็นจํานวนเงินน้อยกว่ายี่สิบห้าสตางค์ต่อหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจงดจ่ายเงินปันผลดังกล่าวก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับกองทุนรวมที่มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลมากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปีบัญชี ให้นํายอดเงินปันผลที่คํานวณได้น้อยกว่ายี่สิบห้าสตางค์ต่อหน่วยลงทุนนั้นไปรวมคํานวณกับการจ่ายเงินปันผลในครั้งต่อไปของรอบปีบัญชีเดียวกันด้วย ข้อ ๑๒๓/๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลตามหมวดนี้ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล” ข้อ ๒ ในกรณีที่กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับและโครงการจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 8/1 ที่เพิ่มเติมโดยประกาศนี้ กองทุนรวมดังกล่าวอาจขอรับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดต่อสํานักงานได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอต่อสํานักงานเป็นหนังสือโดยระบุระยะเวลาซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจะมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน (2) ในการยื่นคําขอตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายละเอียดของโครงการที่จะแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งคํารับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้ (1) แจ้งรายละเอียดการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย และประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (2) งดเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย จนกว่าโครงการที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมจะมีผลใช้บังคับ ข้อ ๓ ให้กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับและโครงการจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 8/1 ที่เพิ่มเติมโดยประกาศนี้ และไม่ได้ขอรับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามข้อ 2 ยังคงสามารถดําเนินการตามโครงการดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการแก้ไขโครงการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน หมวด 8/1 แล้ว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 -------------------------------------- (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,738
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 66/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 21)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 66/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 21) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 9/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาคนี้สําหรับการจัดการกองทุนรวมใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยต่อสํานักงานได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,739
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 12 ) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 137 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 137 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายต่อคณะกรรมการกองทุนและสมาชิก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม (2) จัดให้สมาชิกทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1/1 (3) จัดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่สมาชิกมีมติกําหนดเวลาในการใช้สิทธิไว้เป็นอย่างอื่น” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 137/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 137/1 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ได้กําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงตามข้อ140/2 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าสมาชิกรับทราบ และเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนเป็นอย่างดีแล้ว ก่อนเข้าเป็นสมาชิกหรือก่อนที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะมีการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนเป็นนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงตามข้อ 140/2” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 การประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนรายสมาชิก ข้อ 140/1 ข้อ 140/2 ข้อ 140/3 ข้อ 140/4 ข้อ 140/5 และข้อ 140/6ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในภาค 3 การจัดการกองทุนส่วนบุคคล แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ส่วน ๑/๑ การประเมินความเหมาะสมในการเลือก นโยบายการลงทุนรายสมาชิก ข้อ ๑๔๐/๑ ความในส่วนนี้ใช้เฉพาะกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่กําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ ข้อ ๑๔๐/๒ ในส่วนนี้ “นโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง” หมายความว่า นโยบายการลงทุนที่กําหนดให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ รวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น (1) ตราสารแห่งทุน (2) ตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ (ก) ตราสารแห่งหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (ข) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. มีกําหนดการชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน หรือมีข้อกําหนดชําระคืนเงินต้นเพียงบางส่วนหรือไม่คืนเงินต้น 2. มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ย เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ (3) ทรัพย์สินที่บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ตามข้อ 75/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๑๔๐/๓ เพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมโดยสอดคล้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน สถานะทางการเงินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายการออมเมื่อเกษียณอายุ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนของสมาชิกตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้สมาชิกทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนครั้งแรกตามเงื่อนไขและกรอบเวลาที่กําหนดในข้อ 140/4 และต้องแสดงให้สมาชิกทราบถึงประโยชน์และความจําเป็นในการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนด้วย (2) จัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีที่ได้ทําการประเมินครั้งล่าสุด โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีที่ครบกําหนดเวลาทบทวนดังกล่าว ทั้งนี้ หากเป็นการทบทวนความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนก่อนปี พ.ศ. 2562 การทบทวนความเหมาะสมดังกล่าวจะทําเฉพาะสมาชิกที่เลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงก็ได้ (3) ในกรณีที่ผลประเมินไม่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่สมาชิกแสดงความจํานงเลือก ไม่ว่าเป็นการเลือกไว้เดิมหรือที่จะเลือกใหม่ ให้เตือนให้สมาชิกทราบถึงความเสี่ยงของการเลือกนโยบายการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับสมาชิก ก่อนให้สมาชิกลงนามยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกนโยบายการลงทุนนั้น (4) ในกรณีที่สมาชิกปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลให้ไม่สามารถดําเนินการตาม (1) หรือ (2) ได้ ให้เตือนให้สมาชิกทราบถึงความเสี่ยงในการเลือกนโยบายการลงทุนโดยไม่มีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน (5) ติดตามให้มีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนอีกครั้งสําหรับสมาชิกที่ปฏิเสธการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน ข้อ ๑๔๐/๔ การรวบรวมข้อมูลของสมาชิกและทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนครั้งแรก ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นสมาชิกใหม่ที่เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จในวันเข้าเป็นสมาชิก (2) ในกรณีที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ให้ดําเนินการดังนี้ (ก) หากสมาชิกแสดงความจํานงเลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าเป็นการเลือกไว้เดิมหรือที่จะเลือกใหม่ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2557 (ข) หากมิได้เป็นสมาชิกตาม (ก) ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2562 ข้อ ๑๔๐/๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้แบบและวิธีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนตามแนวทางที่สมาคมกําหนด ข้อ ๑๔๐/๖ การดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนตามส่วนนี้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้อยู่ในรูปเอกสารหรือรูปแบบอื่นใด ที่สมาชิกหรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะสามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจดูข้อมูลได้ในอนาคต” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,740
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 55/1 และข้อ 55/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 55/1 ในกรณีที่กองทุนรวมมีการกําหนดไว้ในโครงการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดได้รับคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนเมื่อกองทุนรวมมีการเปลี่ยนสภาพจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด หากดําเนินการตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 55(1) (1) ดําเนินการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมเมื่อครบอายุโครงการเดิม (2) ดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนตามสิทธิที่ระบุไว้ในโครงการเดิมสําหรับการสิ้นสุดอายุโครงการของกองทุนรวมปิด (3) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนให้แก้ไขโครงการเป็นกองทุนรวมเปิดตามข้อ 54 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนต้องได้รับมติตามข้อ 51 ด้วย ให้นําความในข้อ 55(1) (ก) และ (ข) มาใช้บังคับกับการดําเนินการคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม ข้อ 55/2 มิให้นําความในข้อ 92 วรรคหนึ่งและข้อ 93 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ในวันสุดท้ายของการเป็นกองทุนรวมปิดและในวันทําการแรกที่มีผลเป็นกองทุนรวมเปิด” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 105 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 105 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์เป็นทรัพย์สินอื่นแทนเงินสดได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการขายหน่วยลงทุนให้แก่กระทรวงการคลังซึ่งได้กระทําภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมวายุภักษ์เปลี่ยนสภาพจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการระบุวิธีการรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนในลักษณะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในโครงการ” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 105/1 ข้อ 105/2 และข้อ 105/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 105/1 มิให้นําความในข้อ 29 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติต่อการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการสงวนสิทธิหรือกําหนดเงื่อนไขในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้มีการระบุการสงวนสิทธิหรือเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการสงวนสิทธิในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนเป็นจํานวนรวมมากกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามคําสั่งขายคืนดังกล่าวโดยวิธีการจัดสรรเฉลี่ยตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนทั้งหมด (pro rata basis) ข้อ 105/2 มิให้นําความในข้อ 85 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยการออกเป็นหน่วยลงทุนหรือจ่ายเป็นทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นกระทรวงการคลังหรือผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดเดียวกับกระทรวงการคลัง (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการระบุวิธีการในการจ่ายเงินปันผลในลักษณะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ 105/3 มิให้นําความในข้อ 93 มาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อจํากัดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการจนเป็นเหตุให้จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,741
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ในภาคนี้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม “วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดไว้ในโครงการ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกส่วนที่ 2 การถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13) ในวรรคหนึ่งของข้อ 43 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(13) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 47 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 47 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่เกินร้อยละห้าสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อคํานวณเฉพาะหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจํานวนไม่เกินร้อยละห้าสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 47/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 47/1 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการใด หากไม่สามารถดําเนินการตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ เนื่องจากข้อจํากัดในการนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดได้” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 51 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2554 เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดเกี่ยวกับเอกสารของกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 51 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนนอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน หรือที่กําหนดไว้ในมาตรา 129 หรือตามที่กําหนดในประกาศนี้ การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด โดยแต่ละชนิดได้รับผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เท่ากัน ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (2) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ว่ากรณีใด ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (3) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพันด้วย” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุน ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่ จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาห้าวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใด ติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด” ข้อ 8 ให้ยกเลิกข้อ 120 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,742
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 15) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9 ) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ในการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่น และต้องไม่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่บุคคลอื่นที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่บริษัทจัดการแสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ (2) ในกรณีที่แต่งตั้งพนักงานของบริษัทจัดการเป็นผู้จัดการกองทุน บุคคลดังกล่าวต้องดํารงตําแหน่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน (ข) ตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการของ บริษัทจัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 43 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “(14) รายชื่อผู้จัดการกองทุนของกองทุนรวม” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,743
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 19/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 16)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 19/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 58/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7)ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Part I : Qualifications of the CIS Operator, Trustee/Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters ซึ่งอยู่ใน Appendix C: Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 58/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 7)ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 “บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นกรณีที่กําหนดไว้ตามข้อ 29/1” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,744
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 38/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 17)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 38/2557 . เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 17) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคมพ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 43 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “(5/1) ข้อมูลอัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนรวม (portfolio turnover ratio) ซึ่งคํานวณจากมูลค่าที่ต่ํากว่าระหว่างผลรวมของมูลค่าการซื้อทรัพย์สินกับผลรวมของมูลค่าการขายทรัพย์สิน ที่กองทุนรวมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา หารด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,745
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 18)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 18) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 39 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 39 ในการจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําข้อมูลการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน หรือหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี เฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบระยะเวลาบัญชี พร้อมทั้งแสดงเหตุผล และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนทราบเป็นการทั่วไปภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 41 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีให้แก่สํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 43/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 43/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมตามข้อ 43(2) ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นรายไตรมาส โดยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเปิดเผยข้อมูลอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักและสัดส่วนของการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงต่อมูลค่าทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของวรรคหนึ่งในข้อ 44/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 50/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) รายงานการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเปิดเป็นรายวัน โดยให้จัดส่งภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกองทุนรวมเปิดประเภทที่มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (auto redemption) และกองทุนรวมเปิดประเภทอื่น ๆ ตามที่สํานักงานกําหนด” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 44/3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานช่องทางการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทั้งหมดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวม ทุกรอบระยะเวลาหกเดือนของปีปฏิทิน ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงานกําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และส่งรายงานดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 132/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 132/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานการฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละปี และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวให้เป็นตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด” ข้อ 7 ให้ยกเลิกข้อ 136 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,746
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 19)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 19) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึง กรณีที่เป็นการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน และการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีกองทุนรวมหน่วยลงทุนให้ปฏิบัติตามข้อ 93/1 (ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่าสองในสามของจํานวน หน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลาห้าวันทําการซื้อขาย หน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 93/1 และข้อ 93/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 93/1 ในกรณีของกองทุนรวมหน่วยลงทุน หากปรากฏกรณีที่กองทุนอื่นที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนดังกล่าวไปลงทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 93/2 (1) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งลดลงเกินกว่าสองในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นดังกล่าว (2) ยอดรวมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นดังกล่าวลดลงในช่วงระยะเวลาห้าวันทําการใดติดต่อกัน คิดเป็นจํานวนเกินกว่าสองในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นนั้น กองทุนอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงเฉพาะกองทุนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และให้หมายความรวมถึงกองทุนที่มีลักษณะเป็นการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุน ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศและไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ (REIT) โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) เป็นต้น (2) เป็นกองทุนที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนมีการลงทุนในกองทุนตามวรรคสอง (1) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นนั้น ข้อ 93/2 ในกรณีที่กองทุนอื่นที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนไปลงทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงตามข้อ 93/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งเหตุที่กองทุนอื่นมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงตามข้อ 93/1 วรรคหนึ่ง พร้อมแนวทางการดําเนินการโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ให้สํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุ (2) ดําเนินการตามแนวทางการดําเนินการตาม (1) ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุ (3) รายงานผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ (4) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการของกองทุนรวมตาม (1) ต่อผู้ที่สนใจจะลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวม ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวด้วย” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 96 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการ กองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(7) ระยะเวลาในการดําเนินการตามข้อ 93/2(2) ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,747
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 143 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,748
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 20)
1. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 1. ที่ สน. 39/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 20) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 45/1 และข้อ 46 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 15/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 45/1 ในการขอความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ สําหรับกรณีที่มิใช่การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามข้อ 46 ข้อ 48 และข้อ 49 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว สํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจากกองทุนรวม ข้อ 46 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานกําหนด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน เมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - 1. ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,749
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 79/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 22)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 79/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 22) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน.27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหมวด 5 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ข้อ 107 ข้อ 108 และข้อ 109 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด 5 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ส่วนที่ 1 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท ข้อ 107 ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 108 ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุนหรือภายในห้าวันทําการนับแต่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 93 หรือวันที่ปรากฏเหตุอื่นใดซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวมได้กําหนดเป็นเหตุเลิกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาในการโอนย้ายการลงทุนไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ข้อ 109 มิให้นําความในข้อ 84 มาใช้บังคับ และห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 109/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วนที่ 2 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงิน จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 109/2 ในส่วนนี้ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า (1) เงินที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) เงินตาม (1) ที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น (3) ผลประโยชน์อันเกิดจากเงินตาม (1) และ (2) “เงินสะสม” หมายความว่า เงินสะสมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 109/3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมายังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้เมื่อได้รับเอกสารหลักฐานตาม (1) และดําเนินการตาม (2) แล้วดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมายังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือผู้ชําระบัญชีมีหน้าที่ต้องจัดส่งให้กับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามที่กําหนดในประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพว่าด้วยวิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) จัดให้มีเอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้ลงทุนได้รับทราบคําเตือนเกี่ยวกับการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมายังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังนี้ (ก) ในกรณีที่เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของผู้ลงทุนครบเงื่อนไขเกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาซึ่งเป็นผลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีเพิ่มเติมจากการโอนเงินดังกล่าวมายังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอาจมีต้นทุนที่แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป (ข) ในกรณีที่การโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมายังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะมีผลให้การถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ 109/4 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานเพื่อแยกส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่รองรับเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกจากส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) จัดให้มีระบบงานในการจําแนกเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายออกเป็นสองส่วนดังนี้ (ก) เงินสะสม (ข) เงินอื่นที่ไม่ใช่เงินสะสม (3) จัดเก็บข้อมูลของผู้ถือหน่วยลงทุนเกี่ยวกับอายุ และระยะเวลาการเป็นสมาชิกหรือการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เพื่อการนับอายุต่อเนื่อง ข้อ 109/5 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดไม่ประสงค์จะลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายดังกล่าวทราบ ข้อ 109/6 ในกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพบางส่วนไปยังกองทุนรวมอื่น ให้สามารถทําได้โดยโอนเงินสะสมและเงินอื่นที่ไม่ใช่เงินสะสมในอัตราที่เท่ากัน ข้อ 109/7 ในการเปิดเผยข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุไว้ด้วยว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิดังกล่าวได้รวมเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ด้วย บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นําข้อมูลในส่วนของเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปรวมคํานวณเป็นข้อมูลเงินลงทุนและภาพรวมอุตสาหกรรมในธุรกิจกองทุนรวม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,750
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 32/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 32/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ (2) กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (3) กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินสดที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินสามเดือน ซึ่งมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 29 ในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีตามข้อ 33 หรือข้อ 34 หรือกรณีอื่นใดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ (2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนในวันทําการถัดจากวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 34 (3) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ต้องชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 29/1 หรือกองทุนรวมเปิดที่เลื่อนกําหนดชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 30 ให้ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดดังกล่าว (ข) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีที่เป็นค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินตามข้อ 29/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีคําเตือนในใบคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 29/1 และข้อ 29/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 29/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากสํานักงานตามประกาศนี้ ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันคํานวณมูลค่าและราคาดังกล่าวตามที่ได้รับการผ่อนผัน ข้อ 29/2 ในกรณีของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) โครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม กําหนดเงื่อนไขของการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการดังกล่าวต่อเมื่อค่าขายคืนหน่วยลงทุนที่ชําระไม่เกินวงเงินดังต่อไปนี้ โดยในการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมจะพิจารณาตามลําดับก่อนหลัง (first come first serve basis) (ก) วงเงินสูงสุดต่อวันสําหรับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแต่ละกองทุนรวม และ (ข) วงเงินสูงสุดต่อวันสําหรับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดวงเงินดังกล่าวในจํานวนที่ไม่เกินร้อยละแปดสิบของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนมีอยู่ในวันทําการก่อนหน้าวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือในจํานวนที่ไม่เกินสองหมื่นบาท แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีมาตรการในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมตลาดเงินอย่างเพียงพอและเหมาะสม (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้เปิดเผยหลักเกณฑ์การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนไว้ในหนังสือชี้ชวนแล้ว” ข้อ 4 ในกรณีที่กองทุนรวมตลาดเงินได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามข้อ 11(3) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ หากกองทุนรวมตลาดเงินดังกล่าวมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันตามวรรคหนึ่งมีการลงทุนหรือได้มาซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินนั้นเพิ่มเติมนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและเป็นผลให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 โดยอนุโลม คําว่า “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือ หน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมตลาดเงิน ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกองทุนรวมตลาดเงินที่แก้ไขเพิ่มเติม และ (2) แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชําระ ค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้เหมาะสมกับนโยบายของกองทุนรวมตลาดเงิน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,751
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 24/2542 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 24/2542 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ออกหุ้นกู้ตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตหรือให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้นั้นก็ตาม “การฟื้นฟูกิจการ” หมายความว่า การที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบริษัทที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย หรือ (ข) เป็นบริษัทที่ได้จัดทําแผนดําเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่จัดทําขึ้น ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับและเพิก ถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และได้จัดส่งแผนดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทรายงานรายละเอียดของข้อมูลตามข้อ 3 ต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) เหตุการณ์ใด ๆ ที่เป็นเงื่อนไขที่จะทําให้ผู้ถือหุ้นกู้ถือเป็นเหตุให้บริษัทผิดข้อตกลงตามหุ้นกู้ (events of default) (2) บริษัทผิดข้อตกลงในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ (default) (3) มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นกู้ในสาระสําคัญ เช่นอัตราดอกเบี้ย กําหนดเวลาไถ่ถอน อายุหุ้นกู้ เป็นต้น (4) เมื่อหนี้ตามหุ้นกู้ระงับสิ้นไปไม่ว่าด้วยเหตุใดก่อนถึงวันครบกําหนดไถ่ถอนเช่น การไถ่ถอนก่อนกําหนดตามสิทธิที่ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ (put option) การไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกําหนดตามสิทธิของบริษัท (call option) การซื้อหุ้นกู้โดยบริษัทคืนจากผู้ถือหุ้นกู้ เป็นต้น (5) มีการไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อครบกําหนดไถ่ถอน (6) มีการเปลี่ยนแปลงผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้นั้น (7) บริษัทมีการฟื้นฟูกิจการ ข้อ ๓ การรายงานตามข้อ 2 ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ ได้แก่ ชื่อบริษัทผู้ออก ชื่อและประเภทของหุ้นกู้ วัน เดือน ปี ที่ออกหุ้นกู้ วัน เดือน ปี ที่ครบกําหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ จํานวนหุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหุ้นกู้ที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน (2) รายละเอียดของเหตุการณ์ตามข้อ 2 เช่น วันที่เกิดเหตุการณ์ เหตุที่ทําให้เกิดเหตุการณ์ เป็นต้น (3) กรณีมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ตามข้อ 2(4) หรือ (5) ให้ระบุราคาที่ไถ่ถอน และจํานวนหุ้นกู้ที่ไถ่ถอนด้วย (4) ข้อมูลอื่นใดที่จําเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ (ถ้ามี) ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,752
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 41/2552 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 41/2552 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัท” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 24/2542 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ออกหุ้นกู้ตามมาตรา 33 ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตหรือให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้นั้นก็ตาม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การเสนอขายหุ้นกู้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ดังนั้น เพื่อให้ข้อกําหนดแห่งประกาศเกี่ยวกับการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้มีการอ้างอิงที่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่แก้ไขดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,753
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 21/2558 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2558 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 24/2542 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 24/2542 เรื่อง การรายงานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน28 “(3) กรณีมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ตามข้อ 2(4) ให้ระบุราคาที่ไถ่ถอน และจํานวนหุ้นกู้ที่ไถ่ถอนด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,754
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 34/2561 เรื่อง การจัดทำรายงานการคำนวณเงินกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รายงานการคํานวณเงินกองทุน” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณที่กําหนดตามข้อ 2 ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลคํานวณเงินกองทุนตามแบบรายงานสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนทุกวันสุดท้ายของเดือน เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าเงินกองทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ รายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนของวันสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป (3) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนตาม (1) พร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบได้ หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๔ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใดมีเงินกองทุนเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.1 เท่าของเงินกองทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดํารงไว้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่เงินกองทุนลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเงินกองทุนในอนาคต และความสามารถในการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปี นับจากวันที่ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุ และข้อมูลวิเคราะห์ภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่รู้ว่าเงินกองทุนลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น และทุกวันสุดท้ายของแต่ละเดือนจนกว่าผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้มากกว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยื่นรายงานการดํารงเงินกองทุน ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,755
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 37/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยที่ข้อ 5 วรรค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กําหนดให้งบการเงินประจํารอบปีบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ดังกล่าว สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองและสามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ ให้เป็นไปตามข้อ 2 (2) ในกรณีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ให้เป็นไปตามข้อ 3 ข้อ ๒ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 1(1) ให้นําความในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล มาใช้บังคับกับการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม (1) หน้าที่ของผู้สอบบัญชีภายหลังได้รับความเห็นชอบ (2) ลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ (3) การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น ข้อ ๓ นอกเหนือจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 2 ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 1(2) (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่ง (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (ข) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีในช่วงสามปีก่อนวันที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทําการแต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชี หรือเคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ข้อ ๔ สําหรับการจัดทํางบการเงินประจํารอบปีบัญชี 2560 และ 2561 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 1(1) อาจใช้ผู้สอบบัญชีตามข้อ 3 ในการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,756
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับกองทุนต่าง ๆ มีดังนี้ (ก) “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล (ข) “กองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) (ค) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ง) “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท (2) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับตราสาร มีดังนี้ (ก) “หุ้น” หมายความว่า หุ้นของบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงหุ้นของบริษัทจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign investment company) ที่มีการดําเนินการในลักษณะของโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) (ข) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ระยะสั้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (3) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับกิจการ มีดังนี้ (ก) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ข) “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ค) “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (จ) “นิติบุคคลต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นภาคเอกชน (ฉ) “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการหรือของนายจ้างตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการหรือของนายจ้าง และบริษัทที่บริษัทจัดการหรือนายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น แล้วแต่กรณี (ช) “สถาบันการเงินตามกฎหมายไทย” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มีดังนี้ (ก) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตัวตราสาร ที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ครั้งล่าสุด โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เว้นแต่ข้อกําหนดในประกาศนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตัวตราสาร ที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือที่บุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง (ข) “อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ค) “อันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (5) บทนิยามเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note) มีดังนี้ (ก) “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management)” หมายความว่า การลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. การลดความเสี่ยง (hedging) 2. การลดค่าใช้จ่าย 3. การเพิ่มรายได้ของกองทุนโดยไม่มีความเสี่ยง หรือหากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (ข) “การลดความเสี่ยง (hedging)” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นด้วยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือด้วยการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี (ค) “ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ (ง) “ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารหรือสัญญาดังต่อไปนี้ 1. ตราสารทางการเงินหรือสัญญาที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง หรือ 2. หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ เว้นแต่ในข้อกําหนดในประกาศนี้จะแสดงให้เห็นว่าไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ (จ) “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (recognized exchange) (ฉ) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสัญญาอื่นในทํานองเดียวกัน (ช) “ค่าเดลต้า” หมายความว่า อัตราเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหรือสัญญา กับราคาสินค้าหรือตัวแปรของตราสารหรือสัญญา แล้วแต่กรณี (6) บทนิยามอื่น ๆ เกี่ยวกับการทําธุรกรรม มีดังนี้ (ก) “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อส่งมอบ (ข) “การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น” หมายความว่า การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาที่ประกาศนั้นกําหนด (ค) “คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เฉพาะจากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินที่กําหนดไว้ในภาค 1 ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนตามที่กําหนดไว้ในภาค 2 เว้นแต่เป็นกรณีที่อยู่ภายใต้บทเฉพาะกาลตามภาค 3 ได้ อื่นๆ ๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดในหมวด 2 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในหมวด 3 (2) เปิดเผยข้อมูลการลงทุนตามหมวด 4 (3) เมื่อมีเหตุที่ทําให้ทรัพย์สินที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ขาดคุณสมบัติที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ต่อไป ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหมวด 5 หมวด ๒ ข้อกําหนดประเภททรัพย์สินตามลักษณะของกองทุน ข้อ ๕ ในกรณีของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้กองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับข้อ 6 ด้วย (1) ตราสารแห่งทุนตามส่วนที่ 1 ของหมวด 3 (2) ตราสารแห่งหนี้ตามส่วนที่ 2 ของหมวด 3 (3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามส่วนที่ 3 ของหมวด 3 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ของหมวด 3 (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (6) เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 5 ของหมวด 3 (7) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 6 ของหมวด 3 (8) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของหมวด 3 (9) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 10 ของหมวด 3 (10) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (9) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคล ที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือได้มาซึ่ง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตาม (5) ได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่กองทุนเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนในต่างประเทศ(offshore investment) เป็นหลักไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยประเทศเหล่านั้นต้องมีหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนในประเทศ (onshore investment) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12 หรือเงินฝากตามข้อ 21(1) ที่มีอายุของตราสารหรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี ต่ํากว่าหนึ่งปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสํารองเงินไว้สําหรับการดําเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน (2) เข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ข้อ 36(4) และข้อ 37 (3) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) หรือ (2) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน บริษัทจัดการอาจนับมูลค่าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตาม (2) รวมในอัตราส่วนของการลงทุนในต่างประเทศ (offshore investment) ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งด้วยได้ ข้อ ๗ ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ทุกประเภท ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 10 (3) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ของหมวด 3 (5) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 5 ของหมวด 3 (6) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase agreement) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 7 ของหมวด 3 (7) ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีของธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์ ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น และในกรณีของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวด 3 (8) การขายชอร์ต ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม (9) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกลักษณะ ทั้งนี้ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 36 (4) ด้วย (10) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงทุกประเภท (11) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (10) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๓ ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสาร และหลักเกณฑ์การลงทุน ส่วน ๑ ตราสารแห่งทุน ข้อ ๘ ตราสารแห่งทุน ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งทุนในประเทศตามข้อ 9 (2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 10 ข้อ ๙ ตราสารแห่งทุนในประเทศ ได้แก่ ตราสาร หรือสัญญา ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้ (1) หุ้น (2) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น (3) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) การลงทุนในตราสารดังกล่าวต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management) (ข) บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพซึ่งมีสภาพคล่องในจํานวนที่เพียงพอต่อมูลค่าการใช้สิทธิตามตราสารดังกล่าว (fully covered) ไว้ตลอดเวลาที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (5) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นหลักทรัพย์ตาม (1)(2)(3) หรือ (4) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๐ ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ ได้แก่ หุ้นหรือหน่วยลงทุนที่เสนอขายในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ด้วย ส่วน ๒ ตราสารแห่งหนี้ ข้อ ๑๑ ตราสารแห่งหนี้ ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12 (2) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 (3) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีข้อกําหนดให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 10 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๒ ตราสารแห่งหนี้ในประเทศ ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 13 (2) ตราสารแห่งหนี้ทั่วไปตามข้อ 14 ข้อ ๑๓ ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (2) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เป็นผู้ออก ซึ่งกําหนดวันใช้เงินตามตั๋วไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันออกตั๋ว และเป็นตั๋วเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (3) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออก ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับแรก ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น (short-term rating) ด้วย หรือ (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันอื่นที่สํานักงานกําหนดเพิ่มเติม ข้อ ๑๔ ตราสารแห่งหนี้ทั่วไป ได้แก่ (1) ตราสารภาครัฐไทย อันได้แก่ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน (2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ อันได้แก่ ตราสารที่มีรูปแบบทํานองเดียวกับตราสารภาครัฐไทยที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวต้องมีลักษณะตามข้อ 15 ด้วย (3) ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ ซึ่งหมายถึง พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ที่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ ที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะทั่วไปหรือในลักษณะจํากัด หรือที่ออกภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง หรือที่นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือที่เป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นโดยได้รับชําระราคาเต็มมูลค่าที่เสนอขายจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ต้องมีลักษณะตามข้อ 15 ด้วย (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ที่ไม่ใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ (5) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ (6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น (7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส๋วนที่ 7 ของหมวดนี้ (8) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นตราสารแห่งหนี้ตาม(1)(2)(3) (4) หรือ (6) หรือข้อ 13 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๕ ตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 14(2) และตราสารที่เปลี่ยนมือได้ตามข้อ 14(3) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นตราสารขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (2) มีราคาที่เหมาะสมตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด หรือมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้น ในราคาดังกล่าว (bid price แบบ firm quote) ตามจํานวนและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนดอยู่เสมอ โดยได้ส่งสําเนาราคาแก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตลอดอายุของตราสารนั้น และ (3) เป็นตราสารที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นตราสารภาครัฐต่างประเทศ ตราสารดังกล่าวต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) เว้นแต่ผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ ตราสารนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) เท่านั้น (ข) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ตราสารนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (ค) ในกรณีที่กองทุนลงทุนในตราสารอื่นนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) ในการเสนอขายครั้งแรก หากตราสารดังกล่าวไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ตราสารนั้นต้องมีบริษัทจัดการไม่ต่ํากว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนภายใต้การจัดการ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12 เป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีการจ่ายผลตอบแทน ผลตอบแทนนั้นต้องอยู่ในรูปอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่านั้น การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันของบุคคลที่กําหนดไว้ในข้อ 13 และข้อ 14 ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข ข้อ ๑๗ ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ ได้แก่ หลักทรัพย์หรือตราสารที่ออกโดยบุคคลต่างประเทศและเสนอขายในต่างประเทศ (1) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ อันได้แก่ (ก) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (ข) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (2) ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชน อันได้แก่ (ก) ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) และได้รับการคัดเลือกให้ใช้ในการคํานวณดัชนีตราสารแห่งหนี้ (benchmark bond index) ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย (ข) ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศที่มีอายุตราสารคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย (3) ตราสารแห่งหนี้อื่น อันได้แก่ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ส่วน ๓ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ข้อ ๑๘ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ได้แก่ หุ้นกู้แปลงสภาพดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในประเทศซึ่งมีลักษณะตามข้อ 15(1) และ (2) ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวในการเสนอขายครั้งแรก หุ้นกู้แปลงสภาพนั้นต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) หรือ (ข) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีบริษัทจัดการไม่ต่ํากว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนภายใต้การจัดการ ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพตามวรรคหนึ่งมีการค้ําประกัน การค้ําประกันดังกล่าวต้องเป็นการค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข (2) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ข้อ ๑๙ ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือได้มาซึ่งหุ้นกู้แปลงสภาพตามข้อ 18 ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการได้ระบุหลักเกณฑ์ตาม (2) และ (3) ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี (2) ในขณะที่ลงทุนหรือได้มา มูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น (out of the money) (3) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ ให้บริษัทจัดการขายหุ้นที่ได้รับจากการแปลงสภาพนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้หุ้นดังกล่าวมา การใช้สิทธิแปลงสภาพตาม (3) หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ ส่วน ๔ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ข้อ ๒๐ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่กองทุนจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) (2) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีทรัพย์สินที่ลงทุนเป็นประเภทและชนิดเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ เว้นแต่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในทองคําโดยตรง (3) ในกรณีที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย หน่วยลงทุนที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเช่นกัน (4) ต้องไม่ใช่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮ็ดจ์ฟันด์ (hedge fund) ส่วน ๕ เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด (near-cash) ข้อ ๒๑ เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดที่บริษัทจัดการจะลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือ (2) เป็นเงินฝากระยะสั้นในสถาบันการเงิน หรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด (near-cash) ระยะสั้นที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก โดยสถาบันการเงินดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินต่างประเทศ ทั้งนี้ การมีไว้ซึ่งเงินฝากหรือตราสารดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกหรือป้องกันปัญหาในการดําเนินงานในต่างประเทศของกองทุน เช่น เพื่อรอการลงทุน หรือเพื่อชําระค่าใช้จ่าย เป็นต้น ส่วน ๖ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ข้อ ๒๒ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน บริษัทจัดการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 9(3) โดยอนุโลม ส่วน ๗ ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase agreement) ข้อ ๒๓ การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 24 (2) ต้องเป็นการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามที่กําหนดในข้อ 25 (3) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด แล้วแต่กรณี หรือใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ (4) ต้องมีวัตถุประสงค์เป็นการลงทุนระยะสั้น และไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ข้อ ๒๔ ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนได้ เฉพาะกับสถาบันการเงินหรือบุคคลดังต่อไปนี้ที่สามารถประกอบธุรกิจหรือดําเนินกิจการได้ตามกฎหมายไทย (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทหลักทรัพย์ (5) บริษัทประกันภัย (6) ธนาคารแห่งประเทศไทย (7) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (8) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ ๒๕ ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนได้ เฉพาะในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (3) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 50 (SET 50 Index) ทั้งนี้ เฉพาะกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน ข้อ ๒๖ ในการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดํารงมูลค่าของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อ โดยให้ใช้ราคาตลาดในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวลดลงกว่าราคาซื้อ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการเพิ่มหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ หรือโอนเงินเพื่อให้มูลค่ารวมไม่น้อยกว่าราคาซื้อภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ลดลงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ดําเนินการให้มีการโอนเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 25 แล้วแต่กรณี ให้แก่กองทุน (ข) ดําเนินการให้กองทุนมีกรรมสิทธิ์ในเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่โอนมาตาม (ก) แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ได้มาจากการทําธุรกรรมดังกล่าวไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายตามธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (repurchase agreement) ที่สามารถทําได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (3) ห้ามมิให้บริษัทจัดการเพิ่มวงเงินตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนที่ได้ทําไว้กับคู่สัญญา ไม่ว่ามูลค่าของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ของธุรกรรมดังกล่าวจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ (4) คํานวณมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน โดยใช้ราคาซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ส่วน ๘ ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ข้อ ๒๗ การทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทจัดการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 28 (2) หลักทรัพย์ที่ให้ยืมต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (3) ใช้สัญญาที่มีลักษณะและสาระสําคัญของสัญญาตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (4) ดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 29 ข้อ 30 และข้อ 31 ข้อ ๒๘ การทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ต้องมีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ในกรณีที่คู่สัญญาตามวรรคหนึ่งกระทําการในฐานะตัวแทนของผู้ยืม ผู้ยืมต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ที่สามารถประกอบธุรกิจหรือดําเนินกิจการได้ตามกฎหมายไทย (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (3) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (4) ธนาคารเพื่อการนําเข้าและการส่งออกแห่งประเทศไทย (5) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (6) ธนาคารพาณิชย์ (7) บริษัทเงินทุน (8) บริษัทหลักทรัพย์ (9) บริษัทประกันชีวิต (10) กองทุนส่วนบุคคลที่ไม่ใช่กองทุนส่วนบุคคลรายย่อยและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) นิติบุคคลอื่นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลในฐานะผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ที่อาจมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการในการดําเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน เป็นประการอื่นได้ ข้อ ๒๙ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันดังต่อไปนี้ จากผู้ยืม เพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ (1) เงินสด (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 13 (3) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) (4) ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (5) หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกให้แก่กองทุนเพื่อเป็นประกันการคืนหลักทรัพย์ให้แก่กองทุน โดยธนาคารพาณิชย์นั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น (letter of guarantee) (6) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 50 ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนไม่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน กองทุนจะรับหลักประกันดังกล่าวไม่ได้ ข้อ ๓๐ ในการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมตามข้อ 29 บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้กองทุนมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันตามข้อ 29(2)(3)(4) หรือ (6) หรือดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทจัดการสามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําหลักประกันตามข้อ 29(2)(3)(4) หรือ (6) ที่กองทุนมีกรรมสิทธิ์ไปโอนหรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการบังคับชําระหนี้ตามข้อตกลงธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ (3) ต้องดําเนินการให้มีการดํารงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อย ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ข้อ ๓๑ ในกรณีที่หลักประกันเป็นเงินสด ให้บริษัทจัดการนําเงินสดดังกล่าวไปลงทุนโดยทันทีในทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 13 ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นบัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (3) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) (4) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) ข้อ ๓๒ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนเป็นรายเดือนโดยระบุรายชื่อคู่สัญญา วัน เดือน ปี ที่ทําธุรกรรม ชื่อ ประเภท และมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ณ วันทําธุรกรรม อัตราผลตอบแทนต่อปี อายุของสัญญา ชื่อและประเภทขอหลักประกัน และจัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ส่วน ๙ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๓ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่ทําให้วัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นเบี่ยงเบน และต้องไม่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิต หรือเป็นการเคลื่อนย้ายผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ (credit derivative) (2) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management) เว้นแต่ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการจะเข้าเป็นคู่สัญญาได้เฉพาะเพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) เท่านั้น (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 34 ข้อ 35 ข้อ 36 และข้อ 37 (4) ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพล่วงหน้าก่อนเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งนี้ ในการขอความยินยอมดังกล่าว บริษัทต้องอธิบายให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเข้าใจถึงลักษณะและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงก่อนขอรับความยินยอมด้วย ข้อ ๓๔ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาได้ต้องมีสินค้าหรือตัวแปรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (2) อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาในกรณีดังกล่าวได้เฉพาะเพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) เท่านั้น (3) อันดับความน่าเชื่อถือหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารแห่งหนี้ (4) ทองคํา น้ํามันดิบ หรือดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity index) ซึ่งได้ระบุการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (5) สินค้าหรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓๕ ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีตัวแปรเป็นดัชนี ดัชนีดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้สินค้าหรือตัวแปรอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างอันได้แก่ หลักทรัพย์หรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้ ทองคํา น้ํามันดิบ หรือดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (2) เป็นดัชนีที่มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยมีการระบุแหล่งข้อมูลของสินค้า ตัวแปร หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการคํานวณ ทั้งนี้ สินค้า ตัวแปร หรือปัจจัยดังกล่าวต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระด้วย (3) ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ (4) เป็นดัชนีที่นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล และ (5) มีการแสดงดัชนีนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันทําการผ่านสื่อที่มีการเสนอข้อมูลอย่างทันเหตุการณ์ ข้อ ๓๖ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 34 ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) หากวัตถุประสงค์ของการเข้าเป็นคู่สัญญาเพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) โดยสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวไม่ใช่ตัวเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง (cross hedge) สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นต้องมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างผลตอบแทนของสินค้าหรือตัวแปรกับผลตอบแทนของทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง อยู่ระหว่างอัตราที่สํานักงานกําหนด (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาออปชันที่ผูกพันกองทุนในฐานะผู้ให้สัญญา (option writer) เว้นแต่เป็นสัญญาออปชันที่มีข้อผูกพันให้ส่งมอบสินค้าที่กองทุนมีอยู่แล้วอย่างเพียงพอตามข้อผูกพันนั้นในขณะเข้าเป็นคู่สัญญาดังกล่าว (3) การชําระหนี้ด้วยการส่งมอบสินค้าเมื่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง สินค้านั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนจะเป็นผู้มีสิทธิรับมอบหรือมีหน้าที่ส่งมอบสินค้านั้นก็ตาม (4) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือในกรณีที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๗ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อตกลงในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ (1) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัทจัดการทราบทุกวันที่สิบห้าและวันสุดท้ายของแต่ละเดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการของบริษัท ให้คํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมภายในวันทําการถัดไป (2) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัทจัดการทราบทันที (3) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้มีการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อบริษัทจัดการร้องขอได้ ข้อ ๓๘ เมื่อบริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพซึ่งมีสภาพคล่องในจํานวนที่เพียงพอต่อมูลค่าสุทธิที่กองทุนอาจมีภาระต้องชําระหนี้หรือชําระค่าสินค้าเมื่อสิ้นสุดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (fully covered) ไว้ตลอดเวลาที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญานั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (2) ในกรณีที่กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาออปชันตามข้อ 36(2) ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการดํารงสินค้าตามสัญญาดังกล่าวไว้อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญานั้น ข้อ ๓๙ การจัดประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ให้พิจารณาจากลักษณะของสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีสินค้าเป็นตราสารแห่งทุน หรือมีตราสารแห่งทุนเป็นองค์ประกอบในการคํานวณตัวแปร ให้ถือเป็นตราสารแห่งทุน (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีสินค้าเป็นตราสารแห่งหนี้ หรือมีตราสารแห่งหนี้เป็นองค์ประกอบในการคํานวณตัวแปร หรือมีตัวแปรเป็นอัตราดอกเบี้ย อันดับความน่าเชื่อถือ หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารแห่งหนี้ ให้ถือเป็นตราสารแห่งหนี้ (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีสินค้าเป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือมีตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเป็นองค์ประกอบในการคํานวณตัวแปร หรือมีตัวแปรเป็นอัตราดอกเบี้ยหรืออันดับความน่าเชื่อถือของตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ให้ถือเป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ส่วน ๑๐ ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ข้อ ๔๐ ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงซึ่งกองทุนจะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวต้องไม่ทําให้การจัดการกองทุนเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น และต้องไม่ทําให้กองทุนขาดทุนเป็นมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการลงทุน (2) ตราสารดังกล่าวมีการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดไว้ในข้อ 34 (3) ในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวจะมีผลทําให้กองทุนต้องรับมอบทรัพย์สิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่กองทุนสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ การขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอตามรูปแบบและวิธีการที๋สํานักงานกําหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) โครงสร้างและรายละเอียดของตราสารดังกล่าว (2) วัตถุประสงค์ของการลงทุนในตราสารดังกล่าว (3) วิธีการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าว (4) การบริหารความเสี่ยง (5) การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุน (6) การบันทึกบัญชีในงบการเงิน ข้อ ๔๑ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบให้กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงได้ ก่อนการลงทุนในตราสารดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวไปยังสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทุกวันที่สิบห้าและวันสุดท้ายของแต่ละเดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการ ให้คํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมภายในวันทําการถัดไป (ข) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวไปยังสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทันที (ค) ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวมีข้อกําหนดห้ามเปลี่ยนมือ นอกจากข้อตกลงตาม (ก) และ (ข) แล้ว บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้กองทุนไถ่ถอนตราสารดังกล่าวก่อนครบอายุตราสารเมื่อบริษัทจัดการร้องขอได้ (2) เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวให้สิทธิแก่ผู้ออกในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร (callable) ในกรณีที่บริษัทจัดการมิได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้การให้ความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลงทันทีในเวลาที่ลงทุนโดยมิได้ดําเนินการดังกล่าว ข้อ ๔๒ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) (1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 15 โดยอนุโลม (2) ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ตราสารดังกล่าวจัดทําขึ้นในรูปแบบตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 13 หรือข้อ 14(1)(2) (3) หรือ (4) (ข) ตราสารดังกล่าวต้องอ้างอิงกับราคาหุ้น ราคาเฉลี่ยของกลุ่มหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 11(1) หรือ (2) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ในกรณีของดัชนี ต้องมีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 35(2)(3) และ (4) ด้วย (ค) ตราสารดังกล่าวมีข้อกําหนดให้ผู้ออกชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนให้แก่กองทุนเมื่อครบอายุตราสาร เว้นแต่เป็นตราสารที่ไม่ชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนเมื่อครบอายุตราสารซึ่งสํานักงานให้ความเห็นชอบแล้ว และบริษัทได้จัดให้มีข้อตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อ 41(1) และ (ง) ในกรณีที่เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร (callable) บริษัทจัดการได้เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทําการลงทุน หมวด ๔ การเปิดเผยข้อมูลการลงทุน ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนจะลงทุนเป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร (callable) ให้บริษัทจัดการเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทําการลงทุน ข้อ ๔๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 18 หรือเงินฝากตามข้อ 21(1) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) รายงานสรุปจํานวนเงินลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และสัดส่วนเงินลงทุนดังกล่าวต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแบ่งข้อมูลตามกลุ่มดังต่อไปนี้ (ก) กลุ่มตราสารภาครัฐไทยและตราสารภาครัฐต่างประเทศ (ข) กลุ่มตราสารที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (ค) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (ง) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) หรือตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) รายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้เป็นรายตัว (3) ในกรณีของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยสัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูงต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่บริษัทจัดการตั้งไว้ในแผนการลงทุนสําหรับกลุ่มตราสารตาม (1)(ง) ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย ข้อ ๔๕ ให้บริษัทจัดการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามข้อ 44 ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวม ให้เปิดเผยเป็นรายเดือนทางเว็บไซต์ (web site) ของบริษัทภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือน พร้อมทั้งจัดพิมพ์ข้อมูลจากเว็บไซต์ดังกล่าวให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปิดเผยดังกล่าว (2) ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรายเดือนและรายงานรายปี การเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 44(2) อาจใช้วิธีเปิดเผยรายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นรายกลุ่มตาม (1)(ก) ถึง (ง) แทนการเปิดเผยเป็นรายตัวก็ได้ ข้อ ๔๖ ในกรณีที่กองทุนประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยนโยบายการลงทุนพร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นหรือได้ทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลไว้ก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือสัญญาดังกล่าวก่อนการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่กองทุนรวมจะเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรตามข้อ 34(4) ให้บริษัทส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติต่อสํานักงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่บริษัทจะส่งหนังสือดังกล่าวไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ หากสํานักงานมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้บริษัททราบภายใน 15 วัน ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบหนังสือนั้นแล้ว หนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติตามวรรคสองต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้วย ข้อ ๔๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ใช้ในการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาหรือตราสารดังกล่าว ตลอดจนผลกําไรหรือผลขาดทุนที่บริษัทคาดว่าจะได้รับ (2) การวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา ในกรณีของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) แผนรองรับในการชําระหนี้ตามสัญญาหรือตราสารดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ข้อ ๔๘ ให้บริษัทจัดการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามข้อ 47 ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวม จัดส่งข้อมูลให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการลงทุนหรือได้มาซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดเก็บสําเนาข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ด้วย (2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดส่งข้อมูลให้ลูกค้า หรือต่อคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี หมวด ๕ การดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ ที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ ข้อ ๔๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 และหมวด 3 ของภาคนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนไว้แล้ว หากต่อมาทรัพย์สินดังกล่าวมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน อื่นๆ ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ข้อ ๕๐ ข้อกําหนดในภาคนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) (2) กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย และ (3) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๕๑ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไปในหมวด 1 (2) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนเฉพาะประเภทตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ถึงหมวด 12 และ (3) ให้ดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินไม่เป็นไปตามอัตราส่วนตามที่กําหนดในหมวด 13 หมวด ๑ หลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไป ข้อ ๕๒ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จํากัดอัตราส่วน (1) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) (2) เงินฝากระยะสั้นหรือตราสารระยะสั้นที่เทียบเท่าเงินสด (near-cash) ในต่างประเทศตามข้อ 21(2) ข้อ ๕๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 14(2) หรือข้อ 17(1) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จํากัดอัตราส่วน ในกรณีของกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารภาครัฐต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารนั้นในแต่ละรุ่น เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) ข้อ ๕๔ ในกรณีที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ มิให้นับรวมตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญาในอัตราส่วนดังกล่าว ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง มิให้หมายความรวมถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมนั้น การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) นับทรัพย์สินทุกประเภทที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย (2) นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในทรัพย์สินของนายจ้าง หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๕๕ มิให้นําความในข้อ 54 มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับอัตราส่วนไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามข้อ 59(1) (2) การจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย (pooled fund) และมีจํานวนนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันน้อยกว่าสองในสามของจํานวนนายจ้างทั้งหมด ส่วน ๑ อัตราส่วนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สิน หรือคู่สัญญา (company limit) ข้อ ๕๖ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารภาครัฐต่างประเทศที่นอกเหนือจากข้อ 53 หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออกหรือผู้เป็นคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 54 ให้ใช้อัตราส่วนตามข้อ 54 แทน ในกรณีของกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารภาครัฐต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารนั้นในแต่ละรุ่น เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับตราสารตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินทุกประเภทที่ผู้ออกหรือผู้เป็นคู่สัญญารายดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเหล่านั้น รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ข้อ ๕๗ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังต่อไปนี้ ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนรายใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 54 ให้ใช้อัตราส่วนตามข้อ 54 แทน (1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12 (2) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 3 (3) เงินฝากตามข้อ 21(1) (4) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 9 หรือ (5) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 10 การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับตราสารตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินตามข้อ 58(1)(2) หรือ (4) และข้อ 59(1) ที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าว โดยในกรณีของธนาคารพาณิชย์ หากธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับทรัพย์สินที่ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด มิให้คํานวณเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนเข้าในอัตราส่วนดังกล่าว ข้อ ๕๘ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (1) ตราสารแห่งทุนในประเทศตามข้อ 9 ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตราสารแห่งทุนของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างดําเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป (2) หุ้นที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ออกหุ้นดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (3) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12 หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 18(1) หรือ (2) ทั้งนี้ เฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (4) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 6 ที่อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (5) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 10 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามข้อ 20 (6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 9 ที่คู่สัญญามีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) หรือ (7) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 10 ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ตราสารแห่งทุนตาม (1) และตราสารแห่งหนี้ตาม (3) มิให้หมายความรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ถูกจัดให้เป็นตราสารแห่งทุนตามข้อ 9(2) หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 14(6) การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินตามข้อ 59(1) ที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ข้อ ๕๙ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 56 ข้อ 57 และข้อ 58 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (1) เมื่อคํานวณรวมทุกบุคคลที่เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญาแล้ว ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ข้อ ๖๐ ในกรณีของกองทุนรวมที่ประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้น นอกจากอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในส่วนนี้แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่บริษัทใดเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม เมื่อรวมกันทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการต้องไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นการได้มาเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ส่วน ๒ อัตราส่วนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ข้อ ๖๑ ในกรณีของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม อัตราส่วนตามวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการกําหนดอายุโครงการตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้ เฉพาะในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันครบกําหนดอายุของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๖๒ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนอันเนื่องมาจากปัญหาความผันผวน (fluctuation) ของตลาดเงินและตลาดทุนในวงกว้างในรอบปีบัญชีใด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานเพื่อไม่ต้องนําการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ในช่วงเวลาที่เกิดความผันผวนดังกล่าวมารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 61 ได้สําหรับรอบปีบัญชีนั้น ข้อ ๖๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ข้อ ๖๔ ในกรณีของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ (2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๖๕ ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าวได้ โดยไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น ได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย เว้นแต่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) ให้ลงทุนหรือมีไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกันดังนี้ (ก) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน ลงทุนได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน (ข) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนทั้งจํานวน ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (ค) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนเพียงบางส่วน ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีลักษณะตาม (1) และ (2) ร่วมกัน บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนตาม (1) หรือ (2) ที่สูงกว่า ได้ หน่วยลงทุนในข้อนี้ หมายถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๖๖ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงทั้งหมดที่กองทุนมีอยู่ ข้อ ๖๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) กองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลา (interval fund) ซึ่งกําหนดช่วงห่างของวันทําการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนครั้งก่อนและครั้งใหม่ยาวกว่าอายุของตราสารดังกล่าว หรือกองทุนรวมปิด ข้อ ๖๘ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ข้อ ๖๙ บริษัทจัดการอาจทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนได้ โดยมีมูลค่าธุรกรรมรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการคํานวณโดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม รวมผลประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ส่วน ๓ ข้อกําหนดในการคํานวณอัตราส่วน ข้อ ๗๐ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย หรือธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้นับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิดังกล่าว รวมในอัตราส่วนสําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวที่กําหนดในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจไม่นับมูลค่าของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยรวมในอัตราส่วนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาที่กําหนดตามส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ภาค 2 ก็ได้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่นํามาคํานวณรวมในอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ (2) ในกรณีของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) นับมูลค่าที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวมีหน้าที่ต้องชําระตามตราสารนั้น รวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) นับมูลค่าของหุ้นที่รองรับรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนลงทุนในหุ้นที่รองรับนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหุ้นที่รองรับให้ใช้มูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นนั้นซึ่งคูณกับค่าเดลต้าของใบสําคัญแสดงสิทธิหรือใบแสดงสิทธิดังกล่าว แล้วแต่กรณี (3) ในกรณีของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) นับมูลค่าที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวมีหน้าที่ต้องชําระตามตราสารนั้นรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) นับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวให้ใช้มูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นซึ่งคูณกับค่าเดลต้าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (4) ในกรณีของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) นับมูลค่าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชียที่กองทุนได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าว หรือ (ข) นับมูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนรวมพันธบัตรเอเชียดังกล่าวลงทุนหรือมีไว้ รวมในอัตราส่วนสําหรับทรัพย์สินที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินนั้นโดยตรง (5) ในกรณีของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ การนับมูลค่าของของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและมูลค่าของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งของ (1) โดยอนุโลม ข้อ ๗๑ การคํานวณมูลค่าการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 54 ข้อ 56 ข้อ 57 ข้อ 58 และข้อ 59(1) ให้นับมูลค่าที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมคํานวณในอัตราส่วนของบุคคลที่เป็นคู่สัญญาดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญานั้นในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการไม่ต้องคํานวณมูลค่าและอัตราส่วนตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว ข้อ ๗๒ นอกจากการคํานวณตามข้อ 71 แล้ว ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกสินค้าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า (limit of underlying issuer or third party) โดยให้คํานวณอัตราส่วนเสมือนกองทุนลงทุนในสินค้านั้นโดยตรง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงต่อเครดิต (credit risks) ของผู้ออกสินค้าหรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า โดยให้ใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (notional amount) เป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณเว้นแต่ในกรณีที่เป็นสัญญาออปชัน ให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (notional amount) ซึ่งคูณกับค่าเดลต้าของสัญญาออปชัน ข้อ ๗๓ ในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงต่อเครดิต (credit risks) ของผู้ออกสินค้าหรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกสินค้าของตราสารดังกล่าว หรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า (limit of underlying issuer or third party) โดยให้คํานวณอัตราส่วนเสมือนกองทุนลงทุนในสินค้านั้นโดยตรง ทั้งนี้ ให้ใช้มูลค่าของตราสารดังกล่าวเป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณ ข้อ ๗๔ ในกรณีที่ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงมีข้อกําหนดที่อาจมีผลให้กองทุนได้รับชําระหนี้เป็นทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวรวมในอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 54 ข้อ 56 ข้อ 57 ข้อ 58 และข้อ 59(1) แล้วแต่กรณี ในทันทีเสมือนกองทุนได้ลงทุนในทรัพย์สินนั้นแล้ว เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 73 ให้ปฏิบัติตามข้อ 73 แทน ข้อ ๗๕ ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 54 ข้อ 56 ข้อ 57 ข้อ 58 และข้อ 59(1) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ รวมทั้งเงื่อนไขตามข้อ 76 ด้วย (1) ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวมีผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการจะคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกทรัพย์สินหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาดังกล่าว หรือคํานวณอัตราส่วนผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ก็ได้ (2) ในกรณีที่ทรัพย์สินมีบุคคลมากกว่าหนึ่งรายเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการจะเลือกคํานวณอัตราส่วนที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันรายใดรายหนึ่งก็ได้ ข้อ ๗๖ การคํานวณอัตราส่วนที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันตามข้อ 75 จะทําได้ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้ทําการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข หมวด ๒ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุน ลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๗๗ มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 58(5) ข้อ 64 หรือข้อ 65 มาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่ง โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนนั้น และ (2) บริษัทจัดการแจกจ่ายเอกสารแสดงข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญซึ่งผู้ลงทุนควรทราบของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการไปลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ ประเภท และอายุโครงการกองทุนรวม (ข) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (ค) ความเสี่ยงของกองทุนรวม (ง) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม การแจกจ่ายเอกสารตาม (2) สําหรับกรณีกองทุนรวมหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนไปพร้อมกับหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ข้อ ๗๘ มิให้นําความในข้อ 64 และข้อ 65 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยอื่นใดที่มิใช่กรณีตามข้อ 77 โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าว ณ สิ้นวัน ได้ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน (2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (3) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๗๙ มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 65 มาใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน หมวด ๓ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน ข้อ ๘๐ ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย หรือตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในช่วงระยะเวลาที่กองทุนรวมมีความจําเป็นต้องรอการลงทุน หรือเตรียมสภาพคล่องเพื่อการดําเนินงานของกองทุน เช่น การรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เป็นต้น โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดช่วงระยะเวลาดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ข้อ ๘๑ ในกรณีที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น เมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกันหรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 75 และข้อ 76 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๔ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมที่มีการกระจาย การลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และกองทุนส่วนบุคคล ที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน ข้อ ๘๒ มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 57 ข้อ 58 ข้อ 59 ข้อ 64 ข้อ 65 และข้อ 78 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) อัตราส่วนตามข้อ 57 และข้อ 58 มิให้นํามาใช้ในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 58(1) หรือ (2) หรือทรัพย์สินที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) อัตราส่วนตามข้อ 64 ข้อ 65 และข้อ 78 มิให้นํามาใช้ในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน ซึ่งลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าว ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (3) อัตราส่วนตามข้อ 57 ข้อ 58 หรือข้อ 59 มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้เป็นกองทุนรวมมีประกันหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน เว้นแต่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีผู้ประกันของกองทุนนั้นเป็นผู้ออกหรือเป็นคู่สัญญา กรณีนี้ให้ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 57 ข้อ 58 หรือข้อ 59 แล้วแต่กรณี หมวด ๕ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมดัชนี และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุน ลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๘๓ มิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 57 และข้อ 58(1)(2)(3)(4) และ(5) มาใช้บังคับ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมดัชนี หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าวได้ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน หมวด ๖ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๘๔ มิให้นําความในข้อ 60 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หมวด ๗ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมเพื่อแก้ไข ปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ข้อ ๘๕ มิให้นําความในข้อ 57 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารง เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ เฉพาะในส่วนที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก ซึ่งตราสารดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตราสาร หรือที่ผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน หมวด ๘ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ ข้อ ๘๖ มิให้นําความในข้อ 60 มาใช้บังคับ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ได้ไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีไว้ซึ่งหุ้นที่ได้มานั้นเกินกว่าอัตราส่วนที่กําหนดไว้ได้ ข้อ ๘๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ขายหุ้นดังกล่าวให้กองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวได้ไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีไว้ซึ่งหุ้นที่ได้มานั้นเกินกว่าอัตราส่วนที่กําหนดไว้ได้ ข้อ ๘๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ขายหุ้นดังกล่าวให้กองทุนรวมวายุภักษ์ มิให้นําความในข้อ 57 ข้อ 58(1)(2)(3) และ (4) และข้อ 59(1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้น หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นที่บริษัทดังกล่าวดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะบริษัทนั้น ไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 75 และข้อ 76 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือธนาคารพาณิชย์ ให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวที่มิใช่เงินฝากในบัญชีเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ข้อ ๘๙ มิให้นําความในข้อ 61 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ในรอบปีบัญชีแรกที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และในรอบปีบัญชีของสามปีสุดท้ายก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หมวด ๙ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม สําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๙๐ อัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 57 ข้อ 58 ข้อ 59 ข้อ 64 และข้อ 78 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 1 ของภาคนี้ ต่อสํานักงานได้ หมวด ๑๐ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมสึนามิ ข้อ ๙๑ มิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 60 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสึนามิ ข้อ ๙๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานมิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 61 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสึนามิได้ หมวด ๑๑ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ ๙๓ มิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 57 และข้อ 58(1)(2)(3) และ (4) มาใช้บังคับ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมอีทีเอฟได้ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ข้อ ๙๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 58(5) ต่อสํานักงานเป็นประการอื่นได้ หมวด ๑๒ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ ๙๕ อัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 59 และข้อ 61 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๙๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานมิให้นําอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 61 มาใช้บังคับ สําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 หมวด ๑๓ การดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วน ข้อ ๙๗ ในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ(daily redemption fund) กองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลา (interval fund) ที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนครั้งก่อนและครั้งใหม่ห่างกันน้อยกว่าสิบห้าวัน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หากการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มิใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ของกองทุนดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่กําหนดตามข้อ 67 หรือข้อ 68 แล้วแต่กรณี โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ตราสารมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารทางดังกล่าวให้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินอัตราส่วนตามข้อดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตราสารนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด ข้อ ๙๘ ในกรณีที่เงินฝากหรือตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากที่กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้เกินอัตราส่วนที่กําหนดตามข้อ 61 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยเฉลี่ยตั้งแต่วันแรกของรอบปีบัญชีนั้นจนถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าว เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตรวจสอบการปฏิบัติดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทต้องดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากบริษัทด้วย หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทเลิกกองทุนรวมนั้น ข้อ ๙๙ ในกรณีที่กองทุนมีสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่กองทุนถืออยู่ (right issue) หากการใช้สิทธินั้นจะเป็นเหตุให้กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ บริษัทจัดการอาจซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้นโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามอัตราส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะภายในช่วงระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันแรกที่ผู้ถือหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้น ข้อ ๑๐๐ ในกรณีที่ตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมาตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนนั้น มีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยเหตุดังต่อไปนี้ ให้บริษัทดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนให้เป็นไปตามที่กําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มี การประกาศให้ทราบถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน (1) ตราสารแห่งทุน นั้นในเวลาต่อมาเป็นตราสารแห่งทุนของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป หรือถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (2) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๐๑ ในกรณีที่ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ในขณะที่กองทุนเข้าทําธุรกรรม มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 69 หากต่อมาธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการทําธุรกรรมเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อไปก็ได้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐๒ ภายใต้บังคับข้อ 97 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น หรือจากการรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเป็นผลให้กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทใดเกินอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 60 ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นได้ (2) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน และ (3) กรณีที่เป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว เป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ บริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อให้ได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อโดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ทั้งนี้ การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลดสัดส่วนตามสัดส่วนของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่แต่ละกองทุนได้มาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ข้อ ๑๐๓ ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 97 ถึงข้อ 102 และการเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๐๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามประเภทที่กําหนดไว้ในประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากมีการจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงเท่าจํานวนที่เหลือนั้น ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่ไม่เป็นไปตามประเภทที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ซึ่งกองทุนได้มาซึ่งตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวหลังวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ข้อ ๑๐๕ ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามอัตราส่วนที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลงหรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ ๑๐๖ ในกรณีบริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต.42) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน มิให้บริษัทจัดการนับทรัพย์สินดังกล่าวรวมในอัตราส่วนตามข้อ 54 ข้อ 57 ข้อ 58 ข้อ 59(1) และข้อ 61 ข้อ ๑๐๗ ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ หรือในกรณีที่ข้อสัญญาในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมปิดและกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมต่อสํานักงาน หรือดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ (2) ในกรณีของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว แต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนในครั้งแรก (2) ในกรณีที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ทั้งของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล โดยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลจะต้องอยู่ภายใต้หลักการกระจายความเสี่ยง สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นสมควรกําหนดประเภทหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่นและการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ รวมทั้งกําหนดอัตราส่วนการลงทุนและการมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวสําหรับกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย เพื่อให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนมากยิ่งขึ้น
