title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 58/2564 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ร่างประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพณ. 2 แล้วเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2560 ผ่านทาง CDSD เลขที่ ครั้งที่ 1 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ สธ. 58/2564 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 “ข้อ 9/1 เพื่อให้สํานักงานมีข้อมูลที่จําเป็นต่อการติดตามการบริหารจัดการความเสี่ยงของการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จัดทําข้อมูลเกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง และนําส่งข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ ของสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ 3 ให้เพิ่มภาคผนวกท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวกท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,601
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในสํานักหักบัญชีเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ (2) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (1) เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๒ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และการดําเนินการในรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ข้อ ๓ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ (credit risk) และความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ โดยแหล่งเงินทุนดังกล่าวต้องเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินที่ได้รับจากสมาชิก (2) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อเป็นประกันการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (3) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (4) ทรัพย์สินที่บริษัทใหญ่แบ่งแยกไว้ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์โดยอยู่ในรูปของข้อผูกพันที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย (explicit guarantee) ในกรณีที่เป็นแหล่งเงินทุนรองรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทรัพย์สินตามวรรคสองให้รวมถึงสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ก็ได้ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องคํานวณมูลค่าเงินทุนเพื่อให้เพียงพอรองรับความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 (1) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 1 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุด หรือ (2) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 2 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุดในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จัดให้มีบริการเกี่ยวกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงและมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือมีการเชื่อมโยงการทําธุรกรรมในหลายประเทศ ข้อ ๔ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเพียงพอของมูลค่าแหล่งเงินทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด (stress test) ทุกวันโดยสถานการณ์สมมุติ ค่าตัวแปรและสมมติฐานที่ใช้(scenario/parameter/assumption) เป็นไปตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งต้องครอบคลุมภาวะตลาดผันผวนสูงสุดที่มีโอกาสเกิดขึ้น (2) ประเมินค่าความผันผวนสูงสุดที่แหล่งเงินทุนสามารถรองรับได้ (reverse stress test) เป็นประจําทุกไตรมาสให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จัดส่งรายงานผลการประเมินตาม (1) และ (2) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุกรายไตรมาส ภายในวันที่ 15 ของเดือนแรกของไตรมาสถัดไป ยกเลิกวรรคสอง ข้อ ๕ เพื่อให้มั่นใจว่าแบบจําลอง (model) หรือวิธีการที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด มีความเหมาะสมภายใต้สภาพตลาดปัจจุบันและที่อาจเปลี่ยนแปลงไป สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเหมาะสมของสถานการณ์สมมติ ตัวแปร และสมมุติฐานที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุดทุกไตรมาส หรือเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ และต้องตรวจสอบความถูกต้องของแบบจําลองดังกล่าว (full validation) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ ๖ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการติดตามและควบคุมมูลค่าคงค้างของการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ และความเสี่ยงที่สมาชิกแต่ละรายมีต่อระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันหรือทรัพย์สินเพื่อรองรับความเสี่ยง สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยแนวทางการวางหลักประกันและการใช้แหล่งเงินทุนดังกล่าวให้ชัดเจน ซึ่งรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในการวางหลักประกัน ตลอดจนความเสี่ยงที่มีผลให้สมาชิกต้องวางหลักประกันหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติม ข้อ ๘ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดหาเงินทุนที่มีสภาพคล่องในระหว่างวัน (intraday liquidity) เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข้อ ๙ เพื่อเป็นประกันการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบและข้อกําหนดในการวางหรือเรียกหลักประกันจากสมาชิกโดยรวมถึงวิธีการคํานวณและการปรับมูลค่าหลักประกัน การพิจารณาและทบทวนความเหมาะสมของแบบจําลองและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่ออัตราหลักประกัน ตลอดจนประเภท ลักษณะ และสัดส่วนของหลักประกัน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (1) การคํานวณมูลค่าความเสี่ยงของสมาชิกแต่ละรายจากมูลค่าคงค้างชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์สุทธิทุกวันตามความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ โดยต้องคํานวณค่าความเสี่ยงของสมาชิกและของลูกค้าแยกออกจากกัน และไม่นําผลกําไรของลูกค้ามาหักล้างผลขาดทุนของสมาชิก (2) การเรียกเก็บหลักประกันจากสมาชิกแต่ละรายเพื่อให้เพียงพอรองรับความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ เมื่อมูลค่าความเสี่ยงเกินกว่าระดับที่กําหนดในหลักเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ และหากราคาหลักทรัพย์มีความผันผวนมาก สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์อาจเรียกหลักประกันมากกว่าวันละ 1 ครั้งก็ได้ (3) การทบทวนความถูกต้องของแบบจําลองและตัวแปรอย่างเหมาะสมเพื่อให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (4) กําหนดหลักประกันที่สอดคล้องกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์ และราคาที่ใช้ในการคํานวณต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (5) กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา และมีความมั่นคงปลอดภัย โดยอาจอยู่ในรูปของเงินสด หรือทรัพย์สินอื่นโดยในกรณีที่หลักประกันเป็นหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของสมาชิกผู้วางหลักประกันกับผู้ออกหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนด (6) กําหนดสัดส่วนของทรัพย์สินแต่ละประเภท (concentration limit) ที่สมาชิกสามารถนํามาวางเป็นหลักประกันกับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์เพื่อป้องกันการกระจุกตัวของหลักประกันและสามารถบังคับเอากับหลักประกันได้ภายในเวลาที่กําหนดในกรณีที่สมาชิกผิดนัดชําระหนี้ (7) กําหนดวิธีการปรับมูลค่าหลักประกันและใช้อัตราส่วนลดค่าความเสี่ยง (haircut) ที่คํานึงถึงความเสี่ยงจากการลดมูลค่าของหลักประกันซึ่งรองรับช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงโดยต้องมีการทดสอบวิธีการประเมินมูลค่าและอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงเป็นประจํา และมีการทบทวนความถูกต้องของวิธีคํานวณอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (8) กําหนดวิธีการที่สามารถระบุและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรับหลักประกันที่มีความเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ (cross border collateral) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ ข้อ 9 / 1 เพื่อให้สํานักงานมีข้อมูลที่จําเป็นต่อการติดตามการบริหารจัดการความเสี่ยงของการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความสี่ยง และนําส่งข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,602
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 37/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 37/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบริษัทจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “คนต่างด้าว” หมายความว่า คนต่างด้าวและนิติบุคคลที่มีสิทธิในที่ดินเสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการ ข้อ ๓ ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ตามข้อ 4 (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ 5 (5) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ตามข้อ 6 (6) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัด ตามข้อ 7 (7) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ตามข้อ 8 (8) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ตามข้อ 9 (9) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ตามข้อ 10 (10) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ตามข้อ 11 (11) การเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ ตามข้อ 12 (12) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ตามข้อ 13 (13) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการและผู้ถือหน่วยลงทุน (14) การเลิกกองทุนรวม ตามข้อ 14 (15) การชําระบัญชี ตามข้อ 15 ข้อ ๔ รายการอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ ๕ รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการไม่ครบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในข้อผูกพันซึ่งลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการโดยชอบ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ข้อ ๖ รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน (2) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติและวิธีการนับมติ โดยต้องมีข้อกําหนดที่รองรับกรณีการขอมติด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ระบุใน (1) และข้อกําหนดที่แสดงว่าเรื่องใดต้องใช้มติเท่าใด (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่าผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายจะมีสิทธิออกเสียง ให้เป็นไปตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่กําหนด ทั้งนี้ การกําหนดวันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การดําเนินการใดที่โครงการจัดการกองทุนรวมหรือกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการเป็นไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับมาโดยชอบแล้ว ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงเห็นชอบให้ดําเนินการดังกล่าวและมีผลผูกพันตามมติ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ ๗ รายการข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สัดส่วนการถือหน่วยลงทุนขั้นสูงที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถถือได้ (2) เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่แสดงถึงการจํากัดสิทธิดังนี้ ตลอดจนการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจํากัดสิทธิดังกล่าว (ก) การจํากัดมิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนมีสิทธิรับเงินปันผลและสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ข) การจํากัดมิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในเรื่องที่ขอมติมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ค) การจํากัดมิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นกองทุนรวมอื่น ที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ทั้งนี้ กองทุนรวมอื่นให้รวมถึงกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทุกประเภท ข้อ ๘ รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการชําระหนี้ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนด เท่านั้น ข้อ ๙ รายการการออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการและบุคคลอื่นได้ โดยให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจําเป็นต้องใช้ใบหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องจัดทําใบหน่วยลงทุนมอบให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐ รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยให้ระบุข้อมูลว่าบริษัทจัดการจะเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเองหรือจะมอบหมายให้ บุคคลอื่นเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มอบหมายให้บุคคลอื่น ให้ระบุชื่อบุคคลที่เป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนถูกต้อง และการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนมีสิทธิปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนของคนต่างด้าวไม่เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๑ รายการการแต่งตั้ง อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการ งดเว้นกระทําการหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจใช้สิทธิตามมาตรา 132 ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่กระทําการอันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ดูแลผลประโยชน์เองหรือประโยชน์ของผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือเป็นการดําเนินการในลักษณะที่เป็นธรรมและได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวมิได้แสดงการคัดค้าน (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการอันเป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่เข้าข้อยกเว้นให้กระทําได้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญและไม่สามารถแก้ไขให้หมดไป ให้บริษัทจัดการมีอํานาจบอกเลิกสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ โดยให้ระบุวิธีการที่ผู้ดูแลผลประโยชน์จะดําเนินการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ดังกล่าวไว้ในข้อผูกพันด้วย ข้อ ๑๒ รายการการเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงเงื่อนไขและวิธีการเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทจัดการหรือผู้ดูแลผลประโยชน์แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการหรือผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ บริษัทจัดการหรือผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ด้วย ข้อ ๑๓ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ดังนี้ (ก) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน ต้องได้รับมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ที่มีสิทธิออกเสียง (ข) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งรวมถึงเรื่องดังนี้ ต้องได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ที่มีสิทธิออกเสียง 1. ข้อกําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 2. การเลิกกองทุนรวม 3. เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบ (ข) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (ค) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) และบริษัทจัดการจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม ข้อ ๑๔ รายการการเลิกกองทุนรวม โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการจะเลิกกองทุนรวมเมื่อปรากฏเหตุอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เมื่อปรากฏเหตุที่ทําให้บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๑๕ รายการการชําระบัญชีเมื่อมีการเลิกกองทุนรวม ให้ระบุว่าเมื่อมีการเลิกกองทุนรวมแล้วจะมีการชําระบัญชีอย่างไร ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,603
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 30/2559 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและ การบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชี สัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 21 และข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในสํานักหักบัญชีสัญญาเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสํานักหักบัญชีสัญญา (2) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (1) เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๒ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้สํานักหักบัญชีสัญญาปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และการดําเนินการในรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ข้อ ๓ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ (credit risk) และความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ของสํานักหักบัญชีสัญญา โดยแหล่งเงินทุนดังกล่าวต้องเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินที่ได้รับจากสมาชิก (2) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ (3) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ (4) ทรัพย์สินที่บริษัทใหญ่แบ่งแยกไว้ให้สํานักหักบัญชีสัญญาโดยอยู่ในรูปของข้อผูกพันที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย (explicit guarantee) ในกรณีที่เป็นแหล่งเงินทุนรองรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ก็ได้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องคํานวณมูลค่าเงินทุนเพื่อให้เพียงพอรองรับความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 (1) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 1 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุด หรือ (2) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 2 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุด ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาจัดให้มีบริการเกี่ยวกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงและมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือมีการเชื่อมโยงการทําธุรกรรมในหลายประเทศ ข้อ ๔ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีการประเมินความเพียงพอของมูลค่าแหล่งเงินทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นประจําโดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด (stress test) ทุกวันโดยสถานการณ์สมมุติ ค่าตัวแปรและสมมติฐานที่ใช้ (scenario/parameter/assumption) เป็นไปตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งต้องครอบคลุมภาวะตลาดผันผวนสูงสุดที่มีโอกาสเกิดขึ้น (2) ประเมินค่าความผันผวนสูงสุดที่แหล่งเงินทุนสามารถรองรับได้ (reverse stress test) ทุกรายไตรมาส ให้สํานักหักบัญชีสัญญาจัดส่งรายงานผลการประเมินตาม (1) และ (2) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุกรายไตรมาส ภายในวันที่ 15 ของเดือนแรกของไตรมาสถัดไป ข้อ ๕ เพื่อให้มั่นใจว่าแบบจําลอง (model) หรือวิธีการที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด มีความเหมาะสมภายใต้สภาพตลาดปัจจุบันและที่อาจเปลี่ยนแปลงไป สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีการประเมินความเหมาะสมของสถานการณ์สมมติ ตัวแปร และสมมุติฐานที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด ทุกรายไตรมาส หรือเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ และต้องตรวจสอบความถูกต้องของแบบจําลองดังกล่าว (full validation) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ ๖ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการติดตามและควบคุมมูลค่าคงค้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและความเสี่ยงที่สมาชิกแต่ละรายมีต่อระบบการชําระหนี้ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันหรือทรัพย์สินเพื่อรองรับความเสี่ยง สํานักหักบัญชีสัญญาต้องเปิดเผยแนวทางการวางหลักประกันและการใช้แหล่งเงินทุนดังกล่าวให้ชัดเจน ซึ่งรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในการวางหลักประกัน ตลอดจนความเสี่ยงที่ส่งผลให้สมาชิกต้องวางหลักประกันหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติม ข้อ ๘ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดหาเงินทุนที่มีสภาพคล่องระหว่างวัน (intraday liquidity) เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข้อ ๙ เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และความมั่นคงของระบบการชําระหนี้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีระบบและข้อกําหนดในการวางหรือเรียกหลักประกันจากสมาชิก รวมถึงวิธีการคํานวณและการปรับมูลค่าหลักประกัน การพิจารณาและทบทวนความเหมาะสมของแบบจําลองและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่ออัตราหลักประกัน ตลอดจนประเภท ลักษณะ และสัดส่วนของหลักประกัน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (1) การคํานวณมูลค่าความเสี่ยงทุกวันตามความผันผวนของราคาและฐานะของสมาชิกและลูกค้า และในกรณีที่ปรากฏว่าราคามีความผันผวนมากและหลักประกันที่สมาชิกวางไว้มีไม่เพียงพอต้องเรียกหลักประกันระหว่างวัน (intraday margining) และปรับมูลค่าหลักประกันที่วางไว้ให้เป็นปัจจุบันทุกวัน (daily mark to market) รวมทั้งต้องคํานวณและเรียกให้สมาชิกชําระผลขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นทุกวันเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสม (2) การเรียกเก็บหลักประกันจากสมาชิกโดยต้องไม่นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกันมาหักกลบลบกัน (gross margining) (3) การใช้แบบจําลองของการวางหลักประกัน (margin model) และค่าตัวแปรที่สะท้อนค่าความเสี่ยงและกําหนดหลักประกันที่เพียงพอเพื่อรองรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อาจเกิดขึ้นจากสมาชิกที่ผิดนัด ภายใต้ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 (4) การทดสอบความเพียงพอของมูลค่าหลักประกันที่เรียกเก็บและค่าเสียหายรายวันที่เกิดขึ้นจริงอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งและทําการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อมูลค่าหลักประกันอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง (5) การทบทวนความถูกต้องของแบบจําลองและตัวแปรอย่างเหมาะสมเพื่อให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (6) กําหนดหลักประกันที่สอดคล้องกับความเสี่ยงและลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และราคาที่ใช้ในการคํานวณต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (7) กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา และมีความมั่นคงปลอดภัย โดยอาจอยู่ในรูปของเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นโดยในกรณีที่หลักประกันเป็นหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของสมาชิกผู้วางหลักประกันกับผู้ออกหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (8) กําหนดสัดส่วนของทรัพย์สินแต่ละประเภท (concentration limit) ที่สมาชิกสามารถนํามาวางเป็นหลักประกันกับสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อป้องกันการกระจุกตัวของหลักประกันและสามารถบังคับเอากับหลักประกันได้ภายในเวลาที่กําหนดในกรณีที่สมาชิกผิดนัดชําระหนี้ (9) กําหนดวิธีการปรับมูลค่าหลักประกัน และใช้อัตราส่วนลดค่าความเสี่ยง (haircut) ที่คํานึงถึงความเสี่ยงจากการลดมูลค่าของหลักประกันซึ่งรองรับช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงโดยต้องมีการทดสอบวิธีการประเมินมูลค่าและอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงเป็นประจํา และมีการทบทวนความถูกต้องของวิธีคํานวณอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (10) กําหนดวิธีการที่สามารถระบุและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรับหลักประกันที่มีความเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ (cross border collateral) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,604
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ที่ สธ. 57/2564 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 57/2564 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและ การบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชี สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 21 และข้อ 22แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาศม พ.ศ. 2559 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ส5. 30/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 "ข้อ 9/1 เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีข้อมูลที่จําเป็นต่อการติดตามการบริหารจัดการความเสี่ยงของการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และนําส่งข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้" ข้อ 3 ให้เพิ่มภาคผนวกท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวกท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,605
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2559 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและ การบริหารจัดการความเสี่ยงของสํานักหักบัญชี สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 21 และข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงาน กล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "บริษัทใหญ่" หมายความว่า (1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในสํานักหักบัญชีสัญญาเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสํานักหักบัญชีสัญญา (2) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (1) เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๒ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้สํานักหักบัญชีสัญญาปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 31/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และ การดําเนินการในรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ข้อ ๓ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ (credit risk) และความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ของสํานักหักบัญชีสัญญาโดยแหล่งเงินทุนดังกล่าวต้องเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินที่ได้รับจากสมาชิก (2) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ (3) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ (4) ทรัพย์สินที่บริษัทใหญ่แบ่งแยกไว้ให้สํานักหักบัญชีสัญญาโดยอยู่ในรูปของข้อผูกพันที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย (explicit guarantee) ในกรณีที่เป็นแหล่งเงินทุนรองรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ก็ได้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องคํานวณมูลค่าเงินทุนเพื่อให้เพียงพอรองรับความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 (1) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 1 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุด หรือ (2) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 2 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุดในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญาจัดให้มีบริการเกี่ยวกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงและมีความซับซ้อนมากขึ้นหรือมีการเชื่อมโยงการทําธุรกรรมในหลายประเทศ ข้อ ๔ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีการประเมินความเพียงพอของมูลค่าแหล่งเงินทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นประจําโดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด (stress test) ทุกวันโดยสถานการณ์สมมุติ ค่าตัวแปร และสมมติฐานที่ใช้ (scenario/parameter/assumption) เป็นไปตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งต้องครอบคลุมภาวะตลาดผันผวนสูงสุดที่มีโอกาสเกิดขึ้น (2) ประเมินค่าความผันผวนสูงสุดที่แหล่งเงินทุนสามารถรองรับได้ (reverse stress test) ทุกรายไตรมาส ยกเลิกวรรคสอง ข้อ ๕ เพื่อให้มั่นใจว่าแบบจําลอง (model) หรือวิธีการที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด มีความเหมาะสมภายใต้สภาพตลาดปัจจุบันและที่อาจเปลี่ยนแปลงไป สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีการประเมินความเหมาะสมของสถานการณ์สมมติ ตัวแปร และสมมุติฐานที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด ทุกรายไตรมาส หรือเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ และต้องตรวจสอบความถูกต้องของแบบจําลองดังกล่าว (full validation) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ ๖ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องมีมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการติดตามและควบคุมมูลค่าคงค้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและความเสี่ยงที่สมาชิกแต่ละรายมีต่อระบบการชําระหนี้ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันหรือทรัพย์สินเพื่อรองรับความสี่ยง สํานักหักบัญชีสัญญาต้องเปิดเผยแนวทางการวางหลักประกันและการใช้แหล่งเงินทุนดังกล่าวให้ชัดเจน ซึ่งรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในการวางหลักประกัน ตลอดจนความเสี่ยงที่ส่งผลให้สมาชิกต้องวางหลักประกันหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติม ข้อ ๘ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดหาเงินทุนที่มีสภาพคล่องระหว่างวัน (intraday liquidity) เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข้อ ๙ เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และความมั่นคงของระบบการชําระหนี้ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องจัดให้มีระบบและข้อกําหนดในการวางหรือเรียกหลักประกันจากสมาชิก รวมถึงวิธีการคํานวณและการปรับมูลค่าหลักประกัน การพิจารณาและทบทวนความเหมาะสมของแบบจําลองและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่ออัตราหลักประกัน ตลอดจนประเภท ลักษณะ และสัดส่วนของหลักประกัน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (1) การคํานวณมูลค่าความเสี่ยงทุกวันตามความผันผวนของราคาและฐานะของสมาชิกและลูกค้า และในกรณีที่ปรากฏว่าราคามีความผันผวนมากและหลักประกันที่สมาชิกวางไว้มีไม่เพียงพอต้องเรียกหลักประกันระหว่างวัน (intraday margining) และปรับมูลค่าหลักประกันที่วางไว้ให้เป็นปัจจุบันทุกวัน (daily mark to market) รวมทั้งต้องคํานวณและเรียกให้สมาชิกชําระผลขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นทุกวันเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสม (2) การเรียกเก็บหลักประกันจากสมาชิกโดยต้องไม่นําฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและลูกค้าหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าต่างรายกันมาหักกลบลบกัน (gross margining) (3) การใช้แบบจําลองของการวางหลักประกัน (margin model) และค่าตัวแปรที่สะท้อนค่าความเสี่ยงและกําหนดหลักประกันที่เพียงพอเพื่อรองรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อาจเกิดขึ้นจากสมาชิกที่ผิดนัด ภายใต้ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 (4) การทดสอบความเพียงพอของมูลค่าหลักประกันที่เรียกเก็บและค่าเสียหายรายวันที่เกิดขึ้นจริงอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งและทําการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อมูลค่าหลักประกันอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง (5) การทบทวนความถูกต้องของแบบจําลองและตัวแปรอย่างเหมาะสมเพื่อให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (6) กําหนดหลักประกันที่สอดคล้องกับความเสี่ยงและลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และราคาที่ใช้ในการคํานวณต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (7) กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงมีความผันผวนด้านราคาต่ํา และมีความมั่นคงปลอดภัย โดยอาจอยู่ในรูปของเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นโดยในกรณีที่หลักประกันเป็นหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของสมาชิกผู้วางหลักประกันกับผู้ออกหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (8) กําหนดสัดส่วนของทรัพย์สินแต่ละประเภท (concentration limit) ที่สมาชิกสามารถนํามาวางเป็นหลักประกันกับสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อป้องกันการกระจุกตัวของหลักประกันและสามารถบังคับเอากับหลักประกันได้ภายในเวลาที่กําหนดในกรณีที่สมาชิกผิดนัดชําระหนี้ (9) กําหนดวิธีการปรับมูลค่าหลักประกัน และใช้อัตราส่วนลดค่าความเสี่ยง (haircut) ที่คํานึงถึงความเสี่ยงจากการลดมูลค่าของหลักประกันซึ่งรองรับช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงโดยต้องมีการทดสอบวิธีการประมินมูลค่าและอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงเป็นประจํา และมีการทบทวนความถูกต้องของวิธีคํานวณอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (10) กําหนดวิธีการที่สามารถระบุและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรับหลักประกันที่มีความเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ (cross border collateral) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ ข้อ 9/1 เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีข้อมูลที่จําเป็นต่อการติดตามการบริหารจัดการความเสี่ยงของการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และนําส่งข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน กล.ต. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,606
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 39/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 39/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2554 เรื่องข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กับบริษัทจัดการ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ข้อ ๔ ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อความที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ตามข้อ 5 (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ 6 (5) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ตามข้อ 7 (6) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 8 (7) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ตามข้อ 9 (8) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ตามข้อ 10 (9) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ตามข้อ 11 (10) การแต่งตั้ง อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ตามข้อ 12 (11) การเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ ตามข้อ 13 (12) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ตามข้อ 14 (13) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการและผู้ถือหน่วยลงทุน (14) การเลิกกองทุนรวม ตามข้อ 15 (15) การชําระบัญชี ตามข้อ 16 ข้อ ๕ รายการอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันแล้ว ข้อ ๖ รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการไม่ครบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในข้อผูกพันซึ่งลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการโดยชอบ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๗ รายการการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน (2) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติและวิธีการนับมติ โดยต้องมีข้อกําหนดที่รองรับกรณีการขอมติด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ระบุใน (1) และข้อกําหนดที่แสดงว่าเรื่องใดต้องใช้มติเท่าใด (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายจะมีสิทธิออกเสียงให้เป็นไปตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนณ วันที่กําหนด ทั้งนี้ การกําหนดวันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การดําเนินการใดที่โครงการจัดการกองทุนรวมหรือกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับมาโดยชอบแล้ว ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงเห็นชอบให้ดําเนินการดังกล่าวและมีผลผูกพันตามมติ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ ๘ รายการข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สัดส่วนการถือหน่วยลงทุนขั้นสูงที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถถือได้ (2) เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่แสดงถึงการจํากัดสิทธิดังนี้ ตลอดจนการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจํากัดสิทธิดังกล่าว (ก) การจํากัดมิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนมีสิทธิรับเงินปันผลและสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ข) การจํากัดมิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในเรื่องที่ขอมติมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ค) การจํากัดมิให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ทั้งนี้ กองทุนรวมอื่นให้รวมถึงกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทุกประเภท ข้อ ๙ รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการชําระหนี้ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนดเท่านั้น ข้อ ๑๐ รายการการออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการและบุคคลอื่นได้ โดยให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจําเป็นต้องใช้ใบหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องจัดทําใบหน่วยลงทุนมอบให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยให้ระบุข้อมูลว่าบริษัทจัดการจะเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเอง หรือจะมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มอบหมายให้บุคคลอื่น ให้ระบุชื่อบุคคลที่เป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนถูกต้อง และการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการสามารถปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนของคนต่างด้าวไม่เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๑๒ รายการการแต่งตั้ง อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการ งดเว้นกระทําการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจใช้สิทธิตามมาตรา 132 ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ในการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่กระทําการอันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ดูแลผลประโยชน์เองหรือประโยชน์ของผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือเป็นการดําเนินการในลักษณะที่เป็นธรรมและได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวมิได้แสดงการคัดค้าน (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการอันเป็นการขัดแย้งกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่เข้าข้อยกเว้นให้กระทําได้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญและไม่สามารถแก้ไขให้หมดไป ให้บริษัทจัดการมีอํานาจบอกเลิกสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ ข้อ ๑๓ รายการการเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงเงื่อนไขและวิธีการเปลี่ยนบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า เมื่อมีการเปลี่ยนบริษัทจัดการ หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการหรือผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการหรือผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ด้วย ข้อ ๑๔ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องดังนี้ ต้องได้รับมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียง 1. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน 2. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถรับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นทรัพย์สินอื่นแทนเงิน (ข) กรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งรวมถึงเรื่องดังนี้ ต้องได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียง 1. ข้อกําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 2. การเลิกกองทุนรวม 3. เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบ (ข) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (ค) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) รวมทั้งให้มีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและเว็บไซต์ของบริษัทจัดการเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในรอบปีบัญชีพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม ข้อ ๑๕ รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีสาระสําคัญที่แสดงว่าบริษัทจัดการจะเลิกกองทุนรวมเมื่อปรากฏเหตุอย่างน้อยดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (1) เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่ทําให้บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 ข้อ ๑๖ รายการการชําระบัญชี ให้ระบุว่าเมื่อมีการเลิกกองทุนรวมแล้วจะมีการชําระบัญชีอย่างไร ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,607
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 32/2559 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชำระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 32/2559 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่แปลงสภาพเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 130 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมต้องเป็นผู้ชําระบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้กองทุนรวมที่แปลงสภาพต้องเลิกกองทุนรวมและเข้าสู่กระบวนการชําระบัญชี ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ใช้บังคับกับการให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเลิกกองทุนรวมเพื่อแปลงสภาพเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “การแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓ ให้ถือว่าบุคคลดังต่อไปนี้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม (1) บริษัทจัดการที่บริหารจัดการกองทุนรวมที่แปลงสภาพ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องแต่งตั้งให้กรรมการหรือพนักงานตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี (2) นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่แปลงสภาพ (3) ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (4) ทรัสตีของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพ (5) ผู้จัดการกองทรัสต์ของกองทรัสต์ที่รองรับการแปลงสภาพ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,608
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 37/2559 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มี ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (11) และ (12) และข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “โปรแกรมสําเร็จรูป” หมายความว่า ระบบการคํานวณที่แสดงผลเป็นการวิเคราะห์เพื่อให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ทรัพย์สินสารสนเทศ” หมายความว่า (1) ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทระบบ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ (2) ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์อื่นใด (3) ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนที่มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือใช้โปรแกรมสําเร็จรูปประกอบการให้บริการแก่ลูกค้า (3) การจัดการกองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (4) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (5) กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (6) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (7) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (8) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือใช้โปรแกรมสําเร็จรูปประกอบการให้บริการแก่ลูกค้า (9) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ให้ปฏิบัติตามประกาศนี้เฉพาะข้อ 11 และข้อ 23(4) ข้อ ๔ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การกําหนดนโยบาย มาตรการ โครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศและการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5) หลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหมวด 5 หมวด ๑ การกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศระดับองค์กร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรในการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ (1) การบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ (2) การจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจ และการกําหนดแนวทางเพื่อรองรับในกรณีที่ ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้เพียงพอตามที่กําหนดไว้ (3) การจัดให้มีนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อ 8 และข้อ 9 ข้อ ๖ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกํากับดูแลและบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่กําหนดไว้ตามข้อ 5 (1) สื่อสารนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง (2) กําหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) ทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยต้องทบทวนโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีนัยสําคัญ และต้องปรับปรุงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วย (4) จัดให้มีการรายงานการปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจทราบอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ ต้องรายงานให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจทราบโดยไม่ชักช้าด้วย (5) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยดังนี้ (ก) มีการตรวจสอบภายในและการสอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวอย่างเป็นระบบ (ข) มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และติดตามการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวอย่างเป็นระบบ หมวด ๒ การกําหนดนโยบาย มาตรการ โครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ข้อ ๗ ในหมวดนี้ “การปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัท” (teleworking) หมายความว่า การปฏิบัติงานที่มีการเข้าถึงระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญโดยไม่ผ่านการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง “การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่” หมายความว่า การปฏิบัติงานที่มีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile device) เพื่อเข้าถึงระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญโดยผ่านการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy) (1) นโยบายการใช้งานระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้งาน (cloud computing) ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการคัดเลือกและประเมินผู้ให้บริการ การทบทวนคุณสมบัติของผู้ให้บริการ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการใช้บริการ และการตรวจสอบบันทึกหลักฐานต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้บริการ (2) นโยบายการใช้งานระบบการเข้ารหัสข้อมูลและการบริหารกุญแจเข้ารหัสข้อมูล ที่สามารถป้องกันการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ (3) นโยบายการรับส่งข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายภายในองค์กร และระหว่างเครือข่ายภายในองค์กรกับระบบเครือข่ายภายนอกองค์กร ให้มีความมั่นคงปลอดภัย (4) นโยบายควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและสิ่งอํานวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ (information processing facilities) ให้สอดคล้องกับข้อกําหนดด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (5) นโยบายเพื่อรองรับในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการคัดเลือกและประเมินผู้รับดําเนินการ การทบทวนคุณสมบัติของผู้รับดําเนินการ และการมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการใช้บริการ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (4) คําว่า “สิ่งอํานวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูล” หมายความว่า อุปกรณ์ ระบบงาน หรือสภาพแวดล้อม ที่จําเป็นหรือมีส่วนช่วยให้การประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เช่น อุปกรณ์หรือโปรแกรมประมวลผลข้อมูล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นตอน หรือสถานที่ประมวลผลข้อมูล ข้อ ๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีมาตรการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (1) มาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมเพียงพอสําหรับข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัทหรือมีการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยกรณีที่เป็นการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ ต้องจัดให้มีการลงทะเบียนอุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อนการใช้งาน และทบทวนทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (2) มาตรการในการใช้งานระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้งานตามนโยบายที่กําหนดไว้ในข้อ 8(1) ที่ครอบคลุม เรื่องดังนี้ (ก) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการซึ่งมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย 1. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ รวมถึงความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้ 2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐานการรับรองความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศในระดับสากล 3. มาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย การควบคุมการเข้าถึง และการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ 4. การตรวจสอบการปฏิบัติงานจากผู้ตรวจสอบที่เป็นอิสระ 5. เงื่อนไขในกรณีที่ผู้ให้บริการจะให้ผู้ให้บริการรายอื่นรับดําเนินการช่วง (subcontract of the cloud provider) และข้อกําหนดความรับผิดต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินการของผู้ให้บริการรายอื่น (ข) คุณสมบัติด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการรายอื่นที่รับดําเนินการช่วงซึ่งเทียบเท่ากับผู้ให้บริการหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล (ค) การติดตาม ประเมิน และทบทวนการให้บริการของผู้ให้บริการ (ง) ขั้นตอนในการโอนย้ายข้อมูลไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้ให้บริการ ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (organization of information security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษร และแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ (2) สอบทานการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ (3) จัดให้มีช่องทางในการติดต่อสํานักงาน หน่วยงานกํากับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และหน่วยงานของผู้ให้บริการที่สนับสนุนการทํางานระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ โดยต้องปรับปรุงรายชื่อและช่องทางสําหรับติดต่อดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security incident management) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (2) กําหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (3) รายงานต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ตาม (2) และสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (4) ทดสอบขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตาม (1) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงไซเบอร์ (cyber security drill) (5) พิจารณาทบทวนขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ หลังจากที่มีการทดสอบตาม (4) แล้วอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (6) จัดให้มีการประเมินผลการทดสอบตาม (4) และประเมินผลพิจารณาทบทวนตาม (5) โดยต้องรายงานผลต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวต้องกระทําโดยบุคคลที่เป็นอิสระจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ตาม (2) (7) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันที่จัดทําเอกสารนั้น โดยต้องเก็บรักษาไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานสามารถเรียกดูและตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (4) ให้คําว่า “ความเสี่ยงไซเบอร์” หมายความว่า ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการใช้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security of business continuity management) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดมาตรการรองรับสําหรับกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (2) กําหนดขั้นตอน กระบวนการดําเนินการ และการควบคุม เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (3) กําหนดระยะเวลาในการกลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติของระบบสารสนเทศและจัดลําดับการกู้คืนระบบงานสารสนเทศที่มีความสําคัญให้สอดคล้องกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (4) มีระบบสารสนเทศสํารองที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ซึ่งต้องสอดคล้องกับระยะเวลาในการกลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานตามปกติของระบบสารสนเทศตาม (3) ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและบุคคลภายนอก (human resource security) ที่มีการปฏิบัติงานโดยมีการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบงานภายในองค์กร และดําเนินการให้บุคลากรดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายและมาตรการที่กําหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานดังกล่าว (2) สื่อสารให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานดังกล่าว ระมัดระวังและงดเว้นการใช้งานระบบสารสนเทศในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจ หรือตลาดทุนโดยรวม หรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และต้องรายงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศโดยไม่ชักช้าเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ อย่างมีนัยสําคัญ (3) กําหนดมาตรการในการลงโทษบุคลากรที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ หมวด ๓ การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศและการควบคุม การเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศ ข้อ ๑๔ ในการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศและการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ ตามข้อ 15 ถึงข้อ 17 (2) มีมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของทรัพย์สินสารสนเทศ ตามข้อ 18 (3) มีมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ ตามข้อ 19 (4) มีการควบคุมการเข้าถึงระบบและข้อมูลสารสนเทศ ตามข้อ 20 ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ (asset management) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดบุคคลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินสารสนเทศแต่ละประเภทตลอดอายุการใช้งานของทรัพย์สินดังกล่าว (2) มีข้อกําหนดการใช้งานทรัพย์สินสารสนเทศที่เหมาะสม (3) มีการทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อทรัพย์สินสารสนเทศให้สอดคล้องกับหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และความรับผิดชอบ ข้อ ๑๖ ในการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศที่เป็นทรัพย์สินสารสนเทศประเภทระบบหรืออุปกรณ์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการจัดทําและจัดเก็บทะเบียนทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดจนทบทวนทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินสารสนเทศอย่างมีนัยสําคัญด้วย ข้อ ๑๗ ในการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศที่เป็นทรัพย์สินสารสนเทศประเภทข้อมูล ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการจัดประเภทข้อมูลดังกล่าวตามระดับชั้นความลับและจัดประเภททรัพย์สินสารสนเทศอื่น ๆ ตามระดับความสําคัญ เพื่อให้ทรัพย์สินสารสนเทศได้รับการปกป้องในระดับที่เหมาะสมตามระดับชั้นความลับหรือระดับความสําคัญ แล้วแต่กรณีด้วย และในกรณีที่เป็นข้อมูลสารสนเทศ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีกระบวนการป้องกันการเปิดเผย เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือสร้างความเสียหายต่อข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญ ที่ถูกจัดเก็บในสื่อบันทึกข้อมูลด้วย ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อม (physical and environmental security) ของทรัพย์สินสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ประเมินความเสี่ยงและความสําคัญของทรัพย์สินสารสนเทศ (2) กําหนดพื้นที่หวงห้ามและพื้นที่สําหรับจัดวางทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความสําคัญให้มีความมั่นคงปลอดภัยและป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว ข้อ ๑๙ ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ นอกจากมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของทรัพย์สินสารสนเทศตามข้อ 18 แล้วผู้ประกอบธุรกิจต้องป้องกันทรัพย์สินดังกล่าวมิให้เกิดความเสียหาย สูญหาย ถูกโจรกรรม เข้าถึง หรือถูกใช้งานโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการควบคุมการเข้าถึงระบบและข้อมูลสารสนเทศ (access control) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้งานโดยจํากัดการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ ให้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะบุคคลที่ได้รับสิทธิการเข้าถึงดังนี้ (ก) มีการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ (ข) มีการจัดสรรสิทธิการเข้าถึงระดับสูงอย่างจํากัดและมีการควบคุมการเข้าถึงสิทธิดังกล่าวอย่างเคร่งครัด (ค) มีขั้นตอนการบริหารจัดการในการกําหนดรหัสผ่านอย่างเหมาะสม (ง) มีการติดตามและทบทวนระดับสิทธิการเข้าถึงอย่างสม่ําเสมอ (2) มีข้อกําหนดให้ผู้ใช้งานปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานและดูแลรับผิดชอบรหัสผ่านอย่างมั่นคงปลอดภัย (3) มีการป้องกันมิให้มีการเข้าถึงระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์(application software) โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้ (ก) ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในโปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับสิทธิที่ได้รับ (ข) ควบคุมการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ (ค) จัดให้มีระบบการบริหารจัดการรหัสผ่านที่มีความมั่นคงปลอดภัย (ง) จํากัดการใช้งานโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่าง ๆ (utility program) และจํากัดการเข้าถึงชุดคําสั่งควบคุมการทํางานของโปรแกรมอย่างเข้มงวด หมวด ๔ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูล และการปฏิบัติงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามข้อ 22 (2) การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ตามข้อ 23 ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (communications security) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการบริหารจัดการและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมั่นคงและปลอดภัย โดยต้องสามารถป้องกันมิให้เกิดการกระทําที่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (2) จัดทําข้อตกลงการใช้บริการผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการ คุณภาพการให้บริการ และกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับผู้รับดําเนินการ (3) แบ่งแยกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามความเหมาะสม โดยระบุขอบเขตของระบบเครือข่ายย่อยอย่างชัดเจน และมีกระบวนการควบคุมการเข้าถึงขอบเขตดังกล่าวอย่างเหมาะสม (4) กําหนดมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่มีการรับส่งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (5) ดําเนินการให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและผู้รับดําเนินการ (ถ้ามี) มีข้อตกลงเกี่ยวกับการรักษาความลับหรือไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีความสําคัญ ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและมั่นคงปลอดภัย (2) มีมาตรการป้องกันและตรวจสอบโปรแกรมไม่ประสงค์ดี (malware) และมาตรการในการแก้ไขระบบสารสนเทศให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ (3) มีการสํารองข้อมูลสําคัญทางธุรกิจ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ระบบงานคอมพิวเตอร์ และชุดคําสั่งที่ใช้ทํางาน ไว้อย่างครบถ้วน และต้องมีการทดสอบข้อมูลสํารองและกระบวนการกู้คืนข้อมูลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (4) จัดเก็บและบันทึกหลักฐาน (logs) ต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและเพียงพอสําหรับการตรวจสอบการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การสอบทานการใช้งานข้อมูลและระบบสารสนเทศตามหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมาย การตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศโดยบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบและป้องกันการใช้งานระบบสารสนเทศที่มีความผิดปกติหรือไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบตัวตนของลูกค้าที่ทํารายการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตามตารางแสดงรายละเอียดการจัดเก็บหลักฐานที่แนบท้ายประกาศนี้โดยต้องมีการติดตามและวิเคราะห์หลักฐานที่จัดเก็บสําหรับการใช้งานสารสนเทศที่มีความสําคัญให้สอดคล้องกับการประเมินความเสี่ยงขององค์กร (5) มีขั้นตอนควบคุมการติดตั้งซอฟท์แวร์บนระบบงาน และมีมาตรการจํากัดการติดตั้งซอฟท์แวร์โดยผู้ใช้งาน เพื่อให้ระบบปฏิบัติงานต่าง ๆ มีความถูกต้องครบถ้วนและน่าเชื่อถือ (6) มีระบบในการบริหารจัดการกรณีช่องโหว่ทางเทคนิค (technical vulnerability management) ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเพียงพอและเหมาะสมดังนี้ (ก) มีการทดสอบการเจาะระบบ (penetration test) กับระบบงานที่มีความสําคัญที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายนอก (untrusted network) โดยบุคคลที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นไปตามการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบทางธุรกิจ (risk and business impact analysis) ดังนี้ 1. กรณีที่เป็นระบบงานสําคัญที่ประเมินแล้วมีความสําคัญสูง ต้องทดสอบอย่างน้อยทุก 3 ปีและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ 2. กรณีที่เป็นระบบงานที่มีความสําคัญอื่น ๆ ต้องทดสอบอย่างน้อยทุก 6 ปี (ข) มีการประเมินช่องโหว่ของระบบ (vulnerability assessment) กับระบบงานที่มีความสําคัญทุกระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญและรายงานผลไปยังหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานหรือหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยไม่ชักช้า (7) มีการตรวจสอบระบบสารสนเทศดังนี้ (ก) วางแผนการตรวจสอบระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้ (ข) กําหนดขอบเขตในการตรวจสอบระบบสารสนเทศทางเทคนิคให้ครอบคลุมถึงจุดเสี่ยงที่สําคัญ โดยการตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติงาน (ค) ตรวจสอบระบบสารสนเทศนอกเวลาทํางาน ในกรณีที่การตรวจสอบนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความพร้อมในการใช้งานระบบดังกล่าว หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่น ๆ ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ (system acquisition, development and maintenance) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อกําหนดในการจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย เมื่อมีระบบสารสนเทศใหม่หรือมีการปรับปรุงระบบเดิม (2) จัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ ในกรณีที่มีการเข้าถึงระบบการให้บริการการใช้งาน (application service) (3) มีการควบคุมการพัฒนาหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศในทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามขั้นตอนการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศที่กําหนดไว้ (4) มีการทดสอบระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบสารสนเทศดังกล่าวทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน (5) ปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้สอดคล้องกับการพัฒนาหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศ (6) มีการควบคุมบุคลากร ขั้นตอน และเทคโนโลยีสําหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัยตลอดขั้นตอนการพัฒนาระบบ (7) มีการดูแล ติดตาม และควบคุมการพัฒนาระบบสารสนเทศของผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงการใช้บริการ (8) มีการทดสอบการทํางานของระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนา โดยผู้ใช้งานหรือผู้ทดสอบที่เป็นอิสระจากผู้พัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อตกลงและกระบวนการควบคุมเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในการใช้บริการจากผู้รับดําเนินการ โดยผู้ประกอบธุรกิจและผู้รับดําเนินการ ต้องมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงและกระบวนการดังกล่าว (2) มีการติดตาม ประเมิน ทบทวน และตรวจสอบผู้รับดําเนินการอย่างสม่ําเสมอ (3) มีการประเมินความเสี่ยงและกําหนดกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ขั้นตอน หรือวิธีการปฏิบัติงานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หรือเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ (4) มีมาตรการตรวจสอบดูแลให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยมาตรการดังกล่าวต้องสามารถควบคุมให้ผู้รับดําเนินการไม่มีลักษณะที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (5) มีแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (incident response policy) (6) กําหนดสิทธิในการเข้าตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการและควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมีข้อจํากัดในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ได้ (7) มีข้อกําหนดให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงานเรียกดู ตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,609
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 38/2559 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 38/2559 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการควบคุมการปฏิบัติงานและ การรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 32/2552 เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,610
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ให้บริการผ่านสาขาเฉพาะออนไลน์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับการให้บริการ ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ให้บริการ ผ่านสาขาเฉพาะออนไลน์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน “สาขาเฉพาะออนไลน์” หมายความว่า สาขาเฉพาะออนไลน์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 (1) มีการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) ที่สามารถให้บริการรับฝากเงินภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือมีการประกอบธุรกิจภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (2) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจอื่นที่มีช่องทางการเข้าถึงผู้ลงทุนในวงกว้างอย่างทั่วถึง นอกเหนือจากการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 2 ที่ให้บริการผ่านสาขาเฉพาะออนไลน์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริการเฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนประเภทหน่วยลงทุน (2) จัดให้มีช่องทางการให้คําแนะนําในการลงทุนก่อนการให้บริการ และดําเนินการให้ผู้ลงทุนได้รับคําแนะนําดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงไม่สูงกว่ากองทุนรวมที่ผู้ลงทุนเคยมีการลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้คําแนะนําเมื่อผู้ลงทุนร้องขอ ทั้งนี้ การให้คําแนะนําดังกล่าวต้องมิใช่การให้คําแนะนําโดยบุคลากร ณ จุดให้บริการ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,611
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สค. 40/2559 เรื่อง การประกาศทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สค. 40/2559 เรื่อง การประกาศทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สํานักงานได้จัดให้มีกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่สํานักงานประกาศไว้ เพื่อให้หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการมีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 24/2544 เรื่อง การประกาศทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ บุคคลที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติ (ก) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ข) มีประสบการณ์การทํางานด้านตลาดเงินตลาดทุนหรือด้านกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 5 ปี (2) ลักษณะต้องห้าม (ก) เป็นบุคคลล้มละลาย (ข) เป็นบุคคลที่อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (ค) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ง) เคยได้รับโทษจําคุกโดยมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําไปโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (จ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดี หรือเคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (ฉ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดี หรือเคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ช) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน (ซ) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากสถาบันการเงิน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต ข้อ ๓ สํานักงานจะทบทวนทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ประกาศไว้ทุก 2 ปี สํานักงานอาจถอนรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ประกาศไว้ หากปรากฏว่าบุคคลนั้นขาดคุณสมบัติตามข้อ 2(1) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2(2) และเป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรงอันกระทบต่อความน่าเชื่อถือ หรือเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ หากปรากฏว่าเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2(2) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่า 10 ปี สํานักงานอาจไม่นําลักษณะต้องห้ามดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการก็ได้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,612
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 45/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 45/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดในการจัดให้มี ระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจ อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (2) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (3) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน (4) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) สถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและสถาบันการเงินนั้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง หากหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติให้สถาบันการเงินนั้นปฏิบัติในลักษณะเดียวกับหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศนี้ “งานที่สําคัญ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการให้บริการ การทําธุรกรรมหรืองานอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งหากมีการหยุดชะงักอาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า การดําเนินงาน ธุรกิจ ชื่อเสียง ฐานะและผลการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ข้อ ๒ เพื่อให้มั่นใจว่างานที่สําคัญของผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือกลับมาดําเนินการได้ในเวลาที่เหมาะสมเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทําให้การปฏิบัติงานตามปกติของผู้ประกอบธุรกิจต้องหยุดชะงัก ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการ (2) จัดให้มีแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นตาม (1) โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการ หรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายและแผนดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามวิธีการที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการระบุงานที่สําคัญ ตลอดจนประเมินความเสี่ยงที่อาจทําให้งานที่สําคัญหยุดชะงัก วิเคราะห์ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของงานที่สําคัญ เพื่อให้สามารถกําหนดลําดับความสําคัญของการดําเนินการและทรัพยากรที่จะใช้ในการดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกลับมาดําเนินงานได้ตามปกติ(recovery) อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๔ แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 2(2) ต้องครอบคลุมงานที่สําคัญ โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ขั้นตอนการดําเนินการเพื่อรองรับหรือเรียกคืนการดําเนินงานให้กลับสู่สภาวะปกติที่มีรายละเอียดเพียงพอที่บุคลากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถปฏิบัติได้ (2) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานในกรณีที่มีการหยุดชะงักของงานที่สําคัญรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว (3) การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดวิธีการและช่องทางการติดต่อสื่อสาร และข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบการติดต่อสื่อสาร ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามข้อ 4(2) และข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบการติดต่อสื่อสารตามข้อ 4(3) โดยต้องปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันด้วย ข้อ ๖ ในการดําเนินการตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ และแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามนโยบายและแผนดังกล่าวอย่างเพียงพอ (2) จัดให้มีมาตรการในการควบคุมและติดตามการดําเนินการตามนโยบายและแผนดังกล่าว ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้บริการงานที่สําคัญจากผู้ให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องครอบคลุมถึงกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซึ่งอาจทําให้การปฏิบัติงานตามปกติของผู้ให้บริการต้องหยุดชะงัก เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจมีการดําเนินการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการจะสามารถให้บริการงานที่สําคัญได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการที่ติดต่อหรือให้บริการกับผู้ลงทุนในนามของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ให้บริการในงานที่สําคัญและงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (1) ทดสอบและทบทวนแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (2) ประเมินผลการทดสอบตาม (1) และจัดทํารายงานผลการประเมินดังกล่าว โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดังกล่าว ต้องมีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ (3) รายงานผลการดําเนินการตาม (1) และ (2) ต่อคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการดังกล่าว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร ระบบงานหรือปัจจัยอื่น ที่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการดําเนินการตาม (1) โดยเร็ว ข้อ ๙ ในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักของงานที่สําคัญของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งเหตุที่ทําให้งานที่สําคัญหยุดชะงักพร้อมรายละเอียดให้สํานักงานทราบในโอกาสแรกที่ทําได้โดยต้องไม่เกินวันทําการถัดจากวันที่เกิดการหยุดชะงักของงานที่สําคัญดังกล่าว และเมื่อการหยุดชะงักของงานที่สําคัญสิ้นสุดลงแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้สํานักงานทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามข้อ 8 และข้อ 9 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันที่จัดทําเอกสารหลักฐานนั้น โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,613
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 63/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทำงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 63/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทํา งบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 140 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 78/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทํางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,614
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 46/2556 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 46 /2556 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 กําหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกอบธุรกิจอื่น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. สํานักงาน ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบการประกอบธุรกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “อันดับที่สามารถลงทุนได้” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” และคําว่า “ตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “อันดับที่สามารถลงทุนได้” (investment grade) หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่การประกอบธุรกิจอื่นตามวรรคหนึ่งเป็นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน หรือเป็นการลงทุนในกิจการอื่นเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุน ทั้งหมดของกิจการนั้น ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กําหนดในข้อ 5 ข้อ 5/1 ข้อ 6 ข้อ 6/1 หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณีด้วย” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการโอนหรือเรียกให้โอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายรวมถึงระบบการบริหารจัดการเพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืน ให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา (2) จัดให้มีระบบการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพคล่องและผลกระทบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจในภาพรวม (3) จัดให้มีการประมวลผลและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงระดับความเสี่ยงในการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (4) จัดให้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอย่างสม่ําเสมอ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาอาจประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่เป็นคู่สัญญาต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทย (2) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบัน การทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5/1 (3) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามที่กําหนดในข้อ 6 และการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6/1” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 “ข้อ 5/1 ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับ ผู้ลงทุนสถาบันในหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องกําหนดเงื่อนไขในข้อสัญญาเพื่อห้ามนําหุ้นที่ได้มาจากการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืนไปขายต่อ เว้นแต่เป็นการขายต่อในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการขายต่อตามสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอื่น (2) เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนดังกล่าว” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการโอนหรือเรียกให้โอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายรวมถึงระบบการบริหารจัดการเพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืน ให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา (2) จัดให้มีระบบการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพคล่องและผลกระทบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจในภาพรวม (3) จัดให้มีการประมวลผลและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงระดับความเสี่ยงในการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (4) จัดให้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอย่างสม่ําเสมอ” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 “ข้อ 6/1 ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องจัดทําสัญญาเป็นหนังสือซึ่งกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนในหลักทรัพย์เฉพาะประเภทตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ หรือหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (2) กําหนดระยะเวลาการรับชําระหนี้ตามสัญญาต้องไม่เกินหนึ่งปี (3) กรณีเป็นการทําสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามีหน้าที่ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ ต้องกําหนดหน้าที่เกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ให้แก่ผู้ซื้อ (ข) ต้องจัดให้มีการดํารงอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้อยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อย (ค) ต้องจัดให้มีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ทําหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ติดตามการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์รวมทั้งเรียกหรือคืนเงินสดหรือหลักทรัพย์จากคู่สัญญา เพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้เป็นไปตามที่กําหนด ตลอดจนดูแลการส่งมอบผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์นั้นให้แก่คู่สัญญา (4) กําหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญา ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าหุ้นกู้ที่ทําการซื้อขายตามวรรคหนึ่ง (1) นั้น ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจนอยู่ในอันดับที่ไม่สามารถลงทุนได้ สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือเป็นสัญญามาตรฐานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ” ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,615
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 47/2559 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2559 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่มาตรา 22 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 กําหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกอบธุรกิจอื่น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. สํานักงาน ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบัน โดยเฉพาะในส่วนของการประกอบธุรกิจการซื้อหรือขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 46/2556 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 5(3) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “อันดับที่สามารถลงทุนได้” (investment grade) หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ “ตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่น ประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ได้รับอนุญาตได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว และมิให้นําความในประกาศนี้มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินดังกล่าว ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ได้รับอนุญาตซึ่งมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ได้ (1) เป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของลูกค้า ฐานะของบริษัท หรือระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเป็นธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงดังกล่าว แต่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาสามารถจัดให้มีระบบในการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอ (2) เป็นธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาหรือกับลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา หรือเป็นธุรกิจที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว แต่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและช่วยสนับสนุนการให้บริการในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรยิ่งขึ้น หรือเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สถานที่ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ในกรณีที่การประกอบธุรกิจอื่นตามวรรคหนึ่งเป็นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน หรือเป็นการลงทุนในกิจการอื่นเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการนั้น ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กําหนดในข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 หรือข้อ 9 แล้วแต่กรณีด้วย ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาอาจประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่เป็นคู่สัญญาต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทย (2) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบัน การทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 (3) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้ดําเนินการได้เฉพาะผู้ประกอบธุรกิจสัญญาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาดังกล่าวต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามที่กําหนดในข้อ 7 และการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8 ข้อ ๖ ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับผู้ลงทุนสถาบันในหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องกําหนดเงื่อนไขในข้อสัญญาเพื่อห้ามนําหุ้นที่ได้มาจากการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืนไปขายต่อ เว้นแต่เป็นการขายต่อในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการขายต่อตามสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอื่น (2) เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนดังกล่าว ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโดยการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการโอนหรือเรียกให้โอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายรวมถึงระบบการบริหารจัดการเพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืน ให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา (2) จัดให้มีระบบการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพคล่องและผลกระทบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจในภาพรวม (3) จัดให้มีการประมวลผลและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงระดับความเสี่ยงในการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (4) จัดให้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรมการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนอย่างสม่ําเสมอ ข้อ ๘ 8 ในการทําสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนกับบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องจัดทําสัญญาเป็นหนังสือซึ่งกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนในหลักทรัพย์เฉพาะประเภทตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ หรือหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) (2) กําหนดระยะเวลาการรับชําระหนี้ตามสัญญาต้องไม่เกินหนึ่งปี (3) กรณีเป็นการทําสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามีหน้าที่ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ ต้องกําหนดหน้าที่เกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ให้แก่ผู้ซื้อ (ข) ต้องจัดให้มีการดํารงอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้อยู่ในระดับไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อย (ค) ต้องจัดให้มีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ทําหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ติดตามการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์รวมทั้งเรียกหรือคืนเงินสดหรือหลักทรัพย์จากคู่สัญญา เพื่อรักษาอัตราส่วนระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกับราคาที่กําหนดให้ซื้อหลักทรัพย์คืนให้เป็นไปตามที่กําหนด ตลอดจนดูแลการส่งมอบผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์นั้นให้แก่คู่สัญญา (4) กําหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญา ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าหุ้นกู้ที่ทําการซื้อขายตามวรรคหนึ่ง (1) นั้น ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจนอยู่ในอันดับที่ไม่สามารถลงทุนได้ สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือเป็นสัญญามาตรฐานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ได้รับอนุญาต โดยการลงทุนในกิจการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการนั้นได้ โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ต่อเมื่อกิจการดังกล่าวมีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 4 วรรคหนึ่ง และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้จัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจหลักและขอบเขตการดําเนินธุรกิจ พร้อมทั้งหนังสือแสดงความยินยอมของกิจการนั้นให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจะลงทุนในกิจการดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนข้างต้น หรือก่อนที่กิจการดังกล่าวจะเริ่มดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาเป็นผู้จัดตั้งกิจการดังกล่าวขึ้นใหม่ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควร ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการประกอบธุรกิจของกิจการตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาไม่สามารถจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบได้ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในกิจการดังกล่าวให้เหลือไม่เกินร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดของกิจการนั้นภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากผู้ประกอบธุรกิจสัญญาไม่สามารถลดสัดส่วนการลงทุนได้ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลง ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนในกิจการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญานับรวมหุ้นของบุคคลที่โดยพฤติการณ์แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามีอํานาจควบคุมบุคคลนั้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในเรื่องการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในกิจการ หรือการได้มา การจําหน่าย หรือการก่อภาระผูกพัน ในหุ้นที่บุคคลนั้นมีอยู่ในกิจการด้วย ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทให้เป็นไปตามลักษณะ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้สําหรับการประกอบธุรกิจอื่นในแต่ละกรณีไว้ตลอดเวลา ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พบว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญาใดไม่สามารถควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากผู้ประกอบธุรกิจสัญญาไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้ ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,616
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 41/2565 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2565 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) โดยที่มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 กําหนดห้ามมิให้ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกอบธุรกิจอื่น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบการประกอบธุรกิจอื่นของ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 2 แห่งประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2559 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงผู้ลงทุนสถาบันที่เป็นบุคคลธรรมดา” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2559 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 “ข้อ 4/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาประสงค์จะประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ได้รับอนุญาต นอกจากธุรกิจอื่นที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ยื่นคําขอ ความเห็นชอบการประกอบธุรกิจอื่นพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลการพิจารณาภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ให้ความเห็นชอบแก่การประกอบธุรกิจนั้นแล้ว” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2559 เรื่อง การประกอบธุรกิจอื่นของผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 “ในการยื่นขอความเห็นชอบสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามวรรคสอง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยสํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่มีคําสั่งเป็นประการอื่นใดภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,617
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 48/2559 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคำขอรับความเห็นชอบการประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 48/2559 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขอรับความเห็นชอบ การประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 19/2550 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบการประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,618
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 49/2559 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 49/2559 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดให้วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,619
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 55/2559 เรื่อง การขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและการจัดการกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 55/2559.................... เรื่อง การขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบสนับสนุน งานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุน และการจัดการกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ 8 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 56/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถรับบริการระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและการจัดการกองทุนจากผู้ให้บริการดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน สํานักงานจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบสนับสนุน “ผู้รับบริการ” หมายความว่า ผู้รับบริการระบบสนับสนุน “ระบบสนับสนุน” หมายความว่า ระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและการจัดการกองทุน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้ (ก) ข้อมูลของกองทุนรวม เช่น ราคา ผลการดําเนินงาน หรือข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับกองทุนรวม เป็นต้น (ข) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลงทุน (ค) การรับส่งคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน (ง) การชําระราคาค่าซื้อขายหน่วยลงทุน (จ) การจ่ายสิทธิประโยชน์ของหน่วยลงทุน (2) การให้บริการสถาบันตัวกลาง ดังนี้ (ก) ช่องทางการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ข) การชําระค่าซื้อขายหน่วยลงทุนระหว่างผู้ลงทุนและนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (ค) ระบบงานของนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน เช่น การออกใบแจ้งผลการซื้อขาย หรือรายงานหน่วยลงทุนประจํางวด เป็นต้น (3) การให้บริการสําหรับผู้ลงทุน เช่น รายงานการลงทุนรวม เป็นต้น (4) งานระบบทะเบียนกลาง เช่น บริการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (5) งานสนับสนุนการลงทุนและชําระราคาหลักทรัพย์ เช่น บริการส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือชําระราคา โอน และรับโอนผ่านผู้รับฝากทรัพย์สิน ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกับระบบชําระราคาและระบบรับฝากทรัพย์สิน เป็นต้น “ประกาศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและการจัดการกองทุน ข้อ ๓ ให้บุคคลที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการ ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการตามข้อ 3 จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) มีแผนการดําเนินงานที่ชัดเจน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์และความเป็นธรรมต่อผู้รับบริการ (2) มีระบบงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยดังนี้ (ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง (ข) ระบบการควบคุมภายใน (ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ล่วงรู้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมทั้งเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ตลอดจนกระบวนการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ง) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เทียบเท่าหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (จ) ระบบการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน หรือมีการจัดทําเป็นแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและแผนการดําเนินธุรกิจดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง คําว่า “ผู้บริหารระดับสูง” ตาม (2) (จ) วรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ฉ) ระบบงานในการตรวจสอบและกํากับดูแลให้การให้บริการระบบสนับสนุน เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกตามกฎหมายว่าหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (3) มีความพร้อมด้านบุคลากร โดยผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการต้องจัดให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกตามกฎหมายว่าหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (4) มีฐานะการเงินในลักษณะที่ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของผู้ที่ขอรับความเห็นชอบ ต้องสามารถดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการต้องดํารงฐานะการเงินหรือมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (ก) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท (ข) เป็นบุคคลดังนี้ 1. บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ 2. สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น (5) ต้องยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลา ข้อ ๕ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามแผนการดําเนินงานที่แสดงไว้ต่อสํานักงานตามข้อ 4(1) ผู้ให้บริการต้องจัดส่งรายงานและชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้ดําเนินการดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการดําเนินการนั้น ข้อ ๗ ผู้ให้บริการจะเปลี่ยนแปลงระบบงานหรือการดําเนินการไปจากที่เคยแสดงไว้ต่อสํานักงานในครั้งล่าสุดอย่างมีนัยสําคัญได้ต่อเมื่อได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนมีการเปลี่ยนแปลงและสํานักงานไม่ทักท้วงภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้บริการใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ให้บริการต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงและเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อผู้รับบริการล่วงหน้าตามสมควร ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อบกพร่องที่มีนัยสําคัญขึ้นกับระบบงานตามข้อ 4(2) ผู้ให้บริการต้องรายงานข้อบกพร่องพร้อมรายละเอียดต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ปรากฏข้อบกพร่องดังกล่าว และให้รายงานผลการแก้ไขให้สํานักงานทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่แก้ไขแล้วเสร็จ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินได้ตามที่กําหนดในข้อ 4(4) ให้แจ้งให้สํานักงานและผู้รับบริการทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินนั้น ในระหว่างที่ผู้ให้บริการไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้บริการต้องไม่ทําสัญญาเพื่อให้บริการกับผู้รับบริการรายใหม่ จนกว่าจะสามารถดํารงฐานะทางการเงินได้ตามที่หลักเกณฑ์กําหนด ข้อ ๑๐ ผู้ให้บริการต้องไม่ทําข้อตกลงกับลูกค้าในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ (1) จํากัดความรับผิดเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ อันเนื่องจากการที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) จํากัดสิทธิในการยกเลิกการรับบริการในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ข้อ ๑๑ ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีการสอบทานระบบสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการตามที่ได้รับความเห็นชอบและรายงานผลการสอบทานดังกล่าวโดยผู้ตรวจสอบที่สามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ให้บริการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้จัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่มีการจัดทํารายงาน ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ให้บริการประสงค์จะยุติการให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ให้บริการต้องแจ้งสํานักงานและผู้รับบริการทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี พร้อมทั้งแสดงรายการของงานที่คงค้าง และการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้รับบริการ (ถ้ามี) เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๑๓ ผู้ให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ จะต้องดํารงคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้ไว้ตลอดเวลา ข้อ ๑๔ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าผู้ให้บริการใด (1) ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ (2) ไม่ดําเนินการในกรณีที่สํานักงานร้องขอให้ชี้แจง ส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (3) มิได้ดําเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม เป็นธรรม และเป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานที่ดีในการประกอบวิชาชีพ สํานักงานอาจสั่งให้ผู้ให้บริการนั้น ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) ชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมทั้งส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) แก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ห้ามให้บริการกับผู้รับบริการรายใหม่ หรือต่ออายุสัญญากับผู้รับบริการรายเดิม (4) กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคสอง สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,620