1,757
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2550 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2550 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ข/1) ใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “(ข/1) “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 6/1 ในกรณีที่กองทุนเป็นกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว หากกองทุนดังกล่าวมีการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ข้อ 36(4) และข้อ 37” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหมวด 3 หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นและกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน ข้อ 80 และข้อ 81 ในภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน หมวด ๓ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน ข้อ ๘๐ มิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 57 ข้อ 58 และข้อ 59 มาใช้บังคับกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก หรือเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา แล้วแต่กรณี มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออกหรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินอื่นที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย” ข้อ ๔ ในกรณีของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่ได้ขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกันซึ่งได้มีการทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มิให้นําความในข้อ 107 และข้อ 108 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 มาใช้บังคับ (2) ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุน เป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศนี้ แต่ไม่เป็นไปตามประเภทหรือเกินอัตราส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ (3) ในกรณีของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมในวันที่หรือภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลือกที่จะลงทุนสําหรับการลงทุนครั้งแรกให้เป็นไปตามประเภทที่กําหนดไว้ในในโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานได้ ทั้งนี้ การลงทุนครั้งต่อไปของกองทุนรวมดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับ (4) (4) ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินใด ๆ เว้นแต่เป็นกรณีตาม (6) หรือได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามข้อ 26 หรือข้อ 46 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 1 และข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (5) อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตาม (2) หรือ (3) ให้เป็นไปตามอัตราส่วนที่กําหนดสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน ก่อนที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ (6) ในกรณีที่ทรัพย์สินตาม (2) หรือ (3) ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตาม (5) ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนให้เป็นไปตาม (5) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินดังกล่าวถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ตลอดจนวิธีการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน สําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายในลักษณะเดียวกัน ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ทั้งของกองทุนดังกล่าว
1,758
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 5/2551 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2551 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 18(6) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 44 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “การจัดทําข้อมูลตามวรรคหนึ่งในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังกล่าวแยกตามนโยบายการลงทุน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 51/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ในภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน โดยให้อยู่ในลําดับก่อนหมวด 1 หลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไป ของภาคดังกล่าว “ข้อ 51/1 การคํานวณอัตราส่วนเพื่อการปฏิบัติตามข้อกําหนดในภาคนี้สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการคํานวณแยกตามรายนโยบายการลงทุนแทนการคํานวณตามรายกองทุน เว้นแต่อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในข้อ 54” ข้อ 4 ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนได้เพิ่มเติมตามข้อ 5(10) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการคํานวณแยกตามรายนโยบายการลงทุนแทนการคํานวณตามรายกองทุน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํารายงานการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,759
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 4) -------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฉ/1) (ฉ/2) (ฉ/3) (ฉ/4) (ฉ/5) (ฉ/6) และ (ฉ/7) ใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “(ฉ/1) “สัญญาเครดิตอนุพันธ์” (credit derivatives) หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิตหรือผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ จากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อประกันความเสี่ยง ไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายประกันความเสี่ยง โดยผู้ขายประกันความเสี่ยงมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินให้แก่ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ (credit event) ของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ โดยแลกกับการได้รับผลตอบแทนหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อประกันความเสี่ยง (ฉ/2) “ทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์” (reference obligation) หมายความว่า ทรัพย์สินหรือสัญญาที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์อ้างอิงกับเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินหรือสัญญานั้น หรือของผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาดังกล่าว (ฉ/3) “ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง” (underlying obligation) หมายความว่า ทรัพย์สินหรือสัญญาที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ และได้รับการลดความเสี่ยง (hedging) จากการเข้าทําสัญญาเครดิตอนุพันธ์ในนามของกองทุน (ฉ/4) “สัญญาซีดีเอส” (single-name credit default swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่กําหนดทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ไว้เพียงรายการเดียว (ฉ/5) “สัญญาเอฟทีดีเอส” (first-to-default swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่กําหนดทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ไว้หลายรายการ ทั้งนี้ ผู้ขายประกันความเสี่ยงมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินดังกล่าวรายการใดรายการหนึ่งเป็นรายการแรก (ฉ/6) “สัญญาโพรพอร์ชั่นเนทซีดีเอส” (proportionate credit default swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่กําหนดทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ไว้หลายรายการ ทั้งนี้ ผู้ขายประกันความเสี่ยงมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินดังกล่าวแต่ละรายการ โดยจะชําระเงินตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในสัญญาสําหรับทรัพย์สินแต่ละรายการนั้น (ฉ/7) “สัญญาทีอาร์โออาร์เอส” (total rate of return swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีข้อกําหนดให้ผู้ขายประกันความเสี่ยงจ่ายผลตอบแทนในอัตราลอยตัวที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย และผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจที่ลดลงของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ให้แก่ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงจนกว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ หรือจนกว่าสัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นจะครบอายุ เพื่อแลกกับการที่ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงโอนผลตอบแทนและผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ให้แก่ตน” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 72/1 และข้อ 72/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 72/1 การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 72/2 และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ให้ใช้มูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญา เป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศนี้ (2) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงหากคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นมีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สูงกว่าหรือเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง ให้ใช้ส่วนต่างของมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินดังกล่าวหักด้วยมูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ทั้งนี้ มิให้ใช้มูลค่าส่วนต่างที่ต่ํากว่าศูนย์ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ข้อ 72/2 สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 72/1 ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ ของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงถูกเคลื่อนย้ายไปยังคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ทั้งจํานวน (2) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องเป็นทรัพย์สินชนิดเดียวกันกับทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกัน (ข) ลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ อยู่ในลําดับก่อนหรือลําดับเดียวกันกับลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง (ค) สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้ถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์เกิดการผิดนัดชําระหนี้ในเวลาเดียวกัน เมื่อมีการผิดนัดชําระหนี้ของทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง และ (ง) กองทุนสามารถส่งมอบทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในกรณีที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้กองทุนส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาดังกล่าว (3) อายุคงเหลือของสัญญาเครดิตอนุพันธ์เท่ากับอายุคงเหลือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง เว้นแต่เป็นสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีอายุคงเหลือมากกว่าอายุคงเหลือของทรัพย์สินดังกล่าวอย่างไม่มีนัยสําคัญ (4) สกุลเงินของสัญญาเครดิตอนุพันธ์และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงเป็นสกุลเงินเดียวกัน (5) ตัวแปรตามข้อ 34(3) ของสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องครอบคลุมความเสี่ยง ด้านเครดิตทุกกรณี และ (6) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงกับความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ต้องไม่สูงจนเกินไป ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดขั้นสูงของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการเข้าทําธุรกรรม ซึ่งค่าขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการอื่นที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย โดยที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการลงทุนด้วย” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 72/1 และข้อ 72/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 72/1 การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 72/2 และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ให้ใช้มูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญา เป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศนี้ (2) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงหากคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นมีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สูงกว่าหรือเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง ให้ใช้ส่วนต่างของมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินดังกล่าวหักด้วยมูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ทั้งนี้ มิให้ใช้มูลค่าส่วนต่างที่ต่ํากว่าศูนย์ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ข้อ 72/2 สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 72/1 ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ ของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงถูกเคลื่อนย้ายไปยังคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ทั้งจํานวน (2) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องเป็นทรัพย์สินชนิดเดียวกันกับทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกัน (ข) ลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ อยู่ในลําดับก่อนหรือลําดับเดียวกันกับลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง (ค) สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้ถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์เกิดการผิดนัดชําระหนี้ในเวลาเดียวกัน เมื่อมีการผิดนัดชําระหนี้ของทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง และ (ง) กองทุนสามารถส่งมอบทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในกรณีที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้กองทุนส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาดังกล่าว (3) อายุคงเหลือของสัญญาเครดิตอนุพันธ์เท่ากับอายุคงเหลือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง เว้นแต่เป็นสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีอายุคงเหลือมากกว่าอายุคงเหลือของทรัพย์สินดังกล่าวอย่างไม่มีนัยสําคัญ (4) สกุลเงินของสัญญาเครดิตอนุพันธ์และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงเป็นสกุลเงินเดียวกัน (5) ตัวแปรตามข้อ 34(3) ของสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องครอบคลุมความเสี่ยง ด้านเครดิตทุกกรณี และ (6) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงกับความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ต้องไม่สูงจนเกินไป ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดขั้นสูงของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการเข้าทําธุรกรรม ซึ่งค่าขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการอื่นที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย โดยที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการลงทุนด้วย” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 36/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 36/1 นอกจากเงื่อนไขในการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 36 แล้ว การเข้าเป็นคู่สัญญาเครดิตอนุพันธ์ในนามของกองทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ให้กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาได้เฉพาะสัญญาเครดิตอนุพันธ์ประเภทสัญญาซีดีเอสสัญญาเอฟทีดีเอส สัญญาโพรพอร์ชั่นเนทซีดีเอส หรือสัญญาทีอาร์โออาร์เอส (2) การเข้าเป็นคู่สัญญาในนามของกองทุนต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน (3) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดย International Swaps and Derivatives Association (ISDA) หรือสัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ ซึ่งมีข้อตกลงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายอื่น (ข) ไม่มีข้อกําหนดที่ทําให้สิทธิที่กําหนดไว้ในตราสารแห่งหนี้หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นอ้างอิงเสื่อมเสียไป (ค) ไม่มีข้อกําหนดให้กองทุนต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่คู่สัญญา” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 72/1 และข้อ 72/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 72/1 การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 72/2 และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ให้ใช้มูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญา เป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศนี้ (2) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงหากคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นมีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สูงกว่าหรือเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง ให้ใช้ส่วนต่างของมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินดังกล่าวหักด้วยมูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ทั้งนี้ มิให้ใช้มูลค่าส่วนต่างที่ต่ํากว่าศูนย์ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ข้อ 72/2 สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 72/1 ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ ของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงถูกเคลื่อนย้ายไปยังคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ทั้งจํานวน (2) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องเป็นทรัพย์สินชนิดเดียวกันกับทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกัน (ข) ลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ อยู่ในลําดับก่อนหรือลําดับเดียวกันกับลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง (ค) สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้ถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับการประกัน ความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์เกิดการผิดนัดชําระหนี้ในเวลาเดียวกัน เมื่อมีการผิดนัดชําระหนี้ของทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง และ (ง) กองทุนสามารถส่งมอบทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในกรณีที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้กองทุนส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาดังกล่าว (3) อายุคงเหลือของสัญญาเครดิตอนุพันธ์เท่ากับอายุคงเหลือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง เว้นแต่เป็นสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีอายุคงเหลือมากกว่าอายุคงเหลือของทรัพย์สินดังกล่าวอย่างไม่มีนัยสําคัญ (4) สกุลเงินของสัญญาเครดิตอนุพันธ์และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงเป็นสกุลเงินเดียวกัน (5) ตัวแปรตามข้อ 34(3) ของสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องครอบคลุมความเสี่ยง ด้านเครดิตทุกกรณี และ (6) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงกับความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ต้องไม่สูงจนเกินไป ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดขั้นสูงของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการเข้าทําธุรกรรม ซึ่งค่าขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการอื่นที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย โดยที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการลงทุนด้วย” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนมีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีความผันผวนในทางเศรษฐกิจ และสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของตราสารหนี้หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว สมควรอนุญาตให้กองทุนสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิตหรือเป็นการเคลื่อนย้ายผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,760
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 19(6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 65 ถึงข้อ 70 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับกองทุนต่าง ๆ มีดังนี้ (ก) “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล (ข) “กองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) (ค) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ง) “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท (จ) “กองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นโครงการแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับตราสาร มีดังนี้ (ก) “หุ้น” หมายความว่า หุ้นของบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงหุ้นของบริษัทจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีการดําเนินการในลักษณะของโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (ข) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ระยะสั้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (3) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับกิจการ มีดังนี้ (ก) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ค) “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ง) “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (จ) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉ) “นิติบุคคลต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นภาคเอกชน (ช) “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการหรือของนายจ้างตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการหรือของนายจ้าง และบริษัทที่บริษัทจัดการหรือนายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น แล้วแต่กรณี (ซ) “สถาบันการเงินตามกฎหมายไทย” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มีดังนี้ (ก) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตัวตราสาร ที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ครั้งล่าสุด โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เว้นแต่ข้อกําหนดในประกาศนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตัวตราสาร ที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือที่บุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง (ข) “อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ค) “อันดับที่สามารถลงทุนได้” (investment grade) หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (5) บทนิยามเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note) มีดังนี้ (ก) “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน” หมายความว่า การลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. การลดความเสี่ยง 2. การลดค่าใช้จ่าย 3. การเพิ่มรายได้ของกองทุนโดยไม่มีความเสี่ยง หรือหากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (ข) “การลดความเสี่ยง” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นด้วยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือด้วยการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี (ค) “ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ (ง) “ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารหรือสัญญาดังต่อไปนี้ 1. ตราสารทางการเงินหรือสัญญาที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง หรือ 2. หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ เว้นแต่ในข้อกําหนดในประกาศนี้จะแสดงให้เห็นว่าไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์ (จ) “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (ฉ) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสัญญาอื่นในทํานองเดียวกัน (ช) “สัญญาเครดิตอนุพันธ์” (credit derivatives) หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิตหรือผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ จากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อประกันความเสี่ยง ไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายประกันความเสี่ยง โดยผู้ขายประกันความเสี่ยงมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินให้แก่ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ (credit event) ของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ โดยแลกกับการได้รับผลตอบแทนหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อประกันความเสี่ยง (ซ) “ทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์” (reference obligation) หมายความว่า ทรัพย์สินหรือสัญญาที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์อ้างอิงกับเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินหรือสัญญานั้น หรือของผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาดังกล่าว (ฌ) “ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง” (underlying obligation) หมายความว่า ทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ และได้รับการลดความเสี่ยงจากการเข้าทําสัญญาเครดิตอนุพันธ์ในนามของกองทุน (ญ) “สัญญาซีดีเอส” (single-name credit default swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่กําหนดทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ไว้เพียงรายการเดียว (ฎ) “สัญญาเอฟทีดีเอส” (first-to-default swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่กําหนดทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ไว้หลายรายการ ทั้งนี้ ผู้ขายประกันความเสี่ยง มีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินดังกล่าวรายการใดรายการหนึ่งเป็นรายการแรก (ฏ) “สัญญาโพรพอร์ชั่นเนทซีดีเอส” (proportionate credit default swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่กําหนดทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ไว้หลายรายการ ทั้งนี้ ผู้ขายประกันความเสี่ยงมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินดังกล่าวแต่ละรายการ โดยจะชําระเงินตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในสัญญาสําหรับทรัพย์สิน แต่ละรายการนั้น (ฐ) “สัญญาทีอาร์โออาร์เอส” (total rate of return swap) หมายความว่า สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีข้อกําหนดให้ผู้ขายประกันความเสี่ยงจ่ายผลตอบแทนในอัตราลอยตัวที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย และผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจที่ลดลงของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ให้แก่ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงจนกว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ หรือจนกว่าสัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นจะครบอายุ เพื่อแลกกับการที่ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงโอนผลตอบแทนและผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ให้แก่ตน (ฑ) “ค่าเดลต้า” หมายความว่า อัตราเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหรือสัญญา กับราคาสินค้าหรือตัวแปรของตราสารหรือสัญญา แล้วแต่กรณี (6) บทนิยามอื่น ๆ เกี่ยวกับการทําธุรกรรม มีดังนี้ (ก) “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อส่งมอบ (ข) “การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น” หมายความว่า การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาที่ประกาศนั้นกําหนด (ค) “คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ข้อ ๓ การจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เฉพาะจากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินที่กําหนดไว้ในภาค 1 ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนตามที่กําหนดไว้ในภาค 2 เว้นแต่เป็นกรณีที่อยู่ภายใต้บทเฉพาะกาลตามภาค 3 ได้ อื่นๆ ๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดในหมวด 2 ของภาค 1 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 1 (2) เปิดเผยข้อมูลการลงทุนตามหมวด 4 ของภาค 1 (3) เมื่อมีเหตุที่ทําให้ทรัพย์สินที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ขาดคุณสมบัติที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ต่อไป ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหมวด 5 ของภาค 1 หมวด ๒ ข้อกําหนดประเภททรัพย์สินตามลักษณะของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ในกรณีของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้กองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับข้อ 6 ด้วย (1) ตราสารแห่งทุนตามส่วนที่ 1 ในหมวด 3 ของภาค 1 (2) ตราสารแห่งหนี้ตามส่วนที่ 2 ในหมวด 3 ของภาค 1 (3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามส่วนที่ 3 ในหมวด 3 ของภาค 1 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ในหมวด 3 ของภาค 1 (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศตามส่วนที่ 5 ในหมวด 3 ของภาค 1 (6) เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 ของภาค 1 (7) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 7 ของ หมวด 3 ของภาค 1 (8) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 10 ของหมวด 3 ของภาค 1 (9) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 11 ของหมวด 3 ของภาค 1 (10) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (9) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือได้มาซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (5) ได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่กองทุนเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุน สํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยประเทศเหล่านั้นต้องมีหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนในประเทศ ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 13 หรือเงินฝากตามข้อ 23(1) ที่มีอายุของตราสารหรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี ต่ํากว่าหนึ่งปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสํารองเงินไว้สําหรับการดําเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน (2) เข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 38(4) และข้อ 40 (3) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) หรือ (2) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน บริษัทจัดการอาจนับมูลค่าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง (2) รวมในอัตราส่วนของการลงทุนในต่างประเทศตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งด้วยได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่กองทุนเป็นกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว หากกองทุนดังกล่าวมีการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 38(4) และข้อ 40 ข้อ ๘ ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุน ส่วนบุคคลรายย่อย บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ทุกประเภท ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11 (3) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 18 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ในหมวด 3 ของภาค 1 (5) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศตามส่วนที่ 5 ในหมวด 3 ของภาค 1 (6) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 ของภาค 1 (7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวด 3 ของภาค 1 (8) ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีของธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์ ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น และในกรณีของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ในหมวด 3 ของภาค 1 (9) การขายชอร์ต ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม (10) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกลักษณะ ทั้งนี้ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 38(4) ด้วย (11) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงทุกประเภท (12) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (10) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๓ ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสาร และหลักเกณฑ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ ตราสารแห่งทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ตราสารแห่งทุน ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งทุนในประเทศตามข้อ 10 (2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11 ข้อ ๑๐ ตราสารแห่งทุนในประเทศ ได้แก่ ตราสาร หรือสัญญา ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้ (1) หุ้น (2) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น (3) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) การลงทุนในตราสารดังกล่าวต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (ข) บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพซึ่งมีสภาพคล่องในจํานวนที่เพียงพอต่อมูลค่าการใช้สิทธิตามตราสารดังกล่าวไว้ตลอดเวลาที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (5) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นหลักทรัพย์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๑ ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ ได้แก่ หุ้นหรือหน่วยลงทุนที่เสนอขายในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงาน ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ด้วย ส่วน ๒ ตราสารแห่งหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ตราสารแห่งหนี้ ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 13 (2) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 (3) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีข้อกําหนดให้คู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่งชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 11 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๓ ตราสารแห่งหนี้ในประเทศ ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 14 (2) ตราสารแห่งหนี้ทั่วไปตามข้อ 15 ข้อ ๑๔ ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัลผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (2) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เป็นผู้ออก ซึ่งกําหนดวันใช้เงินตามตั๋วไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันออกตั๋ว และเป็นตั๋วเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (3) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออก ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับแรก ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นด้วย หรือ (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันอื่นที่สํานักงานกําหนดเพิ่มเติม ข้อ ๑๕ ตราสารแห่งหนี้ทั่วไป ได้แก่ (1) ตราสารภาครัฐไทย อันได้แก่ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน (2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ อันได้แก่ ตราสารที่มีรูปแบบทํานองเดียวกับตราสารภาครัฐไทยที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวต้องมีลักษณะตามข้อ 16 ด้วย (3) ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ ซึ่งหมายถึง พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ที่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ ที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะทั่วไปหรือในลักษณะจํากัด หรือที่ออกภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง หรือที่นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือที่เป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นโดยได้รับชําระราคาเต็มมูลค่าที่เสนอขายจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ต้องมีลักษณะตามข้อ 16 ด้วย (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ที่ไม่ใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ (5) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ (6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น (7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวดนี้ (8) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นตราสารแห่งหนี้ ตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (6) หรือข้อ 14 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๖ ตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 15(2) และตราสารที่เปลี่ยนมือได้ตาม ข้อ 15(3) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นตราสารขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (2) มีราคาที่เหมาะสมตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด หรือมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้นในราคาดังกล่าว ตามจํานวนและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนดอยู่เสมอ โดยได้ส่งสําเนาราคาแก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตลอดอายุของตราสารนั้น (3) เป็นตราสารที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นตราสารภาครัฐต่างประเทศ ตราสารดังกล่าวต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ เว้นแต่ผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ ตราสารนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้เท่านั้น (ข) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ตราสารนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (ค) ในกรณีที่กองทุนลงทุนในตราสารอื่นนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) ในการเสนอขายครั้งแรก หากตราสารดังกล่าวไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ตราสารนั้นต้องมีบริษัทจัดการไม่ต่ํากว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนภายใต้การจัดการ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 13 เป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีการจ่ายผลตอบแทน ผลตอบแทนนั้นต้องอยู่ในรูปอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่านั้น การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันของบุคคลที่กําหนดไว้ในข้อ 14 และข้อ 15 ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข ข้อ ๑๘ ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ ได้แก่ หลักทรัพย์หรือตราสารที่ออกโดยบุคคลต่างประเทศและเสนอขายในต่างประเทศ (1) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ อันได้แก่ (ก) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (ข) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (2) ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชน อันได้แก่ (ก) ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ และได้รับการคัดเลือกให้ใช้ในการคํานวณดัชนีตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย (ข) ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศที่มีอายุตราสารคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย (3) ตราสารแห่งหนี้อื่น อันได้แก่ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ส่วน ๓ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๙ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ได้แก่ หุ้นกู้แปลงสภาพดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในประเทศซึ่งมีลักษณะตามข้อ 16(1) และ (2) ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวในการเสนอขายครั้งแรก หุ้นกู้แปลงสภาพนั้นต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือ (ข) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีบริษัทจัดการไม่ต่ํากว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนภายใต้การจัดการ ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพตามวรรคหนึ่งมีการค้ําประกัน การค้ําประกันดังกล่าวต้องเป็นการค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข (2) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ข้อ ๒๐ ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือได้มาซึ่งหุ้นกู้แปลงสภาพตามข้อ 19 ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการได้ระบุหลักเกณฑ์ตาม (2) และ (3) ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี (2) ในขณะที่ลงทุนหรือได้มา มูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น (3) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ ให้บริษัทจัดการขายหุ้นที่ได้รับจากการแปลงสภาพนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้หุ้นดังกล่าวมา การใช้สิทธิแปลงสภาพตามวรรคหนึ่ง (3) หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ ส่วน ๔ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่กองทุนจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) (2) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีทรัพย์สินที่ลงทุนเป็นประเภทและชนิดเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ เว้นแต่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในทองคําโดยตรง (3) ในกรณีที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย หน่วยลงทุนที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเช่นกัน (4) ต้องไม่ใช่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮ็ดจ์ฟันด์ ส่วน ๕ ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๒ ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่กองทุนจะลงทุนหรือ มีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) และมีนโยบายหลักในการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (ก) อสังหาริมทรัพย์ (ข) หุ้นสามัญของบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือหุ้นสามัญของบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจเทียบเคียงได้กับหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (2) ตราสารดังกล่าวมีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือมีการรับซื้อคืนโดยผู้ออกตราสาร (3) ในกรณีกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ตราสารที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเช่นกัน ส่วน ๖ เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดที่บริษัทจัดการจะลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือ (2) เป็นเงินฝากระยะสั้นในสถาบันการเงิน หรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดระยะสั้นที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก โดยสถาบันการเงินดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินต่างประเทศ ทั้งนี้ การมีไว้ซึ่งเงินฝากหรือตราสารดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกหรือป้องกันปัญหาในการดําเนินงานในต่างประเทศของกองทุน เช่น เพื่อรอการลงทุน หรือเพื่อชําระค่าใช้จ่าย เป็นต้น ส่วน ๗ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๒๔ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน บริษัทจัดการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 10(3) โดยอนุโลม ส่วน ๘ ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 26 (2) ต้องเป็นการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามที่กําหนดในข้อ 27 (3) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด แล้วแต่กรณี หรือใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ (4) ต้องมีวัตถุประสงค์เป็นการลงทุนระยะสั้น และไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนได้ เฉพาะกับสถาบันการเงินหรือบุคคลดังต่อไปนี้ที่สามารถประกอบธุรกิจหรือดําเนินกิจการได้ตามกฎหมายไทย (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทหลักทรัพย์ (5) บริษัทประกันภัย (6) ธนาคารแห่งประเทศไทย (7) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (8) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ ๒๗ ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนได้ เฉพาะในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (3) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 50 ทั้งนี้ เฉพาะกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน ข้อ ๒๘ ในการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดํารงมูลค่าของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อ โดยให้ใช้ราคาตลาดในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวลดลงกว่าราคาซื้อ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการเพิ่มหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ หรือโอนเงินเพื่อให้มูลค่ารวมไม่น้อยกว่าราคาซื้อภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ลดลงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ดําเนินการให้มีการโอนเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 27 แล้วแต่กรณี ให้แก่กองทุน (ข) ดําเนินการให้กองทุนมีกรรมสิทธิ์ในเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่โอนมาตาม (ก) แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ได้มาจากการทําธุรกรรมดังกล่าวไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายตามธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนที่สามารถทําได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม (3) ห้ามมิให้บริษัทจัดการเพิ่มวงเงินตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนที่ได้ทําไว้กับคู่สัญญา ไม่ว่ามูลค่าของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ของธุรกรรมดังกล่าวจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ (4) คํานวณมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน โดยใช้ราคาซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ส่วน ๙ ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ การทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทจัดการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 30 (2) หลักทรัพย์ที่ให้ยืมต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (3) ใช้สัญญาที่มีลักษณะและสาระสําคัญของสัญญาตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับระบบงาน สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์และหลักประกันในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (4) ดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 31 ข้อ 32 และข้อ 33 ข้อ ๓๐ การทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ต้องมีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ในกรณีที่คู่สัญญาตามวรรคหนึ่งกระทําการในฐานะตัวแทนของผู้ยืม ผู้ยืมต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ที่สามารถประกอบธุรกิจหรือดําเนินกิจการได้ตามกฎหมายไทย (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (3) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (4) ธนาคารเพื่อการนําเข้าและการส่งออกแห่งประเทศไทย (5) ธนาคารพาณิชย์ (6) บริษัทเงินทุน (7) บริษัทหลักทรัพย์ (8) บริษัทประกันชีวิต (9) กองทุนส่วนบุคคลที่ไม่ใช่กองทุนส่วนบุคคลรายย่อยและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (11) นิติบุคคลอื่นตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓๑ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันดังต่อไปนี้จากผู้ยืม เพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ (1) เงินสด (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 14 (3) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) (4) ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (5) หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกให้แก่กองทุนเพื่อเป็นประกันการคืนหลักทรัพย์ให้แก่กองทุน โดยธนาคารพาณิชย์นั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น (6) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 50 ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนไม่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน กองทุนจะรับหลักประกันดังกล่าวไม่ได้ ข้อ ๓๒ ในการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมตามข้อ 31 บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้กองทุนมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันตามข้อ 31(2) (3) (4) หรือ (6) หรือดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทจัดการสามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําหลักประกันตามข้อ 31(2) (3) (4) หรือ (6) ที่กองทุนมีกรรมสิทธิ์ไปโอนหรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการบังคับชําระหนี้ตามข้อตกลงธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ (3) ต้องดําเนินการให้มีการดํารงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ข้อ ๓๓ ในกรณีที่หลักประกันเป็นเงินสด ให้บริษัทจัดการนําเงินสดดังกล่าวไปลงทุนโดยทันทีในทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 14 ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นบัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (3) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) (4) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) ข้อ ๓๔ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนเป็นรายเดือนโดยระบุรายชื่อคู่สัญญา วัน เดือน ปี ที่ทําธุรกรรม ชื่อ ประเภท และมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ณ วันทําธุรกรรม อัตราผลตอบแทนต่อปี อายุของสัญญา ชื่อและประเภทของหลักประกัน และจัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ส่วน ๑๐ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๕ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่ทําให้วัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น (2) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาได้เฉพาะเพื่อการลดความเสี่ยงเท่านั้น (ก) การเข้าเป็นคู่สัญญาในนามของกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ข) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ในนามของกองทุน (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 39 และข้อ 40 (4) ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพล่วงหน้าก่อนเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ในการขอความยินยอมดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องอธิบายให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเข้าใจถึงลักษณะและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงก่อนขอรับความยินยอมด้วย ข้อ ๓๖ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาได้ต้องมีสินค้าหรือตัวแปรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (2) อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาในกรณีดังกล่าวได้เฉพาะเพื่อการลดความเสี่ยง เท่านั้น (3) อันดับความน่าเชื่อถือหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารแห่งหนี้หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือของผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาดังกล่าว (4) ทองคํา น้ํามันดิบ หรือดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งได้ระบุการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (5) สินค้าหรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓๗ ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีตัวแปรเป็นดัชนี ดัชนีดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้สินค้าหรือตัวแปรอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างอันได้แก่ หลักทรัพย์หรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้ ทองคํา น้ํามันดิบหรือดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (2) เป็นดัชนีที่มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยมีการระบุแหล่งข้อมูลของสินค้า ตัวแปร หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการคํานวณ ทั้งนี้ สินค้า ตัวแปร หรือปัจจัยดังกล่าวต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระด้วย (3) ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ (4) เป็นดัชนีที่นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล และ (5) มีการแสดงดัชนีนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันทําการผ่านสื่อที่มีการเสนอข้อมูลอย่างทันเหตุการณ์ ข้อ ๓๘ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 36 ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) หากวัตถุประสงค์ของการเข้าเป็นคู่สัญญาเพื่อการลดความเสี่ยงโดยสินค้าหรือ ตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวไม่ใช่ตัวแปรเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นต้องมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างผลตอบแทนของสินค้าหรือตัวแปรกับผลตอบแทนของทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง อยู่ระหว่างอัตราที่สํานักงานกําหนด (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาออปชันที่ผูกพันกองทุนในฐานะผู้ให้สัญญา (option writer) เว้นแต่เป็นสัญญาออปชันที่มีข้อผูกพันให้ส่งมอบสินค้าที่กองทุนมีอยู่แล้วอย่างเพียงพอตามข้อผูกพันนั้นในขณะเข้าเป็นคู่สัญญาดังกล่าว (3) การชําระหนี้ด้วยการส่งมอบสินค้าเมื่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง สินค้านั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนจะเป็นผู้มีสิทธิรับมอบหรือมีหน้าที่ส่งมอบสินค้านั้นก็ตาม (4) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องกระทําในศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือในกรณีที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๙ นอกจากเงื่อนไขในการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 38 แล้ว การเข้าเป็นคู่สัญญาเครดิตอนุพันธ์ในนามของกองทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ให้กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาได้เฉพาะสัญญาเครดิตอนุพันธ์ประเภทสัญญาซีดีเอส สัญญาเอฟทีดีเอส สัญญาโพรพอร์ชั่นเนทซีดีเอส หรือสัญญาทีอาร์โออาร์เอส (2) การเข้าเป็นคู่สัญญาในนามของกองทุนต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน (3) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดย International Swaps and Derivatives Association (ISDA) หรือสัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ ซึ่งมีข้อตกลงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายอื่น (ข) ไม่มีข้อกําหนดที่ทําให้สิทธิที่กําหนดไว้ในตราสารแห่งหนี้หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นอ้างอิงเสื่อมเสียไป (ค) ไม่มีข้อกําหนดให้กองทุนต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่คู่สัญญา ข้อ ๔๐ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อตกลงในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ (1) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัทจัดการทราบทุกวันที่สิบห้าและวันสุดท้ายของแต่ละเดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการ ให้คํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมภายในวันทําการถัดไป (2) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัทจัดการทราบทันที (3) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้มีการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อบริษัทจัดการร้องขอได้ ข้อ ๔๑ เมื่อบริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพซึ่งมีสภาพคล่องในจํานวนที่เพียงพอต่อมูลค่าสุทธิที่กองทุนอาจมีภาระต้องชําระหนี้หรือชําระค่าสินค้าเมื่อสิ้นสุดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไว้ตลอดเวลาที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญานั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (2) ในกรณีที่กองทุนเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาออปชันตามข้อ 38(2) ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการดํารงสินค้าตามสัญญาดังกล่าวไว้อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญานั้น ข้อ ๔๒ การจัดประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ให้พิจารณาจากลักษณะของสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีสินค้าเป็นตราสารแห่งทุน หรือมีตราสารแห่งทุนเป็นองค์ประกอบในการคํานวณตัวแปร ให้ถือเป็นตราสารแห่งทุน (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีสินค้าเป็นตราสารแห่งหนี้ หรือมีตราสารแห่งหนี้เป็นองค์ประกอบในการคํานวณตัวแปร หรือมีตัวแปรเป็นอัตราดอกเบี้ย อันดับความน่าเชื่อถือ หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารแห่งหนี้ ให้ถือเป็นตราสารแห่งหนี้ (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีสินค้าเป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือมีตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเป็นองค์ประกอบในการคํานวณตัวแปร หรือมีตัวแปรเป็นอัตราดอกเบี้ยหรืออันดับความน่าเชื่อถือของตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ให้ถือเป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ส่วน ๑๑ ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๓ ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงซึ่งกองทุนจะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวต้องไม่ทําให้การจัดการกองทุนเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น และต้องไม่ทําให้กองทุนขาดทุนเป็นมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการลงทุน (2) ตราสารดังกล่าวมีการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดไว้ในข้อ 36 (3) ในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวจะมีผลทําให้กองทุนต้องรับมอบทรัพย์สิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่กองทุนสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ การขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) โครงสร้างและรายละเอียดของตราสารดังกล่าว (2) วัตถุประสงค์ของการลงทุนในตราสารดังกล่าว (3) วิธีการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าว (4) การบริหารความเสี่ยง (5) การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุน (6) การบันทึกบัญชีในงบการเงิน ข้อ ๔๔ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบให้กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงได้ ก่อนการลงทุนในตราสารดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวไปยังสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทุกวันที่สิบห้าและวันสุดท้ายของแต่ละเดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการ ให้คํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมภายในวันทําการถัดไป (ข) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวไปยังสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทันที (ค) ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวมีข้อกําหนดห้ามเปลี่ยนมือ นอกจากข้อตกลงตาม (ก) และ (ข) แล้ว บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้กองทุนไถ่ถอนตราสารดังกล่าวก่อนครบอายุตราสารเมื่อบริษัทจัดการร้องขอได้ (2) เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวให้สิทธิแก่ผู้ออกในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร ในกรณีที่บริษัทจัดการมิได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้การให้ความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลงทันทีในเวลาที่ลงทุนโดยมิได้ดําเนินการดังกล่าว ข้อ ๔๕ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 43 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) (1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 16 โดยอนุโลม (2) ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ตราสารดังกล่าวจัดทําขึ้นในรูปแบบตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 14 หรือข้อ 15(1) (2) (3) หรือ (4) (ข) ตราสารดังกล่าวต้องอ้างอิงกับราคาหุ้น ราคาเฉลี่ยของกลุ่มหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12(1) หรือ (2) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ในกรณีของดัชนีต้องมีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 37(2) (3) และ (4) ด้วย (ค) ตราสารดังกล่าวมีข้อกําหนดให้ผู้ออกชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนให้แก่กองทุนเมื่อครบอายุตราสาร เว้นแต่เป็นตราสารที่ไม่ชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนเมื่อครบอายุตราสารซึ่งสํานักงานให้ความเห็นชอบแล้ว และบริษัทจัดการได้จัดให้มีข้อตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อ 44 วรรคหนึ่ง (1) (ง) ในกรณีที่เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร บริษัทจัดการได้เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทําการลงทุน หมวด ๔ การเปิดเผยข้อมูลการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๖ ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนจะลงทุนเป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร ให้บริษัทจัดการเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทําการลงทุน ข้อ ๔๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 13 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 18 ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 19 หรือเงินฝากตามข้อ 23(1) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) รายงานสรุปจํานวนเงินลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และสัดส่วนเงินลงทุนดังกล่าวต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแบ่งข้อมูลตามกลุ่มดังต่อไปนี้ (ก) กลุ่มตราสารภาครัฐไทยและตราสารภาครัฐต่างประเทศ (ข) กลุ่มตราสารที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (ค) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (ง) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) รายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้เป็นรายตัว (3) ในกรณีของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยสัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูงต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่บริษัทจัดการตั้งไว้ในแผนการลงทุนสําหรับกลุ่มตราสารตาม (1) (ง) ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย การจัดทําข้อมูลตามวรรคหนึ่งในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังกล่าวแยกตามนโยบายการลงทุน ข้อ ๔๘ ให้บริษัทจัดการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามข้อ 47 ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวม ให้เปิดเผยเป็นรายเดือนทางเว็บไซด์ของบริษัทจัดการภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือน (2) ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรายเดือนและรายงานรายปี การเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง (2) อาจใช้วิธีเปิดเผยรายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นรายกลุ่มตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง (1) (ก) ถึง (ง) แทนการเปิดเผยเป็นรายตัวก็ได้ ข้อ ๔๙ ในกรณีที่กองทุนประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยนโยบายการลงทุนพร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นหรือได้ทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลไว้ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือสัญญาดังกล่าวก่อนการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่กองทุนรวมจะเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรตามข้อ 36(4) ให้บริษัทจัดการส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติต่อสํานักงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่บริษัทจัดการจะส่งหนังสือดังกล่าวไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ หากสํานักงานมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทจัดการทราบภายในสิบห้าวัน ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบหนังสือนั้นแล้ว หนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติตามวรรคสองต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้วย ข้อ ๕๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดการจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ใช้ในการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาหรือตราสารดังกล่าว ตลอดจนผลกําไรหรือผลขาดทุนที่บริษัทจัดการคาดว่าจะได้รับ (2) การวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา ในกรณีของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) แผนรองรับในการชําระหนี้ตามสัญญาหรือตราสารดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ข้อ ๕๑ ให้บริษัทจัดการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามข้อ 50 ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวม จัดส่งข้อมูลให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทําการ นับแต่วันที่มีการลงทุนหรือได้มาซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดเก็บสําเนาข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ด้วย (2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดส่งข้อมูลให้ลูกค้า หรือต่อคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี หมวด ๕ การดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ ที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 และหมวด 3 ของภาคนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนไว้แล้ว หากต่อมาทรัพย์สินดังกล่าวมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน อื่นๆ ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๓ ข้อกําหนดในภาคนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (2) กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (3) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๕๔ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไปในหมวด 1 ของภาค 2 (2) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนเฉพาะประเภทตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ถึงหมวด 11 ของภาค 2 (3) ให้ดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินไม่เป็นไปตามอัตราส่วนตามที่กําหนดในหมวด 12 ของภาค 2 ข้อ ๕๕ การคํานวณอัตราส่วนเพื่อการปฏิบัติตามข้อกําหนดในภาคนี้สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการคํานวณแยกตามรายยโยบายการลงทุนแทนการคํานวณตามรายกองทุน เว้นแต่อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในข้อ 58 ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุนสามารถลงทุนได้เพิ่มเติมตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (10) ให้บริษัทจัดการคํานวนแยกตามรายนโยบายการลงทุนแทนการคํานวนตามรายกองทุน หมวด ๑ หลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๖ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จํากัดอัตราส่วน (1) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) (2) เงินฝากระยะสั้นหรือตราสารระยะสั้นที่เทียบเท่าเงินสดในต่างประเทศตามข้อ 23(2) ข้อ ๕๗ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 15(2) หรือข้อ 18(1) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จํากัดอัตราส่วน ในกรณีของกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารภาครัฐต่างประเทศตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารนั้นในแต่ละรุ่น เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน ข้อ ๕๘ ในกรณีที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ มิให้นับรวมตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญาในอัตราส่วนดังกล่าว ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งมิให้หมายความรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมนั้น การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) นับทรัพย์สินทุกประเภทที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย (2) นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในทรัพย์สินของนายจ้าง หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๕๙ มิให้นําความในข้อ 58 มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับอัตราส่วนไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) การจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งรายและมีจํานวนนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันน้อยกว่าสองในสามของจํานวนนายจ้างทั้งหมด ส่วน ๑ อัตราส่วนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สิน หรือคู่สัญญา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๐ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารภาครัฐต่างประเทศที่นอกเหนือจากข้อ 57 หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออกหรือผู้เป็นคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 58 ให้ใช้อัตราส่วนตามข้อ 58 แทน ในกรณีของกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารภาครัฐต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารนั้นในแต่ละรุ่น เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับตราสารตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินทุกประเภทที่ผู้ออกหรือผู้เป็นคู่สัญญารายดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเหล่านั้น รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ข้อ ๖๑ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังต่อไปนี้ ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนรายใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 58 ให้ใช้อัตราส่วนตามข้อ 58 แทน (1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 13 (2) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามส่วนที่ 3 ในหมวด 3 ของภาค 1 (3) เงินฝากตามข้อ 23(1) (4) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามส่วนที่ 10 ในหมวด 3 ของภาค 1 หรือ (5) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 11 การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับตราสารตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (5) และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าวเป็น ผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าว โดยในกรณีของธนาคารพาณิชย์ หากธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับทรัพย์สินที่ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วน การลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด มิให้คํานวณเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนเข้าในอัตราส่วนดังกล่าว ข้อ ๖๒ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (1) ตราสารแห่งทุนในประเทศตามข้อ 10 ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตราสารแห่งทุนของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างดําเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป (2) หุ้นที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ออกหุ้นดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (3) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 13 หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 19 ทั้งนี้ เฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (5) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามส่วนที่ 7 ในหมวด 3 ของภาค 1 ที่อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (6) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 18 หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามข้อ 21 หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 22 (7) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามส่วนที่ 10 ในหมวด 3 ของภาค 1 ที่คู่สัญญามีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (8) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามส่วนที่ 11 ในหมวด 3 ของภาค 1 ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ตราสารแห่งทุนตามวรรคหนึ่ง (1) และตราสารแห่งหนี้ตามวรรคหนึ่ง (3) มิให้หมายความรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ถูกจัดให้เป็นตราสารแห่งทุนตามข้อ 10(2) หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 15(6) การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินตามข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ข้อ ๖๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 60 ข้อ 61 และข้อ 62 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (1) เมื่อคํานวณรวมทุกบุคคลที่เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญาแล้ว ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ข้อ ๖๔ ในกรณีของกองทุนรวมที่ประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้น นอกจากอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในส่วนนี้แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่บริษัทใดเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม เมื่อรวมกันทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการต้องไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นการได้มาเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ส่วน ๒ อัตราส่วนที่คํานวณตามกลุ่มกิจการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๕ ในส่วนนี้ “กลุ่มกิจการ” หมายความว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินรวม ข้อ ๖๖ ความในส่วนนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมหน่วยลงทุน (2) กองทุนรวมมีประกัน (3) กองทุนรวมวายุภักษ์ (4) กองทุนรวมสึนามิ (5) กองทุนรวมอีทีเอฟที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) (6) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๖๗ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันการดําเนินการตามส่วนนี้ต่อสํานักงานสําหรับการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมตามข้อ 66 ซึ่งเป็นกองทุนรวมพิเศษตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๖๘ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่กลุ่มกิจการใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นของกลุ่มกิจการนั้นไม่เกินอัตราอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า (1) ร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน (2) อัตราที่คํานวณได้จากน้ําหนักของกลุ่มกิจการดังกล่าวในตัวชี้วัด (benchmark)ของกองทุนนั้นรวมกับร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนนั้น ทั้งนี้ ตัวชี้วัดดังกล่าวต้องเป็นดัชนีหรือองค์ประกอบของดัชนี ที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น ข้อ ๖๙ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่บริษัทในกลุ่มกิจการใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการคํานวณตัวชี้วัด (benchmark) ของกองทุนนั้น บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยมี มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินอัตราที่คํานวณได้จากน้ําหนักของทรัพย์สินดังกล่าวในตัวชี้วัดรวมกับร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่อัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 62 ข้อ 63 แล้วแต่กรณี มิให้นําความในข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 62 ข้อ 63 มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗๐ ให้บริษัทจัดการพิจารณาความเป็นกลุ่มกิจการตามข้อ 68 และข้อ 69 ตามงบการเงินรวมที่มีการจัดทําและเปิดเผยล่าสุด เว้นแต่ในกรณีที่ไม่มีการจัดทํางบการเงินรวม ให้พิจารณาตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดที่ส่งต่อกระทรวงพาณิชย์ ส่วน ๓ อัตราส่วนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗๑ ในกรณีของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือธนาคารต่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชี หรือในรอบอายุกองทุนรวมสําหรับกองทุนรวมที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่งปี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด มิให้คํานวณเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนเข้าในอัตราส่วนดังกล่าว อัตราส่วนตามวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการกําหนดอายุโครงการตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้ เฉพาะในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันครบกําหนดอายุของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๗๒ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน อันเนื่องมาจากปัญหาความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนในวงกว้างในรอบระยะเวลาบัญชีใด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานเพื่อไม่ต้องนําการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ในช่วงเวลาที่เกิดความผันผวนดังกล่าวมารวมคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 71 ได้สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ข้อ ๗๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และตราสารกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ข้อ ๗๔ ในกรณีของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ (2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๗๕ ในกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าวได้ โดยไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น ได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย เว้นแต่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ให้ลงทุนหรือมีไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกันดังนี้ (ก) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน ลงทุนได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน (ข) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนทั้งจํานวน ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (ค) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนเพียงบางส่วน ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุน และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ร่วมกัน บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ที่สูงกว่า ได้ หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๗๖ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงทั้งหมดที่กองทุนมีอยู่ ข้อ ๗๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอนหรือกองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลาซึ่งกําหนดช่วงห่างของวันทําการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนครั้งก่อนและครั้งใหม่ยาวกว่าอายุของตราสารดังกล่าว หรือกองทุนรวมปิด ข้อ ๗๘ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ข้อ ๗๙ บริษัทจัดการอาจทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ในนามของกองทุนได้ โดยมีมูลค่าธุรกรรมรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการคํานวณโดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม รวมผลประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ส่วน ๔ ข้อกําหนดในการคํานวณอัตราส่วน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๐ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย หรือธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้นับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิดังกล่าว รวมในอัตราส่วนสําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวที่กําหนดในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจไม่นับมูลค่าของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยรวมในอัตราส่วนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาที่กําหนดตามส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ในภาคนี้ก็ได้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงที่นํามาคํานวณรวมในอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งให้มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ (2) ในกรณีของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น เพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) นับมูลค่าที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวมีหน้าที่ต้องชําระตามตราสารนั้นรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) นับมูลค่าของหุ้นที่รองรับรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนลงทุนในหุ้นที่รองรับนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหุ้นที่รองรับให้ใช้มูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นนั้นซึ่งคูณกับค่าเดลต้าของใบสําคัญแสดงสิทธิหรือใบแสดงสิทธิดังกล่าว แล้วแต่กรณี (3) ในกรณีของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) นับมูลค่าที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวมีหน้าที่ต้องชําระตามตราสารนั้นรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) นับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงรวมในอัตราส่วนที่ผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง ทั้งนี้ มูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว ให้ใช้มูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นซึ่งคูณกับค่าเดลต้าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (4) ในกรณีของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) นับมูลค่าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชียที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าว (ข) นับมูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนรวมพันธบัตรเอเชียดังกล่าวลงทุนหรือมีไว้ รวมในอัตราส่วนสําหรับทรัพย์สินที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินนั้นโดยตรง (5) ในกรณีของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ การนับมูลค่าของของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและมูลค่าของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตาม (1) โดยอนุโลม ข้อ ๘๑ การคํานวณมูลค่าการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 58 ข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 62 และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ให้นับมูลค่าที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมคํานวณในอัตราส่วนของบุคคลที่เป็นคู่สัญญาดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญานั้นในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการไม่ต้องคํานวณมูลค่าและอัตราส่วนตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว ข้อ ๘๒ นอกจากการคํานวณตามข้อ 81 แล้ว ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกสินค้าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า โดยให้คํานวณอัตราส่วนเสมือนกองทุนลงทุนในสินค้านั้นโดยตรง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงต่อเครดิตของผู้ออกสินค้าหรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า โดยให้ใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นสัญญาออปชัน ให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งคูณกับค่าเดลต้าของสัญญาออปชัน ข้อ ๘๓ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 84 และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ให้ใช้มูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญา เป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศนี้ (2) การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงหากคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์นั้นมีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สูงกว่าหรือเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง ให้ใช้ส่วนต่างของมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินดังกล่าวหักด้วยมูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ทั้งนี้ มิให้ใช้มูลค่าส่วนต่างที่ต่ํากว่าศูนย์ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ข้อ ๘๔ สัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 83 ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในเชิงการเงินหรือเศรษฐกิจ ของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงถูกเคลื่อนย้ายไปยังคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ทั้งจํานวน (2) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องเป็นทรัพย์สินชนิดเดียวกันกับทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์มีผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกัน (ข) ลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์อยู่ในลําดับก่อนหรือลําดับเดียวกันกับลําดับที่กองทุนจะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง (ค) สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้ถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงและทรัพย์สินตามสัญญาเครดิตอนุพันธ์เกิดการผิดนัดชําระหนี้ในเวลาเดียวกัน เมื่อมีการผิดนัดชําระหนี้ของทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง และ (ง) กองทุนสามารถส่งมอบทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในกรณีที่สัญญาเครดิตอนุพันธ์มีข้อกําหนดให้กองทุนส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาดังกล่าว (3) อายุคงเหลือของสัญญาเครดิตอนุพันธ์เท่ากับอายุคงเหลือของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง เว้นแต่เป็นสัญญาเครดิตอนุพันธ์ที่มีอายุคงเหลือมากกว่าอายุคงเหลือของทรัพย์สินดังกล่าวอย่างไม่มีนัยสําคัญ (4) สกุลเงินของสัญญาเครดิตอนุพันธ์และทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงเป็นสกุลเงินเดียวกัน (5) ตัวแปรตามข้อ 36(3) ของสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านเครดิตทุกกรณี (6) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงกับความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ ต้องไม่สูงจนเกินไป ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดขั้นสูงของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการเข้าทําธุรกรรม ซึ่งค่าขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการอื่นที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย โดยที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการลงทุนด้วย ข้อ ๘๕ ในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงต่อเครดิตของผู้ออกสินค้าหรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกสินค้าของตราสารดังกล่าว หรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า โดยให้คํานวณอัตราส่วนเสมือนกองทุนลงทุนในสินค้านั้นโดยตรง ทั้งนี้ ให้ใช้มูลค่าของตราสารดังกล่าวเป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณ ข้อ ๘๖ ในกรณีที่ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงมีข้อกําหนดที่อาจมีผลให้กองทุนได้รับชําระหนี้เป็นทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวรวมในอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 58 ข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 62 และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) แล้วแต่กรณี ในทันทีเสมือนกองทุนได้ลงทุนในทรัพย์สินนั้นแล้ว เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 85 ให้ปฏิบัติตามข้อ 85 แทน ข้อ ๘๗ ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 58 ข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 62 และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ รวมทั้งเงื่อนไขตามข้อ 88 ด้วย (1) ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวมีผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการจะคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกทรัพย์สินหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาดังกล่าว หรือคํานวณอัตราส่วนผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ก็ได้ (2) ในกรณีที่ทรัพย์สินมีบุคคลมากกว่าหนึ่งรายเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการจะเลือกคํานวณอัตราส่วนที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันรายใดรายหนึ่งก็ได้ ข้อ ๘๘ การคํานวณอัตราส่วนที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันตามข้อ 87 จะทําได้ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้ทําการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข หมวด ๒ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุน ลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๙ มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (6) ข้อ 74 หรือข้อ 75 มาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่ง โดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนนั้น และ (2) บริษัทจัดการแจกจ่ายเอกสารแสดงข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญซึ่งผู้ลงทุนควรทราบของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการไปลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ ประเภท และอายุโครงการกองทุนรวม (ข) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (ค) ความเสี่ยงของกองทุนรวม (ง) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม การแจกจ่ายเอกสารตามวรรคหนึ่ง (2) สําหรับกรณีกองทุนรวมหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนไปพร้อมกับหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ข้อ ๙๐ มิให้นําความในข้อ 74 และข้อ 75 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยอื่นใดที่มิใช่กรณีตามข้อ 89 โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่ง หน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าว ณ สิ้นวัน ได้ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน (2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (3) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุน หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๙๑ มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 75 มาใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน หมวด ๓ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๒ มิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 61 ข้อ 62 และข้อ 63 มาใช้บังคับกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก หรือเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา แล้วแต่กรณี มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออกหรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินอื่นที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย หมวด ๔ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมที่มีการกระจาย การลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และกองทุนส่วนบุคคล ที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๓ มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 62 ข้อ 63 ข้อ 74 ข้อ 75 และข้อ 90 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) อัตราส่วนตามข้อ 61 และข้อ 62 มิให้นํามาใช้ในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) หรือทรัพย์สินที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกันหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) ในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน (ก) มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (6) มาใช้บังคับกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ หากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (ข) มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 74 ข้อ 75 และข้อ 90 มาใช้บังคับกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (3) อัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 62 หรือข้อ 63 มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้เป็นกองทุนรวมมีประกันหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน เว้นแต่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีผู้ประกันของกองทุนนั้นเป็นผู้ออกหรือเป็นคู่สัญญา กรณีนี้ให้ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 61 ข้อ 62 หรือข้อ 63 แล้วแต่กรณี หมวด ๕ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๔ มิให้นําความในข้อ 64 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หมวด ๖ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมเพื่อแก้ไข ปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๕ มิให้นําความในข้อ 61 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ เฉพาะในส่วนที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก ซึ่งตราสารดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตราสาร หรือที่ผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน หมวด ๗ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙๖ มิให้นําความในข้อ 64 มาใช้บังคับ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ได้ไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์เนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีไว้ซึ่งหุ้นที่ได้มานั้นเกินกว่าอัตราส่วนที่กําหนดไว้ได้ ข้อ ๙๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ขายหุ้นดังกล่าวให้กองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวได้ไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีไว้ซึ่งหุ้นที่ได้มานั้นเกินกว่าอัตราส่วนที่กําหนดไว้ได้ ข้อ ๙๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ขายหุ้นดังกล่าวให้กองทุนรวมวายุภักษ์ มิให้นําความในข้อ 61 ข้อ 62 วรรคหนึ่ง(1) (2) (3) และ (4) และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้น หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะบริษัทนั้น ไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 87 และข้อ 88 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือธนาคารพาณิชย์ ให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวที่มิใช่เงินฝากในบัญชีเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ข้อ ๙๙ มิให้นําความในข้อ 71 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ในรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และในรอบระยะเวลาบัญชีของสามปีสุดท้ายก่อนวันสิ้นอายุโครงการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หมวด ๘ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม สําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๐ อัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 61 ข้อ 62 ข้อ 63 ข้อ 74 และข้อ 90 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 1 ของภาคนี้ ต่อสํานักงานได้ หมวด ๙ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมสึนามิ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๑๐๑ มิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 64 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสึนามิ ข้อ ๑๐๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานมิให้นําอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 71 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสึนามิได้ หมวด ๑๐ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม หมวดอุตสาหกรรม และกองทุนส่วนบุคคลที่มี นโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๓ มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 73 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ในกรณีที่กองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนดังต่อไปนี้ ให้อยู่ภายใต้บังคับของอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 104 ด้วย (1) กองทุนรวมหน่วยลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์โดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (3) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศรวมกันโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือ (4) กองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตาม(1) (2) หรือ (3) ข้อ ๑๐๔ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ 103 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) ให้เป็นไปตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนตามข้อ 103 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศใด แล้วแต่กรณี โดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามข้อ 89 วรรคหนึ่ง (2) โดยอนุโลมแล้ว มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (4) หรือ (6) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับกองทุนนั้น (2) ในกรณีที่กองทุนตามข้อ 103 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) ไม่เข้าลักษณะตามข้อ 104(1) มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (4) หรือ (6) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าว ณ สิ้นวันได้ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (ก) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ใด หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศใด ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามข้อ 103 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) นั้น เว้นแต่ในกรณีที่กองทุนตามข้อ 103 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) ดังกล่าวเป็นกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ใด หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศใด ได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามข้อ 103 วรรคสอง (1) (2) (3) หรือ (4) นั้น (ข) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ใด หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศใด ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือจํานวนตราสารที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศนั้น แล้วแต่กรณี หมวด ๑๑ หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๕ อัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 63 และข้อ 64 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๑๐๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสํานักงานมิให้นําอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 71 มาใช้บังคับ สําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 หมวด ๑๒ การดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐๗ ในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ กองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลาที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนครั้งก่อนและครั้งใหม่ห่างกันน้อยกว่าสิบห้าวัน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หากการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มิใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ของกองทุนดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่กําหนดตามข้อ 77 หรือข้อ 78 แล้วแต่กรณี โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ตราสารมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวให้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินอัตราส่วนตามข้อดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตราสารนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด ข้อ ๑๐๘ ในกรณีที่เงินฝากหรือตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้เกินอัตราส่วนที่กําหนดตามข้อ 71 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยเฉลี่ยตั้งแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจนถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าว เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตรวจสอบการปฏิบัติดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากบริษัทจัดการกองทุนรวมด้วย หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเลิกกองทุนรวมนั้น ข้อ ๑๐๙ ในกรณีที่กองทุนมีสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่กองทุนถืออยู่ หากการใช้สิทธินั้นจะเป็นเหตุให้กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ บริษัทจัดการอาจซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้นโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามอัตราส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะภายในช่วงระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันแรกที่ผู้ถือหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้น ข้อ ๑๑๐ ในกรณีที่ตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมา ตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนนั้น มีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยเหตุดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนให้เป็นไปตามที่กําหนดภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการประกาศให้ทราบถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน (1) ตราสารแห่งทุนนั้นในเวลาต่อมาเป็นตราสารแห่งทุนของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป หรือถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (2) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๑๑ ในกรณีที่ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ในขณะที่กองทุนเข้าทําธุรกรรม มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 79 หากต่อมาธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการทําธุรกรรมเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อไปก็ได้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๑๒ ภายใต้บังคับข้อ 107 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น หรือจากการรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเป็นผลให้กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทใดเกินอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 64 ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นได้ (2) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน และ (3) กรณีที่เป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว เป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ บริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อให้ได้รับการยกเว้นการทําคําเสนอซื้อโดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ทั้งนี้ การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลดสัดส่วนตามสัดส่วนของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่แต่ละกองทุนได้มาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ข้อ ๑๑๓ ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 107 ถึงข้อ 112 และการเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑๔ ในกรณีบริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 แต่ไม่เป็นไปตามประเภทหรือเกินอัตราส่วนที่กําหนดตามประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่ได้ขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกันซึ่งได้มีการทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ในวันก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อ 117 แทน ข้อ ๑๑๕ ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ ๑๑๖ ในกรณีของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่ได้ขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกันซึ่งได้มีการทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุน เป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 แต่ไม่เป็นไปตามประเภทหรือเกินอัตราส่วนที่กําหนดสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่กําหนดตามประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ (2) ในกรณีของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมในวันที่หรือภายหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลือกที่จะลงทุนสําหรับการลงทุนครั้งแรกให้เป็นไปตามประเภทที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานได้ ทั้งนี้ การลงทุนครั้งต่อไปของกองทุนรวมดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับ (3) (3) ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินใด ๆ เว้นแต่เป็นกรณีตาม (5) หรือเป็นกรณีที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว (4) อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตาม (1) หรือ (2) ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดอัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นซึ่งใช้บังคับในวันก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (5) ในกรณีที่ทรัพย์สินตาม (1) หรือ (2) ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตาม (4) ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนให้เป็นไปตาม (4) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินดังกล่าวถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๑๗ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๑๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และเพื่อเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การลงทุนหรือการแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทรัพย์สินอื่น ในกลุ่มกิจการใดกลุ่มกิจการหนึ่ง ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ของกองทุน และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ครอบคลุมทั้งในกรณีที่กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าวจัดตั้งในรูปแบบทั่วไปและในรูปของกองทุนรวมหน่วยลงทุน ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,761