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 56/2559 เรื่อง ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหนี้โดยนิติบุคคลต่างประเทศ พ.ศ. 2552
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 56/255958 เรื่อง ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ในการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหนี้โดย นิติบุคคลต่างประเทศ พ.ศ. 2552 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 และมาตรา 199 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบหรือสอบทานงบการเงินที่ยื่นต่อสํานักงานเพื่อเปิดเผยข้อมูลก่อนและภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งสํานักงานได้มีการออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีและขอบเขตการทําหน้าที่ทั้งในกรณีที่เป็นผู้สอบบัญชีไทยและผู้สอบบัญชีต่างประเทศ ซึ่งผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถตรวจสอบและสอบทานงบการเงินของกิจการต่างประเทศที่เสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทยได้โดยไม่จําเป็นต้องมีหลักเกณฑ์เป็นการเฉพาะสําหรับกรณีดังกล่าวอีกต่อไป สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหนี้โดยนิติบุคคลต่างประเทศ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,621
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 58/2559 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานของกิจการต่างประเทศสำหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 58/2559 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานของ กิจการต่างประเทศสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท *\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_* อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 ประกอบกับข้อ 23 ข้อ 27 ข้อ 34 ข้อ 36 และข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะออกและเสนอขายตราสารหนี้ดําเนินการดังต่อไปนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) การยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหรือหลักฐานสําหรับการออกและเสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาทต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (2) การยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้สําหรับการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปและในวงจํากัด (3) การรายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ (4) การรายงานการไถ่ถอนตราสารหนี้ก่อนครบกําหนดอายุ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,622
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สอ. 6/2557 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 6/2557 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะนําหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย ในการขอให้สํานักงานตรวจสอบหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือไม่ สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 18/2555 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ สาระสําคัญของข้อกําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การยื่นคําขอตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2 (2) การแจ้งผลการตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3 ส่วน ๒ บทนิยาม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกับการอนุญาตหรือการจดทะเบียน จากหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้จัดตั้งโครงการดังกล่าว “ประเทศกลุ่มอาเซียน” หมายความว่า ประเทศกลุ่มอาเซียนที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยเป็นพหุภาคีประเภท signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company)หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน “ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” (CIS operator) หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หมวด ๒ การยื่นคําขอตรวจสอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการหรือตัวแทน (local representative) ของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ที่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยื่นคําขอตรวจสอบต่อสํานักงานเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานสําหรับการเสนอขายหน่วยต่อผู้ลงทุนทุกประเภทดังต่อไปนี้ (ก) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (ข) หนังสือรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีการเสนอขายหน่วยในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ และไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลหลักสั่งห้ามการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว (ค) หนังสือรับรองว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจะเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทยในระยะเวลาเดียวกับผู้ลงทุนในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (ง) หนังสือแต่งตั้งบริษัทนายหน้าเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย และหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่กําหนดหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. (จ) ร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) ซึ่งจัดทําโดยบริษัทนายหน้าที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งนี้ ในการจัดทําร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวให้ระบุข้อมูลตามแบบ Fact Sheet – ASEAN CIS และให้มีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องเปิดเผยที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) เอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ กรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยต่อผู้ลงทุนทั่วไป (ก) คําขอตรวจสอบลักษณะหน่วย (application letter) โดยให้ระบุข้อมูลตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ข) หนังสือรับรองความถูกต้องของข้อมูล เพื่อยืนยันว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม Part I : Qualifications of the CIS Operator, Trustee/ Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters และ Part II : The Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes และหน่วยงานกํากับดูแลหลักได้อนุญาตให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสามารถเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศที่จัดตั้งโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวได้ โดยให้ระบุข้อมูลตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ค) เอกสารการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (prospectus) (3) เอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ กรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (ก) หนังสือรับรองว่าจะเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยเท่านั้น (ข) หนังสือรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 ทั้งนี้ กรณีที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีนโยบายการลงทุนแบบ feeder fund ต้องเป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่อยู่ในประเทศกลุ่มอาเซียน (ค) เอกสารเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 (ง) เอกสารที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (จ) หลักฐานที่แสดงว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก พร้อมทั้งรับรองด้วยว่าหน่วยงานกํากับดูแลหลักดังกล่าวมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุน (ฉ) หนังสือรับรองว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น (ช) หนังสือรับรองว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งเอกสารดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น ข้อ ๖ ให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อ 5 ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบที่สํานักงานกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ คําขอละ 100,000 บาท ต่อสํานักงานในวันที่ยื่นคําขอด้วย ข้อ ๗ เอกสารหลักฐานที่ผู้ยื่นคําขอยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 6 ให้จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เว้นแต่ร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้จัดทําเป็นภาษาไทย และสําหรับเอกสารหลักฐานตามข้อ 5(1) (จ) ข้อ 5(2) (ค) และข้อ 5(3) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ผู้ยื่นคําขอต้องจัดให้บริษัทนายหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว ลงนามรับรองความถูกต้องของเอกสารหลักฐานนั้นด้วย ในกรณีข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่นต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่าสาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ (2) ผู้ยื่นคําขอต้องรับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรกให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หมวด ๓ การแจ้งผลการตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อหน่วย ของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ให้สํานักงานแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่สํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไปสํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนแล้ว ในการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ หากผู้ยื่นคําขอดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าผู้ยื่นคําขอนั้นไม่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศกับสํานักงานอีกต่อไป ข้อ ๙ สํานักงานจะเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากสํานักงานว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามลักษณะที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงาน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐ ผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อ 8 เป็นการพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏตามคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ผู้ยื่นคําขอได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานเท่านั้น และมิได้เป็นการรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวจะมีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลอดเวลาที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่เปิดเผยนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับการเปิดเผยรายชื่อว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีลักษณะไม่เข้าข่ายตามประกาศดังกล่าวในประเด็นที่มีนัยสําคัญ สํานักงานอาจถอดรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุต่างประเทศดังกล่าวออกจากรายชื่อที่สํานักงานเปิดเผยไว้ตามข้อ 9 ก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,623
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สอ. 18/2555 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 18 /2555 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะนําหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย ในการขอให้สํานักงานตรวจสอบหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่หรือไม่ สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกับการอนุญาตหรือการจดทะเบียน จากหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้จัดตั้งโครงการดังกล่าว “ประเทศกลุ่มอาเซียน” หมายความว่า ประเทศกลุ่มอาเซียนที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยเป็นพหุภาคีประเภท signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company)หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (CIS operator) “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หมวด ๑ การยื่นคําขอตรวจสอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือตัวแทน (local representative)และบริษัทนายหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว ที่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ร่วมกันยื่นคําขอตรวจสอบต่อสํานักงานเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารการจัดตั้งโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (ก) กรณีโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เป็นบริษัท ให้ยื่นหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับบริษัท หรือเอกสารจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายของประเทศที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น (ข) กรณีโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เป็นทรัสต์ ให้ยื่นสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (2) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจัดตั้งได้โดยชอบด้วย กฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (3) หนังสือรับรองว่าจะเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยเท่านั้น (4) หนังสือรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 (5) หนังสือรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีการเสนอขายหน่วย ในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ และไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลหลักสั่งห้าม การซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว (6) เอกสารที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (7) ร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) ซึ่งจัดทําโดยบริษัทนายหน้าที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ข้อมูลทั่วไป 1. ประเภทของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ 2. วันที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจัดตั้งได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ 3. หน่วยงานกํากับดูแลหลักของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ 4. ชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ 5. ชื่อและสถานที่ติดต่อของบริษัทนายหน้าที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย และตัวแทน ในประเทศไทย 6. ระยะเวลาในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ 7. นโยบายจ่ายเงินปันผล 8. ชื่อผู้ประกันของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (ถ้ามี) 9. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน 10. อายุของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (ถ้ามี) (ข) แผนภาพแสดงระดับความเสี่ยงของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (risk spectrum) (ค) นโยบายการลงทุน 1. ทรัพย์สินที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศลงทุน สัดส่วนการลงทุนและการลงทุนสูงสุดห้าอันดับแรก 2. กลยุทธ์ในการบริหารโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ 3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ 4. ดัชนีชี้วัด (benchmark) ของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (ง) โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศเหมาะกับผู้ลงทุนประเภทใด (จ) ปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ รวมถึงความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (foreign exchange rate risk) และความเสี่ยงของประเทศ (country risk) ที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจัดตั้งขึ้น (ฉ) ผลการดําเนินงานย้อนหลังตั้งแต่มีการจัดตั้งโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (ช) คําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ เช่น ข้อจํากัดในการดําเนินคดีทางกฎหมาย ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของประเทศ (country risk) ที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจัดตั้งขึ้น เป็นต้น (ซ) คําเตือนเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในเอกสารที่มีการจัดส่งหรือแจกจ่ายให้กับผู้ลงทุนในกรณีที่เลือกจัดทําเอกสารทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่าจะได้รับเอกสารที่จัดทําเป็นภาษาไทยเฉพาะร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) เท่านั้น (ฌ) ค่าธรรมเนียม (8) เอกสารเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 (9) หลักฐานที่แสดงว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก พร้อมทั้งรับรองด้วยว่าหน่วยงานกํากับดูแลหลักดังกล่าวมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุน (10) หนังสือรับรองว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น (11) หนังสือรับรองว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งเอกสารดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น (12) หนังสือรับรองว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจะเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทยในระยะเวลาเดียวกับผู้ลงทุนในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (13) หนังสือแต่งตั้งบริษัทนายหน้าเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย และหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่กําหนดหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคําขอตรวจสอบหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อ 3 ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบที่สํานักงานกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ คําขอละ 100,000 บาท ต่อสํานักงานในวันที่ยื่นคําขอด้วย ข้อ ๕ เอกสารหลักฐานที่ผู้ยื่นคําขอยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 4 ให้จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เว้นแต่ร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้จัดทําเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ หากข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่นต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่าสาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ (2) ผู้ยื่นคําขอต้องรับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรกให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หมวด ๒ การแจ้งผลการตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อ หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ สํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนแล้ว ในการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ หากผู้ยื่นคําขอดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าผู้ยื่นคําขอนั้นไม่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศกับสํานักงานอีกต่อไป ข้อ ๗ สํานักงานจะเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากสํานักงานว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามลักษณะที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงาน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๘ ผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อ 6 เป็นการพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏตามคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ผู้ยื่นคําขอได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานเท่านั้น และมิได้เป็นการรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวจะมีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลอดเวลาที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่เปิดเผยนั้น ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับการเปิดเผยรายชื่อว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีลักษณะไม่เข้าข่ายตามประกาศดังกล่าวอีกต่อไป สํานักงานจะถอดรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวออกจากรายชื่อที่สํานักงานเปิดเผยไว้ตามข้อ 7 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,624
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สอ. 62/2559 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 62/25592559 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะนําหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย ในการขอให้สํานักงานตรวจสอบหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือไม่ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 6/2557 เรื่อง การตรวจสอบและการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ สาระสําคัญของข้อกําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การยื่นคําขอตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2 (2) การแจ้งผลการตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3 ส่วน ๒ บทนิยาม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกับการอนุญาตหรือการจดทะเบียน จากหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้จัดตั้งโครงการดังกล่าว “ประเทศกลุ่มอาเซียน” หมายความว่า ประเทศกลุ่มอาเซียนที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยเป็นพหุภาคีประเภท signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company) หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน “ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” (CIS operator) หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแล ในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หมวด ๒ การยื่นคําขอตรวจสอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการหรือตัวแทน (local representative) ของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ที่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน เพื่อขอตรวจสอบลักษณะหน่วยดังกล่าว (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยต่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้ยื่นเอกสารดังนี้ (ก) คําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป (ASEAN CIS application form) (ข) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (ค) หนังสือรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีการเสนอขายหน่วยในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ และไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลหลักสั่งห้ามการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว (ง) หนังสือรับรองว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจะเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทยในระยะเวลาเดียวกับผู้ลงทุนในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (จ) หนังสือแต่งตั้งบริษัทนายหน้าเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย และหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่กําหนดหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. (ฉ) ร่างสรุปข้อมูลสําคัญของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) ซึ่งจัดทําโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ (ช) หนังสือรับรองความถูกต้องของข้อมูล เพื่อยืนยันว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม Part I : Qualifications of the CIS Operator, Trustee/ Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters และ Part II : The Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes และหน่วยงานกํากับดูแลหลักได้อนุญาตให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสามารถเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศที่จัดตั้งโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวได้ (ซ) เอกสารการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (prospectus) เอกสารตาม (1) วรรคหนึ่ง (ก) (ฉ) และ (ช) ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ยื่นเอกสารดังนี้ (ก) คําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) หนังสือรับรองว่าจะเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยเท่านั้น (ค) หนังสือรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 ทั้งนี้ กรณีที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีนโยบายการลงทุนแบบ feeder fund ต้องเป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่อยู่ในประเทศกลุ่มอาเซียน (ง) เอกสารเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 (จ) เอกสารที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ (ฉ) หลักฐานที่แสดงว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก พร้อมทั้งรับรองด้วยว่าหน่วยงานกํากับดูแลหลักดังกล่าวมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุน (ช) หนังสือรับรองว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น (ซ) หนังสือรับรองว่าผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งเอกสารดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลักซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบในการดําเนินการนั้น หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องลงนามโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลนั้น (ฌ) เอกสารตาม (1) วรรคหนึ่ง (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ข้อ ๖ เอกสารที่ผู้ยื่นคําขอยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เอกสารตามข้อ 5 ให้จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เว้นแต่เอกสารตามข้อ 5(1) วรรคหนึ่ง (ฉ) ให้จัดทําเป็นภาษาอังกฤษ (2) เอกสารตามข้อ 5(1) วรรคหนึ่ง (ซ) และข้อ 5(2) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ผู้ยื่นคําขอต้องจัดให้บริษัทนายหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว ลงนามรับรองความถูกต้องของเอกสารหลักฐานนั้นด้วย ในกรณีข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่นต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่าสาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ (2) ผู้ยื่นคําขอต้องรับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรกให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๗ ในการยื่นคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อ 5 ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ คําขอละ 100,000 บาท ต่อสํานักงานในวันที่ยื่นคําขอด้วย หมวด ๓ การแจ้งผลการตรวจสอบ และการเปิดเผยรายชื่อ หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ให้สํานักงานแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไปสํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ สํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนแล้ว ในการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ทั้งนี้ หากผู้ยื่นคําขอดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าผู้ยื่นคําขอนั้นไม่ประสงค์จะขอตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศกับสํานักงานอีกต่อไป ข้อ ๙ สํานักงานจะเปิดเผยรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากสํานักงานว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามลักษณะที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงาน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐ ผลการตรวจสอบลักษณะหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามข้อ 8 เป็นการพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏตามคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ผู้ยื่นคําขอได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานเท่านั้น และมิได้เป็นการรับรองว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวจะมีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลอดเวลาที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่เปิดเผยนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับการเปิดเผยรายชื่อว่าเข้าลักษณะตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีลักษณะไม่เข้าข่ายตามประกาศดังกล่าวในประเด็นที่มีนัยสําคัญ สํานักงานอาจถอดรายชื่อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวออกจากรายชื่อที่สํานักงานเปิดเผยไว้ตามข้อ 9 ก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,625
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 65/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสอบบัญชีสำหรับผู้สอบบัญชีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 65/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี สําหรับผู้สอบบัญชีของกองทุนส่วนบุคคล ที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 140 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๒ ในการปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุนด้วย ทั้งนี้ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป (1) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีจํานวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี มากกว่า 100 ราย (2) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี มากกว่า 100 ล้านบาท ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,626
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 49/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 49/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 54 วรรคสาม และมาตรา 75 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (1) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น “สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป หมวด ๑ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ข้อ ๓ ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอ และมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะมีความสามารถในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา (3) มีผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ (4) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการ และ (5) แสดงได้ว่าสํานักหักบัญชีสัญญาซึ่งจะให้บริการระบบการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาที่จะจัดตั้งขึ้น ได้รับใบอนุญาตหรืออยู่ระหว่างยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญายื่นคําขอ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบ 54-1 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วสําเนาสองชุดต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ ในการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ผู้ขอใบอนุญาตต้องยินยอมและอํานวยความสะดวกให้บุคคลที่สํานักงาน ก.ล.ต. มอบหมาย เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ขอใบอนุญาต หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอใบอนุญาต ข้อ ๖ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขอตามข้อ 6 นอกจากการพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรและภายใระยะเวลาที่กําหนดได้ และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ขอใบอนุญาตได้มาชี้แจงหรือได้ส่งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนแล้วรวมเข้ากับการนับระยะเวลาตามข้อ 6 ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาจะเริ่มประกอบการดังกล่าวได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (2) กฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3(2) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว และ (3) สํานักหักบัญชีสัญญาที่จะให้บริการระบบการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสามารถประกอบการได้ตามกฎหมาย หมวด ๒ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา ข้อ ๙ ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัดและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอ และมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะมีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทโดยอาจประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นของสํานักหักบัญชีสัญญา ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญามีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือข้อผูกพันเป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายจากบริษัทใหญ่ในการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่สํานักหักบัญชีสัญญาที่จะจัดตั้งขึ้น โดยบริษัทใหญ่ต้องกันทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและมีความเสี่ยงต่ําไว้เพื่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าว (explicit guarantee) (3) แสดงได้ว่าจะมีความสามารถในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา (4) มีผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ และ (5) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการ ข้อ ๑๐ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญายื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบ 75-1 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอท้ายประกาศนี้พร้อมด้วยสําเนาสองชุดต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๑๑ ให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศนี้มาใช้บังคับกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาจะเริ่มประกอบการดังกล่าวได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จัดให้มีแหล่งเงินทุน ระบบงาน และบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ และ (2) กฎเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีสัญญาที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9(3) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,627
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 54 วรรคสาม และมาตรา 75 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 49/2543 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) "ศูนย์ซื้อขายสัญญา" หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป (2) "สํานักหักบัญชีสัญญา" หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายถ่วงหน้าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป (3) "บริษัทใหญ่" หมายความว่า (ก) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (ก) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้น หมวด ๑ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ------------------------ ข้อ ๔ ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้นบาทในวันที่ยื่นคําขอ และมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะมีความสามารถในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 57 และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา (3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางานรวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ (4) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการ และ (5) แสดงได้ว่าสํานักหักบัญชีสัญญาซึ่งจะให้บริการ ระบบการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาที่จะจัดตั้งขึ้น ได้รับใบอนุญาตหรืออยู่ระหว่างยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๕ ให้ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญายื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมด้วยสําเนาสองชุด ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่ สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๖ ในการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ผู้ขอใบอนุญาตต้องยินยอมและอํานวยความสะดวกให้บุคคลที่สํานักงาน ก.ล.ต. มอบหมาย เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ขอใบอนุญาต หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงินการดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอใบอนุญาต ข้อ ๗ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอตามข้อ 7 นอกจากการพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรและภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ขอใบอนุญาตได้มาชี้แจงหรือได้ส่งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนแล้วรวมเข้ากับการนับระยะเวลาตามข้อ 7 ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาจะเริ่มประกอบการดังกล่าวได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการ ซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (2) กฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4 (2) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแล้ว และ (3) สํานักหักบัญชีสัญญาที่จะให้บริการระบบการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสามารถประกอบการได้ตามกฎหมาย หมวด ๒ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา ------------------------------- ข้อ ๑๐ ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัดและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (3) มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอ และมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะมีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท โดยอาจประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นของสํานักหักบัญชีสัญญาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญามีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือข้อผูกพันเป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายจากบริษัทใหญ่ในการให้การสนับสนุนทางค้านการเงินแก่สํานักหักบัญชีสัญญาที่จะจัดตั้งขึ้น โดยบริษัทใหญ่ต้องกันทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและมิความเสี่ยงต่ําไว้เพื่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าว (explicit guarantee) (3) แสดงได้ว่าจะมีความสามารถในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 78 และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน เละประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา (4) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางานรวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ และ (5) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการ ข้อ ๑๑ ให้ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญายื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมด้วยสําเนาสองชุด ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๑๒ ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาจะเริ่มประกอบการดังกล่าวได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จัดให้มีแหล่งเงินทุน ระบบงาน และบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ และ (2) กฎเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีสัญญาที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ ในข้อ 10(3) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแล้ว ข้อ ๑๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 49/2543 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายถ่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 49/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 วิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,628
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 13/2558 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2558 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และมาตรา 9 มาตรา 54 วรรคสาม และมาตรา 75 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขออนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ให้นําความในข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา โดยอนุโลม” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,629
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 4/2559 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2559 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชี สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 75 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าสามร้อยล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอและมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังกล่าวก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,630
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2552 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) --------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 54 วรรคสาม และมาตรา 75 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กย. 49/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) "ศูนย์ซื้อขายสัญญา" หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป (2) "สํานักหักบัญชีสัญญา" หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป (3) "บริษัทใหญ่" หมายความว่า (ก) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (ก) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น หมวด ๑ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ---------------------------- ข้อ ๔ ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาล้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียน ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอ และมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะมีความสามารถในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 57 และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา (3) มีกรรมการและผู้บริหาร ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางานรวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ (4) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการ และ (5) แสดงได้ว่าสํานักหักบัญชีสัญญาซึ่งจะให้บริการระบบการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาที่จะจัดตั้งขึ้น ได้รับใบอนุญาตหรืออยู่ระหว่างยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๕ ให้ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญายื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมด้วยสําเนาสองชุด ทั้งนี้ ความแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๖ ในการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ผู้ขอใบอนุญาตต้องยินยอมและอํานวยความสะดวกให้บุคคลที่สํานักงาน ก.ล.ต. มอบหมาย เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ขอใบอนุญาต หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอใบอนุญาต ข้อ ๗ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขออนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ยกเลิก ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาจะเริ่มประกอบการดังกล่าวได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณี ที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (2) กฎเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสัญญาที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4(2) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแล้ว และ (3) สํานักหักบัญชีสัญญาที่จะให้บริการระบบการชําระหนี้ในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสามารถประกอบการได้ตามกฎหมาย หมวด ๒ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา ----------------------------- ข้อ ๑๐ ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัดและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าสามร้อยล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอและมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังกล่าวก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะมีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการประกอบกิจการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท โดยอาจประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นของสํานักหักบัญชีสัญญา ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญามีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือข้อผูกพันเป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายจากบริษัทใหญ่ในการให้การสนับสนุนทางค้านการเงินแก่สํานักหักบัญชีสัญญาที่จะจัดตั้งขึ้น โดยบริษัทใหญ่ต้องกันทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและมีความเสี่ยงต่ําไว้เพื่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าว (explicit guarantee) (3) แสดงได้ว่าจะมีความสามารถในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 78 และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์เละตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา (4) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางานรวมทั้งมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการ และ (5) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการ ข้อ ๑๑ ให้ผู้ขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญายื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมด้วยสําเนาสองชุด ทั้งนี้ ความแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๑๒ ให้นําความในข้อ 6และข้อ 7 มาใช้บังคับกับการขอใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาจะเริ่มประกอบการดังกล่าวได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จัดให้มีแหล่งเงินทุน ระบบงาน และบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ และ (2) กฎเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีสัญญาที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็น ไปตามที่ กําหนด ไว้ในข้อ 10(3) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแล้ว ข้อ ๑๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 49/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 49/2547 เรื่อง การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,631