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 58/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 และข้อ 13 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค/1) และ (ค/2) ใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(ค/1) “ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์” หมายความว่า ดัชนีที่มีองค์ประกอบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิด โดยดัชนีดังกล่าวคํานวณจากตัวแปรอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ 1. ราคาปัจจุบัน (spot price) หรือราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures price) ของสินค้าโภคภัณฑ์ 2. ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ที่คํานวณจากราคาปัจจุบันหรือราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสินค้าโภคภัณฑ์สินค้าใดสินค้าหนึ่ง 3. ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ตาม 2. (ค/2) “ดัชนีเงินเฟ้อ” หมายความว่า ดัชนีที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อน อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งคํานวณโดยใช้แหล่งข้อมูลอ้างอิงจากรายงานของหน่วยงานราชการของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือคํานวณจากราคาสินค้าและบริการ ที่บริษัทจัดการแสดงให้เห็นได้ว่าวิธีการคํานวณของผู้พัฒนาดัชนีดังกล่าวสามารถสะท้อนอัตราเงินเฟ้อได้อย่างเหมาะสม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 36 และข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 36 สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาได้ต้องมีสินค้าตัวแปรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ (2) อัตราดอกเบี้ย (3) อัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยการเข้าเป็นคู่สัญญาต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) เท่านั้น (4) อันดับความน่าเชื่อถือหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารแห่งหนี้หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือของผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาดังกล่าว (5) ทองคํา (6) น้ํามันดิบ (7) ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีเงินเฟ้อ ดัชนีที่มีองค์ประกอบเป็นสินค้าหรือตัวแปรตาม (1) (2) (3) (4) (5) (6) หรือ (9) (8) ดัชนีที่มีองค์ประกอบเป็นดัชนีตามข้อ (7) (9) สินค้าหรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงกับราคาของสินค้าหรือตัวแปรตามวรรคหนึ่ง ราคาที่อ้างอิงดังกล่าวต้องเป็นราคาปัจจุบันหรือราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเท่านั้น ในกรณีของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งได้ ต่อเมื่อโครงการจัดการกองทุนรวมได้ระบุกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว ข้อ 37 ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีตัวแปรเป็นดัชนีตามข้อ 36 ดัชนีดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นดัชนีที่มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยมีการระบุแหล่งข้อมูลของสินค้า ตัวแปร หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการคํานวณ และมีการคํานวณดัชนีให้เป็นปัจจุบันตามความเหมาะสมขององค์ประกอบของดัชนี ทั้งนี้ สินค้า ตัวแปร หรือปัจจัยดังกล่าวต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระด้วย (2) เป็นดัชนีที่มีการกระจายน้ําหนักอย่างเพียงพอ เว้นแต่เป็นดัชนีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ดัชนีตามข้อ 36 ที่มีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหรือเกี่ยวข้องกับทองคําหรือน้ํามันดิบ (ข) ดัชนีที่มีองค์ประกอบเป็นสินค้าหรือตัวแปรที่กองทุนสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ 82(2) หรือข้อ 85 แล้วแต่กรณี (3) ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นอิสระจากบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากสถาบันดังกล่าวเป็นบริษัทในเครือ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ และ (4) มีการแสดงดัชนีนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันทําการผ่านสื่อที่มีการเสนอข้อมูลอย่างทันเหตุการณ์” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 37/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 37/1 ดัชนีที่มีการกระจายน้ําหนักอย่างเพียงพอตามประกาศนี้ ให้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ดัชนีที่องค์ประกอบแต่ละตัวมีน้ําหนักไม่เกินร้อยละยี่สิบของน้ําหนักทั้งหมด (2) ดัชนีที่องค์ประกอบตัวใดตัวหนึ่งมีน้ําหนักไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของน้ําหนักทั้งหมดในกรณีที่เป็นไปตามสภาวะตลาด ทั้งนี้ องค์ประกอบตัวอื่นต้องมีน้ําหนักไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ใน (1) ในกรณีของดัชนีที่มีองค์ประกอบบางส่วนเป็นหรือเกี่ยวข้องกับทองคําหรือน้ํามันดิบ มิให้ถือว่าดัชนีดังกล่าวไม่มีการกระจายน้ําหนักอย่างเพียงพอเพราะเหตุที่องค์ประกอบดังกล่าวมีน้ําหนักเกินอัตราส่วนที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 45 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 45 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 43 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) (1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 16 โดยอนุโลม (2) ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ตราสารดังกล่าวจัดทําขึ้นในรูปแบบตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 14 หรือข้อ 15(1) (2) (3) หรือ (4) (ข) ตราสารดังกล่าวต้องอ้างอิงกับราคาหุ้น ราคาเฉลี่ยของกลุ่มหุ้นจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12(1) หรือ (2) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราดอกเบี้ย อันดับความน่าเชื่อถือหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของตราสารแห่งหนี้หรือของผู้ออกตราสารดังกล่าว และดัชนีเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ในกรณีของดัชนี ต้องมีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 37 ด้วย (ค) ในกรณีที่เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารในการที่จะชําระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร บริษัทจัดการได้เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทําการลงทุน” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 49 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 49 ในกรณีที่กองทุนประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยนโยบายการลงทุนพร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่สัญญาหรือตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับดัชนี ให้บริษัทจัดการเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุในการเปลี่ยนแปลงการคํานวณดัชนีและการยกเลิกการคํานวณดัชนี ตลอดจนแนวทางการดําเนินการของกองทุนในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าว” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 82 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 82 นอกจากการคํานวณตามข้อ 81 แล้ว ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีที่การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงต่อเครดิตของผู้ออกสินค้า หรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพันของสินค้า ที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิง ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสินค้าดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินค้านั้นโดยตรง ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นสัญญาออปชัน ให้นับมูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคูณกับค่าเดลต้าของสัญญาออปชันแทน (2) ในกรณีที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนสําหรับองค์ประกอบดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งองค์ประกอบนั้นโดยตรง เว้นแต่ในกรณีที่องค์ประกอบดังกล่าวเป็นหรือเกี่ยวข้องกับทองคําหรือน้ํามันดิบ (ก) ดัชนีที่มีองค์ประกอบเป็นสินค้าหรือตัวแปรที่กองทุนสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ตามข้อ 37(2) (ข) (ข) ดัชนีที่ไม่เข้าลักษณะเป็นดัชนีที่มีการกระจายน้ําหนักอย่างเพียงพอตามข้อ 37/1 (ค) ดัชนีที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่า อันดับที่สามารถลงทุนได้ (high yield bond index)” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 84 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ตัวแปรตามข้อ 36(4) ของสัญญาเครดิตอนุพันธ์ต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านเครดิตทุกกรณี” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 85 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 85 ในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เป็นผลหรืออาจเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงต่อเครดิตของผู้ออกสินค้าหรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ตามข้อผูกพัน ของสินค้า ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกสินค้าของตราสารดังกล่าว หรือผู้ที่ต้องชําระหนี้ ตามข้อผูกพันของสินค้า โดยให้คํานวณอัตราส่วนเสมือนกองทุนลงทุนในสินค้านั้นโดยตรง ทั้งนี้ ให้ใช้ มูลค่าของตราสารดังกล่าวเป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ที่อ้างอิงกับดัชนี ให้นําความในข้อ 82(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงสินค้าและตัวแปรในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่กองทุนสามารถลงทุนหรือมีไว้ ให้สอดคล้อง กับวิวัฒนาการของตราสาร ธุรกรรมทางการเงิน และสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อให้กองทุนสามารถลงทุนโดยอ้างอิงกับดัชนีกลยุทธ์การลงทุน (investment strategy index) และดัชนีเงินเฟ้อได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,762
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 7/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนด ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 66 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 66 ความในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมมีประกัน (2) กองทุนรวมวายุภักษ์ (3) กองทุนรวมสึนามิ (4) กองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย (5) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 67/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของ กองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 67/1 การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ มิให้บริษัทจัดการ กองทุนรวมนับมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมและหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่ กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเว้นการนับมูลค่าหน่วยลงทุนที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับกลุ่มกิจการ (group limit) จึงจําเป็นต้อง ออกประกาศนี้
1,763
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 29/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) อัตราแลกเปลี่ยนเงิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงให้กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุนโดยการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยไม่จํากัดว่าต้องเป็นการเข้าทําสัญญาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการลดความเสี่ยงเท่านั้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,764
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของหมวด 1 บททั่วไป ในภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดในหมวด 2 และหมวด 2/1 ของภาค 1 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 1 (2) เปิดเผยการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 4 ของภาค 1 (3) เมื่อมีเหตุที่ทําให้ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหมวด 5 ของภาค 1” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ในหมวด 2 ข้อกําหนดประเภททรัพย์สินตามลักษณะของกองทุน ของภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 4/1 ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนส่วนบุคคล ที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ กองทุนรวมดังกล่าวต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2/1 ด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือได้มาซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (5) ได้” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 2/1 ข้อกําหนดเกี่ยวกับประเภททรัพย์สินสําหรับกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน และข้อ 8/1 ถึงข้อ 8/6 ในภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “หมวด 2/1 ข้อกําหนดเกี่ยวกับประเภททรัพย์สินสําหรับกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 8/1 ในหมวดนี้ “อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนัก” (portfolio duration) หมายความว่า อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ ข้อ 8/2 ภายใต้บังคับข้อ 8/3 และข้อ 8/4 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว (1) ตราสารแห่งหนี้ตามส่วนที่ 2 ในหมวด 3 ของภาค 1 (2) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามส่วนที่ 3 ในหมวด 3 ของภาค 1 ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือโดยบริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องไม่อยู่ระหว่างดําเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนการจดทะเบียนหรือการได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายหมดไป (3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน ดังต่อไปนี้ (ก) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวด 3 ในภาค 1 ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็น การลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน (5) เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 ของภาค 1 (6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามส่วนที่ 10 ในหมวด 3 ของภาค 1 (7) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (6) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 8/3 ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 8/2(1) และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 8/2(2) ที่กองทุนจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) มีกําหนดวันชําระหนี้ตามตราสารเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือไม่เกินสามร้อยเก้าสิบเจ็ดวันนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทําสัญญา (2) มีอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นตราสารภาครัฐไทย (ก) อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรกที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น (ข) อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสามอันดับแรกที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว (ค) อันดับความน่าเชื่อถือที่เทียบเคียงได้กับสองอันดับแรกของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นตามที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้เปรียบเทียบไว้ (3) ไม่ใช่ตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ (ก) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (ข) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ข้อ 8/4 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 8/2 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามหมวดนี้ บริษัทจัดการต้องดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนัก (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินสามเดือน ข้อ 8/5 กรณีที่กองทุนรวมตามหมวดนี้มีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เกินสามเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลาห้าวันทําการไม่ว่าจะเกิดจากการลงทุนเพิ่มหรือไม่ก็ตาม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงาน โดยระบุอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกองทุนรวม และสาเหตุที่ไม่สามารถดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักตามข้อ 8/4 ได้ และดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาห้าวันทําการดังกล่าว (ข) จัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขให้อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เหลือไม่เกินสามเดือน ภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาห้าวันทําการดังกล่าว เว้นแต่บริษัทจัดการสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นว่ามีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดอันทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้ (3) จัดทํารายงานเมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักได้ โดยให้ระบุอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกองทุนรวม และวันที่สามารถแก้ไขได้ และดําเนินการตาม (1) (ก) และ (ข) โดยอนุโลม ข้อ 8/6 ในระหว่างที่บริษัทจัดการไม่สามารถแก้ไขอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักณ ขณะใดขณะหนึ่งให้เหลือไม่เกินสามเดือน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าระยะเวลาตามข้อ 8/5(2) ได้ล่วงพ้นไปแล้วหรือไม่ (1) จัดทํารายงานเมื่ออายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่งเกินสี่เดือน และทุกครั้งที่เพิ่มขึ้นเกินหนึ่งเดือน ตามลําดับ โดยรายงานดังกล่าวให้มีสาระสําคัญตามข้อ 8/5(1) โดยอนุโลม (2) ส่งรายงานตาม (1) ต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว (3) จัดเก็บสําเนารายงานตาม (1) ไว้ที่บริษัทจัดการ” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 52/1 และข้อ 52/2 ในหมวด 5 การดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ ของภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ ประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 52/1 กรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2/1 และหมวด 3 ของภาคนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าวไว้แล้ว หากต่อมาทรัพย์สินดังกล่าวมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติ และวันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ และดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว (ข) จัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ (2) จําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ เว้นแต่บริษัทจัดการสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นว่ามีเหตุดังต่อไปนี้ (ก) เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดอันทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขตามที่กําหนดใน (2) ได้ (ข) บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย ณ วันที่บันทึกมูลค่าทรัพย์สินเป็นศูนย์ หรือวันที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกหรือคู่สัญญาในทรัพย์สินดังกล่าวไม่สามารถชําระหนี้ได้ เป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้น (set aside) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (3) จัดทํารายงานเมื่อบริษัทจัดการสามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติ หรือเมื่อทรัพย์สินนั้นเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติจนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทุนดังกล่าว โดยให้ระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว และวันที่ทรัพย์สินนั้นถูกจําหน่ายไป หรือวันที่คุณสมบัติเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี และดําเนินการตาม (1) (ก) และ (ข) โดยอนุโลม ข้อ 52/2 ในระหว่างที่บริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าระยะเวลาตามข้อ 52/1(2) ได้ล่วงพ้นไปแล้วหรือไม่ (1) จัดทํารายงานเมื่ออัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยให้ระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินนั้น และวันที่อัตราส่วนเพิ่มขึ้น (2) ส่งรายงานตาม (1) ต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว (3) จัดเก็บสําเนารายงานตาม (1) ไว้ที่บริษัทจัดการ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีตามข้อ 52/1(2) (ข)” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 54 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 54 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนทั่วไปในหมวด 1 ของภาค 2 (2) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนเฉพาะประเภทตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ถึง หมวด 11/1 ของภาค 2 (3) ให้ดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินไม่เป็นไปตามอัตราส่วนตามที่กําหนดในหมวด 12 ของภาค 2” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 77 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 77 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากเพื่อการลดความเสี่ยง โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเปิดที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (2) กองทุนรวมเปิดแบบมีกําหนดระยะเวลาซึ่งกําหนดช่วงห่างของวันทําการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนครั้งก่อนและครั้งใหม่ยาวกว่าอายุของตราสารหรือสัญญาดังกล่าว โดยวันครบกําหนดอายุของตราสารหรือสัญญาดังกล่าวอยู่ในช่วงห่างนั้น (3) กองทุนรวมตลาดเงิน (4) กองทุนรวมปิด” ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 81/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 81/1 การคํานวณมูลค่าการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 77 ให้ใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (notional amount) เป็นมูลค่าที่ใช้ในการคํานวณ” ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 11/1 หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกัน และข้อ 106/1 ถึงข้อ 106/5 ในภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “หมวด 11/1 หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุน ในลักษณะเดียวกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 106/1 มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 61 ข้อ 62 และข้อ 69 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อกําหนดดังกล่าวตามอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 106/2 และข้อ 106/3 ข้อ 106/2 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ 106/1 ได้ ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินตามข้อ 61 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) (2) ร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (3) และ (7) (3) ร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ข้อ 106/3 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่บริษัทในกลุ่มกิจการใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ 106/1 หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการคํานวณตัวชี้วัดของกองทุนนั้น บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญารายนั้นได้ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า (1) อัตราที่คํานวณได้จากน้ําหนักของทรัพย์สินดังกล่าวในตัวชี้วัดรวมกับร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) อัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 106/2 ข้อ 106/4 ในกรณีของกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เมื่อคํานวณรวมทุกบุคคลที่เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจํานวนตลอดเวลาที่มีการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ 106/5 ในกรณีของกองทุนรวมตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงดังต่อไปนี้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เมื่อคํานวณรวมทุกบุคคลที่เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา (1) เงินสดสกุลเงินบาท (2) เงินฝากสกุลเงินบาท ทั้งนี้ ต้องเป็นเงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (3) ตั๋วเงินคลังที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ หรือ (4) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทระยะสั้น” ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 112/1 และข้อ 112/2 ในหมวด 12 การดําเนินการเมื่อมีเหตุที่ทําให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วน ของภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 112/1 ในกรณีที่กองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบาย การลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว มีการลงทุนหรือได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในภาค 2 หากต่อมาทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวติดต่อกันเป็นเวลาห้าวันทําการ โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนหรือได้มาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินอัตราส่วน และวันที่ทรัพย์สินมีมูลค่าเกินอัตราส่วน และดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาห้าวันทําการดังกล่าว (ข) จัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาห้าวันทําการดังกล่าว เว้นแต่บริษัทจัดการสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นว่าที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดอันทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการดังกล่าว (3) จัดทํารายงานเมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนได้ โดยให้ระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว และวันที่สามารถแก้ไขได้ และดําเนินการตาม (1) (ก) และ (ข) โดยอนุโลม มิให้นําความในข้อ 110 ถึงข้อ 112 มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่ง ข้อ 112/2 ในระหว่างที่บริษัทจัดการไม่สามารถแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในภาค 2 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อ 52/2 โดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าระยะเวลาตามข้อ 112/1 (2) ได้ล่วงพ้นไปแล้วหรือไม่” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 113 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 113 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 107 ถึงข้อ 112/2 และการเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้” ข้อ 12 ในกรณีที่กองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกันได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่กําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น ไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้มีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและความเสี่ยงต่ําในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับลักษณะของกองทุนดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,765
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(5/1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมทองคํา ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมทองคําเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 4 ในหมวด 3 ของภาค 1” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 5/1 ในกรณีของกองทุนรวมทองคํา นอกจากทรัพย์สินและสัญญาที่กําหนดไว้ในข้อ 5 แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทองคําแท่งตามข้อ 45/2 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ 6 ด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงกับราคาของสินค้าหรือตัวแปรตามวรรคหนึ่ง ราคาที่อ้างอิงดังกล่าวต้องเป็นราคาปัจจุบันหรือราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเท่านั้น ทั้งนี้ ราคาของสินค้า ตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่ดัชนี หรือสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีดังกล่าว ต้องเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและเปิดเผยไว้อย่างแพร่หลายด้วย” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 12 ทองคําแท่ง และข้อ 45/1 และข้อ 45/2 ในหมวด 3 ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน ของภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ส่วนที่ 12 ทองคําแท่ง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 45/1 หลักเกณฑ์ในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมทองคํา ข้อ 45/2 ทองคําแท่งที่กองทุนรวมจะลงทุนหรือมีไว้ได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) มีมาตรฐานและผ่านการรับรองจากหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคําในประเทศไทยหรือในระดับสากล ทั้งนี้ การรับรองดังกล่าวอาจเป็นการรับรองที่ทองคําแท่งหรือที่ผู้ผลิตทองคําแท่งก็ได้ (2) มีราคาที่เปิดเผยไว้อย่างแพร่หลายโดยหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมในประเทศไทยหรือในระดับสากล” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 56 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 56 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จํากัดอัตราส่วน (1) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) (2) เงินฝากระยะสั้นหรือตราสารระยะสั้นที่เทียบเท่าเงินสดในต่างประเทศตามข้อ 23(2) (3) ทองคําแท่งตามข้อ 45/2 ทั้งนี้ เฉพาะกองทุนรวมที่สามารถลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทองคําแท่งได้ตามภาค 1” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนสามารถลงทุนในทองคําแท่งโดยทางตรงและทางอ้อมได้ โดยแยกตามประเภทของกองทุน กล่าวคือ (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมทองคํา ในกรณีที่เป็นการลงทุนเพื่อกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และ (2) ทองคําแท่ง ในกรณีที่เป็นการลงทุนเพื่อกองทุนรวมทองคํา รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ในกรณีที่กองทุนเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาของสินค้าหรือตัวแปร จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,766
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 42/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 42/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 ของส่วนที่ 8 ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ในหมวด 3 ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน ของภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 24/1 ในส่วนนี้ “ราคาซื้อ” หมายความว่า ราคาที่กองทุนชําระให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นค่าซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน “มูลค่าธุรกรรม” หมายความว่า ราคาซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่กองทุนพึงได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน จนถึงวันที่มีการคํานวณ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 26 (2) ต้องเป็นการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในหลักทรัพย์หรือ ตราสารแห่งหนี้ตามที่กําหนดในข้อ 27 (3) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือโดยบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด (มหาชน) แล้วแต่กรณี (4) ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และการทําธุรกรรมดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ ที่เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 และข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 27 ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนได้เฉพาะในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 14(1) ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี (2) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) และตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 15(2) และข้อ 18(1) ทั้งนี้ กรณีเป็นตราสารภาครัฐต่างประเทศต้องมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (3) ตราสารแห่งหนี้ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายตราสารแห่งหนี้ หรือที่มีข้อมูลราคาที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ซึ่งมีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นอยู่ในสองอันดับแรก หรืออันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวที่เทียบเคียงได้กับอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นดังกล่าวตามที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้เปรียบเทียบไว้ หรือ (ข) อันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวอยู่ในสามอันดับแรก (4) ตราสารแห่งหนี้ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งเดือนที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายตราสารแห่งหนี้ หรือที่มีข้อมูลราคาที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ซึ่งมีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นอยู่ในสามอันดับแรก หรืออันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวที่เทียบเคียงได้กับอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นดังกล่าวตามที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้เปรียบเทียบไว้ หรือ (ข) อันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวอยู่ในสี่อันดับแรก (5) ทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ 28 ในการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ ณ วันเริ่มต้นสัญญา ต้องสูงกว่าราคาซื้อในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ที่คํานวณจากราคาซื้อ x (1 + อัตราส่วนลดหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ) ทั้งนี้ อัตราส่วนลดหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อดังกล่าวต้องกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อนั้นแล้ว (2) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ ณ สิ้นวันไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ที่คํานวณได้จากมูลค่าธุรกรรม x (1 + อัตราส่วนลดหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ) (3) ในกรณีที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ ณ สิ้นวัน ไม่เป็นไปตาม (2) บริษัทจัดการต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ในเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 27 ให้แก่กองทุน เพื่อให้มูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและทรัพย์สินที่โอนมาดังกล่าวเป็นไปตาม (2) ภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อลดลงน้อยกว่าที่กําหนด เว้นแต่เป็นกรณีตาม (4) (4) บริษัทจัดการจะไม่ดําเนินการตาม (3) ก็ได้ หากส่วนต่างของผลลัพธ์ตาม (2) ไม่เกินห้าล้านบาท หรือไม่เกินร้อยละห้าของราคาซื้อ แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า และมี การกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในสัญญาโดยได้คํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญา (counterparty risk) แล้ว (5) บริษัทจัดการจะนําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อไปขายหรือโอนต่อมิได้ เว้นแต่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญา ขายคืนดังกล่าว (ข) เป็นการขายตามธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 8” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28/1 ของส่วนที่ 8 ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ในหมวด 3 ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน ของภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 28/1 การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนและมูลค่าธุรกรรมเพื่อการดําเนินการตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (4) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณเป็นรายธุรกรรม หรือ (2) คํานวณรวมเป็นยอดสุทธิของธุรกรรมทั้งหมดที่กองทุนมีอยู่กับคู่สัญญารายเดียวกัน และที่สัญญากําหนดให้สามารถบังคับชําระหนี้ตามธุรกรรมใดธุรกรรมหนึ่งจากหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อหรือทรัพย์สินที่โอนตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี)ของธุรกรรมอื่นได้” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 71 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 71 ในกรณีของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญา เป็นจํานวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชี หรือในรอบอายุกองทุนรวมสําหรับกองทุนรวมที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่งปี (1) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) ธนาคารพาณิชย์ (3) บริษัทเงินทุน (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (7) ธนาคารต่างประเทศ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับมูลค่าของทรัพย์สินดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนดังกล่าว (1) เงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนรวม (2) ทรัพย์สินที่คู่สัญญาในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กองทุนรวมตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) อัตราส่วนตามวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในช่วงระยะเวลาหกเดือนก่อนวันครบกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมที่มีอายุโครงการตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป" ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 78/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 78/1 บริษัทจัดการอาจทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนได้ โดยมีมูลค่าธุรกรรมรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน คําว่า “มูลค่าธุรกรรม” ตามวรรคหนึ่ง ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในข้อ 24/1” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 80/1 ของส่วนที่ 4 ข้อกําหนดในการคํานวณอัตราส่วน ในหมวด 1 หลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไป ของภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 80/1 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ให้บริษัทจัดการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 61 และข้อ 62 ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันไม่น้อยกว่ามูลค่าธุรกรรม ให้นําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวมาคํานวณอัตราส่วนการลงทุนเท่ากับมูลค่าธุรกรรม ทั้งนี้ บริษัทจัดการไม่ต้องนําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนมาคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คู่สัญญา (2) ในกรณีมูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันน้อยกว่ามูลค่าธุรกรรม ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) นําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวมาคํานวณอัตราส่วนการลงทุน เท่ากับมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามราคาตลาด และ (ข) นําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนมาคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คู่สัญญา เท่ากับส่วนต่างของมูลค่าธุรกรรมกับมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามราคาตลาด (3) ในกรณีเป็นธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามสัญญาที่มีข้อกําหนดให้คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและมูลค่าธุรกรรมรวมเป็นยอดสุทธิของธุรกรรมทั้งหมดตามข้อ 28/1(2) ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนดังนี้ (ก) ในกรณีที่มูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันของแต่ละธุรกรรม มีมูลค่าไม่น้อยกว่ามูลค่าธุรกรรมแต่ละธุรกรรมนั้น ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามหลักเกณฑ์ใน (1) (ข) ในกรณีที่มูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันของแต่ละธุรกรรม มีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าธุรกรรมแต่ละธุรกรรม ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามหลักเกณฑ์ใน (2) (ค) ในกรณีที่มีบางธุรกรรมที่มูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันน้อยกว่ามูลค่าธุรกรรม ให้บริษัทจัดการนําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อของธุรกรรมที่มูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันไม่น้อยกว่ามูลค่าธุรกรรม มาคํานวณอัตราส่วนการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อชดเชยส่วนต่างของมูลค่าธุรกรรมกับมูลค่ารวมของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อและที่โอนมาตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง (3) (ถ้ามี) ณ สิ้นวันของธุรกรรมแรก ทั้งนี้ หากภายหลังการชดเชยส่วนต่างข้างต้น มูลค่าสุทธิของทุกหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนยังคงน้อยกว่ามูลค่าสุทธิของทุกธุรกรรม ให้นําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนมาคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คู่สัญญา เท่ากับส่วนต่างดังกล่าว คําว่า “มูลค่าธุรกรรม” ตามวรรคหนึ่ง ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในข้อ 24/1” ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 116/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 116/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในนามกองทุนโดยชอบในวันก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หากมูลค่าธุรกรรมดังกล่าวไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 78/1 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนดังกล่าวต่อไปก็ได้ตามข้อกําหนดหรือเงื่อนไขในสัญญาที่ได้ทําไว้ แต่ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะเข้าทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนเพิ่มเติมอีกไม่ได้ จนกว่ามูลค่าธุรกรรมตามสัญญาเดิมจะเป็นไปตามอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดนั้น” ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรม การซื้อโดยมีสัญญาขายคืนของกองทุนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติทั่วไปในการทําธุรกรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งกําหนดประเภทหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่นํามาทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนให้สะท้อนความมีคุณภาพและสภาพคล่องยิ่งขึ้น และปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนให้มีความเหมาะสม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,767
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(ค) “ตราสารแห่งหนี้” หมายความรวมถึงศุกูก เว้นแต่ข้อกําหนดในประกาศนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ง) “ศุกูก” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะผลตอบแทนและความเสี่ยงเทียบเคียงได้กับตราสารหนี้ทั่วไป และเป็นไปตามหลักชาริอะห์ (จ) “เงินฝาก” หมายความรวมถึงเงินฝากอิสลาม เว้นแต่ข้อกําหนดในประกาศนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ฉ) “เงินฝากอิสลาม” หมายความว่า ข้อตกลงที่เป็นไปตามหลักชาริอะห์ และมีลักษณะที่เทียบเคียงได้กับเงินฝาก โดยคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียงได้กับผู้ฝากสามารถเรียกคืนเงินต้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียงได้กับผู้รับฝากได้เต็มจํานวน ณ เวลาใด ๆ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ซ) ของ (3) ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ซ) “สถาบันการเงินตามกฎหมายไทย” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (ก) ของ (4) ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 3/1 เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ การพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของทรัพย์สินตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่ได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานยอมรับ (2) เป็นอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน เว้นแต่ในกรณีที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยได้ (1) ตราสารแห่งทุนตามส่วนที่ 1 ในหมวด 3 (2) ตราสารแห่งหนี้ตามส่วนที่ 2 ในหมวด 3 (3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามส่วนที่ 3 ในหมวด 3 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ในหมวด 3 (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศตามส่วนที่ 5 ในหมวด 3 (6) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมทองคํา ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมทองคํา เป็นกองทุนรวมต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 4 ในหมวด 3 (7) เงินฝากตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 (8) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 7 ของหมวด 3 (9) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 10 ของหมวด 3 (10) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 11 ของหมวด 3 (11) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (10) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่กองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนรวมทองคํา ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและข้อ 5/1 ในกรณีที่กองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและข้อ 5/2 ในกรณีที่กองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและข้อ 6” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 5/2 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือเข้าเป็นคู่สัญญาตามข้อ 5 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้เฉพาะทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ตามส่วนที่ 2 ในหมวด 3 (2) เงินฝากตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 (3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (4) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ถือเป็นตราสารแห่งหนี้ ในกรณีที่กองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ 6 ด้วย” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่ง ในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เป็นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ในประเทศ หรือเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย ที่มีอายุของตราสารหรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี ต่ํากว่าหนึ่งปี โดยเป็นการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสํารองเงินไว้สําหรับการดําเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย (1) หลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ทุกประเภท ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11 (3) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 18 (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ในหมวด 3 (5) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศตามส่วนที่ 5 ในหมวด 3 (6) เงินฝากตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 (7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวด 3 (8) ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีของธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์ ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น และในกรณีของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ในหมวด 3 (9) การขายชอร์ต ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม (10) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกลักษณะ ทั้งนี้ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 38(4) ด้วย (11) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงทุกประเภท (12) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (11) โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (5) ของวรรคหนึ่งในข้อ 8/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) เงินฝากตามส่วนที่ 6 ในหมวด 3 แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินฝากอิสลาม” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 8/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8/3 ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 8/2(1) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 8/2(2) ที่กองทุนจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) มีกําหนดวันชําระหนี้ตามตราสารเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือไม่เกินสามร้อยเก้าสิบเจ็ดวันนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทําสัญญา (2) มีอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นตราสารภาครัฐไทย (ก) อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรกที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น (ข) อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสามอันดับแรกที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว (ค) อันดับความน่าเชื่อถือที่เทียบเคียงได้กับสองอันดับแรกของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นตามที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้เปรียบเทียบไว้ (3) ไม่ใช่ตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ 1. (ก) หุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือตราสารอื่นที่มีลักษณะด้อยสิทธิในทํานองเดียวกัน 2. (ข) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ 3. (ค) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง 4. (ง) ศุกูก ความในวรรคหนึ่ง (2) ให้ใช้บังคับกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งเงินฝากตามข้อ 8/2(5) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8/2(6) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนด้วย” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 และข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก ศุกูก หรือหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัลผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (2) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เป็นผู้ออก ซึ่งกําหนดวันใช้เงินตามตั๋วไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันออกตั๋ว และเป็นตั๋วเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (3) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือศุกูก ที่มีอายุไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออก ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับแรก ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นด้วย หรือ (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor’s หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันอื่นที่สํานักงานกําหนดเพิ่มเติม ข้อ 15 ตราสารแห่งหนี้ทั่วไป ได้แก่ (1) ตราสารภาครัฐไทย อันได้แก่ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ศุกูก หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน (2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ อันได้แก่ ตราสารที่มีรูปแบบทํานองเดียวกับตราสารภาครัฐไทยที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวต้องมีลักษณะตามข้อ 16 ด้วย (3) ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ ซึ่งหมายถึง พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ศุกูก หรือหุ้นกู้ที่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ ที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะทั่วไปหรือในลักษณะจํากัด หรือที่ออกภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง หรือที่นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือที่เป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นโดยได้รับชําระราคาเต็มมูลค่า ที่เสนอขายจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ต้องมีลักษณะตามข้อ 16 ด้วย (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ที่ไม่ใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ (5) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ศุกูก หุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ (6) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น (7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวดนี้ (8) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นตราสารแห่งหนี้ ตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (6) หรือข้อ 14 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของหมวดนี้” ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความซึ่งเป็นชื่อของส่วนที่ 6 และข้อ 23 ในหมวด 3 ของภาค 1แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ส่วน ๖ เงินฝาก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ เงินฝากที่บริษัทจัดการจะลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ ต้องเป็นเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือในสถาบันการเงินต่างประเทศ” ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 56 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 61 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 61 ภายใต้บังคับข้อ 58 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ดังต่อไปนี้ ซึ่งธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนรายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศ (2) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (3) เงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย (4) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับมูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งธนาคารหรือบริษัทเงินทุนรายเดียวกันเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา รวมในอัตราส่วนดังกล่าว (1) ทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (5) (2) ทรัพย์สินตามข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ในกรณีที่กองทุนมีเงินฝากในนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินงานของกองทุน มิให้นับมูลค่าของเงินฝากดังกล่าวรวมในอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง” ข้อ ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 61/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 61/1 ภายใต้บังคับข้อ 58 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ในสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะสถาบันการเงินต่างประเทศรายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับมูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนดังกล่าว (1) ทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ที่สถาบันการเงินต่างประเทศรายเดียวกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา (2) ทรัพย์สินตามข้อ 61 วรรคหนึ่ง ข้อ 62 วรรคหนึ่ง และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสาขาของสถาบันการเงินต่างประเทศรายนั้นเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ในกรณีที่กองทุนมีเงินฝากตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินงานของกองทุน มิให้นับมูลค่าของเงินฝากดังกล่าวรวมในอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง” ข้อ ๑๖ 16 ให้ยกเลิกความในข้อ 62 และข้อ 63 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 62 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ที่บุคคลใด เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สิน ของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (1) ตราสารแห่งทุนในประเทศที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตราสารแห่งทุนของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างดําเนินการให้เหตุแห่ง การเพิกถอนหมดไป (2) หุ้นที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ออกหุ้นดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจาย การถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหุ้นสามัญหรือ หุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (3) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศ หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ เฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (5) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (6) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นตราสารแห่งทุนต่างประเทศ หรือตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (7) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คู่สัญญามีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (8) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ตราสารแห่งทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ตราสารแห่งหนี้ตามวรรคหนึ่ง (3) มิให้หมายความรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ถูกจัดให้เป็นตราสารแห่งทุน หรือถูกจัดให้เป็น ตราสารแห่งหนี้ ตามข้อกําหนดในภาค 1 การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับมูลค่าของทรัพย์สินตามข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ที่บุคคลรายเดียวกันเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ 63 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากกรณีที่ กําหนดไว้ในข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 61/1 และข้อ 62 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกิน ร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (1) เมื่อคํานวณรวมทุกบุคคลที่เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญาแล้ว ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 69 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 69 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่บริษัทในกลุ่มกิจการใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการคํานวณตัวชี้วัด (benchmark) ของกองทุนนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินนั้นโดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินผลรวมของน้ําหนักของทรัพย์สินดังกล่าวในตัวชี้วัดและร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ แทนอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ 62 หรือข้อ 63 แล้วแต่กรณี ก็ได้” ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 87 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 87 ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 58 ข้อ 60 ข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ 62 และข้อ 63 วรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ รวมทั้งเงื่อนไขตามข้อ 88 ด้วย (1) ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวมีผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการจะคํานวณอัตราส่วนที่ผู้ออกทรัพย์สินหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาดังกล่าว หรือคํานวณอัตราส่วนผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ก็ได้ (2) ในกรณีที่ทรัพย์สินมีบุคคลมากกว่าหนึ่งรายเป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน บริษัทจัดการจะเลือกคํานวณอัตราส่วนที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือ ผู้ค้ําประกันรายใดรายหนึ่งก็ได้” ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกหมวด 3 หลักเกณฑ์อัตราส่วนเพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกัน และข้อ 92 ในภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 93 มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ62 ข้อ 63 ข้อ 74 ข้อ 75 และข้อ 90 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) อัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 61/1 หรือข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามหมวดนี้ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อกําหนดดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) ในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุน ส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหน่วยลงทุน (ก) มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (6) มาใช้บังคับกับการลงทุน หรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ หากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมที่ลงทุน ในต่างประเทศหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมที่ลงทุน ในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (ข) มิให้นําอัตราส่วนตามข้อ 74 ข้อ 75 และข้อ 90 มาใช้บังคับกับการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น แต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุน หรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (3) อัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ62 หรือข้อ 63 มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนตามหมวดนี้เป็นกองทุนรวมมีประกันหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้โดยไม่จํากัดอัตราส่วน เว้นแต่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีผู้ประกันของกองทุนนั้นเป็นผู้ออกหรือเป็นคู่สัญญา กรณีนี้ให้ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ 62 หรือข้อ 63 แล้วแต่กรณี” ข้อ ๒๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 100 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 100 อัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ 62 ข้อ 63 ข้อ 74 และข้อ 90 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 1 ของภาคนี้ ต่อสํานักงานได้” ข้อ ๒๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 106/1 และข้อ 106/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 106/1 มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 61 ข้อ 61/1 ข้อ 62 และข้อ 69 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อกําหนดดังกล่าวตามอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 106/2 และข้อ 106/3 ข้อ 106/2 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ 106/1 ได้ ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินตามข้อ 61 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) และข้อ 61/1 (2) ร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินตามข้อ 62 วรรคหนึ่ง (3) และ (7) (3) ร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน” ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามประเภทหรืออัตราส่วนในข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ ๒๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งหรือหนังสือเวียนเป็นอย่างอื่นตามข้อกําหนดซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,768