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 11 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 38 มาตรา 57(7) มาตรา 58 และมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๑ ประกาศนี้เป็นข้อกําหนดขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ และในกรณีที่มีข้อกําหนดเป็นการเฉพาะสําหรับธุรกรรมประเภทใด ทรัสต์ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อให้บริการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมประเภทนั้น เช่น ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (sukuk) เป็นต้น ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสต์ที่มีหน้าที่เฉพาะเพื่อการออกตราสารศุกูก (sukuk) เว้นแต่ประกาศว่าด้วยการดังกล่าวจะกําหนดให้ทรัสต์นั้นอยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ ข้อ ๓ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว หมวด ๒ หลักในการดําเนินธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ เพื่อให้ทรัสต์ทําหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพที่ได้รับความไว้วางใจให้ถือกรรมสิทธิ์และบริหารจัดการกองทรัสต์ ทรัสต์ต้องประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ดําเนินธุรกิจโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังเยี่ยงผู้มีวิชาชีพ (3) มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอ (4) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (5) ดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันนั้น (market conduct) พึงกระทํา (6) ปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม และคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (7) จัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (8) ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างทรัสต์กับผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ลงทุนกับลูกค้าในธุรกิจด้านอื่นของทรัสต์ (9) ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้ให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนหรือตัดสินใจเพื่อผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม (10) มีมาตรการเพียงพอในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของกองทรัสต์ (11) เปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นซึ่งอาจมีผลต่อการสั่งการหรือการดําเนินการของทรัสต์ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า หมวด ๓ ระบบงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ เพื่อให้มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทรัสต์ต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพและสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยต้องมีระบบงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การจัดการกองทรัสต์ (ก) การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบภายในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (ข) การคัดเลือกและดูแลบุคลากรให้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ (ค) มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (ง) การกํากับดูแล ตรวจสอบ และถ่วงดุลการปฏิบัติงานในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (จ) การจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน (ก) การแยกทรัพย์สินในกองทรัสต์ออกจากทรัพย์สินส่วนตัวของทรัสต์ (ข) การเก็บรักษา ตรวจสอบ ดูแล เบิกจ่าย และการจัดทําบัญชีทรัพย์สินในกองทรัสต์ รวมทั้งการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินในกองทรัสต์ (3) การบริหารความเสี่ยง (ก) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) ที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ (ข) การกํากับดูแลการบริหารและจัดการความเสี่ยง (risk management oversight) ข้อ ๖ การจัดระบบงานตามข้อ 5 จะต้องปรากฏผลในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถรองรับให้การบริหารจัดการกองทรัสต์แต่ละกองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (2) สามารถป้องกันได้อย่างเพียงพอตามที่คาดหมายได้โดยทั่วไปเพื่อมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกระทําการโดยทุจริตต่อทรัพย์สินในกองทรัสต์ และในกรณีที่มีการทุจริตเกิดขึ้น ระบบงานสามารถหยุดการกระทําดังกล่าว ตลอดจนบรรเทา แก้ไข และเยียวยาความเสียหายจากกรณีดังกล่าวได้ (3) สามารถป้องกันการกระทําซึ่งเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน รวมทั้งสามารถป้องกันมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ อาศัยข้อมูลจากการทําหน้าที่ที่เกี่ยวกับกองทรัสต์ดังกล่าวหาประโยชน์ให้กับตนเอง (4) สามารถบ่งชี้ทรัพย์สินในกองทรัสต์ได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน หมวด ๔ การติดต่อและชักชวนผู้ลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ เพื่อให้ทรัสต์ติดต่อชักชวนให้มีการลงทุนในใบทรัสต์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และจัดให้มีข้อมูลตามความต้องการของผู้ลงทุน ทรัสต์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในจํานวนที่เพียงพอต่อการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนทั่วไป (2) ควบคุมดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในใบทรัสต์อย่างเหมาะสม (3) จัดให้มีช่องทางอย่างเพียงพอและเหมาะสมที่ทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขายใบทรัสต์ได้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (1) คําว่า “ผู้ลงทุนทั่วไป” ให้หมายความถึงผู้ลงทุนอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๘ การดําเนินการตามข้อ 7 จะต้องทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างครบถ้วนตามที่ต้องการเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และความเหมาะสมในการลงทุนในใบทรัสต์ (2) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่เหมาะสมกับเวลาและสภาพของผู้ลงทุน (3) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (4) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่ได้ลงทุนในใบทรัสต์นั้นแล้ว หมวด ๕ การมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ เพื่อให้ทรัสต์คัดเลือกบุคคลที่จะได้รับมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง อีกทั้งมีการกํากับและตรวจสอบการจัดการงานแทนดังกล่าวอย่างเพียงพอทรัสต์ต้องกําหนดมาตรการในการดําเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงความพร้อมด้านระบบงานและบุคลากรของผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการขัดกันทางผลประโยชน์ของผู้รับมอบหมายงานและกองทรัสต์ (2) การควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติของผู้ได้รับมอบหมายงาน (3) การดําเนินการของทรัสต์เมื่อปรากฏว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมที่จะได้รับมอบหมายงานอีกต่อไป ข้อ ๑๐ นอกจากการมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา 37(1) ถึง (3) แล้ว ทรัสต์อาจมอบหมายงานในส่วนของการลงทุน การเก็บรักษาทรัพย์สิน การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ หรือการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน ให้ผู้อื่นดําเนินการได้โดยต้องระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์อย่างชัดแจ้งว่าให้มีการมอบหมายงานนั้นได้ ข้อ ๑๑ ในการมอบหมายงานตามข้อ 10 ทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การจัดการในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเป็นการจัดการลงทุนดังกล่าวในต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (ค) ทรัสต์รายอื่น (ง) ผู้รับฝากทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กองทรัสต์ได้ลงทุนไว้ หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ (3) การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้ ข้อ ๑๒ การมอบหมายงานตามข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 ต้องปรากฏผลในลักษณะที่ทําให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการกองทรัสต์จะสามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลเสียหายต่อกองทรัสต์ และทรัสต์จะยังคงรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ ตามที่กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนกําหนด หมวด ๖ การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๑๓ ทรัสต์ต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 14 เว้นแต่เป็นกองทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ในการออกหลักทรัพย์ (Passive trust) และมีการระบุอย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่จะไม่มีการจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ ๑๔ ทรัสต์ต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ต้องจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หมวด ๗ ผลของการฝ่าฝืนประกาศ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ ๑๕ การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ทรัสต์อาจได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 67 ประกอบกับมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ ตามความร้ายแรงของพฤติกรรม หรือผลของการกระทํา หรือผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของธุรกิจทรัสต์ ซึ่งโทษทางปกครองดังกล่าวได้แก่ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ปรับทางปกครอง (3) ตําหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน (4) จํากัดการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสต์ (5) พักการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสต์เฉพาะสัญญาก่อตั้งทรัสต์ใดหรือทุกสัญญาก็ได้ (6) เพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการเป็นทรัสต์ หมวด ๘ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อวางข้อกําหนดขั้นต่ําในการดําเนินธุรกิจของการให้บริการเป็นทรัสต์ ซึ่งจะทําให้ทรัสต์สามารถให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจในจัดการหรือดูแลเงินทุนของลูกค้าหรือผู้ลงทุน และเกิดความเชื่อมั่นในภาพรวมของธุรกิจการเป็นทรัสต์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,632
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 5/2558 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 5/2558 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจ โดยทั่วไปของทรัสต์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 30 วรรคสอง และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ในหมวด 2 หลักในการดําเนินธุรกิจ ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 “ข้อ 4/1 ทรัสต์ต้องดูแลและดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการทรัสต์จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทรัสต์นั้น ๆ และมิได้เป็นไปหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากกาจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) ทั้งนี้ ตลอดอายุของทรัสต์ดังกล่าว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,633
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 37/2564 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจ โดยทั่วไปของทรัสต์ (ฉบับที่ 3 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 37/2564 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจ โดยทั่วไปของทรัสต์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8(1) มาตรา 37 วรรคหนึ่ง (4) มาตรา 38 และ มาตรา 57(7) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุนและการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 “(ค) ในกรณีที่ทรัสต์ดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 “ข้อ 9/1 ในกรณีที่ทรัสต์จะมอบหมายหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นผู้ดําเนินการแทน ให้ทรัสต์มอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ (3) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการจัดการลงทุนซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในระดับที่ไม่ต่ํากว่า Broadly Implemented หรือเทียบเท่า” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 “ข้อ 10/1 ในกรณีที่ทรัสต์ดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ทรัสต์ต้องมอบหมายการเก็บรักษาทรัพย์สินให้ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของ กองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 การมอบหมายงานตามหมวดนี้ ต้องปรากฏผลในลักษณะที่ทําให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการกองทรัสต์จะสามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลเสียหายต่อกองทรัสต์ และทรัสต์จะยังคงรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ ตามที่กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนกําหนด” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,634
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 1/2553 ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 11 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 38 มาตรา 57(7) มาตรา 58 และมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนพ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ หมวด 1บททั่วไป**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ 1 ประกาศนี้เป็นข้อกําหนดขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี และในกรณีที่มีข้อกําหนดเป็นการเฉพาะสําหรับธุรกรรมประเภทใด ทรัสตีต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อให้บริการเป็นทรัสตีในธุรกรรมประเภทนั้น เช่น ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (sukuk) เป็นต้น ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตีที่มีหน้าที่เฉพาะ เพื่อการออกตราสารศุกูก (sukuk) เว้นแต่ประกาศว่าด้วยการดังกล่าวจะกําหนดให้ทรัสตีนั้นอยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ ข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว หมวด 2หลักในการดําเนินธุรกิจ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 เพื่อให้ทรัสตีทําหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพที่ได้รับความไว้วางใจให้ถือกรรมสิทธิ์และบริหารจัดการกองทรัสต์ ทรัสตีต้องประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ดําเนินธุรกิจโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่ และระมัดระวังเยี่ยงผู้มีวิชาชีพ (3) มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอ (4) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (5) ดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันนั้น (market conduct) พึงกระทํา (6) ปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม และคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุน เป็นสําคัญ (7) จัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (8) ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างทรัสตีกับผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ลงทุนกับลูกค้าในธุรกิจด้านอื่นของทรัสตี (9) ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้ให้คําแนะนํา ที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนหรือตัดสินใจเพื่อผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม (10) มีมาตรการเพียงพอในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของกองทรัสต์ (11) เปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นซึ่งอาจมีผลต่อการสั่งการหรือการดําเนินการของทรัสตี ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า ข้อ 4/1( ทรัสตีต้องดูแลและดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการทรัสต์จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทรัสต์นั้น ๆ และมิได้เป็นไปหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust)ทั้งนี้ ตลอดอายุของทรัสต์ดังกล่าว หมวด 3ระบบงาน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 เพื่อให้มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทรัสตีต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพและสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยต้องมีระบบงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การจัดการกองทรัสต์ (ก) การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบภายในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ข) การคัดเลือกและดูแลบุคลากรให้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ (ค) มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (ง) การกํากับดูแล ตรวจสอบ และถ่วงดุลการปฏิบัติงานในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (จ) การจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน (ก) การแยกทรัพย์สินในกองทรัสต์ออกจากทรัพย์สินส่วนตัวของทรัสตี (ข) การเก็บรักษา ตรวจสอบ ดูแล เบิกจ่าย และการจัดทําบัญชีทรัพย์สินในกองทรัสต์ รวมทั้งการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินในกองทรัสต์ (ค)( ในกรณีที่ทรัสตีดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณีเป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน (3) การบริหารความเสี่ยง (ก) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) ที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ (ข) การกํากับดูแลการบริหารและจัดการความเสี่ยง (risk management oversight) ข้อ 6 การจัดระบบงานตามข้อ 5 จะต้องปรากฏผลในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถรองรับให้การบริหารจัดการกองทรัสต์แต่ละกองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้ง ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (2) สามารถป้องกันได้อย่างเพียงพอตามที่คาดหมายได้โดยทั่วไปเพื่อมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกระทําการโดยทุจริตต่อทรัพย์สินในกองทรัสต์ และในกรณีที่มีการทุจริตเกิดขึ้น ระบบงานสามารถหยุดการกระทําดังกล่าว ตลอดจนบรรเทา แก้ไข และเยียวยาความเสียหายจากกรณีดังกล่าวได้ (3) สามารถป้องกันการกระทําซึ่งเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน รวมทั้งสามารถป้องกันมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ อาศัยข้อมูลจากการทําหน้าที่ที่เกี่ยวกับกองทรัสต์ดังกล่าวหาประโยชน์ให้กับตนเอง (4) สามารถบ่งชี้ทรัพย์สินในกองทรัสต์ได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน หมวด 4การติดต่อและชักชวนผู้ลงทุน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 เพื่อให้ทรัสตีติดต่อชักชวนให้มีการลงทุนในใบทรัสต์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และจัดให้มีข้อมูลตามความต้องการของผู้ลงทุน ทรัสตีต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในจํานวนที่เพียงพอต่อการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนทั่วไป (2) ควบคุมดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในใบทรัสต์อย่างเหมาะสม (3) จัดให้มีช่องทางอย่างเพียงพอและเหมาะสมที่ทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูล ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขายใบทรัสต์ได้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (1) คําว่า “ผู้ลงทุนทั่วไป” ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล ข้อ 8 การดําเนินการตามข้อ 7 จะต้องทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างครบถ้วนตามที่ต้องการเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และความเหมาะสมในการลงทุนในใบทรัสต์ (2) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่เหมาะสมกับเวลาและสภาพของผู้ลงทุน (3) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (4) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่ได้ลงทุนในใบทรัสต์นั้นแล้ว หมวด 5การมอบหมายงาน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 9 เพื่อให้ทรัสตีคัดเลือกบุคคลที่จะได้รับมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง อีกทั้งมีการกํากับและตรวจสอบการจัดการงานแทนดังกล่าวอย่างเพียงพอ ทรัสตีต้องกําหนดมาตรการในการดําเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงความพร้อมด้านระบบงานและบุคลากรของผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการขัดกันทางผลประโยชน์ของผู้รับมอบหมายงานและกองทรัสต์ (2) การควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติของผู้ได้รับมอบหมายงาน (3) การดําเนินการของทรัสตีเมื่อปรากฏว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมที่จะได้รับมอบหมายงานอีกต่อไป ข้อ 9/1( ในกรณีที่ทรัสตีจะมอบหมายหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นผู้ดําเนินการแทน ให้ทรัสตีมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ (3) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการจัดการลงทุนซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในระดับที่ไม่ต่ํากว่า Broadly Implemented หรือเทียบเท่า ข้อ 10 นอกจากการมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในมาตรา 37(1) ถึง (3) แล้ว ทรัสตีอาจมอบหมายงานในส่วนของการลงทุน การเก็บรักษาทรัพย์สิน การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ หรือการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน ให้ผู้อื่นดําเนินการได้โดย ต้องระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์อย่างชัดแจ้งว่าให้มีการมอบหมายงานนั้นได้ ข้อ 10/1( ในกรณีที่ทรัสตีดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ทรัสตีต้องมอบหมายการเก็บรักษาทรัพย์สินให้ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของ กองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน ข้อ 11 ในการมอบหมายงานตามข้อ 10 ทรัสตีต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การจัดการในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณีทั้งนี้ หากเป็นการจัดการลงทุนดังกล่าวในต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (ค) ทรัสตีรายอื่น (ง) ผู้รับฝากทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กองทรัสต์ได้ลงทุนไว้ หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ (3) การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้ ข้อ 12( การมอบหมายงานตามหมวดนี้ ต้องปรากฏผลในลักษณะที่ทําให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการกองทรัสต์จะสามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลเสียหายต่อกองทรัสต์ และทรัสตีจะยังคงรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ ตามที่กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนกําหนด หมวด 6การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ 13 ทรัสตีต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 14 เว้นแต่เป็นกองทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ ในการออกหลักทรัพย์ (Passive trust) และมีการระบุอย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่จะไม่มีการจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ 14 ทรัสตีต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ต้องจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หมวด 7ผลของการฝ่าฝืนประกาศ**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ 15 การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ทรัสตีอาจได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 67 ประกอบกับมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550ทั้งนี้ ตามความร้ายแรงของพฤติกรรม หรือผลของการกระทํา หรือผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของธุรกิจทรัสตี ซึ่งโทษทางปกครองดังกล่าวได้แก่ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ปรับทางปกครอง (3) ตําหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน (4) จํากัดการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตี (5) พักการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตีเฉพาะสัญญาก่อตั้งทรัสต์ใดหรือทุกสัญญาก็ได้ (6) เพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตี หมวด 8วันมีผลใช้บังคับของประกาศ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ *หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อวางข้อกําหนดขั้นต่ําในการดําเนินธุรกิจของ การให้บริการเป็นทรัสตี ซึ่งจะทําให้ทรัสตีสามารถให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจในจัดการหรือดูแลเงินทุนของลูกค้าหรือผู้ลงทุน และเกิดความเชื่อมั่นในภาพรวมของธุรกิจการเป็นทรัสตี จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,635
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 11 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 38 มาตรา 57(7) มาตรา 58 และมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนพ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ หมวด 1บททั่วไป**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ 1 ประกาศนี้เป็นข้อกําหนดขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี และในกรณีที่มีข้อกําหนดเป็นการเฉพาะสําหรับธุรกรรมประเภทใด ทรัสตีต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อให้บริการเป็นทรัสตีในธุรกรรมประเภทนั้น เช่น ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (sukuk) เป็นต้น ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตีที่มีหน้าที่เฉพาะ เพื่อการออกตราสารศุกูก (sukuk) เว้นแต่ประกาศว่าด้วยการดังกล่าวจะกําหนดให้ทรัสตีนั้นอยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ ข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว หมวด 2หลักในการดําเนินธุรกิจ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 เพื่อให้ทรัสตีทําหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพที่ได้รับความไว้วางใจให้ถือกรรมสิทธิ์และบริหารจัดการกองทรัสต์ ทรัสตีต้องประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ดําเนินธุรกิจโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่ และระมัดระวังเยี่ยงผู้มีวิชาชีพ (3) มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอ (4) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (5) ดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันนั้น (market conduct) พึงกระทํา (6) ปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม และคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุน เป็นสําคัญ (7) จัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (8) ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างทรัสตีกับผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ลงทุนกับลูกค้าในธุรกิจด้านอื่นของทรัสตี (9) ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้ให้คําแนะนํา ที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนหรือตัดสินใจเพื่อผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม (10) มีมาตรการเพียงพอในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของกองทรัสต์ (11) เปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นซึ่งอาจมีผลต่อการสั่งการหรือการดําเนินการของทรัสตี ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า ข้อ 4/1( ทรัสตีต้องดูแลและดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการทรัสต์จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทรัสต์นั้น ๆ และมิได้เป็นไปหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust)ทั้งนี้ ตลอดอายุของทรัสต์ดังกล่าว หมวด 3ระบบงาน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 เพื่อให้มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทรัสตีต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพและสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยต้องมีระบบงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การจัดการกองทรัสต์ (ก) การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบภายในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ข) การคัดเลือกและดูแลบุคลากรให้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ (ค) มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (ง) การกํากับดูแล ตรวจสอบ และถ่วงดุลการปฏิบัติงานในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (จ) การจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน (ก) การแยกทรัพย์สินในกองทรัสต์ออกจากทรัพย์สินส่วนตัวของทรัสตี (ข) การเก็บรักษา ตรวจสอบ ดูแล เบิกจ่าย และการจัดทําบัญชีทรัพย์สินในกองทรัสต์ รวมทั้งการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินในกองทรัสต์ (ค)( ในกรณีที่ทรัสตีดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณีเป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน (3) การบริหารความเสี่ยง (ก) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) ที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ (ข) การกํากับดูแลการบริหารและจัดการความเสี่ยง (risk management oversight) ข้อ 6 การจัดระบบงานตามข้อ 5 จะต้องปรากฏผลในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถรองรับให้การบริหารจัดการกองทรัสต์แต่ละกองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้ง ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (2) สามารถป้องกันได้อย่างเพียงพอตามที่คาดหมายได้โดยทั่วไปเพื่อมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกระทําการโดยทุจริตต่อทรัพย์สินในกองทรัสต์ และในกรณีที่มีการทุจริตเกิดขึ้น ระบบงานสามารถหยุดการกระทําดังกล่าว ตลอดจนบรรเทา แก้ไข และเยียวยาความเสียหายจากกรณีดังกล่าวได้ (3) สามารถป้องกันการกระทําซึ่งเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน รวมทั้งสามารถป้องกันมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ อาศัยข้อมูลจากการทําหน้าที่ที่เกี่ยวกับกองทรัสต์ดังกล่าวหาประโยชน์ให้กับตนเอง (4) สามารถบ่งชี้ทรัพย์สินในกองทรัสต์ได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน หมวด 4การติดต่อและชักชวนผู้ลงทุน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 เพื่อให้ทรัสตีติดต่อชักชวนให้มีการลงทุนในใบทรัสต์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และจัดให้มีข้อมูลตามความต้องการของผู้ลงทุน ทรัสตีต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในจํานวนที่เพียงพอต่อการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนทั่วไป (2) ควบคุมดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในใบทรัสต์อย่างเหมาะสม (3) จัดให้มีช่องทางอย่างเพียงพอและเหมาะสมที่ทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูล ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขายใบทรัสต์ได้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (1) คําว่า “ผู้ลงทุนทั่วไป” ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ กองทุนส่วนบุคคล ข้อ 8 การดําเนินการตามข้อ 7 จะต้องทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างครบถ้วนตามที่ต้องการเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และความเหมาะสมในการลงทุนในใบทรัสต์ (2) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่เหมาะสมกับเวลาและสภาพของผู้ลงทุน (3) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (4) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่ได้ลงทุนในใบทรัสต์นั้นแล้ว หมวด 5การมอบหมายงาน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 9 เพื่อให้ทรัสตีคัดเลือกบุคคลที่จะได้รับมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง อีกทั้งมีการกํากับและตรวจสอบการจัดการงานแทนดังกล่าวอย่างเพียงพอ ทรัสตีต้องกําหนดมาตรการในการดําเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงความพร้อมด้านระบบงานและบุคลากรของผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการขัดกันทางผลประโยชน์ของผู้รับมอบหมายงานและกองทรัสต์ (2) การควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติของผู้ได้รับมอบหมายงาน (3) การดําเนินการของทรัสตีเมื่อปรากฏว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมที่จะได้รับมอบหมายงานอีกต่อไป ข้อ 9/1( ในกรณีที่ทรัสตีจะมอบหมายหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นผู้ดําเนินการแทน ให้ทรัสตีมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ (3) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการจัดการลงทุนซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในระดับที่ไม่ต่ํากว่า Broadly Implemented หรือเทียบเท่า ข้อ 10 นอกจากการมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในมาตรา 37(1) ถึง (3) แล้ว ทรัสตีอาจมอบหมายงานในส่วนของการลงทุน การเก็บรักษาทรัพย์สิน การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ หรือการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน ให้ผู้อื่นดําเนินการได้โดย ต้องระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์อย่างชัดแจ้งว่าให้มีการมอบหมายงานนั้นได้ ข้อ 10/1( ในกรณีที่ทรัสตีดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ทรัสตีต้องมอบหมายการเก็บรักษาทรัพย์สินให้ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของ กองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน ข้อ 11 ในการมอบหมายงานตามข้อ 10 ทรัสตีต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การจัดการในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณีทั้งนี้ หากเป็นการจัดการลงทุนดังกล่าวในต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (ค) ทรัสตีรายอื่น (ง) ผู้รับฝากทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กองทรัสต์ได้ลงทุนไว้ หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ (3) การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้ ข้อ 12( การมอบหมายงานตามหมวดนี้ ต้องปรากฏผลในลักษณะที่ทําให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการกองทรัสต์จะสามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลเสียหายต่อกองทรัสต์ และทรัสตีจะยังคงรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ ตามที่กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนกําหนด หมวด 6การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ 13 ทรัสตีต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 14 เว้นแต่เป็นกองทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ ในการออกหลักทรัพย์ (Passive trust) และมีการระบุอย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่จะไม่มีการจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ 14 ทรัสตีต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ต้องจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หมวด 7ผลของการฝ่าฝืนประกาศ**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** ข้อ 15 การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ทรัสตีอาจได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 67 ประกอบกับมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550ทั้งนี้ ตามความร้ายแรงของพฤติกรรม หรือผลของการกระทํา หรือผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของธุรกิจทรัสตี ซึ่งโทษทางปกครองดังกล่าวได้แก่ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ปรับทางปกครอง (3) ตําหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน (4) จํากัดการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตี (5) พักการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตีเฉพาะสัญญาก่อตั้งทรัสต์ใดหรือทุกสัญญาก็ได้ (6) เพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตี หมวด 8วันมีผลใช้บังคับของประกาศ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ *หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อวางข้อกําหนดขั้นต่ําในการดําเนินธุรกิจของ การให้บริการเป็นทรัสตี ซึ่งจะทําให้ทรัสตีสามารถให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจในจัดการหรือดูแลเงินทุนของลูกค้าหรือผู้ลงทุน และเกิดความเชื่อมั่นในภาพรวมของธุรกิจการเป็นทรัสตี จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,636
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนผ่านกองทุนรวมมีความสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ การมีข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมในเบื้องต้นเผยแพร่อย่างเพียงพอและมีคุณภาพจึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ลงทุนที่ประสงค์จะลงทุนผ่านกองทุนรวมเหล่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดอันดับกองทุนรวม คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงได้ประกาศยกเว้นให้การจัดอันดับกองทุนรวมไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทอื่นใดที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนสามารถให้บริการแก่ผู้ลงทุนในข้อมูลที่เกี่ยวกับกองทุนรวมได้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดอันดับกองทุนรวมต้องกระทําอย่างมีมาตรฐาน เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งด้วยความระมัดระวังโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ว่านี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมโดยไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลผู้ประกอบการดังกล่าวอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนของกองทุนรวมเชิงเปรียบเทียบ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ “บริษัทจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมเป็นทางค้าปกติ ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานด้านการจัดอันดับกองทุนรวม “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “การจัดอันดับบริษัทจัดการ” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้ที่จะประกอบการเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมได้ ต้องขอรับความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (2) แสดงได้ว่าหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวมเป็นหลักเกณฑ์ที่มีหลักวิชาการรองรับซึ่งสามารถสะท้อนวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับกองทุนรวม และไม่ก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญของข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมดังกล่าว (3) มีโครงสร้างการถือหุ้น โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหาร ขอบเขต การประกอบธุรกิจ และผู้บริหาร ที่เชื่อได้ว่าไม่มีส่วนได้เสียอันอาจก่อให้เกิดขาดความเป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม และสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรม (4) มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์สุจริต และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ข้อ ๓ ผู้บริหารของผู้ขอความเห็นชอบตามข้อ 2 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (5) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพัก หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบในการปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (6) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพยหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน (7) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (8) มีหรือเคยมีพฤติกรรมไม่สุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ (9) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทําธุรกรรมที่เอาเปรียบผู้ลงทุนในตลาดทุน หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม (10) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริง หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริง อันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในการขอรับความเห็นชอบ หรือในเอกสารหรือรายงานใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. (11) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อมิให้กิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการหรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชา กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศที่ออกภายใต้อํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ข้อ ๔ ในการขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งมาชี้แจง ส่งต้นฉบับเอกสารหรือสําเนาเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดและหากผู้ยื่นคําขอไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๕ ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ข้อ ๖ ในการจัดอันดับกองทุนรวม ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อมูลประกอบการจัดอันดับกองทุนรวมที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงได้ (2) จัดอันดับกองทุนรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวม ด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งใช้ความระมัดระวัง โดยคํานึงถึงผู้รับข้อมูลเป็นสําคัญ (3) ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดอันดับกองทุนรวม หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวม และคําอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวม ตลอดจนแสดงคําเตือนเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวม โดยมีสาระสําคัญของคําเตือนว่า ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ไว้ในเอกสารที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวม (4) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ชี้แจงอธิบายข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมเมื่อได้รับการซักถาม (5) ในกรณีที่มีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดประกอบการจัดอันดับกองทุนรวม สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (6) ก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมและข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาจัดอันดับกองทุนรวมไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว (7) ห้ามมิให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมทําการจัดอันดับกองทุนรวมใด หากบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม หรือผู้บริหารของบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการนั้นในลักษณะที่จะทําให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมขาดความเป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม (8) ห้ามมิให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมกระทําการใด ๆ อย่างไม่เหมาะสมจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ข้อมูล กองทุนรวม บริษัทจัดการ หรือความเชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมมีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวม และสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ใช้ประกอบการจัดอันดับกองทุนรวม ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดนั้น ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวมได้ ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนด ในการนี้ สํานักงานจะให้ทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ข้อ ๙ บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานเข้าไปในสถานที่ตั้งของบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ในระหว่างเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการ เว้นแต่ได้แจ้งความประสงค์ในการจัดอันดับบริษัทจัดการต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และหากสํานักงานไม่ได้แจ้งเป็นอย่างอื่นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับหนังสือแจ้งพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมสามารถประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ ทั้งนี้ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจตามข้อ 2 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมกระทําการ แก้ไขการกระทํา หรืองดเว้นการกระทําได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 11 ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) พักการประกอบการที่ได้รับความเห็นชอบ (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,637
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ การจัดอันดับกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ในการขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมแก่สํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ 5 ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,638
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอับดับกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม(ประมวล) เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนผ่านกองทุนรวมมีความสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ การมีข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมในเบื้องต้นเผยแพร่อย่างเพียงพอและมีคุณภาพจึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ลงทุนที่ประสงค์จะลงทุนผ่านกองทุนรวมเหล่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดอันดับกองทุนรวม คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงได้ประกาศยกเว้นให้การจัดอันดับกองทุนรวมไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทอื่นใดที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนสามารถให้บริการแก่ผู้ลงทุนในข้อมูลที่เกี่ยวกับกองทุนรวมได้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดอันดับกองทุนรวมต้องกระทําอย่างมีมาตรฐาน เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งด้วยความระมัดระวังโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ว่านี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมโดยไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลผู้ประกอบการดังกล่าวอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “การจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับ คุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนของกองทุนรวมเชิงเปรียบเทียบ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือ เครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ “บริษัทจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับ กองทุนรวมเป็นทางค้าปกติ ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานด้านการจัดอันดับกองทุนรวม “กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “การจัดอันดับบริษัทจัดการ” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ผู้ที่จะประกอบการเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมได้ ต้องขอรับความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (2) แสดงได้ว่าหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวมเป็นหลักเกณฑ์ที่มีหลักวิชาการรองรับซึ่งสามารถสะท้อนวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับกองทุนรวม และไม่ก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญของข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมดังกล่าว (3) มีโครงสร้างการถือหุ้น โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหาร ขอบเขต การประกอบธุรกิจ และผู้บริหาร ที่เชื่อได้ว่าไม่มีส่วนได้เสียอันอาจก่อให้เกิดขาดความเป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม และสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรม (4) มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์สุจริต และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ข้อ 3 ผู้บริหารของผู้ขอความเห็นชอบตามข้อ 2 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4)[1](#fn1) เป็นบุคคลที่มีอยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน (5) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพัก หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบในการปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (6) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน (7) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (8) มีหรือเคยมีพฤติกรรมไม่สุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ (9) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทําธุรกรรมที่เอาเปรียบผู้ลงทุนในตลาดทุน หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม (10) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริง หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริง อันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในการขอรับความเห็นชอบ หรือในเอกสารหรือรายงานใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. (11) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อมิให้กิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการหรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชา กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศที่ออกภายใต้อํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ข้อ 4[2](#fn2) ในการขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมแก่สํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ 5[3](#fn3) ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 6 ในการจัดอันดับกองทุนรวม ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อมูลประกอบการจัดอันดับกองทุนรวมที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงได้ (2) จัดอันดับกองทุนรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งใช้ความระมัดระวัง โดยคํานึงถึงผู้รับข้อมูลเป็นสําคัญ (3) ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดอันดับกองทุนรวม หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับ กองทุนรวม และคําอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวม ตลอดจนแสดงคําเตือนเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวม โดยมีสาระสําคัญของคําเตือนว่า ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ไว้ในเอกสารที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวม (4) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ชี้แจงอธิบายข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมเมื่อได้รับการซักถาม (5) ในกรณีที่มีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดประกอบการจัดอันดับกองทุนรวม สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (6) เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมและข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาจัดอันดับกองทุนรวมไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว (7) ห้ามมิให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมทําการจัดอันดับกองทุนรวมใด หากบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม หรือผู้บริหารของบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการนั้นในลักษณะที่จะทําให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมขาดความเป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม (8) ห้ามมิให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมกระทําการใด ๆ อย่างไม่เหมาะสมจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ข้อมูล กองทุนรวม บริษัทจัดการ หรือความเชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมมีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวม และสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ใช้ประกอบการจัดอันดับกองทุนรวมให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดนั้น ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวมได้ ข้อ 8 ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนด ในการนี้ สํานักงานจะให้ทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ข้อ 9 บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานเข้าไปในสถานที่ตั้งของบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ในระหว่างเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ข้อ 10 ห้ามมิให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการเว้นแต่ได้แจ้งความประสงค์ในการจัดอันดับบริษัทจัดการต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และหากสํานักงานไม่ได้แจ้งเป็นอย่างอื่นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับหนังสือแจ้งพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมสามารถประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ ทั้งนี้ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจตามข้อ 2 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการโดยอนุโลม ข้อ 11 ในกรณีที่บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทจัดอันดับกองทุนรวมกระทําการ แก้ไขการกระทํา หรืองดเว้นการกระทําได้ ข้อ 12 ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 2หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 11 ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) พักการประกอบการที่ได้รับความเห็นชอบ (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ: ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 03/12/2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546ฉบับทั่วไป ตอนพิเศษ 142ง เล่มที่ 120 ..........ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ/น/ข. 28/2549 เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดลักษณะต้องห้ามของบุคลากรภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ฉบับที่ 123 ตอนพิเศษ 130 ง ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 06/08/2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 ฉบับทั่วไป ตอนพิเศษ 202ง เล่มที่ 132 --- 1. 2. 3.
1,639
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 10 วรรคสอง และมาตรา 12 วรรคสอง (5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชกําหนดที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “โครงการ” หมายความว่า โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) “ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ” (originator) หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์ให้สินทรัพย์ ของตนเป็นสินทรัพย์ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) ยกเลิก (5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (6) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้มีสิทธิเสนอโครงการ (ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของผู้มีสิทธิเสนอโครงการนั้นได้ (ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการ (ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในผู้มีสิทธิเสนอโครงการ หรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของผู้มีสิทธิเสนอโครงการนั้น (7) “ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้” (servicer) หมายความว่า ผู้ที่ให้บริการเรียกเก็บและรับชําระหนี้ที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง และดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่จะยื่นคําขออนุมัติโครงการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) กิจการตามกฎหมายไทย ได้แก่ (ก) สถาบันการเงิน (ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ง) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ (ก) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (ข) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ การยื่นคําขออนุมัติโครงการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อ 6 และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติโครงการตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๓ สํานักงาน ก.ล.ต. จะอนุมัติโครงการได้ต่อเมื่อเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนในประเทศในกรณีทั่วไป โดยผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นกิจการตามกฎหมายไทยตามข้อ 2(1) ต้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุม ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม (2) โครงการมีการระบุแผนการเสนอขายหุ้นกู้ไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ และผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) (3) สินทรัพย์ที่จะโอนไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องเป็นสิทธิเรียกร้องไม่ว่าประเภทใด ๆ ของผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต หรือสิทธิอื่นใดที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการสามารถแสดงได้อย่างชัดเจนว่าจะก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต โดยสิทธิเรียกร้องหรือสิทธิอื่นใดดังกล่าวต้องเป็นประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน และผู้มีสิทธิเสนอโครงการแสดงได้ว่าจะไม่เพิกถอนสิทธิหรือกระทําการใด ๆ ที่จะมีหรืออาจมีผลให้สิทธินั้นด้อยลง (4) มีการกําหนดแนวทางและวิธีการลงทุนหรือการหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับจากสินทรัพย์ไว้อย่างชัดเจน ในกรณีที่โครงการมีแผนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในกรณีทั่วไป การลงทุนหรือหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับจากสินทรัพย์นั้นต้องเป็นการลงทุนในธุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่ําและมีกําหนดระยะเวลาการชําระคืนก่อนวันถึงกําหนดชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่เป็นผลให้กระแสรายรับไม่เพียงพอต่อการชําระหนี้ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงการลงทุนในบัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดรายละเอียดประเภทตราสารที่จะลงทุนหรือวิธีการลงทุนเพิ่มเติมได้ (5) มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรกระแสรายรับที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์เพื่อชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตลอดอายุโครงการ รวมทั้งการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือทั้งหมดกลับคืนให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ ทั้งนี้ โดยต้องมีรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ยกเลิกทั้งวรรค ข้อ ๔ ในการพิจารณาว่าคําขออนุมัติโครงการใดมีลักษณะเป็นไปตามประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการหรือโครงการมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของโครงการนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจไม่อนุมัติโครงการตามคําขอดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. ต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน (2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุมัติโครงการ หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับโครงการที่ได้รับอนุมัติได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะ ผ่อนผันให้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้มีสิทธิเสนอโครงการในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุมัติโครงการในกรณีนั้น (ข) ผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (ค) ผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ข้อ ๕ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลการพิจารณาคําขออนุมัติโครงการภายในเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคําขออนุมัติโครงการ ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับคําขอผ่อนผันเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร โดยสํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๖ เอกสารหลักฐานที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการต้องยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นผู้มีสิทธิเสนอโครงการและหลักเกณฑ์ในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,640
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 10 วรรคสอง และมาตรา 12 วรรคสอง (5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชกําหนดที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “โครงการ” หมายความว่า โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) “ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ” (originator) หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์ให้สินทรัพย์ ของตนเป็นสินทรัพย์ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) “สาขาธนาคารต่างประเทศ” หมายความว่า สาขาธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (6) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้มีสิทธิเสนอโครงการ (ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของผู้มีสิทธิเสนอโครงการนั้นได้ (ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการ (ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในผู้มีสิทธิเสนอโครงการ หรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของผู้มีสิทธิเสนอโครงการเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของผู้มีสิทธิเสนอโครงการนั้น (7) “ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้” (servicer) หมายความว่า ผู้ที่ให้บริการเรียกเก็บและรับชําระหนี้ที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง และดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่จะยื่นคําขออนุมัติโครงการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงิน (2) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) เป็นบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด การยื่นคําขออนุมัติโครงการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อ 6 และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติโครงการตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๓ สํานักงาน ก.ล.ต. จะอนุมัติโครงการได้ต่อเมื่อเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นสาขาธนาคารต่างประเทศ ผู้มีสิทธิเสนอโครงการต้องมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง (2) โครงการมีการระบุแผนการเสนอขายหุ้นกู้ไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ และผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) (3) สินทรัพย์ที่จะโอนไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องเป็นสิทธิเรียกร้องไม่ว่าประเภทใด ๆ ของผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต หรือสิทธิอื่นใดที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการสามารถแสดงได้อย่างชัดเจนว่าจะก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต โดยสิทธิเรียกร้องหรือสิทธิอื่นใดดังกล่าวต้องเป็นประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน และผู้มีสิทธิเสนอโครงการแสดงได้ว่าจะไม่เพิกถอนสิทธิหรือกระทําการใด ๆ ที่จะมีหรืออาจมีผลให้สิทธินั้นด้อยลง (4) มีการกําหนดแนวทางและวิธีการลงทุนหรือการหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับจากสินทรัพย์ไว้อย่างชัดเจน ในกรณีที่โครงการมีแผนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในกรณีทั่วไป การลงทุนหรือหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับจากสินทรัพย์นั้นต้องเป็นการลงทุนในธุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่ําและมีกําหนดระยะเวลาการชําระคืนก่อนวันถึงกําหนดชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่เป็นผลให้กระแสรายรับไม่เพียงพอต่อการชําระหนี้ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงการลงทุนในบัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดรายละเอียดประเภทตราสารที่จะลงทุนหรือวิธีการลงทุนเพิ่มเติมได้ (5) มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรกระแสรายรับที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์เพื่อชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ตามโครงการ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตลอดอายุโครงการ รวมทั้งการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือทั้งหมดกลับคืนให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการ ทั้งนี้ โดยต้องมีรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในวงจํากัดหรือเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ผู้มีสิทธิเสนอโครงการไม่จําต้องมีลักษณะเป็นไปตามวรรคหนึ่ง (1) ข้อ ๔ ในการพิจารณาว่าคําขออนุมัติโครงการใดมีลักษณะเป็นไปตามประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการหรือโครงการมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของโครงการนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจไม่อนุมัติโครงการตามคําขอดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. ต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน (2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุมัติโครงการ หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับโครงการที่ได้รับอนุมัติได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะ ผ่อนผันให้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้มีสิทธิเสนอโครงการในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุมัติโครงการในกรณีนั้น (ข) ผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (ค) ผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ข้อ ๕ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน ข้อ ๖ เอกสารหลักฐานที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการต้องยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นผู้มีสิทธิเสนอโครงการและหลักเกณฑ์ในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,641
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 10 แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชกําหนดที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่จะยื่นคําขออนุมัติโครงการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) กิจการตามกฎหมายไทย ได้แก่ (ก) สถาบันการเงิน (ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ง) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ (ก) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (ข) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต่อผู้ลงทุนในประเทศในกรณีทั่วไป โดยผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นกิจการตามกฎหมายไทยตามข้อ 2(1) ต้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้มีสิทธิเสนอโครงการมีกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุม ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป มาตรา ๑ ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา ๑ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อรองรับให้กิจการตามกฎหมายต่างประเทศสามารถเป็นผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่จะยื่นคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ และกําหนดหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการให้เหมาะสมกับกรณีดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,642
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลการพิจารณาคําขออนุมัติโครงการภายในเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคําขออนุมัติโครงการ ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและ วิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับคําขอผ่อนผันเมื่อพ้นระยะเวลา ดังกล่าวในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร โดยสํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,643
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 9/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. ๙/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติ โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๓ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. ๗/๒๕๕๒ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) สินทรัพย์ที่ผู้มีสิทธิเสนอโครงการจะโอนไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องเป็นสิทธิเรียกร้อง ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) สิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้เป็นเงินที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับ (ข) สิทธิเรียกร้องที่จะมีขึ้นในอนาคตโดยให้ชําระหนี้เป็นเงินที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้มีสิทธิเสนอโครงการสามารถแสดงได้อย่างชัดเจนว่าสิทธิเรียกร้องนั้น มีศักยภาพในการก่อให้เกิดกระแสรายรับได้ ๒. การพิจารณาศักยภาพตาม ๑. ให้ประเมินจากข้อมูลในอดีต (historical data) ที่เพียงพอและสามารถประมาณการกระแสรายรับที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น สิทธิเรียกร้องที่จะเกิดจาก การใช้บัตรเครดิต การใช้น้ํา การใช้ไฟฟ้า สิทธิเรียกร้องในโครงการเดียวกันต้องเป็นประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน และผู้มีสิทธิเสนอโครงการแสดงได้ว่าจะไม่เพิกถอนสิทธิหรือกระทําการใด ๆ ที่จะมีหรืออาจมีผลให้สิทธินั้นด้อยลง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,644
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 16 วรรคสาม และมาตรา 17(4) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 47/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซึ่งประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนสถาบันตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม หมวด ๑ การจดทะเบียน ส่วน ๑ ประเภทนิติบุคคลและลักษณะของผู้ขอจดทะเบียน ข้อ ๔ ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน หรือประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๕ ผู้ขอจดทะเบียนที่เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 4(1) และ (2) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ขอจดทะเบียนได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (2) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (3) ไม่อยู่ระหว่างถูกจํากัด พัก หรือระงับการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลนิติบุคคลนั้น (4) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ข้อ ๖ ผู้ขอจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 4(3) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า (2) มีการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (3) การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้นอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ที่มีการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจไม่ด้อยกว่ามาตรการกํากับดูแลตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (4) ไม่อยู่ระหว่างถูกจํากัดหรือพักการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทางการหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของนิติบุคคลดังกล่าว (5) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิด ในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ได้รับการจดทะเบียน หรือความผิดที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (6) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ตลอดจนไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าขาดความเหมาะสมในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของนิติบุคคลดังกล่าว ส่วน ๒ ขั้นตอนการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียม ข้อ ๗ ให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๘ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมในการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้เป็นดังนี้ (1) คําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา คําขอละ 30,000 บาท (2) การรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ประเภทละ 200,000 บาท ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนชําระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนในวันที่สํานักงาน ก.ล.ต. รับจดทะเบียน ส่วน ๓ การสิ้นสุดลงของการจดทะเบียน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจดทะเบียนสิ้นสถานะการเป็นนิติบุคคลตามประเภทที่กําหนดในข้อ 4 ให้ถือว่าการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๒ การดํารงความเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียน ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับการจดทะเบียนต้องดํารงลักษณะดังต่อไปนี้ตลอดเวลาที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา (1) ผู้ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ ตามข้อ 4(1) หรือ (2) ต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 5 (2) ผู้ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 4(3) ต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 6(1) (3) (4) (5) และ (6) ในกรณีที่ผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวแจ้งลักษณะที่ไม่สามารถดํารงได้พร้อมข้อเท็จจริงให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที ข้อ ๑๒ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในวรรคสอง ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนที่ไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 11 แก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด และหากผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 11 นั้น เป็นกรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต่อไป หรือโดยสภาพของข้อเท็จจริงผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามลักษณะที่กําหนดได้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๓ ให้ถือว่าผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ เป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตามประกาศนี้ในประเภทที่ได้รับการจดทะเบียนอยู่เดิม และต้องดํารงสถานะการเป็นนิติบุคคลตามประเภทที่กําหนดตลอดจนลักษณะความเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศในลักษณะเดียวกับที่กําหนดในข้อ 4(3) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป หมวด ๔ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์ และความสามารถในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งกําหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,645
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 6/2555 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 6 /2555 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 16 วรรคสาม และมาตรา 17(4) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 15 กรกฎาคมพ.ศ. 2553 “(4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ เฉพาะการขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 15 กรกฎาคมพ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ผู้ขอจดทะเบียนที่เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามข้อ 4(1) (2) และ (4) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ขอจดทะเบียนได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (2) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (3) ไม่อยู่ระหว่างถูกจํากัด พัก หรือระงับการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลนิติบุคคลนั้น (4) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่า อยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 15 กรกฎาคมพ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ผู้ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามข้อ 4(1) (2) หรือ (4) ต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 5” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,646
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 14/2558 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2558 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 9 ค่าธรรมเนียมในการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้เป็น ดังนี้ (1) คําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา คําขอละ 30,000 บาท (2) การรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ประเภทละ 200,000 บาท เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาแก่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนชําระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนในวันที่สํานักงาน ก.ล.ต. รับจดทะเบียน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,647
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2553 การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2553 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 16 วรรคสาม และมาตรา 17(4) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 47/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซึ่งประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนสถาบันตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม หมวด 1 การจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 ประเภทนิติบุคคลและลักษณะของผู้ขอจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน หรือประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4)( สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ เฉพาะการขอจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 5( ผู้ขอจดทะเบียนที่เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามข้อ 4(1) (2) และ (4) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่ขอจดทะเบียนได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (2) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (3) ไม่อยู่ระหว่างถูกจํากัด พัก หรือระงับการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลนิติบุคคลนั้น (4) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่า อยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ข้อ 6 ผู้ขอจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 4(3) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า (2) มีการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (3) การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้นอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ที่มีการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจไม่ด้อยกว่ามาตรการกํากับดูแลตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (4) ไม่อยู่ระหว่างถูกจํากัดหรือพักการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยทางการหรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของนิติบุคคลดังกล่าว (5) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิด ในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ได้รับการจดทะเบียน หรือความผิดที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (6) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้ง ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ตลอดจนไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าขาดความเหมาะสมในการประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าของนิติบุคคลดังกล่าว ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 ให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 8( ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 9( ค่าธรรมเนียมในการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้เป็น ดังนี้ (1) คําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา คําขอละ 30,000 บาท (2) การรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ประเภทละ 200,000 บาท เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาแก่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนชําระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนในวันที่สํานักงาน ก.ล.ต. รับจดทะเบียน ส่วนที่ 3 การสิ้นสุดลงของการจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้ได้รับการจดทะเบียนสิ้นสถานะการเป็นนิติบุคคลตามประเภทที่กําหนดในข้อ 4 ให้ถือว่าการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นสุดลง หมวด 2 การดํารงความเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 ผู้ได้รับการจดทะเบียนต้องดํารงลักษณะดังต่อไปนี้ตลอดเวลาที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา (1)( ผู้ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามข้อ 4(1) (2) หรือ (4) ต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 5 (2) ผู้ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 4(3) ต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 6(1) (3) (4) (5) และ (6) ในกรณีที่ผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวแจ้งลักษณะที่ไม่สามารถดํารงได้พร้อมข้อเท็จจริงให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที ข้อ 12 เว้นแต่กรณีที่กําหนดในวรรคสอง ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนที่ไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 11 แก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด และหากผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 11 นั้น เป็นกรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต่อไป หรือโดยสภาพของข้อเท็จจริงผู้ได้รับการจดทะเบียนไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามลักษณะที่กําหนดได้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้ หมวด 3 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 ให้ถือว่าผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ เป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาตามประกาศนี้ในประเภทที่ได้รับการจดทะเบียนอยู่เดิม และต้องดํารงสถานะการเป็นนิติบุคคลตามประเภทที่กําหนดตลอดจนลักษณะความเป็นผู้ได้รับการ จดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ให้ผู้ได้รับการจดทะเบียนประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งซึ่งเป็น นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศในลักษณะเดียวกับที่กําหนดในข้อ 4(3) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป หมวด 4 วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,648
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 8/2554 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จำกัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 8 /2554 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 16/2551 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า” หมายความว่า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า “ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายโลหะมีค่า” หมายความว่า บุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทย “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาต เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึง ผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ “โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยมีผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายโลหะมีค่าซึ่งประกอบกิจการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี รายใดรายหนึ่งหรือหลายรายถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ข้อ ๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ต่อเมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (2) ไม่มีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินหรือการดําเนินงานของผู้ขอรับใบอนุญาต (3) แสดงได้ว่ามีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้มีประสบการณ์การทํางานในธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าไม่น้อยกว่าสามปี (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย (6) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (7) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (8) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (9) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า หมวด ๒ ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตและค่าธรรมเนียม ข้อ ๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะและคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 และข้อ 4 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า คําขอละ 30,000 บาท (2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ฉบับละ 500,000 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต หมวด ๓ เงื่อนไขการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จะเริ่มประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการบริหารงาน มีนโยบายและมาตรการ รวมทั้งความพร้อมในการประกอบธุรกิจตามข้อ 4(6) (7) (8) และ (9) ซึ่งได้แสดงไว้ในคําขอรับใบอนุญาตแล้ว เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดซึ่งมิได้ทําให้คุณสมบัติดังกล่าวซึ่งได้แสดงไว้ในคําขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (2) ต้องดํารงคุณสมบัติและดําเนินการในเรื่องที่แสดงไว้ในข้อ 4 ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (3) ต้องดํารงสัดส่วนการถือหุ้นให้มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้ หมวด ๔ บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ ข้อ ๙ ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าตามประกาศนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และจะให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่านอกเหนือจากทองคําได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าอย่างเพียงพอแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งดําเนินการคืนใบอนุญาตเดิมและรับใบอนุญาตใหม่ตามประกาศนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายโลหะมีค่าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความพร้อมในด้านการเงินและการบริหารงานสามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,649
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 15/2558 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จำกัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ================================================ ที่ กธ. 15/2558 =============== เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า(ฉบับที่ 2) ================================================================================================================================================================== อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 8/2554 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะและคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนและคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,650
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 8/2554 การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จำกัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ================================================ ที่ กข. 8/2554 ============== เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า(ประมวล) =============================================================================================================================================================== ### #### #### #### อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กข. 16/2551 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า” หมายความว่า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า “ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายโลหะมีค่า” หมายความว่า บุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทย “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาต เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึงผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ “โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม หมวด 1 คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ข้อ 3 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยมีผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายโลหะมีค่าซึ่งประกอบกิจการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ข้อ 4 ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ต่อเมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (2) ไม่มีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินหรือการดําเนินงานของผู้ขอรับใบอนุญาต (3) แสดงได้ว่ามีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้มีประสบการณ์การทํางานในธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าไม่น้อยกว่าสามปี (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย (6) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (7) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (8) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (9) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า หมวด 2 ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตและค่าธรรมเนียม ข้อ 5 ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. [1](#fn1)ข้อ 6 ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะและคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต.ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนและคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ 7 ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าคําขอละ 30,000 บาท (2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ฉบับละ 500,000 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต หมวด 3 เงื่อนไขการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ 8 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จะเริ่มประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการบริหารงาน มีนโยบายและมาตรการ รวมทั้งความพร้อมในการประกอบธุรกิจตามข้อ 4(6) (7) (8) และ (9) ซึ่งได้แสดงไว้ในคําขอรับใบอนุญาตแล้ว เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดซึ่งมิได้ทําให้คุณสมบัติดังกล่าวซึ่งได้แสดงไว้ในคําขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (2) ต้องดํารงคุณสมบัติและดําเนินการในเรื่องที่แสดงไว้ในข้อ 4 ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (3) ต้องดํารงสัดส่วนการถือหุ้นให้มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้ หมวด 4 บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ ข้อ 9 ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าตามประกาศนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และจะให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่านอกเหนือจากทองคําได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าอย่างเพียงพอแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งดําเนินการคืนใบอนุญาตเดิมและรับใบอนุญาตใหม่ตามประกาศนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ *หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายโลหะมีค่าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความพร้อมในด้านการเงินและการบริหารงานสามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ --- 1.
1,651
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน และการทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน และการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในนามของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกู้ยืมเงิน (2) การทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ข้อ ๒ ในกรณีที่กองทุนรวมเปิดมีเหตุจําเป็นต้องบริหารสภาพคล่องเป็นการชั่วคราว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นบุคคลประเภทสถาบัน โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเปิดนั้น (2) ระยะเวลาการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนต้องไม่เกินเก้าสิบวัน (3) อัตราส่วนการกู้ยืมเงินและการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ณ สิ้นวันใด เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพิ่มเติม (4) ในกรณีของการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ต้องใช้สัญญามาตรฐานที่กําหนดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยหรือบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด (มหาชน) ข้อ ๓ ในกรณีที่กองทุนรวมเปิดมีเหตุจําเป็นต้องบริหารสภาพคล่องเป็นการชั่วคราว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นบุคคลประเภทสถาบัน โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเปิดนั้น (2) ระยะเวลาการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนต้องไม่เกินเก้าสิบวัน (3) อัตราส่วนการกู้ยืมเงินและการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ณ สิ้นวันใด เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพิ่มเติม (4) ในกรณีของการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ต้องใช้สัญญามาตรฐานที่กําหนดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยหรือบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด (มหาชน) ข้อ ๔ ในกรณีที่กองทุนรวมเปิดได้กู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมเปิดอยู่แล้วโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากอัตราส่วนการกู้ยืมเงินและการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวไม่เป็นไปตามอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 3 แห่งประกาศนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพิ่มเติมมิได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินและการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมเปิดในเรื่อง (1) ลักษณะของบุคคลประเภทสถาบันที่อาจเป็นคู่สัญญากับกองทุนรวม (2) ระยะเวลาการกู้ยืมหรือการทําธุรกรรม (3) อัตราส่วนการกู้ยืมและการเข้าทําธุรกรรม และ (4) สัญญามาตรฐานที่ใช้ในการทําธุรกรรม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติภายใต้กรอบของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,652
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 2/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน และการทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน และการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในนามของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินและการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวม ลงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4(1) ถึง (23) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อการบริหารสภาพคล่องเป็นการชั่วคราวของกองทุนรวมเปิด โดยให้เป็นไปตามข้อ 4 (2) เพื่อการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษโดยให้เป็นไปตามข้อ 5 ข้อ ๔ 4 ในกรณีที่กองทุนรวมเปิดมีเหตุจําเป็นต้องบริหารสภาพคล่องเป็นการชั่วคราว บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบัน และต้องไม่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น (2) ระยะเวลาการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ต้องไม่เกินกว่า 90 วัน (3) อัตราส่วนการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อการบริหารสภาพคล่องดังกล่าว ณ สิ้นวันใด เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม (4) ในกรณีของการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ต้องใช้สัญญามาตรฐานที่กําหนดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยหรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด (มหาชน) ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการให้หลักประกันไว้ด้วยหรือไม่ก็ตาม (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบัน และต้องไม่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น (2) อัตราส่วนการทําธุรกรรมดังกล่าว ณ สิ้นวันใด ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เว้นแต่การเกินอัตราส่วนนั้นมิได้เกิดจากการทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,653
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกำหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2540 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน (2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ (3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ค) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) “บริษัทประกันภัย” หมายความว่า (ก) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย (ข) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้ตั๋วเงินที่ออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไปที่บริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออกตั๋ว และให้ไว้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ซื้อเพื่อเป็นหลักฐานแสดงสิทธิตามตั๋วเงินดังกล่าว และไม่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ (1) ตั๋วเงินที่บริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออกตั๋วเพื่อชําระหนี้การค้า (2) ตั๋วเงินที่บริษัทออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินโดยระบุชื่อสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย หรือบุคคลอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เป็นผู้รับเงิน และมีข้อความ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันในด้านหน้าของตั๋วเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ออกตั๋วดังกล่าว (3) ตั๋วเงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว ผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายทั้งจํานวน ผู้รับอาวัลผู้ออกตั๋วทั้งจํานวน หรือผู้จ่ายและให้การรับรองตลอดไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ออกตั๋วดังกล่าว (4) ตั๋วเงินที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายทั้งจํานวน ผู้รับอาวัลผู้ออกตั๋วทั้งจํานวน หรือผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ออกตั๋วดังกล่าว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,654
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 2/2555 เรื่อง การกำหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2555 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ให้ถือว่าตั๋วเงินที่มีลักษณะตามข้อ 3(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ ที่ได้ออกตั๋วดังกล่าวก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ไม่เป็นหลักทรัพย์ต่อไป ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,655
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 19/2558 เรื่อง การกำหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2558 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,656
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 5/2560 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 5/2560 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2559 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ข้อ ๒ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2559 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,657
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 6/2560 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 6/2560 เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นวนคร ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 383/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ข้อ ๒ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 44/2534 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ข้อ ๓ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ไบโอกรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 63/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ข้อ ๔ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัทบี.กริม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 107/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ข้อ ๕ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานซิงเกอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 432/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ข้อ ๖ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 34/2539 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ข้อ ๗ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทเครือโจตันในประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 71/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ข้อ ๘ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยุธยาพันธบัตร 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2544 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ข้อ ๙ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนชาติสินไพบูลย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2547 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 ข้อ ๑๐ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ทีทีแอนด์ที จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 65/2535 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ข้อ ๑๑ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 34/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ข้อ ๑๒ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เจ เอส วิชั่น จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 31/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ข้อ ๑๓ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2554 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,658
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 8/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในกรณีบริษัทหลักทรัพย์ขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายในวงจํากัด ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและส่งรายงานผลการขายตราสารหนี้ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 5 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,659
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกำหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ทรัพย์สินดังต่อไปนี้เป็นสินค้าตามมาตรา 3 (1) เงิน (silver) (2) แพลทินัม (3) ทองแดง (4) สังกะสี (5) เหล็ก (6) อะลูมิเนียม (7) ดีบุก (8) ถ่านหิน (9) ก๊าซธรรมชาติ (10) ไฟฟ้า (11) พลาสติก ข้อ ๒ ให้ตัวแปรดังต่อไปนี้เป็นตัวแปรตามมาตรา 3 (1) ค่าระวาง (2) คาร์บอนเครดิต (3) ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม อันจะทําให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงสินค้าและตัวแปรดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับดูแลตามกฎหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถพัฒนาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,660
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2558 เรื่อง การกำหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 “(12) สินค้าเกษตร ซึ่งได้แก่ ผลิตผลทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลิตผลทางเกษตรกรรม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,661
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกำหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับประมวล) -------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ทรัพย์สินดังต่อไปนี้เป็นสินค้าตามมาตรา 3 (1) เงิน (silver) (2) แพลทินัม (3) ทองแดง (4) สังกะสี (5) เหล็ก (6) อะลูมิเนียม (7) ดีบุก (8) ถ่านหิน (9) ก๊าซธรรมชาติ (10) ไฟฟ้า (11) พลาสติก (12) สินค้าเกษตร ซึ่งได้แก่ ผลิตผลทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลิตผลทางเกษตรกรรม ข้อ ๒ ให้ตัวแปรดังต่อไปนี้เป็นตัวแปรตามมาตรา 3 (1) ค่าระวาง (2) คาร์บอนเครดิต (3) ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,662
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 4/2547 เรื่อง กำหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2547 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 (3) และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “สินค้า” หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา หรือน้ํามันดิบ “สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้สัญญาดังต่อไปนี้เป็นสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (1) สัญญาที่ถือเป็นหลักทรัพย์ (2) สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่การชําระหนี้ตามสัญญากระทําผ่านสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนด (3) สัญญาที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชําระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจํานวนและราคาตามที่กําหนดไว้ในสัญญา และสัญญาดังกล่าวได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) ไม่มีข้อกําหนดที่อนุญาตให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าสามารถชําระเงินหรือส่วนต่างของราคาสินค้า (settle by cash) หรือทําการหักกลบลบหนี้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (set-off) แทนการส่งมอบสินค้าได้ และ (ค) ธรรมเนียมปฏิบัติในการทําสัญญาดังกล่าวไม่เปิดช่องให้คู่สัญญาฝ่ายที่มี หน้าที่ส่งมอบสินค้าหลุดพ้นจากหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวด้วยการทําสัญญาขึ้นใหม่ที่มีผลในทางตรงกันข้าม (close-out) กับสัญญาเดิม ทั้งนี้ มิให้ถือว่าข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ขายต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ซื้อในกรณีสินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในสัญญา เป็นข้อกําหนดที่อนุญาตให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าสามารถชําระเงินหรือส่วนต่างของราคาสินค้า หรือทําการหักกลบลบหนี้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แทนการส่งมอบสินค้าได้ตาม (ข) (4) สัญญารับฝากเงิน สัญญาเพื่อการจัดหาเงินทุน สัญญาเพื่อการให้สินเชื่อ หรือสัญญาให้กู้ยืมเงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนกระทําภายใต้กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,663
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย.4/2547 เรื่อง กำหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย.4/2547 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ประมวล) ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 (3) และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) "หลักทรัพย์" หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) "สินค้า" หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ และสินค้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (3) "สํานักหลักบัญชีหลักทรัพย์" หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้สัญญาดังต่อไปนี้เป็นสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (1) สัญญาที่ถือเป็นหลักทรัพย์ (2) สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่การชําระหนี้ตามสัญญากระทําผ่านสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนด (3) สัญญาที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาอีกฝ้ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชําระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจํานวนและราคาตามที่กําหนดไว้ในสัญญา และสัญญาดังกล่าวได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) ไม่มีข้อกําหนดที่อนุญาตให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าสามารถชําระเงินหรือส่วนต่างของราคาสินค้า (settle by cash) หรือทําการหักกลบลบหนี้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (set-off) แทนการส่งมอบสินค้าได้ และ (ค) ธรรมเนียมปฏิบัติในการทําสัญญาดังกล่าวไม่เปิดช่องให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าหลุดพ้นจากหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวด้วยการทําสัญญาขึ้นใหม่ที่มีผลในทางตรงกันข้าม (close-out) กับสัญญาเดิม ทั้งนี้ มิให้ถือว่าข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ขายต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ซื้อในกรณีสินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในสัญญา เป็นข้อกําหนดที่อนุญาตให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าสามารถชําระเงินหรือส่วนต่างของราคาสินค้า หรือทําการหักกลบลบหนี้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แทนการส่งมอบสินค้าได้ตาม (ข) (4) สัญญารับฝากเงิน สัญญาเพื่อการจัดหาเงินทุน สัญญาเพื่อการให้สินเชื่อ หรือสัญญาให้กู้ยืมเงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนกระทําภายใต้กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (5) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นสัญญาที่ได้ทําขึ้นก่อนวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และยังคงมีอายุสัญญาเหลืออยู่ (ข) สัญญาตาม (ก) ไม่มีการทําข้อตกลงต่ออายุหลังจากวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,664
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 22/2553 เรื่อง กำหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 22/2553 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(3) และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2547 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศนี้ (1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) “สินค้า” หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ และสินค้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (3) “สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้การทําสัญญาซื้อขายสินค้าที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ครอบคลุมถึงการทําสัญญาซื้อขายสินค้าซึ่งอ้างอิงประเภทสินค้าตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดเพิ่มเติมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,665
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 23/2558 เรื่อง กำหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2558 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(3) และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2547 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 “(5) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นสัญญาที่ได้ทําขึ้นก่อนวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และยังคงมีอายุสัญญาเหลืออยู่ (ข) สัญญาตาม (ก) ไม่มีการทําข้อตกลงต่ออายุหลังจากวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,666