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.13 /2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฉ) และ (ช) ใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(ฉ) “กองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 2. กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศ (ช) “กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในทรัพย์สินที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ช) ใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงาคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “(ช) “หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า หน่วยลงทุนหรือตราสารดังต่อไปนี้ 1. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 2. ตราสารที่ออกโดยกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม 1.” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฌ) และ (ญ) ใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “(ฌ) “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ญ) “เจ้าของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของกิจการโครงสร้างพื้นฐานหรือที่มีสิทธิในการบริหารจัดการกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “(6/1) หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานตามส่วนที่ 13 ในหมวด 3” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “(5/1) หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ใน (1) หรือ (2) ของข้อ 45/3” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 13 หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐาน และข้อ 45/3 ในหมวด 3 ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน ของภาค 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 6)ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 ส่วน ๑๓ หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๕/๓ การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ต้องเป็นหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอขายหน่วยดังกล่าวต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป หรือที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี ด้วย (1) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) หน่วยดังกล่าวจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE)” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ในวรรคหนึ่งของข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “(9) หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานที่มีลักษณะดังนี้ (ก) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหน่วยลงทุนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับและเพิกถอนหน่วยลงทุน และการเปิดเผยสารสนเทศของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ข) ตราสารที่ออกโดยกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ก) ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่และวรรคห้าของข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ในกรณีที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานตามวรรคหนึ่ง (9)ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้นับมูลค่าหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว รวมในอัตราส่วนของบุคคลตามวรรคหนึ่งที่เป็นเจ้าของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (1) ผลประโยชน์ที่กองโครงสร้างพื้นฐานจะได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารกิจการโครงสร้างพื้นฐานโดยเจ้าของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของบุคคลดังกล่าว (2) หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองโครงสร้างพื้นฐานถูกถือโดยเจ้าของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของบุคคลดังกล่าว การพิจารณาบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยตามวรรคสี่ ให้พิจารณาตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินรวม” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 63 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 62 วรรคหนึ่ง (9) (ก)” ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 63 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ให้นําความในข้อ 62 วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับกับการนับรวมอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 67/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 67/1 การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ มิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนับมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมและหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 68 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ให้นําความในข้อ 62 วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับกับการนับรวมอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม” ข้อ ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 69 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ให้นําความในข้อ 62 วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับกับการนับรวมอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม” ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 74 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 75 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมทองคํา และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 75/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 75/1 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ โดยต้องมีมูลค่ารวมทุกกรณีไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 5(5) (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมทองคําตามข้อ 5(6) (3) หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 5(6/1) (4) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามข้อ 5(10) ซึ่งไม่มีข้อกําหนดให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวน (5) ทรัพย์สินที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาซึ่งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในผู้ออกหรือคู่สัญญาแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และทุกรายรวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามข้อ 63 (6) ทรัพย์สินอื่นที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เช่น ความเสี่ยง สภาพคล่อง การประเมินมูลค่า หรือการเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการสามารถควบคุมอัตราส่วนการนําเงินสะสมและเงินสมทบรายสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินในกรณีใดตามวรรคหนึ่งได้ตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอัตราส่วนนั้น” ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่ง ในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) อัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 61/1 หรือข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (9) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามหมวดนี้ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อกําหนดดังกล่าวที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน” ข้อ ๑๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ให้นําความในข้อ 62 วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับกับการนับรวมอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) ด้วย โดยอนุโลม” ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 16 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ในกรณีที่ความในข้อ 16 มีผลใช้บังคับแล้วตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง หากบริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ความในข้อ 16 มีผลใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนที่กําหนดตามข้อ 75/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ ทั้งนี้ หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นตราสารซึ่งครบกําหนดอายุหรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการคงทรัพย์สินไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,769
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 10 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23 /2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 10 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 16 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,770
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 32/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 11 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สน. 32/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 11 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 66 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 97 ข้อ 98 และข้อ 99 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนในภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคงทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ต่อไปได้ แต่ต้องดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมวายุภักษ์ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวให้เป็นไปตามอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารซึ่งครบกําหนดอายุหรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคงทรัพย์สินดังกล่าวไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลืออยู่เท่านั้น ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ----------------------------------- (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,771
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 12 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 12 ) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (ช) ใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 5/3 การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในประเทศหรือต่างประเทศที่มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพล่วงหน้าก่อนการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ในการขอความยินยอม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องอธิบายให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเข้าใจถึงลักษณะและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงก่อนขอรับความยินยอมด้วย ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนรวมต่างประเทศดังกล่าวต้องมีภาระผูกพันในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives exposure) ไม่เกินมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมต่างประเทศนั้นด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาได้เฉพาะเพื่อการลดความเสี่ยงเท่านั้น (ก) การเข้าเป็นคู่สัญญาในนามของกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว (ข) การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาเครดิตอนุพันธ์ในนามของกองทุน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ดัชนีที่ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือและทําหน้าที่ได้อย่างอิสระจากบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากปรากฏว่าสถาบันดังกล่าวมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย (ก) สถาบันนั้นเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจัดการตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ (ข) สถาบันนั้นมีบริษัทจัดการเป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 55 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 55 การคํานวณอัตราส่วนเพื่อการปฏิบัติตามข้อกําหนดในภาคนี้สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณแยกตามรายนโยบายการลงทุนแทนการคํานวณตามรายกองทุน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 58 ในกรณีที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่นายจ้างหรือกลุ่มกิจการของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ให้นับทรัพย์สินดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือหน่วยทรัสต์ไปลงทุนในทรัพย์สินของนายจ้างหรือกลุ่มกิจการของนายจ้างโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมดังกล่าว (ข) ทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานกําหนด (2) มิให้นับทรัพย์สินดังต่อไปนี้ รวมในอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 15(1) ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมนั้น คําว่า “กลุ่มกิจการ” ตามวรรคหนึ่ง ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 65 และให้พิจารณาความเป็นกลุ่มกิจการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 70 คําว่า “หน่วยทรัสต์” ตามวรรคสอง (1) ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 65 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 65 ในส่วนนี้ “กลุ่มกิจการ” หมายความว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยตามมาตรฐานการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดให้จัดทํางบการเงินรวม” ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 75/2 ข้อ 75/3 และข้อ 75/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 75/2 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมนั้น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวได้ โดยไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประเภทกองทุนนายจ้างเดียว ให้ลงทุนหรือมีไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) กรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย และมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้น ให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างรายดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการกองทุนรวมนั้นได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 75/3 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ โดยต้องมีมูลค่ารวมทุกกรณีไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อการลดความเสี่ยง (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมในประเทศหรือต่างประเทศที่มีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตาม (1) ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่มีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ให้นับรวมการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนรวมอื่นนั้นเป็นการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถควบคุมอัตราส่วนการนําเงินสะสมและเงินสมทบรายสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้ตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอัตราส่วนนั้น ข้อ 75/4 การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 75/3 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ให้ใช้มูลค่าตามขนาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (notional amount) ในการคํานวณมูลค่าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 75/3(1) (2) ให้ใช้แนวทางการคํานวณและการทอนสัดส่วนที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 75/3(2) แต่ทั้งนี้ หากไม่มีการกําหนดสัดส่วนของภาระผูกพันในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives exposure) ไว้อย่างชัดเจน ให้ใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมดังกล่าวในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน” ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 112/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 112/3 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมนั้น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยชอบ แต่ต่อมาการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวเกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 75/2 หากการเกินอัตราดังกล่าวมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้มาซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวเพิ่มเติม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะยังคงไว้ซึ่งหน่วยลงทุนนั้นต่อไปก็ได้ ในกรณีที่การเกินอัตราตามวรรคหนึ่ง เกิดจากการลดหรือเพิ่มจํานวนนายจ้างในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นจนเป็นเหตุให้นายจ้างรายใดรายหนึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายนั้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวต่อไปได้อีกหกเดือนนับแต่เดือนที่ปรากฏเหตุดังกล่าว” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 113 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 113 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 107 ถึงข้อ 112/3 และการเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้” ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามประเภทหรืออัตราส่วนในข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ทั้งนี้ หากได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนเท่าที่เหลืออยู่ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 1 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 เฉพาะในส่วนของการเพิ่มเติมข้อ 75/2 ข้อ 9 และข้อ 10 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,772
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 3/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 13 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สน. 3/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 13 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 12 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ ได้แก่ หุ้นหรือหน่วยลงทุนที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยบริษัทจัดการสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อนํามาประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนเกี่ยวกับตราสารดังกล่าวได้อย่างสม่ําเสมอ ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) (2) หุ้นของบริษัทที่จัดตั้งในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และหุ้นดังกล่าวมิได้มีลักษณะตาม (1) (3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ด้วย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (6) ของวรรคหนึ่ง ในข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ตราสารหรือหน่วยลงทุนต่างประเทศ ประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้ (ก) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11(1) และ (3) (ข) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (ค) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (ง) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 ------------------------------------ (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,773
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 5/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 การจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เฉพาะจากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินที่กําหนดไว้ในภาค 1 และภายใต้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนตามที่กําหนดไว้ในภาค 2 เว้นแต่ (1) เป็นกรณีที่อยู่ภายใต้บทเฉพาะกาลตามภาค 3 (2) เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือแสวงหาผลประโยชน์เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายใต้กรอบการลงทุนที่เป็นที่ยอมรับตาม Part II: the Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C: Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,774
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดในหมวด 2 และหมวด 2/1 ของภาค 1 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 1 และภายใต้หลักเกณฑ์ตามวรรคสอง บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนได้ต่อเมื่อเป็นการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 33/2553 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดในหมวด 2 และหมวด 2/1 ของภาค 1 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 1 และภายใต้หลักเกณฑ์ตามวรรคสอง บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนได้ต่อเมื่อเป็นการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (2) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนตามวรรคหนึ่งเป็นตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนต่างประเทศ ตราสารดังกล่าวต้องมีลักษณะเช่นเดียวกับตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวเป็นตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตราสารนั้นต้องมีลักษณะเช่นเดียวกับตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 61 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศ แต่ไม่รวมถึงตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน (2) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน แต่ไม่รวมถึงตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศหรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ เฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ แต่ไม่รวมถึง (ก) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชนิดที่มีการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ถือตราสารปลดหนี้ให้แก่ผู้ออกตราสาร (ข) ตราสารเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชนิดที่มีการกําหนดเงื่อนไขบังคับแปลงสภาพเป็นหุ้น ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่มิได้เป็นบริษัทจดทะเบียน” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (6) ในวรรคหนึ่งของข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ แต่ไม่รวมถึง 1. ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชนิดที่มีการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ถือตราสารปลดหนี้ให้แก่ผู้ออกตราสาร 2. ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชนิดที่มีการกําหนดเงื่อนไขบังคับแปลงสภาพเป็นหุ้น ที่ออกโดยสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งสถาบันการเงินดังกล่าวมิได้เป็นกิจการที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือมิได้เป็นกิจการที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE)” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) อัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 61/1 และข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (5) (6) (7) (8) และ (9) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามหมวดนี้ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อกําหนดดังกล่าว ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวที่บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนไม่รวมถึงตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน” ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4(1) ข้อ 18(2) ข้อ 19(2) ข้อ 61 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ข้อ 62 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (6) (ข) หรือข้อ 93 วรรคหนึ่ง (1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 -------------------------------------- (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,775
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 24/2558 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 16)
-ร่าง-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์แล้ว เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 ที่ สน. 24/2558 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดในหมวด 2 และหมวด 2/1 ของภาค 1 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 1” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศหรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ เฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (6) ของวรรคหนึ่งในข้อ 62 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ตราสารหรือหน่วยลงทุนต่างประเทศ ประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้ (ก) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11(1) และ (3) (ข) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 11(2) ที่เป็นหุ้นที่ซื้อขายใน ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion: GMS)ทั้งนี้ เฉพาะกรณีเป็นการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยเท่านั้น (ค) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (จ) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 73/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 73/1 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) อัตราส่วนตามข้อ 61 ข้อ 61/1 และข้อ 62 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (5) (6) (7) (8) และ (9) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามหมวดนี้ โดยบริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อกําหนดดังกล่าว ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคํานวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน” ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 แต่ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 18(2) ข้อ 19(2) หรือข้อ 61 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2557 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ 8 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 73/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 ----------------------------------- (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,776
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2558 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 17)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2558 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 3/2 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบใดตามประกาศนี้มาพร้อมกับคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ขอผ่อนผันหรือขอรับความเห็นชอบดังกล่าว สํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - 1. ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,777
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 64/2558 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 18)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 64/2558 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 18) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยประเทศเหล่านั้นต้องมีหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) ในกรณีที่บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 38(4)หรือข้อ 40 บริษัทจัดการอาจนับมูลค่าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวรวมในอัตราส่วนของการลงทุนในต่างประเทศตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งด้วยได้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,778
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 39/2561 เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 39/2561 เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรม อันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสามแห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศกระทรวงการคลัง” หมายความว่า ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ข้อ ๒ เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามข้อ 6 วรรคสามแห่งประกาศกระทรวงการคลัง สํานักงาน ก.ล.ต. จึงกําหนดให้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ ในการพิจารณาระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (1) ปัจจัยหลัก ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้น้ําหนักในการพิจารณามากกว่าข้อเท็จจริงอื่น ได้แก่ (ก) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น มีผลกระทบ ต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ตลาดเงิน หรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวมหรือต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น (ข) นัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ค) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม (2) ปัจจัยรอง ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงาน ก.ล.ต. ใช้เพื่อการเพิ่มหรือลดน้ําหนักในการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยรวม ได้แก่ (ก) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (ข) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (ค) ประวัติพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในเรื่องเดียวกันในอดีต (ง) การจงใจฝ่าฝืนหรือละเลยกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง (จ) พฤติกรรมอื่นในภายหลัง เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ ต่อการพิจารณาคดีหรือการดําเนินคดี หรือปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานในคดีหรือให้การเท็จ เป็นต้น ข้อ ๓ กําหนดระยะเวลาห้ามมิให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดังต่อไปนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ประเภทของลักษณะต้องห้าม | ระดับความร้ายแรงของพฤติกรรม | ระยะเวลาสูงสุดที่จะห้ามมิให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล | | ข้อ 5(3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสามปีห้าปี | | ข้อ 5(9) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสองปี สามปี | ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,779
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118 (1) และ มาตรา 139 (4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ ข้อ 4 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 18 (1) และ (2) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การบริการธุรกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (automatic teller machine) บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (telebanking) อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ไม่เกินวงเงินดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) โดยอนุโลม (17) นิติบุคคลตามที่สํานักงานอนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งนิติบุคคลนั้นต้องประกอบธุรกิจหลักสอดคล้องกับธุรกิจหลักที่กองทุนรวมต้องการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในนโยบายการลงทุน “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดตามที่กําหนดโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วลงทุนของกองทุนรวม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามภาค 1 และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้เป็นไปตามภาค 2 อื่นๆ ๑ การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป ส่วน ๑ ลักษณะและประเภทของกองทุนรวม ข้อ ๓ การยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อกองทุนรวมที่จะจัดตั้งนั้นมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (non-retail fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ข้อ ๔ กองทุนรวมที่ยื่นคําขอจัดตั้งตามข้อ 3 จะต้องเป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมทั่วไป อันได้แก่ (ก) กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (equity fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ หกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (fixed income fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สํานักงานกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ค) กองทุนรวมผสม (mixed fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดย สัดส่วนการลงทุนตามนโยบายดังกล่าวขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ หรือกําหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) กองทุนรวมพิเศษ อันได้แก่ (ก) กองทุนรวมหน่วยลงทุน (fund of funds) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) กองทุนรวมตลาดเงิน (money market fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวม ที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือ ทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สํานักงานกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ซึ่งมีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทําสัญญาเหล่านั้น (ค) กองทุนรวมมีประกัน (guaranteed fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าหากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ (ง) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (จ) กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายในการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สํานักงานกําหนดสําหรับกองทุนรวมทั่วไปตาม (1) (ฉ) กองทุนรวมดัชนี (index fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (ช) กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) ซึ่งหมายถึงกองทุนรวมที่มีนโยบายเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ (ซ) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (ฌ) กองทุนรวมวายุภักษ์ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (ญ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน (ฎ) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ฏ) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมตราสารแห่งทุนที่นําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนไม่ต่ํากว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๕ การตั้งชื่อกองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ จะต้องไม่มีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจผิดในลักษณะและประเภทของกองทุนรวมนั้น ส่วน ๒ การยื่นคําขอและการอนุมัติการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ข้อ ๖ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวม (Mutual Fund Approval System (MFAS)) ซึ่งบริษัท ต้องยื่นรายละเอียดของโครงการดังกล่าวผ่านระบบข้างต้นที่สํานักงานจัดไว้เพื่อการดังกล่าวด้วย (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ร่างข้อผูกพันต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการ โอนหน่วยลงทุน หากมีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหรือแก้ไขเอกสารตามข้อ 6 ให้ครบถ้วนถูกต้อง หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีกต่อไป เว้นแต่บริษัทจะแสดงให้เห็นได้ว่าการที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุสมควร ข้อ ๘ การยื่นคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน เมื่อสํานักงานรับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนตามข้อ 6 แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมดังกล่าวได้ ข้อ ๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัท สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหนังสือชี้ชวน โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพัน ร่างสัญญาแต่งตั้ง และร่างหนังสือชี้ชวนที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน ส่วน ๓ การเสนอขายหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐ ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกหรือก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุน และให้จัดส่งเอกสารดังกล่าวผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวน และการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ของสํานักงานด้วย และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทดําเนินการให้ข้อมูลที่จัดส่งนั้นมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันโดยไม่ชักช้าและให้กระทําผ่านระบบข้างต้นด้วย ข้อ ๑๑ ในการเสนอขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการแจกจ่ายข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและกองทุนรวมให้แก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ สําหรับข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดเตรียมไว้เพื่อให้ผู้ลงทุนตรวจดูหรือร้องขอได้ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา ข้อ ๑๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมและต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวน และ ในระหว่างระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรก บริษัทอาจเสนอขายหน่วยลงทุนเกินเงินทุนโครงการได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินทุนโครงการ หากบริษัทแสดงความประสงค์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม และให้ถือว่าจํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนเกินจํานวนดังกล่าวเป็นเงินทุนโครงการแทน ข้อ ๑๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน โดยใบจองซื้อและใบคําสั่งซื้อดังกล่าวต้องมีคําเตือนว่า“การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่ การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก และผู้ลงทุนควรซื้อขายหน่วยลงทุนกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” และสําหรับกองทุนรวมเปิดให้มีคําเตือนเพิ่มเติมว่า “และอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่ได้มีคําสั่งไว้” ข้อ ๑๔ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละราย ต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท (2) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน (3) ประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุนอย่างกว้างขวางและผ่านสื่อที่มีการกระจายในวงกว้าง เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ใบปลิว แผ่นพับ เป็นต้น (4) จัดให้มีระบบในการจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ซื้อหน่วยลงทุน (5) การกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน ต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุนอันทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือเป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตาม (1) (2) (3) และ (4) ด้วย โดยอนุโลม ส่วน ๔ การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ต่อเมื่อ (1) จัดให้มีกระบวนการที่เพียงพอในการตรวจสอบความมีตัวตนของผู้ลงทุนว่าเป็นบุคคลที่เข้าทํารายการซื้อขายหน่วยลงทุนจริง โดยบุคคลดังกล่าวได้รับทราบคําเตือนตาม (2) และข้อมูลตาม (3) ก่อนการทํารายการ (2) จัดให้มีคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนตามข้อ 13 และคําเตือนที่จําเป็นเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและกองทุนรวมผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะเอื้ออํานวยต่อการเผยแพร่ข้อมูลนั้น โดยอาจระบุให้ทราบถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวแทนการเผยแพร่ก็ได้ (4) จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลการซื้อขายหน่วยลงทุน (5) จัดให้มีระบบการเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนรวมทุกรายการไว้ และจัดให้มีระบบการเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวสํารองไว้ด้วย ข้อ ๑๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งวันเริ่มให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รายละเอียดของการให้บริการ และชื่อของบริการ พร้อมทั้งนําส่งเอกสารเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยในการทํางานของระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ลงทุน ให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มให้บริการดังกล่าว ส่วน ๕ หลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอน ข้อ ๑๗ ในการจัดให้มีหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้อง (1) ดําเนินการให้หลักฐานดังกล่าวแสดงข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทและบุคคลอื่นได้ (2) มีข้อมูลของบุคคลต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้ (3) ในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้ให้ชัดเจน ข้อ ๑๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแจ้งให้นายทะเบียนหน่วยลงทุนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ในกรณีที่นายทะเบียนหน่วยลงทุนทําการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอน ให้บริษัทดําเนินการให้นายทะเบียนหน่วยลงทุนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยไม่ชักช้า ส่วน ๖ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการ ข้อ ๑๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมปิดได้โดยต้องระบุไว้ให้ชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก แต่ต้องไม่เกินกว่าเงินทุนโครงการที่จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน และในการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน บริษัทจะต้องเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวในราคาที่กําหนดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมของวันที่เสนอขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดได้ตามที่ระบุไว้ในโครงการ และบริษัทจะเสนอขายหน่วยลงทุนตามจํานวนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการต่อสํานักงานแล้ว ส่วน ๗ การสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒๐ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรก หากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสามสิบห้าราย (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสิบราย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม (3) จําหน่ายหน่วยลงทุนได้มีมูลค่าน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายใน หนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้นตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน หากบริษัทไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลานั้นได้อันเนื่องจากความผิดพลาดของบริษัทเอง ให้บริษัทชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ข้อ ๒๑ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม หากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หากมีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อ 14 เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามวรรคหนึ่ง หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้วแต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน ข้อ ๒๒ ในส่วนนี้ “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้ “มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒๓ โครงการจัดการกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกันที่มีคุณสมบัติตามข้อ 24 อันได้แก่ (ก) ชื่อ และที่อยู่ของผู้ประกัน (ข) ประเภท และการประกอบธุรกิจของผู้ประกัน (ค) ฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของผู้ประกัน (ง) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน (จ) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน (2) รายละเอียดเกี่ยวกับการประกัน อันได้แก่ (ก) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) โดยต้องไม่มีเงื่อนไขความรับผิดและต้องสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมายไทย (ข) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) (ค) วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน ตามที่ประกันไว้ ทั้งนี้ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนกรณีกองทุนรวมเปิด หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันไถ่ถอนหน่วยลงทุนกรณีเลิกกองทุนรวม แล้วแต่กรณี (ง) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาการประกัน (จ) ผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการประกัน ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน (3) การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์ จะต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๒๔ ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ และนิติบุคคลดังกล่าวต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น (ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ค) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือ (ง) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ (2) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน การพิจารณาความสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองตาม (1) จะพิจารณาจากรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ยื่นต่อหน่วยงานที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๒๕ ในการระบุคําเตือนตามข้อ 13 บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องระบุคําเตือนที่ว่า “ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก” ไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ข้อ ๒๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของเงินลงทุนเริ่มแรก (2) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกอย่างชัดเจนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จํานวนเงินที่คุ้มครองและระยะเวลาการคุ้มครอง หมวด ๔ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๒๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารง เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ข้อ ๒๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ต่อเมื่อเป็นตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (2) ต้องเป็นกองทุนรวมที่กําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมที่แน่นอน หมวด ๖ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ข้อ ๒๙ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะต้องเป็นกองทุนรวมเปิด ข้อ ๓๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ถือหน่วยลงทุน ประเภทของเงินได้ที่นํามาซื้อ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงื่อนไขการลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (2) การชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับ การชําระภาษีเงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน การชําระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนกําหนด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ รายการตาม (1) และ (2) ให้มีรูปแบบและรายละเอียดตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๓๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เป็นปัจจุบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดส่งและดําเนินการให้ตัวแทนสนับสนุนจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้สนใจจะลงทุนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทอยู่แล้วในขณะนั้น บริษัทจะไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของเอกสารนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเคยได้รับ 2. ให้บริษัทจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน ข้อ ๓๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อจํากัดการโอนและการจํานําซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและในร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทว่าบริษัทหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนและการจํานําหน่วยลงทุน ข้อ ๓๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ปรากฏข้อจํากัดการโอนและการจํานําของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ในคําขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัท โดยบริษัทต้องแจ้งให้นายทะเบียนหน่วยลงทุนทราบถึงข้อจํากัดดังกล่าวด้วย ข้อ ๓๔ มิให้นําความในข้อ 20 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว หากปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสามสิบห้าราย ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นสิ้นสุดลง หมวด ๗ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ ๓๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่จะจัดตั้งต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเท่านั้น (2) กองทุนรวมที่จะจัดตั้งต้องเป็นกองทุนรวมเปิดซึ่งกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่เกินปีละสองครั้ง (3) อายุโครงการจัดการกองทุนรวมต้องไม่น้อยกว่าสิบปี (4) ในกรณีที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวเป็นกองทุนรวมดัชนี ดัชนีที่ใช้ต้องเป็นดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) หรือ ดัชนี SET 50 (SET 50 Index) ข้อ ๓๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ภายในหกเดือนนับแต่วันที่บริษัทได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนมาจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ข้อ ๓๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อความที่ให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าจะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นหรือไม่ ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนหรือจํานวนหน่วยลงทุนลดลงจนเป็นเหตุให้เลิกกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ ๓๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว โดยให้นําความในข้อ 30 และข้อ 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไม่ต้องมีรายการเกี่ยวกับประเภทของเงินได้ที่นํามาซื้อหน่วยลงทุน แต่ให้มีรายการเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นรายการเพิ่มเติมในเอกสารดังกล่าว ข้อ ๔๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับข้อจํากัดการโอนและ การจํานําหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว โดยนําความในข้อ 32 และข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔๑ มิให้นําความในข้อ 20 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของโครงการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาวแล้ว หากปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสามสิบห้าราย ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาวสิ้นสุดลง เมื่อมีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมแล้ว หากปรากฏว่าจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้ารายในวันทําการใด ๆ ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ ๔๒ ตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่สองที่จัดตั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเป็นต้นไป หากปรากฏว่ามูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทเป็นเวลาห้าวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน หรือลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบล้านบาทในวันทําการใด ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว การคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนในการคํานวณ อื่นๆ ๒ การเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๔๓ ในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าที่เป็นคณะบุคคล คณะบุคคลดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลไม่เกินสามสิบห้าราย ข้อ ๔๔ ในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําข้อมูลของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร (customer's profile) โดยมีรายละเอียดของข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจาก สํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการเสนอนโยบายการลงทุนให้แก่ลูกค้านั้น บริษัทได้พิจารณาจากข้อมูลเพียง เท่าที่ลูกค้าให้บริษัทเท่านั้น (2) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าซึ่งได้ประเมินจากวัตถุประสงค์ในการลงทุนของลูกค้า ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดการลงทุน และจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นไปตามนโยบายการลงทุนดังกล่าว ข้อ ๔๕ สัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต้องมีอายุสัญญาไม่น้อยกว่าสองปี ข้อ ๔๖ นโยบายการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท หรือกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นํานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 4(1) และ(2)(ก) ถึง (ช) มาใช้บังคับโดยอนุโลม กองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอาจกําหนดนโยบายการลงทุนโดยไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งก็ได้ หากบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับตัวชี้วัด (benchmark) ที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นนั้น ข้อ ๔๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,780