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2560 เรื่อง ระบบงานและการรายงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2560 เรื่อง ระบบงานและการรายงานเกี่ยวกับการทําธุรกรรม ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 5 วรรคสาม ประกอบกับข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน รวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารทางการเงินหรือสัญญา ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (2) มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (3) เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ “การลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หมวด ๑ ระบบงานและการรายงานการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญในธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “การทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ” หมายความว่า การทําธุรกรรมของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การทําธุรกรรมที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมีมูลค่าความเสียหายสูงสุด(value-at-risk : VaR) ที่เกิดจากการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันดังนี้ (ก) เกินกว่า 2 เท่าของตัวชี้วัดของกองทุนรวม (benchmark) สําหรับกรณีที่เป็นการคํานวณโดยใช้วิธี relative VaR approach (ข) เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม สําหรับกรณีที่เป็นการคํานวณโดยใช้วิธี absolute VaR approach (2) การทําธุรกรรมโดยมีมูลค่าการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ โดยกองทุนรวมต้องไม่มีการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานในการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ โดยระบบงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องการติดตามและประเมินผลขาดทุน รวมถึงการจํากัดผลขาดทุนด้วย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทุกรอบระยะเวลาบัญชี (1) ข้อมูลฐานะการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง (2) บทวิเคราะห์และคําอธิบายเกี่ยวกับผลตอบแทนและความเสี่ยง (3) รายงานมูลค่าความเสียหายสูงสุด (VaR) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่งทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทินด้วย ข้อ ๕ ในการจัดส่งรายงานตามข้อ 4 ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดส่งไปพร้อมกับรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องจัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ทุกรอบระยะเวลาบัญชี หรือทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน แล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดในข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 35 ข้อ 36 และข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานเป็นรายเดือนภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป (1) รายงานมูลค่าความเสียหายสูงสุด (VaR) ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือนบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการด้วย (2) รายงานผลการทดสอบผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนรวมมีการลงทุนหากเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญ (stress test) ข้อ ๗ ในการจัดส่งรายงานตามข้อ 4 และข้อ 6 ต่อสํานักงาน ให้บริษัทจัดการจัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๒ ระบบงานเพิ่มเติมสําหรับการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ บริษัทจัดการ ต้องจัดให้มีระบบงานเพิ่มเติมในการตรวจสอบและสอบทาน (due diligence process) เกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากองทุนต่างประเทศนั้นมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,667
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “หุ้นกู้” หมายความว่า หุ้นกู้มีประกัน หุ้นกู้ไม่มีประกัน หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้จะออกหุ้นกู้จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้นั้นหรือไม่ก็ตาม (2) “หุ้นกู้มีประกัน” หมายความว่า หุ้นกู้ที่ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีหลักประกันเพื่อการชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นไม่ว่าจะเป็นการจํานอง จํานํา การจัดให้มีบุคคลค้ําประกัน หรือการจัดให้มี หลักประกันอย่างอื่น (3) “หุ้นกู้ไม่มีประกัน” หมายความว่า หุ้นกู้ที่ผู้ออกหุ้นกู้มิได้จัดให้มีหลักประกันเพื่อการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ออกหุ้นกู้จะจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้นั้นหรือไม่ก็ตาม (4) “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่อาจแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น (5) “หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (6) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป (7) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามที่กําหนดไว้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีข้อตกลงให้ชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ไม่ว่าจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศด้วยหรือไม่ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (3) การเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีอื่นใดที่มีข้อตกลงให้ชําระดอกเบี้ยและไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินบาท ไม่ว่าจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศด้วยหรือไม่ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ข้อ ๔ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตตามประกาศคณะกรรมกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๖ เมื่อบริษัทได้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตแล้วให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งผลการตรวจพิจารณาความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐาน (2) ในกรณีที่สํานักงานแจ้งว่าคําขออนุญาตหรือเอกสารหลักฐานที่ยื่นยังไม่ครบถ้วนและบริษัทได้แก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุญาตหรือเอกสารหลักฐานและยื่นต่อสํานักงานแล้ว ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่แก้ไขเพิ่มเติม (3) แจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทที่ขออนุญาตมาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ภายในเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป ข้อ ๘ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน (2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น (ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน หมวด ๒ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ข้อ ๙ บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) สามารถแสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ยื่นขออนุญาตจะกระทําต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (3) สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขาย หรือการโอนหุ้นกู้ที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ (4) ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทที่เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ และ/หรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 10 ข้อ 11 และ/หรือข้อ 14 ด้วย ข้อ ๑๐ บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อหุ้นกู้ที่ขออนุญาตเสนอขายนั้นมีการกําหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ออกหุ้นกู้กับผู้ถือหุ้นกู้ในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้ด้อยสิทธินั้นอย่างชัดเจน และต้องระบุเงื่อนไขการด้อยสิทธิ โดยเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย (2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท ข้อ ๑๑ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ จะกระทําได้ต่อเมื่อบริษัทมีลักษณะและได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัด (2) ได้จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพโดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 (3) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพอย่างเพียงพอ และมตินั้นได้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท ทั้งนี้ หุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพจะต้องมีจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 13 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม (5) ส่งเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน (ก) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และ (ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ข้อ ๑๒ หนังสือนัดประชุมตามข้อ 11(2) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ หรือเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น (2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท ข้อ ๑๓ จํานวนหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุญาตเสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในครั้งอื่น ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นรองรับซึ่งบริษัทจะเสนอขายควบคู่กับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ในครั้งนี้ (ถ้ามี) (2) จํานวนหุ้นที่บริษัทได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ข้อ ๑๔ ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ บริษัทต้องจัดให้มี (1) ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ และร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42(1) ถึง (9) และมาตรา 43(1) และ (2) (2) การขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อสามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายแห่งประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้นหรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือ (ข) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายของประเทศที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้น หรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อแสดงได้ว่ากฎหมายของประเทศดังกล่าวมีข้อห้ามการจัดตั้งทรัสต์ การให้ความเห็นชอบผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศอื่นที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกตามมาตรา 41(3) และมาตรา 46 หมวด ๓ เงื่อนไขการอนุญาต ข้อ ๑๕ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยการรายงานดังกล่าวให้กระทําภายในกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้รายงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย (2) ในกรณีที่เป็นการขายหุ้นอันเนื่องมาจากการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้รายงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง เว้นแต่เป็นกรณีที่อาจใช้สิทธิในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่อาจใช้สิทธิได้ ให้รายงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ข้อ ๑๖ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศภายในสามวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แนบเอกสารประกอบการเสนอขายไปพร้อมกับการแจ้งดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอันเป็นผลให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพนั้น หากเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสอง บริษัทจะออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวได้ต่อเมื่อบริษัทได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว บริษัทที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพอาจเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพเพื่อมิให้ ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัท อันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น (2) เมื่อบริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ใด ๆ ในราคาที่ต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นนั้นหรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายหุ้นนั้น และเป็นวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ (3) เมื่อบริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพใด ๆ โดยกําหนดราคาหรือคํานวณราคาของหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น หรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น และเป็นวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น (5) เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือ (6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม ข้อ ๑๘ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ ต้องจัดให้มีเอกสารประกอบการเสนอขายที่แจกจ่ายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศก่อนการขาย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าจะมีข้อจํากัดในการก่อหนี้ในอนาคตของบริษัทหรือไม่ และในกรณีที่มีข้อจํากัดในการก่อหนี้ ให้ระบุผลของการฝ่าฝืนข้อจํากัดดังกล่าวไว้ด้วย และให้บริษัทจัดส่งเอกสารประกอบการเสนอขายดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่โดยบริษัทมีสิทธิที่จะบังคับให้มีการแปลงสภาพได้ ให้บริษัทจัดให้เอกสารประกอบการเสนอขายที่จะแจกจ่ายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศมีข้อความที่ระบุเงื่อนไขดังกล่าวของหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นด้วย ข้อ ๒๐ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ต้องดําเนินการขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุญาตหรือภายในกําหนดระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุญาต ในการผ่อนผัน สํานักงานอาจขอให้บริษัทส่งข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมได้ และหากบริษัทไม่ดําเนินการขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ต้องดําเนินการขายหุ้นที่ออกเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวภายในอายุของหุ้นกู้นั้น ในกรณีที่สิ้นสุดระยะเวลาที่จะใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพแล้ว หากไม่มีการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ว่ากรณีใดจนครบถ้วนให้การอนุญาตให้ออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นในส่วนที่ไม่มีการใช้สิทธิเป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๑ ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๒๒ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 4/2542 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้บังคับประกาศนี้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในประเทศ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,668
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 48 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) (9) และ (10) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(8) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (9) “การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่กําหนดราคาการใช้สิทธิแปลงสภาพในลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (10) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขอได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายหุ้นกู้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ในหมวด 1 บททั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 8/1 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ในกรณีที่เป็นการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับด้วย” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ จะกระทําได้ต่อเมื่อบริษัทมีลักษณะและได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัด (2) ได้จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพโดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 (3) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพอย่างเพียงพอ และมตินั้นได้มาแล้วไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท ทั้งนี้ หุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพจะต้องมีจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 13 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม (5) ในกรณีที่บริษัทผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13/1 เพิ่มเติมด้วยแล้ว (6) ส่งเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน (ก) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และ (ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ความในวรรคหนึ่ง (2) (3) และ (5) มิให้ใช้บังคับกับกรณีต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ (2) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) ในกรณีที่บริษัทผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา หนังสือนัดประชุมต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในเรื่องจํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ และราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน (ค) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามหุ้นกู้แปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณ (ง) ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย (จ) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (ฉ) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา (ช) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิแปลงสภาพกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(5) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท” ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 13/1 ในกรณีที่บริษัทผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม (2) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งราย ที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (3) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงและไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นรองรับนั้น” ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 ในหมวด 3 เงื่อนไขการอนุญาต แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 14/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหุ้นกู้หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นกู้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้ (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้นั้น” ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 และข้อ 17/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 17/1 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศนี้ กําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับและจําเป็นต้องออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ บริษัทจะออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว ข้อ 17/2 บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ต้องจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้” ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,669
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “การยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการยื่นคําขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดเตรียมข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้เป็นไปตามข้อ 12 เว้นแต่บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบอยู่แล้ว” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 เมื่อบริษัทได้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตแล้ว ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามหุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ จํานวนหุ้นที่ต้องออกเพื่อรองรับการแปลงสภาพ หรือเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น ในกรณีที่บริษัทกําหนดการใช้สิทธิแปลงสภาพตามวรรคหนึ่งเป็นสูตรอ้างอิงกับราคาหุ้นในอนาคต จํานวนหุ้นที่ออกเพื่อรองรับการแปลงสภาพอาจกําหนดเป็นจํานวนที่คาดว่าจะออกก็ได้ ทั้งนี้ บริษัทต้องแสดงสมมติฐานที่ใช้ในการกําหนดราคาหุ้นในอนาคต พร้อมระบุความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นผู้ร่วมจัดเตรียมข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่แสดงถึงความสมเหตุสมผลของสมมติฐานดังกล่าวด้วย (2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) ทั้งนี้ การคํานวณผลกระทบให้คํานวณจากจํานวนหุ้นรองรับทั้งหมดที่ขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (4) ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(จ) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ที่ขออนุมัติออกครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) ทั้งนี้ การคํานวณผลกระทบให้คํานวณจากจํานวนหุ้นรองรับทั้งหมดที่ขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,670
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัท ชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือ สําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากบริษัท ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้บริษัทยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการ พิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะ พิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง” ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ต้องดําเนินการ ขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุญาตหรือภายในกําหนด ระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งการอนุญาต และหากบริษัทไม่ดําเนินการขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,671
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 77/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 77/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/2 ของหมวด 1 บททั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 8/2 ในกรณีดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายได้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับมีลักษณะทํานองเดียวกับเหตุอันควรสงสัยตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 72/ 2558 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยอนุโลม (2) หุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับตาม (1) ได้เสนอขายต่อผู้ลงทุนในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย หุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) ในกรณีที่บริษัทผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน หนังสือนัดประชุมต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ดังนี้ด้วย (ก) กรณีที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ลงทุนในลักษณะเดียวกับ การเสนอขายหุ้นกู้ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ หนังสือนัดประชุมต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในกรณีดังกล่าว (ข) กรณีที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา หนังสือนัดประชุมต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในเรื่องจํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ และราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน 3. ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคา ใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามหุ้นกู้แปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณ 4. ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่า จะเสนอขาย 5. ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ที่ขออนุมัติออกครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) ทั้งนี้ การคํานวณผลกระทบให้คํานวณจากจํานวนหุ้นรองรับทั้งหมดที่ขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น 6. สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา 7. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขาย หุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับ ส่วนต่างของราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิแปลงสภาพกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,672
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “ในกรณีบริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทดังกล่าวจะยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพไม่ได้ (1) บริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี (2) บริษัทที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวมในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี (3) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการจัดหาและสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชนและการจัดการกองทุนรวม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,673
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2560 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมอย่างมีนัยสำคัญของกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2560 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ ของกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน รวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารทางการเงินหรือสัญญา ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (2) มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (3) เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ “การลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนที่มีการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญในธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ (3) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “การทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ” หมายความว่า การทําธุรกรรมของกองทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การทําธุรกรรมที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมีมูลค่าความเสียหายสูงสุด(value-at-risk : VaR) ที่เกิดจากการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) รวมกันดังนี้ (ก) เกินกว่า 2 เท่าของตัวชี้วัดของกองทุน (benchmark) สําหรับกรณีที่เป็นการคํานวณโดยใช้วิธี relative VaR approach (ข) เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน สําหรับกรณีที่เป็นการคํานวณโดยใช้วิธี absolute VaR approach (2) การทําธุรกรรมโดยมีมูลค่าการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) รวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ โดยกองทุนต้องไม่มีการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานในการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ โดยระบบงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องการติดตามและประเมินผลขาดทุน รวมถึงการจํากัดผลขาดทุนด้วย ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,674
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 41(3) มาตรา 46 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และในแบบคําขอตามประกาศนี้ (1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (2) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ (3) “การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามที่กําหนดโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ แล้วแต่กรณี (4) “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์ตามประกาศดังต่อไปนี้ (ก) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์[[1]](#_ftn1) (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (5) “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งของกองทรัสต์ หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายไทยในประเภทหนึ่งประเภทใดดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ (ง) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มิใช่การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องแยกส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ออกจากส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือส่วนงานอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการกระทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตลอดจนมีโครงสร้างการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ (3) มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารในสายงานที่รับผิดชอบงานด้านผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย (ข) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ค) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน (ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (จ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น (ฉ) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (ง) หรือ (จ) (ช) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (ซ) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการ กํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. (ฌ) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น (ญ) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บริษัทและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามตาม (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) ให้พิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอต่อสํานักงาน ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ประสงค์จะให้บริการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนของคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงานประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพบว่ามีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 3(3) (ฉ) (ช) (ซ)(ฌ) หรือ (ญ) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) หากข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติมิใช่เรื่องร้ายแรงหรือผู้ยื่นคําขอได้ดําเนินการแก้ไขแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอของบุคคลรายนั้นในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการรับพิจารณาคําขอ ระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง หรือวันพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุด หรือวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับมีคําสั่งเปรียบเทียบ หรือวันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3(3) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) แล้วแต่กรณี ข้อ ุุ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งให้สํานักงานทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงการขาดคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในลักษณะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือบุคคลดังกล่าวไม่มีการแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติหรือไม่สามารถแก้ไขเหตุดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ของประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้บุคคลดังกล่าวชี้แจง หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขการกระทํา หรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ (3) สั่งพักหรือเพิกถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ โดยอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (3) ไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ที่ได้ออกไปแล้วก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่ง ทั้งนี้ เท่าที่จําเป็นจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลรายใหม่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ครั้งนั้น หมวด ๒ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗/๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามหมวดนี้สําหรับกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้เป็นกองทรัสต์ ให้พิจารณาความสัมพันธ์ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสตีของกองทรัสต์นั้นด้วย โดยอนุโลม ส่วน ๑ การไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน บุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในแต่ละครั้งได้ก็ต่อเมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ในมูลหนี้เดียวกับที่จะทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (2) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหุ้นกู้โดยมีสิทธิออกเสียงเกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้ออกหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับเป็นหุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย (ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วน (ข) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดรวมกันเกินร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น (ค) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ง) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) หรือบริษัทตาม (ค) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (จ) บริษัทที่มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (3) มีผู้ออกหุ้นกู้เป็นผู้ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตาม (2) (ก) ถึง (จ) ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหุ้นที่ถือโดยผู้ออกหุ้นกู้ด้วย โดยอนุโลม (4) มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และในผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการถือหุ้นของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (5) มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นกรรมการที่ไม่มีอํานาจในการจัดการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งมีจํานวนไม่เกินหนึ่งคน และเฉพาะกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้มีกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่าเก้าคน (6) มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในผู้ออกหุ้นกู้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอื่นที่อาจเป็นเหตุให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ขาดความเป็นอิสระในการดําเนินงาน ข้อ ๙ ให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 8 ได้รับการผ่อนผันให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนั้นได้ หากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด ทั้งนี้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ให้ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบในเอกสารประกอบการเสนอขายที่แจกจ่ายให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้การผ่อนผันที่ได้รับสิ้นสุดลง และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ดังกล่าวได้เฉพาะเท่าที่จําเป็นระหว่างที่ผู้ออกหุ้นกู้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว การผ่อนผันตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รายใหม่อันเป็นผลจากการที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้นกู้ ส่วน ๒ การกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องกระทําด้วยความระมัดระวังและดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้เยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทําในกิจการเช่นว่านั้น ข้อ ๑๑ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในกิจการซึ่งต้องลงลายมือชื่อของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ระบุไว้ด้วยว่าเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวง ข้อ ๑๒ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดูแลมิให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามหุ้นกู้อันจะทําให้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นลดน้อยถอยลงในลักษณะที่ทําให้สัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลหนี้ตามหุ้นกู้ต่ําลงกว่าที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่อาจทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เสียประโยชน์ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อกําหนดสิทธิ ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการใช้สอยทรัพย์สินตามปกติ ข้อ ๑๓ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องไม่ให้ความเห็นชอบในการนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันออกหาผลประโยชน์ หากการหาผลประโยชน์นั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือจะเป็นผลให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นมีมูลค่าไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิในลักษณะอื่นนอกจากการผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ (ถ้ามี) และเกิดความเสียหายขึ้น ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นได้ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ย หรือผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอน (ถ้ามี) ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติในการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิและสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ข้อ ๑๖ ในการแจ้งกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ โดยระบุถึงการดําเนินการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามอํานาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ตลอดจนผลการดําเนินการนั้นด้วย การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รู้หรือควรรู้ถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ หรือนับแต่วันที่ได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ปรากฏผลการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ในการดําเนินการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติของผู้ถือหุ้นกู้ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือถึงการจัดให้มีการประชุมดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวันก่อนวันประชุม ข้อ ๑๘ ในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวล่วงหน้าไปพลางก่อน ก่อนดําเนินการแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปเพื่อการดังกล่าวออกจากทรัพย์สินนั้นได้ ข้อ ๑๙ ภายใต้บังคับข้อ 18 เมื่อดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้แล้ว ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รวบรวมและแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ตามสัดส่วนที่ผู้ถือหุ้นกู้แต่ละคนพึงได้รับให้ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดทําบัญชีแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรวบรวมทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และการแจกจ่ายทรัพย์สินไว้ทุกขั้นตอน ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทําการดังต่อไปนี้ (1) เข้าทําสัญญารับหลักประกันที่มีข้อความแห่งสัญญาที่เป็นผลให้ไม่อาจดําเนินการบังคับหลักประกันได้ (2) ยอมให้มีการปลดหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ (3) นําทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้ซึ่งอยู่ในการครอบครองของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไปแสวงหาประโยชน์หรือยอมให้บุคคลใดนําไปแสวงหาประโยชน์ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (4) เข้าซื้อไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้นั้นหรือทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นกู้ที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเพื่อการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ (5) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อตนเองจากบุคคลใด ๆ ที่เข้าซื้อหลักประกันหรือทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ในกรณีที่มีการบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ (6) รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (7) ประนีประนอมยอมความในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่การประนีประนอมยอมความนั้นไม่ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้ได้รับชําระหนี้และค่าเสียหายน้อยลงกว่าที่ควรจะได้รับตามสิทธิ หรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ให้ประนีประนอมยอมความได้ (8) หักเงินที่ต้องแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งได้มาจากการเรียกร้องค่าเสียหายบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ เพื่อชําระหนี้อื่นที่ผู้ถือหุ้นกู้มีอยู่กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (9) กระทําการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอาจเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นกู้ไม่ได้รับชําระหนี้ตามหุ้นกู้อย่างครบถ้วน หมวด ๓ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์แลตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,675
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 41(3) มาตรา 46 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และในแบบคําขอตามประกาศนี้ (1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (2) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ (3) “การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด” หมายความว่า การเสนอขาย (ก) ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามหมวด 2 ของภาค 2 และหมวด 3 ของภาค 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ข) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามหมวด 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ และ (ค) หุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามหมวด 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายไทยในประเภทหนึ่งประเภทใดดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ (ง) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มิใช่การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องแยกส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ออกจากส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือส่วนงานอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการกระทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตลอดจนมีโครงสร้างการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ (3) มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารในสายงานที่รับผิดชอบงานด้านผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย (ข) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ค) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน (ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (จ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น (ฉ) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (ง) หรือ (จ) (ช) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (ซ) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. (ฌ) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น (ญ) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บริษัทและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามตาม (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) ให้พิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอต่อสํานักงาน ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ประสงค์จะให้บริการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนของคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการตรวจสอบดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๕ สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงานประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพบว่ามีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 3(3) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) หากข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติมิใช่เรื่องร้ายแรงหรือผู้ยื่นคําขอได้ดําเนินการแก้ไขแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานกําหนด ระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอของบุคคลรายนั้นในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการรับพิจารณาคําขอ ระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง หรือวันพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุด หรือวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับมีคําสั่งเปรียบเทียบ หรือวันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3(3) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งให้สํานักงานทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงการขาดคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในลักษณะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือบุคคลดังกล่าวไม่มีการแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติหรือไม่สามารถแก้ไขเหตุดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ของประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้บุคคลดังกล่าวชี้แจง หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขการกระทํา หรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ (3) สั่งพักหรือเพิกถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ โดยอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (3) ไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ที่ได้ออกไปแล้วก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่ง ทั้งนี้ เท่าที่จําเป็นจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลรายใหม่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ครั้งนั้น หมวด ๒ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน บุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในแต่ละครั้งได้ก็ต่อเมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ในมูลหนี้เดียวกับที่จะทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (2) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหุ้นกู้โดยมีสิทธิออกเสียงเกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้ออกหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับเป็นหุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย (ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วน (ข) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดรวมกันเกินร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น (ค) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ง) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) หรือบริษัทตาม (ค) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (จ) บริษัทที่มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (3) มีผู้ออกหุ้นกู้เป็นผู้ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตาม (2) (ก) ถึง (จ) ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหุ้นที่ถือโดยผู้ออกหุ้นกู้ด้วย โดยอนุโลม (4) มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และในผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการถือหุ้นของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (5) มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นกรรมการที่ไม่มีอํานาจในการจัดการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งมีจํานวนไม่เกินหนึ่งคน และเฉพาะกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้มีกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่าเก้าคน (6) มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในผู้ออกหุ้นกู้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอื่นที่อาจเป็นเหตุให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ขาดความเป็นอิสระในการดําเนินงาน ข้อ ๙ ให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 8 ได้รับการผ่อนผันให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนั้นได้ หากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด ทั้งนี้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบในเอกสารประกอบการเสนอขายที่แจกจ่ายให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้การผ่อนผันที่ได้รับสิ้นสุดลง และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ดังกล่าวได้เฉพาะเท่าที่จําเป็นระหว่างที่ผู้ออกหุ้นกู้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว การผ่อนผันตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รายใหม่อันเป็นผลจากการที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้นกู้ ส่วน ๒ การกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องกระทําด้วยความระมัดระวังและดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้เยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทําในกิจการเช่นว่านั้น ข้อ ๑๑ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในกิจการซึ่งต้องลงลายมือชื่อของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ระบุไว้ด้วยว่าเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวง ข้อ ๑๒ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดูแลมิให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามหุ้นกู้อันจะทําให้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นลดน้อยถอยลงในลักษณะที่ทําให้สัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลหนี้ตามหุ้นกู้ต่ําลงกว่าที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่อาจทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เสียประโยชน์ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อกําหนดสิทธิ ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการใช้สอยทรัพย์สินตามปกติ ข้อ ๑๓ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องไม่ให้ความเห็นชอบในการนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันออกหาผลประโยชน์ หากการหาผลประโยชน์นั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือจะเป็นผลให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นมีมูลค่าไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิในลักษณะอื่นนอกจากการผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ (ถ้ามี) และเกิดความเสียหายขึ้น ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นได้ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ย หรือผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอน (ถ้ามี) ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติในการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิและสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ข้อ ๑๖ ในการแจ้งกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ โดยระบุถึงการดําเนินการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามอํานาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ตลอดจนผลการดําเนินการนั้นด้วย การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รู้หรือควรรู้ถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ หรือนับแต่วันที่ได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ปรากฏผลการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ในการดําเนินการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติของผู้ถือหุ้นกู้ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือถึงการจัดให้มีการประชุมดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวันก่อนวันประชุม ข้อ ๑๘ ในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวล่วงหน้าไปพลางก่อน ก่อนดําเนินการแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปเพื่อการดังกล่าวออกจากทรัพย์สินนั้นได้ ข้อ ๑๙ ภายใต้บังคับข้อ 18 เมื่อดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้แล้ว ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รวบรวมและแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ตามสัดส่วนที่ผู้ถือหุ้นกู้แต่ละคนพึงได้รับให้ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดทําบัญชีแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรวบรวมทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และการแจกจ่ายทรัพย์สินไว้ทุกขั้นตอน ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทําการดังต่อไปนี้ (1) เข้าทําสัญญารับหลักประกันที่มีข้อความแห่งสัญญาที่เป็นผลให้ไม่อาจดําเนินการบังคับหลักประกันได้ (2) ยอมให้มีการปลดหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ (3) นําทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้ซึ่งอยู่ในการครอบครองของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไปแสวงหาประโยชน์หรือยอมให้บุคคลใดนําไปแสวงหาประโยชน์ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (4) เข้าซื้อไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้นั้นหรือทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นกู้ที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเพื่อการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ (5) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อตนเองจากบุคคลใด ๆ ที่เข้าซื้อหลักประกันหรือทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ในกรณีที่มีการบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ (6) รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (7) ประนีประนอมยอมความในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่การประนีประนอมยอมความนั้นไม่ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้ได้รับชําระหนี้และค่าเสียหายน้อยลงกว่าที่ควรจะได้รับตามสิทธิ หรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ให้ประนีประนอมยอมความได้ (8) หักเงินที่ต้องแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งได้มาจากการเรียกร้องค่าเสียหายบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ เพื่อชําระหนี้อื่นที่ผู้ถือหุ้นกู้มีอยู่กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (9) กระทําการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอาจเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นกู้ไม่ได้รับชําระหนี้ตามหุ้นกู้อย่างครบถ้วน หมวด ๓ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,676
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2558 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2558 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,677
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 84/2558 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 3)
-ร่าง- ร่างประกาศตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 1 เมื่อวันที่ .....................11/11/58................... CSDS เลขที่....65/2557 ครั้งที่.........2.......... ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 84/2558 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 41(3) และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) และ (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “(4) “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (5) “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ของหมวด 2 การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทน ผู้ถือหุ้นกู้ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทน ผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 7/1 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตามหมวดนี้สําหรับกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้เป็นกองทรัสต์ ให้พิจารณาความสัมพันธ์ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กับกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสตีของกองทรัสต์นั้นด้วย โดยอนุโลม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,678
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2559 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 4)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2559 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) “การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามที่กําหนดโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,679
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทช. 27/2560 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 5)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทช. 27/2560 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 41(3) และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) และ (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 84/2558 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์ตามประกาศดังต่อไปนี้ (ก) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (5) “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตามสัญญาก่อตั้งของกองทรัสต์” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,680