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 2/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฐ) ใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “(ฐ) กองทุนรวมสึนามิ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในหกจังหวัดภาคใต้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 8 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสึนามิของภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน ข้อ 42/1 และข้อ 42/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “หมวด 8 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสึนามิ ข้อ 42/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสึนามิ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่จะจัดตั้งต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น (2) การยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสึนามิต้องกระทําภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับ (3) ต้องระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมอย่างชัดเจนว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ลงทุนเพิ่มในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในหกจังหวัดภาคใต้ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสองปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม ข้อ 42/2 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกและนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนมาจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,781
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ ข้อ 4 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 18 (1) และ (6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ตัวแทนสนับสนุน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้ติดต่อผู้ลงทุน” และคําว่า “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทจดทะเบียน” และคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดังต่อไปนี้ ““ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ในกรณีของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้เป็นปัจจุบันทุกรอบระยะเวลาบัญชี และจัดส่งให้สํานักงานภายใน หกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ให้จัดส่งเอกสารดังกล่าวผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวน และการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ของสํานักงานด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 13 และส่วนที่ 4 การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน และข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 31 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เป็นปัจจุบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดส่งและดําเนินการให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้สนใจจะลงทุนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทอยู่แล้วในขณะนั้น บริษัทจะไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของเอกสารนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเคยได้รับ (2) ให้บริษัทจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 6/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ของภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน ข้อ 34/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ หมวด 6/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34/1 ในการจัดตั้งและการขายหน่วยลงทุนของกองทุนสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การจัดส่งหนังสือชี้ชวนที่เป็นปัจจุบันให้สํานักงานตามข้อ 10 2. เหตุของการสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามข้อ 20(3)” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 44 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดทําข้อมูลของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร (customer’s profile) โดยมีรายละเอียดของข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลตามที่สมาคมกําหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลดังกล่าวให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการเสนอนโยบายการลงทุนให้แก่ลูกค้านั้น บริษัทได้พิจารณาข้อมูลเพียงเท่าที่ลูกค้าให้บริษัทเท่านั้น” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 45 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 45 สัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีข้อความที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถปฏิเสธความรับผิดทางแพ่งอันเนื่องจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่กระทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญา (2) มีข้อความที่แจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ และการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) มีอายุสัญญาไม่น้อยกว่าสองปี ในกรณีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ 9 ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 46 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและลูกค้าร่วมกันตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด” ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,782
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 20/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 3 ข้อ 6 ข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 4 ข้อ 18(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฑ) ใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 “(ฑ) กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อยหนึ่งรายที่พร้อมจะซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 13 ในการขายหน่วยลงทุน ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน หรือจะใช้วิธีหักกลบลบหนี้กันมิได้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการชําระด้วยตราสารที่เทียบเท่าเงินสด (near-cash) (2) เป็นการชําระด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับมาจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหนึ่งเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ (3) มีข้อกําหนดตามประกาศนี้ให้กระทําได้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 9 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ ของภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน ข้อ 42/3 ข้อ 42/4 และข้อ 42/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ หมวด 9 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 42/3 กองทุนรวมอีทีเอฟจะต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามความเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ หรือความเคลื่อนไหวของราคากลุ่มหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่ระบุในโครงการจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ในกรณีของดัชนีราคาหลักทรัพย์ต้องเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานด้วย ข้อ 42/4 ในการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ ต่อเมื่อได้ระบุกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยให้กระทําได้ในการขายหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟทั่วไป ให้กระทําได้ภายหลังจากการขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (2) ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) ให้กระทําได้ตั้งแต่การขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ข้อ 42/5 มิให้นําความในข้อ 14(1) และข้อ 20(1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,783
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141(2) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 4(2) ข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละราย ต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท (2) ไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หรือ (ข) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร (3) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน (4) ประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุนอย่างกว้างขวางเพื่อให้มีการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนอย่างแพร่หลาย (5) จัดให้มีระบบในการจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ซื้อหน่วยลงทุน (6) การกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน ต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุนอันทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือเป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) ด้วยโดยอนุโลม” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 14/1 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน (1) บิดา มารดาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) คู่สมรส (3) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี (4) นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้นหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี (5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1)(2)(3) หรือ (4)” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “(4) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14(2) ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 และข้อ 21/4 ในส่วนที่ 7 การสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป แห่งภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 21/1 สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้มาเพิ่มเติม (2) เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์ (3) เป็นการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลตามข้อ 14(2)(ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทรู้หรือควรรู้ถึงเหตุตาม (1) ข้อ 21/2 ในกรณีที่ปรากฏพฤติการณ์ว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการใด ๆ หรือบุคคลใดถือหน่วยลงทุนโดยรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่น อันเป็นการปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงในการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ประสงค์จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ข้อ 21/3 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทําการชี้แจง แสดงเหตุผล ข้อเท็จจริง และหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (2) ในกรณีที่ไม่มีการชี้แจงตาม (1) หรือชี้แจงแล้วแต่ไม่อาจพิสูจน์หรือทําให้เชื่อได้ว่าการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําการแก้ไข หรือดําเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามที่สํานักงานสั่งตาม (2) หรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถทําให้กองทุนรวมนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ข้อ 21/4 เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 21/1 ข้อ 21/2 หรือข้อ 21/3 หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 และข้อ 21/4 ในส่วนที่ 7 การสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป แห่งภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 21/1 สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้มาเพิ่มเติม (2) เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์ (3) เป็นการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลตามข้อ 14(2)(ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทรู้หรือควรรู้ถึงเหตุตาม (1) ข้อ 21/2 ในกรณีที่ปรากฏพฤติการณ์ว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการใด ๆ หรือบุคคลใดถือหน่วยลงทุนโดยรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่น อันเป็นการปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงในการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ประสงค์จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ข้อ 21/3 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทําการชี้แจง แสดงเหตุผล ข้อเท็จจริง และหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (2) ในกรณีที่ไม่มีการชี้แจงตาม (1) หรือชี้แจงแล้วแต่ไม่อาจพิสูจน์หรือทําให้เชื่อได้ว่าการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําการแก้ไข หรือดําเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามที่สํานักงานสั่งตาม (2) หรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถทําให้กองทุนรวมนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ข้อ 21/4 เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 21/1 ข้อ 21/2 หรือข้อ 21/3 หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 42/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 42/5 มิให้นําความในข้อกําหนดดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ (1) ข้อ 14(1) และข้อ 20(1) (2) ข้อ 14(2) ข้อ 20(4) และข้อ 21/1 ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด” ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้มีอํานาจลงนาม - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป(retail fund) เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันเพียงรายใดรายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่กองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) เป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนรายย่อยอย่างแท้จริง โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้มีวิชาชีพในการจัดการลงทุนเพื่อประโยชน์โดยรวมของผู้ลงทุนรายย่อยเหล่านั้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,784
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 1/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบกับข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 4(2) ข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 “ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเปิดที่มีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมโดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําและจัดส่งหนังสือชี้ชวน (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ 1. กองทุนรวมวายุภักษ์ 2. กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือ 3. กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินหกเดือน แต่ทั้งนี้ การจัดสรรหน่วยลงทุนให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (ค) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น (ง) บุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของข้อ 21/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 14(2)(ก) (3) เป็นการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลตามข้อ 14(2)(ข) (ค) หรือ (ง)” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 21/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21/3 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการจัดตั้ง จัดการ หรือใช้กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทําการชี้แจง แสดงเหตุผล ข้อเท็จจริง และหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (2) ในกรณีที่ไม่มีการชี้แจงตาม (1) หรือชี้แจงแล้วแต่ไม่อาจพิสูจน์หรือทําให้เชื่อได้ว่าการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําการแก้ไข หรือดําเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามที่สํานักงานสั่งตาม (2) หรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถทําให้กองทุนรวมนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ประกัน” ในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 25 ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันต้องมิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีประกันดังกล่าว” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 34/2 ของหมวด 6/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 “ข้อ 34/2 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันเหตุของการสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามข้อ 20(1) และ (2) หรือการดําเนินการตามข้อ 20 วรรคสอง ต่อสํานักงานได้” ข้อ ๘ ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 45 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 “(4) มีข้อความที่ให้ลูกค้ามีสิทธิเลิกสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลงนามในสัญญาโดยไม่ต้องแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้าและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่บริษัทเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการทําสัญญากับลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ” ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การผ่อนผันการจัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิดให้เป็นปัจจุบันทุกรอบระยะเวลาบัญชี 2. การผ่อนผันการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 3. การดําเนินการของสํานักงานเมื่อมีการใช้กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทดังกล่าว 4. การกําหนดลักษณะของผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 5. การเพิ่มเติมเหตุที่กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศจะขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์แห่งประกาศ ที่ สน. 23/2547 และ 6. การกําหนดลักษณะของสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลเพิ่มเติม
1,785
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และข้อ 26 ของภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ข้อ ๒๕/๑ ในหมวดนี้ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่มีต่อตัวตราสาร ต่อผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือต่อผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี “เงินต้น” หมายความว่า เงินที่ผู้ลงทุนแต่ละรายชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวมมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง ทั้งนี้ จํานวนเงินดังกล่าวไม่รวมค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “ประกาศ ที่ สน. 28/2549” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๒๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องกําหนดประเภททรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งจะให้เกิดความคุ้มครองเงินต้นทั้งจํานวน (ก) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) แห่งประกาศ ที่ สน. 28/2549 (ข) ตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 14(2) หรือข้อ 17(1) แห่งประกาศ ที่ สน. 28/2549 ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศที่สํานักงานกําหนดเพิ่มเติม (ค) ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือบัตรเงินฝาก ที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน (ง) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก (จ) ทรัพย์สินอื่นที่มีความเสี่ยงต่ํา หรือมีความเสี่ยงเทียบเคียงได้กับความเสี่ยงในทรัพย์สินตาม (ก) ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ต้องกําหนดอัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ําของการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (1) และแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดนั้นสามารถคุ้มครองเงินต้นทั้งจํานวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (3) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินต้นอย่างชัดเจนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จํานวนเงินต้นที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง และกลไกการคุ้มครอง” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 46 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 46 ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท หรือกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นํานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 4(1) และ (2)(ก) ถึง (ช) และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากกองทุนที่กําหนดนโยบายคุ้มครองเงินต้น แต่ละกองทุนมีขนาดของกองทุนและเงื่อนไขการคุ้มครองเงินต้นที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินต้นของผู้ลงทุนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของแต่ละกองทุน จึงจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขให้บริษัทจัดการสามารถกําหนดอัตราขั้นต่ําของการลงทุนในทรัพย์สินที่จะก่อให้เกิดการคุ้มครองเงินต้นได้เอง
1,786
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ฑ) ของ (2) ในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ฑ) กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (market maker) อย่างน้อยหนึ่งราย เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง (organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 42/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 42/4 ในการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องและผู้ลงทุนรายใหญ่ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ ต่อเมื่อได้ระบุกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนรวมอีทีเอฟในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟอย่างชัดเจน (2) กําหนดข้อผ่อนผันเกี่ยวกับจํานวนเงินขั้นต่ําที่ผู้ลงทุนรายใหญ่สามารถซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการได้ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นตามสภาพของดัชนีที่อ้างอิง และ (3) เพื่อให้การชําระค่าซื้อหรือการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น (pay in kind) สามารถกระทําได้ทั้งก่อนและหลังการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
1,787
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสองโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 และข้อ 6/2 ของส่วนที่ 2 การยื่นคําขอและการอนุมัติการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 6/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแบ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมออกเป็นหลายชนิดได้ โดยบริษัทต้องกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนชนิดเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ บริษัทต้องแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น 1. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน 2. ระยะเวลาการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน 3. สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล 4. อัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน 5. กรณีอื่นใดตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเป็นสําคัญ โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้ของการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามที่ขอ และผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะได้รับ ข้อ 6/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามข้อ 6/1 ไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. ชนิดหน่วยลงทุนที่แบ่ง 2. สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งวิธีการคํานวณและการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนโดยละเอียด (ถ้ามี) (3) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องต่างๆ ในแต่ละชนิดหน่วยลงทุน (4) ข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนระหว่างหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (5) การจัดสรรรายได้ รายจ่าย รวมทั้งผลกําไรและขาดทุน ที่เกิดจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี) 1. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) โดยการกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย 2. วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งสิทธิและส่วนได้เสียของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ถ้ามี)” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 “ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1)(3)หรือ(4) ต่อสํานักงานได้ เพื่อให้การเสนอขายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุน และการผ่อนผันดังกล่าวให้มีผลต่อการดําเนินการตามวรรคสองด้วยโดยอนุโลม” ข้อ 3 กองทุนรวมใดที่จดทะเบียนจัดตั้งก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะให้กองทุนรวมดังกล่าวแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องขออนุญาตจากสํานักงาน และจะได้รับอนุญาตต่อเมื่อการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดดังกล่าวเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนได้ โดยกําหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและการเสนอขายหน่วยลงทุนให้เหมาะสมกับการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน
1,788
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 3/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกอบกับข้อ 7 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” และ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” ก่อนบทนิยามคําว่า “เงินทุนโครงการ” แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ““กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบายโดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 46 ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นํานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 4(1) และ (2)(ก) ถึง (ช) และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้นํานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวมาใช้กับแต่ละนโยบายการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย กองทุนสํารองเลี้ยงชีพอาจกําหนดนโยบายการลงทุนโดยไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งก็ได้ หากบริษัทสามารถเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับตัวชี้วัด (benchmark) ที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นนั้น การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและลูกค้าร่วมกันตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 กําหนดให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีหลายนโยบายการลงทุนได้ จึงต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนและการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนสําหรับแต่ละนโยบายการลงทุน จึงมีความจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,789
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13 /2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) และข้อ 18(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและ จัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 18 (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 4/1 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อเปลี่ยนแปลงประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุน ตามข้อ 4(1)(ก) หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุนตามข้อ 4(2)(ก) ในระหว่างรอบปีบัญชีที่กําหนดไว้สําหรับ กองทุนรวมนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนําการลงทุนและระยะเวลาในช่วงก่อนมีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือนโยบายการลงทุน มาคํานวณเป็นส่วนหนึ่งในการหาอัตราเฉลี่ยในรอบปีบัญชีสําหรับ กองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุนดังกล่าวข้างต้น” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ข้อ 7/2 และข้อ 7/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 7/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีลักษณะเดียวกันหลายกองทุนในช่วงหนึ่งปีใด ๆ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอ โดยให้ยื่นเอกสารตาม (1) ถึง (4) ของข้อ 6 มาพร้อมกับคําขอดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะยังไม่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ก็ได้ (1) ชื่อของโครงการจัดการกองทุนรวม (2) จํานวนเงินทุนของโครงการจัดการกองทุนรวม (3) จํานวนหน่วยลงทุน (4) ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สอบบัญชี นายทะเบียน ที่ปรึกษากองทุน และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (5) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน และกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นข้อมูลตามรายการดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจระบุข้อมูลดังกล่าวเป็นแบบทางเลือกหรือระบุเป็นช่วงของจํานวนหรือเวลาไว้ในเอกสารตาม (1) ถึง (4) ของข้อ 6 ก็ได้ (1) ประเภทและอายุของโครงการจัดการกองทุนรวม (2) มูลค่าขั้นต่ําของการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (3) วัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวม ประเภทและอัตราส่วนของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ที่จะลงทุนหรือมีไว้ (4) วิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอสําหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) ด้วย ให้แยกการยื่นคําขอนั้นออกจากคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอสําหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นอื่น ข้อ 7/2 สํานักงานจะพิจารณาข้อมูลในคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมและเอกสารประกอบคําขอที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 7/1 หากคําขอและข้อมูลตามคําขอดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาในเบื้องต้นให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ (1) เป็นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี (2) ข้อมูลตามคําขอเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม และไม่มีข้อมูลที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้อ 7/3 สํานักงานจะอนุมัติให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งกองทุนรวมตามที่ได้ยื่นคําขอตามข้อ 7/1 ในแต่ละกองทุนรวมต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นเอกสารที่แสดงข้อมูลในรายละเอียดที่ชัดเจนของรายการตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) และรายการตามวรรคสอง (1) ถึง (4) ของ ข้อ 7/1 สําหรับกองทุนรวมแต่ละกองทุนภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นตามข้อ 7/2 แล้ว โดยให้ถือว่าวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนดังกล่าวสําหรับกองทุนรวมใด เป็นวันที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎเกณฑ์อันทําให้ข้อมูลที่สํานักงานได้แจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นตามข้อ 7/2 ขัดหรือแย้งหรือไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น หากบริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการตามวรรคหนึ่งสําหรับกองทุนรวมใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นก่อนการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง และภายหลังจากที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นสําหรับข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ทราบแล้วบริษัทจัดการ กองทุนรวมจึงจะดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 12/1 ในระหว่างระยะเวลาก่อนปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หากบริษัทจัดการประสงค์จะยกเลิกการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการสามารถยุติการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ ให้บริษัทจัดการรายงานให้สํานักงานทราบการยุติการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ยุติการขายหน่วยลงทุนนั้น และให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลงในวันที่แจ้งให้สํานักงานทราบ ให้บริษัทจัดการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนตามสัดส่วนของเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามวรรคสอง และหากบริษัทไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้อันเนื่องจากความผิดของบริษัทเอง ให้บริษัทชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “ข้อ 27/1 ในกรณีของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวต่อประชาชนได้ต่อเมื่อกองทุนรวมนั้นได้รับการจัดสรรวงเงินลงทุนต่างประเทศแล้ว” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว ไม่เกินหนึ่งปี ซึ่งจะทําให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถวางแผนการเสนอขายหน่วยลงทุนและการจัดตั้ง กองทุนรวมประเภทดังกล่าวได้สะดวกขึ้น (2) เพื่อให้กองทุนสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้จริงตามที่นโยบายการลงทุนกําหนดไว้ (3) เพื่อให้กองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการจากสํานักงาน สามารถยุติการเสนอขายหน่วยลงทุนได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้บริษัทจัดการไม่สามารถจัดตั้งกองทุนรวมได้หรือไม่สามารถขายหน่วยลงทุนได้ และ (4) ยกเว้นการดํารงสัดส่วนการลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีของกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุน สําหรับในรอบปีบัญชีแรกที่มี การเปลี่ยนประเภทหรือนโยบายการลงทุน
1,790
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ฏ) ของ (2) ในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ฏ) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมตราสารแห่งทุนที่นําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ไม่ต่ํากว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม 1. หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน หรือ 2. ตราสารแห่งทุนซึ่งผลตอบแทนของตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับผลตอบแทนของหุ้นหรือกลุ่มหุ้นของบริษัทจดทะเบียน” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดประเภททรัพย์สินสําหรับการลงทุนเพิ่มเติม และยกเลิกกําหนดระยะเวลาในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน สําหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
1,791
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2551 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 13) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเปิดที่มีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมโดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําและจัดส่งหนังสือชี้ชวน (2) กองทุนรวมเปิดที่มีการขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาไว้แน่นอน (auto redemption) (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 34/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2548 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 34/1 ในการจัดตั้งและการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการดําเนินการจัดส่งหนังสือชี้ชวนที่เป็นปัจจุบันให้สํานักงานตามข้อ 10” ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 42 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทจัดการได้ใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสมเมื่อเทียบกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าควรจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่มีมูลค่าน้อยอยู่ต่อไปหรือไม่ และเพิ่มเติมข้อยกเว้นเกี่ยวกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนให้เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมเปิด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,792
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความดังต่อไปนี้ (1) มาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (2) ข้อ 4 ข้อ 7 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน.27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (3) ข้อ 5 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 19(1) (2) และ (6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ) (ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฐ) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ฒ) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่า ร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม (ด) นิติบุคคลตามที่สํานักงานอนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งนิติบุคคลนั้นต้องประกอบธุรกิจหลักสอดคล้องกับธุรกิจหลักที่กองทุนรวมต้องการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในนโยบายการลงทุน (3) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดตามที่กําหนดโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (4) “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน (5) “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ไม่เกินวงเงินดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (6) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (7) “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม (8) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (9) “กองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นโครงการแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (10) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบายโดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้ (11) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว (12) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย ตอน ๓ การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามภาค 1 และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้เป็นไปตามภาค 2 อื่นๆ ๑ การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ ลักษณะและประเภทของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ การยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อกองทุนรวมที่จะจัดตั้งนั้น มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ข้อ ๕ กองทุนรวมที่ยื่นคําขอจัดตั้งตามข้อ 4 จะต้องเป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมทั่วไป อันได้แก่ (ก) กองทุนรวมตราสารแห่งทุน ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือ การหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สํานักงานกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนให้กองทุนรวมประเภทนี้ลงทุนได้ (ค) กองทุนรวมผสม ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยสัดส่วนการลงทุนตามนโยบายดังกล่าวขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ หรือกําหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) กองทุนรวมพิเศษ อันได้แก่ (ก) กองทุนรวมหน่วยลงทุน ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) กองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สํานักงานกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนให้กองทุนรวมประเภทนี้ลงทุนได้ ซึ่งมีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทําสัญญาเหล่านั้น (ค) กองทุนรวมมีประกัน ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าหากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ (ง) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (จ) กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งหมายถึงกองทุนรวมที่มีนโยบายในการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สํานักงานกําหนดสําหรับกองทุนรวมทั่วไปตาม (1) (ฉ) กองทุนรวมดัชนี ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (ช) กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ (ซ) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (ฌ) กองทุนรวมวายุภักษ์ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (ญ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน (ฎ) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ฏ) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมตราสารแห่งทุนที่นําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังต่อไปนี้ไม่ต่ํากว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม 1. หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน หรือ 2. ตราสารแห่งทุนซึ่งผลตอบแทนของตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับผลตอบแทนของหุ้นหรือกลุ่มหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (ฐ) กองทุนรวมสึนามิ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในหกจังหวัดภาคใต้ (ฑ) กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมได้จัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างน้อยหนึ่งราย เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรองสะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี หรือกลุ่มหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี (ฒ) กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มุ่งลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรมเพียงบางหมวด โดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๖ ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อเปลี่ยนแปลงประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุนตามข้อ 5(1) (ก) หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุนตามข้อ 5(2) (ก) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่กําหนดไว้สําหรับกองทุนรวมนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนําการลงทุนและระยะเวลาในช่วงก่อนมีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือนโยบายการลงทุน มาคํานวณเป็นส่วนหนึ่งในการหาอัตราเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีสําหรับกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุนดังกล่าวข้างต้น ข้อ ๗ การตั้งชื่อกองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ จะต้องไม่มีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจผิดในลักษณะและประเภทของกองทุนรวมนั้น ส่วน ๒ การยื่นคําขอและการอนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวม (Mutual Fund Approval System (MFAS)) ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องยื่นรายละเอียดของโครงการดังกล่าวผ่านระบบข้างต้นที่สํานักงานจัดไว้เพื่อการดังกล่าวด้วย (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ร่างข้อผูกพันต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุน หากมีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแบ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมออกเป็นหลายชนิดได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนชนิดเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ระยะเวลาการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (3) สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล (4) อัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน (5) กรณีอื่นใดตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเป็นสําคัญ โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้ของการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามที่ขอ และผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะได้รับ ข้อ ๑๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามข้อ 9 ไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ชนิดหน่วยลงทุนที่แบ่ง (2) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งวิธีการคํานวณและการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนโดยละเอียด (ถ้ามี) (3) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องต่างๆ ในแต่ละชนิดหน่วยลงทุน (4) ข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนระหว่างหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (5) การจัดสรรรายได้ รายจ่าย รวมทั้งผลกําไรและขาดทุน ที่เกิดจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี) (6) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) โดยการกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย (7) วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งสิทธิและส่วนได้เสียของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ถ้ามี) ข้อ ๑๑ ในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหรือแก้ไขเอกสารตามข้อ 8 ให้ครบถ้วนถูกต้อง หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีกต่อไป เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแสดงให้เห็นได้ว่าการที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุสมควร ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีลักษณะเดียวกันหลายกองทุนในช่วงหนึ่งปีใด ๆ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอ โดยให้ยื่นเอกสารตามข้อ 8 มาพร้อมกับคําขอดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะยังไม่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ก็ได้ (1) ชื่อของโครงการจัดการกองทุนรวม (2) จํานวนเงินทุนของโครงการจัดการกองทุนรวม (3) จํานวนหน่วยลงทุน (4) ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สอบบัญชี นายทะเบียน ที่ปรึกษากองทุน และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (5) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน และกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นข้อมูลตามรายการดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจระบุข้อมูลดังกล่าวเป็นแบบทางเลือกหรือระบุเป็นช่วงของจํานวนหรือเวลาไว้ในเอกสารตามข้อ 8 ก็ได้ (1) ประเภทและอายุของโครงการจัดการกองทุนรวม (2) มูลค่าขั้นต่ําของการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (3) วัตถุประสงค์ของโครงการจัดการกองทุนรวม ประเภทและอัตราส่วนของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ที่จะลงทุนหรือมีไว้ (4) วิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอสําหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศด้วย ให้แยกการยื่นคําขอนั้นออกจากคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอสําหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นอื่น ข้อ ๑๓ สํานักงานจะพิจารณาข้อมูลในคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมและเอกสารประกอบคําขอที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 12 หากคําขอและข้อมูลตามคําขอดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาในเบื้องต้นให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ (1) เป็นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี (2) ข้อมูลตามคําขอเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม และไม่มีข้อมูลที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้อ ๑๔ สํานักงานจะอนุมัติให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งกองทุนรวมตามที่ได้ยื่นคําขอตามข้อ 12 ในแต่ละกองทุนรวมต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นเอกสารที่แสดงข้อมูลในรายละเอียดที่ชัดเจนของรายการตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) และวรรคสอง (1) ถึง (4) สําหรับกองทุนรวมแต่ละกองทุนภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้น ตามข้อ 13 แล้ว โดยให้ถือว่าวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนดังกล่าวสําหรับกองทุนรวมใด เป็นวันที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎเกณฑ์อันทําให้ข้อมูลที่สํานักงานได้แจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นตามข้อ 13 ขัดหรือแย้งหรือไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นหากบริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการตามวรรคหนึ่งสําหรับกองทุนรวมใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นก่อนการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง และภายหลังจากที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นสําหรับข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ทราบแล้วบริษัทจัดการกองทุนรวมจึงจะดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ข้อ ๑๕ การยื่นคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน เมื่อสํานักงานรับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนตามข้อ 8 แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมดังกล่าวได้ ข้อ ๑๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพัน ร่างสัญญาแต่งตั้ง และร่างหนังสือชี้ชวนที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน ส่วน ๓ การเสนอขายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกหรือก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุน และให้จัดส่งเอกสารดังกล่าวผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวน และการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ของสํานักงานด้วย และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้ข้อมูลที่จัดส่งนั้นมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันโดยไม่ชักช้าและให้กระทําผ่านระบบข้างต้นด้วย ข้อ ๑๘ ในกรณีของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้เป็นปัจจุบันทุกรอบระยะเวลาบัญชี และจัดส่งให้สํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ให้จัดส่งเอกสารดังกล่าวผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวน และการรายงานของกองทุนรวมของสํานักงานด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเปิดที่มีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมโดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําและจัดส่งหนังสือชี้ชวน (2) กองทุนรวมเปิดที่มีการขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาไว้แน่นอน (auto redemption) (3) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ ๑๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมและต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวน และในระหว่างระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเสนอขายหน่วยลงทุนเกินเงินทุนโครงการได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินทุนโครงการ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงความประสงค์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม และให้ถือว่าจํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนเกินจํานวนดังกล่าวเป็นเงินทุนโครงการแทน ข้อ ๒๐ ในระหว่างระยะเวลาก่อนปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะยกเลิกการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถยุติการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานให้สํานักงานทราบการยุติการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ยุติการขายหน่วยลงทุนนั้น และให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลงในวันที่แจ้งให้สํานักงานทราบ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนตามสัดส่วนของเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามวรรคสอง และหากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้อันเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน ข้อ ๒๑ ในการขายหน่วยลงทุน ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน หรือจะใช้วิธีหักกลบลบหนี้กันมิได้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการชําระด้วยตราสารที่เทียบเท่าเงินสด (2) เป็นการชําระด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับมาจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหนึ่งเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือ (3) มีข้อกําหนดตามประกาศนี้ให้กระทําได้ ข้อ ๒๒ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละราย ต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท (2) ไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. กองทุนรวมวายุภักษ์ 2. กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ 3. กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินหกเดือน แต่ทั้งนี้ การจัดสรรหน่วยลงทุนให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการกองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (ค) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น (ง) บุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร (3) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน (4) ประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุนอย่างกว้างขวางเพื่อให้มีการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนอย่างแพร่หลาย (5) จัดให้มีระบบในการจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ซื้อหน่วยลงทุน (6) การกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน ต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุนอันทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือเป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) และ (5) ด้วยโดยอนุโลม ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (3) หรือ (4) ต่อสํานักงานได้ เพื่อให้การเสนอขายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุน และการผ่อนผันดังกล่าวให้มีผลต่อการดําเนินการตามวรรคสองด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน (1) บิดา มารดาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) คู่สมรส (3) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี (4) นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้น เกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้นหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี (5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ส่วน ๔ หลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๔ ในการจัดให้มีหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้หลักฐานดังกล่าวแสดงข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ (2) มีข้อมูลของบุคคลต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้ (3) ในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้ให้ชัดเจน ข้อ ๒๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแจ้งให้นายทะเบียนหน่วยลงทุนทราบถึงข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ในกรณีที่นายทะเบียนหน่วยลงทุนทําการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจํากัดการโอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้นายทะเบียนหน่วยลงทุนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยไม่ชักช้า ส่วน ๕ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมปิดได้โดยต้องระบุไว้ให้ชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแต่ต้องไม่เกินกว่าเงินทุนโครงการที่จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน และในการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวในราคาที่กําหนดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมของวันที่เสนอขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดได้ตามที่ระบุไว้ในโครงการ ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนตามจํานวนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการต่อสํานักงานแล้ว ส่วน ๖ การสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๗ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรกหากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสามสิบห้าราย (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสิบราย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม (3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้นตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลานั้นได้อันเนื่องจากความผิดพลาดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน ข้อ ๒๘ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม หากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หากมีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อ 22 เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามวรรคหนึ่ง หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้วแต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที ข้อ ๒๙ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นถือหน่วยลงทุนเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้มาเพิ่มเติม (2) เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ก) (3) เป็นการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุตามวรรคหนึ่ง (1) ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏพฤติการณ์ว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการใด ๆ หรือบุคคลใดถือหน่วยลงทุนโดยรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่น อันเป็นการปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงในการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ประสงค์จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปสํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการจัดตั้ง จัดการ หรือใช้กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทําการชี้แจง แสดงเหตุผล ข้อเท็จจริง และหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (2) ในกรณีที่ไม่มีการชี้แจงตาม (1) หรือชี้แจงแล้วแต่ไม่อาจพิสูจน์หรือทําให้เชื่อได้ว่าการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําการแก้ไข หรือดําเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามที่สํานักงานสั่งตาม (2) หรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถทําให้กองทุนรวมนั้นเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ข้อ ๓๒ เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 29 ข้อ 30 หรือข้อ 31 หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในข้อ 27 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๓ ในส่วนนี้ “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้ “มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓๔ โครงการจัดการกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกันที่มีคุณสมบัติตามข้อ 35 อันได้แก่ (ก) ชื่อ และที่อยู่ของผู้ประกัน (ข) ประเภท และการประกอบธุรกิจของผู้ประกัน (ค) ฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของผู้ประกัน (ง) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน (จ) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน (2) รายละเอียดเกี่ยวกับการประกัน อันได้แก่ (ก) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) โดยต้องไม่มีเงื่อนไขความรับผิดและต้องสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมายไทย (ข) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) (ค) วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทนตามที่ประกันไว้ ทั้งนี้ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกรณีที่มีการเลิกกองทุนรวม แล้วแต่กรณี (ง) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาการประกัน (จ) ผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน (3) การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์ จะต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๓๕ ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ และนิติบุคคลดังกล่าวต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น (ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ค) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ (ง) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน การพิจารณาความสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองตามวรรคหนึ่ง (1) จะพิจารณาจากรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ยื่นต่อหน่วยงานที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๓๖ ผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกันต้องมิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีประกันดังกล่าว หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๗ ในหมวดนี้ (1) “เงินต้น” หมายความว่า เงินที่ผู้ลงทุนแต่ละรายชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวมมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง ทั้งนี้ จํานวนเงินดังกล่าวไม่รวมค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน (2) “อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (3) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่มีต่อตัวตราสาร ต่อผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือต่อผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี (4) “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (5) “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (6) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ข้อ ๓๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องกําหนดประเภททรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งจะให้เกิดความคุ้มครองเงินต้นทั้งจํานวน (ก) ตราสารภาครัฐไทยตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ข) ตราสารภาครัฐต่างประเทศตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศที่สํานักงานกําหนดเพิ่มเติม (ค) ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือบัตรเงินฝาก ที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน (ง) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก (จ) ทรัพย์สินอื่นที่มีความเสี่ยงต่ํา หรือมีความเสี่ยงเทียบเคียงได้กับความเสี่ยงในทรัพย์สินตาม (ก) ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ต้องกําหนดอัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ําของการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (1) และแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดนั้นสามารถคุ้มครองเงินต้นทั้งจํานวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (3) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินต้นอย่างชัดเจนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จํานวนเงินต้นที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง และกลไกการคุ้มครอง หมวด ๔ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตอน ๔๐ ในกรณีของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวต่อประชาชนได้ ต่อเมื่อกองทุนรวมนั้นได้รับการจัดสรรวงเงินลงทุนต่างประเทศแล้ว หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหา การดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (2) ต้องเป็นกองทุนรวมที่กําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมที่แน่นอน หมวด ๖ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๒ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะต้องเป็นกองทุนรวมเปิด ข้อ ๔๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ถือหน่วยลงทุน ประเภทของเงินได้ที่นํามาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงื่อนไขการลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (2) การชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับ การชําระภาษีเงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน การชําระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนกําหนด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ รายการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้มีรูปแบบและรายละเอียดตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๔๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เป็นปัจจุบันตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งและดําเนินการให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้สนใจจะลงทุนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมอยู่แล้วในขณะนั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของเอกสารนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเคยได้รับ (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน เพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน ข้อ ๔๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อจํากัดการโอนและการจํานําซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและในร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนและการจํานําหน่วยลงทุน ข้อ ๔๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ปรากฏข้อจํากัดการโอนและการจํานําของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ในคําขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแจ้งให้นายทะเบียนหน่วยลงทุนทราบถึงข้อจํากัดดังกล่าวด้วย ข้อ ๔๗ มิให้นําความในข้อ 27 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว หากปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสามสิบห้าราย ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นสิ้นสุดลง หมวด ๗ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๘ ในการจัดตั้งและการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการดําเนินการจัดส่งหนังสือชี้ชวนที่เป็นปัจจุบันให้สํานักงานตามข้อ 17 ข้อ ๔๙ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันเหตุของการสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามข้อ 27 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) หรือการดําเนินการตามข้อ 27 วรรคสอง ต่อสํานักงานได้ หมวด ๘ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่จะจัดตั้งต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเท่านั้น (2) อายุโครงการจัดการกองทุนรวมต้องไม่น้อยกว่าสิบปี (3) ในกรณีที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวเป็นกองทุนรวมดัชนี ดัชนีที่ใช้ต้องเป็นดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) หรือ ดัชนี SET 50 (SET 50 Index) ข้อ ๕๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในหกเดือนนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ข้อ ๕๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนมาจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ข้อ ๕๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อความที่ให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าจะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นหรือไม่ ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือ ใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดเหตุเลิกกองทุนรวมเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนหรือจํานวนหน่วยลงทุนลดลง ข้อ ๕๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว โดยให้นําความในข้อ 43 และข้อ 44 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไม่ต้องมีรายการเกี่ยวกับประเภทของเงินได้ที่นํามาซื้อหน่วยลงทุน แต่ให้มีรายการเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นรายการเพิ่มเติมในเอกสารดังกล่าว ตอน ๕๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับข้อจํากัดการโอนและการจํานําหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว โดยนําความในข้อ 45 และข้อ 46 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๙ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสึนามิ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสึนามิ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่จะจัดตั้งต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น (2) การยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสึนามิต้องกระทําภายในหกเดือนนับแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 (3) ต้องระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมอย่างชัดเจนว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ลงทุนเพิ่มในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในหกจังหวัดภาคใต้ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสองปีนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม ข้อ ๕๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกและนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนมาจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม หมวด ๑๐ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๘ กองทุนรวมอีทีเอฟจะต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามความเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ หรือความเคลื่อนไหวของราคากลุ่มหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่ระบุในโครงการจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ในกรณีของดัชนีราคาหลักทรัพย์ ต้องเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานด้วย ข้อ ๕๙ ในการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องและผู้ลงทุนรายใหญ่ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ ต่อเมื่อได้ระบุกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๖๐ มิให้นําความในข้อกําหนดดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ (1) ข้อ 22 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 27 วรรคหนึ่ง (1) (2) ข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) ข้อ 27 วรรคหนึ่ง (3) และข้อ 29 ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด หมวด ๑๑ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ข้อ ๖๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อของกองทุนรวมต้องสะท้อนถึงหมวดอุตสาหกรรม (sector) ที่กองทุนรวมมุ่งลงทุน (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุหมวดอุตสาหกรรมตาม (1) ไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ หมวดอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องเป็นหมวดอุตสาหกรรมตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศกําหนด (3) ต้องกําหนดประเภททรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ ในโครงการจัดการกองทุนรวม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรมเพียงบางหมวด ตามอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 5(2) (ฒ) (ก) หุ้นของบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในหมวดอุตสาหกรรมหรือที่มีลักษณะเทียบเคียงได้กับหมวดอุตสาหกรรม (ข) ตราสารหรือสัญญาทางการเงินที่ให้สิทธิในการได้มาซึ่งหุ้นตาม (ก) หรือให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับหุ้นตาม (ก) หรือกลุ่มของหุ้นตาม (ก) (ค) ในกรณีของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกําหนดประเภททรัพย์สินดังต่อไปนี้ 1. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ หรือ 3. ตราสารหรือสัญญาทางการเงินที่ให้สิทธิในการได้มาซึ่งหน่วยลงทุนตาม 1. หรือตราสารตาม 2. หรือให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับหน่วยลงทุนตาม 1. หรือตราสารตาม 2. หรือกลุ่มของหน่วยลงทุนตาม 1. หรือ ตราสารตาม 2. (ง) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สํานักงานกําหนด อื่นๆ ๒ การเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๒ ในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าที่เป็นคณะบุคคล คณะบุคคลดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลไม่เกินสามสิบห้าราย ข้อ ๖๓ ในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําข้อมูลของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีรายละเอียดของข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลตามที่สมาคมกําหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลดังกล่าวให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการเสนอนโยบายการลงทุนให้แก่ลูกค้านั้นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้พิจารณาข้อมูลเพียงเท่าที่ลูกค้าให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเท่านั้น (2) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าซึ่งได้ประเมินจากวัตถุประสงค์ในการลงทุนของลูกค้า ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดการลงทุน และจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นไปตามนโยบายการลงทุนดังกล่าว ข้อ ๖๔ สัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีข้อความที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถปฏิเสธความรับผิดทางแพ่งอันเนื่องจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่กระทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญา (2) มีข้อความที่แจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ และการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ในมาตรา 59 (3) มีอายุสัญญาไม่น้อยกว่าสองปี ในกรณีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) มีข้อความที่ให้ลูกค้ามีสิทธิเลิกสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลงนามในสัญญาโดยไม่ต้องแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้าและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการทําสัญญากับลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ข้อ ๖๕ ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ํากว่าหนึ่งล้านบาท หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นํานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 5(1) และ (2) (ก) ถึง (ช) และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้นํานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวมาใช้กับแต่ละนโยบายการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย กองทุนสํารองเลี้ยงชีพอาจกําหนดนโยบายการลงทุนโดยไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งก็ได้ หากบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นนั้น การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและลูกค้าร่วมกันตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๖ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๖๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนรวมและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดประเภทของกองทุนรวมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการกําหนดให้กองทุนรวมที่มุ่งลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรมซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไปเป็นกองทุนรวมพิเศษอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,793
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 5/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุน และข้อ 19(1) และ (6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และ ข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ จัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” ในวรรคสองของ (ฑ) ใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก บริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ในตลาดรองสะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมดังกล่าว ได้อย่างใกล้เคียงกัน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 58 กองทุนรวมอีทีเอฟที่สามารถยื่นคําขอจัดตั้งตามส่วนที่ 2 ของหมวด 1 ของ ภาค 1 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเท่านั้น (2) โครงการจัดการกองทุนรวมระบุไว้อย่างชัดเจนว่า กองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบาย สร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามความเคลื่อนไหวของปัจจัยอ้างอิงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (ข) ราคากลุ่มหลักทรัพย์หรือกลุ่มตราสารทางการเงินอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ค) ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่มีลักษณะตามข้อ 58/1(2)” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 58/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 58/1 ในกรณีที่กองทุนรวมอีทีเอฟที่ขอจัดตั้งตามข้อ 58 เป็นทั้งกองทุนรวมอีทีเอฟและกองทุนรวมหน่วยลงทุน ซึ่งมีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศ กองทุนรวมอีทีเอฟที่ขอจัดตั้งดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีการบริหารจัดการกองทุนรวมในเชิงรับ (passive management) (2) กองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่กองทุนรวมอีทีเอฟอ้างอิงต้องมีลักษณะดังนี้ (ก) มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามความเคลื่อนไหว ของราคาทองคํา ดัชนีที่มีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหรือเกี่ยวข้องกับน้ํามันดิบ ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) และดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ดังกล่าวมีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ด้วย (ข) มีการบริหารจัดการกองทุนรวมในเชิงรับ (passive management) (ค) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศดังกล่าวมีการซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) และมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนหรือการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนโดยอนุโลม ในกรณีที่กองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่กองทุนรวมอีทีเอฟอ้างอิง มีนโยบาย สร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคํา สํานักงานจะพิจารณาอนุมัติคําขอจัดตั้ง กองทุนรวมอีทีเอฟ เมื่อมีข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับสมาชิกที่สามารถส่งคําสั่งซื้อหรือขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่อ้างอิงกับราคาทองคําแล้ว” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 60 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ข้อ 22 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) และข้อ 27 วรรคหนึ่ง (1)” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดปัจจัยอ้างอิงของกองทุนรวมอีทีเอฟ เพิ่มเติม โดยให้รวมถึงราคาหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นตัวใดตัวหนึ่ง และเพื่อกําหนดลักษณะ ของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่กองทุนรวมอีทีเอฟสามารถใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงได้ อันจะช่วยเพิ่มสินค้าประเภทใหม่ในตลาดทุนเพื่อให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนหลากหลายมากขึ้น จึงจําเป็นต้อง ออกประกาศฉบับนี้
1,794
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความใน(1) มาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (2) ข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (3) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 2 การยื่นคําขอและการอนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ข้อ 8 ถึงข้อ 16 ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ส่วนที่ 2 การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 8 ในการจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะได้รับการอนุมัติแบบปกติ จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในตอนที่ 1 การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติ (2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะได้รับการอนุมัติแบบเป็นการทั่วไป จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในตอนที่ 2 หลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในตอนที่ 3 การดําเนินการเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ตอนที่ 1 การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 9 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมที่สํานักงานจัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวผ่านระบบข้างต้นด้วย (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ร่างข้อผูกพันต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุน หากมีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ 10 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมภายใน สี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน ในการพิจารณาคําขอ สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมาชี้แจง แก้ไขหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่สํานักงานแจ้ง ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมอีกต่อไป เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแสดงให้เห็นได้ว่าการที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุสมควร ข้อ 11 บริษัทจัดการกองทุนรวมที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลตามคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว และต้องไม่มีข้อมูลที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์นั้น (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ขออนุมัติไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งระงับการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว ข้อ 12 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่ากองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้ง แม้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติตามข้อ 11 แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระ (substance) ที่แท้จริงของการจัดตั้งกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานอาจไม่อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามคําขออนุมัติได้ ตอนที่ 2 หลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 การยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ (1) คําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามข้อ 9 ซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวม และร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป และการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัตินั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแก้ไขเยียวยาความเสียหายโดยไม่ชักช้า โดยในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมยินยอมให้นําข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ (2) คํารับรองว่าข้อมูลในคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตาม (1) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ทุกประการ และการจัดตั้งกองทุนรวมตามคําขอไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ คํารับรองดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อโดยกรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ข้อ 14 การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปให้ใช้กับกรณีที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะได้รับอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป (2) กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งเป็นกองทุนรวมที่ไม่ซับซ้อนตามข้อ 15 ข้อ 15 กองทุนรวมที่ไม่ซับซ้อนที่สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งแบบเป็นการทั่วไปต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มิใช่กองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนรวมหน่วยลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่ง โดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้น (feeder fund) (ข) กองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศโดยไม่มีนโยบายลดหรือป้องกัน ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่ (2) ไม่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (3) ไม่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน (4) หลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ต้องตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ (5) วิธีการจัดการกองทุนรวมที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามหลักปฏิบัติทั่วไปที่กําหนดไว้สําหรับกองทุนรวมนั้น โดยไม่มีลักษณะที่ต้องขอรับความเห็นชอบหรือการผ่อนผันจากสํานักงานก่อน ข้อ 16 ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมที่ยื่นตามข้อ 13 หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) คําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามข้อ 13 มีความครบถ้วนตามรายการที่กําหนด (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว ข้อ 16/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมก่อนการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมมิได้ ข้อ 16/2 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าคําขอจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้หรือมีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระ (substance) ที่แท้จริงของการจัดตั้งกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับผ่อนผันจากสํานักงานด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมดังกล่าวเข้าข่ายที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งได้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติ หรือ (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อ 15 แล้ว การขอผ่อนผันต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ยื่นคําขอผ่อนผันเป็นหนังสือและชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอผ่อนผันตามอัตรา ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (2) ในกรณีขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระส่วนต่างของค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติและค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ ตามอัตราค่าธรรมเนียมที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียม การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคสอง (1) และส่วนต่างของค่าธรรมเนียมตามวรรคสอง (2) จากกองทุนรวมมิได้ ข้อ 16/3 ในกรณีที่การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปสิ้นสุดลงตามข้อ 16/2 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) หากมีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งถึงการสิ้นสุดลงของกองทุนรวมจากสํานักงาน (ก) เงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน (ข) ผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินตาม (ก) (ค) ดอกเบี้ยของเงินตาม (ก) ในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งการสิ้นสุดลงของกองทุนรวมจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน (2) ในกรณีที่มีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการ ให้มีการเลิกกองทุนรวมทันทีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งถึงการสิ้นสุดลงของกองทุนรวม จากสํานักงาน ทั้งนี้ หากชําระบัญชีกองทุนรวมแล้วปรากฏว่าเงินที่เฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีจํานวนต่ํากว่าผลรวมของเงินดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระส่วนต่างแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ชําระบัญชีเสร็จสิ้น (ก) เงินค่าซื้อหน่วยลงทุน (ข) ดอกเบี้ยของเงินตาม (ก) ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยเริ่มคิดตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนจนถึงวันที่ผู้ชําระบัญชีเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 16/4 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมใดยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปโดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ สํานักงานอาจดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) สั่งระงับการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมคําขอใหม่แบบปกติหรือแบบเป็นการทั่วไปของบริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าว เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่เห็นสมควร ซึ่งไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว (2) สั่งห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าวเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแล้วแต่ยังมิได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร (3) แจ้งข่าวข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งการของสํานักงานตาม (1) หรือ (2) ต่อสาธารณชน หรือจัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง กรรมการและผู้บริหารของบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจถูกดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ข้อ 16/5 ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 16/4 สํานักงานจะนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) พฤติกรรมของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (2) ผลกระทบหรือความเสียหายจากการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีต่อผู้ลงทุน (3) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมเดียวกันนั้นซ้ําอีก (4) พฤติกรรมอื่นของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (5) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ไม่เหมาะสม ตอนที่ 3 การดําเนินการเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/6 บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพัน ร่างสัญญาแต่งตั้ง และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงาน ส่วนที่ 2/1 การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/7 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแบ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมออกเป็นหลายชนิด โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทน ในหน่วยลงทุนชนิดเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ระยะเวลาการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (3) สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล (4) อัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน (5) กรณีอื่นใดตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการขอรับความเห็นชอบบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้จริงและได้คํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะได้รับแล้ว ข้อ 16/8 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามข้อ 16/7 ไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ชนิดหน่วยลงทุนที่แบ่ง (2) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งวิธีการคํานวณและการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนโดยละเอียด (ถ้ามี) (3) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละชนิดหน่วยลงทุน (4) ข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนระหว่าง หน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (5) การจัดสรรรายได้ รายจ่าย รวมทั้งผลกําไรและขาดทุน ที่เกิดจากการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี) (6) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุน แต่ละชนิด (ถ้ามี) โดยการกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย (7) วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งสิทธิและส่วนได้เสียของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ถ้ามี) ส่วนที่ 2/2 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ในการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/9 ภายใต้บังคับข้อ 16/1 การขอแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงานในการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้กระทําได้ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งตามอัตราที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจากกองทุนรวมมิได้ ข้อ 16/10 สํานักงานอาจไม่รับแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลตามข้อ 16/9 หากข้อมูลที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมเป็นสาระสําคัญ ซึ่งอาจกระทบต่อลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งแล้ว ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะจัดตั้งกองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมคําขอใหม่” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนภายในสองปีนับแต่ วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม และต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ในระหว่าง ระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเสนอขายหน่วยลงทุนเกินเงินทุนโครงการได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินทุนโครงการ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงความประสงค์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวม และให้ถือว่าจํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนเกินจํานวนดังกล่าวเป็นเงินทุนโครงการแทน” ข้อ 3 คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบกลุ่มคําขอที่ได้ยื่นต่อสํานักงานโดยชอบ อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามคําขอดังกล่าวเป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ มาใช้บังคับแก่การอนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมแบบกลุ่มคําขอโดยอนุโลม ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย (2) เพื่อยกเลิกการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอ และกําหนดวิธีการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป อันจะทําให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถวางแผนการจัดตั้งและเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้สะดวกยิ่งขึ้น (3) กําหนดหลักเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม และ (4) ขยายกําหนดเวลาของการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายหลังจากกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,795
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 19/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 19/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 23 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2)” ข้อ 2 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับ อยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็น กลุ่มบุคคลเดียวกันของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,796
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 7 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนกําหนดไว้โดยเฉพาะให้กองทุนรวมประเภทนี้ลงทุนได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) กองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมเปิดที่มีนโยบายการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ โดยมุ่งลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ระยะสั้นที่มีคุณภาพสูง หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนกําหนดไว้โดยเฉพาะให้กองทุนรวมประเภทนี้ลงทุนได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. กองทุนรวมวายุภักษ์ 2. กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ 3. กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินสามเดือน แต่ทั้งนี้ การจัดสรรหน่วยลงทุนให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตลาดเงิน และข้อ 32/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “หมวด 1/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตลาดเงิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 32/1 กองทุนรวมตลาดเงินที่สามารถยื่นคําขอจัดตั้งตามส่วนที่ 2 ของหมวด 1 ของภาค 1 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) โครงการจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ ซึ่งได้แก่ กองทุนรวมตลาดเงินที่ไม่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังต่อไปนี้ 1. หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินสกุลเงินตราต่างประเทศ 2. หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เสนอขายในต่างประเทศ หรือ 3. หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ข) กองทุนรวมตลาดเงินที่มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวมตลาดเงินที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม 1. หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินสกุลเงินตราต่างประเทศ 2. หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เสนอขายในต่างประเทศ หรือ 3. หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (2) ชื่อของกองทุนรวมต้องไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินนั้น” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะ และหลักเกณฑ์ของการจัดตั้งกองทุนรวมตลาดเงิน และ (2) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดสรร หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,797
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 34/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ณ) ใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 “(ณ) กองทุนรวมทองคํา ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างผลตอบแทนจากการมีฐานะการลงทุนในทองคําแท่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในทองคําแท่งนั้นจะมีเงื่อนไขหรือไม่ “ฐานะการลงทุนในทองคําแท่ง” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า มูลค่าการลงทุนในทองคําแท่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาทองคําแท่ง อันเป็นผลให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงในทองคําแท่ง” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 58 กองทุนรวมอีทีเอฟที่สามารถยื่นคําขอจัดตั้งตามส่วนที่ 2 ในหมวด 1 ของภาค 1 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเท่านั้น (2) โครงการจัดการกองทุนรวมระบุไว้อย่างชัดเจนว่า กองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบาย สร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามความเคลื่อนไหวของปัจจัยอ้างอิงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (ข) ราคากลุ่มหลักทรัพย์หรือกลุ่มตราสารทางการเงินอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ค) ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่มีลักษณะตามข้อ 58/1(2) (ง) ราคาทองคําแท่งที่เปิดเผยไว้อย่างแพร่หลายโดยหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคําในประเทศไทยหรือในระดับสากล ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําตามข้อ 61/1(2) (3) ในกรณีที่กองทุนรวมอีทีเอฟเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา นอกจากต้องมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในหมวด 12 ด้วย” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 12 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมทองคํา และข้อ 61/1 ข้อ 61/2 ข้อ 61/3 และข้อ 61/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หมวด ๑๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมทองคํา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๑/๑ กองทุนรวมทองคําที่สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งตามส่วนที่ 2 ของหมวด 1 ของภาค 1 ต้องเป็นกองทุนรวมทองคําประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมทองคําแบบทั่วไป ซึ่งได้แก่ กองทุนรวมทองคําที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนที่อ้างอิงโดยตรงกับราคาทองคําแท่ง ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และไม่มีการลงทุนที่เป็นการสร้างผลตอบแทนในลักษณะที่กําหนดไว้ใน (3) (2) กองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา ซึ่งได้แก่ กองทุนรวมทองคําที่เป็นกองทุนรวม อีทีเอฟ และมีนโยบายสร้างผลตอบแทนที่อ้างอิงโดยตรงกับความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และไม่มีการลงทุนที่เป็นการสร้างผลตอบแทนในลักษณะที่กําหนดไว้ใน (3) (3) กองทุนรวมทองคําแบบซับซ้อน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวมทองคําที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนที่อ้างอิงกับราคาทองคําแท่งโดยผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อ ๖๑/๒ กองทุนรวมทองคําตามข้อ 61/1 ที่ยื่นคําขอจัดตั้ง ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) โครงการจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นกองทุนรวมทองคําประเภทใดประเภทหนึ่งตามข้อ 61/1 (2) ชื่อของกองทุนรวมต้องไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในประเภทของกองทุนรวมทองคํา (3) มีข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีมาตรฐานและผ่านการรับรองจากหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคําในประเทศไทยหรือในระดับสากล ทั้งนี้ การรับรองดังกล่าวอาจเป็นการรับรองที่ทองคําแท่งหรือที่ผู้ผลิตทองคําแท่งก็ได้ (ข) มีราคาที่เปิดเผยไว้อย่างแพร่หลายโดยหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคําในประเทศไทยหรือในระดับสากล ข้อ ๖๑/๓ การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา นอกจากต้องเป็นไปตามข้อ 61/2 และหลักเกณฑ์ในหมวด 10 แล้ว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) โครงการจัดการกองทุนรวมระบุไว้อย่างชัดเจนว่า (ก) กองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่งที่เปิดเผยไว้อย่างแพร่หลายโดยหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคําในประเทศไทยหรือในระดับสากล และ (ข) การสร้างผลตอบแทนตาม (ก) กระทําโดยการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําอื่นที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนผ่านการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรง (2) ในกรณีที่กองทุนรวมอีทีเอฟทองคําที่ขอจัดตั้งเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุน และมีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศ กองทุนรวมอีทีเอฟทองคํานั้นต้องมีลักษณะตามข้อ 58/1 ด้วย ข้อ ๖๑/๔ ในกรณีที่กองทุนรวมทองคําที่ขอจัดตั้งตามข้อ 61/1 กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะนําหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสํานักงานจะพิจารณาอนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว เมื่อมีข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการรับสมาชิกที่สามารถส่งคําสั่งซื้อหรือขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่อ้างอิงกับราคาทองคําแล้ว” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินและสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนในตลาดทุนไทย สมควรให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจัดตั้งกองทุนรวมทองคํา และกองทุนรวมอีทีเอฟทองคําได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,798
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10 /2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 58/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและ การเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 61/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติคําขอจัดตั้ง กองทุนรวมทองคํา และกองทุนรวมอีทีเอฟทองคํา ที่มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งกําหนดว่า สํานักงานจะอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว เมื่อมีข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการรับสมาชิกที่สามารถส่งคําสั่งซื้อ หรือขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่อ้างอิงกับราคาทองคําแล้ว จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
1,799
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “เงินทุนโครงการ” ใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““เงินทุนโครงการ” หมายความว่า เงินทุนโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ทั้งนี้ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเสนอขายหน่วยลงทุนเกินจํานวนเงินที่สํานักงานอนุมัติได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนเงินที่สํานักงานอนุมัติ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะยกเลิกการจัดตั้งกองทุนรวมที่อยู่ระหว่างการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุกรณีดังกล่าวไว้ในหนังสือชี้ชวนแล้ว บริษัทจัดการอาจยุติการขายหน่วยลงทุนได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานให้สํานักงานทราบถึงการยุติการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ยุติการขายหน่วยลงทุนนั้น และให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลงในวันที่แจ้งให้สํานักงานทราบ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนตามสัดส่วนของเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามวรรคสอง และหากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้อันเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่ชําระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนจนครบถ้วน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองวัน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของกองทุนรวมปิด (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการได้ ต่อเมื่อมีการระบุกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ข) การขายหน่วยลงทุนเพิ่มจะต้องไม่ทําให้มูลค่าทั้งหมดของหน่วยลงทุนที่เพิ่ม มีมูลค่าเกินกว่าเงินทุนโครงการ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน เป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (ค) ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนต้องกําหนดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ สิ้นวันที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่ม (2) ในกรณีของกองทุนรวมเปิด (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเพิ่มเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อมีการระบุกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ (ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนตามจํานวนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการต่อสํานักงานแล้ว (ค) ให้นําหลักเกณฑ์ตาม (1) (ข) และ (ค) มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนของโครงการของกองทุนรวมและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,800