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 25/2560 เรื่อง การขอรับความเห็นชอบการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2560 เรื่อง การขอรับความเห็นชอบการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี หลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุน การให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ 3(2) และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 37/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 กําหนดให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบ ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวและประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งแนวทางที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการอื่นที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี สํานักงานจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “ผู้ประกอบการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ตามประกาศนี้ “ประกาศ ที่ กธ. 17/2560” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ลงวันที่ 24 เมษายน 2560 ข้อ ๒ ในการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามแบบคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงานตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน (1) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้สามารถประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาต แล้วแต่กรณี (ข) ผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีการขอรับความเห็นชอบการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบ (2) มีความพร้อมในเรื่องระบบงานและบุคลากรที่สามารถรองรับการประกอบการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ในกรณีการขอรับความเห็นชอบการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบ ให้พิจารณาถึงความพร้อมในเรื่องเงินทุนด้วย (3) มีวิธีปฏิบัติงานเพื่อแยกการดําเนินการภายใต้โครงการทดสอบออกจากการดําเนินการอื่นอย่างชัดเจน (4) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3(2) (3) (ข) (ค) (ง) และ (จ) (4) (5) (6) และ (7) แห่งประกาศ ที่ กธ. 17/2560 ข้อ ๓ สํานักงานจะดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับความเห็นชอบและพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ในกรณีที่ผู้ประกอบการประสงค์จะขอขยายระยะเวลาการเห็นชอบเป็นผู้ประกอบการออกไป ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงานก่อนการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน สํานักงานจะพิจารณาคําขอขยายระยะเวลาตามวรรคสองให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ การให้ความเห็นชอบการประกอบการหรือการให้บริการตามประกาศนี้สิ้นสุดลงเมื่อเป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ครบกําหนดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบหรือตามที่ได้รับการขยายระยะเวลาออกไปตามข้อ 3 วรรคสาม แล้วแต่กรณี (2) ผู้ประกอบการยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบโดยได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 5 (3) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 7 ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบการประสงค์จะขอยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขออนุญาตยุติการประกอบการ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน ก่อนยุติการประกอบการไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน สํานักงานจะพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) คุณสมบัติตามข้อ 2(2) หรือ (3) (2) คุณสมบัติตามข้อ 3(3) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) หรือ (4) แห่งประกาศ ที่ กธ. 17/2560 ข้อ ๗ สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเมื่อ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการประกอบการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทยตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(2) แห่งประกาศ ที่ กธ. 17/2560 (2) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่นํามาใช้ในการประกอบการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง (3) ผู้ประกอบการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติที่แสดงไว้ในข้อ 2 (4) ผู้ประกอบการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สําหรับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (5) ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 6 ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,681
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 26/2560 เรื่อง การจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 26/2560 เรื่อง การจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และโดยที่มาตรา 5(4) และมาตรา 9(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 กําหนดให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต้องจดแจ้งการเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในบริษัทเป้าหมาย “บริษัทเป้าหมาย” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน และต้องไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “กิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน” หมายความว่า กิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนซึ่งประกอบ ธุรกิจอุตสาหกรรมตามที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 กําหนด “ทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ “ทรัสตี” หมายความว่า ทรัสตีของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๓ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ หมวด ๒ การจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๔ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนยื่นคําขอจดแจ้งต่อสํานักงานตามแบบ VC-1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๕ บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนต้องจัดทํารายงานการลงทุนตามแบบ VC-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งให้สํานักงานภายใน 5 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี หมวด ๓ การจดแจ้งการเป็นทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๖ ให้ทรัสตีที่ประสงค์จะจดแจ้งการเป็นทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนยื่นคําขอจดแจ้ง พร้อมทั้งเอกสารประกอบคําขอต่อสํานักงานตามแบบ PE Trust-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๗ ทรัสตีต้องจัดทํารายงานการลงทุนของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนตามแบบ PE Trust-3 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งให้สํานักงานภายใน 5 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,682
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 29/2560 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2560 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันหยุดราชการซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,683
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 32/2560 เรื่อง ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 32/2560 เรื่อง ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรายงานผลการขาย หลักทรัพย์ต่อประชาชน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2546 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 9/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 10/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 26/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2554 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2555 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 (16) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 (17) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 74/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (18) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,684
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 40/2560 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการการจัดการข้อมูลการชำระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2560 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการการจัดการข้อมูล การชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2560 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการการจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ “ประกาศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินของ ผู้ให้บริการ ซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการบัญชี “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ข้อ ๒ นิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการ ให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบคําขอที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๓ สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการตามข้อ 2 เมื่อนิติบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) มีฐานะการเงินในลักษณะที่ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของผู้ที่ขอรับความเห็นชอบ ต้องสามารถดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายดังกล่าวได้ด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท (2) มีขอบเขตการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์และความเป็นธรรมต่อผู้รับบริการ (3) มีระบบงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยดังนี้ (ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง (ข) ระบบการควบคุมภายใน (ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ล่วงรู้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมทั้งเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ตลอดจนกระบวนการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ง) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เทียบเท่าหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (จ) ระบบการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน หรือมีการจัดทําเป็นแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและแผนการดําเนินธุรกิจดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง (4) มีระบบงานในการตรวจสอบและกํากับดูแลให้การให้บริการการจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (5) มีความพร้อมด้านบุคลากร โดยผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการต้องจัดให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกตามกฎหมายว่าหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (6) ต้องยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลา (7) เป็นผู้ให้บริการหรืออยู่ระหว่างยื่นคําขอเป็นผู้ให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือสั่งห้ามประกอบธุรกิจตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ในกรณีที่มีการให้บริการที่เป็นธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ข้อ ๔ สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4 เป็นบุคคลตามข้อ 3(7) ผู้ให้บริการดังกล่าวจะให้บริการได้ต่อเมื่อเป็นผู้ให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว และไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือสั่งห้ามประกอบธุรกิจตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินได้ตามที่กําหนดในข้อ 3(1) ให้ผู้ให้บริการแจ้งให้สํานักงานและผู้รับบริการทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินนั้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ให้บริการจะเปลี่ยนแปลงขอบเขตการประกอบธุรกิจตามข้อ 3(2)อย่างมีนัยสําคัญ ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้สํานักงานทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตการประกอบธุรกิจนั้น ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ให้บริการจะเปลี่ยนแปลงระบบงานตามข้อ 3(3) หรือ (4) อย่างมีนัยสําคัญ ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนการเปลี่ยนแปลง และหากสํานักงานไม่ทักท้วงภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้ผู้ให้บริการดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวได้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้บริการใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ให้บริการต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงและเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อผู้รับบริการล่วงหน้าตามสมควร ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏข้อบกพร่องที่มีนัยสําคัญขึ้นกับระบบงานตามข้อ 3(3) หรือ (4)ผู้ให้บริการต้องแจ้งข้อบกพร่องพร้อมรายละเอียดต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ปรากฏข้อบกพร่องดังกล่าว และให้แจ้งผลการแก้ไขให้สํานักงานทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่แก้ไขแล้วเสร็จ ข้อ ๑๐ ผู้ให้บริการต้องไม่ทําข้อตกลงกับผู้รับบริการในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ (1) จํากัดความรับผิดเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ อันเนื่องจากการที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) จํากัดสิทธิในการยกเลิกการรับบริการในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ข้อ ๑๑ ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีการสอบทานการจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ และรายงานผลการสอบทานดังกล่าวโดยผู้ตรวจสอบที่สามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ให้บริการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยต้องจัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงานภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ตรวจสอบ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ให้บริการประสงค์จะยุติการให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้สํานักงานและผู้รับบริการทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วันก่อนวันยุติการให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งแสดงรายการของงานที่คงค้าง และการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้รับบริการ (ถ้ามี) เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๑๓ ผู้ให้บริการต้องดํารงคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้ไว้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าผู้ให้บริการมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ สํานักงานจะดําเนินการตามข้อ 15 (1) ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ (2) ไม่ดําเนินการในกรณีที่สํานักงานสั่งให้ชี้แจง ส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (3) มิได้ดําเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม เป็นธรรม และเป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานที่ดีในการประกอบวิชาชีพ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์ตามข้อ 14 สํานักงานอาจสั่งให้ผู้ให้บริการ ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) ชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมทั้งส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) แก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ห้ามมิให้บริการกับผู้รับบริการรายใหม่ (4) ห้ามมิให้ต่ออายุสัญญากับผู้รับบริการรายเดิม (5) กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามคําสั่งสํานักงานตามที่กําหนดในข้อ 15 ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการได้ เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจเปิดเผยการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการการจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ก็ได้ ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,685
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 41/2560 เรื่อง การเปิดเผยการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code for Institutional Investors)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/25602558 เรื่อง การเปิดเผยการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code for Institutional Investors) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นที่มิใช่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “หลักธรรมาภิบาลการลงทุน” หมายความว่า หลักธรรมาภิบาลการลงทุนสําหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code for Institutional Investors) ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้บนเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของแต่ละปี และในรายงานประจําปี (ถ้ามี) (1) การรับหรือไม่รับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนโดยมติคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ และหากไม่รับให้ระบุเหตุผลด้วย (2) กรณีผู้ประกอบธุรกิจรับที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ให้เปิดเผยข้อมูลดังนี้ (ก) นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน และหากยังไม่ได้ปฏิบัติในเรื่องใด ให้ระบุเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งเหตุผลหรือมาตรการที่นํามาใช้ทดแทนการปฏิบัติดังกล่าวด้วย ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 2(2) ในครั้งแรกภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,686
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 43/2560 เรื่อง วันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจำปี พ.ศ. 2561
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 43/2560 เรื่อง วันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2561 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2561 ไว้ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - 1. วันจันทร์ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ 2. วันอังคาร 2 มกราคม วันหยุดชดเชยวันสิ้นปี (วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560) 3. วันพฤหัสบดี 1 มีนาคม วันมาฆบูชา 4. วันศุกร์ 6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึก มหาจักรีบรมราชวงศ์ 5. วันศุกร์ 13 เมษายน วันสงกรานต์ 6. วันจันทร์ 16 เมษายน วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์ (วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561 และวันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561) 7. วันอังคาร 1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ 8. วันอังคาร 29 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา 9. วันศุกร์ 27 กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา 10. วันจันทร์ 30 กรกฎาคม วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561) 11. วันจันทร์ 13 สิงหาคม วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561) 12. วันจันทร์ 15 ตุลาคม วันหยุดชดเชยวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561) 13. วันอังคาร 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 14. วันพุธ 5 ธันวาคม วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 15. วันจันทร์ 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ 16. วันจันทร์ 31 ธันวาคม วันสิ้นปี สําหรับบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา ให้หยุดในวันตรุษจีน วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) และวันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา (วันรายอฮัจยี) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรี หากวันตรุษดังกล่าวไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจําสัปดาห์ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,687
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ 2 ร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,688
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 45/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 45/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 53/2560 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชน และการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก หนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) หนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,689
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 48/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 48/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน เฉพาะในส่วนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,690
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 21/2549 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 21/2549 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) การจัดสรรจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานรายที่จะ ได้รับหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ขออนุญาต ต้องผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยสามคน และต้องไม่มีกรรมการที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าดังกล่าวเป็นกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตซึ่งประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือ พนักงานเป็นบริษัทตามข้อ 4(3) ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อเมื่อ ผู้ขออนุญาตได้ดําเนินการดังนี้ (1) ได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (2) สามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่า บริษัทตามข้อ 4(1) และข้อ 4(2) ซึ่งมีผู้ขออนุญาติเป็นบริษัทย่อยได้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นและมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปตามข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 โดยอนุโลม” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 “ข้อ 20/1 ในกรณีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ยื่นต่อสํานักงานในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามประกาศนี้ มีการอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตสามารถนําหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งกรรมการหรือพนักงานที่ลาออกหรือพ้นจากตําแหน่งได้ส่งมอบให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตหรือบุคคลใดตามที่ผู้ได้รับอนุญาตกําหนด มาจัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานรายอื่นต่อไปได้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ในกรณีเป็นการจัดสรรให้แก่พนักงานและไม่มีพนักงานรายใดจะได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์รวมแล้วเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตตามคําขอที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ภายหลังการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมและสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่มีการอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังกล่าว ต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ 1. ในกรณีเป็นการจัดสรรให้แก่กรรมการไม่ว่าจํานวนเท่าใด หรือจัดสรรให้แก่พนักงานรายใดอันเป็นผลให้พนักงานรายนั้นจะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์รวมแล้วเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตตามคําขอที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ก่อนการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ 2. เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตนําหลักทรัพย์แปลงสภาพมาจัดสรรให้กรรมการหรือพนักงานรายที่จะได้รับการจัดสรร โดยหนังสือนัดประชุมการประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ13(2)(ค) ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 หรือข้อ 18 แล้วแต่กรณี 3. ส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมและสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นไปตาม (1) ต่อสํานักงาน ก่อนเริ่มทําการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างน้อยเจ็ดวันทําการ” ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ประสงค์จะนําหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ได้รับการส่งมอบจากกรรมการหรือพนักงานที่ลาออกหรือพ้นจากตําแหน่งมาจัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานรายอื่นต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวสามารถดําเนินการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นได้โดยปฏิบัติตามความในข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,691
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “แบบแสดงรายการ ข้อมูล” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น และหลักทรัพย์แปลงสภาพ (3) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (4) “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย (5) “พนักงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือ บริษัทย่อย เนื่องจากการจ้างแรงงาน โดยได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือสิ่งของอื่นใดเป็นการตอบแทนการทํางาน (6) “ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยมีข้อผูกพันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายที่จะนําหลักทรัพย์นั้นไปเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานอีกทอดหนึ่ง (7) “การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้น ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (8) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ในราคาต่ํา (9) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ การอนุญาต ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยบริษัทดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยตรง หรือเสนอขายผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อบุคคลใด เพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด (1) บริษัทจดทะเบียน (2) บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายหุ้นโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดก็ตาม (3) บริษัทมหาชนจํากัดที่บริษัทตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท (4) บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) (2) หรือ (3) ข้อ ๔ ให้บริษัทตามข้อ 3 สามารถเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่แก่กรรมการหรือพนักงานได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่โดยบริษัทตามข้อ 3(4) จะถือว่าบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นกับสํานักงานซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอน หลักทรัพย์แปลงสภาพไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้หลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถจํากัดผู้ถือหลักทรัพย์ไว้ในกลุ่มบุคคลที่เป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัทได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่ ให้ถือว่าบริษัทตามข้อ 3 ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นด้วย ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ถือว่าบริษัทที่ได้รับอนุญาต ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แต่งตั้งบุคคลที่บริษัทจะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แล้วด้วย หมวด ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๕ ในกรณีบริษัทตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3) เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน หากเป็นหลักทรัพย์ที่เหลือจากการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น และการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้บริษัทดังกล่าวปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 7 และส่วนที่ 8 เท่านั้น (1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติไว้อย่างชัดแจ้งในคราวที่มีมติให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นว่า ให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เหลือนั้นต่อกรรมการหรือพนักงานได้ (2) ในกรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (1) ต่อกรรมการ ต้องมีการระบุรายชื่อกรรมการทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์ หลักเกณฑ์การจัดสรรหลักทรัพย์ในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่กรรมการ หรือจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่อาจจัดสรรให้กรรมการแต่ละรายไว้ในมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างชัดเจน (3) หลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานตาม (1) ต้องมีราคาเสนอขายรวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ ที่ไม่ดีไปกว่าการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นในคราวนั้น ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ให้บริษัทตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นด้วย 1. (1)เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยบริษัทจัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม 2. (2) หนังสือนัดประชุมตาม (1) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์และความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา และรายการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8(2) (ข) (ง) และ (ช) โดยอนุโลม (ข) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (4) (ค) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว (3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (4) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๖ ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนตามที่กําหนดในหมวดนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานในกรณีใด ที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตขอผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตต่อสํานักงาน หากบริษัทที่ได้รับอนุญาตสามารถแสดงได้ว่าเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ โดยอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (1) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของบริษัทที่ได้รับอนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีนั้น (2) บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ข้อ ๗ การเสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน (2) การเสนอขายตามโครงการต่อเนื่อง หลักทรัพย์ในโครงการต้องเป็นหุ้นเท่านั้น โดยให้เสนอขายครั้งแรกภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานและให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในอายุโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี (3) การเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ อายุของหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นต้องไม่เกินห้าปี และต้องเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพให้แล้วเสร็จตามอายุของหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น ส่วน ๑ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ข้อ ๘ ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกหลักทรัพย์เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้บริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) ดําเนินการเกี่ยวกับการนัดประชุมดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม (2) หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์และความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ออกในเรื่อง ประเภท อายุ (ถ้ามี) จํานวนมูลค่าการเสนอขาย ราคาเสนอขาย อัตราดอกเบี้ย (ถ้ามี) ราคาหรืออัตราการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ (ถ้ามี) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายและวิธีการคํานวณ รวมทั้งที่มา เหตุผล และความเหมาะสมของการกําหนดราคาเสนอขายและราคาตลาดดังกล่าว ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการต้องมีราคาเสนอขาย รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ ที่ไม่ดีไปกว่าหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อพนักงาน ในกรณีที่ไม่สามารถระบุราคาเสนอขาย อัตราดอกเบี้ย หรือราคาการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ เป็นตัวเลขที่แน่นอน ให้ระบุเป็นสัดส่วนโดยอิงราคาหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อ้างอิงได้ โดยต้องระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอนด้วย (ค) รายชื่อกรรมการทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติไม่ว่าจํานวนเท่าใด และรายชื่อพนักงานทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ขออนุมัติ รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ที่กรรมการและพนักงานดังกล่าวแต่ละรายจะได้รับการจัดสรร เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อกรรมการหรือพนักงานเป็นโครงการต่อเนื่องที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ใน (3) (ง) ผลกระทบที่จะมีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นของกรรมการหรือพนักงาน และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (จ) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหลักทรัพย์ที่ออก เช่น หลักเกณฑ์ในการจัดสรร วิธีการเสนอขายผ่านบุคคลอื่น และรายชื่อบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี) คุณสมบัติของกรรมการหรืพนักงานที่มีสิทธิจะซื้อหลักทรัพย์ที่ออก เป็นต้น 6. สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามข้อ 9 ข้อ 10(2) หรือข้อ 12(3) แล้วแต่กรณี (ช) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อกรรมการหรือพนักงานเป็นโครงการต่อเนื่องและไม่สามารถระบุข้อมูลตาม (2)(ค) รวมทั้งจํานวนหุ้นที่กรรมการหรือพนักงานได้รับการจัดสรรได้ในปีแรกที่ขออนุมัติโครงการ ให้บริษัทส่งหนังสือนัดประชุมและจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องระบุข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กําหนดไว้ในส่วนนี้และส่วนที่ 2 ก่อนดําเนินการจัดสรรหุ้น (4) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย ส่วน ๒ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้า ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดและเข้าข่าย เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ข้อ ๑๐ ในกรณีจํานวนหุ้นและหุ้นที่จะจัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่จะเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ณ วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน และกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องแสดงรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เหตุผลหรือที่มาของการกําหนดจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดและการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (ข) ความจําเป็นของการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยกําหนดจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดและกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ต่อการดํารงอยู่ของบริษัท หรือความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว (2) ได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ําต่อกรรมการหรือพนักงานเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๑๑ การคํานวณจํานวนหุ้นที่เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานตามส่วนนี้ ให้นําจํานวนหุ้นดังต่อไปนี้มารวมกัน (1) หุ้นและหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนี้ (2) หุ้นและหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ที่บริษัทเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานโดยตรง หรือโดยผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อบุคคลใดเพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด ในระยะห้าปีย้อนหลังก่อนการเสนอขายในครั้งนี้ ทั้งนี้ เฉพาะที่เสนอขายโดยมีส่วนลดจากราคาตลาดก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศนี้ ส่วน ๓ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน เฉพาะรายที่เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานรายใดเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขายในแต่ละครั้ง หนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) หนังสือนัดประชุมตามข้อ 8(2) ต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (ก) ผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายดังกล่าวจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์เมื่อคํานวณเป็นตัวเงิน โดยคํานวณจากผลต่างของราคาเสนอขายและราคาตลาด (ข) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแสดงถึงเหตุผล ความจําเป็น และประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายดังกล่าว (ค) ในกรณีเป็นกรรมการ ให้ระบุจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละรายดังกล่าวเข้าประชุมและขาดประชุมในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา (ง) จํานวนและลักษณะผลตอบแทนทั้งหมดของปีล่าสุด ที่ได้รับจากบริษัท ในฐานะกรรมการหรือพนักงาน เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (2) การจัดสรรจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานรายที่จะได้รับหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยสามคน และต้องไม่มีกรรมการที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าดังกล่าวเป็นกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน (3) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ ต้องเป็นมติอนุมัติสําหรับกรรมการหรือพนักงานดังกล่าวเป็นรายบุคคล โดยมติอนุมัติสําหรับแต่ละบุคคลต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านในมตินั้น ส่วน ๔ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับกรณีที่กําหนดให้สามารถนําหลักทรัพย์แปลงสภาพ ที่เคยเสนอขายแล้วมาจัดสรรใหม่ได้ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้บริษัทสามารถนําหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งกรรมการหรือพนักงานที่ลาออกหรือพ้นจากตําแหน่งได้ส่งมอบให้แก่บริษัทหรือบุคคลใดตามที่บริษัทกําหนด มาจัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานรายอื่นต่อไปได้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีเป็นการจัดสรรให้แก่พนักงานและไม่มีพนักงานรายใดจะได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์รวมแล้วเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ภายหลังการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้ดําเนินการได้ตามมติดังกล่าว (2) ในกรณีเป็นการจัดสรรให้แก่กรรมการไม่ว่าจํานวนเท่าใด หรือจัดสรรให้แก่พนักงานรายใดอันเป็นผลให้พนักงานรายนั้นจะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์รวมแล้วเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ก่อนการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้อง เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติอนุมัติให้บริษัทนําหลักทรัพย์แปลงสภาพมาจัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานรายที่จะได้รับการจัดสรร โดยการเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 8(1) และ (2)(ค) ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 หรือข้อ 14 แล้วแต่กรณี ส่วน ๕ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทตามข้อ 3(3) ข้อ ๑๔ ในกรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 3(3) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย ให้บริษัทที่ได้รับ อนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 13 (2) กรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (ข) ดําเนินการให้บริษัทตามข้อ 3(1) หรือข้อ 3(2) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับอนุญาต เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เรียกประชุมผู้ถือหุ้นและมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยให้บริษัทตามข้อ 3(1) หรือข้อ 3(2) เป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นไปเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 13 โดยอนุโลม ส่วน ๖ เงื่อนไขเฉพาะสําหรับกรณีการเสนอขาย โดยบริษัทตามข้อ 3(4) ข้อ ๑๕ ในกรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 3(4) บริษัทดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามส่วนที่ 1 ถึงส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๖ ให้บริษัทตามข้อ 3(4) ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) หากจะมีการแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขายบริษัทต้องแจกจ่ายไปให้กับกรรมการและพนักงานเท่านั้น และต้องจัดให้มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพเช่นเดียวกับที่ได้จดแจ้งไว้กับสํานักงานตามข้อ 4 และข้อความตาม (2) ในเอกสารดังกล่าวด้วย (2) ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ซึ่งต้องไม่มีหุ้นหรือหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่สามารถเสนอขายได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว คงค้างอยู่ บริษัทต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทยื่นต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่บริษัทจะได้ยื่นคําขอและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน (3) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (ก) จัดให้หลักทรัพย์แปลงสภาพที่จะออกและเสนอขายเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในหลักทรัพย์ที่แสดงข้อจํากัดการโอน (ข) ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อบริษัทที่จะลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้บริษัทตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าว หากพบว่าเป็นการโอนที่จะขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน บริษัทต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก และในกรณีที่บริษัทจัดให้มีนายทะเบียนหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหลักทรัพย์แปลงสภาพปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ส่วน ๗ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขาย ผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ บริษัทต้องไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้แก่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทําการในฐานะบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอันเป็นปกติของการประกอบธุรกิจประเภทนั้น ความช่วยเหลือทางการเงินตามวรรคหนึ่งมิให้หมายความรวมถึง การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเท่าที่จําเป็นและเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ส่วน ๘ การยื่นเอกสารหลักฐานพร้อมกับรายงานผลการขาย ข้อ ๑๘ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๙ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป เว้นแต่บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวจะแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานแสดงความประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๐ ให้บริษัทที่เข้าลักษณะตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3) ที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมิได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว หรือยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานแล้วแต่แสดงความประสงค์ตามข้อ 19 ที่จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ แล้วแต่เวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง (1) 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือ (2) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ทั้งนี้ ในกรณีเป็นบริษัทที่เข้าลักษณะตามข้อ 3(3) ซึ่งไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน มติดังกล่าวของบริษัท ให้หมายความถึง มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 3(1) หรือข้อ 3(2) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่เข้าลักษณะตามข้อ 3(3) ดังกล่าว หากบริษัทตามวรรคหนึ่งได้ดําเนินการเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น รายละเอียดของหนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนดด้วยแล้ว ข้อ ๒๑ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าว และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ทั้งนี้ โดยได้ผ่อนคลายให้บริษัทสามารถเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าวได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยกําหนดให้บริษัทต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอต่อผู้ถือหุ้นและต้องขออนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นของบริษัท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,692
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “แบบแสดงรายการ ข้อมูล” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น และหลักทรัพย์แปลงสภาพ (3) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (4) “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย (5) “พนักงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือ บริษัทย่อย เนื่องจากการจ้างแรงงาน โดยได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือสิ่งของอื่นใดเป็นการตอบแทนการทํางาน (6) “ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยมีข้อผูกพันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายที่จะนําหลักทรัพย์นั้นไปเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานอีกทอดหนึ่ง (7) “การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้น ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (8) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ในราคาต่ํา (9) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ การอนุญาต ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยบริษัทดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยตรง หรือเสนอขายผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อบุคคลใด เพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด (1) บริษัทจดทะเบียน (2) บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายหุ้นโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดก็ตาม (3) บริษัทมหาชนจํากัดที่บริษัทตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท (4) บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) (2) หรือ (3) ข้อ ๔ ให้บริษัทตามข้อ 3 สามารถเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่แก่กรรมการหรือพนักงานได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่โดยบริษัทตามข้อ 3(4) จะถือว่าบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นกับสํานักงานซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้หลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถจํากัดผู้ถือหลักทรัพย์ไว้ในกลุ่มบุคคลที่เป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัทได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่ ให้ถือว่าบริษัทตามข้อ 3 ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นด้วย ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ถือว่าบริษัทที่ได้รับอนุญาต ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แต่งตั้งบุคคลที่บริษัทจะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แล้วด้วย หมวด ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๕ ในกรณีบริษัทตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3) เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน หากเป็นหลักทรัพย์ที่เหลือจากการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น และการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้บริษัทดังกล่าวปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 7 และส่วนที่ 8 เท่านั้น (1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติไว้อย่างชัดแจ้งในคราวที่มีมติให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นว่า ให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เหลือนั้นต่อกรรมการหรือพนักงานได้ (2) ในกรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (1) ต่อกรรมการ ต้องมีการระบุรายชื่อกรรมการทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์ หลักเกณฑ์การจัดสรรหลักทรัพย์ในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่กรรมการ หรือจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่อาจจัดสรรให้กรรมการแต่ละรายไว้ในมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างชัดเจน (3) หลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานตาม (1) ต้องมีราคาเสนอขายรวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ ที่ไม่ดีไปกว่าการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นในคราวนั้น ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ให้บริษัทตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นด้วย 1. (1) เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยบริษัทจัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม 2. (2) หนังสือนัดประชุมตาม (1) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์และความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา และรายการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8(2) (ข) (ง) และ (ช) โดยอนุโลม (ข) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (4) (ค) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว (3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (4) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๖ ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนตามที่กําหนดในหมวดนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานในกรณีใด ที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตขอผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตต่อสํานักงาน หากบริษัทที่ได้รับอนุญาตสามารถแสดงได้ว่าเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ โดยอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (1) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของบริษัทที่ได้รับอนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีนั้น (2) บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ข้อ ๗ การเสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน (2) การเสนอขายตามโครงการต่อเนื่อง หลักทรัพย์ในโครงการต้องเป็นหุ้นเท่านั้น โดยให้เสนอขายครั้งแรกภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานและให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในอายุโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี (3) การเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ อายุของหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นต้องไม่เกินห้าปี และต้องเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพให้แล้วเสร็จตามอายุของหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น ส่วน ๑ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ข้อ ๘ ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกหลักทรัพย์เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้บริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) ดําเนินการเกี่ยวกับการนัดประชุมดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม (2) หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์และความจําเป็นในการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ออกในเรื่อง ประเภท อายุ (ถ้ามี) จํานวนมูลค่าการเสนอขาย ราคาเสนอขาย อัตราดอกเบี้ย (ถ้ามี) ราคาหรืออัตราการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ (ถ้ามี) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายและวิธีการคํานวณ รวมทั้งที่มา เหตุผล และความเหมาะสมของการกําหนดราคาเสนอขายและราคาตลาดดังกล่าว ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการต้องมีราคาเสนอขาย รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ ที่ไม่ดีไปกว่าหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อพนักงาน ในกรณีที่ไม่สามารถระบุราคาเสนอขาย อัตราดอกเบี้ย หรือราคาการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ เป็นตัวเลขที่แน่นอน ให้ระบุเป็นสัดส่วนโดยอิงราคาหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อ้างอิงได้ โดยต้องระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอนด้วย (ค) รายชื่อกรรมการทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติไม่ว่าจํานวนเท่าใด และรายชื่อพนักงานทุกรายที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ขออนุมัติ รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ที่กรรมการและพนักงานดังกล่าวแต่ละรายจะได้รับการจัดสรร เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อกรรมการหรือพนักงานเป็นโครงการต่อเนื่องที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ใน (3) (ง) ผลกระทบที่จะมีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นของกรรมการหรือพนักงาน และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (จ) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายหลักทรัพย์ที่ออก เช่น หลักเกณฑ์ในการจัดสรร วิธีการเสนอขายผ่านบุคคลอื่น และรายชื่อบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี) คุณสมบัติของกรรมการหรืพนักงานที่มีสิทธิจะซื้อหลักทรัพย์ที่ออก เป็นต้น 6. (ฉ) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามข้อ 9 ข้อ 10(2) หรือข้อ 12(3) แล้วแต่กรณี (ช) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อกรรมการหรือพนักงานเป็นโครงการต่อเนื่องและไม่สามารถระบุข้อมูลตาม (2)(ค) รวมทั้งจํานวนหุ้นที่กรรมการหรือพนักงานได้รับการจัดสรรได้ในปีแรกที่ขออนุมัติโครงการ ให้บริษัทส่งหนังสือนัดประชุมและจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องระบุข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กําหนดไว้ในส่วนนี้และส่วนที่ 2 ก่อนดําเนินการจัดสรรหุ้น (4) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย ข้อ ๙ ภายใต้บังคับข้อ 10 และข้อ 12 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) ที่อนุมัติการเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งต้องเป็นมติที่ชัดแจ้งและไม่มีลักษณะเป็นการมอบอํานาจให้บุคคลอื่นใดเป็นผู้กําหนดรายละเอียดตามข้อ 8(2)(ข) และ (จ) แทนที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วน ๒ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้า ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดและเข้าข่าย เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ข้อ ๑๐ ในกรณีจํานวนหุ้นและหุ้นที่จะจัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่จะเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ณ วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน และกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องแสดงรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เหตุผลหรือที่มาของการกําหนดจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดและการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (ข) ความจําเป็นของการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานโดยกําหนดจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดและกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา ต่อการดํารงอยู่ของบริษัท หรือความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว (2) ได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ําต่อกรรมการหรือพนักงานเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๑๑ การคํานวณจํานวนหุ้นที่เสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานตามส่วนนี้ ให้นําจํานวนหุ้นดังต่อไปนี้มารวมกัน (1) หุ้นและหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนี้ (2) หุ้นและหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ที่บริษัทเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานโดยตรง หรือโดยผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อบุคคลใดเพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด ในระยะห้าปีย้อนหลังก่อนการเสนอขายในครั้งนี้ ทั้งนี้ เฉพาะที่เสนอขายโดยมีส่วนลดจากราคาตลาดก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศนี้ ส่วน ๓ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน เฉพาะรายที่เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทตามข้อ 3(1) หรือ (2) จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานรายใดเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขายในแต่ละครั้ง หนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) หนังสือนัดประชุมตามข้อ 8(2) ต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (ก) ผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายดังกล่าวจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์เมื่อคํานวณเป็นตัวเงิน โดยคํานวณจากผลต่างของราคาเสนอขายและราคาตลาด (ข) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแสดงถึงเหตุผล ความจําเป็น และประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานแต่ละรายดังกล่าว (ค) ในกรณีเป็นกรรมการ ให้ระบุจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละรายดังกล่าวเข้าประชุมและขาดประชุมในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา (ง) จํานวนและลักษณะผลตอบแทนทั้งหมดของปีล่าสุด ที่ได้รับจากบริษัท ในฐานะกรรมการหรือพนักงาน เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (2) การจัดสรรจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานรายที่จะได้รับหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยสามคน และต้องไม่มีกรรมการที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าดังกล่าวเป็นกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน (3) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ ต้องเป็นมติอนุมัติสําหรับกรรมการหรือพนักงานดังกล่าวเป็นรายบุคคล โดยมติอนุมัติสําหรับแต่ละบุคคลต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านในมตินั้น ส่วน ๔ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับกรณีที่กําหนดให้สามารถนําหลักทรัพย์แปลงสภาพ ที่เคยเสนอขายแล้วมาจัดสรรใหม่ได้ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้บริษัทสามารถนําหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งกรรมการหรือพนักงานที่ลาออกหรือพ้นจากตําแหน่งได้ส่งมอบให้แก่บริษัทหรือบุคคลใดตามที่บริษัทกําหนด มาจัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานรายอื่นต่อไปได้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีเป็นการจัดสรรให้แก่พนักงานและไม่มีพนักงานรายใดจะได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์รวมแล้วเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ภายหลังการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้ดําเนินการได้ตามมติดังกล่าว (2) ในกรณีเป็นการจัดสรรให้แก่กรรมการไม่ว่าจํานวนเท่าใด หรือจัดสรรให้แก่พนักงานรายใดอันเป็นผลให้พนักงานรายนั้นจะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์รวมแล้วเป็นจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ก่อนการจัดสรรหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้อง เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติอนุมัติให้บริษัทนําหลักทรัพย์แปลงสภาพมาจัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานรายที่จะได้รับการจัดสรร โดยการเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 8(1) และ (2)(ค) ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 หรือข้อ 14 แล้วแต่กรณี ส่วน ๕ การเรียกประชุม หนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทตามข้อ 3(3) ข้อ ๑๔ ในกรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 3(3) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย ให้บริษัทที่ได้รับ อนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 13 (2) กรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (ข) ดําเนินการให้บริษัทตามข้อ 3(1) หรือข้อ 3(2) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับอนุญาต เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เรียกประชุมผู้ถือหุ้นและมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยให้บริษัทตามข้อ 3(1) หรือข้อ 3(2) เป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นไปเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 13 โดยอนุโลม ส่วน ๖ เงื่อนไขเฉพาะสําหรับกรณีการเสนอขาย โดยบริษัทตามข้อ 3(4) ข้อ ๑๕ ในกรณีบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 3(4) บริษัทดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามส่วนที่ 1 ถึงส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ ข้อ ๑๖ ให้บริษัทตามข้อ 3(4) ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) หากจะมีการแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขายบริษัทต้องแจกจ่ายไปให้กับกรรมการและพนักงานเท่านั้น และต้องจัดให้มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพเช่นเดียวกับที่ได้จดแจ้งไว้กับสํานักงานตามข้อ 4 และข้อความตาม (2) ในเอกสารดังกล่าวด้วย (2) ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ซึ่งต้องไม่มีหุ้นหรือหุ้นที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่สามารถเสนอขายได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว คงค้างอยู่ บริษัทต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทยื่นต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่บริษัทจะได้ยื่นคําขอและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน (3) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (ก) จัดให้หลักทรัพย์แปลงสภาพที่จะออกและเสนอขายเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในหลักทรัพย์ที่แสดงข้อจํากัดการโอน (ข) ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อบริษัทที่จะลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้บริษัทตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าว หากพบว่าเป็นการโอนที่จะขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน บริษัทต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก และในกรณีที่บริษัทจัดให้มีนายทะเบียนหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหลักทรัพย์แปลงสภาพปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ส่วน ๗ เงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขาย ผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ บริษัทต้องไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้แก่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทําการในฐานะบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอันเป็นปกติของการประกอบธุรกิจประเภทนั้น ความช่วยเหลือทางการเงินตามวรรคหนึ่งมิให้หมายความรวมถึง การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเท่าที่จําเป็นและเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ส่วน ๘ การยื่นเอกสารหลักฐานพร้อมกับรายงานผลการขาย ข้อ ๑๘ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๙ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป เว้นแต่บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวจะแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานแสดงความประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๐ ให้บริษัทที่เข้าลักษณะตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3) ที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมิได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงานตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว หรือยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานแล้วแต่แสดงความประสงค์ตามข้อ 19 ที่จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ แล้วแต่เวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง (1) 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือ (2) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ทั้งนี้ ในกรณีเป็นบริษัทที่เข้าลักษณะตามข้อ 3(3) ซึ่งไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน มติดังกล่าวของบริษัท ให้หมายความถึง มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 3(1) หรือข้อ 3(2) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่เข้าลักษณะตามข้อ 3(3) ดังกล่าว หากบริษัทตามวรรคหนึ่งได้ดําเนินการเกี่ยวกับการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น รายละเอียดของหนังสือนัดประชุม และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนดด้วยแล้ว ข้อ ๒๑ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าว และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ทั้งนี้ โดยได้ผ่อนคลายให้บริษัทสามารถเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลดังกล่าวได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยกําหนดให้บริษัทต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอต่อผู้ถือหุ้นและต้องขออนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นของบริษัท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,693
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2555 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2555 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) “พนักงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย เนื่องจากการจ้างแรงงาน โดยได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือสิ่งของอื่นใดเป็นการตอบแทนการทํางาน และในกรณีที่ข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้หมายความรวมถึงตัวแทนประกันชีวิตด้วย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) และ (5/2) ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “(5/1) “ตัวแทนประกันชีวิต” หมายความว่า ตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทประกันชีวิต (5/2) “บริษัทประกันชีวิต” หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทตามข้อ 3 ให้แก่กรรมการหรือพนักงาน ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ข้อ 4/2 และข้อ 4/3 ในหมวด 1 การอนุญาตแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 4/1 ในกรณีที่บริษัทตามข้อ 3 ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิต ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติโครงการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตไว้อย่างชัดแจ้ง (2) โครงการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตาม (1) มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนและจูงใจตัวแทนประกันชีวิตที่สร้างรายได้หรือทําประโยชน์ให้แก่บริษัท ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีมติไว้อย่างชัดแจ้งให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ปฏิบัติงานให้เฉพาะกับบริษัทหรือบริษัทย่อย (exclusive agent) และ (ข) มีรายได้หรือทําประโยชน์ให้แก่บริษัทหรือบริษัทย่อยอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากปริมาณกรมธรรม์หรือจํานวนเบี้ยประกันเป็นสําคัญ (active agent) ข้อ 4/2 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่โดยบริษัทในข้อ 3(4) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) บริษัทได้จดข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่า บริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้หลักทรัพย์แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถจํากัดผู้ถือหลักทรัพย์ในกลุ่มบุคคลที่เป็นกรรมการและพนักงานของบริษัทได้ เว้นแต่มีข้อตกลงเป็นประการอื่นในกรณีที่กรรมการหรือพนักงานเสียชีวิต ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพต่อตัวแทนประกันชีวิต นอกจากดําเนินการตาม (1) แล้ว บริษัทได้จัดให้มีเงื่อนไขการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับที่แสดงว่า บุคคลที่ใช้สิทธิต้องยังมีสถานะเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่มีข้อตกลงเป็นประการอื่นในกรณีที่ตัวแทนประกันชีวิตเสียชีวิตในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่ ให้ถือว่าบริษัทตามข้อ 3 ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นด้วย ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ถือว่าบริษัทที่ได้รับอนุญาต ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แต่งตั้งบุคคลที่บริษัทจะแต่งตั้งเป็นผู้ถือหุ้นกู้แล้วด้วย ข้อ 4/3 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งมิให้การอนุญาตตามข้อ 4 ข้อ 4/1 และข้อ 4/2 มีผล หรือสั่งระงับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ได้ (1) บริษัทที่จะออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ (2) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/4 ในหมวด 2 เงื่อนไขภายหลังการอนุญาตแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 4/4 เว้นแต่จะมีการกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น การปฏิบัติตามเงื่อนไขในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ที่บริษัทจะเสนอขายหรือจัดสรรให้แก่กรรมการ หากในการเสนอขายหรือจัดสรรดังกล่าวมีการเสนอขายหรือจัดสรรให้แก่กรรมการในฐานะพนักงานด้วย ให้ถือว่าการเสนอขายหรือจัดสรรในฐานะเช่นนั้น เป็นการเสนอขายหรือจัดสรรให้แก่กรรมการที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14 (2) หลักทรัพย์ที่บริษัทจะเสนอขายหรือจัดสรรให้แก่พนักงาน หากการเสนอขายหรือจัดสรรดังกล่าวได้มีการจัดสรรให้แก่พนักงานในฐานะตัวแทนประกันชีวิตด้วย ให้นําการเสนอขายหรือจัดสรรในฐานะเช่นนั้นมาคํานวณรวมในส่วนของการเสนอขายหรือจัดสรรให้พนักงานดังกล่าวเพื่อการปฏิบัติตามข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14 (3) การแสดงข้อมูลในหนังสือนัดประชุมตามข้อ 8(2)(ค) และ (3) ข้อ 12(1) ข้อ 13(2) และข้อ 14 และมติที่ประชุมตามข้อ 5(2) ข้อ 12(3) ข้อ 13(2) และข้อ 14 หากกรรมการหรือพนักงานที่บริษัทจะเสนอขายหรือจัดสรรหลักทรัพย์ให้มีหลายฐานะ ให้แสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องของแต่ละฐานะอย่างชัดเจน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อบริษัทที่จะลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้บริษัทตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าว หากพบว่าเป็นการโอนที่จะขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน บริษัทต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น เว้นแต่มีข้อตกลงเป็นประการอื่นในกรณีที่กรรมการหรือพนักงานเสียชีวิต ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดให้มีนายทะเบียนหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหลักทรัพย์แปลงสภาพปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย” ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,694
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2560 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2560 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2551 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 5/1 ในกรณีบริษัทตามข้อ 3(3) หรือ (4) เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ในช่วงเวลาเดียวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก จํานวนหุ้นที่บริษัทเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานดังกล่าว เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจะจัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์และผู้มีอุปการคุณของบริษัท (ถ้ามี) ต้องไม่เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่เสนอขายภายใต้วิธีการคํานวณที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “บุคคลที่มีความสัมพันธ์” และ “ผู้มีอุปการคุณ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,695
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2560 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2560 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ธุรกิจทางการเงิน” และคําว่า “กองทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 56/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ““การจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม เรียบเรียง หรือแยกแยะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) การให้บริการเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสําหรับการประมวลผลข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การให้บริการรับหรือส่งข้อมูลการชําระเงินของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อหักโอนเงินในบัญชีระหว่างลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจ (3) การให้บริการส่งคําสั่งหักโอนเงินไปยังธนาคารแทนผู้ประกอบธุรกิจ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 56/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บุคคลที่ประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นผู้รับดําเนินการในงานตามข้อ 8 ได้โดยไม่ต้องยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 12 (1) สถาบันการเงิน หรือบริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังนี้ (ก) สํานักงานหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ข) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) หรือหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือกับสํานักงานในระดับไม่น้อยกว่าความช่วยเหลือที่กําหนดตาม MMOU และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวตั้งอยู่ต้องไม่ด้อยกว่าหลักเกณฑ์ของสํานักงาน (ค) ธนาคารกลางที่เป็นสมาชิกของ Bank for International Settlement (BIS) (2) สํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีในสังกัดเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ทั้งนี้ เฉพาะงานตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (3) หรือ ข้อ 8 วรรคหนึ่ง (6) เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและการเงินของลูกค้า (3) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (4) ผู้ให้บริการระบบสนับสนุน ทั้งนี้ เฉพาะงานในส่วนที่ผู้ให้บริการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบตามประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน (5) ผู้ให้บริการการจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานกําหนด (6) นิติบุคคลอื่นนอกเหนือจาก (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่มีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปีในงานที่จะรับดําเนินการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การนับประสบการณ์ในการทํางานของผู้รับดําเนินการดังกล่าว อาจนับประสบการณ์การทํางานต่อเนื่องจากประสบการณ์ของกิจการอื่นได้ หากนิติบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับกิจการอื่นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการและผู้บริหารของกิจการอื่น (ข) นิติบุคคลดังกล่าวเกิดจากการควบเข้ากันของกิจการอื่นหรือปรับโครงสร้างทางธุรกิจของกิจการอื่น (ค) นิติบุคคลดังกล่าวได้รวมเอาธุรกิจของกิจการอื่นมาเป็นธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (ง) นิติบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับกิจการอื่นในลักษณะที่สามารถนําประสบการณ์ของกิจการอื่นมาใช้ในการประกอบธุรกิจของตนได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 56/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19/1 มิให้นําความในข้อ 18(7) และข้อ 19 มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้ผู้ให้บริการระบบสนับสนุนเป็นผู้รับดําเนินการ ทั้งนี้ เฉพาะงานในส่วนที่ผู้ให้บริการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบตามประกาศผู้ให้บริการระบบสนับสนุน (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้ผู้ให้บริการการจัดการข้อมูลการชําระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นผู้รับดําเนินการ” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,696
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และในแบบตามประกาศนี้ (1) “ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์” (crowdfunding portal) หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ (2) “ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า เว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกัน เพื่อรองรับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบโปรแกรมสําหรับใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ (application) เป็นต้น (3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น (4) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ (5) คําว่า “กิจการเงินร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับกิจการเงินร่วมลงทุนตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (6) คําว่า “นิติบุคคลร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน (7) “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยคํานึงถึงความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงทุนและฐานะการเงินของผู้ลงทุนดังกล่าวประกอบกัน (8) “ผู้ลงทุนรายบุคคล” หมายความว่า ผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทผู้ลงทุนสถาบันกิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน และผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกําหนดตามประเภทหลักทรัพย์หรือผู้ลงทุนก็ได้ (2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (3) เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์กระทําการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ขอความเห็นชอบการดําเนินการใดตามประกาศนี้ก่อนการดําเนินการนั้นก็ได้ (4) เพื่อให้สํานักงานสามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้สํานักงานกําหนดให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จัดส่งข้อมูล รายงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสมได้ โดยต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จนเกินสมควร ทั้งนี้ ระยะเวลาที่สํานักงานจะกําหนดให้เป็นไปตามกรอบ ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ สมาชิก หรือตลาดทุน อย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจกําหนดให้ดําเนินการภายในวันทําการที่เกิดกรณีดังกล่าวได้ (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้กําหนดระยะเวลาอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๒ การเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดต่อบุคคลในวงจํากัดหรือเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปโดยปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แล้ว มิให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ ๕ บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ต้องมีลักษณะดังนี้ (1) จัดตั้งตามกฎหมายไทย (2) มีการประกอบธุรกิจหรือโครงการธุรกิจที่ชัดเจน และประสงค์จะดําเนินธุรกิจหรือโครงการดังกล่าวโดยใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์มีการประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด (holding company) ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้น และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญเป็นของตนเองนั้น บริษัทที่ถูกถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 5 ด้วย ข้อ ๖ การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องกระทําผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพียงรายเดียว เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ส่วน ๑ ลักษณะการเสนอขายและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ให้บริษัทจํากัดสามารถเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะกรณีที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนรายบุคคล ซึ่งมีมูลค่าไม่เกินยี่สิบล้านบาท ในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก โดยให้เสนอขายได้ไม่เกินมูลค่าสี่สิบล้านบาทนับแต่วันที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก และให้เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายบุคคลแต่ละรายได้ไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อการเสนอขายหลักทรัพย์ของแต่ละบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์มากกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อมีมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งดังกล่าวไม่น้อยกว่ายี่สิบล้านบาท โดยบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์จะเสนอขายหลักทรัพย์เกินจํานวนที่กําหนดเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าการเสนอขายในครั้งดังกล่าวมิได้ ทั้งนี้ มูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบล้านบาท การคํานวณมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหลักทรัพย์นั้นเป็นเกณฑ์ (2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งจํานวนให้บริษัทจํากัดที่เสนอขายหลักทรัพย์แยกวงเงินการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละส่วนออกจากกันให้ชัดเจน ข้อ ๘ ให้บริษัทจํากัดที่เสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 7 รายงานผลการขายหลักทรัพย์ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขาย ครั้งที่เสนอขาย (2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด (4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (5) ชื่อ สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ และเว็บไซต์ของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ทําการเสนอขาย (6) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ และจํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ซื้อแต่ละรายได้รับ (7) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย ข้อ ๙ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าลักษณะตามข้อ 7 ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ส่วน ๒ การแต่งตั้งนายทะเบียนหลักทรัพย์ ข้อ ๑๐ ให้บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีนายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยอาจมอบหมายผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือบุคคลที่สํานักงานเห็นชอบก็ได้ ส่วน ๓ การปิดการเสนอขายก่อนกําหนด ข้อ ๑๑ บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์อาจปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเสนอขายได้ เมื่อปรากฏว่ามีผู้จองซื้อหลักทรัพย์ครบถ้วนตามจํานวนที่เสนอขายแล้วและต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (1) บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์แจ้งให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ข้อมูลไว้ล่วงหน้าก่อนเปิดการเสนอขายแล้วว่าบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์อาจปิดการเสนอขายก่อนครบกําหนดระยะเวลาได้ หากปรากฏว่ามีผู้จองซื้อหลักทรัพย์ครบตามจํานวนที่เสนอขายแล้ว และ (2) บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันก่อนวันที่ประสงค์จะปิดการเสนอขายก่อนกําหนด หมวด ๓ การขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงานตามแบบ 35-FP พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชําระค่าธรรมเนียม การขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ ๑๓ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยื่นขอความเห็นชอบตามข้อ 12 จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (5) มีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจการให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 23 (6) ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ ธุรกิจอื่นของผู้ขอรับความเห็นชอบต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๔ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งเป็นหนังสือให้ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไม่มาชี้แจง ไม่ส่งเอกสารหลักฐาน หรือจัดส่งเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์นั้นยกเลิกคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๕ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งการได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่สํานักงานกําหนด และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์รายใด สํานักงานจะแสดงชื่อผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ นั้นไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13 สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ รายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสองแล้ว หากผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์นั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๑๖ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 15 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือบุคคลตามข้อ 13(4) เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (2) นัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (3) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม (4) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (5) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (6) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น (7) ความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (8) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ ต่อการพิจารณาหรือดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น ข้อ ๑๗ การให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ มีกําหนดระยะเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ได้ยื่นคําขอความเห็นชอบเพื่อให้สามารถทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างต่อเนื่องต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ หากสํานักงานไม่แจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์รายนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าสํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา หมวด ๔ มาตรฐานการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการ ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ในฐานะผู้มีวิชาชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ มาตรฐานทั่วไปในการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๘ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ประกอบธุรกิจและให้บริการแก่สมาชิกด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และใช้ความรู้ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา (2) ดําเนินธุรกิจโดยรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือของตลาดทุนเป็นสําคัญ ตลอดจนดําเนินธุรกิจด้วยความสมเหตุสมผลซึ่งเหมาะสมกับเวลา ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจ และการให้บริการ (3) ให้บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อสมาชิกอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันโดยคํานึงถึงประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขของสมาชิก (4) ไม่กระทําการใดที่จะเป็นผลให้สมาชิกฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจํากัดหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่สมาชิกแจ้งว่ามีข้อจํากัดหรือมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้น (5) ไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือที่จะทําให้การทําธุรกิจไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา เว้นแต่เป็นการกระทําที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด หรือเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําตามกฎหมาย (6) ไม่รับหรือให้ค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน สิ่งของ หรือบริการยิ่งกว่าค่าตอบแทนหรือประโยชน์ปกติที่พึงได้รับหรือให้เนื่องจากการประกอบธุรกิจ แต่ไม่รวมถึงการถือหลักทรัพย์ในบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ตนรับให้บริการ (7) ดูแลไม่ให้มีการนําทรัพยากรของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปมีส่วนร่วมหรือถูกนําไปใช้ในทางที่มิชอบ ข้อ ๑๙ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องไม่ทําข้อตกลงกับสมาชิก ในลักษณะเป็นการตัดหรือจํากัดความรับผิดของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับสมาชิก อันเนื่องจากการที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ดําเนินธุรกิจหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศนี้ ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบกิจการดังนี้ (1) ประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความเห็นชอบ เว้นแต่เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) จัดให้มีระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์จะใช้ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเพื่อการเสนอขายหลักทรัพย์ของตนเอง ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ขออนุญาตต่อสํานักงานก่อนการเริ่มประกอบกิจการอื่นใดตามวรรคหนึ่ง (1) ส่วน ๒ โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร ข้อ ๒๑ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากร ที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความซับซ้อน และความหลากหลาย ของธุรกิจและบริการ ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย ข้อ ๒๒ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องแจ้งให้บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ตกลงและรับทราบว่าขอบเขตการให้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงผู้จัดให้มีระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์จะใช้ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเพื่อการเสนอขายหลักทรัพย์ของตนเอง ทั้งนี้ การให้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ในการคัดเลือกบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะใช้ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดให้มีมาตรการต่าง ๆ นั้น ไม่ถือว่าเป็นนายหน้าหรือตัวแทนของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๒๓ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องควบคุมดูแลให้มีระบบงานดังต่อไปนี้ตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจตามที่ได้รับความเห็นชอบ (1) ระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ลงทุนที่มิใช่สมาชิก (2) ระบบตรวจสอบตัวตนและคุณสมบัติของสมาชิก (3) ระบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนของสมาชิก (4) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินของสมาชิกโดยการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเพื่อการเก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (escrow agent) (5) ระบบการเปิดเผยข้อมูลผ่านระบบหรือเครือข่ายที่เพียงพอและน่าเชื่อถือ (6) ระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างสมาชิกด้วยกันหรือระหว่างสมาชิกกับบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ โดยผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องดูแลระบบดังกล่าวมิให้สมาชิกใช้เพื่อการเสนอขายหลักทรัพย์ของตนเอง (7) ระบบสํารองการจัดเก็บข้อมูลบนระบบหรือเครือข่ายที่เชื่อถือได้ โดยอย่างน้อย ต้องเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลภายหลังการเสนอขายไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี (8) ระบบงานรับส่งข้อมูลอัตโนมัติทางอิเล็กทรอนิกส์ (9) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (10) ระบบงานในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (compliance) ตามแนวทางที่สํานักงานประกาศกําหนด (11) ระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของสมาชิกเพื่อระงับข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๒๔ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องกําหนดนโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และมีการสื่อสารให้ทั่วถึงในองค์กร รวมทั้งต้องดําเนินการและควบคุมดูแลให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวด้วย การกระทําที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้หมายความถึงผลประโยชน์ที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผลประโยชน์ของสมาชิกกับผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (2) ผลประโยชน์ระหว่างสมาชิกด้วยกันหรือระหว่างสมาชิกกับลูกค้าของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการหลายประเภทหรือหลายลักษณะธุรกิจซึ่งสมาชิกหรือลูกค้าในแต่ละประเภทหรือลักษณะธุรกิจมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ส่วน ๓ การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ข้อ ๒๕ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติตามความในส่วนนี้ต่อผู้ลงทุนที่แสดงความสนใจใช้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณาต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอเพื่อทําให้สมาชิกได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือต่อการตัดสินใจลงทุน โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) ไม่เร่งรัดให้สมาชิกตัดสินใจใช้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือตัดสินใจลงทุน (3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนอย่างเหมาะสม และมีการแจ้งวิธีการสําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุน (5) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ข้อ ๒๖ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ข้อ ๒๗ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์อาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดสมาชิกโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้สมาชิกตัดสินใจใช้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือตัดสินใจลงทุน โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สมาชิกจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสม และเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย ส่วน ๔ การรับ การติดต่อและการให้บริการแก่สมาชิก ข้อ ๒๘ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดให้สมาชิกทําข้อตกลงอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การตกลงและยอมรับว่าการที่สมาชิกใช้ประโยชน์จากระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนั้นก็เพื่อแสวงหาโอกาสในการลงทุน และการให้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดให้มีมาตรการต่าง ๆ ที่ให้บริการแก่สมาชิกนั้น ไม่ถือเป็นนายหน้าหรือตัวแทนของสมาชิก (2) ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มีความผูกพันในการให้บริการแก่สมาชิกตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และประกาศที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๙ ในการติดต่อหรือให้บริการแก่สมาชิกรายใหม่ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ให้สมาชิกทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว (1) ข้อมูลโดยทั่วไปของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (2) ลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไขการให้บริการที่เสนอต่อสมาชิก (3) ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อสื่อสาร (4) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข ที่สมาชิกมีหรือต้องปฏิบัติเมื่อใช้บริการ (5) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) (6) วิธีปฏิบัติระหว่างผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์กําหนดขึ้น ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามวรรคหนึ่งนั้น ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงให้สมาชิกทราบก่อนการจองซื้อหลักทรัพย์ด้วย ข้อ ๓๐ การติดต่อหรือให้บริการแก่สมาชิก การแจ้งเตือนเรื่องต่าง ๆ หรือการให้สมาชิกลงนามรับทราบหรือยอมรับการให้บริการหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจดูข้อมูลได้ ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๓๑ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกที่มีระบบการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม รวมทั้งกระทําในเวลาที่เหมาะสม โดยข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารต้องชัดเจน น่าเชื่อถือ และไม่ทําให้สมาชิกสําคัญผิด ส่วน ๕ การรวบรวมและประเมินข้อมูลของสมาชิก ข้อ ๓๒ ก่อนเริ่มให้บริการแก่สมาชิก ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องรวบรวมและประเมินข้อมูลของสมาชิกเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ทําความรู้จักสมาชิก (2) จัดประเภทสมาชิก (3) พิจารณาความสามารถของสมาชิกในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ข้อ ๓๓ ในการทําความรู้จักกับสมาชิก ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์พิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 32 เพื่อระบุตัวตนที่แท้จริงของสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ในกรณีที่สมาชิกปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ปฏิเสธการให้บริการ ข้อ ๓๔ ในการจัดประเภทสมาชิก ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์พิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 32 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับประเภทสมาชิก รวมทั้งการให้ข้อมูลและการแจ้งเตือนต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสมาชิกแต่ละประเภท ในกรณีที่สมาชิกปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยที่อาจทําให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถจัดประเภทสมาชิกได้ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จัดให้เป็นสมาชิกประเภทผู้ลงทุนรายบุคคล เมื่อได้ทําการจัดประเภทสมาชิกแล้ว ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้สมาชิกทราบถึงผลการจัดประเภทของสมาชิก และต้องแจ้งให้ทราบถึงสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิของสมาชิกแต่ละประเภทด้วย ข้อ ๓๕ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดให้มีการทบทวน และปรับปรุงข้อมูลที่ได้รับตามข้อ 32 ให้เป็นปัจจุบันในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวที่ทําให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการให้บริการกับสมาชิกได้โดยไม่ชักช้า ส่วน ๖ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการให้บริการแก่สมาชิก ข้อ ๓๖ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรในการพิจารณาและดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สอบทานความมีตัวตน (identity) บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ จะต้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ตลอดระยะเวลาสองปีก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ (ก) เปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ (ข) ไม่อํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในระบบดังกล่าว (ค) ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องไปภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ให้คําปรึกษาในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้ (3) สอบทานลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งต้องเป็นไปตามหมวด 2 และในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ตรวจพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าการเสนอขายหลักทรัพย์จะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศหรือกฎหมาย ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ปฏิเสธการให้บริการพร้อมทั้งแจ้งให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า (4) จัดทําข้อตกลงกับบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดให้บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่หรือดําเนินการดังนี้ (ก) มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ทั้งก่อนและต่อเนื่องไปภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะกระทําในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะใดก็ได้ แต่จะต้องชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจและไม่ทําให้สําคัญผิด ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลต่อเนื่องไปภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์อาจมีการตกลงกันให้สิ้นสุดหน้าที่นั้นได้ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด (ข) ให้สิทธิแก่สมาชิกที่จองซื้อในการยกเลิกการจองซื้อได้ตลอดระยะเวลา (cooling-off period) เว้นแต่ระยะเวลาการเสนอขายเหลือน้อยกว่าสี่สิบแปดชั่วโมง (ค) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับข้อมูลของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์หรือการเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจ้งผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ชักช้านับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น เพื่อที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จะได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้สมาชิกทราบโดยไม่ชักช้า (ง) ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงตาม (ค) ปรากฏในช่วงที่ระยะเวลาการเสนอขายเหลือน้อยกว่าสี่สิบแปดชั่วโมง บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต้องให้สิทธิแก่สมาชิกในการยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ได้ภายในห้าวันนับแต่วันที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์ทราบ (จ) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ติดตามดูแลให้บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง (4) ด้วย (5) สอบทานมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ที่สมาชิกแต่ละรายสามารถลงทุนได้ (investment limit) โดยหากสมาชิกเป็นผู้ลงทุนรายบุคคลต้องมีมูลค่าการลงทุนไม่เกินกว่าห้าแสนบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆให้สมาชิกเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งก่อนจองซื้อหลักทรัพย์ (self-declaration) ข้อ ๓๗ ในการดําเนินการเพื่อสมาชิก ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้ (ก) ขั้นตอนและวิธีการจองซื้อหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ข) ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย และความเสี่ยงที่เกิดจากประเภทของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (ค) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ง) ข้อจํากัดเกี่ยวกับมูลค่าการลงทุนของสมาชิกแต่ละราย (จ) สิทธิในการยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ (ฉ) คําเตือนว่าหลักทรัพย์ที่เสนอขายมีสภาพคล่องน้อย เนื่องจากไม่มีตลาดรองหรืออาจมีข้อจํากัดการโอน (2) แจ้งสรุปข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อยให้สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์ทราบทันทีเมื่อได้รับใบจองซื้อดังกล่าว (ก) ลักษณะของหลักทรัพย์ (ข) มูลค่าการซื้อหลักทรัพย์ จํานวนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ที่ต้องชําระ และค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด (ถ้ามี) (ค) ราคาหลักทรัพย์ (ถ้ามี) (ง) ชื่อบริษัทที่เสนอหลักทรัพย์ (จ) สิทธิในการยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ (3) แจ้งยืนยันให้สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์ทราบเมื่อการเสนอขายได้ครบตามมูลค่าที่กําหนดไว้โดยต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) วันที่ยืนยันการจองซื้อหลักทรัพย์ (ข) ลักษณะ ราคา และจํานวนหลักทรัพย์ที่สมาชิกทําการจองซื้อ รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย (4) แจ้งให้สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์ทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อมีกรณีตามข้อ 36(4)(ค) เพื่อให้สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์สามารถใช้สิทธิได้ตามข้อ 36(4)(ข)หรือ (ง) การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นด้วยก็ได้ ข้อ ๓๘ ก่อนการจองซื้อหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดให้สมาชิกทําแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนของสมาชิก ซึ่งต้องปรากฏว่าสมาชิกสามารถทําแบบทดสอบดังกล่าวได้ถูกหมดทุกข้อ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่สมาชิกดังต่อไปนี้ (1) สมาชิกเป็นผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน หรือนิติบุคคลร่วมลงทุน (2) สมาชิกเป็นผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งแสดงเจตนาที่จะไม่ทําแบบทดสอบดังกล่าว (3) สมาชิกที่เป็นผู้ลงทุนรายบุคคลซึ่งเคยผ่านการทดสอบก่อนการจองซื้อในครั้งนั้นแล้ว ไม่เกินกว่าสามเดือน ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องแสดงคําถามและคําตอบของแบบทดสอบที่สมาชิกเคยทําไปแล้ว และต้องให้สมาชิกยืนยันการใช้ผลการทดสอบนั้นก่อนการจองซื้อหลักทรัพย์ แบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนของสมาชิกตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) อัตราความเสี่ยงที่สูงในการไม่ประสบความสําเร็จในการประกอบธุรกิจของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ (2) ในกรณีที่บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต้องเลิกกิจการอันเป็นผลมาจากการประกอบธุรกิจที่ไม่ประสบผลสําเร็จ สมาชิกที่เป็นผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนกลับคืน (3) หลักทรัพย์ที่เสนอขายไม่มีตลาดรองหรืออาจมีข้อจํากัดการโอน ดังนั้น จึงมีสภาพคล่องน้อย (4) การจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนใด ๆ ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับหรือข้อกําหนดสิทธิของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ (5) ผู้ถือหุ้นอาจได้รับผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) เมื่อบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์มีการออกหุ้นเพิ่มทุน (6) การสอบทานข้อมูลการเสนอขายและลักษณะการเสนอขายซึ่งผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้ดําเนินการนั้น อยู่บนพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ (self-declaration) (7) สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์ไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในกรณีที่บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์มีการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ ข้อ ๓๙ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการเกี่ยวกับเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ดังนี้ (1) จัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเป็นผู้เก็บรักษาเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิก (2) จัดให้มีการโอนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ เมื่อปรากฏว่ามีเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ครบตามมูลค่าที่กําหนดไว้ และพ้นระยะเวลาที่ให้สิทธิยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์แล้ว (3) จัดให้มีการโอนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์คืนให้แก่สมาชิกผู้จองซื้อหลักทรัพย์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) สมาชิกที่จองซื้อหลักทรัพย์ยกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ (ข) บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเสนอขายหลักทรัพย์ได้ครบตามมูลค่าและภายในระยะเวลาที่กําหนด (ค) เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์มีพฤติการณ์อันมีลักษณะเป็นการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ หรือมีการกระทําอันไม่เป็นธรรม ที่เป็นการเอาเปรียบสมาชิก (fraud protection) ส่วน ๗ หลักเกณฑ์และกําหนดระยะเวลาในการยื่นรายงานของ ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๐ ให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์จัดทําและยื่นรายงานสรุปธุรกรรมการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ให้บริการตามแบบ และวิธีการที่สํานักงานจัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ส่วน ๘ มาตรการบังคับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๑ ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามข้อ 13 หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในประกาศนี้อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการกับผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ (1) ให้ชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) ให้ดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด (4) พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจเปิดเผย การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต่อบุคคลใด ๆ ตามมาตรา 24/1 ข้อ ๔๒ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการพักการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถประกอบธุรกิจตามที่ได้รับความเห็นชอบได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่ยังเหลืออยู่หรือในกรณีที่สํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 41 สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์รายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์นั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,697
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 47/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 47/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์รายใด สํานักงานจะแสดงชื่อผู้ให้บริการระบบหรือ เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์นั้นไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,698
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 1/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 1/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 “(3) ไม่เคยเสนอขายหุ้นต่อบุคคลในวงจํากัดหรือต่อประชาชนเป็นการทั่วไป และไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนรายบุคคล ซึ่งมีมูลค่าไม่เกินยี่สิบล้านบาทในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก โดยให้เสนอขายได้ไม่เกินมูลค่า สี่สิบล้านบาทนับแต่วันที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก และให้เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายบุคคลแต่ละรายได้ไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อการเสนอขายหลักทรัพย์ของแต่ละบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์มากกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งดังกล่าวไม่ทําให้ยอดรวมในการเสนอขายหลักทรัพย์ในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกนั้นมีมูลค่าเกินยี่สิบล้านบาท โดยบริษัทที่เสนอขาย หลักทรัพย์จะเสนอขายหลักทรัพย์เกินจํานวนที่กําหนดไว้ได้ไม่เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่า การเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนั้น ทั้งนี้ มูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบล้านบาทการคํานวณมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขาย หลักทรัพย์นั้นเป็นเกณฑ์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินของสมาชิกที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินโดยการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเพื่อการเก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (escrow agent) (ข) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินที่จัดให้มีผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถเก็บรักษาทรัพย์สินได้เพื่อเก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิก (ค) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินที่จัดให้มีบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีฐานะการเงินที่มั่นคงทําหน้าที่เก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิก โดยการดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการจัดให้มี ระบบการแยกทรัพย์สินของสมาชิกออกจากทรัพย์สินของผู้เก็บรักษาทรัพย์สินด้วย” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 “เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง (4)(ข) คําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 39 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดให้มีการเก็บรักษาเงินค่าจองซื้อตามระบบที่กําหนดตามข้อ 23 วรรคหนึ่ง (4)” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,699
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2560 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2560 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละครั้ง ต้องกระทําผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพียงรายเดียว เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งได้ยื่นคําขอความเห็นชอบเพื่อให้สามารถทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเนื่องต่อสํานักงานล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความเห็นชอบ เว้นแต่ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ขออนุญาตต่อสํานักงานก่อนการเริ่มประกอบกิจการอื่นใดดังกล่าว ทั้งนี้ กิจการนั้นต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ และไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ต้องแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 1/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) ระบบการเก็บรักษาหรือดูแลทรัพย์สินของสมาชิกที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินโดยการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเพื่อการเก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (escrow agent) (ข) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินที่จัดให้มีผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถเก็บรักษาทรัพย์สินได้เพื่อเก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิก (ค) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินที่จัดให้มีบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งมีฐานะการเงินที่มั่นคงทําหน้าที่เก็บรักษาเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิก โดยการดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ง) ระบบการดูแลทรัพย์สินที่นําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการจัดการเงินจองซื้อหลักทรัพย์ของสมาชิกให้มีความมั่นคงปลอดภัยและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบดังกล่าวจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญ (confidentiality) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง (ก) (ข) (ค) และ (ง) ให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบการแยกทรัพย์สินของสมาชิกออกจากทรัพย์สินของผู้เก็บรักษาทรัพย์สินด้วย” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (ฉ) ของ (1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ฉ) คําเตือนว่าหลักทรัพย์ที่เสนอขายอาจมีสภาพคล่องน้อย เนื่องจากช่องทางในการเปลี่ยนมืออาจมีจํากัด” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคสองในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) หลักทรัพย์ที่เสนอขายอาจมีช่องทางในการเปลี่ยนมือที่จํากัด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะมีสภาพคล่องน้อย” ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,700